กระดานข่าว Save Our Sea.net
พฤษภาคม 03, 2024, 08:01:41 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ข่าวเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่บางแสน  (อ่าน 4848 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
แม่หอย
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1404



« เมื่อ: ธันวาคม 29, 2007, 12:51:43 AM »

ไม่ทราบว่าเขาเกิดปัญหาอะไรกัน.. แต่เผอิญอ่านพบข่าวสาร เผื่อบางท่านได้ยินปัญหามาก่อน เลยนำมาแบ่งปันให้อ่านค่ะ
เพราะรู้สึกว่าพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหรือสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่บางแสนนั้น เป็นอะควาเรียมน้ำเค็มที่น่าจะดีที่สุดในประเทศไทยขณะนี้ แม้จะมีขนาดไม่ใหญ่โตอลังการ แต่ดูจะมีคุณภาพดีที่สุดในแง่ของความสำเร็จในการดูแลเลี้ยงดูสัตว์ทะเลให้อยู่ดีมีสุข และจัดแสดงแบบมุ่งเน้นให้ความรู้แก่ผู้เข้าชมได้อย่างดีเยี่ยม ..

.. เป็นข่าวสารจากมติชน แต่ได้อ่านและคัดลอกมาจาก http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?topic=881.0 ค่ะ

ข้อเท็จจริง การปรับปรุงสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มที่บางแสน

โดย มติชน วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10884

ดร.วรเทพ มุธุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

 
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ดำเนินการปรับปรุงสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น สำหรับเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่เข้ามาศึกษาและเยี่ยมชม

วัตถุประสงค์สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เพื่อการพัฒนาการวิจัยด้านพฤติกรรมและการเพาะขยายพันธุ์ปลาทะเลในกลุ่มปลากระดูกอ่อน ได้แก่ ปลาฉลาม ปลาโรนัน และปลากระเบนชนิดต่างๆ ในตู้เลี้ยงเพื่อการอนุรักษ์ ซึ่งสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเพิ่งได้รับการพิจารณาจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ 1 ใน 31 แหล่งทั่วประเทศไทย เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 โดยมีผลการดำเนินงานและแผนการพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

แต่ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีความพยายามที่จะเบี่ยงเบนประเด็นให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การดำเนินการปรับปรุงสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มดังกล่าว เป็นการรื้อทำลายอาคารสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มทิ้ง มีการอ้างเอาประเด็นต่างๆ ที่มิใช่ข้อเท็จจริง เช่น การน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งๆ ที่การมอบศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นได้ทำพิธีมอบให้กับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2526 โดยมี ดร.นิพนธ์ ศศิธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในขณะนั้นเป็นผู้รับมอบจากท่านเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ซึ่งต่อมามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2527 เป็นเวลา 1 ปี 5 เดือน หลังจากมีการมอบอาคารให้กับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒแล้ว

มีการให้ข้อมูลที่ดูเหมือนว่า สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมิได้รักษาคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ต่อรัฐบาลญี่ปุ่นที่ว่า "จะทำให้เป็นสถานเลี้ยงสัตว์ทะเลเพื่อการวิจัย (Research Aquarium) และเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์ทะเลเพื่อการวิจัย (Research Museum)" ทั้งๆ ที่การพัฒนาด้านการวิจัยสัตว์ทะเลที่เลี้ยงในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่ผู้อำนวยการคนที่ 4 จนถึงผู้อำนวยการคนที่ 5 ในปัจจุบัน นับเป็นช่วงที่การวิจัยของสถาบันมีความก้าวหน้ามากที่สุด เห็นได้จากการมีผลงานวิจัยที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป

ไม่เพียงแต่ในวงการวิจัยเท่านั้น ยังมีการถูกถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภาคเกษตรกรรม เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงหอยหวาน การพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาการ์ตูน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาการวิจัยกุ้งทะเลสวยงาม ปะการัง และสัตว์ในกลุ่มดอกไม้ทะเล อีกหลายชนิด ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวล้วนเป็นนวัตกรรมของประเทศ ซึ่งมีผลทำให้ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลคนปัจจุบัน ได้รับการยกย่องจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติให้เป็น "เมธีส่งเสริมนวัตกรรม" ประจำปี 2549 จากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มีการกล่าวอ้างเอาเหตุที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาว่า รับเรื่องการร้องเรียนไว้พิจารณา เป็นเพราะการบริหารงานของหัวหน้าหน่วยงานราชการเป็นไปด้วยความมิชอบ ผิดหลักธรรมาภิบาล โดยข้อมูลที่ให้ไปนั้นขาดซึ่งความถูกต้อง ไม่ครบถ้วน และมิใช่ข้อเท็จจริง เป็นเหตุให้หน่วยงานที่ได้รับหนังสือร้องเรียนเข้าใจผิดว่า มีการทุจริตและประพฤติมิชอบ อีกทั้งการดำเนินการร้องเรียนนั้นได้ถูกกระทำมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งต่อหน่วยงานของมหาวิทยาลัย คือ กรรมการประจำสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล อธิการบดี และนายกสภามหาวิทยาลัยบูรพา และหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย คือสำนักงบประมาณ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี และนายกรัฐมนตรี

ทางมหาวิทยาลัยโดยท่านอธิการบดีก็มิได้นิ่งนอนใจ ได้เชิญผู้ร้องมาเพื่อปรึกษา หารือและรับฟังเหตุผลในการดำเนินการ แต่ผู้ร้องก็ได้ปฏิเสธ โดยไม่ต้องการที่จะรับฟังข้อเท็จจริงประการใด ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงได้ส่งหนังสือชี้แจงและเอกสารต่างๆ ไปยังผู้ร้องเพื่อรับทราบ แต่ผู้ร้องกลับให้ข้อมูลในคำร้องเรียนต่อหน่วยงานต่างๆ ว่า "ไม่มีคำตอบใดๆ ไม่มีการชี้แจงให้ทราบ และไม่ได้รับความสนใจเลยแม้แต่น้อย" ซึ่งขัดต่อข้อเท็จจริงที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการไปอย่างสิ้นเชิง

ตลอดระยะเวลาเกือบ 5 เดือนที่ผ่านมา สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล และมหาวิทยาลัยบูรพา ได้ชี้แจงให้หน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับเรื่องร้องเรียนรับทราบข้อเท็จจริงมาโดยตลอด ทั้งโดยเอกสาร หลักฐาน และการเข้ามาตรวจสอบ และเมื่อทุกหน่วยงานได้รับทราบข้อเท็จจริงที่ครบถ้วนแล้วก็เห็นชอบในการดำเนินงานของสถาบัน เช่นเดียวกับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ระหว่างการเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกหน่วยงานหนึ่ง และกระบวนการยังไม่สิ้นสุด

ที่สำคัญการที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภารับเรื่องไว้นั้น เป็นเพียงขั้นตอนแรก ยังไม่มีการวินิจฉัยว่าฝ่ายใดถูกหรือผิดแต่ประการใด และหากการบริหารงานของหัวหน้าส่วนราชการเป็นไปด้วยความมิชอบ ผิดหลักธรรมาภิบาล ตามที่ผู้ร้องเรียนกล่าวหา หน่วยงานที่ได้รับเรื่องร้องเรียนและได้รับทราบข้อเท็จจริงจากมหาวิทยาลัยบูรพาแล้ว เช่น สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี คงจะไม่เห็นชอบต่อการดำเนินการของมหาวิทยาลัยบูรพาอย่างแน่นอน

การกล่าวหาของผู้ร้องเรียนนั้น มิได้กล่าวถึงข้อดีหรือผลดีของการพัฒนาปรับปรุงสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มในครั้งนี้เลยแม้แต่น้อยว่า เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไปจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับผลจากการพัฒนาหน่วยงานในครั้งนี้อย่างไร เพราะมัวแต่ยึดติดกับประเด็นที่จะเก็บรักษาไว้เท่านั้น โดยไม่คำนึงและเปรียบเทียบถึงผลดีผลเสีย ถึงกับเคยกล่าวว่า "ถึงใส่น้ำไม่ได้ก็ต้องอนุรักษ์เอาไว้"

ผมขอเรียนว่า มหาวิทยาลัยบูรพาตระหนักในการที่จะดูแลสมบัติของชาติ และเห็นความสำคัญของสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มบางแสนแห่งนี้ จึงได้จัดสรรงบประมาณสมทบในการดำเนินการปรับปรุงตู้แสดงพันธุ์สัตว์ทะเลขนาดใหญ่ (Big tank) ในครั้งนี้ด้วย มิได้เป็นการทำลายอาคารสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล หรือสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มแต่ประการใด

ด้วยการพิจารณาถึงความจำเป็นในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยของผู้เข้าชม ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม การดูแลรักษาตู้ที่ชำรุดที่ต้องซ่อมแซมอย่างต่อเนื่อง ตามที่สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชลบุรี ได้ให้ความเห็นไว้ว่า "หากซ่อมแซมจะกระทำได้ไม่ทั่วถึง และต้องทำการซ่อมแซมอย่างต่อเนื่อง" ซึ่งทางมหาวิทยาลัยบูรพาได้พิจารณาแล้วว่า ควรใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพ มิใช่นำงบประมาณมาใช้ซ่อมแซมตลอดไป แทนที่จะแก้ไขปัญหาอย่างถาวร รวมทั้งพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นไปพร้อมกัน

นอกจากนี้ ยังเป็นการสูญเสียโอกาสของเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนในการเข้าชมในระหว่างการปิดซ่อมแซม ซึ่งแต่ละครั้งใช้เวลานานหลายเดือน การบริหารจัดการระหว่างการปิดเพื่อซ่อมแซมล้วนเป็นประเด็นที่ถูกนำมาประกอบในการพิจารณาปรับปรุงทั้งสิ้น โดยเฉพาะสัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในตู้ที่มีน้ำหนักแต่ละตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม ซึ่งจะต้องถูกเคลื่อนย้ายออกไป ทำให้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงในการที่จะสูญเสียสัตว์น้ำที่มีค่า และหายากเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูลค่าที่มิอาจประเมินได้ในแง่ของการอนุรักษ์ ซึ่งสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

การดำเนินการปรับปรุงในครั้งนี้ ได้มีการออกแบบและวางแผนการดำเนินงานอย่างดี ถึงกับมีการกำหนดไว้ในงวดงานของการปรับปรุงครั้งนี้ให้มีช่วงระยะเวลาการปิดสั้นที่สุด และมีการเตรียมการย้ายปลาในตู้เดิมเข้าไปในตู้ใหม่โดยไม่ให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดการสูญเสียเกิดขึ้น

การปรับปรุงตู้จัดแสดงสัตว์น้ำขนาดใหญ่ในครั้งนี้ จะมีการสร้างตู้จัดแสดงสัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีขนาดความจุน้ำเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม 5 เท่า จากขนาดความจุน้ำเดิมเพียง 200 ลูกบาศก์เมตร เพิ่มเป็น 1,000 ลูกบาศก์เมตร ขึ้นมาติดกับตู้แสดงเดิมโดยห่างจากตู้เดิมเพียงประมาณ 5 เมตร มีการนำเอาอุปกรณ์บางส่วนจากตู้แสดงเดิมมาใช้ประกอบกับตู้จัดแสดงที่สร้างขึ้นใหม่ และให้เกิดประโยชน์ในการเป็นแหล่งให้ความรู้ และการวิจัยที่มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้นกว่าตู้เดิม

ตู้ดังกล่าวจะมีลักษณะพิเศษที่ออกแบบมาให้สามารถที่จะเสริมสร้างการเรียนรู้ และสื่อสารกับผู้เข้าชมโดยเฉพาะเยาวชนและผู้เข้าชมทั่วไป โดยมีทางลอดและมีแผ่นอะคริลิคใสขนาดใหญ่ ที่มีความกว้างถึง 10 เมตร และสูง 3.2 เมตร สำหรับการชมสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในตู้ ด้านหน้ามีอัฒจันทร์สำหรับนั่งชม มีการติดตั้งระบบการสื่อสารพิเศษสำหรับนักดำน้ำ ให้สามารถสนทนากับผู้เข้าชมได้ ซึ่งขณะที่นักดำน้ำให้อาหารสัตว์น้ำจะมีการอธิบายถึงความสำคัญและการดำรงชีวิตอยู่ของสัตว์น้ำ มีการให้ความรู้ต่างๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับสัตว์น้ำแต่ละชนิด (Animal education) เช่น วิธีการดูแล การเลี้ยงดู ฯลฯ ซึ่งเป็นการให้ความรู้โดยตรง มีการโต้ตอบ (Two way communication) กับผู้เข้าชมได้ทันท่วงที ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการปลูกฝังให้เยาวชนและผู้เข้าชมได้เห็นคุณค่าของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ อันจะก่อเกิดความชื่นชมและนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

อีกทั้งยังมีป้ายนิทรรศการให้ความรู้เพิ่มเติมที่เรียงรายอยู่บริเวณโดยรอบทางเดินของตู้ ซึ่งในตู้เดิมนั้นไม่สามารถทำได้ มีเพียงการเดินผ่านดู พร้อมกับป้ายแสดงชื่อปลาและข้อมูลเพียงเล็กน้อย และการป้อนอาหารปลาเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ทางเดินโดยรอบตู้คับแคบ

นอกจากนี้ ตู้ที่ปรับปรุงขึ้นจะเพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษา วิจัย ด้านพฤติกรรม และการเพาะเลี้ยงของปลากระดูกอ่อน เช่น ปลาฉลาม ปลาโรนัน ปลากระเบน และปลากระดูกอ่อนชนิดอื่นๆ ที่สถาบันมีความพยายามที่จะเพาะขยายพันธุ์ในตู้เลี้ยงเพื่อการอนุรักษ์ ขนาดความจุของน้ำที่เพิ่มขึ้นนั้นนอกจากจะช่วยให้สัตว์น้ำที่เลี้ยงอยู่มีพื้นที่อยู่อาศัยมากขึ้น มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่แออัดแล้ว ยังช่วยให้ปลาชนิดต่างๆ เหล่านี้ สามารถที่จะผสมพันธุ์ วางไข่ หรือตกลูกได้ ในตู้ที่ปรับปรุงใหม่นี้ ซึ่งจะเป็นการสร้างชื่อเสียงจากผลงานวิจัยและวิชาการให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นไปอีกในวงการสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเค็มของโลกว่า สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม บางแสน ของประเทศไทย ประสบผลสำเร็จในการเพาะเลี้ยงและอนุรักษ์สัตว์ทะเลที่มีคุณค่าเหล่านี้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

มิใช่เป็นเพียงแค่การนำสัตว์ทะเลมากักขังไว้เพื่อจัดแสดงเท่านั้น แต่มีความเข้าใจและห่วงใยในสวัสดิภาพ รวมทั้งความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อย่างแท้จริง

ส่วนพื้นที่ที่ตู้เดิมตั้งอยู่นั้น จะถูกปรับปรุงโดยนำแผ่นอะคริลิคของตู้เดิมมาจัดวางอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิม มีการจัดนิทรรศการถาวรถึงประวัติความเป็นมาของสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม รวมถึงหุ่นจำลอง (Model) ตู้เดิม ส่วนที่เหลือจัดให้เป็นส่วนของการจัดนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ และสถานีการเรียนรู้ (Learning station) ซึ่งจะมีพื้นที่ให้เด็ก ครู และวิทยากรของสถาบัน ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Education program) ร่วมกัน ซึ่งในขณะนี้สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลกำลังเร่งพัฒนาหลักสูตรและเนื้อหาของกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว เพื่อให้ทันพร้อมรับกับการปรับปรุงที่จะเสร็จสิ้นในราวเดือนตุลาคม 2551 นี้

ภารกิจของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลนั้น มิใช่มีเพียงแค่การวิจัยเท่านั้น แต่รวมถึงการให้การศึกษา (Research and education) โดยเฉพาะสถาบันจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่มีภารกิจในการให้การศึกษาตามอัธยาศัย ตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ.2542 มาตรา 15 ที่กำหนดว่า การศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย และในมาตราที่ 25 ยังกำหนดให้รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ

ภารกิจด้านการศึกษานี้นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหรือสวนสัตว์ทั่วโลก ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญยิ่งในการดำเนินงาน ดังนั้น การที่กล่าวว่าการนำงบประมาณมาใช้ "เพื่อจัดทำเป็นพื้นที่แสดงนิทรรศการ ซึ่งไม่มีความสำคัญและไม่เกี่ยวกับงานวิจัยเลย" จึงอาจกล่าวได้ว่าผู้กล่าวขาดวิสัยทัศน์และความเข้าใจในภารกิจขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง แต่กลับพยายามที่จะเข้ามาก้าวก่ายการดำเนินงานขององค์กรที่มีระบบในการบริหารจัดการ ที่มีคณะกรรมการในระดับต่างๆ พิจารณาตามขั้นตอนอย่างถี่ถ้วน โดยอ้างเพียงความบริสุทธ์ใจแล้วละทิ้งเหตุผลต่างๆ ที่ทางสถาบันได้พยายามชี้แจงข้อเท็จจริงให้เข้าใจ

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เชื่อมั่นว่า หากประชาชนทั่วไปได้รับทราบข้อเท็จจริงในการปรับปรุงตู้จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำขนาดใหญ่ในครั้งนี้ จะเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ว่า สิ่งที่กล่าวหานั้นห่างไกลจากข้อเท็จจริง และการพิจารณาการใช้งบประมาณในครั้งนี้ มีการพิจารณาเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง กับการศึกษา วิจัย และการพัฒนาองค์กรให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เพื่อประโยชน์แก่เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน และนักวิจัยอย่างแท้จริง

มิใช่เป็นเพียงเพื่อให้เกิดความพึงพอใจให้เกิดกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น
บันทึกการเข้า
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 29, 2007, 01:36:36 AM »


เมื่อวานก็มีข่าวนี้ครับ แต่สั้นๆ


ผู้จัดการออนไลน์


โครงการโลกใต้ทะเลบางแสนชะงักเฟส 2 ต้องรอ “แท็งก์ฟาร์ม” จากญี่ปุ่น


โครงการก่อสร้างอาคารโลกใต้ทะเล

ศูนย์ข่าวศรีราชา - โครงการโลกใต้ทะเล มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท ชะงัก เหตุต้องรอแท็งก์น้ำขนาดใหญ่ ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนความคืบหน้าทางด้านโครงสร้างพื้นฐานมีความก้าวหน้า
       
       วันนี้ (27 ธ.ค.) เวลา 09.00 น.ที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี นายมณเฑียร ทองนิตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอาคารโลกใต้ทะเล โดยมีคณะกรรมการแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง
       
       นายมณเฑียร กล่าวว่า จากการดูข้อมูลการก่อสร้างอาคารโลกใต้ทะเล พบว่า มีความล่าช้ากว่าแผนงานที่กำหนด โดยเฉพาะในส่วนที่ 2 ซึ่งมีความคืบหน้าเพียง 8.36% และล่าช้ากว่าแผนงานที่วางไว้ 40.16% ส่วนในเฟส 1 นั้น มีความคืบหน้าไปกว่า 70% ล่าช้ากว่าแผนงานที่วางไว้เพียง 10.09% เท่านั้น ซึ่งไม่หน้ามีปัญหาอะไร โดยเป็นห่วงในเฟส 2 เท่านั้น ที่ล่าช้ามาก
       
       สำหรับเฟส 2 ที่ล่าช้านั้น พบว่า เป็นเรื่องของอุปกรณ์แทงก์ฟาร์มขนาดใหญ่ ที่เป็นอะคริลิก ที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากต้องตกลงเจราจาในเรื่องราคา เพราะอัตราการแลกเปลี่ยนเงินยังไม่คงที ทำให้ต้องใช้เวลาในส่วนนี้มาก จึงส่งกระทบต่อโครงการที่ต้องล่าช้าออกไป แต่อย่างไร ปัญหาต่างๆ ได้ยุติแล้ว คาดว่า ในเร็วๆ นี้ คงนำมาติดตั้งและเร่งดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้
       
       นายชาญชัย วิทยาวรากรณ์ บริษัท กรีนทั้ม จำกัด กล่าวว่า ในเฟสที่ 2 ที่ล่าช้านั้น เนื่องจากรอการติดตั้งแทงก์ฟาร์ม ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเท่านั้น และหากนำเข้ามาได้ก็พร้อมดำเนินการติดตั้งได้ทันที เพราะทางบริษัท ได้ก่อสร้างสิ่งต่างๆ ไว้รองรับเรียบร้อยแล้ว เมื่อนำมาติดตั้งก็พร้อมต่อเชื่อมได้ทันที ทำให้ช่วงนี้ล่าช้ากว่าแผนงานที่กำหนดเท่านั้น 
     
       อนึ่ง โครงการก่อสร้างอาคารโลกใต้ทะเล ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นงบซีอีโอ จำนวน 200 ล้านบาท งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ส่วนแรก 200 ล้านบาท และส่วนที่ 2 อีก 149 ล้านบาท รวมงบประมาณในการก่อสร้างโครงการอาคารโลกใต้ทะเลจำนวนทั้งสิ้น 549 ล้านบาท

บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #2 เมื่อ: ธันวาคม 29, 2007, 02:30:42 AM »

ติดตามข่าวเรื่องการสร้างอควาเรี่ยมใหญ่ที่บางแสนมาตั้งแต่เขาคิดจะเริ่มโครงการเมื่อสองปีก่อน (หาอ่านได้ที่ http://www.saveoursea.net/boardsmf/index.php?topic=265.0)  ซึ่งตอนนั้นก็ยังงงๆว่าพิพิธภัณฑ์สัตว์ทะเลของมหาวิทยาลัยบูรพา ที่มีความสัมพันธ์ทางใจกับสายชลมานานก็ยังดีๆอยู่ เหตุไฉนจะต้องมีการสร้างอควาเรี่ยมใหม่ให้ใหญ่โตมโหฬารมาช่วยผลาญสัตว์ทะเลที่เคยอาศัยอย่างมีความสุขอยู่ในทะเล  ให้ย้ายไปตายซะในอควาเรี่ยมใหญ่แห่งใหม่ของบางแสนอีก

มาอ่านที่น้องแม่หอยนำมาลงก็ดูท่าว่าพิพิธภัณฑ์สัตว์ทะเลของม. บูรพาจะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับอควาเรี่ยมแห่งใหม่เพราะอาจารย์วรเทพ ท่านก็ว่าจะยังเดินหน้าปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ฯต่อเนื่องเพื่อให้เสร็จสิ้นในราวเดือนตุลาคม 2551 โน่น

ก็ออกจะดีใจที่ถึงจะมีอควาเรี่ยมแห่งใหม่ แต่พิพิธภัณฑ์สัตว์ทะเลของมหาวิทยาลัยบูรพา ก็จะยังคงอยู่เพื่อเป็นที่พึ่งของนักเรียน นักศึกษา ประชาชนจนๆที่คงไม่มีเงินไปเสียแพงๆให้กับอควาเรี่ยมใหญ่แห่งใหม่

หุหุ.....แต่เห็นการแถลงข่าวเรื่องอควาเรี่ยมใหญ่แห่งใหม่ในเขตสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาแล้ว ชักจะหนาวๆ......
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 05, 2008, 10:58:16 AM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.027 วินาที กับ 20 คำสั่ง