กระดานข่าว Save Our Sea.net

หมวดหมู่ทั่วไป => ห้องรับแขก => ข้อความที่เริ่มโดย: สายน้ำ ที่ พฤศจิกายน 07, 2007, 12:35:11 AM



หัวข้อ: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ พฤศจิกายน 07, 2007, 12:35:11 AM

ตะลึง! อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/variety/11/7/145273_62178.jpg)

จากกรณีที่สถาบันเวิลด์วอทช์ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ศึกษาวิจัยด้านสภาพแวดล้อมทั่วโลกระบุว่า จากการศึกษาของสหประชาชาติ (UN) และอีกหลายสถาบัน พบว่า เมืองที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั่วโลกกำลังเผชิญกับอันตรายจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและพิบัติภัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยพบว่า เมืองชายฝั่ง 21 แห่ง จากทั้งหมด 33 แห่งที่ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนประชากรสูงถึง 8 ล้านคนภายในปี 2558 มีความเปราะบางสูงมากที่จะถูกน้ำท่วม…ซึ่ง 1 ในเมืองที่มีความเสี่ยงต่อภัยนี้ คือ กรุงเทพมหานคร

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/variety/11/7/145273_62179.jpg)
 
 สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวถึงเรื่องนี้ให้ฟังว่า มีความเป็นไปได้ แต่สิ่งที่องค์การสหประชาชาติ    ออกมาระบุเร็วกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ อย่างที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันบรรยากาศที่ห่อหุ้มผิวโลกของ เรานั้น เพิ่มความร้อนให้โลกอยู่ทุกขณะ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในบรรยากาศโดยฝีมือของมนุษย์ ทำให้องค์ประกอบในบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป มีการปล่อยเผาผลาญเชื้อเพลิงต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเป็นสองเท่า มีผลให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นอีก 2 องศาเซล เซียส ส่งผลกระทบต่อชีวิตและระบบนิเวศ ทำให้เกิดพายุ ลมฟ้าคะนองมากขึ้นและมีความรุนแรงขึ้นด้วย รวมทั้งทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายซึ่งเป็นผลทำให้เกิดน้ำทะเลสูงขึ้นตามด้วย
     
สำหรับการเกิดน้ำท่วม ในกรุงเทพฯนั้น มีสาเหตุ   หลัก ๆ 2 สาเหตุด้วยกัน ประการแรก เกิดจากกรุงเทพฯมีการทรุดตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะกรุงเทพฯตั้งอยู่บนดินเลน    อีกประการหนึ่งคือ น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจาก   น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือละลาย   ทำให้ปริมาณน้ำทะเลสูงขึ้น และเพิ่มขึ้นทุกปี 

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/variety/11/7/145273_62181.jpg)
 
องค์การสหประชาชาติ  วิเคราะห์ไว้ว่า ภายใน 10-15 ปี น้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น 1-1.5 เมตร จะทำให้แผ่นดินทรุดตัวลง รวมทั้งจากกรมแผนที่ทหารได้แสดงพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลที่กำลังทรุดตัวลง โดยพื้นที่ที่มีการทรุดตัวลงมากที่สุดอยู่บริเวณ เขตบางกะปิ ซึ่งมีการทรุดตัวไปแล้วประมาณ 100 เซนติเมตร
 
เมื่อเป็นเช่นนี้ การรับมือกับสภาวการณ์น้ำท่วมบริเวณที่ลุ่มตามชายฝั่งทะเลของประเทศไทย รวมทั้งพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลคือ การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ป้องกันระดับน้ำทะเลที่จะสูงขึ้นเนื่องจากสภาวะโลกร้อนในอนาคต

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/variety/11/7/145273_62180.jpg)
 
การสร้างเขื่อนในลักษณะเช่นนี้ จะมีที่เก็บน้ำในลักษณะของแก้มลิงตามแนวพระ ราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะเป็นที่เก็บน้ำ  สำรองไว้ใช้ในงานเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอยู่ระหว่างชายฝั่งกับแนวเขื่อน หากทำเป็นเขื่อนคอนกรีต รถจะสามารถวิ่งบนเขื่อนได้ รวมทั้งตรงปากแม่น้ำทำทางให้เรือสามารถลอดผ่านได้ มีช่องทางระบายน้ำ ซึ่งจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1 แสนล้าน-2 แสนล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นเขื่อนรูปแบบใด โดยระยะ    ทางในการสร้างเขื่อนปิดอ่าวประมาณ 100-200 กิโลเมตร การสร้างเขื่อนในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ อาทิ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ
 
ในขณะที่ประเทศสิงค โปร์ยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยคณะวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์สัตว์น้ำเขตร้อนชื้นของ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์  จะใช้เวลาในช่วง 2 ปีข้างหน้าศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลก พร้อมตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังไปในปี 2503 เพื่อศึกษาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งขณะนี้  มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินการแล้ว
 
หากสร้างเขื่อนที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีความคดเคี้ยว จะทำให้ระยะทางของเขื่อนมีความยาวมากและมีการก่อสร้างที่ลำบาก เพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินเลน แต่การก่อสร้างเขื่อนบริเวณปากอ่าวไทยจะทำได้ง่าย กว่า เนื่องจากลักษณะของพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นดินทราย สามารถตอกเสาเข็มลงไปได้ ทำให้เขื่อนมีความแข็งแรงทนทาน

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/variety/11/7/145273_62182.jpg)
 
เขื่อนนี้นอกจากจะเป็นการกั้นน้ำทะเลไม่ให้ไหลเข้ามาแล้ว ยังสามารถใช้เป็นเส้นทางสัญจรได้อีกด้วย โดยรถที่วิ่งมา  จากด้านตะวันออกต้องการลง ภาคใต้จะไม่ต้องเข้ากรุงเทพฯ สามารถวิ่งข้ามเขื่อนเพื่อเดินทางลงใต้ได้เลย เป็นการย่นระยะเวลาในการเดินทางได้ประมาณ 100 กิโลเมตร
 
“เป็นการช่วยระบายน้ำไม่ให้ทะลักเข้ากรุงเทพฯ  เพราะพื้นที่กรุงเทพฯเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ เนื่องจากสมุทร ปราการ สมุทรสาคร สมุทร สงคราม มีโรงงานตั้งอยู่จำนวนมากเป็นหมื่นโรง หากมีน้ำท่วมเกิดขึ้นคนงานจะตกงานกันเป็นแสนคน พื้นที่ในกรุงเทพฯถ้ามีการกั้นน้ำที่ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้สูงขึ้นจะไม่สามารถป้องกันได้อย่างถาวร เพราะน้ำจะไปท่วมฝั่งธนบุรี พระประแดงแทน แล้วไหลย้อนกลับมา รวมทั้งการสร้างเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้สูงขึ้นจะบดบังทัศนียภาพของโรงแรมและ บ้านเรือนของประชาชน ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นได้ และต้องเวนคืนที่ดินอีกด้วย”
 
อีกทั้งเรือที่ต้องการจอดจะไม่สามารถกระทำได้  การสร้างเขื่อนปิดปากอ่าวจึงเป็นวิธีที่     ดีที่สุดในการตั้งรับ สามารถจะป้องกันน้ำท่วมในหลาย ๆ จังหวัดได้ ตั้งแต่จังหวัดสมุทร ปราการ สมุทรสาคร สมุทร สงคราม ไปจนถึงบางปะกง ถ้ามีการสร้างกั้นเฉพาะกรุงเทพฯ ก็จะไปท่วม จ.สมุทรปราการไปจนถึงบางปะกง จากนั้นน้ำก็จะไหลย้อนกลับมาเกิดเป็นปัญหาเดิม ๆ เกิดขึ้นอีก
 
“ถ้าไม่ทำตอนนี้ ปล่อยรอให้ใกล้ ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุน เข้ามาสูงขึ้นเรื่อย ๆ จะสร้างไม่ทันและความเสียหายจะเกิดขึ้นได้ในพื้นที่กรุงเทพฯ ระบบ เศรษฐกิจจะหยุดชะงักหมด กรุงเทพฯจะค่อย ๆ จมน้ำไปเรื่อย ๆ อีกทั้งน้ำจืดก็จะไม่มีกิน เพราะน้ำทะเลจะหนุนเข้าไปในคลองประปา ทำให้น้ำประปามีรสเค็มกลายเป็นน้ำกร่อย ผู้คนเป็นล้านจะไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้ เวลาน้ำเหนือลงมาปะทะกับน้ำทะเลที่ท่วมอยู่แล้วก็จะยิ่งไปกันใหญ่ ซึ่งอาจจะท่วมมากกว่า 2-3 เมตร ก็เป็นได้”

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/variety/11/7/145273_62183.jpg)
 
หลายคนตั้งคำถามว่าทำไมไม่ย้ายเมือง การย้ายเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล และเวลานานมาก เนื่องจากในกรุงเทพฯ มีโบราณสถาน และสถานที่สำคัญอยู่เป็นจำนวนมาก การจะย้ายวัดพระแก้ว วัดโพธิ์ วัดสุทัศน์ สถานศึกษา มหาวิทยา ลัยจะย้ายไปตั้งไว้ที่ใด หากมีการทำกำแพงกั้นโบราณสถาน สถานที่ราชการ โรงเรียน โรง แรม โรงพยาบาล ก็ไม่สามารถดำเนินการได้โดยง่าย และภูมิทัศน์ไม่สวยงาม
 
อยากให้รัฐบาลพิจารณาเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบกับคนหลายสิบล้านคน อย่าวางใจ ชะล่าใจ ต้องรอให้เกิดวิกฤติ  ก่อนแล้วจึงคิดแก้ไข คิดทำ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วอาจสายเกินแก้ การสร้างเขื่อนนี้เป็นเพียงแนวคิดที่เกิดขึ้นมาจากนักวิชาการเท่านั้น ทุกคน ทุกหน่วยงานต้องให้ความร่วมมือกัน เพราะนี่เป็นโครงการระดับชาติ รัฐจะต้องมีนโยบายเป็นโครง การระดับชาติ มีการดำเนินการ    ต่อเนื่องกันในหลาย ๆ รัฐบาล เพราะการสร้างเขื่อนต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ    5-8 ปี ไม่ใช่รัฐบาลนี้เห็นชอบก็มีการดำเนินการ แต่พอมีรัฐบาลใหม่ก็หยุดชะงักลง อาจทำให้เกิดความเสียหายและไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ขึ้นมา
     
การที่ประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องโลกร้อน โดยการปลูกต้นไม้ ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก นับเป็นวิธีที่ช่วยได้ในระดับหนึ่ง
   
 “ส่วนในเรื่องของการ  เกิดภาวะน้ำท่วมนั้น ไม่ใช่ให้ประชาชนตระหนกแต่ต้องการให้ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นหรือช่วยกันผ่อนหนักให้เป็นเบาแทน เมื่อรับทราบข้อมูลต้องมีการตั้งข้อ สังเกตด้วยว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เตรียมตั้งรับกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น เพราะการป้องกันย่อมดีกว่า การแก้ไขอย่างแน่นอน”
     
หากเป็นเรื่องจริง ยังจะรอให้ฟ้า ฝน ช่วยอยู่อีกไหม ??.

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/variety/11/7/145273_62184.jpg)



จาก              :             เดลินิวส์  วันที่ 7 พฤศจิกายน 2550


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: แม่หอย ที่ พฤศจิกายน 07, 2007, 12:45:48 AM
 :( เฮ้อ.. :(


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: WayfarinG ที่ พฤศจิกายน 07, 2007, 01:47:52 AM
(http://scie.myweb.hinet.net/A/A16/003/007.gif)


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: Sky ที่ พฤศจิกายน 07, 2007, 05:38:42 AM
อยากได้เขื่อน


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: คนชอบลุย ที่ พฤศจิกายน 23, 2007, 07:47:27 AM
 >:( >:( >:(


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: Sea Man ที่ พฤศจิกายน 23, 2007, 11:20:24 AM
.....ยังไม่ได้แต่............................เลยนะ.... :'(.............น้ำท่วมแล้ว :(


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ พฤศจิกายน 23, 2007, 11:35:55 AM
ยังไม่ได้ แต่ง....... ;)

ฮิๆ....ตก "ง" ไปได้อย่างไงจ๊ะ..... ;D

พูดอย่างงี้....เหมือนอีกกว่า 8 ปี จะแต่งนะจ๊ะ..... :-X


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ พฤศจิกายน 26, 2007, 12:18:07 AM

เตือนอีก 10 ปี  กทม.จมทะเล 2 เมตร
 
จากการที่ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนกกับภาวะโลกร้อน และมองเห็นถึงภยันตรายจากเรื่องนี้ สหรัฐอเมริกาและประเทศในทวีปยุโรป รวมทั้งประเทศในทวีปเอเชียต่างพากันหาแนวทางป้องกันภัยเรื่องนี้ ประเทศไทยเองก็เริ่มมีความตื่นตัว โดยเฉพาะสภาวะโลกร้อนที่ทำให้ปริมาณน้ำทะเลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้กรุงเทพมหานครและเมืองชายทะเลกลายเป็นเมืองใต้บาดาลได้ ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ นักวิชาการได้เริ่มจัดเสวนาเพื่อถกถึงแนวทางป้องกัน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่อาคาร 9 อิมแพค เมืองทองธานี กลุ่มกรุงเทพ 50 ได้จัดสัมมนาหัวข้อ “กรุงเทพฯจะจมน้ำจริงหรือ ขอเชิญมาหาทางออกร่วมกัน” โดยมีนายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ นายเสรี สุพราทิพย์ ผอ.ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมบรรยาย นายสมิทธกล่าวว่า ได้รับข้อมูลจากกรมแผนที่ทหารบกว่า กรุงเทพมหานครมีอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินอย่างต่อเนื่อง 10 ปีที่ผ่านมา ทรุดตัวไปแล้วถึง 1 เมตร โดยเฉพาะพื้นที่เขตบางกะปิ รามคำแหง เพราะสภาพพื้นดินถูกสูบขึ้นมาเป็นน้ำบาดาล และยังมีการทรุดตัวอย่างต่อเนื่อง 3-5 ซม.ต่อปี ผนวกกับปัญหาโลกร้อน ที่ประเทศมหาอำนาจหลายประเทศปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเป็นจำนวนมาก ขณะนี้ผู้นำประเทศทั่วโลกได้ตระหนักถึงผลกระทบจากเรื่องดังกล่าว และมีการประชุมกันเป็นระยะๆ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ทำการวิจัยซึ่งมีความหนามากกว่า 1,400 หน้ากระดาษ และได้ติดตามข้อมูลทุกระยะ พบว่าภายใน 8 ปี ผืนดินใน กทม.จะทรุดตัว 1.5-2 เมตร

นายสมิทธกล่าวด้วยว่า มีตัวเลขทางสถิติที่ชัดเจนว่าภายใน 10 ปี หาก กทม.ยังไม่ดำเนินการอะไร กรุงเทพมหานครจะอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลถึง 2 เมตร สถานที่สำคัญๆจะจมน้ำ และถึงเวลานั้นเราจะดื่มกินน้ำสะอาดได้จากที่ไหน จะเอาเงินจากไหนมาย้ายเมืองหลวง แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ใช่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน แต่เราต้องช่วยตัวเราเองก่อน เพราะผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนี้ล้วนเกิดในประเทศที่อยู่แถบเส้นศูนย์สูตรก่อน ได้แก่ เวียดนาม และไทย ดังนั้น สิ่งที่จะป้องกันได้คือการทำเขื่อนป้องกันไว้ ล้อมรอบกรุงเทพมหานคร แม้ว่าจะต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างนับแสนล้านบาท แต่ต้องทำ ถ้าหากไม่ทำอนาคตจะเสียหายหลายล้านล้านบาท วันนี้รัฐบาลสิงคโปร์ ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาการสร้างเขื่อนล้อมรอบเกาะสิงคโปร์แล้ว แต่สำหรับประเทศไทยยังนิ่งเฉย ไม่ให้ความสนใจในเรื่องสำคัญนี้เลย

ต่อข้อถามว่า งบประมาณนับแสนล้านบาทจะนำมาจากไหน นายสมิทธตอบว่า ไม่ต้องถามว่าเอามาจากไหน แต่ต้องให้พูดชัดว่าต้องทำ เพราะทีสร้างสนามบินสุวรรณภูมิที่ใช้งบประมาณนับแสนล้านบาทยังทำมาแล้ว ทำไมเรื่องที่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะทำไม่ได้ และการสร้างเขื่อนต้องทำตั้งแต่ช่วงลำน้ำบางปะกง เจ้าพระยา ท่าจีน มาจนถึงแม่กลอง จากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก จนถึงขณะนี้ยังไม่เห็นพรรคการเมืองใดที่มีนโยบายที่จริงจังในเรื่องนี้ มัวแต่พูดเรื่องการย้ายพรรค การรวมตัวจัดตั้งรัฐบาลเท่านั้น

ด้านนายเสรี สุพราทิพย์ ผอ.ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ ม.รังสิต กล่าวว่า มีข้อเท็จจริงว่า กทม.มีการทรุดตัวของพื้นดินปีละ 4 เซนติเมตร ทั้งนี้ แนวทางการสร้างเขื่อนตนขอเสนอให้กันพื้นที่เพื่อปลูกป่าชายเลนจากริมฝั่งถึงพื้นดิน 300 เมตร ก่อนที่จะสร้างเขื่อนเพื่อเป็นแนวธรรมชาติบำบัด และต้องกันพื้นที่ส่วนดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าสงวนเพื่อใช้เป็นแนวป้องกันภัยทางธรรมชาติที่จะต้องมีขึ้นแน่ในอนาคต

นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รักษาการหัวหน้ากลุ่มกรุงเทพ 50 กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการเสวนาเพื่อเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าไม่ทำวันนี้ เดี๋ยวนี้ ต่อไปวันหน้าก็อาจจะไม่มีวันได้ทำ “เรื่องกรุงเทพฯเป็นเมืองใต้บาดาลเกิดขึ้นแน่ๆใน 10 ปีข้างหน้า เราจะย้ายเมือง หลวงไปที่อื่น ไม่ใช่ทางป้องกันอย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลที่ผ่านมาลงทุนพัฒนากรุงเทพฯ จนกลายเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจทุกด้านไปแล้ว เป็นเมืองหลวงที่ทั่วโลกรู้จักเป็นอย่างดี ติดอันดับท็อปเทนด้านการท่องเที่ยว ด้านธุรกิจแฟชั่น ด้านการขนส่งทางอากาศ สนามบินสุวรรณภูมิถูกตั้งเป้าหมายให้เป็นศูนย์การบินของเอเชีย ทุกอย่างได้ลงทุนที่คิดเป็นมูลค่าทางเงินมากมายนับไม่ถ้วนแล้วเราจะไม่คิดป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯหรืออย่างไร”

นายชลิตรัตน์กล่าวต่อว่า ทางกลุ่มกรุงเทพ 50 จะชูเรื่องนี้เป็นวาระเร่งด่วน จะรวบรวมรายชื่อของประชาชน ให้บรรดาอาสาสมัครไปพูดคุยชี้แจงกับประชาชน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาทุกแห่ง และขอให้ทุกคนร่วมลงชื่อ เพื่อให้เรื่องการแก้ไขป้องน้ำท่วมกรุงเทพฯ ที่จัดเป็นหัวข้อในการเสวนาครั้งนี้ตั้งเป็นนโยบายแห่งชาติ และส่งให้พรรคการเมืองใดที่จะขึ้นมาเป็นรัฐบาลต้องดำเนินการทำอย่างเร่งด่วน คนกรุงเทพฯจะไม่ยอมให้ทำอะไรแบบวัวหายล้อมคอกอีกต่อไปแล้ว



จาก              :             ไทยรัฐ  วันที่ 26 พฤศจิกายน 2550


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ พฤศจิกายน 26, 2007, 12:28:47 AM

"สมิทธ"แนะสร้างเขื่อนปิดปากแม่น้ำกัน "น้ำท่วมกทม."

       "สมิทธ"แนะรัฐบาลควรตระหนักเรื่องการสร้างเขื่อนปิดปากแม่น้ำ ป้องกันในอนาคตน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร หลังข้อมูลหลายหน่วยงานยืนยันความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ และแผ่นดินทรุด
       
       ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวในการสัมมนา หัวข้อ “กรุงเทพฯ จะจมน้ำจริงหรือ ขอเชิญมาหาทางออกร่วมกัน” จัดโดยกลุ่มกรุงเทพ 50 โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังกว่า 300 คนว่า จากข้อมูลของกรมแผนที่ทหารบก ที่สำรวจมาหลายสิบปีพบว่า พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลกำลังทรุดตัว และมีต่อเนื่อง ขณะที่ข้อมูลระดับน้ำทะเล จากการวิเคราะห์และวิจัยของคณะกรรมการ IPCC องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ให้ข้อมูลว่า ระดับน้ำทะเลในมหาสมุทรเริ่มมีอัตราเฉลี่ยสูงขึ้นทุกปี เฉลี่ย 5-10 เซนติเมตร ไม่เท่ากันในแต่ละปี เนื่องจากสภาวะโลกร้อน และอุณหภูมิของโลกโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด
       
       ฉะนั้น ในระยะ 5-8 ปีหรือ 10 ปีข้างหน้า ปริมาณน้ำทะเลอาจจะสูงถึง 1.50 เมตร หรือ 2 เมตร จากสภาวะปกติในปัจจุบัน และพื้นดินของกรุงเทพมหานคร อาจจะทรุดตัวลงประมาณ 50-80 เซนติเมตร หากเป็นตามข้อมูลที่ปรากฏ พื้นดินในกรุงเทพมหาครและปริมณฑล จะต้องอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลอย่างน้อย 1.50 เมตรหรือ 2 เมตร
       
       ดร.สมิทธกล่าวอีกว่า ปัญหาใหญ่ที่จะเกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานคร คือน้ำเค็มที่สูงขึ้นจะไหลเข้าไปในคลองประปา ทำให้เป็นตะกอน ขณะที่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร 12 ล้านคนและปริมณฑล จะไม่มีน้ำบริสุทธิ์ดื่มและบริโภค นอกจากนี้ทำให้การจราจรและการขนส่ง เศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครจะต้องหยุดหมด รวมทั้งโรงงานที่อยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นับหมื่นโรงก็ไม่สามารถจะทำงานได้ และทำให้คนตกงานถึง 300,000 คน ส่วนเศรษฐกิจด้านสังคม จะทำให้โบราณสถานที่สร้างมา 200-300 ปีในอดีต เช่น พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว วัดโพธิ์ และวัดต่างๆ จมน้ำหมด สถานศึกษา มหาวิทยาลัยใหญ่ โรงพยาบาลอีกหลายโรง โรงเรียน สถานที่ราชการ การติดต่อสัญจรลำบากเพราะน้ำท่วม อีกทั้งการท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวมาหลายล้านคนต่อปีต้องหยุดชะงัก เพราะน้ำท่วม
       
       “ถ้าไม่ทำการป้องกันตั้งแต่ปัจจุบัน อนาคตจะไม่ทัน หลังน้ำท่วมแล้วจะมาสร้างเขื่อนหรือสูบน้ำออก เป็นไปได้ยาก ที่สิงคโปร์กำลังคิดป้องกันอยู่ คือทำเขื่อนรอบเกาะ ส่วนประเทศไทย ต้องเป็นนโยบายชาติ คือผู้ปกครองประเทศ ต้องคิดเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่ไปคิดตอนน้ำมามากๆ ต้องมีการสร้างเขื่อนปิดปากแม่น้ำใหญ่ ๆ ตรงปากอ่าว 3-4 สาย และเริ่มทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ เพราะการก่อสร้างต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปี เป็นเขื่อนปิดปากอ่าวและมีช่องว่างระหว่างชายฝั่งทะเลปากอ่าวกับเขื่อนเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ด้วย” ดร.สมิทธิ กล่าวย้ำและว่า ส่วนเรื่องงบประมาณที่จะใช้ แม้จะลงทุนเป็นแสนล้านบาท แต่ถ้าเทียบกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเป็นล้านล้านบาทในอนาคต มีผลต่างกันมาก
       
       ขณะเดียวกันทางกลุ่มกรุงเทพ 50 จะทำการรณรงค์เชิญชวนชาวกรุงเทพมหานคร ร่วมกันลงชื่อ 50,000 รายชื่อเพื่อผลักดันให้การป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ เป็นนโยบายแห่งชาติ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้เป็นต้นไป



จาก              :             ผู้จัดการออนไลน์   วันที่ 26 พฤศจิกายน 2550


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ พฤศจิกายน 29, 2007, 12:18:41 AM

จริงหรือ...โลกร้อน ทำให้นํ้าท่วม กทม.
 
เมื่อ 2 วันก่อน หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าภาวะโลกร้อนทำให้ภูเขานํ้าแข็งละลาย จนนํ้าทะเลเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้ กทม.จมนํ้าทะเลถึง 2 เมตร ใน 10 ปีข้างหน้า

จึงมีการประชุมเสวนา เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาจนถึงขั้นเสนอให้มีการสร้างเขื่อนป้องกัน ซึ่งอาจจะต้องใช้เงินนับแสนล้านบาท

ผมเป็นคนหนึ่งที่เคยเชื่อว่า นํ้าทะเลแถวๆกรุงเทพฯเพิ่มสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากนํ้าแข็งละลาย เพราะโลกร้อน

เพราะเคยอ่านพบว่าเสาบางเสา หรือหลักบางหลัก ที่เขาใช้วัดนํ้า และปักอยู่แถวๆปากแม่นํ้า จมลงใต้ทะเลไปเรื่อยๆ

จนกระทั่งเมื่อ 2 เดือนเศษๆนี่เอง ผมได้รับเอกสารจากศาสตราจารย์ ดร.สุภัทท์ วงศ์วิเศษสมใจ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนํ้าและสิ่งแวดล้อมของบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง บริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรของคนไทยที่มีชื่อเสียงบริษัทหนึ่ง

ดร.สุภัทท์เริ่มต้นเอกสารของท่านด้วยการยอมรับว่า ปัญหาโลกร้อนเกิดขึ้นจริง และเป็นปัญหาใหญ่ที่องค์กรสถาบันและประเทศต่างๆทั่วโลกวิตกและร่วมมือกันเพื่อแก้ไข

ทั้งนี้ เพราะมีรายงานที่ชัดเจนว่า อิทธิพลของโลกร้อนทำให้นํ้าแข็งขั้วโลกละลายและทำให้นํ้าทะเลเพิ่มขึ้นจริง... สอดคล้องกันหลายๆฉบับ

แต่ประเด็นที่ ดร.สุภัทท์ต้องการทำความเข้าใจเพื่อให้ทุกๆ ฝ่ายรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องและใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดก็คือ...

นํ้าทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ จะอยู่ที่มหาสมุทรแอตแลนติกเท่านั้น ดังนั้นประเทศที่ได้รับผลกระทบจึงได้แก่ยุโรป สหรัฐฯ และแคนาดา

ส่วนอ่าวไทย อินโดจีน เกาหลี จีน และญี่ปุ่นในทะเลจีน มหาสมุทรแปซิฟิก อยู่อีกโซนหนึ่ง ซึ่งในโซนนี้นํ้าทะเลมิได้สูงขึ้น เพราะชายฝั่งบริเวณนี้ไม่มีภูเขาสูง (ที่มีนํ้าแข็ง) แต่อย่างใด

จึงกล่าวได้ว่า การละลายของนํ้าแข็งขั้วโลกไม่มีผลในทะเลบริเวณนี้ และจากรายงานของนักวิจัยญี่ปุ่น ที่ใช้ข้อมูล 41 ปี พบว่าระดับนํ้าทะเลในอ่าวไทย อินโดจีน เกาหลี และทะเลญี่ปุ่น ลดลงด้วยซํ้า อันเนื่องมาจากบริเวณนี้มีแผ่นดินไหวอยู่เสมอ

สอดคล้องกับการตรวจสอบระดับนํ้าทะเลที่สันดอนกรุงเทพฯ, สัตหีบ, เกาะหลัก และสงขลา 56 ปี จาก ค.ศ.1940-1996 พบว่านํ้าทะเลกลับลงไปเช่นกัน

ถามว่า แล้วทำไมกรุงเทพฯถึงจมทะเลลงไปได้ล่ะ เมื่อนํ้าทะเลไม่เพิ่ม?

อาจารย์สุภัทท์ตอบประเด็นนี้ว่า น่าจะเกิดจากการสูบนํ้าบาดาลขึ้นมาใช้ ทั้งในชุมชนต่างๆ และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างมากมายในช่วงที่กรุงเทพฯและปริมณฑลเติบโตอย่างรวดเร็ว จนทำให้แผ่นดินทรุด

ขณะเดียวกันแถวๆสมุทรสาครและสมุทรปราการก็เกิดภาวะการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรง อันมีสาเหตุมาจากการลดลงของตะกอนจากแม่นํ้าที่ไหลลงสู่ทะเลน้อยลง

ปัจจุบันนี้ก็ได้มีความพยายามที่จะแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยการปลูกป่าชายเลนไปบ้างแล้ว

ศ.สุภัทท์ วงศ์วิเศษสมใจ สรุปในที่สุดว่า “ระดับนํ้าทะเลในอ่าวไทยไม่สูงขึ้นจากอิทธิพลของโลกร้อนเลย”

สำหรับผมเป็นคนเคารพความจริงและข้อเท็จจริง แม้จะเป็นคนหนึ่งที่ร่วมรณรงค์เรื่องโลกร้อน ตามแนวของท่านรองฯ อัลกอร์มาโดยตลอด

แต่ถ้าทุกฝ่ายยืนยันได้ว่า ข้อมูลของอาจารย์สุภัทท์ถูกต้อง ผมก็ยินดีที่จะปรับความเข้าใจของผมเสียใหม่

ผมขอย้ำว่า แม้จะรู้ชัดเจนว่าภาวะโลกร้อนจะไม่ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ แต่ผมก็จะร่วมรณรงค์ต่อไป เพราะตระหนักดีว่ามันเป็นอันตรายระยะยาว

ส่วนความรู้ที่ได้จากอาจารย์สุภัทท์ ผมก็ว่ามีประโยชน์ เพราะจะทำให้เราแก้ปัญหาได้ถูกจุดยิ่งขึ้น

การเสนอให้สร้างเขื่อนหรือระบบกั้นน้ำไม่ให้ท่วมกรุงเทพฯราคานับแสนล้านบาท ก็สร้างไปเถิด ถ้าเรามีเงินพอ

แต่ถ้าเราไม่เอาจริงเอาจังกับเรื่องการสูบน้ำบาดาล ปล่อยให้สูบไปเรื่อยๆ...กรุงเทพฯอาจไม่โดนน้ำท่วม (เพราะมีเขื่อนแล้ว) แต่ตึกสูงๆก็อาจพังครืนลงมาได้ เพราะพื้นดินกรุงเทพฯกลวงโบ๋ไปหมด

เฮ้อ! คิดแล้วก็น่ากลัวพอๆกันละครับ ระหว่างการเป็นเมืองที่ตึกอาจพังโครมได้ทุกเวลากับการเป็นเมืองใต้บาดาลเนี่ย.

 
 
จาก              :             ไทยรัฐ  วันที่ 29 พฤศจิกายน 2550


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มกราคม 01, 2008, 12:38:26 AM

นาซาตะลึงน้ำแข็งทั่วโลกละลายหนักกว่าที่คิด-ไทยเร่งหาคำตอบ 'กทม.' จมน้ำทะเลหรือไม่

ทธ.ตั้งคณะทำงานนำร่องสำรวจระดับน้ำทะเลในอ่าวไทย หาคำตอบ'กทม.'จะจมน้ำทะเลจริงหรือไม่ หลังพบข้อมูลนักวิชาการไม่ตรงกัน นักวิทย์ตะลึงข้อมูลนาซา น้ำแข็งทะเลขั้วโลกเหนือละลายมากกว่าที่คิด


องค์การบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (นาซา) เปิดผลสำรวจล่าสุดพบว่า น้ำแข็งในทะเลอาร์กติก ที่ขั้วโลกเหนือละลายมากกว่าที่คาดไว้ และถือว่ามากเป็นประวัติการณ์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์หวั่นว่า ภัยพิบัติที่ตามมาจะเร็วกว่าที่จินตนาการไว้ในขณะนี้ ขณะที่กรมทรัพยากรธรณี ตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อสำรวจระดับน้ำในทะเลอ่าวไทยว่าสูงขึ้นปีละเท่าไหร่ เพื่อหาคำตอบว่า พื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) จะจมน้ำทะเลจริงหรือไม่

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ดร.จิรพล สินธุนาวา นักวิชาการคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า เดิมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) รวมทั้งกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ของสหภาพยุโรป เคยคำนวณค่าความปลอดภัยของโลกจากการเกิดภาวะโลกร้อนว่า โลกจะปลอดภัยจากภาวะดังกล่าวหากสามารถหยุดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศไว้ที่ปริมาณ 450 ส่วนในล้านส่วน (ppm.) นั้น ล่าสุด ดร.เจมส์ แฮนสัน นักวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซา ที่ติดตามเรื่องการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกอย่างใกล้ชิด ได้ออกมาเปิดเผยว่า การคาดการณ์ดังกล่าวเป็นการประเมินค่าความปลอดภัยของโลกที่ต่ำเกินไป เพราะในขณะนี้ ภาวะโลกร้อนนั้นเริ่มส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อมในโลกแล้ว

ดร.จิรพลกล่าวว่า ล่าสุด องค์การนาซาตรวจสอบภาพถ่ายดาวเทียม และพบว่าขณะนี้น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือใน มหาสมุทรอาร์กติกละลายเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคำนวณเอาไว้มาก ภาพถ่ายดาวเทียมชี้ชัดว่า น้ำแข็งในทะเลที่ขั้วโลกอาร์กติกละลายมากเป็นประวัติการณ์ คือมากกว่าการละลายในเดือนเดียวกันของปี 2548 ที่จัดว่าละลายมากที่สุดแล้ว โดยพบว่ามีการละลายของน้ำแข็งกว้างเท่ากับ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตร หรือ 350,000 ตารางไมล์ น้ำแข็งส่วนที่ละลายมากกว่าปี 2548 นี้ มีขนาดใหญ่ขนาดห้าเท่าของอังกฤษ ทำให้ขณะนี้น้ำแข็งขั้วโลกเหนือในมหาสมุทรอาร์กติกหายไปถึง 23% จากปี 2548

ดร.จิรพลกล่าวว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกถึงกับตกตะลึง โดยหัวหน้าศูนย์ศึกษาติดตามน้ำแข็งและหิมะประเทศแคนาดา กล่าวว่า ไม่ได้มีการพยากรณ์ถึงการละลายของน้ำแข็งมากขนาดนี้ในแบบจำลองคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ไว้ก่อนหน้านี้เลย ขนาดของน้ำแข็งที่ละลายใหญ่มากชนิดที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงสัญญาณที่ชัดเจนในการบ่งชี้ว่า ภาวะโลกร้อนได้เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังเป็นลางบอกเหตุว่า อุณหภูมิได้เพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าที่ทุกคนคาดคิดไว้ และพิบัติภัยที่ตามมาจะเร็วกว่าที่จินตนาการไว้ในขณะนี้

'ขณะนี้เราได้ผ่านระดับความเข้มข้นที่ 350 ส่วนในล้านส่วนมาแล้ว ส่วนวาระสุดท้ายของโลกได้มาถึงแล้วหรือไม่ คำตอบอาจจะไม่ใช่ซะทีเดียว แต่จะเหมือนกับที่หมอบอกกับคนไข้ว่าระดับคอเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือดของคนไข้สูงมากเกินไปแล้ว จะต้องหยุดการเพิ่มคอเลสเตอรอลในทันทีและทุกรูปแบบ คือควรหยุดการบริโภคชีส ของทอด แป้ง และน้ำตาล เช่นเดียวกับโลก ของที่จะต้องหาทางกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และหยุดการปล่อยก๊าซคาร์บอนด์ฯในแต่ละปีช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจจะทำให้ก๊าซคาร์บอนฯลดลงได้เร็วและทันก่อนจะเกิดความเสียหายใหญ่ได้ นั่นหมายถึงต้องหยุดและละภารกิจทางเศรษฐกิจและการเมืองทั้งหมด หยุดการใช้ถ่านหิน ก๊าซ และน้ำมันทุกชนิดตั้งแต่เดี๋ยวนี้ และพร้อมกันทุกที่' ดร.จิรพลกล่าว

นักวิชาการรายเดิม ยังกล่าวด้วยว่า ดร.แฮนสันยังได้เรียกร้องให้หยุดการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในทันที ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ และเรียกร้องให้มีการเก็บภาษีคาร์บอนฯให้สูงพอที่จะทำได้

ดร.จิรพลกล่าวว่า นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ของสหภาพยุโรปเคยคำนวณไว้ว่า เมื่อไหร่ที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นจากเดิม 2 องศาเซลเซียส เมื่อนั้น น้ำแข็งจะขั้วโลกจะละลายอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้น้ำทะเลสูงขึ้นอีก 6 เมตรนั้น ปรากฏว่า ขณะนี้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นจากปี พ.ศ.2293 ถึง 0.74 องศาเซลเซียส ถือว่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีปริมาณก๊าซคาร์บอนด์ฯเป็นตัวกระตุ้นหลัก

เมื่อถามว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอากาศร้อนมากในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) เวลานี้ ซึ่งถือเป็นช่วงฤดูหนาว เป็นเพราะโลกร้อนด้วยหรือไม่ ดร.จิรพลกล่าวว่า ไม่น่าแปลก เพราะพื้นที่เหล่านั้นมีปริมาณไอน้ำ ความชื้น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ไนตรัส สารซีเอฟซี หรือก๊าซเรือนกระจก ที่มีคุณสมบัติดูดซับความร้อนในชั้นบรรยากาศได้ระดับหนึ่ง แล้วแผ่เป็นรังสีความร้อนออกมา ทำให้ในเมืองใหญ่มีอากาศร้อน แม้จะเป็นช่วงฤดูหนาว หรืออุณหภูมิสูงกว่าชนบทที่มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกน้อย ที่สำคัญต่อไปฤดูหนาวจะสั้นลงจนไม่มี ในอนาคตฤดูร้อนจะยาวนานขึ้น

ดร.วรวุฒิ ตันติวานิช ที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) เปิดเผยว่า ทธ.ได้ตั้งคณะทำงานศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขึ้น ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ โดยเป็นคณะทำงานเล็กๆ นำร่องก่อน เพื่อมุ่งหาคำตอบเร่งด่วน กรณีที่มีกระแสข่าวว่า เมืองใหญ่ริมฝั่งทะเลมีโอกาสถูกน้ำท่วมจากปัญหาน้ำทะเลสูงขึ้นทั่วโลก โดยที่ผ่านมา มีนักวิทยาศาสตร์ออกมาพูดถึงพื้นที่ กทม. ว่า เสี่ยงจมน้ำได้ เพราะเป็นเมืองใหญ่อยู่ริมฝั่งทะเลและเป็นที่ราบ แต่ยังมีข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยว่าแต่ปีสูงขึ้นเท่าไหร่ โดยข้อมูลไอพีซีซีระบุว่า สูงขึ้นปีละประมาณ 3-4 มิลลิเมตร แต่นักวิชาการบางสถาบันของไทย ระบุว่าจะสูงขึ้น 1.5-2 เมตร ภายใน 10 ปี ซึ่งต่างกันมาก

'จากข้อมูลการตรวจวัดน้ำทะเลที่สถานีวัดน้ำที่เกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และสถานีวัดน้ำ ของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ยังไม่พบว่า น้ำทะเลสูงขึ้นอย่างเป็นนัยสำคัญ ขณะที่การศึกษาวิจัยภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า สถานีวัดน้ำชายฝั่งทะเลรอบอ่าวไทยมีแนวโน้มน้ำทะเลสูงขึ้นในบางจุด ซึ่งผู้ที่จะตอบได้ดีที่สุดคือนักธรณีวิทยา เพราะที่ตั้งสถานีวัดน้ำบนแผ่นดินมีโอกาสยกตัวหรือลดต่ำลงตามสภาพธรณีวิทยา ทธ.จะเข้าไปตรวจสอบเพื่อให้เป็นตัวเลขเดียวกันและเชื่อถือได้' ดร.วรวุฒิกล่าว

ดร.วรวุฒิกล่าวว่า คาดว่าตั้งแต่ต้นปี 2551 คณะทำงานจะเริ่มลงไปตรวจพื้นที่ของสถานีวัดน้ำทั้ง 9-10 สถานี เริ่มจากสถานีเกาะหลัก ไปจนถึงภาคใต้ เพื่อนำมาวางแผนตรวจวัดทางธรณีวิทยาว่ามีการยกหรือทรุดต่ำลงของพื้นดินรอบอ่าวไทยหรือไม่ และอาจต้องนำผลการตรวจวัดน้ำทะเลของกรมอุทกศาสตร์ 40 ปีย้อนหลัง มาหาค่าเทียบเคียงด้วย เพื่อปรับฐานข้อมูลใหม่ และใช้ในการคาดการณ์ว่า กทม.และเมืองใหญ่ของไทยจะเจอน้ำท่วมจริงหรือไม่ ภายในระยะเวลาอีกกี่ปี




จาก              :             มติชน  วันที่ 31 ธันวาคม 2550


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายรุ้ง ที่ มกราคม 02, 2008, 04:05:35 AM
ยังไม่ได้ แต่ง....... ;)

ฮิๆ....ตก "ง" ไปได้อย่างไงจ๊ะ..... ;D

พูดอย่างงี้....เหมือนอีกกว่า 8 ปี จะแต่งนะจ๊ะ..... :-X
[/color]
 
555   :-X :-X :-X     เฮีย  Seaman   .........   โดน โดน แล้วหล่ะ    ;D ;D ;D ;D



หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ พฤษภาคม 02, 2008, 02:48:15 AM
อืมมมม....แต่งไม่แต่งไม่รู้ล่ะ รู้แต่ว่ากลัวน้ำท่วมกรุงฯจังเลย.... ;)

ถ้าไม่สร้างเขื่อนอย่างที่อาจารย์สมิทธ ท่านแนะนำ อีกไม่นานเกินรอ เห็นทีจะได้พายเรือไปจ่ายกับข้าวแน่เลย.... ;D  


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: WayfarinG ที่ พฤษภาคม 02, 2008, 06:03:07 AM
พิงค์ ว่า คนไทยเป็นลักษณะ.. ใครแนะนำสิ่งดีดี ฟังไม่ค่อยเป็น ต้องให้เหตุนั้นเกิดขึ้นก่อน ค่อยคิดที่จะแก้ไข เข้าประเด็น วัวหายล้อมคอก ยังงัยอย่างงั้นเลยคะ..


ดูอย่างกรณี tsunami..  เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด.. คนมาเตือนก็ไปหัวเราะเค้า ว่าเค้าสติไม่เต็ม.. แล้วเป็นงัย.. สูญเสียชีวิตไปตั้งเท่าไหร่..  :'( :'(


เฮ้ออออ..พูดไปก็กลุ้ม.. (http://min1101-hsu.myweb.hinet.net/A14/006/042.gif)


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ พฤษภาคม 02, 2008, 06:24:14 AM
ก็ท่าน สมิทธ ธรรมสโรช นี่แหล่ะค่ะ ที่ถูกหัวเราะเยาะเย้ยตอนที่ท่านเตือนว่าอาจจะเกิดสึนามิแถวๆชายฝั่งอันดามันของไทย.....แล้วไงล่ะคะ  :'(

หุๆ.....นิยายกำลังภายในของจีนชอบใช้ประโยคประชดๆว่า "ไม่เห็นโลงศพ....ไม่หลั่งน้ำตา" น่าจะนำมาใช้ได้กับกรณีนี้เช่นกันนะคะ.... ???


หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: foot_fish ที่ พฤษภาคม 02, 2008, 01:21:12 PM
เย่! อีกหน่อยมีบ้านติดน้ำแล้ว จะได้มีตลาดน้ำโดยไม่ต้องไปราชบุรี เหอๆๆๆ :'( :'( :'(  (ไม่อยากให้เกิดเลยก๊าบ)


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: Vita ที่ พฤษภาคม 02, 2008, 02:30:08 PM
แล้วเขื่อนจะมีผลต่อระบบนิเวศน์วิทยา ชายฝั่งรึเปล่าครับ......
เคยได้ยินว่า เขื่อนทำให้ตะกอนดินจำนวนมหาศาล ที่น้ำพัดมา
มาทับถมกันบริเวณเหนือเขื่อน......


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: Vita ที่ พฤษภาคม 02, 2008, 02:32:25 PM
ป.ล.  ถึง พี่ Seaman

Vita ขอแนะนำให้ปลูกเรือนหอ บนดอยอินทนนท์

(วางแผนเตรียมการป้องกันไว้แต่เนิ่นๆงัย)


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ พฤษภาคม 02, 2008, 03:01:47 PM

จริงหรือ...โลกร้อน ทำให้นํ้าท่วม กทม.
 
ถามว่า แล้วทำไมกรุงเทพฯถึงจมทะเลลงไปได้ล่ะ เมื่อนํ้าทะเลไม่เพิ่ม?

อาจารย์สุภัทท์ตอบประเด็นนี้ว่า น่าจะเกิดจากการสูบนํ้าบาดาลขึ้นมาใช้ ทั้งในชุมชนต่างๆ และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างมากมายในช่วงที่กรุงเทพฯและปริมณฑลเติบโตอย่างรวดเร็ว จนทำให้แผ่นดินทรุด

ขณะเดียวกันแถวๆสมุทรสาครและสมุทรปราการก็เกิดภาวะการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรง อันมีสาเหตุมาจากการลดลงของตะกอนจากแม่นํ้าที่ไหลลงสู่ทะเลน้อยลง

ปัจจุบันนี้ก็ได้มีความพยายามที่จะแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยการปลูกป่าชายเลนไปบ้างแล้ว

จากข้อความข้างต้น  ขยายความได้ว่า....การลดลงของตะกอนจากแม่นํ้าที่ไหลลงสู่ทะเลน้อยลงนั้น มีสาเหตุสำคัญมาจาก การสร้างเขื่อนเหนือปากแม่น้ำต่างๆที่ไหลลงสู่ทะเล ค่ะ 

ถ้าชาติเรามีเงินมากพอที่จะสร้างเขื่อนตลอดแนวชายฝั่งทะเลรูปตัว ก ไก่ ได้.....น่าจะมีตะกอนถูกกักไว้ที่ปากแม่น้ำได้มากขึ้น (เหมือนที่ชาวบ้านได้นำไม้ไผ่ไปกั้นสับหว่างตามแนวชายฝั่งแล้วกักตะกอนได้เพิ่มขึ้นมาก) ซึ่งน่าจะเป็นผลดีที่ทำให้มีแผ่นดินเพิ่มมากขึ้น  อย่างไรก็ตาม คงจะมีผลกระทบกับระบบนิเวศไม่น้อย 

แต่ถ้าเขื่อนสามารถกั้นการกัดเซาะของน้ำทะเลได้จริง  และทางการเข้มงวดกวดขันเรื่องลดการดูดน้ำบาดาลได้เพื่อป้องกันการทรุดตัวของดินได้ด้วยอีกทางหนึ่ง  ก็เห็นว่าน่าจะคุ้มกับการที่ไม่ต้องสูญเสียพื้นที่แนวชายฝั่งทะเลของเมืองฉะเชิงเทรา...สมุทรปราการ...สมุทรสาคร.... สมุทรสงคราม...รวมทั้งกรุงเทพฯไปทั้งหมดนะคะ


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: Vita ที่ พฤษภาคม 02, 2008, 04:53:26 PM
 :o :o :o....... นึกถึงหนังเรื่อง   <<< Water World >>>


หัวข้อ: Re: อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ พฤษภาคม 19, 2008, 01:03:44 AM

"อีก 10 ปี กทม.จะเป็นเมืองใต้บาดาล" หากอุณหภูมิสูงขึ้น 2-6 องศา

(http://www.komchadluek.net/2008/05/19/images/p5_copy1.jpg)

นับตั้งแต่พิบัติภัยสึนามิถาโถมเข้าใส่ชายฝั่งสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล คนทั่วโลกเริ่มหันมามองว่าเกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้ ตามติดมาด้วยพายุไซโคลนนาร์กีสถล่มประเทศพม่าและเหตุแผ่นดินไหวในประเทศจีน

หลายประเทศทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงภัยธรรมชาติที่อาจจะล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ได้ในชั่วข้ามคืน หากไม่มีมาตรการรับมือดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการด้านการเตือนภัย แล้วประเทศไทย โอกาสที่จะเผชิญกับมหันตภัยทางธรรมชาตินี้มีมากน้อยแค่ไหน ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะเป็นผู้ให้คำตอบ

 ตอนนี้มวลมนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่กับอะไร 4 ปีที่ผ่านมา หลายประเทศได้รับความสูญเสียจากภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งพายุและแผ่นดินไหว

 ขณะนี้โลกเรากำลังเผชิญกับภัยธรรมชาติที่มีความผิดปกติจนเห็นได้ชัด ทั้งเรื่องความรุนแรง ที่มีผลกระทบต่อทรัพย์สินและผู้คนจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีให้เห็นเรื่องของการเกิดภัยพิบัติถี่ขึ้นในหลายประเทศ ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่ระบุว่า สาเหตุของการเกิดภัยธรรมชาติที่ผิดปกตินี้มีผลกระทบมาจากสภาวะโลกร้อน อย่างเช่นภัยธรรมชาติที่เห็นได้ชัดคือพายุนาร์กีสที่ประเทศพม่า ที่ก่อตัวในมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิสูงพอ แต่สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวนั้น ทางวิชาการถือว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติ


 ประเทศไทยมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในรูปแบบของพายุมากน้อยแค่ไหน

 บอกได้เลยว่าประเทศไทยมีอัตราเสี่ยงภัยพายุแน่นอนและมีทุกปี ขึ้นอยู่กับว่าปีไหนมีน้อย ปีไหนมีมาก แต่สำหรับปีนี้มีอัตราเสี่ยงสูง โดยเฉพาะในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน และตุลาคม จะมีมรสุมที่ก่อตัวมาจากมหาสมุทรแปรซิฟิกเข้ามาทางอ่าวไทย และมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ภาคกลางจนถึงภาคเหนือ ซึ่งผลกระทบจะเกิดกับชุมชนใหญ่ๆ เมืองใหญ่ๆ ของประเทศแน่นอน ขณะนี้เราก็ยังไม่สามารถคำนวณได้ว่า ความรุนแรงจะมากน้อยแค่ไหน จะเท่าพายุนาร์กีสหรือไม่ อาจน้อยหรือมากกว่า เพราะเราต้องรอให้พายุที่จะเกิดขึ้นนั้นก่อตัว เคลื่อนตัว ขึ้นมาก่อน เราถึงจะคำนวณได้จากทิศทาง เส้นผ่าศูนย์กลาง และแรงลม หากตรวจจับได้ว่ามีการก่อตัวของพายุกลางทะเล เราจะสามารถคาดคะเนได้ก่อน 3-5 วัน แต่หากให้คาดการณ์ได้ว่าพายุลูกต่อไปจะเกิดความรุนแรงมากเท่าไร อันตรายแค่ไหน ไม่มีหลักวิทยาศาสตร์ไหนตอบได้


ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวไหม

 อย่างที่บอกการเกิดแผ่นดินไหวนั้นเป็นภัยธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งโลกประสบมาหลายร้อยล้านปี การเกิดแผ่นดินไหวมีสาเหตุมาจากการปลดปล่อยพลังงาน ระบายพลังงาน จากใจกลางใต้ผิวโลกมาสู่พื้นผิวโลก อันนี้ปกติ ซึ่งพลังงานใต้เปลือกโลกยังมีอีกมหาศาล สำหรับประเทศไทยนั้นโชคดี เราไม่มีพื้นที่อยู่บนหรือใกล้รอยแยกของเปลือกโลกเหมือนประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินโดนีเซีย


พื้นที่เสี่ยงของไทยต่อการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่ไหน

 ประเทศไทยของเราอยู่ใกล้กับรอยเลื่อนของเปลือกโลก มี 13 จุดทั่วประเทศที่เราเฝ้าระวัง ตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ไล่ลงมาทางกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ไปถึงจนภาคใต้ ซึ่งประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินยุบตัว แผ่นดินถล่ม ก็ต่อเมื่อเกิดการปลดปล่อยพลังงานผ่านรอยเลื่อนดังกล่าวรอยหนึ่งรอยใดก็จะได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือน ซึ่งเราไม่รู้อีกว่ามันจะรุนแรงแค่ไหน


ปัญหาที่จะเกิดขึ้นหากเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในประเทศไทยคืออะไร

 ที่ผ่านมาเราไม่เคยมีการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของอาคารสูงว่า สามารถทนทานต่อการสั่นสะเทือนจากเหตุแผ่นดินไหวได้มากน้อยแค่ไหน เพราะอาคารหลายแห่ง เอาแค่ใน กทม.มีการสร้างมานานแล้ว ตรงนี้วิศวกรหลายคนพูดเหมือนกันว่า หากเกิดแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงขนาดกลาง เพียงแค่ 7-8 ริกเตอร์ ก็จะมีตึกหลายตึกทรุดตัวลงมา เพราะทนแรงสั่นสะเทือนไม่ได้ เราก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพียงแต่ภาวนาว่าอย่าเกิดการปล่อยพลังงานที่บริเวณรอยเลื่อนในไทยเลย ไม่เช่นนั้นก็คงเห็นภาพตึกหลายตึกพังลงมา เพราะกฎหมายบ้านเราไม่เคยระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับการรองรับเรื่องนี้ไว้เลย อันที่จริงแล้วเราต้องออกกฎหมายเหล่านี้มาป้องกันเหตุสุดวิสัยนี้ แต่ตอนนี้เราทำอะไรไม่ได้เลยต่างก็สร้างเอาราคาถูกเข้าว่า


 ประเทศไทยมีความพร้อมในการเฝ้าระวังภัยพิบัติทางธรรมชาติมากน้อยแค่ไหน

 เรื่องพายุหรือลมมรสุมเนี่ยผมแน่ใจว่า กรมอุตุนิยมวิทยาของไทยมีความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์ตัววัด การเฝ้าระวัง รวมไปถึงการเตือนภัยที่ดี ดีจนแทบจะบอกได้ว่าเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคนี้เลยทีเดียว แต่ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่าเราจะเอาข้อมูลที่กรุมอุตุฯ เตือนไปบอกชาวบ้านอย่างต่อเนื่องยังไงมากกว่า หากเขารับรู้ชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้านก็คงจะปลอดภัย แต่เรื่องแผ่นดินไหวนั้นยอมรับว่าขณะนี้ก็คงพยายามติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว ซึ่งปัจจุบันเราก็มีแต่มันยังไม่สมบูรณ์เท่าไร แต่ก็อยู่ในมาตรฐานที่รับได้


 นอกจากภัยพิบัติทางธรรมชาติแล้ว ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนมีอะไรอีก

 จากที่มีการศึกษาและหากเป็นจริง อีกภายใน 50 ปีข้างหน้า โลกจะร้อนขึ้นอีกประมาณ 2-6 องศา ผลที่ตามมาคือระดับน้ำทะเลสูงขึ้นหลายฟุต เนื่องจากการละลายของน้ำแข็งลงสู่มหาสมุทร ก่อให้เกิดการพังทลายของแนวชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะเมื่อมีพายุรุนแรง การสูญเสียตามแนวชายฝั่งและแนวชายหาด ที่ลุ่มน้ำขัง และอุตสาหกรรมตามแนวชายฝั่ง น้ำเค็มจะแพร่เข้าสู่พื้นดิน ก่อปัญหาแก่น้ำบริโภค ระบบนิเวศตามแนวชายฝั่งทะเล และน้ำเค็มซึมสู่แหล่งน้ำจืดใต้ดิน เกิดพายุที่มีความรุนแรงมากขึ้นและบ่อยครั้ง แหล่งการเกษตรและการประมงจะเปลี่ยนแปลง เช่น ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศแคนนาดา และสหภาพโซเวียตอาจเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตของสหรัฐอเมริกาลดลง

 มีการเลื่อนตัวของแนวร่องความกดอากาศต่ำ ทำให้ปริมาณฝนในบางพื้นที่ตลอดจนตำแหน่งพายุเปลี่ยนแปลง คลื่นความร้อนและความแห้งแล้งจะทวีความรุนแรงและบ่อยขึ้น การลดลงของก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ มีผลต่อเนื่องถึงสุขภาพของมนุษย์ขาดโภชนาการต่อเนื่อง ทำให้เกิดโรคต่างๆ และเกิดโรคพืชและโรคสัตว์


 ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรหากอุณหภูมิสูงขึ้น 2-6 องศา

 หลังจากนี้ไปน้ำทะเลจะสูงขึ้นทุกวัน อีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า กทม.จะกลายเป็นเมืองใต้บาดาลอย่างถาวร เรื่องนี้ผมพูดมานานมากแล้ว ทุกวันนี้ผมท้อ เพราะหลายครั้งที่ผ่านมา ผมและนักวิชาการคนอื่นพูด ผมวิเคราะห์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่เห็นจะมีผลอะไร แทนที่จะเอาไปตั้งคณะกรรมการศึกษา สิ่งที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ หาแนวทางป้องกัน กลับนิ่งเฉยไม่ทำอะไร ผมต่อสู้มาหลายรัฐบาล แต่ไม่ได้รับความสนใจ หลายสิ่งหลายอย่างมีคนต่อต้านค้านไม่เห็นด้วย ทุกวันนี้ผมก็เลยไม่พูด ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมของประเทศ หากเกิดสภาวะแบบนั้นจริงๆ ซึ่งมันก็ช้าไปกับการที่จะหาวิธีป้องกันอย่างที่เราคำนวณไว้


 การพัฒนาศักยภาพและทิศทางในอนาคตของศูนย์เตือนภัยฯ

 เราพยายามที่จะพัฒนามาตลอด ตั้งแต่มีการจัดตั้งศูนย์ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าเลย ไม่ได้รับความสนใจจากผู้นำประเทศ ไม่ได้รับการพัฒนาในทิศทางที่ควรจะเป็น คือมีศักยภาพและมาตรฐานสากล เทียบเท่าที่เขาเจริญแล้ว เช่น สิ่งที่มองเห็นได้ชัดว่าเราด้อยกว่าเขาคือ เราไม่มีสถานภาพที่ชัดเจน องค์กรไม่มีการระบุชัดเจนว่าทำอะไร อยู่ในระดับไหน มีเจ้าหน้าที่เท่าไร อะไรต่างๆ ไม่มีความแน่ชัด จึงไม่มีผลงานที่จะออกไปต่อสาธารณชน ที่อยู่ได้มาถึงทุกวันนี้เป็นการประคับประคองเท่านั้น หากต้องการที่จะพัฒนาป้องกันอย่างจริงจัง ต้องทำในวันนี้ก่อนที่มันจะสายไป


 คนไทยควรปฏิบัติตัวอย่างไรในสถานการณ์แบบนี้

 ก็คงต้องทำตัวปกติ อย่าวิตกกังวลมากไป ติดตามข่าวสารที่มีการเตือนออกมา ศึกษาวิธีการป้องกันไว้บ้าง อย่างเช่นหากเกิดแผ่นดินไหวควรจะทำตัวอย่างไร ซึ่งข้อมูลลักษณะนี้ก็มีการประชาสัมพันธ์อยู่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่านั่นคือตอนนี้เรารับรู้แล้วว่า สาเหตุที่ในระยะนี้ทั่วโลกเกิดภัยพิบัติบ่อยครั้ง เนื่องจากโลกได้รับผลกระทบจากปฏิกิริยาความร้อนของเรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น หากอุณหภูมิในทะเลสูงขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียส ก็จะทำให้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงบ่อยครั้งขึ้น ดังนั้น จึงเป็นบทเรียนที่มนุษย์จะต้องหยุดทำลายสิ่งแวดล้อม ด้วยการปล่อยสารพิษสู่ชั้นบรรยากาศ




จาก              :             คม ชัด ลึก   วันที่ 19 พฤษภาคม 2551


หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 11:16:54 PM

ชี้มหันตภัยโลกร้อน อีก 35 ปี กทม.จมบาดาล

 วันนี้ (21 พ.ค.) ที่ศูนย์ความเป็นเลศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS)  ดร.วิเชียร กีรตินิจการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และอาจารย์คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึง “ประเทศไทยกับมหันตภัยโลกร้อน”ว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่อยู่รอบบรรยากาศโลก ส่วนใหญ่ 90 % เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การใช้พลังงาน การเดินทางขนส่ง ป่าไม้และการทำลายป่า อุตสาหกรรม ขยะน้ำเสีย  กิจกรรมของมนุษย์ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบันเท่ากับ 383 พีพีเอ็มส่วนในอากาศ 1 ล้านส่วน นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงพยายามหาหนทางป้องกันไม่ให้อุณภูมิเฉลี่ยของโลกสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส เพราะหากเลยจุดนี้ไปแล้ว ความปลอดภัยของมนุษยชาติจะไม่มีหลักประกันอีกต่อไป ซึ่งการป้องกันภาวะโลกร้อนจะต้องไม่ให้คาร์บอนไดออกไซด์สะสมในชั้นบรรยากาศเกิน 450 พีพีเอ็ม
 
“นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกตั้งเป้าหมายให้หยุดอุณภูมิที่สูงขึ้นไว้ที่ 2 องศาเซลเซียส ในปี พ.ศ.2558 ซึ่งเหลือเวลาเพียง 7 ปีเท่านั้นโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงอุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียสมีถึง 93 %  หากมนุษย์สามารถลดการปลอดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 60 % ในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยมนุษย์ต้องลดใช้พลังงานอย่างเต็มที่ทั่วโลก หากเลยจุด 2 องศาเซลเซียสไปแล้ว มนุษย์ต้องเตรียมรับมือมหันตภัยต่าง ๆ และอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก 3 เป็น 4  5 และ 6 หยุดไว้ได้ยาก ผลดังกล่าวจะทำให้น้ำทะเลอุ่นขึ้น มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศมากทำให้โลกร้อนยิ่งขึ้น”ดร.วิเชียร กล่าว
 
ดร.วิเชียร กล่าวด้วยว่า ผลจากโลกร้อนขึ้นในปัจจุบันแม้เพียง 0.8 องศาเซลเซียส ก็ส่งผลกระทบต่อมวลมนุษย์ โดยมีสัญญาณเตือนให้เห็นทั่วโลก เช่น ในอดีตที่ผ่านมาความร้อนทำให้ชาวยุโรปเสียชีวิตกว่า 3 หมื่นคน อินเดียกว่า 1,500 น ปากีสถานมีอุณหภูมิสูงจนทำลายสถิติที่ 52 องศาเซลเซียส ทั่วโลกมีฝนตกมากขึ้น น้ำท่วมรุนแรง มีพายุต่าง ๆ ทั้งเฮอริเคน ไซโคลน ไต้ฝุ่น เช่น เฮอร์ริเคนแคทรินา ที่สหรัฐฯ ไต้ฝุ่นที่จีน และล่าสุดคือไซโคลนนาร์กีสที่พม่า รวมถึงไฟป่าที่มีจำนวนบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้นในสหรัฐฯและออสเตรเลีย ธารน้ำแข็งขั้วโลกเหนือและใต้ รวมทั้งภูเขาน้ำแข็ง ละลายเร็วขึ้น ทำให้เมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ทะเลมีโอกาสจมน้ำ ซึ่งรวมถึงกรุงเทพฯ ที่ติดอันดับ 6 ดังนั้นคาดการณ์ว่าประมาณ 25-35 ปีน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ จากที่ผลวิจัยชี้ว่า 48 ปีกรุงเทพฯจะจมน้ำ ดังนั้นไม่ควรซื้อบ้านริมชายหาดอย่างเด็ดขาด ดังนั้นไม่แน่ใจว่าในอีก 3-4 ปีข้างหน้าไทยอาจจะเจอพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงก็เป็นได้
 
ดร.วิเชียร กล่าวอีกว่า ผลจากโลกร้อนทำให้แหล่งน้ำจืดเหือดแห้งเหลือแต่พื้นทราบ อาจจะเกิดการอพยพผู้คนอย่างมหาศาล และการต่อสู้ช่วงชิงน้ำจืด น้ำทะเลมีสภาพเป็นกรดมากขึ้น ทำให้ปะการังฟอกขาว และอาจตายได้ในที่สุด ปลาและสัตว์น้ำอื่นจะสูญพันธุ์และลดปริมาณลง นอกจากนี้ภาวะโลกร้อนยังมีผลต่อการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ เช่น ยุงลายที่เป็นพาหะนำไวรัสไข้เลือดออก ปกติจะอาศัยอยู่ในความสูงไม่เกิน 3,300 ฟุต แต่ปัจจุบันพบที่ความสูง 7,200 ฟุตบนยอดเขาแอนดีส ในประเทศโคลัมเบีย และพบเชื้อมาเลเรยนที่ไม่เคยพบมาก่อนในบริเวณพื้นที่สูงของอินโดนีเซีย
 
“ผมเห็นว่ารัฐบาลควรหันมาให้ความสนใจเรื่องภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง โดยควรเตรียมพร้อมรับมือกับน้ำท่วมกรุงเทพฯ ที่เป็นเหมือนแอ่ง เพราะหากเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ รถไฟฟ้าใต้ดินจะได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรก” ดร.วิเชียร กล่าว



จาก              :             เดลินิวส์   วันที่ 21 พฤษภาคม 2551


หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 11:18:25 PM

ผลวิจัยชี้ กทม.อีก 48 ปี จมบาดาล

 เหมือน'เวนิส'อิตาลีจี้หามาตรการรับมือเป็น'วาระแห่งชาติ'
ลุ้น 48 ปีข้างหน้ากรุงเทพฯ จมบาดาล เป็นเหมือน "เวนิส" อิตาลีกินพื้นที่จากชายฝั่งลึกเข้าไป27กม. น้ำท่วมสูง 1-1.5 เมตร วัฒนา-สวนหลวง-ลาดกระบัง ไม่รอด จี้เร่งดำเนินการป้องกัน ดันเป็นวาระแห่งชาติ ทุ่มงบ “หมื่นล้าน” ป้องกัน ด้าน กทม.ชี้อย่าตื่นตระหนก ยันเขื่อนริมน้ำป้องกันได้ อีก 2 ปี เสร็จสมบูรณ์
 
ผลวิจัยชี้อีก 48 ปีข้างหน้ากรุงเทพฯ จมบาดาล กทม.เตรียมพร้อมรับมือสร้างเขื่อนป้องกัน เมื่อวันที่ 20 พ.ค. รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหา วิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ทาง ธนาคารโลก (World Bank) ได้มอบให้ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ และบริษัท ปัญญาคอนซัลแตนท์ ร่วมกันทำงานวิจัยเรื่องน้ำท่วมกทม. ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากผลงานวิจัยขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ที่ระบุว่าจะเกิดน้ำท่วมใน 10 เมือง คือ กรุงเทพมหานครของประเทศไทย เมืองกัลกัตตาและ มุมไบ ของอินเดีย ย่างกุ้ง ของพม่า ดักการ์ ของบังกลาเทศ กวางตุ้งและเซี่ยงไฮ้ ของจีน เมืองไฮฟองและโฮจิมินห์ของเวียดนาม และเมืองไมอามีของประเทศสหรัฐอเมริกา โดย กทม.มีความเสี่ยงในลำดับที่ 6 จาก 10 เมือง จากผลวิจัยดังกล่าวธนาคารโลก เกรงว่าเหตุการณ์นี้จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ จึงว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญในประเทศนั้น ๆ ทำวิจัยถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแต่ละประเทศ
 
รศ.ดร.เสรี กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย ทางธนาคารโลกได้เริ่มให้ดำเนินการวิจัยมาตั้งแต่เดือน เม.ย. แต่ก่อนหน้านั้น ทางศูนย์ได้ทำวิจัยเรื่องเดียวกันก่อนหน้ามาแล้ว 3 ปี โดยใช้ข้อมูลจากคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งผลงานวิจัยในเบื้องต้นพบว่า หากประเทศไทยไม่วางระบบป้อง กันให้ดี ปล่อยให้เหตุการณ์ผ่านไปโดยปกติ จะทำให้ในอีก 48 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะถูกน้ำท่วมจากแนวชายฝั่งในปัจจุบันลึกเข้าไป 27 กม. ถึงเขตวัฒนา สวนหลวง และลาดกระบัง ของ กทม. โดยระดับความสูงของน้ำที่ท่วมจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ อาทิ จ.สมุทรปราการ จะท่วมสูงประมาณ 1-1.5 เมตร จากนั้นระดับความสูงก็จะลดหลั่นลงมา เมื่อถึงเขตสวนหลวง ระดับน้ำจะสูงประมาณ 60 ซม. ซึ่งระดับน้ำที่ท่วมจะไม่ใช่การท่วมถาวร แต่ระดับน้ำจะขึ้นลงตามระดับการหนุนของน้ำทะเล โดยอาจจะท่วม 6 ชม. แล้วลดลง จากนั้นอีก 6 ชม.ขึ้นท่วมใหม่
 
รศ.ดร.เสรี กล่าวต่อว่า การเกิดน้ำท่วมลักษณะนี้ จะทำให้กรุงเทพฯ เป็นเหมือนเมืองเวนิส ของประเทศอิตาลี ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคน เช่น เมื่อตื่นเช้ามาน้ำท่วมไม่สามารถไปทำงานได้ ทำให้เวลาการทำงานอาจเปลี่ยนแปลงไป ยังไม่นับรวมผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่จะตามมาอีกมากมาย เนื่องจากใน พื้นที่ จ.สมุทรปราการเป็นเมืองเศรษฐกิจ มีโรงงานตั้งอยู่จำนวนมาก “ผลจากการวิจัยในอีก 48 ปี ข้างหน้าน้ำจะท่วมอย่างแน่นอนหากเราไม่คิดหาวิธีป้องกันตั้งแต่ตอนนี้ จึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาด้วยการตั้งเป็นวาระแห่งชาติทำงานอย่างบูรณา การ ไม่เช่นนั้นแล้วจะส่งผลกระทบในวงกว้าง”
 
สำหรับแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหานั้น รศ.ดร.เสรี กล่าวว่า ในพื้นที่ใดที่เป็นป่าชายเลนจะต้องสงวนไว้ 300 เมตร จากชายฝั่ง เพราะจะเป็นแนวป้องกันตามธรรมชาติที่ดีที่สุด จากนั้นก็ต้องสร้างแนวกันชนเป็นคันดิน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนุนขึ้น หรือสร้างเป็นแนวป้องกันถาวรทำจากคอนกรีตอย่างที่ญี่ปุ่นใช้ ซึ่งทั้งหมดจะต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยจะต้องมีการศึกษาวิจัยว่าใช้วิธีไหนจะมีความคุ้มค่ากว่ากันระหว่างทำแนวกันชนเพื่อป้องกัน หรือทำการย้ายเมืองไปเลย เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่เศรษฐกิจ และเมืองหลวง ซึ่งผลวิจัยนี้คิดในพื้นฐานที่ไม่มีพายุพัดเข้ามาในประเทศเลย แต่หากมีพายุที่รุนแรงอย่างนาร์กีสพัดเข้ามาในพื้นที่อ่าวไทย ทำลายพื้นที่แนวชายฝั่งระยะเวลาที่น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ ก็ร่นระยะเวลาเร็วขึ้นไม่ถึง 48 ปี อย่างไรก็ตาม ผลเสียหายในด้านเศรษฐกิจที่จะตามมานั้น กำลังอยู่ในช่วงศึกษาวิจัยจะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 7 เดือน จะทราบผลวิจัยทั้งหมด
 
ด้านนายสมศักดิ์ กลั่นพจน์ ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงเรื่องเดียวกันนี้ว่า ไม่อยากให้ ประชาชนตื่นตระหนก เพราะจากการติดตามความเห็นในเรื่องปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ จากหน่วยงานหรือบุคคลต่าง ๆ ที่ผ่านมา ต่างมีความคิดเห็นที่หลากหลาย และยังไม่สามารถชี้ชัดว่าความเห็นของ ใครจะใกล้เคียงความจริงมากที่สุด แต่โดยส่วนตัวเห็นว่า หากมีปริมาณน้ำฝนตกในกรุงเทพฯ ทั่วทุกพื้นที่ถึง 200 มิลลิเมตร ในช่วงที่มีปัญหาน้ำเหนือและน้ำทะเลหนุนพร้อมกันทั้ง 3 น้ำ กรุงเทพฯ ก็จมน้ำได้ทันทีโดยไม่ต้องรออีกหลายปี แต่โอกาสดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นพร้อมกันได้ มีแค่ 0.1% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม กทม.ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้เตรียมความพร้อมด้วยการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำทะเลหนุนและน้ำทะเลไหลบ่า โดยก่อสร้างเขื่อนที่ระดับ 2.50 เมตร ระยะทาง 77 กม.ขณะนี้สร้างเสร็จแล้ว 68 กม. เหลืออีก 9 กม. เช่น บริเวณถนนทรงวาส ถนนสัมพันธวงศ์ และในพื้นที่เขตทวีวัฒนา ขณะนี้เคลียร์ปัญหาเรื่องบ้านรุกน้ำพื้นที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าในอีก 2 ปี จะก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์.
 


จาก              :             เดลินิวส์   วันที่ 21 พฤษภาคม 2551


หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ พฤษภาคม 22, 2008, 12:39:30 AM

หุๆ...สองสำนัก....สองการพยากรณ์  กรุงเทพฯ จะจมน้ำห่างกัน 10 ปี อย่างนี้จะเชื่อใครดีเล่าคะ.... ;)

ไม่อยากให้กรุงเทพฯจมน้ำเลยล่ะค่ะ ขอให้มีคนดี...คิดดี...ทำดี หาทางป้องกันไม่ให้กรุงเทพฯ จมน้ำได้สำเร็จดีกว่า.... ;D


หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: kungkings ที่ พฤษภาคม 22, 2008, 02:11:31 AM
บ้านนู๋อยู่ปทุมจะโดนหางเลขด้วยอะป่าวววววว คะ ... แต่ขอให้ความคิดของพี่สายชลเป็นจริงดีกว่า ...  ??? ??? ???


หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: topping ที่ พฤษภาคม 22, 2008, 02:24:10 PM
แถว ๆ สมุทรปราการ บ้านขุนสมุทรจีน โดนผลของโลกร้อนชายฝั่งกัดเซาะเข้าไปหลายกิโลเมตรแล้ว
สามปี ต้องย้ายบ้านที เพราะน้ำท่วม เค้าทำนายกันว่า จะอยู่ให้ปลอดภัย ต้องอยู่โคราชเลยง่ะ


หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ พฤษภาคม 22, 2008, 03:02:07 PM
ถ้าอย่างงั้นที่ดินที่สองสายซื้อไว้แถวๆเชิงเขาใหญ่เมื่อกว่าสิบปีมาแล้วก็คงจะกลายเป็นที่ดินติดชายทะเล หรือไม่ก็เป็นเกาะกลางทะเล....

ไปอยู่ด้วยกันไหมคะ.... :) ;D :)





หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: WayfarinG ที่ พฤษภาคม 23, 2008, 01:27:43 AM

ขอให้มีคนดี...คิดดี...ทำดี หาทางป้องกันไม่ให้กรุงเทพฯ จมน้ำได้สำเร็จดีกว่า.... ;D



อันนี้ยากซะยิ่งกว่า.. งมเข็มในมหาสมุทรอีกอะจ๊ะ..  :'( :'( :(


หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: kungkings ที่ พฤษภาคม 23, 2008, 02:01:05 AM
ถ้าอย่างงั้นที่ดินที่สองสายซื้อไว้แถวๆเชิงเขาใหญ่เมื่อกว่าสิบปีมาแล้วก็คงจะกลายเป็นที่ดินติดชายทะเล หรือไม่ก็เป็นเกาะกลางทะเล....

ไปอยู่ด้วยกันไหมคะ.... :) ;D :)
น่าสนใจมั่กๆ เลยคะ มีบ้านพักชายทะเล หรือไม่ก็มีเกาะส่วนตัว ...ว๊าว ๆ แต่นู๋ว่าอย่าดีกว่านะคะ... อิอิ  ;) ;)






หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มิถุนายน 05, 2008, 12:47:30 AM

"ส.ค.-ต.ค."พายุใหญ่ถล่มไทย สมิทธฟันธงกทม.จมใต้บาดาล

"สมิทธ" ฟันธง "ส.ค.-ต.ค." พายุใหญ่ถล่มประเทศไทย ทำให้ กทม.จมบาดาล ระบบประปาพินาศ คนเมืองหลวงไม่มีน้ำใช้ จี้หน่วยงานรัฐเร่งหามาตรการรับมือโดยด่วน ขณะที่อดีตนายกสภาวิศวกรรมสถานฯ หวั่น "วัดพระแก้ว" เสียหายหากเกิดน้ำท่วมพระบรมมหาราชวัง


การออกมาแจ้งเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติครั้งใหญ่ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครของ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ครั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ในการเสวนาเรื่อง "แผนรับมือวิบัติภัยในมหานครกรุงเทพ" ซึ่งจัดโดยสถาบันพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร การเสวนาครั้งนี้มีนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสภาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมเสวนา

 ดร.สมิทธกล่าวว่า จากการศึกษาและติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติมาโดยตลอด พบว่าภัยพิบัติที่จะกระทบ กทม.และปริมณฑล มีอยู่ 2 ประเภท คือ ภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหว และภัยที่เกิดจากน้ำท่วมขัง ซึ่งเกิดจากสภาวะโลกร้อน โดยภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหวเป็นภัยที่รุนแรงและมีผลกระทบต่อมนุษย์จำนวนมาก ทั้งนี้ ประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ 13 รอย และจากการศึกษาพบว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิ รอยเลื่อนทั้งหมดเกิดรอยร้าวเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน ซึ่งการเกิดรอยร้าวดังกล่าวทำให้อาคารที่โครงสร้างไม่แข็งแรงใน จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่ มีโอกาสถล่มลงมาได้

 ดร.สมิทธกล่าวต่อว่า ในพื้นที่ กทม.อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากรอยเลื่อน 2 รอย คือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ จ.กาญจนบุรี หากเกิดแผ่นดินไหวซ้ำขึ้นมาอีก เชื่อว่าจะส่งผลให้เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์แตก และทำให้น้ำปริมาณกว่า 17 ล้านลูกบาศก์เมตร ไหลทะลักเข้าสู่ จ.ราชบุรี จ.นครปฐม และ กทม.

 "กรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนดินเลน เมื่อได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวแล้ว ระยะสั่นสะเทือนจะขยายตัว 2-3 ริกเตอร์ ทำให้อาคารที่สูงไม่เกิน 6 ชั้น อาจแตกร้าวและพังทลายลงมา ส่วนอาคารสูงไม่น่าเป็นห่วง เพราะวิศวกรได้ออกแบบอาคารไว้รองรับอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีความพร้อมในการรับมือกับแผ่นดินไหว โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติ หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงอาจทำให้เกิดความเสียหายมาก" ดร.สมิทธกล่าว

 ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติกล่าวว่า ภัยที่เกิดจากน้ำท่วมขัง เนื่องจากสภาวะโลกร้อนขึ้นนั้น จากสถิติไม่เคยปรากฏมาก่อนว่าพายุที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียจะมีแรงลมสูงมากถึงขนาดเป็นไซโคลน แต่ตอนนี้เกิดขึ้นแล้วคือพายุไซโคลนนาร์กีส ซึ่งมีความเร็วลมสูงถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเมื่อขึ้นฝั่งในลุ่มน้ำอิระวดีในพม่า แรงลมสูงสุดถึง 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความรุนแรงถึงระดับ 4

 "ผมขอทำนายว่าในเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคมนี้ จะมีพายุขนาดใหญ่พัดถล่มประเทศไทย ทางด้านอ่าวไทย ไล่ตั้งแต่ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.เพชรบุรี เข้ามา ซึ่งอาจทำให้เกิดปรากฏการณ์สตรอม เสิร์ช (Strom Search) หรือน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะทำให้น้ำทะเลไหลเข้ามาถึงบริเวณปากอ่าวเจ้าพระยา และเข้าท่วมพื้นที่ กทม. โดยกว่าจะไหลย้อนกลับสู่ทะเลต้องใช้เวลานานกว่า 2-3 สัปดาห์ และหากท่วมเหนือคลองประปา จะทำให้ประชาชนไม่มีน้ำในการอุปโภคบริโภค" ดร.สมิทธกล่าว

 ด้านนายต่อตระกูลกล่าวว่า มีความเป็นห่วงว่าหากเกิดน้ำท่วมใหญ่ขึ้นจริงจะทำให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญหลายแห่งเสียหายโดยเฉพาะวัดพระแก้ว ซึ่งก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ไม่ได้มีการฝังเสาลงดิน หากเกิดน้ำท่วมในพื้นที่พระบรมมหาราชวังก็จะทำให้เสื่อมความแข็งแรงลงอย่างรวดเร็ว

หลังการเสวนา "คม ชัด ลึก" ได้สอบถามไปยัง ดร.วัฒนา กันบัว ผู้อำนวยการฝ่ายอุตุนิยมวิทยาทะเล กรมอุตุนิยมวิทยา เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดพายุใหญ่พัดถล่มประเทศไทยตามที่ ดร.สมิทธกล่าวในการเสวนา ดร.วัฒนาระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่ช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม อาจจะเกิดพายุใหญ่ถล่มประเทศไทย เพราะช่วงดังกล่าวเป็นช่วงฤดูฝน อยู่ระหว่างช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าประเทศไทย จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าช่วงดังกล่าวมีพายุพัดถล่มประเทศไทยมาแล้วหลายครั้ง อย่างเช่น พายุไต้ฝุ่นเกย์ พายุไต้ฝุ่นลินดา ที่สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อนก็เกิดขึ้นในช่วงนี้

 ดร.วัฒนากล่าวต่อว่า สภาวะโลกร้อนอาจส่งผลให้ความรุนแรงของพายุเพิ่มมากขึ้นจากเดิมถึง 2 เท่า หากพายุพัดเข้าสู่พื้นที่ที่เป็นเมืองก็อาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะหากพายุเคลื่อนเข้าประเทศไทยทางฝั่งภาคตะวันออกจะทำให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ กทม.โดยตรง ซึ่งมีความเป็นห่วงว่า หากมีพายุพัดเข้าบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาจะสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่ กทม. เนื่องจากขณะนี้แม้จะมีการสร้างเขื่อนกั้นริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาในหลายจุด แต่การสร้างเขื่อนที่ผ่านมาทำเพื่อรองรับปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากน้ำเหนือไหลหลาก ไม่ได้มีไว้รองรับพายุที่พัดเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้บริเวณปากแม่น้ำยังไม่มีการก่อสร้างเขื่อน หากเกิดพายุพัดกระหน่ำจริง เขื่อนที่มีอยู่ก็ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมได้

 ดร.วัฒนากล่าวด้วยว่า มีความเป็นห่วงว่าหากช่วงเวลาที่เกิดพายุตรงกับช่วงที่ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดจะยิ่งทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวอาจทำให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์พัดกระหน่ำบริเวณชายฝั่ง หากอาคารบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งไม่แข็งแรงก็จะสร้างความเสียหายร้ายแรงทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ขณะนี้กรมอุตุนิยมวิทยามีการติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้า ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมความพร้อมไว้ด้วย โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอพยพผู้ประสบภัย เพราะขณะเกิดเหตุภัยพิบัติหากมีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ประสบภัยได้รวดเร็ว ความเสียหายต่อชีวิตของประชาชนก็จะลดน้อยลง




จาก                           :                              คม ชัด ลึก   วันที่ 5 มิถุนายน 2551


หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายรุ้ง ที่ มิถุนายน 05, 2008, 03:54:43 AM
ถ้าอย่างงั้นที่ดินที่สองสายซื้อไว้แถวๆเชิงเขาใหญ่เมื่อกว่าสิบปีมาแล้วก็คงจะกลายเป็นที่ดินติดชายทะเล หรือไม่ก็เป็นเกาะกลางทะเล....

ไปอยู่ด้วยกันไหมคะ.... :) ;D :)

ไปค่ะ ไป ไปไหนไปโต๋น  หนูว่า พี่สองสาย ไปทำหมู่บ้าน  SOS  ขายเลยดีกว่าค่ะ 

เคยอ่านเจอว่า มีคนพยากรณ์ไว้ว่า ประเทศไทย จะหายไปครึ่งประเทศ  และปากช่องจะเป็นชายทะเล อาจจะเป็นจริงนะค่ะ

สังเกตจากระยะหลังๆนี้  พ่อแม่ครูบาอาจารย์ สายวัดป่า จะมาตั้งวัดสาขาและสำนักสงฆ์ กันอยู่ทางปากช่องมากขึ้นจริงๆ 

จนชวนสงกะสัยว่า ท่านเตรียมอะไรกันอยู่หรือเปล่า .......(เป็นความเชื่อส่วนบุคคล..โปรดพิจารณา)  :P :P :P


หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกปีบ ที่ มิถุนายน 05, 2008, 05:31:12 AM
ริเริ่มทำอะไรตอนนี้คงยังไม่สายนะครับ ..
ศึกษาข้อมูลอย่างจริงจัง มีการวางแผนและจัดการที่ดี รวมถึงการที่ทุกคนช่วยกัน  8)


หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มิถุนายน 06, 2008, 12:46:28 AM
อ้างถึง
ริเริ่มทำอะไรตอนนี้คงยังไม่สายนะครับ ..
ศึกษาข้อมูลอย่างจริงจัง มีการวางแผนและจัดการที่ดี รวมถึงการที่ทุกคนช่วยกัน
 

ในสภาพที่การเมืองฝังเข้าไปอยู่ในสายเลือด  ความแตกแยกมีอยู่ทุกหย่อมหญ้า  ในสังคมมีแต่คนเอาแต่ตัวเองแบบนี้  การร่วมด้วยช่วยกันคงมีได้ยากนะครับ น้องดอกปีบ .... ปล่อยให้น้ำมันท่วมล้างไปซะบ้างดีกว่าครับ


หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ มิถุนายน 06, 2008, 12:48:13 AM

"สมิทธ"เตือน 4 ด.ทะเลท่วมกรุงเทพฯแน่   

 นักวิชาการเสนอรัฐบาล แก้-รับมือปัญหาภัยพิบัติธรรมชาติควรทำเป็นวาระแห่งชาติ ระดมมันสมองหาแนวทางรักษาเมืองรักษาคน เผย กรุงเทพฯ ตั้งใกล้รอยเลื่อน เสี่ยงโดนภัยพิบัติเล่นงานได้ง่าย หวั่นพื้นที่พระบรมหาราชวัง-วัดพระแก้ว ทรุดหากเกิดเหตุเพราะสร้างมานานไม่ได้ตอกเสาเข็ม สมิทธ ชี้ กทม.ไม่มีความพร้อมรับมือภัยพิบัติ-ช่วยเหลือประชาชน คาดเดือนส.ค.-ต.ค.นี้ เกิดมรสุมใหญ่ฝั่งอ่าวไทย พัดถล่มหลายพื้นที่ น้ำทะเลหนุนท่วมกรุงเทพฯแน่

ที่สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 4 มิ.ย. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. เป็นประธาน เปิดสถาบันพัฒนาเมือง กทม. ซึ่งเป็นสถาบันที่มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน ดำเนินการศึกษาค้นคว้า พัฒนาวิจัย เผยแพร่ข้อมูล รวมทั้งการให้บริการความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอย่างครบวงจรแก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ โดยมี รศ.ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นประธานกรรมการสถาบันพัฒนาเมือง และ ผศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร เป็น ผอ.สถาบันพัฒนาเมือง โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่สำนักผังเมือง เลขที่ 44 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงและเขตดินแดง
 
หลังจากการเปิดสถาบันฯ มีการเสวนาเรื่อง “แผนรับมือวิบัติภัยในมหานครกรุงเทพฯ” โดย นายสมิทธ ธรรมสโรธ ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และนางบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าฯ กทม. โดยมี รศ.ดร.วรากรณ์ ดำเนินการรายการ
 
นายสมิทธ กล่าวว่า ปัจจุบันคนเข้า   มาอาศัยอยู่ในเมืองมากขึ้นและภัยที่เกิดจาก    ธรรมชาติก็มีแนวโน้มเกิดขึ้นในเมืองสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งเมื่อเกิดแล้วก็จะทำให้คนเสียชีวิตจำนวนเพิ่มมากขึ้น ในส่วนของตนนั้นมีความเป็นห่วงอยู่ 2 เรื่องคือ เรื่องแผ่นดินไหว เนื่องจากมีรอยเลื่อนที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ 2 แห่ง คือรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์ รวมถึงรอยเลื่อนใต้พื้นที่กรุงเทพฯ เองก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะไม่เกิดขึ้นอีกแม้จะเป็นรอยเลื่อนที่ไม่มีพลังแล้วก็ตาม แต่หากเกิดขึ้นมาจริง ๆ ตนแน่ใจว่าประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรุงเทพฯ เครื่องมือในการช่วยเหลือต่าง ๆ น้อยมาก
 
นายสมิทธ กล่าวต่อว่า ส่วนปัญหาน้ำท่วมและพายุนั้นปัจจุบันการเกิดพายุแต่ละครั้ง  มีความเปลี่ยนแปลงของความเร็วลม เช่น พายุนาร์กีส เป็นการก่อตัวจากมหาสมุทรอินเดีย     ซึ่งไม่เคยเกิดมาก่อน ดังนั้นในอนาคตการเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ก็น่าเป็นไปได้ โดยในปีนี้ช่วงเดือน ส.ค.-ต.ค.นี้ ตนทำนายว่าจะเกิดมรสุมใหญ่ที่จะพัดเข้ามาทางอ่าวไทยเข้ามาช่วง จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี เพชรบุรี และหากน้ำทะเลมีการยกตัว (Storm Search) สูง 3-4 เมตร เข้ามาสู่แม่น้ำบางปะกง น้ำก็อาจจะทะลักเข้ามาในพื้นที่กรุงเทพฯ และหากมีการทะลักท่วมเข้าพื้นที่รัศมี 30 กม. ซึ่งอาจถึงพื้นที่คลองประปา หากเป็นเช่นนั้นน้ำประปาก็จะเค็มและไม่สามารถนำมาใช้ได้ ประชาชนก็จะเดือดร้อนทันทีและปัญหาที่จะตามมาก็มีอีกมากจึงต้องหาทางเตรียมรับมือและป้องกันให้ดี
 
ดร.ต่อตระกูล กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็น ห่วงสำหรับกรุงเทพฯ ในการเกิดพิบัติภัยแผ่นดินไหวอีกอย่างหนึ่งที่ตามมาคือ ผลกระทบกับอาคารต่าง ๆ เนื่องจากเพิ่งมีการกำหนดกฎหมายให้การก่อสร้างอาคารรองรับแรงลมขึ้นในปี 50 ดังนั้นอาคารที่สร้างก่อนกว่า 2,000 แห่ง จึงเป็นอาคารเสี่ยงทั้งหมด นอกจากนี้ในส่วนของโบราณสถานในพื้นที่พระบรมหาราชวังและวัดพระแก้ว เป็นสถานที่ที่ก่อสร้างมานานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งไม่มีการฝังเสาเข็มตามแบบการก่อสร้างปัจจุบัน จึงน่าเป็นห่วงว่าจะไม่สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนได้ก็อาจจะทำให้ทรุดทั้งหมด
 
ดร.ปณิธาน กล่าวว่า ปัญหาพิบัติภัยนั้นตนคิดว่าน่าจะเสนอเป็นวาระแห่งชาติให้ระดมผู้เชี่ยวชาญจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดร่วมรับผิดชอบมาร่วมกันแสดงวิสัยทัศน์ เพื่อวางแผนรับมืออย่างจริงจัง ทั้งนี้อาจพิจารณาเสนอให้มีการสร้างถนนใกล้ชายหาดหรือปรับปรุงถนนเดิมที่มีอยู่แล้วยกระดับความสูงเพิ่มขึ้นอีก 1 เมตร เพื่อใช้ป้องกันน้ำที่สูงขึ้นทะลักเข้าท่วมพื้นที่
 
นางบรรณโศภิษฐ์ กล่าวว่า ในส่วนของ กทม. มีการเตรียมรับมือกับปัญหาดังกล่าว โดยการจัดพื้นที่ผังเมืองให้เหมาะสมและจัด   ทำข้อมูลต่าง ๆ เพื่อรองรับการแก้ปัญหาต่าง ๆ การติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัย การช่วยเหลือประชาชน หากเกิดเหตุขึ้น ทั้งนี้การกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ต้องออกเป็นข้อกฎหมายบังคับใช้อย่างจริงจัง.




จาก                           :                              เดลินิวส์   วันที่ 6 มิถุนายน 2551


หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กรกฎาคม 08, 2008, 12:22:54 AM

ย้อนดูน้ำท่วมกรุงเทพฯ ปี 2485 และ ปี 2538

(http://www.matichon.co.th/news-photo/prachachat/2008/07/spe03070751p1.jpg)
 
"ด้วยปรากตว่า ฝนตอนต้นรึดูพุทธสักราช 2485 ตกมากทางภาคพายัพและภาคอิสาน เปนเหตไห้น้ำท่วมเรือกสวนไร่นา และบ้านเรือนราสดรทั้งภาคเหนือ ภาคกลางและภาคอิสาน ไนระหว่างเดือนกันยายน ตุลาคม และพรึสจิกายน เปนอุทกภัยครั้งสำคันไนประวัติการน์น้ำท่วมของเมืองไทยที่ทำความเสียหายไห้แก่ประชาชนพลเมืองเปนหย่างมาก"

ถ้อยคำบางส่วนจากบทนำในหนังสือ "เหตุการน์น้ำท่วม พ.ส.2485" ของ กระซวงมหาดไทย (กระทรวงมหาดไทย) ที่บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

น้ำท่วมกรุงครั้งนั้น ได้ถูกจารึกไว้ว่า เป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อครั้งที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะมีการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่คือ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์

นับจากปีนั้นมาจนถึงปัจจุบันได้ 66 ปี ภัยธรรมชาติกำลังจะกลับมาหลอกหลอนอีกครั้ง หากสถิติที่ นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ระบุว่า เดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายนจะเป็น 4 เดือนแห่งการลุ้นระทึกน้ำท่วมกรุง เป็นความจริง

ย้อนสถานการณ์เมื่อปี 2485 มีน้ำท่วมหลายจังหวัดในภาคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ปิง วัง ยม น่าน ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ภาคอีสานและ ภาคใต้ ในขณะที่ กรุงเทพฯ เมืองที่ถูกกล่าวขานว่ามีชัยภูมิเอื้อต่อการถูกน้ำท่วม อุทกภัยในปี 2485 ได้เปลี่ยนโฉมกรุงเทพฯกลายเป็นทะเลน้ำจืดขนาดใหญ่ รูปถ่ายที่ถูกบันทึกไว้นั้น ทำให้คนรุ่นหลังเห็นว่าน้ำท่วมขังสูงจนประชาชนต้องใช้เรือเป็นพาหนะร่วมเดือน

ปี 2538 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กรุงเทพฯประสบกับน้ำท่วม ในช่วงที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ยังเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร น้ำเหนือหลากท่วมอยุธยา ปทุมธานี หมู่บ้าน White House ตอนเหนือของกรุงเทพฯ น้ำท่วมร่วม 2 เดือน

เมื่อนำแบบจำลองสภาพภูมิอากาศจากหลายๆ ประเทศมาศึกษาพบว่าภายในปี 2100 เหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรง จะเกิดเพิ่มขึ้นหลายเท่าจากแต่ก่อน โดยมีโอกาสเกิด 3-6 ครั้ง ในช่วง 100 ปี ต่างจากอดีตที่เกิดเพียง 1 ครั้งต่อ 100 ปี

เขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้ม ที่จะเกิดฝนตกหนัก และน้ำท่วมบ่อยครั้งขึ้น ทั้งนี้ก็เนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกที่ร้อน ทำให้มีการละลายของภูเขาน้ำแข็งแถบขั้วโลกที่เพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำ และทะเลเพิ่มขึ้น ตามลำดับ

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ชุมชนของไทยมักจะประสบกับปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้ง โดยส่วนใหญ่จะเกิดในเขตชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย โดยเฉพาะแถบชายฝั่งด้านตะวันออก และทางใต้ของประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้มหาสมุทร ในเขตเมืองใหญ่อย่าง กรุงเทพมหานคร หาดใหญ่ และเชียงใหม่ก็ประสบปัญหาน้ำท่วมเช่นกัน โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน ทั้งนี้ ก็เนื่องจากปริมาณน้ำมีมากกว่าที่กักเก็บ และระบบระบายน้ำยังไม่มีประสิทธิภาพพอ

ผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วม นำความเสียหายอย่างมหาศาลมาสู่ชีวิตและทรัพย์สินขึ้น น้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ได้ทำลายสิ่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทาง สิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นต้น ทำลายพืชผลทางการเกษตร ชะล้างหน้าดินทำให้ดินเสื่อมสภาพ เกิดการปนเปื้อนของน้ำ และคร่าชีวิตประชาชนจำนวนมาก

นอกจากนี้ปัญหาน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ยังส่งผลต่อการแพร่ของโรคระบาดทั้งในมนุษย์ พืชและสัตว์ และมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในการเกษตร ประชาชนต้องสูญเสียที่ทำกิน ต้องอพยพย้ายถิ่น ผลผลิตระดับท้องถิ่นและระดับประเทศลดลง มีผลให้ประชาชนเกิดวิกฤตทางอารมณ์ ซึ่งมีผลต่อการก่ออาชญากรรมที่สูงขึ้น

ประเทศไทยยังมีความอ่อนไหวต่อสภาวะน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญต่อการตั้งถิ่นฐานในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำหรือชายฝั่งทะเล เพราะพื้นที่เหล่านี้ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยซึ่งอาจเกิดได้ในอนาคต โดยอาจมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือปัจจัยอื่นๆ ซึ่งหากเกิดภัยพิบัติโดยไม่เตรียมการป้องกันย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม

จากกรณีที่สถาบันเวิลด์วอทช์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ศึกษาวิจัยด้านสภาพแวดล้อมทั่วโลกระบุว่า จากการศึกษาขององค์การสหประชาชาติ (UN) และอีกหลายสถาบันพบว่า เมืองที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั่วโลกกำลังเผชิญกับอันตรายจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและพิบัติภัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศโลก โดยพบว่าเมืองชายฝั่ง 21 แห่ง จากทั้งหมด 33 แห่งที่ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนประชากรสูงถึง 8 ล้านคนภายในปี 2558 มีความ เปราะบางสูงมากที่จะถูกน้ำท่วม ซึ่ง 1 ในเมืองที่มีความเสี่ยงต่อภัยนี้ คือ กรุงเทพมหานคร

สำหรับการเกิดน้ำท่วม ในกรุงเทพฯ นั้น มีสาเหตุหลักๆ 2 สาเหตุด้วยกัน ประการแรก เกิดจากกรุงเทพฯมีการทรุดตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะกรุงเทพฯตั้งอยู่บนดินเลน อีกประการหนึ่งคือ น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือละลาย ทำให้ปริมาณน้ำทะเลสูงขึ้น และเพิ่มขึ้นทุกปี

องค์การสหประชาชาติวิเคราะห์ไว้ว่า ภายใน 10-15 ปี น้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น 1-1.5 เมตร จะทำให้แผ่นดินทรุดตัวลง รวมทั้งจากกรมแผนที่ทหารได้แสดงพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลที่กำลังทรุดตัวลง โดยพื้นที่ที่มีการทรุดตัวลงมากที่สุดอยู่บริเวณเขตบางกะปิ ซึ่งมีการทรุดตัวไปแล้วประมาณ 100 เซนติเมตร

หลายคนตั้งคำถามว่าทำไมไม่ย้ายเมือง การย้ายเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล และเวลานานมาก เนื่องจากในกรุงเทพฯ มีโบราณสถาน และสถานที่สำคัญอยู่เป็นจำนวนมาก การจะย้ายวัดพระแก้ว วัดโพธิ์ วัดสุทัศน์ สถานศึกษา มหาวิทยาลัยจะย้ายไปตั้งไว้ที่ใด หากมีการทำกำแพงกั้นโบราณสถาน สถานที่ราชการ โรงเรียน โรงแรม โรงพยาบาล ก็ไม่สามารถดำเนินการได้โดยง่าย และภูมิทัศน์ไม่สวยงาม

การที่ประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องโลกร้อน โดยการ ปลูกต้นไม้ ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก นับเป็นวิธีที่ช่วยได้ในระดับหนึ่ง

ส่วนในเรื่องของการเกิดภาวะ น้ำท่วมนั้น ไม่ใช่ให้ประชาชนตระหนกแต่ต้องการให้ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นหรือช่วยกันผ่อนหนักให้เป็นเบาแทน เมื่อรับทราบข้อมูลต้องมีการตั้งข้อ สังเกตด้วยว่า มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เตรียมตั้งรับกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น

เพราะการป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไขอย่างแน่นอน



จาก                           :                  ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551


หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กรกฎาคม 08, 2008, 12:24:49 AM

ระวัง ! กรุงเทพฯ จมน้ำ จาก สิงหาคม ถึง พฤศจิกายน 4 เดือนอันตราย

(http://www.matichon.co.th/news-photo/prachachat/2008/07/spe01070751p2.jpg)
 
ภัยธรรมชาติปีนี้ดูน่ากลัวและรุนแรงกว่าทุกปี หลายประเทศทั่วโลกทั้งยุโรป อเมริกา ต่างประสบภาวะภัยพิบัติกันถ้วนหน้า ทั้งน้ำท่วม พายุถล่ม คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก ขณะที่เอเชียก็เพิ่งเผชิญกับภัยพิบัติครั้งรุนแรงจากพายุไซโคลนนาร์กีส หรือจีนเองก็สูญเสียอย่างหนักจากแผ่นดินไหวถึงน้ำท่วม

ประเทศไทยเอง หลังโศกนาฏกรรม สึนามิที่ภาคใต้ มีความพยายามรับมือหายนะจากภัยธรรมชาติไม่มากก็น้อย แต่ไม่มีใครให้ความมั่นใจได้ว่า เหตุการณ์ สึนามิจะเป็นการสูญเสียครั้งสุดท้าย ?

ก่อนหน้านี้ นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เจ้าของคำทำนายเตือนภัยพิบัติจากสึนามิ ออกทำนายรอบใหม่ว่า อีกไม่นานน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ !!!

คำถามคือ ถ้าเมืองหลวงที่เป็นศูนย์กลางของการบริหารราชการและ ศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศไทย จมน้ำสัก 2-3 เดือนจะเกิดอะไรขึ้น ?

จากบทวิเคราะห์ล่าสุดของนายสมิทธชี้ว่า ปลายปีนี้อาจเกิดสภาวะน้ำท่วมขังในบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล จากอิทธิพลของการเกิดฝนตกหนัก น้ำเหนือไหลผ่าน และน้ำทะเลหนุน และจากอิทธิพลของการเกิดพายุเคลื่อนตัวผ่านพื้นที่บริเวณจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย และบริเวณพื้นที่ของกรุงเทพฯและ ปริมณฑล

นอกจากนี้ยังมีลักษณะน้ำทะเลระดับสูงไหลทะลักในลักษณะ storm surge เข้ามาในปากแม่น้ำสำคัญของกรุงเทพฯและ จังหวัดใกล้เคียง เป็นเหตุให้พื้นที่ลุ่มส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯและปริมณฑลมีน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้าง และมีผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน

ฉะนั้นที่จะหนักในปีนี้ก็คือ storm surge หมายถึงการที่ระดับน้ำมากับพายุตรงและเคลื่อนตัวมาถึงก้นอ่าวไทย อาจจะทำให้ระดับน้ำตรงก้นพายุสูงขึ้น คล้ายกับการเกิดพายุไซโคลนนาร์กีสที่พัดถล่มประเทศพม่า

"ที่พวกเราตื่นเต้นและเป็นห่วงกันมาก เพราะเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา หรือที่อินเดียก็น้ำท่วม ด้วยสภาพที่เกิดจากสภาวะโลกร้อน ซึ่งทำให้น้ำทะเลอุ่นขึ้น เมื่อน้ำทะเลอุ่นขึ้นก็จะมีไอระเหยไปรวมกับอากาศที่อยู่รอบข้าง ก็กลายเป็นลมและไหลมาเป็นพายุ ก็จะทำให้มีอันตราย

อย่างนาร์กีส ตอนเกิดใหม่ๆ ความเร็ว 140 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ตอนขึ้นฝั่งถล่มพม่ามีความเร็วถึง 240 กิโลเมตร/ชั่วโมง นักอุตุนิยมวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มสงสัยและกังวลกันว่า พายุไซโคลนที่มีมาในมหาสมุทรอินเดียไม่เคยรุนแรงแบบนี้มาก่อนเหมือนอย่างนาร์กีส นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์กันว่า ปีนี้การเกิดพายุในมหาสมุทรอินเดีย หรือมหาสมุทรแปซิฟิกก็ดี ประเทศที่ติดชายฝั่งจะได้รับผลกระทบไปด้วย
 


อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาเล่าว่า ช่วงนี้หากดูสถิติพายุเขตร้อนที่เคลื่อนตัว เข้าสู่ประเทศไทย ก็พบว่าประเทศไทยจะเริ่มได้ผลกระทบตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ธันวาคม เดือนสิงหาคมจะมีพายุพัดผ่าน 19 ลูก กันยายน 45 ลูก ตุลาคม 49 ลูก และพฤศจิกายน 30 ลูก

"4 เดือนนี้ผมถึงบอกว่า ประเทศไทยเราจะมีผลกระทบจากพายุในปีนี้ โอกาสที่น้ำจะท่วมกรุงเทพฯอยู่ใน 4 เดือนนี้ ทุกคนก็แตกตื่น ก็ด่าผม แล้วก็มีคนแย้งว่าน้ำก็ท่วมทุกปี แต่ผมบอกว่า ถ้าท่วมอย่างที่เคยเป็นมา วันสองวันน้ำลด ก็ดี แต่นี่ถ้าคล้ายลักษณะพายุนาร์กีส มันจะท่วมเป็นอาทิตย์ ไม่ได้ท่วมแค่วันหรือ 2 วัน แล้วมันก็จะมี ผลกระทบกับเศรษฐกิจ การสัญจรคมนาคมอย่างมาก"

ล่าสุดที่ผมและทีมงานทำสถิติไว้พบว่า เดือนสิงหาคมราววันที่ 11-20 ก็จะเริ่มมีพายุเข้ามาทางตอนเหนือของประเทศไทย จะมีฝนตกในบริเวณภาคเหนือมาก และปริมาณฝนที่ตกจะไหลมาบรรจบในกรุงเทพฯ เป็นน้ำเหนือเข้ามา

ถึงปลายเดือนสิงหาคม พายุก็ยังอยู่ในภาคเหนือ บางลูกก็ไหลเข้ามาในภาคอีสาน แล้วน้ำก็จะไหลมารวมกันในภาคกลาง ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ยิ่งเดือนกันยายน พายุจะเข้าในภาคเหนือมากขึ้น บางลูกอาจจะพัดผ่านเข้ามาถึงกรุงเทพฯก็มี

ถัดมาปลายเดือนกันยายน ร่องมรสุมก็จะลงมาทางใต้ ซึ่งตอนนี้เองโอกาสที่ภาคกลางจะได้รับปริมาณน้ำฝนมีมากที่สุด ถ้าฝนตกนานและมีกำลังแรงลมเหมือนนาร์กีส หรือน้องๆ นาร์กีส ซึ่งเรายังไม่เคยประสบเลย ก็จะทำให้มีปริมาณน้ำมาก

ถึงเดือนตุลาคม พายุก็จะลงไปทางใต้ แต่ที่ผมห่วงคือเวลาพายุพัดเข้าอ่าวแล้วทวีกำลังแรงลมขึ้นมาถึงก้นอ่าว กรุงเทพฯจะได้รับผลกระทบมาก อีกสาเหตุหนึ่งก็คือในช่วงพฤศจิกายน-ธันวาคมจะมีน้ำทะเลหนุนโดยธรรมชาติ ถ้าพายุเคลื่อนตัวเข้ามาในกรุงเทพฯ ก็จะทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาทะลักเข้ามาในกรุงเทพฯได้ เหมือนที่นาร์กีสพัดเข้าไปในปากแม่น้ำอิรวดี

นักวิชาการที่ร่วมงานด้วยบอกว่า ได้คำนวณว่าน้ำจะเข้ามาจากปากแม่น้ำถึงกรุงเทพฯลึกถึง 30 กิโลเมตร ซึ่งปัญหาของกรุงเทพฯคือการระบายออกจะช้า เมื่อผสมกับน้ำทะเลหนุนโดยธรรมชาติ ก็จะทำให้น้ำระบายออกคืนสู่ทะเลช้ายิ่งขึ้น ประกอบกับมีน้ำเหนือไหลเข้ามาสมทบ ฉะนั้นกรุงเทพฯก็จะมีน้ำท่วมขัง ถ้าโชคร้ายหน่อยก็อาจจะขัง 1-2 อาทิตย์

สาเหตุส่วนหนึ่งก็คือ กรุงเทพฯเป็นพื้นที่ที่มีดินทรุดตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะดินกรุงเทพฯเป็นดินเลนจะทรุดตัวอยู่แล้ว 5-8 เซนติเมตรต่อปี ที่รามคำแหงหรือที่เขตสวนหลวงทรุดไปแล้ว 1 เมตร หากเปิดประตูน้ำพระโขนงหรือสำโรง น้ำท่วมทันทีโดยที่ฝนไม่ตก เพราะบริเวณนั้นอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล

หรือแถวสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ดินทรุดตัวหมด หากมีพายุเข้ามาแรง โรงงานแถวนั้นมี 3 หมื่นกว่าโรงอาจจะต้องปิดลง คน 3 แสนคนต้องหยุดทำงาน ตกงาน หากน้ำท่วมเป็นเดือน

มีนักวิชาการบางท่านเป็นห่วงว่า เมื่อ น้ำเข้ามา 30 กิโลเมตรจากปากอ่าว น้ำเค็มก็จะเข้ามาในคลองประปา คนกรุงเทพฯและคนปริมณฑล 8-10 ล้านคน อาจไม่มีน้ำจืดดื่ม จะเป็นน้ำประปาเค็มหมด ปัญหาคือเราจะเอาน้ำที่ไหนกิน

ที่พม่า คนตายเยอะ เพราะคนไม่มีน้ำดื่ม ต้องไปดื่มน้ำสกปรก ก็เป็นโรคตาย ผมก็บอกกับทาง กทม.ว่าให้เตรียมเรื่องน้ำดื่ม ไว้ด้วย

แน่นอนว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกรุงเทพฯ น้ำก็จะท่วม 1-2 เมตร ฉะนั้นวิธีการป้องกันน้ำท่วมอย่างเดียวขณะนี้คือ ต้องสร้างเขื่อนสูงสัก 5 เมตร เป็นคอนกรีต ทำแบบประเทศเนเธอร์แลนด์ สร้างให้หนา ข้างบนรถสามารถวิ่งได้ สร้างตั้งแต่นนทบุรีไปถึงปากคลองประปา เพราะน้ำทะเลจะหนุนไปถึงคลองประปา สร้างวิ่งเลียบแม่น้ำเจ้าพระยามาตลอดไปถึงสมุทรปราการ อ้อมไปถึงบางปะกง

ส่วนอีกด้านหนึ่ง สร้างจากฝั่งธนบุรี อ้อมมาถึงพระประแดง ไปสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ก็อาจจะรักษากรุงเทพฯไม่ให้จมน้ำได้ แต่ก็ต้องเริ่มคิดเริ่มสร้างกันเดี๋ยวนี้

เชื่อมั้ยว่า ทุกครั้งที่ผมพูดหรือไปบรรยายที่ไหน คนส่วนใหญ่ก็มองว่า ผมสร้างความแตกตื่น ทำให้คนตกใจ นักธุรกิจก็ด่าผมว่าทำให้ธุรกิจเขาล้มละลาย ก็ต่อว่าอย่างรุนแรง โดยเฉพาะผู้ประกอบการใหญ่ๆ

สมิทธเล่าว่า ทุกครั้งที่ผมไปพูดหรือบรรยายที่ไหน ผมจะบอกว่า ผมไม่ใช่หมอดู หรือนักวิเคราะห์วิจารณ์ แต่เอกสารหรือสถิติที่ผมนำมาอ้างอิงหรือบรรยาย มาจากวิทยาศาสตร์ล้วนๆ โอกาสถูกก็มีมากกว่าผิด

"แต่คุณฟังผมแล้ว คุณไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องเชื่อก็ได้ แต่ฟังแล้วก็วิเคราะห์เสียก่อน ผมจะเรียนว่า จริงๆ แล้วกรม อุตุนิยมวิทยาเรามีศักยภาพดีมาก เรามีเครื่องมือพร้อม หากมีพายุ ภาพจาก ดาวเทียมหรือเครื่องมือที่เรามีอยู่ สามารถบอกเตือนล่วงหน้าประชาชนได้ 3-5 วัน แต่เราจะรอให้ถึงวันนั้นหรือ"

ด้าน นายศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" เกี่ยวกับสถานการณ์ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนที่อาจจะเกิด น้ำท่วมว่า ทางกรมอุตุนิยมวิทยาต้องเฝ้าติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด เพราะเดือนสิงหาคมเป็นช่วงที่ร่องความกดอากาศ ต่ำและร่องมรสุมพัดผ่านภาคเหนือของประเทศไทย

"ร่องมรสุมและร่องความกดอากาศต่ำพัดผ่านภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคม จะทำให้ภาคเหนือมีฝนตกหนัก น้ำจะไหลลงแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน แล้วไหลเข้าสู่เจ้าพระยา ช่วงนั้นต้องมีการบริหารจัดการที่ดี หลังจากนั้นร่องความกดอากาศต่ำจะเลื่อนลงมายังภาคกลางและภาคตะวันออก โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนตุลาคมที่ร่องความกดอากาศจะอยู่ที่ภาคกลางนั้น คงทำให้กรุงเทพมหานครและภาคตะวันออกมีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น"

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาให้ความเห็น เพิ่มเติมว่า เดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม หากมีพายุจากทะเลจีนใต้เข้ามายังประเทศไทยก็จะทำให้มีโอกาสที่ปริมาณน้ำภาคกลางและกรุงเทพฯเพิ่มขึ้น

"ประเด็นต่อมาคือ แผ่นดินกรุงเทพฯยุบตัว สูงกว่าระดับน้ำทะเลเล็กน้อย บางส่วนก็ใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล เพราะในอดีตเราใช้น้ำบาดาลเยอะ แผ่นดินจึงต่ำ สำคัญที่ 2 ฝั่งเจ้าพระยาที่น้ำลงมา และประชากรเพิ่มมากขึ้น ถนนหนทางและการสร้างเขื่อนเจ้าพระยาที่ จ.อ่างทองจะทำให้น้ำไหล เร็วขึ้น

ถ้าน้ำจากทะเลหนุน กรุงเทพฯก็จะได้รับผลกระทบ การบริหารจัดการน้ำกับปริมาณน้ำฝนจากภาคกลางและภาคตะวันออกจะส่งผลกระทบกับกรุงเทพฯ อาจจะต้องมีการเตรียมการเครื่องสูบน้ำ ระบายน้ำ โดยเฉพาะลักษณะพื้นที่กรุงเทพฯ เรามีการก่อสร้าง ปัญหาระบายน้ำต้องเตรียมการ ให้ดี การจราจรจะมีผลกระทบ"

นอกจากนี้ นายศุภฤกษ์ยังกล่าวว่า ที่บางขุนเทียนมีปัญหาคลื่นซัด หากการระบายน้ำไม่ดีจะเกิดน้ำท่วมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในขณะนั้นว่ามีฝนตกต่อเนื่องหรือไม่ มีพายุหรือไม่ น้ำเหนือไหลบ่าหรือไม่ และจะมีปริมาณมากในช่วงไหน มีน้ำทะเลหนุนด้วยหรือไม่ ซึ่งคงต้องมองอีกทีหนึ่ง

"ภาพรวมของประเทศไทยมีปริมาณฝนเพิ่ม ช่วงนี้ปรากฏการณ์ลานินญาค่อยๆ หายไป จึงทำให้เกิดฝนตก เราประมาท ไม่ได้เรื่องของฝน อยู่ที่ช่วงเวลานั้นว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้น้ำเพิ่มขึ้นมาก แค่ไหน ซึ่งกรุงเทพมหานครเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน ฝนตกค่อนข้างมาก ประกอบกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกค่อนข้างมากและรุนแรง ในส่วนของกรมอุตุนิยมวิทยาก็จะมีการแจ้งเตือนปริมาณ น้ำฝนในพื้นที่เขตประเทศไทย แจ้งว่ามีพายุเข้ามาหรือไม่

ดังนั้นเรื่องการบริหารจัดการก็ต้องให้หน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบร่วมกันประสานให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำฝน กรุงเทพฯต้องเตรียมพร้อม แก้ปัญหาน้ำท่วมเพราะ ผู้อาศัยมาก หากจราจรติดขัดก็จะเสียหายต่อเศรษฐกิจ"

ขณะที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กภช.) เชื่อมั่นว่า ระบบเตือนภัยจะทำให้คนกรุงเทพฯรู้ล่วงหน้าว่าพายุจะเข้ามาเมื่อใด และมีเวลาเตรียมรับมือ

แต่ที่ยากจะรับมือก็คือ หากกรุงเทพฯต้องเจอน้ำท่วมนานเป็นเดือน งานนี้ตัวใครตัวมัน...



จาก                           :                  ประชาชาติธุรกิจ   วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551


หัวข้อ: Re: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: ipak007 ที่ มีนาคม 17, 2009, 07:42:40 AM
อีก 8 ปี ผมกลัวว่ามันจะไม่นานถึง 8 ปีน่ะสิมันอาจจะเร็วกว่านั้นอาจจะแค่ 4 ปีนับจากวันนี้ ครับ แต่ไม่ว่ายังไงขอแนะนำให้ทุกบ้านหัดไปขี่เจ็ตสกี กันเอาไว้ก่อน และแต่ละบ้านควรจะมีเรือยางที่สามรถนั่งได้ประมาณ 5-8 คนประจำบ้านไว้ด้วยครับรวมถึงถ้าใครสามารถไปเรียนดำน้ำแบบ Scuba ได้ด้วยจะยิ่งดีแต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นการเตรียมพร้อมนะครับ ไม่ได้เป็นกระต่ายตื่นตูมครับ :o