กระดานข่าว Save Our Sea.net
พฤษภาคม 18, 2024, 03:15:57 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สมดุลแห่งชีวิต "Giant clam!"  (อ่าน 1994 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2007, 12:41:34 AM »


สมดุลแห่งชีวิต "Giant clam!"



เสียงฮือฮาดังก้องเรือท้องกระจกทันทีที่ท้องเรือเคลื่อนผ่านมาถึงจุดสำคัญของแนวปะการัง "นอร์มัน" ใน The Great Barrier Reef ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งเมืองแคนส์ราว 56 กิโลเมตร

ความรู้สึกเมื่อแรกเห็นนั้นมันบอกไม่ถูก อธิบายไม่ได้จริงๆ ว่าเป็นอย่างไร จำได้แต่ว่าขนลุกซู่ สะท้านไปทั้งตัวกับความตื่นตะลึงแทบไม่เชื่อสายตา

หอยมือเสือขนาดใหญ่ยักษ์ (Tridacna gigas) กำลังอ้าฝาอยู่ท่ามกลางกลุ่มปะการังใหญ่น้อย และฝูงปลาหลากสี

ฝาทั้งสองข้างเปิดให้เห็นเนื้อเยื่อด้านในลักษณะยืดหยุ่นหยักเป็นคลื่นลอน บนผิวเนื้อเยื่อนั้นมีจุดเล็กๆ สีสันหลากหลายทั้งเขียว ฟ้า ชมพู ม่วง เปล่งประกายเรือง สะท้อนแสงอยู่ใต้ทะเล

สีสันหลากหลายเหล่านี้แท้จริงแล้วคือสาหร่ายจำพวกไดโนแฟลกเจลเลตที่มาอาศัยอยู่จำนวนมาก เป็นการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน คือนอกจากหอยมือเสือจะได้รับอาหารโดยการกรองกินแพลงก์ตอนในน้ำทะเลแล้ว ยังได้รับสารอาหารจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายในเนื้อเยื่อของมันด้วย ขณะที่สาหร่ายก็ได้ที่อยู่อาศัยจากหอยแลกเปลี่ยนกัน

จากลักษณะสำคัญของการพึ่งพาอาศัยกับสาหร่ายนี้เองทำให้หอยมือเสือจำกัดการแพร่กระจายอยู่เฉพาะในเขตน้ำตื้นในแหล่งที่มีน้ำใสซึ่งแสงแดดสามารถส่องผ่านลงไปได้เพียงพอ จึงมักพบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังในระดับความลึกไม่เกิน 20 เมตร ฉะนั้นไม่ต้องดำน้ำลึกก็มองเห็นได้ และเมื่อเห็นได้ง่ายก็มีโอกาสถูกทำลายได้ง่ายเช่นกัน

ที่น่าขนลุกก็คือขนาดอันใหญ่โตมโหฬารของมันพอๆ กับรถโฟล์กเต่า ยิ่งเมื่อมันอ้าฝาออกกว้าง และมองพิศนานๆ ก็จะเห็นเนื้อเยื่อในฝาหอยขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวช้าๆ นั่นคือสิ่งที่บ่งบอกว่ามีชีวิต

"เฮ้ ! แล้วนั่นอะไรน่ะ" เพื่อนนักข่าวชาวอินโดนีเซียที่ไปด้วยกันถามขึ้น พร้อมกับชี้ให้ดูรูขนาดเท่าศีรษะเด็กตรงกลางเนื้อหอยที่ยื่นออกมาเป็นท่อสั้นๆ

รูนั้นเคลื่อนไหวส่ายไปมาด้วย มันคือปากหอย...ที่พร้อมจะฮุบเหยื่อ !

เวลาผ่านไปสักพักเจ้าหอยยักษ์เริ่มขยับฝา แต่กว่าเนื้อเยื่อที่แผ่ออกมานอกเปลือกจะหลุบเข้าไปข้างในได้ก็ใช้เวลาไม่น้อย ระหว่างนั้นรูกลมๆ ที่เป็นปากก็พ่นฟองอากาศออกมา ไกด์บอกว่านี่คือขั้นตอนของการรีดน้ำออกจากตัวหอยก่อนที่มันจะปิดฝาลงจนสนิท

ไม่อยากจินตนาการเลยว่า ถ้าหากตัวเราไปติดอยู่ระหว่างฝาหอยที่กำลังปิด

อะไรจะเกิดขึ้น !

นักดำน้ำทั่วโลกที่หลงใหลชีวิตสัตว์ใต้ทะเล หากอยากจะเห็นหอยมือเสือยักษ์ก็ต้องมุ่งหน้าสู่ทะเลใต้ และแนวปะการังใหญ่ของออสเตรเลียคือแหล่งที่อยู่อาศัยอันอุดมสมบูรณ์ที่สุดของหอยนี้ รับรองว่าไปดูเมื่อไหร่จะได้เห็นเมื่อนั้น และถึงจะดำน้ำไม่เป็นก็ดูได้โดยตัวไม่เปียก ด้วยเรือท้องกระจกขนาดใหญ่ที่สะดวกปลอดภัย

ต้องชื่นชมว่าออสเตรเลียจัดการท่องเที่ยวชมแนวปะการังอันเป็นที่รักและหวงแหนของพวกเขาได้อย่างยอดเยี่ยมมาก และน่าเสียดายจริงๆ เมื่อรู้ว่าท้องทะเลไทยก็เคยมีหอยมือเสือชนิดนี้มาก่อน แต่มันได้สูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปเรียบร้อยแล้ว (เคยมีการพบเปลือกหอยยักษ์จำนวน 5 ฝา ที่เกาะราชาใหญ่ จ.ภูเก็ต แต่ละเปลือกมีขนาดความยาวตั้งแต่ 87-98 ซ.ม. มีน้ำหนักกว่า 100 กิโลกรัม)

นี่คือสุดยอดของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังใหญ่ของโลกที่มีโอกาสได้เห็นเมื่อหลายปีก่อน และยังฝังตรึงอยู่ในความทรงจำตลอดมา

หอยมือเสือตัวนั้นเป็นเครื่องเตือนใจให้ตระหนักอยู่เสมอว่า สมดุลแห่งชีวิตคือการเรียนรู้ที่จะให้และรับสัตว์ตัวใหญ่บางทีก็อยู่ไม่ได้ถ้าไม่ยอมให้สัตว์เล็กๆ คอยเบียดเบียนเสียบ้าง




จาก            :           คอลัมน์ DeJavu   โดย  สุมิตรา จันทร์เงา     ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3950
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
คนชอบลุย
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13



« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2007, 07:41:00 AM »

แล้วเมืองไทยจะมีใหญ่แบบนั้นไหมน้อ.....
บันทึกการเข้า
แม่หอย
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1404



« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2007, 09:31:28 AM »

ข้อความในบทความนี้ ...
...
"เฮ้ ! แล้วนั่นอะไรน่ะ" เพื่อนนักข่าวชาวอินโดนีเซียที่ไปด้วยกันถามขึ้น พร้อมกับชี้ให้ดูรูขนาดเท่าศีรษะเด็กตรงกลางเนื้อหอยที่ยื่นออกมาเป็นท่อสั้นๆ

รูนั้นเคลื่อนไหวส่ายไปมาด้วย มันคือปากหอย...ที่พร้อมจะฮุบเหยื่อ !

เวลาผ่านไปสักพักเจ้าหอยยักษ์เริ่มขยับฝา แต่กว่าเนื้อเยื่อที่แผ่ออกมานอกเปลือกจะหลุบเข้าไปข้างในได้ก็ใช้เวลาไม่น้อย ระหว่างนั้นรูกลมๆ ที่เป็นปากก็พ่นฟองอากาศออกมา ไกด์บอกว่านี่คือขั้นตอนของการรีดน้ำออกจากตัวหอยก่อนที่มันจะปิดฝาลงจนสนิท

ไม่อยากจินตนาการเลยว่า ถ้าหากตัวเราไปติดอยู่ระหว่างฝาหอยที่กำลังปิด

อะไรจะเกิดขึ้น !

...


เอ่อ.. อ่านแล้วถอนใจนิดหน่อยค่ะ .. ข้อความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปโขอยู่นะคะ..
ไอ้ท่อสั้นๆ ที่ว่ามีรูกลมๆ ขนาดศีรษะเด็กนั่น น่าจะเป็นท่อน้ำออก (exhalent siphon) ของหอย ซึ่งเป็นทางให้น้ำไหลออกจากช่องว่างในตัว รวมทั้งเป็นช่องทางที่หอยปล่อยไข่และน้ำเชื้อออกมาด้วย มันจะอยู่คู่กับทางน้ำเข้า หรือ inhalent siphon  .. ซึ่งเป็นช่องเปิดกว้าง มองเข้าไปจะเห็นเหงือกหอยลักษณะเป็นพูๆ อยู่ภายในตัว

 ท่อหรือทางน้ำทั้งเข้าและออกของหอยมือเสือ ไม่ได้มีไว้ "ฮุบ" เหยื่อใดๆ เลยแม้แต่น้อย คำว่า ฮุบเหยื่อนั้นฟังดูเหมือนหอยจะฮุบกินเหยื่อเป็นอาหาร ซึ่งความจริงแล้ว หอยมือเสือได้รับอาหารส่วนหนึ่งจากการกรองกินจุลินทรีย์หรือแพลงก์ตอนเล็กๆ ที่ผ่านเข้าในตัวหอยโดยทางน้ำเข้า แล้วเหงือกช่วยกรองไว้ให้  นอกจากนี้พลังงานส่วนใหญ่ของหอยมือเสือจะได้จากการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายเซลล์เดียวพวกไดโนแฟลกเจลเลตที่มีชื่อสามัญว่าซูแซนเทลลี (zooxanthellae) ที่อาศัยดำรงชีวิตอยู่ในเนื้อเยื่อแมนเทิลของหอยนั่นเอง ..

หอยมือเสือขนาดใหญ่ ที่อายุมากๆ ปิดฝาเปลือกได้ไม่สนิทหรอกค่ะ เพราะหลายๆ ปีที่ดำรงอยู่ทั้งชีวิตนั้น เธอใช้เวลาส่วนใหญ่อ้าเปลือกแผ่เนื้อเยื่อที่มีสาหร่ายให้ได้รับแสงแดด เพื่อการดำรงชีวิตและการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย  จะหุบก็ต่อเมื่อมีสิ่งรบกวนผ่านว่อบแว่บไปมา หรือยามค่ำคืนที่ไม่มีแสง .. เมื่ออ้าปากค้างอยู่อย่างนั้นจนเป็นนิสัย ก็ทำให้เปลือกปิดได้ไม่สนิท  ไม่เหมือนตอนเด็กๆ ที่ฝาเปลือกทั้งสองฝาจะหุบเข้าหากันได้สนิทกว่า..

อย่ามองหอยมือเสือเป็นเหมือนยักษ์มารนะคะ.. เธอไม่งับหัวใครง่ายๆ หรอก ..
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.02 วินาที กับ 22 คำสั่ง