กระดานข่าว Save Our Sea.net
พฤษภาคม 03, 2024, 09:53:07 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แผ่นดินที่หายไป (2)  (อ่าน 61391 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #60 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2008, 01:07:01 AM »


วิจัยปะการังเทียมแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง

 ทุกวันนี้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ถือเป็นปัญหาทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ประเทศไทยจะปล่อยเฉยหรือนิ่งนอนใจไม่ได้!!!
 
เนื่องจากชายฝั่งทะเลกว่า 2,650 กิโลเมตรของไทยทั้งในฝั่งอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน มีหลาย ๆ พื้นที่ที่กำลังประสบปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะ โดยมีความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
 
ชายฝั่งของประเทศไทย กำลังประสบปัญหาการกัดเซาะใน 23 จังหวัดริมทะเล โดยชายฝั่งอ่าวไทยตั้งแต่ภาคตะวันออกที่ จ.ตราด จดชายแดนที่ จ.นราธิวาส ความยาวชายฝั่งประมาณ 1,650 กม. พบการกัดเซาะรุนแรง 5 เมตรต่อปี จนถึงมากกว่า 20  เมตรต่อปี ประมาณเกือบ 500 กม. ส่วนชายฝั่งอันดามัน ตั้งแต่ จ.ระนอง จดชายแดนใต้ที่ จ.สตูล ความยาวชายฝั่งประมาณ 1,000 กม. พบการกัดเซาะรุนแรงกว่า 100 กม.
 
ทั้งนี้ในพื้นที่ชายฝั่งหาดสมิหลา จ.สงขลา ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะอย่างรุนแรงและเรื้อรัง  โดยเฉพาะบริเวณหาดชลาทัศน์ เขตเทศบาลนครสงขลา ถูกกัดเซาะยาวประมาณ 2 กม. เริ่มตั้งแต่บ้านเก้าเส้งเลียบชายหาดชลาทัศน์ไปทางทิศเหนือ จนถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา
 
จากปัญหาดังกล่าวทาง กรมทรัพยากรธรณี จึงได้สนับสนุนงบประมาณวิจัยจำนวนประมาณ 5 ล้านบาท ให้ทาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ดำเนินการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหาดสมิหลา
 
ผศ.พยอม รัตนมณี อาจารย์ประจำภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหัวหน้าโครงการวิจัยบูรณาการชายฝั่งทะเล การใช้ปะการังเทียมป้องกันการกัดเซาะ (กรณีศึกษาหาด   สมิหลา) กล่าวว่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของไทย ในปัจจุบันหลายพื้นที่จัดว่าอยู่ในระดับที่มีความรุนแรง ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน พื้นที่ใดมีการกัดเซาะมากกว่า 5 เมตรต่อปี ถือว่าเป็นปัญหาการกัดเซาะที่รุนแรง ซึ่งมีปัจจัยมาจากหลาย ๆ สาเหตุ อาทิ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และระดับน้ำทะเล การทรุดตัวของพื้นที่ ป่าชายเลนถูกทำลาย การก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลงไปในทะเล ฯลฯ
 
สำหรับการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งนั้น มี 2 มาตรการ คือ มาตรการแบบแข็ง ซึ่งเป็นการนำหลักวิศวกรรมมาใช้ เช่น การสร้างกำแพงกันคลื่น รอดักทราย ถมแนวหินหัวหาด ฯลฯ ส่วนมาตรการแบบอ่อน จะใช้แก้ปัญหาในพื้นที่ถูกกัดเซาะไม่รุนแรง เช่น การเสริมทรายยังพื้นที่ถูกกัดเซาะ ปลูกป่าชายเลน ฯลฯ ส่วนการจะใช้วิธีไหนในการแก้ปัญหา จะต้องขึ้นอยู่กับความรุนแรง และลักษณะของพื้นที่แต่ละแห่ง
 
อย่างไรก็ตาม มาตรการในการแก้ปัญหาแต่ละอย่างก็มีข้อจำกัด อาทิ เมื่อลงมือก่อสร้างในที่หนึ่งก็จะส่งผลให้เกิดการกัดเซาะไปยังที่อื่นหรือพื้นที่ใกล้เคียง และการแก้ปัญหาบางวิธีมีค่าใช้จ่ายสูง และส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพและการท่องเที่ยวบริเวณนั้น หรือมีผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ฯลฯ
 
จากข้อจำกัดต่าง ๆ จึงเกิดการวิจัยเพื่อจะใช้ปะการังเทียมในการช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยทางกรมทรัพยากรธรณีได้สนับสนุนงบประมาณ ใช้เวลาวิจัยประมาณ 8 เดือน แต่ก่อนหน้านี้ทางมหาวิทยาลัยก็ได้ทำงานวิจัยด้านนี้มาก่อนล่วงหน้าแล้ว 2 ปี จึงมีฐานข้อมูลด้านต่าง ๆ อยู่แล้ว
 
การดำเนินงานวิจัยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลคลื่นลม แผนที่และรูปถ่ายทางอากาศในพื้นที่ศึกษา ซึ่งเป็นข้อมูลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา จากนั้นได้ทำการสำรวจข้อมูลด้านวิศวกรรม เช่น ความลึกท้องทะเล แนวชายฝั่งทะเล ความลาดชั้นชายหาด เก็บตัวอย่างทรายชายหาด ระดับน้ำขึ้น-น้ำลง กระแสน้ำ เจาะสำรวจชั้นดิน สภาพความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ บริเวณชายฝั่ง และทำการสำรวจข้อมูลด้านนิเวศทางทะเล ซึ่งประกอบด้วย การเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำ การสำรวจทรัพยากรทางทะเล ความอุดมสมบูรณ์ของฝูงปลา สำรวจปะการัง ในส่วนของการสำรวจข้อมูลด้านสังคม ประกอบด้วย การสำรวจด้านอาชีพและรายได้ ทัศนคติของชุมชนต่อการดำเนินโครงการวางปะการังเทียมป้องกันชายฝั่งทะเล
 
ทั้งนี้ทางคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิจัยโดยใช้ทั้งแบบจำลองทาง คณิตศาสตร์ (Mathematical Model) และแบบจำลองทางกายภาพ (Physical Model) โดยได้ทำการก่อสร้างห้องปฏิบัติการทดลองวิศวกรรมชายฝั่งทะเลขึ้น ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ของ มอ.  ประกอบด้วย รางจำลองคลื่น (Wave Flume) และอ่างจำลองคลื่น (Wave Basin) พร้อมติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นที่ทันสมัย โดยใช้อัลตร้าโซนิค (Ultrasonic) ส่งข้อมูลด้วยระบบไร้สาย (Wireless System) สู่คอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผลต่อไป ส่วนการจัดทำแบบจำลองทางกายภาพ (Physical Model) ของแท่งปะการังเทียมขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาด้านเสถียรภาพของแท่งปะการังเทียมต่อการรับแรงคลื่น ประสิทธิภาพในการกรองคลื่นและการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง และศึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งจากการจัดวางปะการังเทียม เพื่อให้เกิดความมั่นใจก่อนที่จะนำปะการังเทียมไปจัดวางในพื้นที่โครงการนำร่อง ซึ่งจากการศึกษาวิจัยในขั้นต้นพบว่าแนวปะการังเทียมสามารถกรองพลังงานคลื่นได้ประมาณ 60-70% สามารถชะลออัตราการกัดเซาะได้ในระดับที่น่าพอใจ
 
“รูปแบบปะการังเทียมที่ได้วิจัยขึ้นเพื่อนำไปวางในทะเลนั้น จะมีทรงเป็นรูปโดม สูงประมาณ 1.8 เมตร หนักประมาณ 3 ตัน โดยจะนำไปวางทั้งหมดจำนวน 3,500 ลูก แบ่งเป็น 8 แถว มีความยาวแถวละ 200 เมตร  พร้อมเปิดช่องทางประมาณ 100 เมตร เพื่อให้เรือประมงสามารถเข้าออกจากฝั่ง จุดที่วางจะห่างจากฝั่งประมาณ 250-400 เมตร และระดับน้ำลึกประมาณ 4 เมตร โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณ 85 ล้านบาท ส่วนขั้นตอนการวางปะการัง จะเริ่มจากสำรวจเพื่อวางผังและกำหนดจุดก่อน จากนั้นจึงนำแผ่นใยสังเคราะห์ปูพื้น แล้วนำหินวางกันเพื่อไม่ให้ปะการังจม จากนั้นจึงนำปะการังมาวางบนชั้นหินที่สูงประมาณ 1.5 เมตร ซึ่งปะการังเทียมที่นำไปวางนั้น คาดว่าจะช่วยเพิ่มพื้นที่ทรายชายหาดได้ประมาณ 20 เมตร”
 
สำหรับในช่วงที่ผ่านมาได้มีการประชุมกับชาวบ้านแล้ว 2 ครั้งเพื่อรับฟังความคิดเห็นหากจะมีการดำเนินโครงการนี้ และในวันที่ 1 ส.ค. นี้ จะจัดการประชุมครั้งสุดท้ายเพื่อนำเสนอเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และหากชาวบ้านในพื้นที่ไม่คัดค้านคาดว่าจะเริ่มลงมือวางปะการังเทียมได้ในเดือน เม.ย. ปีหน้า  อย่างไรก็ตามในส่วนของเรื่องงบประมาณยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแต่อาจจะใช้งบจากหลายหน่วยงาน คือ กรมปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลสงขลา และระดมจากภาคเอกชน
 
สำหรับการนำผลวิจัยชิ้นนี้ไปใช้เพื่อแก้ปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่ อื่น ๆ เช่น บริเวณชายฝั่งในเขตบางขุนเทียน ที่มีปัญหาการกัดเซาะรุนแรงนั้น  ผศ.พยอม บอกว่า คงไม่สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่างกัน ทั้งสภาพดิน ความแรงของคลื่นและลมบริเวณนั้น
 
จึงจำเป็นต้องทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหานี้เป็นพื้นที่ ๆ ไป.



จาก                        :              เดลินิวส์  วันที่ 15 กรกฎาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #61 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2008, 01:04:05 AM »


คนบางขุนเทียนจี้ชะลอแก้ชายฝั่งหาย บุกยื่นหนังสือ “อภิรักษ์” 21 ก.ค.นี้



      ชาวบางขุนเทียนเตรียมยื่นหนังสือถึง “อภิรักษ์” 21 ก.ค.นี้ เรียกร้อง 3 ข้อให้ กทม.ชะลอโครงการสร้างทีกรอยน์-ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม-ตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างจริงโดยมีตัวแทนชุมชนอยู่ด้วย
       
       นายเสกใส จินดาโฉม ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์ทะเลกรุงเทพฯ เขตบางขุนเทียน เปิดเผยว่า ในวันที่ 21 กรกฎาคมนี้ ชาวบ้านกลุ่มรักษ์ทะเลกรุงเทพฯประมาณ 50 คน จะเดินทางมายัง ศาลาว่าการ กทม.เพื่อยื่นหนังสือถึง นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กทม.เนื่องจากก่อนหน้านี้

       กทม.ได้แถลงข่าวถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณชายทะเลบางขุนเทียนจากไส้กรอกทรายเป็นการใช้กล่องพลาสติกใส่หินแทน โดยวางเป็นรูปตัว ที และตัวแอล ยื่นออกไปในทะเลตลอดระยะทาง 5 กิโลเมตร ตามแนวชายฝั่งนั้น ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง เกิดความวิตกกังวลต่อแนวทางและวิธีการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่ตรงกับวัตถุประสงค์และข้อเรียกร้องของชาวบ้านที่ต้องการให้มีการแก้ปัญหาด้วยการใช้เสาปูนตามรูปแบบ “ขุนสมุทรจีน 49A2” ที่บ้านขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการได้ทำไว้และค่อนข้างได้ผลดี
       
       อย่างไรก็ตาม การยื่นหนังสือครั้งนี้ชาวบ้านได้ประชุมกันและเห็นควรยื่นข้อเรียกร้องกับ กทม. 3 ข้อ คือ
1.ให้ กทม.ชะลอโครงการดังกล่าวก่อนเนื่องจากชาวบ้านยังไม่ทราบข้อมูล ถึงผลกระทบที่จะเกิดจากการนำหินใส่กล่องพลาสติกมาวางเป็นรูปตัวที ยื่นลงสู่ทะเลว่าเป็นแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงโดยไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงเช่นสมุทรสาครและสมุทรปราการ
2.ให้ กทม.ทำการศึกษาถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของ กทม.และ
3.เสนอให้มีการตั้งคณะทำงานร่วมหลายฝ่ายเพื่อศึกษารูปแบบการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่เหมาะสมกับพื้นที่โดยมีตัวแทนชุมชนร่วมอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของคณะทำงานดังกล่าว



จาก              :              ผู้จัดการออนไลน์   วันที่ 19 กรกฎาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #62 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2008, 01:35:44 AM »


เตือนอีก 12 ปี บางขุนเทียนหด


นักศึกษาปริญญาเอกพัฒนาโปรแกรมทำนายการกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียน ชี้ไม่เกิน 12 ปี แผ่นดินหายอีก 300 เมตร สาเหตุมาจากการขุดร่องน้ำดึงน้ำทะเลเข้าสู่บ่อกุ้งจนป่าชายเลนพินาศ

นายประเสริฐศักดิ์  เอกพิสุทธิ์สุนทร  นักศึกษาปริญญาเอก  บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม   (JGSEE) กล่าวว่า ปัญหาเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยรูปตัว  ก.  เป็นปัญหาที่หลายคนให้ความสนใจและกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง  เช่น บริเวณพื้นที่ขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการ  ซึ่งประสบกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง  แต่อีกพื้นที่หนึ่งที่คนกรุงเทพฯ ควรให้ความสนใจ เนื่องจากพื้นที่ถูกกัดเซาะอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร  คือพื้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียน ซึ่งประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเช่นเดียวกัน

จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียน   พบว่าการกัดเซาะเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 30   เมตร  และนับถึงขณะนี้พื้นที่ได้หายไป 200 กว่าเมตร แม้ผลกระทบจะไม่รุนแรงมากเท่าขุนสมุทรจีน แต่การกัดเซาะที่เกิดขึ้นหากไม่มีการแก้ไข อาจทำให้ความรุนแรงของการกัดเซาะเพิ่มขึ้นอย่างคาดไม่ถึง   จึงเป็นที่มาของงานวิจัย "แบบจำลองการทำนายการกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียน" ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อทำนายผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งในอีก  20  ปีข้างหน้า  หากไม่มีมาตรการใดๆ  ลงไปดูแลแก้ไข รวมไปถึงศึกษาปัจจัยหลักของการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณนี้ด้วย

"การทำนายการกัดเซาะโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่กำลังศึกษาอยู่นี้ จะแตกต่างจากการทำนายการกัดเซาะแบบเดิม  ซึ่งใช้หลักสถิติในการทำนาย โดยการศึกษาแบบจำลองนี้ต้องอาศัยข้อมูลลักษณะสภาพดิน  สภาพคลื่น  ลมแรงที่กระทบกับชายฝั่งในการคำนวณ ซึ่งโมเดลที่ใช้ประกอบด้วยโมเดล  2  แบบ  คือ  แบบจำลองคลื่น  (SWAN-Shallow Water Wave  Nearshore)  ใช้ข้อมูลลม ความลึกของท้องน้ำ เพื่อคำนวณหาทิศทางคลื่นและความสูงของคลื่น   และแบบจำลองการกัดเซาะ   (GENESIS-Generalized  Model  for Simulating  Shoreline  Change)  ใช้ข้อมูลคุณสมบัติของดิน ความหนาแน่นของตะกอน ขนาดของตะกอน และข้อมูลที่ได้จากแบบจำลองคลื่น" นายประเสริฐศักดิ์กล่าว

ข้อมูลที่คำนวณได้จากแบบจำลองจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศ  ซึ่งเป็นข้อมูลจริง เป็นช่วง เพื่อเปรียบเทียบความถูกต้อง และหาค่าผิดพลาด ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วพบว่ามีค่าผิดพลาดเพียง   20%  เท่านั้น จากปกติที่การคำนวณการกัดเซาะจะมีค่าผิดพลาดได้ถึง 50% ซึ่งเมื่อคำนวณหาค่าผิดพลาดได้แล้วจึงสามารถคำนวณเพื่อทำนายการกัดเซาะในอนาคต โดยตั้งเป้าไว้ที่ปี พ.ศ.2563  หรืออีก 12 ปีข้างหน้า ผลจากการคำนวณพบว่าหากไม่มีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใดๆ พื้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียนจะถูกกัดเซาะเข้าไปอีก 300 เมตร

จากข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศตามแนวชายฝั่งนอกที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลเผยให้เห็นถึงสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่บริเวณนี้  นั่นคือ  การขุดเจาะร่องน้ำเพื่อนำน้ำทะเลเข้าสู่บ่อกุ้ง  ทำให้ป่าชายเลนที่เคยมีอยู่ถูกถอนรากถอนโคนไปหมด เมื่อขาดรากที่จะยึดเหนี่ยวตะกอนดินคลื่นจึงทำให้กัดเซาะตะกอนออกไปได้ง่าย   และยิ่งในช่วงของฤดูมรสุมที่มีคลื่นลมแรงกว่าช่วงเวลาปกติ อัตราการกัดเซาะชายฝั่งจะยิ่งสูงขึ้นด้วย

นายประเสริฐศักดิ์กล่าวว่า การพัฒนาแบบจำลองทำนายการกัดเซาะชายฝั่งในขั้นต่อไปคือ การทำนายลักษณะการกัดเซาะในกรณีที่มีโครงสร้างป้องกันรูปแบบต่างๆ  เช่น การปลูกป่าชายเลน  การสร้างเขื่อนรูปแบบต่างๆ เพื่อหาโครงสร้างป้องกันที่เหมาะสมสำหรับชายฝั่งบางขุนเทียน   เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้สนับสนุนโครงการสร้างโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร  รวมไปถึงพัฒนาให้สามารถนำไปใช้ทำนายการกัดเซาะในพื้นที่อื่นที่มีลักษณะชายฝั่งเป็นดินเลนปากแม่น้ำเช่นเดียวกับที่บางขุนเทียนได้อีกด้วย.



จาก              :              X-cite  ไทยโพสต์  วันที่ 23 กรกฎาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #63 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2008, 01:45:23 AM »


อีก 12 ปี กทม.ถูกกัดเซาะหาย 300 เมตร



พื้นที่ศึกษา:นศ. JGSEE พัฒนาโปรแกรมทำนายการกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียน โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เผยหาก กทม.ไม่มีมาตรการป้องกัน อีกไม่เกิน 12 ปี แผ่นดินหายอีก 300 เมตร

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : นายประเสริฐศักดิ์ เอกพิสุทธิ์สุนทร นักศึกษาปริญญาเอก บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ( JGSEE ) กล่าวว่า ปัญหาเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก เป็นปัญหาที่หลายคนให้ควานสนใจและกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง เช่น บริเวณพื้นที่ขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการ ซึ่งประสบกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง แต่อีกพื้นที่หนึ่งที่คนกรุงเทพควรให้ความสนใจเนื่องจากพื้นที่ถูกกัดเซาะอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร คือ พื้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียน ซึ่งประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเช่นเดียวกัน จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียน พบว่าการกัดเซาะเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 30 เมตร และนับถึงขณะนี้พื้นที่ได้หายไป 200 กว่าเมตร แม้ผลกระทบจะไม่รุนแรงมากเท่าขุนสมุทรจีน แต่การกัดเซาะที่เกิดขึ้นหากไม่มีการแก้ไขปัญหาอาจทำให้ความรุนแรงของการกัดเซาะเพิ่มขึ้นอย่างคาดไม่ถึง

           จึงเป็นที่มาของงานวิจัย แบบจำลองการทำนายการกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียน ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อทำนายผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งในอีก 20 ปีข้างหน้า หากไม่มีมาตรการใดๆ ลงไปดูแลแก้ไข รวมไปถึงศึกษาปัจจัยหลักของการกักเซาะชายฝั่งบริเวณนี้ด้วย

           "การทำนายการกัดเซาะโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่กำลังศึกษาอยู่นี้จะแตกต่างจากการทำนายการกัดเซาะแบบเดิม ซึ่งใช้หลักสถิติในการทำนาย โดยการศึกษาแบบจำลองนี้ต้องอาศัยข้อมูลลักษณะสภาพดิน สภาพคลื่น ลม แรงที่กระทบกับชายฝั่ง ในการคำนวณ ซึ่งโมเดลที่ใช้ประกอบด้วยโมเดล 2 แบบ คือ แบบจำลองคลื่น ( SWAN - Shallow Water Wave Nearshore ) ใช้ข้อมูล ลม ความลึกของท้องน้ำ เพื่อคำนวณหาทิศทางคลื่นและความสูงของคลื่น และ แบบจำลองการกัดเซาะ ( GENESIS – Generalized Model for Simulating Shoreline Change ) ใช้ข้อมูลคุณสมบัติของดิน ความหนาแน่นของตะกอน ขนาดของตะกอน และข้อมูลที่ได้จากแบบจำลองคลื่น" นายประเสริฐศักดิ์ กล่าว

           ข้อมูลที่คำนวณได้จากแบบจำลองจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศซึ่งเป็นข้อมูลจริงเป็นช่วง เพื่อเปรียบเทียบความถูกต้อง และหาค่าผิดพลาด ซึ่งเมื่อ คำนวณแล้วพบว่ามีค่าผิดพลาดเพียง 20% เท่านั้น จากปกติที่การคำนวณการกัดเซาะจะมีค่าผิดพลาดได้ถึง 50% ซึ่งเมื่อคำนวณหาค่าผิดพลาดได้แล้วจึงสามารถคำนวณเพื่อทำนายการกัดเซาะในอนาคต โดยตั้งเป้าไว้ที่ปีพ.ศ. 2563 หรืออีก 12 ปีข้างหน้า ผลจากการคำนวณพบว่าหากไม่มีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใดๆ พื้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียนจะถูกกัดเซาะเข้าไปอีก 300 เมตร

         จากข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศตามแนวชายฝั่งนอกที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลเผยให้เห็นถึงสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่บริเวณนี้ นั่นคือ การขุดเจาะร่องน้ำเพื่อนำน้ำทะเลเข้าสู่บ่อกุ้ง ทำให้ป่าชายเลนที่เคยมีอยู่ถูกถอดรากถอนโคนไปหมด เมื่อขาดรากที่จะยึดเหนี่ยวตะกอนดินคลื่นจึงทำให้กัดเซาะตะกอนออกไปได้ง่าย   และยิ่งในช่วงของฤดูมรสุมที่มีคลื่นลมแรงกว่าช่วงเวลาปกติ อัตราการกัดเซาะชายฝั่งจะยิ่งสูงขึ้นด้วย

           นายประเสริฐศักดิ์ กล่าวว่า การพัฒนาแบบจำลองทำนายการกัดเซาะชายฝั่งในขั้นต่อไป คือการทำนายลักษณะการกัดเซาะในกรณีที่มีโครงสร้างป้องกันรูปแบบต่างๆ เช่น การปลูกป่าชายเลน การสร้างเขื่อนรูปแบบต่างๆ เพื่อหาโครงสร้างป้องกันที่เหมาะสมสำหรับชายฝั่งบางขุนเทียน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้สนับสนุนโครงการสร้างโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงพัฒนาให้สามารถนำไปใช้ทำนายการกัดเซาะในพื้นที่อื่นที่มีลักษณะชายฝั่งเป็นดินเลนปากแม่น้ำเช่นเดียวกับที่บางขุนเทียนได้อีกด้วย



จาก              :              กรุงเทพธุรกิจ   วันที่ 23 กรกฎาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
Sky
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 2506



« ตอบ #64 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2008, 03:39:41 AM »

 
นับวันมีแต่จะหายไปทุกวัน ทุกวัน
บันทึกการเข้า
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #65 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2008, 01:05:20 AM »


โปรแกรมทำนายการกัดเซาะชายฝั่ง

ระบุอีก12ปีชายฝั่งหายถึง300เมตร
     
นศ.JGSEE พัฒนาโปรแกรมทำนายการกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียน โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ พบหาก กทม.ไม่มีมาตรการป้องกัน อีกไม่เกิน 12 ปี ชายทะเลบางขุนเทียนหายอีก 300 เมตร

นายประเสริฐศักดิ์ เอกพิสุทธิ์สุนทร นักศึกษาปริญญาเอก บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) กล่าวว่า  จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียน พบว่า การกัดเซาะเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 30 เมตร และนับถึงขณะนี้พื้นที่ได้หายไป 200 กว่าเมตร แม้ผลกระทบจะไม่รุนแรงมากเท่าขุนสมุทรจีน แต่การกัดเซาะที่เกิดขึ้นหากไม่มีการแก้ไขปัญหาอาจทำให้ความรุนแรงของการกัดเซาะเพิ่มขึ้นอย่างคาดไม่ถึง
           
งานวิจัย แบบจำลองการทำนายการกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียน ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อทำนายผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งในอีก 20 ปี จะแตกต่างจากการทำนายการกัดเซาะแบบเดิม ซึ่งใช้หลักสถิติในการทำนาย โดยการศึกษาแบบจำลองนี้ต้องอาศัยข้อมูลลักษณะสภาพดิน สภาพคลื่น ลม แรงที่กระทบกับชายฝั่ง ในการคำนวณ ซึ่งโมเดลที่ใช้ประกอบด้วยโมเดล 2 แบบ คือ แบบจำลองคลื่น (SWAN - Shallow Water Wave Nearshore) ใช้ข้อมูล ลม ความลึกของท้องน้ำ เพื่อคำนวณหาทิศทางคลื่นและความสูงของคลื่น และแบบจำลองการกัดเซาะ ( GENESIS – Generalized Model for Simulating Shoreline Change) ใช้ข้อมูลคุณสมบัติของดิน ความหนาแน่นของตะกอน ขนาดของตะกอน และข้อมูลที่ได้จากแบบจำลองคลื่น
           
 ข้อมูลที่คำนวณได้จากแบบจำลองจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศซึ่งเป็นข้อมูลจริงเป็นช่วง เมื่อคำนวณแล้วพบว่ามีค่าผิดพลาดเพียง 20% เท่านั้น จากปกติที่การคำนวณการกัดเซาะจะมีค่าผิดพลาดได้ถึง 50% เมื่อคำนวณหาค่าผิดพลาดได้แล้วจึงสามารถคำนวณเพื่อทำนายการกัดเซาะในอนาคต โดยตั้งเป้าไว้ที่ปีพ.ศ. 2563 หรืออีก 12 ปีข้างหน้า ผลจากการคำนวณพบว่า หากไม่มีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใดๆ พื้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียนจะถูกกัดเซาะเข้าไปอีก 300 เมตร
         
จากข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศตามแนวชายฝั่งนอกที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลเผยให้เห็นถึงสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่บริเวณนี้ นั่นคือ การขุดเจาะร่องน้ำเพื่อนำน้ำทะเลเข้าสู่บ่อกุ้ง ทำให้ป่าชายเลนที่เคยมีอยู่ถูกถอดรากถอนโคนไปหมด เมื่อขาดรากที่จะยึดเหนี่ยวตะกอนดินคลื่นจึงทำให้กัดเซาะตะกอนออกไปได้ง่าย  และยิ่งในช่วงของฤดูมรสุมที่มีคลื่นลมแรงกว่าช่วงเวลาปกติ อัตราการกัดเซาะชายฝั่งจะยิ่งสูงขึ้นด้วย



จาก                     :               เดลินิวส์    วันที่ 30 กรกฎาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #66 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 12:42:35 AM »


เกิดนานแล้ว 'ภัยทะเล' 'ดินหด-บ้านหาย' ร้าย! ไม่แพ้สตอมเซอจ
 
 
 
 จะมีโอกาสเกิดสูง หรือมีโอกาสเกิดไม่ถึง 10% ก็เป็นเรื่องเหมาะแล้วควรแล้ว ที่หลายพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย โดยเฉพาะสมุทรปราการ และรวมถึงกรุงเทพฯ จะมีการ “ตื่นตัวเตรียมรับมือ” ภัย “สตอมเซอจ” ปรากฏการณ์ “น้ำทะเลยกตัวสูงเข้าท่วมชายฝั่ง” อันเนื่องจากอิทธิพลพายุขนาดใหญ่...
 
และจะยิ่งดี...หากสนใจภัยน้ำทะเลที่เกิดอยู่แล้วด้วย
 
“ทะเลกลืนแผ่นดิน” ภัยนี้ร้ายไม่แพ้สตอมเซอจ ?!?
 
“ลองหลับตานึกดูแล้วกันว่าถ้าแผ่นดินตรงนี้หายไป ไม่อยู่ช่วยบังกรุงเทพฯ อะไรจะเกิดขึ้น ??” ...เป็นเสียงของ สมร เข่งสมุทร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 “บ้านขุนสมุทรจีน” ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทร ปราการ ชุมชนเล็ก ๆ ซึ่งตั้งอยู่ติดทะเลอ่าวไทย ไกลจากกรุงเทพฯไม่มากนัก
 
ผู้ใหญ่บ้านรายนี้บอกว่า... กับ “สตอมเซอจ” ชาวบ้านในพื้นที่จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือเชื่อว่าอาจเกิดและไม่น่าจะเกิด แต่กับปัญหาเก่าแก่อย่าง  “คลื่นทะเล-น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง-กลืนผืนดิน” ทุกคนต่างเห็นตรงกันว่าปัญหาหลังนี้นับว่าใหญ่มากกว่าสตอมเซอจ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จนสุดท้ายแผ่นดินบ้านขุนสมุทรจีนถูกน้ำทะเลลบหายไปจากแผนที่ ในอนาคตกรุงเทพฯก็อาจมีสภาพไม่ต่างอะไรกับบ้านขุนสมุทรจีน ?!?!?
 
แม้ชาวบ้านจะทำใจยอมรับสภาพ แต่ก็อดตั้งคำถามในใจไม่ได้ว่าเคราะห์ที่แบกรับอยู่นี้ชาวบ้านในพื้นที่หรือใครหรืออะไรที่ก่อ ? แล้วก็รู้สึกน้อยใจที่ไม่ได้รับการเหลียวแลเท่าที่ควร !?!
 
จากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่สมร เคยมีการยื่นหนังสือถึงหน่วยงานรัฐบาลเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ก็ไม่มีอะไรคืบหน้า สุดท้ายก็ต้องแก้ปัญหากันเอง ต่อมามีนักวิจัย-นักวิชาการบางกลุ่มเสนอตัวเข้าช่วยแก้ปัญหาโดยจัดทำ “เขื่อนสลายกำลังคลื่น” ก็ดูจะมีความหวังขึ้น แต่ก็ยังไม่ครอบคลุม เหตุเพราะขาดปัจจัยงบประมาณ
 
ก็มีการร้องขอไปยังหน่วยงานรัฐอีกครั้ง แต่ก็ดูเหมือนว่าจะเงียบหายเหมือนเช่นทุกครั้งที่เคย ด้วยคำตอบประมาณว่า... “ปัญหามันใหญ่โตเกินไป !!” “จะช่วยได้ยังไงไหว ? มันต้องใช้งบสูง !!” ซึ่งคำถามก็เกิดขึ้นว่า...หมายความว่าจะปล่อยให้ชาวบ้านเผชิญชะตากรรมกันไปโดยไม่ช่วยแก้ไขใช่หรือไม่ ??
 
“แต่ก่อนแผ่นดินมีงอกบ้าง มีหดบ้าง แต่เดี๋ยวนี้มีแต่จะหดหายไปเรื่อย ๆ น้ำทะเลรุกไล่ที่ดินเข้ามาเรื่อย ๆ ย้ายบ้านหนีน้ำกันมาไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง อย่างของฉันนี่ตั้งแต่จำความได้ก็เป็นครั้งที่ 8 แล้ว ตั้งแต่รุ่นพ่อ” ...ผู้ใหญ่สมรกล่าว ก่อนบอกต่อไปว่า... ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นตลอด 30 ปี ไล่มาตั้งแต่ปี 2520 สร้างผลกระทบกับชาวบ้านในพื้นที่อย่างมาก ต้องถอยร่นหนีน้ำกันอยู่เรื่อย ๆ “ยิ่งระยะ 2 ปีมานี้ปัญหาก็ยิ่งหนักขึ้น !!” แค่ 2 ปีกว่าหายไปอีก 4-5 กม. ซึ่งส่วนสำคัญคงเกิดจาก “ภาวะโลกร้อน” ปัญหาจึงรุนแรงหนักขึ้น
 
“คนไหนที่ดินจมน้ำไม่เหลือก็ต้องเช่าที่คนอื่นเขาทำกิน อย่างโรงเรียนขุนสมุทรฯ ก็ย้ายหนีน้ำมา 3 ครั้งแล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะทนได้อีกนานแค่ไหน เพราะตอนนี้ก็เริ่มถูกน้ำทะเลกัดเซาะอีกแล้ว”
 
ชาวบ้านที่เคยร่วมกันต่อสู้ เดี๋ยวนี้เริ่มเล็กลง ล้มหายตายจากไปบ้าง ย้ายไปที่อื่นบ้าง บางคนก็ท้อเพราะทำไปแล้วไม่มีอะไรคืบหน้า หลายคนก็เกิดความกังขาว่า...ทำไมไม่มีใครมาใส่ใจกำแพงหน้าด่านตรงนี้จริงจัง ไม่มีใครเข้ามาดูแล ปล่อยให้เป็นเหมือน “หมู่บ้านตกสำรวจ” ทั้ง ๆ ที่อยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวง
 
“ยิ่งแผ่นดินตรงนี้หายไป อัตราเสี่ยงที่กรุงเทพฯจะเจอกับภัยธรรมชาติก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น เพราะไม่มีหน้าด่านตรงนี้คอยรับแรงปะทะ ชาวบ้านเองก็พยายามช่วยกันเอง พยายามปกป้องรักษาไว้ให้ถึงที่สุด เราก็สงสัยกันว่าทำไมไม่มีใครคิดช่วยทำอะไรจริง ๆ จัง ๆ บ้าง ถ้าสักวันแผ่นดินตรงบ้านขุนสมุทรจีนนี้หายไป คิดหรือว่าพระสมุทรเจดีย์ หรือกรุงเทพฯ จะเหลือ ?” ...ผู้ใหญ่สมรทิ้งท้าย
 
ด้าน พระอธิการสมนึก อติปัญโญ เจ้าอาวาสวัดขุนสมุทราวาส บอกกับทีม “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ว่า... ที่บ้านขุนสมุทรจีนนี่หากอยากรู้ว่าชายแผ่นดินเดิมตั้งอยู่ตรงไหน ก็ให้มองไล่ไปตามแนวเสาไฟที่ทอดยาวออกไปในแผ่นน้ำไกลสุดลูกหูลูกตา นั่นคือร่องรอยยืนยันว่าเคยมีชุมชนเก่าตั้งอยู่บริเวณนั้นจริง ๆ ซึ่งหากเกิดสตอมเซอจหรือพายุแรง ๆ พัดเข้า ฝั่งทางสมุทรปราการโซนที่ติดกรุงเทพฯ หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้น“บริเวณนี้ถือว่าเป็นจุดแรก ๆ ที่ชาวบ้านจะต้องผจญกับวิกฤติการณ์ดังกล่าวก่อนใครเพื่อน”
 
เจ้าอาวาสวัดขุนสมุทรฯบอกต่อไปว่า... หากเกิดภัยธรรมชาติอย่างที่กลัว ๆ กันขึ้น แล้วพื้นที่นี้ถูกหลงลืมว่าคือพื้นที่เสี่ยง-พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายสูง ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะทุกวันนี้ปัญหาเก่า ๆ ก็ยังไม่ปรากฏว่าจะมีแนวทางการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม สิ่งที่ทำได้ในเวลานี้มีเพียงขอให้กำลังใจชาวบ้านไม่หด สติต้องไม่ตก จะได้พร้อมรับมือกับปัญหาอย่างมีปัญญา ซึ่ง ชุมชนและวัดคงไม่สามารถพึ่งพารัฐได้
 
“เพราะรอมานานมากแล้ว ถ้าเอาแต่รอป่านนี้วัดนี้ก็คงไม่เหลือให้เห็นแล้ว ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ประเทศที่เขาไม่มีพื้นดินเขาถมทะเลเพื่อจะสร้างพื้นดินเพิ่ม แต่บ้านเรามีพื้นดินกลับปล่อยให้เป็นทะเล หรือจะรอให้มันหายไปจากแผนที่ประเทศไทยก่อนก็ไม่รู้นะ” ...เจ้าอาวาสวัดขุนสมุทรฯกล่าว
 
“ทะเลรุก-แผ่นดินหด” ดูแล้ว “ร้ายไม่แพ้สตอมเซอจ”
 
ลำพังเพียงชุมชน-องค์กรท้องถิ่น...คงยากจะรับมือได้
 
ระดับรัฐบาลคงต้องสนับสนุนจังหวัด...จึงจะพอสู้ !!!.
 



จาก                             :                           เดลินิวส์   วันที่ 27 สิงหาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #67 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2008, 01:09:31 AM »


บ้านขุนสมุทรจีน มรธ.วิจัยเชิงอนุรักษ์


วัดขุนสมุทราวาสในปัจจุบัน
 
มหาวิทยาลัยราชภัฏ ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยท้องถิ่น เพื่อคนในท้องถิ่น มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษา ให้บริการวิชาการ และสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 40 แห่ง ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ มีส่วนสำคัญในการผลักดันกระบวนการเรียนรู้ สร้างสรรค์ผลงานวิจัยให้กับท้องถิ่น

ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (มรธ.) มีทิศทางในการผลิตผลงานวิจัยแบบมีส่วนร่วมให้กับชุมชนในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยพัฒนาชุมชนฝั่งธนบุรี และการวิจัยพัฒนาทรัพยากรของจังหวัดสมุทรปราการ

ศูนย์อุดมศึกษาสมุทรปราการ ซึ่งเป็นแคมปัสแห่งใหม่ของ มรธ. ได้จัดทำงานวิจัยเรื่อง การจัดทำคู่มือท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ต.แหลมผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ

ภายใต้แนวคิด "วันเดียวเที่ยวสนุก ได้ความรู้สู่การอนุรักษ์" โดยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มจำนวน 2,000 เล่ม สามารถนำไปใช้ประกอบการนำเที่ยวในชุมชนชายฝั่งทะเลได้

ผศ.พรรณี แพ่งกุล หัวหน้าคณะวิจัย มรธ. ในโครงการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการ กล่าวว่า คู่มือการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน เป็นการแนะนำแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้ใหม่ที่นักท่องเที่ยวใช้เวลาไม่เกิน 1 วัน สามารถเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ได้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านชายฝั่งทะเลที่มีการพังทลายของพื้นดินชายฝั่งมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ การเปลี่ยนแปลงของสภาพธรรม ชาติ สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความเป็นอยู่ การ อพยพย้ายถิ่นฐานบ้านเรือน การประกอบ อาชีพ และการต่อสู้กับภัยธรรมชาติ


1.ภาพถ่ายจากดาวเทียม    2.เจ้าหนุ่มน้อยลอยชาย    3.สภาพพื้นที่บริเวณชุมนุมขุนสมุทรจีน

ทั้งนี้ ในชุมชนขุนสมุทรจีนประกอบด้วยชาวไทยเชื้อสายมอญและชาวไทยเชื้อสายจีน โดยค้นพบหลักฐานโบราณวัตถุแสดงความสัมพันธ์ด้านการค้าขายกับต่างประเทศ

"ชาวบ้านในชุมชนอยากทราบประวัติศาสตร์ของชุมชนผ่านการเรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น รวมทั้งต้องการเรียนรู้วิธีบริหารจัดการพิพิธ ภัณฑ์ที่นำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชน"

ดังนั้น ผู้วิจัยจึงแนะนำและช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ส่วนชาวบ้านจะมีบทบาทหลักในการจัดทำ ทะเบียนโบราณวัตถุ การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ และแสดงสภาพความเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมของชุมชนขุนสมุทรจีน ทำให้พบปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติตามภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี

"จะเห็นได้จาก พระอุโบสถของวัดขุนสมุทราวาส หรือวัดทะเล ซึ่งเดิมสร้างอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเล แต่ปัจจุบันระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเรื่อยๆ และกัดเซาะชายฝั่งเข้ามาจนถึงโบสถ์ของวัดขุนสมุทราวาส" ผศ.พรรณี กล่าว

ผศ.พรรณี กล่าวว่า การดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้ชุมชน ในระยะยาวสามารถจัดกิจกรรมดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเห็นพิษภัยของปัญหาโลกร้อน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา โดยเห็นตัวอย่างในพื้นที่จริง ซึ่งในงานวิจัยระบุถึงแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชายฝั่งทะเลสมุทรปราการ ได้แก่

1. ป่าชายเลน ที่เป็นแหล่งทะเลตมที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นที่อยู่อาศัยของนกกาน้ำปากยาว นกกระเต็น นกยางเปีย นกยางขาว นกกางเขน นกกิ้งโครง

2. สุสานหอย ซึ่งประกอบด้วย เศษเปลือกหอยถูกพัดมาทับถมตกตะกอนเป็นเวลานานตามชายฝั่งทะเลเป็นทางยาว 80 กิโลเมตร

3. สภาพน้ำและพรรณพืชสัตว์ริมฝั่งคลองขุนสมุทร

4. แหล่งโบราณวัตถุ เก่าแก่ตั้งแต่ 100-300 ปี เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน

5. วัดขุนสมุทราวาส และศาลเจ้าพ่อหนุ่มน้อยลอยชาย เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือ และ

6. สภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะโลกร้อน

ด้าน ผศ.อารีย์ วชิรวราการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (มรธ.) เปิดเผยถึงจุดเด่นของการทำงานวิจัยของมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยเน้นทำวิจัยต่อยอดองค์ความรู้พัฒนาชุมชนในจ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์การศึกษาวิทยาเขตใหญ่ของ มรธ.

"ล่าสุดมหาวิทยาลัยได้รับการสนับ สนุนงบประมาณจากจังหวัดสมุทรปราการ ในปี 2550 จัดทำคู่มือท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ซึ่งสามารถดึงนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศจากสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องรอเวลาต่อเครื่องบินเดินทางไปยังประเทศอื่นๆ สามารถใช้เวลาที่เหลือครึ่งวันหรือตลอดทั้งวันเข้ามาเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ชุมชนเหล่านี้ได้ สำหรับขุนสมุทรจีนนั้น มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเข้ามาเป็นนักวิจัยร่วมกันกับคณะผู้วิจัยของ มรธ."

ผศ.อารีย์กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเข้าไปทำงานวิจัยร่วมกับชุมชนต่างๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่ปี 2548-2551 ทำให้เรามีข้อมูลทางวิชาการด้านงานวิจัยชุมชนไม่ว่าจะเป็น อาชีพ สภาพแวดล้อม และปัญหาชุมชน เป็นต้น การทำวิจัยชุมชนชุดนี้ เป็นข้อมูลทางการศึกษาที่น่าสนใจมาก เนื่องจากมีทรัพยากร พรรณพืชที่อุดมสมบูรณ์มาก และยังเป็นแหล่งเรียนรู้โบราณคดี โดยเชิญ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการประวัติศาสตร์และโบราณคดีมาร่วมเป็นที่ปรึกษาทำงานวิจัยแบบสหวิทยาการ

ทั้งนี้ ในอนาคต มหาวิทยาลัยมีนโยบายขยายผลจากงานวิจัยในการบูรณาการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยร่วมกับการท่องเที่ยวสมุทรปราการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการ นำคณะทัวร์นักท่องเที่ยวที่รอต่อเครื่องบินจากสุวรรณภูมิ หรือนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆ มาพักรับประ ทานอาหารที่โรงแรมของมหาวิทยาลัยราช ภัฏธนบุรี ที่วิทยา เขตสมุทรปราการ ซึ่งมีนักศึกษาโปรแกรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวคอยรับรองอำนวยความสะดวก จากนั้นเดินทางไปท่องเที่ยวที่ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน

การที่มหาวิทยาลัยดึงนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวในชุมชน ส่วนหนึ่งเป็นการระดมทุนเข้ามาช่วยเหลือการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน และที่สำคัญเราต้องทำให้ชาวบ‰านตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะปัจจุบันผลกระทบเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อมได้มาถึงตัวชาวบ้านในชุมชนบ้านขุนสมุทรจีนแล้ว

"นักท่องเที่ยวควรมาเที่ยวชมชุมชนขุนสมุทรจีน เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมแล้วช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติ ใช้พลังงานทางเลือก ลดการทำลายธรรมชาติ เพื่อหยุดยั้งภาวะโลกร้อนไม่ให้ลุกลามไปมากกว่านี้ เห็นได้ง่ายคือ การกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่กินพื้นแผ่นดินลึกเข้ามาเรื่อยๆ" อธิการบดี มรธ. กล่าว

แม้จะยังไม่สามารถหยุดยั้งการกัดเซาะชายฝั่งได้ แต่ก็สามารถใช้ประโยชน์จากการกัดเซาะได้เช่นกัน





จาก                             :                           ข่าวสด   คอลัมน์ราชภัฏวันนี้   วันที่ 28 สิงหาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #68 เมื่อ: กันยายน 02, 2008, 01:45:06 AM »


นำร่อง"บ้านขุนสมุทรจีน" แก้ปัญหาน้ำทะเลเซาะตลิ่ง

รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล จากหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ปัญหาแผ่นดินหายเนื่องจากการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่นและลมทะเลมีความรุนแรงมากขึ้นตลอดแนวชายฝั่งทะเลของไทยทั้งหมด 2,667 กิโลเมตร พื้นที่มีปัญหากัดเซาะชายฝั่งรุนแรงที่สุดของประเทศ คือ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีแนวชายฝั่งทั้งสิ้น 45 กิโลเมตร

ประชาชนประสบปัญหาการพังทลายของแนวตลิ่งมาเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้หลายครอบครัวต้องสูญเสียพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย จนต้องอพยพออกนอกพื้นที่ไปตั้งถิ่นฐานยังแหล่งอื่นๆ ส่วนครอบครัวที่ยังคงอาศัยอยู่ก็ต้องอพยพหนีน้ำมานานแล้วหลายครั้ง เช่น ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ อพยพหนีน้ำมาแล้ว 7-10 ครั้ง ในรอบ 20 ปี โบสถ์ของวัดขุนสมุทรทราวาส จมน้ำทะเลประมาณ 1 เมตร ที่ดินราษฎรบริเวณนี้ได้ถูกน้ำทะเลซัดหายไปแล้วกว่า 1 กิโลเมตร และในช่วงปี พ.ศ.2510-2548 พื้นที่ชายฝั่งทะเลของจังหวัดสมุทรปราการถูกน้ำทะเลกัดเซาะหายไปทั้งสิ้น 11,104 ไร่

ดร.ธนวัฒน์กล่าวว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) เห็นความสำคัญของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงได้มีความร่วมมือกับธนาคารโลกและจังหวัดสมุทร ปราการ ให้ศึกษาถึงแนวทางการลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล โดยเลือกหมู่บ้านขุนสมุทรจีน เป็นพื้นที่นำร่องในการศึกษา และเป็นงานวิจัยแบบบูรณาการ มีผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ อาทิ อุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา นิเวศวิทยาชายฝั่ง ธรณีพิบัติภัยเศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมชายฝั่งและสังคม รวมถึงภูมิสถาปัตย์ และกฎหมายที่ดิน นอกจากนั้นยังมีนักวิจัยท้องถิ่นซึ่งเป็นชุมชนในพื้นที่เข้าร่วมเก็บข้อมูลเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้

"งานวิจัยแบบ Action Research และรูปธรรมของแบบจำลองเขื่อนสลายคลื่น ที่บ้านขุนสมุทรจีน นำไปขยายผลการแก้ไขพื้นที่ชายฝั่งหาดโคลนอื่นๆ ที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาการกัดเซาะและพังทลาย สกว.จึงจัดการประชุมสัมมนาเรื่องการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งหาดโคลนกรณีบ้านขุนสมุทรขึ้น โดยร่วมมือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และธนาคารโลก เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยของคณะวิจัย และผลการประเมินแบบจำลองเขื่อนสลายคลื่นเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่งกัดเซาะที่บ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ ของผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก ในวันที่ 8 กันยายนนี้"



จาก                 :                 มติชน      วันที่ 2 กันยายน 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #69 เมื่อ: กันยายน 09, 2008, 01:20:24 AM »


อีก'วิกฤติ'ต้องร่วมกู้ ! 'ต้านภัยทะเล' 'รักษาชายฝั่ง' สำคัญ
 
 
 
 ขณะที่บ้านเมือง-การเมืองกำลังวุ่นวาย “ภัยธรรมชาติ” ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อก็คงไม่รอให้สถานการณ์บ้านเมืองสงบก่อนแล้วค่อยเกิดขึ้น ซึ่งก็เป็นภารกิจของฝ่ายต่าง ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องดำเนินมาตรการต่าง ๆ ซึ่งว่ากันถึงช่วงเวลานี้ ภัยน้ำกำลังน่าเป็นห่วงที่สุด ไม่ว่าจะน้ำท่วม หรือ “ภัยจากน้ำทะเล” ...
 
และภัยจากน้ำทะเลก็ใช่แค่กรณีเกิด-ไม่เกิด “สตอมเซอจ”
 
ทะเลรุกแผ่นดิน “กัดเซาะชายฝัง” ก็เป็นภัยที่ใช่ว่าไม่ร้าย !!


เมื่อปลายเดือนที่แล้วทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ก็ลงพื้นที่และนำเสนอเรื่องราวความเดือดร้อนของชาวบ้านที่บ้านขุนสมุทรจีน ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ซึ่งที่นี่ก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ตัวอย่างที่ประสบภัย “น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง” ภัยที่ไม่ว่าจะเกิดขึ้น ณ พื้นที่ชายฝั่งที่ใดก็ทำให้เดือดร้อนทั้งนั้น ยิ่งถ้า “สตอมเซอจ” ปรากฏการณ์น้ำทะเลยกตัวสูงโถมใส่ชายฝั่ง อันเนื่องจากพายุขนาดใหญ่เกินปกติ อันเนื่องมาจาก “ภาวะโลกร้อน” มันเกิดขึ้นมาซ้ำ ความเดือดร้อนก็จะยิ่งขยายตัวใหญ่ขึ้น-ร้ายแรงยิ่งขึ้น !!
 
ทั้งนี้ วิกฤติน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งมิใช่เกิดขึ้นแล้วแค่ที่บ้านขุนสมุทรจีน แต่เกิดขึ้นแล้วหลายพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ การเร่งดำเนินการแก้ปัญหาวิกฤติน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง จึงถือว่ามีความสำคัญ
 
จากข้อมูลที่ตรวจสอบยืนยันได้ พื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนประสบ ปัญหาถูกน้ำทะเลกัดเซาะในหลายพื้นที่ในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบันก็เป็นยุคที่การกัดเซาะของทะเลมีพลังรุนแรงขึ้นกว่าในอดีต
 
ที่เห็นได้ชัดก็เช่น... บ้านขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการ “ชาวบ้านต้องย้ายถิ่นฐานหนีน้ำ ต้องสูญเสียที่ดินไปในทะเล ต้องประสบความยากลำบากในการดำรงชีพ” หรือที่บ้านคลองสีล้ง เขต อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ชายฝั่งถูกน้ำทะเลกัดเซาะในอัตราเฉลี่ย 15 เมตรต่อปี และแม้แต่พื้นที่ของ กรุงเทพฯ ชายฝั่งเขตบางขุนเทียน ก็ถูกน้ำทะเลกัดเซาะในอัตราเฉลี่ย 12 เมตรต่อปี ซึ่งก็ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้คน
 
ไม่เท่านั้น !! กับ “พื้นที่ป่าชายเลน” ที่สำคัญทั้งต่อระบบนิเวศ ต่อการประกอบอาชีพประมงชายฝั่งของชาวบ้าน และต่อการเป็นเกราะต้านภัย ธรรมชาติจากทะเล ก็ “วิกฤติ” ด้วย !!
 
อย่างพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ผลจากการถูกน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งก็ทำให้พื้นที่ป่าชายเลนลดลงอย่างน่าใจหาย จากในปี 2552 พื้นที่ส่วนนี้มีป่าชายเลนประมาณ 254.25 ตารางกิโลเมตร พอถึงปี 2547 ลดเหลือเพียง 68.37 ตารางกิโลเมตร นี่ก็บ่งบอกถึงระดับปัญหาได้ชัดเจน ซึ่งก็ต้องมีวิธีฟื้นฟูแก้ไข
 
“...จากการสำรวจ พบว่าสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งทะเลของไทยมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ระยะทาง ทั้งหมด 1,660 กิโลเมตร มีพื้นที่วิกฤติซึ่งมีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตรต่อปี จำนวน 12 จังหวัด รวมระยะทาง 180.9 กิโลเมตร ได้แก่ สมุทร ปราการ กรุงเทพฯ จันทบุรี ระยอง นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และมีพื้นที่เสี่ยงซึ่งมีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ย 1-5 เมตรต่อปี 14 จังหวัด เป็นระยะทาง 305.1 กิโลเมตร ขณะที่พื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน ระยะทาง 954 กิโลเมตร มีพื้นที่วิกฤติซึ่งมีอัตราการกัดเซาะเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตรต่อปี จำนวน 5 จังหวัด เป็นระยะทางรวม 23 กิโลเมตร และยังพบว่าทุกจังหวัดเป็นพื้นที่เสี่ยงด้วยระยะทางรวม 90.5 กิโลเมตร...”
 
...นี่เป็นข้อมูลจากการสำรวจ ที่เปิดเผยเมื่อเร็ว ๆ นี้โดย นิศากร โฆษิตรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าติดตามความคืบหน้า และคนอยู่ในพื้นที่ประสบปัญหาก็ควรต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย กับ “ยุทธศาสตร์การจัดการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง” ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติเห็นชอบไว้ เมื่อ 24 ต.ค. 2550 ที่ผ่านมา
 
หลักใหญ่ใจความ จะมีการจัดทำแผนปฏิบัติการที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาและฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่งในลักษณะบูรณาการระหว่างหน่วยงาน กลางและหน่วยงานในพื้นที่ กำหนดผู้รับผิดชอบ และอื่น ๆ เพื่อเร่งดำเนินการอย่างเหมาะสม อีกทั้งจะมีการวิเคราะห์ ประเมิน เพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินการ
 
นอกจากนี้ “การมีส่วนของของประชาชน-ชุมชน” ที่ประสบ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ก็มีการให้ความสำคัญ และ “ก็สำคัญ” ทั้งในการแก้ ปัญหาป้องกันปัญหา รวมจนถึงการเสนอให้มีรูปแบบที่เหมาะสมในการ “รักษา ชายฝั่ง” และ “รักษาป่าชายเลน” การกำหนดพื้นที่อนุรักษ์-พื้นที่ใช้ประโยชน์ ให้ชัดเจน
 
กรณีตัวอย่างการมีส่วนร่วมของประชาชน-ชุมชน กับการดำเนิน การของหน่วยงานรัฐ ก็อย่างเช่น...กลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรมหาชัยตะวันออก ที่มี วรพล ดวงล้อมจันทร์ เป็นแกนนำ ที่มีการก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้และปฏิบัติการทางชายฝั่ง ชาวบ้านได้ร่วมกันคิดสร้างปราการป้องกัน เช่น แนวไม้ไผ่ เพื่อป้องกันการพังทลายของชายฝั่งและป่าชายเลน และก็ช่วยลดความรุนแรงของคลื่นน้ำทะเลที่โถมเข้ากัดเซาะชายฝั่งได้มาก เมื่อเทียบกับบริเวณที่ไม่มีการปักแนวไม้ไผ่ ซึ่งก็คงจะมีการศึกษา-ตรวจวัดสัมฤทธิผลให้ชัดเจนต่อไป
 
ด้านหนึ่ง...ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องเร่งดำเนินการ
 
อีกด้าน...ประชาชนในพื้นที่เองก็ต้องมีส่วนร่วมจริงจัง
 
ประโยชน์มี...มิใช่แค่ “แก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง”
 
แต่ยัง “ต้านภัยทะเลรุนแรง” ที่อาจจะเกิด...ด้วย !!!.

 



จาก                 :                 เดลินิวส์      วันที่ 9 กันยายน 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #70 เมื่อ: กันยายน 12, 2008, 12:31:37 AM »


"บางขุนเทียน" กำลังจะจมหาย ผู้ว่าฯ คนใหม่ช่วยที

ชาว บางขุนเทียนอยากได้ผู้ว่าฯ ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งเป็นปัญหายืดเยื้อ และไม่ได้รับการแก้ไขมานาน หวั่นถ้าไม่มีใครแก้ไขอย่างจริงจัง แหล่งอาหารทะเลที่สมบูรณ์จะสูญพันธุ์

ทีม งานคุณภาพชีวิต ยังคงปักหลักคุยกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขมาเป็นเวลานาน ชาวบ้านในหมู่บ้านคลองพิทยาลงกรณ์ แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน เปิดใจว่า อาชีพหลักของชาวบ้านในหมู่บ้านนี้ คือ ประมง และเป็นแหล่งประมงที่มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ เป็นเหมือนคลังอาหารทะเลที่ส่งเข้าไปเลี้ยงให้คนในเมืองอย่างกรุงเทพมหานคร ได้มีอาหารทะเลสดๆ กินกันอย่างอุดมสมบูรณ์  ถ้าปัญหาที่มีอยู่ยังคงไม่ได้รับการแก้ไข น้ำทะเลยังคงกัดเซาะเข้าสู่พื้นที่ทำกินที่เป็นคลังอาหารทะเลให้จมหายกลาย เป็นทะเลอยู่อย่างนี้ อีกไม่นาน หมู่บ้านและชุมชนนี้ก็จะต้องจมหายไปกับทะเล แหล่งอาหารที่สมบูรณ์และสำคัญก็จะต้องหายไปด้วย   

 "ความอุดม สมบูรณ์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนในขณะนี้ คือ ที่นี่มีทั้งกุ้งตัวใหญ่ๆ กุ้งกุลาดำ หอยแครง หอยแมลงภู่  ปูม้า ปูทะเล ปลากะพงขาว ปลากุเลา ปลาดุกทะเล หอยนางรม พูดง่ายๆ ชาวบ้านก้าวขาออกจากบ้านก็หาอาหารพวกนี้กินได้ทันที ถือว่าเป็นความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งส่งไปถึงกรุงเทพฯ ด้วย เปรียบเสมือนบางขุนเทียนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงในเมืองมีอาหารทะเล สดๆ กินกันจนถึงทุกวันนี้ แล้วก็เพราะความอุดมสมบูรณ์นี่เอง ที่ทำให้มีปลาโลมา มาเยือนด้วย"

 ด้าน คุณคงศักดิ์ ฤกษ์งาม หัวหน้าชุมชนหมู่บ้านพิทยาลงกรณ์ กล่าวเสริมจากที่ชาวบ้านเล่าว่า นี่คือความอุดมสมบูรณ์ แต่กำลังจะหมดไป เพราะมีบางส่วนที่หน้าฝนในฤดูนี้อาจจะหายไปกับทะเล ดังนั้น จึงอยากให้ผู้ว่าฯ ที่จะเข้ามารับตำแหน่งใหม่ ลงมาพิสูจน์ด้วยว่า การกัดเซาะบางขุนเทียน ถึงขั้นไหนแล้ว ลงมาช่วยชาวบ้านหน่อย ชาวบ้านไม่ไหวแล้ว ถ้าจะเทียบถึงความรุนแรงสำหรับที่บางขุนเทียนนี้ สึนามิคงสู้ไม่ได้ เพราะสึนามิมาตูมเดียว ราบไปหมด แต่ภายใน 2-3 ปี สามารถที่จะพัฒนา หรือฟื้นให้มีสภาพกลับคืนมาได้ แต่ชายทะเลบางขุนเทียน หายไปเรื่อยๆ ไม่เคยกลับมาเหมือนเดิมเลย ขณะนี้ที่ดินชาวบ้านกว่า 3,000 ไร่ จมหายไปเป็นทะเลหมดแล้ว ไม่สามารถฟื้นคืนชีพมาได้

 "ผมอยากให้ผู้ว่าฯ คนใหม่ ลงมาดูแลในส่วนนี้ด้วย หรือเข้ามาดูแลชาวบ้านหน่อยเถอะครับ เพราะชาวบ้านก็แย่ และจะไม่ไหวอยู่แล้ว"

 แม้ ว่าชาวบ้านจะได้เอาภูมิปัญญาดั้งเดิมมาใช้ เพื่อเป็นการประทังให้ตัวเองยังพอมีอาชีพอยู่ได้ แต่ก็เป็นเพียงผลระยะสั้นๆ เพราะจากการที่ชาวบ้านได้ทำเขื่อนไม้ไผ่เพื่อชะลอคลื่นขึ้นมา ซึ่งเห็นผลแล้วว่า สามารถทำให้มีเลนเกิดขึ้นมาได้ แต่เป็นเพียงชั่วระยะสั้นๆ เท่านั้น เนื่องจากไม้ไผ่ก็มีอายุการใช้งานที่ไม่ยาว ถ้าเปลี่ยนจากแนวไม้ไผ่เป็นเสาไฟฟ้าได้ คงจะช่วยให้ชาวบ้านอุ่นใจได้มากกว่านี้ เพราะเสาไฟฟ้ามีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และคงทน จะยิ่งช่วยทำให้ดินที่หดหายสามารถเกิดขึ้นมาใหม่ได้ยาวนานกว่าไม้ไผ่ ที่มีอายุใช้งานแค่ 4-5 ปี

 แต่ถ้าเป็นไส้กรอกทรายที่ทางราชการพยายามจะนำเข้ามาให้ใช้นั้น ชาวบ้านขอปฏิเสธเลยว่า ไม่เอา

 ทั้ง นี้ เพราะเมื่อเอาไส้กรอกทรายมาวางขนานไว้กับชายฝั่งทะเล เพื่อกันแรงคลื่น ผลจากการที่มีหลายที่ที่เคยนำไส้กรอกทรายไปวางไว้เพื่อชะลอคลื่น ปรากฏว่า หลังจากวางไว้สักระยะไส้กรอกทรายเริ่มแตก ทรุดตัวลง ทำให้ไม่สามารถต้านคลื่นได้ เพราะคลื่นมีความรุนแรงมาก ในพื้นที่บางขุนเทียนเป็นดินนุ่ม พอเกิดการทรุดตัวของไส้กรอกทรายก็จะบิดตัว แล้วฉีกขาดและแตกในที่สุด สิ่งที่ตามมาคือ จะกลายเป็นทะเลทราย ทำให้ระบบนิเวศเสียไปด้วย กุ้ง หอย ปู ปลา ก็ไม่มีที่อยู่อาศัย วิถีชาวบ้านก็จะเปลี่ยนไปด้วย

 "ชาวบ้าน ที่นี่คิดว่า ไส้กรอกทรายไม่เป็นผลดีสำหรับพวกเรา เพราะจะสร้างปัญหาให้แก่ระบบนิเวศชายฝั่งทะเลเสียไปด้วย แล้วอาชีพของชาวบ้านก็เสียตามมา ชาวบ้านไม่เห็นด้วยที่จะเอาไส้กรอกทรายมาลง แต่อยากได้เสาไฟฟ้ามากกว่า เอามาปักแบบไม้ไผ่ที่ปักอยู่ในปัจจุบันนี้ ปัก 5 แถว แล้วปักแบบสลับฟันปลาเหมือนกัน จะอยู่ได้นานกว่าไม้ไผ่แน่นอน เพราะแค่เขื่อนไม้ไผ่ยังได้ผล ถ้ายิ่งเป็นเสาไฟฟ้าจะยิ่งได้ผลมากกว่าหลายเท่า แต่ทั้งนี้ก็คงขึ้นอยู่ที่ว่า จะมีใครเข้ามาสนใจ หรือ ผู้ว่าฯ คนใหม่ จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้ชาวบ้านจริงจังหรือเปล่า"



จาก                :              คม ชัด ลึก  วันที่ 11 กันยายน 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #71 เมื่อ: กันยายน 19, 2008, 01:32:01 AM »


‘แหลมตะลุมพุก-ชายฝั่งสงขลา’ วิกฤต! ทช.จ้าง มธ.ศึกษาแผนแก้ปัญหากัดเซาะ


ชายหาดบ้านหน้าศาล อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ถูกคลื่นซัดเสียหายหนัก

     ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มอบหมายนักวิจัยธรรมศาสตร์ ศึกษาจัดทำแผนหลักและออกแบบเบื้องต้นการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ตั้งแต่แหลมตะลุมพุก-ปากน้ำทะเลสาบสงขลา เตรียมสรุปพื้นที่วิกฤต 5 จุด พร้อมแนวทางการแก้ปัญหานำร่อง 2 จุด       
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง ว่า ขณะนี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้คณะนักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นผู้ออกแบบและดำเนินการ โดยมีการเปิดตัวโครงการ เมื่อวันที่ 4 กันยายน ที่ผ่านมา ณ โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท อ.สิงหนคร จ.สงขลา ภายใต้ชื่อโครงการศึกษาจัดทำแผนหลักและออกแบบเบื้องต้นการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง โดยมีพื้นที่โครงการครอบคลุมตั้งแต่แหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช ถึงปากน้ำทะเลสาบสงขลา
       
       โครงการดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลการศึกษาสถานภาพของชายฝั่งทะเลบริเวณแหลมตะลุมพุกลงมาถึงปากน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการจัดทำแผนหลักการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งอย่างบูรณาการ โดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการที่มีความเป็นไปได้ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่โครงการ เพื่อออกแบบป้องกันและแก้ไขปัญหาในพื้นที่วิกฤต โดยเฉพาะพื้นที่ 5 อำเภอชายทะเลของ จ.นครศรีธรรมราช และอีก 24 ตำบล และ 2 เทศบาลใน จ.สงขลา ที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้
       
       ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ การแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งแบบบูรณาการ ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่มีความเกี่ยวข้องหลายหน่วยงานร่วมกันรับผิดชอบ เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพื้นที่ชายฝั่งทะเล ส่งเสริม พัฒนา เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเล เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนรวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชายฝั่งทะเล รวมทั้งจะมีการบังคับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
       
       รศ.ดร.อุรุยา วีสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้จัดการโครงการศึกษาจัดทำแผนหลักและออกแบบเบื้องต้นการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง กล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาการกัดเซาะเป็นประจำทุกปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามแก้ปัญหาโดยการศึกษา สำรวจและก่อสร้างโครงสร้างต่างๆ ในพื้นที่แต่ปัญหาการกัดเซาะยังคงมีอยู่และทวีความรุนแรงทุกปี
       
       โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ช่วงที่เกิดพายุทุเรียนพัดผ่าน ทำให้เกิดคลื่นสูงตลอดแนวชายฝั่ง ประกอบกับช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำทะเลสูงสุดตามฤดูกาลในรอบปี เมื่อคลื่นใหญ่เคลื่อนเข้าหาฝั่งในระดับน้ำที่สูง ทำให้คลื่นมีการสลายพลังงานและเข้าปะทะกับชายฝั่งโดยตรง จึงเกิดการกัดเซาะสร้างความเสียหายอย่างรุนแรง พื้นที่ปศุสัตว์และเกษตรกรรมรวมทั้งบ้านเรือนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
       
       “ทางโครงการจะเร่งทำการศึกษาสภาพ และสาเหตุการกัดเซาะจัดลำดับพื้นที่เสี่ยงภัยเร่งด่วน 5 พื้นที่ และสรุปข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหารวมทั้งคัดเลือก 2 พื้นที่เร่งด่วนในการออกแบบเบื้องต้นทั้งแบบไม่ใช้โครงสร้างถาวรและแบบที่ต้องใช้โครงสร้างป้องกันอย่างถาวร” รศ.ดร.อุรุยา กล่าว




จาก                :              ผู้จัดการออนไลน์  วันที่ 18 กันยายน 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #72 เมื่อ: กันยายน 30, 2008, 01:28:59 AM »


ถวายรายงานปัญหา “กัดเซาะชายฝั่ง”


 
เมื่อวันที่ 29 ก.ย. นายสำราญ รักชาติ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ทช.กำลังเตรียมรวบรวมและสรุปความคืบหน้าโครงการที่มีการดำเนินการในแถบอ่าวไทย ทั้งที่เป็นโครงสร้างและที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านโดยเฉพาะเรื่องการใช้ไม้ไผ่สลายกำลังคลื่นในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อเตรียมเข้าเฝ้าฯถวายรายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถือเป็นวาระเร่งด่วนที่ต้องสนองพระราชดำรัส โดยเฉพาะได้เตรียมแนวทางการแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งในแถบพื้นที่อ่าวไทยตอนใน รูป ตัว ก. ด้วยการขยายผลการใช้ไม้ไผ่ ครอบคลุมความยาว 42 กม. ตลอดแนวอ่าวไทยรูปตัว ก. หลังจากที่พบว่าได้ผลจริงในเขตพื้นที่โคกขามและทำให้เกิดดินตะกอนงอกจนนำไปปลูกป่าชายเลนเพิ่มได้อีก ส่วนพื้นที่อื่นๆ อาทิ แถว จ.ระยอง จันทบุรี และสงขลา และนครศรีธรรมราช กำลังอยู่ระหว่างการประเมินศักยภาพของพื้นที่ เนื่องจากคงไม่สามารถใช้รูปแบบเดียวกันได้ทั้งหมด เพราะบางจุดอาจต้องเป็นไม้ชายหาด เนื่องจากเป็นหาดทราย และบางจุดต้องปลูกไม้ชายเลนจำพวก โกงกาง ตะบูน เพราะเป็นป่าชายเลน

อธิบดี ทช.กล่าวต่อว่า การถวายรายงานดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส รับสั่งเกี่ยวกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยเฉพาะกรณีที่บางขุนเทียนที่ชาวบ้านไม่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างไส้กรอกกันคลื่นและโครงการในพื้นที่อื่นๆ ให้ทรงทราบด้วย เนื่องจากพระองค์ท่านไม่โปรดให้ทำด้านโครงสร้างที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

นายสำราญกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในวันที่ 30 ก.ย.นี้ ทช.ได้เชิญ ครม.ไปร่วมปลูกป่าชายเลน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อแก้ไขปัญหากัดเซาะ ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร พื้นที่ประมาณ 70 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่เลนงอกใหม่หลังแนวไม้ไผ่กันคลื่นที่ชาวบ้านได้ดำเนินการมาหลายปี โดยเตรียมกล้าไม้ จำนวน 16,000 ต้น เพื่อปลูกเป็นแนวกัดเซาะอีกชั้นหนึ่ง.
 
 


จาก                :              ไทยรัฐ  วันที่ 30 กันยายน 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #73 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2008, 12:15:29 AM »


ขุนสมุทรจีน สู้ทะเลกลืนผืนดิน


 
แผ่นดินที่อาศัยของชาวแหลมฟ้าผ่า หมู่ 8 ถึง หมู่ 11 ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ณ เวลานี้มีเหลืออยู่ไม่มากนัก สืบเนื่องจากทะเลกัดเซาะชายฝั่ง และท่วมจมแผ่นดิน เป็นปัญหาเรื้อรังมานานหลายสิบปี ไม่ได้รับการแก้ไข หรือช่วยเหลือใดๆ

จากการสอบถามชาวบ้านที่อาศัยมานานรุ่นปู่ย่าตายาย ระบุว่าแผ่นดินที่หายไปมีความยาวมากกว่า 1 กิโลเมตร และขยายเป็นแนวกว้าง

โดยมีข้อมูลของทางจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2538 จนถึงปัจจุบัน พบว่าชายฝั่งถูกกัดเซาะไปแล้วกว่า 10,000 ไร่ และนักวิชาการคาดการณ์ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ผืนดินจะถูกกัดเซาะลงทะเลไปอีกเกือบ 40,000 ไร่

นางสมร เข่งสมุทร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 ต.แหลมฟ้าผ่า เป็นผู้นำชาวบ้านในการเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อหาทางป้องกันการกัดเซาะผืนดินถิ่นเกิด ปกป้องไว้ให้ลูกหลานในอนาคต ซึ่งยืนหยัดเรียกร้องมา ยาวนานกว่า 10 ปี

"พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด กระจุกตัวอยู่บริเวณชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ใน ต.แหลมฟ้าผ่า จากบันทึกข้อมูลและคำเล่าขานของคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน พบว่าบรรพบุรุษของชาวบ้านส่วนใหญ่ เป็นคนจีนที่เดินทางมาจากประเทศจีน โดยสารเรือสำเภาเข้ามาค้าขาย บ้างก็หนีหลบซ่อนมา"

"เมื่อเรือผ่านมายังพื้นที่ใกล้สันดอนปากแม่น้ำเจ้า พระยา ซึ่งเป็นจุดพักเรือ และขนถ่ายสินค้า เห็นพื้นที่ป่าชายเลนเขียวครึ้มจึงตั้งถิ่นฐาน และแต่งงานกับคนในท้องถิ่นจนถึงปัจจุบัน ทำให้ยังมีหลายครอบครัวยังไม่เปลี่ยนนามสกุลเป็นไทย คงใช้แซ่เช่นเดิม ไม่ว่าจะเป็น แซ่เอี้ย แซ่แต้ แซ่จิว แซ่เล้า"
 


"ความเดือดร้อนที่ชาวขุนสมุทรจีน ได้รับ นอกเหนือจากการต้องย้ายบ้านที่อยู่อาศัยอย่างน้อยคนละไม่ต่ำกว่า 3 ครั้งแล้ว วัด โรงเรียน ศาลเจ้า สาธารณสุขหมู่บ้าน ก็ต้องย้ายถิ่นที่ตั้งไม่น้อยกว่า 3 ครั้งเช่นกัน จากหลังคาเรือนตามทะเบียนราษฎรหมู่บ้านขุนสมุทรจีน ระบุไว้ 168 หลังคาเรือน แต่เมื่อนับหลังคาเรือนตามจริงเหลือเพียง 105 หลังคาเรือนเท่านั้น"

ผู้ใหญ่สมร เล่าให้ฟังอีกว่า เมื่อปีพ.ศ.2520 ที่ดินชาวบ้านที่มีเอกสารสิทธิ์แบบส.ค.1 เริ่มจมลงทะเลเกือบทั้งหมด ชาวบ้านในหมู่บ้านก็ช่วยเหลือกัน แบ่งปันที่ดินที่มีให้ปลูกบ้านพออาศัยอยู่ ค่อยๆ ย้ายวัด ย้ายโรงเรียน แม้จะมีปัญหา แต่ในช่วงนั้น ไม่เคยเรียกร้องอะไรจากภาครัฐ ขณะที่แผ่นดินก็ค่อยๆ ทรุดหายลงทะเล

หลังจากปีพ.ศ. 2540 ชาวขุนสมุทรจีน เริ่มขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานรัฐ หาวิธีป้องกันไม่ให้แผ่นดินทรุดลงทะเลตามแรงกัดเซาะของน้ำทะเล แต่ถึงปัจจุบันความช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรม เหมาะสมกับพื้นที่ ไม่กระทบต่อระบบนิเวศ หรือการประกอบอาชีพของชาวบ้านแทบไม่มี ชาวขุนสมุทรจีนทำได้เพียงนำเสาไฟฟ้ามาปักลงทะเล เป็นแนวตรงขวางสลับกัน เพราะจะช่วยลดการกัดเซาะได้ สามารถบรรเทาปัญหาได้ระดับหนึ่ง แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถต้านแรงคลื่นกัดเซาะของทะเลได้
 


"จำนวนครั้งที่เรียกร้องไม่ต้องนับ ตอนแรกทางการให้ไม้ไผ่ไปปักในทะเล ไม้ไผ่ก็ดี แต่ถ้าเป็นไม้เล็กปีกว่าก็หลุด ถ้าเป็นไผ่ใหญ่ไม่เกิน 3 ปีก็ขาด ตอนนี้เหลืออยู่เป็นตอเล็กๆ เท่าที่เห็น เอาไม่อยู่ รัฐจะให้หินมาถม แต่ถามว่าต้องระเบิดภูเขาอีกกี่ลูก ถึงจะได้หินมาถมทะเลเป็นผืนดินกันน้ำทะเลกัดเซาะ ต้องทำลายทรัพยากรธรรมชาติอีกสักเท่าไหร่ถึงจะพอ และมีตัวอย่างให้เห็นหินที่ถมทะเลไปก็กั้นคลื่นไม่อยู่"

"อีกอย่างที่ทางการจะให้เรา แต่เราไม่รับ คือ ไส้กรอกทราย เป็นถุงขนาดใหญ่บรรจุทราย มีลักษณะยาวเหมือนไส้กรอก แต่สุดท้ายไส้กรอกทรายก็แตก แถมยังส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพ และระบบนิเวศของเรา อาชีพประมงชายฝั่งจะหาย ทรายไหลลงรูปู ปูก็ตาย ถ้าปูขึ้นจากรูมาแล้ว ทรายไหลลงไป ปูจะขุดรูอยู่อย่างไร" ป้าสมร กล่าว

สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดตื้นๆ ของภาครัฐ

ต่อมาผู้ใหญ่สมร และลูกบ้าน ก็ค้นพบวิธีแก้ปัญหาอีกทางหนึ่ง โดยได้รับความช่วยเหลือจากนักวิชาการที่มาทำวิจัยในพื้นที่ เป็นวิธีแก้ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศในพื้นที่ นั่นคือการปลูกป่าชายเลน ผสมผสานไปกับการสร้างเขื่อนคอนกรีตกั้น

โดยเขื่อนคอนกรีต จะเป็นแท่งเสา คล้ายกับเสาไฟฟ้าปักเป็นแนวลงในทะเล ซึ่งเขื่อนนี้ผ่านการวิจัยโดย รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ว่าไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อระบบนิเวศทั้งสิ้น แต่หากจะดำเนินการต้องใช้งบประมาณมหาศาล

ปัจจุบันมีอดีต ผวจ.สมุทรปราการ มอบเงินให้ก้อนหนึ่ง และสามารถสร้างเขื่อนตามที่ รศ.ดร.ธนวัฒน์ ทำวิจัยไว้ได้สำเร็จ แต่งบฯ ที่มีจำกัดทำให้สร้างได้เพียง 250 เมตร จากระยะทางทั้งหมด 12 กิโลเมตร นับจากป้อมพระจุลจอมเกล้าถึงชายทะเล

ผลการวิจัยประเมินงบฯ ก่อสร้างเขื่อนต่อกิโลเมตรไว้ที่ 36 ล้านบาท แต่หากก่อสร้างเสร็จจะช่วยป้องกันผืนดินแถบพระสมุทรเจดีย์ ไว้ได้ทั้งหมด

ขณะนี้สิ่งที่ชาวบ้านทำได้ระหว่างรอคอยเขื่อน คือ การชวนผู้รักธรรมชาติร่วมปลูกต้นกล้ายึดดินอุ้มน้ำในป่าชายเลน เช่น ต้นแสม ต้นโกงกาง และต้นลำพู พร้อมทั้งจัดกิจกรรมดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาเห็นสภาพปัญหา และขอรับเงินบริจาค

สิ่งที่ผู้ใหญ่บ้านสมร และชาวบ้านขุนสมุทรจีนร่วมต่อสู้ ต้องชื่นชมและยกย่อง แต่น่าสลดใจที่หน่วยงานรัฐ กลับไม่มุ่งมั่นที่จะเข้ามาแก้ปัญหา



จาก                :              ข่าวสด  วันที่ 5 ตุลาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #74 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2008, 11:31:22 PM »


ปะการังเทียมสกัด"คลื่นเซาะฝั่ง" โครงการ"สมิหลา สมาร์ต" ผลสำเร็จจากห้องแล็บ "มอ."


 
ปรากฏการณ์ "โลกร้อน" ทำให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวน พื้นที่ต่างๆ ประสบปัญหามากมาย บางแห่งร้อนแล้ง เกิดพายุถล่ม ฝนตกหนักน้ำท่วม อีกหลายแห่งอากาศหนาวเย็นจัด พื้นที่ในแนวชายฝั่งเกิดพายุคลื่นลมแรงพัดกระหน่ำ

ที่ จ.สงขลา ริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย เผชิญกับสภาวะความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศมาหลายปี จนเกิดปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงประมาณ 5-6 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกได้รับผลกระทบอย่างหนัก ชายหาด หมู่บ้านชาวประมง ตลอดจนสิ่งสาธารณูปโภคหลายฝั่งถูกคลื่นทำลาย หลายแห่งที่พื้นดินถูกกลืนกลายเป็นทะเลไป

หาดสมิหลาแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของ จ.สงขลา เป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง นับจากปี 2545 ทำให้ชุมชนเก้าเส้ง หมู่บ้านชาวประมงริมหาดได้รับความเสียหาย ชายหาดถูกกลืน หากปล่อยไว้จะทำให้ถนนชลาทัศน์ถนนเลียบชายฝั่งทะเลจะพังทลาย เทศบาลนครสงขลาจึงหาวิธีการต่างๆ ทั้งการสร้างรอดักทราย สร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้ง สร้างกำแพงกันคลื่นแบบตาข่ายห่อหุ้มหิน แต่ยังคงเกิดปัญหากระทบไปถึงชายหาดในพื้นที่ข้างเคียง ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร

ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้กรมทรัพยากรธรณี ซึ่งมีภารกิจสำรวจและหาแนวทางป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล สนับสนุนงบประมาณให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศึกษาวิจัยการบูรณาการชายฝั่งทะเลโดยใช้ปะการังเทียมป้องกันการกัดเซาะหาดสมิหลาในชื่อโครงการว่าสมิหลา สมาร์ต (Samila SMART Project) จำนวน 4 ล้านบาทเศษ
 


คณะผู้วิจัยนำโดย ผศ.พยอม รัตนมณี แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งเป้าหมายศึกษาไว้ 4 ข้อ คือ ประสิทธิภาพในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง,ไม่ส่งผลกระทบทำให้เกิดการกัดเซาะพื้นที่ข้างเคียง,เป็นมิตรต่อระบบนิเวศทางทะเล,ไม่ทำลายภูมิทัศน์ชายหาด โดยใช้หาดสมิหลาเป็นพื้นที่โครงการนำร่อง

ผศ.พยอมกล่าวว่า แนวคิดในการศึกษาครั้งนี้มาจากปะการังเทียมที่ใช้สำหรับฟื้นฟูทรัพยากรประมง ประกอบกับมีรายงานการศึกษาวิจัยในต่างประเทศเกี่ยวกับการใช้ปะการังเทียมป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหลายฉบับ จึงนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ คลื่นลมและอุณหภูมิของประเทศไทยได้ออกแบบให้ปะการังเทียมมีลักษณะเป็นแท่งคอนกรีต ทรงโค้ง มีรูรอบทิศทาง

ผศ.พยอมยังร่วมมือกับนักวิจัยอีกหลายสาขา อาทิ อาจารย์คะนึงนิต ลิ่มจิรขจร นักวิจัยด้านนิเวศทางทะเล รศ.ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสำรวจข้อมูลด้านวิศวกรรมศาสตร์ เช่น ความลึกท้องทะเล แนวชายฝั่งทะเล ความลาดชันชายหาด สภาพความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงสิ่งก่อสร้างต่างๆ บริเวณชายฝั่ง การเจาะสำรวจชั้นดินสำรวจข้อมูลด้านนิเวศน์ทางทะเล ประกอบด้วย การเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำ การสำรวจทรัพยากรทางทะเล ความอุดมสมบูรณ์ของฝูงปลา การสำรวจปะการัง
 


"โครงการลักษณะดังกล่าวนั้นยังไม่มีรายงานการศึกษาในประเทศไทย จึงต้องใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และแบบจำลองทางกายภาพ ประกอบด้วยรางจำลองคลื่น (Wave Flume) และอ่างจำลองคลื่น (Wave Basin) ในห้องปฏิบัติการทดลองหรือห้องแล็บที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อศึกษาเสถียรภาพของปะการังเทียม การกรองคลื่นของปะการังเทียม ประสิทธิภาพในการป้องกันการกัดเซาะ การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งเนื่องจากการวางแนวปะการังเทียม แล้วนำผลวิจัยมาออกแบบรายละเอียด ขนาด รูปแบบ และการจัดวางปะการังเทียม พร้อมประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน" ผศ.พยอมกล่าว

ผศ.พยอมกล่าวอีกว่า ขณะนี้การวิจัยในห้องปฏิบัติการแล้วเสร็จ ผลเป็นที่น่าพอใจ ปะการังเทียมกันคลื่นสามารถบรรเทาความรุนแรงของคลื่นได้ 60-70 เปอร์เซ็นต์ สามารถชะลออัตราการกัดเซาะในระดับที่น่าพอใจ ทั้งยังช่วยฟื้นฟูพื้นที่หาดทราย ไม่ทำลายหาดข้างเคียง เพิ่มทรัพยากรสัตว์น้ำ ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอรายงานผลการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และจะนำเสนอให้ประชาชนในพื้นที่ทราบเพื่อตัดสินใจว่าจะก่อสร้างโครงการนี้ต่อไปหรือไม่ คาดว่าจะใช้งบประมาณไม่น้อยกว่า 80 ล้านบาท สำหรับแนวหาดประมาณ 2 กิโลเมตร

"สำหรับการจัดวางนั้นได้รับความความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่และชาวประมง เพื่อปรับรูปแบบกำหนดวางปะการังเทียมเว้นเป็นช่วงๆ เพื่อให้เป็นเส้นทางผ่านของเรือประมง วางปะการังเทียมห่างจากชายฝั่ง 250-400 เมตร ให้เกิดกิจกรรมสันทนาการบริเวณชายฝั่งเนื่องจากหาดสมิหลาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่สำคัญปะการังเทียมจะไม่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ ไม่ทำลายทัศนียภาพด้านการท่องเที่ยว และจะวางทุ่นแสดงแนวเขตเอาไว้อย่างชัดเจน หากประเมินแล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจอาจจะทำวิจัยโครงการต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาตลอดแนวชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกต่อไป" ผศ.พยอมกล่าว

นายอุทิศ ชูช่วย นายกเทศมนตรีนครสงขลา กล่าวว่า โครงการวิจัยดังกล่าวนั้นเชื่อว่าจะช่วยลดปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งของหาดสมิหลา ขณะนี้อยู่ระหว่างขอสนับสนุนงบประมาณจากหลายส่วนโดยเฉพาะกรมการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย แต่ต้องขึ้นอยู่ภายใต้ความเห็นด้วยของประชาชนในพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน

โครงการศึกษาวิจัยการบูรณาการชายฝั่งทะเลโดยใช้ปะการังเทียมป้องกันการกัดเซาะหาดสมิหลาเป็นอีกงานวิจัยน่าติดตามอย่างยิ่ง เพราะแม้ผลการทดลองในห้องปฏิบัติการปะการังเทียมกันคลื่นจะลดพลังงานคลื่นได้มาก แต่ในความเป็นจริงจะสามารถต้านทานคลื่น และความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติได้แค่ไหน คงต้องรอลุ้นกันต่อไป ถ้าป้องกันการกัดเซาะชายหาดสมิหลาได้จริง นั่นหมายถึงว่าโอกาสชายหาดในพื้นที่อื่นๆ จะได้รับการป้องกันภัยทางธรรมชาติเป็นไปได้สูงยิ่ง



จาก                :              มติชน  วันที่ 10 ตุลาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.034 วินาที กับ 22 คำสั่ง