กระดานข่าว Save Our Sea.net
พฤษภาคม 21, 2024, 02:58:25 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เวอร์จินเบิร์ธ (virgin birth) .. การเกิดโดยไม่ได้ผสมพันธุ์  (อ่าน 10667 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
แม่หอย
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1404



« เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 10:02:24 PM »

 
ได้ไปอ่านข่าววิทยาศาสตร์ในผู้จัดการออนไลน์ พบเรื่องน่าสนใจของสัตว์โลก เกี่ยวกับการเกิดโดยไม่ได้ผสมพันธุ์ ซึ่งเท่าที่ร่ำเรียนมาแต่สมัยโบราณรู้ว่าการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศหรือไม่มีการปฎิสนธิ นั้นพบเป็นปกติในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำอยู่แล้ว นับตั้งแต่สืบพันธุ์โดยการแบ่งตัว การแตกหน่อ ต่อมาแม้กระทั่งในสัตว์ที่มีการแยกเพศเป็นตัวผู้ตัวเมียบางชนิดก็อาจสืบพันธุ์ได้โดยไม่ต้องมีการผสมพันธุ์ ตัวเมียให้กำเนิดลูกได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวผู้ เช่นในแมลงบางชนิด และนับวันมีการค้นพบเรื่องน่าทึ่งเกิดขึ้นเรื่อยๆ จนล่าสุดที่ได้อ่านข่าวเรื่องปลาฉลามหัวค้อนในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเฮนรี ดอร์ลี ในประเทศสหรัฐอเมริกา (Henry Doorly Zoo, Nebraska) ซึ่งออกลูกมาโดยไม่มีการผสมพันธุ์ ในข่าวเขียนว่าตั้งแต่ปี 2546 แต่ลูกที่ได้ ได้ถูกปลากระเบนในอะควาเรียมนั้นฆ่าตายไปเสียก่อน .. ไม่ทราบเหมือนกันว่าหลังจากนั้นออกมาอีกหรือเปล่า
และก่อนหน้านั้นก็มีข่าวเกี่ยวกับแม่มังกรโคโมโดในสวนสัตว์ 2 แห่งในประเทศอังกฤษ ออกไข่โดยไม่มีการผสมพันธุ์และไข่สามารถฟักออกเป็นลูกมังกรน้อยน่ารัก ลืมตามาดูโลกได้อย่างแข็งแรงสมบูรณ์ดี
มังกรโคโมโด:
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000155940
ฉลามหัวค้อน:
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000059576
บันทึกการเข้า
แม่หอย
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1404



« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 10:09:53 PM »

ขออนุญาตลอกรายละเอียด สำหรับท่านที่ขี้เกียจตาม link ไปอ่านนะคะ ..

ฉลามหัวค้อน "เวอร์จินเบิร์ธ" มีลูกเองได้ยามขาดแคลนตัวผู้
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 24 พฤษภาคม 2550 03:19 น.

ฉลามหัวค้อนในสวนสัตว์เกิดขยายพันธุ์ได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์กับฉลามเพศผู้ ปรากฎเป็นกรณีแรกของสัตว์สายพันธุ์นี้ แสดงให้เห็นถึงกลไกธรรมชาติในยามคับขันเมื่อประชากรลดลง 
 
เอพี/บีบีซีนิวส์/เอเจนซี - พบ "เวอร์จินเบิร์ธ" ในฉลามหัวค้อนสามารถมีลูกโดยไม่ต้องผสมพันธุ์ นับเป็นกรณีแรกที่พบในสัตว์ชนิดนี้ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ความหลากหลายทางพันธุกรรมลดลง ส่งผลให้ลูกฉลามที่เกิดมามีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมหรือเชื้อโรคใหม่ๆ และกระทบต่อจำนวนประชากรฉลามที่กำลังลดลงเรื่อยๆ
       
       เหตุน่าประหลาดใจเกิดขึ้น เมื่อฉลามเพศเมียตัวหนึ่งของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเฮนรี ดอร์ลีในเนบราสกา สหรัฐฯ (Henry Doorly Zoo, Nebraska) ที่ออกลูกมาเมื่อปี 2546 ทั้งที่ไม่เคยใกล้ชิดกับฉลามเพศผู้มาก่อนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
       
       ทั้งนี้ การเกิดมาของลูกปลาฉลามในสวนสัตว์เฮนรี ดอร์ลีย์เป็นทั้งปริศนาและเรื่องน่าเศร้า เพราะหลังจากฉลามน้อยลืมตาดูโลกได้ไม่นาน ทั้ง 3 ตัวก็ถูกปลากระเบนฆ่าตายก่อนที่เจ้าหน้าที่จะทันแยกมันออกมาจากบ่อ
       
       อย่างไรก็ดี ปริศนาการถือกำเนิดของลูกฉลามหัวค้อนครั้งนี้คลี่คลายลงด้วยเทคนิคการตรวจสอบดีเอ็นเอจากทีมวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยควีนส์ ในเบลฟาสต์ ไอร์แลนด์เหนือ (Queen's University Belfast) มหาวิทยาลัยโนวา เซาธ์อีสเทิร์น ในฟลอริดา สหรัฐฯ (Nova Southeastern University in Florida) และสวนสัตว์เฮนรี ดอร์ลีย์ โดยนักวิจัยได้ระบุลงในรายงานของวารสารไบโอโลจี เลตเตอร์ส (Biology Letters) ว่า การตรวจสอบพันธุกรรมของลูกฉลามไม่พบร่องรอยดีเอ็นเอของพ่อแต่อย่างใด
       
       "การเกิดโดยไม่ผสมพันธุ์" (Parthenogenesis) หรือ "เวอร์จิน เบิร์ธ" (virgin birth) เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ไข่ถูกกระตุ้นให้พัฒนากลายเป็นตัวอ่อนโดยไม่ได้รับวัสดุพันธุกรรมจากเซลล์อสุจิของตัวผู้
       
       การแพร่พันธุ์ในลักษณะนี้เคยมีให้เห็นในปลากระดูกแข็ง (bony fish) แต่ไม่เคยพบในปลากระดูกอ่อน (cartilaginous fish) อย่างฉลาม อีกทั้งพบยากยิ่งในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมีสัตว์ประมาณ 70 สายพันธุ์ที่มีความสามารถดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งจกและงู
       
       สิ่งที่พบกลายเป็นประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการสงวนพันธุ์ปลาฉลาม เนื่องจากในธรรมชาตินั้น สัตว์เหล่านี้เผชิญความกดดันรุนแรงจากการทำประมงเกินขนาด ซึ่งทำให้ฉลามหลายสายพันธุ์ลดจำนวนลงอย่างมาก
       
       หากกลุ่มฉลามที่มีจำนวนลดลง จนพวกเขาเลือกใช้วิธีแพร่พันธุ์โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ เนื่องจากฉลามตัวเมียไม่สามารถหาตัวผู้มาผสมพันธุ์ได้ อาจทำให้ประชากรฉลามรุ่นใหม่อ่อนแอกว่าเดิม
       
       เนื่องจากการแพร่พันธุ์ด้วยวิธีการดังกล่าวทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมลดลง ทำให้ลูกฉลามที่เกิดมามีปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและโรคใหม่ๆ
       
       ดร.เปาโล โปรดอห์ล (Dr Paulo Prodohl) จากภาควิชาชีววิทยามหาวิทยาลัยควีนส์หนึ่งในผู้เขียนรายงาน กล่าวว่า โดยปกติแล้วสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังจะมีวิวัฒนาการที่ห่างไกลจากการแพร่พันธุ์โดยไม่มีการผสมพันธุ์ระหว่างตัวผู้กับตัวเมีย เพื่อสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรม และส่งเสริมความสามารถในการวิวัฒนาการ
       
       โปรดอห์ลสำทับว่า ปัจจุบัน จึงมีเพียงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้นที่เป็นกลุ่มของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่สำคัญกลุ่มเดียว ซึ่งไม่มีการแพร่พันธุ์โดยปราศจากการผสมพันธุ์
       
       "สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับฉลามก็คือ มนุษย์ไม่เพียงทำให้จำนวนประชากรฉลามลดลงเท่านั้น แต่ยังทำให้ฉลามรุ่นใหม่ๆ ไม่แข็งแรงพอที่จะอยู่ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติได้ เราจะนำสิ่งที่ค้นพบครั้งนี้ไปขยายผลเพื่อหากลยุทธ์การจัดการเพื่อสงวนพันธุ์ฉลาม โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่ถูกคุกคามอย่างรุนแรงต่อไป" โปรดอห์ลกล่าว
       
       แม้การขยายพันธุ์โดยไม่พึ่งการปฏิสนธิกับสเปิร์มของเพศผู้จะสร้างความอ่อนแอและไม่หลากหลายทางพันธุกรรมให้แก่ลูกฉลามที่เกิดใหม่ แต่ในระยะสั้นถือเป็นอีกทางในการการแก้ปัญหาประชากรฉลามที่กำลังจะสูญพันธุ์ เฉพาะน่านน้ำแถวไอร์แลนด์ประชากรฉลามลดลงถึง 90% ในรอบ 12 ปี


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 22, 2008, 01:49:10 AM โดย แม่หอย » บันทึกการเข้า
แม่หอย
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1404



« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 10:15:35 PM »

 
จาก: ผู้จัดการออนไลน์

แม้การขยายพันธุ์เองของฉลามหัวค้อนจะส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนฉลาม แต่ในระยะยาวเมื่อขาดความหลากหลายทางชีวภาพ (จากเพศผู้) ก็ส่งผลให้ฉลามเริ่มอ่อนแอลง

เปรียบการปฏิสนธิแบบมีสเปิร์มจากเพศผู้และไม่มี โดยภาพส่วนบนเป็นการปฏิสนธิแบบปกติทั่วไป ในขั้นแรกเซลล์ไข่ของเพศเมียจะแบ่งตัวเป็น 4 และในขั้นที่ 2 จะเหลือเพียง 1 เซลล์ที่พร้อมปฏิสนธิ ขั้นที่ 3 สเปิร์มจากเพศผู้เข้ามาปฏิสนธิกับไข่ที่มีโครโมโซมเพศหญิงรออยู่ และขั้นสุดท้ายจะได้ไข่ที่ผสมแล้ว และประกอบด้วยโครโมโซมเพศเมียและผู้ 1 คู่ ขณะที่การปฏิสนธิแบบไม่ใช้สเปิร์มจากเพศผู้ ในขั้นที่ 3 โครโมโซมเพศหญิงที่รออยู่ในเซลล์ไข่จะแตกตัวออกเป็น 2 ชุด กลายเป็นไข่ที่มีโครโมโซมหญิง 1 คู่พร้อมเจริญเติบโต (ภาพจาก BBC)

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000059576
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 24, 2007, 10:19:27 PM โดย แม่หอย » บันทึกการเข้า
แม่หอย
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1404



« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 10:20:51 PM »

 
แสดงว่าลูกฉลามที่เกิดมาแบบนี้ จะกลายเป็นตัวเมียทั้งหมดหรือไง.. เอ้า.. ผู้หญิงครองโลก
บันทึกการเข้า
แม่หอย
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1404



« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 10:35:06 PM »

ที่จริงน่าจะไม่เกี่ยวกับเพศหรอกค่ะ น่าจะหมายถึงยีน (genes) ทั้งหมดได้มาจากแม่ แต่ต้องดูโครโมโซมเพศอีกที ..หรือเปล่าชักงงๆ 
ไปอ่านเรื่องมังกรโคโมโดในผู้จัดการออนไลน์นี่เช่นกัน เขาว่าลูกทั้งหมดจะเป็นตัวผู้ .. งง งง ..

เวอร์จินเบิร์ธ !! มังกรโคโมโดสาวฟักไข่ไม่ใช้ตัวผู้  
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 21 ธันวาคม 2549 03:45 น.
 
   
ไข่ที่ฟลอราคลอดออกมาตั้งแต่กลางปี และขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงกก เพื่อให้ออกมาเป็นตัวน้อยในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ซึ่งการออกไข่ครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากการผสมพันธุ์กับเพศผู้แต่อย่างใด

เนเจอร์/บีบีซีนิวส์/เอพี – วิวัฒนาการสุดประหลาด 2 มังกรโคโมโดสาวบนเกาะอังกฤษมอบ “เวอร์จิน เบิร์ธ” เป็นของขวัญคริสต์มาส ด้วยการให้กำเนิดลูกมังกรน้อยทั้งที่ยังไม่ได้ผสมกับเพศผู้ตัวใดๆ แม้การขยายพันธุ์แบบนี้จะเกิดในสัตว์อื่นยามคับขันขาดตัวผู้ แต่ยังไม่เคยพบมาก่อนในสัตว์ชนิดนี้
       
       สวนสัตว์ 2 แห่งในอังกฤษอาจจะได้ฉลองคริสต์มาสปีนี้ด้วย “เวอร์จินเบิร์ธ” (Virgin Birth) เมื่อ “ฟลอรา” (Flora) มังกรโคโมโด (Komodo dragon) ในสวนสัตว์เชสเตอร์ (Chester Zoo) ตั้งตารอการฟักของลูกน้อย 8 ตัว ขณะที่ “ซังไก” (Sungai) แม่โคโมโดสาวอีกตัวหนึ่งในสวนสัตว์ลอนดอน (London Zoo) ได้ฟักลูกน้อยออกมาแล้ว 4 ตัว
       
       ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ มังกรโคโมโดสาวทั้งคู่ให้กำเนิดลูกตามแนวคิดเดียวกันกับ “เวอร์จินเบิร์ธ” นั่นคือการให้กำเนิดลูกโดยไม่มีการผสมพันธุ์กับเพศผู้มาเกี่ยวข้อง
       
       เควิน บูเลย์ (Kevin Buley) ผู้ดูแสสวนสัตว์เชสเตอร์ ซึ่งร่วมเขียนรายงานพฤติกรรมการขยายพันธุ์ที่ไม่เคยพบมาก่อนของสัตว์ชนิดนี้ลงในวารสารเนเจอร์ (Nature) เปิดเผยว่า ฟลอราได้วางไข่มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และขณะนี้กำลังเฝ้ากกไข่ เชื่อว่าไข่ทั้ง 8 จะฟักเป็นตัวในช่วงคริสต์มาสที่จะถึงนี้ ซึ่งทางสวนสัตว์ตื่นเต้นกับสมาชิกใหม่ที่กำลังจะออกมาดูโลกในลักษณะพิเศษและช่วงเวลาที่แสนพิเศษ
       
       ทว่า “การเกิดโดยไม่ผสมพันธุ์” (Parthenogenesis) ไม่ต้องอาศัยตัวผู้มาทำการปฏิสนธินั้นเกิดขึ้นได้ยากยิ่งในสัตว์จำพวกมีกระดูกสันหลัง ซึ่งมีสัตว์ประมาณ 70 สายพันธุ์ที่มีความสามารถดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งจกและงู แต่ยังไม่เคยมีรายงานพฤติกรรมการเกิดโดยไม่ผสมพันธุ์ในมังกรโคโมโดมาก่อน
       
       แต่ตอนนี้มังกรโคโมโดเพศเมีย 2 ใน 3 ตัวบนเกาะอังกฤษกลับให้กำเนิดโดยการไม่ผสมพันธุ์
       
       เจ้าหน้าที่สวนสัตว์แสดงความประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะมังกรเพศเมียทั้ง 2 ต่างไม่เคยเข้าใกล้เพศผู้ในช่วงเวลาที่จะเริ่มหรือทำให้เกิดการตั้งท้องได้ เพื่อยืนยันความเป็นพ่อของลูกมังกร ทางสวนสัตว์ได้ให้ ฟิลลิป วัตส์ (Phillip Watts) นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองลิเวอร์พูล (University of Liverpool) มาตรวจสอบลายพิมพ์ทางพันธุกรรม โดยใช้ไข่ 3 จาก 11 ฟองที่ตายไปเมื่อต้นปีของฟลอรา
       
       ผลการตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอปรากฏว่าเหล่ามังกรโคโมโดน้อยที่เพิ่งกำเนิดเหล่านั้นไม่ได้ถอดแบบทางพันธุกรรมเหมือนแม่มาทั้งหมด แต่ลูกน้อยที่ไม่ได้เกิดจากการผสมกลับมียีนเหมือนกับแม่มากกว่าครึ่ง และแสดงให้เห็นว่าใช้โครโมโซม 2 เท่าจากของแม่เพียง 1 ชุด ที่สำคัญไม่มีร่องรอยทางพันธุกรรมของมังกรโคโดโมตัวอื่นๆ มาเกี่ยวข้อง โดยวัตส์ได้นำทีมศึกษาและเป็นผู้นำเขียนรายงานลงตีพิมพ์
       
       ในไข่ที่แม่มังกรคลอดออกมานั้นมีข้อมูลทางพันธุกรรมบรรจุอยู่ครึ่งหนึ่ง และจะถูกคัดลอกออกมาชุดหนึ่งติดไปกับเซลล์ขั้ว (polar body) หากผสมพันธุ์แบบปกติโพลาร์บอดี้จะฝ่อไปในภายหลังกระบวนการสร้างไข่ ปล่อยให้สเปิร์มที่ได้จากเพศผู้เติมเต็มชุดโคโมโซมตามที่ตัวอ่อนต้องการ แต่ในกระบวนการเกิดโดยไม่ผสมพันธุ์นั้นโพลาร์บอดี้จะถูกดูดซึมเข้าไปในไข่
       
       ทั้งนี้ มังกรโคโมโดทั่วไป ตัวเมียจะมีโครโมโซมเพศที่ต่างกัน 2 ชนิดคือ ZW ขณะที่มังกรเพศผู้จะมี ZZ ส่วน WW ยังไม่เคยปรากฏ ดังนั้นหากเพศเมียให้กำเนิดโดยมีการเพิ่มโครโมโซมไปเท่าตัวก็จะทำให้ได้แต่เพศผู้คือ ZZ
       
       ริชาร์ด กิบสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลี้อยคลานสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (Zoological Society of London) ผู้ร่วมเขียนรายงานชิ้นนี้ตอบคำถามถึงเหตุที่มังกรโคโมโดให้กำเนิดลูกโดยไม่ผสมพันธุ์ นั่นก็เพราะเมื่อพวกเขาถูกกังขังหรือติดอยู่บนพื้นที่ที่ไม่สามารถพบตัวผู้มาร่วมผสมพันธุ์ได้ พวกมังกรสาวเหล่านี้ก็จะต้องขยายพันธุ์ด้วยตัวเอง
       
       อย่างในกรณีของซังไกสามารถให้กำเนิดโดยไม่ผสมพันธุ์ได้หลังจากห่างหายการพบปะเพศผู้ไป 2-3 ปี แต่ก่อนหน้านี้เธอก็สามารถให้กำเนิดลูกด้วยการผสมพันธุ์แบบปกติได้ และทีมวิจัยก็เชื่อว่าซังไกน่าจะกลับไปผสมพันธุ์แบบปกติได้หากพบเพศผู้
       
       อย่างไรก็ดี สัตว์สายพันธุ์อื่นๆ ก็ใช้วิธีการนี้ขยายพันธุ์ หากต้องอยู่ในภาวะโดดเดี่ยว อาทิ การให้กำเนิดโดยไม่ผสมพันธุ์ของแมลงปอสายพันธุ์หนึ่งบนเกาะอซอเรส (Azores) แมลงเหล่านี้ขยายพันธุ์อย่างมีความสุขโดยไม่ต้องพึ่งเพศผู้แม้แต่น้อย นอกจากนี้ยังมีในปลาหรือไก่งวง แต่ก็ยังไม่เคยเห็นในมังกรโคโดโมมาก่อน ซึ่งพฤติกรรมนี้ทำให้นักสัตววิทยาไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องปกติของมังกร หรือว่าเป็นการปรับตัวเฉพาะสถานการณ์ของแต่ละตัว
       
       ทั้งนี้ สวนสัตว์ต่างๆ ที่เก็บมังกรโคโมโดไว้มักจะแยกตัวผู้ตัวเมียออกจากกัน และนำมาพบกันบางครั้งเพื่อให้ขยายพันธุ์ ซึ่งนักวิจัยชี้ว่าตรงจุดนี้อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ดังนั้นทางที่ดีผู้ดูแลสวนสัตว์ต่างๆ น่าจะให้มังกรโคโมโดเพศผู้และเพศเมียได้อยู่ร่วมกรงกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการกำเนิดแบบไม่ผสมพันธุ์ของเพศเมีย แม้ว่าลูกที่เกิดมาจะยังไม่แสดงปัญหาทางกายภาพในขณะนี้
       
       ปัจจุบันประชากรมังกรโคโมโดในป่ามีน้อยกว่า 4,000 ตัว โดยส่วนใหญ่พบในถิ่นกำเนิดดั้งเดิมคือหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย ทั้งในเกาะโคโมโดอันเป็นแหล่งค้นพบ เกาะฟลอเรส และเกาะรินกา มังกรโคโดโมโดนับเป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตัวผู้โตเต็มวัยจะมีความยาวลำตัวถึง 3 เมตร น้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม

 
 
ฟลอรา มังกรโคโมโดวัย 8 ปีกำลังกินปลาอยู่ในอาณาเขตของเธอที่สวนสัตว์เชสเตอร์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ยังไม่เคยพาตัวผู้มาพบปะ แต่ฟลอราก็จัดการขยายพันธุ์ด้วยตัวเอง


ลูกมังกรโคโมโดของซังไกที่ฟักออกมาเป็นตัวก่อนหน้านี้ โดยไม่ได้ผสมพันธุ์กับเพศผู้ มีทั้งหมด 4 ตัวล้วนแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีลักษณะผิดปกติแต่อย่างใด

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000155940

บันทึกการเข้า
แม่หอย
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1404



« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 10:45:59 PM »

 
เขาว่า ปรากฎการณ์การเกิดโดยไม่ได้ผสมพันธุ์ หรือ Parthenogenesis นี้ (ยัง)ไม่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม .. ไอ้คำว่า "ยัง" ในวงเล็บน่ะ แม่หอยใส่เองค่ะ
คือว่าอะไรๆ ที่วันนี้เราเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ หรือยังไม่เคยเกิด วันหนึ่งมันอาจเกิดขึ้นมา
ตอนนี้มนุษย์เราจำนวนมากเริ่มแปรเปลี่ยนเพศจนงงไปหมด  ผู้หญิงสาวสวยรวยปัญญาอย่างเช่นสมาชิกชมรมคานทองของแม่หอยจำนวนมากไม่มีโอกาสขยายพันธุ์ น่าหดหู่นัก ฮิๆ.. กะว่าว่างๆ จะลอง parthenogenesis มั่งท่าจะดี ตอนนี้รอดูเจ้าโคโมโดน้อยน่ารักก่อนว่าจะไปรอดไหม ..
แหม.. หน้าบ้านของแม่หอยที่คลองวาฬมีประชากรญาตโคโมโดอยู่จำนวนไม่น้อย ว่างๆ จะลองไปแอบศึกษาหน่อยว่ามันเป็นไงกันมั่ง ท่าจะดีเหมือนกัน คิก คิก..
 
บันทึกการเข้า
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2007, 02:48:00 AM »



ก๊ากกกกก.....มุขของน้องแม่หอยนี่เด็ดสะระตี่ไปเลยค่ะ

หากประสบผลสำเร็จในการทำ Parthenogenesis ได้ลูกออกมาแล้ว พี่สองสายขอช่วยเลี้ยงบ้างนะคะ....

ขอบคุณน้องแม่หอยสำหรับเรื่องราวแปลกๆและบทวิเคราะห์ดีๆและสนุกสนานอย่างนี้ค่ะ....
บันทึกการเข้า

Saaychol
angel frog
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 371


สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว


« ตอบ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2007, 03:27:15 AM »

น่าสนใจมากเลย  เป็นความรู้ใหม่ค่ะ   ขอบคุณแม่หอยเน้อ   นอกจากจะมีความเป็นสาระแล้ว   แม่หอยยังมองโลกขำๆอีกด้วยละ   เรียกว่ามี ..เซนต์ ออฟ ฮิวเมอร์  เลยนะ   ชอบชอบจ้า  และคิดถึงนะจ๊ะ
บันทึกการเข้า
zmax
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 361



เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2007, 10:32:35 AM »

ขอบคุณค๊าบบบแม่หอย
บันทึกการเข้า

Defend our territory,.. Defend our sea!!
แม่หอย
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1404



« ตอบ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2007, 12:01:46 PM »

 
แฮ่ะ แฮ่ะ.. ทีแรกแม่หอยก็ไม่รู้จัก parthenogenesis หรอกค่ะ รู้จักแต่ budding หรือแตกหน่อ แบบตัวไฮดราที่เคยเรียนสมัยยังเด็ก  พอทำท่าเลยสามเสนมาหน่อย แม่หอยก็เลยคิดจะทำการ budding ตัวเอง คอยว่าจะมีแม่หอยจิ๋วออกมาตรงสีข้าง .. ไปๆ มาๆ หมอวิเคราะห์ว่าเป็นเนื้องอก ต้องเฉือนออกโดยไวก่อนที่จะกลับกลายเป็นมนุษย์ต่างดาว  แม่หอยจิ๋วเลยถูกผ่าตัดทิ้งลงถังขยะโรงพยาบาลรามาฯ ไปตั้งแต่บัดนั้น ..
มาตอนนี้ใกล้ถึงคลองห้าเต็มที ไม่รู้ไข่ยังเหลือให้เกิด parthenogenesis ได้มั่งหรือเปล่าก็ไม่รู้สิคะ.. ฮิๆ.. เอาน่า.. เดี๋ยวไปลองดูงานญาติโคโมโดก่อนแล้วจะมาเล่าให้ฟังนะคะ หากมีความคืบหน้า
เห็นทีจะต้องปรึกษาแม่หมูน้ำผู้เชี่ยวชาญพฤติกรรมการสืบพันธุ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ดูด้วยค่ะ.. 
บันทึกการเข้า
แม่หอย
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1404



« ตอบ #10 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2007, 12:38:06 PM »

 
มีข่าวคืบหน้าว่าสมาชิก SOS อย่างน้อย 1 ราย (ขอสงวนนาม) กำลังให้ความสนใจ virgin birth เป็นพิเศษ  กะจะวางแผนให้บัดดี้สาวตั้งครรภ์ซะ จะได้ชะลอการติดตามไปดำน้ำ ปล่อยให้ป๋า.. อุ๊บ.. สงวนนาม และนามแฝงด้วย.. ไปดำเดี่ยวเพื่อหาเวลาดูแลบัดดี้สาวๆ รายใหม่ๆ ต่อไประยะหนึ่ง
กระแสข่าวนี้ เล็ดลอดออกมาจากทริปดำน้ำเก็บขยะ ตัดอวน ที่ผ่านมาเมื่อวันสองวันนี้เอง..

สำนักข่าวโคมลอย.. รายงาน
บันทึกการเข้า
ประชาชาติ
ได้2ดาวแล้วพยายามอีกหน่อยจะได้สอย3ดาว
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 70


« ตอบ #11 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2007, 04:17:43 AM »

ป๋าสายน้ำหรือปล่าวครับแม่หอย.....ว่าแร้วไง......สงสัยอยู่......อิอิ.......


บันทึกการเข้า
แม่หอย
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1404



« ตอบ #12 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2007, 05:28:09 AM »

 
ก๊ากกก.. ก๊ากกก..
หนูป่าวนะ.. แค่ปล่อยให้สงสัยกันไปเอง ฮ่า ฮ่า ฮ่า..
บันทึกการเข้า
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #13 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2007, 12:02:24 AM »


แพทย์มึน"ฉลาม"ท้อง ไม่ต้องอาศัยอสุจิจากปลาหนุ่ม

นายสัตวแพทย์บ็อบ จอร์จ แห่ง "เวอร์จิเนีย อควาเรียม แอนด์ มารีน ไซแอนซ์ เซ็นเตอร์" ทำการผ่าตัดพิสูจน์หาสาเหตุการตายของ "ทิดบิต" ฉลามพันธุ์ "Blacktip Reef" ตามหน้าที่ หลังจากที่ทิดบิตตายระหว่างแพทย์ทำการตรวจร่างกายประจำปี

ขณะผ่าท้อง คุณหมอบ็อบตรวจอวัยวะภายในของฉลามตัวนี้ไปเรื่อยๆ จนพบว่ามันตั้งท้อง ลูกปลาฉลามมีความยาว 10 นิ้ว ใกล้ที่จะออกมาดูโลกเต็มแก่

การที่ฉลามทั่วไปตั้งท้องนั้นไม่แปลก แต่ในกรณีนี้ คุณหมอถึงกับงงเป็นไก่ตาแตก เพราะทิดบิตไม่เคยได้รับการผสมพันธุ์ใดๆ จากฉลามตัวผู้

แล้วเจ้าฉลามน้อย อยู่ในท้องทิดบิตได้อย่างไร? ใครเป็นพ่อ? เพราะตามปกติแล้ว ปลาฉลามจะท้องกับปลาฉลามสายพันธุ์เดียวกันเท่านั้น และที่อควาเรียมแห่งนี้ ไม่ได้เลี้ยงฉลามหนุ่มพันธุ์ "Blacktip Reef"

และเป็นไปได้ไหมว่า การที่ทิดบิตตาย แม้แพทย์จะให้ยาสลบในระดับปกตินั้น มีผลพวงมาจากการตั้งท้องผิดธรรมชาติ เพราะไม่ได้รับเชื้อจากตัวผู้?

ตัวอย่างของฉลามน้อยและทิดบิต ผู้เป็นแม่ กำลังส่งไปตรวจหาดีเอ็นเอ ถ้าพบว่า ทิดบิตท้องโดยไม่มีพ่อฉลามจริง กรณีของทิดบิตก็จะเป็นกรณีที่ 2 ของโลก ที่พบว่า ปลาฉลามตั้งท้องเองได้ ซึ่งกรณีแรกที่เกิดขึ้น พบที่สวนสัตว์เนบราสกาของสหรัฐ เมื่อแม่ฉลามหัวค้อนให้กำเนิดลูกโดยไม่ได้รับอสุจิจากฉลามหนุ่มแต่อย่างใด

เฮทเธอร์ โธมัส ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตวศาสตร์ จากจอห์น จี. เชดด์ อวาเรียม ในชิคาโก อธิบายว่า สัตว์ที่ตั้งท้องโดยไม่ได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผู้ ส่วนใหญ่แล้วจะพบในแมลงบางชนิด มีบ้างในสัตว์เลื้อคลานรวมทั้งปลา แต่เป็นได้น้อยมาก และไม่เคยพบเลยในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ ปลาฉลามก็จะไม่น่าจะตั้งท้องเอง ถ้าพบว่าฉลามน้อยเป็นลูกจากฝีมือของทิดบิตเองล้วนๆ เรื่องนี้ก็จะแปลกมากๆ

แปลกจริงๆ ด้วย


จาก       ;        ข่าวสด   วันที่ 27 มิถุนายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #14 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2008, 12:38:13 AM »


ตรวจซากฉลาม ไร้ตัวผู้ก็"ป่อง"ได้



เป็นไปได้หรือ ฉลามก็ท้องได้โดยไม่ต้องมีพ่อ?

เป็น ไปได้สิ เพราะศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลและอควาเรียมเวอร์จิเนีย เขาพิสูจน์มาแล้ว โดยพบว่า ลูกในท้องของฉลามแอตแลนติกแบล็กทิป เพศเมีย ชื่อเจ้าทิดบิด ไม่มีพันธุกรรมใดๆ ที่บ่งว่า สืบเชื้อสายมาจากฉลามเพศผู้ และตลอด 8 ปีที่มันอยู่ในอควาเรียม ไม่เคยแผ้วพานกับตัวผู้ใดๆ

ดร.เด เมี่ยน แชปแมน ผู้ศึกษา กล่าวว่า "ก่อนหน้านี้ฉลามหัวค้อนเพศเมียที่สวนสัตว์เมืองโอมาฮ่า รัฐเนแบรสกา ก็มีลูก บรรดาผู้ดูแลต่างงุนงงว่า มันท้องได้อย่างไรมาแล้ว การที่ฉลามท้องแบบไร้พ่อนี้จึงไม่ใช่ความฟลุกแน่ๆ"

สำหรับเจ้าทิดบิด ตายไปตอนที่มันเกิดความ เครียดเมื่อท้องโดยไม่มีสาเหตุ แพทย์จึงผ่าซากพิสูจน์และพบลูกฉลาม 1 ตัว ความยาว 10 นิ้วอยู่ในท้อง ซึ่งลูกฉลามนี้ฟอร์มตัวเกือบเต็มที่แล้ว และถ้ามันได้เกิดออกไปผจญโลกจริงๆ เป็นไปได้ว่ามันจะตายเร็ว เพราะอาจมีโรคหลายโรค ทำให้เสียเปรียบในการอยู่รอด - เอพี



จาก       ;        ข่าวสด   วันที่ 21 ตุลาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.035 วินาที กับ 20 คำสั่ง