กระดานข่าว Save Our Sea.net

หมวดหมู่ทั่วไป => ห้องรับแขก => ข้อความที่เริ่มโดย: Bluefin ที่ สิงหาคม 24, 2008, 06:01:10 AM



หัวข้อ: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Bluefin ที่ สิงหาคม 24, 2008, 06:01:10 AM
คุณคิดอย่างไรกับการที่รัฐจะให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติและดูเหมือนว่าจะเกิดรีสอร์ทที่เกาะตาชัยด้วย  :'( :'( :-X :-X

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศเปิดอุทยานแห่งชาติ 10 แห่ง นำร่องให้เอกชนเข้ามาบริหารพื้นที่จัดการบริการประกอบด้วย
1.อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
2.อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
3.อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
4.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
5.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
6.อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
7.อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย
8.อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
9.อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
10.อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก

 :-X :-X  :'( :'(


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Sri_Nuan.Ray ที่ สิงหาคม 24, 2008, 06:48:53 AM
ผลประโยชน์ คร้าบบบบบ พี่น้อง

หนักแผ่นดินจริงๆๆ ไอ้พวกเนี่ย..........

ที่ไม่เห็นด้วย เพราะ อุทยานเป็นเจ้าหน้าของรัฐ หากเป็นเอกชนเข้ามาดำเนินการ แล้วจะมีเจ้าหน้าที่รัฐ เอาไว้ทำไม ????????

กฎหมาย น่าจะเป็นเครื่องมือช่วยรัฐได้บ้าง ......เชื่อแน่นอนว่า ผู้ที่มีอิทธิพลที่อาจจะได้รับสัมปทาน ก็อยากขยาย

อิทธิพล ออกไปอีก แล้วแบบนี้ ประชาชนตาดำๆๆ จะทำอย่างไร   ทำไมทรัพยากรท้องถิ่น ไม่ให้ คนในท้องถิ่น ดำเนินการหรือดูแล

กลับจะทำให้เป็นสัมปทาน  อย่างนั้น คนที่มีศักยภาพในเรื่องเงินๆทองๆๆ หรือ อิทธิพล ก็ชนะขาดโลด......

ยิ่งคิดยิ่งแค้น  จะไปอยู่ที่ไหนดีนะ .....บ้านเมืองเราเป็นอย่างนี้ไปแล้ว..... :(  :(  :(  :(  :(  :(  :(  :(

.


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: frappe ที่ สิงหาคม 24, 2008, 02:08:44 PM
เอิ๊ก   :(


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Sea Man ที่ สิงหาคม 24, 2008, 05:09:10 PM
.....ไม่รู้เอาอะไรมาคิดเนีย....ผลประโยชน์อีกแล้วครับท่าน :'( :(


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Vita ที่ สิงหาคม 24, 2008, 05:33:32 PM
ไม่รู้เค้าแจกแจงรายละเอียดด้วยไหมครับว่า...............
ให้สัมปทาน แล้วมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Udomlert ที่ สิงหาคม 25, 2008, 01:51:04 AM
เลือกเอาแต่เนื้อๆ ทั้งน้าน เร่งถอนทุนกันน่าดู  น่าติดตามรายละเอียดครับ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาต
เริ่มหัวข้อโดย: conundrum ที่ สิงหาคม 25, 2008, 02:59:46 AM
ยังงัยก็ไม่เห็นด้วยครับ  เพราะการท่องเที่ยวเป็นเพียงจุดประสงค์รองของการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเท่านั้น  จุดประสงค์หลักคือการอนุรักษ์ทรัพยากรมากกว่า

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องฟังหูไว้หูครับ  รอผู้ที่เกี่ยวข้องสายตรง วงใน อย่างแม่หอย  หรือ ดร.โด่ง ก่อนดีกว่า


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: angel frog ที่ สิงหาคม 25, 2008, 03:40:19 AM
[
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศเปิดอุทยานแห่งชาติ 10 แห่ง นำร่องให้เอกชนเข้ามาบริหารพื้นที่จัดการบริการประกอบด้วย

หมายถึงการเปิดให้เอกชนเข้ามาบริหาร "พื้นที่บริการ" ในเขตอุทยานหรือเปล่า   นั่นย่อมหมายถึงพื้นที่บริการเดิมๆ  โดยไม่ขยายพื้นที่บริการในเขตอุทยานเพิ่มขึ้น (เพราะเป็นการทำให้พื้นที่ของสัตว์ป่าน้อยลง)    เช่นบ้านพักของอุทยาน  การจัดสาธารณูปโภค เก็บขยะ และอื่นๆอีกมากมายที่อุทยานทำอยู่แล้ว  แต่ทำไม่ได้ดีหรือเปล่า   และไม่เพิ่มสิ่งก่อสร้าง  หรือตัดต้นไม้ หรือเปลี่ยนทางน้ำลำธาร  และไม่ไปรบกวนสัตว์ป่า......หรือเปล่า


ทั้งนี้ต้องเป็นไปเพื่อ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามาศึกษาธรรมชาติ  อันจะเป็นการปลูกฝังเยาวชนรุ่นใหม่ๆ  ให้มีความรักในป่าเขาและเห็นความสำคัญของการ "มีป่า"   (ใครไม่เคยเข้าป่า  จะไม่รู้ว่ามันเป็นสวรรค์ยังไง    เหมือนพวกเรา  ลงมาอยู่ใต้น้ำ   เราจะรู้สึกว่า  ปลาเป็นเพื่อนของเรา  ใครมาทำร้าย  เราก็ไม่ชอบใจ ...ไง)

เรื่องของผลประโยชน์เป็นเงินอาจตกกับคนกลุ่มหนึ่ง   แต่น่าจะดูว่าเยาวชนรุ่นลูกๆเรา ได้ประโยชน์อะไร  ......นั่นแหละสำคัญ......นะจ๊ะ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: a-bad ที่ สิงหาคม 25, 2008, 03:47:06 AM
มีการรวบรวมรายชื่อหนังสือคัดค้านในห้องบลูพลาเนตของพันธ์ทิพย์ครับ http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E6920969/E6920969.html



หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Bluefin ที่ สิงหาคม 25, 2008, 05:04:13 AM
เหตุที่ผมหวั่นใจสำหรับการให้สัมปทานแก่เอกชน ไม่ว่าจะพื้นที่ใดในอุทยานแห่งชาตินั้นมีด้วยกันหลายประการครับ

1. บริษัทเอกชน ชื่อก็บอกแล้วว่าเป็นบริษัทย่อมทำเพื่อผลกำไร มิใช่เพื่อประโยชน์สาธารณะ ถ้าไม่อย่างนั้นต้องเป็นมูลนิธิ

2. บริษัทเอกชนจำนวนมากในประเทศไทยนั้น ณ วันนี้เป็นของคนต่างชาติ ไม่ว่าจะมาในรูปแบบตรงๆ หรือนอมินีนักการเมืองก็ตาม ดูตัวอย่าง ปตท.ก็น่าจะพอมองเห็น หรือจะรอให้เราเสียอุทยานแห่งชาติไปแบบนั้นอีก

3. เมื่อมีการเข้าไปใช้ประโยชน์ รัฐมั่นใจแค่ไหนว่าเอกชนจะไม่ก่อความเสียหาย จะไม่รุกล้ำ และจะรักษากฏระเบียบโดยไม่เดินนอกกรอบและนอกรอบ ซึ่งแทบไม่ต้องบอกก็น่าจะรู้ว่าเป็นไปไม่ได้

4. ถ้าเป็นเอกชนเข้าไปดูแลค้มครอง โดยรับช่วงการคุ้มครองต่อจากรัฐผมจะเห็นด้วยเพราะอาจทำได้ดีกว่าด้วยกำลังคนและอาวุธยุโธปกรณ์ แต่หากเป็นการส่งต่องานหากำไรจากการจัดการสัมปทานหาประโยชน์ให้เอกชนแล้วไซร้ ผมก็เชื่ออีกอย่างว่าเอกชนหาได้เก่งกว่าแน่นอนครับ พร้อมโยนเศษเนื้อข้างเขียงเป็นเศษเงินค่าสัมปทาน นี่ขนาดยังไม่เปิดยังต่อรองค่าเช่า ค่าสัมปทานล่วงหน้าแล้วตั้งสิบเท่า แต่ผลที่ตามมาหละครับผมว่าประเทศชาตินั้นเสียมากกว่าได้แน่นอนครับ ทำไมรัฐไม่มองจุดด้อยและปรับตัวเองหละครับ

5. รัฐลืมอะไรไปไหมว่าในอดีตเราประกาศอุทยานแห่งชาติเพื่ออะไร เพื่อหาประโยชน์ทางการค้า หรือเพื่อการดำรงรักษาไว้มิให้มีผู้ใดรุกล้ำอีก เพื่อการศึกษาและเพื่อลูกหลานสืบไป หรือเพื่อผลประโยชน์ใครบางคน...

....ที่ผ่านมาเราเคยคิดไหมว่า เราเกิดมาเพื่ออะไร และเราเป็นใคร คุณของผืนดินที่เราอยู่นั้นมากมายแค่ไหน หรือเราเกิดมาเพียงเพื่อกิน...เติบโต...กอบโกย...สืบพันธุ์ แล้วตายจากไปโดยมิมีคุณค่าใดๆ มิต่างจากเชื้อโรคตัวหนึ่งที่เกิดมาเพื่อกัดกิน และทำลายโลกนี้ บางครั้งอย่างที่ใครๆมักพูดว่า "เรามักจะรู้ค่าของอะไรบางอย่าง ก็ต่อเมื่อสูญเสียมันไป" อาจเป็นแผลเป็นที่คนไทยมักลืมนึกถึงเสมอ...


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: zmax ที่ สิงหาคม 25, 2008, 06:45:02 AM
5. รัฐลืมอะไรไปไหมว่าในอดีตเราประกาศอุทยานแห่งชาติเพื่ออะไร เพื่อหาประโยชน์ทางการค้า หรือเพื่อการดำรงรักษาไว้มิให้มีผู้ใดรุกล้ำอีก เพื่อการศึกษาและเพื่อลูกหลานสืบไป หรือเพื่อผลประโยชน์ใครบางคน...


ผมว่าแค่ข้อนี้ก็น่าจะตอบคำถามทั้งหมดได้แล้วนะครับ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: blue marlin ที่ สิงหาคม 25, 2008, 07:19:12 AM
ผลประโยชน์ล้วน เงิน เงิน เงิน แล้วก็ เงิน


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Plateen ที่ สิงหาคม 25, 2008, 08:53:01 AM
เพื่อผลประโยชน์เป็นตัวเงินและกำไรสูงสุดเป็นตัวตั้งแล้ว
เรื่องอื่นอย่างการรักษาสภาพแวดล้อมและธรรมชาติก็เป็นอันโยนลงชักโครกไปได้

เซ็งว่ะ... :(


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: ม้าน้ำ ที่ สิงหาคม 25, 2008, 09:43:58 AM
คือ...คิดแบบพื้นๆเลยนะครับ...ใครได้เข้ามาดำเนินการบริหารจัดการ...ก็จะนึกถึงผลประโยชน์ของเค้าก่อนเป็นอันดับแรก...ต้องรีบโกยเวลาทำเงินมันมีน้อยเพราะพ้นวาระแล้วก็... อด...ครับ >:(


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ สิงหาคม 25, 2008, 10:33:51 AM
เฮ้อออออ.....ได้ยินข่าวนี้ล่วงหน้าจากน้องโด่งแล้ว.......สายชลอยากตาย...ย...ย...ย...ย.... ???

ขอเวลาไปสงบสติอารมณ์ สักพัก....เดี๋ยวมาใหม่แบบว่ากันด้วยเหตุและผล.....ไม่ใช้อารมณ์มาพูดค่ะ..... ;D


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Sri_Nuan.Ray ที่ สิงหาคม 25, 2008, 03:46:15 PM
ถ้าพี่น้อย อยาก ตายยยยยยยยยยยยย

น้องก็อยากฆ่า ไอ้คนคิด ให้ตาย มากกว่าค่ะ   แล้วต่อไปจะเหลือ อะไรล่ะ

เห็นด้วยกับความคิดของคุณ BlueFin ทุกประการค่ะ

เมื่อวานก็มีน้องๆ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมาทำสำรวจ ความคิดเห็น ที่อยากจะสร้าง อนุสรณ์ ประมาณว่า

เจดีย์ ยอดสูงๆๆ บน เนื้อที่อุทยาน เพื่อทำอนุสรณ์ สถาน  แล้ว ตั้งมีแบบสอบถามโดยตั้งคำถามแบบว่าคนที่อ่านหนังสือแตกฉาน ยังงงงงง

แล้วจะนับประสาอะไร กับชาวบ้านท้องถิ่น ที่ ต้องทำมาหาเลี้ยงท้อง  ที่ต้องมานั่งตอบคำถามศิวิไลย์ แบบเนี่ย.......

ณ บัดนั้น เกิดความสงสัยว่าเค้าต้องการอะไรแน่

ในแบบสอบถามเค้าตั้งคำถามแบบว่า รู้สึกอย่างไร คิดว่าจะใช้ประโยชน์ได้อย่างไรต่อการที่

จะเอาเนื้อที่ของหลวงที่เป็นอุทยานแห่งชาติ มาทำประโยชน์เพื่อเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น

 :-[  :-[  :-[

น้องสงสัยว่า ทำไมเนื้อที่ที่จำกัดอยู่แล้ว และเติบโตแบบรวดเร็ว ทำไมต้องเจริญแบบเร็วๆๆ ทำไมไม่ขยายความเจริญ ไปยังท้องถิ่นที่ใกล้ๆๆ

ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ เหมือนกัน แต่ยังไม่ค่อยมีการพัฒนา  ทราบว่า อีกไม่เกิน 3 ปี ที่เขาหลัก ก็จะเป็นเขตเทศบาลแล้ว

เบื่อความเจริญที่รวดเร็วเหลือเกิน  เดี๋ยวก็เหมือน ป่าตอง ในไม่ช้า.............

น้องตอบแบบไม่เกรงใจเลย  และก็ลงชื่อชัดเจนด้วยค่ะ.... แหมมมม มันน่า.....เชียว




หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ สิงหาคม 26, 2008, 01:40:14 AM

"กระทรวงทรัพย์ ฯ เปิดเอกชนเช่า10อุทยานแห่งชาติ สัมปทาน 30 ปี"

(http://newsroom.bangkokbiznews.com/thumbx.php?filename=media/newroom_park_20080825132301.jpg&w=550&h=300)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ออกมาประกาศเปิดอุทยานแห่งชาติ 10 แห่ง นำร่องให้เอกชนเข้ามาบริหารพื้นที่จัดบริการ ประกอบด้วย
1.อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
2.อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
3.อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
4.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
5.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
6.อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
7.อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
8.อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
9.อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
10.อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก

 แหล่งข่าวจากกรมอุทยานแห่งชาติ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา มีนักธุรกิจหลายรายเสนอแผนจัดการอุทยานแห่งชาติ ที่ต้องการบริหารมายังกรม โดยส่วนใหญ่ต้องการเข้าไปบริหารพื้นที่อุทยานฯ ที่ทำรายได้ดีอยู่แล้ว อาทิเช่น เขาใหญ่ หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ อีกทั้งยังพยายามให้กรมลดราคาค่าเช่าลง

ทั้งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติกำหนดราคาค่าเช่าพื้นที่เพื่อบริการไว้ตารางเมตรละ 30 บาท หรือไร่ละ 4.8 หมื่นบาทต่อเดือน แต่เอกชนมองว่าเป็นราคาที่สูงเกินไป และต่อรองให้ลดราคาลงเหลือแค่ตารางเมตรละ 3 บาทเท่านั้น ซึ่งการต่อรองราคาดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการเปิดประมูลอย่างเป็นทางการ   

สำหรับแผนการเปิดให้เอกชนเข้าเช่าพื้นที่บริหารจัดการ ได้กำหนดเงื่อนไขเบื้องต้นหลายข้อ อาทิเช่น จะเปิดให้เอกชนเข้ามาบริหารในโซนบริการนักท่องเที่ยวแบบครบวงจร ประกอบด้วย ศูนย์อาหาร ร้านขายของที่ระลึก รีสอร์ท โรงแรม โดยมีอายุสัมปทาน 30 ปี มีเงื่อนไขว่าต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปลูกป่าเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการกำหนดสัญญาลักษณะเดียวกับที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ให้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเช่าพื้นที่บริเวณแยกลาดพร้าว
 

ชี้ต้องการมืออาชีพบริหาร

        นายวิชิต พัฒนโกศัย รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะทำงานการท่องเที่ยวและการลงทุนดำเนินกิจกรรมในอุทยานแห่งชาติ กล่าวว่า กรมได้วางหลักการเบื้องต้นให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการให้การบริการพื้นที่ที่กรมอุทยานฯ ดูแลรับผิดชอบ 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นสิ่งแวดล้อมจะต้องมีการจัดการอย่างมืออาชีพและยั่งยืน ประเด็นทางสังคม ต้องให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงบริการอย่างเป็นธรรม และประเด็นเศรษฐกิจ ต้องสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นกับชุมชนในพื้นที่

        "กรมอุทยานฯ ต้องการให้มืออาชีพเข้ามาบริหารพื้นที่บริการ ซึ่งจะเป็นใครก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชุมชนในพื้นที่ นักธุรกิจขนาดใหญ่ หรือขนาดกลาง โดยกรมจะแบ่งพื้นที่ของอุทยานฯ เป็นกลุ่มๆ คือกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง และกลุ่มที่มีกำลังซื้อปานกลาง และกลุ่มทั่วไป เพื่อเปิดให้มีตัวเลือกหลากหลาย ไม่ได้ปิดกั้นโอกาสของประชาชนในการเข้าถึงธรรมชาติ"   
 

ถกระเบียบเอกชนเช่าสัปดาห์หน้า

      นายวิชิต กล่าวต่อว่า กรณีที่กลัวว่าเอกชนที่ได้รับสัมปทานเข้าดำเนินกิจกรรมในอุทยานแห่งชาติ จะเข้าไปทำลายธรรมชาติและป่านั้น คิดว่าขณะนี้ความคิดของนักธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว นักธุรกิจยึดถือเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ เพราะกระแสโลกกระแสสังคมกำลังให้ความสำคัญเรื่องนี้

        ดังนั้น การจะไปสร้างขยะ ตัดต้นไม้ เอกชนคงทำไม่ได้ และอุทยานจะวางกรอบระเบียบให้ดำเนินการตามความเหมาะสม โดยในสัปดาห์หน้า นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อสรุปแผนการจัดการก่อนจะเปิดให้เอกชนประมูล

          ส่วนที่มีการเข้าใจว่า แผนงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือในการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนนั้น เป็นเรื่องที่เข้าใจผิด เพราะความจริงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด และไม่ได้ทำเพื่อรองรับการปรับแก้กฎหมายอุทยานแห่งชาติ ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการ

        "แผนการนี้ เป็นการคิดภายใต้ระเบียบเก่า ที่เปิดให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ได้ และต้องการขยายเขตพื้นที่บริการในอุทยานฯ ต่างๆ ที่มีความพร้อม เพื่อกระจายการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยว"

        นายทรงธรรม สุขสว่าง ผู้อำนวยการส่วนศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า การให้สัมปทานเอกชนเข้าบริหารจัดการในพื้นที่อุทยานฯ ไม่ใช่เรื่องเสียหาย โดยต่างประเทศหลายประเทศมีการดำเนินการรูปแบบนี้มานานแล้ว และเป็นไปตามโครงงานการจัดการพื้นที่คุ้มครองตามอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพที่มี 191 ประเทศเป็นสมาชิก

        การจัดดำเนินการโครงการดังกล่าว เพื่อหาเงินสนับสนุนจากภาคเอกชนไปบริหารจัดการพื้นที่ป่า เพราะงบประมาณของรัฐไม่เพียงพอ ซึ่งประเทศภาคีควรทำในเรื่องนี้ภายในปี 2010 สำหรับไทย UNDP ได้ให้งบเกือบ 3 ล้านบาท จ้างผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาเรื่องนี้แล้ว และจะสรุปผลปลายปีนี้ จากนั้นกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกจะให้งบอีก 200 ล้านบาทมาวิจัย โดยเป้าหมาย คือ พื้นที่อนุรักษ์ 3 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติบนบก 1 แห่ง อุทยานแห่งชาติทางทะเล 1 แห่ง และพื้นที่ที่ชุมชนดูแล
 

ประกาศอุทยานฯ ใหม่ 17 แห่ง

          นายไพศาล กุวลัยรัตน์ รักษาการอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ได้มีการประชุมคณะทำงานเร่งรัดการดำเนินการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ จำนวนทั้งสิ้น 38 แห่ง และมีมติยืนยันให้มีการประกาศให้อุทยานแห่งชาติ ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา จำนวน 17 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง จ.พะเยา อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว จ.ตราด อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน จ.น่าน และพะเยา อุทยานแห่งชาติลำคลองงู จ.กาญจนบุรี อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท จ.ลำปาง อุทยานแห่งชาติดอยจง จ.ลำปาง-ลำพูน     

         อุทยานแห่งชาติขุนน่าน จ.น่าน อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก จ.สกลนคร-อุดรธานี-กาฬสินธุ์ อุทยานแห่งชาติเขานัน จ.นครศรีธรรมราช อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ จ.แม่ฮ่องสอน   อุทยานแห่งชาติขุนพระวอ (แม่กาษา) จ.ตาก อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา จ.เชียงใหม่-เชียงราย อุทยานแห่งชาติแม่วาง จ.เชียงใหม่ อุทยานแห่งชาตินันทบุรี จ.น่าน อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น จ.จันทบุรี และอุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ จ.นครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี 


เสนอครม.ประกาศเพิ่ม 21 แห่ง

        นอกจากนี้ กรมอุทยานฯ ได้มอบหมายให้สำนักอุทยานแห่งชาติ สำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ ประสานงานกับกรมป่าไม้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการประกาศเพิ่มอีก 17 แห่ง พร้อมทั้งหารือถึงการผนวกพื้นที่ชายหาดที่สวยงามเนื้อที่ประมาณ 1,500 ไร่ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติสิรินาถ จ.ภูเก็ต   

        ขณะเดียวกัน ยังมีอุทยานแห่งชาติอีก 4 แห่ง ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้วเสร็จ และเตรียมรอนำเข้าครม. รอบที่ 2 เพื่อให้ความเห็นชอบให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศบังคับใช้ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติแม่ปืม จ.เชียงราย-พะเยา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม จ.ระนอง อุทยานแห่งชาติภูลังกา จ.หนองคาย-นครพนม และอุทยานแห่งชาติขุนสถาน จ.น่าน โดยเมื่อรวมพื้นที่อุทยานแห่งชาติใหม่ จะมีทั้งสิ้นอีก 38 แห่ง คิดเป็นเนื้อที่ 11,289738.25 ไร่   


นักวิชาการค้านเอกชนเข้าบริหาร

         ศาสตราจารย์ นิวัติ เรืองพานิชย์ นักวิชาการด้านวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวระหว่างการประชุมเรื่อง "การวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้" ว่า รู้สึกเป็นห่วงแนวความคิดในการให้สัมปทานอุทยานแห่งชาติแก่ภาคเอกชนเข้ามาบริหารจัดการการท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะเป็นการคิดถึงแต่เงินด้านเดียว ไม่ได้คำนึงถึงวัตถุประสงค์หลักในการดูแลรักษาป่าไม้ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งในที่สุดแล้ว จะทำให้ธรรมชาติถูกทำลาย จึงขอเรียกร้องข้าราชการอย่าตามใจฝ่ายการเมืองมากเกินไป




จาก                     :                      Blog Colomnists  กรุงเทพธุรกิจ    วันที่ 25 สิงหาคม 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: ตุ๊กแกผา ที่ สิงหาคม 26, 2008, 03:38:40 AM
 ??? :'( :-X


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Plateen ที่ สิงหาคม 26, 2008, 06:04:54 AM
การจัดดำเนินการโครงการดังกล่าว เพื่อหาเงินสนับสนุนจากภาคเอกชนไปบริหารจัดการพื้นที่ป่า เพราะงบประมาณของรัฐไม่เพียงพอ  ซึ่งประเทศภาคีควรทำในเรื่องนี้ภายในปี 2010 สำหรับไทย UNDP ได้ให้งบเกือบ 3 ล้านบาท จ้างผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาเรื่องนี้แล้ว และจะสรุปผลปลายปีนี้ จากนั้นกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกจะให้งบอีก 200 ล้านบาทมาวิจัย โดยเป้าหมาย คือ พื้นที่อนุรักษ์ 3 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติบนบก 1 แห่ง อุทยานแห่งชาติทางทะเล 1 แห่ง และพื้นที่ที่ชุมชนดูแล


รู้สึกคลื่นเหียนและอยากอาเจียนกับแนวคิดแบบนี้ที่เป็นข้ออ้างเสมอๆ
ขอแค่หยุดโกงกินกับการทำโครงการ หยุดการคอร์รัปชั่นซะบ้าง ประเทศไทยจะรวยขึ้นอีกมหาศาล

ถ้าผมใช้ข้อความไม่เหมาะสมกรุณาลบได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบครับ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Bluefin ที่ สิงหาคม 26, 2008, 07:32:57 AM
ขอความเห็นครับ ว่าถ้าเรื่องนี้เกิดขึ้นจริงๆ พวกเราคิดว่าเราควรทำอย่างไร อย่างไรจึงสมควรและถูกต้องสมเหตุและผล เช่น ส่งจดหมายลงชื่อคัดค้าน, ออกไปประท้วง ฯลฯ ขอความเห็นด้วยครับ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ สิงหาคม 27, 2008, 01:18:05 AM

เปิดอุทยานฯ สัมปทานมรดกของชาติ                                                       โดย : วินิจ รังผึ้ง

(http://pics.manager.co.th/Images/551000010898001.JPEG)
 
       รายงานข่าวจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำลังมีโครงการจะเปิดให้เอกชนเข้ารับสัมปทานบริหารพื้นที่บริการในเขตอุทยานแห่งชาติ โดยจะเริ่มนำร่องใน 10 อุทยานแห่งชาติยอดนิยมประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อุทยานแห่งชาติผ้าห่มปก อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติเอราวัณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้นำมาสนับสนุนการบริหารจัดการพื้นที่ป่าซึ่งทางอุทยานฯไม่มีงบประมาณเพียงพอ
       
       สำหรับแนวทางที่จะเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่าพื้นที่บริหารจัดการในอุทยานแห่งชาตินั้น ได้มีการกำหนดเงื่อนไขเบื้องต้นไว้เช่น เปิดให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการภายในโซนบริการนักท่องเที่ยวแบบครบวงจร เรียกว่าเข้ามารับสัมปทานทำโรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และกิจกรรมท่องเที่ยวต่างๆ เช่นพายเรือคายัค จักรยานให้เช่า และอะไรต่อมิอะไรแล้วแต่จะคิด โดยมีกำหนดเวลาการเช่าการให้สัมปทานยาวนานถึง 30 ปีเลยทีเดียว เรียกว่าเอกชนรายไหนได้สิทธิ์เข้าไปรับสัมปทาน ก็สามารถจะครอบครองกิจการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์กันไปชั่วลูกชั่วหลานเลยทีเดียว
       
       แม้นจะมีมาตรการที่ทางกรมอุทยานฯวางไว้ว่าเอกชนที่เข้ามารับสัมปทานจะต้องดูแลรับผิดชอบใน 3 ประเด็นคือ จะต้องบริหารจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมืออาชีพและยั่งยืน จะต้องให้ประชาชนทุกระดับเข้าถึงบริการอย่างเป็นธรรม และประเด็นทางเศรษฐกิจจะต้องสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นกับชุมชนในพื้นที่ ซึ่งพิจารณาจากหลักการที่วางไว้ก็ฟังดูดี แต่ในทางปฏิบัติก็ยังน่าเป็นห่วง เพราะจะนำมาตรฐานอะไรไปวัด และที่สำคัญมันจะเกิดความคุ้มค่าหรือไม่ กับการนำเอาสมบัติของชาติ สมบัติของประชาชน มาให้เอกชนรายใดรายหนึ่งเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์แบบผูกขาด โดยรัฐได้ผลตอบแทนเพียงน้อยนิด ซึ่งเรามาลองพิจารณากันทีละประเด็น
       
       ประเด็นแรก ความคุ้มค่าของสิ่งที่ได้มากับสิ่งที่เสียไป ซึ่งเหตุหลักของการดำเนินการเปิดให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานครั้งนี้ก็เพื่อหารายได้เข้ามาบริหารจัดการดูแลพื้นที่ป่าอันกว้างใหญ่ของอุทยานแห่งชาติเนื่องเพราะงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปีไม่เพียงพอ ซึ่งเหตุผลนี้ฟังเหมือนจะดูดี แต่เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกทางแล้วหรือไม่ เพราะหากรัฐบาลเห็นความสำคัญของการรักษาผืนป่า รักษาต้นน้ำลำธาร รักษาสิ่งแวดล้อม ก็ควรจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้พอเพียง ไม่ใช่การตัดแบ่งสมบัติของชาติขายหรือให้เช่าเช่นนี้
       
       และประเด็นที่ดูจะขัดแย้งไม่สมเหตุสมผลกันเองก็คือ หากต้องการหารายได้เพิ่มจากการเปิดให้เอกชนเช่าบริหารอุทยานฯ แต่ก็กลับคัดเลือกเอา 10 อุทยานแห่งชาติยอดนิยมระดับเกรดเอที่ทำรายได้เข้าอุทยานฯจำนวนมหาศาลในแต่ละปี นำไปให้เอกชนเช่าหาผลประโยชน์ในราคาที่แสนถูก คือมีข้อมูลออกมาว่าจะให้เช่ากันในอัตราตารางเมตรละเพียง 30 บาทต่อเดือนเท่านั้น ปีหนึ่งจะได้เงินค่าสัมปทานสักกี่บาท และเช่ากันยาวนานชั่วลูกชั่วหลาน 30 ปี ในอีก 10-20-30 ปีข้างหน้ามูลค่าของผลประโยชน์จะมากมายมหาศาลตามการเติบโตของเศรษฐกิจ และการขยายตัวของการท่องเที่ยวอีกเท่าใด ในขณะที่ค่าเช่าในเวลานั้นจะถูกแสนถูกยิ่งกว่าให้เปล่าเสียอีก
       
       ลองมาดูสถิติรายได้ของอุทยานแห่งชาติทั้ง 10 แห่งที่มีรายชื่อจะถูกนำมาให้เอกชนเช่าสัมปทานกันดู ซึ่งตัวเลขสถิติรายได้นี้ผมนำมาจากข้อมูลของฝ่ายแผนงบประมาณและเงินรายได้ ส่วนนโยบายแผน สำนักอุทยานแห่งชาติที่เผยแพร่กันทางเว็บไซต์ โดยในปีงบประมาณ 2550 ที่ผ่านมา อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีรายได้รวมจำนวน 57,786,921 บาท อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 11,092,208 บาท อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 34,012,348 บาท อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย 9,469,350 บาท อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง 8,785,120 บาท อุทยานแห่งชาติภูกระดึง 9,923,610 บาท อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน 16,217,516 บาท อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ 11,092,208 บาท ส่วนอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปกนั้นไม่มีตัวเลขแสดง
       
       รายได้เข้าอุทยานแห่งชาติที่ยกมาข้างต้นนั้นเป็นรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมจากนักท่องเที่ยว รายได้จากที่พัก จากการบริจาคของนักท่องเที่ยวและอื่นๆ นั่นยังไม่รวมรายได้จากร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และจากกิจกรรมบริการอื่นๆ และไม่เกี่ยวกับงบประมาณที่รัฐบาลจัดให้อุทยานฯในแต่ละปี รวมรายได้ทั้ง 9 อุทยานฯข้างต้นเป็นเงินถึง 161,476,643 บาท ซึ่งมากมายมหาศาลทีเดียว นี่ขนาดเป็นการบริการตามสภาพชนิดตามมีตามเกิดอย่างที่เป็นอยู่ ยังมากมายขนาดนี้แล้ว หากเอกชนเข้าไปบริหารจัดการอย่างมีระบบ คิดค้นรูปแบบการหารายได้จากกิจกรรมบริการต่างๆ เช่นเรือบริการระหว่างเกาะ เรือบริการนำเที่ยว รถบริการนำชม ในรูปแบบของธุรกิจที่ผูกขาดแล้วก็เชื่อว่าจะทำรายได้มากมายกว่านี้หลายเท่าตัว
       
       คำถามก็คือเมื่ออุทยานฯ เกรดเอที่สามารถจะทำรายได้มหาศาลเช่นนี้แล้ว ทำไมจึงต้องประเคนให้เอกชนเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ถ้าทางอุทยานฯ ห่วงใยผืนป่าและต้องการหารายได้เพื่อนำไปดูแลรักษาผืนป่าแล้วทำไมไม่ทำเอง และทำไมต้องประเคนผลประโยชน์มหาศาลไปให้เอกชนบางคนหรือนักการเมืองบางกลุ่มแล้วก้มเก็บเศษเงินค่าเช่าสมบัติของชาติจำนวนน้อยนิดเล่า ทำไมนักวิชาการ นักบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติบ้านเราสิ้นไร้หนทางจนต้องแบ่งชาติให้เช่า ขายสมบัติเก่ากินกันแล้วหรือ
       
       ทุกวันนี้คนไทยเราจะหาแหล่งธรรมชาติที่เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจกันก็ยากเต็มที เพราะพื้นที่ท่องเที่ยวจำนวนมากตกเป็นของเอกชนไปหมด หาดทราย ชายทะเล หลายแห่งกลายเป็นหาดส่วนบุคคลห้ามคนจนขึ้นไปเหยียบ เกาะบางเกาะจะขึ้นไปเหยียบหาดทราย จะขึ้นไปดูจุดชมวิวยังต้องควักกระเป๋าจ่ายสตางค์ จะมีที่พึ่งแหล่งสุดท้ายก็อุทยานแห่งชาตินี่แหละ ที่ยังคงเป็นที่พึ่งที่หวัง เป็นแหล่งธรรมชาติแหล่งพักผ่อนใจราคาถูกของประชาชน แต่ก็ไม่รู้ว่าอุทยานฯที่เป็นสมบัติของชาติ ซึ่งบางแห่งเป็นถึงมรดกโลก จะถูกทุนนิยมไร้สำนึกผู้หิวกระหายและธุรกิจการเมืองที่ไร้ยางอายใช้อำนาจเข้ามาแย่งทึ้งสมบัติของชาติสมบัติของประชาชนไปเมื่อไหร่
       
       ในส่วนตัวแล้วจากประสบการณ์เดินทางท่องเที่ยวสัมผัสอุทยานแห่งชาติมากว่า 20 ปี ได้รู้จักมักคุ้นคนอุทยานฯมามาก ผมยังเชื่อมั่นว่าคนอุทยานฯ ส่วนมากมีความรักและหวงแหนทรัพยากรของชาติ มีความตั้งใจจริงในการดูแลรักษาและให้บริการด้วยความทุ่มเท ก็อยากจะขอเรียกร้องจิตสำนึกและจิตวิญญาณของชาวอุทยานฯให้ตั้งมั่นในอุดมการณ์ มั่นคงต่อหน้าที่ช่วยกันปกป้องทรัพย์สมบัติของชาติให้ดำรงคงอยู่เป็นสมบัติของคนไทยทุกคนร่วมกันตลอดไป ตามแนวปรัชญาสากลของอุทยานแห่งชาติที่จะต้องเป็นพื้นที่ที่สงวนไว้เพื่อคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติ พืชพรรณ สัตว์ป่า และความงดงามของธรรมชาติ ให้ดำรงคงอยู่ เพื่อเป็นสมบัติของประชาชนและอนุชนรุ่นหลัง ได้เข้าไปศึกษาค้นคว้าต่อไป.
 



จาก                          :                      ผู้จัดการออนไลน์      วันที่ 26 สิงหาคม 2551  


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: angel frog ที่ สิงหาคม 27, 2008, 01:40:29 AM
 ข้อมูลต่างๆค่อนข้างเห็นได้ชัดว่า ประชาชนทุกคน ควรคัดค้านเรื่องนี้  อย่างจริงจัง   ประโยชน์ไม่ได้ตกที่ลูกหลานเราเลย  รวมตัวคัดค้าน  หรือจะทำอะไร เมื่อไหร่   บอกด้วยนะ   จะไปด้วย 


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ สิงหาคม 27, 2008, 04:42:05 AM

หุๆ....น้องวินิจ ช่วยตอบกระทู้แทนสายชลไปหมดแล้ว  สายชลเลยสบายไม่ต้องพูดเติมแต่ง ชนิดพูดไปร้อนไปอีกแล้ว.....ขอบคุณค่ะน้องวินิจ..... :-* :-* :-*

สิ่งที่เราจะต้องคิดต้องทำกันต่อไปก็คือ.....จะทำอย่างไรไม่ให้พวกกินบ้านกินเมืองเข้ามาสวาปามทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามและทรงคุณค่าของชาติไทยจนถึงขนาดได้รับการยกระดับให้เป็นถึง อุทยานแห่งชาติ  ไปได้ง่ายๆอย่างนี้


เริ่มแบบง่ายๆตามระบอบประชาธิปไตยก่อนนะคะ......มาช่วยกัน ลงชื่อคัดค้านการยกอุทยานแห่งชาติเป็นสัมปทานให้เอกชนเช่ากันเลยดีกว่า  พอได้รายชื่อแล้ว  เราจะทำหนังสือคัดค้าน พร้อมแนบรายชื่อผู้คัดค้านยื่นให้กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชต่อไป

ถ้ายื่นแล้วไม่ได้ผล.....เราไปเดินขบวนประท้วงร่วมกับประชาชนคนไทยหัวใจรักชาติกันซะเลยให้หมดเรื่องหมดราว.......ฮูเร.....(http://www.naturethai.org/forum/smileys/penquin/pen1_100.gif) 

เริ่มลงชื่อเลยนะคะ.....

1. นาย สมยศ ยศสุนทร
2. นาง แน่งน้อย ยศสุนทร
3. นาย สรรค์ ยศสุนทร
4. น.ส. สโรชา ยศสุนทร  


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: kungkings ที่ สิงหาคม 27, 2008, 04:46:56 AM
มาลงชื่อด้วยคะ...
1. นาย สมยศ ยศสุนทร
2. นาง แน่งน้อย ยศสุนทร
3. นาย สรรค์ ยศสุนทร
4. น.ส. สโรชา ยศสุนทร
5. นาย ภาณุพงศ์ ทิพย์วงศ์
6. น.ส. สุธัญญา  สอวัฒนชาติ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Sea Man ที่ สิงหาคม 27, 2008, 05:09:27 AM
รายชื่อผู้เข้าร่วมคัดค้านการให้เอกชนเข้าดำเนินกิจการในอุทยานฯ....

1. นาย สมยศ ยศสุนทร
2. นาง แน่งน้อย ยศสุนทร
3. นาย สรรค์ ยศสุนทร
4. น.ส. สโรชา ยศสุนทร
5. นาย ภาณุพงศ์ ทิพย์วงศ์
6. น.ส. สุธัญญา  สอวัฒนชาติ
7. นายสมบัติ  ปัญจทรัพย์สิน


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: conundrum ที่ สิงหาคม 27, 2008, 05:12:57 AM
รายชื่อผู้เข้าร่วมคัดค้านการให้เอกชนเข้าดำเนินกิจการในอุทยานฯ....

1. นาย สมยศ ยศสุนทร
2. นาง แน่งน้อย ยศสุนทร
3. นาย สรรค์ ยศสุนทร
4. น.ส. สโรชา ยศสุนทร
5. นาย ภาณุพงศ์ ทิพย์วงศ์
6. น.ส. สุธัญญา  สอวัฒนชาติ
7. นายสมบัติ  ปัญจทรัพย์สิน
8. นาย สุทธิพร อนันต์พิพัฒน์กิจ
9. นาง บุปผชาติ อนันต์พิพัฒน์กิจ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Plateen ที่ สิงหาคม 27, 2008, 05:21:10 AM
1. นาย สมยศ ยศสุนทร
2. นาง แน่งน้อย ยศสุนทร
3. นาย สรรค์ ยศสุนทร
4. น.ส. สโรชา ยศสุนทร
5. นาย ภาณุพงศ์ ทิพย์วงศ์
6. น.ส. สุธัญญา  สอวัฒนชาติ
7. นายสมบัติ  ปัญจทรัพย์สิน
8. นาย สุทธิพร อนันต์พิพัฒน์กิจ
9. นาง บุปผชาติ อนันต์พิพัฒน์กิจ
10.นาย สุรัตน์ อรุณวัฒนาพร


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: a-bad ที่ สิงหาคม 27, 2008, 05:26:54 AM
ติดต่อกับเพื่อนๆ ในห้องบลูพลาเน็ต ว่า จะมีการตั้งโต๊ะ ล่ารายชื่อคัดค้านโดยมีสำเนาประชาชนแสดงสิทธิ์ประกอบคำคัดค้านไว้ครับ

ถ้าได้ความคืบหน้าอย่างไร จะมาแจ้งนะครับ ต้องรวมกำลัง ช่วยกันคัดค้าน ปกป้องผลประโยชน์ของชาติ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ สิงหาคม 27, 2008, 05:40:30 AM

บอกให้เพื่อนๆที่ Blue Planet มาลงชื่อที่นี่ก็ได้ค่ะน้อง A-bad..... ;D  


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: chickykai ที่ สิงหาคม 27, 2008, 05:59:46 AM
ลงชื่อต่อด้วยคนค่ะ  ตอนนี้พับติ๊บเข้าม่ะได้ เนตบล๊อกอ้ะ

1. นาย สมยศ ยศสุนทร
2. นาง แน่งน้อย ยศสุนทร
3. นาย สรรค์ ยศสุนทร
4. น.ส. สโรชา ยศสุนทร
5. นาย ภาณุพงศ์ ทิพย์วงศ์
6. น.ส. สุธัญญา  สอวัฒนชาติ
7. นายสมบัติ  ปัญจทรัพย์สิน
8. นาย สุทธิพร อนันต์พิพัฒน์กิจ
9. นาง บุปผชาติ อนันต์พิพัฒน์กิจ
10.นาย สุรัตน์ อรุณวัฒนาพร
11. น.ส.ปิยพร วิทยวิจิน


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Sugary ที่ สิงหาคม 27, 2008, 06:08:33 AM
ร่วมลงชื่อคัดค้านด้วยค่ะ

  1. นาย สมยศ ยศสุนทร
  2. นาง แน่งน้อย ยศสุนทร
  3. นาย สรรค์ ยศสุนทร
  4. น.ส. สโรชา ยศสุนทร
  5. นาย ภาณุพงศ์ ทิพย์วงศ์
  6. น.ส. สุธัญญา  สอวัฒนชาติ
  7. นายสมบัติ  ปัญจทรัพย์สิน
  8. นาย สุทธิพร อนันต์พิพัฒน์กิจ
  9. นาง บุปผชาติ อนันต์พิพัฒน์กิจ
10. นาย สุรัตน์ อรุณวัฒนาพร
11. น.ส.ปิยพร วิทยวิจิน
12. นายชญานิน มีแสงนิล
13. น.ส.สุรณรร กุลศิริวิวัฒน์


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Udomlert ที่ สิงหาคม 27, 2008, 06:38:49 AM
ร่วมลงชื่อคัดค้านด้วยค่ะ

  1. นาย สมยศ ยศสุนทร
  2. นาง แน่งน้อย ยศสุนทร
  3. นาย สรรค์ ยศสุนทร
  4. น.ส. สโรชา ยศสุนทร
  5. นาย ภาณุพงศ์ ทิพย์วงศ์
  6. น.ส. สุธัญญา  สอวัฒนชาติ
  7. นายสมบัติ  ปัญจทรัพย์สิน
  8. นาย สุทธิพร อนันต์พิพัฒน์กิจ
  9. นาง บุปผชาติ อนันต์พิพัฒน์กิจ
10. นาย สุรัตน์ อรุณวัฒนาพร
11. น.ส.ปิยพร วิทยวิจิน
12. นายชญานิน มีแสงนิล
13. น.ส.สุรณรร กุลศิริวิวัฒน์
14. นายอุดมเลิศ  โกยทอง


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ สิงหาคม 27, 2008, 07:07:29 AM

ขอบคุณที่มาช่วยกันลงชื่อค่ะ..... :-*

ตอนนี้ก็ลงชื่อกันในกระทู้นี้ไปก่อนนะคะ เดี๋ยวร่างหนังสือถึงกระทรวง...ทบวง....กรม  เสร็จแล้วค่อยนำชื่อไปต่อท้าย...... ;D


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: angel frog ที่ สิงหาคม 27, 2008, 08:48:37 AM
ร่วมลงชื่อคัดค้านด้วยค่ะ

  1. นาย สมยศ ยศสุนทร
  2. นาง แน่งน้อย ยศสุนทร
  3. นาย สรรค์ ยศสุนทร
  4. น.ส. สโรชา ยศสุนทร
  5. นาย ภาณุพงศ์ ทิพย์วงศ์
  6. น.ส. สุธัญญา  สอวัฒนชาติ
  7. นายสมบัติ  ปัญจทรัพย์สิน
  8. นาย สุทธิพร อนันต์พิพัฒน์กิจ
  9. นาง บุปผชาติ อนันต์พิพัฒน์กิจ
10. นาย สุรัตน์ อรุณวัฒนาพร
11. น.ส.ปิยพร วิทยวิจิน
12. นายชญานิน มีแสงนิล
13. น.ส.สุรณรร กุลศิริวิวัฒน์
14. นายอุดมเลิศ  โกยทอง
15. นางสมปรารถนา สุนทรรังษี
16. นายสิทธิศักดิ์ ปฏิเมธีภรณ์
17. นายอัครเดช เก่งพล


พี่ลงชื่อเอาจริงเมื่อไหร่  จะไปกว้านมาอีก นะค่ะ  เอ  ต้องใช้หมายเลขบัตรประชาชนด้วยหรือเปล่า  หนูไม่แน่ใจค่ะ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ สิงหาคม 27, 2008, 09:20:19 AM
ต้องใช้สำเนาบัตรประชาชนค่ะ....เดี๋ยวพร้อมเมื่อไรจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งค่ะ.....

ขอบคุณที่มาช่วยลงชื่อค่ะ..... :-*


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Sky ที่ สิงหาคม 27, 2008, 09:33:25 AM
ร่วมลงชื่อคัดค้านด้วยค่ะ

  1. นาย สมยศ ยศสุนทร
  2. นาง แน่งน้อย ยศสุนทร
  3. นาย สรรค์ ยศสุนทร
  4. น.ส. สโรชา ยศสุนทร
  5. นาย ภาณุพงศ์ ทิพย์วงศ์
  6. น.ส. สุธัญญา  สอวัฒนชาติ
  7. นายสมบัติ  ปัญจทรัพย์สิน
  8. นาย สุทธิพร อนันต์พิพัฒน์กิจ
  9. นาง บุปผชาติ อนันต์พิพัฒน์กิจ
10. นาย สุรัตน์ อรุณวัฒนาพร
11. น.ส.ปิยพร วิทยวิจิน
12. นายชญานิน มีแสงนิล
13. น.ส.สุรณรร กุลศิริวิวัฒน์
14. นายอุดมเลิศ  โกยทอง
15. นางสมปรารถนา สุนทรรังษี
16. นายสิทธิศักดิ์ ปฏิเมธีภรณ์
17. นายอัครเดช เก่งพล
18. น.ส. สุกัญญา สิทธิพรชัย
19. นายโชติพันธุ์ โลหชิตรานนท์


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ สิงหาคม 27, 2008, 09:34:40 AM
ร่างหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกรทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ ขอไปตั้งกระทู้คัดค้านอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในห้องรับแขกนะคะ

ตามไปต่อแถวลงชื่อคัดค้านได้เลยค่ะ..... :)


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Sky ที่ สิงหาคม 27, 2008, 09:36:57 AM
เกาะตาชัยของเรา  >:( ไม่ยอมหรอก  :'(


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ สิงหาคม 27, 2008, 10:28:02 AM


ที่ไหนๆเราก็ไม่ยอมนะคะ....น้องอุ้ม.....(http://www.naturethai.org/forum/smileys/penquin/pen1_40.gif)

ไปลงชื่อคัดค้านต่อได้ที่นี่ค่ะ......พี่น้อง...... :-*

http://www.saveoursea.net/boardapr2007/index.php?topic=1205.0


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกปีบ ที่ สิงหาคม 27, 2008, 10:53:16 AM
คัดค้านแน่นอน ไปลงชื่อด้วยกันครับผม  ;)


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: แม่หอย ที่ สิงหาคม 27, 2008, 11:07:08 AM
คิดอย่างไร.. มีคำตอบมากมายค่ะ แต่ไม่สามารถตอบในนี้ได้แน่ เพราะคงต้องถูกลบทิ้ง .. รู้ตัวว่าตอนนี้ไม่สามารถจะพูดจะเขียนอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ (หรือนัยหนึ่งรัฐบาลนี้) ให้สุภาพๆ นุ่มนวลรื่นหูได้.. ขออภัยด้วยค่ะ

คิดอะไรแต่ละอย่าง .. ช่างคิดขึ้นมาได้


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Vita ที่ สิงหาคม 27, 2008, 05:32:17 PM
ถ้าเป็นการขอเสนอตัว โดยออกค่าใช้จ่ายเอง ในการเข้าไปดูแล
ปรับปรุงสถานที่ หรือรณรงค์ด้านการอนุรักษ์ โดยไม่หวังผลทางการค้า
หรือการโฆษณา น่าจะดีนะครับ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Sri_Nuan.Ray ที่ สิงหาคม 27, 2008, 06:08:24 PM
Vita......... หาคนหรือองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรแบบที่ว่า น่ะ มีด้วยเหรอในโลกแห่งการแข่งขัน หรือ ชิงดีกันแบบนี้

ที่พูดไม่ได้หมายความว่าจะดูถูก หรือ อะไร ดอกน่ะ แต่ว่า จะมีสักกี่หน่วยงาน ที่ทำแล้วไม่หวังกำไร หรือผลประโยชน์ใดๆๆ

ขนาด พวกเราเองกลุ่มเล็กๆ ทำแบบไม่แสวงหากำไร ในบางครั้ง ยังวุ่นวาย จนคนทำบางครั้งก็เหนื่อย จนล้า

แต่เพื่อผลประโยชน์ของชาติ ก็เลยคงอยู่ได้  แค่ คิดๆๆ ก็มึนแล้ว  :-X  :-X


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ สิงหาคม 27, 2008, 06:28:05 PM

เคยเหนื่อย....เคยล้า.....แต่ไม่เคยท้อ....ไม่เคยถอย...... ;)

เพื่อทะเลใสๆ....หาดทรายขาวๆ....แนวปะการังที่สวยงาม....สรรพชีวิตใต้ทะเลที่อุดมสมบูรณ์....ป่าชายเลนที่หนาแน่น....

แล้วจะน้อยกว่านี้ได้อย่างไร..... ;D
 


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ สิงหาคม 29, 2008, 12:53:08 AM

รมว.ทรัพยากรฯ ระบุ การให้เอกชนลงทุนการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ ยังอยู่ในขั้นศึกษารายละเอียด


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุ การเปิดพื้นที่ให้เอกชนลงทุนด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ยังเป็นเพียงแนวคิด โดยยังอยู่ในขั้นตอนศึกษารายละเอียดต่างๆ เชื่อ สามารถเป็นทางเลือกใหม่ในการอนุรักษ์ป่าไม้ได้

นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ได้หยิบยกแนวคิดที่จะเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนบริการด้านการท่อง เที่ยวในอุทยานแห่งชาติ หารือในที่ประชุมผู้บริหารกระทรวงฯ หลังจากที่เรื่องดังกล่าวยังไม่มีการตัดสินใจชัดเจน เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการศึกษาในรายละเอียด และกำหนดเงื่อนไขการดำเนินงานของคณะทำงานการท่องเที่ยวและการลงทุนดำเนินกิจกรรมในอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่มี นายวิชิต พัฒนโกศัย รองอธิบดีกรมอุทยานฯ เป็นประธาน โดยส่วนตัวเห็นว่าการเปิดให้เอกชนเข้ามาอาจเป็นวิธีการหนึ่งที่จะรักษาป่า แม้ว่าอาจดูขัดกับแนวทางการอนุรักษ์ก็ตาม แต่เห็นว่าน่าจะลองดู โดยอาจคัดเลือกนำร่องบางอุทยานฯ ที่มีความเป็นไปได้ก่อน อย่างไรก็ตามได้เตรียมประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เป็นอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติมรวมพื้นที่กว่า 10 ล้านไร่ภายในปีนี้ด้วย

ด้าน นายไพศาล กุวลัยรัตน์ รักษาราชการอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติปีละ 17 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นปีละ 1 ล้านคน และจำเป็นต้องหาพื้นที่เพิ่มเพื่อไม่ให้เกินขีดความสามารถที่จะรองรับนักท่องเที่ยวได้ โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติทางทะเล หรืออุทยานที่มีชื่อเสียงซึ่งมักมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวจำนวนมากในฤดูกาลท่องเที่ยว ดังนั้นจึงต้องศึกษาแนวทางรองรับไว้ก่อน สำหรับพื้นที่ที่จะนำมาจัดโซนบริการนั้นจะดูความเหมาะสม เช่น ต้องไม่เป็นป่าต้นน้ำ หรือไม่เป็นถิ่นของสัตว์และพืชหายาก อย่างไรก็ตามขั้นตอนต่างๆ คงต้องรอร่าง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ ที่ผ่านการพิจารณาจากกฤษฎีกา



จาก                     :                    สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์      วันที่ 29 สิงหาคม 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Mr.can ที่ สิงหาคม 29, 2008, 04:39:55 AM
สำหรับพิจารณา
     หว่านพืชย่อมหวังผล
     เลือดย่อมข้นกว่าน้ำ
     ได้คืบจะเอาศอก ได้ศอกจะเอาวา
      นายว่าขี้ข้าพลอย
      ปากว่าตาขยิบ หรือ มือถือสากปากถือศีล
       ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ดูให้แน่ ๆ ต้องดูที่หัวหน้าพรรค(ตัวจริง)

แต่สำหรับผม
     พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง (เกียร์ว่าง โลดดดดดด) ??? ??? ???



หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ สิงหาคม 29, 2008, 06:16:15 AM


กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย.....น้ำเต้าน้อยจะถอยจม..... :'(


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Bluefin ที่ สิงหาคม 29, 2008, 06:50:14 AM
"อย่างไรก็ตามได้เตรียมประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เป็นอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติมรวมพื้นที่กว่า 10 ล้านไร่ภายในปีนี้ด้วย"

ข่าวนี้ยังไม่ได้ติดตามรายละเอียดครับ แต่ถ้าเป็นจริงก็ยิ่งน่าเศร้า เพราะถ้าเปลี่ยนจากป่าสงวนหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามาเป็นอุทยานแห่งชาตินั้น เป้าหมายก็แตกต่างกันอย่างชัดเจนตามชื่ออยู่แล้ว และยิ่งเพิ่มความบอบช้ำให้แก่ธรรมชาติที่เหลืออยู่น้อยนิดเข้าไปอีก...

เหตุไฉนนักการเมืองยุคนี้ช่างชำนาญการเปลี่ยนสมบัติชาติเป็นสมบัติตัว...ต่อๆไป ลูกหลานไทยจะเอาแผ่นดินที่ไหนเหยียบ, จะเอาทะเลที่ไหนว่าย, จะมีป่าต้นน้ำที่เป็นแหล่งพักฟื้นให้ธรรมชาติ เป็นบ้านให้สัตว์ป่า เป็นแหล่งอาหาร และเป็นประโยชน์มหาศาลต่อมวลมนุษยชาติ ต่อไปหากพ่อค้า, นายทุน, นัการเมือง และเหล่าผู้มีอิทธิพล ยึดไว้เป็นของตัวเองเสียทุกอย่าง ลูกหลานไทยคงไม่มีอะไรเหลืออีก หรือชาติไทยจะสิ้นคนดีแล้ว... :-X :-X :'( :'(


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: a-bad ที่ สิงหาคม 29, 2008, 10:37:39 AM

28 ส.ค. 51 – มูลนิธิสืบนาคะเสถียรออกแถลงการณ์คัดค้านนโยบายเปิดสัมปทานให้เช่าพื้นที่ป่า ยืนยันให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำรงจุดยืนในการรักษาพื้นที่ป่ามิใช่แปลงป่าเป็นทุน

แถลงการณ์

มูลนิธิสืบนาคะเสถียรคัดค้านนโยบายเปิดสัมปทานให้เช่าพื้นที่ป่า

ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีนโยบายเปิดสัมปทานให้เอกชนเข้ามาดำเนินการโรงแรมและที่พักในเขตพื้นที่บริการ 10 แห่ง เป็นเวลา 30 ปี รวมทั้งการให้บริการท่องเที่ยวโดยอ้างว่าเพื่อจะนำรายได้จากการให้เช่าพื้นที่ป่าอนุรักษ์มาช่วยเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งดีกว่าปล่อยให้เสื่อมโทรมและถูกบุกรุกจากนั้น

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

เห็นว่า การเปิดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้เอกชนเช่า จะทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ ดังนี้ :-

1. การเปิดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้เอกชนเช่า เป็นการทำลายแหล่งธรรมชาติอย่างถาวร เนื่องจากการลงทุนเป็นการลงทุนในระยะยาว และส่งผลเสียต่อระบบนิเวศของพื้นที่โดยตรง

2. อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศไทย เป็นพื้นที่สาธารณะ ควรต้องมีความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ควรมีการกันพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งอยู่นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ สำหรับการลงทุนของภาคธุรกิจอย่างเหมาะสม

3. การกระทำดังกล่าว เป็นการเปิดช่องทางการเข้ามาหาประโยชน์ของภาคธุรกิจ จนเกินขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้มีการใช้อิทธิพลทางการเมือง กลุ่มทุนท้องถิ่น เข้ามาใช้ประโยชน์จากตัวราชการ ให้เปิดการบริการเพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่อนุรักษ์กระจายไปทั่ว ทำให้คุณค่าของระบบนิเวศโดยรวมถูกทำลายลงในที่สุด

ดังนั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น มูลนิธิสืบนาคะเสถียรจึงขอแสดงความไม่เห็นด้วยและคัดค้านนโยบาย การเปิดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้เอกชนเช่า และยืนยันให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำรงจุดยืนในการรักษาพื้นที่ป่ามิใช่แปลงป่าเป็นทุน

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ สิงหาคม 29, 2008, 03:02:41 PM
ดีค่ะ....ช่วยกันหลายๆทาง .....หลายๆเสียง....

ถ้า ท่านอาจารย์สุรพล สุดารา และ คุณสืบ  นาคะเสถียร ยังมีชีวิตอยู่  ท่านก็คงจะทำการคัดค้านในเรื่องนี้อย่างเต็มที่..... :-*

ขอบคุณมูลนิธิสืบนาคะเสถียรมากค่ะ..... :P


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Vita ที่ สิงหาคม 30, 2008, 03:10:35 AM
กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย.....น้ำเต้าน้อยจะถอยจม..... :'(
ขอขยายนะครับ..........

ข้อความนี้สันนิษฐานกันว่าแต่งในสมัยต้นๆกรุงศรีอยุธยา โดยเอาเค้ามาจากเรื่องมหาสุบินชาดก

เรื่องมีอยู่ว่า
          ครั้นหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าประทัยอยู่ ณ เขตวันมหาวิหาร ในกรุงสาวัตดี แคว้นโกศล
          ท้าวปเสนทิทรงครองกรุงสาวัตถีอยู่ เกิดทรงพระสุบินแปลกประหลาด ๑๖ ประการ เมื่อทรงเล่าสุบินให้พวกปุโรหิตาจารย์ฟัง พวกปุโรหิตทำนายว่าฝันร้ายนัก ต้องทำพิธีบูชายัญสะเดาะพระเคราะห์ คือ ฆ่าสัตว์บูชาพระเป็นเจ้า แต่พระมเหสี คือ พระนางมัลลิกาเทวี ทรงแนะนำให้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าขอให้ทรงทำนาย บางทีสมเด็จพระพุทธองค์ อาจทรงแนะนำวิธีผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ โดยไม่ต้องฆ่าสัตว์เผาผู้คนบูชายัญอันเป็นวิธีโหดร้าย พระเจ้าปเสนทิ จึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ตามคำทรงแนะนำของพระอัครมเหสี ขอพระพุทธเมตตาให้ทรงทำนายพระสุบินแปลกประหลาดทั้ง ๑๖ ประการนั้น
          ในชาดกมีว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทำนายว่า อันอันตรายทั้งหลายนั้น มิได้มีแก่พระราชา หากแต่จะเกิดขึ้นกับ พระศาสนา และราษฎรทั้งหลาย แล้วทรงมีพุทธทำนายบรรยายถึงวิปริตอันตรายนั้นอย่างละเอียด

สุบินประการที่ ๑๒ คือข้อที่ฝันเห็นกระเบื้องลอยน้ำ แต่ น้ำเต้ากลับจมน้ำ
�หนึ่ง ฝันว่าน้ำเต้านั้นจมชล ดูวิกลไม่เคยพบปะสบเห็น
พุทธบรรหารว่านานไปจะเป็น ที่ข้อเข็ญของสัตว์วิบัติมี
นักปราชญ์ผู้รู้ธรรมจะต่ำต้อย พาลาลอยเฟื่องฟูชูศักดิ์ศรี
ผู้พงศาตระกูลประยูรมี จะลับลี้เสื่อมสูญประยูรยศ
คนพาลจะราญเริงบรรเทิงหน้า เจรจาผิดธรรมไปจนหมด
ใครปลอกปลิ้นลมเป็นคมคด รู้โป้ปดกลอกกลับจึงนับกัน�

แล้วคำกลอนพุทธทำนาย ก็จบลงด้วยบทสุดท้ายว่า
         �ซึ่งบพิตรนิมิตรสิบหกประการ ไม่มีเหตุเพทพาลแก่พระองค์
จะได้แก่โลกทั้งหลายในภายหน้า จำไว้พิจารณาอย่าลืมหลง
จะเสื่อมสูญเมธีกวีวงศ์ และฝูงหงส์พงศ์ประยูรตระกูลพราหมณ์
จะเฟื่องฟูเชยชมนิยมหยาบ แบกแต่บาปหาบนรกยกขึ้นหาม
กองกรรมจะนำสนองตาม จดลงหนังสุนัขถามเมื่อยามตาย
พระไตรรัตน์จะวิบัติหม่นมัวหมอง ไม่ผุดผ่องแผ้วผาดสะอาดฉาย
ศักราชคำรบนั้นสองพันปลาย จะต้องพุทธทำนายไว้แน่เอยฯ�


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Vita ที่ สิงหาคม 30, 2008, 03:29:38 AM
อันนี้คาดว่า แต่งกันทีหลังครับ.....

“... คือเดือนดาวดินฟ้าจะอาเพด อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทิศาน
       มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาล เกิดนิมิตพิศดานทุกบ้านเมือง
       พระคงคาจะแดงเดือดดั่งเลือดนก อกแผ่นดินเป็นบ้าฟ้าจะเหลือง
       ผีป่าก็จะวิ่งเข้าสิงเมือง ผีเมืองนั้นจะออกไปอยู่ไพร
       พระเสื้อเมืองจะเอาตัวหนี พระกาลกุลีจะเข้ามาเป็นไส้
       พระธรณีจะตีอกไห้ อกพระกาลจะไหม้อยู่เกรียมกรม
       ในลักษณะทำนายไว้บ่อห่อนผิด เมื่อวินิศพิศดูก็เห็นสม
       มิใช่เทศกาลร้อนก็ร้อนระงม มิใช่เทศกาลลมลมก็พัด
       มิใช่เทศกาลหนาวก็หนาวพ้น มิใช่เทศกาลฝนฝนก็อุบัติ
       ทุกต้นไม้หย่อมหญ้าสารพัด เกิดวิบัตินานาทั่วสากล
       เทวดาซึ่งรักษาพระศาสนา จะรักษาแต่คนฝ่ายอกุศล
       สัปรุษย์จะแพ้แก่ทรชน มิตรตนจะฆ่าซึ่งความรัก
       ภรรยาจะฆ่าซึ่งคุณผัว คนชั่วจะมล้างผู้มีศักดิ์
       ลูกสิทธ์จะสู้ครูพัก จะหาญหักผู้ใหญ่ให้เป็นน้อย
       ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอำนาจ นักปราชญ์จะตกต่ำต้อย
       กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม
       ผู้มีตระกูลจะสูญเผ่า เพราะจันทานมันเข้ามาเสพสม
       ผู้มีศีลนั้นจะเสียซึ่งอารมณ์ เพราะสมัครสมาคมด้วยมารยา ...”

ส่วนอันนี้ คาดว่า มาจาก ตอนหนึ่งของเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
 “น้ำจะท่วมฟ้า ปลาจะกินดาว ผู้ดีจะเดินตรอก ขี้ครอกจะเดินถนน กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม ...”


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ สิงหาคม 30, 2008, 03:30:26 AM
สาธุ.....สาธุ...สาธุ...... :P

ครานี้ถึงเพลาฟ้าวิบัติ
กระเบื้องผลัดฟูฟ่องล่องวิถี
น้ำเต้าน้อยค่อยจมถมนที
คนอัปรีย์ครองเมืองเรื่องธรรมดา


สายชลเพิ่งแต่งเมื่อกี้นี้เองค่ะ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Vita ที่ สิงหาคม 30, 2008, 05:00:20 AM
ไม่ธรรมดานะครับเนี่ยย........... :-*  :-*  :-*


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ สิงหาคม 30, 2008, 06:51:13 AM


 ;D...ไม่ธรรมดา....โอ๊ะ....ไม่ธรรมดา..... ;D

ร้องเพลงใกล้คุกเข้าไปทุกที..... :-X


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: ตุ๊กแกผา ที่ สิงหาคม 30, 2008, 08:23:59 AM
ไม่น่าหล่ะ เมื่อสักครู่ดูโทรทัศน์ ได้ยินเสียง ไก่ร้องแปลกๆ(หรือหูจะเริ่มหาเรื่องก็ไม่รู้ได้)
มันร้อง คุ๊กๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ  ;)


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Bluefin ที่ สิงหาคม 30, 2008, 11:49:50 AM
 :-X :-X กลุ้มใจประเทศชาติครับ ไม่ว่าใครจะชนะ แต่ทุกครั้งประเทศชาติคือผู้แพ้เสมอ...หรือต้องรอคำว่า "ปาติหาน" เหมือนในโฆษณา...


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ สิงหาคม 30, 2008, 01:51:58 PM

น่านน่ะสิคะ....สองวันที่ผ่านมานั่งดู  Reality Show ทั้งวัน สลับช่องไปมา  หุๆ.....เครียดและเสียใจจนอยากทุบทีวีทิ้ง.... :(

คนไทยด้วยกันแท้ๆ..... :'(  
 


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Vita ที่ สิงหาคม 31, 2008, 12:09:08 PM
ชินวัตรรุ่นหลานแปลงอุทยานเป็นทุน ประเคนน้ำพุร้อนให้เอกชน   Posted by บางอ้อ(http://www.oknation.net/blog/acharawadee/2008/08/22/entry-1)
วันศุกร์ ที่ 22 สิงหาคม 2551

 วันนี้มีข่าวเปิดอุทยาน 10 แห่งให้รุมทึ้ง  ไม่นานมานี้อ้อได้ไปทำข่าวนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ 

เปิดน้ำพุร้อนชม.ให้SMEบริหาร
ชินวัตรรุ่นหลานควงอบจ.เข้าลุย

         “ชินวัตร”รุ่นหลานควงอบจ.เชียงใหม่เตรียมเปิดน้ำพุร้อนในเขตอุทยานให้เอกชนเข้าบริหาร  ดันสสว.เข้าส่งเสริม     เริ่มที่ป่าตึง เชียงราย ก่อนดันโป่งเดือดที่ห้วยน้ำดัง และน้ำพุร้อนฝาง ที่ดอยผ้าห่มปก  เผยนักลงทุนญี่ปุ่น เกาหลีสนใจ  พร้อมคัดสินค้าหัตถกรรมย่านสันกำแพงขยายตลาดส่งออก 

.......................................
                ส่วนการลงนามร่วมกับอบจ.เชียงใหม่เพื่อส่งเสริมเอสเอ็มอีของเชียงใหม่ โดยเฉพาะการการประสานการจัดซื้อและจำหน่ายหัตถกรรม  และส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ซึ่งเป็นโครงการที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติของรัฐที่ยังใช้ประโยชน์ไม่เต็มศักยภาพ  พื้นที่เป้าหมายคือน้ำพุร้อนโป่งเดือด ที่อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง และน้ำพุร้อนฝาง ที่อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก


               “น้ำพุร้อนในไทยมีถึง 112 แห่งทั่วประเทศ ในการพัฒนาเราจะให้ความสำคัญกับคนในพื้นที่ เช่นที่ป่าตึง ก็จะให้เอสเอ็มอีในพื้นที่ ที่เขาอาจดำเนินการอยู่แล้วมาจัดระเบียบระบบให้ดีขึ้น ทนการออกแนวพื้นบ้าน แต่เราจะให้ญี่ปุ่นและเกาหลีมาลงทุน โดยเราจะได้ปรับเปลี่ยนให้เขาทำให้ตรงแนวกับตลาดต้องการเช่นปรับเป็นร้านจำหน่ายของที่ระลึกในพื้นที่เดิม”


             น.ส.พนิตพิชา กล่าวว่าการพัฒนาจะเริ่มแห่งแรกที่น้ำพุร้อนป่าตึง จ.เชียงราย  โครงการต่อมาก็จะมาที่เชียงใหม่ โดยหาผู้ประกอบการในพื้นที่ นำความรู้มาพัฒนาให้เทียบเท่ากับการรองรับต่างประเทศ


            “เงินลงทุนมาจากหลายส่วน เช่นที่เชียงราย อบต.มีงบประมาณส่วนหนึ่ง เพราะอยู่ในพื้นที่ของอบต. มีงบก่อสร้างจากสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว งบสสว.จะเชิญผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นมาวางระบบ และเราเชิญผู้ประกอบการมาลงทุนเขาก็ต้องลงทุนด้านที่พักหรือสาธารณูปโภคต่างๆ ร่วมกัน โดยมีคณะทำงานจากหลายหน่วยงานเข้ามาร่วมกัน โดยที่ป่าตึงคาดว่าปลายปีนี้จะเห็นรูปร่างเพราะได้ผู้ประกอบการแล้ว ส่วนจุดที่เป็นพื้นที่อุทยานก็ไม่มีปัญหา เพราะมีการลงนามความตกลงร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชอยู่แล้ว”
   



หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Vita ที่ สิงหาคม 31, 2008, 12:12:26 PM
                     พิธีลงนามความร่วมมือ การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจังหวัดเชียงใหม่  ระหว่าง  องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกฯอบจ. (ที่3 จากขวา) และนายคณพล ปิ่นแก้ว ปลัดอบจ.(ขวาสุด) กับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดย นายชาวัลย์ สวัสดิ์-ชูโต รองผอ.สำนักฯ (ที่ 2 จากซ้าย) และน.ส.พนิตพิชา ชินวัตร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีภูมิภาค (ซ้ายสุด) หลาน พ.ต.ท.ทักษิณ โดยมี น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ส.ส.เชียงใหม่ (ที่ 3 จากซ้าย) ลูกสาวนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และนายชุมพร แสงมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ (ที่ 4 จากซ้าย)เป็นพยาน


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ สิงหาคม 31, 2008, 01:33:53 PM

 ;) :( ;)


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Mr.can ที่ สิงหาคม 31, 2008, 03:08:29 PM
อาหารหลัก 5 หมู่ สำหรับ
1 โทรศัพย์
2 ดาวเทียม
3 ปตท และรัฐวิสาหกิจ
4 ภาษี
5 อุทยานแห่งชาติ

 :'( :'( :'( :'( :'( :'(


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ สิงหาคม 31, 2008, 03:40:07 PM

โอ้ ลาล้า.....หวาน....มัน....กรอบ....กรุบ..... ;D


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 01, 2008, 01:00:37 AM

จ่อประเคนอันดามันให้กลุ่มทุนต่างชาติ


มูลนิธิสืบฯ แฉกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ พานักธุรกิจต่างชาติดูพื้นที่หมู่เกาะอันดามัน หลังมีนโยบายเปิดสัมปทานให้เอกชนเช่าพื้นที่ป่าเพื่อทำธุรกิจท่องเที่ยว เผยเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ให้เสื่อมโทรม

กรณีที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  โดยนางอนงค์วรรณ  เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ได้มีนโยบายเปิดสัมปทานให้เอกชนเข้ามาดำเนินการทำธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท และที่พักในเขตพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติหลายแห่งเป็นเวลา  30 ปี รวมทั้งการให้บริการท่องเที่ยว โดยอ้างว่าเพื่อจะนำรายได้จากการให้เช่าพื้นที่ป่าอนุรักษ์มาช่วยเศรษฐกิจของประเทศนั้น

นายศศิน  เฉลิมลาภ  รองเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร  ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  ให้สัมภาษณ์ว่า  ไม่เห็นด้วยและขอคัดค้าน เนื่องจากมีความกังวลว่านโยบายการเปิดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้เอกชนเช่าทำแหล่งท่องเที่ยว  จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  เป็นการทำลายแหล่งธรรมชาติและเกิดปัญหาในเรื่องขยะและน้ำเน่าเสีย เนื่องจากเป็นการลงทุนระยะยาวและสร้างความสูญเสียต่อระบบนิเวศของพื้นที่โดยตรง

"สิ่งที่น่ากลัวคือ เมื่อมีการพื้นที่ป่าไม่ว่าจะเป็นอุทยานแห่งชาติ หรือหน่วยพิทักษ์ป่าเล็กๆ ในบริเวณที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปไม่ถึง  ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกเจาะไปเรื่อยๆ และมีแนวโน้มว่าจะทำให้โครงการพัฒนาต่างๆ ของภาครัฐเข้าไปสร้างความสูญเสียได้อีกด้วย"

นายศศินกล่าวว่า แม้ว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ จะมีการประชุมหาแนวทางกันอยู่ แต่ทราบว่านโยบายดังกล่าวล้ำหน้าไปไกลถึงขนาดพาชาวต่างชาติเข้าไปดูพื้นที่ในหมู่เกาะอันดามัน  ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางการเข้ามาหาประโยชน์ของภาคธุรกิจเข้าไปแสวงหารายได้ในพื้นที่สาธารณะ  เกิดการผูกขาดการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ปิดกั้นโอกาสประชาชนทั่วไปในการท่องเที่ยว  เกิดกลุ่มทุนท้องถิ่น  ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองเข้ามาใช้ประโยชน์  ทำให้คุณค่าของระบบนิเวศโดยรวมถูกทำลายและเสื่อมโทรมลงในที่สุด

รองเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียรกล่าวเพิ่มเติมว่า  การอ้างเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อประเทศนั้น ที่จริงแล้วไม่ใช่และไม่คุ้มค่าอย่างแน่นอน เพราะเงินจากการท่องเที่ยวจะตกไปอยู่ในมือของนักธุรกิจมากกว่าส่วนรวม  ทั้งนี้ ตนขอเสนอให้มีการกันพื้นที่นอกเขตป่าอนุรักษ์สำหรับการลงทุนของภาคธุรกิจอย่างเหมาะสม   มีการจัดสรรทรัพยากรตามหลักวิชาการ ยกตัวอย่างเช่น  อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  ไม่มีการให้สัมปทานกับภาคเอกชนเช่าป่าระยะยาว แต่ทุกวันนี้ก็ให้มีรีสอร์ต หรือสถานที่พักผุดขึ้นมากมายโดยรอบป่าเขาใหญ่อยู่แล้ว  และไม่จำเป็นต้องให้เอกชนบุกรุกในพื้นที่อุทยานแต่อย่างใด.



จาก                       :                   X-cite  ไทยโพสต์     วันที่ 1 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: angel frog ที่ กันยายน 01, 2008, 02:06:48 AM
จำหนังเรื่องLord of the ringได้ไหม            ใครได้ครอบครองแหวน ก็เท่ากับมี "อำนาจ"       
เมื่อมีอำนาจ  จะทำอะไรก็คิดว่าทำได้         
โดยลืมไปว่า  "อำนาจ"ก็เป็นเหมือนแหวนวงหนึ่ง  ที่ผลัดกันสวมใส่ เป็นเจ้าของ         
ทุกๆคนยื้อแย่งกันเพื่อให้ได้มา  คิดและทำทุกๆอย่าง  ผิดถูกไม่สำคัญ        เพียงแต่มันต้องเป็นของฉัน           
เมื่อมีแหวนอยู่  แล้วตั้งหน้าตั้งตากอบโกย  ไม่คิดจะทำในสิ่งที่ถูกต้อง  โอย.....มันหอมหวานเสียเหลือเกินนะ         

แต่...สุดท้าย ไม่เห็นมีใคร "รู้ตัว" กันเลย ว่าเมื่อ "เวลา" ของตัวเองจบลง 
นั่นแหละ "ความshipหาย"  ได้มาเยือนแล้ว.......


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: WayfarinG ที่ กันยายน 01, 2008, 02:20:07 AM
(http://cococokie.files.wordpress.com/2007/07/yoyocici_emo4.gif) สิ่งเดียวที่ทำให้ชาติบ้านเมือง อิ๊บอ๊าย..






มันน่าเศร้านะ.. ที่เห็นเพียงแค่ผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ โดยไม่สนใจต่อผลกระทบในทางมหาภาค.. สงสัยว่า ไอ้คนนำเสนอ เค้าเอาอะไรมาคิด.. (http://www.lcd-hdtv-reviews.info/yoyo/kapook-16509-7850.gif)


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Plateen ที่ กันยายน 01, 2008, 04:15:09 AM
โอ้....รู้สึกปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่ง
ต่อไปอยากดำน้ำสิมิลัน สุรินทร์ ตาชัย
อย่าลืมเตรียมพาสปอร์ตไปด้วยนะครับ เพื่อแสดงตัวว่าเราเป็นต่างชาติในผืนแผ่นดินของตัวเอง


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 01, 2008, 10:49:14 AM

"ทส.เมินเสียงต้านถกเอกชนเช่าอุทยานฯดัง"

"อนงค์วรรณ" รับเปิด 10 อุทยานฯ ดังให้เอกชนเช่าอ้างแก้ปัญหาบุกรุกเพิ่มรายได้ท่องเที่ยว ขณะที่กลุ่มโรงแรมแห่จองเกาะสวย-ทะเลอันดามัน "แอตต้า" ขานรับพร้อมเข้าบริหารพื้นที่กระทรวงทรัพยากรฯ นัดหารือสัปดาห์หน้า หัวหน้าอุทยานฯ ทะเลอันดามันออกโรงทำหนังสือค้านโอนพื้นที่เอกชนบริหาร

 ความคืบหน้ากรณีที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เตรียมเปิดสัมปทานให้เอกชนเข้ามาดำเนินการโรงแรมและที่พักในเขตพื้นที่บริการเป็นระยะเวลา 30 ปี รวมทั้งให้บริการท่องเที่ยว  โดยอ้างว่าต้องการมืออาชีพมาบริหารนั้น

 นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)   กล่าวว่า   นโยบายการอนุญาตให้เอกชนดำเนินการบริการท่องเที่ยว   เกิดจากแนวคิดจะช่วยหารายได้มาช่วยเศรษฐกิจของประเทศ     เพราะขณะนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมากที่น่าจะนำมาอวด และนำมาเผยแพร่ให้คนทั่วไปรับรู้รับทราบ ดีกว่าปล่อยเอาไว้ให้เสื่อมโทรม และบางพื้นที่ก็ถูกบุกรุกเสียหาย   ทาง ทส.จึงได้มอบหมายให้กรมอุทยานฯ ออกไปสำรวจพื้นที่ต่างๆ และพบว่ามีอย่างน้อย 10   พื้นที่มีศักยภาพเป็นจุดขายและจะเปิดให้เอกชนเข้ามาดำเนินได้อย่างถูกต้องและจะไม่โดนต่อต้าน  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ติดชายทะเล ชายน้ำ หรือที่มีน้ำตกที่สามารถดึงดูดให้เอกชนมาลงทุนได้

  ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างจัดทำรายละเอียดเพื่อกำหนดเขตพื้นที่บริการท่องเที่ยวในแต่ละแห่งที่มีศักยภาพดังกล่าว แต่ก็ค่อนข้างตกผลึกแล้วเตรียมเปิดให้เอกชนเข้ามาเจรจาได้ โดย ทส.ยังยืนหลักการให้จัดทำภายใต้หลัก เกณฑ์อนุรักษ์ให้คงสภาพของพื้นที่ และตั้งเป้าต้องดีกว่าเดิมด้วยซ้ำไป เพราะนอกจากจะได้เงินค่าเช่าแล้ว ยังจะได้พื้นป่าเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ชี้ดูแลนักท่องเที่ยวเหตุป่าถูกรุก

    เมื่อถามว่าขณะนี้เริ่มมีนักวิชาการ และนักอนุรักษ์ออกมาแสดงความเป็นห่วงว่าจะสวนทางกับบทบาทของ ทส.ที่ต้องดูแลรักษาพื้นที่อนุรักษ์นั้น   นางอนงค์วรรณ   กล่าวว่า  พร้อมจะรับฟัง แต่อย่าเพิ่งติเรือทั้งโกลน ขณะนี้ต้องยอมรับว่าปัจจุบันมีป่า ถูกบุกรุกเยอะมาก   แต่ถ้าหาเจ้าภาพ ไปดูแล และมอบหมายพื้นที่   20-30 ไร่ไปดูแลจัดการ ทางราชการก็จะตรวจสอบได้ง่าย ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ที่ต้องไปคอยบริการท่องเที่ยวก็จะได้ทำงานด้านการอนุรักษ์ดูแลป้องกันป่าได้อย่างเต็มที่ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าจะกระตุ้นการท่องเที่ยวโดยให้เอกชนเข้ามา ถ้าไม่มีทุนอะไรให้กับเอกชนก็คงไม่มีใครมาลงทุน   แต่คงต้องดูเกณฑ์ความเหมาะสมว่าอยู่แค่ไหน และความหนาแน่นของพื้นที่ตรงไหนควรอนุรักษ์และควบคุมให้ชัดเจน

เผยธุรกิจโรงแรมสนใจลงทุน

     นางอนงค์วรรณ  กล่าวว่า   ส่วนเอกชนที่จะเข้ามานั้น ยังไม่ได้มีกลุ่มธุรกิจไหนติดต่อมาลงทุนเป็นพิเศษ แต่ในวงกว้างที่กรมอุทยานฯรายงานให้ทราบ   กลุ่มธุรกิจด้านโรงแรมค่อนข้างเห็นด้วยและสนใจที่ ทส.จะเปิดรูปแบบให้เอกชนดำเนินการ   และการันตีว่าจะมีธุรกิจหลากหลาย และไม่ผูกขาดให้รายใดเป็นพิเศษ แต่จะเป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์ เพราะถ้าไม่มืออาชีพจะทำให้ไม่ได้อย่างที่ ทส.คาดหวังไว้ เพราะถ้าจัดบริการไม่เต็มที่ และทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหายมากขึ้นก็จะเกิดปัญหา   เช่น ถ้าจะสร้างพี่พักต้องกลมกลืนกับธรรมชาติ เป็นต้น 
 
หวั่นพื้นที่อนุรักษ์เสียหาย

 ดร.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า   ค่อนข้างเป็นห่วงว่าการเร่งรีบของกรมอุทยานฯจะส่งผลเสียหายกับพื้นที่อนุรักษ์   เนื่องจากพบว่าลักษณะการกำหนดเขตบริการ แม้จะอ้างว่าไม่ได้เกี่ยวกับกฎหมายอุทยานแห่งชาติฉบับใหม่ ที่ยังปรับแก้ไม่แล้วเสร็จ หรือไม่ได้ทำตามนโยบายการร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชนก็ตาม   แต่ในทางปฏิบัติระดับผู้ที่มีอำนาจกลับมีการขยับตัวเดินหน้า จนเรียกได้ว่าแม้แต่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติในสายอนุรักษ์เองยังยอมรับไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการลง ไปดูพื้น ที่ไหน ที่มีศักยภาพ และคิดว่าทำแล้วจะดึงดูดคนมาเที่ยว เช่น หาดสวยๆ และเกาะสวยในทะเลอันดามันหลายแห่งถูกวางเป้าหมายใช้สิทธิ์ในการหาประโยชน์

  "หัวหน้าอุทยานฯบางแห่งทนไม่ได้ทำหนังสือคัดค้านมากรมอุทยานฯเพราะการเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่าพื้นที่ ได้เลี่ยงคำว่าให้เอกชนเช่า แต่จะให้เข้าใช้ประโยชน์แทน โดยรูปแบบที่จะทำ คือถ้ามีพื้นที่แล้ว เอกชนจะให้เงินกรมอุทยานฯ นำไปก่อสร้างที่พัก จากนั้นจะให้เอกชนกลับมา เช่าสิทธิ์และตอบแทนเป็นรายได้กับกรม โดยมีเงื่อนเรื่องเวลาตั้งแต่   5 ปีถึง 30 ปี"  ดร.ศักดิ์อนันต์ กล่าว

ชี้ "เกาะสวยอันดามัน" เป้าหมาย

     ดร.ศักดิ์อนันต์  กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีพื้นที่ที่กรมอุทยานฯ ส่งผู้ใหญ่ลงไปดูหลายพื้นที่ที่เตรียมจะเปิดให้เอกชนมาดำเนินการ แต่จะอ้างว่าเป็นการออกไปตรวจงานตามปกติ ซึ่งเท่าที่ทราบเช่น อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี เช่น เกาะห้อง แถวอุทยานแห่งชาติ ท้ายเหมือง   เนื่องจากมีชายหาดที่ ติดแผ่นดิน แต่เป็นจุดจุดวางไข่เต่าทะเลหายาก และป่าชายหาดก็ยังดีมากอยู่ แถว ตามเกาะสิมิลัน   เกาะด้ามหอกด้ามขวาน   ทะเลแหวก พีพี   เกาะสุรินทร์ เกาะราวี เกาะตะรุเตา ซึ่งเป็นพื้นที่เป็นไข่แดงของอุทยาน

 " พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นที่พักชั่วคราวที่อุทยานไปรักษาไว้   แต่ตอนนี้กำลังจะถูกเลือกให้เป็นจุดที่มีศักยภาพและจะทำรายได้สูงในแง่ของการท่องเที่ยว   อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าชาวบ้านคงไม่ยอม เพราะที่ผ่านมาอุทยานฯพยายามผลักดันชาวบ้านออกมาจากพื้นที่ แต่กลับจะเปิดให้เอกชนมาแทนที่ นอกจากนี้โดยส่วนตัวก็เป็นห่วงมาก เพราะถ้าดูจากวิธีใช้พื้นที่อุทยานมาทำเขตบริการ กำลังเลือกจุดที่เปราะบางที่สุด โดยไม่ได้อิงข้อมูลทางวิชาการ แต่อิงความสวยงามมาเป็นหลัก ซึ่งเรื่องนี้นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมกำลังคุยกัน เพราะไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะถ้ายิ่งบนเกาะมีสิ่งปลูกสร้างถาวรเมื่อใด ปัญหาจะตามมาอีกมากมายแน่นอน" ดร.ศักดิ์อนันต์ ระบุ

หัวหน้าอุทยานฯใต้ค้านเอกชนเช่า

 แหล่งข่าวจากกรมอุทยานฯเปิดเผยว่า  ขณะนี้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในบรรดาหัวหน้าอุทยานแห่งชาติในเขตภาคใต้ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวตามเกาะในฝั่งอันดามัน ที่ก่อนหน้านี้มีผู้ใหญ่พากลุ่มธุรกิจโรงแรมระดับใหญ่ของโลก ไปดูพื้นที่ จนถึงขั้นต้องทำหนังสือคัดค้านมายังกรมอุทยานแห่งชาติฯด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าวิธีการพากลุ่มทุนเข้ามานั้น ทางกรมอุทยานฯได้จัดทำรายชื่ออุทยานต่างๆ โดยจัดเกรดของพื้นที่ ให้บริษัทที่ถือเป็นตัวกลางไปนำเสนอผ่านให้กับบริษัทเอกชน   จากนั้นหากกลุ่มทุนสนใจก็พาไปดูพื้นที่

 "มีการชักชวนเอกชนลงดูพื้นที่และหากอุทยานฯใดยังไม่ได้เป็นพื้นที่บริการนักท่องเที่ยว ก็จะให้หัวหน้าอุทยานฯซึ่งมีอำนาจในการจัดทำแผนที่ที่ตั้งพื้นที่บริการกำหนดเขต และถ้าตกลงขนาดของพื้นที่โครงการได้ จึงจะพาไปยังผู้ที่อยู่เบื้องหลังที่จะได้รับผลประโยชน์จากโครงการ ซึ่งเรื่องดังกล่าวกำลังเกิดขึ้นจริงในพื้นที่ และทำให้หัวหน้าอุทยานสายอนุรักษ์หลายแห่งท้อใจเป็นอย่างมาก

มูลนิธิสืบค้านเอกชนเช่าอุทยานฯ

 นายศศิน เฉลิมลาภ    เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร   เปิดเผยว่า ในกรณีที่จะมีการให้เอกชนเข้ามาดำเนินการในอุทยานแห่งชาติ   ซึ่งโดยหลักการทั่วไปเป็นหลักการที่ไม่เสียหาย เพราะแต่เดิมการทำเช่นนี้ เป็นการแก้ปัญหาให้คนในท้องถิ่นระดับชุมชนสามารถเข้ามาค้าขายในพื้นที่อุทยานฯ ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว แต่ขณะนี้แนวทางการแก้ปัญหาได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีการพลิกประโยชน์ของเอกชนรายใหญ่เข้ามาผูกขาด และเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม  จนนำไปสู่ระบบเส้นสายและผูกขาดไปโดยปริยาย   โดยที่ชุมชนในพื้นที่ไม่มีส่วนร่วมในการดูแลอุทยานฯ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา 
 "เท่าที่ทราบหลังจากนโยบายนี้ออกมา ก็เริ่มมีกระบวนการทำเช่นนี้ในพื้นที่แล้ว โดยข้าราชการระดับรองอธิบดี พานักลงทุนไปดูพื้นที่ที่หมู่เกาะอาดังราวี    เพื่อจะสร้างรีสอร์ท โดยการกระทำดังกล่าว สวนทางกับนโยบายกรมอุทยานเอง" นายศศิน กล่าว
แนะให้อายุสัมปทานสั้นไม่เกิน 5 ปี

 นางดวงกมล จันสุริยวงศ์ นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย หรือ ทีต้า กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เตรียมเรียกสมาคมร่วมหารือในประเด็นดังกล่าวในสัปดาห์หน้า โดยในเบื้องต้นสมาคมจะฟังการนำเสนอแนวทางการสัมปทานว่าเหมาะสมเพียงใด และอาจเสนอตัวในการเป็นคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้ที่ได้รับสัมปทานร่วมด้วย แต่ไม่เห็นด้วยระยะเวลาสัมปทานที่นานถึง 30 ปี เนื่องจากยาวนานเกินไป

 "ระยะสัมปทานที่เหมาะสมน่าจะประมาณ 5 ปี เพราะระยะเวลาที่นานนั้นอาจทำให้เกิดการปล่อยปละละเลยด้านการควบคุมดูแลเอกชน" นางดวงกมลกล่าวและเสนอว่าควรจัดตั้งคณะกรรมการที่ติดตามดูแล และประเมินผลการบริหารพื้นที่ของเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการป้องกันการทำลายธรรมชาติ

แนะเปิดโอกาสต่างชาติลงทุน

 อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจะมีผู้ประกอบการในธุรกิจด้านการท่องเที่ยวสนใจจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มเจ้าของอสังหาริมทรัพย์และโรงแรมในท้องถิ่น รวมทั้งกลุ่มต่างชาติที่สนใจลงทุนด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งน่าจะให้โอกาสกลุ่มทุนต่างชาติดังกล่าวในการเข้ามาสัมปทานภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างจากผู้ประกอบการคนไทย

แอตต้า แนะเฟ้นนักลงทุนรักธรรมชาติ

 นายอภิชาติ สังฆอารี นายกสมาคมไทยธุรกิจ การท่องเที่ยวหรือ แอตต้า กล่าวว่า การที่กระทรวงทรัพยากรฯ จะได้เปิดให้เอกชนร่วมสัมปทานอุทยานแห่งชาติ 10 แห่งเพื่อบริหารจัดการท่องเที่ยวครบวงจรนั้น เชื่อว่าจะเป็นผลดีกับการยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เพราะเอกชนมีความคล่องตัวและความพร้อมด้านเม็ดเงินในการลงทุนและพัฒนาสูง จากที่ผ่านมาคุณภาพการบริการของอุทยานแต่ละแห่งยังมีจุดอ่อนหลายด้าน โดยเฉพาะที่พัก การบริการ อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งทำให้ความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวลดลง

 การเข้ามาสัมปทานของเอกชน อาจต้องมีความระมัดระวังในการพิจารณาเลือกสรรผู้ได้รับสิทธิอย่างเข้มงวดเพื่อไม่ได้กลุ่มนายทุนที่หวังผลตอบแทนด้านตัวเงิน จนลืมต่อยอดการพัฒนาด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 "ภูเก็ต เป็นกรณีที่รัฐบาลต้องมาดูเรื่องการพิจารณาผู้รับสัมปทานให้ถี่ถ้วน ไม่ใช่เข้ามาแล้วต้องการแสวงหากำไรจนเกินไป ทำให้ค่าบริการ อาหาร และสินค้าต่างๆ ถูกดึงราคาขึ้นสูงกว่ามาตรฐาน ทำลายการท่องเที่ยวในที่สุด" นายอภิชาติ กล่าว



จาก             :            กรุงเทพธุรกิจ    วันที่ 25 สิงหาคม 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 01, 2008, 10:52:28 AM

ชำแหละ กม.อุทยาน-สัตว์ป่า เปิดช่องแปลงป่าเป็นทุน หนุนธุรกิจค้าสัตว์

ขณะที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เดินหน้าจัดทำร่าง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.... และร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า พ.ศ.... ขึ้นเพื่อใช้บังคับแทน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 โดยมีกำหนดจัดทำร่างให้เสร็จในเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อส่งต่อร่างให้กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และให้ทันเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนกันยายนนี้  ก็เกิดเสียงคัดค้านจากองค์กรพัฒนาเอกชน  ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง  และเรียกร้องให้กรมอุทยานฯ  ทบทวนเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับมากยิ่งขึ้น

ประเด็นที่องค์กรพัฒนาเอกชนหวาดหวั่นก็คือ   การเกรงกลัวว่ากฎหมายฉบับใหม่นี้จะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการ "แปลงป่าเป็นทุน" และ "เอื้อต่อธุรกิจการค้าสัตว์ป่า"  เนื่องจากพบว่า ร่างกฎหมายทั้ง  2  ฉบับนี้  ได้ทำลายเจตนารมณ์ของกฎหมายเดิมอย่างสิ้นเชิง เปลี่ยนหลักคิดและเจตนารมณ์ของการจัดตั้งพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติทั้งป่าไม้และสัตว์ป่า  ไม่ให้ถูกทำลาย  เปลี่ยนแปลง  หรือถูกรบกวน  ไปสู่การ "เปิดพื้นที่ป่า" เพื่อการท่องเที่ยวอย่างครบวงจรเต็มรูปแบบ  และเปิดช่องทางให้การค้าขายสัตว์ป่าได้ทุกประเภทสามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

ในเวทีสัมมนาเรื่อง "ร่าง  พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.... และร่าง พ.ร.บ.รักษาสัตว์ป่า พ.ศ.... : รักษาหรือแปลงป่าเป็นทุน" จัดโดยมูลนิธิ สืบ นาคะเสถียร ได้วิพากษ์วิจารณ์ พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับอย่างเผ็ดร้อน

ศักดิ์อนันต์  ปลาทอง  อาจารย์จากภาควิชาชีววิทยา  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  แสดงข้อเป็นห่วงต่อมาตราที่สำคัญ  โดยเฉพาะมาตรา  28 มาตรา 38 และมาตรา 40  ว่า  อาจจะส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศในเขตอุทยานแห่งชาติ อาจารย์ศักดิ์อนันต์  บอกว่า  ที่น่าห่วงคือ วิธีการกำหนดเขตตามมาตรา 28 ที่จะแบ่งพื้นที่อุทยานเป็นเขตหวงห้าม  เขตบริการ  และเขตผ่อนปรน  ที่ผ่านมาการแบ่งเขตอุทยานจะทำแผนแม่บทการจัดการอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่ง  ในแผนแม่บทมีการจัดทำเขตการจัดการพื้นที่อิงข้อมูลวิชาการ ทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ  ปัญหา  การใช้ประโยชน์ และอยู่บนพื้นฐานของหลักการจัดทำเขตตามหลักวิชาการ  แต่ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ให้อำนาจแก่หัวหน้าอุทยานและอธิบดีในการกำหนดเขต โดยมีเพียงแค่การรับฟังข้อปรึกษา  และความคิดเห็นจากคณะกรรมการที่ปรึกษาประจำอุทยานแห่งชาติเท่านั้น   ไม่ได้เป็นหลักประกันว่า การกำหนดเขตจะอยู่บนหลักทางวิชาการและผ่านการวิพากษ์วิจารณ์ในทางวิชาการมากพอ
นอกจากนี้  ยังมีมาตรา  38  ที่น่าเป็นห่วง ในแง่การให้ใช้ประโยชน์ในอุทยานแห่งชาติเพื่อการท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติได้ทุกบริเวณถ้ามีเจ้าหน้าที่ไปด้วย  แม้แต่เขตหวงห้าม  ซึ่งเป็นเขตไข่แดง ตามหลักสากลต้องมีการกำหนดพื้นที่ห้ามเข้า  ห้ามใช้ประโยชน์  อาจจะยกเว้นงานวิจัย  เพื่อเป็นพื้นที่คงรักษาสภาพความเป็นธรรมชาติไว้ให้มากที่สุด  แต่  พ.ร.บ.ฉบับนี้กลับเปิดให้การท่องเที่ยวเข้าได้ทุกบริเวณ

อาจารย์ศักดิ์อนันต์  บอกอีกว่า  สิ่งที่น่ากังวลมากอีกประการคือ มาตรา 38 วรรค 3 ที่ว่าด้วยการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยว  หรือที่พักอาศัยชั่วคราวแก่นักท่องเที่ยว และมาตรา 40 ภายในเขตบริการ อธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ  มีอำนาจอนุญาตหรือทำความตกลงผูกพันให้บุคคลเข้าไปลงทุนก่อสร้างเกี่ยวกับการท่องเที่ยวบริการที่พักแรมได้  เขตบริการละไม่เกิน 10 ไร่ คราวละไม่น้อยกว่า 5  ปี  แต่ไม่เกิน  30  ปี  มาตรานี้เปิดกว้างมากเกินไป อุทยานหนึ่งอาจจะมีเขตบริการได้เป็น 100 แห่งก็ได้  เป็นการอนุญาตให้เอกชนรายใหม่เข้ามาดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ง่ายขึ้น  ไม่ได้แก้ปัญหาที่ชาวบ้านยึดพื้นที่ให้บริการนักท่องเที่ยวอยู่ก่อนหน้านี้  แต่เท่ากับเปิดพื้นที่ใหม่เป็นเขตบริการ  และให้เอกชนเข้ามาสร้างรีสอร์ทและทำกิจกรรมการท่องเที่ยวได้อย่างถูกกฎหมาย   
   
"ผมทำนายได้เลยจะมีแต่เอกชนรายใหญ่เพียงไม่กี่รายเข้ามาได้ผลประโยชน์" อาจารย์ศักดิ์อนันต์กล่าว

อย่างไรก็ตาม  เขาเสนอถึงแนวทางที่ควรจะเป็นว่า เขตอุทยานไม่จำเป็นต้องส่งเสริมการมีที่พักแบบสะดวกสบาย  หรือการกินที่หรูหรา   ถ้านักท่องเที่ยวอยากพักแบบสะดวกสบายน่าจะให้ใช้บริการสถานประกอบการของเอกชนที่อยู่โดยรอบอุทยานหรือพื้นที่ใกล้เคียง  ยังเป็นการสร้างรายได้  สร้างงานให้กับชาวบ้านที่อยู่รอบอุทยาน  ไม่เกิดความรู้สึกว่าอุทยานเปิดรีสอร์ทให้ภาคเอกชนมาลงทุนแข่งกับชาวบ้าน    อยากตั้งข้อสังเกตระยะเวลาให้เอกชนเข้าดำเนินการ คือ ไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปี ถือเป็นการผูกขาดการหาผลประโยชน์ในเขตอุทยานแห่งชาติเกือบจะถาวร

นอกจากนี้ อาจารย์ศักดิ์อนันต์ยังวิพากษ์ว่า ร่าง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.... ไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเลตามหลักสากล  และที่ผ่านมามีข้อจำกัดในการใช้กฎหมายอุทยานกับพื้นที่ทางทะเล    เนื่องจากพื้นที่ทะเลมักมีชาวบ้านทำการประมงอยู่ดั้งเดิม ส่วนใหญ่จะคุ้มครองทะเลในรูปแบบการจัดการเพื่อการใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย มากกว่าใช้กฎหมายอุทยานแห่งชาติ   ตนเสนอว่าภายใต้ พ.ร.บ.ฉบับนี้อาจจะกำหนดเขตทะเลที่ไม่มีระบบนิเวศที่สำคัญเป็นเขตผ่อนปรน
ท่ามกลางสถานการณ์การค้าสัตว์ป่าที่รุนแรง   และในไทยมีสัตว์ถูกคุกคามและใกล้สูญพันธ์ถึง  233 ชนิด 

รศ.ดร.สมโภชน์  ศรีโกสามาตร  อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล   กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าฉบับใหม่ว่า  เป็นการร่างกฎหมายที่ไม่อยู่ในความเป็นจริง  ณ ปัจจุบัน ถือว่าเก่าและล้าสมัยตั้งแต่เริ่มต้น  เนื่องจากภัยคุกคามสัตว์ป่าเปลี่ยนแปลงไปแล้ว โดยเฉพาะที่จีนมีการหลอมรวมธุรกิจการค้าสัตว์ป่าผ่านสวนสัตว์  ฟาร์มเลี้ยงสัตว์   ร้านขายผลิตภัณฑ์สัตว์ป่า  ธุรกิจยาจีนแผนโบราณ และการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งเดียวกัน ขณะที่ธุรกิจสวนสัตว์โลกขยายตัว ความต้องการสัตว์เด่นและเป็นๆ  ขยายตัว  ของที่มีขายไม่พอกับความต้องการซื้อ   หาทุกช่องทางเพื่อให้ได้สัตว์  ทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย นี่คือภัยคุกคาม

รศ.ดร.สมโภชน์   เปิดประเด็นว่า จีนเป็นเครื่องจักรที่สำคัญในการเกิดระบบจัดหาสินค้าสัตว์ป่าหรือเป็น  supply  chain  เพื่อสนองต่อการบริโภคสัตว์ป่าอย่างเสือ หมี มีฟาร์มเสือที่เมืองจีน  5 แหล่งใหญ่  โดยเชื่อมโยงกับโรงงานทำไวน์เสือ  ในปี  47-48  พบว่า ในฟาร์มมีเสือ 750 ตัว 1,300  ตัวก็มี  บางฟาร์มมี 300 ตัว โดยมีการขยายตัวของตลาดตั้งแต่ปี  48 ที่เกาะไหหลำ เมืองจีน มีการสร้างสต็อกเสือ  แผนที่วางไว้ คือ  เสือ  100 ตัว ปี 45 และ 400 ตัว ในปี 48 ถ้าเพิ่มเป็น 500 ตัว รัฐบาลจีนจะอนุมัติว่าจะทำอะไรต่อไป สวนเสือ ฟาร์มเสือ หรือยาจีนแผนโบราณที่ใช้เสือ

เขายังให้ข้อมูลเกี่ยวกับสวนสัตว์ในฐานะตัวจักร   ที่ทำทุกวิถีทางในการใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าด้วยว่า  สวนสัตว์และธุรกิจสวนสัตว์ขยายตัว ปัญหาคือการทดแทนสัตว์เด่นที่ดึงดูดประชาชนจากการเพาะเลี้ยงของสวนสัตว์ไม่เพียงพอ   จึงมีการเสาะหาช่องทางเพื่อให้ได้สัตว์เด่นและดึงดูดที่เป็นองค์ประกอบของธุรกิจสวนสัตว์  และเป็นที่มาของการกำเนิดของบริษัทที่ปรึกษาทำให้ได้สัตว์ที่อาจจะผิดกฎหมาย  แต่ทำให้ถูกกฎหมายได้  แล้วยังมีการเชื่อมโยงของธุรกิจสวนสัตว์กับธุรกิจอื่นๆ และรัฐ

"ไทยเองมีปัญหาการจัดการสัตว์ป่า ทั้งกำลังคนที่รู้เรื่องสัตว์ป่าน้อย ทีมงานอ่อนแอ วิชาการอ่อนแอ  ขาดการทดลองการนำร่อง กฎหมายเป็นเครื่องมือหนึ่งในการแก้ปัญหาสัตว์ป่าที่เปลี่ยนแปลง ผมตั้งคำถามว่า  พ.ร.บ.สัตว์ป่าใหม่ได้นำประเด็นใหม่เรื่องการคุกคามสัตว์ป่ามาเป็นตัวตั้งหรือไม่ หรือเอาประเด็นเดิมๆ มาตั้ง คำถามต่อมา พ.ร.บ.สัตว์ป่าใหม่ได้นำประเด็นใหม่เรื่องความอ่อนแอของระบบการจัดการพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์มาพิจารณาหรือไม่  หรือแค่คัดลอกระบบบริหารจัดการจากประเทศอื่น   เช่น  แอฟริกาใต้   ซึ่งไม่เข้ากับบริบทของไทย"  รศ.ดร.สมโภชน์กล่าว และระบุว่าสองประเด็นใหญ่นี้เป็นเรื่องท้าทายของนักกฎหมายไทยที่จะสร้างงานชิ้นโบแดงเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าไทยโดย   พ.ร.บ.สัตว์ป่าใหม่ต้องตอบปัญหาดังกล่าวต่อสังคมไทย

อีกเสียงที่ยืนยันคัดค้านร่าง   พ.ร.บ.ส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าฉบับใหม่   น.พ.รังสฤษฎ์  กาญจนะวณิชย์   จากสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย  โดยให้เหตุผลว่า  ธุรกิจค้าสัตว์ป่ามีมูลค่าหลายหมื่นล้านต่อปี   ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าใหญ่อันดับ   2  ของโลก   เราอ่อนอยู่แล้วเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย   ถ้าออกกฎหมายอ่อนเข้าไปอีกจะเกิดปัญหามาก  พบว่าร่างกฎหมายนี้มีช่องโหว่เยอะ การให้เอกชนเพาะพันธุ์สัตว์ป่าได้จะกลายเป็นช่องทางนำสัตว์ป่ามาสวมรอยในบัญชีเพาะเลี้ยงและสร้างภาระในการพิสูจน์มาก  ที่สำคัญการเพาะเลี้ยงจำนวนมากก็ไม่ได้เป็นฟันเฟืองในระบบนิเวศ สถานการณ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าไทยกำลังวิกฤติต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ  กฎหมายเป็นฟางเส้นสุดท้าย ถ้าออกมาปลิดชีวิตก็จบ เราไม่มีเวลาลองผิดลองถูกแล้ว
สุรพล  ดวงแข  สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  เป็นอีกคนหนึ่งที่แสดงความคิดเห็นถึงความขาดตกบกพร่องของ   พ.ร.บ.สัตว์ป่าฉบับใหม่นี้  เขาแสดงความเป็นห่วงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์ป่า   โดยยืนยันว่า   จนถึงขณะนี้ไทยยังเป็นศูนย์กลางค้าสัตว์ป่า  การทำลายสัตว์ป่าไม่ลดลง  กลับซับซ้อน และเข้าใจยากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นธุรกิจมืดที่แอบแฝงอยู่ในรูปแบบการค้าสัตว์เลี้ยงบ้าง  ทำร้านอาหารบ้าง โดยการลักลอบค้าสัตว์เกิดขึ้นเมื่อมีการสั่งซื้อเท่านั้น บ้านเรากลไกตรวจสอบไม่ก้าวหน้า  กลับออกกฎหมายส่งเสริมธุรกิจค้าสัตว์  เป็นผลกระโยชน์แบบผูกขาด  นอกจากเป็นกฎหมายที่ไม่แก้ปัญหาแล้ว ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอีกมากมาย

พิสิษฐ์  ชาญเสนาะ  นายกสมาคมหยาดฝน  แสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการชุมชนภายใต้ร่าง  พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับว่า  ในภาพใหญ่ไม่เห็นว่าชาวบ้านจะได้ประโยชน์จากกฎหมายใหม่  และความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับภาครัฐยังดำรงอยู่  ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ใหม่นี้ไม่ได้ชี้ว่าจะลดความขัดแย้งได้อย่างไร  จะเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้อย่างไร เห็นว่า กฎหมายก็คงไม่เป็นยอมรับ อาจจะเป็นปรปักษ์กันด้วยซ้ำ  ที่สำคัญเห็นว่า  เนื้อหาในร่างกฎหมายทั้ง  2  ฉบับ  ถ้าใช้บังคับจะละเมิดสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญอย่างรุนแรง ต้องปรับปรุงแก้ไขโดยเร่งด่วน เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง

ในช่วงท้ายของการสัมมนา   มนู   ทองศรี  ผู้อำนวยการกองนิติการ  กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช   กล่าวว่า การปรับปรุงร่างกฎหมายทั้งสองฉบับ กรมอุทยานฯ ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี  2548 และยึดหลักการเดิมให้อนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง ดูแลรักษาป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ  ตลอดจนระบบนิเวศให้อยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม  ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.สัตว์ป่าใหม่หลักการมุ่งส่งเสริมอนุรักษ์สัตว์ป่า  แม้ไม่ห้ามเพาะพันธุ์    แต่เข้มงวดเรื่องการล่าและการค้าสัตว์ป่า  โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของสัตว์ป่า เวลานี้อยู่ในขั้นตอนปรับปรุงแก้ไขร่างให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2550  และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปี   2550-2554   รวมถึงในหลายมาตรามีการปรับแก้เมื่อถูกทักท้วง  อย่างไรก็ตาม  ด้วยกรอบด้านเวลาต้องแก้ให้เสร็จในเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อที่จะส่งต่อให้กับทาง  ทส.  และเสนอคณะรัฐมนตรีภายในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งไม่สามารถชะลอไว้ได้ตามที่กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนเรียกร้อง แต่ยืนยันว่าร่างที่แก้เสร็จแล้วจะเผยแพร่สู่สาธารณชนต่อไป.



จาก            :         ไทยโพสต์  คอลัมน์สิ่งแวดล้อม    วันที่ 3 สิงหาคม 2551 


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 01, 2008, 10:54:33 AM

พรบ. ฉบับใหม่ : รักษา? หรือ แปลงป่าให้เป็นทุน?

(http://www.thaingo.org/images3/greenmap.gif)

หากเราต้องการทราบว่าป่าไม้ในประเทศไทยมีสภาพเช่นไร ในยุคข้อมูลข่าวสารเช่นนี้ภาพถ่ายทางดาวเทียมคงหาดูได้ไม่ยาก สีเขียวๆ ในกรีนแมพ (Green Map) ที่เราเห็น คือบริเวณที่มีสภาพเป็นผืนป่า พิจารณาพื้นที่สีเขียวในประเทศไทยจะพบว่ามีปริมาณที่น้อยมาก และชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในแถบภูมิภาคเดียวกันอย่างลาว พม่า หรือกัมพูชา ที่ปริมาณสีเขียวยังมีความหนาแน่นสูง ส่วนสีเขียวที่เรามีกลับกระจายตัวอยู่เป็นหย่อมๆ นั่นแสดงให้เห็นถึงทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทยมีปริมาณลดน้อยถอยลงอย่างน่าใจหาย

ที่สำคัญพื้นที่สีเขียว หรือพื้นที่ที่มีสภาพป่าที่เรากล่าวถึง มีอยู่ในฉพาะเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแทบทั้งหมด เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่นอกเขตอุทยานถูกแปรสภาพเป็นพื้นที่เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและพื้นที่อื่นๆ ไปหมดแล้ว ดังนั้นผืนป่าอุทยานแห่งชาติ หรือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่มีอยู่ จึงเป็นป่าผืนเดียวกับที่คนไทยทั้งประเทศมีและใช้ประโยชน์ร่วมกัน

เมื่อร่างพรบ.ฉบับใหม่ คือ “ร่าง พรบ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ....... และ ร่างพรบ. ส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า พ.ศ......” ทั้ง 2 ฉบับ ออกมาสู่สาธารณชน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม เอ็นจีโอ และหน่วยงานที่มีส่วนได้เสียต่อร่างพรบ. ฉบับดังกล่าว ก็ออกมาแสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นเรื่องที่จะส่งผลกระทบต่อคนทั้งประเทศด้วย ขณะนี้อยู่ในกระบวนการขั้นสุดท้ายแล้ว ก่อนจะมีการนำเสนอเข้าสู่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาและนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรีในช่วงปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 หากผ่านความเห็นชอบก็จะถูกนำมาบังคับใช้แทนฉบับเดิม คือ พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และพรบ.สงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ต่อไป

ความคิดเห็นต่อร่างพรบ.ฉบับดังกล่าวหลักๆ มีอยู่ 2 กระแส คือ 1. ฝ่ายทุน ที่มองว่าป่าไม้มีไว้ใช้ประโยชน์ในแง่อื่นๆ ที่ไม่ใช่เพียงแค่การอนุรักษ์ ต้องการมีรายได้จากผืนป่า เปิดป่าให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ มีรายได้จากนักท่องเที่ยว ในขณะที่อีกฝ่ายกลับมองว่า เราได้น้ำ อากาศบริสุทธิ์จากป่าไม้ แล้วทำอย่างไรถึงจะอนุรักษ์ผืนป่าที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดไว้ให้ลูกหลานในอนาคตได้

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมา มูลนิธิสืบนาคะเสถียรได้จัดงานสัมมนา ต่อร่างพรบ.ทั้ง 2 ฉบับ ในหัวข้อที่ว่า “รักษา หรือ แปลงป่าให้เป็นทุน” โดยระดมความคิดเห็น จากเอ็นจีโอ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีนักกฎหมายจากกองนิติกรกรมอุทยานแห่งชาติ เป็นผู้ร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ด้วย

ประเด็นหลักๆ ใน ร่างพรบ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ....... และร่างพรบ. ส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า พ.ศ...... ที่นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมมีความกังวล คือ 1) เจตนารมณ์ของกฎหมายใหม่ มีไว้เพื่อคุ้มครองรักษาสัตว์ป่า ทรัพยากรธรรมชาติ ตามหลักเจตนารมณ์เดิม หรือไม่ 2) ปัญหาจากการแก้ไขกฎหมาย ไปสู่การเปิดพื้นที่ป่าเพื่อการท่องเที่ยวอย่างครบวงจรเต็มรูปแบบ และการเปิดช่องทางการค้าขายสัตว์ป่าได้ทุกประเภท และสามารถดำเนินการได้โดยไม่ผิดหลักกฎหมาย

ร่างพรบ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ..... และร่างพรบ. ส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า พ.ศ. ..... ได้มีการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นเขตหวงห้าม เขตบริการ และเขตผ่อนปรน กรณีในเขตอุทยานแห่งชาติ หรือ แบ่งเป็น เขตหวงห้าม เขตศึกษาธรรมชาติ และ เขตผ่อนปรน ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

- เขตผ่อนปรน (ม. 39) สามารถใช้ประโยชน์ได้เท่าที่จำเป็น ศึกษาวิจัยทางวิชาการ ท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติ ถ่ายทำภาพยนตร์ วีดีทัศน์ สารคดี

- เขตบริการ (ม.38 (1) ) สำรวจ ศึกษาวิจัย หรือทดลองทางวิชาการ (ม.38 (2) ) ท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติ (ม.38 (3) ) การให้การบริการ เพื่อการท่องเที่ยวหรือ พักอาศัยชั่วคราวแก่นักท่องเที่ยว (ม.38 (4) ) ถ่ายทำภาพยนตร์ วีดิทัศน์ สารคดี และถ่ายภาพ

- เขตหวงห้าม การสำรวจศึกษาวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือหน่วยงานภาครัฐ (ม.37) การท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติที่อยู่ในความควบคุม ดูแลของเจ้าหน้าที่อุทยาน อย่างใกล้ชิด


คุณศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร แสดงทรรศนะต่อการแบ่งเขตุอุทยานดังกล่าวว่า ขัดแย้งกับหลักการจัดการพื้นที่อุทยานในทางวิชาการทั่วไป โดยขาดการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนในกฎหมาย ว่าพื้นที่ลักษณะใดต้องเป็นเขตหวงห้ามเท่านั้น พื้นที่ลักษณะใดสามารถกำหนดให้เป็นเขตบริการ หรือเขตศึกษาธรรมชาติ หรือผ่อนปรนได้ รวมทั้งเมื่อพิจารณาจากข้อกฎหมายแล้วจะพบว่า แม้จะมีการแบ่งเขตต่างๆ จริง แต่กฎหมายก็ยังให้อำนาจการตัดสินใจอยู่กับเจ้าหน้าที่ในเขตอุทยานนั้นๆ ท้ายที่สุดนักท่องเที่ยวก็จะสามารถเข้าถึงได้ทุกพื้นที่ของอุทยาน

นอกจากนี้ยังแสดงความกังวลในเขตบริการ ที่มีการอนุญาตให้เอกชนเข้าไปลงทุนสร้างสิ่งปลูกสร้างใดๆ เพื่อดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และการบริการที่พักแรมได้เขตบริการละ 10 ไร่ คราวละไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปี โดยพิจารณาเปรียบเทียบผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับกับความเสียหายของอุทยาน ว่าเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนมากเกินไป

(http://www.thaingo.org/images3/forest-semina3.jpg)

ด้าน นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ความเห็นในเรื่องเดียวกันว่า การดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว กำหนดให้เอกชนลงทุนคราวละไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปี นั้น ในแง่นักลงทุนต้องเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ใช้เวลาคืนทุนหลายปี ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จึงตกแก่กลุ่มนายทุนมากกว่า อีกทั้งมองว่า พื้นที่สำหรับทำกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวระบุไว้ไม่เกินเขตบริการละ 10 ไร่ แต่ในกฎหมายไม่ได้ระบุว่า อุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งจะมีเขตบริการกี่เขต

นอกจากนี้ยังมีความกังขาว่า ใครเป็นผู้แบ่งเขตแดนดังกล่าว คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ หรือ คณะกรรมการที่ปรึกษาประจำอุทยานแห่งชาติ แต่ที่ตนมองว่าเป็นไปได้มากที่สุดคือ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ โดยผ่านการเสนอต่ออธิบดีออกเป็นประกาศ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติโดยความเห็นชอบของอธิบดี อนุญาตให้เอกชนรายใหม่เข้ามาดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ง่ายขึ้น ไม่ได้เป็นการบรรเทาปัญหาเดิมจากการที่ชาวบ้านเข้ามายึดพื้นที่ให้บริการนักท่องเที่ยว แต่เท่ากับการเปิดพื้นที่ใหม่ ให้เอกชนรายใหม่ เข้ามาสร้างรีสอร์ท และทำกิจกรรมการท่องเที่ยวได้อย่างถูกกฎหมาย พร้อมให้ข้อเสนอแนะว่า อุทยานไม่จำเป็นต้องส่งเสริมการมีที่พักที่ทันสมัย สะดวกสบาย หากมีความจำเป็นควรให้มีอยู่รอบนอกอุทยานจะสามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชน ที่อยู่รอบนอกอุทยานมากกว่า ทั้งนี้รัฐไม่ควรมองแต่ผลประโยชน์ที่กรมอุทยานแห่งชาติ หรือ อุทยานแห่งชาตินั้นๆ จะได้รับ เป็นค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียว หากการที่ผลประโยชน์จากการเช่าที่พัก ร้านค้าอาหาร และกิจการการท่องเที่ยวตกอยู่กับชาวบ้านรอบนอกอุทยานแห่งชาติก็นับว่าเป็นผลประโยชน์แก่ประเทศชาติเช่นเดียวกัน ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนแข่งขันกับชาวบ้าน

หากพิจารณาผลในระยะยาว จะพบว่า อุทยานแห่งชาติจะไม่สามารถควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยว และการใช้ประโยชน์จากนักท่องเที่ยวได้ เนื่องจากเอกชนจะดำเนินกิจการโดยหวังผลกำไรเป็นที่ตั้งอยู่แล้ว

ส่วนในเรื่องอื่นๆ เช่นการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ไม่ได้มีความชัดเจนแต่ประการใด

คุณสุกรานต์ โรจนไพรวงศ์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า การปรับเปลี่ยนกฎหมายตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็น หากการเปลี่นแปลงนั้นนำไปสู่ด้านที่ดีขึ้น โดยหลักใหญ่ใจความต้องเน้นในเรื่องการอนุรักษ์ และคำนึงถึงหลักความสมดุล หากมีความต้องการใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจจากป่า ว่าใช้ทรัพยากรได้เท่าที่ศักยภาพของผืนป่าจะพื้นฟูทดแทนได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม แต่จากการพิจารณาร่างทั้งสองฉบับพบว่า กฎระเบียบข้อห้ามต่างๆ มีน้อยเกินไป โดยเนื้อหากฎหมายไม่ได้ถูกเขียนไว้เพื่อการอนุรักษ์แต่อย่างใด

แม้จะมีบางมาตราที่ได้ระบุข้อห้ามเอาไว้ แต่มาตราต่อมาก็จะมีการข้อความระบุการยกเลิกข้อห้ามนั้นๆ เช่นอะไรที่ห้ามเอาไว้เมื่อถึงภาวะฉุกเฉินก็สามารถทำได้ หรือเพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวกสามารถทำได้ เป็นไปในลักษณะถ้าคุณสร้างความเสียหาย คุณมีเงินคุณก็สามารถจ่ายได้ ตามหลักการใครก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย นักวิชาการมองว่าร่างดังกล่าว ถูกเขียนขึ้นเพื่อระบุวาเราสามารถทำอะไรได้บ้างในอุทยานนั้นๆ มากกว่า

อีกทั้งการให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่อุทยานมากเกินไปก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความกังวลใจ เช่นการที่กฎหมายระบุไว้อย่างชัดเจนว่า นักท่องเที่ยวทำอะไรได้บ้างในที่ที่มีเจ้าหน้าที่อยู่ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ในการจัดการ แสดงว่าเจ้าหน้าที่ก็สามารถกระทำการใดๆ เองได้ทั้งหมด

ด้าน นายมนู ทองศรี ผู้อำนวยการกองนิติกร กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ฝ่ายนำเสนอร่างพรบ. ทั้ง 2 ฉบับ ได้แย้งว่า ข้อมูลร่างพรบ. ที่นำมาใช้ในการสัมมนาในวันนี้ยังเป็นฉบับเก่า เนื่องจากทางคณะผู้ร่างได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขไปแล้วในบางส่วน เช่นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวระบุไว้ไม่เกินเขตบริการละ 10 ไร่ ให้มีการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว กำหนดให้เอกชนลงทุนคราวละไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปี แต่ร่างฉบับปรับปรุงแก้ไขข้อความดังกล่าวยังมิได้นำมาเผยแพร่ ทั้งนี้การร่างพรบ. ไม่ได้กำหนดขึ้นมาอย่างหลักลอย แต่อยู่ภายใต้ 3 หลักการ คือสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ รับกับโครงสร้างเศรษฐกิจ และลดละเลิก ขั้นตอนต่างๆ ให้ง่ายต่อการปฏิบัติการ

นอกจากนี้ยังระบุว่า พรบ.ฉบับดังกล่าวเป็นการลดปัญหาการประกาศพื้นที่ทับซ้อนกับชาวบ้าน บริเวณโดยรอบอุทยานให้มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรอีกด้วย

อย่างไรก็ตามผู้อำนวยการกองนิติกรก็ประกาศว่าพร้อมเปิดรับฟังทุกข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว โดยฝากให้ทั้งนักวิชาการ และเอ็นจีโอ รวบรวมข้อทักท้วง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ส่งมาที่กรม เพื่อเป็นอีกหนึ่งแนวทาง ก่อนจะนำเสนอเข้าสู่กระทรวงต่อไป

โดยทางมูลนิธิสืบสาคะเสถียรเสนอตัวที่จะเป็นผู้คอยติดตามสถานการณ์ และความเคลื่อนไหวใน พรบ. ฉบับนี้กับกรมอุทยานแห่งชาติ อย่างใกล้ชิด



จาก             :            www.ThaiNGO.org      วันที่ 6 สิงหาคม 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ กันยายน 01, 2008, 11:30:00 AM

ละเอียดดีจังค่ะ.....อาจารย์บอย

ขอให้อาจารย์ทราบว่าพวกเราชาว sos  จะอยู่เคียงข้างอาจารย์และผู้คัดค้านท่านอื่นๆตลอดไปค่ะ....


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Bluefin ที่ กันยายน 02, 2008, 08:30:25 AM
 :'( :'( โครงการแปลงป่าเป็นทุนนักการเมือง แปลงที่สาธารณะเป็นที่ตัว แปลงสมบัติชาติไว้หาประโยชน์  :-X :-X ทำไมชาติบ้านเมืองเรามีแต่นักการเมืองแบบนี้  :'( :'( จ้างม็อบมาชนม็อบประชาชน ข่มขู่สื่อ นายกก็ทำเป็นทองไม่รู้ร้อนบนความเดือดร้อนของประชาชน... :'( :'( ต่อๆไปลูกหลานเราคงไม่เหลือแผ่นดินเป็นแน่  :'( :'(


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 03, 2008, 01:18:14 AM

เปิดอุทยาน ฯ สัมปทานมรดกของชาติ  (2)                                    :                               วินิจ รังผึ้ง

(http://pics.manager.co.th/Images/551000011212601.JPEG)

       ผมเขียนเรื่องเปิดอุทยานสัมปทานมรดกของชาติไปตอนหนึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วแต่ยังมีประเด็นที่อยากจะนำเสนอจึงจะขอนำเสนอต่ออีกสักหน่อย อย่างที่กล่าวมาเมื่อตอนที่แล้วว่า ทางผู้บริหารกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีโครงการจะเปิดให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานบริหารพื้นที่บริการในเชิงธุรกิจครบวงจร เช่นทำที่พัก ร้านอาหาร ร้านค้าของที่ระลึก และบริการท่องเที่ยวต่างๆเป็นการนำร่อง จำนวน 10 อุทยานฯระยะเวลาสัมปทานยาวนานถึง 30 ปีเลยทีเดียว และค่าสัมปทานก็แสนถูกเพียงตารางเมตรละ 30 บาทต่อเดือน นั่นยังมีการต่อรองจากเอกชนกันลงมาเหลือเพียงตารางเมตรละ 3 บาทเท่านั้น โดยใน 10 อุทยานดังกล่าวล้วนเป็นอุทยานแห่งชาติยอดนิยมที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งนั้น ปีหนึ่งมีนักท่องเที่ยวรวมกันนับล้านคน มีรายได้กว่า 160 ล้านบาทในปี 2550 ที่ผ่านมา
       
       จากข้อมูลเบื้องต้นเมื่อพยายามมองในมุมของผู้บริหารกรมอุทยานฯ ที่พยายามผลักดันนโยบายให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานเช่าพื้นที่ระยะยาวโดยให้เหตุผลว่าต้องการจะหารายได้เพื่อนำไปสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจในการดูแลรักษาพื้นที่อุทยานฯที่กว้างใหญ่ไพศาล ซึ่งงบประมาณและกำลังพลในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอ ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ฟังดูเบาหวิว เพราะแม้จะเพิ่มค่าเช่าอีกเท่าตัวเป็นตารางเมตรละ 60 บาทต่อเดือนก็จะเป็นรายได้เพียงสักเท่าไหร่ ในขณะที่ผลประโยชน์ของภาคเอกชนจะมากมายมหาศาลเพียงใด หากได้เข้าไปผูกขาดสัมปทานในอุทยานแห่งชาติชั้นนำของเมืองไทย ลองหลับตานึกดูว่าหากเอกชนรายหนึ่งรายใดได้สัมปทานอุทยานแห่งชาติอย่างหมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะที่สวยงามบริสุทธิ์เป็นแหล่งดำน้ำที่สวยงาม 1 ใน 10 ของโลก ซึ่งกำลังจะมีการเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนั้น เอกชนรายดังกล่าวจะได้ผลประโยชน์มหาศาลเพียงใด ในขณะเดียวกันหมู่เกาะอันแสนบริสุทธิ์แห่งนี้จะมีสภาพเช่นใด อาจจะมีเตียงผ้าใบ มีร่มชายหาดไปตั้งเรียงรายให้นักท่องเที่ยวเช่านอนกันเต็มหาดก็เป็นได้ และก็มีกระแสข่าวว่ามีเอกชนบางกลุ่มถึงขนาดออกแบบเขียนแปลนก่อสร้างบ้านพักแบบรีสอร์ทสวยหรูบนชายหาดอันขาวบริสุทธิ์ของหมู่เกาะสิมิลัน และบริเวณเกาะตาชัยไว้แล้ว นั่นยังไม่รวมหมู่เกาะสุรินทร์ที่เตรียมจับจองเตรียมจะเข้ามาทึ้งมรดกของชาติมรดกของประชาชนคนไทยด้วยแล้วเช่นกัน
       
       หากจะอ้างกันว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ ทางอุทยานแห่งชาติก็มีระเบียบในการเปิดให้เอกชนเข้าไปดำเนินการให้บริการในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกันอยู่แล้ว หรือไม่เช่นนั้นก็มีการแอบแสวงหาประโยชน์ในลักษณะคล้ายๆกับการรับสัมปทานการจัดบริการในเขตอุทยานฯกันอยู่แล้วเช่นบริการร้านอาหารบนเกาะ ร้านค้าของที่ระลึกในแต่ละอุทยานฯ ทางกรมอุทยานฯจึงพยายามจะจัดระบบและยกระดับการบริการให้มีมาตรฐานโดยการเปิดสัมปทานให้เอกชนเข้ามารับช่วงบริการอย่างเป็นทางการเสียเลย ซึ่งหากจะอ้างเหตุผลเช่นนั้นก็ต้องถามว่า ทุกวันนี้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เข้าไปท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาตินั้นเขาเข้าไปเพราะต้องการใช้บริการที่พักที่หรูหราสะดวกสบาย ต้องการไปใช้บริการร้านอาหารดี ๆ หรือต้องการไปสัมผัสบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติอันแสนบริสุทธิ์มากกว่ากัน
       
       ในส่วนของมาตรฐานการให้บริการนั้น ความจริงก็น่าเห็นใจทางเจ้าหน้าที่อุทยานฯเพราะเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ก็มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาป่ารักษาพื้นที่มากกว่าความเชี่ยวชาญในภาคบริการทั้งหลาย แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็สามารถจะแก้ปัญหาได้ด้วยการบริหารจัดการ โดยอาจจะจ้างผู้เชี่ยวชาญในการให้บริการมารับหน้าที่ดำเนินการ แต่อย่างไรก็ควรจะต้องดำเนินการโดยอุทยานฯไม่ใช่ให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานผูกขาดแสวงหาผลประโยชน์อย่างที่กำลังจะเป็น
       
       อย่างไรก็ตามผมอยากจะเสนอแนวคิดในการปรับมาตรฐานการบริการของอุทยานแห่งชาติก่อนที่จะยกไปให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานผูกขาดระยะยาว โดยทางกรมอุทยานฯน่าจะลองทำโครงการอุทยานแห่งชาติต้นแบบ หรืออุทยานแห่งชาติตัวอย่างขึ้นมา โดยอาจจะคัดเลือกอุทยานแห่งชาติยอดนิยมสัก 3 แห่งมาเป็นต้นแบบในการพัฒนา โดยเลือกอุทยานแห่งชาติในลักษณะต่างๆ เช่นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติทางทะเลอีกสักแห่งอาจจะเป็นอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันก็ได้ แล้วลองทุ่มเทสรรพกำลังของนักวิชาการอุทยานฯ รวมทั้งผู้บริหารของกรมฯ ออกแบบอุทยานแห่งชาติในฝันขึ้นมา แล้วทุ่มเทงบประมาณลงไปเพื่อให้มีมาตรฐานทั้งในเรื่องศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ที่พัก ค่ายพักเยาวชน ลานกางเต็นท์ ร้านอาหารมาตรฐานไม่ใช่ร้านขายเหล้าขายเบียร์อย่างที่เป็นอยู่ในบางอุทยานฯ จัดระบบดูแลความปลอดภัยและมาตรการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวยามฉุกเฉิน รวมทั้งบริการกิจกรรมนำเที่ยวในพื้นที่อุทยานฯที่ได้มาตรฐานและเป็นมืออาชีพ เช่นมัคคุเทศก์นำทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ นำทางดูนก ล่องแก่ง จักรยานเสือภูเขา โดยมีบุคลากรที่สามารถสื่อสารและให้บริการได้ทั้งกับนักท่องเที่ยวคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ตลอดจนทำระบบการสื่อสารการสั่งจองบริการให้สะดวกสบายได้จากทั้งในประเทศและนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเหมือนเช่นอุทยานแห่งชาติระดับสากล เมื่อพัฒนาอุทยานต้นแบบนำร่องได้มาตรฐานเช่นนี้แล้ว จะมีการปรับราคาค่าธรรมเนียม ค่าบริการให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อให้เลี้ยงตัวเองได้หรือเป็นรายได้นำไปปรับปรุงมาตรฐานบริการในส่วนอื่นๆของอุทยานฯ ก็คงจะไม่มีใครปฏิเสธ
       
       หากโครงการอุทยานแห่งชาติต้นแบบนำร่องนี้ประสบผลสำเร็จ ก็จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงอุทยานแห่งชาติอื่นๆให้มีมาตรฐานยิ่งๆขึ้นไปอีก ซึ่งก็น่าจะดีกว่าการเปิดให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานอุทยานฯยอดนิยมทีเดียว 10 แห่งโดยมีระยะเวลายาวนานถึง 30 ปี ซึ่งหากมีความผิดพลาด มีความล้มเหลวเกิดขึ้น ก็เป็นเรื่องที่ยากจะเยียวยาแก้ไข หรือคนไทยต้องจำกล้ำกลืนผืนทนไปถึง 30 ปี จำเป็นแล้วหรือที่จะต้องนำเอาสมบัติชิ้นเยี่ยมของชาติ สมบัติร่วมกันของประชาชนคนไทยทุกคน ไปสุ่มเสี่ยง ไปเป็นเครื่องทดลอง หากมีทางเลือกขอให้ใช้มาตรการอย่างอื่นเถอะครับ




จาก                          :                    ผู้จัดการออนไลน์     วันที่ 2 กันยายน 2551 


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 03, 2008, 01:21:09 AM

อุทยานฯอ้างเอกชนเช่าพื้นที่ ไม่ล้ำเขตอนุรักษ์

(http://pics.manager.co.th/Images/551000011219401.JPEG)

      ความคืบหน้ากรณีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอนโยบายเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ล่าสุด ไพศาล กุวลัยรัตน์ รักษาการอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ ได้กล่าวในสัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวว่าคณะกรรมการกำลังศึกษาว่าอุทยานฯไหนบ้าง จะมีความเป็นไปได้
       
       โดยเบื้องต้นจะดูรายละเอียดจากแผนแม่บทของแต่ละอุทยานฯ แต่ยังไม่มีรายละเอียดการประกาศพื้นที่บริการเพื่อให้เอกชนขอใช้ประโยชน์ได้ แม้ว่าที่ผ่านมากรมอุทยานฯ จะมีระเบียบกรมอุทยานฯปี2547 ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าไปดำเนินกิจการท่องเที่ยวและพักอาศัยในอุทยานได้แล้วก็ตาม ทั้งนี้ขั้นตอนต่างๆ ยังคงต้องรอร่าง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ....ผ่านการพิจารณาจากกฤษฎีกาก่อนด้วย
       
       นายไพศาลกล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวอุทยานแห่งชาติเพิ่มขึ้นจาก 16 ล้านคนเป็น17ล้านคนต่อปี ดังนั้นนักท่องเที่ยว 1 ล้านคนที่เพิ่มขึ้นก็ต้องหาพื้นที่รองรับเพื่อไม่ให้เกินขีดความสามารถที่รองรับได้
       
       โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติทางทะเล และอุทยานที่มีชื่อเสียงมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปจำนวนมาก กรมอุทยานฯก็ต้องศึกษาแนวทางเอาไว้ก่อน แต่พื้นที่ที่จะนำมาจัดโซนบริการต้องดูความเหมาะสมด้วย เช่น ต้องไม่เป็นป่าต้นน้ำ ไม่เป็นถิ่นของสัตว์และพืชหายาก
       
       ทางด้าน สำราญ รักชาติ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า แนวคิดในเรื่องเอกชนเข้ามาบริหารพื้นที่อุทยานแห่งชาตินั้น ข้าราชการในกรมอุทยานส่วนใหญ่เห็นด้วยกับ นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร อยู่แล้ว เพราะควรจะต้องนำเอามืออาชีพมาบริหารจัดการ ซึ่งกรณีที่ข่าวออกไปว่าเป็นการสัมปทานนั้นเป็นความจริงแล้ว ไม่ได้ถึงขนาดนั้นเป็นเพียงการนำเอามืออาชีพเข้ามาช่วยในการบริหารงานในโซนบริการท่องเที่ยวที่เจ้าหน้าไม่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอเท่านั้น
       
       ด้าน ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงความคืบหน้าการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ....ว่า ขณะนี้ทางสำนักนิติกร กรมอุทยานแห่งชาติฯได้รับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงรายละเอียดขึ้นสุดท้ายเพื่อเตรียมเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
       
       อย่างไรก็ตามมีระเบียบกรมอุทยานฯปี 2547 ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าไปดำเนินการท่องเที่ยวและพักอาศัยยังคงเป็นร่างพ.ร.บ.ฉบับเดิม เพราะถือว่าได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นมาแล้วทั้งจากนักวิชาการ และเอ็นจีโอ ซึ่งขณะนี้ทางนิติกร จะรับเอามาปรับแก้โดยคาดว่าจะดำเนินเสร็จภายในเดือนก.ย.นี้
       
       ด้านความคิดเห็นของ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองอธิบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า งานด้านการท่องเที่ยวได้ขึ้นมาแซงหน้า งานด้านการอนุรักษ์พื้นที่อุทยานแล้วในปัจจุบัน ทำให้เจ้าหน้าที่อุทยานส่วนใหญ่จำเป็นต้องมาดูแลนักท่องเที่ยว
       
       ซึ่งการเปิดให้เอกชนเข้ามาดำเนินการในพื้นที่อุทยานแห่งชาตินั้นที่ผ่านมาเคยดำเนินไปบ้าง เช่น ภูกระดึง แต่ไม่เคยเด่นชัดถึงขนาดให้เอกชนเข้ามาสร้างบ้านพักถาวร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก




จาก                          :                    ผู้จัดการออนไลน์     วันที่ 2 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ กันยายน 03, 2008, 04:34:39 AM
จะอย่างไรกันแน่คะ....จะให้เช่าหรือดึงมืออาชีพมาบริหารจัดการ..... ;)


เมื่อคืนไปงานศพคุณพ่ออาจารย์ธรณ์มา.....ขนาดเศร้าๆอยู่ อาจารย์ยังมีแก่ใจพูดขึ้นมาว่า "เรื่องอุทยานเดี๋ยวค่อยคุยกัน...."

สายชลเลยแจ้งไปว่า "ตอนนี้ได้รายชื่อคัดค้านมา 100 กว่าชื่อแล้วนะจ๊ะ"

อาจารย์เลยบอกว่า "ต้องมากกว่านั้นครับ"

โธ่.....SOS นั้นบ้านเล็กนิดเดียวนะจ๊ะอาจารย์  ได้มาขึ้นหลักร้อยนี่ก็นับว่าดีถมไปแล้วจ้ะ   


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Bluefin ที่ กันยายน 03, 2008, 06:14:04 AM
พี่สองสายครับ ผมว่าคนในสังคมอีกเป็นจำนวนมากยังไม่ทราบข่าวการพยายามฮุบอุทยานแห่งชาตินี้ครับ เพราะไม่ว่าลองคุยเรื่องนี้กับใครต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่ายังไม่รู้ แต่พอรู้สิ่งแรกที่ทุกคนแสดงเหมือนๆกันคือไม่เห็นด้วย เพราะชื่ออุทยานแห่งชาติก็บอกอยู่แล้วว่า แห่งชาติ ของชาติ มิใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ผมว่าหากเราต้องการแนวร่วมมากๆ ควรทำอีเมล์ขึ้นฉบับหนึ่ง และให้สมาชิกช่วยกัน ส่งต่อๆกันไป จากหนึ่งก็จะเป็นสิบ สิบเป็นร้อย ร้อยเป็นพัน พันเป็นหมื่น เหมือนวงน้ำที่กระจายออกไป และเมื่อนั้นคำว่า ปาติหาน แบบในโฆษณา คงมีแก่ประเทศไทยครับ ช่วยๆกันครับ สมบัติชาติ ของแผ่นดิน ต้องถูกปกป้องคุ้มครอง ต้องมิใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง

อย่าให้นักการเมืองยึดเอาไป  :-X :-X :'( :'(


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 03, 2008, 06:57:47 AM

ดีครับ .... ช่วยๆกันคนละไม้คนละมือ

ทำเป็น link ให้เข้ามาอ่านในกระทู้นี้ก็ได้ครับ ทั้งข่าวและข้อมูลที่หาได้จากภายนอก  ถ้ามีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมมาอีก ผมก็จะนำมาโพสต์ไว้ในนี้แหล่ะครับ

และต้องขออนุญาตน้อง Bluefin ที่ตัดช่วงสุดท้ายออกไปนะครับ เพราะข้อความตอนนั้นอาจจะถูกใจหลายคน แต่ก็อาจจะผิดใจหลายๆคนได้อีกเหมือนกัน .... มันแวะเข้าไปหาการเมืองมากไปนิด เรามาโฟกัสกันอยู่ในเรื่องปกปักษ์รักษาอุทยานฯของเราเอาไว้ กันดีกว่านะครับ



หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Bluefin ที่ กันยายน 03, 2008, 01:18:37 PM
ยินดีครับ พี่สายน้ำ ช่วยๆกันนะครับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 04, 2008, 01:30:19 AM

ให้เอกชนเช่าอุทยานฯ : ขายฝัน ขายท่องเที่ยว หรือขายป่า???                         :                    ปิ่น บุตรี

(http://pics.manager.co.th/Images/551000011266201.JPEG)

      แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติบ้านเรา อาทิ ป่าเขา ดงดอย เถื่อนถ้ำ น้ำตก ทะเล ส่วนใหญ่ล้วนอยู่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ
       
       แต่จู่ๆกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ก็งานเข้า ด้วยการออกมาประกาศว่า จะ(นำร่อง)เปิดอุทยานแห่งชาติชื่อดัง 10 แห่ง ประกอบด้วย อุทยานฯเขาใหญ่ ห้วยน้ำดัง ดอยอินทนนท์ หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ ภูกระดึง ดอยสุเทพ-ปุย แก่งกระจาน เอราวัณ และอุทยานฯดอยผ้าห่มปก ให้เอกชนเข้ามาสัมปทานบริหารจัดการพื้นที่ถึง 30 ปี
 
     
       ขายฝัน...
       
       วิชิต พัฒนโกศัย รองอธิบดีกรมอุทยานฯ ในฐานะประธานคณะทำงานการท่องเที่ยวและการลงทุนดำเนินกิจกรรมในอุทยานแห่งชาติ เปิดเผยว่า กรมได้วางหลักการเบื้องต้นในเรื่องนี้ไว้ 3 ประเด็นหลักๆด้วยกัน คือ ประเด็นสิ่งแวดล้อมจะต้องมีการจัดการอย่างมืออาชีพและยั่งยืน ประเด็นทางสังคม ต้องให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงบริการอย่างเป็นธรรม และประเด็นเศรษฐกิจ ต้องสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นกับชุมชนในพื้นที่
       
       ส่วนกรณีที่กลัวว่าเอกชนที่ได้รับสัมปทานเข้าดำเนินกิจกรรมในอุทยานฯจะเข้าไปทำลายธรรมชาติและป่านั้น วิชิต บอกว่า คิดว่าขณะนี้ความคิดของนักธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว นักธุรกิจยึดถือเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ เพราะกระแสโลกกระแสสังคมกำลังให้ความสำคัญเรื่องนี้
       
       ครับ ในเรื่องนี้ดูผ่านๆฟังเผินๆก็ดูดี เพราะหากว่ากันตามเนื้อผ้าแล้วบ้านเรา เอกชนมักจะบริหารจัดการดีกว่าราชการเสมอ แต่กระนั้น จากประวัติที่ผ่านๆมา เอกชนที่มารับสัมปทานระยะยาวจากภาครัฐส่วนมากมักเป็นกลุ่มทุนนักการเมือง กลุ่มทุนสามานย์ที่พร้อมจะจ่ายใต้โต๊ะอยู่ทุกเมื่อเพื่อให้ตนเองได้สัมปทาน
       
       นั่นจึงเป็นข้อกังขาให้ผู้นิยมไพรคัดค้านและตั้งคำถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะรับประกันได้อย่างไรว่า ทุนที่เข้ามาจะไม่ทำลายป่า ทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้น พวกเขาจะไม่ขึ้นค่าที่พัก ค่าเหยียบอุทยานฯ ให้เราๆท่านๆต้องจ่ายแพงขึ้น จนไม่สามารถเที่ยวได้ในอุทยานฯบางแห่งเพราะราคาโคตรแพง (ต้องไม่ลืมว่าบรรดานักธุรกิจที่พร้อมจะทำสัมปทานกับรัฐในบ้านเรามักจะคิดแต่กำไรสูงสุดเป็นที่ตั้ง เพราะเงินส่วนหนึ่งต้องนำไปเลี้ยงนักการเมืองและข้าราชการกังฉิน)
       
       รวมถึงการดำเนินการอื่นๆที่ไม่โปร่งใส เพราะแค่ยังไม่ทันเริ่มต้นโครงการอย่างเป็นทางการก็มีข่าวออกมาแล้วว่า ได้มีการต่อรองราคาที่ดินที่ทางกรมอุทยานฯกำหนดราคาค่าเช่าไว้ตารางเมตรละ 30 บาท หรือไร่ละ 4.8 หมื่นบาทต่อเดือน ให้ลดลงเหลือตารางเมตรละ 3 บาทเท่านั้น ทั้งๆที่ยังไม่มีการเปิดประมูลอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด
 
     
       ขายท่องเที่ยว
       
       สำหรับการเปิดสัมปทานอุทยานฯนั้น ประเด็นหลักก็เพื่อผลประโยชน์ทางการท่องเที่ยว ซึ่ง อนงค์วรรณ เทพสุทิน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้เผยถึงเรื่องนี้ว่า การอนุญาตให้เอกชนดำเนินการบริการท่องเที่ยว เกิดจากแนวคิดจะช่วยหารายได้มาช่วยเศรษฐกิจของประเทศ เพราะขณะนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมากที่น่าจะนำมาอวด และนำมาเผยแพร่ให้คนทั่วไปรับรู้รับทราบ ดีกว่าปล่อยเอาไว้ให้เสื่อมโทรมและบางพื้นที่ก็ถูกบุกรุกเสียหาย
       
       เรียกว่าให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ทำ ที่พัก โรงแรม ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก รวมถึงการจัดกิจกรรมทางการท่องเที่ยวอื่นๆ ซึ่ง ดร.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า
       
       " พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นที่พักชั่วคราวที่อุทยานไปรักษาไว้ แต่ตอนนี้กำลังจะถูกเลือกให้เป็นจุดที่มีศักยภาพและจะทำรายได้สูงในแง่ของการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าชาวบ้านคงไม่ยอม เพราะที่ผ่านมาอุทยานฯพยายามผลักดันชาวบ้านออกมาจากพื้นที่ แต่กลับจะเปิดให้เอกชนมาแทนที่ นอกจากนี้โดยส่วนตัวก็เป็นห่วงมาก เพราะถ้าดูจากวิธีใช้พื้นที่อุทยานมาทำเขตบริการ กำลังเลือกจุดที่เปราะบางที่สุด โดยไม่ได้อิงข้อมูลทางวิชาการ แต่อิงความสวยงามมาเป็นหลัก ซึ่งเรื่องนี้นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมกำลังคุยกัน เพราะไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะถ้ายิ่งบนเกาะมีสิ่งปลูกสร้างถาวรเมื่อใด ปัญหาจะตามมาอีกมากมายแน่นอน"
       
       เรื่องนี้ทำให้ผมอดคิดถึงเขาใหญ่เมื่อประมาณ 20 ปี ที่แล้วไม่ได้ ในยุคนั้นเขาใหญ่ได้เปิดให้เอกชนไปทำโรงแรม สนามกอล์ฟ ที่พบว่ามีผลกระทบต่อผืนป่าและสัตว์ป่าอย่างใหญ่หลวง ทั้งเรื่อง ขยะ น้ำเสีย และอื่นๆ จนเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เขาใหญ่ในยุคนั้นไม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก ซึ่งสุดท้ายก็ต้องยกเลิกไป ทำให้พื้นที่สนามกอล์ฟกลับกลายเป็นแหล่งอาหารสำคัญของเหล่าเก้ง กวาง และทำให้ป่าเขาใหญ่-ดงพญาเย็นได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกในกาลต่อมา
       
       นอกจากนี้จากการไปเที่ยวป่า เขา ทะเล ตามอุทยานฯต่างๆ ผมพบว่าหลายๆอุทยานฯมีการบริหารจัดการที่ดีไม่แพ้เอกชน จนบางอุทยานฯได้รับการการันตีคุณภาพด้วย“รางวัลกินรี” ของททท. อาทิ อช. เอราวัณ อช.แก่งกระจาน อช.เขาสก อช.ตาดโตน อช.ผาแต้ม เป็นต้น
       
       แถมอุทยานฯหลายแห่งยังมีสิ่งเหนือกว่าเอกชน(ส่วนใหญ่) ที่มีการเเบ่งพื้นที่ให้คนท้องถิ่นเข้ามาขายของ มีเจ้าหน้าที่สื่อความหมายซึ่งมาคอยพาเที่ยวและให้ความรู้ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ พร้อมประสบการณ์จริงจากป่าไพรได้อย่างยอดเยี่ยม ชนิดที่ไกด์ท่องตำราได้แต่มองตาปริบๆ
       
       แล้วทำไมทาง ทส. ไม่ ยึดอุทยานฯเหล่านั้นเป็นต้นแบบ พร้อมเพิ่มงบประมาณด้านการดูแล อนุรักษ์ พัฒนา และบริหารจัดการอุทยานฯลงไป
       
       เอ...หรือว่างบประมาณเพิ่มไปแล้ว แต่ว่าไปตกหล่นเข้ากระเป๋าใครในระหว่างทาง ทำให้พิทักษ์ป่าวันนี้ยังเดินถือปืนเก่าๆขึ้นสนิม ออกลาดตระเวน ที่หากว่าวันใดโชคร้ายปะทะกับพวกลักลอบตัดไม้ล่าสัตว์ในป่าที่มีอาวุธทันสมัยครบมือแล้วละก้อ งานนี้คงเดาได้ไม่ยากว่าบทสรุปจะเป็นอย่างไร
 
     
       ขายป่า
       
       ไม่รู้มันเป็นความบังเอิญหรืออย่างไร ที่ 10 อุทยานฯดัง ซึ่งมีแผนเปิดให้เอกชนเช่านั้น เป็นอุทยานฯชุดเดียวกันกับ 10 อุทยานฯ ที่ทางกรมอุทยานฯประกาศจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 51 ที่ผ่านมา เพื่อแก้ปัญหานักท่องเที่ยวล้นอุทยานฯจนเกินขีดความสามารถ
       
       เรื่องนี้หากว่ากันตามหลักการถือเป็นเรื่องดีที่ควรส่งเสริม แต่ก็มีบางคนตั้งข้อสังเกตว่า นี่อาจจะเป็นแผนการค่อยๆผลักดันนักท่องเที่ยวทั่วไปออกจาก 10 อุทยานฯ ดัง(ที่ไม่ใช่อุทยานฯที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเยอะเป็น 10 อันดับแรกของเมืองไทย) แล้วเปิดโอกาสกลุ่มทุนเข้ามายึดครองโดยอ้างว่าสถานที่เต็ม แต่ที่จริงแล้วอุทยานฯดังๆเหล่านั้น มันเต็มเพราะเอกชนผู้สัมปทานกันไว้ให้นักท่องเที่ยวของตนต่างหาก
       
       ยกตัวอย่าง สมมติในอนาคตเราจะขับรถขึ้นไปกางเต็นท์บนเขาใหญ่ อาจถูกทางอุทยานฯเขาใหญ่อ้างว่าที่พักเต็มเราไม่สามารถพักค้างได้ ทั้งนี้ก็เพื่อเปิดโอกาสให้กับนักท่องเที่ยวที่ยอมจ่ายแพง จองที่พักหรือซื้อแพ็คเกจที่อยู่ในการดูแลของเอกชนที่กรมอุทยานฯเปิดให้เช่าเพื่อจัดการการท่องเที่ยว
       
       เรียกว่าเข้าทางเขาพอดี เพราะงานนี้หลายอย่างมันช่างดูสอดคล้องและบังเอิญอย่างร้ายกาจจริงๆ
       
       ส่วนที่ไม่บังเอิญก็คือ ตั้งแต่มีการจัดตั้งอุทยานฯแห่งแรก(เขาใหญ่)ขึ้นในปี พ.ศ.2505 โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อการปกป้องดูแลรักษาป่า มาวันนี้ 46 ปีแล้ว ดูเหมือนว่าจำนวนผืนป่าก็ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง แถมล่าสุดนี่กรมอุทยานฯยังคิดจะเปิดป่าให้เอกชนเช่าเสียอีก
       
       กรณีอย่างนี้หลายคนๆแถวบ้านผมเขาเรียกว่าพวก“ขายป่ากิน” น่ะคร้าบพี่น้อง
       
       แต่ว่าเขาจะขายป่าเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ขายป่าเพื่อธุรกิจท่องเที่ยว หรือขายป่าเพื่อผลประโยชน์ของใคร??? งานนี้คงต้องติดตามอย่ากระพริบตา ซึ่งคิดๆแล้วมันก็น่าเศร้าใจแทนบรรดาพนักงานพิทักษ์ป่าชั้นผู้น้อยตามอุทยานๆต่างๆ ที่เฝ้าเพียรปกป้องดูแลรักษาป่า ด้วยจิตใจอันมุ่งมั่น รวมถึงพยายามบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งการอนุรักษ์ธรรมชาติ อนุรักษ์ป่า ควบคู่ไปกับการพัฒนาสู่อนุชนคนรุ่นหลัง
       
       ผิดกับคนระดับผู้นำอุทยานฯที่กระทำการในสิ่งตรงกันข้าม
       
       หากสภาพการณ์ยังคงเป็นไปในอีหรอบนี้ ต่อให้มีคนแบบ สืบ นาคะเสถียร อีกพันคน หมื่นคน ป่าไม้ไทยก็ยังคงเผชิญวิบากกรรมไม่ต่างไปจากเดิมเท่าไหร่





จาก                          :                    ผู้จัดการออนไลน์     วันที่ 3 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: เต้าหู้สด ที่ กันยายน 04, 2008, 03:19:22 PM
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง  ถ้าผืนป่า ผืนแผ่นดินไทยรัฐบาลดูแลเองไม่ได้ก็ไม่น่าจะทำงานต่อไปนะ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: frappe ที่ กันยายน 06, 2008, 02:44:58 AM
เพิ่งไปค้นรูปเก่าๆเจอ รูปที่เข้ากับเรื่องนี้พอดี...


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: frappe ที่ กันยายน 06, 2008, 02:46:16 AM
ไม่รู้ว่าต่อๆไปจะเหลือแค่นี้รึป่าว
หรือ ไม่เหลืออะไรเลย ....


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: แมลงปอ ที่ กันยายน 06, 2008, 03:35:25 AM
Frappe....ภาพโดนใจ....สวยด้วย  :D :D :D


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 09, 2008, 01:27:25 AM

จับตาเปิดเช่าอุทยานฯ ฤาป่าไม้-ทะเลไทยจะฉิบหาย !!!

(http://pics.manager.co.th/Images/551000011473201.JPEG)
จุดชมวิว เกาะสิมิลัน

       จากกรณีที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้เสนอนโยบายเปิดให้เช่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั้ง 10 แห่ง นำร่องให้เอกชนเข้ามาบริหารพื้นที่จัดบริการ
       
        ประกอบด้วย 1.อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 2.อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง 3.อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 4.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน 5.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ 6.อุทยานแห่งชาติภูกระดึง 7.อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย 8.อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 9.อุทยานแห่งชาติเอราวัณ 10.อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก
       
       โดยจะให้เข้ามาดำเนินการโรงแรมและที่พักในเขตพื้นที่บริการเป็นระยะเวลา 5 - 30 ปี รวมทั้งให้บริการการท่องเที่ยว ซึ่งอ้างว่าต้องการความเป็นมืออาชีพมาบริหาร และทางกรมอุทยานแห่งชาติ ได้กำหนดราคาค่าเช่าพื้นที่เพื่อบริการไว้ตารางเมตรละ 30 บาท หรือไร่ละ 4.8 หมื่นบาทต่อเดือน
       
       แต่เอกชนมองว่าเป็นราคาที่สูงเกินไป จึงมีข่าวว่าเอกชนที่สนใจได้พยายามจะทำการต่อรอง(อย่างไม่เป็นทางการ)ให้ลดราคาลงเหลือแค่ตารางเมตรละ 3 บาททั้งที่ยังไม่มีการเปิดประมูล ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าเอกชนที่เข้ามาต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปลูกป่าเพิ่มเติม

(http://pics.manager.co.th/Images/551000011473202.JPEG)   
ทะเลหมอก ห้วยน้ำดัง    
 
       กระแสดังกล่าวกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างถึงความเหมะสมและความเป็นไปได้ และเกิดคำถามว่ากรมอุทยานมีความจำเป็นแค่ไหนที่ต้องเปิดอุทยานให้เอกชนเข้ามาบริหาร
       
       นพรัตน์ นาคสถิตย์ กรรมการมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ที่ทางก่อนหน้านี้ได้ออกแถลงการณ์ คัดค้านนโยบายเปิดสัมปทานให้เช่าพื้นที่ป่าในนามมูลนิธิสืบ ไปแล้วนั้น ได้กล่าวว่า นโยบายให้เอกชนเช่ามีสาเหตุมาจากรัฐบาลมีเงินทุนน้อย เจ้าหน้าที่มีความรู้ต่ำ กรมอุทยานในยุคหลังเน้นเรื่องเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก คิดว่าทรัพยากรที่มีคุณค่าน่าจะนำมาใช้เลยผลักดันนโยบายให้เช่าตรงนี้
       
       "การให้เช่าต้องทำกำไรเท่านั้น ถ้าเกิดเช่าแล้วรายได้ไม่ดีต้องเพิ่มยอด เขาต้องเร่งปริมาณไม่สนใจคุณภาพ อย่างที่อเมริกาทางกรมอุทยานที่นั่น เจ้าหน้าที่ต้องทำเรื่องขอซื้อสัมปทานคืน เมืองไทยเราทางกรมอุทยานเองไม่เคยมีแผนตั้งรับตัวนี้เลย ดังนั้นการที่อยู่ดีๆจะให้เอกชนเข้ามาเป็นเรื่องกะทันหันมาก นี่เป็นลักษณะของทางราชการไม่เคยคิดอะไรล่วงหน้า ไม่เคยเตรียมการ อาจจะเป็นเพราะระบอบทักษิณที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงราชการ ระบบล้มเหลวหมด"นพรัตน์กล่าว
       
       ความล้มเหลวของระบบข้าราชการมีแต่คนเก่าแก่ ทำให้ส่วนกลางที่เคยเป็นสุสานของคนไม่เอาไหน ถูกปรับเปลี่ยนในยุคทักษิณเปลี่ยนเอาคนระดับมันสมองเข้ามาเป็นหน่วยงานวานแผน ฉะนั้นความพร้อมในการตั้งรับจึงหายไป

(http://pics.manager.co.th/Images/551000011473203.JPEG)   
โลกใต้ทะเลเกาะสุรินทร์  
 
       "ถ้าตรงนี้เกิดขึ้นมันจะอลหม่านเสียมากกว่าได้ ตอนนี้ก็ได้ข่าวว่าภาคเอกชนเขาแบ่งโควต้ากันหมดแล้วว่าใครจะเอาที่ไหนอย่างไร ในชุดนี้ถ้าไม่มีอะไรผลักดันมากก็ต้องหยุดทบทวน แต่ก็ไม่สมควรไว้วางใจอยากให้สังคมรับรู้ว่าฝ่ายธุรกิจเร่งใช้อุปกรณ์ทางธรรมชาติโดย"นพรัตน์กล่าวอย่างเป็นกังวล
       
       ขณะเดียวกันเขาก็มองว่า จุดประสงค์จริงๆเป็นการหาเงินให้ข้างบน เรื่องที่เสียที่สุดคือการบอบช้ำของทรัพยากร อย่างที่เขาหลวงพอชาวบ้านทำอีโคทัวร์เองชาวบ้านตัดทางเละ
       อย่างอุ้มผางที่ผู้ประกอบการทำทัวร์อิสระของจริงดูได้ที่อุ้มผาง ที่อุ้มผางเขาใช้เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าอุ้มผางและเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าตะวันออกเป็นแหล่งทรัพยากรที่จะพานักท่องเที่ยวเข้าไปตรงนั้น มันจำกัดพอเอากฎระเบียบเข้าไปก็ประท้วง ประท้วงไม่พอก็เดินขบวนให้ผู้ว่าไล่ออกย้ายบ้าง มันก็มีปรากฏการณ์อย่างนี้ มันต้องดูความเป็นไปได้ของพื้นที่ทำได้มากน้อยแค่ไหน แล้วก็เอาข้อจำกัดของนิเวศป่าเป็นหลักอย่าให้กระทบกระเทือนหรือให้น้อยที่สุด
       
       อีกหนึ่งเสียงจากทางด้านของ นิพัทธ์พงษ์ ชวนชื่น เจ้าของเทรคกิ้งไทยดอทคอม เว็บไซต์ด้านการท่องเที่ยว กล่าวในฐานะนักท่องเที่ยวที่ติดติดตามเรื่องนี้ว่า ข่าวนี้ใช่ว่าเพิ่งจะเคยเกิดขึ้นมันเคยเกิดมาแล้วนานหลายปี ครั้งนั้นนโยบายก็ผ่านหายไป
       
       เขากล่าวว่า ในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การพัฒนาเขตอุทยานจะเป็นการเก็บป่าไว้ทั้งผืน ตัวอุทยานตั้งอยู่รอบนอก มีผลดีทั้งในแง่ของการกระจายรายได้และผืนที่ป่าภายใน ทั้งในแง่ของความยุติธรรมที่มีถ้าเป็นแง่ธุรกิจ ในแง่ของสัมปทานไม่ว่าทางใดทางหนึ่งก็ตาม มักจะมีผลประโยชน์ตกอยู่กับคนแค่ไม่กี่กลุ่ม ยังไม่นับเรื่องของทรัพยากรที่ต้องใช้

(http://pics.manager.co.th/Images/551000011473204.JPEG)   
น้ำตกเอราวัณ  
 
       "มันย้อนหลังไปเหมือนกรณีสนามกอล์ฟบนเขาใหญ่จนตอนนี้ไม่มีแล้ว นี่คือการรื้อฟื้น เป้าหมายจริงๆอยู่ที่ เกาะต่างๆมากกว่า 10 อุทยานเป็นเพียงเป้าหลอก อย่างที่เกาะเสม็ด เป็นต้น
       
       การประกาศอำนาจครอบคลุมสุ่มเสี่ยงต่อการใช้พื้นที่ไม่ถูกต้องสมมุติว่าเรามีผืนป่าอยู่ผืนหนึ่ง ผืนป่านี้แน่นอนว่าย่อมทำประโยชน์ได้มากกว่าตารางเมตรละ 30 บาทแน่นอน เมื่อนับมูลค่าของผืนป่า สรรพสิ่งที่เกิดจากต้นไม้ของป่าสร้างคุณค่าได้มากกว่าการนันทนาการ ถ้าจะหวังเรื่องการนันทนาการก็ออกมาตั้งรอบนอกอยู่แล้ว"นิพัทธ์พงษ์กล่าวแสดงความคิดเห็น
       
       ตอนนั้นแนวโน้มของโลกจะนำรีสอร์ทขนาดใหญ่ออกมาอยู่ข้างนอก แม้แต่กระแส "อีโคลอดจ์"ก็ไม่เห็นอยู่ข้างในจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียง แสงตะเกียง น้ำก็ต้องพอดีอาบ แต่บ้านเราคือย้อนกลับ ประเทศที่เคยนำเรื่องสัมปทานในอุทยาน เช่น คอสตาริกา แอฟริกา ปัจจุบันเขาถอยออกมาแล้ว เพราะเขาทราบว่ามันไม่คุ้ม
       
       "ต่างประเทศเขาเกิดปัญหาการร้องเรียน เรื่องความมีส่วนได้ ส่วนเสีย อยากได้สัมปทานภายในกลางป่า ก็มีผลประโยชน์เข้ามา ความจริงอุทยานแห่งชาติ เจ้าหน้าที่สมารถบริหารจัดการตัวเองได้อยู่แล้ว เพียงแต่มีบางอย่างไม่เอื้อเท่านั้นเอง ปูระบบนิดหน่อยก็บริหารจัดการเองได้แล้ว อันนี้เจ้าหน้าที่บอกมา เอกชนเข้ามาคิดว่าเรื่องเงินเป็นหลักอย่างเขาใหญ่จะทำอะไรก็คงลำบากอยู่แล้วเพราะติดเรื่องมรดกโลก เป้าจริงผมคิดว่าจะไปอยู่ที่พวกเกาะต่างๆมากกว่าซึ่งเขาจะไม่พูดถึงเลยเพราะว่าเป็นเป้าจริง"นิพัทธ์พงษ์กล่าว
       
       "โดยหลักแล้วการใช้ทรัพยากรมันไม่สอดคล้อง การเอาโรงแรม 4-5 ดาวไปใส่มันก็เหมือนเอาห้างสรรพสินค้าชั้นนำไปตั้งที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ผมฟันธงว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของผลประโยชน์ 100 เปอร์เซ็นต์" นิพัทธ์พงษ์กล่าวทิ้งท้าย

(http://pics.manager.co.th/Images/551000011473205.JPEG)   
เขาใหญ่    
 
       เช่นเดียวกันความเห็นของ ธรรมรัฐ สุขพินิจ รองประธานฝ่ายกิจกรรมชมรมนักนิยมธรรมชาติ ที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติกว่า 20 ปี กล่าวถึงกรณีนี้ว่า สิ่งที่เขากลัวคือเมื่อเอกชนเข้ามาจะเน้นการท่องเที่ยวเอาประโยชน์กว่าการอนุรักษ์ และมองว่าเรื่องแบบนี้ใช่ว่าไม่เคยเกิดขึ้น เคยเกิดขึ้นแล้วที่ "ภูกระดึง" ที่ให้เอกชนเข้ามาทำสัญญาเช่าทำบ้านพักบนภูกระดึง
       
       "ผมไม่เข้าใจว่าพ.ร.บ.ที่เขาจะประกาศออกมาจะเป็นยังไงแค่ไหน แต่ในฐานะคนท่องเที่ยว ผมก็กังวลว่าราคาการใช้บริการจะสูงขึ้น 10 อุทยานนี้ ผมมองว่าเอกชนน่าจะเลือกเข้าไปทำพื้นที่ที่เป็นจุดเด่นของที่นั่น แค่จะเข้าไปเที่ยวเราก็อาจจะต้องเสียค่าผ่านเข้าไปที่แพงกว่าเดิม"ธรรมรัฐกล่าวอย่างเป็นห่วง
       
       เขายังกล่าวต่อไปว่า เอกชนเมื่อเข้ามาจะต้องเน้นการขายบริการสูงสุด ไม่แน่ใจว่ารูปแบบจะเป็นยังไง บางคนก็กลัวว่าจะมีร้านสะดวกซื้อเข้าไป การพิจารณาจะพิจารณายังไงคนกันเองหรือเปล่าที่ได้ ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าน่าจะขัดกับพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติหรือเปล่า ฉะนั้นการจะเกิดขึ้นจึงไม่น่าจะง่ายนัก เพราะแนวคิดนี้ก็เกิดขึ้นมานานแล้วแต่ว่าก็ยังทำไม่ได้จริงจังสักที
       
       "ผมคิดว่าคงยังไม่เกิดในเร็วๆนี้ยังไงก็ไม่น่าจะเป็นรัฐบาลนี้ ส่วนตัวไม่เห็นด้วยเพราะเป็นสมบัติของแผ่นดิน"ธรรมรัฐ กล่าว

(http://pics.manager.co.th/Images/551000011473206.JPEG)   
น้ำตกแม่ยะ อช.อินทนนท์   
 
       อีกหนึ่งเสียงจากแหล่งข่าวระดับสูงของกรมอุทยานรายหนึ่งได้เปิดเผยว่า การเปิดอุทยานให้เอกชนเช่า มีกำไร 100% แต่ก็มีผลกระทบเยอะ สิ่งที่ต้องสูญเสียไป คือ อุทยานต้องมีวิวทิวทัศน์มีอากาศจากธรรมชาติที่บริสุทธิ์ เอาธรรมชาติให้คนชื่นชม แต่เมื่อเอกชนเข้ามาจะต้องสูญเสียแหล่งท่องเที่ยว
       
       ผู้ประกอบการที่เป็นนักการเมือง นักธุรกิจการเมือง มักสร้างปัญหาที่ควบคุมไม่ได้ เมื่อไม่พอใจหัวหน้าอุทยานก็สั่งย้ายต่อไป พื้นที่นี้ก็จะถูกผูกขาดทำสัมปทานเป็นสิบๆปีแล้วจะเอาเขาออกจากตรงนี้ไม่ได้เลย สมมุติว่าทำ 30 ปีเดี๋ยวก็จะมีการต่ออายุสัญญาอีก 30 ปีแล้วก็ต่อไปเรื่อยๆเอาออกไม่ได้ ติดพวกอิทธิพล
       
       "แนวคิดนี้มีกลุ่มนักการเมืองจะเอา แล้วมาบีบอธิบดีฯให้เปิดทางให้ จริงๆแล้วกรมอุทยานไม่อยากจะเอา แต่โดนบีบคอ"แหล่งข่าวระดับสูงกล่าวถึงความเป็นไปของแผนการเปิดอุทยานให้กับเอกชนเข้ามาบริหาร ซึ่งดูเหมือนจะเป็นห่วงเป็นใยและหวาดระแวงกับการมาเยือนของเอกชนอยู่ไม่น้อย
       
       อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวทั้งหมดต่างเห็นพ้องต้องกันว่า การเปิดอุทยานให้เช่าครั้งนี้ยังไงก็ไม่มีทางสำเร็จ เพราะจะได้รับการคัดค้านจากกลุ่มนักอนุรักษ์ แผนนี้เคยเกิดขึ้นแล้วและเจ๊งทุกราย ไม่รู้กี่สมัย ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 3-4 ครั้ง ซึ่งก็ต้องรอลุ้นกันต่อไปว่าแผนการให้สัมปทานกับเอกชนครั้งนี้ จะเป็นรูปเป็นร่างหรือเป็นความฝัน(ค้าง)ของใครบางคนต่อไป แต่ถึงอย่างไรต่างก็ไม่อยากให้เน้นขายพื้นดินขายการท่องเที่ยวจนละเลยการอนุรักษ์ เพราะอาจจะนำมาสู่ความฉิบหายของทรัพยากรธรรมชาติ-ป่าไม้-ท้องทะเล ในเมืองไทยได้
 


จาก                          :                    ผู้จัดการออนไลน์     วันที่ 8 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 09, 2008, 01:29:28 AM

วอนเปิดรับฟังทุกด้านก่อนให้เอกชนเช่าอุทยานฯ                                :                        สิรินาฏ ศิริสุนทร


แม้ว่าจะเป็นข่าวไม่เกรียวกราวเท่ากับความร้อนแรงของสองขั้วการเมือง ระหว่างรัฐบาลกับ กลุ่มพันธมิตร ที่จนถึงขณะนี้ ยังไม่รู้ว่าจะออกหัวหรือออกก้อย ว่า นายสมัคร  สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จะยอมถอยด้วยการประกาศยุบสภา  ลาออก  พร้อมกันนี้ ห้าแกนนำพันธมิตรจะยอมมอบตัว เพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในการตัดสิน...เรียกได้ว่าเครียดกันไปทั้งเมือง

ขณะที่การเมืองระดับประเทศ สังคมใจจดใจจ่อกับการภาวนาไม่ให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น จบลงด้วยความรุนแรงหรือการเสียเลือดเสียเนื้อ  มุมเล็กๆ แถบชายฝั่งทะเลอันดามันเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ต่างใจจดใจจ่อกับการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล  กับนโยบายเปิดให้เอกชนเช่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เรียกได้ว่า เครียดไม่แพ้การเมืองสองขั้วในระดับประเทศ

เนื่องจากข่าวดังกล่าว ไม่เป็นที่สนใจ  ครึกโครม มีเพียงความร้อนแรงในระดับพื้นที่ ซึ่งการรุกคืบ ต่อเนื่อง จากฝ่ายการเมืองแบบ ที่เรียกว่า ใครจะทะเลาะกับใคร ไม่สน แต่ โครงการเปิดเช่าอุทยานแห่งชาติ จะต้องเดินหน้าให้ทันในรัฐบาลนี้  จนน่าสงสัยว่านโยบายเปิดเช่าอุทยานฯ มีวาระผลประโยชน์ซ่อนเร้นเบื้องหลัง...ซึ่งว่ากันว่า เป็นใบสั่งทางการเมือง

ความน่าสงสัยดังกล่าว ดูจะตอกย้ำให้น่าเชื่อถือมากขึ้น เมื่อ นายวิชิต พัฒนโกศัย รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในฐานะ ประธานคณะทำงานการท่องเที่ยวและการลงทุนดำเนินกิจกรรมในอุทยานแห่งชาติ  ออกมาระบุว่ามีภาคเอกชนจากกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมนับ ร้อยรายสนใจที่จะลงทุน โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติทางทะเลอันดามัน  ไม่ว่าจะเป็น สิมิลัน  เกาะตะรุเตา

ท่าทีดังกล่าวไม่สนใจ ที่รับฟังเสียงคัดค้าน หรือ การเรียกร้องให้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการ ผู้ประกอบการ เพื่อหาทางออกร่วมกัน  ด้วยว่าหลายฝ่ายยอมรับว่าการเปิดให้เอกชนเข้ามาดำเนินการกิจการอุทยานแห่งชาตินั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในต่างประเทศ ก็เคยเปิดให้เอกชนดำเนินการมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย   อเมริกา  แต่ในต่างประเทศ มีเงื่อนไขและความโปร่งใส รวมถึงเอกชนที่จะเข้ามาดำเนินการจะต้องเป็นมืออาชีพเพียงพอ

ส่วน การเปิดเช่าอุทยานแห่งชาติของไทยนั้น ยังเต็มไปด้วย ความน่าสงสัย ไม่เปิดเผย รับรู้เพียงว่าระดับผู้บริหารกรมอุทยานแห่งชาติ บินสำรวจอุทยานทางทะเล พร้อมกับเสนอให้เอกชนเข้ามาลงทุน แบบชนิดที่เรียกว่า เอาทรัพยากรใส่พานไปถวายเอกชน  แต่การเปิดรับฟังความคิดเห็น หรือเปิดเผยแผนการดำเนินการทั้งหมดกลับไม่ชัดเจน  ไม่โปร่งใสเพียงพอ

ล่าสุด กลุ่มนักเที่ยวที่อดรนทนไม่ได้กับ พฤติกรรมไม่เปิดเผยข้อมูล ได้ร่วมกันตั้งกระทู้ประเด็น  "รุมทึ้ง 10 อุทยาน"  ในเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ในห้องบลูพลาเนต และร่วมกันลงชื่อ เพื่อจัดทำหนังสือ คัดค้านแผนนำเอกชนเข้ามาบริหารพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้มีสมาชิกจำนวน 995 คนได้ร่วมลงชื่อแล้ว

หนังสือคัดค้านจะเสนอต่อนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อยืนยันว่าการออกแผนการดังกล่าว เป็นไปเพื่อการพัฒนาอุทยานแห่งชาติของประเทศไทย จริงๆ แล้ว ก็ควรมีการชี้แจงเหตุผลที่จำเป็นต่อสาธารณะ และรับฟังเสียงตอบรับหรือคัดค้านจากสาธารณะ เพราะถือว่า พื้นที่ในอุทยานแห่งชาติของประเทศไทย เป็นของคนไทยทุกคน จึงควรจัดให้มีการประชาพิจารณ์ที่โปร่งใส ก่อนที่จะมีการออกเป็นนโยบาย หรือ กฎกระทรวงใดๆ

ไม่เพียงชาวเน็ตเท่านั้นที่ต้องการคำชี้แจงจาก กระทรวงทรัพยากรฯ หากหมายรวมถึงนักวิชาการ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติระดับปฏิบัติที่อึดอัดไม่เห็นด้วย แต่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะต้องเปิดประชาพิจารณ์ ต่อนโยบายดังกล่าว เพื่อรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายของสังคม เพื่อเป้าหมายในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้อย่างยั่งยืน



จาก                          :                    กรุงเทพธุรกิจ     วันที่ 9 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: ระมาด ที่ กันยายน 09, 2008, 07:21:07 PM
ภาพจาก  รายการไทยมุง ของ TPBS
ได้นำเรื่องราว  การให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว นี้ 
มาคุยกันในรายการ  เมื่อช่วงเย็นวันอังคารที่ 9 กันยายน นี้  เวลา 17.00 - 18.00 น. ครับ

ชมรายการย้อนหลังได้ที่  http://www.udootv.com/2008/tv/

ซึ่งมีตัวแทน  จาก 4 ภาคส่วน มาร่วมรายการ ดังนี้

1. คุณนพดล  พฤกษะวัน  ผู้อำนวยการส่วนกิจกรรมพิเศษ  กรมอุทยานแห่งชาติฯ

2. คุณดวงกมล  จันสุริยวงศ์  นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย

3. คุณศศิน  เฉลิมลาภ  เลขาธิการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

4. คุณดนัย  เทพธนวัฒนา  เครือข่ายประชาชนผู้คัดค้านการสัมปทานพื้นที่อุทยานแห่งชาติ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: angel frog ที่ กันยายน 10, 2008, 12:20:08 AM
คนการเมืองเปลี่ยนแล้ว  ทุกอย่างน่าจะดีขึ้น  ....ไหมเนี่ยะ ???


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: ระมาด ที่ กันยายน 10, 2008, 05:40:03 AM
คงไม่หรอกครับ  เพราะจะว่าไปแล้ว  เป็นเพียงแค่การล้างไพ่ แล้วเริ่มต้นเล่นกันใหม่

ไม่มีไผ่ใบใดหายไปจากวง

ดีไม่ดีคนหน้าเดิมๆ จะกลับมาอยู่เหมือนเดิม  แล้วเรื่องเดิมๆ  ก็จะดำเนินต่อไปครับ



หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 17, 2008, 01:49:27 AM

เปิดเช่าอุทยานเจอต้าน ทส.ถอยอ้างแค่แนวคิดยังไม่ได้ศึกษาข้อเท็จจริง

(http://pics.manager.co.th/Images/551000011850401.JPEG)
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

   ทส.ถอยเปิดเช่าอุทยานหลังกลุ่มอนุรักษ์ยื่นเกือบ 4,500 รายชื่อต้าน อ้างแผนเปิดเช่นอุทยานเป็นเพียงแนวคิด ยังไม่ได้เริ่มต้นศึกษาข้อเท็จจริง และต้องเปิดประชาพิจารณ์
       
       กลุ่มคนรักษ์อุทยานฯ นำโดย เวทิดา พงษ์พานิช ,นิพัทธ์พงษ์ ชวนชื่น และตัวแทนจำนวน 15 คน จากสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย มูลนิธิสืบนาคะเสถียร สมาชิกจากเว็บบอร์ดต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต ที่คัดค้านการเปิดให้เอกชนเข้าหาประโยชน์ในอุทยานแห่งชาติ ได้เดินทางมายื่นหนังสือให้กับ อนงค์วรรณ เทพสุทิน รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยมี ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดทส.เป็นผู้รับหนังสือแทน
       
       เวทิดา กล่าวว่า หลังจากมีข่าวว่า อนงค์วรรณ มีแนวคิดในการเปิดสัมปทานให้เอกชนเข้ามาดำเนินการโรงแรมและที่พักในเขตอุทยานแห่งชาติชื่อดัง 10 แห่ง เป็นระยะเวลา 30 ปี ก็ได้ตั้งกระทู้เกี่ยวกับประเด็นนี้ในเว็บไซต์ชื่อดัง ปรากฏว่ามีนักท่องเที่ยว นักอนุรักษ์ และประชาชนทั่วไป แสดงความไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการหารือร่วมกันว่าควรจะต้องแสดงจุดยืนว่าไม่เห็นด้วยกับกรณีนี้ จึงได้ร่วมกันทำหนังสือคัดค้านการเปิดให้เอกชนเช่าพื้นที่ พร้อมกับรายชื่อผู้ไม่เห็นด้วยจำนวน 4,491 คนในเบื้องต้นมามอบให้กับทางทส. เพื่อทบทวนแนวคิดแล้ว และจะมีการล่ารายชื่อคัดค้านต่อ ไปเรื่อยๆ และหวังว่าทางทส.จะรับฟังความเห็นของภาคประชาชน
       
       ขณะที่ ตัวแทนกลุ่ม Trekkingthai.com กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติมานานเกือบ 11 ปี ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวคิดนี้ ถ้ารัฐเปิดช่องให้เอกชนทำอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ก็ทำให้พื้นที่ถูกคุกคามมากขึ้น เพราะปัญหาเอกชนเข้ารุกพื้นที่อนุรักษ์มีมานานแล้ว แต่รัฐยังไม่สามารถควบคุมหรือแก้ปัญหาได้ ขณะที่การอ้างว่าต้องการให้มีมืออาชีพมาบริหารจัดการนั้น ในต่างประเทศโดยเฉพาะแถบสแกนดินีเวีย และยุโรป เปิดให้เอกชนมาบริหารแต่ก็ให้อยู่รอบนอกของอุทยาน ไม่ใช่อยู่ในเขตอุทยานอย่างที่กรมอุทยานฯกำลังมีนโยบายในตอนนี้
       
       ด้านศักดิ์สิทธิ์ เผยพร้อมยืนยันหลังรับหนังสือคัดค้านว่า เรื่องเปิดเช่าอุทยานเป็นแค่เพียงแนวคิดที่อนงค์วรรณ ได้มอบให้ วิชิต พัฒนโกศัย รองอธิบดีกรมอุทยานฯประธานคณะทำงานการท่องเที่ยวและการลงทุนดำเนินกิจกรรมในอุทยานแห่งชาติ ศึกษาความเป็นไปได้เท่านั้น
       
       เนื่องจากการดำเนินการต้องคำนึงถึงกรอบกฎหมายทั้งกฎหมายอุทยาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่จะเข้ามาส่วนร่วม ไม่ใช่แค่เอกชนเท่านั้น แต่หมายถึงภาคประชาชนทุกฝ่าย ทั้งนี้ทางทส. พร้อมรับฟังข้อคิดเห็นจากทุกกลุ่ม แต่เนื่องจากยังไม่ได้ไปถึงขั้นตอนที่จะเปิดกว้างประชาพิจารณ์ในประเด็นนี้ หากจะดำเนินการต้องมีผลดีมากกว่าผลเสีย และไม่เปิดทุกแห่งอย่างแน่นอน



จาก                          :                    ผู้จัดการออนไลน์    วันที่ 16 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 18, 2008, 01:36:33 AM

ทส.จัดพิจารณ์เซ้งอุทยานแห่งชาติ สร้างรีสอร์ท

นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ทส.จะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นกรณีเปิดให้เอกชนลงทุนเช่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อก่อสร้างที่พักและรีสอร์ทให้นักท่องเที่ยวเป็นเวลา 30 ปี ในวันที่ 25 กันยายนนี้ ที่ห้องประชุมกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช คาดว่าจะรองรับคนได้เกือบ 200 คน

ผู้สื่อข่าวรายงาน ขณะนี้กลุ่มคนรักษ์อุทยานฯจะส่งรายชื่อผู้ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเปิดอุทยานให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ จำนวน 4,500 รายชื่อให้กับ ทส. และยังมีความเคลื่อนไหวในชมรม และกลุ่มองค์กรอื่นๆ อีกด้วย ล่าสุด www.saveoursea.net เว็บไซต์ของกลุ่มนักดำน้ำและนักท่องเที่ยวทางทะเล เตรียมนำรายชื่อผู้ไม่เห็นด้วยอีกกว่า 200 ราย ยื่นผ่านกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ในสัปดาห์หน้าด้วย



จาก                          :                    มติชน    วันที่ 18 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 18, 2008, 01:39:39 AM

เปิดเวทีถกเซ้งอุทยานทส.ขอฟังความเห็น

ทส.ผวาแรงต้านเปิดเอกชนเซ็งลี้อุทยานแห่งชาติ จัดเวทีสาธารณะ 25 ก.ย.รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย ไม่วายออกตัวไม่ลงลีกในรายละเอียด ด้านกรมทรัพยากรน้ำจัดงานวันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำคูคลองแห่งชาติอาทิตย์นี้ สนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระราชินี

นางอนงค์วรรณ  เทพสุทิน  รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า  ภายหลังที่มีแนวคิดเรื่องจะเปิดให้เอกชนลงทุนเช่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติเพื่อก่อสร้างที่พักและรีสอร์ต  จนทำให้มีข้อท้วงติงเข้ามามาก ทั้งที่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงเห็นว่าเมื่อมีคนสนใจมาก  ก็ควรจะให้เวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายเพื่อรับข้อเสนอแนะ  โดยคาดว่าจะจัดเป็นลักษณะเวทีเปิด ในวันที่ 25 ก.ย.นี้ ที่ห้องประชุมกรมอุทยานแห่งชาติฯ ซึ่งคาดว่าจะรองรับคนได้เกือบ 200 คน

การเปิดเวทีครั้งนี้  จะเปิดกว้างให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดี  ส่วนเนื้อหาการจัดเวทีคงไม่เจาะลึกในรายละเอียดไปอย่างใดอย่างหนึ่ง

นายศักดิ์สิทธิ์  ตรีเดช  ปลัด ทส. กล่าวว่า คณะทำงานการท่องเที่ยวและการลงทุนดำเนินกิจกรรมในอุทยานแห่งชาติ  ที่มีนายวิชิต  พัฒนโกศัย รองอธิบดีกรมอุทยานฯ เป็นประธาน ได้สรุปแนวทางความเป็นไปได้เบื้องต้นที่จะมีการพัฒนาอุทยานเพื่อการท่องเที่ยว ให้กับนายไพศาล  กุวลัยรัตน์ รักษาการอธิบดีกรมอุทยานฯ แล้ว โดยรายละเอียดจะมีการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียการดำเนินงานที่ผ่านมา  รวมทั้งปัญหาต่างๆ  และแนวทางความเป็นไปทางด้านกฎหมายและระเบียบ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคงไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในรอบแรก

ด้านนายศิริพงศ์ หังสพฤกษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่  17  กันยายนนี้ว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีพระราชเสาวนีย์เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ให้พสกนิกรช่วยกันรักษาแม่น้ำคูคลองให้สะอาดและใช้อย่างรู้คุณค่า  หากปล่อยให้เสื่อมโทรมต่อไปจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน  ประกอบกับวันที่ 20 กันยายนของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำคูคลองแห่งชาติ ในปีนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ  จึงกำหนดจัดงานดังกล่าวขึ้นที่หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี  แม่น้ำแม่กลอง  จังหวัดราชบุรี  ในวันอาทิตย์ที่  21  กันยายนนี้  ในการนี้ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี จะเสด็จไปทรงเป็นประธานเปิดงาน

อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำกล่าวว่า  กิจกรรมภายในงานจะมีขบวนเรือรณรงค์การอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำ  คูคลอง  และกิจกรรมวิถีชีวิตทางน้ำของประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งน้ำ  นอกจากนี้จะมีกิจกรรมเดินรณรงค์  การประกวดวาดภาพของนักเรียน และการกำจัดวัชพืช เพื่อสร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลแม่น้ำ  คูคลอง  และหนองบึง ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาความเสื่อมโทรม ตื้นเขิน คุณภาพต่ำ และมีการบุกรุกเข้าไปใช้ประโยชน์.




จาก                          :                    X-cite  ไทยโพสต์    วันที่ 18 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ กันยายน 18, 2008, 02:14:38 AM
หุๆ....น้องผู้สื่อข่าวโทรมาสัมภาษณ์เมื่อบ่ายๆวานนี้  รวดเร็วทันใจออกข่าวเลย

จริงๆแล้วเราเริ่มล่ารายชื่อผู้คัดค้านในเวลาใกล้เคียงกับเพื่อนๆรายอื่นๆที่ยื่นไปแล้ว  แต่ที่ยังไม่ได้ยื่นเพราะสำเนาบัตรประชาชนยังได้ไม่ครบ... ;)

เราจะยื่นรายชื่ออาทิตย์หน้านี้แน่นอนแล้วนะคะ.....ท่านที่ยังไม่ได้ส่งสำเนาบัตรประชาชนมาให้สองสาย  เราจำเป็นต้องขอตัดชื่อออกแล้วล่ะค่ะ ไม่อย่างนั้นคอยกันไปคอยกันมา ไม่ได้ยื่นให้ทางการสักที  


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 22, 2008, 12:32:55 AM

คำถามตอบได้ไหม ทำไมให้เช่าอุทยาน ?                                :                           ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012060401.JPEG)

       ผมคงไม่ต้องเกริ่นถึงความเป็นมาของประเด็นนี้ เพราะเป็นข่าวใหญ่โต เพื่อน ๆ คอลัมน์ข้างเคียง เช่น คุณวินิจ คุณปิ่น ก็เขียนถึง ยังหมายถึงข่าวที่โผล่ตามมาเป็นระยะ แล้วทำไมข้าพเจ้าเพิ่งเขียนล่ะเนี่ย ?
       
       คำตอบคือผมติดภารกิจส่วนตัว ไม่สามารถเขียนได้ จนเวลาลุล่วงมาปานนี้ แต่ก็ยังอยากเขียนนะครับ เพราะมีบางประเด็นไม่เป็นที่กล่าวถึง แถมเรื่องยังไม่จบ เรียกว่ายังทำกันอยู่แบบเงียบ ๆ ผมจึงช่วยให้เรื่องมันไม่เงียบ
       
       เพื่อเป็นการเล่าแบบตรงจุด ผมต้องขยายความว่า ประเด็นนี้มี 2 ขยัก ส่วนแรกคือการใช้กฏหมายปัจจุบัน หรือระเบียบอุทยานปี 2547 ให้เป็นประโยชน์ (ต่อใครก็ไม่รู้) ประเด็นที่สองคือร่างพรบ.ฉบับใหม่ที่ยังไม่เข้าครม. แต่มีการรวบรวมความคิดเห็นกันบ้างแล้ว
       
       เทคนิคที่ใช้ง่ายจะตาย เพราะระเบียบเดิมเขียนไว้ไม่ชัดเจน หากเราพูดถึงการให้เอกชนเข้าไปทำอะไรในอุทยาน ปัจจุบันก็มีอยู่แล้ว เช่น ดำน้ำ ล่องแก่ง ร้านขายของที่ระลึก ฯลฯ แม้แต่การจัดการบ้านพัก หมายถึงมีบ้านพักอุทยานแล้วให้เอกชนมาดำเนินการ เพื่อทำให้สะอาดสะดวกสบาย เพราะเจ้าหน้าที่อุทยานไม่ชำนาญ หรือควรเอาเวลาไปอนุรักษ์ทั้งป่าทั้งทะเล
       
       ผมเห็นด้วยกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นและเป็นอยู่ แต่ตรงนี้แหละที่เขาเริ่มมีมุก เดิมทีสัญญาเช่าแบบ 1-3 ปี มุกใหม่เป็นสัญญา 5-30 ปี เช่าพื้นที่ในระยะยาว เพื่อให้เอกชนมาลงทุน จะทำอะไร ถ้าไม่ใช่รีสอร์ต (คงไม่มีใครทำสัญญาสามสิบปีเพื่อทำความสะอาดบ้านพัก)
       
       ผมอยากตั้งคำถามแรก อุทยานได้อะไร ? จะตอบแบบไหนก็ได้ครับ ช่วยเอกชนพัฒนาการท่องเที่ยว หารายได้เข้ารัฐ ฯลฯ ผมฟังจบ ผมใคร่ถามต่อ อุทยานเปิดมาทำไมครับ ?
       
       อุทยานเปิดมาด้วย 3 วัตถุประสงค์ หนึ่งคือเพื่อรักษาธรรมชาติ สองคือเพื่อศึกษาวิจัย สามคือเพื่อการนันทนาการ ไม่เคยมีข้อไหนเขียนว่า อุทยานเปิดมาเพื่อหารายได้เข้ารัฐ และถ้าคิดจะเขียนเพิ่มเช่นนั้น เวลาไปประชุมชาวบ้าน เพื่อเตรียมประกาศอุทยาน กรุณาบอกล่วงหน้า บอกว่าเราจะประกาศอุทยานบนพื้นดินที่คุณอยู่มานาน แต่ดันไม่มีเอกสาร จากนั้นเราก็จะเปิดให้เช่า คุณจะกลับมาเช่าก็ได้นะ ในอัตราแค่ไร่ละ 48,000 บาทต่อเดือน
       
       แม้แต่วัตถุประสงค์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผมก็ยังสงสัย มีตัวอย่างประกอบด้วยครับ เพราะผมเป็นอาจารย์ มีนิสิตปริญญาโทที่ต้องการเข้าไปศึกษาวิจัยในอุทยาน จำเป็นต้องเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำมาวิเคราะห์ (ไม่งั้นจะแยกชนิดได้ไงจ๊ะ จุดธูปถามเจ้าที่เหรอ) ผมก็แนะนำให้เขาทำเรื่องขออนุญาตผ่านมหาวิทยาลัยไปตามขั้นตอน หลายเดือนผ่านไป คำตอบที่ได้รับจากกรมอุทยานฯ คือ ไม่อนุญาต
       
       ผมไม่ได้โกรธเคืองอุทยาน เพราะผมเรียนจบแล้ว นานแล้วด้วย ผมไม่ใช่ลูกศิษย์คนนั้น ผู้ฝันอยากเป็นนักอนุกรมวิธาน ก่อนที่นักวิชาการสปีชีส์นี้จะสูญพันธุ์จากเมืองไทย ผมเพียงแค่สงสัยเหตุใดนักวิจัยจึงไม่มีสิทธิวิจัย ทั้งที่ขอเก็บตัวอย่างสัตว์เพียงไม่กี่ตัว แต่เจ้าของรีสอร์ตมีสิทธิเช่าพื้นที่ตอกเสาขุดดินสร้างห้องสร้างสนาม ก่อผลกระทบคร่าชีวิตสัตว์ไปไม่รู้เท่าไหร่
       
       คำถามคือ ทำไมหรือครับ ? ทำไมอุทยานจึงพยายามไปหารายได้ ไปทำอะไรกับสิ่งที่อุทยานไม่ได้ถูกประกาศมาเพื่อเป้าประสงค์นั้น ? และทำไมอุทยานกลับปฏิเสธสิ่งที่อุทยานถูกประกาศขึ้นมาเพื่อการนั้น ? (อยากเห็นจดหมายปฏิเสธ ข้าพเจ้ายังเก็บไว้อย่างดี ว่าจะใส่กรอบด้วยซ้ำ)
       
       ถึงตอนนี้ เขาคงสั่งกาแฟให้ผมดื่ม อาจารย์ใจเย็น ๆ ประเทศไหนเค้าก็ทำกัน พอได้ฟังเช่นนั้น ผมคงสำลักกาแฟ ฮึ่มแฮ่ เข้าทางครับ เพราะนอกจากเป็นอาจารย์ ผมยังเป็นนักเขียน เรื่องที่หากินอยู่ก็คือเรื่องท่องโลก ท่องไปแค่ 70 ประเทศ เคยทำงานเป็นนักวิจัยให้ Great Barrier Reef Marine Park Authority (GBRMPA) อยู่ 3 ปี ผมใคร่จะบอกว่า...
       
       ผมบอกว่า GBR เปิดให้เอกชนทำรีสอร์ตก็จริง แต่เขามี 2,900 เกาะ เปิดให้ทำรีสอร์ตไม่ถึง 10 เกาะ สิมิลันมีหาดขาวสวย 4 แห่ง เปิดให้ทำ 3 แห่ง (นับตามพื้นที่บริการ) มันจะเหมือนกันได้ไงจ๊ะ
       
       ถ้าเค้าบอกว่า อ้าว...ก็แผนแม่บทที่อาจารย์กับเพื่อน ๆ เคยช่วยทำ กำหนดพื้นที่บริการไว้อย่างนั้นนี่ ผมก็จะตอบกลับไป พี่ครับ ก่อนที่ผมจะทำแผน ร้านอาหารก็มีอยู่แล้ว ศูนย์บริการก็มีอยู่แล้ว เพราะเราเปิดอุทยานตั้งแต่ปีมะโว้ สร้างโน่นสร้างนี่ เสร็จแล้วค่อยทำแผน ถ้าพวกผมนักวิชาการบอกให้รื้อทิ้ง พี่จะรื้อไหมครับ ? เพราะฉะนั้น ย่อหน้าต่อไปแสนสำคัญ ใช้อ้างอิงได้ทันทีที่ได้ยินคำว่า “พื้นที่บริการ”
       พื้นที่บริการในเขตอุทยานหลายแห่งของประเทศไทย โดยเฉพาะหมู่เกาะสุรินทร์และสิมิลัน มิใช่เป็นพื้นที่เหมาะสม ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ให้เหลือน้อยที่สุด แต่เป็นพื้นที่ราบ มีน้ำจืด สะดวกสุดในการสร้างบ้านพักเจ้าหน้าที่ และการคมนาคมขนส่ง ประเด็นนี้จึงไม่ควรนำมาเป็นคำตอบว่า เอกชนสร้างรีสอร์ตตรงนั้นได้ เพราะเป็นพื้นที่บริการ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
       
       คำถามอาจกลับมา อ้าว...ยังไงอุทยานก็มีบ้านพักอยู่แล้วนี่ อุทยานไม่มีตังค์ทำให้ดี ให้เอกชนทำดีกว่ามั้ง ? นั่นก็มีส่วนจริง แต่พอเกิดปัญหา มันไม่เหมือนกันน่ะสิครับ ถ้าเป็นของรัฐ พอมีปะการังตาย เราก็ยังพูดจาบอกกล่าวกันได้ พี่ครับ ลดจำนวนนักท่องเที่ยวเถอะครับ หรือช่วงนี้ขอปิดไม่ให้นอนบนเกาะได้ไหมครับ (เคยทำแล้ว สมัยสึนามิ) แต่ถ้าเป็นเอกชน ปะการังตาย เราไปบอก เค้าก็หัวเราะร่า อาจารย์ครับ ผมทำตามมาตรฐานแล้วนี่ ปะการังมันตายเพราะโลกร้อนต่างหาก
       
       คราวนี้แหละครับ ปัญหามาแน่ ใครจะเป็นคนแยกสาเหตุ ปะการังตายเพราะโลกร้อน หรือเพราะผลกระทบจากรีสอร์ต มันยากพอ ๆ กับแยกว่า แฟนหักอกเราเพราะเหตุใด มีตั้งร้อยแปดพันประการกระทำร่วมกัน ถึงแม้ว่า เราแยกได้จริง ศาลเค้าจะรับฟังไหม ? (ถ้าผมเป็นเจ้าของรีสอร์ต ลงทุนไปร้อยล้าน เปิดบริการไปได้ปีสองปี ปะการังตาย ถูกบังคับให้เลิกทำ ยังไงผมก็ฟ้องศาล ระหว่างศาลดำเนินการห้าปีสิบปี ผมก็ยังทำกิจการรีสอร์ตของผมต่อไปได้ เพราะยังไม่มีการพิสูจน์ว่า ผมผิดจริง)
       ผมรีบกล่าวถึงมุกสอง ก่อนที่หน้ากระดาษจะหมด มุกนี้มีอยู่ว่า ร่างพรบ.ฉบับใหม่ที่กำลังพิจารณา มาตรา 40 อธิบดีอุทยานฯ มีอำนาจอนุญาตหรือทำข้อตกลงผูกพัน ให้บุคลเข้าไปลงทุนก่อสร้างกิจการท่องเที่ยว ที่พักแรม ในเขตบริการ ที่ละไม่เกิน 10 ไร่ คราวละไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปี
       
       ดูแล้วเหมือนมุกแรกใช่ไหมครับ เขาทำมาเพื่อเตรียมไว้หากมุกแรกไม่ผ่าน เพราะระเบียบปัจจุบันไม่ชัด นอกจากนี้ ยังให้อำนาจอธิบดีอุทยานฯ ไว้เต็มที่ ซึ่งความถี่ในการเปลี่ยนท่านอธิบดีของกรมนี้ เท่าที่ผ่านมาในระยะเวลาสองสามเดือน เปลี่ยนไปแล้ว 3 ท่าน ผู้อำนวยการสำนักอุทยานฯ ก็เปลี่ยนด้วยอัตราใกล้เคียงกัน ผมจึงไม่มั่นใจกับท่านอธิบดีในอนาคต ผู้อาจถูกย้ายมาทำงานเฉพาะกิจ
       
       ถึงตรงนี้ ผมมีข้อเสนอครับ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่ถามเป็นอย่างเดียว เสนอก็เป็น ผมเสนอว่า ทำไมไม่ให้อำนาจการพิจารณากับคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ มีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายส่วนเข้ามาร่วม หากคิดในทางเลวร้าย เค้าก็ตั้งคนเข้ามาได้อยู่ดีแหละ แต่อย่างน้อย การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการที่มีวาระ 2 ปี (ไม่ขึ้นกับรัฐบาลไหนมาเมื่อไหร่) คงยากกว่าการเปลี่ยนอธิบดีเพียงคนเดียว ที่ทำได้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน
       
       ผมยังมีหลายมุก แต่ยังไม่ชัดเจน เอาไว้วันหลังจะเล่า เท่าที่บอกมาแค่นี้ ผมก็คงอ่วมแล้ว แต่...แฮ่ม เราเป็นลูกทะเล เจอคลื่นสูงสี่ห้าเมตรยังหัวเราะร่า ฮ่า ๆ เอิ๊ก ผมยังเชื่อโดยบริสุทธิใจ หลายคนในกรมอุทยานฯ ไม่เห็นด้วยกับประเด็นนี้ หรืออาจเห็นด้วยในแนวคิด แต่ไม่มีความมั่นใจในระบบที่ใช้ในการคัดเลือก ตรวจสอบ และลงโทษผู้กระทำผิด
       
       "รักป่า หวงดง หลงทะเล" ถ้อยความนี้เคยเขียนไว้กลางโรงอาหารเกาะสุรินทร์ก่อนโดนคลื่นสึนามิ ใครที่คิดจะเปลี่ยนเป็น "ให้เช่า ได้ตังค์ ดีใจ" ผมมีคำถามฝากไว้
       
       "คิดว่าเรื่องนี้จะง่าย ๆ และเงียบ ๆ หรือครับ ?"




จาก                              :                          ผู้จัดการออนไลน์      วันที่ 21 กันยายน 2551 


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: แม่หอย ที่ กันยายน 22, 2008, 09:04:41 AM
ยุ่งมากๆๆๆๆ ไม่อยู่บ้านหลายวัน และไม่มีโอกาสเข้าบ้าน SOS เลย เพิ่งได้กลับมาถึงห้อง เปิดบ้านปุ๊บ เลือกอ่านหัวข้อนี้เป็นอันดับแรก เพราะกลัวว่าจะตกข่าวอะไรหรือเปล่า ..คลิกไปหน้าล่าสุด...

อ่านเสร็จ ขอบอกว่าไม่เคยรู้สึกรักอาจารย์ธรณ์เท่านี้มาก่อน .. อ่านแล้วกรี๊ดๆ .. รักจัง ..จุ๊บ จุ๊บ.. :-* :-*
คิดถึงอาจารย์ ดร.สุรพล สุดารา คิดถึงพี่ๆ น้องๆ .. หลายคนอยู่ในแวดวงวิชาการ ตอนนี้เติบใหญ่กันไม่น้อย เป็นที่นับหน้าถือตา ช่วยกันส่งเสียงดังๆ แบบอาจารย์ธรณ์หน่อยพี่น้อง..


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Sri_Nuan.Ray ที่ กันยายน 22, 2008, 09:07:53 AM
พี่จิน คิดเหมือนน้องเลย ค่ะ จุ๊บๆๆ พี่จิน ด้วยค่ะ  :-*  :-*


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Plateen ที่ กันยายน 22, 2008, 10:24:40 AM
ติดตามอ่านผลงาน อ.ธรณ์ มาก็นานอยู่ ได้อ่านบทความของอาจารย์มาก็ไม่น้อย
แต่ครั้งนี้บอกได้คำเดียวว่า "คม"มาก
ฟันเข้ากลางเป้าเจาะเข้าตรงประเด็น ไม่ต้องร่ายรำ ไม่อ้อมค้อม
ถ้านักการเมืองที่พยามยามผลักดันอยู่ยังไม่รู้สึกรู้สาอีก คงเหลืออย่างเดียวแล้วครับ

หนาโคตรเลย


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 22, 2008, 10:50:38 AM

ลงประกาศใน นสพ.ว่าจะนัดประชุมวันที่ 25 ที่กรมอุทยานฯ  แต่วันนี้ แว่วมาว่าจะเปลี่ยนเป็นวันที่ 24 ซะแล้ว จัดที่ไหนยังไม่ชัดเจน

เลยชักสงสัยว่า เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จะให้สับสนหรือเปล่า หรือ กะจะให้งงแล้วหลงไปผิดวันผิดที่  จะได้ประชุมกันเองเสียให้จบๆไป

ทีแรกยังไม่แน่นอนว่าจะไป  แต่มีเสศนัยอย่างนี้ คงต้องไปเสียแล้ว  แต่ไม่รู้ว่าจะไปผิดวันหรือเปล่า :(



หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: ravevat ที่ กันยายน 22, 2008, 11:23:18 AM
 :'( งานนี้ไม่ใครก็ใครได้อิ่มกันแน่ๆเลย ข้าวปลาไม่ต้องกินกันแล้วกินหินกินดินแทนกันเลย


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 23, 2008, 01:09:52 AM

โรงแรมในอุทยานแห่งชาติ                                               โดย: เสรี เวชชบุษกร ประธานชมรมนักนิยมธรรมชาติ

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012114201.JPEG)
ผาหล่มสัก ภูกระดึง

      ประเด็นร้อนสุดๆเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในขณะนี้ไม่มีเรื่องใดที่น่าสนใจไปกว่า โครงการสัมปทานโรงแรมในอุทยานแห่งชาติซึ่งริเริ่มโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันที่จริงความคิดเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ มันเคยเกิดขึ้นมาแล้วเกือบทุกรัฐบาล ตั้งแต่พ.ศ.2525 จนถึงปัจจุบัน นับได้ประมาณ 5-6 ครั้ง แต่ที่เป็นข่าวใหญ่มีอยู่ครั้งเดียว คือ เมื่อ พ.ศ.2535 นับว่าเป็นความโชคดีของประเทศไทย ที่โครงการเหล่านั้นไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากทนแรงต่อต้านของกลุ่มนักอนุรักษ์ไม่ไหว
       
       ความคิดที่จะให้มีการอนุญาตสัมปทานโรงแรมในอุทยานแห่งชาตินั้นสันนิษฐานว่า คงจะเนื่องมาจากผู้บริหารของเราเคยไปดูงานที่สหรัฐอเมริกา เห็นเขามีโรงแรมขนาดใหญ่ในอุทยานแห่งชาติ ก็เลยเห็นดีเห็นงาม อยากจะให้มีในอุทยานแห่งชาติของเราบ้าง สันนิษฐานของผมอีกข้อหนึ่งคือ นักธุรกิจที่สายตาไกลจะมองเห็นกำไรอย่างมหาศาล หากสามารถสร้างโรงแรมในอุทยานแห่งชาติได้ เพราะมันเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่ดีที่สุดของประเทศ มีลูกค้าชั้นดีแน่นอน และสามารถคุ้มทุนในระยะสั้น

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012114202.JPEG)   
ป่าดึกดำบรรพ์ อินทนนท์    
 
       ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ นักธุรกิจเหล่านั้นมักจะเป็นผู้มีความสัมพันธ์อันดีกับนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและอดที่จะเอ่ยเสียมิได้ ก็คือหน่วยงานที่บริหารการท่องเที่ยวมักจะสนับสนุนโครงการดังกล่าว เพราะเป็นหน้าที่โดยตรงของเขา
       
       ผมขอเล่าถึงต้นตอที่เป็นจุดกำเนิดของความคิดเกี่ยวกับสัมปทานโรงแรมในอุทยานแห่งชาติสักเล็กน้อย เมื่อปี ค.ศ.1872 สหรัฐอเมริกาได้ประกาศจัดตั้งเยลโลสโตน เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศ และเป็นแห่งแรกของโลกด้วย
       
       วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งในตอนนั้น ก็เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเท่านั้น และต้องการให้เอกชนเข้าไปลงทุนบริการต่างๆ แล้วเก็บค่าเช่าเพื่อนำเงินไปใช้ให้เอกชนเป็นค่าดูแลรักษาพื้นที่ อุทยานแห่งชาติแรกๆของสหรัฐอเมริกา เช่น เยลโลสโตน โยเซมิตี และแกรนด์ แคนยอน จะมีอาคารสำหรับบริการนักท่องเที่ยวอย่างหนาแน่น ประเทศแคนาดาก็พัฒนาโดยการลอกเลียนแบบอเมริกา
       
       ดังจะเห็นได้จากอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของเขาได้สร้างศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เป็นชุมชนขนาดใหญ่อยู่ในเขตอุทยาน อุทยานแห่งชาติแรกๆของประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ก็พัฒนาตามแนวคิดของอเมริกา ปรากฏว่ามีโรงแรมในอุทยานแทบทุกแห่ง

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012114203.JPEG)   
ทิวทัศน์ ณ จุดชมวิวห้วยน้ำดัง    
 
       กาลเวลาผ่านไปหลายสิบปี ความคิดที่ว่าดีในสมัยนั้นก็ออกฤทธิ์ไปทางลบ และยังไม่สามารถแก้ไขได้กระทั่งทุกวันนี้ กล่าวคือสิ่งก่อสร้างทั้งหลายยังคงแออัดอยู่ในบริเวณที่มีทิวทัศน์สวยงาม และมีผลกระทบต่อสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม ปัญหาสำคัญ คือ หน่วยงานอุทยานแห่งชาติไม่สามารถควบคุมสัมปทานให้ดำเนินการไปตามเงื่อนไขในสัญญาเนื่องจากเจ้าของสัมปทานส่วนใหญ่มีอิทธิพลมาก และมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับนักการเมือง ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกัน ปัญหาใหญ่ที่ยังคาราคาซังอยู่ คือ อุทยานไม่สามารถบอกเลิกสัมปทานได้
       
       ประสบการณ์ดังกล่าวเป็นบทเรียนสำหรับผู้บริหารอุทยานแห่งชาติทั่วโลก ฉะนั้นในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา แทบจะไม่มีสัมปทานโรงแรมขนาดใหญ่เกิดขึ้นในอุทยานแห่งชาติใดๆในโลก แต่สัมปทานบริการอื่นๆยังคงมีอยู่ เช่น การขายอาหาร ขายของที่ระลึก การนำเที่ยว และการขนส่ง เนื่องจากเห็นว่าสามารถควบคุมดูแลได้ง่ายและมีผลกระทบน้อย

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012114204.JPEG)   
ฝูงกวางออกหากินที่เขาใหญ่    
 
       มีคำถามว่า แล้วจะให้นักท่องเที่ยวไปพักที่ไหน คำตอบจากหน่วยงานบริหารอุทยานแห่งชาติทั่วโลกเห็นพ้องกันว่า ควรให้ไปใช้บริการของเอกชนที่อยู่นอกเขตอุทยาน เพื่อว่าจะได้กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ขณะเดียวกันอุทยานแห่งชาติจะได้ลดภาระในการดูแล และมีเวลาทำหน้าที่หลักมากขึ้น ได้แก่ การป้องกันทรัพยากร การให้ความรู้และความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
       
       หากมีโอกาสเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติในยุโรป เช่น ประเทศฟินแลนด์ นอร์เวย์และสวีเดน จะพบว่า เขาไม่มีโรงแรมในเขตอุทยานสักแห่งเดียว แต่จะมีอยู่ในบริเวณชายเขต
       
       สำหรับ สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเขาจะส่งเสริมให้เอกชนไปพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อบริการนักท่องเที่ยวในบริเวณก่อนเข้าถึงเรียกว่า "Gateway Community" นักท่องเที่ยวจะเข้าไปหาความเพลิดเพลินในอุทยานตอนกลางวัน และพักข้างนอกตอนกลางคืนหลักคิดเช่นนี้ ควรนำมาใช้ในประเทศไทยด้วย

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012114205.JPEG)   
ยอดพะเนินทุ่ง แก่งกระจาน   
 
       อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถยุติการบริการพักแรมในอุทยานได้อย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะที่พักแรมของเยาวชน ในรูปแบบของอาคารหรือลานกางเต็นท์ ยังควรมีอยู่ต่อไป เพราะโครงการสร้างสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแก่เยาวชน เป็นเพราะหน้าที่ของอุทยานโดยตรง ส่วนอุทยานแห่งชาติที่อยู่ห่างไกล และไม่มีบริการของเอกชนที่อยู่ใกล้เคียง ก็ให้มีที่พักแรมตามความจำเป็น
       
       ถ้าไม่เอาสัมปทานแล้วจะเอาใคร หน่วยงานอุทยานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ได้เปลี่ยนแนวคิดจากสัมปทาน ไปใช้บริการขององค์กรเอกชนที่ไม่หวังผลกำไร (non – profit organjzation) องค์กรเหล่านี้จะไม่ก่อปัญหา แต่จะช่วยสนับสนุนและทำงานสอดคล้องกับอุทยานเป็นอย่างดี
       
       อีกทั้งยังแบ่งกำไรทั้งหมดให้แก่อุทยานเพื่อนำไปใช้ในการบริหาร เช่น อุทยานแห่งชาติโยเซมิติ ได้รับบริจาคเงินจากองค์กรดังกล่าว ประมาณร้อยละ 20 ของงบประมาณทั้งปี นอกจากนี้อุทยานยังได้ใช้ประโยชน์จากอาสาสมัคร และสามารถลดค่าจ้างบุคลากรได้เป็นอันมาก
       
       ถึงเวลาแล้วที่กรมอุทยานแห่งชาติฯจะต้องจัดทำนโยบายด้านบริการนักท่องเที่ยวเสียใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการผมมีความคิดเบื้องต้น ดังนี้
       
       1. ควรกำหนดให้แน่นอนว่า อุทยานใดจะมีบริการพักแรมและอุทยานใดไม่มีบริการพักแรม เพื่อว่าจะได้กำหนดบุคลากรและสิ่งอำนวยความสะดวกได้ถูกต้อง
       
       2.ควรส่งเสริมให้เอกชนจัดบริการอยู่ภายนอก และอุทยานช่วยประชาสัมพันธ์ให้ไปใช้บริการดังกล่าว
       
       3.ให้โอกาสคนในท้องถิ่นดำเนินธุรกิจก่อน เมื่อไม่มีจึงให้บุคลภายนอกเข้ามาทำ
       
       4.ควรพิจารณาใช้ประโยชน์จากองค์กรเอกชนที่ไม่หวังกำไรและอาสาสมัคร

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012114206.JPEG)   
น้ำตกเอราวัณ อช.เอราวัณ 
 
       สรุป จากบทเรียนที่ได้รับจากต่างประเทศเกี่ยวกับปัญหาสัมปทานโรงแรมก็พอจะเป็นแนวคิดที่ว่า เราควรหลีกเลี่ยงโครงการดังกล่าว ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ควรส่งเสริมให้เอกชนพัฒนาบริการนักท่องเที่ยวอยู่นอกเขตอุทยาน พร้อมทั้งช่วยอุดหนุนเงินทุน วิชาการ และสาธารณูปโภคที่จำเป็น ซึ่งจะช่วยให้เกิดความยั่งยืน ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจ และสังคม
       
       การเมืองเป็นปัจจัยสำคัญ ที่มักจะริเริ่มโครงการที่ขัดกับวัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์อยู่เสมอ จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ต้องชี้แจ้งข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องและต่อไปนี้ควรจะร่างนโยบายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในอุทยานแห่งชาติ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบสากล เพื่อเป็นหลักปฏิบัติต่อไป ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลใครจะเป็นผู้บริหาร ก็จะต้องปฏิบัติตามกรอบที่กำหนดไว้
       
       สุดท้ายนี้ผมหวังว่าบทความนี้คงจะเป็นประโยชน์บ้างตามสมควร และแอบหวังลึกๆว่า โครงการสัมปทานโรงแรมในครั้งนี้ คงจะเป็นครั้งสุดท้าย
       
           
       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *


       หมายเหตุกองบรรณาธิการ : บทความ"โรงแรมในอุทยานแห่งชาติ" เป็นการนำเสนอมุมมองที่แตกออกมาจากประเด็นร้อนในเรื่องของการเปิดให้เอกชนเข้าไปสัมปทานทำธุรกิจในพื้นที่ 10 อุทยานแห่งชาติชื่อดัง ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่, ห้วยน้ำดัง, ดอยอินทนนท์, ดอยสุเทพ-ปุย, ดอยผ้าห่มปก, ภูกระดึง, แก่งกระจาน, เอราวัณ, หมู่เกาะสิมิลัน และหมู่เกาะสุรินทร์ โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ซึ่งล่าสุด ทาง ทส. ได้ถอนเรื่องออกจากมติครม. เนื่องจากมีกระแสต่อต้านและคัดค้านจำนวนมาก แต่ก็ไม่ควรที่จะนิ่งนอนใจเพราะในอนาคตอาจจะมีการรื้อฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาอีกเมื่อไหร่ก็ได้
 



จาก                                :                             ผู้จัดการออนไลน์     วันที่ 22 กันยายน 2551 


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Plateen ที่ กันยายน 23, 2008, 01:46:10 AM
 หมายเหตุกองบรรณาธิการ : บทความ"โรงแรมในอุทยานแห่งชาติ" เป็นการนำเสนอมุมมองที่แตกออกมาจากประเด็นร้อนในเรื่องของการเปิดให้เอกชนเข้าไปสัมปทานทำธุรกิจในพื้นที่ 10 อุทยานแห่งชาติชื่อดัง ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่, ห้วยน้ำดัง, ดอยอินทนนท์, ดอยสุเทพ-ปุย, ดอยผ้าห่มปก, ภูกระดึง, แก่งกระจาน, เอราวัณ, หมู่เกาะสิมิลัน และหมู่เกาะสุรินทร์ โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ซึ่งล่าสุด ทาง ทส. ได้ถอนเรื่องออกจากมติครม. เนื่องจากมีกระแสต่อต้านและคัดค้านจำนวนมาก แต่ก็ไม่ควรที่จะนิ่งนอนใจเพราะในอนาคตอาจจะมีการรื้อฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาอีกเมื่อไหร่ก็ได้
 


อ่านมาจนจบมาตื่นเต้นเอาตรงหมายเหตุบก.นี่เอง
ขอให้มันจริงเถอะ แต่สังหรณ์ใจยังไงชอบกลว่ามันคงไม่จบง่ายๆยังงี้มั้ง >:(


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ กันยายน 23, 2008, 02:31:22 AM

จะถอนหรือไม่ถอน...พวกเราก็ขอคัดค้านไว้ก่อนแล้วล่ะค่ะ.... ;D


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: angel frog ที่ กันยายน 23, 2008, 03:16:04 AM
บอกได้คำเดียวว่า  ถ้าเรื่องนี้เอกชนเข้ามาได้จริงๆ   เลือดต้องนองแผ่นดิน  ...แหง๋ๆ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: conundrum ที่ กันยายน 23, 2008, 03:58:45 AM
จะเอายังงัยเนี่ย  ยึกยัก ยึกยัก  :(


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 24, 2008, 12:52:44 AM

ยังไม่เลิกกินอุทยาน เอกชนเสนอแผนสร้างรร.ห้าดาวบนเกาะตะรุเตา

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012173401.JPEG)

     กรมอุทยานฯยังไม่เลิก เดินหน้าสำรวจ 7 อุทยานแห่งชาติทางทะเลฝั่งอันดามันให้เอกชนเช่า ล่าสุดกลุ่มบริษัทบ้านปูละคร เสนอแผนลงทุนโรงแรม 5 ดาว ที่อ่าวเมาะและ เกาะตะรุเตา
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เตรียมจัดประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็น กรณีนโยบายเอกชนเข้าใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อจัดบริการท่องเที่ยวในวันที่ 24 ก.ย. นี้ แต่ในระดับพื้นที่กลับมีการเนินการสำรวจเปิดเช่าอุทยานแห่งชาติ โดยล่าสุดสรุป 7 อุทยานแห่งชาติที่มีศักยภาพเปิดเอกชนเช่าพื้นที่ได้แล้ว
       
       จากการตรวจสอบเอกสารการประชุมคณะกรรมการอำนวยการด้านการส่งเสริมให้เอกชนเข้าร่วมบริการการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ ที่มีนายวิชิต พัฒนโกศัย รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นประธาน โดยการประชุมเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2551 ได้สรุปแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดเช่าอุทยานแห่งชาติ โดยแบ่งคณะทำงานเพื่อพิจารณาตามความเหมาะสมของพื้นที่ออกเป็น 3 ชุด คือ ชุดที่ 1 ภาคใต้ ชุดที่ 2 ภาคเหนือ และชุดที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคกลาง
       
       สำหรับหน้าที่ของคณะทำงานดังกล่าวจะทำหน้าที่สำรวจ ตรวจสอบ วิเคราะห์และนำเสนอรายละเอียดความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ในเขตความรับผิดชอบ พร้อมสรุปบริเวณที่จะให้เอกชนลงทุนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ นอกจากนี้คณะกรรมการอำนวยการฯได้จัดประชุมครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 19 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยนายนภดล พฤกษะวัน หัวหน้าคณะทำงานชุดที่ 1 (ภาคใต้) ได้สรุปรายละเอียดการสำรวจอุทยานภาคใต้เบื้องต้นเสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการฯ กระทั่งมีมติเลือก 7 อุทยานแห่งชาติ และกำหนดจุดบริการเพื่อการท่องเที่ยว 24 แห่ง ประกอบด้วย

        1.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา บริเวณเกาะตาชัย เนื้อที่ 45 ไร่ บริเวณอ่าวงวงช้าง เกาะแปด พื้นที่ 40 ไร่

       2.อุทยานแห่งชาติสิรินาถ จ.ภูเก็ต บริเวณท่าฉัตรไชย หาดลายัน เนื้อที่ 70 ไร่ และบริเวณหัวแหลมอ่าวปอ เนื้อที่ 30 ไร่
       
       3.อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง จ.พังงา บริเวณพื้นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ลป.3 (ปาง) และบริเวณข้างเคียง และบริเวณพื้นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ลป.3 (ปาง) ต่อเนื่องไปทางทิศเหนือ 4.อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ มี 4 แห่งคือบริเวณหาดนพรัตน์ธารา พื้นที่ 5 ไร่ บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแห่งที่ 2 (สุสานหอย) เนื้อที่ 12 ไร่ บริเวณที่ราบเกาะปอดะใน เนื้อที่ 70 ไร่ และบริเวณอ่าวต้นไทร เกาะพีพีดอน เนื้อที่ 40 ไร่
       
       5.อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง รวมพื้นที่ 7 แห่ง รวมทั้งหมด 1,910 ไร่ ได้แก่บริเวณที่ทำการอุทยาน (หาดฉางหลาง) เนื้อที่ 809 ไร่ บริเวณหาดยาว เนื้อที่ 440 ไร่ บริเวณเกาะกระดาน เนื้อที่ 118 ไร่ บริเวณหาดหยงหลิน เนื้อที่ 53 ไร่ บริเวณหาดฉางหลาง (เพิ่มเติม) เนื้อที่ 179 ไร่ บริเวณหาดสั้น เนื้อที่ 162 ไร่ และบริเวณเกาะมุก เนื้อที่ 149 ไร่
       
       6.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ 2 แห่ง คือพื้นที่ตั้งอุทยานแห่งชาติ 1 (เกาะรอก) เนื้อที่ 336 ไร่ บริเวณชายหาดอ่าวไม้ไผ่ ใกล้จุดที่ทำการอุทยานฯลันตา เนื้อที่ 26 ไร่ และ 7.อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จ.สตูล 4 จุด คือบริเวณอ่าวจาก เกาะตะรุเตา เนื้อที่ 80 ไร่ อ่าวเมาะและ เกาะตะรุเตา เนื้อที่ 40 ไร่ บริเวณอ่าวราชา เกาะราวี เนื้อที่ 30 ไร่ และบริเวณอ่าวตะโละปะเหลียน เกาะราวี เนื้อที่ 60 ไร่
       
       นอกจากนั้น ในการประชุมดังกล่าวยังได้มีนำเสนอการขออนุญาตเช่าพื้นที่บริการบริเวณอ่าวเมาะและ ที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา โดยบริษัทบ้านปูละคร (2550) จำกัด ที่ได้เสนอแผนวิเคราะห์การลงทุนพัฒนาโรงแรมระดับห้าดาวจำนวน 140 ห้อง บนพื้นที่อ่าวเมาะและ แต่ที่ประชุมยังเห็นว่าเอกสารยังไม่ครบถ้วนตามระเบียบว่าด้วยการอนุญาตปี 2547 จึงไม่พิจารณา และให้นำเรื่องกลับไปพิจารณาโดยละเอียดว่าไม่ครบถ้วนในประเด็นใดบ้าง และให้นำเสนอเป็นเอกสารมาอีกครั้ง
       
       แหล่งข่าวจากกระทรวงทรัพยากรฯระบุว่า แผนสำรวจพื้นที่บริการของอุทยานทางภาคใต้ที่เสนอให้กับนายวิชิตเป็นเพียงการพิจารณาความเป็นไปได้เบื้องต้นเท่านั้น เชื่อว่าต้องมีอีกหลายขั้นตอนกว่าจะส่งให้เอกชนมาลงทุนได้ เนื่องจากต้องส่งรายละเอียดให้กับส่วนศึกษานันทนาการและสื่อความหมาย รวมทั้งสำนักวิจัยอุทยานฯพิจารณาว่าพื้นที่บริการเหล่านั้นกำหนดอยู่ในแผนแม่บทการจัดการอุทยานแห่งชาติหรือไม่
       
       “บางแห่งที่กำหนดเขตบริการเพิ่มเติมนั้น หัวหน้าอุทยานแห่งชาติต้องพิจารณานำเสนอให้เป็นไปตามระเบียบกรมอุทยานปี 2547 ข้อ 9 ซึ่งกำหนดไว้ว่าพื้นที่ที่จะขออนุญาตเป็นเขตบริการการอนุญาตและขออนุญาต ซึ่งในเรื่องนี้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติต้องรายงนกรมอุทยานฯเพื่อพิจารณาอนุมัติ และกรณีอุทยานที่ยังไม่ได้จัดทำแผนแม่บทการจัดการอุทยาน จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการออกไปสำรวจคัดเลือกพื้นที่และกำหนดเป็นเขตบริการ เพื่อเอกชนสามารถขอใช้ประโยชน์พื้นที่” แหล่งข่าวกล่าว
       
       ด้านนายทรงธรรม สุขสว่าง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยอุทยานแห่งชาติกรมอุทยานฯ กล่าวว่า ขณะนี้มีอุทยานแห่งชาติที่มีมีการประกาศจัดตั้งรวม 110 แห่งจากทั้งหมด 148 แห่ง ที่กำหนดเป็นอุทยานฯ และมีเพียง 60 แห่งที่จัดทำแผนแม่ททแล้วเสร็จ แต่ในจำนวนนี้ 45 แห่งหมดอายุแล้ว เช่น เขาใหญ่ ตะรุเตา เกาะพีพี เขื่อนศรีนครินทร์ แก่งกระจาน ถูกระดึง ทับลาน สุรินทร์ สิมิลัน ดอยอินทนนท์ ดอยสุเทพ-ปุย เป็นต้น เนื่องจากกำหนดแผนคราวละ 5 ปี ส่วนอีก15 แห่งยังไม่หมดอายุ ส่วนอีก 50 แห่งยังอยู่ระหว่างการเตรียมจัดทำแผนแม่บทอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติม และอีก 38 แห่งกำลังเตรียมการประกาศ
       
       สำหรับแผนแม่บทการจัดการอุทยานแห่งขาติ จะใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการทรัพยากรในอุทยาน เพื่อให้เกิดความชัดเจนจึงได้โซนนิ่งพื้นที่เอาไว้ 6 ลักษณะ ได้แก่ เขตบริการ เขตนันทนาการ เขตสงวนสภาพธรรมชาติ เขตหวงห้าม เขตฟื้นฟู และเขตกิจกรรมพิเศษ รวมทั้งต้องมีรายละเอียดข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ ทรัพยากรพืช สัตว์ที่มีความโดดเด่น ลักษณะสภาพพื้นที่ อากาศ ดิน น้ำ ชายหาด แหล่งท่องเที่ยว มีประชาชนอยู่หรือไม่ ตลอดจนจำนวนบุคลากร
       
       ดังนั้นเมื่อครบ 4 ปี จึงจำเป็นต้องทบทวนรายละเอียดใหม่ทั้งหมด โดยดูจากปัจจัยทั้งด้านธรรมชาติด้านการท่องเที่ยวที่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนจะนำไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อเปิดให้เอกชนใช้พื้นที่หรือไม่นั้น ทางสำนักวิจัยฯไม่ได้รับผิดชอบโดยตรง เพียงแต่อยู่ในแผนแม่บทแห่งหนึ่ง ต้องจ้างนักวิชาการเก็บข้อมูลและสรุปมากกว่า 1ปี




จาก                                :                             ผู้จัดการออนไลน์     วันที่ 23 กันยายน 2551 


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: WayfarinG ที่ กันยายน 24, 2008, 01:32:47 AM
(http://www.myem0.com/upload/icon/emoticon-015.gif) -- > ยังไม่เลิกกินอุทยาน เอกชนเสนอแผนสร้างรร.ห้าดาวบนเกาะตะรุเตา


(http://www.lcd-hdtv-reviews.info/yoyo/kapook-16509-7850.gif) -->สงสัย ไอ้คนที่มันคิดที่จะทำแบบนี้..ไม่คิดว่าจะโดนธรณีสูบบ้างหรืองัย ขายบ้านขายแผ่นดินแบบนี้อะ..



หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 24, 2008, 01:48:05 AM

"ดร.ธรณ์"ไล่บี้เซ้งรีสอร์ท

กรณีที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปลี่ยนวันจัดประชาพิจารณ์เรื่องการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าไปเช่าพื้นที่อุทยานฯเพื่อสร้างรีสอร์ทและร้านอาหารเป็นระยะเวลา 30 ปี จากวันที่ 25 กันยายน เป็นวันที่ 24 กันยายน กะทันหัน โดยก่อนหน้านี้ได้ออกประกาศเชิญชวนให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมประชุมกันทั่วหน้าแล้วนั้น

เมื่อวันที่ 23 กันยายน นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองอธิการบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ขอฝากถามที่ประชุม 3 ข้อ คือ

1.ตัวเลขที่กรมอุทยานให้เอกชนเช่า จำนวน 48,000 บาทต่อไร่ นำตัวเลขอะไรมาคิดคำนวณ

2.โรงแรมหรือรีสอร์ทที่จะให้เอกชนสร้างต้องทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) หรือไม่ เพราะเดิมทีโรงแรมที่มีห้องพักไม่เกิน 80 ห้อง ไม่ต้องทำอีไอเอ แต่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ถือเป็นพื้นที่ที่อ่อนไหวอย่างมาก

3.อยากทราบว่า เรื่องเดิมที่กรมอุทยานฯเคยกำหนดปริมาณนักท่องเที่ยวสำหรับในพื้นที่อุทยานฯต่างๆ เช่น ที่เกาะสุรินทร์ กำหนดไว้ต้องไม่เกิน 620 คนต่อคืน

จึงอยากทราบว่า ยังคงใช้หลักเกณฑ์นี้อยู่หรือไม่ และอย่าลืมว่าในโรงแรมหรือรีสอร์ทนั้นจะต้องมีพนักงานอยู่จะนับรวมหรือไม่ คำตอบของกรมอุทยานฯน่าจะบอกอะไรได้ระดับหนึ่ง



จาก                        :                      มติชน   วันที่ 24 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Sri_Nuan.Ray ที่ กันยายน 24, 2008, 02:03:52 AM
คนมันจะ เอา เนี่ย  อย่างหนา จริงๆๆ เลย  ไม่น่าให้อยู่ในประเทศเราเลย

พระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีของพวกเรา   มีแต่ อยากจะสร้างป่าผืนเขียว  แต่ว่า "อมนุษย์"  สักแต่อยากทำลาย.....

ขอให้พวกมันเจริญ ลง เจริญลง โกงกินเข้าไป.....


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Udomlert ที่ กันยายน 24, 2008, 02:55:25 AM
ไม่แน่ใจครับ แต่มีข้อมูลจากเว็บอื่นว่า มีการเลื่อนการจัดทำประชาพิจารณื มาเป็นวันที่ 24 ครับ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: WayfarinG ที่ กันยายน 24, 2008, 03:14:19 AM
ไม่แน่ใจครับ แต่มีข้อมูลจากเว็บอื่นว่า มีการเลื่อนการจัดทำประชาพิจารณื มาเป็นวันที่ 24 ครับ


สงสัยกลัวคนไปประท้วงมากมาย จริงๆ พวก พธม น่าจะมาร่วมด้วยนะ.. เพราะ การกระทำนี้ ก็เหมือนกับการขายชาติเหมือนกัน..  ;)


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: kungkings ที่ กันยายน 24, 2008, 04:10:24 AM
คนพวกนี้เหมือนกันหมด ...ประมาณกล้าทำ (ไม่ดี) แต่ไม่กล้ารับ (ผิด) สักคน   >:( >:( >:(


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 25, 2008, 12:57:03 AM

เปิดเอกชนเช่าอุทยานฯ : คนเล็กรักษ์ป่า คนโตขายป่า                                  :                            ปิ่น บุตรี

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012214501.JPEG)
พิทักษ์ป่าคนเล็กๆกับภารกิจปกปักรักษาป่าอันยิ่งใหญ่

       ไม่ใช่เพราะ “คนใหญ่คนโต”ประเภทคับบ้านคับเมือง(จำนวนหนึ่ง)หรอกหรือ? ที่ทำให้บ้านนี้เมืองนี้ลุ่มๆดอนๆ ยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก ไม่ไปถึงไหนสักที
       
       ไอ้คนใหญ่คนโตประเภทนี้มันก็ดีแต่หลอกประชาชนให้เลือกมันเข้ามาเป็น ส.ส. เป็นรัฐบาล แล้วเข้ามาทำริยำตำบอน โกงบ้านกินเมือง ใช้อำนาจบาตรใหญ่ เผด็จการ กดขี่ข่มเหง จำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน ขายชาติขายแผ่นดิน ขายกินแม๋งทุกอย่าง
       
       และดูเหมือนว่าไอ้สันดานแบบนี้มันยังไม่เคยหมดไปจากคนใหญ่คนโตในบ้านเรา เพราะเมื่อไม่กี่วันมานี้มีข่าวออกมาว่า คนโตบางคนในวงการป่าไม้บ้านเรางานเข้า กระฉูดไอเดีย กระเหี้ยนกระหือรือ ต้องการเปิด 10 อุทยานแห่งชาติชื่อดังให้เอกชนเข้ามาสัมปทาน พร้อมกับยกเรื่องของการท่องเที่ยวขึ้นมากล่าวอ้าง
       
       โหย...ไม่รู้ใครหนอมันช่างคิดและเอาส่วนไหนคิด เพราะกรมอุทยานฯนั้นมีหน้าที่ดูแลรักษาป่า ซึ่งเป็นสมบัติของชาติ สมบัติของคนไทย และสมบัติของมนุษยชาติ แต่นี่กลับกระทำการที่เข้าข่ายการ“ขายป่า”เฉยเลย
       
       เมื่อสภาพการณ์เป็นอย่างนี้แล้ว มันก็ทำให้ผมอดนึกถึงบรรดาเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า คนเล็กๆที่ลำบากลำบน ทุ่มเทกายใจ ทำหน้าที่คอยดูแลปกปักรักษาป่าในบ้านนี้เมืองนี้ไม่ได้
       
       1...
       
       กลางวงเหล้าขาว ค่ำคืนแรกแห่งอุทยานแห่งชาติศรีพังงา จ.พังงา เมื่อหลายปีที่แล้ว
       
       ผมร่วมร่ำสุรากับพี่พิทักษ์ป่าหลายคน หลังจากที่ช่วงบ่ายพวกพี่เขาพาผมกับเพื่อนเดินป่าแล้ว สนิทสนมคุ้นเคยกัน
       
       พี่ อ. (ขอสงวนชื่อจริงเพื่อไม่ให้เกิดความยากลำยากในการทำงานของพี่แก) คือคนที่ผมคุ้นเคยที่สุด แกเป็นมือกีตาร์และปิศาจสุราประเภทกินถึงไหนถึงกัน ซึ่งไม่ว่าวงสุราจะเลิกดึกแค่ไหนแกก็สามารถตื่นแต่เช้าเดินเข้าป่าได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวและไม่สะทกสะท้าน
       
       “กินเหล้าอย่างนี้แล้วตื่นมาเดินป่านะไม่เท่าไหร่หรอก ขอเพียงกินเหล้าให้เป็นเท่านั้น แต่ที่พี่เคย “น็อก”นะ ไม่ใช่เพราะเหล้าหรืออดนอน แต่เราน็อกเพราะถูกไข้ป่าเล่นงาน”
       
       จากคำบอกเล่าของเพื่อนๆ ดูเหมือนว่างานนั้นพี่ อ. โดนพิษไข้ป่าเล่นงานจนหมดสภาพ นอนหนาวสั่น เหงื่อแตกโชก แถมยังเพ้ออย่างคนเสียสติ
       
       แต่กระนั้นพี่ อ.บอกกับผมว่า “ไข้ป่า” ยังไงก็ไม่น่ากลัวเท่า“ไข้โป้ง” เพราะไอ้โรคนี้มันเป็นได้แค่หนเดียวเท่านั้น
       
       2...
       
       พิทักษ์ป่าส่วนใหญ่แม้จะเข้มแข็ง แข็งแกร่ง แต่ใครบ้างล่ะไม่กลัวไข้โป้ง ยิ่งในยุคก้าวล้ำทางเทคโนโลยีที่บรรดาโจรร้ายผู้ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ฆ่าสัตว์ มีอาวุธทันสมัยเพียบพร้อม ทั้งไรเฟิล อาก้า แต่พิทักษ์ป่าล่ะมีอะไร?
       
       “พวกเราก็มีลูกซองเก่าๆเอาไว้ตีงูไง”
       
       นี่คือตลกร้ายจากพิทักษ์ป่าคนหนึ่ง ก่อนที่แกจะเล่าต่อว่า
       
       “ไอ้ลูกซองเก๋ากึ๊กที่เรามีเนี่ย บางวันก็ยิงได้ บางวันก็ขัดลำกล้อง แถมมันมักขัดลำกล้องตอนที่เจอกับคนร้ายเสียอีก นี่เว้ากันซื่อๆ ไม่ต้องถึงขนาดคนร้ายมีปืนหรอก เอาแค่มีมีดเล่มใหญ่ๆ นี่แหละ ถ้าเกิดเขาสู้ขึ้นมา บางทีเราที่มีปืนก็สู้เขาไม่ได้เหมือนกัน เพราะว่าปืนมันยิงไม่ได้ ที่พกไปนี่แค่เอาไว้ขู่ให้พวกคนร้ายกลัวเท่านั้น”
       
       และด้วยความไร้ด้อยของอาวุธรวมถึงความไร้สมรรถภาพของคนโตแห่งวงการป่าไม้(ที่ไม่อนุมัติงบประมาณในด้านนี้)ได้ทำให้พิทักษ์ป่าบาดเจ็บ ล้มตาย จากการปะทะกับคนร้ายไปเป็นจำนวนมาก
       
       นับว่าโรคไข้โป้งเป็นความเสี่ยงที่ไม่มีใครอยากเจอ แต่ว่าบางครั้งมันก็มักจะมาเยี่ยมเยือนแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวอยู่บ่อยครั้ง
       
       3...
       
       คนเล็กๆอย่างพิทักษ์ป่า นอกจากจะเผชิญความสุ่มเสี่ยงต่างๆแล้ว สิ่งหนึ่งที่สร้างความหนักใจให้กับพวกเขาเป็นอย่างมากก็คือ การทำความเข้าใจกับชุมชน ชาวบ้าน ที่มีพฤติกรรมเข้าป่าล่าสัตว์ ตัดไม้ และพึ่งพาอาศัยหากินกับผืนป่ามาอย่างยาวนาน
       
       จริงอยู่ในอดีตผืนป่ามีมากและอุดมสมบูรณ์ พวกเขาอาจมองไม่เห็นถึงผลกระทบต่อการทำลายป่า แต่วันนี้เมื่อป่าหดหาย ผลกระทบย่อมหายใจรดต้นคอเรามากขึ้น
       
       ด้วยเหตุนี้ตามอุทยานฯส่วนใหญ่ จึงตั้ง“ทีมสื่อความหมายธรรมชาติ”ขึ้นมา เพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้านและปลูกฝังแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์ผืนป่าและทรัพยาการธรรมชาติให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ซึ่งหนึ่งในจนท.สื่อความหมายที่ผมคุ้นเคยดีก็คือ พี่ อ. แห่งอุทยานฯเขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี ที่อุทิศชีวิตส่วนใหญ่ให้กับผืนป่าในเมืองไทย
       
       พี่ อ. เป็นเด็กหนุ่มจากเมืองกรุงฯ แต่ออกเดินทางด้วยหัวใจแสวงหาหนีความวุ่นวายในเมืองใหญ่สู่ป่าเขาคิชฌกูฏ ในปี พ.ศ. 2529 เพื่อรับหน้าที่เป็นพิทักษ์ป่า ทั้งๆที่แกมีโอกาสทำงานนั่งโต๊ะสบายๆ กินเงินเดือนสูงๆ แต่ไม่ทำ กลับเลือกเดินหน้าเข้าป่ามาลำบากลำบนและเสี่ยงภัยต่างๆนานา
       
       "สมัยก่อนชาวบ้านแถวนี้ "ไม่เข้าใจ"ว่าพวกเรามาทำอะไรกัน อยู่ดีๆ พวกเราก็มาบอกให้พวกเขาหยุดล่าสัตว์ หยุดตัดต้นไม้ ทั้งที่หลายๆคนมีอาชีพเป็นพรานมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แม้กระทั่งการไปสอนลูกหลานเขาให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติ แรกๆพวกเขาก็ยังงงๆ คิดว่าพวกเราทีมสื่อความหมายจะมาปลุกระดมลูกหลานเขาหรือเปล่า" พี่ อ.เล่าความหลัง
       
       ไอ้ความ"ไม่เข้าใจ"นี่แหละ ถือเป็นปัญหาระดับคลาสสิคของทีมสื่อความหมายฯที่มีมาช้านาน ซึ่งมันไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแต่กับชาวบ้านเท่านั้น แต่ว่าความไม่เข้าใจนั้นยังเกิดขึ้นกับในส่วนของคนในภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ในเมืองไทยโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นคนในกรมป่าไม้หรือคนในกรมอุทยานฯ โดยเฉพาะกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มองว่า ผืนป่าเมืองไทยนั้นเป็นของพวกตน ชาวบ้านนั้นไม่มีสิทธิแต่ประการใดทั้งๆที่ในอุทยานแห่งชาติหลายๆแห่งชาวบ้านอยู่กันมานับร้อยปีก่อนที่จะมีการประกาศเป็นอุทยานฯด้วยซ้ำ
       
       นั่นจึงเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้อุทยานฯกับชาวบ้านไปด้วยกันไม่ได้ ถึงขนาดในบางพื้นที่ต้องแก้กันด้วยปืนเลยทีเดียว และนั่นก็ทำให้งานสื่อความหมายฯที่คนเล็กๆเหล่านี้ พยายามสร้างขึ้นมาในสมัยก่อน ต้องล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะว่าคนใหญ่คนโตหลายๆคนในวงการป่าไม้ไม่ให้การสนับสนุน
       
       เมื่อไม่ให้การสนับสนุนงบประมาณตรงส่วนนี้ก็ไม่มี ทำให้เจ้าหน้าที่สื่อความหมายและพิทักษ์ป่าทั่วไทย จำเป็นต้องต่อสู้ฟันฝ่ากับอุปสรรคต่างๆนานาๆ กว่าจะมาถึงวันนี้ ที่สถานการณ์การอนุรักษ์ป่าและธรรมชาติในบ้านเราดูดีขึ้นบ้าง ซึ่งนั่นก็คือเรื่องจริงที่คนเล็กๆอย่างพิทักษ์ป่าต้องประสบพบเจอ
       
       แต่...อนิจจาในขณะที่ “คนเล็กๆ” อย่างเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่ทำงานได้เงินไม่กี่พันบาทต่อเดือน ได้ทำหน้าที่ยืนหยัดต่อสู้ด้วยเลือดเนื้อ ชีวิต และจิตวิญญาณ เพื่อคอยปกปักรักษาผืนป่าในเมืองไทยเอาไว้ไม่ให้ถูกทำลายไปมากกว่านี้ แต่ทว่า"คนใหญ่คนโต"ในแวดวงป่าไม้บ้านเรากลับกระทำการในสิ่งตรงกันข้าม ด้วยการพยายามยกป่า ขายป่า ให้เอกชนมาเช่าในระยะยาวเฉยเลย



จาก                                :                             ผู้จัดการออนไลน์     วันที่ 24 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Sri_Nuan.Ray ที่ กันยายน 25, 2008, 10:08:23 AM
อ่านแล้ว เจ็บ จี๊ดดดดด ไปถึงหัวจายยยยยย


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 27, 2008, 03:20:14 AM

กำลังเข้าไปย้อนอ่านสรุปข่าวเก่าๆ เพื่อเก็บข่าวสำคัญๆเอาไว้อ้างอิง และลบกระทู้สรุปข่าวออกไปเสียบ้าง อย่างน้อยก็ 4 เดือน ตั้งแต่ มี.ค - มิ.ย.

ไปพบข่าวนี้เข้า ซึ่งเป็นเรื่องของประเทศเพื่อนบ้าน ที่คอยแว้งกัดตอนเราตอนเราอ่อนแอ มาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน เกี่ยวกับเรื่องการเอาผืนแผ่นดินไปให้นายทุนครองครองโดยไม่ได้ถามความเห็นของประชาชนก่อน

ลองอ่านดูนะครับ



อึ้ง 'ฮุนเซน' ให้เช่า 99 ปีเกาะใหญ่อ่าวไทย

(http://pics.manager.co.th/Images/551000003172504.JPEG)
ภาพจากเว็บไซต์ www.ikangaroo.com เล่าว่า "แดน" ซึ่งน่าจะเป็นชาวออสเตรเลียกำลังเข้าฝั่งที่หาดซีรีนดิพิตีในสีหนุวิลล์ นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เพิ่งกลับจากเกาะแห่งหนึ่ง เกาะใหญ่น้อยที่เห็นอยู่เบื้องหลังกำลังจะกลายเป็นสวรรค์วิมาน รัฐบาลกัมพูชาให้บริษัทเอกชนเช่าได้นานถึง 99 ปี เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

ชาวกัมพูชาทั้งในประเทศและที่อาศัยทำกินในต่างแดนจำนวนได้แสดงความโกรธแค้นหลังจากทราบข่าวที่รัฐบาลสมเด็จฯ ฮุนเซนให้เอกชน 2 รายเช่าเกาะใหญ่ที่สุดในอ่าวไทยเป็นเวลา 99 ปี พร้อมด้วยเกาะเล็กอีกแห่งหนึ่ง โดยอ้างว่าเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

       
       นักท่องเว็บชาวเขมรหลายร้อยคนได้เข้าแสดงความคิดเห็นคัดค้านการกระทำของรัฐบาล หลายคนกล่าวว่า การให้เช่าดินแดนยาวนานขนาดนั้นไม่ต่างกับในยุคอาณานิคมครั้งที่อังกฤษบีบบังคับให้รัฐบาลจีนที่อ่อนแอกว่า ต้องยินยอมให้อังกฤษเช่าเกาะฮ่องกงเป็นเวลา 99 ปี
       
       สภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชา หรือ CDC (Council for the Development of Cambodia) ออกคำแถลงปลายเดือนที่แล้วเกี่ยวกับการให้กลุ่มโรยัล (Royal Group) เช่าเกาะรัง (Rong) เป็นเวลา 99 ปี เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
       
       โรยัลกรู๊ปเป็นของออกญากิ๊ตเม็ง (Oknha Kith Meng) นักธุรกิจชาวเขมรที่อาศัยทำกินในออสเตรเลียและถือ 2 สัญชาติ ปัจจุบันเป็น 1 ใน 3 กลุ่มธุรกิจที่ใกล้ชิดกับศูนย์กลางอำนาจในกรุงพนมเปญมากที่สุด
       
       เกาะรังมีเนื้อที่มากกว่า 7,800 เฮกตาร์ (กว่า 47,800 ไร่) ขนาดเกือบเท่าๆ กับเกาะกูดหรือเกาะพงัน
       
       นายกิ๊ตเม็งได้เซ็นสัญญากับนายจอม ประสิทธิ์ (Cham Prasidh) รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน ในฐานะรองประธาน CDC วันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยไม่ได้ให้สัมภาษณ์ไม่มีการออกคำแถลงใดๆ
       
       ในวันเดียวกัน CDC ยังได้ประกาศการให้บริษัทฝรั่งเศสเช่าเกาะรุสสี (Russey) อีกแห่งหนึ่งเป็นระยะเวลา 99 ปี ด้วยเงินลงทุน 48 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์ภาษเขมรรัศมีกัมพูชา (Reasmey Kampuchea)
       
       อย่างไรก็ตามบริษัท Koh Russey Resort Co Ltd ที่ถือหุ้นใหญ่โดยบริษัทจากฝรั่งเศส มีสิทธิ์พัฒนาดินเพียงไม่ถึง 500 ไร่จากทั้งหมด 856 ไร่เศษบนเกาะดังกล่าว

(http://pics.manager.co.th/Images/551000003172505.JPEG)   
ภาพขยายแสดงตำแหน่งที่ตั้งของเกาะรังหรือ "เกาะรอง" อยู่นอกอ่าวสีหนุวิลล์   
 
       ออกญากิ๊ตเม็งเป็นทั้งประธานหอการค้ากรุงพนมเปญและประธานสภาหอการค้ากัมพูชา เป็นเจ้าของธุรกิจหลายอย่าง และเป็นผู้ถือหุ้นในธนาคาร ANZ จากออสเตรเลียในกัมพูชาด้วย
       
       ยังไม่ทราบแผนการใดๆ เกี่ยวกับโครงการเกาะรัง ตลอดจนเงื่อนไขและเงื่อนเวลาดำเนินการ แต่การพัฒนาเกาะที่มีเนื้อที่ทั้งหมด 7,826 เฮกตาร์นั้น คาดว่าจะต้องใช้เงินหลายร้อยล้านดอลลาร์
       
       กลุ่มนักอนุรักษ์ได้ออกเรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแผนพัฒนาเกาะทั้งสองแห่ง เนื่องจาก บนเกาะยังมีสภาพป่าที่อุดมและรอบๆ ยังมีแหล่งปะการังที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์อีกด้วย
       
       นักอนุรักษ์บางคนกล่าวว่าโรยัลกรู๊ป และ KRRC กำลังจะสร้างโรงแรมพร้อมกาสิโนขึ้นบนเกาะทั้งสองแห่ง รวมทั้งสถานบริการ ทำให้เป็นแหล่งบันเทิงทันสมัย โดยใช้คำว่าการพัฒนา "การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์" อำพราง
       
       รัฐบาลกัมพูชาได้ประกาศแผนพัฒนาให้สีหนุวิลล์เป็นศูนย์การกลางบิน การค้า อุสาหกรรมและการท่องเที่ยวของประเทศ และกำลังพัฒนาสนามบินที่นั่นให้เป็นท่าอากาศยานใหญ่ที่สุดในประเทศ
       
       ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ภาษาฝรั่งเศสกัมโบดจ์ซัวร์ (Cambodge Soir) กัมพูชามีเกาะในอ่าวไทยรวมทั้งสิ้น 55 แห่ง ที่ผ่านมาให้บริษัทเอกชนเช่าไปแล้วกว่า 10 แห่ง เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว รัฐบาลยังคงเปิดรับนักลงทุนเข้าไปพัฒนาเกาะที่เหลืออยู่
       
       คำแถลงของ CDC เมื่อวันที่ 28 ก.พ. ระบุในตอนหนึ่งว่า "การพัฒนาเกาะต่างๆ จะเป็นแรงกระตุ้นในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ได้มากขึ้น"

(http://pics.manager.co.th/Images/551000003172501.JPEG)   
ชาวกัมพูชาในต่างแดนได้แต่บ่นว่า "นี่มันขายชาติกันชัดๆ"    
 
       จนถึงสิ้นปี 2550 กัมพูชาให้บริษัทเอกชนเช่าเกาะไปจำนวน 7 แห่ง เดือน ม.ค.ที่ผ่านมาให้เช่าอีก 2 แห่ง เมื่อรวมกับเกาะรองและเกาะรุสสีได้ทำให้จำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 11 แห่ง กัมโบดจ์ซัวร์กล่าว
       
       ในปี 2550 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวในกัมพูชาประมาณ 2 ล้านคน ปีนี้ทางการตั้งตัวเลขเป้าหมายที่ 3 ล้านคน และเร่งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลเพื่อให้เป็นทางเลือก ซึ่งในปัจจุบันการท่องเที่ยวรวมศูนย์อยู่ที่ปราสาทนครวัด จ.เสียมราฐ
       
       อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการพัฒนาเกาะให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องการผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์เฉพาะด้าน จะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมให้มาก เพราะสิ่งปลูกสร้างจะเปลี่ยนจากเกาะธรรมชาติให้เป็น "เกาะซีเมนต์" ซึ่งจะไม่น่าสนใจอีกต่อไป
       
       นายเมิงซอนน์ (Moeung Sonn) ผู้อำนวยการบริษัทเออราซีการท่องเที่ยว (Eurasie Travel Co) บอกกับกัมโบดจ์ซัวร์ว่า การพัฒนากับการอนนุรักษ์จะต้องดำเนินไปพร้อมๆ กัน และควรหลีกเลี่ยงการตัดไม้ทำลายป่าโดยสิ้นเชิง
       
       เจ้าหน้าที่ของทางการกล่าวว่าโรยัลกรู๊ปและ KRRC จะใช้เวลา 18 เดือนในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโดยละเอียดทั้งเกาะรองและเกาะรุสสี เพื่อเสนอขออนุมัติจาก CDC อีกครั้งหนึ่ง
       
       ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาชาวกัมพูชาในต่างแดนนับร้อยๆ ได้เข้าไปยังเว็บไซต์ภาษาเขมรยอดนิยม www.everyday.kh หลายเสียงกล่าวว่า การกระทำของรัฐบาลเป็นการขายชาติอย่างชัดเจน ชาวกัมพูชาต้องร่มกันต่อต้าน "การตัดสินใจที่ขาดความรับผิดชอบ" ของสมเด็จฯ ฮุนเซน
       
       "แล้วจะเหลือแผ่นดินให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้อยู่อาศัยบ้างหรือเปล่า?" ชาวกัมพูชาพลัดถิ่นคนหนึ่งเขียนในฟอรัมความเห็นของเว็บไซต์ อีกหลายสิบรายก็มีความวิตกกังวลคล้ายๆ กัน.



จาก            :                ผู้จัดการออนไลน์    วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ กันยายน 27, 2008, 08:51:26 AM


อ้อ.....ไปได้ความคิดแบบนี้มาจากเขมรนี่เอง.... ;)


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Sri_Nuan.Ray ที่ กันยายน 27, 2008, 03:43:01 PM
น่าจะไล่ไปอยู่เขมร เสียให้หมด

หรือไม่ก็ จัดให้ลงมาเผชิญหน้า กับ ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีกับเราที่ 3 จังหวัดภาคใต้......เสียให้หมดทั้งกระทรวง


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 28, 2008, 11:57:52 PM

ใครจะอาจซื้อขายฟ้ามหาสมุทร                                    :                                ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012384801.JPEG)
 
       หลายสัปดาห์ผ่านไปกับประเด็นให้เช่าอุทยาน ระหว่างนี้ มีข่าวแว่วมาหลายประการ เริ่มจากข่าวไม่แว่ว เพราะลงไว้ใน "มติชน" กระทรวงทรัพยากรฯ จะจัดประชุมเพื่อขอความคิดโดยอยากเชิญทุกภาคส่วนที่สนใจเข้ารับฟัง จากนั้นก็กลายเป็นข่าวแว่ว เค้าเชิญผมเข้าไปประชุมด้วยล่ะ แต่แว่วแล้วแว่วลับ กลับกลายเป็นข่าวแว่วใหม่ เค้าเลื่อนการประชุมไปวันโน้นทีวันนี้หน สุดท้ายลงเอยด้วยการสรุปอย่างง่าย ๆ เค้าประชุมที่ไหนก็ไม่รู้ วันไหนก็ไม่รู้ เชิญผมหรือเปล่าก็ไม่รู้
       
       ระหว่างนั่งรอข่าวแว่ว ผมคิดข้อดีข้อเสียของการเปิดให้เช่าพื้นที่อุทยาน ข้อดีมีเยอะ เช่น สนับสนุนเอกชนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แปลงทรัพย์สินให้เป็นทุนตามนโยบายของรัฐบาล สร้างรายได้ให้กรมอุทยาน ฯลฯ แล้วข้อเสียล่ะ มีมั้ย ?
       
       เพื่อตอบคำถามข้อนี้ ผมไม่เปิดตำราทางวิทยาศาสตร์ แต่ไพล่ไปเปิดหนังสือกวี จำได้ว่าเคยอ่านในหน้านี้ อืมม์ เจอแล้ว จะว่าเป็นข้อเสียก็คงไม่ใช่ เรียกว่าเป็นข้อเตือนใจจากศิลปินแห่งชาติคงเหมาะกว่า ใจความดังว่า...
       
       ใครจะอาจซื้อขายฟ้ามหาสมุทร แสนวิสุทธิ์โลกนี้ที่พระสร้าง
       สุดท้ายกายวิภาคจะจากวาง ไว้ระหว่างหล้าและฟ้าต่อกัน ฯ
       เรามิใช่เจ้าของฟ้าอวกาศ โลกธาตุทั่วสิ้นทุกสรวงสวรรค์
       มนุษย์มิเคยนฤมิตตะวันจันทร์ แม้แต่เม็ดทรายนั้นสักธุลี ฯ
       แย่งแผ่นดินอำมหิตคิดแต่ฆ่า เพราะกิเลสบ้าหฤโหดสิงซากผี
       ลืมป่าช้าคุณธรรมความดี เสียศรีสวัสดิ์ค่าแท้วิญญาณ ฯ
       สภาวะสรรพสิ่งทุกส่วนโลกนี้ ควรที่สำนึกค่าทิพย์วิเศษวิศาล
       อนุรักษ์ดินน้ำไว้ตลอดกาล เพื่อเหนือทิพยสถานวิมานแก้วไกวัล ฯ
       
       ปณิธานกวี, อังคาร กัลยาณพงศ์
       
       ผมแนะนำว่า ก่อนประชุมในครั้งนี้ ครั้งหน้า หรือครั้งไหน ควรแจกสำเนาร้อยกรองบทนี้ให้เป็นเอกสารการประชุม ทางที่ดี ควรทำเป็นจารึกติดไว้หน้าทางเข้ากรมอุทยาน ฯ เพื่อเอาไว้เตือนใจผู้ใดที่หวังเข้ามา "ซื้อขายฟ้ามหาสมุทร"
       
       เมื่อเข้าประชุมแล้ว เราคงไม่ต้องมาเถียงเรื่องข้อดีข้อเสียให้มากมาย รวมทั้งไม่ควรเอ้อระเหยลอยชายท้าวความไปไกลจนผู้เข้าประชุมหลับคาแก้วกาแฟ เราควรมุ่งประเด็นว่า ถ้าอยากทำจริง สามระบบของเราพร้อมไหม ? สามระบบที่ว่า หมายถึง ระบบในการคัดเลือก ระบบในการตรวจสอบติดตาม และระบบในการควบคุมลงโทษ
       
       ระบบในการคัดเลือก หมายถึง เลือกเอกชนผู้เช่าอย่างไร มีการนำเสนอโครงการก่อนหรือไม่ ? หรือเสนอมาแต่ผลตอบแทน (ต่อหลวงนะ ผมไม่ได้ประชด) หากมี โครงการดังกล่าวจะผ่านการคัดเลือกอย่างไร ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA ไหม หรือจะอ้างว่าเป็นโครงการรัฐ ไม่ต้องทำ หรืออ้างว่า โรงแรมไม่ถึง 80 ห้อง ไม่ต้องทำ ผมก็จะได้เตรียมอ้างบ้าง อ้างว่า หากก่อสร้างใด ๆ ในพื้นที่บอบบาง เช่น อุทยานแห่งชาติ คุณต้องทำ EIA ครับ (เราควรแนบกฏหมาย EIA ไว้ในเอกสารการประชุมด้วยก็ดีนะ)
       
       ระหว่างทำ EIA ผมเสนอว่า อุทยานยังไม่ต้องเก็บค่าเช่าเค้าหรอกครับ จะได้ไม่เกิดข้ออ้างว่า เก็บตังค์เค้าแล้ว ไง ๆ ก็ต้องให้เค้าทำ อีกทั้งยังป้องปรามการถางพื้นที่ล่วงหน้า อุทยานทำบ้านพักเองมาตั้งหลายสิบปีแล้ว ทำต่ออีกนิดคงไม่เป็นไร
       
       อีกประเด็นที่น่าคิด คือ จำนวนห้องในรีสอร์ต อุทยานฯ มีตัวเลขอยู่ในมือแล้ว เพราะเพิ่งทำขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวไปได้ไม่นาน ประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้วด้วย แต่ผมอยากเสนอว่า ตัวเลขพวกนั้น เช่น หมู่เกาะสุรินทร์มีคนค้างคืนได้ 620 คนต่อคืน ลืมไปเสียเถิด นำมาใช้ไม่ได้ครับ เพราะหนึ่งบวกหนึ่งอาจไม่เป็นสอง เหมือนกับจำนวนนักเที่ยว 620 คน เท่ากับรีสอร์ต 310 ห้อง ฮึ่มแฮ่
       
       เหตุที่ใช้ไม่ได้ เพราะตัวเลขนั้นได้มาจากการศึกษากลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไป เค้านอนเต็นท์ ต่อคิวกันเข้าห้องน้ำ อาบได้ห้าขัน เพื่อนทุบประตูปุงปัง ปริมาณน้ำที่ใช้ย่อมต่างจากคนนอนแช่อ่างในห้องหรูของรีสอร์ต นอกจากนี้ อย่าลืมพนักงานของรีสอร์ตนะครับ พวกนั้นก็นับเป็นคนค้างคืนในอุทยานเหมือนกัน บวกลบคูณหาร ผมคิดว่า สร้างรีสอร์ตขนาด 30 ห้อง ก็ปล่อยน้ำทิ้งเท่ากับนักเที่ยวนอนเต็นท์ 600 คนแล้วครับ (ตัวเลขเดาเอา เพราะไม่คิดสร้างรีสอร์ต ใครอยากสร้าง กรุณาคิดเอง ผมมีหน้าที่จับผิด)
       
       มาถึงระบบตรวจสอบ ทำไงดีล่ะเนี่ย ? จะไปเดินดูขยะบนหาด หรือดูปะการังหักเพราะนักเที่ยวเหยียบ ผมอยากชี้ชัด ปัญหาที่น่ากลัวคือปัญหาที่มองไม่เห็น ได้แก่ น้ำทิ้งจากรีสอร์ต อย่าคิดว่า น้ำบนเกาะมีน้อย ไง ๆ ก็ทิ้งได้แค่นี้ เพราะผมเชื่อว่า รีสอร์ตเค้าคงมีตังค์พอซื้อเครื่องทำน้ำจืดจากน้ำทะเล (มีขายถมไป) อย่าไปฝากความหวังไว้กับระบบบำบัดน้ำเสีย เพราะกินไฟเท่าไหร่กันเล่าเจ้าข้าเอ๊ย ขนาดอยู่บนฝั่งข้างเสาไฟฟ้าแรงสูง ยังเปิดเฉพาะตอนมีคนมาตรวจ อยู่บนเกาะปั่นไฟเอง ค่าซื้อค่าขนน้ำมันเตาก็อ่วมแล้วครับ
       
       อีกอย่างห้ามฝากความหวัง คือ มาตรฐานคุณภาพน้ำของกรมควบคุมมลพิษ แม้เค้าจะมีคุณภาพน้ำในแนวปะการัง (ผมเป็นหนึ่งในคนช่วยเค้าทำ) แต่บอกไว้ตรงนี้ นั่นคือมาตรฐานที่ใช้ทั่วประเทศ โดยดูจากทะเลทั่วไป เช่น พัทยา เกาะช้าง มิใช่เตรียมไว้สำหรับเกาะสุรินทร์สิมิลัน แนวปะการังห่างฝั่ง มีลักษณะเฉพาะ บอบบางราวกับสาวยังไม่ต้องน้ำมือชาย ขืนนำมาตรฐานคุณภาพน้ำทั่วไปมาใช้ มีหวังกุ้งหอยปูปลากามิกาเซ่ เอาหัวชนปะการังให้ตายซะเร็ว ๆ จะได้ไม่ทรมาน
       
       แล้วใครเล่าเอย จะเป็นผู้คอยวัดคุณภาพน้ำ คอยตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของแนวปะการัง ผมยกตัวอย่าง เกาะ Green Island ประเทศออสเตรเลีย ใช้นักวิจัยเกือบทั้งมหาวิทยาลัย พากันไปศึกษาปีละไม่รู้กี่สิบโครงการ (ผมทราบ เพราะเคยทำงานอยู่ที่นั่น) ค่าเช่าที่อุทยานตั้งขึ้นมา ไร่ละ 48,000 บาทต่อเดือน จะพอหรือครับ แล้วก็…ตัวเลขดังกล่าวมาจากหนใด ทำไมทั้งป่าทั้งยอดดอยทั้งทะเลเท่ากันหมดเลย บวกค่าตรวจสอบไว้หรือเปล่าหนอ ป่ากับทะเล ระบบตรวจสอบต่างกันเยอะนะจ๊ะ
       
       สุดท้ายคือระบบลงโทษ ในสัปดาห์ก่อน ผมกล่าวไปบ้างแล้ว จึงไม่อยากกล่าวซ้ำ เพียงแต่อยากเห็นว่า ใครเอ่ยเป็นผู้ฟันธง เช่น หากนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลรวมตัวกัน บอกว่ามีปัญหา แต่เค้าก็เฉย ดำเนินการต่อไปเรื่อย ๆ แล้วทำไงดีล่ะ ? หรือต่อให้เกิดปัญหา อุทยานรับทราบ มีอะไรสักอย่างที่รับประกันว่า เรื่องจะไม่ลงเอยที่ศาล ใช้เวลาอีกนานแสนนานในการหยุดปัญหา
       
       ป่ากับทะเล ต่างกันมากมาย เราควรแยกเป็นสองห้องประชุม นอกจากนี้ ควรระบุอุทยานที่จะนำร่องให้ชัดเจน เพราะผมแว่วมา งานนี้อาจมีลับลวงพราง สุรินทร์สิมิลันอาจเป็นแค่ตัวล่อเป้า ก่อนยอมถอยเปลี่ยนเป็นแถวกระบี่ตรังสตูล (ข่าวแว่ว ไม่ยืนยันว่าจริงนะจ๊ะ)
       
       ในฐานะนักวิชาการ ผมเชื่อว่า ทุกคนที่เกี่ยวข้องประเด็นนี้ มีความบริสุทธิใจ เพื่อหวังประโยชน์ให้เกิดต่อประเทศชาติ อาจมีหลากหลายความคิดเห็นไปบ้าง เป็นเรื่องปรกติ แต่เพื่อความไม่ประมาท อยากฝากบทกวีเผื่อไว้สักนิด สำหรับผู้ที่คิดเป็นอื่น
       
       ชะเลเอ๋ยใครเล่าเจ้า กลัวเกรง
       หมู่มนุษยชาติโฉงเฉง ชั่วร้าย
       ผลิตเลือดต่ำอลเวง ฆ่าโลก
       เหลวเล่ห์สถุลชีพใบ้ งั่งไร้ปัญญา ฯ
       
       บางกอกแก้วกำศรวล, อังคาร กัลยาณพงศ์
       
       ผู้ใดคิดทำให้ "ชะเล" กลัว อยากเตือนไว้ แนวหน้ารักษาทะเลไทยมีเยอะนะครับ ผมเป็นแค่ดั่งหนึ่งธุลีทราย อีกหลายพร้อมก้าวออกมา ในเวลาที่ทะเลกรีดร้องด้วยความกลัว !




จาก                         :                         ผู้จัดการออนไลน์      วันที่ 28 กันยายน 2551 


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: kungkings ที่ กันยายน 29, 2008, 02:03:04 AM


อ้อ.....ไปได้ความคิดแบบนี้มาจากเขมรนี่เอง.... ;)
มะช่ายหรอกคะ..นู๋ว่าพวกนี้มันมีสันดานเหมือนกันต่างหาก พวก ข-ไข่ สระ-อี ไม้โท สระ-โอ กอ-ไก่ งอ-งู  >:( >:( >:(


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กันยายน 30, 2008, 01:44:31 AM

อุทยานต้นแบบ ความยั่งยืนที่ไม่ต้องเช่า

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012435301.JPEG)
อุทยานฯห้วยน้ำดัง  
 
       แม้ว่าขณะนี้เรื่องของการเปิดสัมปทานให้เอกชนเช่าพื้นที่สร้างสิ่งปลูกสร้างภายในอุทยานแห่งชาติ จะถูกระงับไปชั่วคราว เพราะทานต่อกระแสคัดค้านของสังคมไม่ไหว แต่กระนั้นทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และกรมอุทยานก็ยังมีความพยายามที่จะเดินหน้าต่อด้วยการหาเหตุทำประชาพิจารณ์ ท่ามกลางความเคลือบแคลงว่าอาจเป็นการทำประชาพิจารณ์ที่ไม่ชอบมาพากล
       
       ทำให้ผู้ที่คัดค้านต่อเรื่องนี้ไม่อาจนิ่งนอนใจได้ ด้วยเพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าแนวคิดอุบาทว์ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการทำลายธรรมชาติเช่นนี้จะหวนกลับมาอีกเมื่อไหร่ ซึ่งก็คงต้องเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่ต้องคอยหมั่นสอดส่อง อย่าปล่อยให้บุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้ามาทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นมรดกของทุกคนในชาติ
       
       สิ่งหนึ่งที่จะช่วยหยุดยั้งและป้องกันมิให้ภาครัฐ ภาคเอกชน เข้ามาสร้างสิ่งที่เรียกว่าความสะดวกสบายบนผืนป่าได้อีก คือ เราต้องร่วมมือช่วยกันหาทางออก ไม่ต้องรอให้วัวหายแล้วล้อมคอก แต่ล้อมคอกไว้กันไม่ให้วัวออกจะดีกว่า
       
       แนวคิดหนึ่งที่มีหลายๆคนนำเสนอก็คือในเรื่องของอุทยานแห่งชาติต้นแบบหรืออุทยานแห่งชาติตัวอย่าง ซึ่งคัดสรรอุทยานแห่งชาติที่มีการบริหารจัดการที่ดีเยี่ยมมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการและพัฒนาอุทยานฯอื่นๆ

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012435302.JPEG)   
อุทยานฯอินทนนท์   
 
       โดย วินิจ รังผึ้ง ได้นำเสนอแนวคิดนี้ ผ่านคอลัมน์ถนนคนเดินทาง หน้าท่องเที่ยว นสพ.ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 2 กันยายน 2551 สรุปความได้ว่า เรื่องการปรับมาตรฐานการบริการของอุทยานแห่งชาติก่อนที่จะยกไปให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานผูกขาดระยะยาว
       
       ซึ่งทางกรมอุทยานฯน่าจะลองทำโครงการอุทยานแห่งชาติต้นแบบ หรืออุทยานแห่งชาติตัวอย่างขึ้นมา โดยอาจจะคัดเลือกอุทยานแห่งชาติยอดนิยมสัก 3 แห่งมาเป็นต้นแบบในการพัฒนา โดยเลือกอุทยานแห่งชาติในลักษณะต่างๆ เช่นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติทางทะเลอีกสักแห่งอาจจะเป็นอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันก็ได้
       
       จากนั้นลองทุ่มเทสรรพกำลังของนักวิชาการอุทยานฯ รวมทั้งผู้บริหารของกรมฯ ออกแบบอุทยานแห่งชาติในฝันขึ้นมา แล้วทุ่มเทงบประมาณลงไปเพื่อให้มีมาตรฐานทั้งในเรื่องศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ที่พัก ค่ายพักเยาวชน ลานกางเต็นท์ ร้านอาหารมาตรฐานไม่ใช่ร้านขายเหล้าขายเบียร์อย่างที่เป็นอยู่ในบางอุทยานฯ
       
       จัดระบบดูแลความปลอดภัยและมาตรการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวยามฉุกเฉิน รวมทั้งบริการกิจกรรมนำเที่ยวในพื้นที่อุทยานฯที่ได้มาตรฐานและเป็นมืออาชีพ เช่นมัคคุเทศก์นำทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ นำทางดูนก ล่องแก่ง จักรยานเสือภูเขา
       
       โดยมีบุคลากรที่สามารถสื่อสารและให้บริการได้ทั้งกับนักท่องเที่ยวคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ตลอดจนทำระบบการสื่อสารการสั่งจองบริการให้สะดวกสบายได้จากทั้งในประเทศและนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเหมือนเช่นอุทยานแห่งชาติระดับสากล
       
       เมื่อพัฒนาอุทยานต้นแบบนำร่องได้มาตรฐานเช่นนี้แล้ว จะมีการปรับราคาค่าธรรมเนียม ค่าบริการให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อให้เลี้ยงตัวเองได้หรือเป็นรายได้นำไปปรับปรุงมาตรฐานบริการในส่วนอื่นๆของอุทยานฯ ก็คงจะไม่มีใครปฏิเสธ

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012435303.JPEG)   
อุทยานฯผาแต้ม(ภาพ : ททท.) 
 
       หากโครงการอุทยานแห่งชาติต้นแบบนำร่องนี้ประสบผลสำเร็จ ก็จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงอุทยานแห่งชาติอื่นๆให้มีมาตรฐานยิ่งๆขึ้นไปอีก ซึ่งก็น่าจะดีกว่าการเปิดให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานอุทยานฯยอดนิยมทีเดียว 10 แห่งโดยมีระยะเวลายาวนานถึง 30 ปี ซึ่งหากมีความผิดพลาด มีความล้มเหลวเกิดขึ้น ก็เป็นเรื่องที่ยากจะเยียวยาแก้ไข
       
       สำหรับแนวคิดนี้จะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดนั้นยังมิอาจทราบได้ เพราะต้องมีฝ่ายรับสนองตอบต่อแนวคิดนี้ด้วยเช่นกัน และถ้าหากมองถึงเรื่องอุทยานต้นแบบแล้ว ก็ใช่ว่าอุทยานในบ้านเราจะไม่มี เพราะคนอุทยานส่วนหนึ่งต่างก็ล้วนใส่ใจพัฒนาอุทยานให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
       
       พูนสถิตย์ วงสวัสดิ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน ซึ่งในปีนี้อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ได้รับการคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้ได้รับรางวัลรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติยอดเยี่ยม ประจำภาคเหนือ ได้กล่าวถึงเรื่องอุทยานนำร่องและการพัฒนาอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ว่า
       
       สิ่งหนึ่งที่เจ้าหน้าที่อุทยานดอยภูคาใส่ใจอยู่เป็นนิจ คือ เรื่องของการรักษาธรรมชาติดั้งเดิมไว้ แม้ว่าจะมีสิ่งปลูกสร้างใด ๆ เราก็จะพยายามให้กลมกลืนกับธรรมชาติ เราใช้วัสดุที่เป็นของในท้องถิ่น ไม่นำสิ่งแปลกปลอมเข้าไป
       
       เรื่องของสาธารณสุขเราใช้เกณฑ์ของกรมอนามัยเป็นหลัก ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะที่ดอยภูคามีพืชที่สามารถพบได้เพียงแห่งเดียวของโลกอยู่หลายชนิดด้วยกัน นักท่องเที่ยวจะได้ดูความหลากหลายทางชีวภาพ ดูดาว ล่องแก่งลำน้ำว้าตอนกลางที่ยาวที่สุดในประเทศไทย 80 กิโลเมตร

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012435304.JPEG)   
อุทยานฯแก่งกระจาน (ภาพ : ททท.)  
 
       "ผมคงไม่สามารถบอกว่าเราเป็นอุทยานต้นแบบ แต่เราพัฒนาเรื่อยๆมากกว่า อย่างเรื่องเช่าอุทยานทำสัมปทานที่มีกระแสข่าว ก็คงต้องค่อยๆศึกษาผลกระทบและการจัดการว่ามีมากน้อยเพียงใด ที่นี่จะเน้นส่วนร่วมของชุมชนให้มีส่วนร่วม มีกระบวนการตั้งแต่เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาของอุทยาน ให้คำแนะนำทิศทางการเคลื่อนไหวของอุทยานแห่งชาติ โดยส่วนตัวไม่ว่าจะทำอะไรก็อยากให้ชุมชนได้รับผลประโยชน์ อุทยานที่ดีต้องในท้องถิ่นมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์"พูนสถิตย์กล่าว
       
       ซึ่งสอดคล้องกับทางด้านของ อภิชา อยู่สมบูรณ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแห่งที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติยอดเยี่ยม ประจำภาคกลาง
       
       และอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานยังเป็น1ใน10 อุทยานแห่งชาติที่มีชื่อติดโผ 10 อุทยาน ที่จะเปิดให้เอกชนเข้ามาทำสัมปทาน ได้กล่าวว่า แหล่งธรรมชาติในแต่ละที่ก็คงมีความสวยงามแตกต่างกันไป ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ แต่อยู่ที่การบริการจัดการของแต่ละแห่งมากกว่า
       
       "ที่แก่งกระจานเราเน้นการพัฒนาคนเป็นสำคัญ ถ้าเอาเรื่องความยิ่งใหญ่ ความสวยงามของงบประมาณเข้ามาเป็นสำคัญอุทยานแห่งเล็กๆก็หมดกำลังใจ แต่เราต้องการสอนว่าบุคลากรมีจิตวิญญาณการเป็นคนบริการอย่างไร และต้องอาศัยความร่วมมือของนักท่องเที่ยว เกิดจากความร่วมแรงร่วมใจของเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ต้องการให้คนที่มาเที่ยวเกิดความสุข อัธยาศัยไมตรีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราเน้น"อภิชากล่าว
       
       ส่วนเรื่องด้านการบริการอื่นๆอย่างเรื่องขยะ เรื่องการกางเต็นท์ เขามองว่าเป็นเรื่องจิตสำนึกของนักท่องเที่ยว ถ้านักท่องเที่ยวมาเพราะใจรักธรรมชาติ ไม่ต้องเอ่ยอะไรนักท่องเที่ยวจะลงมือทำเอง ซึ่งที่ผ่านมาก็เจอแต่นักท่องเที่ยวที่ดีทำให้แก่งกระจานมีมนต์เสน่ห์ตรงนี้
       
       "เราไม่ได้ทำงานเพื่อหวังผลกำไร ทำงานหนักหรือทำงานน้อยก็ได้เงินเดือนเท่าเดิม แต่ต้องทำให้คนของเรามีใจทำงาน"อภิชากล่าว
       
       เมื่อถามถึงความสุขที่จะได้รับจากการเข้าป่าท่องเที่ยวตามอุทยานต่างๆอะไรที่นักท่องเที่ยวเรียกว่าเป็นความสุขที่แท้จริง อภิชากล่าวว่า การเข้าป่าสามารถสัมผัสความสุขได้ สามทาง คือ ทางสายตา สามารถสัมผัสได้ถึงความร่มรื่นของต้นไม้ สัมผัสที่สองทางร่างกาย ความเย็นของธรรมชาติ สัมผัสที่สาม คือ ทางเสียง ไม่มีเสียงอะไรที่รบกวน นอนใกล้น้ำตกหลับสนิทมีความสุข แตกต่างจากน้ำไหลจากก๊อก ความรื่นรมย์เห็นนกบินตามธรรมชาติ
       
       และหากพูดเรื่องแนวคิดอุทยานต้นแบบ เขาก็เชื่อว่าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานสามารถเป็นต้นแบบได้ พร้อมชี้ให้เห็นว่าขณะนี้อุทยานแห่งชาติก็กำลังพัฒนาการเป็นอุทยานนำร่องอยู่ สองเรื่อง คือ ด้านการป้องกันเรามีระบบการลาดตระเวนที่เป็นมาตรฐาน

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012435305.JPEG)   
อุทยานฯเขาใหญ่ (ภาพ : ททท.) 
 
       ทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ไปบรรยายเรื่องนี้ให้กับอุทยานทั่วประเทศมาแล้ว 8 ครั้ง ในเรื่องการวางระบบการป้องกัน สอง เรื่องงานวิชาการ การบริหารจัดการพื้นที่ มันสมองของการจัดการต้องดูว่าจุดไหนเปิดได้กระทบสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหนถ้าเปิดแล้วได้กำไรแค่ปีสองปีแรก แต่พอเข้าปีที่สามนักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะ แต่ธรรมชาติเสียหาย สุดท้ายมันก็ไร้ความหมายไม่เกิดประโยชน์อะไร
       
       "เพราะจุดประสงค์ของการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ คือ การรักษาสภาพธรรมชาติให้ยั่งยืนตลอดไป ไม่ใช้แค่รุ่นเราแต่เลยไปถึงรุ่นลูกหลาน"อภิชากล่าวทิ้งท้าย
       
       ทางด้าน บัญชา ประเสริฐศรี ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ที่เป็นอีกหนึ่งแห่งที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติดีเด่น ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
       
       สิ่งหนึ่งที่ทำให้อุทยานแห่งชาติผาแต้มได้รับรางวัลในครั้งนี้เป็นเพราะ เราเสนอเรื่องการจัดการแหล่งท่องเที่ยวการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และเรื่องการดูแลแผนนำร่อง ทำแผนการรองรับนักท่องเที่ยวของอุทยานให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมว่าถ้านักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะๆจะแก้ไขอย่างไร

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012435306.JPEG)   
อุทยานฯภูกระดึง (ภาพ : ททท.) 
 
       "ต้องรู้จักการวางแผนการดูแลความปลอดภัย การมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ ททท. จังหวัด อบจ. ต้องร่วมมือกันการจัดการบริหารที่ดีต้องเริ่มบุคลากร ทรัพยากร สร้างขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ให้มีกำลังใจทำงาน การให้บริการแหล่งข้อมูลต่างๆ น้ำตก ดอกไม้ป่า"บัญชากล่าวและดูเหมือนสิ่งหนึ่งที่ทั้งสามคนเน้นและเห็นพ้องต้องกันคือเรื่องของการพัฒนาคนนั่นเอง
       
       บัญชายังได้กล่าวต่อไปอีกว่า ตอนนี้ในส่วนของกรมอุทยานเองได้นำอุทยานแห่งชาติผาแต้มเป็น 1ในอุทยานนำร่องของไทย เพื่อเป็นแบบอย่างในการจัดการของอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ โดยมีนโยบายว่าต้องได้มาตรฐานสากล ซึ่งอุทยานนำร่องที่ได้รับการคัดเลือกมีด้วยกันหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นที่ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อุทยานแห่งชาติสิมิลัน เป็นต้น
       
       ซึ่งก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทิศทางการพัฒนาอุทยานนำร่องของกรมอุทยาน ที่มีขึ้นนี้จะเป็นเรื่องที่ดี ไม่ซ้ำรอยกรณีการเปิดสัมปทานเช่าอุทยานในเอกชนอีก

       
       *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *    *
       
       หมายเหตุ : บทความนี้เป็นการแตกประเด็นออกมาจากกรณีกรมอุทยานฯ มีความพยายามที่จะเปิดให้เอกชนเข้าไปสัมปทานทำธุรกิจในพื้นที่ 10 อุทยานแห่งชาติชื่อดัง ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่, ห้วยน้ำดัง, ดอยอินทนนท์, ดอยสุเทพ-ปุย, ดอยผ้าห่มปก, ภูกระดึง, แก่งกระจาน, เอราวัณ, หมู่เกาะสิมิลัน และหมู่เกาะสุรินทร์ โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ซึ่งล่าสุด ทาง ทส. ได้ถอนเรื่องออกจากมติครม. เนื่องจากมีกระแสต่อต้านและคัดค้านจำนวนมาก แต่ก็ไม่ควรที่จะนิ่งนอนใจเพราะในอนาคตอาจจะมีการรื้อฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาอีกเมื่อไหร่ก็ได้
 


จาก                         :                         ผู้จัดการออนไลน์      วันที่ 29 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: boat sick forever ที่ กันยายน 30, 2008, 10:03:33 AM
ดีชั่วรู้หมด แต่อดไม่ได้  ของมันเคยๆ
 
โกงได้เป็นโกง กินได้เป็นกิน

ไอ้พวกนี้มันเป็นบริษัท รปภ.ที่ไว้ใจไม่ได้จริงๆ

    ประชาชนเค้า จ้างมันมาเฝ้าทรัพย์สิน (ของชาติประชาชน  )ดันทำตัวเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ เอาทรัพย์สินของเราไปขายกินซะแล้ว ...พวกไม่เคยสำนึกบุญคุณแผ่นดิน

   ...อย่างงี้มันก็คงไม่ต่างจากโจร หรือไม่ก็เป็นสายให้โจร

........... ระวัง วิญญาณปู่เอ็งจะร้องนะไอ้ลูกหลานจาญราย

.....ขออภัยที่หยาบคาย แต่คู่ควรกับโจรปล้นแผ่นดินพวกนี้


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ กันยายน 30, 2008, 10:24:55 AM

หุๆ....น้อง boat sick forever ตามปกติใจเย็น ไม่เคยแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว  ครานี้คงทนไม่ไหวจริงๆ

ไม่ว่ากันค่ะ....แถมขอบคุณมากๆที่ไปช่วยเป็นตัวแทนของพวกเราชาว SOS..... :-* :-* :-*

ไปอ่านบทความเรื่องผลการวิพากษ์ได้ที่นี่จ้ะ

http://www.saveoursea.net/boardapr2007/index.php?topic=1205.0


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 01, 2008, 01:00:25 AM

เครือข่ายตรังต้านรบ.ขายชาติระลอกใหม่ เตรียมแก้ กม. เปิดทางนายทุนทึ้งอุทยานฯ
 
(http://pics.manager.co.th/Images/551000012455601.JPEG)   
หาดหยงหลิง ในอุทยานฯเจ้าไหม ที่มีธรรมชาติบริสุทธิ์งดงามถูกใจนักท่องเที่ยว  
 
       ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด และเครือข่ายชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง ค้านรัฐบาลเปิดช่องนายทุนยึดป่า-ทะเล ภายใต้แนวคิดนำร่องสัมปทานอุทยานแห่งชาติ ให้นายทุนบริหารจัดการแสวงหาผลประโยชน์นาน 30 ปี จี้ยกเลิกการปรับแก้ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ ฉบับปี 2504 เพื่อสนองการท่องเที่ยวและยึดที่ดินจากชุมชนดั้งเดิม ชี้เป็นตัวการอันตรายเปิดช่องแก้กฎหมายรองรับการบุกรุกพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันพื้นที่อุทยานแห่งชาติแถบจังหวัดอันดามันถูกนายทุนไทย-ต่างชาติรุมทึ้งผุดโรงแรมเป็นว่าเล่น
       
       รัฐบาลนอมินีของระบบทุนนิยมสามานย์ยังไม่สิ้นฤทธิ์ หลังจากที่เปิดเผยแนวคิดให้นำร่องให้สัมปทานอุทยานแห่งชาติชื่อดังของเมืองไทย 30 แห่งจากทั้งหมด 148 แห่ง แก่นายทุน เพื่อบริหารจัดการในโซนบริการนักท่องเที่ยวครบวงจร ทั้งศูนย์อาหาร ร้านขายของที่ระลึก รีสอร์ต โรงแรม โดยมีอายุสัมปทาน 30 ปี ในราคาเพียงตารางเมตรละ 30 บาทต่อเดือน แต่เอกชนขอให้ลดค่าเช่าลงเหลือตารางเมตรละ 3 บาทต่อเดือนในเวลาต่อมา พร้อมจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ขึ้นมาดูแล ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากประชาชนและนักวิชาการ แต่ก็ได้อ้างว่าจะใช้การทำประชาพิจารณ์หยั่งเสียงประชาชน
       
       เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด และเครือข่ายชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง ได้แสดงความเป็นห่วงต่อแนวคิดดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง ซึ่งเป็นที่หมายตาของกลุ่มนายทุน และจะเปิดให้เช่ารวมเนื้อที่ 1,910 ไร่ ในพื้นที่หาดฉางหลาง, หาดยาว, เกาะกระดาน, หาดหยงหลิง, หาดสั้น และเกาะมุกด์
       
       พร้อมทั้งได้ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนคัดค้านแนวคิดดังกล่าว เนื่องด้วยเล็งเห็นถึงผลกระทบจากกฎหมายและนโยบายดังกล่าวทั้งนี้ หากปล่อยให้รัฐบาลเปิดป่าให้นายทุนหากิน และยึดพื้นที่ทำกินของคนจนเช่นนี้ ประเทศไทยต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมหาศาล จนยากที่จะฟื้นฟูกลับมาให้อุดมสมบูรณ์เช่นเดิม
       
       นอกจากนี้ จะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนดั้งเดิมและเจ้าหน้าที่รัฐรุนแรงขึ้น ตลอดจนทำให้ชาวสวนและชาวประมงจำนวนมากต้องสูญเสียพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชาติ รวมทั้งทำให้ชุมชนดั้งเดิมไม่สามารถจัดการดูแลรักษาทรัพยากรได้อย่างเดิม สิ่งเหล่านี้ขัดแย้งต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.2540, 2550 ว่าด้วยสิทธิชุมชน และสิทธิมนุษยชน และขัดแย้งกับปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างยิ่ง
       
       ดังนั้น จึงมีข้อเรียกร้อง ดังนี้
       
       1.รัฐบาลต้องยกเลิกนโยบายเปิดอุทยานฯ ให้นายทุนเช่าเพื่อทำการท่องเที่ยว และยกเลิกการปรับแก้ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ ฉบับปี 2504 เพื่อสนองการท่องเที่ยวและยึดที่ดินจากชุมชนดั้งเดิม ตลอดจนแสดงความรับผิดชอบต่อความผิดพลาดดังกล่าวต่อสังคม
       
       2.รัฐบาลและส่วนราชการต้องเคารพสิทธิชุมชน และเปิดโอกาสให้ชุมชนดั้งเดิมจัดการทรัพยากรตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน ตลอดจนตั้งใจแก้ปัญหาเขตอนุรักษ์ทับซ้อนที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย และยกเลิกกฎหมายและนโยบายที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาดังกล่าว
       
       3.ขอให้สังคมร่วมกันตรวจสอบและผลักดัน ให้รัฐบาลยกเลิกแนวคิดเปิดป่าและทะเลให้นายทุนหากิน ตลอดจนสนับสนุนให้ชุมชนดั้งเดิมจัดการทรัพยากรและทำกินตามวิถีดั้งเดิมสืบไป
       
       ทั้งนี้ เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด และเครือข่ายชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง จะร่วมกับองค์กรภาคประชาชนอื่นๆ และผู้รักความเป็นธรรมในระดับภาคใต้และระดับชาติ ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และเคลื่อนไหวตอบโต้อย่างต่อเนื่อง จนกว่ารัฐบาลจะยกเลิกนโยบายดังกล่าว
       
       ด้านแหล่งข่าวภายในเปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีการเปิดให้เช่าอุทยานแห่งชาติแล้วโดยพฤตินัย ทั้งที่ยังไม่ได้เซ็นสัญญาด้วยต้องรอแก้ กม.อุทยานฉบับใหม่ซึ่งกำลังรอเข้า ครม.ในเดือนหน้า โดยมีการซื้อที่ดินมากขึ้นที่รอขายให้แก่นักลงทุน ทำให้พื้นที่ป่าจังหวัดแถบอันดามันมีการรุกป่ามาก ทั้งการซื้อ-ขายที่ดินลงทุนทำโรงแรม ไม่ว่าจะเป็นนายทุนไทย-ต่างชาติ รวมทั้งดารา และบางแห่งก่อสร้างจนเปิดบริการแล้ว โดยที่อุทยานฯไม่ได้ดำเนินการอะไร
       
       ดังนั้น หากมีการแก้กฎหมายรองรับให้เอกชนใช้พื้นที่อุทยานฯได้แล้วก็เหมือนเป็นการทำผิดให้ถูก การก่อสร้างที่นายทุนดำเนินการไว้ล่วงหน้าก็สามารถเปิดบริการได้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งก็มีต่างชาติเข้ามาซื้อพื้นที่เพื่อพัฒนารองรับการท่องเที่ยวดังกล่าว



จาก                                :                             ผู้จัดการรายวัน      วันที่ 29 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 02, 2008, 09:05:24 AM

เปิดแผน "เซ้ง" พื้นที่อุทยานฯ "อันดามัน" เนื้อหอมสุดเอกชนจ้องเขมือบ

ทันทีที่พบว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มีนโยบายเปิดให้เอกชนทำสัมปทานในเขตอุทยานแห่งชาติ โดยอาศัยช่องตามระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชว่าด้วยการเข้าไปดำเนินกิจการท่องเที่ยวและพักอาศัยในอุทยานแห่งชาติ  พ.ศ.2547   นักวิชาการ นักอนุรักษ์ รวมถึงประชาชนออกมาค้านว่า การให้เอกชนเช่าอุทยานฯ จะส่งผลให้พืชพันธุ์และสัตว์ป่าหายากถูกทำลายมากขึ้น และเป็นพื้นที่ที่ไม่ควรเข้าไปลงทุนก่อสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้าง ระบบนิเวศที่สำคัญจะถูกเปลี่ยนแปลงด้วยกิจกรรมการท่องเที่ยว ปัญหามลภาวะสู่สิ่งแวดล้อมจะเกิดขึ้นตามมา

หากแนวคิดดังกล่าวที่ถูกจุดขึ้นมาโดยเจ้ากระทรวงฯหญิง อนงค์วรรณ เทพสุทิน นำไปสู่การให้สัมปทานอุทยานแห่งชาติ โดยเฉพาะในเขตอุทยานฯทางทะเลฝั่งอันดามัน โดยไม่ได้ตระหนักถึงภาวะล่อแหลมต่อภัยคุกคาม อุทยานฯจะกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกทำลาย ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 เพื่อรักษาสภาพความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมไว้

จากข่าวที่มีการอ้างว่ากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้พิจารณาพื้นที่บริการที่มีความเหมาะสม กำหนดให้เป็นเขตบริการอนุญาตให้เอกชนเข้าไปลงทุนได้นั้น เบื้องต้นมีพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติประมาณ 7 แห่ง ประกอบด้วยอุทยานฯ  หมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา  อุทยานฯสิรินาถ จ.ภูเก็ต อุทยานฯเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง จ.พังงา อุทยานฯธารโบกขรณี  จ.กระบี่  อุทยานฯหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ อุทยานฯหาดเจ้าไหม  จ.ตรัง อุทยานฯหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา อุทยานฯหมู่เกาะลันตา  จ.กระบี่ และสุดท้ายอุทยานฯตะรุเตา จ.สตูล

แค่เห็นรายชื่อแล้วก็รู้ว่าแต่ละแห่งเป็นอุทยานฯ ชื่อดัง เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ จึงเป็นพื้นที่หอมหวานสำหรับนายทุน แต่หากมีการเปิดพื้นที่ให้เอกชนเข้ามาลงทุน ความเสียหายที่ใหญ่หลวงเกินกว่าจะประเมินค่าได้ก็จะบังเกิดขึ้นอย่างไม่มีวันหวนคืน

ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ทราบข้อมูล เพราะปัจจุบันเป็นหัวหน้าโครงการจัดทำเอกสารเพื่อเตรียมเสนอพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันให้เป็นมรดกโลก ได้สำรวจข้อมูลทรัพยากรและกำลังจัดเตรียมแผนการจัดการพื้นที่เพื่อรองรับการเสนอให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ยังเป็นผู้จัดทำแผนแม่บทการจัดการพื้นที่กลุ่มอุทยานมรดกอาเซียน หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน อ่าวพังงา รับรองให้ใช้เป็นแผนแม่บทฯ สำหรับใช้ในปี 2550-2559 โดยนายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ อีกด้วย

อาจารย์ศักดิ์อนันต์บอกว่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ เดินหน้าสำรวจ 7 อุทยาน รวม 24 พื้นที่ให้เอกชนเช่า ทั้งหมดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังฝั่งอันดามัน ล่าสุด บริษัท บ้านปูละคอน (2550) จำกัด เสนอแผนลงทุนโรงแรมระดับ 5 ดาวที่ "อ่าวเมาะและ"    ซึ่งอยู่ที่เกาะตะรุเตา ทั้งที่ก่อนประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติตะรุเตาที่อ่าวเมาะและ เคยมีราษฎร 4 ครอบครัวทำนาทำสวนอยู่ รัฐจ่ายเงินเวนคืนค่าต้นไม้ สิ่งก่อสร้าง และให้ออกจากพื้นที่ตั้งแต่ปี 2517 ที่ผ่านมากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นกรณีมีนโยบายให้เอกชนเข้าใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติเพื่อจัดบริการท่องเที่ยวในวันที่ 24 ก.ย. 2551 แต่ในระดับพื้นที่กลับมีการดำเนินการสำรวจเปิดเช่าอุทยานแห่งชาติ โดยล่าสุด สรุป 7 อุทยานแห่งชาติที่มีศักยภาพเปิดให้เอกชนเช่าพื้นที่ได้แล้ว

จากการตรวจสอบเอกสารการประชุมคณะกรรมการอำนวยการด้านการส่งเสริมให้เอกชนเข้าร่วมบริการการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ ที่มีนายวิชิต พัฒนโกศัย รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ เป็นประธาน โดยการประชุมเมื่อวันที่ 8 ก.ค.2551 ได้สรุปแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดเช่าอุทยานแห่งชาติ โดยแบ่งคณะทำงานเพื่อพิจารณาตามความเหมาะสมของออกเป็น 3 ชุด คือ ชุดที่ 1 ภาคใต้ ชุดที่ 2 ภาคเหนือ และชุดที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคกลาง

"สำหรับหน้าที่ของคณะทำงานดังกล่าว จะทำหน้าที่สำรวจ ตรวจสอบ วิเคราะห์ และนำเสนอรายละเอียดความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ในเขตความรับผิดชอบ พร้อมสรุปบริเวณที่จะให้เอกชนลงทุนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ" อาจารย์ศักดิ์อนันต์อธิบายให้ฟัง

สรุปว่ามีการยก 7 อุทยานฯดังให้เอกชน คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้จัดประชุมครั้งที่  2/2551 เมื่อวันที่ 19 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยนายนพดล พฤกษะวัน หัวหน้าคณะทำงานชุดที่ 1 (ภาคใต้) ได้สรุปรายละเอียดการสำรวจอุทยานฯ ภาคใต้เบื้องต้น เสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการฯ กระทั่งมีมติเลือก 7 อุทยานแห่งชาติ และกำหนดจุดบริการเพื่อการท่องเที่ยว 24 แห่ง

อาจารย์ศักดิ์อนันต์ฉายภาพให้เห็นว่า มีอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา 2 แห่งคือ เกาะตาชัย เนื้อที่ 45 ไร่ และบริเวณอ่าวงวงช้าง เกาะแปด เนื้อที่ 40 ไร่ กรมอุทยานฯ บอกว่า พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่บริการ ซึ่งได้กำหนดไว้ในแผนแม่บทฯ ไว้แล้ว ไม่ได้กำหนดเขตบริการใหม่ขึ้นมาแต่อย่างใด

"ในฐานะที่ผมเป็นคนเขียนแผนแม่บทอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ผมสงสัยว่า ผมไปสร้างตราบาปให้กับประเทศชาติหรือเปล่าที่ไปเขียนอย่างนั้น เปล่าเลยครับ ผมไม่ได้กำหนดเขตบริการบนเกาะตาชัยและอ่าวงวงช้างเพื่อการนั้น อย่ามองแต่แผนที่อย่างเดียวโดยไม่ได้อ่านเนื้อหาว่าเขตบริการนี้กำหนดไว้เพื่อทำกิจกรรมใด กิจกรรมใดไม่ควรทำ" เขาแย้ง

นักวิชาการคนเดิมกล่าวว่า เขียนแผนแม่บทอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันในช่วงทำแผนการจัดการอุทยานมรดกอาเซียน ตั้งใจให้อุทยานฯ ไปตั้งหน่วยพิทักษ์บนเกาะตาชัย คอยดูแลนักท่องเที่ยวที่ไปดำน้ำกับเรือ live aboard กับการป้องกันเรือประมง เขตบริการที่กำหนดเพียงเพื่อเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งได้กางเต็นท์นอนได้บ้าง โดยจำกัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้มีเพียงห้องน้ำกับที่พัก และเจ้าหน้าที่เท่านั้น อ่าวงวงช้าง เกาะแปดสิมิลันก็เป็นเพียงพื้นที่สำรอง ในกรณีที่หาดหน้าเกาะสี่กับอ่าวเกือก เกาะแปด มีนักท่องเที่ยวมากเกินไปในช่วง high season ก็จะให้นักท่องเที่ยวบางส่วนมากางเต็นท์นอน อาจมีเพียงห้องน้ำเท่านั้น ขอย้ำเลยว่า ทั้งสองที่นี้ยืนยันไม่ได้กำหนดไว้สำหรับให้เอกชนมาทำรีสอร์ต

อาจารย์ศักดิ์อนันต์บอกอีกว่า เกาะตาชัยและแนวปะการังรอบเกาะถือเป็นพื้นที่สงวนรักษาสภาพธรรมชาติ เป็นเกาะที่ยังคงรักษาสภาพธรรมชาติไว้ได้เป็นอย่างดี มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเลสูง บริเวณเกาะตาชัยนักท่องเที่ยวจำนวนมากนิยมมาดำน้ำลึก ไม่ควรมีการพัฒนาพื้นที่บนเกาะเพื่อรองรับการพักแรมของนักท่องเที่ยว เพราะส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวเดินทางมากับเรือผู้ให้บริการดำน้ำลึก มีความพร้อมทุกด้าน ทั้งที่พัก อาหาร อุปกรณ์ดำน้ำลึก แม้ว่าแผนแม่บทฯ จะกำหนดให้พื้นที่ป่าบกและแนวปะการังรอบเกาะตาชัยเป็นเขตสงวนสภาพธรรมชาติ แต่ก็ยังกำหนดพื้นที่บางส่วนเฉพาะบริเวณที่จะจัดตั้งที่ทำการหน่วยพิทักษ์ฯ ให้เป็นเขตบริการ

"สรุปได้ว่า ทั้งอ่าวงวงช้าง เกาะแปด และเกาะตาชัย อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน แผนแม่บทฯ ไม่ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่สำหรับให้เอกชนมาทำที่พักอย่างแน่นอน" อาจารย์ศักดิ์อนันต์กล่าว

กรณีของอุทยานแห่งชาติสิรินาถ จ.ภูเก็ต 3 แห่ง คือ บริเวณท่าฉัตรไชย กำหนดไว้เป็นเขตบริการเนื้อที่ 100 ไร่ หาดลายันเนื้อที่ 70 ไร่ บริเวณหัวแหลมอ่าวปอเนื้อที่ 30 ไร่ เขาก็เห็นว่าเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เพราะที่พักบนเกาะภูเก็ตมีอยู่มากมาย  ในขณะที่หาดสาธารณะที่ประชาชนใช้ร่วมกันอย่างเสรี เหลือเพียงที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถเท่านั้น ส่วนอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง จ.พังงา มี 2 แห่งคือ บริเวณพื้นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ลป. 3 (ปาง) บริเวณข้างเคียง และบริเวณพื้นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ลป. 3 (ปาง) ต่อเนื่องไปทางทิศเหนือ

เขาแสดงข้อเป็นห่วงจะกระทบเต่าทะเล เนื่องจากบริเวณชายหาดของหาดท้ายเหมือง เป็นที่วางไข่ของเต่าทะเลที่สำคัญของทะเลอันดามัน ปัจจุบันพื้นที่ใกล้เคียงที่เคยเป็นแหล่งวางไข่ของเต่าทะเลได้ถูกเปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินไปจนไม่เหมาะสมสำหรับการขึ้นของเต่า เหลือเพียงหาดท้ายเหมืองและเกาะในทะเลอันดามันเท่านั้นที่ยังมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ นอกเขตอุทยานแห่งชาติก็มีที่พักของเอกชนอยู่แล้ว ควรส่งเสริมให้พักในที่พักของเอกชนนอกเขตอุทยานฯ  ถ้าต้องการที่พักที่หรูหราสะดวกสบายกว่านั้นก็ควรแนะนำให้เดินทางไปพักที่เขาหลัก

เช่นเดียวกับอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ มีเขตบริการ 4 แห่งคือ บริเวณหาดนพรัตน์ธาราเนื้อที่ 5 ไร่ ที่พักของเอกชนมีอยู่มากแล้ว อยู่ใกล้กับอ่าวนางมาก  ในขณะที่พื้นที่ที่มีความเป็นธรรมชาติมีเหลืออยู่น้อยมากแล้ว บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ 2 (สุสานหอย) เนื้อที่ 12 ไร่ พื้นที่ใกล้กับสุสานหอยมีที่พักของเอกชนอยู่มากแล้ว เดินทางอีกไม่ไกลก็ถึงอ่าวนาง ในขณะที่พื้นที่ชั้นหินด้านล่างก็เป็นแนวของซากหอยที่ต่อเนื่องกันเป็นผืนใหญ่ ไม่ควรมีการก่อสร้างใดๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชั้นหินเหล่านี้  สิ่งที่อุทยานฯควรจะทำคือ การปกป้องสุสานหอยเหล่านี้จากการเหยียบย่ำของนักท่องเที่ยว และแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

นอกจากนี้ยังมีเนื้อที่ 70 ไร่บนเกาะปอดะจุดนี้ก็น่าสนใจเป็นพื้นที่ที่กรมอุทยานฯ ได้ต่อสู้ทางคดีฟ้องร้องผู้บุกรุกพื้นที่มาตั้งแต่ปี  2530 ดำเนินการทางศาลตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงศาลฎีกา เป็นเวลาถึง 21 ปี จนชนะคดีมาแล้วถึงศาลอุทธรณ์ และกำลังจะเข้าศาลฎีกา กำลังจะพิพากษาในเดือนตุลาคมนี้

"เป็นกรณีศึกษาที่สำคัญของการดำเนินคดีต่อผู้บุกรุกที่เจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานฯ     จะต้องศึกษาเป็นแบบอย่าง   ปัจจุบันมีสวนมะพร้าว   มีบ้านพัก  9  หลัง และร้านอาหาร ยังมีเวลาที่ต้องสั่งให้รื้อถอนอีกหลายเดือน    ทำไมรัฐที่กำลังจะชนะคดีกลับนำที่นั้นมาให้เอกชนเช่าต่ออีก  ไม่รู้จะ  20 หรือ 30 ปี" อาจารย์ศักดิ์อนันต์ตั้งคำถาม

หรือแม้กระทั่งบริเวณอ่าวต้นไทร เกาะพีพีดอน ก็มีการเล็งพื้นที่ 40 ไร่บนเกาะแห่งนี้เป็นเขตบริการ ทั้งๆที่มีที่พักของเอกชนมากมาย ไม่มีความจำเป็นที่อุทยานฯ จะต้องไปสร้างที่พัก ไม่ควรอ้างว่าเป็นการหารายได้ เพราะกรมอุทยานฯ ไม่ได้มีภารกิจหลักในการหารายได้  และไม่ควรหารายได้แข่งกับภาคเอกชน แต่สิ่งที่ควรทำคือ การปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ถ้าจะมีการดำเนินกิจกรรมบนเกาะพีพีดอน ควรเป็นการสร้างสื่อความรู้ จัดระเบียบกติกาการประกอบกิจกรรมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมบนเกาะและในทะเล สำหรับที่พักอาจจะทำเป็นเพียงที่กางเต็นท์รักษาสภาพความเป็นธรรมชาติก็พอ

ในอุทยานฯหาดเจ้าไหม อาจารย์ศักดิ์อนันต์เผยว่า มีแผนเพิ่มโซนท่องเที่ยวถึง 7 จุด กินพื้นที่กว่า 1,910 ไร่ ทั้งที่หาดยาว เกาะกระดาน หาดหยงหลิน หาดฉางหลาง หาดสั้น  เกาะมุกต์ เห็นว่าอุทยานฯ แห่งนี้มีปัญหาเรื่องการบุกรุกพื้นที่และความขัดแย้งกับชุมชนมานาน  อุทยานฯไม่ควรสร้างเงื่อนไขให้การทำงานปกป้องพื้นที่เกิดอุปสรรค  เจ้าหน้าที่ระดับล่างที่ป้องกันการบุกรุกป่าจะไม่มีศักดิ์ศรีไปบอกให้ชาวบ้านออกจากป่า เพราะชาวบ้านย้อนกลับได้ว่า อุทยานฯ ไล่ชาวบ้านออกแล้วให้นายทุนเข้ามา นอกจากนี้ที่พักในบริเวณใกล้เคียงก็มีมากพออยู่แล้ว น่าจะเก็บสภาพความเป็นธรรมชาติมากกว่า

ขณะที่อุทยานฯ หมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ ตามแผนมี 2 แห่งคือ เนื้อที่ 336 ไร่บนเกาะรอก เป็นเกาะในแนวน้ำลึก น้ำทะเลมีความสะอาดมาก มีแนวปะการังน้ำตื้นที่สมบูรณ์  ถือเป็นพื้นที่เปราะบางไม่เหมาะสำหรับการรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก   และสิ่งก่อสร้างต่างๆ เพราะจะมีปัญหาตามมา เช่น ขยะ น้ำจืด น้ำทิ้ง มลภาวะเหล่านี้ส่งผลทำให้แนวปะการังเสื่อมโทรมได้ง่าย อีกจุดบริเวณชายหาดอ่าวไม้ไผ่ใกล้ที่ทำการอุทยานฯหมู่เกาะลันตา เนื้อที่ 26 ไร่ มีการพัฒนาที่พักจำนวนมาก อุทยานแห่งชาติไม่ควรส่งเสริมให้สร้างที่พักถาวรในเขตอุทยานฯ  ถ้าจะสร้างทำเป็นสถานที่กางเต็นท์  ห้องน้ำ  ห้องส้วม ไฟทางแค่นั้น

อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จ.สตูล 4 จุดคือ บริเวณอ่าวจาก อ่าวเมาะและ อ่าวราชา  เกาะราวี และบริเวณอ่าวตะโละปะเหลียน เกาะราวีเขาให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันตะรุเตาเป็นเกาะที่ไม่มีประชาชนอยู่อาศัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ในอดีตเคยมีชาวบ้านเข้าไปถือครองพื้นที่จำนวนมากรวมกว่า 1,500 ราย แต่ในช่วงที่ประกาศเขตอุทยานฯได้นำชาวบ้านออกมาจนหมด หลายบริเวณกำลังอยู่ในสภาพฟื้นตัวของธรรมชาติในอดีต เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแห่งนี้ ทั้งข้าราชการ พิทักษ์ป่า และลูกจ้างชั่วคราว ต้องต่อสู้กับการลักลอบตัดไม้ การทำประมง อย่างหนักมาเป็นเวลานาน เพราะเกาะมีขนาดใหญ่ดูแลได้ยาก และยังมีผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ เจ้าหน้าที่เสียชีวิต ทั้งถูกยิง ถูกทำร้าย มีผู้เสียชีวิตเรือล่มหลายครั้ง ขณะออกตรวจยังมีเหตุการณ์ที่พวกลักลอบตัดไม้ยิงเจ้าหน้าที่เสียชีวิต  ตั้งแต่จัดตั้งอุทยานแห่งชาติตะรุเตา มีเจ้าหน้าที่ตายในหน้าที่ทั้งหมดรวม 21 คน ทั้งข้าราชการและลูกจ้าง

"เขาเหล่านี้เอาชีวิตเข้าแลกเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้ประชาชนคนไทยทุกคน จึงขอให้ผู้บริหารนึกถึงเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ลูกจ้าง และข้าราชการที่เสียสละชีวิตเหล่านั้นด้วย เชื่อได้ว่าคนที่มีจิตวิญญาณการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจะไม่เห็นด้วยกับการเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่าอุทยานแน่นอน"

อาจารย์ศักดิ์กล่าวอีกว่า ภาพรวมเกาะตะรุเตามีความเป็นธรรมชาติสูง ปัจจุบันมีบ้านพักทั้งแบบหลังเดี่ยวและแบบหมู่คณะ ซึ่งเหมาะสำหรับการทำกิจกรรมศึกษาธรรมชาติ ถ้านักท่องเที่ยวต้องการความสะดวกสบาย ขอให้เที่ยวในเกาะอื่นๆ ของประเทศที่มีการพัฒนาที่พักอยู่แล้ว  อย่างเกาะสมุย เกาะช้าง เกาะภูเก็ต หรือเกาะพีพี แต่ละอุทยานแห่งชาติถือเป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบางมาก ดังนั้นเห็นว่าแนวคิดในการให้เอกชนเช่าอุทยานฯ นี้มันเสี่ยงเกินไป เท่ากับเปิดพื้นที่ใหม่เป็นเขตบริการและให้เอกชนเข้ามาลงทุนสร้างรีสอร์ต โรงแรมหรู และหาประโยชน์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

รตยา จันทรเพียร ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร กล่าวว่า แนวคิดให้เอกชนเช่าอุทยานฯมีมาตลอด 10 กว่าปีแล้ว โผล่มาเป็นระยะไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก สอดคล้องกับในตอนนี้ที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ เดินหน้าจัดทำร่าง  พ.ร.บ.อุทยานฯ และ พ.ร.บ.สัตว์ป่าใหม่ โดยแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับให้ตอบสนองวัตถุประสงค์ เปิดพื้นที่ป่าเพื่อการท่องเที่ยว ต่างจากเจตนารมณ์ของกฎหมายเดิมที่ให้คุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติทั้งป่าไม้และสัตว์ป่า เห็นว่าเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.อุทยานฯ เหมือนกับระเบียบปี   2547 ของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าไปดำเนินกิจการท่องเที่ยวและพักอาศัยในอุทยานแห่งชาติ  ซึ่งกำลังเป็นประเด็นที่สังคมคัดค้านอยู่ในเวลานี้  ก็ยังต้องมีการถกเถียงกันว่า ระเบียบปี 2547 ที่ให้เอกชนเข้ามาดำเนินการได้นั้นขัดหลักการกฎหมายอุทยานปี 2504 หรือไม่

"อยากเตือนข้าราชการ นักการเมือง ที่มีแนวคิดเปิดให้เช่าอุทยานแห่งชาติ ให้คำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติ วันนี้พื้นที่ป่าเหลือน้อย ส่วนใหญ่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เหลืออยู่ 20% เท่านั้น สิ่งที่ต้องทำคือเก็บรักษาสมบัตินี้ไว้ให้เป็นมรดกของลูกหลานและประเทศชาติ ประโยชน์ที่เราจะได้รับนั้นยั่งยืนกว่าเอาอุทยานฯ ออกมาให้เอกชนเช่าหรือสัมปทาน  ซึ่งมันไม่คุ้ม" อาจารย์รตยากล่าว

และเห็นว่า การออกมาคัดค้านนโยบายของนักวิชาการ นักอนุรักษ์หลายองค์กร โดยเฉพาะกลุ่มคนหนุ่มสาวที่ตื่นตัวต่อปัญหานี้  เป็นพลังการเคลื่อนไหวโดยไม่ได้นัดหมาย พวกเขาเห็นตรงกันว่าต้องรักษาอุทยานฯเอาไว้ นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันลงชื่อคัดคัดค้าน ซึ่งรัฐต้องรับฟังเสียงประชาชน แต่ถ้าอยากจะให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการก็ต้องมีการรวมหัวกันคิดและฟังความเห็นเป็นระยะ    โดยต้องยึดหลักการสำคัญคือ ดูแลธรรมชาติดั้งเดิมให้คงอยู่.



จาก          :            ไทยโพสต์  วันที่ 28 กันยายน 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 02, 2008, 09:43:20 AM

อ่านเนื้อหาของข่าวที่ อ.ศักดิ์อนันต์ ให้สัมภาษณ์ แล้วยิ่งกลุ้ม ..... ท่าทางจะเอาไม่อยู่จริงๆ  ขณะที่หลายๆคนหลายๆหน่วยงานกำลังพยายามรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอให้อุทยานหลายแห่งเป็นมรดกโลก แต่ก็มีนักการเมือง และอีกหลายหน่วยงาน พยายามที่จะเอาพื้นที่ที่เหมาะสมจะเป็นมรดกโลกเหล่านั้นไปให้เอกชนเช่าให้ได้

ถ้ามีแนวโน้มว่าจะเป็นจริงเมื่อไร  สงสัยคงต้องประท้วงกันหนักขึ้นไปอีก และ ทางหนึ่งที่สมาชิก SOS จะแสดงออกถึงความไม่เห็นชอบในเรื่องนี้ได้ คงจะเป็นการเลิกทำกิจกรรม ปล่อยหอย ปล่อยปลา เก็บขยะและตัดอวน ในเขตอุทยานฯ เปลี่ยนไปทำในเขตที่เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านทำมาหากินแทน น่าจะได้ประโยชน์และมีคุณค่ากว่าแยะเลย .... จริงมั๊ยครับ



หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Sri_Nuan.Ray ที่ ตุลาคม 02, 2008, 01:29:12 PM

อ่านเนื้อหาของข่าวที่ อ.ศักดิ์อนันต์ ให้สัมภาษณ์ แล้วยิ่งกลุ้ม ..... ท่าทางจะเอาไม่อยู่จริงๆ  ขณะที่หลายๆคนหลายๆหน่วยงานกำลังพยายามรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอให้อุทยานหลายแห่งเป็นมรดกโลก แต่ก็มีนักการเมือง และอีกหลายหน่วยงาน พยายามที่จะเอาพื้นที่ที่เหมาะสมจะเป็นมรดกโลกเหล่านั้นไปให้เอกชนเช่าให้ได้

ถ้ามีแนวโน้มว่าจะเป็นจริงเมื่อไร  สงสัยคงต้องประท้วงกันหนักขึ้นไปอีก และ ทางหนึ่งที่สมาชิก SOS จะแสดงออกถึงความไม่เห็นชอบในเรื่องนี้ได้ คงจะเป็นการเลิกทำกิจกรรม ปล่อยหอย ปล่อยปลา เก็บขยะและตัดอวน ในเขตอุทยานฯ เปลี่ยนไปทำในเขตที่เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านทำมาหากินแทน น่าจะได้ประโยชน์และมีคุณค่ากว่าแยะเลย .... จริงมั๊ยครับ


เห็นด้วยกับพี่จ๋อมค่ะ  ถ้าเป็นแบบนี้ ก็ไม่ต้องช่วยชาติแล้ว  ช่วยคนท้องถิ่น ทำมาหากินให้ถูกวิธี ยังจะดีเสียกว่า

อย่างน้อยก็ไม่ต้องเสียอารมณ์  ทำแล้วต้องหนักใจ ขนาดนี้ อนาตค คงจะต้องแจกลูกท้อ เป็นที่ระลึกสำหรับผู้มีพระคุณทุกท่าน :-X  :-X  :-X


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: zmax ที่ ตุลาคม 02, 2008, 03:18:42 PM
รับไม่ได้อ่ะ......

ว่าแต่ผมยังไม่ได้ส่งสำเนาบัตรประชาชนเลยอ่ะ ถ้าจะส่งนี่ยังทันไม๊ครับ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 06, 2008, 12:49:37 AM

อุทยานฯให้เช่า เพื่อเขา เพื่อเรา เพื่อใคร ???


(http://pics.manager.co.th/Images/551000012668601.JPEG)
เขาใหญ่อุทยานแห่งชาติและหนึ่งในมรดกโลกของไทย 
 
       “ในนี้เขียนมาให้ข้าพเจ้าทราบว่าเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551 ท่านนายกรัฐมนตรีได้จัดให้มีบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกองทัพบก พ.ศ.2551 โดยผู้บัญชาการทหารบก กับปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ลงนามร่วมกันที่ทำเนียบรัฐบาล ใจความสำคัญที่น่าชื่นใจคือ ทั้ง 2 หน่วยงานจะร่วมมือและสนับสนุนซึ่งกันและกันทุกวิถีทางในการอนุรักษ์ป่าไม้ ซึ่งก็คือแหล่งน้ำของเมืองไทย ข้าพเจ้าจึงรู้สึกซาบซึ้งขอขอบคุณนายกรัฐมนตรี กองทัพบก กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ข้าพเจ้าขอเอาใจช่วย และจะได้เฝ้ารอดูความเจริญเติบโตของป่าไม้ในเมืองไทยต่อไป”
       
       ความหนึ่ง จาก พระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2551

       
       เปิดแผนเช่าอุทยานแห่งชาติ
       
       จากกรณีที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) โดยนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีนโยบายเปิดสัมปทานให้เอกชนเข้ามาดำเนินการโรงแรมและที่พักในเขตพื้นที่บริการ 10 แห่ง

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012668602.JPEG)   
กางเต็นท์นอนบนเกาะไม้ไผ่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา  
 
       ประกอบด้วย 1.อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 2.อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง 3.อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 4.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน 5.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ 6.อุทยานแห่งชาติภูกระดึง 7.อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย 8.อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 9.อุทยานแห่งชาติเอราวัณ 10.อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก เป็นเวลา 30 ปี รวมทั้งการให้บริการท่องเที่ยว โดยอ้างว่าเพื่อจะนำรายได้จากการให้เช่าพื้นที่ป่าอนุรักษ์มาช่วยเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งดีกว่าปล่อยให้เสื่อมโทรมและถูกบุกรุกนั้น
       
       ได้เป็นการจุดประเด็นสร้างกระแสให้หมู่คนรักธรรมชาติและผู้ที่ห่วงใยตลอดจนถึงประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก ด้วยกลัวว่าสิ่งที่ภาครัฐกำลังคิดริเริ่มจะทำนั้น จะเป็นการนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมที่ไวกว่าปกติเสียมากกว่าผลประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ เพราะไม่เชื่อใจในการเข้ามาของภาคเอกชน ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าการสร้างรีสอร์ทในอุทยานแห่งชาติไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน
       
       สำหรับคนรักธรรมชาติแล้วก็ได้พากันออกมาต่อต้านความคิดนี้กันเป็นวงกว้างทีเดียว บางคนถึงกันตั้งข้อสังเกตว่า งานครั้งนี้เป็นกลลวงของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่แท้จริงไม่น่าจะอยู่ที่อุทยานแห่งชาติทั้ง10 แห่งที่ประกาศออกมาในเบื้องต้น แต่เป้าหมายจริงๆอยู่ที่อุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีผลประโยชน์มหาศาลมากกว่า ซึ่งหากลงทุนไปแน่นอนว่าคุ้มค่าได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012668603.JPEG)   
พระอาทิตย์เหนือเขื่อนแก่งกระจาน (ภาพ : ททท.) 
 
       ซึ่งล่าสุดก็มีกระแสข่าวเผยโฉม อุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ว่ากันว่าเป็นเป้าหมายที่แท้จริงออกมาแล้วว่า มีด้วยกันทั้งหมด 7 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งก็ล้วนเป็นสุดยอดแห่งท้องทะเลอันดามันทั้งสิ้น ได้แก่ 1. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา 2 แห่ง คือ เกาะตาชัย เนื้อที่ 45 ไร่ บริเวณอ่าวงวงช้าง เกาะแปด พื้นที่ 40 ไร่
       
       2. อุทยานแห่งชาติสิรินาถ จ.ภูเก็ต 3 แห่ง คือ บริเวณท่าฉัตรไชย หาดลายัน เนื้อที่ 70 ไร่ บริเวณหัวแหลมอ่าวปอ เนื้อที่ 30 ไร่ 3. อุทยานแห่งชาติเขาลำปี - หาดท้ายเหมือง จ.พังงา มี 2 แห่งคือ บริเวณพื้นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ลป. 3 (ปาง) และบริเวณข้างเคียง และบริเวณพื้นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ลป. 3 (ปาง) ต่อเนื่องไปทางทิศเหนือ
       
       4. อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา - หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ มี 4 แห่งคือ บริเวณหาดนพรัตนธารา เนื้อที่ 5 ไร่ บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ 2 (สุสานหอย) เนื้อที่ 12 ไร่ บริเวณที่ราบเกาะปอดะใน เนื้อที่ 70 ไร่ และบริเวณอ่าวต้นไทร เกาะพีพีดอน เนื้อที่ 40 ไร่
       
       5. อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง รวมพื้นที่ 7 แห่งรวมเนื้อที่ทั้งหมด 1,910 ไร่ ได้แก่ บริเวณที่ทำการอุทยาน (หาดฉางหลาง) เนื้อที่ 809 ไร่ บริเวณหาดยาว เนื้อที่ 440 ไร่ บริเวณเกาะกระดาน เนื้อที่ 118 ไร่ บริเวณหาดหยงหลิน เนื้อที่ 53 ไร่ บริเวณหาดฉางหลาง (เพิ่มเติม) เนื้อที่ 179 ไร่ บริเวณหาดสั้น เนื้อที่ 162 ไร่ และบริเวณเกาะมุกต์เนื้อที่ 149 ไร่
       
       6. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ 2 แห่งคือ พื้นที่ตั้งอุทยานแห่งชาติ 1 (เกาะรอก) เนื้อที่ 336 ไร่ บริเวณชายหาดอ่าวไม้ไผ่ ใกล้จุดที่ทำการอุทยานฯ ลันตา เนื้อที่ 26 ไร่
       
       7. อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จ.สตูล 4 จุด คือ บริเวณอ่าวจาก เกาะตะรุเตา เนื้อที่ 80 ไร่ อ่าวเมาะและ เกาะตะรุเตา เนื้อที่ 40 ไร่ บริเวณอ่าวราชา เกาะราวี เนื้อที่ 30 ไร่ บริเวณอ่าวตะโละปะเหลียน เกาะราวี เนื้อที่ 60 ไร่

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012668604.JPEG)   
กวางป่าออกหากินที่เขาใหญ่(ภาพ: ททท.)  
 
       อีกทั้งยังมีกระแสข่าวเปิดเผยว่าขณะนี้ ทางบริษัทบ้านปูละคร ได้เสนอแผนลงทุนโรงแรม 5 ดาว ที่ "อ่าวเมาะ" และ "เกาะตะรุเตา” โดยบริษัทบ้านปูละคร (2550) จำกัด ที่ได้เสนอแผนวิเคราะห์การลงทุนพัฒนาโรงแรมระดับห้าดาวจำนวน 140 ห้อง บนพื้นที่อ่าวเมาะและ
       
       แต่ที่ประชุมยังเห็นว่าเอกสารยังไม่ครบถ้วนตามระเบียบว่าด้วยการอนุญาตพ.ร.บ. ปี 2547 จึงไม่พิจารณา และให้นำเรื่องกลับไปพิจารณาโดยละเอียดว่าไม่ครบถ้วนในประเด็นใดบ้าง และให้นำเสนอเป็นเอกสารมาอีกครั้ง (ให้ตีเรื่องกลับไปแต่ไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่ผ่านหรือไม่อนุญาตให้เช่า)
       
       อีกทั้งมีข่าวแว่วๆมาว่า ร้านอาหารฟาดฟู้ดชื่อดัง สนใจจะตั้งสาขาในอุทยานหลายแห่ง เมื่อมีนักข่าวสอบถามไปถามไปยังนายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (ปัจจุบันหมดวาระแล้วละมีอธิบดีคนใหม่คือ นายอุภัย วายุพัฒน์) ถึงกรณีที่มีข่าวว่า ร้านอาหารฟาดฟู้ดชื่อดังได้ทำการติดต่อขอเช่าพื้นที่ในอุทยานฯทั่วประเทศเพื่อขอตั้งร้านในอุทยานแห่งชาติ ภายหลังจากทราบว่า ร่าง พ.ร.บ.อุทยานฯฉบับใหม่จะเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าไปเช่าพื้นที่ขายของ และทำรีสอร์ทได้ จริงหรือไม่
       
       นายเฉลิมศักดิ์ก็ไม่ได้ปฏิเสธแต่อย่างใด กล่าวว่า หากร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ผ่านความเห็นชอบ เอกชนทุกรายมีสิทธิเข้ามาดำเนินการได้ทั้งสิ้น และตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ ผู้มีอำนาจในการอนุมัติให้เอกชนมาเช่าอุทยานนั้น คือรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียว

       
       การบริหารจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
       
       แน่นอนว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างพอสมควรและคงกว้างมากพอ ที่จะทำให้รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงฯเต้นได้ เพราะไม่นานหลังจากเรื่องนี้ได้กลายเป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเองก็ได้จัดเวทีสาธารณะขึ้น ซึ่งผ่านพ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 24 ก.ย.ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารกริต สามะพุทธิ กรมอุทยานแห่งชาติฯ โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการเปิดรับฟังกระแสความคิดเห็นจากผู้คนในสังคมอย่างรอบด้าน

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012668605.JPEG)   
ป่าดงดิบดอยอินทนนท์ (ภาพ:ททท.)
 
       แม้หลายคนที่มาร่วมงานจะออกแนวมึนงงกันบ้างว่า การจัดงานดังกล่าวบอกกล่าวได้กระชั้นชิดและไม่มีรายละเอียดที่ถี่ถ้วน ทั้งที่เป็นเรื่องใหญ่และมีคนหมู่มากให้ความสนใจ แต่การจัดงานครั้งนี้ก็ยังถือว่าประสบความสำเร็จ
       
       เพราะค่อนข้างได้รับความสนใจจากภาคประชาชน และกลุ่มนักอนุรักษ์หลายองค์กร ที่เดินทางมาเข้ายื่นหนังสือ และแสดงความไม่เห็นด้วยกับการเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนในอุทยานแห่งชาติ กลุ่มคนที่เข้ามายื่นหนังสือส่วนใหญ่มองว่ามีความเป็นห่วงต่อทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่อุทยาน และไม่มั่นใจว่ารัฐจะสามารถควบคุมเอกชนได้จริง
       
       นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มาเป็นประธานเปิดงานกล่าวถึงกระแสข่าวของ 7 อุทยานทางฝั่งอันดามันว่า เรื่องการที่ กรมอุทยานแห่งชาติฯได้กำหนดพื้นที่เขตบริการในอุทยานแห่งชาติทางฝั่งอันดามันทั้ง 7 แห่ง นั้น ไม่เป็นความจริง
       
       เพราะขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าจะเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนในอุทยานแห่งชาติได้หรือไม่ ที่ผ่านมามีเพียงแนวคิดจากคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่อยากให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเพราะเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ แต่ยังไม่ได้มีการสรุปหรือทำอะไรทั้งสิ้น

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012668606.JPEG)   
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมแห่งท้องทะเลตรัง 
 
       ทางด้านนายวิชิต พัฒนโกศัย รองอธิบดีกรมอุทยานฯ ในฐานะประธานคณะทำงานฯเต็งหนึ่งโต้โผแนวคิดนี้ ได้กล่าวอธิบายถึงสาเหตุที่ต้องการเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในอุทยานฯว่า เป็นเพราะแนวโน้มนักท่องเที่ยวมากขึ้น
       
       จากสถิติในช่วงปี 2550 มีนักท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 14 ล้านคน และปี 51 มี 12 ล้านคน ขณะที่อช.มีแค่ 101 แห่ง และรองรับนักท่องเที่ยวได้ 4,000 คนเท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นนักท่องเที่ยวกางเต้นท์ ทำให้เกิดปัญหาความแออัดในแหล่งท่องเที่ยว และที่พักที่ไม่เพียงพอ
       
       ด้วยความสงสารนักท่องเที่ยว จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการนำระเบียบการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าไปดำเนินกิจการท่องเที่ยวและพักอาศัยในอุทยานปีพ.ศ.2547 ขึ้นมาทบทวนอีกครั้ง ว่าจะกำหนดให้เอกชนเข้ามาดำเนินการได้หรือไม่
       
       ทั้งนี้ได้มีการหยิบยกอ้างว่าในต่างประเทศก็มีอุทยานฯที่ให้ภาคเอกชนเข้ามาดูแลและประสบความสำเร็จ พร้อมทั้งได้ทั้งคำถามไว้ให้แก่ผู้เข้าร่วมงานเก็บไปขบคิดด้วยว่า การเปิดให้เอกชนเข้ามามีเอี่ยวกับอุทยานฯ 1.จริงหรือ ที่จะขายอุทยานแห่งชาติให้แก่นายทุน? 2.จริงหรือที่เอกชนเข้าร่วมบริการ พื้นที่อุทยานแล้วจะเป็นการทำลายธรรมชาติ 3.อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดในการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้อย่างชาญฉลาด

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012668607.JPEG)   
นักท่องเที่ยวเพลินใจริมหาดบนเกาะตะรุเตา
 
 
       หลากความเห็น
       
       แน่นอนว่าเรื่องนี้มีผู้แสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย เราลองมาฟังความคิดเห็นบางส่วนจากผู้คนหลายภาคส่วนกันบ้างว่า พวกเขาคิดเห็นอย่างไรเพื่อท่านผู้อ่านจะได้เก็บเอาไปคิดประกอบการตัดสินใจว่า อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงของอุทยานฯไทยที่มีเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่
       
       นักวิชาการอย่าง ศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า อุทยานแห่งชาติพยายามจะส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาทำที่พักในอุทยานโดยอ้างว่าต่างประเทศก็ทำกัน ไม่เป็นความจริง เพราะตอนนี้แม้แต่ที่เกาะสิปาตัน มาเลเซีย ยังนำรีสอร์ทจำนวน 6 แห่ง ออกจากพื้นที่เพราะปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเสียหาย
       
       สวนทางกับประเทศไทย ที่มีแผนนำเอาเกาะทางอันดามัน แหล่งปะการังดีที่สุดติดอันดับ 1 ใน10 ของโลก โดยเฉพาะที่เกาะสุรินทร์ สิมิลัน เกาะรอก ไปสร้างที่พักบนเกาะถือเป็นความเสี่ยงอย่างมาก เพราะแม้แต่โรงแรมรอบอุทยานแห่งชาติสิรินาถ ก็มีกระแสข่าวโรงแรมปล่อยน้ำเสียลงทะเลจนปะการังเสื่อมโทรม เมื่อหลายปีก่อน
       
       “ถ้าจะทำจริงๆ ต้องกำหนดเรื่องนับคนเพื่อจำกัดการท่องเที่ยวจะนับพนักงานที่พักด้วยหรือไม่ โรงแรมที่พักทุกกรณีจะต้องทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ เพราะพื้นที่อุทยานอ่อนไหวมาก ที่สำคัญวิธีการคัดเลือกภาคเอกชนที่จะเข้ามาดำเนินการใครจะเป็นคนกำหนด รวมทั้งการตรวจสอบประเมิน และความรับผิดชอบหากเกิดปัญหาความเสียหายขึ้น”ศ.ดร.ธรณ์ตั้งข้อสังเกต

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012668608.JPEG)   
ใต้ท้องทะเลเกาะลันตา 
 
       ด้าน ผศ.สุรเชษฐ์ เชษมาส จากคณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ทุกวันนี้กรมอุทยานแห่งชาติให้ความสำคัญเรื่องการท่องเที่ยวมากเกินไปหรือเปล่า หากรัฐจะให้สัมปทานเอกชนอย่างที่เป็นข่าว กรมอุทยานฯควรต้องมีความชัดเจนเรื่องสถานะของตัวเองและมีภาพลักษณ์ในแต่ละอุทยานก่อน อีกทั้งควรนำร่องอย่างละหนึ่ง แห่งคือทางบกหนึ่ง ทางทะเลหนึ่ง เพื่อนำร่อง แต่ต้องโปร่งใสเรื่องวิธีการคัดเลือก การติดตามประเมิน และนำบทเรียนการให้สัมปทานในอดีตมาใช้ด้วย
       
       ส่วน ผ่อง เล่งอี้ อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ ผู้ก่อตั้งอุทยานแห่งชาติ ผู้ใหญ่แห่งวงการป่าไม้ กล่าวเตือนสติว่า คนที่มีจิตวิญญาณอนุรักษ์จะไม่เห็นด้วยกับการเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่าอุทยานแน่นอน ให้นึกถึงวีรชนที่เสียสละชีวิตเพื่อผืนป่าด้วย
       
       พร้อมทั้งยกตัวอย่างที่ผิดพลาดบทเรียนในอดีตเคยมีมา คือยอมให้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ขึ้นไปบริหารบนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีทั้งโรงแรม สนามกอล์ฟ ซึ่งต้องใช้ความพยายามกันอย่างมาก เพื่อจะเอาสิ่งเหล่านั้นออกมาจากพื้นที่อุทยานฯเนื่องจากเกิดผลกระทบกับพื้นที่ป่าไม้ แต่วันนี้ เรากำลังจะบอกว่า เราต้องการนำสิ่งเหล่านี้กลับขึ้นไป จึงอยากถามว่า ถูกต้องหรือไม่

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012668609.JPEG)   
สิ่งปลูกสร้างบนเกาะพีพี 
 
       " ผมอยากเตือนว่า ให้คำนึงถึงความล้มเหลวทีผ่านมา มีบทเรียนไม่ใช่ว่า เราไม่มี เมื่อ ปี 2510 เราพูดเรื่องสัมปทานป่าไม้ให้เอกชน เหมือนวันนี้ที่เราพูดเรื่องให้เอกชนเข้ามาสัมปทานพื้นที่อุทยานฯแห่งชาติด้วยแนวคิดเดียวกัน ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าแนวคิดล้มเหลว ป่าไม้เกือบหมดประเทศในขณะนี้ เพราะฉะนั้นผมจึงคิดว่าแนวคิดนี้มันเสี่ยงเกินไป ละเอียดอ่อนเกินไป และผมไม่แน่ใจนิสัยของคนไทยจะควบคุมได้มากแค่ไหน และทำตามกฎหมายหรือไม่ คนที่จะดำเนินการเรื่องนี้ จึงเสี่ยงอย่างมากกับผลกระทบที่ตามมา" พี่ใหญ่แห่งวงการป่าไม้กล่าว
       
       ด้าน นายนพรัตน์ นาคสถิตย์ กรรมการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร หนึ่งในนักอนุรักษ์ที่ร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับสืบ นาคะเสถียร กล่าวว่า ตอนสมัยที่ทำงานก็มีคำของกรมอุทยานว่า Park For People แต่หลังจากลาออกไปได้สองปี ประมวลไปประมวลมากลายเป็น “Park For Sele” พร้อมทั้งตั้งคำถามต่อกรมอุทยานฯ ว่าวันนี้เราเปลี่ยนปรัชญาเป็น Park For Sale แล้วใช่หรือไม่

(http://pics.manager.co.th/Images/551000012668610.JPEG)   
ทางเดินเข้าสู่เกาะพีพี 
 
       แม้ ณ วันนี้เรื่องนี้จะยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะแว่วมาว่ายังจะต้องมีการจัดเวทีสาธารณะเพื่อเปิดระดมความคิดเห็นกันอีกหลายครั้ง ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด แต่ก็ไม่อยากให้นิ่งนอนใจกันเพราะผืนป่าและท้องน้ำทะเลไทยเป็นสมบัติของแผ่นดินที่ทุกคนในชาติ ต้องหวงแหนรักษาไว้อย่าปล่อยให้ถูกทำลายด้วยคนเพียงหยิบมือ เพราะอุทยานแห่งชาติเป็นของเราทุกคน
       
       ดังความหนึ่งของพระราชเสาวนีย์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เมื่อ วันที่12 สิงหาคม พ.ศ.2551 ความหนึ่งว่า
       
       “เพราะฉะนั้นทำไมเราไม่รู้จักเก็บป่าไม้ที่เป็นแหล่งสะสมน้ำไว้ให้ดี อย่าพากันไปตัดคนละหนุบคนละหนับ ความจริงป่าไม้ก็เป็นของคนไทยทั้งชาติ เป็นผลประโยชน์ของคนไทยทั้งชาติ ไม่มีสิทธิ์ที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเข้าไปตัด และจะทำการค้าแต่ลำพัง ต่อไปถ้าประเทศไทยขาดน้ำจะทำอย่างไร เพราะเราก็ไม่ใช่ประเทศร่ำรวย”




จาก                         :                         ผู้จัดการออนไลน์      วันที่ 6 ตุลาคม 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 07, 2008, 01:48:09 AM

สัมปทานอุทยานแห่งชาติจุดยืนอย่างไร???


จากกรณีที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีแนวคิดจะนำอุทยานแห่งชาติจำนวน 10 แห่ง เปิดให้ภาคเอกชนเช่าทำบ้านพักภายในอุทยานเป็นระยะเวลา 30 ปี ยังเป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอยู่ว่า เหมาะสมและเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ท่ามกลางเสียงคัดค้านของนักวิชาการ นักอนุรักษ์ และประชาชนที่หวงแหนธรรมชาติ! ทำให้เจ้ากระทรวงอย่าง นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ต้องออกมาประกาศว่า “เรื่องดังกล่าวเป็นแค่แนวคิด ยังไม่มีข้อสรุปและอยากให้ทุกคนเป็นห่วงเรื่องนี้บนพื้นฐานความเข้าใจเดียวกัน”

ทั้งนี้ ที่มาของแนวคิดดังกล่าว เนื่องจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนบุคลากรและความเป็นมืออาชีพในการจัดการท่องเที่ยว ดังนั้น การให้มืออาชีพ เข้ามาจัดการน่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด พร้อมยืนยันกรอบกติกาที่กรมอุทยานฯ ทำขึ้นมา จะปกป้องไม่ไห้เกิดความเสียหายต่อธรรมชาติ รวมทั้ง มีกระบวนการตรวจสอบที่น่าเชื่อถือ! นั่นคือ แนวทางของกรมอุทยานฯ ได้กำหนดว่า ระยะเวลาดำเนินการเกี่ยวกับการขออนุญาตก่อสร้างที่พักอาศัยไม่เกิน 15 ปี สำหรับพื้นที่ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร,ไม่เกิน 15 ปี สำหรับพื้นที่เกินกว่า 2,000 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 8,000 ตารางเมตร และไม่เกิน 30 ปีสำหรับพื้นที่เกินกว่า 8,000 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 32,000 ตารางเมตร

กรณีการขออนุญาตเพื่อนักลงทุนรายใหญ่ สำหรับพื้นที่เกินกว่า 8,000 ตารางเมตร แบ่งการทำสัญญาออกเป็นระยะที่ 1 กำหนด 10 ปี ทั้งนี้ จะให้เจ้าหน้าที่รัฐ มีความยืดหยุ่น เพิ่มความสามารถในการควบคุมคุณภาพ การบริการ และเงื่อนไขการดำเนินการตามความเหมาะสม ส่วนระยะ 10 ปีขึ้นไป การพิจารณาการอนุญาตนั้น จะต้องเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม คือไม่สั้นและยาวเกินไป และให้การประเมินผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขของการอนุญาตทุกๆ ปี หากพบว่า ทำผิดเงื่อนไข หรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีการจัดการขยะ กำหนดเพิ่มค่าบริการ โดยไม่ขออนุญาต กรมอุทยานฯ ก็จำเป็นต้องยกเลิกใบอนุญาต ไม่ให้ดำเนินการต่อไป และสิ่งปลูกสร้างจะตกเป็นของรัฐ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักวิชาการหลายคนแสดงความเป็นห่วงก็คือ ความชัดเจนในการที่กรมอุทยานฯ ตัดสินใจให้เอกชนเข้าไปบริหารในพื้นที่อุทยาน เกี่ยวกับระบบคัดเลือกเอกชนเข้าไปบริหาร จำเป็นที่จะต้องทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ในพื้นที่นั้นหรือไม่ รวมถึงความชัดเจนในระบบตรวจสอบและการควบคุมลงโทษ เพราะหากไม่ชัดเจน ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อพื้นที่ธรรมชาติที่เป็นสมบัติของคนไทย หากกรมอุทยานฯ อยากจะลองให้เอกชนเข้ามาบริหาร เสนอว่าควรเลือกพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงต่อทรัพยากรน้อยไปนำร่องแทน แต่ต้องไม่ใช่หมู่เกาะสุรินทร์หรือสิมิลันที่สวยงามที่สุดในประเทศและมีชื่อเสียงติดอันดับโลก

แม้ล่าสุด ความคืบหน้าเรื่องนี้ จะได้รับการยืนยันจากนายอุภัย วายุพัฒน์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช คนใหม่ ว่า "แนวคิดเรื่องนี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถึงแม้จะมีระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าไปดำเนินกิจการท่องเที่ยวและพักอาศัยในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ที่ให้อำนาจกับอธิบดีกรมอุทยานฯ เป็นผู้อนุญาตในกิจกรรม 3 ลักษณะ คือ การขายอาหาร ของที่ระลึก กิจกรรมการท่องเที่ยว และเรื่องการสร้างที่พักอาศัยหรือรีสอร์ท ซึ่งเป็นสาเหตุของการคัดค้านในช่วงที่ผ่านมา โดยขอเอาตำแหน่งเป็นประกันว่าในยุคนี้ จะไม่มีนโยบายให้เอกชนไปลงทุนเรื่องที่พักอย่างเด็ดขาด!!! "

ก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่า บทสรุปเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากถึงเวลาที่ต้องนำมาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้ง ก็อยากฝากให้ผู้เกี่ยวข้อง คำนึงถึงเรื่องการปกป้องอนุรักษ์ ดูแลรักษาธรรมชาติ ก่อนเป็นอันดับแรก มากกว่าตัวเลขรายได้ทางเศรษฐกิจ และกำหนดภาพรวมของการท่องเที่ยวในอุทยานให้ชัดเจนว่า ควรจะชี้ไปในทิศทางใด



จาก                         :                         สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์      วันที่ 7 ตุลาคม 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: myjoefiend ที่ ตุลาคม 10, 2008, 12:34:16 PM
 :'( อย่าทำอย่างนั้นเลย ปล่อยให้มันเป็นธรรมชาติอย่างนี้ดีแล้ว เดี๋ยวป่าไม้สัตว์ป่าหายหมด สงสารเด็กไทยในอนาคตบ้างเถอะ


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 14, 2008, 01:05:50 AM
ไม่ทราบเหมือนกันว่า เรื่องมันจะเกี่ยวข้องกันหรือไม่ แต่กลิ่นมันตุๆนะ ..... ผมว่า มันเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะดึงพื้นที่ดังกล่าวออกจากเขตอุทยาน เพื่อที่จะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ ..... สงสาร หน.อุทยาน ถ้าคัดค้านก็คงถูกย้ายเหมือนคนก่อนๆ

ลองอ่านดูนะครับ



ขอกันป่า 2.7 หมื่นไร่พ้นอุทยานฯทองผาภูมิ

รายงานข่าวจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) แจ้งว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้รับหนังสือจากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) เรื่องขอกันพื้นที่ 27,500 ไร่ ออกจากอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ โดยให้เหตุผล ดังนี้

1.เป็นพื้นที่ชุมชนอาศัยอยู่
2.ผ่านการใช้ประโยชน์มาแล้ว จึงเป็นป่าไม้สมบูรณ์
3.เหมาะกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณเหมืองแร่ร้าง และการปลูกไม้เมืองหนาว เพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับชาวบ้าน เป็นต้น

อย่างไรก็ดี เรื่องดังกล่าวสร้างความหนักใจให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่อย่างมาก เนื่องจากเห็นว่าสภาพป่าไม้ยังสมบูรณ์ มีสัตว์ขนาดใหญ่จำนวนมากอาศัยอยู่ แต่ถ้าไม่สนับสนุนการกันพื้นที่ อาจถูกย้ายเหมือนหัวหน้าอุทยานฯก่อนหน้านี้

ข่าวแจ้งอีกว่า การขอกันพื้นที่ 27,500 ไร่ ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังนายวิวัฒน์ นิติกาญจนา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ ทส. ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชาชน ไปตรวจพื้นที่ร่วมกับคณะทำงานของนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการ ทส.เพื่อติดตามปัญหาเหมืองแร่คลิตี้ และได้ไปตรวจอุทยานฯทองผาภูมิ ในพื้นที่เหมืองปิล๊อก บ้านอีต่อง ต.ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ ซึ่งเป็นบริเวณที่จะขอกันออกจากอุทยานฯ พื้นที่ดังกล่าวอากาศหนาวเย็นเกือบทั้งปี เหมาะกับการทำธุรกิจท่องเที่ยว

ด้านนายอุภัย วายุพัฒน์ กล่าวว่า ยังไม่เห็นรายละเอียดของหนังสือขอกันพื้นที่อุทยานฯทองผาภูมิ ขอตรวจสอบและดูเหตุผลความจำเป็นก่อน ยังไม่ทราบว่าเป็นความต้องการของชาวบ้านหรือไม่ หรือเป็นความต้องการจากท้องถิ่น



จาก                :                  มติชนออนไลน์      วันที่ 14 ตุลาคม 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 14, 2008, 01:23:05 AM

เผยขอกันกว่า2 หมื่นไร่จากอุทยานทองผาภูมิ

(http://www.bangkokbiznews.com/2008/10/14/thumb/302993_thumb3bkk.gif)

รายงานระบุ มีหนังสือยื่นขอกันพื้นที่ออกจากอุทยานทองผาภูมิ 27,500 ไร่อ้างชุมชนอาศัยอยู่ ป่าไม่สมบูรณ์ เหมาะท่องเที่ยว แต่ความจริงสัตว์ใหญ่อยู่มาก ทั้งเสือ ช้าง เลียงผา หมี

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ว่าเมื่อวันที่ 6 ต.ค.ที่ผ่านมา ทางกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้รับหนังสือจากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3(บ้านโป่ง) เรื่องการขอกันพื้นที่ 27,500 ไร่ออกจากอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติบ้านห้วยเขย่ง และป่าเขาช้างเผือก อ.ทองผาภูมิ และอ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี พื้นที่ประมาณ 700,000 ไร่ และเป็น 1 ใน 38 แห่งของอุทยานที่อยู่ระหว่างการเตรียมการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติม ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 

ซึ่งที่ก่อนหน้านี้ นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ได้มอบนโยบายเร่งด่วนให้กับนายอุภัย วายุพัฒน์ อธิบดีกรมอุทยานฯ คนใหม่ที่มารับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมาให้เร่งรัดประกาศอุทยานเตรียมการทั้ง 38 แห่ง เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์

 แหล่งข่าวจากกระทรวงทรัพยากรฯ ระบุว่าการขอกันพื้นที่ 27,500 ไร่ ออกจากอุทยานเตรียมการทองผาภูมิครั้งนี้ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา เลขานุการรมว.ทส. ซึ่งเป็นส.ส.ราชบุรี ได้เดินทางไปตรวจพื้นที่ร่วมกับคณะทำงานของ นางอนงค์วรรณ เพื่อติดตามปัญหาเหมืองแร่คลิตี้ เมื่อช่วง 2 เดือนก่อน และได้เดินทางไปตรวจอุทยานทองผาภูมิ บริเวณพื้นที่บ้านอีต่อง ต.ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ ซึ่งในอดีตเคยเป็นพื้นที่สัมปานเหมืองแร่ปิล๊อก ในเขต อ.ทองผาภูมิ

แต่เมื่อหลายปีก่อนกรมอุทยานฯ ได้สำรวจพื้นที่ประกาศเป็นอุทยานแห่งใหม่ รวมทั้งได้กันพื้นที่จำนวน 5,000 ไร่ที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่ออกไปเรียบร้อยแล้ว และเพิ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ตรวจสอบความถูกต้องของพื้นที่ รวมทั้งการพิมพ์แผนที่แนบท้ายกฤษฎีกา เมื่อปี 2550 โดยเหลือเพียงขั้นตอนส่งกลับให้กับคณะรัฐมนตรีอีกรอบหนึ่ง ก่อนที่จะนำทูลเกล้าเสนอประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหนังสือที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) ขอกันพื้นที่ออกจากอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ 27,500 ไร่นั้น ได้ระบุเหตุผลว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ชุมชนอาศัยอยู่ และผ่านการใช้ประโยชน์มาแล้ว เป็นป่าไม่สมบูรณ์ และเหมาะกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณเหมืองแร่ร้าง และการปลูกไม้เมืองหนาว รวมทั้งการส่งเสริมรายได้ให้กับชาวบ้าน และลดความขัดแย้งในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม การขอกันพื้นที่ดังกล่าวได้สร้างความหนักใจให้กับเจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่อย่างมาก  ทำให้ก่อนหน้านี้มีการย้ายหัวหน้าอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ออกจากพื้นที่ เพราะดำเนินการกันพื้นที่ล่าช้า

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สำหรับพื้นที่ดังกล่าว ถือว่ายังมีสภาพป่าระบบเดิมที่สมบูรณ์ ทำให้มีสัตว์ขนาดใหญ่อาศัยอยู่จำนวนมาก อาทิ เสือโคร่ง และช้าง เลียงผา หมี หมาไน และอื่นๆอาศัยอยู่ เนื่องจากเป็นป่าผืนเดียวกับชายแดนไทย-พม่าในฝั่งตะวันตก และติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และอุทยานแห่งชาติเขาแหลม และอุทยานไทรโยค ประกอบพื้นที่มีลักษณะเป็นหุบเขา และอยู่จากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-1,249 เมตรทำให้มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี  ทำให้เหมาะกับการนำไปสร้างที่พักและพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ อีกทั้งยังมีการตัดถนนเข้าถึงพื้นที่อุทยานแล้วด้วย อย่างไรก็ตาม หากต้องมีการกันพื้นทีดังกล่าวออก เท่ากับว่าต้องมาเริ่มต้นกระบวนการใหม่ทั้งหมด   

ด้านนายอุภัย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นรายละเอียดของหนังสือเรื่องขอกันพื้นที่อุทยานทองผาภูมิ ทั้งนี้ขอตรวจสอบและดูเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องกันพื้นที่จำนวน 27,500 ไร่ก่อน ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะเป็นความต้องการของชาวบ้านหรือไม่ เพราะการประกาศอุทยานฯอาจจะไปกระทบวิถีชีวิตของชาวบ้านที่เคยอยู่มาก่อน หรือเป็นความต้องการจากอบต.ในท้องที่นั้น ซึ่งทั้งหมดต้องมีชื่อและมีลายลักษณ์อักษณที่ชัดเจน  ก็คงต้องฟังและอาจทบทวนรายละเอียดกันใหม่ก็ได้

เมื่อถามว่าจะสวนทางกับนโยบายเร่งประกาศอุทยานใหม่เพิ่มเติมหรือไม่ นายอุภัย กล่าวว่า  ยังไม่ทราบว่าอุทยานทองผาภูมิเป็น 1 ใน 17 อุทยานเร่งด่วนที่จะประกาศในเร็วๆ นี้ หรืออยู่ใน 1 ของ 38 แห่ง ต้องดูรายละเอียดที่ถูกต้องก่อน ยังไม่ขอพูดอะไรมาก ขอตรวจสอบจากหนังสืออและเหตุผลที่ทางสำนักพื้นที่อนุรักษ์ฯส่งมาให้อีกครั้ง



จาก                :                กรุงเทพธุรกิจ      วันที่ 14 ตุลาคม 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ ตุลาคม 14, 2008, 05:35:35 AM


มาอีกแล้ว.....ขอกันดื้อๆ อย่างน่าละอายใจแทน..... :(

ยิ่งป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าหายากมากมาย ก็สมควรจะอนุรักษ์แบบถนุถนอมไม่ให้บอบช้ำ  นี่กลับพูดง่ายๆจะเปิดป่าให้คนเข้าไปวุ่นวายขายปลาช่อนกันในป่าซะนี่

ท่านอธิบดีอย่าไปยอมนะคะ... ;D   


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกปีบ ที่ ตุลาคม 16, 2008, 02:33:23 AM
ไม่ไหวๆ  :( :(

มีช่องทางไหน พี่ท่านจ้องจะเขมือบหมด  ??? ???


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: chickykai ที่ ตุลาคม 16, 2008, 02:39:06 AM
 :( :( ไม่รู้ว่าช่วงนี้ท่านๆทั้งหลายคิดอะไรกันอยู่นะ หรือว่าเพราะเศรษฐกิจไม่ดีเลยต้องรีบเขมือบกันล่ะเนี่ย :( :(
น่ากลัวจะอาศัยช่วงชุลมุนรีบกอบโกยหรือเปล่า ??? ???


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 29, 2008, 01:14:56 AM

กรมอุทยานฯรับฟังเอ็นจีโอ สั่งทบทวนแผนเอกชนเช่าพื้นที่


กรมอุทยานฯ:จากกรณีที่กลุ่มนักวิชาการและเอ็นจีโอในพื้นที่ภาคเหนือ ได้มีการเปิดเวทีเสวนาเกี่ยวกับแผนเปิดอุทยานฯ ให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น

ทั้งนี้เมื่อนักวิชาการมองถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแล้วมีผลเสียมากกว่า เพราะกรมอุทยานฯ คือองค์กรที่จะต้องมีหน้าที่พิทักษ์และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างมีคุณค่า ขณะเดียวกันเครือข่ายองค์กรประชาชนที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าไม้กลับไม่ให้มีบทบาทจำกัดสิทธิต่างๆ แต่มาเวลานี้กลับเปิดช่องให้เอกชนรับสัมปทานป่าไม้

นายอุภัย วายุพัฒน์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวว่า จากที่มีการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเมื่อวันที่ 24 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมกรมอุทยานแห่งชาติฯ ต่อกรณีการเปิดพื้นที่อุทยานแห่งชาติให้เอกชนเช่าบริหารจัดการนั้น เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา ทางกรมอุทยานฯได้ให้นโยบายชัดเจนแล้วว่า ไม่มีนโยบายเปิดอุทยานแห่งชาติให้เอกชนเช่าพื้นที่อย่างเด็ดขาด เพราะการอนุญาติเป็นอำนาจของอธิบดี ซึ่งนอกจากจะไม่มีการเปิดให้เช่าพื้นที่แล้ว ทางกรมอุทยานฯ ยังมีโครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียวที่จะทำในอุทยานแห่งชาติ จำนวน 148 แห่งทั่วประเทศ เป็นป่ารักษ์สิ่งแวดล้อมปราศจากขยะและถุงพลาสติก บ้านพัก ห้องน้ำสะอาด ร้านอาหารมีบ่อกักไขมันก่อนระบายน้ำทิ้ง และยังจัดให้มีการปฐมนิเทศนักท่องเที่ยวก่อนเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ โดยจะเริ่มเปิดตัวโครงการที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในราวกลางเดือน พ.ย. 2551



จาก                :                แนวหน้า      วันที่ 29 ตุลาคม 2551


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ ตุลาคม 29, 2008, 02:15:20 AM

ขอบคุณค่ะท่านอธิบดี...... :-* :-* :-*


หัวข้อ: Re: คุณคิดอย่างไรกับการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปจัดการการท่องเที่ยว 10 อุทยานแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: Way_farinG ที่ ตุลาคม 29, 2008, 02:49:57 AM

ขอบคุณค่ะท่านอธิบดี...... :-* :-* :-*







ขอบคุณด้วยคน..


การออกนโยบายดีดีมันก็ดีอะนะ..  แต่ถ้าผู้ประกอบการและคนในท้องถิ่นไม่ทำตามมันก็เท่านั้น..

คำถาม คือ เราจะทำยังงัยให้พวกเค้ามีจิตสำนึกบ้างหละเนี่ย..  :(


อย่างล่าสุดไปเที่ยวอุบล.. ถังขยะก็มีให้ทิ้งขยะอะนะ.. แต่สงสัยว่า ทำไมขยะมันยังอยู่รอบถังขยะเต็มไปหมด..

ถังขยะเล็กไป.. ตามัว มองไม่เห็น
ถังขยะปิดผามิดชิดเกินไป.. ขี้เกียจเปิดเพื่อทิ้งขยะลงไป เดี๋ยวมือเลอะ..
ฯลฯ


หรือ..

เดินเที่ยวมา เหนื่อยชมัด ถึงร้านน้ำ.. ซื้อน้ำเสร็จ แกะเปลือกที่หุ้มออก.. ทิ้งเปลือกมันลงบนพื้นนั่นแหละ สะดวกดี.. ทั้งๆ ที่ มันก็เป็นเศษเล็กๆ เก็บใส่กระเป๋ากางเกงมันผิดตรงไหน..
ถ้าเป็นเด็กก็ว่าไปอย่าง ว่าไม่มีใครสอน.. แต่ผู้ใหญ่นี่ดิ.. ทิ้งให้เห็นตำตา.. แล้วเค้าจะไปสอนให้เด็กมีคุณภาพได้งัย.. สงสัยจัง..

เรื่องเล็กๆ น้อยๆ แค่เนี๊ยยย.. ยังคิดไม่เป็นเลยอะ