กระดานข่าว Save Our Sea.net

หมวดหมู่ทั่วไป => ห้องรับแขก => ข้อความที่เริ่มโดย: สายน้ำ ที่ เมษายน 27, 2007, 12:05:43 AM



หัวข้อ: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ เมษายน 27, 2007, 12:05:43 AM
ตามไปอ่านได้ที่  http://www.saveoursea.net/boardsmf/index.php?topic=718.0


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ เมษายน 27, 2007, 12:07:16 AM

ชาวบ้านเปร็ดในอ้อนรัฐช่วย หางบฯทำแนวป้องกันคลื่นชะโคลนป่าชายเลน
 
จากการที่ชาวตำบลห้วงน้ำขาว อ.เมือง จ.ตรัง ได้ออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มอนุรักษ์บ้านเปร็ดใน ในการร่วมกันป้องกันคลื่นทะเลที่ซัดทะเลโคลนป่าชายเลนกินพื้นที่เข้าไปเรื่อยๆ จนเป็นระยะยาวกว่า 10 กิโลเมตร

นายอัมพร แพทย์ศาสตร์ ประธานกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน กล่าวว่า ป่าชายเลนบ้านเปร็ดในกำลังถูกทำลายจากภัยธรรมชาติมานาน 2-3 ปี โดยคลื่นทะเลมีความแรงและซัดเข้ามายังพื้นที่ป่าชายเลนที่มีระยะทางยาวกว่า 9 กม. ส่งผลให้ป่าชายเลนบางส่วนถูก ทำลาย เพราะโคลนที่ปกคลุมต้นโกงกางถูกกัดเซาะจากคลื่นจนโคลนถูกทำลายและไหลลงทะเลไป ทำให้สัตว์ทะเลต้องสูญเสียแหล่งเพาะพันธุ์จนสัตว์น้ำวัยอ่อนลดลงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับสัตว์น้ำที่เป็นพ่อแม่ไม่สามารถหาแหล่งวางไข่ได้ ทำให้กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านเปร็ดในต้องหาทางในการแก้ปัญหา

กลุ่มฯ ได้พยายามแก้ปัญหาเรื่องโคลนมาตลอด 2-3 ปี แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ กระทั่ง ได้รับความรู้จากองค์กรชุมชนและภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่แนะนำว่าให้ใช้ยางรถยนต์ มาทำเป็นลูกเต๋าเพราะจะเกิดความยืดหยุ่นดีกว่าใช้แท่งคอนกรีตหรือวัสดุอื่น เพราะคอนกรีตจะทำให้เกิดผล กระทบทางระบบนิเวศน์ที่จะเปลี่ยนไปจนสัตว์น้ำวัยอ่อนต้องปรับสภาพแวดล้อมใหม่ หรืออาจจะต้องสูญเสียไป แต่ปัญหาก็คือผมและกลุ่มไม่มีทุนมากพอที่จะซื้อหรือรับบริจาคยางรถยนต์เก่าเพื่อมาทำลูกเต๋ายางทำให้โครงการล่าช้าและอาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพป่าชายเลนในอนาคตได้ เพราะขณะนี้ทำได้แค่ 3 กม. จาก 10 กว่า กม.ที่มีอยู่

ประธานกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน กล่าวอีกว่า ทางกลุ่มฯ ต้องการจะขอรับการสนับสนุนจากภาคเอกชนที่มียางรถยนต์เก่า โดยทางกลุ่มจะรับซื้อแต่ไม่ขอบริจาค ทั้งนี้เพื่อจะได้ไม่เป็นการรบกรวนงบประมาณจากองค์กรหรือภาคเอกชน เนื่องจากไม่ต้องการสร้างวัฒนธรรมที่ไม่ดีแต่จะช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด


ที่มา    :    แนวหน้า   วันที่ 27 เมษายน 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: WayfarinG ที่ เมษายน 27, 2007, 01:22:34 AM
รู้สึกมั๊ยว่า...

คนรักที่จะทำลาย...ก็ทำลายไปซิ...ส่วน คนที่พยายามจะปกปักรักษา...ก็พยายามไปซิ...

อยากรู้เหมือนกันว่า...จะเป็นงัยต่อไป... :(...ในเมื่อการทำลาย มันง่ายกว่าการรักษา... :'(


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: แมลงปอ ที่ เมษายน 27, 2007, 02:16:39 AM
 :( :( :( :(


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: Sea Man ที่ เมษายน 27, 2007, 02:25:28 AM
 :-X..........เจ้Way....พูดได้จับใจจริงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ................. :(


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ เมษายน 27, 2007, 03:28:14 AM
อู้ววววว....ยางรถยนต์ เทียบกับแท่งซีเมนต์แล้วดีกว่าหรือคะ..... ;)

ความคิดในการใช้ยางรถยนต์นั้น ทางมหาชัยได้เริ่มทำไปแล้ว แต่ทำในลักษณะสวมยางเข้าไปในเสาเรียงหน้ากระดานเป็นด่านหน้า  ส่วนด่านหลังก็กองยางไว้เป็นกำแพงอีกชั้นหนึ่ง ปรากฏว่าน้ำก็ยังแทรกเข้าไปทำลายชายฝั่งได้อยู่ดี แถมด้วยยางหลุดออกนอกแนว ลงไปกองเกลื่อนกลาดกระแทกกันไปมาอยู่หน้าหาด สัตว์น้ำหนีกันกระเจิง.... :(

น้องโด่งเคยบอกว่า เขื่อนยางรถยนต์นี้นอกจากจะใช้ป้องกันการกัดเซาะของน้ำไม่ได้ผลแล้ว สารเคมีที่อยู่ในยางยังละลายออกมาปนเปื้อนกับน้ำทะเล ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์บางชนิดที่อาศัยอยู่ในทะเลด้วย

(http://www.saveoursea.net/boardsmf/index.php?action=dlattach;topic=948.0;attach=6944;image)

อยากรู้จังเลยว่า....ชาวบ้านคิดทำเรื่องนี้เอง หรือมีนักวิชาการมาเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษาหารือ.... ;)

ลองไปอ่านวิธีทวงคืนแผ่นดินของชาวบ้านมหาชัยได้ที่นี่ค่ะ

http://www.saveoursea.net/boardsmf/index.php?topic=948.0


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ เมษายน 27, 2007, 05:38:05 AM
ส่วนการนำยางไปทิ้งโดยตรงลงในทะเลนั้น.........ที่ USA ก็มีการทำโครงการนำยางรถยนต์ผูกติดกันแล้วนำไปทิ้งในทะเลเพื่อทำเป็นปะการังเทียม แต่ปรากฎว่าเชือกที่ผูกเกิดขาดออก ยางรถยนต์แยกออกจากกัน แล้วถูกกระแสน้ำพัดกระจายออกไปทั่วทะเล บางส่วนเคลื่อนเข้าไปกระแทกกับแนวปะการังที่สมบูรณ์อยู่แล้ว จนพังเสียหายยับเยิน

ต่อมา...ต้องมีโครงการรณรงค์เก็บยางรถยนต์ขึ้นจากทะเล โดยใช้อาสาสมัครนักดำน้ำลงไปงมแล้วเก็บยางกัน ได้เพียงวันละ 80 เส้นก็ดีใจกันแล้ว  ลองคิดดูนะคะ...ต้องใช้เวลาอีกเท่าไรกว่าจะเก็บยางรถยนต์ได้หมด และแนวปะการังต้องพังเสียหายไปมากน้อยเพียงใด.... :(

แห่ะๆ...ภาพและเรื่องอยู่ในห้องรับแขกบอร์ดเก่า ตอนนี้หนีไปเที่ยวยังไม่กลับมาค่ะ.... ;)


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: frappe ที่ เมษายน 27, 2007, 06:48:54 AM
พี่สายชลคะ แล้วนอกจากซีเมนต์กับยางรถยนต์ที่ดูจะมีผลข้างเคียงแล้ว จะมีวิธีอื่นอีกไหมคะ ที่จะให้ชาวบ้านจะนำไปใช้แทนได้  8)


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: สีฟ้าเรย์ ที่ เมษายน 27, 2007, 12:01:49 PM
 :-\ จริงๆบุ๋มว่าแนวความคิดของคุณพ่อปลาโลมา ผู้ใหญ่บ้านที่เราไปปลูกป่าชายเลนกันน่าสนใจนะคะเพราะใช้ได้ทั้งเป็นอาชีพ เพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ แถมยังเป็นแนวกันคลื่น ชะลอคลื่นได้ด้วยน่าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้รึเปล่าคะพี่น้อยอันนี้รายละเอียดบุ๋มก็ไม่แน่ใจ อาจจะต้องถามดร. โด่ง


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ เมษายน 27, 2007, 12:24:28 PM
วิธีการอย่างที่ชาวมหาชัยทำนั้นก็นับเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ชาวบ้านคิดทำกันขึ้นมา คือ ด้านในจะปลูกป่าชายเลนไว้ยึดดิน แล้วใช้กระบอกไม้ไผ่กั้นเป็นแนวด้านนอก เพื่อใช้ทั้งกันคลื่นลม...ให้ตะกอนตก.... แถมยังใช้เลี้ยงหอยแมงภู่ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีการทำแท่งคอนกรีตรูปสามเหลี่ยม นำไปปักห่างจากทะเลประมาณ 500 เมตร โดยปักเป็นสามแถว เพื่อช่วยลดแรงปะทะของคลื่น และอื่นๆอีกหลายวิธีนอกเหนือจากการสร้างเขื่อนหินกันคลื่นลม

ลองไปอ่านเรื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่นี่นะคะ

http://www.saveoursea.net/boardsmf/index.php?topic=718.0


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: Vita ที่ เมษายน 27, 2007, 01:28:11 PM
ตอนไปปลูกป่าชายเลน
พอเห็นยางเยอะแยะ ก็กลัวๆอยู่เหมือนกันว่า อาจจะถูกน้ำพัดไปลงทะเล
แล้วทำให้ ท้องทะเลเสียหายรึเปล่า ก็หวั่นๆอยู่ครับ
เพราะเป็นเหมือนสิ่งแปลกปลอม ในธรรมชาติ    ;)


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ พฤษภาคม 01, 2007, 06:24:26 AM
ข่าวจาก เดลินิวส์ ประจำวันอังคารที่ 1 พฤษภาคมค่ะ

โครงการปลูกป่าชายเลน เฉลิมพระเกียรติฯ

         ในปี พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงเล็งเห็นและตระหนักถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น จากสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เสื่อมโทรมของทรัพยากรและจำนวนพื้นที่ป่าไม้ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว จึงมีพระราชดำริที่จะพระราชทานป่าไม้แก่ปวงชนชาวไทยทั่วทุกภาค เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ด้วยการจัดทำโครงการปลูกป่าพระราชทาน เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูป่าชายเลนขึ้น โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนและองค์กรท้องถิ่นในพื้นที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และวางแผนการดูแลทรัพยากรป่าชายเลนในแต่ละท้องที่ด้วยตนเอง รวมถึงการบริหารจัดการพื้นที่ป่าชายเลนที่มีประสิทธิภาพซึ่งในระยะแรกของการดำเนินโครงการ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ ไป   ยังพื้นที่บ้านหัวเขา จังหวัดสงขลา และทรงร่วมปลูกป่าชายเลนด้วยพระองค์เอง นับเป็นพระมหากรุณา    ธิคุณ และเป็นแบบอย่างให้ประชาชนได้ร่วมใจกันปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ป่าชายเลนที่ปลูกขึ้นใหม่ให้เจริญเติบโตต่อไป

        ป่าไม้ที่เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นดินกับผืนน้ำทะเล มีน้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเลผสมผสานกันจนกลายเป็นน้ำกร่อย ยิ่งถ้าหากบริเวณนั้นเป็นอ่าวคลื่นลมสงบ ตะกอนที่มากับแม่น้ำจะตกลงสู่พื้นสะสมรวมตัวเป็นหาดเลนอันกว้างใหญ่ ก่อให้เกิดเหล่าพันธุ์ไม้ที่รากยึดตะกอนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ กลายเป็นสันดอน จนถูกขนานนามว่า ป่าชายเลน

        ป่าชายเลนหรือป่าโกงกางเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญ ทั้งในด้านการป่าไม้ การประมง และสิ่งแวดล้อมไม้  จากป่าชายเลน โดยเฉพาะไม้โกงกางนำมาทำฟืน เผาถ่าน ให้ถ่านที่มีคุณภาพดี ยังมีไม้ป่าชายเลน   อีกหลายชนิดนำไปทำสิ่งก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และกลั่นเป็นสารเคมีที่มีประโยชน์ เช่น แทนนิน แอลกอ ฮอล์ กรดน้ำส้ม และน้ำมันดิน

        อีกทั้งเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนที่สำคัญ เนื่องจากป่าชายเลนเป็นที่วางไข่และแหล่งอาหารในการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจนานาชนิด ในด้านการประมง ป่าชายเลนเป็นแหล่งขยายพันธุ์ และที่อยู่อาศัยของสัตว์อีกหลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย จากการศึกษาพบว่า บริเวณป่าชายเลนประเทศไทย มีกุ้งชนิดต่าง ๆ ประมาณ 16 ชนิด กุ้งบางชนิดอาจมีชีวิตวางไข่ในทะเลลึก แล้วเข้ามาเติบโตในชายฝั่ง ขณะที่สัตว์น้ำบางชนิดอาจใช้บริเวณป่าชายเลนเป็นทั้งแหล่งเกิดและอาศัยจนเติบโตสืบพันธุ์ต่อไป

        ส่วนสัตว์น้ำอย่างปลาและกุ้งบางชนิดเลี้ยงตัวอ่อนตามแหล่งน้ำชายฝั่งอันอุดมสมบูรณ์ จนเจริญเติบโตแล้วจึงออกสู่ทะเลลึกเพื่อแพร่พันธุ์ แต่บางชนิดมีถิ่นอาศัยตั้งแต่เกิดจนตายในบริเวณเดียวกัน และพบปลาในวัยอ่อนอาศัยตามบริเวณชายฝั่งมากที่สุด เช่น ปลากระบอก ปลากะพงขาว ปลาเก๋า และปลานวลจันทร์ รวมทั้งสัตว์น้ำประเภทหอย ที่พบมากในบริเวณป่าชายเลนและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น บนที่ราบ ดินเลน ที่ราบดินทรายปนเลน ได้แก่ หอยแมลงภู่ หอยแครง หอยนางรม และหอยกะพง

        ยังมีปูที่พบเห็นได้เฉพาะ   ตามป่าชายเลน อย่าง ปูแสม ปูทะเล และปูม้า สำหรับปูทะเลสามารถนำมาเลี้ยงให้มีเนื้อแน่นได้ในบริเวณป่าชายเลน ปูทะเลไม่มีวงจรชีวิตออกสู่ทะเลลึกจะอยู่อาศัยในบริเวณป่าชายเลน และพื้นที่ใกล้เคียงเท่านั้น ซึ่งต่างจากปูม้า ที่ในวัยอ่อนจะหากินบริเวณที่ราบดินเลนใกล้ฝั่งป่าชายเลน แต่พอโตขึ้นจะออกไปหากินและดำรงชีวิตในทะเลห่างออกไป

        นอกจากนี้ ป่าชายเลนยังช่วยป้องกันภัยธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นเกราะกำบังเพื่อช่วยลดความรุนแรงของคลื่นชายฝั่งทะเล ควบคุมการกัดเซาะพังทลายพร้อมทั้งยังช่วยดักตะกอนสิ่งปฏิกูลและสารพิษ    ต่าง ๆ มิให้ไหลลงไปสะสมในบริเวณชายฝั่งและในทะเล ทำให้บริเวณนั้นสะอาดอีกด้วย
 
       ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนมากเป็นอันดับ 9 ของประเทศในเขตร้อนแถบเอเชีย ตลอดชายฝั่งใน 24 จังหวัด ประมาณ 2,614 กิโล เมตร เป็นพื้นที่ป่าชายเลนร้อยละ 36 ของความยาวชายฝั่งทั้งหมด พื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทย    ในปี พ.ศ. 2504 มีเนื้อที่ทั้งหมด    ประมาณ 2,299,375 ไร่ แต่จากการสำรวจพื้นที่ป่าชายเลนของกรมป่าไม้ โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม ในปี พ.ศ. 2532 ปรากฏว่า พื้นที่ป่าชายเลน    ทั้งหมดเหลือประมาณ1,128,494 ไร่ โดยส่วนใหญ่กระจายอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกประมาณ 888,564 ไร่ หรือ     คิดเป็นร้อยละ 78.74 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด รองลงไปอยู่ใน   เขตภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก และภาคกลาง (หรือก้นอ่าวไทย) มีเนื้อที่ประมาณ 129,430 ไร่, 106,775 ไร่ และ 3,725 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 11.47, ร้อยละ 9.46 และร้อยละ 0.33 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งประเทศตามลำดับ มาในปี พ.ศ. 2539 ป่าชายเลนลดลงเหลือ   เพียง 1,047,390 ไร่

       สาเหตุมาจากปัญหาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเลี้ยงชายฝั่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้ง รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อกิจกรรมอื่น เช่น การทำเหมืองแร่ การทำนาเกลือ การทำเกษตรกรรม การขยายชุมชน การสร้างท่าเทียบเรือ การสร้างถนนและสายส่งไฟฟ้า การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และการขุดลอกร่องน้ำ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกหลายประเภทได้เจริญเติบโตและขยายตัวอย่างไร้ขอบเขตไปสู่บริเวณชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะในพื้นที่ป่าชายเลน จนทำให้พื้นที่ป่าชายเลนลดลงอย่างรวดเร็วและเป็นไปอย่างรุนแรงจนน่าวิตก
 หากประเทศไทยยังไม่มีการดูแลบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนอย่างชัดเจนอย่างมีระบบ ป่าชายเลนที่มีอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดา มันและอ่าวไทย อาจจะถูกทำลายและมีสภาพที่เสื่อมโทรมไปเรื่อย ๆ และหมดจากแผ่นดินไทยไปในที่สุด

        เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงจัด        “โครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ขึ้น เพื่อเป็นการเทิดทูนพระเกียรติและถวายความจงรักภักดี และรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรป่าชายเลนอันมีค่า โดยมีพื้นที่เป้าหมายลำดับแรกในบริเวณจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลฝั่งอ่าวไทยทั้ง 11 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (เขตบางขุนเทียน) ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทร สาคร เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 800 ไร่ขึ้นไป ซึ่งเป็นการดำเนินตามแนวพระราชดำริที่พระราชทานป่าไม้แก่ปวงชนชาวไทยทั่วทุกภาคให้คงอยู่คู่ผืนแผ่นดินไทยตราบนานเท่านาน

        โดยมีจุดมุ่งหมายให้ป่าชายเลนที่ทำการปลูกนั้น ช่วยป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่น    ลมทะเลและรักษาความสมดุล    ทางธรรมชาติ ระหว่างการงอก การกัดเซาะ และการตกตะกอนบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล
       
        รวมทั้งช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่ชาย     ฝั่งทะเลและรักษาแบบแผนทางธรรมชาติและวงจรการขึ้นลงของกระแสน้ำ และการไหลของน้ำจืดออกสู่ทะเลให้คงอยู่ตลอดไป ตลอดจนสร้างแหล่งอาหารและ แหล่งเพาะพันธุ์พืชสัตว์น้ำบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล สนับสนุนต่อการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้แก่ประชาชน

        อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกด้านการมีส่วนร่วมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่น และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของท้องถิ่นด้วย

        การดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกัน คือ ช่วงแรก เป็นช่วงของการเตรียมการและปลูกป่าชายเลน ระหว่างวันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายน 2550 ช่วงที่สอง คือ การติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการฯ ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 และช่วงสุดท้าย เป็นการสรุปโครงการฯ และส่งมอบพื้นที่เมื่อใกล้วันเฉลิมพระชนมพรรษาในวันที่ 5 ธันวาคม 2550

      สำหรับอัตราต้นทุนต่อหน่วยตามที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกำหนดไว้ คือการปลูกป่าชายเลน อัตราไร่ละ 4,200 บาท ส่วนการปลูกเสริมป่าชายเลน อัตราไร่ละ 2,340 บาท และการปลูกบำรุงรักษาภายหลังการปลูก อัตราไร่ละ 750 บาท

        แล้วจะรู้ว่า...ป่าชายเลน คือ กำแพงธรรมชาติที่ช่วยป้องกันภัยจากคลื่นชายฝั่งได้เป็นอย่างดี...


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: Sea Man ที่ พฤษภาคม 02, 2007, 03:35:31 AM
 :'( :'( :'(.............ไม่เหลืออะไรเลย..................มีเกิด...........มีแตก..........มีดับ.... :(


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: Heineken Narcosis ที่ พฤษภาคม 02, 2007, 11:13:22 AM
 :( 


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: Sea Man ที่ พฤษภาคม 02, 2007, 02:16:26 PM
 :(.....เปลืองงบไปกับอย่าอื่น.....และโกงกินบ้านเมืองอย่างไม่อาย........แต่แผ่นดินที่หายกับไม่ดูแล........ :'(


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: Vita ที่ พฤษภาคม 03, 2007, 05:33:19 AM
:-X..........เจ้Way....พูดได้จับใจจริงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ................. :(
เรียกเค้า เจ๊ ......ระวังอากาศหมดนะ
เหอะๆ....


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: Sea Man ที่ พฤษภาคม 03, 2007, 04:40:04 PM
 ;D ;D ;D.........น้องWay..อิอิอิอิ :-*


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มิถุนายน 15, 2007, 01:22:47 AM

กู้วิกฤติทะเลกลืนแผ่นดิน
 
(http://ads.dailynews.co.th/column/images/2007/variety/5/14/39631_37326.jpg) 
 
 "บ้านขุนสมุทรจีน"อีกหนึ่งตัวอย่าง วอนรัฐช่วยเหลือจริงจัง...

บ้านขุนสมุทรจีน ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นหมู่บ้านเก่าแก่อายุกว่า 500 ปี ตั้งอยู่บนแหลมขนาดเล็กที่ยื่นออกไปในทะเล ในอดีตบริเวณนี้เป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าจากเรือสำเภาจีนที่สำคัญ มีการขุดพบเงินพดด้วง ไห ถ้วย ชามกระเบื้องจำนวนมาก ซึ่งนักโบราณคดีสำรวจพบว่ามีอายุอยู่ในช่วงเดียวกับวัตถุโบราณที่ขุดพบได้ในชุมชนยี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม
 
คือในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 20 หรือประมาณ 500 กว่าปีก่อน อันเป็นหลักฐานยืนยันว่าหมู่บ้านแห่งนี้เป็นชุมชนเก่าแก่ สันนิษฐานกันว่าเป็นชุมชนชาวจีนอพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่และมาสร้างบ้านเรือนอยู่ริมทะเล แต่ปัจจุบันทะเลได้กลืนกินผืนแผ่นดินที่ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของบ้านขุนสมุทรจีนไปแล้ว ผู้คนในหมู่บ้านจึงต้องอพยพหนีไปอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง หรือย้ายไปอยู่ที่อื่นแทน

ในปัจจุบันพื้นที่หมู่ที่ 8, 9, 10 และ 11 ตำบลแหลมฟ้าผ่า (บ้านขุนสมุทรจีน) ต้องประสบปัญหาการพังทลายของชายฝั่งทะเลบริเวณด้านอ่าวไทยมาเป็นเวลาร่วม 20 ปี โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่ 9 ตำบลแหลมฟ้าผ่า มีเนื้อที่เหลือไม่ถึง 10 ตารางกิโลเมตร หากภาครัฐไม่ให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง ไม่นานก็คงไม่มีพื้นที่เหลือให้กับลูกหลานได้พักอาศัย และหากปล่อยให้มีการพังทลายของชายฝั่งไปเรื่อย ๆ เหมือนในปัจจุบัน จะทำให้พื้นที่ชั้นในต้องถูกกระแสคลื่นกลืนไปจนหมดอย่างแน่นอน

รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีแนวชายฝั่งทะเลประมาณ 2,667 กิโลเมตร ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล พบว่าเกิดขึ้นในทุกจังหวัดชายฝั่งทะเลทั้งด้านอ่าวไทย และอันดามัน ทั้ง 23 จังหวัดชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จากจังหวัดตราด จนถึงบริเวณชายฝั่งทะเลชายแดนภาคใต้จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีความยาวชายฝั่งทะเลทั้งสิ้น 1,653 กิโลเมตร ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยที่พบการกัดเซาะขั้นรุนแรงทั้งสิ้น 180.9 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะประมาณ 56,531 ไร่ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา และการถูกกัดเซาะขั้นปานกลางทั้งสิ้น 304.1 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะประมาณ 38,012 ไร่ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

สำหรับชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน พบการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ขั้นรุนแรงทั้งสิ้น 23 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ถูกกัดเซาะประมาณ 7,187 ไร่ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา และการกัดเซาะขั้นปานกลางทั้งสิ้น 90.5กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ถูกกัดเซาะประมาณ 11,312 ไร่ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาหากพิจารณาพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศถูกกัดเซาะไปทั้งสิ้น 113,042 ไร่ ครอบคลุมชายฝั่งทะเลยาวทั้งสิ้น599กิโลเมตรหรือคิดเป็น21%ของชายยฝั่งทะเลของประเทศทั้งหมดจะพบว่าในช่วง30ปีที่ผ่านมาเราประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลพบได้ทั่วไปทั้ง 23 จังหวัดชายฝั่งทะเล คิดเป็นพื้นที่ 113,042 ไร่
 
หากคิดเป็นมูลค่าความเสียหายมากกว่า1แสนล้านบาทพื้นที่ชายฝั่งทะเลช่วงอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกง จนถึงปากแม่น้ำแม่กลองเป็นพื้นที่อ่อนไหว และพบว่ามีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรงที่สุดของประเทศประมาณ 35 เมตรต่อปีชายฝั่งทะเลบริเวณนี้ถูกกัดเซาะทั้งสิ้นเป็นระยะทาง 82 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำกัดเซาะไปแล้วทั้งสิ้น 18,594 ไร่ ในช่วง30ปีที่ผ่านมา โดยพื้นที่บางแห่งได้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะไปแล้วประมาณ 1 กิโลเมตร จนชาวบ้านต้องอพยพย้ายบ้านเรือนหนีเขยิบเข้ามาแล้วไม่ต่ำกว่า 4-5 ครั้งผนวกกับปัญหาระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในอนาคตอันจะทำให้อัตราการกัดเซาะชายฝั่งในบางพื้นที่อาจจะสูงถึง 65 เมตรต่อปีในอีก 20 ปีข้างหน้า

รศ.ดร.ธนวัฒน์ เปิดเผยอีกว่า ดังนั้นหากเราไม่มีมาตรการณ์ใด ๆ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว พื้นที่ชายฝั่งทะเลของกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียงจะถูกกัดเซาะหายเพิ่มขึ้นอีก 1.3 กิโลเมตรในอีก 20 ปี คิดเป็นพื้นที่ ประมาณ 47,875 ไร่ ซึ่งปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในพื้นที่นี้จะมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ

“สำหรับจังหวัดสมุทรปราการ มีแนวชายฝั่งทะเลทั้งสิ้นยาวประมาณ 47 กิโลเมตร ครอบคลุมตำบลที่ติดชายฝั่งทะเล 6 ตำบล ในปัจจุบันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลมีรุนแรงมาก ทำให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะหายไป ประมาณ 11,104 ไร่ ในช่วงปี พ.ศ. 2510-2548 และข้อมูลจากการศึกษาของศูนย์ศึกษาพิบัติภัยชายฝั่งทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลกำลังจะถูกน้ำกัดเซาะอีก ประมาณ 37,657 ไร่ ในอีก 20 ปีข้างหน้า” รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าว

ส่วนวิธีการป้องกันปัญหาการน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยการก่อสร้างโครงสร้างถาวรและโครงสร้างชั่วคราวในหลายรูปแบบ แต่โครงสร้างและลักษณะสมุทรศาสตร์ของพื้นที่อาจจะมีความแตกต่างกัน ทำให้วิธีการที่ทำได้ผลในพื้นที่หนึ่ง อาจจะไม่ได้ผลในอีกพื้นที่หนึ่ง และอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันด้วย เช่น รอดักทราย กำแพงกันคลื่น หรือ เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งทะเล ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในวงที่กว้างขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทำการศึกษาสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานอย่างละเอียด และมีการทดสอบวิธีการที่เหมาะสมที่สุดกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ชายฝั่งทะเลแต่ละแห่งก่อนมีการก่อสร้างโครงการป้องกันชายฝั่งทะเล

รศ.ดร.ธนวัฒน์ เปิดเผยเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับบริเวณบ้านขุนสมุทรจีน หมู่ที่ 9 ตำบลแหลมฟ้าผ่าขณะนี้ได้ถูกน้ำกัดเซาะชายฝั่งไปแล้วกว่า1 กิโลเมตรในระยะเวลา30ปีและหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง ดูจากสถิติอีกประมาณ 100 ปีข้างหน้า จะถูกคลื่นกัดเซาะถึงสนามบินสุวรรณภูมิอย่างแน่นอนจึงเกิดโครงการนำร่องโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแบบเป็นรูปธรรมขึ้น
 
โดยตั้งชื่อว่า“เขื่อนสลายกำลังคลื่นขุนสมุทรจีน 49 A2” มีรูปแบบเป็นแท่งเสาคอนกรีตสามเหลี่ยม มียาวประมาณ 6-10 เมตร ตอกสลับฟันปลา ระยะห่าง1.50 เมตรจุดละ3เสาโดยทำการปักแท่งห่างจากชายฝั่งออกไปในทะเล 500 เมตร วัตถุประสงค์เพื่อให้คลื่นเข้ามากัดเซาะชายฝั่งน้อยลงและเพื่อเก็บกักตะกอนทั้งนี้เป็นแนวรูปแบบที่ทำเป็นการทดลองระยะความยาว250เมตรโดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จำนวน 8 ล้านบาท เป็นค่าวิจัย และจังหวัดสมุทรปราการ สนับสนุนอีก 5 ล้านบาทเป็นค่าก่อสร้างหลังจากได้ทำการติดตั้งมาแล้ว 2 เดือน ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือ คลื่นทะเลที่เข้ามาหลังเขื่อนเริ่มลดน้อยลง พร้อมกับมีตะกอนดินเข้ามาสะสมสูงขึ้นถึง 30 เซนติเมตร ในระยะเพียง 2 เดือนนับว่าได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับโครงสร้างได้ดำเนินการเสร็จไปแล้ว50เปอร์เซ็นต์ และจะทำเรื่องของบประมาณทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ตลอดแนวชายฝั่งที่เป็นหาดดินทั่วประเทศ

“ขณะนี้ทั่วโลกยังไม่มีใครประสบความสำเร็จในการทำเขื่อนหาดดิน ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น หรืออเมริกา แต่เราได้ทำสำเร็จขึ้นเป็นประเทศแรกในโลก จึงได้ทำการจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว และจะไปจดสิทธิบัตรที่ต่างประเทศอีกด้วย” รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าว

ด้าน นางสมร เข่งสมุทร วัย 51 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 ตำบลแหลมฟ้าผ่า ผู้บุกเบิกการต่อสู้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งมานานกว่า 30 ปี กล่าวว่า รูปแบบที่ อาจารย์ธนวัฒน์ ทำนั้นเป็นเขื่อนสลายคลื่นได้ผลดีมากที่สุด ดูได้จาก คลื่นที่สงบลง และมีตะกอนสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ไม่ต้องดิ้นรนไปหาวิธีอื่นอีกแล้ว วิธีนี้ดีที่สุด นอกจากนี้ไม่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมใด ๆ อีกด้วย ชาวหมู่บ้านขุนสมุทรจีนไม่ต้องอพยพหนีอีกต่อไป แต่ยังขาดงบประมาณ เพราะยังไม่มีหน่วยงานราชการหน่วยไหนให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง.


จาก    :    เดลินิวส์   วันที่ 15 พฤษภาคม 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มิถุนายน 15, 2007, 01:23:21 AM

ทุ่ม 20 ล. สกัดวิกฤติน้ำเซาะฝั่ง  

นายประวิม วุฒิสินธุ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรชายฝั่งและทะเล เปิดเผยว่า ได้เตรียมจัดสรรงบประมาณ 20 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่นำร่อง 2 แห่งที่วิกฤติคือพื้นที่เขตบางขุนเทียน และพื้นที่เขตจังหวัดสมุทรปราการ

สำหรับสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งเกิดจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลของไทย เกิดจากไม่มีการวางแผนและศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านกายภาพและสังคมของพื้นที่ ทำให้กิจกรรมหลายรูปแบบเป็นตัวเร่งให้เกิดการกัดเซาะมากขึ้น และมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างตึกขนาดใหญ่ที่ล่วงล้ำเข้ามาในชายฝั่ง ซึ่งกฎหมายไม่สามารถดำเนินการเอาผิดได้ เนื่องจากประชาชนมีโฉนดที่ดินถูกต้อง คงต้องขอความร่วมมือในการเพิกถอนสิ่งปลูกสร้าง เนื่องจากหากปล่อยไว้อาจจะกระทบต่อชายฝั่งของไทย ทั้งนี้แม้ว่าจะมีการทำโครงสร้างป้องกันต่างๆ เช่น กำแพงกันคลื่น เขื่อนกันตะกอนร่องน้ำ ก็กลับเป็นสาเหตุหลักในการการไหลเวียนของกระแสน้ำและยิ่งสร้างปัญหาทำให้เกิดการกัดเซาะไปสู่บริเวณใกล้เคียงมากขึ้น

สำหรับแนวทางแก้ไข ขณะนี้กรมฯอยู่ระหว่างเสนอแนวทางให้จัดจ้างมหาวิทยาลัยของรัฐบางแห่ง จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาระยะยาว โดยเพื่อนำมาใช้เป็นแผนแม่บทในการแก้ไขปัญหาให้เกิดความต่อเนื่องทุกปี และเสนอให้มีการจัดรูปแบบการดำเนินการแก้ไขร่วมกับแบบพยุหภาคี ทั้งในส่วนของภาครัฐ อบต.เทศบาลที่เกี่ยวข้อง โดยในการจัดทำกำแพงกั้นน้ำ และปลูกป่าชุมชน

"ในระยะสั้น ควรจะมีการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมชายฝั่งทะเลในการป้องกันและแก้ไขการกัดเซาะที่เหมาะสมส่วนแผนยะยาวควรทำแบบผสมผสาน โดยต้องมีการบูรณะหาดและปลูกป่าชายเลนเพื่อสร้างพื้นที่ป่าและแนวฝั่งทะเลใหม่ และควรมีการกำหนดระยะร่นถอยของสิ่งก่อ สร้างบนชายหาดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ความเสียหายทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างที่จะเกิดขึ้นพร้อมทั้งห้ามมีการขุดหรือนำทรายออกจากชายหาดเป็นอันขาด" นายประวิมกล่าว



จาก    :    แนวหน้า  วันที่ 8 มิถุนายน 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มิถุนายน 15, 2007, 01:23:54 AM

ห่วงสถานการณ์กัดเซาะ “ชายฝั่ง”
 
เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับธนาคารโลก รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทยปี 2549 เรื่องการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดย ดร.จิเทนดรา ชา เจ้าหน้าที่อาวุโสประสานงานธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของธนาคารโลกในปีนี้ พบว่า การกัดเซาะชายฝั่ง ถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆ โดยแนวชายฝั่งของไทยหลายพื้นที่กำลังเผชิญกับการกัดเซาะในอัตรามากกว่า 1-5 เมตรต่อปี หากคิดอัตราสูญเสียพื้นดินโดยรวมแล้วจะอยู่ที่ 2 ตารางกิโลเมตรต่อปี คิดเป็นมูลค่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงถึง 6,000 ล้านบาท ขณะที่การแก้ปัญหาส่วนใหญ่ มักจะลงทุนด้านสิ่งก่อสร้างเป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าของการสูญเสียพื้นที่ดิน อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยธรรมชาติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจาก มีความถี่และก่อความเสียหายต่อทรัพยากรชายฝั่ง สาเหตุของปัญหาการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่ง เกิดจากการขยายตัวของเมืองและการเติบโตของอุตสาหกรรมชายฝั่ง ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยว การขนส่งทางทะเล การประมงน้ำเค็มและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะฟาร์มเลี้ยงกุ้งเพิ่มจาก 26% เป็น 47% ส่งผลให้เกิดความสูญเสียและความเสื่อมโทรมทรัพยากรที่เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้

 ด้านนางนิศากร โฆษิตรัตน์ อธิบดี ทช.กล่าวว่า ทช.ร่วมกับหน่วยงานด้านทรัพยากรทางทะเลกำลังแก้ปัญหาการกัดเซาะในเขตพื้นที่อ่าวไทยตอนในรูปตัว ก ทั้ง 5 จังหวัด มีพื้นที่นำร่องที่บ้านขุนสมุทรจีน ส่วนภาคใต้ตั้งแต่บริเวณ อ.ระโนด จ.สงขลา และ อ.หัวไทร และแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช  กำลังอยู่ ระหว่างประเมินรูปแบบการแก้ปัญหา  และออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรม.
 
 

จาก     :     ไทยรัฐ    วันที่ 15  มิถุนายน  2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มิถุนายน 15, 2007, 01:24:37 AM

แบงก์โลกชี้ชายฝั่งทะเลไทยวิกฤติ ถูก“กัดเซาะหาย” 1-5 เมตรต่อปี  

ธนาคารโลกชี้ทะเลไทยวิกฤติหนัก “กัดเซาะชายฝั่ง” ส่งผลเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 6 พันล้านบาท ปะการังอันดามัน-อ่าวไทยเสื่อมโทรม แนะรัฐบาลไทยเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการ ลดการลงทุนสิ่งก่อสร้างเพื่อแก้กัดเซาะ ดึงชาวบ้านร่วมแก้ ส่วน ทช.สำรวจเขื่อนกันคลื่นภาคใต้ส่อเค้าเพิ่มปัญหา

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับธนาคารโลก รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทยปี  2549 เรื่องการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

 ดร. จิเทนดร้า ชาห์ เจ้าหน้าที่อาวุโสประสานงาน ธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของธนาคารโลกในปีนี้ พบว่าการกัดเซาะชายฝั่งถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆ โดยแนวชายฝั่งของไทยหลายพื้นที่กำลังเผชิญกับการกัดเซาะ ในอัตรามากกว่า 1-5 เมตรต่อปี หากคิดอัตราสูญเสียพื้นดินโดยรวมแล้วจะอยู่ที่ 2 ตารางกิโลเมตรต่อปี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงถึง 6,000 ล้านบาท

 ขณะที่การแก้ปัญหาส่วนใหญ่มักจะลงทุนด้านสิ่งก่อสร้างเป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าของการสูญเสียพื้นที่ดิน ตลอดจนการเสียโอกาสเรื่องการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดินนั้นๆ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชน ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าเงินลงทุนก่อสร้างหลายเท่า อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยธรรมชาติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากมีความถี่ และก่อความเสียหายต่อทรัพยากรชายฝั่ง

 ดร.จิเทนดร้า กล่าวอีกว่า สาเหตุของปัญหาการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งเกิดจากการขยายตัวของเมืองและการเติบโตของอุตสาหกรรมชายฝั่งในช่วง 30 ปีก่อน เนื่องจากมีประชากรอาศัยตามชายฝั่งทะเลเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยว การขนส่งทางทะเล การประมงน้ำเค็มและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะฟาร์มเลี้ยงกุ้งเพิ่มจาก 26% เป็น 47% จนส่งผลให้เกิดความสูญเสียและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเลบริเวณพรุควนขี้เสี้ยน จ.พัทลุง เป็นตัวอย่างพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งและการท่องเที่ยว ขณะที่สถานภาพของแนวปะการังในอันดามัน 80% และอ่าวไทย 50% อยู่ในสภาพปานกลางถึงเสื่อมโทรมมาก และยังมีแนวโน้มเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่องด้วย

 “พื้นที่บ้านขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการ เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมากกว่า 1 ตารางกิโลเมตรในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา สาเหตุมาจากการสูญเสียป่าชายเลนตลอดแนวชายฝั่งและยังกระทบกับหมู่บ้านตลอดแนวฝั่งอ่าวไทยด้วย สำหรับพื้นที่ทะเลอันดามันนั้น การกัดเซาะมาจากมนุษย์โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างกำแพงกั้นคลื่น เขื่อนกั้นน้ำ ท่าเทียบเรือ และการขุดเจาะน้ำบาดาล เป็นต้น” ดร.จิแทนดร้า กล่าว

 นอกจากนี้ ดร.จิเทนดร้า ระบุด้วยว่า แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายเพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรก็ตาม แต่ยังมีผลในทางปฏิบัติที่ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากกฎหมายมีความซ้ำซ้อนและไม่ได้ปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจากการวิจัยของธนาคารโลกพบว่า หากพื้นที่ไหนมีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการรักษาและดูแลป่าชายเลน และแนวปะการังในพื้นที่นั้นๆ ก็จะมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ธนาคารโลกเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา 5 แนวทาง คือ 1.การลดการกัดเซาะชายฝั่งและผลกระทบจากภัยธรรมชาติ โดย ทช.ควรต้องมีมาตรการเชิงวิศวกรรมแบบผสมผสานและคำนึงถึงความเหมาะสมแต่ละพื้นที่ 2.สนับสนุนวางแผนการประมงแบบยั่งยืน 3.เพิ่มมาตรและการส่งเสริมประสิทธิภาพของการกำกับดูแลการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล เช่น การควบคุมจำนวนฟาร์มเลี้ยงกุ้ง 4.กระตุ้นให้ส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาท และ 5.ส่งเสริมนโยบายและการบริหารทรัพยากร และปรับปรุงให้เอื้อต่อการบูรณาการ

 ด้านนางนิศากร โฆษิตรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า ขณะนี้ ทช.ร่วมกับหน่วยงานด้านทรัพยากรทางทะเลกำลังแก้การกัดเซาะในเขตพื้นที่อ่าวไทยตอนในรูปตัว ก ทั้ง 5 จังหวัด มีพื้นที่นำร่องที่บ้านขุนสมุทรจีน ส่วนภาคใต้ตั้งแต่บริเวณระโนด จ.สงขลา และ อ.หัวไทร  และแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช กำลังอยู่ระหว่างประเมินรูปแบบการแก้ปัญหา และออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรม อย่างไรก็ตาม สำหรับสิ่งก่อสร้างเดิมที่มีอยู่แล้ว และอาจเป็นตัวเร่งให้เกิดการกัดเซาะในพื้นที่อื่นๆ นั้น  กำลังอยู่ในขั้นตอนการสำรวจในภาพรวมทั้งหมด หากพบว่ามีส่วนทำให้เกิดปัญหากัดเซาะจริงๆ อาจต้องปรับปรุงรูปแบบให้เหมาะสม และรื้อออกในบางจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดการกัดเซาะให้รุนแรงขึ้น

    “นอกจากนี้ ครม.ยังได้รับร่างหลักการ พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.... ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ ถือเป็น พ.ร.บ.ฉบับแรกที่ชุมชนชายฝั่งจะมีส่วนร่วมในการจัดการทะเล” นางนิศากร กล่าว
 


จาก     :     คม ชัด ลึก    วันที่ 15  มิถุนายน  2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มิถุนายน 18, 2007, 11:56:04 PM

ทะเลรุกฝั่งปากน้ำ ร้อยปีถึงสุวรรณภูมิ

(http://www.thairath.co.th/2550/hotnews02/Jun/library/19/scoop1.jpg)
 
จังหวัดสมุทรปราการมีพื้นที่ที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลรุนแรง พื้นที่แรก...ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกคลองสีล้ง-บ้านบางสำราญ อยู่บริเวณตะวันออก ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เขตอำเภอบางบ่อ อำเภอบางพลี และอำเภอเมือง

ชายฝั่งทะเลส่วนนี้ถูกกัดเซาะเป็นทางยาว 17.5 กิโลเมตร

ช่วงระยะเวลา 28 ปีที่ผ่านมา ชายฝั่งถูกกัดเซาะไปแล้ว 400-600 เมตร และมีอัตราการกัดเซาะ ปีละ 15-25 เมตร

พื้นที่ต่อมา...ชายฝั่งทะเลบ้านแหลมสิงห์-ปากคลองขุนราชพินิตใจ อยู่บริเวณตะวันตก ปากแม่น้ำเจ้าพระยา แนวชายฝั่งยาว 12.5 กิโลเมตร

จากบ้านแหลมสิงห์ซึ่งอยู่ทางใต้ป้อมพระจุลจอมเกล้า ไล่ยาวตามแนวชายฝั่งทะเลทิศตะวันตกจนสุดเขตจังหวัดสมุทรปราการ ที่กึ่งกลางคลองขุนราชพินิตใจ

ชายฝั่งด้านนี้ ส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านชาวประมง ทำนากุ้ง เลี้ยงปลา เลี้ยงหอยแครง มีการพัฒนาพื้นที่น้อย ไม่มีถนนสายใหญ่ คนส่วนใหญ่ยังใช้เรือหางยาวแล่นตามลำคลอง...เลียบชายฝั่งทะเล

สถานการณ์ปัจจุบัน แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ถูกกัดเซาะถอยร่นจากแนวทะเล 700-800 เมตร อัตราเฉลี่ยมากกว่า 25 เมตรต่อปี

บางพื้นที่ เช่น บ้านขุนสมุทรจีน หมู่ 9 ช่วงระยะเวลา 28 ปี ถูกกัดเซาะหายไปถึง 1 กิโลเมตร

ชินภัทร พุทธชาติ ประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรปราการ นำทีมสื่อมวลชนลงพื้นที่สำรวจชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ กล่าวว่า

“หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง อีก 100 ปีข้างหน้าจะถูกคลื่นกัดเซาะไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิ”

ข้อมูลจากหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย...ประเทศไทยมีแนวชายฝั่งทะเล 2,667 กิโลเมตร มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในทุกจังหวัดชายฝั่งทะเลทั้งด้านอ่าวไทย และอันดามัน

(http://www.thairath.co.th/2550/hotnews02/Jun/library/19/scoop2.jpg)

ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ไล่มาตั้งแต่จังหวัดตราด ฝั่งทะเลด้านตะวันออก จนถึงจังหวัดนราธิวาส ความยาว 1,653 กิโลเมตร

ช่วง 30 ปี มีการกัดเซาะขั้นรุนแรง 180.9 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 56,561 ไร่...ถูกกัดเซาะปานกลาง 304.1 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 38,012 ไร่

ชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน มีการกัดเซาะรุนแรง 23 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 7,187 ไร่ และถูกกัดเซาะปานกลาง 90.5 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 11,312 ไร่

สรุปว่า ในช่วงเวลา 30 ปี ชายฝั่งทะเลไทยถูกกัดเซาะทั้งสิ้น 113,042 ไร่ ครอบคลุมแนวชายฝั่ง 599 กิโลเมตร หรือ ร้อยละ 21 ของแนวชายฝั่งทั้งประเทศ

ชินภัทร บอกว่า พื้นที่ชายฝั่งทะเลช่วงอ่าวไทยตอนบน ตั้งแต่ปากน้ำบางประกง จนถึงปากน้ำแม่กลอง เป็นพื้นที่อ่อนไหว พบว่า มีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงที่สุด ปีละ 35 เมตร

“แนวชายฝั่งบริเวณนี้ ถูกกัดเซาะตลอดแนว 82 กิโลเมตร ลึกเข้ามาในแผ่นดิน 1 กิโลเมตร...คิดดู ชาวบ้านต้องอพยพย้ายบ้านหนีมาแล้วไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง”

ประเมินกันว่า อีก 20 ปีข้างหน้า หากผนวกกับปัญหาน้ำทะเลสูงขึ้น จะทำให้ชายฝั่งบางพื้นที่มีอัตราการกัดเซาะสูงถึงปีละ 65 เมตร

เมื่อถึงวันนั้น...ชายฝั่งทะเลกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง จะถูกกัดเซาะเพิ่มขึ้นอีก 1.3 กิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ 47,875 ไร่

แน่นอนว่า จะกระทบกับเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ

อนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ บอกว่า บ้านขุนสมุทรจีนเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญ กำลังดำเนินการโครงการนำร่องป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ภายใต้ชื่อ...“เขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2”

เขื่อนสลายกำลังคลื่น รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร?

(http://www.thairath.co.th/2550/hotnews02/Jun/library/19/scoop4.jpg)

“เขื่อนสลายกำลังคลื่น ใช้แท่งเสาคอนกรีตสามเหลี่ยม ความยาว 6-10 เมตร ตอกสลับฟันปลา ระยะห่าง 1.50 เมตร จุดละ 3 เสา โดยปักแท่งห่างจากชายฝั่งล้ำออกไปในทะเล 500 เมตร”    อนุวัฒน์ อธิบาย

เป้าหมายของกลุ่มเสาคอนกรีต มีไว้เพื่อให้คลื่นที่ตีเข้าหาฝั่งลดกำลังน้อยลง อีกทั้งแนวคอนกรีตยังช่วยในการตกตะกอนดิน ช่วยให้ดินชายฝั่งเกิด

เขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2 ในขั้นทดลอง มีความยาว 250 เมตร ได้รับงบสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 8 ล้านบาท เป็นค่าวิจัย และงบจากจังหวัดสมุทรปราการอีก 5 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง

“ระยะเวลา 2 เดือน ผลที่ได้รับจากเขื่อนสลายกำลังคลื่น ถือว่าน่าพอใจ...ความแรงคลื่นหลังเขื่อนมีน้อยลง พร้อมกับมีตะกอนดินสะสมสูงขึ้น 30 เซนติเมตร”

ข้อมูลนี้ยืนยันได้ว่า...เขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2 ใช้ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์

“โครงการนี้เพิ่งดำเนินการได้ไม่นาน ด้านโครงสร้างดำเนินการเสร็จไปแล้ว 50% ในอนาคตจะต้องทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ตลอดแนวชายฝั่งที่เป็นหาดดิน”

จังหวัดสมุทรปราการมีแนวชายฝั่งยาว 45 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 6 ตำบล ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงมาก

“ประชาชนส่วนใหญ่ประสบปัญหาแนวตลิ่งพังทลายมาเป็นเวลานาน หลายครอบครัวต้องสูญเสียพื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย จนต้องอพยพย้ายออกไปนอกพื้นที่ ครอบครัวที่ยังอาศัยอยู่บางทีก็ย้ายหนีน้ำมาแล้วหลายครั้ง”

อนุวัฒน์ บอกอีกว่า จังหวัดสมุทรปราการมีมาตรการรับมือกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แบ่งเป็น 2 ระยะ...มาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหาระยะสั้น ในช่วง 1-3 ปี และมาตรการระยะยาว ในช่วง 3-5 ปี ที่ต้องทำควบคู่กันไป

มาตรการระยะสั้น คือการสร้างเสถียรภาพของแนวชายฝั่ง ต้องใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมชายฝั่งทะเล เป็นการแก้ปัญหาแบบแข็ง...เขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2...คือคำตอบสุดท้าย

มาตรการระยะยาว ควรทำหลังหรือทำควบคู่กับมาตรการระยะสั้น เป็นวิธีผสมผสานแบบอ่อนและแบบแข็งเข้าด้วยกัน เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสภาพแต่ละพื้นที่

“การแก้ปัญหาแบบอ่อน เป็นการบูรณะหาด ปลูกป่าชายเลน บริเวณที่มีการสะสมตะกอนดินเพิ่มขึ้นแล้ว สร้างแนวป่าชายเลน...พัฒนาแนวชายฝั่งขึ้นมาใหม่”

อีกประเด็นสำคัญที่ต้องสนใจให้มาก ไม่น้อยไปกว่าการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดความรุนแรง ก็คือ การกำหนดระยะร่นถอยของสิ่งก่อสร้างบนชายหาด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

อาจจะกำหนดให้มี หรือไม่มีสิ่งปลูกสร้างอะไรบนชายหาด เอาไว้ในแผนแม่บทการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างเป็นรูปธรรม

(http://www.thairath.co.th/2550/hotnews02/Jun/library/19/scoop3.jpg)

กรณีศึกษา เขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2 บ้านขุนสมุทรจีน เป็นการแก้ปัญหาเชิงนโยบาย ในการกำหนดภารกิจหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน มีความจำเป็นอย่างยิ่งในยุคการปฏิรูประบบราชการ

“นโยบายและเจ้าภาพที่ชัดเจน จะนำไปสู่การแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝังที่ไม่ซ้ำซ้อน และลดความสูญเสียงบประมาณแผ่นดินในระยะยาว”     อนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวทิ้งท้าย.



จาก     :     ไทยรัฐ    วันที่ 19 มิถุนายน  2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มิถุนายน 19, 2007, 12:47:39 AM

ร่างขอบเขตของงาน (TOR) การจ้างปักไม้ไผ่เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจังหวัดสมุทรสาคร

1.  ความเป็นมา
                ปัจจุบันประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามันได้รับผลกระทบ  อันเนื่อง           มาจากความแปรปรวนของท้องทะเลก่อให้เกิดความรุนแรงและการเปลี่ยนทิศทางของกระแสคลื่นและลม  เป็นผลให้ชายฝั่งทะเลบริเวณดังกล่าวมีการกัดเซาะอย่างรุนแรงรวมทั้งมีการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณชายฝั่งทะเลโดยผิดหลักการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยการสร้างสิ่งก่อสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย  การเกษตรกรรม  โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์น้ำในบริเวณพื้นที่ป่าชายเลน  ซึ่งทำให้พื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลายสูญเสียพื้นที่เป็นจำนวนมาก  เป็นปัจจัยเสริมให้มีการกัดเซาะฝั่งทะเลมากขึ้น               


        พื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามันมีความยาวทั้งสิ้นประมาณ  2,600 กม.  ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด  จากการศึกษาพบว่า  บริเวณจังหวัดชายฝั่งทะเลที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะอย่างรุนแรง  มีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ยมากกว่า  5  เมตรต่อปี  ได้แก่  จังหวัดบริเวณอ่าวไทยตอนบนและอ่าวไทยฝั่งตะวันออก  เช่น  จังหวัดจันทบุรี ระยอง  ฉะเชิงเทรา  สมุทรปราการ  กรุงเทพ ฯ  เพชรบุรี  เป็นต้น  โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ทะเลชายฝั่งสมุทรสาครมีอัตราการกัดเซาะรุนแรงปานกลางมีระยะทางประมาณ  1-5  เมตร/ปี  ก่อให้เกิดปัญหาความเดือดร้อนทางด้านที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมรวมทั้งระบบนิเวศชายฝั่ง  (coastal  ecosystem)  เนื่องจากพื้นที่ที่ดินกรรมสิทธ์ได้ถูกกัดเซาะเสียหาย จมอยู่ในทะเล  และมีแนวโน้มที่จะกัดเซาะมากยิ่งขึ้น  ประชาชนในท้องถิ่นจึงได้ตระหนักในปัญหาดังกล่าว  ซึ่งได้มีการคิดวางแผนและมาตรการที่จะป้องกันพื้นที่ชายฝั่งไม่ให้ถูกกัดเซาะอีกต่อไป  จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการแก้ไขปัญหา การกัดเซาะและฟื้นฟูพื้นที่ชายทะเลจังหวัดสมุทรสาคร  โดยมีส่วนร่วมของประชาชน  ร่วมกับองค์กรภาครัฐโดยเฉพาะกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


2.  วัตถุประสงค์
           2.1  เพื่อดำรงรักษาระบบนิเวศชายฝั่งทะเล  และสภาพวิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่งทะเลควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชนชายฝั่ง  บริเวณตำบลพันท้ายนรสิงห์  และ  ตำบลโคกขาม  อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรสาคร
           2.2  เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล  ด้วยการปักแนวไม้ไผ่เพื่อสลายพลังคลื่นสู่ทะเล  และเสริมปริมาณตะกอนบริเวณหลังแนวไม้ไผ่
           2.3  เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลน  โดยการสนับสนุนให้ประชาชนปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ของตนเองที่มีปัญหาการกัดเซาะ เมื่อป่าชายเลนเจริญเติบโตจะช่วยเสริมสร้างแนวธรรมชาติในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
           2.4  เพื่อเป็นพื้นที่ทดลองในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง  โดยให้พื้นที่อื่น ๆ  ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งต่อไป


3. คุณสมบัติผู้เสนอราคา
         3.1  ผู้เสนอราคาต้องเป็นนิติบุคคลผู้มีอาชีพรับจ้างงานที่ประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
         3.2  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการ  และได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว  หรือไม่เป็นผู้ได้รับผลของการสั่งให้นิติบุคคลหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบของทางราชการ
         3.3  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น  และ/หรือต้องไม่เป็นผู้มีผล         ประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้เสนอราคากับผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์  ณ  วันประกาศประกวดราคาจ้างด้วยวิธี การทางอิเล็กทรอนิกส์  หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมในการประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้
         3.4  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน  ซึ่งอาจปฎิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทย  เว้นแต่รัฐบาล ของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นว่านั้น
         3.5  ผู้เสนอราคาต้องมีผลงานในการดำเนินการปักไม้ไผ่เพื่อป้องกันการกัดเซาะ  ในวงเงินไม่น้อยกว่า  2,500,000  บาท  (สองล้านห้าแสนบาทถ้วน)  เป็นผลงานที่แล้วเสร็จตามสัญญาและไม่เกิน  2  ปี  นับถึงวันยื่นซองประกวดราคา               ที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับส่วนราชการ  หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น  หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น  รัฐวิสาหกิจ  หรือหน่วยงานเอกชนที่กรมเชื่อถือ  พร้อม        นำหลักฐานให้คณะกรรมการประกวดราคาตรวจสอบในวันยื่นเอกสารประกวดราคา
         3.6  ต้องมีที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดแล้ว  โดยนำหลักฐานการขึ้นทะเบียนผู้ชำนาญการดังกล่าวยื่นพร้อมกับซองเอกสารประกวดราคา


4. แบบรูปรายการ
           วิธีดำเนินการของโครงการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล  โดยใช้เทคโนโลยีแบบอ่อน  (soft solution)  ด้วยการประนีประนอมธรรมชาติ
            4.1 ใช้ไม้ไผ่ขนาด  ø  ขนาดประมาณ  3  นิ้ว  ยาว  5  เมตร  ปักเป็นแนวจำนวน  4  แถว  ห่างจากฝั่งเป็นระยะ ทาง  50  ม.  แต่ละแถวมีระยะทางยาว  1,880  เมตร  โดยปักในแต่ละแถวมีไม้ไผ่ห่างประมาณ  10  ซม.  และระหว่างแถวระหว่างลำห่างกัน  10 ซม.  เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า  ลำไม้ไผ่ในแต่ละแถวจะเหลื่อมกันเพื่อปิดช่องว่างเพื่อกันกระแสคลื่น  โดยใช้ไม้ไผ่จำนวน  41,780  ลำ
            4.2  ใช้ไม้ไผ่ ø ขนาด  3  นิ้ว  ยาว  5  เมตร  เหมือนกับข้อ  4.1  ปักเป็นแถวจำนวน  4  แถว  แต่ละแถวมีระยะ ทางยาว  320  เมตร  ห่างจากฝั่ง  50  เมตร  โดยไม้ไผ่กลุ่มนี้จะปักอยู่ระหว่างชายฝั่งทะเล  และกลุ่มไม้ไผ่ตามข้อ  4.1  ให้ปักลึกลงในดินเป็นระยะ  1  เมตร  ระยะระหว่างลำและระหว่างแถวเท่ากัน  10  ซม.  และระยะระหว่างลำในระหว่างแถวเท่ากับ  10  ซม.  โดยจะเหลื่อมกันเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าเพื่อปิดช่องว่างเพื่อกันกระแสคลื่นเหมือนกลุ่มไม้ไผ่ตามข้อ 4.1  ใช้ไม้ไผ่จำนวน  7,112  ลำ  รวมใช้ไม้ไผ่ขนาด ø ขนาด  3  นิ้ว  ตามข้อ  4.1  และ  4.2  รวมทั้งสิ้น  48,892  ลำ
            4.3  บริเวณใกล้ปากคลองหลวงให้มีการปักไม้ไผ่ขนาด  ø  4 ซม.  (ไม้ไผ่รวก)  ยาว  5  เมตร  เป็นแนวขนานคลองออกไปในทะเล  โดยปักเป็นแถว  10  แถว  แถวละ  2,000  ลำ  เป็นระยะทางยาว  200  เมตร  โดยมีระยะห่างระหว่างแถวและระหว่างลำเป็นระยะ  10  ซม.  ปักลึกลงในดิน  1  เมตร  ใช้ไม้ไผ่รวมทั้งสิ้น  20,000  ลำ  โดยปักไม้ไผ่ในแต่ละแถวให้เหลื่อมกัน  ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ตะกอนที่ตกทับถมหลังแปลงปักไม้ไผ่  (ตามข้อ  4.1  และ  4.2)  ไหลลงในคลอง


5.  ระยะเวลาดำเนินการ  หรือส่งมอบงาน
           ให้แล้วเสร็จภายใน  120  วัน  นับถัดจากวันที่ลงนามในสัญญาจ้าง  หรือวันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากกรมให้    เริ่มทำงาน


6.  วงเงินในการจัดหา
      กำหนดราคากลาง  เป็นเงินจำนวน  5,750,000  บาท  (ห้าล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)  ซึ่งเป็นราคาที่รวม      ค่าวัสดุ  ค่าแรงงาน  ค่าดำเนินการ  ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม  7%  และค่าใช้จ่ายทั้งปวงไว้ด้วยแล้ว


7.  หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ
     สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


สถานที่ติดต่อเพื่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือเสนอแนะวิจารณ์  หรือแสดงความคิดเห็นโดยเปิดเผยตัวได้ที่
 1.  ทางไปรษณีย์
           ส่งถึง  สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
                   กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  92  ซอยพหลโยธิน  7  แขวงสามเสนใน
                   เขตพญาไท  กรุงเทพมหานคร  10400
 2.  โทรศัพท์  0  2298  2590  หรือ  0  2298  2143
 3.  โทรสาร  0  2298  2143
 4.  ทางเว็บไซต์  www.dmcr.go.th
 5.  E-Mail  nus_dmcr@yahoo.co.th

http://www.dmcr.go.th/modules.php?name=News&file=article&sid=308



จาก     :     กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  วันที่ 18 มิถุนายน 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มิถุนายน 19, 2007, 12:53:50 AM

ร่างขอบเขตของงาน (TOR)การจ้างปักไม้ไผ่รวกเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจังหวัดสมุทรปราการ


1.  ความเป็นมา  

       ประเทศไทยมีแนวชายฝั่งทะเลประมาณ  2,667  กิโลเมตร  พบว่าปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเกิดขึ้น ในทุกจังหวัดชายฝั่งทะเล  23  จังหวัด  ทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน  สำหรับชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยตั้งแต่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก  จากจังหวัดตราดจนถึงบริเวณชายฝั่งทะเลชายแดนภาคใต้จังหวัดนราธิวาส  รวมทั้งสิ้น 17 จังหวัด  ซึ่งมีความยาวชายฝั่งทะเลทั้งสิ้น  1,653  กิโลเมตร  ในช่วง  30  ปีที่ผ่านมา  ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยที่พบการกัดเซาะขั้นรุนแรงทั้งสิ้น 180.9 กิโลเมตร  คิดเป็นพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะประมาณ  56,531  ไร่  และการกัดเซาะขั้นปานกลางทั้งสิ้น  304.1  กิโลเมตร  คิดเป็นพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะประมาณ 38,012 ไร่  สำหรับชายฝั่งทะเลด้านอันดามันพบการกัดเซาะชายฝั่งทะเลขั้นรุนแรงทั้งสิ้น  23  กิโลเมตร  คิดเป็นพื้นที่ถูกกัดเซาะประมาณ  7,187  ไร่  และการกัดเซาะขั้นปานกลางทั้งสิ้น  90.5  กิโลเมตร  คิดเป็นพื้นที่ถูกกัดเซาะประมาณ  11,312  ไร่  หากพิจารณาพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศถูกกัดเซาะไปทั้งสิ้น  113,042  ไร่  ครอบคลุมชายฝั่งทะเลยาวทั้งสิ้น  599 กิโลเมตร  หรือคิดเป็นร้อยละ  21  ของชายฝั่งทะเลทั้งหมดของประเทศ


       พื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกงจนถึงปากแม่น้ำแม่กลองครอบคลุมพื้นที่  5  จังหวัด  ได้แก่  ฉะเชิงเทรา  สมุทรปราการ  กรุงเทพมหานคร  สมุทรสาคร  และสมุทรสงคราม มีแม่น้ำใหญ่ 4 สาย  คือ  แม่น้ำบางปะกง  เจ้าพระยา  ท่าจีน  และแม่กลอง  ไหลผ่านบริเวณลุ่มน้ำทางภาคเหนือและพื้นที่เกษตรกรรมในภาคกลางลงสู่อ่าวไทยตอนบน  พื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณนี้เรียกว่า  พื้นที่ชายฝั่งทะเลก้นอ่าวไทยมีลักษณะทางธรณีวิทยาเป็นตะกอนร่วนที่สะสมภายใต้สภาพแวดล้อมชายฝั่ง  (Marine Sediment)  มีลักษณะธรณีสัณฐานที่เรียกว่า  ที่ราบน้ำทะเลท่วมถึง  (Tidal Plain)  ตะกอนที่สะสมตัวบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นโคลนทะเล  หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า  ดินเหนียวกรุงเทพ  (Bangkok Clay)  ชั้นดินเหนียวโคลนทะเลนี้มีความลึกเฉลี่ย  20  เมตร  ชายฝั่งทะเลบริเวณดังกล่าวมีความอ่อนไหวต่อการพังทลายเนื่องจากป่าชายเลนถูกถางทำลายมาเป็นเวลานาน  และพบว่ามีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่รุนแรงที่สุดของประเทศ  คือ  ประมาณ  35  เมตรต่อปี  ชายฝั่งทะเลบริเวณนี้ถูกกัดเซาะทั้งสิ้นเป็นระยะทางยาวประมาณ  82  กิโลเมตร  คิดเป็นพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะไปแล้วทั้งสิ้น  18,594  ไร่  ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โดยพื้นที่บางแห่งได้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะไปแล้วประมาณ  1  กิโลเมตร  จนชาวบ้านต้องอพยพย้ายบ้านเรือนหนีไม่ต่ำกว่า  4-5  ครั้ง  ปัญหาแผ่นดินทรุดของกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงเป็นปัจจัยเสริมที่ผนวกกับปัญหาระดับน้ำทะเลที่จะสูงขึ้นในอนาคต  อันจะทำให้อัตราการกัดเซาะชายฝั่งในบางพื้นที่อาจจะสูงถึง  65  เมตรต่อปี  ในอีก  20  ปีข้างหน้า  ดังนั้น  หากเราไม่แสวงหามาตรการเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าว  พื้นที่ชายฝั่งทะเลของกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงจะถูกกัดเซาะหายเพิ่มขึ้นอีก  1.3 กิโลเมตร  ในอีก  20  ปีข้างหน้า  หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ  47,875  ไร่  จะเห็นชัดว่า  ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในพื้นที่เหล่านี้จะมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ  โดยเฉพาะการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล  การส่งเสริมการท่องเที่ยว  และการรักษาสภาพธรรมชาติและระบบนิเวศชายฝั่ง  เพื่อให้เกิดประโยชน์เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ  และสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชนริมชายฝั่งทะเลบริเวณนี้

      โครงการฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาถึงปากน้ำท่าจีนเป็นส่วนหนึ่งของแผนการฟื้นฟูทะเลไทยและป้องกันภัยธรรมชาติ  เพื่อเป็นโครงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน  โดยการก่อสร้างโครงสร้างเป็นแนวไม้ไผ่รวกปักห่างจากแนวชายฝั่งทะเลที่พังทลายประมาณ  20  เมตร  จำนวน  10  แถว  เพื่อเป็นแนวกันคลื่นทะเลสลายพลังคลื่นเป็นแนวกันลม  และป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอันจะเป็นผลให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง  ได้บรรเทาความเดือดร้อนจากการพังทลายของริมฝั่งทะเล  ซึ่งมีผลทำให้พื้นที่ทำกินของประชาชนที่เคยได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติชายฝั่งทะเลได้รับการคุ้มครองยิ่งไปกว่านั้นตะกอนดินเลนก็จะถูกเก็บกักไว้หลังโครงสร้างแนวไม้ไผ่รวก  เนื่องจากกระแสน้ำจะค่อนข้างนิ่งเพราะพลังคลื่นถูกสลาย  ตะกอนเลนดังกล่าวจะตกตะกอนทับถมได้อย่างรวดเร็ว  และเมื่อตะกอนดินเลนหนาขึ้นทางโครงการ ฯ  มีแผนการปลูกป่าชายเลนบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีการก่อสร้างแนวไม้ไผ่รวกสลายกำลังคลื่นทะเล  ซึ่งจะส่งผลให้ชายฝั่งทะเลมีเสถียรภาพมากขึ้นและเพิ่มสมดุลและความอุดมสมบูรณ์ของชายฝั่งทะเล  ป่าชายเลนจะเป็นพื้นที่กันชนที่สำคัญของระบบนิเวศบกและระบบนิเวศทะเลบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน

       โครงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณนี้มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมีผลต่อวิถีชีวิตของประชาชน  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจึงเห็นสมควรจัดทำข้อเสนอโครงการนี้  เพื่อเป็นโครงการต้นแบบของการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดโคลน  ซึ่งในระยะยาวการแก้ไขปัญหาเช่นนี้อาจพัฒนาเป็นวิธีการที่ดีกว่านี้โดยสามารถลงทุนในโครงสร้างอื่นที่ออกแบบมาให้มีประสิทธิ ภาพในการเก็บกักตะกอนให้มากและรวดเร็วขึ้น  พื้นที่ป่าชายเลนก็จะยิ่งเพิ่มพูน  ระบบนิเวศชายฝั่งก็จะกลับฟื้นคืนสู่สภาวะสมดุลมีความอุดมสมบูรณ์ที่ยั่งยืน  ซึ่งมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาสังคม  และความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่ง


2.  วัตถุประสงค์
 2.1  เพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งสภาพทรัพยากรธรรมชาติ  ฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเล  และสภาพวิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่งทะเลควบคู่ ไปกับการพัฒนาชุมชนชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบน
 2.2  เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้วยการสร้างแนวไม้ไผ่รวกสลายพลังคลื่นทะเล
 2.3  เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนของอ่าวไทยตอนบน
 2.4  เพื่อนำวิธีการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลนี้ไปใช้กับพื้นที่อื่นของอ่าวไทยตอนบน


3. คุณสมบัติผู้เสนอราคา
     3.1  ผู้เสนอราคาต้องเป็นนิติบุคคลผู้มีอาชีพรับจ้างงานที่ประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
     3.2  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการ  และได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว  หรือไม่เป็นผู้ได้รับผลของการสั่งให้นิติบุคคลหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบของทางราชการ
     3.3  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น  และ/หรือต้องไม่เป็นผู้มีผล         ประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้เสนอราคากับผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์  ณ  วันประกาศประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์  หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมในการประกวดราคา จ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้
     3.4  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน  ซึ่งอาจปฎิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทย  เว้นแต่รัฐบาล ของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นว่านั้น
     3.5  ผู้เสนอราคาต้องมีผลงานในการดำเนินการปักไม้ไผ่เพื่อป้องกันการกัดเซาะ  ในวงเงินไม่น้อยกว่า  2,500,000  บาท  (สองล้านห้าแสนบาทถ้วน)  เป็นผลงานที่แล้วเสร็จตามสัญญาและไม่เกิน  3  ปี  นับถึงวันยื่นซองประกวดราคา               ที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับส่วนราชการ  หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น  หน่วยงานอื่น ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น  รัฐวิสาหกิจ  หรือหน่วยงานเอกชนที่กรมเชื่อถือ  พร้อม        นำหลักฐานให้คณะกรรมการประกวดราคาตรวจสอบในวันยื่นเอกสารประกวดราคา
     3.6  ต้องมีที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และได้รับอนุญาตจากต้นสังกัดแล้ว  โดยนำหลักฐานการขึ้นทะเบียนผู้ชำนาญการดังกล่าวยื่นพร้อมกับซองเอกสารประกวดราคา


4. แบบรูปรายการ
      วิธีดำเนินการของโครงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล  จะใช้เทคโนโลยีแบบอ่อน  (soft solution) ด้วยการประนีประนอมกับธรรมชาติ  โดยสร้างแนวตั้งรับสลายพลังคลื่นด้วยแนวไม้ไผ่รวกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  1  นิ้ว  ยาว  6  เมตร  ปักเป็นแถวขนานกับชายฝั่งทะเลที่พังทลาย  จำนวน  10  แถว  ห่างจากแนวชายฝั่งทะเลเดิม  20  เมตร  โดยให้  3  แถวแรก  ปักไม้ไผ่รวกห่างระหว่างไม้ไผ่รวก  4  เซนติเมตร  และ  7  แถวต่อไป  ปักระยะ ห่างระหว่างไม้ไผ่รวก  10  เซนติเมตร  ระยะทางระหว่างแถว 150  เซนติเมตร  เท่ากันทุกแถว   (ตามแผนผังที่แนบ) การปักเช่นนี้จะใช้ไม้ไผ่รวกจำนวน  145,000  ลำ  ต่อระยะทาง  1  กิโลเมตร  โดยทำการก่อสร้างในพื้นที่โครงการ  บริเวณชายฝั่งทะเล  หมู่ที่ 10  ตำบลแหลมฟ้าผ่า  อำเภอพระสมุทรเจดีย์  จังหวัดสมุทรปราการ  เป็นพื้นที่นำร่องระยะ ทางตามแนวชายฝั่งทะเล  2  กิโลเมตร  ขนานกับชายฝั่งห่างจากชายฝั่งทะเลเดิมประมาณ  20  เมตร  เว้นช่องบริเวณปากคลองเพื่อความสะดวกของการสัญจรทางน้ำ  ซึ่งบริเวณปากคลองทุกคลองจะต้องปักไม้ไผ่รวกเป็นแนวกันเลนไหลออกด้วย  โครงสร้างแนวไม้ไผ่รวกจะเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจากคลื่น  และเมื่อคลื่นลมสงบตะกอนเลนจะตกทับถมหลังแนวไม้ไผ่รวก  ซึ่งหนาพอจะปลูกพันธุ์ไม้ชายเลนได้ในปีถัดไป  ทั้งยังช่วยรักษาพื้นที่ทำกินของประชาชนด้านหลังป่าชายเลน ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะ  เป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านการสูญเสียที่ดินริมฝั่งทะเลของประชาชนในพื้นที่


5.  ระยะเวลาดำเนินการ  หรือส่งมอบงาน
 ให้แล้วเสร็จภายใน  180  วัน นับถัดจากวันที่ลงนามในสัญญาจ้าง  หรือวันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากกรมให้  เริ่มทำงาน


6.  วงเงินในการจัดหา
 กำหนดราคากลาง  เป็นเงินจำนวน  5,225,000  บาท  (ห้าล้านสองแสนสองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)  ซึ่งเป็นราคาที่รวมค่าวัสดุ  ค่าแรงงาน  ค่าดำเนินการ  ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม  7%  และค่าใช้จ่ายทั้งปวงไว้ด้วยแล้ว


7.  หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ
     สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง



สถานที่ติดต่อเพื่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือเสนอแนะวิจารณ์  หรือแสดงความคิดเห็นโดยเปิดเผยตัวได้ที่
 1.  ทางไปรษณีย์
           ส่งถึง  สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
                   กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  92  ซอยพหลโยธิน  7  แขวงสามเสนใน
                   เขตพญาไท  กรุงเทพมหานคร  10400
 2.  โทรศัพท์  0  2298  2590  หรือ  0  2298  2143
 3.  โทรสาร  0  2298  2143
 4.  ทางเว็บไซต์  www.dmcr.go.th
 5.  E-Mail  nus_dmcr@yahoo.co.th

 http://www.dmcr.go.th/modules.php?name=News&file=article&sid=309
 


จาก     :     กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  วันที่ 18 มิถุนายน 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กรกฎาคม 04, 2007, 12:48:02 AM

นักวิทย์จุฬาฯออกแบบเขื่อนเน้นแรงคลื่นกัดเซาะ
 
(http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/01/thumb/81850_sthumb3.jpg)
 
ทีมวิจัยแก้ปัญหาแผ่นหินหาย ประสบความสำเร็จทดลองใช้งานแบบจำลองเขื่อนสลายคลื่น นำร่องที่หมู่บ้านขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการ 2 เดือนพบตะกอนตกสะสม 30 เซนติเมตร

รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หน่วยศึกษาภัยพิบัติและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ทีมงานร่วมกันพัฒนาแบบจำลองเขื่อนสลายคลื่น "ขุนสมุทรจีน 49A2" เพื่อแก้ปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง พร้อมทั้งนำร่องใช้งานที่หมู่บ้านขุนสมุทรจีน  ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

แบบจำลอง "ขุนสมุทรจีน 49A2" ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 2 ส่วนคือ ส่วนที่ช่วยสลายกำลังคลื่น เป็นเสาคอนกรีตทรงสามเหลี่ยมยาว 50 เซนติเมตร จัดวาง 3 แถว ความลึกของเสาไล่จากส่วนที่ติดทะเลเข้าไปหาแผ่นดินคือ 10, 8 และ 6 เมตร ตามลำดับ วางห่างกัน 1.5 เมตร ในลักษณะฟันปลา ดังนั้น เมื่อคลื่นซัดเข้ามาจะแตกออก 2 ข้างและสะท้อนไปมาตามแนวเสา จึงลดแรงปะทะของคลื่นและค่อยๆ สลายตัว อีกทั้งตะกอนที่ลอยมาก็จะตกตะกอนอยู่บริเวณชายฝั่งหลังแนวเขื่อน

จากนั้นเป็นหน้าที่ของส่วนที่ 2 ที่จะดักตะกอน โดยใช้เสาคอนกรีตรูปบูมเมอแรง ปิดผนังด้านข้างทั้ง 2 ข้าง ไม่ให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดตะกอนลอยกลับไปในทะเล ทำให้สามารถกักเก็บตะกอน ซึ่งหากพอกพูนขึ้นก็มีโครงการที่จะปลูกต้นโกงกางให้ช่วยยึดดินเอาไว้

ปัจจุบัน ทีมวิจัยได้ติดตั้งโครงสร้างไปแล้ว 250 เมตร ด้วยงบประมาณ 5 ล้านบาท บริเวณชายฝั่งติดกับวัดขุนสมุทรจีน ซึ่งถือเป็น 50% ของโครงการทั้งหมด พบว่า 2 เดือนที่ผ่านมา ความแรงคลื่นปะทะหลังเขื่อนเบาลง ขณะที่ตะกอนสะสมตัวเพิ่มขึ้น 30 เซนติเมตร ทั้งยังมีพืชและสัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าวเพิ่มขึ้นด้วย

ส่วนการดำเนินโครงการเฟส 2 ต้องรอดูข้อมูลปริมาณการตกตะกอน ความเร็วและแรงของกระแสน้ำ ทิศทางและความเร็วลม โดยทีมวิจัยกำลังจะสร้างสถานีตรวจวัด เพื่อประเมินการทำงานบริเวณหน้าและหลังเขื่อนสลายคลื่น ทั้งยังต้องรอดูงบประมาณสนับสนุน คาดว่าเฟส 2 จะใช้งบ 10 ล้านบาท

รศ.ดร.ธนวัฒน์  กล่าวว่า ปัญหาแผ่นดินหายจากการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่นและลมทะเลที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งถือเป็นจุดวิกฤติที่สุด มีแนวชายฝั่งทั้งสิ้น 45 กิโลเมตร แต่ถูกกัดเซาะทำลายไปกว่า 30 กิโลเมตร หรือราว 68% ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนมาก เช่น ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ที่ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาต้องอพยพหนีน้ำมากกว่า 5 ครั้ง โบสถ์ของวัดสมุทรจีนจมน้ำทะเลลงไปประมาณ 1 เมตร ที่ดินทำกินของชาวบ้านหายไปกว่า 1 กิโลเมตร หากไม่มีมาตรการใดๆ แก้ไข คาดว่า อีก 20 ปีข้างหน้า พื้นที่ชายฝั่งของสมุทรปราการจะหายไปอีก 1.3 กิโลเมตร

ทีมพัฒนาแบบจำลองเขื่อนสลายคลื่น "ขุนสมุทรจีน 49A2" ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เช่น อุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา นิเวศวิทยาชายฝั่ง วิศวกรรมชายฝั่งและสังคม รวมทั้งนักวิจัยท้องถิ่น ทั้งนี้ คาดว่าอีก 6 เดือนจึงจะเก็บและสรุปข้อมูลโครงการได้สมบูรณ์ สำหรับนำไปสู่นโยบายการแก้ปัญหาระดับประเทศต่อไป

"ประโยชน์ของเขื่อนสลายพลังคลื่นดังกล่าว นอกจากจะลดการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณชุมชนขุนสมุทรจีนแล้ว ยังประยุกต์ใช้ได้กับพื้นที่ฝั่งอ่าวไทยทั้งหมด และที่สำคัญ โครงการนี้ยังเพิ่มพื้นที่ปลูกป่าชายเลน ซึ่งนำไปสู่การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปีละ 2.7 หมื่นตัน ฉะนั้น หากนำไปขายเป็นคาร์บอนเครดิตจะมีมูลค่าสูงถึง 40-60 ล้านบาท" รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าว

ปัจจุบัน "ขุนสมุทรจีน 49A2" ได้รับความสนใจจากนานาประเทศ เนื่องจากประสบความสำเร็จ สามารถลดการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งที่เป็นหาดโคลนได้เป็นแห่งแรกของโลก ทั้งนี้ ได้จดสิทธิบัตรในไทยแล้ว และอยู่ระหว่างหารือถึงรายชื่อประเทศอื่นที่จะยื่นจดเพิ่ม


จาก         :        กรุงเทพธุรกิจ    วันที่ 4 กรกฎาคม 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กรกฎาคม 11, 2007, 12:04:04 AM

ชายฝั่งที่หายไป


วันที่ 11 กรกฎาคม เป็น "วันประชาการโลก" จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ในปี 2550 โลกมีประชากรทั้งสิ้น 6,605 ล้านคน

ในภูมิภาคเอเชียมีมากสุดถึง 4,004.8 ล้านคน หรือร้อยละ 60.6 ของประชากรโลก แน่นอนว่าประเทศที่มีประชากรมากที่สุดคือจีน รองลงไปคืออินเดีย

ส่วนประเทศไทยมีประชากร 65.1 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก

ไม่เพียงแต่จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น แต่มนุษย์ยังมีอายุยืนมากขึ้น ซึ่งในอนาคตจะมีประชากรวัยสูงอายุในประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้น

ขณะที่ประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีอายุยืนขึ้น แต่ทรัพยากรธรรมชาติมีอย่างจำกัดและเริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้นจะมีการแย่งชิงทรัพยากรต่างๆ กันมากขึ้น และอาจนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งในสังคมโลกในอนาคตได้

นั่นหมายความว่า ทรัพยากรธรรมชาติของโลกจะถูกมนุษย์ทำลายมากขึ้นตามไปด้วย

ขณะนี้ธรรมชาติเริ่มเอาคืนจากมนุษย์บ้างแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นผลมาจากน้ำมือมนุษย์ที่เป็นต้นเหตุ

โดยเฉพาะภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming ในปัจจุบัน ที่กำลังส่งผลกระทบต่อโลกครั้งใหญ่ ซึ่งคาดกันว่าอาจจะต้องมีการเขียนแผนที่โลกใหม่กันทีเดียว

พื้นผิวของโลกซึ่งประกอบด้วยน้ำ 3 ส่วน และดินอีก 1 ส่วนนั้น ในอนาคตไม่รู้ว่าจะเหลือพื้นที่ดินอีกเท่าไหร่ หรือจะเป็นเหมือนภาพยนตร์เรื่อง Water World ที่มนุษย์เดินดิน จะกลายเป็นมนุษย์น้ำ

แม้จะดูไม่น่าเชื่อ แต่ธรรมชาติเริ่มส่งสัญญาณให้เห็นแล้ว

รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าคณะวิจัยศึกษารูปแบบการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ระบุว่า ปัญหา "การกัดเซาะชายฝั่งทะเล" เป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังประสบ และทำให้พื้นดินของโลกหายไปแล้วกว่าร้อยละ 30

สำหรับประเทศไทย พื้นที่ชายฝั่งทะเลก็หายไปจำนวนมาก

รศ.ดร.ธนวัฒน์ได้ศึกษาไว้ว่า แนวชายฝั่งทะเลประเทศไทยมีความยาวประมาณ 2,667 กิโลเมตร พบว่าการกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นในทุกจังหวัดชายฝั่งทะเล ทั้งด้านอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน

ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ตั้งแต่ชายฝั่งภาคตะวันออกจังหวัดตราด จนถึงจังหวัดนราธิวาส มีความยาว 1,653 กิโลเมตร พบการกัดเซาะรุนแรงมากกว่า 5-20 เมตรต่อปี มีประมาณ 485 กิโลเมตร

สำหรับชายฝั่งอันดามัน มีความยาวประมาณ 1,014 กิโลเมตร พบการกัดเซาะรุนแรงทั้งสิ้น 114 กิโลเมตร คิดเป็น 4% ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั้งประเทศ

ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ชายฝั่งทะเลในประเทศไทยถูกน้ำทะเลกัดเซาะไปแล้ว 113,042 ไร่ หรือ 21% ของชายฝั่งทะเลของประเทศทั้งหมด

จังหวัดที่อยู่ในภาวะวิกฤตที่สุด คือสมุทรปราการ ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมาชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะไปแล้ว 45 กิโลเมตร หรือประมาณ 10,000 ไร่ และคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ถ้ายังไม่ได้รับการแก้ไข ชายฝั่งทะเลบริเวณดังกล่าวจะถูกกัดเซาะมากถึง 65 เมตรต่อปี

ส่วนที่ชายฝั่งทะเลปากพนัง และแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช ก็อาจจะหายไป เพราะถูกน้ำทะเลกัดเซาะให้แผ่นดินหายไปประมาณ 16 กิโลเมตร

พื้นที่ชายฝั่งที่บ้านบางชัน อ.ขลุง จ.จันทบุรี ก็หายไปแล้วกว่า 5,700 ไร่

สำหรับชายฝั่งบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ก็ถูกน้ำทะเลกัดเซาะหายไปมากกว่า 3,000 ไร่แล้ว จากการประเมินอีก 20 ปีข้างหน้า ถ้ายังไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ชายฝั่งบางขุนเทียนจะหายไปอีก 1.3 กิโลเมตร

สาเหตุสำคัญที่ทำให้การกัดเซาะชายฝั่งมีหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพอากาศแปรปรวน และน้ำทะเลขึ้นสูงอย่างมาก

ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นเพียงผลกระทบส่วนหนึ่งเท่านั้นจากภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลกระทบด้านต่างๆ อีกมากมายต่อโลกและมนุษย์

การแก้ปัญหา ณ ขณะนี้อาจช้าไป แต่ก็ยังดีที่หลายฝ่ายให้ความสนใจมากขึ้น อย่างน้อยอาจจะชะลอความสูญเสียลงได้บ้าง

ในส่วนของไทยก็เริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว โดยมีการตั้งคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานขึ้นมาติดตามดูแล

ทราบว่าทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีแผนบรรเทาภาวะโลกร้อนด้านการเกษตร ระหว่างปี 2551-2554 โดยของบประมาณ 1,013 ล้านบาท เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคการเกษตรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง ประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของประชากรโลกทั้ง 6,605 ล้านคน ที่จะต้องร่วมมือร่วมใจกัน

แม้พื้นที่ชายฝั่งทะเลจะหายไป แต่จะต้องไม่ให้สำนึกในความร่วมมือที่จะแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนหายไปด้วย


จาก         :        มติชน  คอลัมน์ เดินหน้าชน    วันที่ 11 กรกฎาคม 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กรกฎาคม 12, 2007, 12:04:03 AM

เซาะกรุงปีละ 12 ม.  ทะเลกลืนนับหมื่นไร่ผลกระทบโลกร้อน  

โลกร้อนทำอ่าวไทยตอนบนวิกฤติหนัก "นากุ้ง-บ้าน" จมทะเลนับหมื่นไร่ ชาวบางขุนเทียนโอดถมหินป้องกันจนหนี้ท่วม กรมทรัพยากรธรณีชี้สภาวะโลกร้อนบวกแผ่นดินทรุด น้ำทะเลรุกชายฝั่ง กทม.สูญ 12 เมตรต่อปี ขณะที่หาดบางแสนคลื่นทะเลซัดเขื่อนกั้นถนนพัง ระดับน้ำทะเลสูงกว่าปกติถึงครึ่งเมตร

 ปัญหาโลกร้อนไม่ได้ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ฝนตกมากกว่าปกติ อากาศร้อนเกินกว่าจะรับไหวเท่านั้น แต่ยังทำให้น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งจนพื้นดินชายฝั่งสูญหายไป โดยเฉพาะชายทะเลบางขุนเทียนจมหายไปปีละ 12 เมตร และจากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 5 จังหวัดตอนบน ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา จ.สมุทรสงคราม จ.สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร ตลอดระยะทาง 106.5 กิโลเมตรแล้ว ถูกน้ำทะเลกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งไปแล้วกว่า 13,700 ไร่

 ผู้สื่อข่าว "คม ชัด ลึก" ออกสำรวจพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน บริเวณกรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร และฉะเชิงเทรา พบว่า พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดข้างต้นกำลังประสบปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะอย่างรุนแรง โดยพื้นที่ที่มีปัญหาการกัดเซาะรุนแรง จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน คือ เป็นบ่อกุ้งที่เรียงรายอยู่เต็มชายฝั่งทะเล ที่บุกเบิกป่าชายเลนมานานกว่าครึ่งศตวรรษ แต่ปัจจุบันถูกน้ำทะเลรุกเข้ามาในพื้นที่เหล่านี้อย่างต่ำ 500 เมตร ส่วนที่พบสูงสุดกินพื้นที่ชายฝั่งเข้ามาถึง 2 กิโลเมตร

 โดยพื้นที่ชายทะเลบางขุนเทียน ชุมชนคลองประมง กว่า 100 หลังคาเรือน ซึ่งเคยอยู่ห่างจากชายทะเล ประมาณ 2 กิโลเมตร ปัจจุบันต้องถอยร่นประตูระบายน้ำ เพื่อใช้เลี้ยงกุ้งมาแล้วหลายครั้ง ชาวบ้านส่วนใหญ่พยายามนำหินมาถมเป็นเขื่อนกันคลื่นกัดเซาะจนเป็นหนี้เป็นสินกันถ้วนหน้า แต่น้ำทะเลก็ยังทะลักท่วมที่ดินร่วมเข้ามา 200-500 เมตร

 นายประสูตร ช้างเจริญ อายุ 52 ปี ผู้ใหญ่บ้านชุมชนคลองประมง เขตบางขุนเทียน กทม. กล่าวว่า สมัยอยู่ชั้น ป.4 เคยช่วยพ่อวัดที่ดินออกโฉนด จำได้ว่าจะออกโฉนดได้จะต้องอยู่ห่างจากทะเลหลายกิโลเมตร เดิมทีพื้นที่นี้เคยมีแนวป่าชายเลนหนาทึบ มีต้นแสมนับพันๆ ไร่ แต่ก็ถูกน้ำทะเลกัดเซาะขุดรากถอนโคนจนหมด และเริ่มกินเข้ามาในพื้นที่ทำกินของชาวบ้านแล้ว

 "ตั้งแต่เกิดพายุเกย์เมื่อปี 2532 ปัญหาการกัดเซาะเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เดิมพื้นที่นี้จะมีดินตะกอนงอกใหม่ ตอนนี้กลับหดหายไปเรื่อยๆ รวมกว่า 3,700 ไร่ ผมและชาวบ้านที่ทำนากุ้งอาศัยน้ำทะเลจากธรรมชาติ ต้องย้ายประตูน้ำหนีมา 3-4 ครั้งแล้ว ย้ายครั้งหนึ่งก็ห่างจากจุดเดิม 100-200 เมตร" นายประสูตร กล่าว

 นายประสูตร กล่าวอีกว่า การย้ายประตูระบายน้ำแต่ละครั้งต้องลงทุนนับแสนบาท บางคนต้องกู้เงินมาทำ แถมยังต้องซื้อหินมาถมเป็นเขื่อนกันคลื่น แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ ต้องสูญเสียที่ดินไปแล้วหลายร้อยไร่ ไม่ต่างจาก นางอนงค์ จันทอง ลูกบ้านวัย 45 ปี บอกว่า สมัยก่อนที่ดินทำกินอยู่ห่างจากทะเลเป็นกิโล ตอนนี้น้ำทะเลรุกเข้ามาในที่ดินกว่า 100 เมตรแล้ว ต้องซื้อหินมาเป็นแนวกันคลื่น แต่ก็กันไม่อยู่

 ชุมชนคลองประมง เขตบางขุนเทียน ส่วนใหญ่จะประสบปัญหาเดียวกับนายประสูตรและนางอนงค์ แต่ไกลออกจากอีกฝั่งทะเลอ่าวไทย ชาวบ้าน ต.สองคลอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา กลับได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะไม่ต่างไปจากทะเลบางขุนเทียน

 นายสุนทร ขำเอี่ยม อายุ 52 ปี ต้องย้ายบ้านมาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อตอนอายุได้ 11 ขวบ ครั้งนั้นชุมชนชายทะเล 20 ครอบครัว ประสบปัญหาน้ำทะเลรุก จึงพากันอพยพหนีน้ำกันมาทั้งชุมชน และอีก 10 ปีต่อมาก็ต้องย้ายหนีกันอีกครั้ง โดยย้ายออกมาไกลจากจุดเดิมมาก เพราะทุกคนตั้งใจว่าจะไม่ย้ายไปไหนอีก แต่สุดท้ายก็ต้องย้ายหนีภัยธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนที่ดินทำกินจมอยู่ใต้ทะเลเหลือแต่หน้าโฉนดเท่านั้น

 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ใครที่ผ่านมาที่ชุมชน ต.สองคลอง จะสังเกตเห็นโบสถ์วัดหงษ์ทอง สร้างโดดเด่นอยู่กลางน้ำทะเลที่ขึ้นลงตลอดเวลา พระครูปรีชาประภากร เจ้าอาวาสวัด บอกว่า เดิมทีในโฉนดที่ดินของวัดระบุเนื้อที่ครอบครองทั้งสิ้น 21 ไร่ แต่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 8 ไร่เท่านั้น และโบสถ์ที่สร้างอยู่กลางน้ำเดิมทีก็เป็นที่ดินของวัดนั่นเอง

 นายทวีศักดิ์ สุขศรี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สองคลอง กล่าวว่า พื้นที่ในความดูแลของ อบต.สองคลอง มี 10 หมู่บ้าน มีหมู่บ้านที่เสี่ยงภัยการกัดเซาะชายฝั่ง 6 หมู่บ้าน โดยมีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและปัญหาลมพายุพัดบ้านเรือนได้รับความเสียหายทุกปี ที่ผ่านมา อบต.และหน่วยงานต่างๆ ช่วยเหลือด้วยการทำโครงการลงหินใหญ่สร้างแนวเขื่อน ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น การลงถุงใยหินบรรจุทราย และปลูกป่าชายเลน แต่ให้ผลสำเร็จเพียงโครงการละ 10-20% เท่านั้น

 ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในขณะที่ชาวบ้านพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนหลายจังหวัด กำลังเผชิญกับปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง แต่กลุ่มทุนหมู่บ้านจัดสรรกลับเลือกลงทุนในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งมากขึ้น อย่างหมู่บ้านจัดสรรใน ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งอยู่ห่างจากชายทะเลเพียง 1-2 กิโลเมตร โดยผู้ที่เข้ามาอยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึกวิตกกังวลกับปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะที่อาจจะเกิดขึ้นแต่อย่างใด

 นางภัทรวดี เสมอภาค อายุ 44 ปี หนึ่งในเจ้าของทาวน์เฮ้าส์ใกล้ทะเล บอกว่า ตอนที่ซื้อบ้านไม่ได้คำนึงถึงเรื่องปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะ แต่ก็ยังไม่รู้สึกกลัวปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้น เช่นเดียวกับ นางสุมาลี มีเอี่ยม อายุ 51 ปี ที่เพิ่งถมดินปลูกบ้านสูงกว่าเดิม 1 เมตร และอยู่ห่างหมู่บ้านจัดสรรเพียง 500 เมตร ยอมรับว่า ตั้งแต่เริ่มมีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ รู้สึกว่าแผ่นทรุดลงไปเยอะมาก ทำให้น้ำเอ่อท่วมเกือบครึ่งเมตรประจำทุกปี แต่ไม่เคยเกิดน้ำท่วมมากเหมือนตอนพายุเข้าเมื่อ 10 ปีก่อน

 ส่วนที่ จ.ชลบุรี ก็เกิดปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งเช่นกัน โดยเฉพาะชายหาดบางแสน สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของ จ.ชลบุรี โดยนายสวัสดิ์ หอมปลื้ม นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี เปิดเผยกับ "คม ชัด ลึก" ว่า ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา บริเวณชายหาดบางแสนและหาดวอนนภา มีคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่งต่อเนื่องยาวนาน จนทำให้พื้นที่ริมฝั่งทะเลได้รับความเสียหายอย่างมาก จนเทศบาลเมืองแสนสุขต้องเร่งหามาตรการรับมือกับปัญหาดังกล่าวเป็นการด่วน

 นายสวัสดิ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ที่หาดบางแสนมีการทำถนนบริเวณชายหาดเพื่อปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม แต่ก็ถูกคลื่นซัดจนพังเสียหาย เทศบาลเมืองแสนสุขต้องสร้างเขื่อนกั้นป้องกันการกัดเซาะ ซึ่งในระยะแรกได้ผลเป็นอย่างดี กระทั่งต้นปี 2549 เป็นต้นมา พบว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีคลื่นลมแรงผิดปกติ ทำให้เขื่อนดังกล่าวได้รับความเสียหายอย่างมาก ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลกระทบมาจากปัญหาโลกร้อน

 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามสถานการณ์การกัดเซาะของน้ำทะเล และความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมริมชายหาดใน จ.ชลบุรี พบว่า ตั้งแต่ปลายปี 2549 ที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลใน จ.ชลบุรี เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะที่บริเวณศาลาชายทะเลรวมใจ ในเขต อ.เมือง จ.ชลบุรี ระดับน้ำทะเลสูงกว่าปกติถึง 500 เซนติเมตร

 ด้านนายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในแต่ละพื้นที่มีความรุนแรงไม่เท่ากัน ต้องศึกษาก่อนว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติจนต้องมีการอพยพคนออกหรือไม่ ส่วนสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เกิดจากปัญหาการขุดน้ำบาดาลทำให้แผ่นดินทรุดในหลายพื้นที่ น้ำทะเลจึงรุกเข้ามามากขึ้น ประกอบกับพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เมื่อน้ำทะเลกัดเซาะขอบบ่อได้แล้ว น้ำทะเลจะรุกเข้ามาอย่างง่ายดายและเป็นบริเวณกว้าง

 นายอภิชัย กล่าวด้วยว่า แม่น้ำสายต่างๆ ที่เคยพาตะกอนมาทับถมบริเวณอ่าวไทยได้หายไป เพราะมีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ หรือมีการดูดทรายจากแม่น้ำ แถมยังมีการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น คลื่นลมมีความรุนแรงมากขึ้น จากการสำรวจพบว่า ชายฝั่งชายทะเลบางขุนเทียนมีการกัดเซาะ 12 เมตรต่อปี ถูกกัดเซาะกินพื้นที่ชายฝั่งไปแล้ว 600-700 เมตร และมีหน่วยงานต่างๆ เข้าไปแก้ปัญหา ทำให้ปัญหาการกัดเซาะลดเหลือ 8 เมตรต่อปี

 "กทม.เคยเป็นทะเลมาก่อน มีชายฝั่งทะเลอยู่แถว จ.พระนครศรีอยุธยา พอมีการสะสมตะกอนก็เกิดเป็นแผ่นดินเหมือนทุกวันนี้ กทม.อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 1-2 เมตร เมื่อระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นและแผ่นดินทรุดตัว ต้องศึกษาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย" อธิบดีกรมทรัพายากรธรณี กล่าว
 

จาก         :        คม ชัด ลึก    วันที่ 12 กรกฎาคม 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กรกฎาคม 13, 2007, 12:29:02 AM

เขื่อน"ขุนสมุทรจีน" นวัตกรรมใหม่ ป้องกันชายฝั่งสูญหาย

(http://www.matichon.co.th/newsphoto/newsrelate/200707121431234.jpg)
โบสถ์วัดขุนสมุทรธาวาสถูกน้ำท่วมในปัจจุบัน

สมุทรปราการ เป็นหนึ่งใน 5 จังหวัดที่ต้องสูญเสียพื้นดินอย่างรุนแรง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการกัดเซาะของน้ำทะเลด้านอ่าวไทย นับคร่าวๆ แล้วแผ่นดินที่สูญหายไปประมาณ 11,104 ไร่ จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องระดมความคิดจากหลายหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือ

มิเช่นนั้น การกัดเซาะชายฝั่งของน้ำทะเลจะกินลึกแผ่นดินเข้าไปทุกที-ทุกที

สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) เห็นความสำคัญของปัญหานี้ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้ร่วมมือกับทางจังหวัดสมุทรปราการ สนับสนุนให้งบประมาณในการทำวิจัยกับ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมงานวิจัย เร่งศึกษาถึงแนวทางการลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล

โดยเลือกหมู่บ้านขุนสมุทรจีน ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ เป็นพื้นที่นำร่องในการศึกษา ซึ่งทางจังหวัดสมุทรปราการ โดย นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่ง เพื่อหยุดยั้งการกัดเซาะของน้ำทะเลที่สมุทรปราการ

เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในพื้นที่ ผู้ว่าฯอนุวัฒน์ทำหน้าที่เป็นไก๊ด์กิตติมศักดิ์พาคณะออกเดินทางไปที่บ้านขุนสมุทรจีน พื้นที่นำร่องในการทดลองใช้ "เขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2"

(http://www.matichon.co.th/newsphoto/newsrelate/200707121431232.jpg)
สภาพของหมู่บ้านที่โดนน้ำกัดเซาะจนดูคล้ายเกาะ

การเดินทางใช้เรือลำใหม่ที่ทางจังหวัดสมุทรปราการสั่งต่อไว้ราคาหลายล้านบาท ลักษณะเป็นเรือสองชั้น ติดแอร์ที่ชั้นล่าง ส่วนชั้นบนเป็นส่วนของคนขับเรือ สะดวกสบายพอสมควร ทำให้ระยะเวลาที่เรือวิ่งไปถึงที่หมายแม้จะนานเกือบสองชั่วโมง แต่ไม่มีใครบ่น ส่วนการที่เรือต้องใช้เวลาเดินทางนานขนาดนั้นเป็นเพราะต้องวิ่งอ้อมพื้นที่เลี้ยงหอยของชาวบ้าน

(http://www.matichon.co.th/newsphoto/newsrelate/200707121431233.jpg)
แนวเสาไฟฟ้าในอดีตถูกน้ำท่วมหมด

พอเรือเข้าใกล้บ้านขุนสมุทรจีน จะมองเห็นเสาไฟฟ้าอยู่กลางน้ำเป็นแถวยาวห่างจากฝั่งหลายสิบเมตร มองไปที่ฝั่งเห็นวัดอยู่ด้านหน้าหมู่บ้าน สังเกตแล้วหมู่บ้านนี้คล้ายเกาะกลางทะเลมากกว่า เพราะทั้งด้านหน้าและด้านข้างมีน้ำล้อมรอบ

หลายคนในคณะบอกว่า เดิมที่บริเวณผืนน้ำด้านหน้าหมู่บ้านเป็นพื้นดินมาก่อน มองเห็นซากคอนกรีตที่สร้างเป็นโครงสำหรับตั้งถังเก็บน้ำสูงตระหง่าน แต่เป็นเพราะถูกน้ำทะเลกัดเซาะแผ่นดินบริเวณนี้จึงหายไปกลายเป็นแผ่นน้ำแทน

(http://www.matichon.co.th/newsphoto/newsrelate/200707121431236.jpg)
ชาวบ้านนำหอยนางรมมาขาย

เรือเข้าเทียบท่าที่ด้านข้างของหมู่บ้าน มีสะพานพาดเป็นทางยาวผ่านต้นโกงกาง แสม ขึ้นเต็มพื้นที่ ทำให้บรรยากาศร่มรื่น ชาวบ้านมาคอยคณะอยู่แล้วหลายสิบคน บางส่วนนำของมาขายด้วย เช่น หอยนางรมสดๆ ที่หาไม่ยาก เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพประมง

ผู้ว่าฯอนุวัฒน์พาคณะสื่อมวลชนเดินดูพื้นที่รอบๆ หมู่บ้าน ทั้งที่วัด พระอุโบสถ และกุฏิพระ ที่เวลาน้ำขึ้นน้ำจะท่วมหมดทั่วทั้งบริเวณ ระดับน้ำสูงถึงหน้าต่างของโบสถ์เลยทีเดียว คะเนแล้วราวๆ เมตรเศษ

ผู้ว่าฯบอกว่า บริเวณที่จะสร้าง "เขื่อนสลายกำลังคลื่นขุนสมุทรจีน 49 A2" อยู่ด้านข้างของวัด ซึ่งจังหวัดสมุทรปราการมีแนวชายฝั่ง 45 กิโลเมตร ถูกน้ำกัดเซาะหายไป 11,104 ไร่ มีตำบลที่ติดชายฝั่งทะเล 6 ตำบล

ในอดีตถึงปัจจุบันชาวบ้านต้องสูญเสียพื้นที่ทำมาหากิน ที่อยู่อาศัย และต้องอพยพหนีน้ำ 5-7 ครั้งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา เช่นบ้านขุนสมุทรจีน ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ ที่สำคัญที่สุดคือโบสถ์ สถานที่ปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ แหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน ถูกน้ำท่วมจนพระสงฆ์ปฏิบัติศาสนกิจไม่ได้

ปัจจุบันทางจังหวัดได้เข้าไปช่วยเหลือหาน้ำประปา และร่วมกับชาวบ้านสร้างเขื่อนป้องกันโบสถ์ แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการกัดเซาะของน้ำทะเลได้ จนเสียพื้นที่ไปแล้ว 1 กิโลเมตร ด้วยเหตุนี้เองทางจังหวัดต้องหาทางป้องกันอย่างเร่งด่วนเพื่อไม่ให้เสียแผ่นดินอีกต่อไป

"เราพยายามจัดหาพื้นที่นำร่องในการทดลองหารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่ง โดยการสร้างแนวป้องกัน คือ เขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2 มีรูปแบบเป็นแนวลดกำลังคลื่นนอกชายฝั่ง สร้างห่างจากฝั่งออกไปในทะเล 50 เมตร โดยปักแท่งเสาคอนกรีตสามเหลี่ยมชนิดพิเศษ มีความยาวประมาณ 6-10 เมตร ตอกสลับฟันปลาเป็น 3 แถว มีระยะห่างของเสาแต่ละต้นและแต่ละแถวประมาณ 1.5 เมตร ซึ่งขณะนี้ทำการติดตั้งเสร็จแล้ว 250 เมตร การติดตั้งเสาเหล่านี้ก็เพื่อทำให้คลื่นอ่อนกำลังลง ไม่สามารถมีกำลังพอในการกัดเซาะชายฝั่งทะเลได้" เสียงผู้ว่าฯอธิบายให้กับคณะที่มาฟัง

ไก๊ด์กิตติมศักดิ์บอกอีกว่า จากการติดตั้ง "เขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2" ประมาณ 2 เดือน สามารถปลูกป่าชายเลนหลังเขื่อนได้สำเร็จ และหยุดปัญหาการกัดเซาะได้ถึง 100% และทางจังหวัดจะสนับสนุนโครงการนี้ต่อไป

อย่างไรก็ดี แม้จะหาทางป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่จังหวัดสมุทรปราการได้สำเร็จแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการป้องกันการเสียแผ่นดินชายฝั่งทะเล เพราะยังมีจุดอื่นที่เกิดปัญหาเช่นเดียวกัน บางพื้นที่รุนแรงกว่ามาก

"การทดลองในพื้นที่หมู่บ้านนำร่องนี้ได้ผลอย่างมาก เพราะจากการติดตามผลในช่วงเวลา 2 เดือน มีการตกตะกอนของดินขึ้นมาประมาณ 35 เซนติเมตร จึงทำให้สามารถปลูกป่าชายเลนด้านหลังเขื่อนได้แล้วเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยมีชมรมยุวชนโลกเกือบ 100 คน มาช่วยปลูกป่าชายเลน เขื่อนที่สร้างขึ้นเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งวิธีนี้จึงได้ผลดีเกินคาด ทางทีมงานวิจัยจึงได้ใช้จังหวัดสมุทรปราการเป็นต้นแบบ และหลังจากสร้างเขื่อนแนวป้องกันนี้แล้ว ต่อไปจะตั้งสถานีเก็บข้อมูลอย่างถาวร เมื่อมีข้อมูลเพียงพอก็จะเสนอข้อมูลเป็นรูปธรรมสู่ระดับนโยบายต่อไป" ผู้ว่าฯอธิบายเพิ่มเติม

และกล่าวต่อว่า การสร้างเขื่อนสลายกำลังคลื่นที่จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีพื้นที่ 45 กิโลเมตรที่ถูกน้ำกัดเซาะ ทั้งหมดใช้งบประมาณ 40-50 ล้านบาท เมื่อติดตั้งเขื่อนแนวป้องกันแล้วจะใช้งานได้เกือบ 100 ปี และที่สำคัญยังได้พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย

(http://www.matichon.co.th/newsphoto/newsrelate/200707121431238.jpg)
แผ่นดินที่งอกคืนกลับมาหลังจากที่สร้างเขื่อนขุนสมุทรจีน

"ระยะเวลาประมาณ 2 เดือนที่สร้างเขื่อนส่วนที่ 1 พบว่ามีตะกอนโคลนเข้ามาสะสมตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 30 เซนติเมตร กระทั่งวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา นับว่าได้ผลในการหยุดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้เกือบ 100% สำหรับโครงสร้างส่วนที่ 2 ทางจังหวัดกำลังดำเนินการให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้โครงการนี้มีความสมบูรณ์ 100%

"ผมภูมิใจอย่างมากกับผลงานที่เกิดขึ้นนี้ เพราะประเทศไทยมีหาดโคลนเป็นประเทศแรกในโลกก็ว่าได้ และในขณะนี้มีการจดสิทธิบัตรเขื่อนสลายกำลังคลื่น ขุนสมุทรจีน 49 A2 เรียบร้อยแล้ว โดยจดในประเทศไทยก่อน และในระยะต่อไปอีกหนึ่งปีจะไล่จดสิทธิบัตรในต่างประเทศด้วย" ไก๊ด์กิตติมศักดิ์บอก

(http://www.matichon.co.th/newsphoto/newsrelate/200707121431237.jpg)
ตะกอนทับถมหลังเขื่อนใช้ปลูกต้นไม้ได้สำเร็จ

สมร เข่งสมุทร วัย 51 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 ต.แหลมฟ้าผ่า เล่าว่า ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นมานานกว่า 30 ปีแล้ว เมื่อมีการคิดโครงการสร้างเขื่อนป้องกันในรูปแบบที่กล่าวมา จึงเป็นเรื่องน่ายินดี และยิ่งการทดลองใช้เขื่อนสลายกำลังคลื่นได้ผลดีมาก ก็ยิ่งช่วยชาวบ้านอย่างมากยิ่งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินตะกอนที่มาสะสมทำให้ชาวบ้านได้แผ่นดินเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

"ที่ผ่านมาพวกเราต้องอพยพหนีน้ำปีละหลายๆ ครั้ง ฉันเองหนีน้ำมาแล้ว 3 ครั้ง บางครอบครัวย้ายหนีไปอยู่อื่นเลยก็มี ส่วนชาวบ้านที่เหลือไม่รู้จะหนีไปไหน เพราะไม่ได้ร่ำรวยอะไร จึงต้องต่อสู้ต่อไป ส่วนมากพวกเราที่นี่จะทำอาชีพประมง ตรงนี้เป็นที่ทำกินของชาวบ้าน จึงต้องอยู่กันต่อไปเพราะไม่มีที่จะไปแล้ว เวลานี้จึงเหลือไม่กี่ครอบครัวหรอกที่ยังปักหลักอยู่ที่นี่ ซึ่งหลังจากได้รับความช่วยเหลือจากทางจังหวัดตอนนี้ มีกำลังใจที่จะอยู่สู้ต่อไปอย่างมาก" ผู้ใหญ่บ้านหญิงกล่าวเสียงหนักแน่น

ผู้ใหญ่สมรเล่าว่า ตอนแรกที่มีโครงการทดลอง นึกว่าคงทำไม่ได้ผล เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านลองมาแล้วเกือบทุกอย่าง สร้างแนวป้องกันหลายรูปแบบก็ไม่สามารถป้องกันได้ แต่เขื่อนของทีมวิจัยจุฬาลงกรณ์ใช้เวลา 2 เดือนก็ได้ผลแล้ว

"เวลานี้ชาวบ้านดีใจกันมากที่ไม่ต้องอพยพย้ายบ้านหนีน้ำอีก เพราะเวลาน้ำทะลซัดหนักๆ ติดต่อกันนานเป็นสัปดาห์ พื้นดินจะหายไปเป็นกิโล ทุกวันนี้ชาวบ้านเฝ้าดูบริเวณที่สร้างเขื่อนสลายกำลังคลื่น ที่ตอนนี้มีการตกตะกอนของดิน พวกเราก็ช่วยกันปลูกต้นไม้หลังเขื่อนเพื่อให้เป็นที่ยึดดินที่งอกขึ้นมาใหม่ และคลื่นลมก็สงบดีด้วย"

ชาวบ้านตำบลแหลมฟ้าผ่า จ.สมุทรปราการ เริ่มจะนอนตาหลับ เพราะปัญหาการกัดเซาะพื้นดินของน้ำทะเลที่เกิดขึ้นอย่างยาวนานต่อเนื่องถึงสามสิบปีกำลังจะได้รับการแก้ไข การดำเนินชีวิตของพวกเขาจะได้กลับเข้าสู่สภาพปกติเสียที ไม่ต้องอพยพโยกย้ายทิ้งบ้านทิ้งช่องหนีน้ำกันอีกต่อไป

และที่ภาคภูมิใจอย่างมากของชาวบ้าน คือ หมู่บ้านของพวกเขาจะได้เป็นตัวอย่างให้กับการแก้ปัญหาในหมู่บ้านอื่นต่อไป


(http://www.matichon.co.th/newsphoto/newsrelate/200707121431230.jpg)
เขื่อนที่สร้างขึ้นใหม่ป้องกันการกัดเซาะ

รู้จัก"เขื่อนขุนสมุทรจีน 49 A2"

จะมีโครงสร้างหลักแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ช่วงสลายกำลังคลื่น และส่วนที่ช่วยกักตะกอนดิน

โดยแนวสลายกำลังคลื่น จะมีลักษณะโครงสร้างเป็นเสาคอนกรีตสามเหลี่ยมด้านเท่ายาว 50 เซนติเมตร ซึ่งมีการจัดวางแบ่งเป็น 3 แถว โดยความลึกของเสาคอนกรีตไล่จากส่วนที่ติดทะเลเข้าไปหาแผ่นดิน คือ 10 เมตร 8 เมตร และ 6 เมตรตามลำดับ

การวางเสาแต่ละต้นจะถูกวางห่างกัน 1.5 เมตร และการวางเสาระหว่างแถวที่ 1, 2 และ 3 จะมีการวางในลักษณะฟันปลา

เมื่อคลื่นพัดเข้ามา คลื่นจะถูกเฉือนออกเป็น 2 ข้าง และสะท้อนไปสะท้อนมาตามแนวเสาที่วางไว้ ถือเป็นการสลายความแรงของคลื่น เมื่อคลื่นพัดผ่านแนวโครงสร้างเข้ามา คลื่นจะอ่อนกำลังลง ทำให้ตะกอนที่ลอยมาในมวลน้ำตกตะกอนบริเวณแนวชายฝั่งหลังแนวเขื่อนที่สร้างไว้

โครงสร้างส่วนที่ 2 คือ แนวช่วยกักตะกอน มีลักษณะเป็นเสาคอนกรีตรูปบูมเมอแรง ปิดผนังด้านข้าง 2 ข้างเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเอาตะกอนบริเวณริมฝั่งกลับออกสู่ทะเลอีกครั้ง จึงทำให้ไม่เพียงช่วยลดการกัดเซาะชายฝั่งเท่านั้น แต่ยังสามารถกันตะกอนไม่ให้ถูกพัดพาออกไปด้วย

โครงสร้างนี้จึงมีบทบาทในการกักเก็บตะกอนดินไว้ส่วนหนึ่ง และเมื่อตะกอนมีการพอกพูนตื้นเขินขึ้น ทีมวิจัยจะนำต้นกล้าแสมไปปลูกเพื่อช่วยยึดดินส่วนนี้ไว้ให้งอกเป็นแผ่นดินกลับมาอีกครั้งหนึ่ง


จาก         :        มติชน      วันที่ 13 กรกฎาคม 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กรกฎาคม 15, 2007, 11:58:25 PM

เมื่อทะเลกัด             โดย   ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

(http://pics.manager.co.th/Images/550000009170201.JPEG)

      หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมกระหน่ำเขียนเรื่องโลกร้อน ด้วยเหตุผลว่า ยิ่งค้นคว้ายิ่งพูดคุยกับผู้คุย ยิ่งรู้สึกว่าเรื่องนี้กว้างครอบจักรวาล เกี่ยวข้องไปแทบทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งสภาพแวดล้อมแปรปรวนที่เรากำลังเจอและจะเจอหนักขึ้น ฝนตกในยามที่ควรจะหยุด แต่ดันหยุด ในยามที่ควรจะตก
       
       ตกก็กางร่ม หยุดก็ออกมาตากแดดสิ คุณ ๆ บางคนอาจคิดเช่นนั้น แต่หลายล้านคนในประเทศไทย ฝากชีวิตไว้กับลมฝน เขามีภูมิปัญญาสืบทอดมาจากบรรพชน ตอนไหนควรหว่านข้าวตอนไหนควรดำนา แต่ฝนฟ้าที่ไม่ถูกต้องฤดูกาล ทำให้นาต้องล่มครั้งแล้วครั้งเล่า เอาง่าย ๆ ปีนี้ชาวนาที่ทุ่งกุลาร้องไห้ต้องหว่านข้าวมาแล้วสามครั้ง ทราบตั้งแต่ล่วงหน้าแล้วว่า ทำนาปีนี้ยังไงก็ขาดทุน แต่ต้องจำใจทำ
       
       นั่นเป็นเรื่องฝนฟ้า เป็นเรื่องของโลกร้อนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนจำนวนมาก แต่เผอิญข้าพเจ้าถนัดทางทะเล จึงอยากพาคุณกลับไปโลกสีครามอันไพศาล เป้าหมายของเราคราวนี้คืออำเภอบางสะพาน ผมจะพาเราไปดูการกัดเซาะชายฝั่งกันครับ
       
       คุณคงสงสัย ไปดูกัดเซาะ น่าจะไปแถวสามสมุทร (สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม) ทำไมถึงพาไปประจวบ แต่สำหรับนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เราเล่าเรียนมาตั้งแต่สมัยเป็นนิสิต พื้นที่ซึ่งมีการกัดเซาะชายฝั่งชัดเจนสุด อยู่ที่ประจวบจ้า ไม่ใช้ทั้งจังหวัดนะ เป็นเพียงแค่ชายหาดสั้น ๆ ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร มีชื่อว่า “หาดผาแดง”
       
       เรายังเรียนต่อไปว่า การกัดเซาะชายฝั่ง เกิดจากการกระทำของคลื่นลมและกระแสน้ำ ทุกอย่างมีผลร่วมกัน ธรรมชาติของชายฝั่งนั้น ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว บางช่วงทรายงอก บางฤดูทรายหดหาย หาดกว้างหาดแคบแตกต่างกันไป แต่ในหลายพื้นที่ ไม่ใช่เฉพาะหาด แต่รวมถึงแผ่นดินที่ผู้คนอยู่อาศัยใช้ดำรงชีวิต
       
       การกัดเซาะชายฝั่งไม่ใช่เกิดขึ้นแบบเป็นประจำทุกเมื่อเชื่อวัน ส่วนใหญ่เมื่อเราไป เห็นทะเลสดใสชายฝั่งก็ดีนี่ แต่ในยามมีพายุจัด น้ำทะเลหนุนสูง ตอนนั้นแหละครับ ถล่มกันแหลก หลังพายุเจ้าของบ้านออกไปดู อาจล้มตึงเพราะทรายหดเข้ามาตั้งเป็นเมตรหรือหลายเมตร ต้นไม้ล้มโค่นลงทะเลเพียบ พายุจึงเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้ทะเลกัด
       
       ครั้งเมื่อเกิดภาวะโลกร้อน ฝนฟ้าจะแปรปรวน เกิดพายุเข้ามาในทะเลไทยบ่อยครั้งขึ้น และรุนแรงขึ้น แน่นอนว่า ทะเลย่อมกัดแรงขึ้น ดังเช่นที่เคยเกิดกับอ่าวไทยเมื่อปลายปีก่อน บางแห่งถล่มเข้ามาตั้งหลายเมตร หากคิดรวมกันคงได้พื้นที่หลายพันไร่ ถ้าพายุเหล่านี้มาบ่อยขึ้นและบ่อยขึ้น คนที่อยู่แถวชายทะเลคงต้องเตรียมตัวเตรียมใจ ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก
       
       นั่นคือทั้งหมดที่ทราบมา เคยเห็นมากก็หลายครั้ง แต่ไม่มีครั้งไหนเหมือนครั้งนี้ ยามเมื่อเรือเราวิ่งเข้าใกล้ชายหาดผาแดง เหล่านิสิตบนเรืออุทานกันอู้ฮู บางคนแอบกระซิบ คิดว่ามีคนขุดดินไปขาย ชายทะเลจึงได้แดงเถือกปานนี้ แต่เมื่อเราเข้าใกล้ ไม่ต้องมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลก็ได้ ใครเห็นปุ๊บก็ทราบปั๊บ แผ่นดินถิ่นนี้โดนทะเลกัด
       
       ผมพยายามถ่ายภาพดีสุดเท่าที่ทำได้ แต่เชื่อว่า ภาพกระจิ๊ดเดียวที่คุณเห็น คงไม่ให้อารมณ์เหมือนวิวพาโนรามา ยามผมก้าวขึ้นไปบนชายหาดสีแดง เงยหน้าขึ้นมาตลิ่งสูงระดับตึกสามสี่ชั้น เห็นเป็นแผ่นผาสีแดง มีหินก้อนใหญ่ก้อนเล็กประดับอยู่ในดินดานเต็มไปหมด หน้าผาตรงนี้เต็มไปด้วยร่องรอยถูกกัดเซาะ มีเวิ้งถ้ำขนาดหนุ่มสาวเข้าไปนั่งปิกนิกจู๋จี๋กันภายในได้สบาย แต่ต้องจู๋จี๋แบบใจสั่น ไม่ใช่เพราะสาวสวยชวนฝัน แต่เป็นเพราะหลังคาถ้ำมีรอยปริร้าว พร้อมจะถล่มตึงลงมาทุกเวลา
       
       เหลือบมองบางส่วนที่ถูกกัดกร่อนพังทลาย ไปหาดไหนผมเห็นแต่เศษทราย อย่างดีก็ต้นสนล้ม แต่ที่นี่เป็นเหมือนโดนยักษ์กระทืบ ดินที่หลุดลงมาแต่ละก้อน สูงแค่ไหนรบกวนชมภาพเอาเอง มีแบบนั้นหลายก้อนนะครับ ตรงโน้นบ้างตรงนี้บ้าง จนใจที่ไม่สามารถถ่ายภาพมาได้ครบถ้วน
       
       จากจุดที่ผมยืนหันหน้าเข้าฝั่ง มองไปทางซ้าย เป็นบ้านหย่อมหนึ่งอยู่ริมผา เมื่อเดินเข้าไปดูจนใกล้ ผมค่อนข้างมั่นใจ ใครอยู่ในบ้านหลังนั้น ต้องมีขวัญกล้ามากกว่านอนในบ้านผีตายโหงสิง เพราะบ้านยื่นออกมาหมิ่นเหม่ คงไม่มีชาวบ้านคนไหนอยากเห็นวิวทะเลมากมายถึงขั้นไปสร้างบ้านริมผาขนาดนั้น คำตอบจึงมีหนึ่งเดียว เค้าสร้างบ้านไว้ดี ๆ แต่ทะเลดันเข้ามาหาเค้า
       
       ผมรู้สึกเศร้าใจแทนเจ้าของบ้านหลังนั้น รวมทั้งอีกหลายบ้านหลายสวนริมทะเลถิ่นนี้ เมื่อหันกลับไปมองดูทะเล ผมแน่ใจว่า จะใช้เทคโนโลยีแบบไหนดีปานใด คงมีปัญหา การป้องกันคลื่นด้วยเทคนิคต่าง ๆ นานา แม้บางวิธีการอาจได้ผลสำหรับบางพื้นที่ เช่น การฝังเสาไฟฟ้าสองชั้น เพื่อลดแรงของคลื่น ทำให้เกิดการดักตะกอน ก่อนปลูกไม้ชายเลนข้างใน แต่วิธีการนั้นอาจใช้ได้เฉพาะชายฝั่งถิ่นที่เป็นดินโคลนและป่าชายเลนดั้งเดิม เมื่อมาเจอหาดทราย คงกลุ้มใจตาย และยิ่งเป็นหาดทรายที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว กำแพงทะเลคงทำให้เกิดภาพประหลาดอุจาดตา ท้ายสุด การสร้างกำแพงคงใช้เงินไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่นกรุงเทพมหานคร กำลังวางแผนสร้างกำแพงราคากว่าสี่ร้อยล้านบาท (ผมเจอท่านผู้ว่า ฯ ท่านบอกว่ายังอยู่ในระหว่างการเตรียมการ ไม่ใช่ตัดสินใจทำแล้ว คงต้องคิดให้รอบคอบ แต่ที่นำมาบอกเล่า เพราะอยากให้ดูมูลค่าเงินที่ใช้)
       
       กรุงเทพเมืองคนรวย อาจมีเงินสี่ร้อยล้านทำกำแพง แต่ถ้าพูดถึงชาวบ้านแถวนี้ ผมมองสวนอีกครั้ง จะให้อบต.หรือหน่วยงานท้องถิ่นมีเงินสี่ร้อยล้านมาจากไหน ยังมีชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรงไม่ต่ำกว่าสองร้อยกิโลเมตรทั่วทะเลไทย ใช้เงินกี่หมื่นล้านบาทถึงจะพอ และแน่ใจหรือว่า กำแพงที่สร้างจะสู้ทะเลกัดได้...ตลอดไป
       
       ผมขึ้นฝั่งบางสะพาน ขับรถตะบึงกลับมากรุงเทพ เพื่อเข้าร่วมงานรายการพิเศษ “โลกร้อนแก้ได้” ของแกรมมี่และททบ.5 ในคืนวันเสาร์ เป็นงานที่ดีครับ ผมได้รับรู้เรื่องมากมายจากดร.ทั้งหลาย (ข้าพเจ้าก็เป็นหนึ่งในนั้นนะ) หลายเรื่องไม่เคยทราบมาก่อน และคงมีโอกาสเล่าให้คุณฟังในโอกาสต่อไป ผมยังได้อยู่ท่ามกลางเหล่าดาราศิลปินและผู้คนในวงการบันเทิง ตั้งแต่รุ่นเดอะระดับพี่ดี้พี่ฉอด จนถึงนักร้องหน้าใสใหม่จริงแบบ AF
       
       ผมกำลังอยู่ระหว่างคนสองกลุ่ม หนึ่งคือผู้ที่อยู่ลึกในวงการโลกร้อน พอทราบว่า อะไรกำลังเกิดขึ้นในวันนี้ และอะไรอาจจะเกิดขึ้นในวันหน้า อีกหนึ่งคือคนส่วนใหญ่ คนที่กำลังรอให้ภาครัฐ ให้ผู้บริหาร หรือให้ฮีโร่สักคนหรือสักหน่วยงานปรากฏกายออกมา ขจัดปัญหาที่กำลังเป็นที่กลุ้มอกกลุ้มใจ ทำลายก๊าซเรือนกระจกให้หายไป ทำให้โลกหายร้อน
       
       ดาราบางท่านแอบกระซิบผมหลังงานว่า มันน่าตกใจปานนั้นเชียวเหรอ คำพูดที่ผมใช้ “ตายทั้งเป็น” หรือ “อยู่อย่างทรมาน” ไม่กลัวผู้คนตระหนกตกใจเมื่อได้ยินได้ฟังบ้างหรือ
       
       ผมอยากขออภัย หากคำพูดของผมทำให้เธอนอนไม่เป็นสุข หากทำให้อีกหลายต่อหลายคนต้องกลุ้มใจ แต่สิ่งที่ผมพูด ไม่ใช่ข่าวลือว่าจะมีการปฏิวัติซ้อนหรือก่อม๊อบครั้งยิ่งใหญ่ ใครจะกลับเมืองไทยใครจะไปเมืองนอก
       
       สิ่งที่ผมพูด คือความจริงที่ผ่านข้อมูลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ผ่านการประชุมระดับโลกไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ก่อนจะลงความเห็นร่วมกันจากนักวิทยาศาสตร์ไม่รู้กี่สิบประเทศไม่รู้กี่พันกี่หมื่นคน และสิ่งที่ผมพูด คือสิ่งที่ผมเห็นมาด้วยสายตา
       
       ผมแน่ใจว่า คนที่อยู่ในบ้านริมผาแดง คงใกล้อาการตายทั้งเป็น คนที่หว่านข้าวที่ทุ่งกุลาร้องไห้สามครั้งแล้วยังไม่ได้ผล คงอยู่อย่างทรมาน ผมแน่ใจว่า คนที่สูญเสียจากภัยแล้งหรืออุทกภัย พายุรุนแรงดินถล่มคลื่นความร้อนทลาย ไม่รู้กี่แสนกี่ล้านคนทั่วโลก ณ ขณะนี้ คงไม่มีใครอยู่ด้วยความสุข
       
       ใครเจอเรื่องร้าย ๆ เรามักใช้คำว่าซวยจังหนอ แต่ถ้าคนทั้งหมดเจอเรื่องร้าย ๆ พร้อมกัน เรายังจะเรียกว่าซวยอีกไหมหนอ
       
       ความซวยจังหนอกำลังย่างกรายใกล้เข้ามาหาทุกคน...

       
       หมายเหตุ – สะเดาะเคราะห์ล้างความซวยจังหนอ ทำได้ง่าย รถยนต์กับแอร์คือตัวการใหญ่ทำให้เกิดความซวย ประหยัดน้ำมันใช้แอร์ให้น้อยลง ความซวยลดกำลังลงครับ


จาก         :        ผู้จัดการออนไลน์      วันที่ 16 กรกฎาคม 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กรกฎาคม 17, 2007, 11:57:55 PM

ที่ปรึกษา"ห่วย"แก้นํ้าเซาะชายทะเลบางขุนเทียน

 นางบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการประชุมร่วมกับนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนเพื่อหาข้อสรุปการแก้ปัญหาชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับการคัดค้านจากนักวิชาการว่าโครงการแก้ปัญหาของ กทม. ใช้ไม่ได้ผล โดยนักวิชาการทั้งหมดยืนยันว่า ลักษณะของคลื่นบริเวณชายฝั่งบางขุนเทียนเป็นคลื่นที่ซัดเข้าหาชายฝั่งในแนวตั้งฉาก ซึ่งขัดกับผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาของ กทม. ที่ระบุว่า คลื่นบริเวณบางขุนเทียนเป็นคลื่นซัดเข้าหาฝั่งในแนวขนาน หรือเฉียงเข้าหาชายฝั่ง ซึ่งเสนอการแก้ไขปัญหาด้วยการก่อสร้างรอดักทราย (Groin) รูปตัวที ตั้งขนานตลอดแนวชายฝั่ง เพื่อชะลอแรงคลื่นที่ซัดเข้าชายฝั่งและช่วยกักเก็บตะกอนไม่ให้ซัดออกนอกชายฝั่งเวลาที่คลื่นม้วนตัวออกจากฝั่ง ดังนั้นหากคลื่นซัดตั้งฉากกับชายฝั่ง จะส่งผลให้ลักษณะการพัดพาตะกอนเป็นทิศ ทางตรงข้ามกับขารูปตัวทีจึงอาจจะไม่ยาวเพียงพอที่จะกักเก็บตะกอนได้ ซึ่งปัญหาทั้งหมดมาจากบริษัทปรึกษาการตั้งสมมุติฐานผิด ซึ่งขณะนี้ได้ให้สำนักผังเมือง (สผม.) แจ้งข้อมูลให้ที่ปรึกษาเร่งปรับเปลี่ยนโครงการใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพราะใช้เวลาศึกษาล่าช้ามากแล้ว
 
นางบรรณโศภิษฐ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม นักวิชาการได้เสนอโครงการแก้ปัญหา 2-3 วิธี คือ 1.ไส้กรอกทราย (sand sausage) หรือถังใส่ทรายขนาดใหญ่ลักษณะเหมือนไส้กรอกหรือหมอนข้างยักษ์ วางบนฟูกทรายขนานกับแนวชายฝั่ง 2.เขื่อนสลายกำลังคลื่น หรือขุนสมุทรจีน คือการปักเสาซีเมนต์รูปสามเหลี่ยม โดยปักเป็นแถวยาวขนานชายฝั่ง โดยปักเรียงแถวหน้ากระดานหนา 3 ชั้น และปักสลับฟันปลา โดยเสาซีเมนต์สลับฟันปลาจะช่วยแรงคลื่นโดยการหักเหกำลังคลื่นลงได้ และการปักไม้ไผ่เป็นแนวเขื่อนริมชายฝั่ง โดยทุกโครงการได้ดำเนินการทดลองทำที่ จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร มาแล้ว ทั้งนี้ การพิจารณาเบื้องต้นมีความเป็นไปได้ที่ กทม. จะใช้วิธีสร้างไส้กรอกทรายแทนรอดักทราย เพราะมีความเหมาะสมกับชายฝั่งของ กทม. มากที่สุด.
 

จาก         :        เดลินิวส์      วันที่ 18 กรกฎาคม 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กรกฎาคม 18, 2007, 12:07:59 AM

กลับคืนสู่ทะเล


เมื่อกว่าพันปีที่แล้ว พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังเป็นทะเล กระทั่งเกิดการตกตะกอนของดินโคลนจากปากแม่น้ำ 5 สาย จึงทำให้เกิดพื้นดินขึ้นมา เป็นที่อยู่อาศัยที่มีปริมาณประชากรหนาแน่นที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน

ความแน่นหนาของประชากรนี่เองที่เป็นต้นเหตุแห่งความเสื่อมโทรมของพื้นที่ และอาจจะทำให้พื้นดินที่มีอยู่กลับกลายเป็นทะเลอีกครั้งในเวลาอันไม่ช้า

ขณะที่การเปลี่ยนแปลงจากทะเลเป็นพื้นดินกินเวลาเป็นพันปี แต่กระบวนการทำให้พื้นดินกลับไปเป็นทะเลอีกครั้ง ใช้เวลาเพียงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาเท่านั้น

และขณะที่กระบวนการแรกเป็นฝีมือของธรรมชาติ

กระบวนการหลังเกิดขึ้นด้วยฝีมือมนุษย์เป็นหลัก


นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า ปัจจัยการก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ รวมไปถึงการดูดทรายจากแม่น้ำ ทำให้การพัดพาตะกอนมาทับถมบริเวณอ่าวไทยหายไป

ขณะที่การเปลี่ยนแปลงจากสภาวะโลกร้อนส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น คลื่นลมมีความรุนแรงมากขึ้น

เมื่อผนวกกับการทำลายป่าชายเลนที่เป็นเกราะป้องกันแนวชายฝั่งชั้นดี เพื่อทำฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บวกกับการขุดบ่อบาดาล ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินทรุดในหลายพื้นที่ ทำให้น้ำทะเลสามารถรุกเข้ามาได้อย่างรวดเร็วและเป็นบริเวณกว้างมากขึ้น

จากการสำรวจพบว่าขณะนี้พื้นที่ชายฝั่งของกรุงเทพมหานครถูกกัดเซาะไปแล้ว 600-700 เมตร และชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนมีการกัดเซาะของชายฝั่งประมาณ 12 เมตรต่อปี ก่อนที่จะมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาแก้ปัญหา

ทำให้การกัดเซาะลดลงเหลือ 8 เมตรต่อปี


แต่ไม่ว่าจะเป็น 12 หรือ 8 เมตรต่อปี การกัดเซาะของพื้นที่ชายฝั่งไม่ว่าจะกรุงเทพมหานคร หรือตลอดแนว "อ่าว ก ไก่" นี้ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การดำรงชีวิต และสภาพเศรษฐกิจของประชาชนตลอดทั้งบริเวณ

จะหยุดยั้งแนวโน้มที่ว่านี้ได้ก็ต้องร่วมกันแก้ไขปัจจัยที่เป็นปัญหา เช่นทำให้การทับถมของตะกอนปากแม่น้ำกลับคืนมาในปริมาณที่มากพอ หยุดยั้งการทำลายและเร่งฟื้นฟูป่าชายเลนให้กลับคืนมามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ฯลฯ

การแก้ไขปัญหาที่ฝืนธรรมชาติ เช่นการสร้างเขื่อนคอนกรีตกั้นคลื่น อาจจะทุเลาปัญหาได้ชั่วคราว แต่หากไม่หยุดยั้งการทำลายและกลับมาปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับความเป็นจริง สุดท้ายปัญหาที่เผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบันก็จะหวนกลับมาใหม่ในอนาคต และอาจจะเพิ่มความรุนแรงเสียยิ่งกว่าเดิม

เมื่อเห็นอยู่ชัดเจนว่าปัญหาเริ่มต้นจากมนุษย์

ทางแก้ก็คือต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม



จาก         :        ข่าวสด    คอลัมน์ บทบรรณาธิการ  วันที่ 18 กรกฎาคม 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กรกฎาคม 26, 2007, 02:39:04 AM

วิกฤตทะเลกลืนแผ่นดิน: โครงการพัฒนาคือสาเหตุ      

ในรายงานผลการสำรวจพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งทะเลในฤดูมรสุมบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันตก ตั้งแต่จ.ชุมพรถึงจ.ปัตตานี ระหว่างเดือนธ.ค. 49 – ม.ค.50 ของสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ระบุพื้นที่สำรวจรวม 5 จังหวัด 31 อำเภอ 113 ตำบลที่ติดชายฝั่งทะเล เป็นการสำรวจทั้งทางภาคพื้นดินและทางอากาศ สรุปพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งรายจังหวัด 

แต่เนื่องจากผลการสำรวจแต่ละพื้นที่มีรูปประกอบจำนวนมาก เพื่อให้เห็นภาพความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้นในภาพรวม ดังนั้นในการนำเสนอครั้งนี้จึงขอแบ่งการนำเสนอผลกระทบในแต่ละจังหวัดออกเป็นตอนๆ คือ

ตอนที่ 1 รายงานพิเศษ วิกฤตทะเลกลืนแผ่นดิน: โครงการพัฒนาคือสาเหตุ (1)

ตอนที่ 2 จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี

ตอนที่ 3 จังหวัดนครศรีธรรมราช

ตอนที่ 4 จังหวัดสงขลาและปัตตานี

ตอนที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ

เชิญติดตามอ่านตอนที่สองก่อน ดังนี้


****************************************************


วิกฤตทะเลกลืนแผ่นดิน: โครงการพัฒนาคือสาเหตุ (2)

 

จังหวัดชุมพร

พื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 250 กม. พบการกัดเซาะปานกลาง รวมระยะทาง 16.6 กม. ส่วนชายฝั่งที่มีการสะสมตัวรวมระยะทางยาว 11 กิโลเมตร ไม่พบการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง

การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในอดีต ส่วนใหญ่มาจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างท่าเรือ สะพานปลา เขื่อนกันทรายและคลื่นตามปากคลอง ทำให้เริ่มมีการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่อยู่ในขั้นวิกฤติ ยังสามารถป้องกันและหาแนวทางแก้ไขได้ 

สำหรับพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งมี 4 พื้นที่ คือ

1.       ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

2.       ตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

3.       ตำบลด่านสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร

4.       บ้านหัวแหลม ตำบลบางมะพร้าว และบ้านจมูกโพรง ตำบลปากน้ำ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

........................



1.ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

กัดเซาะสันทรายชายฝั่งลึกประมาณ 20 เซนติเมตร และพบการกัดเซาะแนวถนนเลียบชายฝั่ง เนื่องจากแนวถนนอยู่บนแนวสันทรายปัจจุบัน จึงเกิดการกัดเซาะได้ง่าย

(http://www.prachatai.com/05web/upload/HilightNews/library/200707/24_223701_39.jpg)
สภาพการกัดเซาะชายฝั่งในตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร


(http://www.prachatai.com/05web/upload/HilightNews/library/200707/24_224008_52.jpg)
สภาพการกัดเซาะชายฝั่งและถนนบ้านหน้าทับ ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร


2. ตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

กัดเซาะสันทรายชายฝั่งลึกประมาณ 30 เซนติเมตร บริเวณชายหาดทุ่งวัวแล่น ซึ่งเป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงในตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ลักษณะการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งบริเวณถนนเลียบชายฝั่ง เนื่องจากถนนอยู่ชิดกับแนวสันทรายปัจจุบัน จึงเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงมรสุม

(http://www.prachatai.com/05web/upload/HilightNews/library/200707/24_225209_37.jpg)
สภาพการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณชายหาดทุ่งวัวแล่น
 

(http://www.prachatai.com/05web/upload/HilightNews/library/200707/24_225426_26.jpg)
การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณถนนเลียบชายหาดทุ่งวัวแล่น และการสะสมตัวของทรายและขยะ

 
3. ตำบลด่านสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร

สภาพท่าเทียบเรือประมงในตำบลด่านสวี ที่ถูกลมรุนแรงพัดศาลาริมน้ำตกลงไปในทะเล และความเสียหายของขอบรั้วสะพานท่าเทียบเรือประมงที่ถูกพัดพังเสียหาย (รูปที่ 9)

(http://www.prachatai.com/05web/upload/HilightNews/library/200707/24_225445_19.jpg)
สภาพความเสียหายของศาลาริมน้ำ บริเวณท่าเทียบเรือประมงร่องน้ำด่านสวี
สภาพความเสียหายของสะพาน บริเวณท่าเทียบเรือประมงร่องน้ำด่านสวี

4. ตำบลบางมะพร้าว และตำบลปากน้ำ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

กัดเซาะชายฝั่งบริเวณหมู่ 14 บ้านหัวแหลม ตำบลบางมะพร้าว และบ้านจมูกโพรง ตำบลปากน้ำ อำเภอหลังสวน ทางด้านใต้เขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองหลังสวนประมาณ 1 กิโลเมตร การกัดเซาะชายฝั่ง ทางด้านเหนือเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองหลังสวน บริเวณเขตชุมชนริมชายฝั่งทะเล ในเขตตำบลบางมะพร้าว และ ตำบลปากน้ำ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 

(http://www.prachatai.com/05web/upload/HilightNews/library/200707/24_230013_18.jpg)
ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่งด้านใต้เขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองหลังสวน


  สภาพการกัดเซาะและลักษณะการป้องกันชายฝั่งบริเวณชุมชนปากน้ำหลังสวน

ตำบลบางมะพร้าว และ ตำบลปากน้ำ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร (ต่อ) สภาพคลื่นลมแรงพัดพาทุ่นลอยขาดเข้ามาในปากคลองหลังสวน และลักษณะการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณถนนเลียบชายฝั่งบริเวณด้านใต้ปากคลองหลังสวน จังหวัดชุมพร


(http://www.prachatai.com/05web/upload/HilightNews/library/200707/24_230147_81.jpg)
ทุ่นลอยถูกพัดขาดเข้ามาในปากคลองหลังสวน


(http://www.prachatai.com/05web/upload/HilightNews/library/200707/24_230159_68.jpg)
ถนนริมทะเลอำเภอหลังสวนถูกกัดเซาะได้รับความเสียหาย


 
จังหวัดสุราษฎร์ธานี

            จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวรวมกันประมาณ 162 กิโลเมตร มีชายฝั่งถูกกัดเซาะรุนแรงเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตรต่อปี เพียงบริเวณเดียวคือ ชายฝั่งบ้านพอด – บ้านปากคลองคราม ความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร ปัจจุบันยังมีการกัดเซาะที่รุนแรงอยู่

            พื้นที่กัดเซาะชายฝั่งปานกลาง 7 แห่งในอำเภอท่าชนะ 4 แห่ง อำเภอไชยา 2 แห่ง และอำเภอดอนสัก 1 แห่ง รวมกัน 15.5 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังพบการสะสมตัวของตะกอนชายฝั่งที่อำเภอท่าชนะและอำเภอไชยา รวมความยาวเท่ากับ 9.2 กิโลเมตร

            สาเหตุการกัดเซาะ เนื่องจากการพัฒนาพื้นที่ โดยเปลี่ยนพื้นที่ชายฝั่งทะเลมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ทั้งการพัฒนาเมือง การขยายระบบสาธารณูปโภค การปรับถมถนนริมทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนสภาพป่าชายเลนเป็นนากุ้ง ดังนั้น จำเป็นต้องเร่งวางแนวทางการพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการ
 

            สำหรับพื้นที่ที่พบการกัดเซาะชายฝั่งมี 3 พื้นที่ คือ

            - ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

            - ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

            - ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

1. ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ปริมาณน้ำทะเลขึ้นสูงที่พบบริเวณชายหาดตำบลท่าชนะ ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณถนนเลียบชายฝั่ง เนื่องจากการถมทะเลสร้างถนน

(http://www.prachatai.com/05web/upload/HilightNews/library/200707/24_230247_56.jpg)
ถนนริมทะเลในตำบลท่าชนะที่ถูกกัดเซาะได้รับความเสียหาย
 

2.ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวด้านทิศเหนือของตำบลลีเล็ด ตำบลท่าชนะ และลักษณะการสะสมตัวของขยะจำนวนมากบริเวณด้านในอ่าว

(http://www.prachatai.com/05web/upload/HilightNews/library/200707/24_230305_26.jpg)
สภาพการกัดเซาะชายฝั่งในตำบลลีเล็ด


(http://www.prachatai.com/05web/upload/HilightNews/library/200707/24_232442_74.jpg)
สภาพการสะสมตัวของขยะจำนวนมากบริเวณด้านในอ่าว

 
3. ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ลักษณะการกัดเซาะบริเวณด้านในอ่าวบ้านพอด ตำบลดอนสัก ที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะเป็นประจำ และการใช้ท่อซิเมนต์เพื่อป้องกันการกัดเซาะบริเวณด้านในอ่าวบ้านพอด

(http://www.prachatai.com/05web/upload/HilightNews/library/200707/24_230317_90.jpg)
ชายฝั่งบ้านพอด ตำบลดอนสัก มีการกัดเซาะในบริเวณอ่าวด้านในเป็นประจำ


(http://www.prachatai.com/05web/upload/HilightNews/library/200707/24_230329_22.jpg)
การใช้ท่อซิเมนต์เพื่อป้องกันการกัดเซาะบริเวณด้านในอ่าวบ้านพอด


จาก         :        สถาบันวิจัยและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง  กรมประมง  วันที่ 25 กรกฎาคม 2550  คัดจาก ประชาไท   วันที่  24/7/2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ สิงหาคม 04, 2007, 12:36:44 AM

บริษัทเสนอแก้บางขุนเทียนผิดวิธี นักวิชาการรุมค้านเชื่อไม่ได้ผล   
 
 รายงานข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนว่า ขณะนี้กทม.ได้ประชุมร่วมกับนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน เพื่อหาข้อสรุปการแก้ปัญหาชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับการคัดค้านจากนักวิชาการว่าโครงการแก้ปัญหาของกทม.ใช้ไม่ได้ผล โดยนักวิชาการทั้งหมดยืนยันว่าลักษณะของคลื่นบริเวณชายฝั่งบางขุนเทียน เป็นคลื่นที่ซัดเข้าหาชายฝั่งในแนวตั้งฉาก ซึ่งขัดกับผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาของกทม.ที่ระบุคลื่นบริเวณบางขุนเทียนเป็นคลื่นซัดเข้าหาฝั่งในแนวขนานหรือเฉียงเข้าหาชายฝั่ง ซึ่งข้อขัดแย้งดังกล่าวส่งผลกระทบถึงลักษณะของโครงการแก้ปัญหาที่บริษัทที่ปรึกษาที่เสนอให้ก่อสร้างรอดักทราย (Groin) รูปตัวทีตั้งขนานตลอดแนวชายฝั่งเพื่อชะลอแรงคลื่นที่ซัดเข้าชายฝั่ง และช่วยกักเก็บตะกอนไม่ให้ซัดออกนอกชายฝั่งเวลาที่คลื่นม้วนตัวออกจากฝั่ง ซึ่งอาจจะใช้ไม่ได้ผล

 ทั้งนี้ เหตุที่รอดักทรายอาจจะใช้ไม่ได้ผลเนื่องจากรอดักทรายเหมาะสำหรับลักษณะของชายหาด ที่มีคลื่นซัดเข้าหาฝั่งในลักษณะเฉียงหรือขนานชายฝั่งเท่านั้น เพราะขารูปตัวทีจะสามารถกักเก็บตะกอนได้ แต่หากเป็นคลื่นซัดตั้งฉากกับชายฝั่งจะส่งผลให้ลักษณะการพัดพาตะกอนเป็นทิศทางตรงข้ามกับขารูปตัวที จึงอาจจะไม่ยาวเพียงพอที่จะกักเก็บตะกอน ซึ่งปัญหาทั้งหมดมาจากการตั้งสมมติฐานผิดของที่ปรึกษา จึงทำให้เกิดการศึกษาหรือเสนอโครงการที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งขณะนี้ได้ให้สำนักผังเมือง (สผม.) แจ้งข้อมูลให้ที่ปรึกษาเร่งปรับเปลี่ยนโครงการใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นเพราะล่าช้ามากแล้ว

 รายงานข่าว เปิดเผยว่า อย่างไรก็ตามนักวิชาการได้เสนอโครงการแก้ปัญหา 2-3 วิธี ประกอบด้วย
1.ไส้กรอกทราย (sand sausage) หรือถังใส่ทรายขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนไส้กรอกหรือหมอนข้างยักษ์ วางบนฟูกทรายขนานกับแนวชายฝั่ง
2.เขื่อนสลายกำลังคลื่นหรือขุนสมุทรจีน คือการปักเสาซีเมนต์รูปสามเหลี่ยม โดยปักเป็นแถวยาวขนานชายฝั่ง โดยปักเรียงแถวหน้ากระดานหนา 3 ชั้นและปักสลับแบบฟันปลา โดยเสาซีเมนต์สลับฟันปลาจะช่วยลดแรงคลื่นโดยการหักเหกำลังคลื่นลงได้ และ
3.การปักไม้ไผ่เป็นแนวเขื่อนริมชายฝั่ง โดยทุกโครงการได้ดำเนินการทดลองทำที่จ.สมุทรปราการและจ.สมุทรสาครมาแล้ว 


จาก         :        แนวหน้า  วันที่ 4 สิงหาคม 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ สิงหาคม 30, 2007, 01:17:10 AM

ยุทธการกู้แผ่นดิน
 
(http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/29/images/91888_7527800lowShow.jpg)
 
ปรากฏการณ์โลกร้อนนอกจากจะสร้างความปั่นป่วนให้กับสภาพอากาศแล้ว ยังเป็นปัจจัยสำคัญก่อปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และนับวันยิ่งรุนแรง กำลังเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่หลายหน่วยงานกำลังพยายามหาทางแก้ไขปัญหาชุมชนชายทะเล ซึ่งบ้านเรือนกำลังจะถูกน้ำทะเลยึด ขณะที่อีกหลายคนพยายามลุกขึ้นสู้เพื่อรักษาแผ่นดินไว้ จุดประกาย พาไปดูความพยายามของชุมชนหนึ่ง

ศาลาชายทะเลกลางหมู่บ้านสีล้งมักเป็นมุมโปรดของใครหลายคนในชุมชนที่แวะเวียนมาพักหย่อนอารมณ์ และได้พบปะแลกเปลี่ยนกันอยู่เสมอ สะอิ้ง จ้อยมาก หรือ 'ลุงสะอิ้ง' ของหลานๆ เป็นอีกคนที่เป็นขาประจำ มานั่งพักผ่อนจากงานในระหว่างวัน แม้เรือนจะห่างศาลาไปไม่กี่คืบ แต่แกก็เลือกที่จะหย่อนตัวเองลงที่นี่ ก่อนทิ้งสายตาไปที่รั้วไม้สลับต้นแสมโดยมีเขื่อนหินเป็นกำแพงกั้นระหว่างผืนดินกับทะเลที่ไม่น่าเชื่อว่า ครั้งหนึ่งหลังโขดหินกองใหญ่นี้เคยเป็นชายคาของใครบางคนที่รู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก...


ผืนดินที่หายไป

"โน่นๆ เห็นธงส้มๆ ลิบๆ นั่นไหมล่ะ เมื่อก่อนตรงนั้นยังเป็นแผ่นดินอยู่เลย"

"มันเริ่มรุกเข้ามาตั้งแต่ 40 ปีก่อนโน่นแล้ว"

"ตรงนั้นน่ะเป็นบ้านติดๆ กันไม่ต่ำกว่า 30 หลังเลยนะ"

"..............................."

ลำดับภาพเหตุการณ์ที่หลายความทรงจำย้ำถึงธงไม้อันเล็กๆ ห่างชายฝั่งไปราว 1 กิโลเมตร หลักฐานยืนยันว่า ครั้งหนึ่งตรงนั้นเป็นที่ตั้งของหมู่ 12 บ้านสีล้ง ตำบลคลองด่าน ที่มีมากว่า 100 ปีแล้ว

"น้ำมันเซาะเข้ามาปีละเส้นกว่า (ประมาณ 40 เมตร) คลื่นกระแทกฝั่ง มันมีการกระแทก มีการดึง กระชาก ช่วงมรสุมก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น" ไกรสร ยศขำ ผู้ใหญ่หมู่ 12 บ้านสีล้ง เล่าถึงความรุนแรงของการรุกล้ำจากธรรมชาติที่สร้างความพรั่นพรึงให้กับชาวบ้านหลายๆ คนที่อยู่ติดทะเล เพราะไม่รู้ว่าวันไหนบ้านใครจะจมหายไปในมหาสมุทร

ผู้ใหญ่ไกรสรบอกว่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของที่นี่เริ่มเมื่อ 40 ปีก่อน เดิมทีในบริเวณทะเลห่างออกไป 1 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดย่อมมีสมาชิกอยู่ราว 70 หลังคาเรือน โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพผูกติดกับทะเลเป็นหลัก หาปลา ตัดฟืน เลี้ยงกุ้ง ตามปกติจนกระทั่งหลายคนเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

"เมื่อก่อนใครมีที่ริมทะเลนี่จะยิ้มเลยนะ เพราะทะเลมันงอกทุกปี แต่ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา บ้านหลังแรกที่อยู่ติดทะเลก็พบว่าน้ำมันอยู่ใกล้บ้านเข้ามาทุกที นานเข้าน้ำก็ยิ่งคืบเข้ามา เขาอยู่ไม่ได้ก็ย้ายหนี พอหลังแรกย้ายหนีที่เหลือก็พากันทยอยย้ายตามปีละหลังสองหลังไล่ลงมาเรื่อยๆ" เขาเท้าความหลัง

ส่วนความทรงจำสะอิ้ง เขาบรรยายถึงน่านน้ำตรงหน้าว่า เคยวิ่งเล่นมาตั้งแต่เท้าเท่าฝาหอย มีบ้านอยู่ไม่ต่ำกว่า 50 หลังเป็นบริเวณกลางหมู่บ้าน โดยมีป่าแสมโอบล้อมอยู่ด้านหลังอีกที

"เลยบ้านผมไปหนึ่งกิโลฯ ก็ยังอยู่บนดินนะ เช้าๆ พระกับนักเรียนจะใช้ถนนตัดผ่านหมู่บ้านสายนี้ เขาจะร้องว่าพระมาแล้ว ต้องตะโกนบอกกันนะ (หัวเราะ) เพราะมันเป็นป่าไม้ทึบไปหมดเลย ทีนี้ประมาณ พ.ศ.2507 น้ำก็เริ่มเซาะมา ช่วง พ.ศ.2525-2526 จะหนักมาก รื้อร่นเข้ามาเรื่อยๆ ย้ายหนีกัน น้ำเยอะ คลื่นสูง มันเซาะข้างล่างก่อน ข้างบนค่อยพังตาม"

รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญที่ติดตามเรื่องการกัดเซาะมากว่า 10 ปี เปิดเผยถึงภาพรวมของปัญหาการกัดเซาะทุกวันนี้ว่า ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน มีชายฝั่งทะเลประมาณ 2,600 กิโลเมตร ในตัวฝั่งอ่าวไทยทั้งสองฝั่ง พบปัญหาการกัดเซาะระดับปานกลางถึงรุนแรง คือ 5 เมตรขึ้นไป ถึงมากกว่า 20 เมตร ตกตัวเลขประมาณ 600 กิโลเมตร

"คิดเป็น 21%ของพื้นที่ชายฝั่ง เราเจอปัญหาตรงนี้ ทั้งอ่าวไทยและอันดามันมีจุดที่ต้องเฝ้าระวัง (Hotspot) 30 จุด อ่าวไทย 22 จุด อันดามัน 8 จุด ที่หนักที่สุดก็คือ อ่าวไทยตอนบน 5 จังหวัดได้แก่ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และกรุงเทพมหานคร เราพบว่ามีอัตราการกัดเซาะมากกว่า 25 เมตรต่อปี โดยปัญหาการกัดเซาะเริ่มเจอเมื่อ 30 ปีที่แล้ว วันนี้พื้นดินเราหายไปประมาณ 110,000 ไร่ โดยที่หนักที่สุดก็คืออ่าวไทยตอนบนซึ่งมีระยะทางตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกง 120 กิโลเมตร เราเจอปัญหาการกัดเซาะหนักๆ ประมาณ 82 กิโลเมตร เฉลี่ย 68% บางที่หายไป 1 กิโลเมตร อย่าง ขุนสมุทรจีนและคลองด่าน หรือบางขุนเทียน อ่าวไทยตอนบน 30 ปีที่ผ่านมาพื้นดินหายไป 18,000 ไร่ แล้วถ้าใช้แบบจำลองจากการคำนวณจะพบว่าในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า เฉพาะสมุทรปราการอย่างเดียวจะสูญเสียพื้นที่ราว 37,000 ไร่ ถ้านับอ่าวไทยทั้งหมดจะเสียไปประมาณ 47,000 ไร่ ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย"


ไม่ทนก็ถอย

ใครบางคนเปรียบเปรยว่า หลากหลายอุปสรรคที่เดินผ่านมาในชีวิตเสมือนบททดสอบจากพระผู้เป็นเจ้า ที่ต้องยอมรับและรู้จักฟันฝ่า แต่คงไม่ใช่สำหรับชาวบ้านสีล้งที่นับวันต้องเฝ้ามองทะเลด้วยใจประหวั่นรอวันที่ท้องทะเลจะ 'เอาคืน'

"ไม่เล่าไปล่ะผู้ใหญ่ เรื่องมีคนมาร้องเรียนเรื่องตุ่มแตกน่ะ" สะอิ้งเย้าผู้ใหญ่ไกรสรอย่างอารมณ์ดีถึงบรรยากาศก่อนเก่าที่ตัวเขานึกทีไรแล้วอดขำไม่ได้ทุกที

ผู้ใหญ่ไกรสรจึงเล่าว่า "สมัยก่อนคนที่อยู่แถวนี้ต้องมีตุ่มน้ำไว้ใช้ พอคลื่นมา แผ่นดินทรุด แล้วตุ่มจะแตกด้วยคลื่น ชาวบ้านมาร้องทุกข์กันระงมเลย สมัยไหนไฟฟ้ายังไม่เข้า น้ำบาดาลไม่มี ทุลักทุเลกันน่าดู"

เสียงตุ่มแตกเป็นสัญาญาณเตือนว่าในไม่ช้าน้ำจะมาถึง เจ้าของบ้านถ้าไม่ย้ายก็จมทะเล

"ที่หนีก็เยอะ ที่สู้ก็แยะ แต่สุดท้ายสู้ไม่ไหวก็ต้องย้าย" สะอิ้งช่วยเสริม ก่อนหน้านั้นก็มีหลายบ้านที่ลุกขึ้นต่อสู้ โดยส่วนใหญ่จะนำไม้โกงกางและไม้ไผ่มาปักเป็นแนวกันคลื่น อีกทางหนึ่งก็คอยมองหาที่ทางเอาไว้เป็นแผนสอง ถอยร่นมาเรื่อยๆ ก่อนจะมาถึงเขาเป็นบ้านหลังสุดท้าย

"น้ำจะมาช่วงหัวค่ำ โดยเฉพาะหน้ามรสุมคลื่นสูงเกือบเท่าหลังคาเลย ทำไปก็ซ่อมกันไป เวลาคลื่นมาสูงๆ ก็ซัดแนวไม้สั่นโครมๆ เราก็ใจเสียเลย ก็ได้แต่ภาวนาแล้วตอนนั้น ก็ขนไม้ไผ่จากที่เขาเหลือมาบ้าง ที่เขาแซะหอยทิ้งแล้วไม่ใช้แล้วมาบ้าง ขนมาเป็นวันๆ ทำไปเรื่อยๆ เป็นงานส่วนตัวของเรา เราก็ทำงบส่วนตัว ก็พอช่วยประทังได้ แต่ไม่ยั่งยืนหรอก เพราะมันเคยพังต่อหน้าต่อตามาแล้ว"

เขายอมรับว่าส่วนหนึ่งเพราะไม่อยากย้ายจากบ้านเกิดตัวเอง ก่อนนั้นมีบ้านบังอยู่หลายหลัง อีกทั้งต้นไม้ยังเยอะให้พออุ่นใจ แต่ก็คิดอยู่ตลอดว่าสักวันหนึ่งถ้าเป็นแบบนี้ก็ต้องย้ายตามเหมือนกัน

"เมื่อก่อนมันไม่เป็นแบบนี้หรอก ตั้งแต่มีท่าเรือแหลมฉบังนั่นแหละ น้ำก็เริ่มเซาะเข้ามา" นิพัฒน์ ศรีงาม ลูกบ้านหมู่ 12 อีกคนออกความเห็น ชาวบ้านหลายคนมองว่าการวางสิ่งก่อสร้างลงไปในทะเลเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง เหมือนการถางป่าเพื่อทำนากุ้งของชาวบ้านก็ยิ่งเป็นตัวที่ทำให้น้ำทะเลรุกคืบเข้ามาอย่างรวดเร็ว

"มันไม่เกี่ยว" รศ.ดร.ธนวัฒน์ปฏิเสธ เขามองว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดการกัดเซาะที่หนักที่สุดคือ ตะกอนจากต้นน้ำที่ไหลลงสู่ชายฝั่ง ซึ่งหลังจากมีการสร้างเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ตะกอนมีปริมาณลดลงถึง 70%

"ปัจจัยต่อมา เมื่อก่อนเป็นป่าชายเลนแล้วพัฒนาเป็นบ่อกุ้ง เมื่อปี 2524 ปัจจัยอีกอย่างก็คือ แผ่นดินทรุด ซึ่งอัตราแผ่นดินทรุดแถวคลองด่านอยู่ที่ 3-5 เซนติเมตร มันมากกว่าการขึ้นของระดับน้ำทะเลมหาศาล ระดับน้ำทะเลช่วงที่ขึ้นมากที่สุดเมื่อ 8,000 ปีก่อน อยู่ที่ 20-26 มิลลิเมตร แต่ตอนนี้การทรุดอย่างเดียว 3-5 เซนติเมตร มันเท่าตัว มันจึงไม่แปลกที่จะทำให้เกิดการกัดเซาะที่คลองด่านมาก แล้วในอนาคตที่นี่จะมีการกัดเซาะมากที่สุดในประเทศ ตรงจุดคลองด่านเลย จะหายไป 1.3 กิโลเมตร เพราะแผ่นดินทรุด ตรงนั้นจะใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมแถบบางปู บางพลี บางบ่อที่ดูดน้ำบาดาลขึ้นมา"

เขาแสดงความเห็นต่อไปว่า ทุกปีน้ำทะเลสูงขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว อัตราการขึ้นของระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยจะอยู่ราว 30-60 เซนติเมตร ภายใน 100 ปี น้ำจะขึ้น 1 เซนติเมตรต่อปีซึ่งสูงมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะโลกร้อน โดยมีการคาดการณ์ว่า ในอีก 100 ปีข้างหน้าอุณหภูมิของโลกเฉลี่ยจะสูงขึ้น 2-4 องศาฯ น้ำทะเลทั่วโลกจะสูงขึ้น 50 เซนติเมตรด้วย

"อย่าไปโทษแก๊สโซฮอล์ โลกร้อนก็คือแก๊สโซฮอล์ มีอะไรก็โทษโลกร้อน" มุมมองอีกฝั่งจาก สุรพล กฤษณามระ ผู้อำนวยการส่วนจัดการที่ดินชายฝั่ง สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ยืนยันว่าโลกร้อนไม่ใช่เหตุผลหลักมากไปกว่าระบบนิเวศเก่าป่าชายเลนหายไป ตะกอนที่เคยไหลลงมาชดเชยการกัดเซาะลดลงจากการสร้างเขื่อน และคลื่นลมที่รุนแรงขึ้น

"นับจากปี 2538 คลื่นลมรุนแรงขึ้น เปลี่ยนทาง สูงขึ้น เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงจากน้ำเป็นปัจจัยหลัก มาเป็นคลื่นเป็นปัจจัยหลักแทน อ่าวไทยน้ำขึ้น 2 หนต่อปี สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการซ้ำเติม แผ่นดินทรุดยังไม่เกี่ยวเท่าไร ยังไม่พูดถึงเพราะมันเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง"

ดร.ธนวัฒน์ ให้เหตุผลว่า "ถ้าน้ำทะเลไม่ขึ้นผมถามว่าทำไมกัดเซาะขนาดนี้ ไม่ใช่เฉพาะอ่าวไทยตอนบนนะ ทั้งประเทศนับวันก็จะเยอะขึ้น" เขาคิดว่าโลกร้อนน่าจะเกี่ยวเพราะมีการวิเคราะห์จากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หน้าหนาว กับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ หน้าฝน พบว่าลมทั้งสองตัวในช่วง 10 ปีหลังกำลังแรงขึ้น ทิศทางก็เปลี่ยน

"ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงปลายกุมภาพันธ์ เมื่อ 20 ปีก่อน เฉลี่ย 8 นอต แต่ปัจจุบันขึ้น 13 นอต ทำให้ปลายปีที่แล้วคลื่นสูง 2-4 เมตร จากเดิม 80 เซนติเมตร-1 เมตร ซึ่งทำให้เกิดการกัดเซาะรุนแรงขึ้น ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อก่อนเฉลี่ยอยู่ประมาณ 2-3 เมตรในอันดามัน ปัจจุบัน 3-5 เมตร อย่างหาดไม้ขาวที่เราได้ข่าวเมื่อ 2 เดือนก่อน 6 เมตร ในขณะที่อินโดนีเซีย 8-10 เมตร ไม่ใช่สึนามินะ ทั้งหมดนี้เราจะเห็นว่าภาวะโลกร้อนทำให้ทิศทางของมรสุมมีกำลังแรงขึ้น"

การศึกษาการกัดเซาะที่ปากพนังของหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่พบว่า แนวโน้มตอนนี้กระแสน้ำในอ่าวไทยกำลังมีการไหลกลับทิศ ฝั่งอ่าวไทยจากที่เคยมีทิศทางจากมาเลเซียขึ้นมาตามเข็มนาฬิกา ช่วง 4-5 ปีหลังมานี้ กระแสน้ำกำลังไหลทวนเข็มนาฬิกา คล้ายกับเมื่อ 6,000 ปีก่อน ที่น้ำท่วมขึ้นไปถึงอยุธยา

"ความจริงก็คือ ตอนนี้เราก็ยังอยู่ในภาวะโลกร้อนปัจจุบันอยู่ซึ่งกำลังจะลง แต่เรามีการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้แทนที่จะลงมันขึ้นพรวดจนในอนาคตเรากำลังจะเจอภาวะโลกร้อนสุดขั้ว และจะสูงกว่าขั้นใดๆ จะส่งผลกระทบจากเดิมที่เคยศึกษาไว้ 200-300 ปี เป็น 500-600 ปี" ดร.ธนวัฒน์ พูดถึงผลการศึกษาดังกล่าว


จุดหมายคือสลายพลังและยั่งยืน

ช่วงแดดร่มลมตกบรรยากาศริมทะเลมักเป็นที่ชุมนุมผู้คนหลังเลิกงาน ดื่มกิน ร้องเล่นเต้นรำตามจังหวะและโอกาสของใครจะอำนวย ยิ่งวันหยุดสุดสัปดาห์นักท่องเที่ยวแปลกหน้าก็แวะเวียนมาเยอะขึ้น ด้วยทัศนียภาพรอบด้าน ข้างก็ป่า หน้าก็ทะเล ที่มีเรือหาปลาและนกนางนวลเป็นรีวิวประกอบก็น่าจะเพียงพอที่จะทำให้ผู้ใหญ่ไกรสรวางแผนพัฒนาบริเวณเขื่อนหินทิ้งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต แต่ต้องสร้างให้เสร็จเสียก่อน

"กะจะสร้างให้สุดหมู่บ้านก่อนแล้วค่อยสร้างสะพานชมนกต่อออกไปจากบริเวณศาลานี้" เขาพูดถึงอนาคต

กว่าจะมาถึงวันนี้ชาวบ้านต้องลองผิดลองถูกมาพอสมควรก่อนจะมาตกลงปลงใจกับเขื่อนหินทิ้ง

"มันไม่ใช่แบบนี้" สะอิ้งชี้ให้ดูคลื่นลมในวันที่อากาศดี ในสายตานักท่องเที่ยวอีกคืบก็ทะเลเป็นบรรยากาศบ้านในฝันของใครต่อใคร

"เวลาน้ำเกิด คลื่นก็สูง ลมก็แรง น้ำจะขาวรอบบ้านไปหมดเลย สูงเมตรกว่าๆ น้ำก็ท่วมสะพาน ท่วมถนน"

ทางออกแรกๆ ที่ชาวบ้านได้รับจากภาครัฐในการแก้ปัญหาคือเขื่อนทรายที่กรมเจ้าท่าสร้างมากันน้ำ แต่ให้หลังไม่นานเขื่อนทรายก็จมน้ำหายไป สุรพล ยอมรับว่าเขื่อนทรายเป็นการคำนวณที่ผิดพลาด "ทางกรมเจ้าท่าเดิมก็มีการปรึกษาหารือแล้วเหมือนกัน แต่ลักษณะสำคัญของอ่าวไทยตอนใน ข้างล่างจะเป็นดินเหนียวแผ่เป็นผืนกว้าง 110-120 กิโลเมตร ลึก 15-20 เมตร พื้นดินของอ่าวไทยมีความอ่อนมากๆ ไม่สามารถทำให้เอาอะไรหนักๆ ลงไปได้ ทางออกนี้จึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร"

ความล้มเหลวดังกล่าวทำให้ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ร่วมหาทางแก้ไขจากหลายหนทางจากผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาซึ่งแต่ละคนต่างก็มีวิธีการและทัศนคติของตนเอง อีกทั้งยังมีความติดขัดบางอย่างในระบบการทำงาน จึงยังไม่มีการร่วมมือกันทำงานอย่างจริงจังมากนัก แต่ถึงอย่างนั้นทางสำนักฯ เองก็ได้สร้างรูปแบบแนวป้องกันสลายพลังคลื่นโดยใช้ไม้ไผ่

"มาจากวิทยานิพนธ์ของนิสิตปริญญาโทท่านหนึ่ง ซึ่งได้ผล ทำให้ดินเลนหนาขึ้นมา 30 เซนติเมตร แต่มันเป็นสเกลเล็ก ที่ทดลองปีนี้เป็นปีแรก เราพยายามแก้ไขปัญหาพื้นที่ที่เป็นดินเลน เราจะต้องสกัดคลื่นซึ่งเป็นปัจจัยเบื้องต้นแล้วทุกอย่างจะเยียวยาของมันเอง จึงต้องสลายพลังคลื่นในฤดูมรสุมให้ทลายชายฝั่งน้อยที่สุด" เขาเล่า

แต่สายตาของชาวบ้านสีล้งมองกลับกัน พวกเขาต่างยืนยันว่าแนวกันคลื่นอย่างไม้ไผ่มีอายุไม่ถึงปีเสียด้วยซ้ำ ท้ายที่สุดจึงต้องหันมาใช้วิธีการสร้างเขื่อนหินทิ้งที่ได้งบประมาณมาจากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

"คิดว่าอยู่ได้สบาย แต่มันเหมือนถนนนั่นแหละ 3-4 ปีก็ต้องคอยบูรณะซ่อมแซม" ผู้ใหญ่ไกรสร ออกความเห็น

ในขณะที่ ดร.ธนวัฒน์ เปิดเผยว่า สิ่งที่ชาวบ้านพยายามจะทำก็เป็นวิถีทางของเขา แต่เทคนิคที่ป้องกันการกัดเซาะในโลก ก็ยังไม่มีที่ไหนประสบความสำเร็จ ซึ่งตอนนี้เขากำลังทดลองการใช้เขื่อนสลายพลังคลื่นซึ่งเห็นผลมาแล้วที่ขุนสมุทรจีน

"มันต้องเข้าใจคนที่จะแก้ไขปัญหาได้ต้องลงลึกจนเข้าใจธรรมชาติก่อนแล้วค่อยมาดูที่ตัวดีไซน์ เขื่อนของเราที่ขุนสมุทรจีนนอกจากป้องกันการกัดเซาะได้ มันยังทำให้แผ่นดินงอก เป้าหมายคือลดแรงคลื่น รูปแบบของเขื่อนสลายกำลังคลื่นที่เกิดขึ้น พัฒนากลายเป็นเขื่อนเขียวที่จะช่วยป้องกันระดับน้ำทะเลขึ้นในอนาคต เป็นองค์ความรู้ของนักวิชาการไทย ป้องกันการกัดเซาะ ป้องกันการขึ้นของระดับน้ำทะเล ให้ชาวบ้านเรียนรู้เรื่องปลูกป่า ต่อไปนี้ชาวบ้านจะเป็นคนเริ่ม และเขาจะเป็นคนดูแล ตอนนี้กำลังเก็บข้อมูลกันอยู่" เขาเปิดเผยถึงแผนงานในอนาคต

ดร.ธนวัฒน์ ยังบอกอีกว่า การแก้ปัญหาชายฝั่งในอดีตไม่ได้เป็นไปแบบองค์รวม แต่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าซึ่งทำให้เกิดปัญหาในระยะยาวตามมา เหมือนกับปลายทางในความคิดของสุรพล ที่รัฐกำลังพยายามสร้างองค์ความรู้ให้ชาวบ้านเป็นผู้บริหารจัดการการป้องกันอย่างยั่งยืน

สำคัญที่สุดคือความร่วมมือร่วมใจอย่างจริงจัง รวมทั้งความเข้าใจในปัญหา เพราะการรับมือกับภัยธรรมชาติไม่สามารถทำได้ด้วยมนุษย์ไม่กี่คน

 
 
จาก         :        กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 30 สิงหาคม 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ สิงหาคม 31, 2007, 12:01:31 AM

ตื่น! น้ำทะเลกัดเซาะฝั่งกระบี่กว้าง 3 ม.ยาวกว่า 10 กม.

(http://pics.manager.co.th/Images/550000011388302.JPEG)
สภาพพื้นที่ริมชายฝั่งที่ถูกน้ำกัดเซาะ จนเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน

กระบี่ - ชาวบ้านริมหาดคลองประสงค์ อ.เมืองกระบี่ ตื่น! น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งกินพื้นที่กว้างกว่า 3 เมตร แนวยาวกว่า 10 กิโลเมตร คาดเป็นผลพวงจากภาวะโลกร้อน จนทำให้ปริมาณน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านผู้ว่าฯ เร่งลงพื้นที่ตรวจสอบด้วยตนเอง ยันเกิดจากภัยธรรมชาติ ส่วนจะเกี่ยวกับโลกร้อนหรือไม่ ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหามตรการแก้ไขด่วน
       
       วันนี้ (30 ส.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. นายศิวะ ศิริเสาวลักษณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ พร้อมด้วย นายวิสุทธิ์ อนันตพงศ์ นายอำเภอเมืองกระบี่ และนายกิตติ พรหมภัทร นายกอบต.คลองประสงค์ เดินทางไปตรวจสอบพื้นที่หมู่ 1, 2 และหมู่ 3 ต.คลองประสงค์ อ.เมือง จ.กระบี่
       
       ภายหลังได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่า พื้นที่ดิน และหาดทราย บริเวณริมชายฝั่งถูกน้ำทะเลกัดเซาะเข้าไป กินพื้นที่ประมาณ 2-3 เมตร เป็นแนวยาวระยะทางร่วม 10 กิโลเมตร สร้างความตื่นตระหนกให้กับชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่เป็นอย่างมาก เพราะปริมาณน้ำทะเลเพิ่มมากขึ้นจนถึงบ้านเรือนประชาชน
       
       เบื้องต้นคาดว่าน่าจะเป็นผลพวงมาจากภาวะโลกร้อน ทำให้น้ำทะเลมีปริมาณเพิ่มขึ้น และได้กัดเซาะบริเวณชายฝั่งทะเลบริเวณรอบๆ เกาะดังกล่าว โดยชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่งได้ช่วงสร้างเขื่อนกันคลื่นไม่ให้กัดเซาะพื้นดินเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
       
       ทั้งนี้ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ชายฝั่งในพื้นที่ตำบลคลองประสงค์ กล่าวว่า ระยะเวลา 6-7 ปีที่ผ่านมานี้ พบว่า น้ำทะเลได้เพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสังเกตจากจุดที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดปัจจุบันนี้ ห่างจากน้ำทะเลขึ้นสูงสุดเมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา ประมาณ 10 เมตร จากสภาพที่เห็นคิดว่า ชาวบ้านได้สร้างบ้านอยู่ในทะเล
       
       ทั้งที่ความเป็นจริงที่ผ่านมา ชาวบ้านได้สร้างบ้านเรือนอยู่บนฝั่งห่างจากน้ำทะเลขึ้นสูงสุดประมาณ 5-10 เมตร ขอให้หน่วยงานทางราชการมาทำการตรวจสอบ และหาวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร่งด่วนด้วย

(http://pics.manager.co.th/Images/550000011388301.JPEG)
นายศิวะ ศิริเสาวลักษณ์ ผจว.กระบี่ ลงพื้นที่ตรวจสอบ พร้อมสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งหามาตรการป้องกัน และแก้ไข
       
       ด้าน นายศิวะ ศิริเสาวลักษณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า จากการตรวจสอบในเบื้องต้นคาดว่า น่าจะเกิดจากภัยธรรมชาติ ส่วนจะเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อนหรือไม่นั้น ต้องให้เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ลงมาตรวจสอบพื้นที่อีกครั้ง โดยได้แนะนำให้ อบต.คลองประสงค์ นำโครงการเดิมเกี่ยวกับการป้องกันน้ำเซาะริมชายฝั่งมาดู
       
       ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และสั่งให้ทำรายงานแผนผังเกี่ยวกับพื้นที่ที่ถูกทำลายโดยธรรมชาติ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านทรัพยากรชายฝั่งมาช่วยกันระดมความคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป
       
       อย่างไรก็ตาม ขอฝากเตือนไปยังพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ อย่าได้ตื่นตระหนกจนเกินเหตุ เนื่องจากเป็นภัยธรรมชาติ ซึ่งภายหลังจากได้รับแจ้ง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ รีบลงพื้นที่ตรวจสอบในทันที และเร่งหาแนวทางในการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ขอให้ชาวบ้านสบายใจได้



จาก         :        ผู้จัดการออนไลน์   วันที่ 31 สิงหาคม 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 04, 2007, 11:44:44 PM

เขื่อนกั้นคลื่นต้นเหตุ "เม็ดทราย-ชายฝั่ง"ที่หายไป


"หาดทรายอยู่ปาโน้น ตอนนี้มันยับมาอยู่ปานี้แล้ว เห็นธงเขียวโน่นมั้ย เนี่ยดินมันหายไป

ช่าดแล้ว หาไม่ที่จอดเรือ ตรงนี้ถ้าหน้ามรสุมคลื่นซัดไปไกล"

มีชัย สมัน ผู้เฒ่าทะเลแห่งบ้านนายทุ้ง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช บอกด้วยสำเนียงคนคอนของแท้ พร้อมชี้ชวนให้เห็นร่องรอยของแนวหาดทรายเดิม ที่อยู่ห่างไกลลิบๆ ออกไปราว 1 กิโลเมตร แต่บัดนี้ถูกล้อมรอบไปด้วยทะเล

แกบอกว่า ทะเลกลืนแผ่นดินหายไปเมื่อ 30 ปีก่อน โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีมานี้คลื่นลมก็แรงจัดจนบางฤดูพัดเข้ามาถึงบ้านเรือนของชาวประมงกว่า 30 ครอบครัวทำให้บ้านช่องเสียหาย ส่วนเรือประมงก็ต้องถอยร่นตามทะเลเข้ามาประชิดฝั่งเรื่อยๆ เพราะหน้าหาดที่เคยยาวออกไปราว 300 เมตรและชาวประมงเคยใช้ประโยชน์มาหลายช่วงอายุ ตอนนี้เหลือเพียงรอยแหว่งเว้าตามแรงปะทะของคลื่น

กระนั้นชาวประมงที่บ้านนายทุ้ง ก็ยังพออาศัยเป็นที่จอดเรือซ่อมแซมเรือ แต่อนาคตไม่แน่ใจว่า ที่จอดเรือของแกจะต้องย้ายหนีแรงคลื่นไปทางไหนได้ถัดออกไปไม่ไกลนัก รอดักทรายขนาดย่อมนอนสงบนิ่ง ทำหน้าที่เป็นปราการป้องกันน้ำทะเลในจุดจอดเรือของชาวประมงบริเวณนี้

หากพิจารณาแบบคนทั่วไป โครงสร้างวิศวกรรมเหล่านี้อาจเป็นสิ่งวิเศษ เพราะมันช่วยลดผลกระทบของแรงลม แรงคลื่นให้กับหน้าบ้านของพวกเขาได้เป็นอย่างดี แต่ที่บ้านสระบัว หมู่ 7 อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขื่อนกันคลื่นปาก คลองท่าศาลา ห่างออกไปราว 3 - 4 กิโลเมตร ในอดีต “หาดสระบัว” เคยเป็นหาดทรายสีขาว และคลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยววัยเด็กและผู้ใหญ่ ที่มาอาศัยเล่นน้ำทะเล และเช่าห่วงยางจากร้านค้าขายอาหารตลอดริมหาด แต่ในระยะ 3 - 5 ปีมานี้ หาดสระบัว ได้รับผลกระทบอย่างหนัก หาดทรายสีขาว บัดนี้ถูกแทนที่ด้วยหาดเลนสีดำ ไกลสุดลูกหูลูกตา บางจุดเริ่มมีหญ้าขึ้นรกครึ้ม จนแทบไม่เหลือเค้า สถานที่พักผ่อนชายทะเลแม้แต่น้อย

“เชื่อมั้ยครับว่าสมัย 30 ปีที่แล้ว ผมยังจำได้ว่าชายหาดสระบัว อยู่ตรงจุดที่เรายืนกันอยู่นี่ เรียกว่าแถวนี้ยังเป็นทะเลอยู่ทั้งหมดเลยนะ ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวเขาจะมาพักผ่อนกันเป็นครอบครัว พาลูกๆ มาเล่นน้ำ เช่าห่วงยาง เหมือนหาดพัทยา เพราะมีหาดทรายสีขาว และอยู่ไม่ไกลจากเมืองนครศรีธรรมราช มากนัก แต่หลังจากนั้นสัก 20 ปีที่แล้ว ทะเลก็ร่นออกไปเรื่อยๆ กลายเป็นแผ่นดิน หาดก็ร่นออกไป แต่อยู่มาสัก 5 ปีก็เริ่มเป็นทะเลเลน และเริ่มหนักขึ้นเมื่อช่วง 2 - 3 ปีมานี้ ผมยังคิดไม่ออกนะว่าทำไมทะเล ถึงหายไปเร็วแบบนี้”

จำนง ศรีวิรักษ์ ผู้ประกอบการร้านอาหารน้องเล็ก บริเวณหาดสระบัว อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ย้อนความทรงจำวัยเด็ก พร้อมว่า หลายปีก่อนแถวนี้ยังมีผู้ประกอบการขายอาหาร และกิจการเช่าห่วงยางร่วม 20 ราย แต่ตอนนี้เหลือแค่ 8 รายเท่านั้น เนื่องจากหาดสระบัว ที่สวยงามในอดีต บัดนี้แทบไม่มีหาดทรายให้ลงไปเดินเล่นได้ มองไปมีแต่หาดเลน ทำให้นักท่องเที่ยวลดลงไป และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับมาอาศัยนั่งกินอาหาร แต่บางวันก็ไม่มีลูกค้าแม้แต่รายเดียว เพราะไม่มีวิวทะเลให้ดูอีกแล้ว

“ขณะนี้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบอย่างหนักจากหาดทรายที่หายไป เหลือแต่หาดโคลน ซึ่งแม้จะมี การปรับรูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยวริมชายหาดไปเป็นร้านอาหารแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะอยู่รอดไป อีกแค่ไหน ซึ่งเรื่องนี้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวจำนวน 200 รายเคยยื่นหนังสือไปที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ขอให้มาช่วยเหลือและแก้ปัญหา” จำนงค์ สะท้อนปัญหา

ไม่เพียงแต่บริเวณ “หาดสระบัว” เท่านั้น ที่กลายสภาพจากหาดทราย เป็นหาดเลนมาหลายปีแล้ว แต่จากการสำรวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พบว่าชายฝั่งทะเลตลอดท้องที่ อ.ท่าศาลา อ.สิชล กำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ถึงขั้นการสูญเสียระบบนิเวศน์หาดทราย เป็นหาดเลน จนเริ่มกระทบกับการท่องเที่ยว และการประกอบกิจการประมงพื้นบ้านแล้ว

นายปริทัศน์ เจริญสิทธิ์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อธิบายปรากฏการณ์ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นล้วนมาจากโครงสร้างชายฝั่งที่ถูกสร้างตลอดชายทะเล 4 จังหวัดภาคใต้ ไล่ขึ้นมาจาก นราธิวาส ปัตตานี นครศรีธรรมราช และสงขลา ที่มีการก่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่น และเขื่อนกันทรายจำนวนมาก และเป็นสาเหตุให้การกัดเซาะในเขตภาคใต้ตอนล่างมีระดับความรุนแรงมาก พบว่าบางพื้นที่มีความลึก 100 - 200 เมตร

“กรณีหาดเลนที่เกิดขึ้นใน อ.ท่าศาลา ถือเป็นความชัดเจนจากผลกระทบของเขื่อนกั้นคลื่นและเขื่อนกั้นทรายบริเวณปากคลองท่าศาลาโดยตรง หลังจากมันถูกสร้างขึ้นเมือราว 10 ปีก่อน ประกอบบริเวณนี้ เป็นรอยต่อที่กระแสน้ำจากแหลมตะลุมพุกที่จะวนกลับมาทางด้านใต้ และมีเขื่อนกั้นคลื่นเอาไว้ทั้งทรายและตะกอนปากแม่น้ำ ไม่สามารถพัดมาสร้างสมดุลได้ มีแต่เลนไหลออกมาสะสมจนกลายสภาพ เป็นหาดเลนถาวร ซึ่งพบแนวโน้มว่าปากแม่น้ำตาปี และแถวอ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี กำลังมีสภาพไม่แตกต่างจากพื้นที่ของท่าศาลาเช่นกัน” ปริทัศน์ ระบุ

นอกจากนี้ ปริทัศน์ ยังบอกชัดเจนว่า สามารถสรุปได้ว่าโครงสร้างที่ยื่นออกสู่ทะเล เป็นตัวการที่ทำให้การเคลื่อนที่ของเม็ดทรายที่เคยพัดพาตามธรรมชาติ ตามกระแสน้ำเรียบชายฝั่ง ถูกกัก เอาไว้เหนือเขื่อน กระทั่งอีกด้านหนึ่งของเขื่อนไม่มีทรายไปหล่อเลี้ยงทำให้เกิดการเสียสมดุล และเป็นตัวเร่งให้เกิดการกัดเซาะที่รุนแรงขึ้น หากขยายลุกลามไปเรื่อยๆ ตามการก่อสร้างที่ไม่มีที่สิ้นสุด



จาก     :      กรุงเทพธุรกิจ วันที่  3 กันยายน 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 11, 2007, 12:46:10 AM

พื้นที่ชายฝั่งอันดามันและอ่าวไทยวิกฤติหนัก

 นางนิศากร โฆษิตรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยถึงสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งทะเลในประเทศไทยว่า ชายฝั่งทะเลไทยมีความยาวประมาณ 2,614 กม. แบ่งเป็นชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยมีความยาว 1,660 กม. ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัดชายฝั่งทะเลด้านอันดามันมีความยาว 954 กม. ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวม 6 จังหวัดมีประชากรอาศัยในพื้นที่ชายฝั่งไทยกว่า 12 ล้านคน   
 
ทั้งนี้พบว่าปัญหาการกัดเซาะในชายฝั่งด้านอ่าวไทย มีอัตราการกัดเซาะรุนแรงมากกว่า 5 เมตรต่อปี ในพื้นที่ 12 จังหวัด ระยะทางรวม 180.09 กม. หรือประมาณร้อยละ 10.9 ของแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย โดยมีแม่น้ำท่าจีนจังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวและมีการกัดเซาะขั้นรุนแรงมากที่สุด ส่วนชายฝั่งทะเลด้านอันดามันการกัดเซาะมีความรุนแรงมากกว่า 5 เมตรต่อปีใน 5 จังหวัดคือภูเก็ต ระนอง กระบี่ ตรังและสตูล ระยะทางรวม 23 กม. หรือร้อยละ 9.5 ของแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน
 
นางนิศากร กล่าวว่า สำหรับแนวทางแก้ปัญหาที่ผ่านมามีการแก้ปัญหาร่วมกันหลายฝ่าย ทำให้เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนของพื้นที่การศึกษาและทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและเกิดความสับสนเกี่ยวกับข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสม เนื่องจากความแตกต่างของวิธีคิดที่ใช้ในการศึกษาและเทคนิคในหลายกรณีการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้โครงสร้างวิศวกรรมยังก่อให้เกิดผลกระทบในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงอีกด้วยดังนั้นจึงได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการร่วมกัน
 
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ทช.ร่วมกับหน่วยงานด้านทรัพยากรทางทะเลกำลังแก้ปัญหาการกัดเซาะในเขตพื้นที่อ่าวไทยตอนในรูปตัว ก ทั้ง 5 จังหวัด มีพื้นที่นำร่องที่บ้านขุนสมุทรจีน ส่วนภาคใต้ตั้งแต่บริเวณ อ.ระโนด จ.สงขลา และ อ.หัวไทร และแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช กำลังอยู่ระหว่างประเมินรูปแบบการแก้ไขปัญหาและออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรม.

 

จาก     :      เดลินิวส์   วันที่  11 กันยายน 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ กันยายน 11, 2007, 02:36:00 AM
หายไปปีละ  5 เมตร..... :-[

ขวานทองของไทยค่อยๆแหว่งไปทุกทีๆ......รู้สึกห่วงใยกันบ้างไหมคะ..... ;)

อย่ามัวนิ่งนอนใจกันอยู่เลย......เร่งด้วยช่วยกันคนละไม้ละมือทั้งภาครัฐและราษฎร์   ถ้าไม่สามารถจะทวงคืนแผ่นดินที่หายไปแล้วได้  อย่างน้อยๆก็มาช่วยกันตรึงแผ่นดินที่มีอยู่ไม่ให้หายไปมากกว่านี้ ดีกว่าอยู่เฉยๆนะคะ....  ;)


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 19, 2007, 01:08:49 AM

ชายฝั่ง17 จังหวัด วิกฤติหนัก    

นายอนุวัฒน์ นทีวัฒนา ผอ.สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) เผยว่า การกัดเซาะชายฝั่งทะเลของไทยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ล่าสุดพบชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยระยะทาง 1,660 กม. มีพื้นที่วิกฤติ ซึ่งมีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตร/ปี 12 จังหวัด ขณะที่ชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน ระยะทาง 954 กม. มีพื้นที่วิกฤติ 5 จังหวัด คิดเป็นระยะทางรวม 2 ฝั่ง 90.5 กม. จึงต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

สำหรับสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่ง ส่วนหนึ่งเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ตามธรรมชาติ และจากการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลด้วย เช่น การสร้างเขื่อนกันทรายตามปากแม่น้ำและปากคลองที่ไหลออกสู่ทะเล และการสร้างเขื่อนกันคลื่นตามแนวชายหาดโดยเฉพาะพื้นที่อ่าวไทยตอนล่างจากจังหวัดนครศรีธรรมราช-นราธิวาส มีมากกว่า 600 เขื่อน ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงมาก

ด้าน นายสุรพล กฤษณามะระ ผอ.ส่วนจัดการที่ดินชายฝั่ง กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้คณะกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติเห็นชอบใน "ยุทธศาสตร์การจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง" ที่กรมฯและสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยร่วมกันจัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วยมาตรการป้องกันแก้ไข 5 ประการ คือ 1.การพัฒนาระบบฐานข้อมูลพื้นที่ชายฝั่งเพื่อใช้ในกระบวนการตัดสินใจวางแผนและดำเนินงาน 2.การมีส่วนร่วมในการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง 3.การจัดทำแผนแม่บทและแผนยุทะศาสตร์การจัดการปัญหากัดเซาะชายฝั่งเชิงบูรณาการในระดับพื้นที่ 4.การป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟูสภาพพื้นที่ชายฝั่ง และ5.การพัฒนาระบบตรวจสอบและควบคุมการดำเนินงานจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหา ซึ่งคาดว่ายุทธศาสตร์ที่จัดทำขึ้นนี้ จะช่วยแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของไทยอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน



จาก     :      แนวหน้า   วันที่  19 กันยายน 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 25, 2007, 12:28:35 AM

ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง วิกฤติที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน
 
(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/agriculture/9/25/140974_59272.jpg)
 
 ปัจจุบันปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลของไทยมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น จากการสำรวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พบว่า ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ระยะทาง 1,660 กม. มีพื้นที่วิกฤติซึ่งมีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตร/ปี จำนวน 12 จังหวัด เป็นระยะทางรวม 180.9 กม. อาทิ จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพฯ จันทบุรี ระยอง นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และมีพื้นที่เสี่ยงซึ่งมีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ย 1-5 เมตร/ปี 14 จังหวัด เป็นระยะทางรวม 305.1 กม. ขณะที่ชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน ระยะทาง 954 กม. มีพื้นที่วิกฤติซึ่งมีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตร/ปี จำนวน 5 จังหวัด เป็นระยะทางรวม 23 กม. และยังพบว่าทุกจังหวัดเป็นพื้นที่เสี่ยงด้วย เป็นระยะทางรวม 90.5 กม. ซึ่งค่อนข้างน่าเป็นห่วง  ดังนั้น จึงต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
 
นายอนุวัฒน์ นทีวัฒนา ผู้อำนวยการ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าว ถึงสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งว่าส่วนหนึ่งเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ตามธรรมชาติ รวมทั้งขาดปริมาณตะกอนสะสมตามแนวชายฝั่งทะเล ขณะเดียวกันปัญหาดังกล่าวยังเกิดจากการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลด้วย เช่น การสร้างเขื่อนกันทรายตามปากแม่น้ำและปากคลองที่ไหลออกสู่ทะเล และการสร้างเขื่อนกันคลื่นตามแนวชายหาดโดยเฉพาะพื้นที่อ่าวไทยตอนล่างจากจังหวัดนครศรีธรรมราช-นราธิวาส มีมากถึง 25 จุด รวมกว่า 600 เขื่อน ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงมาก

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/agriculture/9/25/140974_59273.jpg)
 
ทางด้าน นายสุรพล กฤษณามระ ผู้อำนวยการส่วนจัดการที่ดินชายฝั่ง สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบใน    “ยุทธศาสตร์การจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง” ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เตรียมนำเสนอยุทธศาสตร์ดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้พิจารณาต่อไป
 
สำหรับยุทธศาสตร์การจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ได้กำหนดแนวทางและมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาไว้ 5 ประการคือ
 
1. เร่งพัฒนาและปรับปรุงระบบฐานข้อมูลพื้นที่ชายฝั่ง โดยจะศึกษา สำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ชายฝั่งทั่วประเทศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมจัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ของชุมชนในพื้นที่ชายฝั่ง โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่ง และจัดทำระบบฐานข้อมูลที่มีมาตรฐานและทันสมัย สามารถแสดงผลการประมวลข้อมูลสถานการณ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศ เพื่อใช้ในการจัดการโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการกัดเซาะ
 
2. การมีส่วนร่วมในการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยตั้งเป้าที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและการจัดการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล และเสริมสร้างศักยภาพของกลุ่มผู้เกี่ยวข้องด้วย

3. การจัดทำแผนแม่บทและแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหากัดเซาะชายฝั่งเชิงบูรณาการในระดับพื้นที่ เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการและขั้นตอนการตัดสินใจวางแผน ให้เข้าใจในทุกประเด็นปัญหาที่อาจมีผลกระทบต่อเนื่อง พร้อมจัดทำแผนบูรณาการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศ และการจัดการพื้นที่วิกฤติและพื้นที่เร่งด่วนที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
 
4. การป้องกันแก้ไขและฟื้นฟูสภาพพื้นที่ชายฝั่ง โดยได้กำหนดและจำแนกเขตพื้นที่ที่มีปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเล หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกมาตรการจัดการป้องกัน แก้ไข หรือฟื้นฟูพื้นที่แต่ละแห่งตามความเหมาะสม อีกทั้งยังจัดทำแผนการจัดการและแผนปฏิบัติการระดับพื้นที่ ร่วมกับหน่วยงานระดับท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมถึงแก้ไขและฟื้นฟูสภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ประสบปัญหาการกัดเซาะให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติ สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้ตามศักยภาพ
 
5. การพัฒนาระบบกำกับ ตรวจสอบ และควบคุมการดำเนินงานด้านการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยมุ่งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่และเกี่ยวข้องให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้โดยเฉพาะในพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เร่งด่วน และกำหนดมาตรการเชิงรุกในการติดตาม และตรวจสอบสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเล ตลอดจนจัดทำระบบประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในระดับพื้นที่

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/agriculture/9/25/140974_59274.jpg)
 
อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ถือเป็นวิกฤติของประเทศที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันค้นหาสาเหตุที่แท้จริงแล้วร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน เพื่อรักษาและปกป้องผืนแผ่นดินไทยเอาไว้ให้ลูกหลานต่อไป.



จาก     :      เดลินิวส์   วันที่  25 กันยายน 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 29, 2007, 01:18:17 AM

"ปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น" ของ อ.เมืองสมุทรสาคร คว้ารางวัลดีเด่นยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ประจำปี 2550

 
"ปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น" หมู่ที่ 8 ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร คว้ารางวัลดีเด่นยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ประจำปี 2550 เพราะถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เป็นประโยชน์และก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการฟื้นฟูนิเวศริมฝั่งควบคู่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติ

นายชาญวิทย์ วสยางร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม เปิดเผยว่า จังหวัดสมุทรสาครได้แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกโครงการกิจกรรมดีเด่น ภายใต้แผนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ระดับจังหวัดประจำปี 2550 ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย โดยดำเนินการคัดเลือกโครงการ/กิจกรรมดีเด่น เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อจังหวัดและชุมชน
จากการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ปรากฏว่า โครงการ "ปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น" หมู่ที่ 8 ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร ได้รับการคัดเลือกเป็นโครงการ/กิจกรรมดีเด่น เนื่องจากเป็นโครงการที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน และเป็นกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชน เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ให้กับธรรมชาติ รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้การศึกษาระบบนิเวศทางธรรมชาติ

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวอีกว่า โครงการดังกล่าวมีความชัดเจนที่จะสร้างพื้นที่ป่าใหม่ รวมถึงการเพิ่มพื้นที่ป่าเดิมเพื่อสร้างแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ โดยการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น สามารถช่วยลดความรุนแรงของคลื่นและลดการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเล จึงนับว่าเป็นโครงการที่เหมาะสมกับรางวัลโครงการ/กิจกรรมดีเด่น ภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ประจำปี 2550 ของจังหวัดสมุทรสาคร



จาก               :             สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์    วันที่  28 กันยายน  2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ กันยายน 29, 2007, 02:35:47 PM
ภูมิปัญญาชาวบ้านที่นำมาใช้กู้วิกฤตการณ์ที่ต้องเผชิญกันตามลำพังนั้น เป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจจริงๆเลยค่ะ

ขอแสดงความยินดีกับชาวบ้านหมู่ที่ 8 ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร ด้วยค่ะ..... :)


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 05, 2007, 12:27:51 AM

ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง วิกฤติเร่งด่วน-ต้องแก้ไข

ปัจจุบันปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลของไทยมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น จากการสำรวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.)พบว่า ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ระยะทาง 1,660 กม. มีพื้นที่วิกฤติซึ่งมีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตร/ปี จำนวน 12 จังหวัด เป็นระยะทางรวม 180.9 กม. อาทิ จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพฯ จันทบุรี ระยอง นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และมีพื้นที่เสี่ยงซึ่งมีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ย 1-5 เมตร/ปี 14 จังหวัด เป็นระยะทางรวม 305.1 กม. ขณะที่ชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน ระยะทาง 954 กม. มีพื้นที่วิกฤติซึ่งมีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตร/ปี จำนวน 5 จังหวัด เป็นระยะทางรวม 23 กม. และยังพบว่าทุกจังหวัดเป็นพื้นที่เสี่ยงด้วย เป็นระยะทางรวม 90.5 กม. ซึ่งค่อนข้างน่าเป็นห่วง ดังนั้น จึงต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

นายอนุวัฒน์ นทีวัฒนา ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) กล่าวถึงสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งว่าส่วนหนึ่งเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ตามธรรมชาติ รวมทั้งขาดปริมาณตะกอนสะสมตามแนวชายฝั่งทะเล ขณะเดียวกันปัญหาดังกล่าวยังเกิดจากการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลด้วย เช่น การสร้างเขื่อนกันทรายตามปากแม่น้ำและปากคลองที่ไหลออกสู่ทะเล และการสร้างเขื่อนกันคลื่นตามแนวชายหาดโดยเฉพาะพื้นที่อ่าวไทยตอนล่างจากจังหวัดนครศรีธรรมราช-นราธิวาส มีมากถึง 25 จุด รวมกว่า 600 เขื่อน ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงมาก

นายสุรพล กฤษณามะระ ผู้อำนวยการส่วนจัดการที่ดินชายฝั่ง สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ชี้ว่า ขณะนี้คณะกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบใน "ยุทธศาสตร์การจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง" ที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยร่วมกันจัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้กำหนดแนวทางและมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาไว้ 5 ประการ คือ

1.เร่งพัฒนาและปรับปรุงระบบฐานข้อมูลพื้นที่ชายฝั่ง โดยจะศึกษา สำรวจ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวสภาพพื้นที่ชายฝั่งทั่วประเทศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน

2.การมีส่วนร่วมในการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหา เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและการจัดการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล

3.การจัดทำแผนแม่บทและแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหากัดเซาะชายฝั่งเชิงบูรณาการในระดับพื้นที่ เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการและขั้นตอนการตัดสินใจวางแผน ให้เข้าใจในทุกประเด็นปัญหาที่อาจมีผลกระทบต่อเนื่อง

4.การป้องกันแก้ไขและฟื้นฟูสภาพพื้นที่ชายฝั่ง โดยได้กำหนดและจำแนกเขตพื้นที่ที่มีปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเล หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกมาตรการจัดการป้องกัน แก้ไข หรือฟื้นฟูพื้นที่แต่ละแห่งตามความเหมาะสม

5.การพัฒนาระบบกำกับ ตรวจสอบ และควบคุมการดำเนินงานด้านการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยมุ่งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่และเกี่ยวข้องให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้โดยเฉพาะในพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เร่งด่วน

อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ถือเป็นวิกฤติของประเทศที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทุกฝ่ายควรร่วมมือกัน ใช้ปัญญาค้นหาสาเหตุที่แท้จริงแล้วร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน เพื่อรักษาและปกป้องผืนแผนดินไทยเอาไว้ให้ลูกหลายไทยอย่ามัวแต่นั่งโทษ "ภาวะโลกร้อน" กันอยู่เลย



จาก               :             แนวหน้า    วันที่  5 กันยายน  2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 18, 2007, 12:48:49 AM

ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทย 


กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดูแลรักษาพื้นที่ชายฝั่งของประเทศ กิจกรรมท่าเรือ การรวมทั้งการดูแลรักษาร่องน้ำตามแนวชายฝั่งให้เรือสามารถเข้า-ออกตลอดเวลา โดยกรมฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงร่องน้ำเดินเรือและการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทำให้ชุมชนในท้องถิ่นการพัฒนามีสภาพเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งทางด้านการประมงและการท่องเที่ยว ยกตัวอย่างเช่น

(1) การพัฒนาการท่องเที่ยวและการประมง

ปากน้ำระยองในอดีตมักประสบปัญหาเรือประมงไม่สามารถเข้าออกปากน้ำระยองได้ เนื่องจากถูกปิดด้วยตะกอนจากคลื่นลม ต่อมากรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีได้ก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากแม่น้ำระยอง ทำให้เรือประมงสามารถเข้าออกได้ตลอดเวลา สร้างรายได้มหาศาลให้กับชาวประมง นอกจากนี้ยังได้ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นที่บ้านเพ จ. ระยอง เพื่อกำบังคลื่นลม ให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังเกาะเสม็ดได้สะดวกและปลอดภัย สามารถเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวและรายได้ให้กับชุมชนในท้องถิ่นและชายประมงตลอดจนใช้เป็นที่จอดหลบคลื่นลมในฤดูมรสุม

(2) การพัฒนาท่าเรือประมงและท่าเรือน้ำลึก

ในอดีตเรือประมงบริเวณปากทางเข้าทะเลสาบสงขลาไม่สามารถเข้าออกได้สะดวกมักประสบปัญหาตะกอนในร่องน้ำมาตกตะกอนปากแม่น้ำ ทำให้เกิดการตื้นเขินอยู่เสมอ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีได้มีการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่น เรือประมงเข้าออกได้สะดวก กิจกรรมการประมงก็เฟื่องฟูขึ้น และทำให้ความเจริญของสงขลาทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวก็เริ่มขึ้น ต่อมาก็ได้ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ปากน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นท่าเรือน้ำลึก ขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออกที่สำคัญของภาคใต้ ไปยังภูมิภาคประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เศรษฐกิจในภาคใต้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจมากขึ้นเป็นลำดับ จนถึงปัจจุบัน

(3) การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่เป็นโคลนตม บริเวณอ่าวไทยตอนบน

กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ จ.สมุทรปรากการ โดยใช้ถุงทราย (Geo-tube)  82 ถุง ยาว 200 เมตร ห่างกัน 50 เมตร ป้องกันชายฝั่ง 20 กม. ต่อมาได้แก้ไขปัญหาวิธีเดียวกันนี้ที่บริเวณปากแม่น้ำท่าจีน จ.สมุทรสาคร ตำบลกาหลง ตำบลบางกระเจ้าและตำบลพันท้ายสิงห์ ระยะทาง 9 กม.

นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหาดแสงจันทร์นิคมมาบตาพุด ถึงปากน้ำระยอง ระยะทางทั้งหมด 10 กม.



จาก                :              มติชนออนไลน์   โดย ศ.ดร.สุภัทท์ วงศ์วิเศษสมใจ    วันที่ 17 ตุลาคม 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 18, 2007, 01:16:31 AM

ฐานทัพเรือพังงาสร้างแนวกันคลื่น  หวั่นภาวะโลกร้อนทำลายชายหาด

          พังงา/ พล.ร.ต.ธราธร ขจิตสุวรรณ ผบช.ฐานทัพเรือพังงา กล่าวว่า ภาวะโลกร้อนทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นกว่า 1 เมตร เมื่อเปรียบเทียบระดับน้ำกับ 10 ปีที่ผ่านมา และภาวะโลกร้อนทำให้เกิดภัยธรรมชาติ อย่างเช่น พายุ ใต้ฝุ่น หรือ ไซโคลน มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จากภาวะดังกล่าวทำให้ชายฝั่งของประเทศไทยเกิดการกัดเซาะไปเรื่อยๆ ซึ่งทางฐานทัพเรือพังงา ประสบกับปัญหาเช่นเดียวกัน ชายหาดบริเวณฐานทัพเรือพังงาก็ถูกกัดเซาะทำให้อาคารที่อยู่ใกล้ชายฝั่งได้รับความเสียหายไปด้วย

          ทางฐานทัพเรือพังงาจึงได้วางแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการใช้งบประมาณจำนวน 30 ล้านบาท มาดำเนินการในการก่อสร้างแนวชายหาดเพื่อกันคลื่นซึ่งพยายามรักษาชายหาดไว้ และจะไม่ส่งผลกระทบกับอาคารที่อยู่ตามแนวชายหาด โดยเฉพาะยุทธศาสตร์สำคัญคือท่าเทียบเรือรบภายในฐานทัพเรือ ในขณะเดียวกันก็ต้องปลูกต้นไม้เสริม ซึ่งทั่วโลกได้ประชุมกันในเรื่องของการลดความร้อนของโลก โดยมีการอนุรักษ์ทรัพยากร และทราบว่าขณะนี้มีการตื่นตัวในทุกองค์กร ซึ่งทางฐานทัพเรือพังงามีโครงการปลูกต้นไม้ตามแนวชายหาด และปลูกป่าชายเลนเช่นกัน



จาก                :              บ้านเมือง    วันที่ 18 ตุลาคม 2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ พฤศจิกายน 04, 2007, 12:36:58 AM

10 ปีไทยอ่วมน้ำทะเลเซาะชายฝั่งรุกท่วม “กรุงเทพฯ”

(http://pics.manager.co.th/Images/550000014555601.JPEG)
น้ำทะเลกำลังรุกคืบ ชายฝั่งทะเลไทยหายไปแล้วกว่า 18,000 ไร่จากคลื่นทะเล (ภาพโดย จำนงค์ ศรีนวล จาก www.sarakadee.com )

      นักธรณีวิทยา จุฬาฯ ชี้ 10 ปี ไทยประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลทวีความรุนแรงขึ้น แจงกรุงเทพฯ –ปริมณฑลน่าอันตราย แผ่นดินหายไปแล้ว 1.8 หมื่นไร่ คลื่นในอ่าวไทยสูง 4 เมตรกลายเป็นเรื่องปกติ เหตุสร้างเขื่อน –สูบน้ำบาดาลใช้ ระบุไม่เร่งแก้ไขอีก 20 ปี แผ่นดินใกล้กรุงคืบโดนกลืน 1.3 กิโล บางบ่อ –บางพลี อ่วมสุดๆ “สุวรรณภูมิ” โดนชิ่ง –ไม่รอดใกล้ขอบทะเล       
       เมื่อช่วงสายวันที่ 3 พ.ย. ในรายการ “ทันโลกวิทยาศาสตร์” ทางคลื่นสถานีวิทยุจุฬาฯ เอฟเอ็ม 101.5 เมกะเฮิร์ซ ดำเนินรายการโดย ผศ.มานิต รุจิวโรดม อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการสัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล นักวิจัยหน่วยวิจัยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ และอาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงสถานการณ์ของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในประเทศ
       
       รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวว่า พื้นที่ชายฝั่งทะเลไทยทั้งหมด 2,667 กม.มีจุดที่ได้รับปัญหาอย่างหนักถึง 599 กม.หรือราว 21% ด้วยกัน โดยมี 5 จังหวัดที่น่าเป็นห่วง คือ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ซึ่งตลอดแนวชายฝั่งทะเล 120 กม.มีถึง 82 กม.หรือ 68%ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา บางพื้นที่ถูกกัดเซาะกินส่วนที่เป็นแผ่นดินไปแล้ว 1 กม. และมีพื้นที่หายไปรวม 18,000 ไร่
       
       “ในช่วง 10 ให้หลังมานี้ การติดตามเก็บข้อมูลคลื่นทะเลทั้งจากฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบว่าคลื่นใหญ่ซึ่งได้รับผลมาจากลมมรสุม ทั้งลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมประจำปี) มีการเปลี่ยนทิศทางและมีความรุนแรงมากขึ้น ตัวอย่างง่ายๆ คืออ่าวไทยเมื่อ 10 ปีก่อนหรือก่อนหน้า ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะทำให้เกิดคลื่นในอ่าวไทยโดยมีความสูงเฉลี่ยเพียง 0.8 -1 เมตรเท่านั้น”อาจารย์นักวิจัยกล่าว
       
       แต่ในช่วง 10 ปีหลังมานี้ รศ.ดร.ธนวัฒน์ เผยข้อมูลว่า ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือได้ทำให้เกิดคลื่นที่มีความสูงถึง 2 -4 เมตรแล้ว เช่นเมื่อปลายปี 2549 ที่ผ่านมา ณ จ.สงขลา ที่มีคลื่นความสูง 4 เมตรพัดบ้านเรือนประชาชนหายไปหลายหลัง
       
       ทั้งนี้ การกระทำของมนุษย์เป็นปัจจัยหลักที่เร่งให้เกิดปัญหาเร็วขึ้น อย่างการพัฒนาต้นน้ำ เช่นการสร้างเขื่อนที่กั้นไม่ให้ตะกอนดินจากต้นน้ำไหลลงมายังปากแม่น้ำตามธรรมชาติได้ โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ที่ทำให้ตะกอนดินหายไปกว่า 70%
       
       ขณะที่อีกปัญหาหนึ่งที่ซ้ำเติมให้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลรุนแรงมากขึ้น ยังเป็นการทรุดตัวของแผ่นดิน ซึ่งจะทำให้ดูเหมือนว่าน้ำทะเลเพิ่มระดับสูงขึ้น โดยราว 23 -24 ปีที่แล้ว อัตราการทรุดตัวของกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ที่มากกว่า 10 ซ.ม./ปี ศูนย์กลางอยู่ในเขตเมือง
       
       ต่อมาเมื่อรัฐบาลควบคุมการใช้น้ำบาดาล ไม่มีการขุดบ่อเพิ่มขึ้น ศูนย์กลางของแผ่นดินทรุดตัวจึงเปลี่ยนไปสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเลมากขึ้น โดยเฉพาะย่านบางพลีและบางบ่อ จ.สมุทรปราการ และเขตมหาชัย -บางขุนเทียน กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นย่านอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใช้น้ำมาก
       
       อัตราการทรุดตัวของแผ่นดินในพื้นที่ดังกล่าวจึงอยู่ที่ 3 -5 ซ.ม./ปีใกล้ชายฝั่งทะเล ซึ่งค่อนข้างน่ากลัวมาก เพราะจากการศึกษาเมื่อเทียบกับเมื่อ 12,000 ปีที่แล้ว พื้นที่แห่งนี้จะทรุดตัวไม่เกิน 20 -22 ม.ม./ปี โดยมีความต่างกันถึง 30 เท่า ทำให้แม้น้ำทะเลไม่เพิ่มระดับสูงขึ้นก็ยังได้รับผลกระทบไม่แตกต่างกัน ยิ่งต้องประสบกับปัญหาโลกร้อนในปัจจุบันและในอนาคตด้วยแล้ว ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งก็จะทวีความรุนแรงขึ้นแน่นอน
       
       “หลังสุดก่อนที่เราจะทำวิจัยกับ สกว.เราได้ทำวิจัยออกมาว่าปัญหาการกัดเซาะของอ่าวไทยตอนบนขณะนี้อยู่ที่ 25 เมตร/ปี แต่จะเพิ่มเป็น 65 เมตร/ปีอีก 20 ปีข้างหน้า โดยอัตรานี้หากเราไม่ทำอะไรเลย อ่าวไทยตอนบนในอีก 20 ปีจะหายไปประมาณ 1.3 ก.ม. 50 ปีจะหายไป 2.3 ก.ม. และใน 100 ปีจะหายไป 6 -8 ก.ม.” รศ.ดร.ธนวัฒน์ แจกแจง ก่อนทิ้งท้ายว่า
       
       ปัญหาที่พบนี้จึงเป็นตัวเร่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ศึกษาวิจัยและทำงานร่วมกัน ก่อนที่อีก 100 ปีข้างหน้า เขตบางพลี และบางบ่อจะถูกทะเลกัดเซาะเข้ามาในแผ่นดินลึก 6 -8 ก.ม. สนามบินสุวรรณภูมิที่ตั้งอยู่ห่างจากทะเลเพียง 15 ก.ม.ก็จะได้รับผลกระทบ และพื้นที่หน้าด่านทางทะเลของกรุงเทพฯ ก็จะหมดไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


จาก             :             ผู้จัดการออนไลน์   วันที่ 4  พฤศจิกายน  2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ พฤศจิกายน 04, 2007, 12:51:46 AM

“เขื่อนสลายกำลังคลื่น” ป้องกันแผ่นดินหาย -ได้แผ่นดินคืน

(http://pics.manager.co.th/Images/550000014555101.JPEG)
ชายฝั่งบ้านขุนสมุทรจีนที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งทีมวิจัยได้ลงพื้นที่สร้างเขื่อนสลายกำลังคลื่น (ภาพจาก สกว.)

“เขื่อนสลายกำลังคลื่น” คำๆ นี้ฟังดูแปลกหูไม่ใช่เล่น แต่กำลังเป็นสิ่งก่อสร้างฝีมือคนไทย ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของนานาชาติอยู่ในเวลานี้ ที่สำคัญ คนที่ปลูกบ้านใกล้ชายฝั่งทะเลจะได้ไม่ต้องทนหงุดหงิดใจกับปัญหา “แผ่นดินหาย” อีกต่อไป
       
       เมื่อช่วงสายวันที่ 3 พ.ย. ในรายการ “ทันโลกวิทยาศาสตร์” ทางคลื่นสถานีวิทยุจุฬาฯ เอฟเอ็ม 101.5 เมกะเฮิร์ซ ดำเนินรายการโดย ผศ.มานิต รุจิวโรดม อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการสัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล นักวิจัยหน่วยวิจัยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ และอาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้วิจัยเรื่อง “เขื่อนสลายกำลังคลื่น”
       
       รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวว่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของคลื่นเป็นปัญหาใหญ่มากของประเทศไทย มีมาช้านาน และเกิดขึ้นอย่างช้าๆ “เป็นพิบัติภัยเงียบที่เกิดขึ้นทุกวัน แต่น้อยคนจะทราบได้” โดยพื้นที่ชายฝั่งทะเลไทยทั้งหมด 2,667 กม.มีจุดที่ได้รับปัญหาอย่างหนักถึง 599 กม.หรือราว 21% ด้วยกัน
       
       ทั้งนี้ “ชายฝั่งทะเล” ทั่วโลกมีอยู่ 2 ลักษณะคือที่เป็น “หาดทราย” ซึ่งทรายจะมีคุณสมบัติสะท้อนแรงคลื่นและเกิดการหมุนเวียนของทรายบนชายหาดได้ดี ไม่เกิดการกัดเซาะผืนดินได้ง่าย ส่วนอีกแบบคือ “หาดโคลน” อย่างของประเทศไทย ซึ่งหาดโคลนจะเป็นต้นกำเนิดของป่าชายเลน มีความอ่อนตัวสูง เมื่อคลื่นซัด ตะกอนดินจะละลายไปกับน้ำจนขุ่นข้น ป้องกันการกัดเซาะได้ลำบาก อันเป็นโจทย์วิจัยที่กล่าวถึงนี้
       
       รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย จุดที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ บริเวณอ่าวไทยตอนบน ในพื้นที่ 5 จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ซึ่งตลอดแนวชายฝั่งทะเล 120 กม. มีถึง 82 กม.หรือ 68%ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา บางพื้นที่ถูกกัดเซาะกินส่วนที่เป็นแผ่นดินไปแล้ว 1 กม. และมีพื้นที่หายไปรวม 18,000 ไร่
       
       สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงสนับสนุนทุนวิจัย 7,000,000 บาทให้เครือข่ายนักวิจัยจากกว่า 20 สถาบันร่วมทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวร่วมกัน ซึ่งนอกจากจะทำงานวิจัยให้ข้อมูลแล้วยังมีการก่อสร้างจริงในภาคสนามด้วย

(http://pics.manager.co.th/Images/550000014555102.JPEG)
คลื่นทะเลกัดเซาะเข้ามาถึงอุโบสถวัด (ภาพจาก สกว.)
       
       พื้นที่นำร่องโครงการคือ บ้านขุนสมุทรจีน อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ซึ่งพบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลแล้วกว่า 1 ก.ม.จนบางครอบครัวต้องย้ายที่ปลูกบ้านถอยร่นหนีน้ำทะเลนับสิบครั้งในเวลา 20 ปี และกว่า 90% สูญเสียที่ดินของตัวเองไปแล้ว โดยทีมวิจัยได้สร้างเขื่อนสลายกำลังคลื่นในระดับทดลองความยาว 250 เมตร โดยทาง จ.สมุทรปราการ ได้สนับสนุนทุนค่าก่อสร้างเชิงโครงสร้างเบื้องต้น 5,000,000 บาท โดยตั้งชื่อเขื่อนว่า “ขุนสมุทรจีน 49 A2”
       
       “เราได้นำความรู้ด้านชายฝั่งมาออกแบบให้เกิดโครงสร้างใหม่ที่เรียกว่าเขื่อนสลายกำลังคลื่น ซึ่งพบว่าคลื่นถ้าใหญ่เกินไปก็จะตีตะกอนโคลนให้ขุ่นและละลายไปกับน้ำ เราก็พยายามออกแบบโครงสร้างที่ลดจากคลื่นที่มีกำลังเยอะๆ ให้น้อยลงได้ และเราก็ได้ทำจนประสบความสำเร็จ มีการติดตั้ง และจดสิทธิบัตรแล้ว โดยโอนสิทธิ์ให้กับ สกว.และจุฬาฯ ต่อไปยังจะยื่นจดสิทธิบัตรในต่างประเทศด้วย เพราะเป็นงานที่ใหม่มาก หากขายได้ ก็จะนำเงินเข้าประเทศได้มากต่อไป” นักวิจัยกล่าว
       
       สำหรับการก่อสร้างเขื่อนสลายกำลังคลื่น ณ บ้านขุนสมุทรจีน ทำโดยการก่อโครงสร้างคอนกรีตสามเหลี่ยมด้านเท่า ความยาวด้านละ 50 ซ.ม. ข้างในกลวง ผลิตจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ทำจากเถ้าละเอียดและซีเมนต์คอนกรีตอัดแรง ความยาว 10 8 และ 6 เมตรตามลำดับ นำไปปักในทะเลห่างจากชายฝั่ง 500 เมตรแบบสลับฟันปลา 3 แถว ระยะห่างระหว่างแถว แถวละ 1.5 เมตร โดยมีความยาวตลอดแนวชายฝั่ง 250 เมตร

(http://pics.manager.co.th/Images/550000014555103.JPEG)
แนวเขื่อนสลายกำลังคลื่น (ภาพจาก สกว.)
       
       โครงสร้างดังกล่าวจะต่างจากเขื่อนทั่วไปที่มีโครงสร้างแบบปิดทึบที่กั้นไม่ให้คลื่นลอดผ่านได้ คือ เขื่อนสลายกำลังคลื่นเมื่อคลื่นพัดเข้ามาจะถูกเฉือนออกเป็น 2 ข้าง และสะท้อนไปสะท้อนมาตามแนวเสาที่วางไว้ จึงถือเป็นการสลายกำลังคลื่นทะเลไปได้โดยปริยาย
       
       ขณะที่ตะกอนดินที่มากับคลื่นจะถูกกักเก็บไว้โดยโครงสร้างคอนกรีตรูปบูมเมอแรง ไม่ให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดตะกอนออกสู่ทะเลอีกครั้ง จากนั้นเมื่อตะกอนดินมากพอก็นำต้นโกงกางมาปลูกเป็นแนวป่าชายเลนผืนใหม่ต่อไป
       
       ส่วนผลของการใช้งาน “ขุนสมุทรจีน 49 A2” รศ.ดร.ธนวัฒน์ เผยว่า เบื้องต้นได้ผลค่อนข้างดีแม้จะได้ก่อสร้างเสร็จไปเพียงครึ่งเดียวของโครงการ แต่ก็เห็นผลแล้วว่าสามารถลดการกัดเซาะชายฝั่งในอัตรา 25 เมตร/ปีลงได้เกือบ 100% ป่าชายเลนที่เคยล้มด้วยแรงคลื่นซัดเป็นแถบๆ ก็หมดไป
       
       พร้อมกันนี้ยังเกิดตะกอนดินใหม่เพิ่ม 40 ซ.ม./ปี แถมยังได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาและภาคเอกชนร่วมปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ดังกล่าวด้วย เชื่อว่าจะทำให้เกิดป่าชายเลนเพิ่มขึ้นออกไปจากชายฝั่งเดิม 500 เมตรอย่างแน่นอน

(http://pics.manager.co.th/Images/550000014555104.JPEG)
(ภาพจาก www.bkknews.net)
       
       “นอกจากนั้น จากการสังเกตการณ์ของชาวบ้านเองยังพบด้วยว่าคลื่นใหญ่ๆ ที่เคยเข้ามาสูง 3 เมตร ตอนนี้เหลือเพียงเมตรเดียว และเมื่อคลื่นใหญ่ๆ หรือพายุเข้ามา ชาวประมงยังใช้เขื่อนนี้หลบพายุหรือคลื่นได้ด้วย” รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าว โดยสิ่งก่อสร้างซึ่งกล่าวได้อย่างเต็มปากว่าประสบความสำเร็จชิ้นนี้เริ่มเป็นที่สนใจจากสื่อมวลชนในประเทศและต่างประเทศแล้วเมื่อกลางปี 2550 เป็นต้นมา
       
       ส่วนความเป็นไปได้ที่จะนำเขื่อนสลายกำลังคลื่นมาใช้กับพื้นที่ชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยตอนบนจุดอื่นๆ นั้น รศ.ดร.ธนวัฒน์ คาดว่า เป็นไปได้แน่นอน โดยจะใช้งบประมาณราว 5,000 ล้านบาทจึงจะครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด
       
       อย่างไรก็ตามถือว่าคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับกลับมา โดยเฉพาะป่าชายเลนประมาณ 38,000 ไร่ตลอดแนวชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนที่จะนำความอุดมสมบูรณ์กลับคืนสู่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน และเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผืนใหญ่ของประเทศ ที่จะขายเป็นคาร์บอนเครดิตตามที่ระบุไว้ในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ได้ถึง 270,000 ตันคาร์บอน/ปี หรือคิดเป็นมูลค่าเข้าสู่ประเทศกว่า 33,000,000 -48,000,000 บาท
       
       ขณะเดียวกัน รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ทีมวิจัยยังได้พัฒนาเขื่อนสลายกำลังคลื่นต่อเนื่องไปสู่การเป็น “เขื่อนเขียว” ด้วย โดยเขื่อนเขียวจะมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคต ซึ่งหากไม่มีการป้องกันแล้ว พื้นที่กรุงเทพฯ ในอนาคตอาจหายไปครึ่งหนึ่ง
       
       สำหรับเขื่อนเขียวจะเป็นการสร้างเขื่อนแบบ 2 ชั้นที่มีป่าชายเลนและเขื่อนสลายกำลังคลื่นรุ่นแรกยื่นลงไปในทะเล และมีเขื่อนกั้นระดับน้ำทะเลไม่ให้ท่วมเมืองติดชายฝั่งเดิมอีกแห่งหนึ่ง คาดว่าจะมีการก่อสร้างนำร่องที่เขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู จ.สมุทรปราการในเร็วๆ นี้
       
       (ผู้สนใจสามารถชมรายละเอียดของงานวิจัยชิ้นนี้เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ สกว. ตามลิงก์ www.trf.or.th/News/Content.asp?Art_ID=811)



จาก             :             ผู้จัดการออนไลน์   วันที่ 4  พฤศจิกายน  2550


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ พฤศจิกายน 05, 2007, 01:15:33 AM
เรือหางยาวคณะอ.จุฬาฯล่มกลางคลองตาเพิ่มดับ 3 ศพ

       เรือหางยาวพาคณะ อ.จุฬาฯ พร้อมชาวต่างชาติ เกือบ 40 ชีวิต ดูงานเขื่อนสลายคลื่น ขากลับเรือครูดเสาไฟฟ้ากลางคลองตาเพิ่ม เกิดรูรั่วล่มกลางคลอง ดับ 3 ศพ
       
       วันนี้(4 พ.ย.)เมื่อเวลา 16.30 น.พ.ต.ต.จักรพงษ์ ขุนพรหม สารวัตรเวร สภ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ รับแจ้งเหตุเรือหางยาวชนตอเสาไฟกลางคลองตาเพิ่ม หมู่ 7 ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ จึงรุดไปตรวจสอบพร้อมด้วย พ.ต.ท.จิโรจน์ สุวรรณกูล รอง ผกก.ป.สภ.พระสมุทรเจดีย์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู
       
       ที่เกิดเหตุอยู่ห่างจากท่าเรือคลองตาเพิ่ม -บ้านขุนสมุทรจีน ไปประมาณ 3 กิโลเมตร พบเรือหางยาวโดยสารขนาดใหญ่ 40 ที่นั่ง ชื่อเรือโชคเจริญวัฒนา จมอยู่กลางคลอง มีผู้สูญหายไปในน้ำจำนวน 3 คน ประกอบด้วย น.ส.นงนุช ไพบูลย์ อายุ 24 ปี นายวิมาน เวชกุล อายุ 36 ปี และ นายคายาโต้ ไม่ทราบนามสกุล เป็นชาวอินโดนีเซีย
       
       จากการสอบสวนทราบ ว่า ก่อนเกิดเหตุ เมื่อเวลา 12.00 น.เรือลำดังกล่าวได้รับคณะของ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล   อาจารย์หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกจากท่าเรือดังกล่าวไปดูเขื่อนสลายคลื่น เอ 2 ที่ ดร. ธนวัฒน์ เป็นเจ้าของโครงการเชิงปฏิบัติการน้ำเซาะชายฝั่ง เพื่อเป็นกรณีศึกษา โดยผู้ร่วมคณะมีทั้ง 37 คน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ มาจากประเทศ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเวียดนาม
       
       หลังจากการดูงานแล้วเสร็จเมื่อเวลา 16.00 น. ก็ได้นั่งโดยสารเรือลำเดิมเพื่อกลับมายังท่าเรือคลองตาเพิ่ม ปรากฏว่า ขณะนั้นเป็นช่วงน้ำลด ประกอบกับมีเสาไฟฟ้าอยู่กลางคลอง ทำให้เรือครูดกับตอเสาไฟ ส่งผลให้ท้องเรือรั่ว และน้ำทะลักเข้ามาภายในลำเรือ ทำให้เรือค่อยๆ จมลง จากนั้นผู้โดยสารทั้งหมดได้พยายามว่ายน้ำหนีขึ้นฝั่ง
       
       อย่างไรก็ตามเวลาต่อมาทางตำรวจได้ประสานไปยังนักประดาน้ำของมูลนิธิร่วมกตัญญู ให้เดินทางมาช่วยค้นหาผู้สูญหาย กระทั่งเวลา 19.00 น. พบศพนายวิมานและนายคายาโต้จมอยู่ใต้น้ำ จึงได้ช่วยกันนำศพขึ้นมา ก่อนที่จะระดมกำลังค้นหาร่าง น.ส.นงนุช พบเป็นคนสุดท้าย

 :'(

สองสายขอแสดงความเสียใจต่อญาติมิตรของผู้วายชนม์ และขอดวงวิญญาณของผู้สูญเสียชีวิตทั้งสามท่านจงไปสู่สุขคติภพค่ะ สายชลเชื่อว่างานที่พวกท่านได้ร่วมกันสร้างไว้ จะทำให้แผ่นดินที่หายไปกลับคืนมาแน่นอนค่ะ.....


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มกราคม 16, 2008, 11:49:08 PM

กทม.ยัน “เขื่อนบางขุนเทียน”ขึ้นแน่ปีนี้  /  สรุปทำ"ที-กรอยน์"

              กทม.ย้ำชัดปีนี้สร้างแน่นอน ทำเป็นเขื่อนรูปตัวทียื่นในทะเลลดแรงคลื่นและดักตะกอน ระบุที่ตัดสินใจช้าเพราะธรรมชาติละเอียดอ่อนต้องรอบคอบ รองผู้ว่าฯ บรรณโศภิษฐ์เผย ในหลวงทรงกำชับให้ศึกษาแนวทางดักตะกอนด้วยวิธีธรรมชาติอีกทาง

                นางบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าฯกทม.เปิดเผยถึงความคืบหน้าล่าสุดโครงการแก้ไขปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียนชายทะเลว่า ภายหลังจากที่คณะศึกษาลงสำรวจพื้นที่พร้อมประชุมชาวบ้านในพื้นที่ครั้งล่าสุดช่วงเดือนธ.ค.ที่ผ่านมาถึงแนวทางสร้างเขื่อนกันคลื่นที่เหมาะสมไปแล้วนั้น ล่าสุดคณะผู้บริหารได้อนุมัติให้เตรียมก่อสร้างเขื่อนแล้วภายในปีงบฯนี้ ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนเตรียมการ ซึ่งกทม.ถือว่าปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องที่ควรแก้ไขเร่งด่วน แม้การดำเนินการอาจจะไม่แล้วเสร็จในช่วงคณะผู้บริหารสมัยนี้ก็ตาม               

             ทั้งนี้ รูปแบบของเขื่อนที่จะสร้างนั้นจะเป็นเขื่อนรูปตัวทีหรือ ที-กรอยน์ (T-Groin) ยื่นออกไปในทะเลตลอดแนวชายฝั่ง ซึ่งจะช่วยลดแรงคลื่นและดักตะกอนไปในตัวด้วย โดยคาดว่าจะสร้างให้แกนหลักหรือขาของตัวทีเป็นแบบถาวร ส่วนแขนของตัวทีด้านบนจะสร้างให้สามารถหันรับกับทิศทางของคลื่นที่เปลี่ยนไปได้ และจะสร้างด้วยงบฯของกทม.พร้อมกับชักชวนให้พื้นที่ชายฝั่งใกล้เคียงอีก 2 จังหวัดคือ สมุทรสาคร สมุทรปราการ ร่วมกันสร้างในโครงการเดียวกันนี้ด้วย               

                สำหรับปัญหาความล่าช้าในการตัดสินใจของคณะผู้บริหารนั้น รองผู้ว่าฯกทม.ระบุว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากความจำเป็นที่ต้องศึกษาวิธีแก้ปัญหาให้สมบูรณ์ที่สุด เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากความพยายามแก้ไขปัญหาทางธรรมชาติ ซึ่งถ้าหากแก้ผิดที่หรือผิดวิธีก็อาจทำให้เกิดปัญหากับที่อื่นหรือข้างเคียงได้             

               “แม้ที่ผ่านมา เขตบางขุนเทียนและกทม.จะได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านเข้ามาตลอดก็ตาม แต่ด้วยสาเหตุหลายประการทำให้อาจต้องใช้เวลาบ้าง เช่น ที่ผ่านมายังมีการตัดถนนเข้าสู่พื้นที่ชายทะเลบางขุนเทียนซึ่งยังไม่เรียบร้อย ทำให้ไม่สามารถก่อสร้างได้โดยสะดวก ก็ถือเป็นสาเหตุหลักอีกสาเหตุหนึ่งเช่นกัน”

                รองผู้ว่าฯกล่าวอีกว่า แม้ถนนตัดใหม่นี้จะสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ยังกังวลว่าหากไม่มีการทดสอบการรับน้ำหนักของพื้นผิวถนนเสียก่อน การบรรทุกของหนักเพื่อนำไปสร้างเขื่อนอาจทำให้ถนนเสียหายเร็วยิ่งขึ้นเกิดเป็นปัญหาเพิ่ม จึงต้องทำอย่างระมัดระวังและรอบคอบที่สุด

                อย่างไรก็ตาม เมื่อครั้งที่คณะผู้บริหารได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายรายงานการแก้ปัญหาภายในเขตกทม. ได้ตรัสถามถึงปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งตลอดจนการแก้ปัญหาว่าคืบหน้าเป็นอย่างไรบ้างแล้ว โดยคณะผู้บริหารกทม.ได้กราบทูลว่ากำลังจะให้ธนาคารโลก เข้ามาตรวจสอบความเสียหายและให้คำปรึกษา ซึ่งทรงแนะนำว่าไม่จำเป็นเพราะเราสามารถศึกษาด้วยตนเองได้ เช่น การสำรวจรอบๆ บริเวณอ่าวไทยโดยรอบว่ามีลักษณะการไหลเวียนของกระแสน้ำและตะกอนอย่างไร

                นอกจากนี้ ยังทรงแนะนำให้ศึกษากระบวนการการเกิดสันดอนปากแม่น้ำด้วยว่า ตามธรรมชาติสันดอนจะเกิดได้ด้วยเหตุผลใดบ้าง เนื่องจากที่ผ่านมาได้ขุดสันดอนเพื่อกิจการเดินเรือมานาน รวมไปถึงวิธีบริหารจัดการน้ำ การระบายน้ำ และการผันน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม แต่กลับทำให้ตะกอนในร่องน้ำไม่สามารถไหลมารวมกันเกิดเป็นสันดอนได้ ส่งผลให้สภาพชายฝั่งเปลี่ยนแปลงไปดังที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้



จาก                         :                       สยามรัฐ   วันที่ 17 มกราคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กุมภาพันธ์ 13, 2008, 12:40:30 AM

แก้นํ้ากัดเซาะชายทะเลใช้ 300 ล.ทำรอดักทราย

นายพิชัย ไชยพจน์พานิช รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) แจ้งถึงความคืบหน้าโครงการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนว่า หลังจากที่ กทม.ได้มีการประชุมร่วมกับนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน เพื่อหาข้อสรุปการแก้ปัญหานั้น ล่าสุดทาง บ.ปัญญา คอนซัลแตนท์ ได้สรุปผลการศึกษาออกมาแล้ว โดยยังคงเสนอให้ก่อสร้างรอดักทราย (Groin) รูปตัวทีตั้งขนานตลอดแนวชายฝั่ง โดยระบุว่าคลื่นบริเวณบางขุนเทียนเป็นคลื่นซัดเข้าหาฝั่งในแนวขนานหรือเฉียงเข้าหาชายฝั่ง ซึ่งนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญต่างก็เห็นด้วยกับวิธีการดังกล่าว ดังนั้นสำนักผังเมืองจะสรุปผลการศึกษาทั้งหมด เสนอคณะผู้บริหารในสัปดาห์หน้า เพื่อขอความเห็นชอบและอนุมัติงบประมาณ เบื้องต้นคาดว่าจะใช้ประมาณ 300 ล้านบาท ทั้งนี้จะเริ่มติดตั้งแต่บริเวณคลองขุนราชวินิจฉัยไปจนถึงคลองบางเสาธงโดยรอดักทรายแต่ละตัวจะอยู่ห่างกัน 500 เมตร ซึ่งวิธีการดังกล่าวนอกจากจะช่วยลดกำลังของคลื่นที่จะซัดเข้ามา รวมทั้งป้องกันการกัดเซาะของชายฝั่งที่เหลือน้อยแล้ว ที่สำคัญยังช่วยกักดินตะกอนที่พัดเข้ามา ซึ่งจะทำให้ กทม.สามารถปลูกป่าโกงกางเพิ่มเติมบนดินตะกอนดังกล่าวด้วย

ด้านนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ตนเตรียมจะเสนอรัฐบาลชุดใหม่เพื่อขอตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง 3 จังหวัด คือ กทม. สมุทรปราการและสมุทรสาคร เพื่อให้การแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพมากขึ้น.



จาก                :                เดลินิวส์  วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2008, 01:07:30 AM

ใช้ T-Groin แก้ชายฝั่งบางขุนเทียนถูกกัดเซาะ

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน ซึ่งทาง กทม.ได้หารือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คณะบริษัทที่ปรึกษาได้เสนอ 5 ทางเลือกในการแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน และจากผลการศึกษาแบบจำลองประกอบกับผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญจึงได้เสนอให้ใช้ทางเลือกที่ 2 คือ การสร้างรอดักตะกอน หรือกรอยน์รูปตัวที (T-Groin) ความยาวประมาณ 200 เมตร หัวทียาว 200 เมตร

โดยสร้างตั้งฉากกับแนวชายฝั่ง ห่างกันทุกๆ 500 เมตร ตลอดแนวชายฝั่งรวม 10 ตัว เพื่อให้เกิดการงอกของดินเพิ่มขึ้นในระยะยาวจะได้ที่ดิน 200 เมตร เพื่อปลูกป่าเพิ่มเติมในอนาคต ซึ่งเป็นแบบที่ทำให้เกิดเสถียรภาพของชายฝั่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนแต่ในระยะการก่อสร้างอาจจะกระทบต่อการประกอบอาชีพประมง งบประมาณ 316 ล้านบาท ดังนั้น กทม.จะเสนอของบประมาณกลางปีจำนวน 316 ล้านบาท โดยปีแรกจะต้องใช้งบประมาณ 158 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างภายใน 4 เดือนนี้ ทั้งนี้การก่อสร้างจะเริ่มจากแนวขนานชายฝั่งก่อนให้มีระยะห่างจากแนวชายฝั่ง 1-2 เมตร

ทั้งนี้ หลังจากการก่อสร้าง 3 ปี จะมีการตกตะกอนก็จะมีการปลูกป่าชายเลนจำนวน 550 ไร่ ภายใน 6 ปี ขณะนี้สำนักระบายน้ำได้สำรวจพื้นที่แล้วสามารถเริ่มปลูกป่าชายเลนในระยะแรกได้เลย ส่วนระยะที่ 2-3 จะปลูกหลังจากที่มีการตกตะกอนของน้ำแล้ว ส่วนการทำงานร่วมกับพื้นที่ใกล้เคียง คือ จ.สมุทรปราการ จ.สมุทรสาคร จะมีการประสานงานผ่านกระทรวงมหาดไทยต่อไป อย่างไรก็ตามการตัดสินในเรื่องที่จะดำเนินการเรื่องนี้ในช่วงนี้ไม่เกี่ยวกับอะไรทั้งนั้น แต่เรื่องไหนที่มีความพร้อมก็จะดำเนินการทันทีไม่ควรจะรอ



จาก                :                บ้านเมือง  วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มีนาคม 09, 2008, 12:50:56 AM

ความซวยที่ขุนสมุทรจีน                         โดย ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2008/03/way03090351p1.jpg)
น้ำทะเลขึ้นมาถึงที่วัดบ้านขุนสมุทรจีน
 
"อาจารย์ว่า เราจะแก้ปัญหายังไงดีคะ?" ผู้ใหญ่สมรแห่งบ้านขุนสมุทรจีนถามผมด้วยน้ำเสียงจริงจัง

"ชาวบ้านซวยครับ คิดว่ารับกรรมไปเถอะ" ผมตอบด้วยน้ำเสียงเอื่อยเฉื่อย ด้วยกำลังสนใจกับสิ่งที่เราค้นพบ ไข่ปลาพวงพีอยู่ในท้องปลากระบอกทอด บนจานที่ผู้ใหญ่ยกมาเลี้ยงผม

ผู้ใหญ่ทำตาโต ทำท่าเหมือนจะยกจานปลากลับครัว ไม่เลี้ยงผู้ชายใจหินคนนี้แล้ว ผมจึงรีบเปลี่ยนคำพูดให้จริงจัง ผู้ใหญ่อยากรู้สาเหตุของความซวยหรือครับ วางจานปลาไว้ที่เดิม แล้วตั้งใจฟังให้ดีนะครับ

ความซวยอันดับแรก เกิดจากการสร้างเขื่อนแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผู้ใหญ่รู้ไหมเอ่ย เขื่อนที่อยู่ในตาก อยู่ในเจ้าพระยา ทำให้ตะกอนที่เคยไหลลงมากับแม่น้ำ หายไปตั้งร้อยละ 75 ธรรมชาติเค้ามีสมดุลอยู่แล้ว แผ่นดินตั้งแต่แม่กลองจรดบางปะกง เป็นดินดอนปากแม่น้ำ มีทั้งหยินทั้งหยาง บ้างถูกกัดซัดไป ตะกอนใหม่จากแม่น้ำก็มาตกทับถมแทน

เมื่อจู่ๆ เราไปหยุดตะกอน สมดุลย่อมเปลี่ยนไป ตะกอนมาใหม่มีน้อยกว่าดินที่ถูกกัดเซาะไป เห็นไหมซวยแท้ๆ

อันดับสอง ป่าชายเลนที่เคยมีหนาแน่น กินพื้นที่กว้างคลุมดินแดนปากแม่น้ำทั้งสี่ จากบางปะกงจรดแม่กลอง จู่ๆ ก็หายไปกลายเป็นนากุ้ง ตั้งแต่ พ.ศ.2523 เราเลี้ยงกุ้งกระจาย เพราะอยากได้ตังค์เยอะๆ ป่าชายเลนก็กระจายตาม แล้วอะไรเอ่ยจะมาหยุดความแรงของคลื่น มาคอยช่วยดักตะกอน ทั้งรากโกงกางรากแสม ลดพลังทะเลได้เท่าไหร่ เราไม่สน...เราตัด

อันดับสาม การพัฒนา โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ทำกันใหญ่โต เมื่อมีโรงงานย่อมต้องการน้ำ อะไรจะเหมาะกว่าน้ำบาดาลไม่มีเสียหรอก เราดูดเลยดูดจ๊วบๆ น้ำบาดาลร่อยหรอไป ดินก็ยุบ ของมันเห็นอยู่ชัดๆ แผ่นดินก็จมลงๆ ในอดีตจมเร็ว เดี๋ยวนี้มีกฎหมายดูแล แต่ก็ยังจมอย่างช้า ๆ ปีละ 4-5 เซนติเมตร

อันดับสุดท้าย โลกร้อน แม้ประเด็นระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ยังเป็นที่กังขา แต่ส่วนใหญ่เชื่อว่าสูงขึ้นนะ แม้ตัวเลขอาจไม่ดุดัน แต่อีกปัญหาที่ซ่อนอยู่คือฝนฟ้าแปรปรวน พายุรุนแรงมีมากขึ้น และเจ้าพายุนี่แหละตัวลุยชายฝั่ง
 
(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2008/03/way03090351p2.jpg)

ในอ่าวไทยจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เป็นหลัก เข้าเดือนพฤษภาคม เรื่อยไปจนถึงเดือนตุลาคม หรือในช่วงหน้าฝนของคนไทย ลมจะพาคลื่นมาสู่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ตามปกติก็เป็นประเภทน้ำเซาะดิน ไม่ตูมตาม แต่ถ้ามีพายุใหญ่เข้ามา เช่น ลินดา ขนุน แผ่นดินจะบ๋ายบายไปพร้อมกัน แม้แต่ภาพหากินของผู้ใหญ่ คลื่นชนวัดตูมๆ ภาพนั้นก็ถ่ายตอนมีพายุใช่ไหมเอ่ย

เมื่อแจกแจงสาเหตุทั้งหมด ผู้ใหญ่จะเห็นเลย ชาวบ้านไม่ได้สร้างเขื่อน ไม่ได้ต้องการเขื่อนแถวนี้ด้วยซ้ำ เพราะหากินกับทะเล ไม่ได้ทำนา หรือทำก็นาเกลือ จะเอาน้ำไปทำไม ไฟฟ้าก็ใช้แค่เนี้ย แอร์ไม่ต้องเปิด ลมจากทะเลพัดฉิวๆ อยู่แล้ว

ชาวบ้านอาจตัดป่าชายเลนบ้าง เอาไม้ไปเผาฟืน ไปทำบ้านทำโพงพาง แต่ตัวการป่าหมดคือนายทุนเลี้ยงกุ้ง ใช่ชาวบ้านที่ไหน แล้วก็...ชาวบ้านไปเกี่ยวอะไรกับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดยักษ์ ชาวบ้านขับรถใช้น้ำมันเปลืองหรือเปล่า ชาวบ้านเป็นตัวการสำคัญทำให้โลกร้อนหรือไม่? เปล่าๆๆ ทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น คำตอบเดียวที่ผมคิดออก คือ ชาวบ้านรับกรรมที่พวกเขาไม่ได้ก่อ โบราณเรียกว่า "ซวย"

ผมอธิบายจบ พร้อมกับจิ้มปลากระบอกตัวนั้นมาไว้ในจาน เพื่อป้องกันคนอื่นแย่ง ระหว่างที่ผู้ใหญ่ทำท่าขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน ไม่ใช่แกหวงปลา แต่เป็นเพราะแกเพิ่งได้รับคำตอบที่แกไม่คิดว่าจะได้ จากนักวิชาการที่แกติดตามผลงาน

เมื่อผมแหวะท้อง พบว่าปลาตัวนี้มีไข่ยาวจริง สองพวงด้วยล่ะ ท่าทางสดมาก จึงเอาใจผู้ใหญ่แกอีกนิด เผื่อแกจะหาปลาอย่างนี้ใส่ถุง (ผ้า) ให้ผมกลับไปทอดกินเองที่บ้าน ผมจึงแถมให้อีกหนึ่งคำตอบ ทั้งที่แกไม่ได้ถาม

จากประสบการณ์ผ่านมา ผมพอบอกได้ว่า คนเราเมื่อซวยแล้ว จะซวยซ้ำซวยซ้อน นอกจากโดนทะเลถล่มจนต้องย้ายบ้านไม่รู้กี่ครั้ง ลูกบ้านก็กระเซ็นกระสายหายหมด วัดก็ถูกทะเลล้อมไว้ แกยังต้องซวยเพราะถูกใช้เป็นเครื่องมือดูดงบฯ หมู่บ้านนี้กำลังดัง มีโครงการมาลงเพียบ แต่ลงแบบไหน เรื่องต่อไปนี้โปรดใช้วิจารณญาณ

แน่นอนว่า โครงการที่หวังดีก็มีมาก เช่น การไฟฟ้านครหลวง เข้ามาช่วยบริจาคเสาไฟฟ้าป้องกันคลื่น แต่เช่นกัน มีบ้างที่ทำอะไรแปลกๆ เราช่วยเหลือได้ แต่เราต้องมีเถ้าแก่มีเอี่ยวด้วย เช่น ถุงทราย กำแพงยักษ์กั้นคลื่น ชาวบ้านอาจอยากได้ต้นโกงกางมาปลูกเพื่อชะลอแรงน้ำช่วยดักตะกอน แต่เถ้าแก่ไม่ได้รับเหมาปลูกโกงกางหรือขายกล้าโกงกาง เถ้าแก่ขายปูนรับเหมาสร้างเขื่อน การแก้ไขปัญหาทำได้ แต่หลายทีต้องเกี่ยวกับเถ้าแก่

ผู้ใหญ่อมยิ้ม ผมเชื่อว่า แกคงมีประสบการณ์เช่นนี้เหมือนกัน เราไม่ควรสอนหนังสือสังฆราช เราควรกินปลากระบอกต่อไป

"แล้วพวกชาวบ้านควรทำยังไงดีคะ นักวิชาการก็มาบอกปัญหา หาทางแก้ได้นิดหน่อย แต่คนกรุงเทพฯเค้าไม่เคยรู้สึกเลยหรือว่า บ้านขุนสมุทรจีนคือด่านหน้า กรุงเทพฯอยู่เบื้องหลัง หากด่านหน้าพัง กรุงเทพฯจะอยู่ได้ไง"

ผมหัวเราะจนปลาแทบติดคอ ผู้ใหญ่ครับ อดีตสอนเรามายังไง เมืองพิษณุโลกโดนพม่าล้อม อยุธยายังไม่ส่งกองทัพไป จนเมืองกลายเป็นของพม่า จากนั้นกรุงศรีก็แตก แต่บทเรียนเกิดมานานแล้ว เราลืมหมด ปัจจุบัน เราต้องเพ่งความสนใจไปที่ดาราคู่ไหนจะเตียงหัก ไว้รออีกสี่สิบปี น้ำท่วมทองหล่อเมื่อไหร่ เค้าคงสนใจมั้งครับ

คุณภูริ พระเอกสุดหล่อ พิธีกรผู้เชิญผมมาร่วมรายการ View Finder เริ่มทำหน้าทะแม่ง คงรู้สึกอิจฉาปลากระบอกในจานผม หรือไม่ก็คิดว่า เราเชิญคนผิดแล้วนี่นา จะกลับตัวกลับใจก็สายเสียแล้ว คุณภูริจึงตั้งคำถาม "แล้วเราจะช่วยชาวบ้านได้ไงครับ"

"เราควรอายบ้างค่ะ ชาวบ้านเค้าไม่ได้ทำ แต่เราทำ คนกรุงเทพฯทำทั้งนั้น" คุณแอน อลิชา อีกหนึ่งพิธีกรคู่ขวัญ เสนอความเห็นมาบ้าง

"ถูกต้องแล้วคร้าบ" ผมยิ้มให้คุณแอน เราสร้างกรรม ชาวบ้านรับกรรม ใครเค้าจะมารับกรรมเราได้ตลอดไป โลกร้อนทำฟ้าเปลี่ยนทะเลแปร น้ำจะท่วมกรุง เราก็สร้างทำนบกั้นให้เรารอด แล้วชาวบ้านรอบกรุงจะทนจมน้ำอีกนานแค่ไหน ชาวบ้านแหลมฟ้าผ่าจะต้องย้ายบ้านอีกกี่หน แล้วใครจะทนรับกรรมร่ำไป?

ผมเลื่อนจานข้าวที่หมดแล้วออกไป ก่อนอมยิ้มให้ผู้ใหญ่ "หากผู้ใหญ่รอให้ภาครัฐมาช่วย ผมรับรองว่า ผู้ใหญ่จะได้ย้ายบ้านอีกภายในไม่ช้า ผู้บริหารบ้านเมืองเราเค้าคิดแต่ Mega & Fast Project ประเภทช้าๆ แต่เห็นผลหลังจากเราออกจากตำแหน่งไปแล้ว เค้าไม่ทำหรอก จะไปหวังกับท่านอธิบดี ท่านปลัด ตำแหน่งท่านยังโดนเซาะอยู่ทุกวัน ต้นโกงกางไม่ได้มาเพราะเราขอ ต้นโกงกางเกิดเพราะเราปลูก"

ผมทราบดีว่า ชาวบ้านแถบนี้เข้าใจและช่วยกัน เราก็ต้องช่วยกันต่อไป อย่างน้อยสิ่งที่เกิดขึ้นที่นี่ ก็เป็นตัวอย่างให้คนบ้านอื่นเห็น ถ้าผู้ใหญ่และลูกบ้านขุนสมุทรจีนไม่ยอมแพ้แม้จะซวย ผมเชื่อว่า คนพันคนหมื่นคน อย่างน้อยคนสองคนก็ต้องอยากช่วยผู้ใหญ่ ประหยัดพลังงาน ลดขยะบรรเทาภาวะโลกร้อน

อย่างน้อยก็ยังมีคนกรุงเทพฯที่ละอายและอยากรับผิดชอบต่อสิ่งที่พวกเขาพวกเธอกระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขอเพียงให้เขาเธอเหล่านั้นได้รู้

ใช่ไหมครับ...คุณผู้อ่าน

หมายเหตุ - รายละเอียดบ้านขุนสมุทรจีน เส้นทางไปชมวัดกลางน้ำ ไปเห็นความซวยของชาวบ้าน เชิญคลิก www.khunsamut.com ใครอยากทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน ติดต่อผู้ใหญ่สมร เข่งสมุทร 0-2819-5296 โดยเฉพาะโรงเรียนต่างๆ น่าพานักเรียนไปทัศนาจรดูกรุงเทพฯในอีกสามสิบปีข้างหน้าครับ



จาก                :                มติชน  วันที่ 9 มีนาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มีนาคม 23, 2008, 12:20:57 AM

สร้างดิน ฟื้นป่า เคารพภูมิปัญญา คนบางขุนเทียน

(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2008/03/way01230351p1.jpg)
นกกินปลาเรียงแถวกันจับจ้องปลาในท้องทะเล

 
คลื่นใหญ่ลูกแล้วลูกเล่าซัดชายฝั่งจนน้ำกระจายสูงกว่า 1 เมตร บวกกับลมที่ค่อนข้างแรง ทำให้ป่าโกงกางเอียงลู่อย่างเห็นได้ชัด คงเพราะว่าคลื่นลมจัดเช่นนี้ ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว มิเช่นนั้นป่าคงฟื้นตัวได้ทัน แต่นี่ลำต้นกลับเอียงกระเท่เร่ไปตามพลังของลมและคลื่น

ตลอดแนวชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนเกือบ 5 กิโลเมตร การกัดเซาะชายฝั่งยังคงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ท้องทะเลแห่งเดียวของกรุงเทพมหานครยังคงเกรี้ยวกราดอยู่ทุกเมื่อ ซึ่งในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาผืนแผ่นดินนับพันๆ ไร่ต้องถูกกลืนหายไป

บางช่วงของชายฝั่งมีแนวหินถมไว้เป็นระยะๆ สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามต่อสู้กับธรรมชาติ ขณะที่กำแพงไม้ไผ่เรียงรายเป็นแนวยาว 1 กิโลเมตร ซึ่งเพิ่งทำขึ้นมาใหม่เป็นเสมือนแนวต้านทานชุดล่าสุดที่ชาวบ้านพยายามลดทอนความเสียหายที่เกิดขึ้น

ฝูงปลากระบอกต่างแตกตื่นพากันกระโดดขึ้นเหนือผิวน้ำเมื่อเรือแล่นเฉียด ขณะที่นกกินปลานานาพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นนกกาน้ำ นกกระยาง นกนางนวล ต่างบินโฉบเฉี่ยวไปมาใกล้ๆ เรือประมงขนาดเล็กที่กำลังไสเคย สะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ แม้จะถูกกระทำสารพัด

ท้องทะเลและป่าชายเลนบางขุนเทียนยังเป็นเหมือนห้องครัวใหญ่สำหรับคนเมืองหลวง ในแต่ละวันสัตว์ทะเลหลากหลายชนิดถูกจัดส่งไปสู่ปากท้องของคนในเมืองอย่างไม่สิ้น

แต่จะมีคนในเมืองสักกี่คนที่รู้จักและลุกขึ้นมาปกป้องครัวแห่งนี้ในยามที่กำลังถูกคุกคามอย่างหนักทั้งจากฝีมือมนุษย์และการทวงคืนของธรรมชาติ

คนเมืองหลวงส่วนใหญ่รู้จักแค่เปลือก เห็นบางขุนเทียนเป็นแค่ทางเลือกหนึ่งของการท่องเที่ยวเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามเสียงประโคมที่ดังมาจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร แต่กลับไม่เข้าถึงหัวใจและคุณค่าของผืนป่าและท้องทะเลแห่งนี้อย่างแท้จริง

ทะเลบางขุนเทียนอยู่ใกล้ตาใกล้ตีน แต่ไกลใจคนกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ชาวบ้านในชุมชนป่าชายเลนยังคงวังเวง เพราะถูกกระหน่ำทั้งขึ้นทั้งร่อง

(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2008/03/way01230351p2.jpg)
เรือไสเคยกำลังทำหน้าที่ ส่วนด้านหลังเห็นแนวป่าที่เอนเอียงตามแรงคลื่นลม

กว่า 50 ปีแล้วที่ป้าปิ่นและลุงประสงค์ จินดาโฉม เข้ามาปักหลักทำมาหากินอยู่ริมทะเลบางขุนเทียน แรกทีเดียวแกยังชีพด้วยการจับปูแสมขาย แต่ความอุดมสมบูรณ์สมัยนั้น กุ้งหอยปูปลาเต็มไปหมด ทั้งคู่จึงมีทางเลือกมากมายในการทำมาหากิน ต่อมาระยะหลังถึงได้ขยับขยายทำวังกุ้ง

"โอ้ย กุ้งสมัยนั้นเขาไม่ชั่งกิโลขายหรอก พอได้ทีเอามาตวงเป็นปีบเหมือนถังข้าวนั่นแหละ" ป้าปิ่นอดย้อนอดีตให้ลูกๆ หลานๆ ในชุมชนฟังไม่ได้

วันนี้ป้าปิ่นและลุงประสงค์พร้อมชาวบ้านกำลังหนักอกหนักใจเรื่องที่ผู้บริหารกรุงเทพมหานครแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งด้วยการไส้กรอกทราย (Sand Sausage) มาเป็นแนวกันคลื่น คนในชุมชนกว่า 20 คน เลยมานั่งประชุมหารือกัน

เทคโนโลยีใหม่ที่ผู้บริหารกรุงเทพฯว่าจ้างให้บริษัทเอกชนที่มักคุ้นกัน และเตรียมนำมาลงทะเลบางขุนเทียนนั้น มีมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ซึ่งบริษัทเอกชนรายได้สร้างไส้กรอกทรายไปแล้วที่ทะเลคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ และทะเลมหาชัยซึ่งอยู่ติดกับบางขุนเทียน

"เราไปเห็นของคลองด่านมาแล้ว ตอนนี้ทรุดลงแถมยังมีทรายรั่วออกมา" ชาวบ้านเล่าประสบการณ์การดูงาน "ลมแรงๆ แบบนี้ เดี๋ยวไม้ก็ทิ่มทะลุ" ไม้ที่เขาพูดถึงคือหลักหอยแมลงภู่ที่ปักอยู่ดาดเดื่อนท้องทะเลบางขุนเทียน

"ลูกกุ้งลูกปูมันกินเลน จะให้มันกินทรายได้อย่างงัย" ป้าปิ่นว่าตามประสบการณ์ เพราะหากไส้กรอกทรายรั่วเมื่อใด ทรายจำนวนมหาศาลจะไหลปะปนกับท้องเลนซึ่งเป็นระบบนิเวศสำคัญของธรรมชาติแหล่งนี้

ลุงประสงค์และป้าปิ่นใช้เวลากว่าค่อนชีวิตในการต่อสู้กับคลื่นลมเพื่อไม่ให้ผืนดินของตัวเองถูกทะเลกลืนกิน ทั้งคู่ได้เรียนรู้วิธีที่จะชะลอความเสียหาย แม้เข้าใจดีว่าไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้

(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2008/03/way01230351p3.jpg)
ป้าปิ่นและลุงประสงค์สองผู้อาวุโสแห่งบางขุนเทียน

"ลุงอยากให้เขาเปลี่ยนมาเป็นการใช้เสาไฟฟ้าปักเรียงแถวสลับกันไปมา วิธีนี้น่าจะได้ผลที่สุด ตะกอนต่างๆ จะมาตก ซึ่งถ้าใช้งบฯ 300 กว่าล้านนี้น่ะ เหลือเฟือเลย" ลุงประสงค์แสดงความเห็น ซึ่งตั้งแต่หนุ่มจนตอนนี้อายุ 74 ปี แกได้ลองผิดลองถูกมามาก

สาเหตุที่ลุงประสงค์และชาวบ้านเชื่อว่าการปักเสาเป็นแนวเป็นแนวยาวจะช่วยแก้ปัญหาการกัดเซาะได้ เพราะเรียนรู้ประสบการณ์จริง โดยสังเกตจากหลักไม้ที่ปักเลี้ยงหอยแมลงภู่ซึ่งมีตะกอนมาตกกองอยู่มาก เพราะหลักที่ปักนั้นนอกจากช่วยชะลอคลื่นบนผิวน้ำแล้ว ยังช่วยยึดตะกอนด้านล่างไม่ให้ปลิวไปตามคลื่นใต้น้ำ

เมื่อไม่กี่วันก่อนคนในชุมชนได้ช่วยกันปักหลักไม้ไผ่เป็นแนว ซึ่งทุกบ้านต่างร่วมไม้ร่วมมือกันเป็นอย่างดี แต่ทำได้ยาวเพียง 1 กิโลเมตร เพราะมีงบประมาณจำกัด ซึ่งชาวบ้านรู้ดีว่าหลักไม้ไผ่คงทนอยู่ไม่กี่ปี แต่มันช่วยบรรเทาได้บางช่วง บางเวลาก็ยังดี

ความหวังของชาวบ้านคืออยากเปลี่ยนจากหลักไม้เป็นหลักปูน แต่ข้อเรียกร้องและภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่เคยได้รับการใส่ใจจากภาครัฐเลย โดยเฉพาะผู้บริหาร กทม.

คนโน้นก็บอกจะสร้างนี่ คนนี้ก็บอกจะสร้างนั่น พูดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ยันรุ่นหลานแล้ว แต่ยังไม่เห็นสร้างอะไรสักที จนพื้นที่ของ กทม.หายไปกว่า 1,600 ไร่ เมื่อหลายปีก่อนแล้ว ตอนหลังชาวบ้านยังร่วมกันบริจาคให้อีก เพราะเขาบอกว่าจะสร้างสวนหย่อม สร้างแนวกันคลื่น แต่ทุกอย่างเงียบหาย" ชาวบ้านคนหนึ่งระบายความอัดอั้นตันใจ

"อยู่ที่นี่มาตั้งแต่เด็กจนเดี๋ยวนี้อายุ 79 ปีแล้ว ยังไม่เห็น กทม.ทำอะไรเลย" ป้าปิ่นเอาด้วย "แต่ไม่เป็นไร ป้าจะสู้ถึงอายุ 90 ปี" ป้าปิ่นเล่นมุขเรียกเสียงฮาครืนใหญ่ เพราะขนาดเดินมาร่วมประชุม แกยังต้องใช้ไม้เท้าและคนช่วยพยุง ส่วนคำว่า "สู้" ของแกนั้นหมายถึงสู้เพื่อชายฝั่งบางขุนเทียนมากกว่าจะไปสู้รบปรบมือกับใคร ซึ่งที่ผ่านมาแกขึ้นศาลาว่าการ กทม.จนโชกโชน

"ไม่มีใครขัดขวางหรอกที่จะมาสร้างแนวกันคลื่นให้บ้านเรา แต่เขาทำอะไรไม่เคยถามชาวบ้านสักคำ ถ้ามันดี ก็ดีไป แต่ถ้าไม่ดีก็เท่ากับมาซ้ำเติมกันอีก" ชาวบ้านอีกคนให้ความเห็น

"เดี๋ยวพวกดอกเตอร์ และใครต่อใครจะมาว่าเราอีก ถ้าไม้ไปทิ่มไส้กรอกทรายแตกก็จะมาพูดว่าชาวบ้านไม่รู้จักช่วยกันดูแล" ใครอีกคนหนึ่งรู้สึกเข็ด เพราะที่ผ่านมามีคนมากหน้าหลายตาเข้ามาเก็บข้อมูล แต่สุดท้ายชายฝั่งก็ค่อยๆ หมดไป

"นี่เดี๋ยวก็จะมาปลูกป่ากันอีก" มีคนเปิดประเด็นใหม่ ป่าที่เขาพูดถึงคือปลูกต้นโกงกาง ตามจุดต่างๆ แม้แต่ในวังกุ้งของชาวบ้านยังมีคนหวังดี ซึ่งกลายเป็นเรื่องฮามากสำหรับคนในชุมชน เพราะบางจุดปลูกได้ไม่กี่วันก็ถูกน้ำท่วมตายหมด เพียงแค่ได้ถ่ายภาพออกกล้องและทำตามกระแสแก้ปัญหาโลกร้อนทุกอย่างก็จบ

"ที่นี่แทนที่จะมาปลูกดินก่อน ดันไปปลูกป่า" เสียงหัวเราะดังขึ้นอีกครั้ง

สูตรท่องจำที่บอกว่าการปลูกป่าชายเลนจะช่วยเป็นแนวกันคลื่นซัดฝั่งได้ แต่ที่บางขุนเทียนได้พิสูจน์มาแล้ว ป่าเท่าไหร่ก็เอาไม่อยู่ วีธีของชาวบ้านคือต้องถมหินลงไปก่อน ปล่อยให้หอยนางรมและเพียงค่อยๆ มาจับ จนหินเกาะกันแน่น จึงค่อยปลูกป่าในแนวหลัง

สุดท้ายทุกคนเห็นตรงกันว่าจะทำหนังสือแสดงความคิดเห็นเหล่านี้ไปยังผู้บริหาร กทม. นอกจากนี้ ในวันที่ 1 เมษายนนี้ จะร่วมกันจัดงานเปิดป้ายโครงการปักไม้ไผ่ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้ชื่องานว่า "สร้างดิน ฟื้นป่า เคารพภูมิปัญญา คนบางขุนเทียน"

แต่ไม่รู้ว่าจะมีชาวเมืองหลวงกี่คนสนใจจิตวิญญาณของบางขุนเทียน




จาก                :                มติชน  โดย ภาสกร จำลองราช padsakorn@hotmail.com   วันที่ 9 มีนาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ พฤษภาคม 06, 2008, 01:43:43 AM

ไส้กรอกทรายไม่คืบ-หวั่นแผ่นดินหาย นักวิชาการแนะเปิดเวทีสร้างความเข้าใจ

จากกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) จะก่อสร้างแนวกันคลื่น หรือทีกรอย์ แบบไส้กรอกทราย บริเวณชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กทม. มูลค่า 316 ล้านบาท ป้องกันผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่ง โดยอ้างว่าเป็นแบบที่เหมาะสมแต่ชาวบางขุนเทียนออกมาคัดค้าน และเรียกร้องให้สร้างแบบเสาปูนแทนไส้กรอกทราย เพราะแข็งแรงทนทาน ดักตะกอนดินได้ และไม่ทำลายระบบนิเวศชายฝั่ง

วันที่ 5 พฤษภาคม นายสาทร ม่วงศิริ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตบางขุนเทียน กล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านกลุ่มรักษ์ทะเลบางขุนเทียน กำลังเคลื่อนไหวโดยการสร้างความรู้ความเข้าใจให้ชาวบ้านในเขตบางขุนเทียน กว่า 100 หลังคาเรือน เกี่ยวกับผลดีผลเสียของการสร้างแนวกันคลื่นแบบไส้กรอกทราย ข้อเรียกร้องของชาวบ้านยังคงยืนยันให้ กทม.ทบทวนการสร้างแนวกันคลื่นแบบไส้กรอกทรายเปลี่ยนเป็นการสร้างแบบเสาปูน ซึ่งจะมั่นคงแข็งแรงกว่า และสามารถดักตะกอนดินได้ดี หากเปรียบเทียบกับการปักแนวไม้ไผ่ที่ชาวบ้านปักไว้เป็นปีๆ ก็ทำให้เห็นว่าตะกอนดินหลังแนวไม้ไผ่ก็เพิ่มขึ้นมาก เรื่องนี้รอเวลาไม่ได้ เพราะแผ่นดินชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนถูกคลื่นลมมรสุมพัดพังทลายไปทุกวัน แต่ฝั่งของผู้บริหาร กทม.ก็เงียบมาก เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

นายสุรพล กฤษณามระ นักวิชาการอิสระ ในฐานะกรรมการกำกับการศึกษาผลกระทบโครงการก่อสร้างแนวกันคลื่น หรือที-กรอยน์ ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนในสมัยนั้น กล่าวว่า เมื่อมีเสียงติติงจากชาวบ้าน กทม.ก็น่าจะมีการทบทวนใหม่ ซึ่งทางเลือกที่ดีควรเปิดเวทีขึ้นมาพูดคุยสร้างความเข้าใจกันอย่างเปิดเผย เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม ควรจะเปิดเวทีใหม่ขึ้นมาพูดคุยกัน ขณะนี้ในฝั่งของชาวบ้านก็ใช้ภูมิปัญญาปักแนวไม้ไผ่เพื่อสลายกำลังคลื่น ซึ่งก็ได้ผลแต่ไม่ยั่งยืน ขณะเดียวกันหาก กทม. เห็นว่าการสร้างไส้กรอกทรายดี ก็น่าทดลองทำจำนวนไม่มากอาจจะลงทุนแค่ 10 ล้านบาท เพื่อศึกษาว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด ดีกว่าลงทุนทำทั้งหมด 316 ล้านบาท หากไม่ได้ผลก็เกิดความเสียหายและชาวบ้านก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร



จาก                :                มติชน  วันที่  6 พฤษภาคม พ.ศ. 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ พฤษภาคม 06, 2008, 08:53:57 AM

ได้ยินมาว่า....ไส้กรอกทรายที่นำทรายมาใส่ถุงแล้วนำไปทดลองทิ้งแถวทะเลบางขุนเทียน เกิดแตกขึ้นมา แล้วไปทำให้แหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลพากันล้มหายตายจากไปจากแหล่งที่อยู่อาศัยเดิม

ถ้าขนทรายมาหลายร้อยหลายพันตัน เกิดถุงแตกขึ้นมาคงวุ่นวายกันแน่ๆ.... :'(


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ พฤษภาคม 19, 2008, 12:57:55 AM

ไทยวิกฤติหาดทรายหาย  สร้างหินกันคลื่นรุกจับตาพัทยา
 
(http://www.komchadluek.net/2008/05/19/images/10913122low_copy.jpg)

เมืองท่องเที่ยววิกฤติ พื้นที่ชายหาดลดลง นาจอมเทียนหายหมด ส่วนพัทยาเหนือ-กลางเสี่ยงสูง สาเหตุจากสร้างแนวกันคลื่น เขื่อนทิ้งหิน จับตาพัทยา 30 ปีไม่มีชายหาด เตรียมดันแผนแม่บทป้องพื้นที่ชายหาด 23 จังหวัดชายทะเล ชาวบ้านโวยขอให้ภาครัฐยุติปลูกสร้างรุกล้ำธรรมชาติ

ปัญหาน้ำทะเลกินพื้นที่ชายหาดกำลังคุกคามเมืองท่องเที่ยวอย่างพัทยาอย่างหนัก โดยเฉพาะหาดนาจอมเทียนปัจจุบันแทบจะไม่มีชายหาดให้เห็นแล้ว และหากยังปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปมีผลการวิจัยชี้ว่า อีก 30 ปีข้างหน้าพัทยาอาจจะเหลือแต่ชื่อเท่านั้น

 นายวิโรจน์ ศรีพินิจ เจ้าของร้านทำป้ายโฆษณา วัย 59 ปี กล่าวว่า พื้นที่สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติและถนนสาธารณะวชิรปราการ แต่เดิมเป็นป่าชายเลน สมัยเป็นเด็กมาวิ่งเล่นเก็บหอยแครงกับเพื่อนๆ กระทั่งประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว ชาวบ้านและนักธุรกิจใน อ.เมือง จ.ชลบุรี อยากมีที่นั่งติดทะเลเหมือนบางแสนหรือพัทยา เลยทำโครงการเอาหินลูกรังมาถมทะเล แล้วทำเขื่อนกันลม-กันคลื่น เพื่อเป็นพื้นที่ตากอากาศให้ชาวบ้านมาเดินเล่น นั่งเล่น รวมถึงสร้างสนามฟุตบอลและสะพานเลียบชายฝั่ง ตอนนั้นยังไม่มีหลักวิชาการเรื่องสิ่งแวดล้อมว่าป่าชายเลนเป็นเสมือนปราการป้องกันภัยตามธรรมชาติ ส่วนตัวแล้วอยากให้มีการนำทรายขาวสะอาดมาถมใส่เพิ่มเติมเพื่อให้ประชาชนมาใช้พักผ่อน

 ด้านนายอิ๋น เจ้าของรถขายสินค้าที่ระลึกบนถนนชายหาดบางแสน วัย 53 ปี เล่าว่า เกิดที่บางแสนตั้งแต่ชายหาดยังเป็นทรายสีขาวสวย น้ำทะเลใส มีเรือประมงออกหาปลากระเบน ปลาสาก ปลากะพง ฯลฯ และที่ดินยังไม่แพงขนาดนี้ แต่ตอนนี้ไม่เหลืออะไรแล้วนอกจากหาดทรายดำๆ กองขยะแล้วก็ถนนที่ก่อสร้างจนทำให้พื้นที่หาดทรายลดลง หากเป็นไปได้อยากให้หน่วยงานท้องถิ่นไม่ต้องปรับปรุง หรือสร้างสิ่งก่อสร้างไปมากกว่านี้ อยากให้ปล่อยเป็นธรรมชาติ รักษาแค่ความสะอาดก็พอ เพราะเชื่อว่าที่หาดทรายดำก็เพราะขยะจากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นทุกวันนั่นเอง

 ไม่ต่างอะไรกับ "ลุงเช้า" เจ้าของเก้าอี้ผ้าใบสีสดประจำหาดนาจอมเทียนระบายปัญหาให้ฟังว่า ตอนนี้นักท่องเที่ยวเหลือน้อยลงเพราะ 2 สาเหตุคือ หาดทรายบางส่วนถูกปรับเป็นพื้นที่คอนกรีตยกระดับให้นั่งเล่น และพื้นที่ต้นมะพร้าวที่เป็นลานจอดรถธรรมชาติถูกปรับเป็นฟุตบาทหรือถนนเลียบชายหาดแทน ในอดีตนักท่องเที่ยวคนไทยจะขับรถมาจาก กทม.จอดรถใต้ต้นมะพร้าวแล้วก็มานั่งเก้าอี้ผ้าใบเป็นโต๊ะๆ เพื่อสั่งอาหารและเครื่องดื่มกิน แต่เมื่อพื้นที่หาดทรายถูกปรับเป็นทางเดินฟุตบาทก็ไม่เหลือพื้นที่จอดรถ นักท่องเที่ยวก็หายไปเกือบหมดไม่คึกคักเหมือนเดิม ส่วนฟุตบาทที่ทำก็ต้องปรับปรุงเรื่อยๆ เพราะน้ำทะเลและทรายกัดเซาะทำให้ทรุดตลอดเวลา

 "มนุษย์โกงธรรมชาติ หาดทรายถูกรุกราน พื้นที่นั่งเล่นบนชายหาดน้อยลง ตอนนี้ยังไม่มีพายุลูกยักษ์เข้ามา แต่เดาไว้เลยว่าถนนหรือสวนสาธารณะที่สร้างยื่นออกไปในหาดทรายนั้น ถ้าถูกพายุลูกใหญ่เหมือนพายุเกย์เมื่อปี 2543 หรือพายุลินดาตอนปี 2540 รับรองได้ว่าสิ่งก่อสร้างพวกนี้จะพังทลายลงทันที แต่ก่อนสร้างแค่ถนนยางมะตอยอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล ตอนน้ำขึ้นสูงสุดก็ไม่โดนถนน แต่ตอนนี้สิ่งก่อสร้างยื่นออกมาเรื่อยๆ และทำแบบไม่แข็งแรงกลัวว่าสักวันจะต้องเจอลมและมรสุมพัดเสียหาย อยากให้ปล่อยทุกอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องสร้างอะไรเพิ่มแล้ว ถ้าไม่มีสิ่งก่อสร้างก็ไม่มีการถูกทำลาย น้ำทะเลหรือลมพัดทรายมา ธรรมชาติก็พัดกลับไป ไม่มีอะไรสึกกร่อน" ลุงเช้ากล่าว

 ขณะที่นายพิเชษฐ์ อุทัยวัฒนานนท์ หัวหน้าสำนักการช่างเมืองพัทยา กล่าวว่า 30 ปีที่ผ่านมาน้ำทะเลและทรายกัดเซาะเข้าไปเกือบถึงพื้นที่ถนนริมชายหาด โดยเฉพาะปลายชายหาดแถวนาจอมเทียนกัดเซาะรุนแรงมาก จนฐานถนนเริ่มสึกกร่อนและทรุดลง โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงธันวาคม เวลาที่น้ำขึ้นสูงสุด แทบไม่เหลือพื้นที่ชายหาดให้เดิน เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้วมีโครงการปรับภูมิทัศน์ชายหาดพัทยาและนาจอมเทียน โดยเทปูนสร้างสวนสาธารณะเป็นที่นั่งเล่นให้ประชาชน แต่พื่นที่ช่วงที่เป็นหาดทรายก็ยังคงลดลงเรื่อยๆ ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าไม่ใช่เฉพาะชายฝั่งชลบุรีเท่านั้น แต่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่กัดเซาะชายฝั่งทั่วประเทศ ทั้งระยองและสมุทรปราการ จึงอยากเสนอให้รัฐบาลคิดหาวิธีแก้ไข โดยตั้งทีมงานศึกษาสภาพชายหาดที่มีการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว การลดลงของพื้นที่หาดทราย เพื่อหาวิธีป้องกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน

 "อยู่ที่นี่มานาน 30 ปี เป็นรุ่นบุกเบิกหาดจอมเทียน และเห็นชัดเจนเลยว่าพื้นที่หาดทรายของชายหาดพัทยาและจอมเทียนหายไป ช่วงปากหาดจอมเทียนจะเห็นชัดว่าไม่มีพื้นที่ทรายเหลืออยู่แล้ว จึงต้องสร้างเขื่อนไม่ให้กัดเซาะไปถึงถนน สภาพหาดก็เปลี่ยนไป มีหาดเว้าเพิ่มมากขึ้น อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเลทั่วประเทศ แต่พื้นที่หาดทรายช่วงพัทยายังไม่พบการเปลี่ยนแปลงชัดเจน เพราะเคยมีบริษัทเอกชนต้องการทำโครงการถมทะเลออกไป 50 เมตร แต่กรมโยธาธิการสำรวจและวัดพื้นที่ถูกกัดเซาะทุกเดือนเป็นเวลา 3 ปี ก็พบว่าหาดพัทยายังไม่มีการกัดเซาะในระดับรุนแรง โครงการดังกล่าวจึงล้มเลิกไป" นายพิเชษฐ์กล่าว 

 เมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้ว กรมโยธาธิการได้ว่าจ้างบริษัท ทีม เอนจิเนียริ่ง แอนด์ เมเนจเมนต์ จำกัด เข้ามาศึกษาสภาพชายหาดของเมืองพัทยา เป็นเวลา 3 ปี (2543-2546) โดยมีรายงานผลการศึกษาว่า ในระยะเวลาอันใกล้นี้หาดพัทยาไม่มีผลกระทบมาก เนื่องจากการไหลเวียนและเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่หาดทรายบางส่วน เป็นการหมุนเวียนและถ่ายโอนทรายตามฤดูกาล โดยในช่วง 3 ปีสำรวจนั้น พื้นที่หาดทรายบริเวณวงศ์อำมาตย์มีหาดทรายงอกจากเดิม 1.45 เมตร ในขณะที่ชายหาดพัทยาเหนือลดลง 76 เซนติเมตร และพัทยากลางลดลง 45 เซนติเมตร และหาดบริเวณแหลมบาลีฮายมีทรายเพิ่มขึ้น 3.5 เมตร ทรายเหล่านี้ไม่ได้หายไปไหน แต่จะมีการถ่ายโอนกัน

 ข้อมูลข้างต้นยังระบุถึงจุดที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ พัทยาเหนือและพัทยากลาง ซึ่งมีอัตราการลดลงจากหาดทรายสูงถึงปีละกว่า 20 เซนติเมตร และในระยะยาว 30 ปีข้างหน้า หากไม่มีการปรับปรุง หรือถมทะเลในพื้นที่ชายหาดพัทยา จะทำให้ช่วงหาดพัทยาเหนือจะถูกกัดเซาะหายไปประมาณ 15 เมตร พัทยาใต้ประมาณ 12 เมตร ในขณะที่พัทยากลางจะมีทรายงอก 12 เมตร และแหลมบาลีฮายเพิ่มขึ้นถึง 82 เมตร ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาที่ขายหาดทราย

 นอกจากนี้ รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออก พ.ศ.2549 โดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมที่ 13 (ชลบุรี) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการประเมินว่า จ.ชลบุรี มีพื้นที่สูญเสียจากการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงแล้ว 122 ไร่ และมีมูลค่าที่ดินที่สูญเสีย 610 ล้านบาท สำหรับสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งนั้นมี 2 สาเหตุด้วยกันคือ ตามธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์

 สาเหตุตามธรรมชาติคือ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การพังทลายของหน้าผาลดลง ทำให้ปริมาณตะกอนทดแทนมีน้อย ตะกอนจากทะเลที่พัดพาเข้าสู่ฝั่งลดลง คลื่นลมรุนแรงผิดปกติ กระแสน้ำมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ทิศทางของคลื่นเปลี่ยนแปลงและปริมาณฝนตกที่มากกว่าปกติ

 ส่วนการกระทำของมนุษย์ที่ทำให้เกิดการพังทลายของชายฝั่งคือ การสร้างเขื่อนหรือฝายกั้นแม่น้ำ การสร้างกำแพงกันคลื่น เขื่อนหินทิ้ง แนวหินทิ้ง การสร้างกำแพงปากแม่น้ำ และการถมสร้างชายหาดเทียม

สำหรับมาตรการแก้ไขปัญหานั้น ต้องมีการประเมินสถานภาพชายฝั่งทะเลทั่วประเทศ 23 จังหวัด และจัดทำแผนแม่บทป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและลำน้ำแห่งชาติ พร้อมวางกฎเกณฑ์ในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

 ผศ.ดร.สมบูรณ์ พรพิเนตพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ชลบุรีเคยมีชายหาดที่สวยงาม แต่เหตุที่หาดทรายหายไปเพราะมีโครงการสิ่งปลูกสร้างทำลายชายฝั่ง และหน่วยงานรัฐหรือองค์กรท้องถิ่นไม่คิดป้องกันหาดทรายและไม่ได้คำนึงถึงการรักษาสมดุลของชายฝั่งอย่างแท้จริง ซึ่งก็เหมือนกับชายหาดในจังหวัดท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย ดังนั้นการแก้ไขที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนคือ วิจัยและศึกษาชายหาดทุกแห่งอย่างละเอียด

 ผศ.ดร.สมบูรณ์กล่าวต่อว่า เมื่อสำรวจวิจัยชายฝั่งแล้ว ต้องแบ่งโซนความเสียหายให้ชัดเจน เช่น โซนหาดทรายวิบัติ โซนหาดทรายวิกฤติ โซนหาดทรายสมบูรณ์ จากนั้นก็หาวิธีแก้ปัญหาให้เหมาะสม เช่น หาดทรายที่วิบัติไม่อาจฟื้นฟูให้ทรายกลับมาสวยงามเหมือนเดิมได้ อาจจำเป็นต้องทำกำแพงหิน เพื่อป้องกันการกัดเซาะเพิ่ม ส่วนหาดทรายที่อยู่ในขั้นวิกฤติก็ต้องรื้อถอนโครงสร้างหรือเติมทรายเข้าไป ส่วนชายหาดที่ยังสมบูรณ์อยู่ก็ต้องออกกฎควบคุมไม่ให้มีการก่อสร้างทำลายสิ่งแวดล้อม

 "ถ้าทำโครงการสร้างเขื่อนกันคลื่นวันนี้เสร็จ พรุ่งนี้ทรายหายทันที ยังไม่มีใครที่เห็นความสำคัญของชายหาด ไม่เรียนรู้การรักษาสิ่งแวดล้อม มีแต่อยากทำโครงการก่อสร้าง เพื่อเอาผลประโยชน์จากงบประมาณ และบางพื้นที่ซึ่งอ้างว่าทรายหายไปเพราะภาวะวิกฤติตามธรรมชาติ หรืออ้างภาวะโลกร้อนก็ไม่เป็นความจริง แต่เกิดจากการใช้ประโยชน์ของชายฝั่งอย่างไม่ถูกต้องมากกว่า โดยเฉพาะทรายถูกนำไปใช้ประโยชน์กับทุกอย่าง เช่น ทำกระจก ก่อสร้าง ฯลฯ ในอนาคตอีกไม่กี่ปีถ้ายังไม่มีการอนุรักษ์อย่างถูกวิธี หากคนไทยอยากไปเที่ยวชายหาดจะต้องเดินทางไปตามเกาะที่อยู่ไกลๆ เท่านั้น" ผศ.ดร.สมบูรณ์กล่าว

 


จาก                :                คม ชัด ลึก  วันที่  19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มิถุนายน 02, 2008, 01:40:22 AM

เพชรบุรีแท็กทีม 4 จว. ฟื้นชายฝั่ง สกัดปัญหากัดเซาะตั้งแต่สมุทรสาครยันประจวบฯ


 นายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่า การกัดเซาะชายฝั่งถือเป็นปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทย บริเวณแนวชายฝั่งทะเลตั้งแต่ จ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งหากไม่เร่งดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน อาจมีผลทำให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะทางด้านการท่องเที่ยว และการทำประมงชายฝั่งในบริเวณดังกล่าว

 ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2552 ทั้ง 4 จังหวัดจึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการร่วมระหว่างกลุ่มจังหวัดเพื่อป้องกันการกัดเซาะตามแนวชายฝั่งทะเล โดยได้เสนอของบประมาณดำเนินการต่อรัฐบาลไปแล้วรวมทั้งสิ้น 480 ล้านบาท โดยแต่ละจังหวัดจะเลือกพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างรุนแรงเพื่อดำเนินการนำร่องในพื้นที่ของตนเอง

 ทั้งนี้ จ.เพชรบุรี ได้เลือกดำเนินการในพื้นที่หาดเจ้าสำราญ เนื่องจากปัจจุบันกำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจนสภาพพื้นที่ชายหาดสั้นลงจากเดิมมาก จนส่งผลให้การท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าวซบเซามาเป็นระยะเวลานานกว่า 40 ปี ในขณะเดียวกันสิ่งก่อสร้างต่างๆ ทั้งบ้านพักริมทะเล และถนนริมทะเลบางจุดก็ได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะชายฝั่ง ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ซึ่งเป็นพระราชวังของรัชกาลที่ 6 เดิมตั้งอยู่ที่หาดเจ้าสำราญ แต่ในปี พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้รื้อพระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่ที่หาดชะอำ นอกจากนั้นปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ส่งผลทำให้สัตว์ทะเลบางชนิดไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ และมีจำนวนลดลง กระทบต่อการทำประมงพื้นบ้านของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งทะเลอีกด้วย

 "หากมองในภาพรวมของกลุ่มจังหวัดในแถบนี้ การรักษาแนวชายฝั่งทะเล ก็เปรียบเสมือนการรักษาพื้นที่ชายหาดของแต่ละจังหวัดไว้ ซึ่งหากเราสามารถรักษาแนวชายหาดเหล่านี้ไว้ได้ จะทำให้เกิดผลประโยชน์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล" ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีกล่าว




จาก                           :                         แนวหน้า   วันที่ 2 มิถุนายน 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มิถุนายน 12, 2008, 12:57:57 AM

เพชรบุรีจับมือ3จว.อ่าวไทย ผุดแผนป้องกันกัดเซาะชายฝั่ง ชง 480 ล. เสนอ รบ.ทำโครงการ

 เพชรบุรี:ภายหลังพื้นที่ของหลายจังหวัดที่ติดทะเลกำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของน้ำทะเล ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทย บริเวณแนวชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์นั้น

 นายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่า ปัญหาเรื่องการกัดเซาะชายฝั่ง หากไม่เร่งดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน อาจมีผลทำให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะทางด้านการท่องเที่ยว และการทำประมงชายฝั่งในบริเวณดังกล่าว ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2552 ทั้ง 4 จังหวัดจึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการร่วมมือระหว่างกลุ่มจังหวัดเพื่อป้องกันการกัดเซาะตามแนวชายฝั่งทะเล โดยได้เสนอของบประมาณดำเนินการต่อรัฐบาลไปแล้วรวมทั้งสิ้น 480 ล้านบาท โดยแต่ละจังหวัดจะเลือกพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างรุนแรงเพื่อดำเนินการนำร่องในพื้นที่ของตนเอง

 ทั้งนี้จังหวัดเพชรบุรี ได้เลือกดำเนินการในพื้นที่หาดเจ้าสำราญ เนื่องจากปัจจุบันกำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจนสภาพพื้นที่ชายหาดสั้นลงจากเดิมมาก จนส่งผลให้การท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าวซบเซามาเป็นระยะเวลานานกว่า 40 ปี ในขณะเดียวกันสิ่งก่อสร้างต่างๆ ทั้งบ้านพักริมทะเล และถนนริมทะเลบางจุดก็ได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะชายฝั่ง ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน นอกจากนั้นปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ส่งผลทำให้สัตว์ทะเลบางชนิดไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ และมีจำนวนลดลง กระทบต่อการทำประมงพื้นบ้านของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งทะเลอีกด้วย

 นายสยุมพร เปิดเผยอีกว่า การแก้ปัญหาในพื้นที่หาดเจ้าสำราญตลอดแนวชายหาดซึ่งมีระยะทาง 7.5 กิโลเมตร นั้น เดิมกรมเจ้าท่าได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วนเป็นระยะทางทั้งสิ้น 4 กิโลเมตร โดยในปีงบประมาณ 2552 นี้ จังหวัดจะดำเนินการต่อตามแนวชายหาดที่เหลืออีก 3.5 กิโลเมตร โดยใช้รูปแบบเดิมในวงเงินงบประมาณ 100 กว่าล้านบาท คาดว่าจะสามารถดำเนินการวางแท่งหินได้ภายในเดือนตุลาคมนี้




จาก                           :                         แนวหน้า   วันที่ 12 มิถุนายน 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มิถุนายน 22, 2008, 12:14:30 AM

สำรวจชายฝั่ง"เลเมืองคอน" ค้นบทเรียนการลุกล้ำชายฝั่ง ก่อนจะสายเกินไป

(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2008/06/way04220651p1.jpg)
 
ก่อนหน้านี้เราได้รับรู้เรื่องราวของการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเพียงเล็กน้อย ไม่ได้ใส่ใจอะไรมากนัก คิดว่าคงเป็นเพียงบางจุดเท่านั้น รวมทั้งได้ยินมาว่าพี่น้องชาวบ้านที่ อ.จะนะ และ อ.นาทับ จ.สงขลา ได้ฟ้องกรมเจ้าท่าและพาณิชยนาวี เนื่องจากได้สร้างท่าเรือและเขื่อนดักทราย จนทำให้ชายฝั่งหายไปหลายร้อยเมตรแล้ว จนชาวบ้านหวั่นเกรงว่าหากยังเดินหน้าต่อไปอาจไม่เหลือชายหาดแน่ๆ และเราทราบว่าจะมีการก่อสร้างท่าเรือของบริษัทขุดเจาะน้ำมันแห่งหนึ่งบริเวณชายหาดท่าศาลา เราก็เกรงว่าจะเป็นเหมือนชายฝั่งที่สงขลาหรือไม่

เป้าหมายของเราในวันนี้คือ ต้องการดูผลกระทบจากการกัดเซาะของชายหาดแถวๆ อ.ปากพนัง และ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช

ขับรถย้อนจากปลายแหลมตะลุมพุกขึ้นไปถึงหัวไทร จุดแรกเริ่มที่แหลมตะลุมพุก ขับรถไปถึงบ้านปลายทราย ผ่านวัดและโรงเรียน เลี้ยวขวาหน้า อบต. ตรงไปบริเวณชายหาด มองดูป้ายจัดอันดับแหล่งท่องเที่ยว

หาดนี้ได้รับการจัดอันดับไว้ 3 ดาว

เราตรงต่อไปยังปลายแหลมที่มีถนนคอนกรีตประมาณ 300 เมตร ที่เหลือเป็นหินคลุกไปจนสุด สภาพถนนดีมาก ระหว่างทางเราเห็นซากต้นสนล้มเป็นแนวยาว รากไม้โผล่ขึ้นมาระเกะระกะ เห็นได้ชัดว่าบริเวณนี้มีการกัดเซาะจนต้นสนใหญ่อายุหลายสิบปีล้มไปหลายต้น และยังเซาะเข้ามาถึงถนนบางช่วง เลยไปผ่านป่าสนใหญ่ร่มครึ้ม ใบสนที่หล่นลงมาค้างตามกิ่งและใบสน เหมือนปุยนุ่นแต่งแต้มก้านกิ่งดูอ่อนนุ่ม เป็นบรรยากาศป่าสนที่สวยงามแปลกตา
 
(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2008/06/way04220651p2.jpg)

ถึงปลายแหลมเห็นแนวสันดอนทรายที่งอกงุ้มเข้ามาทางด้านอ่าวปากพนัง อันเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนตัวของทรายนั้น จะเคลื่อนจากทางทิศใต้และไปทิศเหนือจนเกิดการทับถมกันที่บริเวณปลายแหลม

ย้อนกลับออกมาแวะคุยกับชาวประมงที่บ้านแหลมตะลุมพุก ชาวบ้านบอกว่า ทะเลรุกเข้ามาทุกปี โดยเฉพาะปีหลังๆ 4-5 ปีนี้รุกเข้ามาเร็วมาก พร้อมชี้ให้ดูบ้านที่พังเหลือแต่ซาก และกำแพงวัดที่ก่อเป็นผนังปูนพังไปสองช่วง ทางวัดจึงเอาหินก้อนใหญ่มาวางกั้นตลอดแนว

พวกเขาบ่นว่า คงต้องอพยพไปอยู่อีกฝั่งของถนน เพราะบ้านที่อยู่ปัจจุบันถูกทะเลรุกเข้ามาทุกที แม้จะรู้ดีว่าเป็นพื้นที่ป่าสงวนฯ แต่ก็จำเป็นต้องอยู่เพราะไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน

เรามุ่งหน้าไปตามถนนปากพนัง-หัวไทร ระหว่างทางเห็นการกัดเซาะหลายจุด ที่น่าตกใจเมื่อเห็นบางจุดนั้นเดิมเป็นบ่อกุ้งริมชายหาด และถนนมีคันดินกั้นเพียงสี่ห้าเมตร พอคลื่นซัดจนคันดินพังลงไปน้ำก็ทะลักเข้ามาถึงขอบบ่ออีกด้านในทันที ทำให้เกิดการรุกของน้ำทะเลที่เร็วมาก

บริเวณทางระบายน้ำฉุกเฉินบริเวณบ้านท่าพญา มีการทำแนวคอนกรีตกั้น บริเวณปลายคลองแล้วโค้งเป็นมุมออกไปทั้งสองฝั่ง แต่พนังคอนกรีตโดนกัดเซาะจนแนวพังไปเกือบหมดแล้ว แม้ดินที่ถมไว้หลังแนวพนังก็โดนน้ำซะออกไปเกือบหมด
 
(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2008/06/way04220651p3.jpg)

จากจุดนี้ไปจนถึงบ้านนำทรัพย์มีการสร้างกองหินเป็นรูปตัวทีเพื่อกันการกัดเซาะ มาถึงบริเวณ ต.ขนาบนาถ อ.ปากพนัง ซึ่งเดิมคลื่นได้ซัดจนเข้ามาถึงถนน ตอนนี้ได้มีการสร้างกำแพงคอนกรีตขนาดใหญ่ ลึกประมาณ 8 เมตร สูงขึ้นมาประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ 2-3 กิโลเมตร และถมหินหน้ากำแพงอีกทีหนึ่ง บริเวณด้านในของกำแพงมีการปูตัวหนอนอย่างสวยงาม แต่มีบางช่วงเริ่มทรุดลงไปแล้ว พวกเราอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไม่ต้องปูตัวหนอนให้เปลืองงบประมาณด้วย เพราะทรายด้านใต้ที่รองรับตัวหนอนย่อมต้องมีโอกาสในการทรุดตัวสูง เพราะความลื่นไหลของทราย และอีกอย่างยังไม่แน่ว่ากำแพงจะกั้นคลื่นได้หรือเปล่า

มาถึงบ้านต้นสน ต.เกาะเพชร อ.หัวไทร ได้แวะคุยกับชาวประมงพื้นบ้าน เราเห็นการวางกองหินกันคลื่นเพิ่งเสร็จใหม่ มีรถแบ๊คโฮ 2 คัน กำลังเกลี่ยทรายบริเวณชายหาด เพื่อให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม เด็กๆ กลุ่มใหญ่เล่นน้ำอยู่ในเว้าหาดเล็กๆ ระหว่างกองหินสองกอง

ชาวบ้านที่นี่เล่าว่า 4 ปีแล้วที่คลื่นกัดเซาะรุนแรง เพราะมีการทำเขื่อนกั้นทรายมากหลายที่ โดยเฉพาะคลองชะอวดแพรกเมือง มีเขื่อนยาวประมาณ 2 กิโลเมตร ทำให้การกัดเซาะที่ชายหาดหัวไทรรุนแรง เมื่อก่อนการกัดเซาะเป็นไปตามธรรมชาติ บางปีก็กัดเข้ามา บางปีก็งอกออกไป แต่เดี๋ยวนี้กัดเซาะเข้ามาอย่างเดียว

"ทางการได้มีโครงการทำกองหินกันคลื่นตลอดแนวชายหาด ตอนแรกบอกว่าจะทำออกไปจากฝั่งประมาณ 100 เมตร ชาวบ้านจึงไม่ว่าอะไร เพราะถือว่าไกลพอแล้ว แต่พอทำจริงเหลือประมาณ 50 เมตร ชาวบ้านเกรงว่าการแล่นเรือเข้าออกจะลำบาก หากคลื่มลมแรงเรืออาจเสียหลักไปชนกองหินได้ ซึ่งก็เคยเกิดขึ้นแล้ว" ชาวบ้านเล่าด้วยความเป็นกังวล

ผ่านมาถึงท่าเรืออำเภอหัวไทร มีการทำกำแพงคอนกรีตกันคลื่นถึงสองชั้น เพราะชั้นแรกนั้นพังไปแล้ว ด้วยแรงคลื่นกระแทกกำแพงแล้วเซาะทรายข้างล่างทำให้กำแพงทรุดตัวลงและพังในที่สุด ก็ไม่รู้ว่ากำแพงใหม่นี้พังและจะต้องสร้างกำแพงอีกชั้นหรือไม่ สิ่งที่เห็นนี้ได้พิสูจน์ว่าวิธีคิดในการเอาชนะธรรมชาติด้วยการเอาของแข็งไปกั้นคลื่นนั้นไม่ได้ผล เพราะคลื่นลมมีแรงมหาศาล และไหลซอกซอนกัดเซาะไปได้เรื่อย สิ่งก่อสร้างที่แข็งและปะทะกันแรงคลื่นตรงๆ จึงไม่อาจจะทนทานได้

จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้นมีแนวชายหาดประมาณ 225 กิโลเมตร ปัจจุบันนี้ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะและมีการสร้างกองหิน แนวกำแพงจนหมดสภาพเดิมไปแล้วกว่าครึ่ง จึงเป็นคำถามว่าเราจะรักษาชายหาดที่เหลืออยู่เอาไว้ได้อย่างไร



จาก                           :                         มติชน   วันที่ 22 มิถุนายน 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กรกฎาคม 08, 2008, 12:10:44 AM

วิศวกรฯขน.รับ”เขื่อนกันคลื่น”ตัวการทำชายหาดวิบัติ  
     
ดร.มานะ ภัตรพาณิช วิศวกรจากบริษัท ซีสเปคตรัม จำกัด ซึ่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นให้แก่กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี 
 
       ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – วิศวกรที่ปรึกษาของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ยอมรับ โครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นและทรายปากแม่น้ำ เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายหาดในหลายพื้นที่ ระบุแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ไม่สามารถให้คำตอบได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ต้องสร้างเพราะความสะดวกในการเข้า – ออก ของเรือประมง เผยหากใช้เรือขุดทรายปากร่องน้ำจะใช้งบประมาณสูง ขณะที่ชาวบ้านหวั่นบ้านเรือนพังยืนยันไม่ให้รื้อ
       
       ความคืบหน้าการแก้ปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งอ่าวไทย ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ที่โรงแรมรัชมังคลาพาวีเลียน อ.เมืองสงขลา กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้จัดประชุมระดมความคิดเห็นชาวบ้านในพื้นที่ อ.จะนะ และ อ.เมืองสงขลา กรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน มีคำสั่งให้รื้อเขื่อนกันคลื่นและทราย ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันตะกอนทรายทับถมริมปากแม่น้ำ รวมทั้งเขื่อนกันคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายหาด ที่สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวเนื่องจากเขื่อนริมปากแม่น้ำ แต่โครงสร้างทั้ง 2 แบบ กลับส่งผลกระทบทำให้ชายหาดในหลายพื้นที่ถูกคลื่นกัดเซาะเสียหายอย่างรุนแรง
       
       ดร.มานะ ภัตรพาณิช วิศวกรจากบริษัท ซีสเปคตรัม จำกัด ซึ่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นให้แก่กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กล่าวว่า กรมการขนส่งทางน้ำฯ เริ่มมีการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นและทรายริมปากแม่น้ำต่างๆ ในอ่าวไทยตั้งแต่ปี 2525 โดยเริ่มจุดแรกที่ปากแม่น้ำระยอง โดยเหตุผลที่ต้องมีการสร้างเขื่อนกันคลื่นและทรายริมปากแม่น้ำ เนื่องจากในแต่ละปีคลื่นจะพัดพาตะกอนทรายมาทับถมริมปากแม่น้ำ ทำให้ชาวประมงนำเรือเข้า – ออก ได้อย่างลำบาก
       
       การจะขุดตะกอนออกจากปากร่องน้ำต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ ชาวบ้านรอไม่ไหว การขุดต้องใช้งบประมาณครั้งละล้านกว่าบาทแต่กลับแก้ปัญหาได้ชั่วคราวไม่ยั่งยืน จึงหาแนวทางป้องกันอย่างถาวรด้วยการสร้างเขื่อนกันคลื่นและทรายขึ้นมา ซึ่งเป็นวิธีการที่ยอมรับกันทั่วโลก เช่น ที่ประเทศออสเตรเลีย มีการก่อสร้างเขื่อนลักษณะเดียวกันเป็นจำนวนมาก
       
       “การสร้างเขื่อนมีผลกระทบตามมา คือ จุดที่ต้องยอมรับเป็นเรื่องธรรมดาเราไปสร้างเขื่อนดักไว้ มันก็มีปัญหากัดเซาะตามมาเป็นเรื่องปกติ แต่เราก็พยายามป้องกันซึ่งก็มีหลายวิธีที่ใช้ คือใช้โครงสร้างป้องกันแบบที่ทำในพื้นที่ ต.นาทับ (อ.จะนะ จ.สงขลา) แต่ในการศึกษาด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ไม่สามารถให้ความถูกต้องได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เพียงแต่แสดงให้เห็นภาพรวม
       
       สำหรับเขื่อนที่นาทับ กรมการขนส่งทางน้ำฯ ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษามาศึกษาเมื่อปี 2533 ถึง 2535 จากนั้นปี 2538 จ้างบริษัทซีเทค มาก่อสร้างแล้วเสร็จปลายปี 2540 เราทราบดีว่าจะมีปัญหากัดเซาะเกิดขึ้น เราใช้ข้อมูลที่มีในขณะนั้น แบบจำลองไม่ใช่เครื่องมือวิเศษที่จะบอกทุกอย่างได้” ดร.มานะ กล่าวและว่า
       
       สาเหตุที่เกิดปัญหาคลื่นกัดเซาะชายหาดเนื่องจาก 10 ปีที่ผ่านมาพื้นที่อ่าวไทยมีพายุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้คลื่นแรงซัดชายฝั่งเสียหาย
       
       อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้ก่อนหน้านี้ ดร.มานะ ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดพายุในอ่าวไทย พบว่าปี 2517 – 2538 เกิดพายุในอ่าวไทย 2-3 ครั้งต่อปี และข้อมูลในปี 2539 – 2549 พบว่ามีพายุเกิดขึ้นปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
       
       “เราต้องอย่าโทษเขื่อนอย่างเดียว เขื่อนก็มีผลด้วยแต่ไม่ใช่สาเหตุหลัก และเราก็พยายามแก้ปัญหากันอยู่ โดยเฉลี่ยเขื่อนกันทรายและคลื่นจะมีมูลค่าประมาณ 200 ล้านบาทต่อโครงการ ซึ่งจุดนี้รัฐบาลลงทุนไปเพื่อความอยู่ดีกินดีของชุมชน เมื่อมีคนร้องเรียนว่าเขื่อนกันคลื่นและทรายที่ปากน้ำนาทับ ทำให้ชายหาดเสียหายคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนก็มาตรวจสอบ เรียกกรมการขนส่งทางน้ำฯ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งผู้ร้องไปให้ข้อมูลสุดท้ายก็ฟันธงว่า ให้รื้อแล้วซื้อเรือขุดทรายปากร่องน้ำแจกให้แก่ชุมชนไม่ใช่ให้รื้อเฉพาะที่นาทับแต่ให้รื้อที่อื่นออกหมดด้วย”
 
เขื่อนกันทรายและคลื่นบริเวณปากคลองนาทับ ที่สร้างยื่นออกไปในทะเล ต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหากัดเซาะชายฝั่งตามมา เมื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เสนอให้รื้อออก แต่พบว่า ชาวบ้านยืนยันไม่ให้รื้อ   
 
       ดร.มานะ กล่าวอีกว่า หากต้องรื้อเขื่อนกันคลื่นและทรายออกทั้งหมด แล้วกลับมาใช้วิธีการขุดทรายริมปากแม่น้ำเพื่อให้เรือประมงเข้า – ออก ได้สะดวก จะต้องใช้งบประมาณประกอบด้วย ค่าเรือขุดขนาดท่อ 12 นิ้ว ราคา 80 ล้านบาท ท่อขนาด 14 นิ้วราคา 150 ล้านบาท ค่าขุดลอกตกปีละ 3 ล้านบาท รวมทั้งต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลอีก 13 คน
       
       “ลองคิดดูเรามีร่องน้ำทั่วประเทศหลายแห่งรัฐบาล จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อมาซื้อเรือขุดแจก หากรื้อเขื่อนชาวบ้านก็จะเดือดร้อน ตะกอนทรายจะกลับมาทับถมปากร่องน้ำชาวบ้านก็จะเดือดร้อนอีก”
       
       นายนิวัติ หมานเจริญ ผู้ใหญ่บ้าน ม.8 บ้านบ่ออิฐ ต.เกาะแต้ว อ.เมืองสงขลา แสดงความเห็นว่า หากไม่มีการก่อสร้างเขื่อนป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งขึ้นมาแล้ว ชาวบ้านก็จะได้รับความเดือดร้อนเพราะมีบ้านเรือนตั้งอยู่ริมหาด
       
       “คนที่สั่งให้รื้อรู้หรือไม่ว่า หากรื้อเขื่อนออกบ้านเรือนจะถูกคลื่นซัดพังไปกี่หลัง คนที่สั่งให้รื้อไม่ได้มาอาศัยอยู่ที่นี่ เมื่อมีการสร้างเขื่อนกันคลื่นกัดเซาะขึ้นมาแล้ว ชาวบ้านมั่นใจว่าชายหาดจะไม่พังและไม่ต้องการให้รื้อออก” นายนิวัติ กล่าว
       
       นายพงศ์ศักดิ์ ไชยรัตน์ สมาชิก อบต.เกาะแต้ว อ.เมืองสงขลา กล่าวว่า ชาวบ้านบ่ออิฐอยู่กันอย่างสงบสุขมานานไม่ได้รับความเดือดร้อนแต่ปัจจุบันธรรมชาติกำลังรังแกเรา เราก็ต้องหาทางสู้และชาวบ้านเห็นด้วยที่จะให้เขื่อนกันคลื่นกัดเซาะชายหาดยังอยู่ต่อไป
       
       ในขณะที่ตัวแทนชาวบ้าน ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา ระบุว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีมาตรการให้รื้อเขื่อนกันคลื่นทั้งหมดออกแต่ชาวบ้านยังต้องการเขื่อนเนื่องจากมีความสะดวกในการนำเรือเข้าออก แต่อาจมีปัญหาการกัดเซาะชายหาดบ้างแลกกับความสะดวกที่ชุมชนได้รับ
       
       ด้านแหล่งข่าว ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสมุทรศาสตร์ กล่าวว่า เข้าใจความรู้สึกของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งทะเลเป็นอย่างดี เนื่องจากถ้าไม่มีเขื่อนกันคลื่นกัดเซาะบ้านเรือนเขาก็จะถูกคลื่นซัดได้รับความเสียหาย แต่เราต้องไปดูที่สาเหตุว่าปัญหาการกัดเซาะในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาเกิดจากอะไร
       
       งวันนี้วิศวกรที่ปรึกษาของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ก็ออกมายอมรับแล้วว่า การสร้างเขื่อนกันคลื่นและทรายริมปากแม่น้ำ ทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่ข้างเคียงเป็นปัญหาลูกโซ่ บ้านเรือนชาวบ้านได้รับความเสียหาย ระบบนิเวศถูกทำลาย ระบบสังคมก็ถูกทำลาย ชาวบ้านจึงเรียกร้องให้แก้ปัญหา
       
       “การแก้ปัญหาที่ผ่านมาก็เห็นแล้วว่า เขาใช้วิธีสร้างเขื่อนกันคลื่นกัดเซาะทั้งเขื่อนหินทิ้ง หรือกำแพงกันคลื่นซึ่งแก้ปัญหาได้ในจุดที่เขื่อนตั้งอยู่บ้านเรือนชาวบ้านปลอดภัย แต่ชายหาดจุดข้างเคียงก็ถูกกัดเซาะออกไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุดแม้จะรื้อออกก็ไม่ทำให้แก้ปัญหาได้ เมื่อเขายอมรับแบบนี้ก็เป็นเรื่องดี เพราะชาวบ้านที่เดือดร้อนสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้หากต้องการ” แหล่งข่าวระบุ




จาก                     :                    ผู้จัดการรายวัน    วันที่ 6 กรกฎาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กรกฎาคม 16, 2008, 01:07:01 AM

วิจัยปะการังเทียมแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง

 ทุกวันนี้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ถือเป็นปัญหาทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ประเทศไทยจะปล่อยเฉยหรือนิ่งนอนใจไม่ได้!!!
 
เนื่องจากชายฝั่งทะเลกว่า 2,650 กิโลเมตรของไทยทั้งในฝั่งอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน มีหลาย ๆ พื้นที่ที่กำลังประสบปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะ โดยมีความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
 
ชายฝั่งของประเทศไทย กำลังประสบปัญหาการกัดเซาะใน 23 จังหวัดริมทะเล โดยชายฝั่งอ่าวไทยตั้งแต่ภาคตะวันออกที่ จ.ตราด จดชายแดนที่ จ.นราธิวาส ความยาวชายฝั่งประมาณ 1,650 กม. พบการกัดเซาะรุนแรง 5 เมตรต่อปี จนถึงมากกว่า 20  เมตรต่อปี ประมาณเกือบ 500 กม. ส่วนชายฝั่งอันดามัน ตั้งแต่ จ.ระนอง จดชายแดนใต้ที่ จ.สตูล ความยาวชายฝั่งประมาณ 1,000 กม. พบการกัดเซาะรุนแรงกว่า 100 กม.
 
ทั้งนี้ในพื้นที่ชายฝั่งหาดสมิหลา จ.สงขลา ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะอย่างรุนแรงและเรื้อรัง  โดยเฉพาะบริเวณหาดชลาทัศน์ เขตเทศบาลนครสงขลา ถูกกัดเซาะยาวประมาณ 2 กม. เริ่มตั้งแต่บ้านเก้าเส้งเลียบชายหาดชลาทัศน์ไปทางทิศเหนือ จนถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา
 
จากปัญหาดังกล่าวทาง กรมทรัพยากรธรณี จึงได้สนับสนุนงบประมาณวิจัยจำนวนประมาณ 5 ล้านบาท ให้ทาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ดำเนินการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหาดสมิหลา
 
ผศ.พยอม รัตนมณี อาจารย์ประจำภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหัวหน้าโครงการวิจัยบูรณาการชายฝั่งทะเล การใช้ปะการังเทียมป้องกันการกัดเซาะ (กรณีศึกษาหาด   สมิหลา) กล่าวว่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของไทย ในปัจจุบันหลายพื้นที่จัดว่าอยู่ในระดับที่มีความรุนแรง ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน พื้นที่ใดมีการกัดเซาะมากกว่า 5 เมตรต่อปี ถือว่าเป็นปัญหาการกัดเซาะที่รุนแรง ซึ่งมีปัจจัยมาจากหลาย ๆ สาเหตุ อาทิ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และระดับน้ำทะเล การทรุดตัวของพื้นที่ ป่าชายเลนถูกทำลาย การก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลงไปในทะเล ฯลฯ
 
สำหรับการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งนั้น มี 2 มาตรการ คือ มาตรการแบบแข็ง ซึ่งเป็นการนำหลักวิศวกรรมมาใช้ เช่น การสร้างกำแพงกันคลื่น รอดักทราย ถมแนวหินหัวหาด ฯลฯ ส่วนมาตรการแบบอ่อน จะใช้แก้ปัญหาในพื้นที่ถูกกัดเซาะไม่รุนแรง เช่น การเสริมทรายยังพื้นที่ถูกกัดเซาะ ปลูกป่าชายเลน ฯลฯ ส่วนการจะใช้วิธีไหนในการแก้ปัญหา จะต้องขึ้นอยู่กับความรุนแรง และลักษณะของพื้นที่แต่ละแห่ง
 
อย่างไรก็ตาม มาตรการในการแก้ปัญหาแต่ละอย่างก็มีข้อจำกัด อาทิ เมื่อลงมือก่อสร้างในที่หนึ่งก็จะส่งผลให้เกิดการกัดเซาะไปยังที่อื่นหรือพื้นที่ใกล้เคียง และการแก้ปัญหาบางวิธีมีค่าใช้จ่ายสูง และส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพและการท่องเที่ยวบริเวณนั้น หรือมีผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ฯลฯ
 
จากข้อจำกัดต่าง ๆ จึงเกิดการวิจัยเพื่อจะใช้ปะการังเทียมในการช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยทางกรมทรัพยากรธรณีได้สนับสนุนงบประมาณ ใช้เวลาวิจัยประมาณ 8 เดือน แต่ก่อนหน้านี้ทางมหาวิทยาลัยก็ได้ทำงานวิจัยด้านนี้มาก่อนล่วงหน้าแล้ว 2 ปี จึงมีฐานข้อมูลด้านต่าง ๆ อยู่แล้ว
 
การดำเนินงานวิจัยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลคลื่นลม แผนที่และรูปถ่ายทางอากาศในพื้นที่ศึกษา ซึ่งเป็นข้อมูลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา จากนั้นได้ทำการสำรวจข้อมูลด้านวิศวกรรม เช่น ความลึกท้องทะเล แนวชายฝั่งทะเล ความลาดชั้นชายหาด เก็บตัวอย่างทรายชายหาด ระดับน้ำขึ้น-น้ำลง กระแสน้ำ เจาะสำรวจชั้นดิน สภาพความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ บริเวณชายฝั่ง และทำการสำรวจข้อมูลด้านนิเวศทางทะเล ซึ่งประกอบด้วย การเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำ การสำรวจทรัพยากรทางทะเล ความอุดมสมบูรณ์ของฝูงปลา สำรวจปะการัง ในส่วนของการสำรวจข้อมูลด้านสังคม ประกอบด้วย การสำรวจด้านอาชีพและรายได้ ทัศนคติของชุมชนต่อการดำเนินโครงการวางปะการังเทียมป้องกันชายฝั่งทะเล
 
ทั้งนี้ทางคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิจัยโดยใช้ทั้งแบบจำลองทาง คณิตศาสตร์ (Mathematical Model) และแบบจำลองทางกายภาพ (Physical Model) โดยได้ทำการก่อสร้างห้องปฏิบัติการทดลองวิศวกรรมชายฝั่งทะเลขึ้น ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ของ มอ.  ประกอบด้วย รางจำลองคลื่น (Wave Flume) และอ่างจำลองคลื่น (Wave Basin) พร้อมติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นที่ทันสมัย โดยใช้อัลตร้าโซนิค (Ultrasonic) ส่งข้อมูลด้วยระบบไร้สาย (Wireless System) สู่คอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผลต่อไป ส่วนการจัดทำแบบจำลองทางกายภาพ (Physical Model) ของแท่งปะการังเทียมขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาด้านเสถียรภาพของแท่งปะการังเทียมต่อการรับแรงคลื่น ประสิทธิภาพในการกรองคลื่นและการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง และศึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งจากการจัดวางปะการังเทียม เพื่อให้เกิดความมั่นใจก่อนที่จะนำปะการังเทียมไปจัดวางในพื้นที่โครงการนำร่อง ซึ่งจากการศึกษาวิจัยในขั้นต้นพบว่าแนวปะการังเทียมสามารถกรองพลังงานคลื่นได้ประมาณ 60-70% สามารถชะลออัตราการกัดเซาะได้ในระดับที่น่าพอใจ
 
“รูปแบบปะการังเทียมที่ได้วิจัยขึ้นเพื่อนำไปวางในทะเลนั้น จะมีทรงเป็นรูปโดม สูงประมาณ 1.8 เมตร หนักประมาณ 3 ตัน โดยจะนำไปวางทั้งหมดจำนวน 3,500 ลูก แบ่งเป็น 8 แถว มีความยาวแถวละ 200 เมตร  พร้อมเปิดช่องทางประมาณ 100 เมตร เพื่อให้เรือประมงสามารถเข้าออกจากฝั่ง จุดที่วางจะห่างจากฝั่งประมาณ 250-400 เมตร และระดับน้ำลึกประมาณ 4 เมตร โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณ 85 ล้านบาท ส่วนขั้นตอนการวางปะการัง จะเริ่มจากสำรวจเพื่อวางผังและกำหนดจุดก่อน จากนั้นจึงนำแผ่นใยสังเคราะห์ปูพื้น แล้วนำหินวางกันเพื่อไม่ให้ปะการังจม จากนั้นจึงนำปะการังมาวางบนชั้นหินที่สูงประมาณ 1.5 เมตร ซึ่งปะการังเทียมที่นำไปวางนั้น คาดว่าจะช่วยเพิ่มพื้นที่ทรายชายหาดได้ประมาณ 20 เมตร”
 
สำหรับในช่วงที่ผ่านมาได้มีการประชุมกับชาวบ้านแล้ว 2 ครั้งเพื่อรับฟังความคิดเห็นหากจะมีการดำเนินโครงการนี้ และในวันที่ 1 ส.ค. นี้ จะจัดการประชุมครั้งสุดท้ายเพื่อนำเสนอเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และหากชาวบ้านในพื้นที่ไม่คัดค้านคาดว่าจะเริ่มลงมือวางปะการังเทียมได้ในเดือน เม.ย. ปีหน้า  อย่างไรก็ตามในส่วนของเรื่องงบประมาณยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแต่อาจจะใช้งบจากหลายหน่วยงาน คือ กรมปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลสงขลา และระดมจากภาคเอกชน
 
สำหรับการนำผลวิจัยชิ้นนี้ไปใช้เพื่อแก้ปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่ อื่น ๆ เช่น บริเวณชายฝั่งในเขตบางขุนเทียน ที่มีปัญหาการกัดเซาะรุนแรงนั้น  ผศ.พยอม บอกว่า คงไม่สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่างกัน ทั้งสภาพดิน ความแรงของคลื่นและลมบริเวณนั้น
 
จึงจำเป็นต้องทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหานี้เป็นพื้นที่ ๆ ไป.



จาก                        :              เดลินิวส์  วันที่ 15 กรกฎาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กรกฎาคม 19, 2008, 01:04:05 AM

คนบางขุนเทียนจี้ชะลอแก้ชายฝั่งหาย บุกยื่นหนังสือ “อภิรักษ์” 21 ก.ค.นี้

(http://pics.manager.co.th/Images/551000009111801.JPEG)

      ชาวบางขุนเทียนเตรียมยื่นหนังสือถึง “อภิรักษ์” 21 ก.ค.นี้ เรียกร้อง 3 ข้อให้ กทม.ชะลอโครงการสร้างทีกรอยน์-ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม-ตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างจริงโดยมีตัวแทนชุมชนอยู่ด้วย
       
       นายเสกใส จินดาโฉม ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์ทะเลกรุงเทพฯ เขตบางขุนเทียน เปิดเผยว่า ในวันที่ 21 กรกฎาคมนี้ ชาวบ้านกลุ่มรักษ์ทะเลกรุงเทพฯประมาณ 50 คน จะเดินทางมายัง ศาลาว่าการ กทม.เพื่อยื่นหนังสือถึง นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กทม.เนื่องจากก่อนหน้านี้

       กทม.ได้แถลงข่าวถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณชายทะเลบางขุนเทียนจากไส้กรอกทรายเป็นการใช้กล่องพลาสติกใส่หินแทน โดยวางเป็นรูปตัว ที และตัวแอล ยื่นออกไปในทะเลตลอดระยะทาง 5 กิโลเมตร ตามแนวชายฝั่งนั้น ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง เกิดความวิตกกังวลต่อแนวทางและวิธีการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่ตรงกับวัตถุประสงค์และข้อเรียกร้องของชาวบ้านที่ต้องการให้มีการแก้ปัญหาด้วยการใช้เสาปูนตามรูปแบบ “ขุนสมุทรจีน 49A2” ที่บ้านขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการได้ทำไว้และค่อนข้างได้ผลดี
       
       อย่างไรก็ตาม การยื่นหนังสือครั้งนี้ชาวบ้านได้ประชุมกันและเห็นควรยื่นข้อเรียกร้องกับ กทม. 3 ข้อ คือ
1.ให้ กทม.ชะลอโครงการดังกล่าวก่อนเนื่องจากชาวบ้านยังไม่ทราบข้อมูล ถึงผลกระทบที่จะเกิดจากการนำหินใส่กล่องพลาสติกมาวางเป็นรูปตัวที ยื่นลงสู่ทะเลว่าเป็นแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงโดยไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงเช่นสมุทรสาครและสมุทรปราการ
2.ให้ กทม.ทำการศึกษาถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของ กทม.และ
3.เสนอให้มีการตั้งคณะทำงานร่วมหลายฝ่ายเพื่อศึกษารูปแบบการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่เหมาะสมกับพื้นที่โดยมีตัวแทนชุมชนร่วมอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของคณะทำงานดังกล่าว



จาก              :              ผู้จัดการออนไลน์   วันที่ 19 กรกฎาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กรกฎาคม 23, 2008, 01:35:44 AM

เตือนอีก 12 ปี บางขุนเทียนหด


นักศึกษาปริญญาเอกพัฒนาโปรแกรมทำนายการกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียน ชี้ไม่เกิน 12 ปี แผ่นดินหายอีก 300 เมตร สาเหตุมาจากการขุดร่องน้ำดึงน้ำทะเลเข้าสู่บ่อกุ้งจนป่าชายเลนพินาศ

นายประเสริฐศักดิ์  เอกพิสุทธิ์สุนทร  นักศึกษาปริญญาเอก  บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม   (JGSEE) กล่าวว่า ปัญหาเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยรูปตัว  ก.  เป็นปัญหาที่หลายคนให้ความสนใจและกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง  เช่น บริเวณพื้นที่ขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการ  ซึ่งประสบกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง  แต่อีกพื้นที่หนึ่งที่คนกรุงเทพฯ ควรให้ความสนใจ เนื่องจากพื้นที่ถูกกัดเซาะอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร  คือพื้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียน ซึ่งประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเช่นเดียวกัน

จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียน   พบว่าการกัดเซาะเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 30   เมตร  และนับถึงขณะนี้พื้นที่ได้หายไป 200 กว่าเมตร แม้ผลกระทบจะไม่รุนแรงมากเท่าขุนสมุทรจีน แต่การกัดเซาะที่เกิดขึ้นหากไม่มีการแก้ไข อาจทำให้ความรุนแรงของการกัดเซาะเพิ่มขึ้นอย่างคาดไม่ถึง   จึงเป็นที่มาของงานวิจัย "แบบจำลองการทำนายการกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียน" ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อทำนายผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งในอีก  20  ปีข้างหน้า  หากไม่มีมาตรการใดๆ  ลงไปดูแลแก้ไข รวมไปถึงศึกษาปัจจัยหลักของการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณนี้ด้วย

"การทำนายการกัดเซาะโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่กำลังศึกษาอยู่นี้ จะแตกต่างจากการทำนายการกัดเซาะแบบเดิม  ซึ่งใช้หลักสถิติในการทำนาย โดยการศึกษาแบบจำลองนี้ต้องอาศัยข้อมูลลักษณะสภาพดิน  สภาพคลื่น  ลมแรงที่กระทบกับชายฝั่งในการคำนวณ ซึ่งโมเดลที่ใช้ประกอบด้วยโมเดล  2  แบบ  คือ  แบบจำลองคลื่น  (SWAN-Shallow Water Wave  Nearshore)  ใช้ข้อมูลลม ความลึกของท้องน้ำ เพื่อคำนวณหาทิศทางคลื่นและความสูงของคลื่น   และแบบจำลองการกัดเซาะ   (GENESIS-Generalized  Model  for Simulating  Shoreline  Change)  ใช้ข้อมูลคุณสมบัติของดิน ความหนาแน่นของตะกอน ขนาดของตะกอน และข้อมูลที่ได้จากแบบจำลองคลื่น" นายประเสริฐศักดิ์กล่าว

ข้อมูลที่คำนวณได้จากแบบจำลองจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศ  ซึ่งเป็นข้อมูลจริง เป็นช่วง เพื่อเปรียบเทียบความถูกต้อง และหาค่าผิดพลาด ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วพบว่ามีค่าผิดพลาดเพียง   20%  เท่านั้น จากปกติที่การคำนวณการกัดเซาะจะมีค่าผิดพลาดได้ถึง 50% ซึ่งเมื่อคำนวณหาค่าผิดพลาดได้แล้วจึงสามารถคำนวณเพื่อทำนายการกัดเซาะในอนาคต โดยตั้งเป้าไว้ที่ปี พ.ศ.2563  หรืออีก 12 ปีข้างหน้า ผลจากการคำนวณพบว่าหากไม่มีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใดๆ พื้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียนจะถูกกัดเซาะเข้าไปอีก 300 เมตร

จากข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศตามแนวชายฝั่งนอกที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลเผยให้เห็นถึงสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่บริเวณนี้  นั่นคือ  การขุดเจาะร่องน้ำเพื่อนำน้ำทะเลเข้าสู่บ่อกุ้ง  ทำให้ป่าชายเลนที่เคยมีอยู่ถูกถอนรากถอนโคนไปหมด เมื่อขาดรากที่จะยึดเหนี่ยวตะกอนดินคลื่นจึงทำให้กัดเซาะตะกอนออกไปได้ง่าย   และยิ่งในช่วงของฤดูมรสุมที่มีคลื่นลมแรงกว่าช่วงเวลาปกติ อัตราการกัดเซาะชายฝั่งจะยิ่งสูงขึ้นด้วย

นายประเสริฐศักดิ์กล่าวว่า การพัฒนาแบบจำลองทำนายการกัดเซาะชายฝั่งในขั้นต่อไปคือ การทำนายลักษณะการกัดเซาะในกรณีที่มีโครงสร้างป้องกันรูปแบบต่างๆ  เช่น การปลูกป่าชายเลน  การสร้างเขื่อนรูปแบบต่างๆ เพื่อหาโครงสร้างป้องกันที่เหมาะสมสำหรับชายฝั่งบางขุนเทียน   เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้สนับสนุนโครงการสร้างโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร  รวมไปถึงพัฒนาให้สามารถนำไปใช้ทำนายการกัดเซาะในพื้นที่อื่นที่มีลักษณะชายฝั่งเป็นดินเลนปากแม่น้ำเช่นเดียวกับที่บางขุนเทียนได้อีกด้วย.



จาก              :              X-cite  ไทยโพสต์  วันที่ 23 กรกฎาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กรกฎาคม 23, 2008, 01:45:23 AM

อีก 12 ปี กทม.ถูกกัดเซาะหาย 300 เมตร

(http://www.bangkokbiznews.com/2008/07/22/thumb/278248_1thumb3bkk.jpg)

พื้นที่ศึกษา:นศ. JGSEE พัฒนาโปรแกรมทำนายการกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียน โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เผยหาก กทม.ไม่มีมาตรการป้องกัน อีกไม่เกิน 12 ปี แผ่นดินหายอีก 300 เมตร

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : นายประเสริฐศักดิ์ เอกพิสุทธิ์สุนทร นักศึกษาปริญญาเอก บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ( JGSEE ) กล่าวว่า ปัญหาเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก เป็นปัญหาที่หลายคนให้ควานสนใจและกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง เช่น บริเวณพื้นที่ขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการ ซึ่งประสบกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง แต่อีกพื้นที่หนึ่งที่คนกรุงเทพควรให้ความสนใจเนื่องจากพื้นที่ถูกกัดเซาะอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร คือ พื้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียน ซึ่งประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเช่นเดียวกัน จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียน พบว่าการกัดเซาะเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 30 เมตร และนับถึงขณะนี้พื้นที่ได้หายไป 200 กว่าเมตร แม้ผลกระทบจะไม่รุนแรงมากเท่าขุนสมุทรจีน แต่การกัดเซาะที่เกิดขึ้นหากไม่มีการแก้ไขปัญหาอาจทำให้ความรุนแรงของการกัดเซาะเพิ่มขึ้นอย่างคาดไม่ถึง

           จึงเป็นที่มาของงานวิจัย แบบจำลองการทำนายการกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียน ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อทำนายผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งในอีก 20 ปีข้างหน้า หากไม่มีมาตรการใดๆ ลงไปดูแลแก้ไข รวมไปถึงศึกษาปัจจัยหลักของการกักเซาะชายฝั่งบริเวณนี้ด้วย

           "การทำนายการกัดเซาะโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่กำลังศึกษาอยู่นี้จะแตกต่างจากการทำนายการกัดเซาะแบบเดิม ซึ่งใช้หลักสถิติในการทำนาย โดยการศึกษาแบบจำลองนี้ต้องอาศัยข้อมูลลักษณะสภาพดิน สภาพคลื่น ลม แรงที่กระทบกับชายฝั่ง ในการคำนวณ ซึ่งโมเดลที่ใช้ประกอบด้วยโมเดล 2 แบบ คือ แบบจำลองคลื่น ( SWAN - Shallow Water Wave Nearshore ) ใช้ข้อมูล ลม ความลึกของท้องน้ำ เพื่อคำนวณหาทิศทางคลื่นและความสูงของคลื่น และ แบบจำลองการกัดเซาะ ( GENESIS – Generalized Model for Simulating Shoreline Change ) ใช้ข้อมูลคุณสมบัติของดิน ความหนาแน่นของตะกอน ขนาดของตะกอน และข้อมูลที่ได้จากแบบจำลองคลื่น" นายประเสริฐศักดิ์ กล่าว

           ข้อมูลที่คำนวณได้จากแบบจำลองจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศซึ่งเป็นข้อมูลจริงเป็นช่วง เพื่อเปรียบเทียบความถูกต้อง และหาค่าผิดพลาด ซึ่งเมื่อ คำนวณแล้วพบว่ามีค่าผิดพลาดเพียง 20% เท่านั้น จากปกติที่การคำนวณการกัดเซาะจะมีค่าผิดพลาดได้ถึง 50% ซึ่งเมื่อคำนวณหาค่าผิดพลาดได้แล้วจึงสามารถคำนวณเพื่อทำนายการกัดเซาะในอนาคต โดยตั้งเป้าไว้ที่ปีพ.ศ. 2563 หรืออีก 12 ปีข้างหน้า ผลจากการคำนวณพบว่าหากไม่มีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใดๆ พื้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียนจะถูกกัดเซาะเข้าไปอีก 300 เมตร

         จากข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศตามแนวชายฝั่งนอกที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลเผยให้เห็นถึงสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่บริเวณนี้ นั่นคือ การขุดเจาะร่องน้ำเพื่อนำน้ำทะเลเข้าสู่บ่อกุ้ง ทำให้ป่าชายเลนที่เคยมีอยู่ถูกถอดรากถอนโคนไปหมด เมื่อขาดรากที่จะยึดเหนี่ยวตะกอนดินคลื่นจึงทำให้กัดเซาะตะกอนออกไปได้ง่าย   และยิ่งในช่วงของฤดูมรสุมที่มีคลื่นลมแรงกว่าช่วงเวลาปกติ อัตราการกัดเซาะชายฝั่งจะยิ่งสูงขึ้นด้วย

           นายประเสริฐศักดิ์ กล่าวว่า การพัฒนาแบบจำลองทำนายการกัดเซาะชายฝั่งในขั้นต่อไป คือการทำนายลักษณะการกัดเซาะในกรณีที่มีโครงสร้างป้องกันรูปแบบต่างๆ เช่น การปลูกป่าชายเลน การสร้างเขื่อนรูปแบบต่างๆ เพื่อหาโครงสร้างป้องกันที่เหมาะสมสำหรับชายฝั่งบางขุนเทียน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้สนับสนุนโครงการสร้างโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงพัฒนาให้สามารถนำไปใช้ทำนายการกัดเซาะในพื้นที่อื่นที่มีลักษณะชายฝั่งเป็นดินเลนปากแม่น้ำเช่นเดียวกับที่บางขุนเทียนได้อีกด้วย



จาก              :              กรุงเทพธุรกิจ   วันที่ 23 กรกฎาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: Sky ที่ กรกฎาคม 23, 2008, 03:39:41 AM
 :(
นับวันมีแต่จะหายไปทุกวัน ทุกวัน


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ สิงหาคม 01, 2008, 01:05:20 AM

โปรแกรมทำนายการกัดเซาะชายฝั่ง

ระบุอีก12ปีชายฝั่งหายถึง300เมตร
     
นศ.JGSEE พัฒนาโปรแกรมทำนายการกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียน โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ พบหาก กทม.ไม่มีมาตรการป้องกัน อีกไม่เกิน 12 ปี ชายทะเลบางขุนเทียนหายอีก 300 เมตร

นายประเสริฐศักดิ์ เอกพิสุทธิ์สุนทร นักศึกษาปริญญาเอก บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) กล่าวว่า  จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียน พบว่า การกัดเซาะเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 30 เมตร และนับถึงขณะนี้พื้นที่ได้หายไป 200 กว่าเมตร แม้ผลกระทบจะไม่รุนแรงมากเท่าขุนสมุทรจีน แต่การกัดเซาะที่เกิดขึ้นหากไม่มีการแก้ไขปัญหาอาจทำให้ความรุนแรงของการกัดเซาะเพิ่มขึ้นอย่างคาดไม่ถึง
           
งานวิจัย แบบจำลองการทำนายการกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียน ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อทำนายผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งในอีก 20 ปี จะแตกต่างจากการทำนายการกัดเซาะแบบเดิม ซึ่งใช้หลักสถิติในการทำนาย โดยการศึกษาแบบจำลองนี้ต้องอาศัยข้อมูลลักษณะสภาพดิน สภาพคลื่น ลม แรงที่กระทบกับชายฝั่ง ในการคำนวณ ซึ่งโมเดลที่ใช้ประกอบด้วยโมเดล 2 แบบ คือ แบบจำลองคลื่น (SWAN - Shallow Water Wave Nearshore) ใช้ข้อมูล ลม ความลึกของท้องน้ำ เพื่อคำนวณหาทิศทางคลื่นและความสูงของคลื่น และแบบจำลองการกัดเซาะ ( GENESIS – Generalized Model for Simulating Shoreline Change) ใช้ข้อมูลคุณสมบัติของดิน ความหนาแน่นของตะกอน ขนาดของตะกอน และข้อมูลที่ได้จากแบบจำลองคลื่น
           
 ข้อมูลที่คำนวณได้จากแบบจำลองจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศซึ่งเป็นข้อมูลจริงเป็นช่วง เมื่อคำนวณแล้วพบว่ามีค่าผิดพลาดเพียง 20% เท่านั้น จากปกติที่การคำนวณการกัดเซาะจะมีค่าผิดพลาดได้ถึง 50% เมื่อคำนวณหาค่าผิดพลาดได้แล้วจึงสามารถคำนวณเพื่อทำนายการกัดเซาะในอนาคต โดยตั้งเป้าไว้ที่ปีพ.ศ. 2563 หรืออีก 12 ปีข้างหน้า ผลจากการคำนวณพบว่า หากไม่มีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใดๆ พื้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียนจะถูกกัดเซาะเข้าไปอีก 300 เมตร
         
จากข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศตามแนวชายฝั่งนอกที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลเผยให้เห็นถึงสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่บริเวณนี้ นั่นคือ การขุดเจาะร่องน้ำเพื่อนำน้ำทะเลเข้าสู่บ่อกุ้ง ทำให้ป่าชายเลนที่เคยมีอยู่ถูกถอดรากถอนโคนไปหมด เมื่อขาดรากที่จะยึดเหนี่ยวตะกอนดินคลื่นจึงทำให้กัดเซาะตะกอนออกไปได้ง่าย  และยิ่งในช่วงของฤดูมรสุมที่มีคลื่นลมแรงกว่าช่วงเวลาปกติ อัตราการกัดเซาะชายฝั่งจะยิ่งสูงขึ้นด้วย



จาก                     :               เดลินิวส์    วันที่ 30 กรกฎาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ สิงหาคม 27, 2008, 12:42:35 AM

เกิดนานแล้ว 'ภัยทะเล' 'ดินหด-บ้านหาย' ร้าย! ไม่แพ้สตอมเซอจ
 
(http://ads.dailynews.co.th/column/images/2008/politic/8/27/62196_57548.gif) 
 
 จะมีโอกาสเกิดสูง หรือมีโอกาสเกิดไม่ถึง 10% ก็เป็นเรื่องเหมาะแล้วควรแล้ว ที่หลายพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย โดยเฉพาะสมุทรปราการ และรวมถึงกรุงเทพฯ จะมีการ “ตื่นตัวเตรียมรับมือ” ภัย “สตอมเซอจ” ปรากฏการณ์ “น้ำทะเลยกตัวสูงเข้าท่วมชายฝั่ง” อันเนื่องจากอิทธิพลพายุขนาดใหญ่...
 
และจะยิ่งดี...หากสนใจภัยน้ำทะเลที่เกิดอยู่แล้วด้วย
 
“ทะเลกลืนแผ่นดิน” ภัยนี้ร้ายไม่แพ้สตอมเซอจ ?!?
 
“ลองหลับตานึกดูแล้วกันว่าถ้าแผ่นดินตรงนี้หายไป ไม่อยู่ช่วยบังกรุงเทพฯ อะไรจะเกิดขึ้น ??” ...เป็นเสียงของ สมร เข่งสมุทร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 “บ้านขุนสมุทรจีน” ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทร ปราการ ชุมชนเล็ก ๆ ซึ่งตั้งอยู่ติดทะเลอ่าวไทย ไกลจากกรุงเทพฯไม่มากนัก
 
ผู้ใหญ่บ้านรายนี้บอกว่า... กับ “สตอมเซอจ” ชาวบ้านในพื้นที่จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือเชื่อว่าอาจเกิดและไม่น่าจะเกิด แต่กับปัญหาเก่าแก่อย่าง  “คลื่นทะเล-น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง-กลืนผืนดิน” ทุกคนต่างเห็นตรงกันว่าปัญหาหลังนี้นับว่าใหญ่มากกว่าสตอมเซอจ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จนสุดท้ายแผ่นดินบ้านขุนสมุทรจีนถูกน้ำทะเลลบหายไปจากแผนที่ ในอนาคตกรุงเทพฯก็อาจมีสภาพไม่ต่างอะไรกับบ้านขุนสมุทรจีน ?!?!?
 
แม้ชาวบ้านจะทำใจยอมรับสภาพ แต่ก็อดตั้งคำถามในใจไม่ได้ว่าเคราะห์ที่แบกรับอยู่นี้ชาวบ้านในพื้นที่หรือใครหรืออะไรที่ก่อ ? แล้วก็รู้สึกน้อยใจที่ไม่ได้รับการเหลียวแลเท่าที่ควร !?!
 
จากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่สมร เคยมีการยื่นหนังสือถึงหน่วยงานรัฐบาลเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ก็ไม่มีอะไรคืบหน้า สุดท้ายก็ต้องแก้ปัญหากันเอง ต่อมามีนักวิจัย-นักวิชาการบางกลุ่มเสนอตัวเข้าช่วยแก้ปัญหาโดยจัดทำ “เขื่อนสลายกำลังคลื่น” ก็ดูจะมีความหวังขึ้น แต่ก็ยังไม่ครอบคลุม เหตุเพราะขาดปัจจัยงบประมาณ
 
ก็มีการร้องขอไปยังหน่วยงานรัฐอีกครั้ง แต่ก็ดูเหมือนว่าจะเงียบหายเหมือนเช่นทุกครั้งที่เคย ด้วยคำตอบประมาณว่า... “ปัญหามันใหญ่โตเกินไป !!” “จะช่วยได้ยังไงไหว ? มันต้องใช้งบสูง !!” ซึ่งคำถามก็เกิดขึ้นว่า...หมายความว่าจะปล่อยให้ชาวบ้านเผชิญชะตากรรมกันไปโดยไม่ช่วยแก้ไขใช่หรือไม่ ??
 
“แต่ก่อนแผ่นดินมีงอกบ้าง มีหดบ้าง แต่เดี๋ยวนี้มีแต่จะหดหายไปเรื่อย ๆ น้ำทะเลรุกไล่ที่ดินเข้ามาเรื่อย ๆ ย้ายบ้านหนีน้ำกันมาไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง อย่างของฉันนี่ตั้งแต่จำความได้ก็เป็นครั้งที่ 8 แล้ว ตั้งแต่รุ่นพ่อ” ...ผู้ใหญ่สมรกล่าว ก่อนบอกต่อไปว่า... ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นตลอด 30 ปี ไล่มาตั้งแต่ปี 2520 สร้างผลกระทบกับชาวบ้านในพื้นที่อย่างมาก ต้องถอยร่นหนีน้ำกันอยู่เรื่อย ๆ “ยิ่งระยะ 2 ปีมานี้ปัญหาก็ยิ่งหนักขึ้น !!” แค่ 2 ปีกว่าหายไปอีก 4-5 กม. ซึ่งส่วนสำคัญคงเกิดจาก “ภาวะโลกร้อน” ปัญหาจึงรุนแรงหนักขึ้น
 
“คนไหนที่ดินจมน้ำไม่เหลือก็ต้องเช่าที่คนอื่นเขาทำกิน อย่างโรงเรียนขุนสมุทรฯ ก็ย้ายหนีน้ำมา 3 ครั้งแล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะทนได้อีกนานแค่ไหน เพราะตอนนี้ก็เริ่มถูกน้ำทะเลกัดเซาะอีกแล้ว”
 
ชาวบ้านที่เคยร่วมกันต่อสู้ เดี๋ยวนี้เริ่มเล็กลง ล้มหายตายจากไปบ้าง ย้ายไปที่อื่นบ้าง บางคนก็ท้อเพราะทำไปแล้วไม่มีอะไรคืบหน้า หลายคนก็เกิดความกังขาว่า...ทำไมไม่มีใครมาใส่ใจกำแพงหน้าด่านตรงนี้จริงจัง ไม่มีใครเข้ามาดูแล ปล่อยให้เป็นเหมือน “หมู่บ้านตกสำรวจ” ทั้ง ๆ ที่อยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวง
 
“ยิ่งแผ่นดินตรงนี้หายไป อัตราเสี่ยงที่กรุงเทพฯจะเจอกับภัยธรรมชาติก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น เพราะไม่มีหน้าด่านตรงนี้คอยรับแรงปะทะ ชาวบ้านเองก็พยายามช่วยกันเอง พยายามปกป้องรักษาไว้ให้ถึงที่สุด เราก็สงสัยกันว่าทำไมไม่มีใครคิดช่วยทำอะไรจริง ๆ จัง ๆ บ้าง ถ้าสักวันแผ่นดินตรงบ้านขุนสมุทรจีนนี้หายไป คิดหรือว่าพระสมุทรเจดีย์ หรือกรุงเทพฯ จะเหลือ ?” ...ผู้ใหญ่สมรทิ้งท้าย
 
ด้าน พระอธิการสมนึก อติปัญโญ เจ้าอาวาสวัดขุนสมุทราวาส บอกกับทีม “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ว่า... ที่บ้านขุนสมุทรจีนนี่หากอยากรู้ว่าชายแผ่นดินเดิมตั้งอยู่ตรงไหน ก็ให้มองไล่ไปตามแนวเสาไฟที่ทอดยาวออกไปในแผ่นน้ำไกลสุดลูกหูลูกตา นั่นคือร่องรอยยืนยันว่าเคยมีชุมชนเก่าตั้งอยู่บริเวณนั้นจริง ๆ ซึ่งหากเกิดสตอมเซอจหรือพายุแรง ๆ พัดเข้า ฝั่งทางสมุทรปราการโซนที่ติดกรุงเทพฯ หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้น“บริเวณนี้ถือว่าเป็นจุดแรก ๆ ที่ชาวบ้านจะต้องผจญกับวิกฤติการณ์ดังกล่าวก่อนใครเพื่อน”
 
เจ้าอาวาสวัดขุนสมุทรฯบอกต่อไปว่า... หากเกิดภัยธรรมชาติอย่างที่กลัว ๆ กันขึ้น แล้วพื้นที่นี้ถูกหลงลืมว่าคือพื้นที่เสี่ยง-พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายสูง ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะทุกวันนี้ปัญหาเก่า ๆ ก็ยังไม่ปรากฏว่าจะมีแนวทางการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม สิ่งที่ทำได้ในเวลานี้มีเพียงขอให้กำลังใจชาวบ้านไม่หด สติต้องไม่ตก จะได้พร้อมรับมือกับปัญหาอย่างมีปัญญา ซึ่ง ชุมชนและวัดคงไม่สามารถพึ่งพารัฐได้
 
“เพราะรอมานานมากแล้ว ถ้าเอาแต่รอป่านนี้วัดนี้ก็คงไม่เหลือให้เห็นแล้ว ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ประเทศที่เขาไม่มีพื้นดินเขาถมทะเลเพื่อจะสร้างพื้นดินเพิ่ม แต่บ้านเรามีพื้นดินกลับปล่อยให้เป็นทะเล หรือจะรอให้มันหายไปจากแผนที่ประเทศไทยก่อนก็ไม่รู้นะ” ...เจ้าอาวาสวัดขุนสมุทรฯกล่าว
 
“ทะเลรุก-แผ่นดินหด” ดูแล้ว “ร้ายไม่แพ้สตอมเซอจ”
 
ลำพังเพียงชุมชน-องค์กรท้องถิ่น...คงยากจะรับมือได้
 
ระดับรัฐบาลคงต้องสนับสนุนจังหวัด...จึงจะพอสู้ !!!.
 



จาก                             :                           เดลินิวส์   วันที่ 27 สิงหาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ สิงหาคม 28, 2008, 01:09:31 AM

บ้านขุนสมุทรจีน มรธ.วิจัยเชิงอนุรักษ์

(http://www.matichon.co.th/news-photo/khaosod/2008/08/col01280851p1.jpg)
วัดขุนสมุทราวาสในปัจจุบัน
 
มหาวิทยาลัยราชภัฏ ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยท้องถิ่น เพื่อคนในท้องถิ่น มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษา ให้บริการวิชาการ และสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 40 แห่ง ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ มีส่วนสำคัญในการผลักดันกระบวนการเรียนรู้ สร้างสรรค์ผลงานวิจัยให้กับท้องถิ่น

ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (มรธ.) มีทิศทางในการผลิตผลงานวิจัยแบบมีส่วนร่วมให้กับชุมชนในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยพัฒนาชุมชนฝั่งธนบุรี และการวิจัยพัฒนาทรัพยากรของจังหวัดสมุทรปราการ

ศูนย์อุดมศึกษาสมุทรปราการ ซึ่งเป็นแคมปัสแห่งใหม่ของ มรธ. ได้จัดทำงานวิจัยเรื่อง การจัดทำคู่มือท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ต.แหลมผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ

ภายใต้แนวคิด "วันเดียวเที่ยวสนุก ได้ความรู้สู่การอนุรักษ์" โดยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มจำนวน 2,000 เล่ม สามารถนำไปใช้ประกอบการนำเที่ยวในชุมชนชายฝั่งทะเลได้

ผศ.พรรณี แพ่งกุล หัวหน้าคณะวิจัย มรธ. ในโครงการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการ กล่าวว่า คู่มือการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน เป็นการแนะนำแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้ใหม่ที่นักท่องเที่ยวใช้เวลาไม่เกิน 1 วัน สามารถเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ได้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านชายฝั่งทะเลที่มีการพังทลายของพื้นดินชายฝั่งมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ การเปลี่ยนแปลงของสภาพธรรม ชาติ สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความเป็นอยู่ การ อพยพย้ายถิ่นฐานบ้านเรือน การประกอบ อาชีพ และการต่อสู้กับภัยธรรมชาติ

(http://www.matichon.co.th/news-photo/khaosod/2008/08/col01280851p2.jpg)
1.ภาพถ่ายจากดาวเทียม    2.เจ้าหนุ่มน้อยลอยชาย    3.สภาพพื้นที่บริเวณชุมนุมขุนสมุทรจีน

ทั้งนี้ ในชุมชนขุนสมุทรจีนประกอบด้วยชาวไทยเชื้อสายมอญและชาวไทยเชื้อสายจีน โดยค้นพบหลักฐานโบราณวัตถุแสดงความสัมพันธ์ด้านการค้าขายกับต่างประเทศ

"ชาวบ้านในชุมชนอยากทราบประวัติศาสตร์ของชุมชนผ่านการเรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น รวมทั้งต้องการเรียนรู้วิธีบริหารจัดการพิพิธ ภัณฑ์ที่นำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชน"

ดังนั้น ผู้วิจัยจึงแนะนำและช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ส่วนชาวบ้านจะมีบทบาทหลักในการจัดทำ ทะเบียนโบราณวัตถุ การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ และแสดงสภาพความเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมของชุมชนขุนสมุทรจีน ทำให้พบปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติตามภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี

"จะเห็นได้จาก พระอุโบสถของวัดขุนสมุทราวาส หรือวัดทะเล ซึ่งเดิมสร้างอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเล แต่ปัจจุบันระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเรื่อยๆ และกัดเซาะชายฝั่งเข้ามาจนถึงโบสถ์ของวัดขุนสมุทราวาส" ผศ.พรรณี กล่าว

ผศ.พรรณี กล่าวว่า การดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้ชุมชน ในระยะยาวสามารถจัดกิจกรรมดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเห็นพิษภัยของปัญหาโลกร้อน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา โดยเห็นตัวอย่างในพื้นที่จริง ซึ่งในงานวิจัยระบุถึงแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชายฝั่งทะเลสมุทรปราการ ได้แก่

1. ป่าชายเลน ที่เป็นแหล่งทะเลตมที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นที่อยู่อาศัยของนกกาน้ำปากยาว นกกระเต็น นกยางเปีย นกยางขาว นกกางเขน นกกิ้งโครง

2. สุสานหอย ซึ่งประกอบด้วย เศษเปลือกหอยถูกพัดมาทับถมตกตะกอนเป็นเวลานานตามชายฝั่งทะเลเป็นทางยาว 80 กิโลเมตร

3. สภาพน้ำและพรรณพืชสัตว์ริมฝั่งคลองขุนสมุทร

4. แหล่งโบราณวัตถุ เก่าแก่ตั้งแต่ 100-300 ปี เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน

5. วัดขุนสมุทราวาส และศาลเจ้าพ่อหนุ่มน้อยลอยชาย เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือ และ

6. สภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะโลกร้อน

ด้าน ผศ.อารีย์ วชิรวราการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (มรธ.) เปิดเผยถึงจุดเด่นของการทำงานวิจัยของมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยเน้นทำวิจัยต่อยอดองค์ความรู้พัฒนาชุมชนในจ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์การศึกษาวิทยาเขตใหญ่ของ มรธ.

"ล่าสุดมหาวิทยาลัยได้รับการสนับ สนุนงบประมาณจากจังหวัดสมุทรปราการ ในปี 2550 จัดทำคู่มือท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ซึ่งสามารถดึงนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศจากสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องรอเวลาต่อเครื่องบินเดินทางไปยังประเทศอื่นๆ สามารถใช้เวลาที่เหลือครึ่งวันหรือตลอดทั้งวันเข้ามาเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ชุมชนเหล่านี้ได้ สำหรับขุนสมุทรจีนนั้น มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเข้ามาเป็นนักวิจัยร่วมกันกับคณะผู้วิจัยของ มรธ."

ผศ.อารีย์กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเข้าไปทำงานวิจัยร่วมกับชุมชนต่างๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่ปี 2548-2551 ทำให้เรามีข้อมูลทางวิชาการด้านงานวิจัยชุมชนไม่ว่าจะเป็น อาชีพ สภาพแวดล้อม และปัญหาชุมชน เป็นต้น การทำวิจัยชุมชนชุดนี้ เป็นข้อมูลทางการศึกษาที่น่าสนใจมาก เนื่องจากมีทรัพยากร พรรณพืชที่อุดมสมบูรณ์มาก และยังเป็นแหล่งเรียนรู้โบราณคดี โดยเชิญ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการประวัติศาสตร์และโบราณคดีมาร่วมเป็นที่ปรึกษาทำงานวิจัยแบบสหวิทยาการ

ทั้งนี้ ในอนาคต มหาวิทยาลัยมีนโยบายขยายผลจากงานวิจัยในการบูรณาการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยร่วมกับการท่องเที่ยวสมุทรปราการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการ นำคณะทัวร์นักท่องเที่ยวที่รอต่อเครื่องบินจากสุวรรณภูมิ หรือนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆ มาพักรับประ ทานอาหารที่โรงแรมของมหาวิทยาลัยราช ภัฏธนบุรี ที่วิทยา เขตสมุทรปราการ ซึ่งมีนักศึกษาโปรแกรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวคอยรับรองอำนวยความสะดวก จากนั้นเดินทางไปท่องเที่ยวที่ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน

การที่มหาวิทยาลัยดึงนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวในชุมชน ส่วนหนึ่งเป็นการระดมทุนเข้ามาช่วยเหลือการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน และที่สำคัญเราต้องทำให้ชาวบ‰านตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะปัจจุบันผลกระทบเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อมได้มาถึงตัวชาวบ้านในชุมชนบ้านขุนสมุทรจีนแล้ว

"นักท่องเที่ยวควรมาเที่ยวชมชุมชนขุนสมุทรจีน เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมแล้วช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติ ใช้พลังงานทางเลือก ลดการทำลายธรรมชาติ เพื่อหยุดยั้งภาวะโลกร้อนไม่ให้ลุกลามไปมากกว่านี้ เห็นได้ง่ายคือ การกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่กินพื้นแผ่นดินลึกเข้ามาเรื่อยๆ" อธิการบดี มรธ. กล่าว

แม้จะยังไม่สามารถหยุดยั้งการกัดเซาะชายฝั่งได้ แต่ก็สามารถใช้ประโยชน์จากการกัดเซาะได้เช่นกัน





จาก                             :                           ข่าวสด   คอลัมน์ราชภัฏวันนี้   วันที่ 28 สิงหาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 02, 2008, 01:45:06 AM

นำร่อง"บ้านขุนสมุทรจีน" แก้ปัญหาน้ำทะเลเซาะตลิ่ง

รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล จากหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ปัญหาแผ่นดินหายเนื่องจากการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่นและลมทะเลมีความรุนแรงมากขึ้นตลอดแนวชายฝั่งทะเลของไทยทั้งหมด 2,667 กิโลเมตร พื้นที่มีปัญหากัดเซาะชายฝั่งรุนแรงที่สุดของประเทศ คือ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีแนวชายฝั่งทั้งสิ้น 45 กิโลเมตร

ประชาชนประสบปัญหาการพังทลายของแนวตลิ่งมาเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้หลายครอบครัวต้องสูญเสียพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย จนต้องอพยพออกนอกพื้นที่ไปตั้งถิ่นฐานยังแหล่งอื่นๆ ส่วนครอบครัวที่ยังคงอาศัยอยู่ก็ต้องอพยพหนีน้ำมานานแล้วหลายครั้ง เช่น ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ อพยพหนีน้ำมาแล้ว 7-10 ครั้ง ในรอบ 20 ปี โบสถ์ของวัดขุนสมุทรทราวาส จมน้ำทะเลประมาณ 1 เมตร ที่ดินราษฎรบริเวณนี้ได้ถูกน้ำทะเลซัดหายไปแล้วกว่า 1 กิโลเมตร และในช่วงปี พ.ศ.2510-2548 พื้นที่ชายฝั่งทะเลของจังหวัดสมุทรปราการถูกน้ำทะเลกัดเซาะหายไปทั้งสิ้น 11,104 ไร่

ดร.ธนวัฒน์กล่าวว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) เห็นความสำคัญของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงได้มีความร่วมมือกับธนาคารโลกและจังหวัดสมุทร ปราการ ให้ศึกษาถึงแนวทางการลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล โดยเลือกหมู่บ้านขุนสมุทรจีน เป็นพื้นที่นำร่องในการศึกษา และเป็นงานวิจัยแบบบูรณาการ มีผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ อาทิ อุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา นิเวศวิทยาชายฝั่ง ธรณีพิบัติภัยเศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมชายฝั่งและสังคม รวมถึงภูมิสถาปัตย์ และกฎหมายที่ดิน นอกจากนั้นยังมีนักวิจัยท้องถิ่นซึ่งเป็นชุมชนในพื้นที่เข้าร่วมเก็บข้อมูลเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้

"งานวิจัยแบบ Action Research และรูปธรรมของแบบจำลองเขื่อนสลายคลื่น ที่บ้านขุนสมุทรจีน นำไปขยายผลการแก้ไขพื้นที่ชายฝั่งหาดโคลนอื่นๆ ที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาการกัดเซาะและพังทลาย สกว.จึงจัดการประชุมสัมมนาเรื่องการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งหาดโคลนกรณีบ้านขุนสมุทรขึ้น โดยร่วมมือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และธนาคารโลก เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยของคณะวิจัย และผลการประเมินแบบจำลองเขื่อนสลายคลื่นเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่งกัดเซาะที่บ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ ของผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก ในวันที่ 8 กันยายนนี้"



จาก                 :                 มติชน      วันที่ 2 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 09, 2008, 01:20:24 AM

อีก'วิกฤติ'ต้องร่วมกู้ ! 'ต้านภัยทะเล' 'รักษาชายฝั่ง' สำคัญ
 
(http://ads.dailynews.co.th/column/images/2008/politic/9/9/62753_58121.jpg) 
 
 ขณะที่บ้านเมือง-การเมืองกำลังวุ่นวาย “ภัยธรรมชาติ” ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อก็คงไม่รอให้สถานการณ์บ้านเมืองสงบก่อนแล้วค่อยเกิดขึ้น ซึ่งก็เป็นภารกิจของฝ่ายต่าง ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องดำเนินมาตรการต่าง ๆ ซึ่งว่ากันถึงช่วงเวลานี้ ภัยน้ำกำลังน่าเป็นห่วงที่สุด ไม่ว่าจะน้ำท่วม หรือ “ภัยจากน้ำทะเล” ...
 
และภัยจากน้ำทะเลก็ใช่แค่กรณีเกิด-ไม่เกิด “สตอมเซอจ”
 
ทะเลรุกแผ่นดิน “กัดเซาะชายฝัง” ก็เป็นภัยที่ใช่ว่าไม่ร้าย !!


เมื่อปลายเดือนที่แล้วทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ก็ลงพื้นที่และนำเสนอเรื่องราวความเดือดร้อนของชาวบ้านที่บ้านขุนสมุทรจีน ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ซึ่งที่นี่ก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ตัวอย่างที่ประสบภัย “น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง” ภัยที่ไม่ว่าจะเกิดขึ้น ณ พื้นที่ชายฝั่งที่ใดก็ทำให้เดือดร้อนทั้งนั้น ยิ่งถ้า “สตอมเซอจ” ปรากฏการณ์น้ำทะเลยกตัวสูงโถมใส่ชายฝั่ง อันเนื่องจากพายุขนาดใหญ่เกินปกติ อันเนื่องมาจาก “ภาวะโลกร้อน” มันเกิดขึ้นมาซ้ำ ความเดือดร้อนก็จะยิ่งขยายตัวใหญ่ขึ้น-ร้ายแรงยิ่งขึ้น !!
 
ทั้งนี้ วิกฤติน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งมิใช่เกิดขึ้นแล้วแค่ที่บ้านขุนสมุทรจีน แต่เกิดขึ้นแล้วหลายพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ การเร่งดำเนินการแก้ปัญหาวิกฤติน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง จึงถือว่ามีความสำคัญ
 
จากข้อมูลที่ตรวจสอบยืนยันได้ พื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนประสบ ปัญหาถูกน้ำทะเลกัดเซาะในหลายพื้นที่ในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบันก็เป็นยุคที่การกัดเซาะของทะเลมีพลังรุนแรงขึ้นกว่าในอดีต
 
ที่เห็นได้ชัดก็เช่น... บ้านขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการ “ชาวบ้านต้องย้ายถิ่นฐานหนีน้ำ ต้องสูญเสียที่ดินไปในทะเล ต้องประสบความยากลำบากในการดำรงชีพ” หรือที่บ้านคลองสีล้ง เขต อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ชายฝั่งถูกน้ำทะเลกัดเซาะในอัตราเฉลี่ย 15 เมตรต่อปี และแม้แต่พื้นที่ของ กรุงเทพฯ ชายฝั่งเขตบางขุนเทียน ก็ถูกน้ำทะเลกัดเซาะในอัตราเฉลี่ย 12 เมตรต่อปี ซึ่งก็ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้คน
 
ไม่เท่านั้น !! กับ “พื้นที่ป่าชายเลน” ที่สำคัญทั้งต่อระบบนิเวศ ต่อการประกอบอาชีพประมงชายฝั่งของชาวบ้าน และต่อการเป็นเกราะต้านภัย ธรรมชาติจากทะเล ก็ “วิกฤติ” ด้วย !!
 
อย่างพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ผลจากการถูกน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งก็ทำให้พื้นที่ป่าชายเลนลดลงอย่างน่าใจหาย จากในปี 2552 พื้นที่ส่วนนี้มีป่าชายเลนประมาณ 254.25 ตารางกิโลเมตร พอถึงปี 2547 ลดเหลือเพียง 68.37 ตารางกิโลเมตร นี่ก็บ่งบอกถึงระดับปัญหาได้ชัดเจน ซึ่งก็ต้องมีวิธีฟื้นฟูแก้ไข
 
“...จากการสำรวจ พบว่าสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งทะเลของไทยมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ระยะทาง ทั้งหมด 1,660 กิโลเมตร มีพื้นที่วิกฤติซึ่งมีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตรต่อปี จำนวน 12 จังหวัด รวมระยะทาง 180.9 กิโลเมตร ได้แก่ สมุทร ปราการ กรุงเทพฯ จันทบุรี ระยอง นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และมีพื้นที่เสี่ยงซึ่งมีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ย 1-5 เมตรต่อปี 14 จังหวัด เป็นระยะทาง 305.1 กิโลเมตร ขณะที่พื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน ระยะทาง 954 กิโลเมตร มีพื้นที่วิกฤติซึ่งมีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตรต่อปี จำนวน 5 จังหวัด เป็นระยะทางรวม 23 กิโลเมตร และยังพบว่าทุกจังหวัดเป็นพื้นที่เสี่ยงด้วยระยะทางรวม 90.5 กิโลเมตร...”
 
...นี่เป็นข้อมูลจากการสำรวจ ที่เปิดเผยเมื่อเร็ว ๆ นี้โดย นิศากร โฆษิตรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าติดตามความคืบหน้า และคนอยู่ในพื้นที่ประสบปัญหาก็ควรต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย กับ “ยุทธศาสตร์การจัดการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง” ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติเห็นชอบไว้ เมื่อ 24 ต.ค. 2550 ที่ผ่านมา
 
หลักใหญ่ใจความ จะมีการจัดทำแผนปฏิบัติการที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาและฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่งในลักษณะบูรณาการระหว่างหน่วยงาน กลางและหน่วยงานในพื้นที่ กำหนดผู้รับผิดชอบ และอื่น ๆ เพื่อเร่งดำเนินการอย่างเหมาะสม อีกทั้งจะมีการวิเคราะห์ ประเมิน เพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินการ
 
นอกจากนี้ “การมีส่วนของของประชาชน-ชุมชน” ที่ประสบ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ก็มีการให้ความสำคัญ และ “ก็สำคัญ” ทั้งในการแก้ ปัญหาป้องกันปัญหา รวมจนถึงการเสนอให้มีรูปแบบที่เหมาะสมในการ “รักษา ชายฝั่ง” และ “รักษาป่าชายเลน” การกำหนดพื้นที่อนุรักษ์-พื้นที่ใช้ประโยชน์ ให้ชัดเจน
 
กรณีตัวอย่างการมีส่วนร่วมของประชาชน-ชุมชน กับการดำเนิน การของหน่วยงานรัฐ ก็อย่างเช่น...กลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรมหาชัยตะวันออก ที่มี วรพล ดวงล้อมจันทร์ เป็นแกนนำ ที่มีการก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้และปฏิบัติการทางชายฝั่ง ชาวบ้านได้ร่วมกันคิดสร้างปราการป้องกัน เช่น แนวไม้ไผ่ เพื่อป้องกันการพังทลายของชายฝั่งและป่าชายเลน และก็ช่วยลดความรุนแรงของคลื่นน้ำทะเลที่โถมเข้ากัดเซาะชายฝั่งได้มาก เมื่อเทียบกับบริเวณที่ไม่มีการปักแนวไม้ไผ่ ซึ่งก็คงจะมีการศึกษา-ตรวจวัดสัมฤทธิผลให้ชัดเจนต่อไป
 
ด้านหนึ่ง...ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องเร่งดำเนินการ
 
อีกด้าน...ประชาชนในพื้นที่เองก็ต้องมีส่วนร่วมจริงจัง
 
ประโยชน์มี...มิใช่แค่ “แก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง”
 
แต่ยัง “ต้านภัยทะเลรุนแรง” ที่อาจจะเกิด...ด้วย !!!.

 



จาก                 :                 เดลินิวส์      วันที่ 9 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 12, 2008, 12:31:37 AM

"บางขุนเทียน" กำลังจะจมหาย ผู้ว่าฯ คนใหม่ช่วยที

ชาว บางขุนเทียนอยากได้ผู้ว่าฯ ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งเป็นปัญหายืดเยื้อ และไม่ได้รับการแก้ไขมานาน หวั่นถ้าไม่มีใครแก้ไขอย่างจริงจัง แหล่งอาหารทะเลที่สมบูรณ์จะสูญพันธุ์

ทีม งานคุณภาพชีวิต ยังคงปักหลักคุยกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขมาเป็นเวลานาน ชาวบ้านในหมู่บ้านคลองพิทยาลงกรณ์ แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน เปิดใจว่า อาชีพหลักของชาวบ้านในหมู่บ้านนี้ คือ ประมง และเป็นแหล่งประมงที่มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ เป็นเหมือนคลังอาหารทะเลที่ส่งเข้าไปเลี้ยงให้คนในเมืองอย่างกรุงเทพมหานคร ได้มีอาหารทะเลสดๆ กินกันอย่างอุดมสมบูรณ์  ถ้าปัญหาที่มีอยู่ยังคงไม่ได้รับการแก้ไข น้ำทะเลยังคงกัดเซาะเข้าสู่พื้นที่ทำกินที่เป็นคลังอาหารทะเลให้จมหายกลาย เป็นทะเลอยู่อย่างนี้ อีกไม่นาน หมู่บ้านและชุมชนนี้ก็จะต้องจมหายไปกับทะเล แหล่งอาหารที่สมบูรณ์และสำคัญก็จะต้องหายไปด้วย   

 "ความอุดม สมบูรณ์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนในขณะนี้ คือ ที่นี่มีทั้งกุ้งตัวใหญ่ๆ กุ้งกุลาดำ หอยแครง หอยแมลงภู่  ปูม้า ปูทะเล ปลากะพงขาว ปลากุเลา ปลาดุกทะเล หอยนางรม พูดง่ายๆ ชาวบ้านก้าวขาออกจากบ้านก็หาอาหารพวกนี้กินได้ทันที ถือว่าเป็นความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งส่งไปถึงกรุงเทพฯ ด้วย เปรียบเสมือนบางขุนเทียนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงในเมืองมีอาหารทะเล สดๆ กินกันจนถึงทุกวันนี้ แล้วก็เพราะความอุดมสมบูรณ์นี่เอง ที่ทำให้มีปลาโลมา มาเยือนด้วย"

 ด้าน คุณคงศักดิ์ ฤกษ์งาม หัวหน้าชุมชนหมู่บ้านพิทยาลงกรณ์ กล่าวเสริมจากที่ชาวบ้านเล่าว่า นี่คือความอุดมสมบูรณ์ แต่กำลังจะหมดไป เพราะมีบางส่วนที่หน้าฝนในฤดูนี้อาจจะหายไปกับทะเล ดังนั้น จึงอยากให้ผู้ว่าฯ ที่จะเข้ามารับตำแหน่งใหม่ ลงมาพิสูจน์ด้วยว่า การกัดเซาะบางขุนเทียน ถึงขั้นไหนแล้ว ลงมาช่วยชาวบ้านหน่อย ชาวบ้านไม่ไหวแล้ว ถ้าจะเทียบถึงความรุนแรงสำหรับที่บางขุนเทียนนี้ สึนามิคงสู้ไม่ได้ เพราะสึนามิมาตูมเดียว ราบไปหมด แต่ภายใน 2-3 ปี สามารถที่จะพัฒนา หรือฟื้นให้มีสภาพกลับคืนมาได้ แต่ชายทะเลบางขุนเทียน หายไปเรื่อยๆ ไม่เคยกลับมาเหมือนเดิมเลย ขณะนี้ที่ดินชาวบ้านกว่า 3,000 ไร่ จมหายไปเป็นทะเลหมดแล้ว ไม่สามารถฟื้นคืนชีพมาได้

 "ผมอยากให้ผู้ว่าฯ คนใหม่ ลงมาดูแลในส่วนนี้ด้วย หรือเข้ามาดูแลชาวบ้านหน่อยเถอะครับ เพราะชาวบ้านก็แย่ และจะไม่ไหวอยู่แล้ว"

 แม้ ว่าชาวบ้านจะได้เอาภูมิปัญญาดั้งเดิมมาใช้ เพื่อเป็นการประทังให้ตัวเองยังพอมีอาชีพอยู่ได้ แต่ก็เป็นเพียงผลระยะสั้นๆ เพราะจากการที่ชาวบ้านได้ทำเขื่อนไม้ไผ่เพื่อชะลอคลื่นขึ้นมา ซึ่งเห็นผลแล้วว่า สามารถทำให้มีเลนเกิดขึ้นมาได้ แต่เป็นเพียงชั่วระยะสั้นๆ เท่านั้น เนื่องจากไม้ไผ่ก็มีอายุการใช้งานที่ไม่ยาว ถ้าเปลี่ยนจากแนวไม้ไผ่เป็นเสาไฟฟ้าได้ คงจะช่วยให้ชาวบ้านอุ่นใจได้มากกว่านี้ เพราะเสาไฟฟ้ามีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และคงทน จะยิ่งช่วยทำให้ดินที่หดหายสามารถเกิดขึ้นมาใหม่ได้ยาวนานกว่าไม้ไผ่ ที่มีอายุใช้งานแค่ 4-5 ปี

 แต่ถ้าเป็นไส้กรอกทรายที่ทางราชการพยายามจะนำเข้ามาให้ใช้นั้น ชาวบ้านขอปฏิเสธเลยว่า ไม่เอา

 ทั้ง นี้ เพราะเมื่อเอาไส้กรอกทรายมาวางขนานไว้กับชายฝั่งทะเล เพื่อกันแรงคลื่น ผลจากการที่มีหลายที่ที่เคยนำไส้กรอกทรายไปวางไว้เพื่อชะลอคลื่น ปรากฏว่า หลังจากวางไว้สักระยะไส้กรอกทรายเริ่มแตก ทรุดตัวลง ทำให้ไม่สามารถต้านคลื่นได้ เพราะคลื่นมีความรุนแรงมาก ในพื้นที่บางขุนเทียนเป็นดินนุ่ม พอเกิดการทรุดตัวของไส้กรอกทรายก็จะบิดตัว แล้วฉีกขาดและแตกในที่สุด สิ่งที่ตามมาคือ จะกลายเป็นทะเลทราย ทำให้ระบบนิเวศเสียไปด้วย กุ้ง หอย ปู ปลา ก็ไม่มีที่อยู่อาศัย วิถีชาวบ้านก็จะเปลี่ยนไปด้วย

 "ชาวบ้าน ที่นี่คิดว่า ไส้กรอกทรายไม่เป็นผลดีสำหรับพวกเรา เพราะจะสร้างปัญหาให้แก่ระบบนิเวศชายฝั่งทะเลเสียไปด้วย แล้วอาชีพของชาวบ้านก็เสียตามมา ชาวบ้านไม่เห็นด้วยที่จะเอาไส้กรอกทรายมาลง แต่อยากได้เสาไฟฟ้ามากกว่า เอามาปักแบบไม้ไผ่ที่ปักอยู่ในปัจจุบันนี้ ปัก 5 แถว แล้วปักแบบสลับฟันปลาเหมือนกัน จะอยู่ได้นานกว่าไม้ไผ่แน่นอน เพราะแค่เขื่อนไม้ไผ่ยังได้ผล ถ้ายิ่งเป็นเสาไฟฟ้าจะยิ่งได้ผลมากกว่าหลายเท่า แต่ทั้งนี้ก็คงขึ้นอยู่ที่ว่า จะมีใครเข้ามาสนใจ หรือ ผู้ว่าฯ คนใหม่ จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้ชาวบ้านจริงจังหรือเปล่า"



จาก                :              คม ชัด ลึก  วันที่ 11 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 19, 2008, 01:32:01 AM

‘แหลมตะลุมพุก-ชายฝั่งสงขลา’ วิกฤต! ทช.จ้าง มธ.ศึกษาแผนแก้ปัญหากัดเซาะ

(http://pics.manager.co.th/Images/551000011963501.JPEG)
ชายหาดบ้านหน้าศาล อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ถูกคลื่นซัดเสียหายหนัก

     ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มอบหมายนักวิจัยธรรมศาสตร์ ศึกษาจัดทำแผนหลักและออกแบบเบื้องต้นการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ตั้งแต่แหลมตะลุมพุก-ปากน้ำทะเลสาบสงขลา เตรียมสรุปพื้นที่วิกฤต 5 จุด พร้อมแนวทางการแก้ปัญหานำร่อง 2 จุด       
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง ว่า ขณะนี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้คณะนักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นผู้ออกแบบและดำเนินการ โดยมีการเปิดตัวโครงการ เมื่อวันที่ 4 กันยายน ที่ผ่านมา ณ โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท อ.สิงหนคร จ.สงขลา ภายใต้ชื่อโครงการศึกษาจัดทำแผนหลักและออกแบบเบื้องต้นการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง โดยมีพื้นที่โครงการครอบคลุมตั้งแต่แหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช ถึงปากน้ำทะเลสาบสงขลา
       
       โครงการดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลการศึกษาสถานภาพของชายฝั่งทะเลบริเวณแหลมตะลุมพุกลงมาถึงปากน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการจัดทำแผนหลักการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งอย่างบูรณาการ โดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการที่มีความเป็นไปได้ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่โครงการ เพื่อออกแบบป้องกันและแก้ไขปัญหาในพื้นที่วิกฤต โดยเฉพาะพื้นที่ 5 อำเภอชายทะเลของ จ.นครศรีธรรมราช และอีก 24 ตำบล และ 2 เทศบาลใน จ.สงขลา ที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้
       
       ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ การแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งแบบบูรณาการ ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่มีความเกี่ยวข้องหลายหน่วยงานร่วมกันรับผิดชอบ เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพื้นที่ชายฝั่งทะเล ส่งเสริม พัฒนา เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเล เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนรวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชายฝั่งทะเล รวมทั้งจะมีการบังคับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
       
       รศ.ดร.อุรุยา วีสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้จัดการโครงการศึกษาจัดทำแผนหลักและออกแบบเบื้องต้นการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง กล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาการกัดเซาะเป็นประจำทุกปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามแก้ปัญหาโดยการศึกษา สำรวจและก่อสร้างโครงสร้างต่างๆ ในพื้นที่แต่ปัญหาการกัดเซาะยังคงมีอยู่และทวีความรุนแรงทุกปี
       
       โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ช่วงที่เกิดพายุทุเรียนพัดผ่าน ทำให้เกิดคลื่นสูงตลอดแนวชายฝั่ง ประกอบกับช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำทะเลสูงสุดตามฤดูกาลในรอบปี เมื่อคลื่นใหญ่เคลื่อนเข้าหาฝั่งในระดับน้ำที่สูง ทำให้คลื่นมีการสลายพลังงานและเข้าปะทะกับชายฝั่งโดยตรง จึงเกิดการกัดเซาะสร้างความเสียหายอย่างรุนแรง พื้นที่ปศุสัตว์และเกษตรกรรมรวมทั้งบ้านเรือนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
       
       “ทางโครงการจะเร่งทำการศึกษาสภาพ และสาเหตุการกัดเซาะจัดลำดับพื้นที่เสี่ยงภัยเร่งด่วน 5 พื้นที่ และสรุปข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหารวมทั้งคัดเลือก 2 พื้นที่เร่งด่วนในการออกแบบเบื้องต้นทั้งแบบไม่ใช้โครงสร้างถาวรและแบบที่ต้องใช้โครงสร้างป้องกันอย่างถาวร” รศ.ดร.อุรุยา กล่าว




จาก                :              ผู้จัดการออนไลน์  วันที่ 18 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 30, 2008, 01:28:59 AM

ถวายรายงานปัญหา “กัดเซาะชายฝั่ง”

(http://www.thairath.co.th/2551/education/Sep/library/30/edu.jpg)
 
เมื่อวันที่ 29 ก.ย. นายสำราญ รักชาติ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ทช.กำลังเตรียมรวบรวมและสรุปความคืบหน้าโครงการที่มีการดำเนินการในแถบอ่าวไทย ทั้งที่เป็นโครงสร้างและที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านโดยเฉพาะเรื่องการใช้ไม้ไผ่สลายกำลังคลื่นในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อเตรียมเข้าเฝ้าฯถวายรายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถือเป็นวาระเร่งด่วนที่ต้องสนองพระราชดำรัส โดยเฉพาะได้เตรียมแนวทางการแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งในแถบพื้นที่อ่าวไทยตอนใน รูป ตัว ก. ด้วยการขยายผลการใช้ไม้ไผ่ ครอบคลุมความยาว 42 กม. ตลอดแนวอ่าวไทยรูปตัว ก. หลังจากที่พบว่าได้ผลจริงในเขตพื้นที่โคกขามและทำให้เกิดดินตะกอนงอกจนนำไปปลูกป่าชายเลนเพิ่มได้อีก ส่วนพื้นที่อื่นๆ อาทิ แถว จ.ระยอง จันทบุรี และสงขลา และนครศรีธรรมราช กำลังอยู่ระหว่างการประเมินศักยภาพของพื้นที่ เนื่องจากคงไม่สามารถใช้รูปแบบเดียวกันได้ทั้งหมด เพราะบางจุดอาจต้องเป็นไม้ชายหาด เนื่องจากเป็นหาดทราย และบางจุดต้องปลูกไม้ชายเลนจำพวก โกงกาง ตะบูน เพราะเป็นป่าชายเลน

อธิบดี ทช.กล่าวต่อว่า การถวายรายงานดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส รับสั่งเกี่ยวกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยเฉพาะกรณีที่บางขุนเทียนที่ชาวบ้านไม่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างไส้กรอกกันคลื่นและโครงการในพื้นที่อื่นๆ ให้ทรงทราบด้วย เนื่องจากพระองค์ท่านไม่โปรดให้ทำด้านโครงสร้างที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

นายสำราญกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในวันที่ 30 ก.ย.นี้ ทช.ได้เชิญ ครม.ไปร่วมปลูกป่าชายเลน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อแก้ไขปัญหากัดเซาะ ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร พื้นที่ประมาณ 70 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่เลนงอกใหม่หลังแนวไม้ไผ่กันคลื่นที่ชาวบ้านได้ดำเนินการมาหลายปี โดยเตรียมกล้าไม้ จำนวน 16,000 ต้น เพื่อปลูกเป็นแนวกัดเซาะอีกชั้นหนึ่ง.
 
 


จาก                :              ไทยรัฐ  วันที่ 30 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 05, 2008, 12:15:29 AM

ขุนสมุทรจีน สู้ทะเลกลืนผืนดิน

(http://www.matichon.co.th/news-photo/khaosod/2008/10/hap01051051p1.jpg)
 
แผ่นดินที่อาศัยของชาวแหลมฟ้าผ่า หมู่ 8 ถึง หมู่ 11 ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ณ เวลานี้มีเหลืออยู่ไม่มากนัก สืบเนื่องจากทะเลกัดเซาะชายฝั่ง และท่วมจมแผ่นดิน เป็นปัญหาเรื้อรังมานานหลายสิบปี ไม่ได้รับการแก้ไข หรือช่วยเหลือใดๆ

จากการสอบถามชาวบ้านที่อาศัยมานานรุ่นปู่ย่าตายาย ระบุว่าแผ่นดินที่หายไปมีความยาวมากกว่า 1 กิโลเมตร และขยายเป็นแนวกว้าง

โดยมีข้อมูลของทางจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2538 จนถึงปัจจุบัน พบว่าชายฝั่งถูกกัดเซาะไปแล้วกว่า 10,000 ไร่ และนักวิชาการคาดการณ์ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ผืนดินจะถูกกัดเซาะลงทะเลไปอีกเกือบ 40,000 ไร่

นางสมร เข่งสมุทร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 ต.แหลมฟ้าผ่า เป็นผู้นำชาวบ้านในการเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อหาทางป้องกันการกัดเซาะผืนดินถิ่นเกิด ปกป้องไว้ให้ลูกหลานในอนาคต ซึ่งยืนหยัดเรียกร้องมา ยาวนานกว่า 10 ปี

"พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด กระจุกตัวอยู่บริเวณชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ใน ต.แหลมฟ้าผ่า จากบันทึกข้อมูลและคำเล่าขานของคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน พบว่าบรรพบุรุษของชาวบ้านส่วนใหญ่ เป็นคนจีนที่เดินทางมาจากประเทศจีน โดยสารเรือสำเภาเข้ามาค้าขาย บ้างก็หนีหลบซ่อนมา"

"เมื่อเรือผ่านมายังพื้นที่ใกล้สันดอนปากแม่น้ำเจ้า พระยา ซึ่งเป็นจุดพักเรือ และขนถ่ายสินค้า เห็นพื้นที่ป่าชายเลนเขียวครึ้มจึงตั้งถิ่นฐาน และแต่งงานกับคนในท้องถิ่นจนถึงปัจจุบัน ทำให้ยังมีหลายครอบครัวยังไม่เปลี่ยนนามสกุลเป็นไทย คงใช้แซ่เช่นเดิม ไม่ว่าจะเป็น แซ่เอี้ย แซ่แต้ แซ่จิว แซ่เล้า"
 
(http://www.matichon.co.th/news-photo/khaosod/2008/10/hap01051051p2.jpg)

"ความเดือดร้อนที่ชาวขุนสมุทรจีน ได้รับ นอกเหนือจากการต้องย้ายบ้านที่อยู่อาศัยอย่างน้อยคนละไม่ต่ำกว่า 3 ครั้งแล้ว วัด โรงเรียน ศาลเจ้า สาธารณสุขหมู่บ้าน ก็ต้องย้ายถิ่นที่ตั้งไม่น้อยกว่า 3 ครั้งเช่นกัน จากหลังคาเรือนตามทะเบียนราษฎรหมู่บ้านขุนสมุทรจีน ระบุไว้ 168 หลังคาเรือน แต่เมื่อนับหลังคาเรือนตามจริงเหลือเพียง 105 หลังคาเรือนเท่านั้น"

ผู้ใหญ่สมร เล่าให้ฟังอีกว่า เมื่อปีพ.ศ.2520 ที่ดินชาวบ้านที่มีเอกสารสิทธิ์แบบส.ค.1 เริ่มจมลงทะเลเกือบทั้งหมด ชาวบ้านในหมู่บ้านก็ช่วยเหลือกัน แบ่งปันที่ดินที่มีให้ปลูกบ้านพออาศัยอยู่ ค่อยๆ ย้ายวัด ย้ายโรงเรียน แม้จะมีปัญหา แต่ในช่วงนั้น ไม่เคยเรียกร้องอะไรจากภาครัฐ ขณะที่แผ่นดินก็ค่อยๆ ทรุดหายลงทะเล

หลังจากปีพ.ศ. 2540 ชาวขุนสมุทรจีน เริ่มขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานรัฐ หาวิธีป้องกันไม่ให้แผ่นดินทรุดลงทะเลตามแรงกัดเซาะของน้ำทะเล แต่ถึงปัจจุบันความช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรม เหมาะสมกับพื้นที่ ไม่กระทบต่อระบบนิเวศ หรือการประกอบอาชีพของชาวบ้านแทบไม่มี ชาวขุนสมุทรจีนทำได้เพียงนำเสาไฟฟ้ามาปักลงทะเล เป็นแนวตรงขวางสลับกัน เพราะจะช่วยลดการกัดเซาะได้ สามารถบรรเทาปัญหาได้ระดับหนึ่ง แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถต้านแรงคลื่นกัดเซาะของทะเลได้
 
(http://www.matichon.co.th/news-photo/khaosod/2008/10/hap01051051p3.jpg)

"จำนวนครั้งที่เรียกร้องไม่ต้องนับ ตอนแรกทางการให้ไม้ไผ่ไปปักในทะเล ไม้ไผ่ก็ดี แต่ถ้าเป็นไม้เล็กปีกว่าก็หลุด ถ้าเป็นไผ่ใหญ่ไม่เกิน 3 ปีก็ขาด ตอนนี้เหลืออยู่เป็นตอเล็กๆ เท่าที่เห็น เอาไม่อยู่ รัฐจะให้หินมาถม แต่ถามว่าต้องระเบิดภูเขาอีกกี่ลูก ถึงจะได้หินมาถมทะเลเป็นผืนดินกันน้ำทะเลกัดเซาะ ต้องทำลายทรัพยากรธรรมชาติอีกสักเท่าไหร่ถึงจะพอ และมีตัวอย่างให้เห็นหินที่ถมทะเลไปก็กั้นคลื่นไม่อยู่"

"อีกอย่างที่ทางการจะให้เรา แต่เราไม่รับ คือ ไส้กรอกทราย เป็นถุงขนาดใหญ่บรรจุทราย มีลักษณะยาวเหมือนไส้กรอก แต่สุดท้ายไส้กรอกทรายก็แตก แถมยังส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพ และระบบนิเวศของเรา อาชีพประมงชายฝั่งจะหาย ทรายไหลลงรูปู ปูก็ตาย ถ้าปูขึ้นจากรูมาแล้ว ทรายไหลลงไป ปูจะขุดรูอยู่อย่างไร" ป้าสมร กล่าว

สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดตื้นๆ ของภาครัฐ

ต่อมาผู้ใหญ่สมร และลูกบ้าน ก็ค้นพบวิธีแก้ปัญหาอีกทางหนึ่ง โดยได้รับความช่วยเหลือจากนักวิชาการที่มาทำวิจัยในพื้นที่ เป็นวิธีแก้ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศในพื้นที่ นั่นคือการปลูกป่าชายเลน ผสมผสานไปกับการสร้างเขื่อนคอนกรีตกั้น

โดยเขื่อนคอนกรีต จะเป็นแท่งเสา คล้ายกับเสาไฟฟ้าปักเป็นแนวลงในทะเล ซึ่งเขื่อนนี้ผ่านการวิจัยโดย รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ว่าไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อระบบนิเวศทั้งสิ้น แต่หากจะดำเนินการต้องใช้งบประมาณมหาศาล

ปัจจุบันมีอดีต ผวจ.สมุทรปราการ มอบเงินให้ก้อนหนึ่ง และสามารถสร้างเขื่อนตามที่ รศ.ดร.ธนวัฒน์ ทำวิจัยไว้ได้สำเร็จ แต่งบฯ ที่มีจำกัดทำให้สร้างได้เพียง 250 เมตร จากระยะทางทั้งหมด 12 กิโลเมตร นับจากป้อมพระจุลจอมเกล้าถึงชายทะเล

ผลการวิจัยประเมินงบฯ ก่อสร้างเขื่อนต่อกิโลเมตรไว้ที่ 36 ล้านบาท แต่หากก่อสร้างเสร็จจะช่วยป้องกันผืนดินแถบพระสมุทรเจดีย์ ไว้ได้ทั้งหมด

ขณะนี้สิ่งที่ชาวบ้านทำได้ระหว่างรอคอยเขื่อน คือ การชวนผู้รักธรรมชาติร่วมปลูกต้นกล้ายึดดินอุ้มน้ำในป่าชายเลน เช่น ต้นแสม ต้นโกงกาง และต้นลำพู พร้อมทั้งจัดกิจกรรมดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาเห็นสภาพปัญหา และขอรับเงินบริจาค

สิ่งที่ผู้ใหญ่บ้านสมร และชาวบ้านขุนสมุทรจีนร่วมต่อสู้ ต้องชื่นชมและยกย่อง แต่น่าสลดใจที่หน่วยงานรัฐ กลับไม่มุ่งมั่นที่จะเข้ามาแก้ปัญหา



จาก                :              ข่าวสด  วันที่ 5 ตุลาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 09, 2008, 11:31:22 PM

ปะการังเทียมสกัด"คลื่นเซาะฝั่ง" โครงการ"สมิหลา สมาร์ต" ผลสำเร็จจากห้องแล็บ "มอ."

(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2008/10/pro35101051p1.jpg)
 
ปรากฏการณ์ "โลกร้อน" ทำให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวน พื้นที่ต่างๆ ประสบปัญหามากมาย บางแห่งร้อนแล้ง เกิดพายุถล่ม ฝนตกหนักน้ำท่วม อีกหลายแห่งอากาศหนาวเย็นจัด พื้นที่ในแนวชายฝั่งเกิดพายุคลื่นลมแรงพัดกระหน่ำ

ที่ จ.สงขลา ริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย เผชิญกับสภาวะความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศมาหลายปี จนเกิดปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงประมาณ 5-6 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกได้รับผลกระทบอย่างหนัก ชายหาด หมู่บ้านชาวประมง ตลอดจนสิ่งสาธารณูปโภคหลายฝั่งถูกคลื่นทำลาย หลายแห่งที่พื้นดินถูกกลืนกลายเป็นทะเลไป

หาดสมิหลาแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของ จ.สงขลา เป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง นับจากปี 2545 ทำให้ชุมชนเก้าเส้ง หมู่บ้านชาวประมงริมหาดได้รับความเสียหาย ชายหาดถูกกลืน หากปล่อยไว้จะทำให้ถนนชลาทัศน์ถนนเลียบชายฝั่งทะเลจะพังทลาย เทศบาลนครสงขลาจึงหาวิธีการต่างๆ ทั้งการสร้างรอดักทราย สร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้ง สร้างกำแพงกันคลื่นแบบตาข่ายห่อหุ้มหิน แต่ยังคงเกิดปัญหากระทบไปถึงชายหาดในพื้นที่ข้างเคียง ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร

ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้กรมทรัพยากรธรณี ซึ่งมีภารกิจสำรวจและหาแนวทางป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล สนับสนุนงบประมาณให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศึกษาวิจัยการบูรณาการชายฝั่งทะเลโดยใช้ปะการังเทียมป้องกันการกัดเซาะหาดสมิหลาในชื่อโครงการว่าสมิหลา สมาร์ต (Samila SMART Project) จำนวน 4 ล้านบาทเศษ
 
(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2008/10/pro35101051p3.jpg)

คณะผู้วิจัยนำโดย ผศ.พยอม รัตนมณี แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งเป้าหมายศึกษาไว้ 4 ข้อ คือ ประสิทธิภาพในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง,ไม่ส่งผลกระทบทำให้เกิดการกัดเซาะพื้นที่ข้างเคียง,เป็นมิตรต่อระบบนิเวศทางทะเล,ไม่ทำลายภูมิทัศน์ชายหาด โดยใช้หาดสมิหลาเป็นพื้นที่โครงการนำร่อง

ผศ.พยอมกล่าวว่า แนวคิดในการศึกษาครั้งนี้มาจากปะการังเทียมที่ใช้สำหรับฟื้นฟูทรัพยากรประมง ประกอบกับมีรายงานการศึกษาวิจัยในต่างประเทศเกี่ยวกับการใช้ปะการังเทียมป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหลายฉบับ จึงนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ คลื่นลมและอุณหภูมิของประเทศไทยได้ออกแบบให้ปะการังเทียมมีลักษณะเป็นแท่งคอนกรีต ทรงโค้ง มีรูรอบทิศทาง

ผศ.พยอมยังร่วมมือกับนักวิจัยอีกหลายสาขา อาทิ อาจารย์คะนึงนิต ลิ่มจิรขจร นักวิจัยด้านนิเวศทางทะเล รศ.ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสำรวจข้อมูลด้านวิศวกรรมศาสตร์ เช่น ความลึกท้องทะเล แนวชายฝั่งทะเล ความลาดชันชายหาด สภาพความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงสิ่งก่อสร้างต่างๆ บริเวณชายฝั่ง การเจาะสำรวจชั้นดินสำรวจข้อมูลด้านนิเวศน์ทางทะเล ประกอบด้วย การเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำ การสำรวจทรัพยากรทางทะเล ความอุดมสมบูรณ์ของฝูงปลา การสำรวจปะการัง
 
(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2008/10/pro35101051p2.jpg)

"โครงการลักษณะดังกล่าวนั้นยังไม่มีรายงานการศึกษาในประเทศไทย จึงต้องใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และแบบจำลองทางกายภาพ ประกอบด้วยรางจำลองคลื่น (Wave Flume) และอ่างจำลองคลื่น (Wave Basin) ในห้องปฏิบัติการทดลองหรือห้องแล็บที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อศึกษาเสถียรภาพของปะการังเทียม การกรองคลื่นของปะการังเทียม ประสิทธิภาพในการป้องกันการกัดเซาะ การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งเนื่องจากการวางแนวปะการังเทียม แล้วนำผลวิจัยมาออกแบบรายละเอียด ขนาด รูปแบบ และการจัดวางปะการังเทียม พร้อมประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน" ผศ.พยอมกล่าว

ผศ.พยอมกล่าวอีกว่า ขณะนี้การวิจัยในห้องปฏิบัติการแล้วเสร็จ ผลเป็นที่น่าพอใจ ปะการังเทียมกันคลื่นสามารถบรรเทาความรุนแรงของคลื่นได้ 60-70 เปอร์เซ็นต์ สามารถชะลออัตราการกัดเซาะในระดับที่น่าพอใจ ทั้งยังช่วยฟื้นฟูพื้นที่หาดทราย ไม่ทำลายหาดข้างเคียง เพิ่มทรัพยากรสัตว์น้ำ ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอรายงานผลการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และจะนำเสนอให้ประชาชนในพื้นที่ทราบเพื่อตัดสินใจว่าจะก่อสร้างโครงการนี้ต่อไปหรือไม่ คาดว่าจะใช้งบประมาณไม่น้อยกว่า 80 ล้านบาท สำหรับแนวหาดประมาณ 2 กิโลเมตร

"สำหรับการจัดวางนั้นได้รับความความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่และชาวประมง เพื่อปรับรูปแบบกำหนดวางปะการังเทียมเว้นเป็นช่วงๆ เพื่อให้เป็นเส้นทางผ่านของเรือประมง วางปะการังเทียมห่างจากชายฝั่ง 250-400 เมตร ให้เกิดกิจกรรมสันทนาการบริเวณชายฝั่งเนื่องจากหาดสมิหลาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่สำคัญปะการังเทียมจะไม่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ ไม่ทำลายทัศนียภาพด้านการท่องเที่ยว และจะวางทุ่นแสดงแนวเขตเอาไว้อย่างชัดเจน หากประเมินแล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจอาจจะทำวิจัยโครงการต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาตลอดแนวชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกต่อไป" ผศ.พยอมกล่าว

นายอุทิศ ชูช่วย นายกเทศมนตรีนครสงขลา กล่าวว่า โครงการวิจัยดังกล่าวนั้นเชื่อว่าจะช่วยลดปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งของหาดสมิหลา ขณะนี้อยู่ระหว่างขอสนับสนุนงบประมาณจากหลายส่วนโดยเฉพาะกรมการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย แต่ต้องขึ้นอยู่ภายใต้ความเห็นด้วยของประชาชนในพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน

โครงการศึกษาวิจัยการบูรณาการชายฝั่งทะเลโดยใช้ปะการังเทียมป้องกันการกัดเซาะหาดสมิหลาเป็นอีกงานวิจัยน่าติดตามอย่างยิ่ง เพราะแม้ผลการทดลองในห้องปฏิบัติการปะการังเทียมกันคลื่นจะลดพลังงานคลื่นได้มาก แต่ในความเป็นจริงจะสามารถต้านทานคลื่น และความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติได้แค่ไหน คงต้องรอลุ้นกันต่อไป ถ้าป้องกันการกัดเซาะชายหาดสมิหลาได้จริง นั่นหมายถึงว่าโอกาสชายหาดในพื้นที่อื่นๆ จะได้รับการป้องกันภัยทางธรรมชาติเป็นไปได้สูงยิ่ง



จาก                :              มติชน  วันที่ 10 ตุลาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 09, 2008, 11:39:13 PM

กรมทรัพย์วางเป้า แก้กัดเซาะชายฝั่ง ย้ำ8จังหวัดวิกฤติ จันทบุรียันนราฯ    
 
 
 นายปรีชา จันทร์ศิริภานนท์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2552-2554 ด้านการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่วิกฤติว่าจากการสำรวจและศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่ตามแนวชายฝั่ง และประเมินสถานการณ์ของปัญหาการกัดเซาะระดับรุนแรงและปานกลาง เพื่อนำเสนอแนวทางฟื้นฟูสภาพชายฝั่งและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ให้มีผลกระทบน้อยที่สุดต่อนิเวศทางทะเลและทรัพยากรชายฝั่งทะเลของจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จันทบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฏร์ธานี ปัตตานี และนราธิวาส

 ส่วนการติดตามสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย จะสำรวจติดตามสถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ประสบปัญหาการกัดเซาะรุนแรงและปานกลางนำเสนอและแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ รวมทั้งวางแผนแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ และรวบรวมเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้อ้างอิงในเรื่องการเปลี่ยนแปลงชายฝังของพื้นที่พัฒนาต่างๆ

 นอกจากนี้ จะดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและธรณีวิทยา โดยเฉพาะการสำรวจและศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่จะประสบปัญหาการกัดเซาะรุนแรงและน้ำทะเลท่วม จากการเพิ่มของระดับน้ำทะเล เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาพธรณีวิทยา ศึกษาการทรุดตัวของพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม สำหรับใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนป้องกันแก้ไขผลกระทบในอนาคต และเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้กับทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการลดผลกระทบดังกล่าว

 สำหรับผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2550-2551ที่ผ่านได้มีการดำเนินการศึกษาสำรวจติดตามการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างรุนแรงจากพื้นที่บริเวณรูปตัว ก ครอบคลุมรอบๆกรุงเทพฯ และบริเวณพื้นที่แหลมตะลุมพุก-บ้านนาทับ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมจัดทำแนวทางการลดผลกระทบจากปัญหาการกัดเซาะอันเนื่องมาจากคลื่นลมแรงตามฤดูกาล บริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 



จาก                :              แนวหน้า วันที่ 10 ตุลาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 11, 2008, 01:07:32 AM

ครม.เห็นชอบโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล

ครม.เห็นชอบโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล โดยประชาชนมีส่วนร่วม เป็นวาระเร่งด่วนสนองพระราชดำรัส

      นายสำราญ รักชาติ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลแลชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 ได้มีมติให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลโดยประชาชนมีส่วนร่วม และในส่วนของชายฝั่งทะเลกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานกับกรุงเทพมหานครและสำนักราชเลขาธิการเพื่อนำผลการศึกษาโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล บางขุนเทียนของกรุงเทพมหานคร กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วย

      อธิบดี ทช. กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบัน สถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น ทั้งจากการกระทำของคน โดยการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินชายฝั่ง การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ โดยปราศจากการคำนึงถึงผลกระทบต่อบริเวณใกล้เคียง ประกอบกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของคลื่นลมทั้งขนาดและทิศทางที่โถมซัดเข้าสู่ฝั่ง ทิศทางของกระแสน้ำ รวมทั้งระดับน้ำทะเลในอนาคตที่อาจสูงขึ้นจากปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน
 
     จากเหตุดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการเร่งดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลโดยประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะในด้านการป้องกัน การมีส่วนร่วมและการสร้างองค์ความรู้ การถ่ายทอดลงสู่ชุมชนชายฝั่ง กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการเตรียมพร้อมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพคลื่นลม ภูมิอากาศที่อาจส่งผลกระทบรุนแรง และเกิดผลกระทบต่อพื้นที่ที่อาจยังไม่เกิดการกัดเซาะในปัจจุบัน  เพื่อให้มีหน่วยงานหลักในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ และความชัดเจนของหน่วยปฏิบัติในยุทธศาสตร์ด้านต่างๆ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเชิงบูรณาการ ซึ่งจำเป็นต้องใช้วิธีการที่ผสมผสาน เนื่องจากการแก้ไขโดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม (Hard Solution) เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทานแรงของคลื่นลมได้   และเพื่อให้ประชาชนชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะโดยตรง ได้มีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในกระบวนการป้องกันและแก้ไข เกิดการดำเนินโครงการนำร่องในพื้นที่ที่มีลักษณะชายฝั่งแตกต่างกัน ในลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติร่วมกันกับชุมชน (Research Experience) โดยเฉพาะการป้องกันและแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งโดยระบบโครงสร้างตามธรรมชาติ (Soft Solution)
 
       โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลโดยประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้วนั้น มีประเด็นสำคัญคือ  ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งให้สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรมตามแผนยุทธศาสตร์ โดยมีหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการ ดังนี้

        - กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินการเรื่องแผนหลัก การสร้างองค์ความรู้และการให้ความรู้แก่ประชาชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในบริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศ รวมทั้งดำเนินงานลักษณะการมีส่วนร่วมกับประชาชนในด้านการป้องกัน ได้แก่ การเสริมสร้างฟื้นฟูแนวชายฝั่งด้วยระบบธรรมชาติทั้งป่าชายเลนและป่าชายหาด เพื่อลดความรุนแรงของคลื่นลม ตลอดจนการแปลงแผนยุทธศาสตร์ลงสู่แผนปฏิบัติการในพื้นที่

       - กรมทรัพยากรธรณี ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงระบบฐานข้อมูลพื้นที่ชายฝั่ง เพื่อใช้ในกระบวนการตัดสินใจ วางแผนและดำเนินการ

       - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนจังหวัดชายฝั่งทะเลบรรจุแผนปฏิบัติในการป้องกันแก้ไขปัญหากัดเซาะไว้ในแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด และกำหนดให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีความเสี่ยงต่อการกัดเซาะ รวมทั้งพื้นที่ป่าชายเลน และหาดทรายเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และ/หรือกำหนดมาตรการเพิ่มเติม เพื่อหยุดยั้ง/ชะลออัตราการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งกำหนดให้กิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น หรือจัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมก่อนการดำเนินโครงการ

       - ประสานหน่วยงานระดับปฏิบัติในการลงทุนด้านโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ต้องมีการก่อสร้างทางวิศวกรรม เช่น กรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กระทรวงคมนาคม กรมโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดชายฝั่ง กระทรวงมหาดไทย และสำนักงบประมาณให้โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นโครงการตามแผนบูรณาการงบประมาณ โดยสำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการและประเมินผลจากโครงการลงทุนป้องกันแก้ไขอย่างเป็นระบบ

       - เสริมสร้างบุคลากรในระบบราชการและการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล วิศวกรรมชายฝั่ง วิทยาการจัดการชายฝั่งแบบบูรณาการ โดยการให้ทุนการศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้มีบุคลากรในวิชาชีพที่ขาดแคลนมาปฏิบัติราชการ ในงานราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ที่มีพื้นที่อยู่ในจังหวัดชายฝั่งทะเล และเกาะ เป็นต้น

       การดำเนินการโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย 
 
1) การแปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่แผนปฏิบัติ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน แบ่งเป็นชายฝั่งภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง
 
2) การสร้างองค์ความรู้ การถ่ายทอดโดยกระบวนการสัมมนา ประชุมปรึกษาหารือ ร่วมจัดทำโครงการนำร่องทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรพัฒนาชุมชน ภาคเอกชน

3) ประสานทุกภาคส่วนในการผลักดันให้เกิดมาตรการต่างๆ ในพื้นที่ที่จะลดอัตราการกัดเซาะชายฝั่ง หรือชะลอการกัดเซาะ จากการควบคุมปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดการกัดเซาะ เช่น การก่อสร้างบริเวณชายฝั่ง การเปลี่ยนการใช้ที่ดิน โดยผ่านคณะอนุกรรมการกำกับแผนหลักและแผนปฏิบัติ ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รวมทั้งการประสานให้เกิดการบูรณาการงบประมาณในโครงการป้องกันแก้ไข  การพัฒนาระบบฐานข้อมูล และการประเมินผลภายหลังในโครงการที่มีความเสี่ยงต่อการกัดเซาะ

4) สร้างกลไกเครือข่ายผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการป้องกันแก้ไขที่เป็นระบบและถูกหลักวิชาการ โดยเป็นการป้องกันที่ใช้ศักยภาพของธรรมชาติมากกว่าโครงสร้างแข็งที่จะต้านกระแสคลื่นในทะเลซึ่งมีการลงทุนสูง เน้นกระบวนการธรรมชาติสู้กับธรรมชาติ ลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งไม่ให้ลุกลามต่อเนื่องไปยังพื้นที่ข้างเคียง และต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของทะเลที่มีผลจากภาวะโลกร้อนด้วย และ

5) การสร้างเครือข่ายภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาชายฝั่ง โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่เหมาะสม และ/หรือดูแลรักษา โดยอาจพิจารณาให้สิทธิบางประการแก่เอกชนที่เข้าร่วมโครงการ เช่น การให้สิทธิในการสร้างกังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และการจอดเรือ เป็นต้น  โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พ.ศ. 2552 – 2554 และระยะที่ 2 พ.ศ. 2555 – 2560

       “ผลจากการดำเนินการดังกล่าว  นอกจากจะทำให้เกิดความเข้าใจในวงกว้าง ทุกภาคส่วนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศทั้งหมด  มีเจ้าภาพหลักในการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการและมีความชัดเจนในหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน  มีแผนปฏิบัติระดับพื้นที่ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์หลัก  และผู้เกี่ยวข้องมีการเตรียมพร้อมในการรับมือและการป้องกันพื้นที่ของตนเองจากแนวโน้มของการกัดเซาะที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแล้วประชาชนยังจะได้มีความเข้าใจต่อสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาการกัดเซาะ และพร้อมที่จะร่วมมือป้องกันและแก้ไขในกรอบที่มีหลักวิชาการต่อไป” อธิบดี ทช. กล่าว



จาก            :          กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 13, 2008, 12:43:19 AM

เทศบาลนครสงขลา จับมือ ม.อ.หาดใหญ่ ใช้ "ปะการังเทียม" กันคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง
 
 
(http://www.komchadluek.net/2008/10/13/images/11405700low.jpg)

ผลกระทบจากปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งทะเลทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน ทำให้หน่วยราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในหลายพื้นที่ต่างคิดหาวิธีการเพื่อบรรเทาความแรงของคลื่นเพื่อพิทักษ์แนวชายหาดให้พ้นจากภัยธรรมชาติอย่างสุดความสามารถ

เช่นเดียวกับ นายอุทิศ ชูช่วย นายกเทศมนตรีนครสงขลา พยายามหาทางป้องกันมาตลอดหลังประสบปัญหาคลื่นกัดเซาะชายหาดชลาทัศน์ (หาดสมิหลา) โดยกัดเซาะรุนแรงกินความยาวประมาณ 400 เมตร เริ่มตั้งแต่ชุมชนเก้าเส้งจนถึงหน้าฐานทัพเรือสงขลา

 ในช่วงที่ผ่านมา เทศบาลนครสงขลาได้พยายามหาทางป้องกัน เช่น การสร้างเขื่อนกันคลื่น แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ดังนั้น จึงพยายามแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการและยั่งยืน

 ล่าสุด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทำการศึกษาวิจัยหาแนวทางการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลแบบบูรณาการภายใต้ชื่อ “โครงการสำรวจ และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตะกอนชายฝั่งทะเล” โดยการสนับสนุนของกรมทรัพยากรธรณี

 โครงการดังกล่าวเพื่อศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ในการประยุกต์ "ปะการังเทียม" มาใช้ในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะล โดยออกแบบปะการังให้มีรูปทรงและขนาดที่สามารถต้านทานแรงคลื่นได้

 นายกเทศมนตรีนครสงขลาระบุว่า การวางปะการังเทียมจะช่วยแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างถาวรเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่นๆ ทั้งยังไม่ทำลายทัศนียภาพ และจะช่วยให้ปลาชุกชุม เพราะเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำอีกด้วย

 เบื้องต้นพบว่า โครงการดังกล่าวประชาชนก็ให้การสนับสนุนด้วยดี ส่วนงบประมาณทางเทศบาลนครสงขลาก็พร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน

 ด้าน ผศ.พยอม รัตนมณี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการสำรวจ และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตะกอนชายฝั่งทะเล (กรณีศึกษาหาดสมิหลา จ.สงขลา) ระบุว่า

 การกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทยเป็นปัญหาระดับชาติ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องรุนแรง หาดสมิหลาเป็นพื้นที่หนึ่งที่ประสบปัญหาการกัดเซาะอย่างรุนแรงและเรื้อรังมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ปี 2545 จึงได้หาทางป้องกันอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ

 ส่วนวิธีการหาทางแก้ไขคลื่นกัดเซาะได้มีความพยายามหาทางป้องกันด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การป้องกันชายหาดด้วยเขื่อนกันคลื่น กำแพงกันคลื่น รอดักทราย กองหินหัวหาด แนวเสาเข็มกันคลื่น ไส้กรอกทราย ฯลฯ

 รวมทั้งวิธีการง่ายๆ เช่น การเสริมทราย การปลูกป่าชายหาด การกำหนดระยะถอยร่น เป็นต้น แต่ก็ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

 แต่ผลการวิจัยพบว่า การใช้ปะการังเทียมสามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งได้ ซึ่งเป็นแนวความคิดใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ในต่างประเทศได้มีการศึกษาในสถาบันวิจัยระดับสูงหลายแห่ง และมีการนำไปใช้จริงในหลายพื้นที่ทั่วโลก!!

(http://www.komchadluek.net/2008/10/13/images/11060677low.jpg)

 ปะการังเทียมดังกล่าวจะถูกออกแบบให้เป็น "แนวกันคลื่นใต้น้ำ" เพื่อบรรเทาความรุนแรงของคลื่น จะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียง ทั้งยังสามารถเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และไม่ทำลายทัศนียภาพของชายหาดอีกด้วย

 สำหรับปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยอย่างรุนแรง และกินความยาวกว่า 600 กิโลเมตร ทีมสำรวจได้ศึกษาการใช้ปะการังเทียมป้องกันการกัดเซาะ จึงนำชายหาดสมิหลามาเป็นกรณีศึกษา และเป็นพื้นที่โครงการนำร่องของประเทศไทย

 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโครงการนี้เป็นของใหม่ จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยอย่างละเอียด เพื่อใช้ในการออกแบบ และการจัดวางให้มีความเหมาะสมถูกต้องตามหลักวิชาการ

 ทั้งนี้ เนื่องจากการศึกษาทางด้านทะเลมีความซับซ้อนอย่างมาก คณะผู้ศึกษาวิจัยจึงได้ทำแบบจำลองทางกายภาพ (Physical Model) ที่ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมชลศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

 ขณะนี้มหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการศึกษาวิจัยภายใต้การสนับสนุนของกรมทรัพยากรธรณี โครงการนำร่องที่ชายหาดสมิหลากำลังอยู่ระหว่างการหารือกับชาวบ้านชุมชนเก้าเส้ง และคาดว่าประมาณปีหน้า (2552) จะสามารถทำการวางปะการังเทียมดังกล่าวได้

 เชื่อว่าความคิดริเริ่มของผู้บริหารเทศบาลนครสงขลา ประกอบกับความตั้งใจจริงของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะทำให้โครงการนี้ประสบผลสำเร็จ และเป็นประโยชน์ต่อคนสงขลา ตลอดจนคนริมฝั่งทะเลทั่วประเทศในอนาคตอย่างแน่นอน

 

จาก                :              คม ชัด ลึก วันที่ 13 ตุลาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 16, 2008, 12:57:43 AM

แผ่นดินทรุด-น้ำท่วม ป่าชายเลนหดหาย เรื่องเดียวกับ "โลกร้อน"

(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2008/10/epe01161051p1.jpg)

ปัญหา "โลกร้อน" กับผลกระทบวงกว้างเป็นที่โจษขาน เป็นหัวข้อพูดกันมาต่อเนื่อง รวมถึงสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตไทย ยังต้องจัดให้มีการประชุมราชบัณฑิตพร้อมการบรรยายเรื่อง "ผลกระทบจากโลกร้อน ที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเลไทย" โดย ดร.สนใจ หะวานนท์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดการทรัพยากรทางชายฝั่งและป่าชายเลน เมื่อเร็วๆ นี้ ที่โรงเรียนสมฤดี จังหวัดสมุทรสาคร

ดร.สนใจสร้าง ความเข้าใจในเรื่องโลกร้อนว่า มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ต่อประชาชนตามชายฝั่งทะเลไทย มีผลต่อคนกว่า 20 ล้านคน ที่พักอาศัยตลอดแนวชายฝั่งทะเล ทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นกว่า 1 องศาเซลเซียส ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ในอดีตโลกปรับตัวมาได้ แต่ปัจจุบันมีการเติบโตของอุตสาหกรรมมากขึ้น ปริมาณก๊าซเสีย คาดว่า ภายในศตวรรษที่ 21 จะมีอุณหภูมิสูงอีกร่วม 6 องศาเซลเซียส นำไปสู่การเกิดพายุหมุนและความปั่นป่วนทางธรรมชาติมากขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลายจนหมด ส่งผลกระทบต่อน้ำทะเลสูงมากขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลต่อการผลิตอาหารจากธรรมชาติ แหล่งน้ำในหน้าร้อนจะหมดไป โรคระบาดจะรุนแรงยุงจะเพิ่มมากขึ้น แผ่นดินไหว รอยเลื่อนจะได้รับการกระทบกระเทือนมากขึ้น แผ่นดินไหว สึนามิจะมากขึ้น ภูเขาไฟจะระเบิดบ่อยขึ้น และอาจมีเมกกะสึนามิ จนส่งผลกระทบไปถึงที่สูง นั่นฝนตกมากขึ้นน้ำท่วมในแถบที่สูงด้วย

(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2008/10/epe01161051p2.jpg)

จาก การสำรวจและรวบรวม ได้พบว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลไทยมีดินทรุดตามปากแม่น้ำ เจ้าพระยา (ทรุดลง 20 มิลลิเมตร/ปี) แม่กลอง (ทรุดลง 15 มม./ปี) ท่าจีน (ทรุดลง 42มม./ปี) และยังพบว่าในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ มีการทรุดตัวลงปีละ 30 มม. ด้วยเช่นกัน

"แม้ว่าภาวะโลกร้อนอาจยังไม่ส่งผลโดยตรงถึง เมืองไทยในเวลานี้ แต่ที่มีผลคือ ลม คลื่นที่แรงขึ้นมีการกัดเซาะชายฝั่งที่ยาว 2,815 กม. ครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด พบว่า ในบริเวณทางอ่าวไทยมีพื้นที่วิกฤตที่มีการกัดเซาะเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตร/ปี มีอยู่ใน 12 จังหวัดรวมความยาว 180.9 กม. พื้นที่เสี่ยงที่มีอัตรากัดเซาะ 1-5 เมตร/ปี ใน 14 จังหวัด อีก 305.1 กม. ส่วนทางอันดามันมีพื้นที่วิกฤตที่มีการกัดเซาะเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตร/ปี มีอยู่ใน 5 จังหวัดรวมความยาว 23 กม. พื้นที่เสี่ยงที่มีอัตรากัดเซาะ 1-5 เมตร/ปี ในทุกจังหวัดอีก 90.5 กม.ปัญหามาจากการใช้ประโยชน์ไม่เหมาะสม ปริมาณตะกอนสะสมน้อยลง การพัฒนาใช้ที่ดินขาดระบบข้อมูลพื้นฐานมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ สูง" ดร.สนใจระบุ

ผู้เชี่ยวชาญคนดังกล่าวระบุด้วยว่า เมื่อสรุปภาพรวมของรายจังหวัดที่ประสบปัญหามากพบว่าที่สมุทรปราการชายถูกกัด เซาะไปกว่า 8,575 ไร่ ความยาว 32.87 กม., กรุงเทพฯ 1,612 ไร่ ยาว 4.8 กม., สมุทรสาคร 1,306 ไร่ ยาว 26.37 กม. รวมทั้งประเทศมีถึง 11,768 ไร่ โดยพบว่าพบพื้นที่กัดเซาะรุนแรงอยู่ใน พื้นที่แหลมฟ้าผ่า-ปากน้ำท่าจีน คลองด่าน-สมุทรปราการ บางพลัด กาหลง ฯลฯ

"แถบสมุทรสาครป่าชายเลนอาจ หมดไปเร็วๆ นี้ เพราะการทำนากุ้ง มีการขุดดินตะกอนจากนากุ้งที่เข้ามาจากทะเลไปขาย ไปถมที่อื่น ซึ่งจะมีการทำกันเช่นนี้ในนากุ้งทุกแห่ง ทำให้ดินตะกอนชายฝั่งหายไป และเคยพบว่าในพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม ไม่มีพื้นที่ดินตะกอนเหลืออยู่เลย เมื่อไม่กี่ปีก่อน ยิ่งเมื่อรวมกับการกัดเซาะตามธรรมชาติ ก็ยิ่งทำให้ไม่มีการทำแนวป้องกันชายฝั่ง" นายสนใจกล่าว และว่า การแก้ไขนั้น คงต้องเน้นลงที่ภาคประชาชนให้ตื่นตัว และตระหนักต่อความสำคัญของการอนุรักษ์ชายฝั่ง ปลูกป่าเพื่อรักษาพื้นที่ชายฝั่งไว้ให้ได้มากที่สุด ในขณะเดียวกับที่จะต้องหามาตรฐานทางกฎหมาย และภาครัฐให้มากขึ้น

"มี การนำเอาไม้ไผ่รวกไปเสียบไว้เป็นระยะเพื่อแก้ปัญหาตลอดแนว แต่พบว่ามีปัญหา เพราะขนาดเล็กเสียหายเร็ว แต่ถ้าแก้โดยการทำสองชั้นจะช่วยแก้ปัญหาได้ ลดการกัดเซาะเพิ่มปริมาณตะกอน ที่น่าสนใจคือ กรณีพระสมุทรเจดีย์ ปากน้ำ มีการนำเสาไฟฟ้ามาปัก ใช้ยางรถยนต์เก่ามาสวม 7 ชั้น จากปี 2548 มาห่างกัน 1.5 เมตร พบว่าลดการกัดเซาะลงไปได้ เพิ่มตะกอนมากขึ้นตุลาคม 2550 ตะกอนเพิ่ม 7 ซม. แต่ยังไม่สามารถปลูกต้นไม้ได้ดี" นายสนใจกล่าว

ดร. สันทัด โรจนสุนทร ประธานสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตสถาน กล่าวว่า ราชบัณฑิตเห็นความสำคัญของปัญหาโลกร้อน ที่ส่งผลถึงการกัดเซาะที่ดินชายฝั่งของไทย จึงได้มาจัดประชุมนอกพื้นที่เป็นครั้งแรกของราชบัณฑิต และไปศึกษาข้อมูลการปลูกป่าชายเลนภาคประชาชน ที่ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลน ต.คลองโคน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯทรงปลูกไม้ป่าชายเลนด้วยพระองค์เองหลายครั้ง ทรงเป็นผู้นำในเรื่องนี้ จนชาวบ้าน หน่วยงานราชการ เอกชนตื่นตัว และร่วมมือกัน เกิดความเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนของสมุทรสงครามอย่างมาก จนวันนี้ได้มีพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นหลายพันไร่ จากเดิมที่แทบไม่มีเหลือเลย




จาก                :              มติชน วันที่ 16 ตุลาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 22, 2008, 12:56:30 AM

กทม.เสนอคนบางขุนเทียนใช้เสาปูนหินทิ้งกันทะเลเซาะ
 
 
       กทม.เสนอใช้รูปแบบเสาปูน-หินทิ้ง แทนไส้กรอกทรายเจ้าปัญหากันน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียนแล้ว ขณะที่ชาวชุมชนยังไม่สรุปจะเอาหรือไม่ บอกทดลองเขื่อนไม้ไผ่ค่อนข้างได้ผล เผย 8 เดือน ตะกอนดินเพิ่ม 1.50 เมตร ปลูกไม้โกงกางได้ 5 พันต้น
       
       แหล่งข่าวจากสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สนน.ได้ยกเลิกการเสนอรูปแบบไส้กรอกทรายที่ใช้ในการก่อสร้างแนวกันคลื่น (ทีกรอยน์) ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนระยะทาง 5 กิโลเมตรแล้ว เนื่องจากชาวบ้านเกรงว่าหากสร้างแบบไส้กรอกทรายในระยะยาวจะทำให้ทรายแตกและ ทำลายระบบนิเวศชายฝั่งได้ ซึ่ง สนน.ได้รับฟังและกลับมานำเสนออีก 2 รูปแบบ คงรูปตัวทีเหมือนเดิม คือ แบบที่ 1 เป็นเสาปูนซีเมนต์ความสูง 2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.80 เมตร บริเวณฐานของเสาที่ปักลงในหาดโคลนเป็นรูปสามเหลี่ยมความกว้าง 9.50 เมตร เพื่อใส่หินขนาดเล็กลงไปในสามเหลี่ยม และโยนหินทิ้งขนาดใหญ่บริเวณรอบๆหัวเสา โดยหัวเสาจะมีการหล่อปูนแผ่นขนาดใหญ่ครอบหัวเสาเพื่อวางหินขนาดใหญ่เป็นรูป 3 เหลี่ยมป้องกันคลื่นด้วย ซึ่งความห่างแต่ละตัวห่างกัน 300 เมตร ส่วนแบบที่ 2 เป็นการปรับความห่างของเสาให้เหลือระยะห่างกันเพียง 50 เมตร นอกนั้นโครงสร้างต่างๆเหมือนแบบแรกทั้งหมด เนื่องจากชาวบ้านเห็นว่ามีความห่างกันเกินไป จะทำให้น้ำกัดเซาะบางพื้นที่เสียหาย อย่างไรก็ตาม จะมีการประชุมกลุ่มย่อยกับแกนนำชุมชนภายในต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยจะมีการเชิญสำนักงบประมาณเข้ามาร่วมชุมนุมรับฟังด้วย เนื่องจากงบเดิมตั้งไว้ที่ 316 ล้านบาท แต่รูปแบบใหม่นี้จะต้องใช้งบประมาณมากขึ้น และหลังจากนั้นภายใน 1 สัปดาห์จะมีการประชาพิจารณ์กับชาวบ้าน ว่าต้องการให้ กทม.สร้างในรูปแบบใดซึ่ง สนน.พยายามจะทำให้ดีที่สุดและใช้งบอย่างเหมาะสมที่สุด
       
       ด้านนายคงศักดิ์ ฤกษ์งาม แกนนำชุมชนคลองพิทยากรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ ชาวบ้านได้มีการประชุมเพื่อหารือถึงวัสดุในการก่อสร้างแนวกันคลื่นที่ กทม. เสนอมาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเอารูปแบบใด หรือาจจะไม่เอาที่ กทม. เสนอมาเลยก็เป็นได้ ทั้งนี้ จากการทดลองสร้างเขื่อนไม้ไผ่ระยะทาง 1 กม.เป็นแนวกันคลื่นของชาวบ้าน ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ค่อนข้างได้ผล โดยมีตะกอนดินเพิ่มขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตร นอกจากนี้ บริเวณใกล้ห่างกันไป 3 กม.ติดกับ จ.สมุทรสาคร ยังมีการทดลองเขื่อนไม้ไผ่เช่นเดียวกัน โดยแบ่งเป็น 3 ชั้น ชั้นแรกห่างจากชายฝั่ง 20 เมตร ชั้น ที่ 2 และ ชั้นที่ 3 ห่างกันชั้นละ 30 เมตร ซึ่งระยะเวลา ผ่านไป 8 เดือน มีตะกอนดินตกในชั้นต่างสูงถึง 1.50 เมตร ทำให้ชาวบ้านบริเวณดังกล่าวสามารถนำต้นแสม ต้น โกงกางไปปลูกในตะกอนดินที่เพิ่มขึ้นจำนวนกว่า 5 พันต้นแล้ว ซึ่งเป็นที่ชอบใจของชาวบ้านผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันในระยะยาวต้องดูเรื่องความแข็งแรงของเขื่อนไม้ไผ่ด้วย



จาก                :              ผู้จัดการออนไลน์   วันที่ 20 ตุลาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 26, 2008, 01:20:01 AM

"คลื่นยักษ์" ถล่มถ.ริมหาดสุราษฎร์ฯเสียหายหนัก 1กม.ถนนขาด เตือนรับมือ 24 ชม.

(http://www.matichon.co.th/online/2008/10/12249091471224925966l.jpg)

เกิดคลื่นขนาดใหญ่พัดถล่มถนนริมทะเล จ.สุราษฎร์ธานี สร้างความเสียหายเป็นระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร เตือนประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัยตามแนวชายหาด เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูง และลมกระโชกแรงตลอด 24 ชั่วโมง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดคลื่นขนาดใหญ่พัดถล่มถนนริมทะเล จ.สุราษฎร์ธานี สร้างความเสียหายเป็นระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร ทำให้รถขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่านได้

ล่าสุดเจ้าหน้าที่นำเครื่องจักรกลหนักเข้ามาซ่อมแซมถนนสายบ้านพอด-ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี หลังถูกคลื่นขนาดใหญ่พัดถล่มพังเสียหายหนัก เป็นระยะทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร รถยนต์ 4 ล้อ ไม่สามารถผ่านได้ พร้อมจัดวางหินขนาดใหญ่เป็นแนวป้องกันคลื่นกัดเซาะทำลาย ก่อนสำรวจออกแบบก่อสร้างแนวป้องกันคลื่นถาวร นอกจากนี้ ทางจังหวัดยังเตือนประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัยตามแนวชายหาด เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูง และลมกระโชกแรง ตลอด 24 ชั่วโมง



จาก                :              มติชน   วันที่ 26 ตุลาคม 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ พฤศจิกายน 09, 2008, 01:13:54 AM

กรมทะเลทุ่มงบ 40 ล้าน ปักไม้ไผ่ปลูกป่าชายเลน แก้กัดเซาะลดโลกร้อน

(http://www.bangkokbiznews.com/2008/11/04/images/308662_Show.jpg)

กรมทรัพยากรทะเลทุ่มงบ 40 ล้านลงทุนพื้นที่สาธิตลดโลกร้อน ที่สถานตากอากาศบางปู นักวิชาการติงใช้งบประมาณไม่คุ้มอาจไม่สามารถแก้ปัญหาโลกร้อนได้

นายสำราญ รักชาติ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โครงการมาตรการบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน พื้นที่สาธิตที่บางปู จ.สมุทรปราการ โดยมีบริษัท เอ. แอนด์ มารีน (ไทย) จำกัด ได้รับการคัดเลือกดำเนินการวงเงิน 40 ล้านบาท   

การเลือกพื้นที่สถานตากอากาศบางปู เนื่องจากเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ด้านป่าชายเลนที่มีเยาวชน และประชาชนทั่วไปเข้ามาศึกษาและเรียนรู้อยู่แล้ว ขณะเดียวกันยังเป็นพื้นที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเฉลี่ย 10 เมตรต่อปีด้วย ซึ่งโครงการนี้เป็นหนึ่งในแผนโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและป่าไม้ในพื้นที่ อนุรักษ์เพื่อลดผลกระทบภาวะวิกฤติโลกร้อนประจำปี 2551  ซึ่งได้รับงบ 60 ล้านบาทแบ่งเป็น 20 ล้านบาทปลูกป่าชายเลน จำนวน 5 , 000 ไร่ และอีก 40 ล้านบาทสำหรับการทำพื้นที่สาธิตที่บางปู

(http://www.bangkokbiznews.com/2008/11/04/images/308662__resizeShow.jpg)

นายสำราญ กล่าวอีกว่า   โครงการนี้จะใช้แนวคิดธรรมชาติสู้ธรรมชาติ อาศัยหลักการปัก 3 อย่างคือการปักไม้ไผ่ ป่าชายเลน และกังหันลม เพื่อป้องกันการพังทลายของชายฝั่งและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ใช้แนวป้องกันชายฝั่งจากไม้ไผ่ ยาว 700 เมตร ซึ่งได้รับรองจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้วว่าสามารถชะลอความแรงของคลื่นนอก จากนี้จะมีการจัดทำ บ่อบำบัดน้ำเสีย โดยใช้ระบบพลังงานลม จำนวน 4 บ่อ พื้นที่บ่อละ 400 ตารางเมตร   ซึ่งจุดนี้จะ ใช้กังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานลม ขนาด 5 กิโลวัตต์จำนวน 9 ต้น คาดว่าจะได้พลังงาน 45 กิโลวัตต์

รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า   ฟังจากโครงการคร่าวๆ ยังมองไม่ออกว่าเรื่องนี้สามารถแก้ปัญหาโลกร้อนได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการสาธิตการแก้ปัญหาโลกร้อน โดยการเอาไม้ไผ่มาปักกันคลื่นกัดเซาะนั้น ไม่จำเป็นต้องสาธิตอีกแล้ว เพราะในบริเวณดังกล่าวโดยเฉพาะที่คลองด่านทำกันมาหลายปีแล้ว และหลายพื้นที่ที่ใช้ไม้ไผ่กันคลื่นก็มีปัญหา เพราะไม้ไผ่มีอายุการใช้งานน้อย และมีปัญหามากมาย

"เสียดายเงิน 4 ล้าน สำหรับสาธิตการใช้ไม้ไผ่กันคลื่น และ 40 ล้าน สำหรับทำการสาธิตแก้ปัญหาโลกร้อนทั้งหมด ดูแล้วใช้งบไม่คุ้มค่าเลย" รศ.ดร.ธนวัฒน์กล่าว


จาก                :              กรุงเทพธุรกิจ   วันที่ 9 พฤศจิกายน 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ พฤศจิกายน 10, 2008, 01:09:12 AM

กัดเซาะชายฝั่งทะเล จากตะวันออกสู่ภาคใต้ ถึงเวลาจัดการปัญหาอย่าง"บูรณาการ"สักที ?

(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2008/11/epe01101151p1.jpg)

คณะกรรมาธิการการ (กมธ.) ป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร ถือเป็น กมธ.ชุดใหม่ล่าสุด ที่รัฐสภาดำริให้จัดตั้งขึ้น ซึ่งมีนายสรวงศ์ เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว เป็นประธาน กมธ.ชุดนี้

แม้เป็นงานใหม่ แต่ กมธ.สนใจปัญหาภัยพิบัติจากธรรมชาติและสาธารณภัยอย่างมาก มีการเชิญหน่วยงาน บุคคล ทั้งภาครัฐ-เอกชนมาให้ความรู้และชี้แจงข้อเท็จจริงหลายครั้ง อาทิ ภัยจากน้ำท่วม อากาศหนาวเย็น การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก การวางแผนแก้ปัญหาภัยธรรมชาติทางบก ทางทะเล การกู้ภัย บรรเทาทุกข์ จากหน่วยงานอย่างป่อเต็กตึ๊ง ร่วมกตัญญู มาพูดคุย จนทำให้รู้ว่า ปัจจุบันการกู้ภัยและแย่งกันทำความดีนั้น มิได้เกิดมาจากองค์กรขนาดใหญ่ แต่สืบเนื่องจากการเปิดให้มีการจัดตั้งหน่วยกู้ภัยขนาดเล็กอย่างดาษดื่น ไร้การควบคุม

ล่าสุด แนวคิดติดตามศึกษาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย ตลอดแนวอ่าวไทย และฝั่งทะเลด้านอันดามัน ซึ่งมีปัญหาแทบทุกพื้นที่ เมื่อเร็วๆนี้ ที่รัฐสภา กรมทรัพยากรธรณีรับผิดชอบงานนี้มายาวนาน ระบุชัดว่า ความเสียหายของชายฝั่งทะเลไทย มีจุดวิกฤตน่าวิตกอย่างมาก ตลอดทุกแนวมากบ้างน้อยบ้าง สาเหตุจากการพัฒนาการท่องเที่ยว สร้างอาคารสูง นิคมอุตสาหกรรม การลดปริมาณตะกอนสะสมตัวตามแนวชายฝั่ง พายุ คลื่น และปัญหาโลกร้อน ล้วนทำให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลโดนกัดเซาะหดหายกว่า 70% นับตั้งแต่ จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา เป็นระยะทางร่วม 60 กม.จากระยะทางชายฝั่งทั่วประเทศ

(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2008/11/epe01101151p2.jpg)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี สำนักนโยบายและแผน สิ่งแวดล้อมกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมเสนอทางแก้ไขปัญหาที่แต่ละหน่วยงานได้กระทำไปแล้ว หลากหลายวิธีการ ตามแนวคิด วิธีการศึกษา ระบบงาน พื้นที่ที่แตกต่างกันไปตามภาระหน้าที่

โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลแถบบางขุนเทียน ความยาว 4.7 กม. แต่กลับเป็นหน่วยงานระดับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นที่ได้ทุ่มเทงบประมาณหลาย ร้อยล้าน และความตั้งใจจริงจะแก้ปัญหาต่อเนื่องจริงจัง ให้บรรเทาความเสียหายจากการกัดเซาะลงไปได้มาก

นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ รองประธาน กมธ. ติดตามปัญหาและเสนอแนวคิดนี้สู่ที่ประชุม ให้ข้อคิดสำคัญว่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ถ้าเปรียบเทียบเฉพาะพื้นที่ จะพบความรุนแรงและวิกฤต เรียกได้ว่ามีการสูญเสียดินแดนอันเป็นผลจากธรรมชาติไปมาก มากกว่าการสูญเสียดินแดนแย่งชิงของคน ทุกหน่วยต้องเร่งจัดการแก้ไขปัญหาโดยเร็ว เพื่อมิให้ลุกลามเกิดสูญเสียไปมากกว่านี้

(http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2008/11/epe01101151p3.jpg)

ที่น่าสนใจมากคือ แนวคิดของนายนิยม เวชกามา โฆษก กมธ.ชุดนี้ เป็น ส.ส.สกลนคร ระบุว่า แม้สกลนครไม่ใช่จังหวัดมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล แต่ก็สนใจปัญหานี้มาก น่าวิตกต่อการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างต่อเนื่อง จึงอยากแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการ มีทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีหน่วยงานหลักทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพดูแลประสาน เอาใจใส่กับการแก้ปัญหา

ด้าน นายสฤษฏ์ อึ้งอภินันท์ รองประธาน กมธ.อีกคน ในฐานะ ส.ส.เชียงราย ตั้งคำถามต่อที่ประชุมว่า การแก้ปัญหาของนักวิชาการ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น แบบใดให้ผลที่ดีกว่ากัน เพราะหลายหน่วยงานที่มานำเสนอทางแก้ไข มีทั้งการนำแนวคิดมาจากนักวิชาการทั้งไทย-ต่างชาติ ซึ่งต้องลงทุนสูง กับแนวคิดของปราชญ์หรือชาวบ้านที่ใช้ไม้ไผ่ไปปักกันแนวคลื่นตามแนวชายฝั่ง กับขยายพื้นที่ปลูกป่าชายเลน และวิธีการอื่นๆ หลากหลายจากการเรียนรู้ภูมิปัญญาของชาวบ้าน

แม้คำตอบไม่ได้ลงระบุชัดเจนว่า แนวคิดใดดี ได้ผลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กมธ.ส่วนใหญ่ คิดคล้ายคลึงกันว่า ควรระดมทุกฝ่ายเร่งแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องเหมาะสม ให้จริงจังในแต่ละพื้นที่ที่ประสบปัญหาโดยเร็ว

นายสรวงศ์สรุปต่อที่ ประชุมว่า ปัญหากัดเซาะชายฝั่งต้องเร่งแก้ทั้งหมดโดยเร็ และจริงจัง เป็นระบบอย่างบูรณาการโดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กมธ.จะเร่งรัดติดตามในเรื่องของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อการแก้ไขเป็นไปอย่างมีระบบ มีกฎหมายรองรับการทำงาน นำไปสู่การจัดสรรงบฯ ที่ต้องติดตามนำมาช่วยสนับสนุน

"กมธ.หลายคน เป็นผู้แทนที่จังหวัดไม่ได้มีพื้นที่ติดชายฝั่ง ไม่ได้รับผลกระทบการกัดเซาะ แต่ถือเป็นผู้แทนของคนไทย มีปัญหาเดือดร้อน ทั้งจากภัยธรรมชาติ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ก็ต้องร่วมมือกันช่วยเหลือดูแล แก้ไขปัญหา กมธ.ชุดนี้ชื่อ คณะกรรมาธิการ การป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย ทุกคนอยากระดมความคิดช่วยกันวางแผนป้องกันมิให้ปัญหากระทบบานปลายยิ่งกว่านี้"

ผู้แทนจากหน่วยราชการ เอกชนที่ร่วมประชุมในวันนี้ ได้เห็นความตั้งใจของ กมธ.แม้เป็นชุดใหม่ แต่ฉายความหวังสดใส ที่อยากเห็นการเอาใจใส่จากผู้เกี่ยวข้องเช่นนี้ ออกจากรัฐสภาด้วยใบหน้าที่เปื้อนยิ้ม (น้อยๆ) ก็เติมความตั้งใจทำงานให้เดินหน้าต่อไปได้



จาก                :              มติชน คอลัมน์ Active Opinion  วันที่ 10 พฤศจิกายน 2551


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มกราคม 15, 2009, 01:58:43 AM

คลื่นสูงกว่า 2 ม.ถล่มบ้านชาวประมงที่สุราษฎร์ฯ

(http://pics.manager.co.th/Images/552000000457507.JPEG)    (http://pics.manager.co.th/Images/552000000457506.JPEG)

สุราษฎร์ธานี - คลื่นสูงกว่า 2 เมตร ซัดถล่มหมู่บ้านชาวประมงบ้านพอด อำเภอดอนสัก สุราษฎร์ธานี ทำให้ถนนริมทะเลเสียหายหนัก รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้ ส่วนเรือเฟอร์รีข้ามเกาะสมุย ต้องลดเที่ยวเดินเรือ นักท่องเที่ยว ผู้ใช้บริการตกค้างเพียบ
       
       วันนี้ (14 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ว่า ได้เกิดคลื่นสูงกว่า 2 เมตร ซัดเข้าถล่มหมู่บ้านชาวประมงบ้านพอด ม.1 ต.ชลคราม อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี ความแรงของคลื่นยังส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนประชาชน ที่อาศัยอยู่ริมทะเลกว่า 50 หลังคาเรือน ได้รับความเดือดร้อน กระสอบทรายที่ทหารค่ายวิภาวดี
       
       จัดทำแนวกันคลื่นกัดเซาะไว้ก่อนหน้านี้ ได้ถูกกระคลื่นพัดพาลงทะเล บ้านพัก และตัวอาคารได้รับความเสียหายไปแล้วบางส่วน นอกจากนั้น คลื่นยังกัดเซาะถนนสายริมชายหาดบ้านพอด–ดอนสัก พังเสียหายระยะยาวกว่า 1 กิโลเมตร รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้ ซึ่งพื้นที่บ้านพอดเป็นพื้นที่เสี่ยงและเกิดเหตุซ้ำซาก

(http://pics.manager.co.th/Images/552000000457503.JPEG)    (http://pics.manager.co.th/Images/552000000457504.JPEG)
       
       ด้านเรือเฟอร์รีข้ามเกาะสมุย-เกาะพะงัน ต้องลดจำนวนเที่ยวเรือลง 2-4 เที่ยว เนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูง และคลื่นแรง เรือเฟอร์รีไม่สามารถเทียบท่าได้ และต้องเสียเวลาไปกว่า 30 นาที เนื่องจากท่าเทียบเรือของ บริษัท ราชาเฟอร์รี ใช้ได้เพียงท่าเดียวจากปกติมีให้บริการ 3 ท่า ทำให้นักท่องเที่ยว และผู้ใช้บริการต้องตกค้างจำนวนมาก
       
       ด้านสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ออกประกาศเตือนเรือประมง เรือเฟอร์รี่ เรือโดยสารรับ-ส่งนักท่องเที่ยว ให้เดินเรือด้วยความระมัดระวัง ส่วนเรือสปี๊ดโบ๊ท ที่รับ-ส่ง นักท่องเที่ยวระหว่างเกาะต่างๆ พร้อมเรือนำเที่ยว เรือประมงขนาดเล็ก ควรงดออกจากฝั่ง ในระยะนี้ เพื่อความปลอดภัย
       
       เนื่องจากทะเลมีคลื่นลมแรงความเร็วลม 20-40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ซึ่งเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ พร้อมทั้งขอให้ประชาชนเฝ้าติดตามข่าวการพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด



จาก                                      :                               ผู้จัดการออนไลน์     วันที่ 14 มกราคม 2552


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มกราคม 15, 2009, 02:00:32 AM

ชายหาดชุมพรกว่า 10 กม. คลื่นเซาะถึงบ้าน
 

นาย้เกียรติ ดำรงค์ ส.อบต.นาพญา อ.หลังสวน จ.ชุมพร แจ้งว่า ในช่วงเช้าของวันนี้ ได้เกิดพายุ และ คลื่นยักษ์ ทวีความรุนแรง มากขึ้น ในพื้นที่ ต.นาพญา และพื้นที่ ต.บางมะพร้าว อ.หลังสวน จ.ชุมพร ซึ่งเป็นตำบลที่มีพื้นที่ชายทะเลต่อเนื่องยาวหลายสิบ กม. คลื่นยักษ์ และ ลมแรง พัดถล่มต่อเนื่องขึ้นสู่ฝั่งเป็นเวลาหลายชั่วโมง

สาเหตุดังกล่าวทำให้ ชายฝั่งได้รับความเสียหายเพื่มขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็วมาก บ้านของชาวบ้านที่ตั้งอยู่ ริมทะเลได้ ถูกคลื่นกัดเซาะ จนทำให้นำทะเลเข้ามา อยู่ใต้พื้นบ้าน รวมถึง ต้นมะพร้าวหลายสิบต้น ที่อยู่ บริเวณหน้าบ้าน โค่นล้มลงไปในทะเล ความเสียหายขยายวงกว้างขึ้นตลอดเวลา ในขณะที่ ได้ยื่นหนังสือ ขอความช่วยเหลือไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ แต่ยังไม่ได้รับการตอบสนองแต่อย่างใด ทำให้เกิดความหวั่นไหวเป็นอย่างมากว่า จะทำอย่างไรกับเหตุการณ์ทีเกิดขึ้น โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจ รีสอร์ท หลายราย ที่เพิ่งลงทุนสร้างรีสอร์ท ต่างพากันหวาดหวั่นว่า คลื่นทะเลจะกัดเซาะ จนทำแผ่นดินหายไปอีกทั้งไม่รู้จะหาทางแก้ไขอย่างไร

นอกจากนั้น ในส่วนของ ชาวประมง ในพื้นที่ อ.หลังสวน จ.ชุมพร ต่างพากันนำเรือประมง ทั้งขนาดเล็ด และ ขนาดใหญ่ เข้ามาหลบคลื่นลม ในหมู่บ้านชาวประมงที่ ต.ปากน้ำหลังสวน หลายพันลำ ส่งผลให้ชาวประมงหลายร่อยครอบครัวขาดรายได้ ในช่วง 3 วันที่ผ่านมา จนเริ่มเกิดความเดือดร้อนกันแล้ว โดยเฉพาะชาวประมงชายฝั่ง ที่ มีรายได้ จากการจับสัตว์น้ำทะเล แบบหาเช้ากินค่ำ แทบไม่มีเงินเลี้ยงครอบครัว ในเวลา



จาก                                 :                                เนชั่นทันข่าว  วันที่ 14 มกราคม 2552


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มกราคม 15, 2009, 02:03:34 AM

ชาวบ้านชายฝั่งสงขลาโดนคลื่นซัดบ้านพัง
 
(http://www.innnews.co.th/pic_election/2102.jpg)

ชาวบ้านแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ในจ.สงขลา ได้รับผลกระทบจากคลื่นลมแรง ซัดบ้านและเรือประมง เสียหาย ด้านปภ.เร่งให้ความช่วยเหลือพร้อมเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง

จากภาวะคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยที่ยังคงมีกำลังแรงในระยะนี้ ส่งผลให้ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่แนวชายฝั่งของจ.สงขลา เริ่มได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ นายวิจิตร จันทรปาน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า จากการสำรวจสภาพพื้นที่ชายฝั่งที่ติดกับทะเลอ่าวไทยพบว่ามี 2 อำเภอของ จ.สงขลา ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะคลื่นลมแรง ประกอบด้วยพื้นที่ หมู่ 7 ต.เกาะแต้ว อ.เมือง มีบ้านเรือนถูกคลื่นซัดเสียหาย 4 หลังและพื้นที่หมู่ 1 ตำบลหัวเขา อ.สิงหนคร มีบ้านเรือนประชาชน 30 หลังถูกน้ำทะเลหนุนเข้าท่วม ทั้งนี้พื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบทั้งสองแห่งเป็นหมู่บ้านชาวประมงและส่วนใหญ่ปลูกรุกล่ำเข้าไปตามแนวชายฝั่ง แต่สภาพความเสียหายไม่ได้ขยายวงกว้างเพราะเป็นจุดเดิมที่ได้รับผลกระทบทุกครั้งที่คลื่นลมในทะเลอ่าวไทยมีกำลังแรง

อย่างไรก็ตามทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารภัยจังหวัดสงขลา ได้ประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งสองพื้นที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและเตรียมสถานที่สำหรับอพยพชาวบ้านไปอยู่ในที่ปลอดภัยชั่วคราว รวมทั้งให้จัดเวรยามติดตามสถานการณ์คลื่นลมตลอด 24 ชั่วโมง ในส่วนของเรือประมงทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่ออกทำการประมงอยู่ในน่านน้ำอ่าวไทยจนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานเรืออัปปางจากภาวะคลื่นลมแรงแต่อย่างใด และได้ประสานให้หยุดออกทำการประมงชั่วคราวรวมทั้งเฝ้าติดตามรายงานสภาพอากาศจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออกอย่างใกล้ชิด
 
 

จาก                                 :                      สำนักข่าว INN     วันที่ 15 มกราคม 2552


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: lord of death ที่ มกราคม 26, 2009, 09:21:30 AM
น่า หยวน หยวน เถอะ คนตัวหนัก มารวมในที่เดียว แผ่นดินเลยรับไม่ไหว จมไปแร้น :'(


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กุมภาพันธ์ 03, 2009, 12:16:11 AM

ศึกษาผลกระทบชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง


 นายสำราญ รักชาติ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า จากกรณีการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่นราธิวาส-สงขลาที่มีแนวโน้มรุนแรงในระดับวิกฤติมาก ซึ่งเดิมมีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงเฉลี่ย 5 เมตรต่อปี แต่ในปี 2551 มีอัตราการกัดเซาะเพิ่มขึ้นเป็น 10 เมตรต่อปีนั้น ในเบื้องต้นกรมฯ ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กรมพาณิชย์นาวี กรมโยธา และกรมทรัพยากรธรณีตั้งคณะทำงานร่วมทำหน้าที่เร่งศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความเสียหายที่เกิดขึ้นตลอดทั้งอ่าว สำหรับเป็นข้อมูลในการปรับปรุงโครงการก่อสร้างพื้นฐานเดิมและออกแบบโครงการก่อสร้างพื้นฐานใหม่ อาทิ แนวกันคลื่น รอดักทราย (Groin) เขื่อนหินทิ้ง ซึ่งมีลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและช่วยชะลอการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ใกล้เคียง โดยขณะนี้คณะทำงานร่วมได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงสำรวจพื้นที่และเก็บข้อมูลต่าง ๆ แล้ว คาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเรื่องการปรับปรุงโครงการก่อสร้างพื้นฐานเดิมและออกแบบโครงการก่อสร้างพื้นฐานใหม่ บริเวณอ่าวไทยตอนล่างภายใน 2 เดือนนี้
 
“บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีปัญหาการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากกว่าฝั่งอันดามัน ประกอบกับที่ผ่านมาการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในแต่ละพื้นที่จะต่างคนต่างดำเนินการ โดยไม่มีการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบนิเวศและพื้นที่ใกล้เคียง จึงเป็นสาเหตุให้ปัจจุบันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันเร่งสำรวจผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งอ่าว เพื่อนำมาปรับปรุงและแก้ไขโครงการก่อสร้างพื้นฐานทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด” นายสำราญ กล่าว.
 


จาก                                 :                      เดลินิวส์     วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กุมภาพันธ์ 10, 2009, 12:51:57 AM

กทม.จับมือเนเธอร์แลนด์แก้น้ำทะเลเซาะชายฝั่งถาวร

เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2552 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. พร้อมด้วย H.E.Tjaco Theo Van Den Hout เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย พร้อมด้วยทีมผู้บริหารกทม. พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ พล.ต.ต.วีระพัฒน์ ตันศรีสกุล ผู้บังคับการตำรวจจราจร ขึ้นเฮลิคอปเตอร์สำรวจชายทะเลบางขุนเทียนและพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ปัญหาการกัดเซาะชายทะเลบางขุนเทียน เป็นเรื่องที่ตนเป็นห่วงมาก จึงได้เชิญท่านทูตเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ระดับต่ำกว่าน้ำทะเลและสามารถอยู่กับน้ำมานานหลายร้อยปี มาดูสภาพปัญหาของประเทศไทย เพื่อจะได้ประสานผู้เชี่ยวชาญมาช่วยวางแผนแก้ปัญหาในระยะยาว ร่วมกับการแก้ปัญหาระยะสั้นที่ขณะนี้สำนักการระบายน้ำได้ปรับปรุงรูปแบบการกัดเซาะด้วยทีกรอย์โดยใช้หินทิ้ง และการปักไม้ไผ่ตามภูมิปัญญาของชาวบ้าน เบื้องต้นนี้จะใช้สารพิเศษเคลือบไม้ไผ่ให้มีความคงทนมากขึ้น
 
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า คาดว่าการศึกษาเพื่อวางแนวทางการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจะได้รูปแบบที่ชัดเจนภายใน 3 ปี โดยกทม.จะเป็นหน่วยนำร่องเพราะได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งขณะนี้มีชายฝั่งหายไปในทะเลเป็นระยะทาง 1 กิโลเมตรแล้ว และจากภาวะโลกร้อนทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นปีละ 5 มิลลิเมตร หากไม่เร่งวางแผนการแก้ปัญหาในระยะยาว จะส่งผลกระทบมากในอนาคต.
 


จาก                                 :                      เดลินิวส์     วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มีนาคม 03, 2009, 01:05:20 AM

ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง วิกฤติที่ต้องเร่งแก้ไข
 
(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2009/agriculture/3/3/192303_94389.jpg)
 
 ปัจจุบัน ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทยมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยผลสำรวจล่าสุดของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พบว่า พื้นที่ชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่นราธิวาส-สงขลาประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงในระดับวิกฤติมาก จากเดิมมีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งเฉลี่ย 5 เมตรต่อปี แต่ในปี 2551 มีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ยสูงถึง 10  เมตรต่อปี อีกทั้งยังพบว่าทุกจังหวัดเป็นพื้นที่เสี่ยงรวมเป็นระยะทางกว่า 310 กม. ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงและต้องเร่งดำเนินการแก้ไข  เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบนิเวศชายฝั่งทะเลของไทย
 
นายสำราญ รักชาติ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีลักษณะเป็นชายฝั่งแนวตรงยาวไม่มีส่วนเว้า หรืออ่าวช่วยลดความรุนแรงของ กระแสน้ำ ทำให้ปัญหาการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากกว่าฝั่งอันดามันซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นหาดสั้น ๆ และมีอ่าวน้อยใหญ่ ประกอบกับที่ผ่านมาบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งสูงถึง 25 จุด รวมกว่า 600 เขื่อน อีกทั้งการดำเนินการในแต่ละพื้นที่จะเป็นแบบต่างคนต่างทำ โดยไม่มีการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบนิเวศและพื้นที่ใกล้เคียง ส่งผลให้ปัจจุบันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากทรายและตะกอนต่าง ๆ ถูกกระแสน้ำ พัดไปทับถมอยู่ด้านหลังของสิ่งก่อสร้างเป็นจำนวนมาก ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ พื้นที่ปากพนัง ที่ปัจจุบันมีอัตราการกัดเซาะสูงถึงปีละ 10 เมตร 
 
ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในเบื้องต้น กรมฯ จึงได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กรมพาณิชยนาวี กรมโยธา และกรมทรัพยากรธรณี ตั้งคณะทำงานร่วมทำหน้าที่เร่งศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความเสียหายที่เกิดขึ้นตลอดทั้งอ่าว เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงโครงการก่อสร้างพื้นฐานเดิม ตลอดจนออกแบบโครงการก่อสร้างพื้นฐานใหม่ อาทิ แนวกันคลื่น กรอยน์ (groin) ดักทราย เขื่อนหินทิ้ง เป็นต้น ที่มีลักษณะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและช่วยชะลอการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่สำคัญจะต้องไม่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ใกล้เคียงเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้คณะทำงานร่วมได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงสำรวจพื้นที่และเก็บข้อมูลต่าง ๆ แล้ว คาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเพื่อนำมาปรับปรุงและแก้ไขโครงการก่อสร้างพื้นฐานบริเวณอ่าวไทยทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยจะมีการติดตามและประเมินผลโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษา จากนั้นจะนำแนวทางดังกล่าวไปขยายผลในพื้นที่อื่นที่มีปัญหาการกัดเซาะรุนแรงต่อไป

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2009/agriculture/3/3/192303_94392.jpg)
 
ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาในระยะยาวนั้น กรมฯ จะเร่งผลักดัน “ยุทธศาสตร์การ  จัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง” ให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้จริงตามเป้าหมายที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตั้งไว้ทั้ง 5 มาตรการคือ

1.พัฒนาและปรับปรุงระบบฐานข้อมูลพื้นที่ชายฝั่ง โดยการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ชายฝั่งทั่วประเทศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อนำจัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ของชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่ง ที่มีมาตรฐานและทันสมัย สามารถแสดงผลการประมวลข้อมูลสถานการณ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศ เพื่อใช้ในการจัดการ โดย  เฉพาะบริเวณพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการ  กัดเซาะ
 
2.การมีส่วนร่วมในการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหา เน้นการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและการจัดการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล และเสริมสร้างศักยภาพของกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง

3.การจัดทำแผนแม่บทและแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหากัดเซาะชายฝั่งเชิงบูรณาการในระดับพื้นที่ เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการและขั้นตอนการตัดสินใจวางแผน ให้เข้าใจในทุกประเด็นปัญหาที่อาจมีผลกระทบต่อเนื่อง พร้อมจัดทำแผนบูรณาการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศ และการจัดการพื้นที่วิกฤติและพื้นที่เร่งด่วนที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
 
4.การป้องกันแก้ไขและฟื้นฟูสภาพพื้นที่ชายฝั่ง โดยการจำแนกเขตพื้นที่ที่มีปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเล หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต เพื่อใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกมาตรการจัดการป้องกัน แก้ไข หรือฟื้นฟูพื้นที่แต่ละแห่งตามความเหมาะสม อีกทั้งยังจัดทำแผนการจัดการและแผนปฏิบัติการระดับพื้นที่ ร่วมกับหน่วยงานระดับท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตลอดจนฟื้นฟูสภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ประสบปัญหาให้สามารถกลับมาใช้ประโยชน์ด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้ตามศักยภาพของพื้นที่
 
5.การพัฒนาระบบกำกับ ตรวจสอบ และควบคุมการดำเนินงานด้านการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยมุ่งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่และเกี่ยวข้องให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้โดยเฉพาะในพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เร่งด่วน และกำหนดมาตรการเชิงรุกในการติดตาม และตรวจสอบสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเล ตลอดจนจัดทำระบบประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในระดับพื้นที่ ซึ่งคาดว่ายุทธศาสตร์ดังกล่าวจะช่วยแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2009/agriculture/3/3/192303_94393.jpg)
 
....ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งถือเป็นวิกฤติของประเทศที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ   ผู้ประกอบการเอกชน และชุมชนในพื้นที่ ควรร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเลของประเทศไทยให้สามารถใช้ประโยชน์ตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ซึ่งหมายถึงโอกาสทางเศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่ ทั้งรายได้จากนักท่องเที่ยว และรายได้จากการทำประมงที่จะเพิ่มขึ้นตามมาด้วย…
 


จาก                                 :                      เดลินิวส์     วันที่ 3 มีนาคม 2552


หัวข้อ: Re: แผ่นดินที่หายไป (2)
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มีนาคม 11, 2009, 01:26:21 AM

2 ปีเห็นผลแก้ชายฝั่งบางขุนเทียนหาย


                เมื่อวันที่ 9 มี.ค.52 นายประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวภายหลังเข้าพบหารือเรื่องเทคโนโลยีการป้องกันพื้นที่ชายฝั่งกับผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ว่า กทม.ได้ร่วมหารือถึงแนวทางแก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง และป้องกันน้ำท่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากสถานทูตเนเธอร์แลนด์ในฐานะที่เป็นประเทศที่มีพื้นที่เกือบทั้งหมดอยู่ในระดับต่ำกว่าน้ำทะเล จึงมีความเชี่ยวชาญในการสร้างเขื่อนป้องกันคลื่นและการกัดเซาะชายฝั่ง และเป็นที่ปรึกษาเรื่องการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและป้องกันนำท่วมในหลายประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย มาเลย์เซีย จอร์เจีย เป็นต้น

ทั้งนี้ ในการหารือกทม.ได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นของชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนที่ยังมีระบบนิเวศที่สำคัญกับประชาชนในพื้นที่เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาหารูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยต้องไม่กระทบต่อระบบนิเวศวิทยาในพื้นที่ ซึ่งเนเธอร์แลนด์เคยให้คำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนของกทม.ไว้เมื่อปี 2544 โดยเสนอการสร้างเขื่อนซึ่งได้รับการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่จำนวนมากที่เกรงว่าจะเกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่ง เพราะในปัจจุบันยังมีการประกอบอาชีพประมงชายฝั่งอยู่ เช่น ฟาร์มกุ้ง หอย เป็นต้น

รองผู้ว่าฯกล่าวว่า  กทม.ได้หาทางแก้ไขและได้เข้าชี้แจงในสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประชาชนในพื้นที่แล้วได้ข้อตกลงร่วมกันว่า จะใช้วิธีที่ชาวบ้านเสนอด้วยการปักเขื่อนไม้ไผ่เป็นการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาชั่วคราวจนกว่าจะได้วิธีที่เหมาะสมแก้ไขในระยะยาวได้ ซึ่งสำนักการระบายน้ำได้เข้าเจรจากับประชาชนในพื้นที่มีความเข้าใจมากขึ้นและยอมรับเกือบทั้งหมดแล้ว

                จากนี้กทม.จะได้รวบรวมข้อมูลตัวเลขของชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนส่งให้ผู้เชี่ยวชาญผ่านสถานทูตเนเธอร์แลนด์ซึ่งได้ขอเวลาศึกษาหาแนวทางที่เมาะสมระยะหนึ่ง เพราะสภาพชายฝั่งมีความแตกต่างกันมาก และมีข้อกำหนดที่ระบบนิเวศจะต้องยังคงอยู่ จุดมุ่งหมายเพื่อลดแรงปะทะคลื่นชายฝั่ง เพิ่มตะกอนเพื่อเพิ่มพื้นดินชายฝั่ง และปลูกป่าโกงกางเป็นแหล่งอาหารและแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลหลายชนิด ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานานหลายปี

                ด้านนายชาญชัย วิฑูรปัญญากิจ ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ตนพร้อมเจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ถึงแนวทางการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ยังคงต้องการให้ใช้วิธีการปักไม้ไผ่ซึ่งตนก็ได้แจ้งแล้วว่าเป็นวิธีการที่ป้องกันในระยะยาวไม่ได้ซึ่งในส่วนนี้ชาวบ้านก็เข้าใจดีแล้ว โดยในการแก้ปัญหานั้นจะใช้วิธีการทิ้งหินขนาดใหญ่แต่ในเบื้องต้นก็ต้องใช้วิธีปักไม้ไผ่ไปก่อน อย่างไรก็ตามคาดว่าจะเริ่มดำเนินการโครงการได้ภายใน 2 ปีนี้



จาก                               :                             สยามรัฐ     วันที่ 9 มีนาคม 2552