กระดานข่าว Save Our Sea.net
พฤษภาคม 16, 2024, 11:19:58 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม: วันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2552  (อ่าน 1736 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กน้อย
สี่ดาวยังอยู่แค่เอื้อม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 190


« เมื่อ: มกราคม 26, 2009, 02:28:42 AM »

กรมอุตุนิยมวิทยา

สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวอากาศเย็น และมีลมแรง
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และคลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไปสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือในช่วงวันที่ 26-27 ม.ค.นี้ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็น และมีลมแรง
อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศา อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศา
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 25-26 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน และ ทะเล จีนใต้ ส่งผลให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคตะวันออกมีอุณหภูมิลดลงอีก 1-3 องศา ส่วนภาคใต้มีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น และคลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไป มีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 27-31 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศา โดยจะมีหมอกเพิ่มมากขึ้น ส่วนปริมาณฝนในภาคใต้จะลดลง และคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 27-31 ม.ค. ขอให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะระมัดระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย สำหรับในช่วงวันที่ 25-26 ม.ค. ขอให้ชาวเรือในอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไประมัดระวังอันตรายจากการเดินเรือ


* Forecast2601.JPG (21.84 KB, 398x383 - ดู 348 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
เด็กน้อย
สี่ดาวยังอยู่แค่เอื้อม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 190


« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 26, 2009, 02:42:51 AM »

ไทยรัฐ

สเปน-ฝรั่งเศส เจอเฮอริเคนพัดถล่มยับเยิน
 
สเปนกับฝรั่งเศสเผชิญสภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนักเมื่อช่วงวันเสาร์ 24 ม.ค. เกิดพายุเฮอริเคน ความเร็วลม 160 กม./ชม. พัดถล่มหลายพื้นที่ ตั้งแต่ ภาคเหนือของสเปนใกล้เมืองบาร์เซโลนา กระแสลมพัดถล่มอาคารสนามกีฬาแห่งหนึ่ง ทำให้หลังคาและกำแพงพังถล่ม คร่าชีวิตเด็กๆ 4 ศพ บาดเจ็บ 16 ราย เหตุร้ายเกิดขึ้นระหว่างเด็กๆกำลังเตรียมตัวแข่งเบสบอล 

ส่วนพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส เผชิญพายุรุนแรงด้วยเช่นกัน โดยรายงานระบุพายุพัดกระโชกด้วยความเร็วลมถึง 184 กม.ต่อชั่วโมง ถล่มพื้นที่กินบริเวณกว้าง ความเสียหายรุนแรงมากพอๆกับเมื่อครั้งเกิดพายุรุนแรงเมื่อปี 2542 ซึ่งหักโค่นถอนรากถอนโคนต้นไม้หลายล้านต้น โดยเหตุพายุรุนแรงครั้งนี้ ทำให้ชาวบ้านไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้มากกว่า 1 ล้านคน การคมนาคมขนส่งทั้งทางถนน และทางอากาศได้รับผลกระทบต้องหยุดบริการชั่วคราว

รายงานยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุภัยธรรมชาติครั้งนี้ทั้งหมดอย่างน้อย 15 ศพ เหยื่อเคราะห์ร้ายเสียชีวิตรวมทั้งเหตุชาวบ้าน 4 ศพ ถูกต้นไม้ใหญ่หักโค่นทับ ผู้สูงอายุวัย 78 ปี ถูกกำแพงพังอัดร่างเสียชีวิตในฝรั่งเศส สตรีสูงอายุวัย 73 ปี เสียชีวิตเพราะกระแสไฟฟ้าดับ ทำให้เครื่องช่วยหายใจไม่ทำงาน ชาวฝรั่งเศสได้รับผลกระทบไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้มากราว 1.7 ล้านคน เช่นเดียวกับชาวสเปนอีกหลายหมื่นคน ส่วนเที่ยวบินภายในประเทศของฝรั่งเศสจำนวนมากถูกระงับ 

ประธานาธิบดี นิโคลาส์ ซาร์โกซี ผู้นำฝรั่งเศส เดินทางลงพื้นที่ประสบภัยเพื่อตรวจสภาพความเสียหาย ขณะที่นายมิเชล อัลเลียต มารี รมว.มหาดไทยฝรั่งเศส สั่งเสริมกำลังเจ้าหน้าที่ 715 นาย เข้าพื้นที่ประสบภัย ขณะเดียวกัน ที่สเปนมีรายงานเกิดคลื่นยักษ์สูงถึง 21.5 ม. หรือราว 70 ฟุต นอกอ่าวเคป แมตซิตซาโก ทางภาคเหนือแคว้นบาสก์ ส่งผลให้ชาวบ้าน นับหมื่นคนต้องอพยพหนีจากพื้นที่อันตราย   

วันเดียวกันนี้ ที่นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิ-เรตส์ เกิดหิมะตกปกคลุมยอดเขาอัลจีส์ ระดับความ สูงเหนือน้ำทะเล 1,737 เมตร หิมะตกหนาถึง 20 ซม. ถือเป็นครั้งแรกที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ส่วนอุณหภูมิในพื้นที่ทะเลทรายลดต่ำถึง-3 องศาเซลเซียส ทั้งๆที่อุณหภูมิในช่วงฤดูร้อนอาจพุ่งสูงได้ถึง 50 องศาเซลเซียส

*********************************************************************************************

ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน ใช้ในการเกษตรตามแนวพระราชดำริ
 
จากปัญหาวิกฤติ “พลังงาน” น้ำมันที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ได้ส่งผลกระทบไปทั่วทุกภูมิภาค ไม่เว้นแม้แต่ในบ้านเรา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวหลายประเทศต่างหันเหมุ่งไปพัฒนาพลังงานทดแทนบนดิน ที่ได้จาก ผลิตผลทางการเกษตร แต่นั่นก็ยังคงมีต้นทุนอยู่มาก

ฉะนี้...จึงต้องเบนเข็มไปหาพลังงานจากธรรมชาติ ที่ใช้ไม่มีวันหมดอย่าง น้ำ ลม แดด สำหรับเป็นทางเลือกที่จะนำมาลดภาระต้นทุนการผลิต อีกทั้งยังเป็นพลังงานสะอาดไม่ก่อให้เกิดมลภาวะที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งในหลายๆประเทศอย่างเช่น “เดนมาร์ก” ก็มีการนำ “ลม” มาผันผลิตไฟฟ้าใช้กันแล้ว

สำหรับบ้านเราซึ่งนำโดย ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย ศ.ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายนิรันดร์ สุวรรณสิทธ์ สนง.การไฟฟ้าภูมิภาค เขต 1 ภาคเหนือ เชียงใหม่ นายเสรี กังวานกิจ สนง.พลังงานภูมิภาคที่ 10 นายอภิชาต สวนคำกอง คณะผลิตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
และ ร.อ.พชร เกตุเชื้อจีน กองพันพัฒนาที่ 3 จ.เชียงใหม่ ก็ได้ “ศึกษาศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในเขตภาคเหนือตอนบน” เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่จะลดต้นทุนจากใช้พืชผลการเกษตรเป็นวัตถุดิบ โดยการวิจัยดังกล่าวได้รับทุนอุดหนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ หัวหน้าโครงการ บอกว่า “การนำพลังงานลมมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าจำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะทางภูมิประเทศ ความ เร็วทิศทางลม  ซึ่งการเก็บข้อมูลดังกล่าวในบ้านเรายังไม่มาก จะมีก็เฉพาะลมพื้นผิวที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 10 เมตร ที่ในทาง อุตุนิยมวิทยา ใช้เท่านั้น”

ส่วนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง ภูมิประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะภูเขาสูงสลับกับช่องเขา ทำให้ได้รับอิทธิพลจาก ลมภูเขา (Moun-tain Valley Breeze) และ ลมหุบเขา (Valley Mountain Breeze) ที่ปรากฏการณ์นี้จะเหมือน ลมบก (Land Breeze) ลมทะเล (Sea Breeze)

จากทฤษฎีนี้ ทีมวิจัยจึงเริ่มศึกษาศักยภาพลมที่ระดับความสูง 40-80 เมตร เพื่อคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย เบื้องต้นมีทั้งหมด 18 แหล่ง ใน 6 จังหวัดภาคเหนือ จากการสำรวจเก็บข้อมูลพบว่ามี 8 สถานีคือที่ ผาตั้ง บ้านร่มโพธิ์ไทย จ.เชียงราย อ่างขาง โครงการหลวงหนองหอย โครงการหลวงแม่แฮ อ.ปาย กิ่วลม แม่ฮ่องสอน และที่ ดอยม่อนล้าน เหมาะที่จะติดตั้งกังหันได้ แต่ยังต้องตรวจสอบความเร็วลม เพื่อให้ คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่จะใช้

ฉะนี้....เพื่อความแน่ชัดทีมวิจัยจึงทำการเก็บข้อมูลเพิ่ม ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก มูลนิธิโครงการหลวง อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 1 ปี กระทั่งพบว่ามี 3 สถานีคือ บ้านกิ่วลม อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริดอยม่อนล้าน อ.พร้าว และ สถานีบ้านแม่แฮ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ มีความเร็วลมเฉลี่ยสูงกว่า 5 เมตร/วินาที

โดยพื้นที่ดังกล่าวมีความเหมาะสมที่จะติดตั้ง “กังหันลม” หรือ “ไร่พลังงานลม” จากการตรวจวัดความเร็วและทิศทางลม สามารถนำมาประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้าได้ถึง 1,200-1,600 เมกะวัตต์/ปี คิดเป็นต้นทุนการผลิตไฟฟ้าประมาณ 3-5 บาท/หน่วย...

นายกฤษธ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการ วช. ที่เดินทางไปตรวจดูความคืบหน้าโครงการนี้ บอกว่า ผลที่ได้จากการวิจัยดังกล่าว ไม่เพียงแค่ใช้เป็นข้อมูลสำหรับการหาแหล่งพลังงานทางเลือกเท่านั้น เพราะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯร่วมกับแม่ฮ่องสอน ยังได้ร่วมกับ UNDP ในการที่จะพัฒนาให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองส่งเสริมพลังงานทดแทน ที่มีการนำมาใช้ในจังหวัดอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต

โครงการหลวงหนองหอย และสำนักพัฒนาพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน ได้เอาข้อมูลความเร็วลมไปใช้หาทิศทางความเหมาะสม ในการออกแบบโรงเรือนสำหรับทำเกษตรที่สูงให้ แข็งแรง ทนทาน ศึกษาติดตั้งกังหันลมขนาดเล็ก เพื่อใช้ทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง.

 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.02 วินาที กับ 19 คำสั่ง