กระดานข่าว Save Our Sea.net

หมวดหมู่ทั่วไป => สรรพชีวิตแห่งท้องทะเล => ข้อความที่เริ่มโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 12, 2007, 12:28:44 AM



หัวข้อ: เต่าทะเลกลับมาวางไข่ที่หาดทรายเดิมได้อย่างไร?
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 12, 2007, 12:28:44 AM

เต่าทะเลกลับมาวางไข่ที่หาดทรายเดิมได้อย่างไร?
 
(http://ads.dailynews.co.th/column/images/2007/variety/9/12/45611_43196.jpg)  
 
 มีการทดลองมากมายเพื่อตอบคำถามนี้ที่น่าสนใจนี้และเกิดข้อถกเถียงกันมากในหมู่นักวิทยาศาสตร์ นักวิทย์เองก็ไม่ทราบว่ามันกลับมายัง "ที่เดิม" จริงหรือไม่ จึงตั้งข้อสมมติฐานขึ้น 2 ข้อคือ
 
1. Natal Homing กล่าวว่า เต่าทะเลกลับมายังหาดทรายที่มันเกิดจริง และ 2. Social Facilitation กล่าวว่า มันแค่มายังหาดทรายที่อยู่ใกล้กับแหล่งหากินของเต่าทะเลที่เต็มที่แล้วต่างหาก
 
เมื่อลูกเต่าฝักออกจากไข่ พวกมันมีขนาดเล็กมาก เต่าทะเล 6 ใน 7 ชนิดมีขนาดของไข่เท่ากับลูกปิงปอง แม้แต่ไข่เต่าทะเลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (มาจากเต่ามะเฟือง (leatherback sea turtle) เต่าทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก) ยังมีขนาดไม่ใหญ่มากเลย
 
หลังจากลูกเต่าออกจากไข่แล้ว พวกมันจะตะเกียกตะกายขึ้นมายังหาดทรายและหายไปในทะเลเป็นเวลาหลายปี หลังจากนั้น 15-20 ปี พวกมันจะโตเต็มที่และกลับมายังหาดเพื่อวางไข่ ในช่วงนี้ ลูกเต่ามะเฟืองมีขนาดเพิ่มขึ้นเกือบจะ 10,000 เท่าและหนักถึง 400 กิโลกรัมทีเดียว
 
ในปัจจุบัน นักวิทย์พยายามอย่างหนักในการสร้างตัวบ่งชี้ ป้าย หรือตัวส่งสัญญาณเพื่อช่วยติดตามเต่าทะเลแต่ละตัวในช่วงเวลาหลายสิบปีและการเปลี่ยนแปลงขนาดของเต่าในทะเล แต่มันเป็นเรื่องที่ยากมาก
 
ดังนั้น นักวิทย์จึงต้องรอการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมเพื่อสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับการเลือกหาดในการวางไข่ที่ใกล้เคียงที่สุด ขณะเดียวกัน มีการศึกษาที่น่าสนใจมากมายเกี่ยวกับการอพยพและการปรับทิศทางของเต่าทะเลที่ช่วยให้นักวิทย์เข้าใจว่าพวกมันหาพื้นที่อาหาร พื้นที่ผสมพันธุ์ และพื้นที่วางไข่ที่อยู่ห่างกันมากในมหาสมุทรเปิดได้อย่างไร
 
จากการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน นักวิทย์สามารถติดตามการอพยพของเต่าหลายชนิดได้โดยใช้เครื่องส่งสัญญาณดาวเทียม (satellite transmitter) เต่าทะเลส่วนใหญ่ที่ติดตามมักจะเป็นตัวเมียที่โตเต็มที่แล้ว (สามารถติดเครื่องส่งสัญญาณได้ตอนที่มันขึ้นมาวางไข่)
 
ส่วนที่เหลือจะเป็นตัวผู้ที่โตเต็มที่แล้วและตัวผู้ที่โตยังไม่เต็มที่ที่มีขนาดตัวปานกลาง การติดตามทั้งหมดชี้ให้เห็นว่าเต่ามีเส้นทางอพยพผ่านทวีปอย่างเดียว ผ่านมหาสมุทรเปิดไปยังบนบก และผ่านมหาสมุทรเพียงอย่างเดียว ความรู้ความเข้าใจปัจจุบันบ่งชี้ว่าเต่าทะเลเป็นหนึ่งในสัตว์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก
 
ในเรื่องนี้ มันดูเหมือนจะรู้ว่าพวกมันอยู่ที่ไหนและกำลังไปที่ไหนครับ เต่าทะเล (เหมือนกับนกบางชนิด) มีความสามารถในการตรวจจับความแรงและมุมของสนามแม่เหล็กโลกได้ ทำให้พวกมันสามารถไปได้ทั่วโลกโดยใช้แผ่นที่สนามแม่เหล็กที่พวกมันเก็บไว้ในความจำ นักวิทย์ยังพบอีกว่าพวกมันใช้เบาะแสจากการมองเห็นและอาจจะจดจำกลิ่นจำเพาะของชายหาดหนึ่ง ๆ ได้อีกด้วย
 
ในปัจจุบันมีการวิจัยเรื่องการได้ยินของเต่าทะเลที่ทำให้นักวิทย์คาดการณ์ว่าเต่าทะเลอาจเปลี่ยนทิศทางโดยใช้การได้ยินเสียงความถี่ต่ำที่มาจากชายฝั่งที่อยู่ห่างออกไปหลายร้อยกิโลเมตร เนื่องจากมันมีกลไกการนำทางที่หลากหลาย เต่าทะเลจึงสามารถอพยพเป็นระยะทางไกลได้และปรับทิศทางในแต่ละพื้นที่(ย่อย)ได้โดยใช้เครื่องมือที่แตกต่างกัน
 
ตอนนี้นักวิทย์เชื่อว่าเต่าทะเลส่วนใหญ่ใช้ทักษะการนำทางและปรับทิศทางร่วมกับความจำระยะยาวในการกลับไปยังหาดทรายบ้านเกิดเมื่อหลายปีก่อน ข้อมูลทางพันธุกรรมทำให้นักวิทย์สรุปได้ว่า เต่าทะเลเพศเมียส่วนใหญ่ (ไม่ใช่ทั้งหมด) กลับมายังหาดที่มันเกิด
 
อีกทั้งยังพบว่าเต่าทะเลบางชนิดมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับหาดบ้านเกิดมากกว่าชนิดอื่นๆ (ในบางกลุ่มประชากร) แต่การกลับสู่หาดบ้านเกิดดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติของเหล่าเต่าทะเลตัวเมียครับ อย่างไรก็ตาม การวิจัยยังไม่จบเพียงเท่านี้ นักวิทย์แทบไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับเต่าทะเลเพศผู้ที่อาศัยอยู่ในทะเลตลอดชีวิตเลยครับ

แนวโน้มการกลับมายังหาดทรายบ้านเกิดเป็นหัวใจสำคัญในการอนุรักษ์เต่าทะเล ถ้ากลุ่มเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่ที่หาดหนึ่งๆ หายไป เต่าตัวอื่นจะไม่ขึ้นมาวางไข่อีกแม้ว่าหาดนั้นจะเป็นพื้นที่ที่มีประโยชน์ต่อการวางไข่ ลูกเต่า หรือตัวเต่าเองก็ตาม
 
ดังนั้น มันจึงมีความสำคัญในการบริหารจัดการประชากรเต่าที่ขึ้นมาวางไข่ในแต่ละหาด



จาก            :              เดลินิวส์   วันที่ 12  กันยายน  2550