กระดานข่าว Save Our Sea.net
พฤษภาคม 21, 2024, 10:04:41 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม: วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม 2552  (อ่าน 1964 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: ธันวาคม 31, 2008, 11:08:42 PM »

กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมา ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นลง โดยอุณหภูมิ จะลดลงอีก 1-2 องศา และมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไปมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไปควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 1- 3 ม.ค. 2552 ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศา และมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศา อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 2551-3 ม.ค. 2552 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมทะเลจีนใต้และประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศา ส่งผลให้มีอากาศหนาวเย็นลงกับมีลมแรง ส่วนภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองกระจายกับมีฝนตกหนักบางแห่ง และคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ในช่วงวันที่ 4-6 ม.ค. 2552 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย โดยจะมีหมอกหนาในบางพื้นที่ และอากาศยังคงหนาวเย็นต่อไปอีก ส่วนภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย และคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 2551 - 4 ม.ค. 2552 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไประวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน รวมทั้งชาวเรือในอ่าวไทยควรระวังอันตรายในการเดินเรือ ส่วนเรือเล็กตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไปควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย



* Forecast2.jpg (36.69 KB, 684x423 - ดู 229 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2008, 11:20:58 PM »

ไทยรัฐ


ปี 2552 ปลุกสำนึกอนุรักษ์ “มรดกโลก” ของไทย ก่อนถูกถอดถอน
 


ช่วงปีที่ผ่านมา “มรดกโลก” เป็นประเด็นร้อนแรงที่กลายเป็นปัญหาการเมืองระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชา จากกรณีที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร และทำแผนที่พ่วงที่ดินรอบปราสาทที่อยู่ในอาณาบริเวณประเทศไทยไปด้วย

แต่ในที่สุด องค์การยูเนสโก ก็ประกาศให้ ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกไปแล้ว เนื่องจากทางกัมพูชาเตรียมการไว้อย่างดี มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาเป็นที่ปรึกษาดำเนินการ

ขณะที่ฝ่ายไทยยื่นคัดค้านกันหลายองค์กร แต่ไม่ทำกันจริงจัง หรือเชิญที่ปรึกษาชาวต่างประเทศมาช่วยเหมือนกัมพูชา แล้วจะเอาอะไรไปโน้มน้าว คณะกรรมการมรดกโลกให้เข้าใจได้ โดยเฉพาะเรื่องแผนที่ที่เป็นปัญหาไม่ตรงกัน

วันนี้จึงต้องมาทบทวนดู “มรดกโลก” ในประเทศไทยว่า ที่ได้รับการรับรองมาแล้วสภาพปัจจุบันดูแลกันอย่างไร และจะรักษากันไว้ได้นานแค่ไหน

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “มรดกโลก” ก่อน โดย คณะกรรมการมรดกโลก องค์การยูเนสโกวางหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนมรดกโลกไว้ 2 ประเภทคือ ด้านวัฒนธรรมและด้านธรรมชาติ

มรดกโลกทางวัฒนธรรม มี 6 หลักเกณฑ์ หากมีลักษณะตามหลักเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ เช่น เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานทางวัฒนธรรม หรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน หรือที่สาบสูญไปแล้ว เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาด้านวัฒนธรรม สังคม วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมในประวัติศาสตร์มนุษย์ ก็จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก



ส่วนมรดกโลกทางธรรมชาติ มีหลักเกณฑ์ พิจารณา 4 หลักเกณฑ์ อาทิ เป็นแห่งที่เกิดปรากฏ- การณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายาก หรือมีความสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา เป็นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายาก หรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย

สถานที่ทางประวัติศาสตร์ 5 แห่งของไทย ที่ได้รับยกย่องเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและกลุ่มเมืองร่วมสมัย, อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย, อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร, นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และ แหล่งมรดกโลกบ้านเชียง

มรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง คือ ผืนป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่-ทับลาน-ปางสีดา-ตาพระยา

การได้รับการรับรองว่าเป็นมรดกโลกย่อมได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกที่จะเดินทางมาเยือน มาเที่ยว มาสัมผัส มาศึกษา แทบทุกแห่งจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ สร้างเม็ดเงินรายได้จำนวนมหาศาล และที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ ความเสื่อมโทรมของสถานที่นั้นๆ

ยังมีปัญหาอื่นๆอีกจิปาถะ ทั้งการบุกรุกพื้นที่ ขาดแคลนเจ้าหน้าที่ในการดูแล ไม่มีงบประมาณ ฯลฯ

ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจะรักษาสถานภาพของ “มรดกโลก” ไว้ได้ เพราะหากปล่อยปละละเลยไม่ดูแลให้อยู่ ในหลักเกณฑ์ที่ “ยูเนสโก” กำหนดก็จะถูกถอดจากการเป็นมรดกโลก

ตัวอย่างที่มองเห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรมที่สุด คือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นายเมธาดล วิจักขณะ ผอ.อุทยานประวัติศาสตร์พระ นครศรีอยุธยา กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ปัญหาทั้งเก่าและใหม่มีให้แก้ไขอยู่ตลอด ยังคงมีการสร้างบ้านเรือน อาคาร หอพักที่ผิดกฎหมายจำนวนมาก



จากการที่ทุกฝ่ายได้ประชุมร่วมกัน พบปัญหาที่ต้องแก้ไขถึง 8 ข้อ อาทิ การจัดระเบียบพื้นที่ริมถนนโรจนะชีกุน จากการรุกล้ำผิวจราจร การปรับปรุงพื้นที่โดยรอบนครประวัติศาสตร์

ส่วนการถอดจากการเป็นมรดกโลกของยูเนสโกนั้น ตามขั้นตอนจะต้องเข้าสำรวจพื้นที่ก่อน จากนั้นให้ เวลาแก้ไข 3 ปี แต่ปัจจุบันยูเนสโกยังไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาสำรวจ และยังไม่มีหนังสือมาเตือนแต่ อย่างใด สิ่งที่ปรากฏเป็นเพียงความ ห่วงใยของกรมศิลปากรเท่านั้น

ขณะที่ นายสุวิทย์ ชัยมงคล ผอ.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ให้ ข้อมูลว่า ปัญหาการลักลอบขุดค้นของมีค่า โบราณวัตถุ ปัจจุบันแทบไม่มีรายงานการจับกุมผู้กระทำผิด เพราะชาวบ้านให้ความสำคัญ และเข้าใจถึงคุณค่าโบราณวัตถุมากขึ้น ส่วนปัญหาด้านความปลอดภัย หลังเกิดเหตุการณ์ ฆ่าปาดคอนักท่องเที่ยวสาวชาวญี่ปุ่นเมื่อปี 2550 ทางตำรวจได้จัดเจ้าหน้าที่ประจำตู้ยามภายในเขตอุทยานฯ จัดสายตรวจรถจักรยาน และสายตรวจจักรยานยนต์ดูแลทั่วพื้นที่

หันมาดูมรดกโลกทางด้านธรรมชาติกันบ้าง หลังจากวันที่ 1 ก.ย. 2533 “สืบ นาคะเสถียร” อดีต หน.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี จบชีวิตตัวเองภายในบ้านพักในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเรื่องราวของ “ห้วยขาแข้ง” ก็ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง จนอีก 1 ปีต่อมา “ยูเนสโก” ได้ประกาศให้ ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นมรดกทางธรรมชาติของโลก



นายสุนทร ฉายวัฒนะ อดีต หน. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ทำงานคลุกคลีกับผืนป่าแห่งนี้มานาน กล่าวว่า การได้รับยกย่องเป็นมรดกโลก แม้ว่าไม่ได้รับเงินสนับสนุนโดยตรงจากยูเนสโก แต่ส่งผลให้เกิดการยอมรับถึงความพิเศษของผืนป่าแห่งนี้ ที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชและสัตว์ในป่า เป็นเสมือนห้องเรียนขนาดใหญ่ที่ยังประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ นำมาซึ่งการสนับสนุนงานด้านวิชาการ การศึกษาวิจัย ส่งผลให้การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของไทยก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่ง

แต่ปัญหาที่อยู่คู่กับผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดผืนนี้ก็ใช่ว่าจะหมดไป การลักลอบล่าสัตว์ป่า หาของป่า เผาป่า เผาไร่ ขยายที่ทำกินของชาวบ้านแนวชายขอบป่ายังคงมีอยู่ มีการแอบแฝงเข้าไปล่าสัตว์ โดยอ้างว่าเข้าไปเก็บเห็ด เก็บของป่า ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญและยากจะป้องกัน เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของเจ้าหน้าที่ในการลาดตระเวน เมื่อเทียบกับผืนป่าที่มีขนาดใหญ่

ดังนั้น การมีส่วนร่วมของชุมชนรอบผืนป่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดที่สุด เป็นปราการด่านแรกในการดำรงรักษาผืนป่าเอาไว้ ถ้าประชาชนกลุ่มนี้ยังไม่เข้มแข็งหรือมั่นคงในเรื่องจิตสำนึกอนุรักษ์อย่างแท้จริง “ห้วยขาแข้ง” ก็ยากที่จะดำรงความเป็นมรดกโลกไว้ได้

ขณะที่ “เขาใหญ่” มีปัญหาที่แตกต่างออกไป โดย นายมาโนช การพนักงาน หน.อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กล่าวว่า การบุกรุกเขตอุทยานฯมีน้อยลง ส่วนการหาของป่า หาไม้หอม และล่าสัตว์ก็มีเจ้าหน้าที่คอยกวดขันดูแล ปัญหาที่กำลังหาทางแก้ไขคือ การล้นทะลักของนักท่องเที่ยว เพราะเขาใหญ่อยู่ใกล้กรุง-เทพฯ อากาศดี ใครๆก็อยากมาเที่ยวโดยเฉพาะเทศกาลวันหยุดต่างๆ

แน่นอนว่า “มรดกโลก” ของไทย ทั้งด้านวัฒนธรรมและด้านธรรมชาติ ณ วันนี้ยังอยู่ครบ ไม่ได้ถูกถอดถอน หรืออยู่ในข่ายต้องถูกถอดถอนตามที่กลัวกัน แต่ในอนาคตหากชาวไทย ยังไม่มีจิตสำนึกที่จะช่วยกันดูแลอนุรักษ์ไว้ และปล่อยให้เสื่อมโทรม ถูกทำลาย ทุกคนอาจจะต้องเสียใจเมื่อทุกอย่างสายเกินแก้...เมื่อมรดกโลกในไทยถูกถอดถอน.

บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #2 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2008, 11:40:47 PM »

มติชน


พบพะยูนท้องแก่ตายเกยตื้นอ่าวบ้านดอน

เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม นายสมชาย สินมา อยู่บ้านเลขที่ 73 หมู่ 3 ต.พลายวาส อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี เจ้าของสินมานะฟาร์มและฟาร์มสเตย์ เปิดเผยว่า พบพะยูน เพศเมีย อายุประมาณ 10 ปี ลำตัวยาว 210 ซม. น้ำหนักประมาณ 300 กิโลกรัม เสียชีวิตถูกคลื่นทะเลซัดลอยเกยตื้นอยู่บริเวณปากน้ำท่าทอง ทะเลอ่าวบ้านดอน จึงนำมาขึ้นฝั่ง ทั้งนี้ เบื้องต้นคาดว่าเสียชีวิตมาแล้วประมาณ 3 วัน เมื่อผ่าท้องพิสูจน์พบมีลูกพะยูน เพศเมีย น้ำหนัก 6.4 กก. จำนวน 1 ตัว เสียชีวิตแล้ว ซึ่งจากการตรวจสอบไม่พบสิ่งผิดปกติหรืออาหารแปลกปลอมในท้องแต่อย่างใด ซึ่งศพลูกพะยูนจะนำไปแช่น้ำยา เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนวัดเขาพระนิ่ม ต.พลายวาส ได้ศึกษา ส่วนซากแม่พะยูนนำไปฝัง เพื่อรอนำซากกระดูกขึ้นมาเก็บไว้ที่วัดเพื่อศึกษาเช่นกัน

ชาวประมงพื้นบ้านคนหนึ่งกล่าวว่า ในบริเวณอ่าวบ้านดอน เหลือพะยูนอยู่น้อยมาก ล่าสุดพบบริเวณอ่าวแถบ อ.ไชยา สำหรับพะยูนตัวนี้น่าเสียดายมาก เนื่องจากตั้งท้องแก่ใกล้คลอดแล้วต้องเสียชีวิตทั้งแม่และลูกไป


********************************************************************************************************


ชาวไม้ขาวโวย"อบต." ทำป่าพรุเสียหาย

เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ผู้สื่อข่าว "มติชน" ได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ว่า องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ไม้ขาว ได้จัดทำโครงการปรับภูมิทัศน์ของป่าพรุจิก ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีระบบนิเวศงดงาม โดยมีการทำถนนทับป่าเสม็ดซึ่งเป็นต้นไม้เก่าแก่ รวมทั้งวางท่อขนาดใหญ่เพื่อระบายน้ำออกจากพรุ ซึ่งจะทำให้ป่าพรุที่ต้องอาศัยพื้นที่ชุ่มน้ำเสียหายได้ และส่งผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยของนกกว่า 50 ชนิด

ผู้สื่อข่าว "มติชน" ได้ลงสำรวจพื้นที่ดังกล่าว พบว่ากำลังมีการใช้รถแบ๊คโฮขุดเพื่อวางท่อขนาดใหญ่ออกสู่ชายหาดไม้ขาว ที่เป็นหาดทรายทอดยาวจนทำให้เสียภูมิทัศน์ นอกจากนี้ ต้นบัว ต้นเสม็ด ที่ขึ้นเฉพาะป่าพรุ และเป็นสัญลักษณ์ของหาดไม้ขาวจำนวนมากถูกดินที่ขุดมาถมทับเและล้มตายไปจำนวนมาก ทั้งนี้ พรุจิก เป็น 1 ใน 10 ป่าพรุในย่านดังกล่าวที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด มีเนื้อที่ประมาณ 77 ไร่ โดยพื้นที่ติดกับพรุจิกเป็นที่ดินเอกชนซึ่งมีเอกสารสิทธิ์ แต่เนื่องจากเป็นพื้นที่ตาบอด ไม่มีทางออก ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า โครงการปรับภูมิทัศน์ของ อบต.ไม้ขาว ทำขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ของเอกชน

นายสราวุธ สีสาคูคาม นายก อบต.ไม้ขาวกล่าวยืนยันว่า โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง มีการขออนุญาตทางจังหวัดเพื่อจัดทำโครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในวงเงินงบประมาณ 28 ล้านบาท ส่วนที่ต้องฝังท่อระบายน้ำออกจากพรุ เนื่องจากในบางช่วงเกิดน้ำท่วม จึงต้องสร้างฝายน้ำล้นเพื่อดูดน้ำลงทะเล และได้ทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดำเนินการ

บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.02 วินาที กับ 20 คำสั่ง