กระดานข่าว Save Our Sea.net

หมวดหมู่ทั่วไป => ห้องรับแขก => ข้อความที่เริ่มโดย: สายน้ำ ที่ เมษายน 20, 2009, 12:47:29 AM



หัวข้อ: สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม: วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2552
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ เมษายน 20, 2009, 12:47:29 AM
กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ด้านตะวันตกของประเทศมีฝนตกมากกว่าบริเวณอื่นๆในระยะนี้ 
 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศา โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 19-21 เม.ย. ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดเข้าปกคลุมประเทศไทยยังคงมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยทางด้านตะวันตกมีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย และ มีลมกระโชกแรงบางแห่ง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 22-25 เม.ย. ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้มีปริมาณฝนลดลง และมีอากาศร้อนขึ้น


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้นได้ในระยะนี้



หัวข้อ: Re: สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม: วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2552
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ เมษายน 20, 2009, 12:56:07 AM
ผู้จัดการออนไลน์


จนท.ศูนย์อนุรักษ์ฯ เร่งช่วยชีวิตเต่าตะนุยักษ์อายุกว่า 50 ปีที่หาดราไวย์

(http://pics.manager.co.th/Images/552000004660902.JPEG)

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 เร่งช่วยชีวิตเต่าตะนุน้ำหนักกว่า 100 กิโลกรัม หลังถูกคนลักลอบจับปลาสวยงามในทะเลจับได้ผูกเชือกกับสมอเรือทิ้งในทะเลหน้าหาดราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เผยเป็นเต่าตะนุขนาดใหญ่เพศผู้ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยพบเห็นในรอบ 10 ปี
       
       ในวันที่19 เมษายน     นายไพทูล แพนชัยภูมิ ผู้อำนวยการการ ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 ภูเก็ต กล่าวภายหลังเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือนำเต่าทะเลขนาดใหญ่ ซึ่งถูกผูกติดไว้กับสมอเรือทิ้งหน้าหาดราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เหตุเกิดเมื่อเวลา 04.00 น. ว่า หลังจากเจ้าหน้าที่ได้รับรายงานว่า มีการลักลอบจับปลาสวยงามและสัตว์ทะเลหายากมาขึ้น ที่บริเวณชายหาดราไวย์
       
       เจ้าหน้าที่จึงได้เฝ้าระวังและพบเห็นเรือต้องสงสัยตามที่แจ้งจึงได้เข้าไปตรวจสอบ จากการตรวจสอบในเบื้องต้นไม่พบสิ่งของผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวผู้ต้องสงสัยไป แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปตรวจสอบในจุดที่สงสัยว่ามีการทิ้งของกลาง เนื่องจากเรือลำดังกล่าวมีลักษณะเอียงก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเข้าไปถึง
       
       จากการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ต้องตะลึง เนื่องจากพบเต่าทะเลขนาดใหญ่ถูกเชือกล่ามติดไว้กับสมอเรือ จึงได้ทำการช่วยเหลือขึ้นมา ในเบื้องต้นพบมีบาดแผลถูกสมอเรือฟันได้รับบาดเจ็บจึงส่งให้สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เพื่อนำไปรักษาตัวที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากของสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลนดูแล
       
       น.ส.กาญจนา อดุลยานุโกศล หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน จังหวัดภูเก็ต กล่าวต่อว่า สำหรับเต่าทะเลดังกล่าว เป็นเต่าตะนุ เพศผู้ น้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม ความกว้างของกระดอง 97 ซม. รอบตัวกว้าง 1 เมตร 64 เซนติเมตร อายุประมาณ 50-60 ปี เป็นเต่าตะนุตัวผู้ขนาดใหญ่ที่พบเห็นในรอบ 10 ปี
       
       อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ที่กระทำความผิดในครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้เข้าแจ้งความกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อติดตามตัวมาดำเนินคดีแล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่มีรูปถ่ายของผู้ต้องสงสัยทั้งหมด



หัวข้อ: Re: สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม: วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2552
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ เมษายน 20, 2009, 01:15:18 AM
แนวหน้า


"ป่าไม้"ย้ำ6แผนงาน ยึดแนวพระราชดำริ แก้ปัญหาแบบยั่งยืน "หมอกควัน-ไฟป่า"    
 
 นายสมชัย เพียรสถาพร อธิบดีกรมป่าไม้ เปิดเผยว่า กรมป่าไม้ได้จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่าตามแนวพระราชดำริป่าเปียก ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือการอนุรักษ์ป่าไม้ โดยใช้ความชุ่มชื้นให้ป่าเขียวตลอดเวลา สามารถป้องกันไฟป่าได้ ซึ่งต่างจากก่อนหน้านี้เมื่อมีไฟป่าเกิดขึ้น ผู้คนส่วนใหญ่มักจะคำนึงถึงการแก้ปัญหาด้วยการระดมสรรพกำลังกันดับไฟป่าให้มอดดับอย่างรวดเร็วเท่านั้น ซึ่งเห็นว่าไม่น่าจะเป็นแนวทางป้องกันไฟป่าได้สำเร็จและยั่งยืนในระยะยาว

 สำหรับแนวดำเนินการตามพระราชดำริป่าเปียกนั้นมี 6 วิธีด้วยกัน คือ 1.ทำระบบป้องกันไฟไหม้ป่า โดยใช้แนวคลองส่งน้ำและแนวพืชชนิดต่างๆ ปลูกตามแนวคลองนั้น 2. สร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟ ป่าเปียก โดยอาศัยน้ำชลประทานและน้ำฝน 3. การปลูกต้นไม้โตเร็วคลุมแนวร่องน้ำ เพื่อให้ความชุ่มชื้นค่อยๆ ทวีขึ้นและแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้างของร่องน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นไม้งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่า เพราะ ไฟป่าจะเกิดขึ้นง่ายหากป่าขาดความ ชุ่มชื้น 4. การสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น หรือที่เรียกว่า "Check Dam" ขึ้น เพื่อปิดกั้นร่องน้ำหรือลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่เก็บไว้จะซึมเข้าไปสะสมในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายเข้าไปทั้งสองด้านกลายเป็นป่าเปียก 5. การสูบน้ำเข้าไปในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วปล่อยน้ำลงมาทีละน้อยให้ค่อยๆ ไหลซึมลงดิน เพื่อช่วยเสริมการปลูกป่าบนพื้นที่สูงในรูป "ภูเขาป่า" ให้กลายเป็น "ป่าเปียก" ซึ่งสามารถป้องกันไฟป่าได้อีกด้วย และ 6.ปลูกต้นกล้วยในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นช่องว่างของป่า ประมาณ 2 เมตร หากเกิดไฟไหม้ป่าก็จะปะทะ ต้นกล้วยซึ่งอุ้มน้ำไว้ได้มากกว่าพืชอื่น ทำให้ลดการสูญเสียน้ำลงไปได้มาก ซึ่งการดำเนินการและวิธีการตามประราชดำริป่าเปียกแล้วจะสามารถป้องกันไฟป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังยืนยืน