กระดานข่าว Save Our Sea.net
พฤษภาคม 17, 2024, 09:16:45 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปลาม้าลาย  (อ่าน 13724 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: ตุลาคม 25, 2007, 01:03:44 AM »


ปลาม้าลายยีนเปลี่ยน เป็นโรคนอนไม่หลับเหมือนคน



 
ปลาไม่มีเปลือกตา เวลานอนมันจึงเหมือนกับลืมตาโต แต่ที่จริงแล้วมันนอนอยู่ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์พบว่า ปลาบางชนิดก็เป็นโรคนอนไม่หลับ หรือ Insomnia เหมือนกับคนด้วย

นายเอมมานูเอล มิญโนต์ นักวิทยาศาสตร์จากสแตนฟอร์ดยูนิเวอร์ซิตี้ กล่าวว่า จากการศึกษาโรคนอนไม่หลับในคน พบว่า ปลาพันธุ์ซีบร้าฟิช หรือปลาม้าลายมีการเปลี่ยนแปลงของยีนที่ขัดจังหวะการนอนของปลา เหมือนกับโรคนอนไม่หลับของมนุษย์

มิญโนต์พบว่า ปลาม้าลายที่มีการเปลี่ยนแปลงของยีน มีช่วงเวลาการนอนน้อยกว่าปลาม้าลายปกติราว 30% เนื่องจากปลาม้าลายที่มีการเปลี่ยนแปลงของยีนขาดการรับสารไฮโปรเครติน ซึ่งเป็นสารนิโรเปปไทด์ในสมองและมีหน้าที่ควบคุมความหิว ความต้องการมีเพศสัมพันธ์และพฤติกรรมพื้นฐานต่างๆ

ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์นำปลาม้าลายมา ทดลองกันมาก เนื่องจากมีราคาถูกกว่าหนูทดลอง และมีกระดูกสันหลังที่แสดงระบบประสาทมากกว่าแมลงผลไม้ ซึ่งเป็นสัตว์ที่นำมาทดลองมากเช่นกัน และการนำปลาม้าลายมาศึกษาเรื่องการนอนหลับนั้น เพราะนักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะพบโมเลกุลและเครือข่ายสมองที่ควบคุมการนอน



จาก               :              ข่าวสด   วันที่  25  ตุลาคม 2550
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 13, 2008, 01:04:28 AM โดย สายน้ำ » บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายรุ้ง
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 838


« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2007, 05:03:20 AM »

แย่จัง กลางวันง่วง ตายเลย

เอ แล้วยังนี้   ถ้าระบบในร่างกายเปลี่ยนไปก้จะมีผลกับการเจริญพันธุ์ ในอนาคตซิค่ะ อย่างนี้นักชีววิทยา ทางทะเลจะหาทางแก้ไขได้ไหมเอ่ย หรือต้องปล่อยให้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติค่ะเนี่ย
บันทึกการเข้า
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2007, 05:58:50 AM »

ปลาสิงโต พันธุ์ลายม้าลาย  (Zebra Lionfish) ตามภาพนี้นี่หน่ะหรือที่ว่าหาง่ายกว่าหนูทดลอง.......

จะเป็นไปได้อย่างไรคะ.......กว่าจะหาดูได้ทีก็ไม่ง่ายเลย แถมทุกครีบของปลาชนิดนี้ยังมีเงี่ยงพิษอีก

เป็นไปได้ไหม....ที่จะเป็นปลาม้าลาย ซึ่งจัดเป็นปลาสวยงามที่หาง่าย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้กัน  ตามภาพข้างล่างนี่




ภาพจาก.....http://www.fishforever.co.uk/zebradanios.html

บันทึกการเข้า

Saaychol
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2007, 06:06:43 AM »

มีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับปลาม้าลายที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ที่หนังสือพิมพ์แนวหน้า ได้ลงไว้เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2546 ที่   http://www.safetybio.com/oldnews/news/THAI/2546/September/25092003-1.htm ได้เล่าไว้ ดังนี้  

ปลาม้าลาย

ปลาม้าลาย หรือ Zebra fish ของสิงคโปร์ ค่อนข้างมีบทบาทสำคัญในวงการเทค โนโลยีชีวภาพผ่านทางคณะวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
                 
ประการแรก พัฒนาเป็นปลาสวยงามโดยใช้ยีนอาจเป็นจากปะการังเรืองแสงไป ตัดต่อกับยีนของปลา ทำให้ปลาม้าลายเรืองแสง ได้ และนำไปสู่การผลิตในเชิงการค้าส่งออก ขายทั่วโลก เช่นเดียวกับที่ไต้หวันทำเช่นกัน
                 
ประการที่สอง พัฒนาเป็นปลาต้นแบบที่ตัดต่อยีนที่สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี แทนการต้องไปหาหมอและ ฉีดวัคซีนซึ่งคนจำนวนไม่น้อยกลัวเข็มฉีดยา
                 
ปัญหาของปลาม้าลายวัคซีนตับอักเสบ บี คือการกินเนื้อปลาต้องกินดิบ หากกินสุก วัคซีนจะถูกทำลาย ดังนั้นต้องพัฒนาต่อไป คือหาปลาชนิดกินดิบได้ อย่างปลาดิบของญี่ปุ่น เรื่อง นี้ยังอีกยาวครับ
                 
ที่ผมอยากพูดถึงคือเราได้เห็นแง่มุมความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์
                 
ถามว่าเกาะเล็กๆ อย่างสิงคโปร์มีอะไรที่สู้ไทยได้ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ความ หลากหลายทางชีวภาพ จำนวนประชากร สิงคโปร์แพ้ไทยขาดลอย ก็แล้วทำไมสิงคโปร์ถึงได้ร่ำรวย ทำไมสิงคโปร์จึงเป็นศูนย์กลางด้านนั่นด้านนี่ ทั้ง ที่ฐานด้านการผลิตแทบไม่มี
                 
คำตอบคือคนครับ
                 
คนสิงคโปร์มีโอกาสดีกว่าคนไทยในเรื่องของปัญญา
                 
ปัญญานี่มีทั้งปัญญาดั้งเดิมที่คนไทยจำนวนหนึ่งภูมิใจเลยเถิดว่า ภูมิปัญญาไทยจะแก้ไข ได้ทุกอย่างซึ่งไม่จริงครับ อีกหนึ่งคือ ปัญญาสมัยใหม่หรือพูดง่ายๆ คือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสิงคโปร์เขามุ่งตรงนี้อย่างจริงจัง เป็นระบบ อย่างที่ผมเคยเขียนไว้นาน แล้วว่า สิงคโปร์พอเห็นว่า ธงในอนาคตคือเทคโนโลยีชีวภาพ เขาไม่รั้งรอที่จะกระโจนลงไปหาโอ กาส ทำกันตั้งแต่หลักสูตรการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษายันมหาวิทยาลัย อีกด้าน เปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนพร้อมทั้งนำเทคโนโลยีและคนเข้ามาด้วย
               
 ปลาม้าลายเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบที่ว่า เทคโนโลยีชีวภาพของสิงคโปร์ไปถึงไหน



                       
 
บันทึกการเข้า

Saaychol
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2007, 06:10:32 AM »

ส่วน http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=1756.0;prev_next=next  ก็พูดถึงปลาม้าลายไว้ได้น่าสนใจมากดังนี้ค่ะ

ตั้งศูนย์เพาะ “ปลาม้าลาย” ใหญ่สุดในสหรัฐฯ บุกวิจัยยีนก่อโรคในคน


เอพี - มหาวิทยาลัยพิตต์สเบอร์กเตรียมตั้งศูนย์เพาะปลาม้าลายที่ใหญ่สุดในสหรัฐ หวังใช้ “ปลา” ที่มีลักษณะพันธุกรรมคล้ายมนุษย์พันธุ์นี้ค้นคว้าหายีนในมนุษย์ ศึกษากลไกการเกิดโรคร้ายและภาวะบกพร่องของร่างกาย

ขณะนี้ ศูนย์ชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยพิตต์เบอร์ก (University of Pittsburgh) มีตู้เลี้ยงปลาม้าลายถึง 3,100 ตู้ เพื่อรองรับจำนวนปลาตัวน้อย 10,000 กว่าตัว ซึ่งจะมีโครงการสร้างศูนย์ปลาม้าลายมูลค่ากว่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้เสร็จสิ้นภายในฤดูใบไม้ร่วงปีหน้า โดยศูนย์แห่งนี้มีความกว้างขวาง สามารถสร้างตู้เลี้ยงปลาได้มากถึง 10,000 ตู้ และเพาะพันธุ์ปลาม้าลายได้ถึง 350,000 ตัว พร้อมทั้งอุปกรณ์ในการทำงานอื่นๆ ซึ่งจะกลายเป็น “ศูนย์ปลาม้าลาย” ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา
       
เฮลเธอร์ สติกนีย์ (Heather Stickney) นักชีววิทยาทำงานในห้องทดลองปลาม้าลายแห่งชาติก่อนหน้านี้ ที่คณะแพทยศสาตร์ มหาวิทยาลัยแสตนฟรอด์ (Stanford School of Medicine in California) เปิดเผยว่า ปลาม้าลายนี้มีลักษณะทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับมนุษย์ เหมือนกับสัตว์ที่ใช้ในห้องทดลองชนิดอื่นๆ เช่น หนู (mouse และ rat)

"สำหรับมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ที่สนใจจะพัฒนาการวิจัยขึ้นมาอย่างเฉียบคม การสร้างศูนย์ปลาม้าลายขนาดใหญ่ ถือเป็นคำตอบที่ถูกต้อง เพราะจะได้นำประโยชน์ไปใช้ในงานวิจัย” สติกนีย์ เผยพร้อมทั้งกล่าวต่อไปว่า ศูนย์ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ เป็นผลจากการผลักดันของ “อาร์เธอร์ เลวีน” (Arthur Levine) คณบดีคณะแพทย์ฯ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ผลักดันให้เกิดสถาบันการวิจัยด้านสุขภาพแห่งชาติขึ้น ในช่วงปี 1990 ”

กว่าทศวรรษมาแล้ว ที่นักชีววิทยาและนักพันธุศาสตร์ตระหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า “ปลาม้าลาย” มีประโยชน์อย่างมาก ในการนำมาเป็นต้นแบบหรือโมเดลศึกษาพัฒนาการขั้นพื้นฐานของโมเลกุล” เลวิน กล่าว และระบุว่า การนำปลาม้าลายมาทดลอง เพิ่มขึ้นมากตั้งแต่นักวิทยาศาสตร์สามารถเก็บตัวอย่างจำนวนมากไว้ได้นานขึ้น และอย่างที่พิตต์สเบอร์ก นักวิจัยก็ได้เก็บตัวอย่างปลาไว้ในกล่องและวางไว้เป็นชั้นๆ
       
       
ปลาเหล่านี้เป็นผลดีต่อนักวิทยาศาสตร์ เพราะว่าพวกมันมีกระดูกสันหลัง และมีลักษณะทางพันธุกรรมหลายๆ อย่างใกล้เคียงกับมนุษย์ โดยนักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ ได้รับอนุญาตให้วิจัยเกี่ยวกับปลาม้าลายได้อย่างเต็มที่ เพื่อองค์ความรู้ที่จะนำไปสู่การเข้าใจถึงกลไกการเกิดโรคและภาวะพิการต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ จากนั้นจึงจะสามารถหาวิธีหลีกเลี่ยงโรคร้ายเหล่านี้ได้
     
ที่มา:หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 25, 2007, 06:12:40 AM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2007, 06:16:08 AM »

ข่าวจาก http://www.most.go.th/news/newspaper/default.asp?GID=442 ค่ะ


ไบโอเทคโชว์ปลาม้าลายเรืองแสงกระตุ้นคนไทยสนใจวิทยาศาสตร์ 
     
ผู้จัดการรายวัน - ไบโอเทค ยืนยันนำปลาม้าลายเรืองแสง ที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรมเข้ามาอย่างถูกต้องตามขั้นตอน ผ่านคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ ระบุนำเข้ามาเพื่อประโยชน์ทางวิชาการหวังกระตุ้นให้วงการวิทยาศาสตร์ไทยกระเตื้องขึ้น โดยหลังจากโชว์ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติแล้ว จะทำลายทันที ยืนยันไม่มีการขยายพันธุ์

นางดรุณี เอ็ดเวิดร์ส รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติปี 2546 ซึ่งจะจัดระหว่างวันที่ 24 กันยายนถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2546 ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ไบโอเทคจะนำปลาเรืองแสง จากการปรับปรุงสายพันธุ์ด้วยการดัดแปรพันธุกรรม(จีเอ็มโอ) ผลงานของนักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์มาจัดแสดงจำนวน 20 ตัวด้วย เป็นผลงานของทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์ที่ประสบความสำเร็จในการถ่ายยีนเรืองแสงลงไปในปลาม้าลาย และทำให้ปลาม้าลายเรืองแสงมีความสวยงาม ซึ่งเมืองไทยยังไม่มีการศึกษาในเรื่องนี้ จึงเชิญนักวิทยาศาสตร์ให้นำปลาเรืองแสงเข้าถ่ายทอดความรู้ เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็น และยืนยันว่าไม่ได้นำมาขยายพันธุ์

 “ที่นำปลาม้าลายเรืองแสงเข้ามา ไม่ได้นำมาขยายพันธุ์ในประเทศไทย เป็นเรื่องของวิชาการนำมาให้เห็นว่า ในเชิงวิชาการสามารถทำได้แล้วในระดับโลก ฉะนั้นคงกระตุ้นให้นักวิชาการในเมืองไทยผลักดันตัวเองให้เร็วขึ้น และทำให้วงการวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยกระเตื้องมากขึ้น ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลงานระดับโลก” นางดรุณี กล่าว

รองผู้อำนวยการไบโอเทค กล่าวถึงกรณีมีข่าวว่าไบโอเทคนำเข้าปลาม้าลายเรืองแสง ซึ่งเป็น จีเอ็มโอเข้ามาไม่ถูกต้องตามขั้นตอนด้วยว่า แม้แต่ไบโอเทคก็ไม่มีข้อยกเว้นในเรื่องของการทำเอกสารนำเข้าปลาเรืองแสงจีเอ็มโอให้ถูกต้อง โดยผ่านคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ และในระดับสากลก็มีระเบียบดูแลความปลอดภัยทางชีวภาพว่า ถ้ามีการเคลื่อนย้ายสินค้าจีเอ็มโอระหว่างประเทศ จะต้องมีการแจ้งประเทศผู้รับให้รู้ว่าสินค้าตัวนั้นเป็นจีเอ็มโอ และประเทศผู้รับจะต้องยอมรับถึงจะมีการขนย้ายได้ ซึ่งการนำเข้าปลาเรืองแสงเป็นการนำเข้าเพื่อวิชาการ มีการระบุชัดเจนว่านำเข้ามา 20 ตัว ขนส่งด้วยเครื่องบิน มีนักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์นำมา เพื่อนำมาโชว์ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และเมื่อเสร็จงานแล้วจะมีการทำลายปลาม้าลายเรืองแสง โดยมีพยานรับรู้ เพื่อป้องกันการหลุดไปสู่สิ่งแวดล้อม ทุกขั้นตอนมีความโปร่งใสเป็นระบบที่รัดกุม

ขณะนี้ปลาม้าลายเรืองแสงยังไม่ได้นำมาสู่เชิงพาณิชย์ เนื่องจากต้องศึกษาเรื่องความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคว่า มีผลกระทบหรือไม่ เช่น ถ้าหากปลาตัวอื่นไปกินปลาม้าลายเรืองแสงเข้าไป แล้วคนนำมารับประทานจะมีความปลอดภัยต่อคนหรือไม่ ขณะเดียวกันในส่วนของนักวิทยาศาสตร์ไทยได้ศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการ ที่จะนำยีนเรืองแสงจากแมงกะพรุน ใส่ไปในเชื้อรา แบคทีเรียและเห็ด และกำลังศึกษาว่า เกิดการเรืองแสงหรือไม่ ซึ่งผลการทดลองเบื้องต้นพบว่ามีการเรืองแสง แต่ต้องศึกษาอีกมาก โดยการถ่ายทอดยีนเรืองแสงในสิ่งมีชีวิต สามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ได้ต่อไปในอนาคต เช่น นำยีนเรืองแสงมาใส่ในเชื้อรา ทำให้สามารถติดตามการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ชัดเจนขึ้น โดยดูจากเชื้อราที่เรืองแสงได้ ทั้งนี้ จะนำมาจัดแสดงในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันเสาร์ที่ 20 กันยายน 2546 หน้า 10


 
 
บันทึกการเข้า

Saaychol
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #6 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2007, 09:09:25 AM »

อ่านเจอในหนังสือพิมพ์เหมือนกัน..
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2008, 01:08:48 AM »


ดูมะเร็งใน"ปลาโป๊"
 
"ปลาม้าลาย" เป็นปลาที่นักวิทยาศาสตร์นำมาทดลองกันมาก นายริชาร์ด ไวต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสเต็มเซลล์ของโรงพยาบาลเด็กที่เมืองบอสตั้น ทำการเพาะพันธุ์ปลาม้าลายใหม่ให้ลำตัวมีความใสแจ๋ว โป๊จนมองเห็นสมอง หัวใจ เครื่องใน เพื่อจะได้นำมาศึกษาเรื่องโรคง่ายขึ้น เช่น การแพร่กระจายของโรคมะเร็ง ซึ่งมันจะมีสีใสเช่นนี้ไปตลอดชีวิต ปลาใสตัวนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า "แคสเปอร์" ผสมมาจากปลาม้าลาย 2 ตัว ตัวหนึ่งขาดพิกเมนต์สีดำ ส่วนอีกตัวหนึ่งขาดพิกเมนต์สีผิวสะท้อนของปลา ตอนที่แคสเปอร์ยังเป็นลูกปลามันมีสีเหลืองอ่อนและค่อยๆ ใสขึ้นเป็นลำดับ
 
   

ความที่ตัวปลาใส ทำให้นักวิทยาศาสตร์มองเห็นความเป็นไปต่างๆ ของร่างกาย อย่างการเจริญเติบโตของเนื้องอก โดยก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ศึกษาโรคใน "ตัวอ่อน" ของปลาม้าลาย ซึ่งตัวอ่อนนี้มีสีใสตามธรรมชาติ แต่เมื่อตัวอ่อนโตและกลายเป็นปลาม้าลาย มันจะเปลี่ยนจากสีใสเป็นขุ่น

สำหรับปลาม้าลายนั้นมีพันธุกรรมหลายอย่างคล้ายมนุษย์ จึงเป็นแบบที่ดีในการศึกษาโรคและชีววิทยาของมนุษย์

ในการทดลอง ไวต์และคณะนำก้อนมะเร็งเรืองแสงสีดำ (fluorescent melanoma cells) ใส่ไว้ในช่องท้องของปลา จากนั้นเฝ้าสังเกตตัวปลาด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่า ภายใน 5 วันเซลล์มะเร็งเริ่มกระจาย ซึ่งสามารถมองเห็นการกระจายของเซลล์มะเร็งแต่ละเซลล์ด้วย

ไวต์ยังพบว่า ก้อนมะเร็งออกจากช่องท้องและมุ่งหน้าไปเกาะกลุ่มยังผิวหนัง หมายความว่า เมื่อมะเร็งกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย มันไม่ได้กระจายไปแบบสุ่มสี่สุ่มห้า แต่กระจายไปยังพื้นที่ที่มันต้องการ

อีกการทดลอง ไวต์ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์เรืองแสง ซึ่งเป็นสเต็มเซลล์ในการสร้างเม็ดเลือด จากปลาม้าลายไปยังปลาใสภายใน 4 อาทิตย์ ไวต์เห็นด้วยตาเปล่าว่า สเต็มเซลล์ในปลาใสเคลื่อนไปยังไขกระดูกและเริ่มเจริญเติบโต โดยไขกระดูกซึ่งเป็นเนื้อเยื่อไขมันในกระดูกได้เลี้ยงสเต็มเซลล์จนกลายเป็นเซลล์เม็ดเลือดและออกไปยังเส้นเลือด ซึ่งโรคใดๆ ที่ขัดขวางการผลิตเซลล์เม็ดเลือดนั้นจะทำให้เกิดโรคทางไขกระดูก เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ดังนั้น การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ในการสร้างเม็ดเลือดจึงช่วยผู้ป่วยมะเร็งให้สร้างเลือดที่แข็งแรงขึ้นมาอีกครั้ง

การเฝ้าดูความเป็นไปที่เกิดขึ้นในปลาใสจึงเป็นประโยชน์อย่างที่กล่าวมา




จาก               :             ข่าวสด  คอลัมน์หมุนก่อนโลก  วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หอยกะทิ
สี่ดาวยังอยู่แค่เอื้อม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 155


บุ๋งๆ จงกลายเป็นวงๆๆๆ


« ตอบ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2008, 01:57:31 PM »

สงสัยหนังสือพิมพ์จะลงรูปปลาผิด คนละเรื่องกันเลย ส่วนปลาม้าลายเรืองแสงที่ว่าทางต้นสังกัดผู้เพาะพันธุ์รายแรก (ผู้ที่ตัดต่อยีนมารายแรก) ลงข่าวโครมๆว่าเขาได้ทำให้ปลาทุกตัวมีลักษณะเป็นหมัน 100% ป้องกันการระบาดของสัตว์ GMO ได้นั้น

ขณะนี้เกษตรกรไทยเพาะพันธุ์กันได้หลายรายแล้วครับ เป็นปีๆแล้ว อิอิ ถ้าจะ GMO ก็คงมียีนที่ตัดแต่งมา ปะปนอย่างมากใน gene pool ของปลาม้าลายแล้วครับ ส่วนเรื่องกินได้หรือไม่นั้น ราคายังสูงกว่าจะเป็นแหล่งอาหาร แต่ก็น่าจะกินได้เพราะ ตัวที่คัดทิ้งขายเป็นปลาเหยื่อถุงละ 10 บาท ?!?!?!

งานนี้บริษัทผู้สร้างปลาม้าลายเรืองแสงขึ้นมาคงต้องทบทวนกระบวนการคิด และผลิตปลา GMO ใหม่อีกรอบ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.023 วินาที กับ 21 คำสั่ง