กระดานข่าว Save Our Sea.net

หมวดหมู่ทั่วไป => เรื่องเล่าชาวทะเล => ข้อความที่เริ่มโดย: golfwa ที่ มีนาคม 25, 2009, 12:11:02 PM



หัวข้อ: จริงหรือเปล่า....เรื่องทุ่นเตือนภัยสึนามิ
เริ่มหัวข้อโดย: golfwa ที่ มีนาคม 25, 2009, 12:11:02 PM
เผิอญได้ไปทานข้าวกับผู้ใหญ่บางท่านมา แล้วท่านก็เล่าให้ฟังว่าเรื่องการวางทุ่นเตือนภัยของสึนามิยังไม่ได้ทำการจัดซื้อเลยเพราะความขัดแย้งภายในของศูนย์เตือนภัยฯ
ผมฟังแล้วตกใจไม่ทราบว่าพี่ๆน้องๆ SOS มีใครทราบความจริงของเรื่องนี้บ้างครับ....เพราะส่วนตัวผมนึกว่ามีการติดตั้งไปเรียบร้อยแล้ว.....


หัวข้อ: Re: จริงหรือเปล่า....เรื่องทุ่นเตือนภัยสึนามิ
เริ่มหัวข้อโดย: Sri_Nuan.Ray ที่ มีนาคม 25, 2009, 12:46:06 PM
เรื่องทุ่นเตือนภัย ไม่ค่อยทราบค่ะ แต่เรื่องระบบเตือนภัยที่เขาหลัก เค้าก็มีแล้วนี่คะ 

เมื่อเดือนที่แล้ว ยังมีการซ้อมให้เด็กๆๆ และชาวต่างชาติดูเลย  เฮลิคอปฮอฯ บินร่อนใกล้ระดับผิวน้ำเลย

ทุกคนแตกตื่นกันหมดเลยค่ะ.....

ที่ภูเก็ต แถวๆๆ ป่าตอง หรือแถวๆ กมลา ก็มีการซ้อมเหมือนกัน เคยได้ยินเสียงที่เค้ามาประชาสัมพันธ์ตามท้องถนน

และก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเหมือนกัน....  :-[  :-[



หัวข้อ: Re: จริงหรือเปล่า....เรื่องทุ่นเตือนภัยสึนามิ
เริ่มหัวข้อโดย: Sri_Nuan.Ray ที่ มีนาคม 25, 2009, 02:22:57 PM
ด้วนความอยากรู้ก็เลยไปหาอ่านข่าวเก่าๆๆ มา เป็นดังนี้


    
ทุ่นเตือนภัย “สึนามิ” ตัวแรกในมหาสมุทรอินเดีย เสร็จแล้ว
« เมื่อ: พ.ย. 23, 06, 09:00:34 »

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - วิศวกรจากประเทศสหรัฐอเมริกา ลงพื้นที่ประกอบทุ่นเตือนภัยสึนามิ ก่อนนำไปวางบริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ มหาสมุทรอินเดีย เผยเป็นทุ่นตัวแรกที่สหรัฐฯ สนับสนุนงบประมาณ


วันนี้ (22 พ.ย ) ที่บริเวณท่าเทียบเรือน้ำลึกจังหวัดภูเก็ต ทีมวิศวกรประกอบทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิจากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการประกอบตัวทุ่น และทำการทดสอบการทำงาน ก่อนที่จะนำไปวางในมหาสมุทรอินเดีย ในระหว่างวันที่ 1-7 ธ.ค.2549 โดยพลเรือโทสุพจน์ พฤกษา ผู้บัญชาการกองเรือภาคที่ 3 กองเรือยุทธการ ได้เข้าตรวจสอบการทำงาน พร้อมกับกล่าวถึง การเดินทางไปวางทุ่นเตือนภัยสึนามิ ที่หมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย ว่า
       
       ตามที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยหน่วยงานที่มีชื่อว่า NOAA (National Oceanic and Atmospheric Administration) ลงนามร่วมกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ให้การสนับสนุนติดตั้งทุ่นเตือนภัยสึนามิแก่รัฐบาลไทย จำนวน 1 ทุ่น พร้อมด้วยอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง โดยรัฐบาลไทยรับผิดชอบ ดูแลด้านการบำรุงรักษาระบบทั้งหมด หลังการติดตั้ง ซึ่งหากเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในทะเล ทุ่นนี้จะสามารถเตือนภัยให้ประชาชนอพยพไปอยู่ที่ปลอดภัยได้ภายในเวลา 1 ชั่วโมง




การวางทุ่นจะ ดำเนินการระหว่างวันที่ 1-7 ธ.ค.นี้ บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ มหาสมุทรอินเดีย ประเทศอินเดีย ระยะห่างจากจังหวัดภูเก็ตประมาณ 600 ไมล์ทะเล ละติจูด 9 องศาเหนือ ลองจิจูด 89 องศาตะวันออก ใช้งบประมาณดำเนินการทั้งหมด 40,000,000 บาท เฉพาะตัวทุ่น 6,000,000 บาท รัฐบาลไทยสนับสนุน จำนวน 20,000,000 บาท ที่เหลือรัฐบาลสหรัฐอเมริการับผิดชอบ
       
       สำหรับการติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิดังกล่าว เป็นทุ่นตัวแรกที่ติดตั้งในมหาสมุทรอินเดีย มีระยะเวลาการใช้งาน 2 ปี หลังจากนั้น ต้องทำการปรับปรุงหรือเปลี่ยนใหม่ โดยจะต้องทิ้งทุ่นเตือนภัยลงในทะเล ระดับความลึก ประมาณ 5-6 ไมล์ทะเล หรือ 3,500 เมตร ห่างจากรอยแยกเดิม ที่ทำให้เกิดคลื่นสึนามิ เมื่อปี 2547 ประมาณ 300 ไมล์ทะเล ซึ่งจุดที่วางจะเป็นที่ราบ ไม่มีปะการัง หรือหินโสโครก
       
       การทำงานของทุ่นเตือนภัยสึนามิที่ ติดตั้ง จะประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นแท่นติดตั้งอุปกรณ์ วางอยู่บนพื้นมหาสมุทรลึกประมาณ 3,600 เมตร ซึ่งจะประกอบไปด้วย เครื่องวัดความดันน้ำ เครื่องประมวลผล เครื่องส่งสัญญาณเสียงความถี่ต่ำ และแบตเตอรี่ และส่วนที่เป็นทุ่นลอย ที่อยู่บนผิวน้ำ ประกอบด้วย เครื่องรับเครื่องรับเครื่องเสียงความถี่ต่ำจากแท่นใต้สมุทร เครื่องแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณดาวเทียม เครื่องส่งสัญญาณดาวเทียม และแบตเตอรี่พลังแสงอาทิตย์


เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว ความแรง 7.8 ริกเตอร์ขึ้นไป เมื่อทุ่นรับแรงสั่นสะเทือนได้ จะส่งสัญญาณไปยังเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมที่ฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้น จะส่งสัญญาณกลับมายังศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จังหวัดนนทบุรี หลังจากนั้น จะส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังหอเตือนภัย ที่ติดตั้งในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน แจ้งเตือนประชาชนให้อพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัยได้ภายในเวลา 1 ชั่วโมง