กระดานข่าว Save Our Sea.net

หมวดหมู่ทั่วไป => สรรพชีวิตแห่งท้องทะเล => ข้อความที่เริ่มโดย: สายน้ำ ที่ ธันวาคม 17, 2007, 12:41:03 AM



หัวข้อ: การเพาะขยายพันธุ์ ปลากระเบนโมโตโร่
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ธันวาคม 17, 2007, 12:41:03 AM

การเพาะขยายพันธุ์ ปลากระเบนโมโตโร่

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/agriculture/12/17/148924_64850.jpg)

การเพาะขยายพันธุ์ ปลากระเบนโมโตโร่ และปลากระเบนสายพันธุ์อื่น ๆ เป็นปลาออกลูกเป็นตัว โดยปลาจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เมื่อมีอายุประมาณปีครึ่งถึงสองปี หรือมีขนาดตั้งแต่ 12 นิ้วขึ้นไป โดยสามารถผสมพันธุ์ได้ในตู้เลี้ยงขนาดใหญ่เช่นตู้ 60 นิ้วขึ้นไป หรือ ล้างไฟเบอร์ สำหรับวิธีแยกเพศปลา หากเป็นปลาเพศเมียจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ซม. แต่เพศผู้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 ซม. โดยประมาณ หรือให้สังเกตที่ท่อน้ำเชื้อของปลาเพศผู้ (Claspers) โดยจะมีท่อน้ำเชื้อสองอันใต้ลำตัวบริเวณโคนหางในปลาเพศผู้ที่พร้อมผสมพันธุ์  ท่อน้ำเชื้อควรจะมีขนาดเท่านิ้วก้อยและยาวประมาณ 1 นิ้ว ถึงจะสามารถใช้ผสมพันธุ์ได้ ซึ่งท่อน้ำเชื้อนี้สามารถเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ปลายังมีขนาดเล็ก ๆ ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งปลาเพศผู้ 1 ตัว สามารถผสมกับปลาเพศเมียได้ 2-3 ตัว และแม่ปลา 1 ตัว สามารถให้ลูกปลาโดยเฉลี่ย 5-6 ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของพ่อ-แม่ปลา

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/agriculture/12/17/148924_64851.jpg)
       
อนุบาลลูกปลากระเบน การอนุบาล ลูกปลาระดับน้ำที่ใช้อนุบาลลูกปลาครั้งแรกสูงประมาณ 9 นิ้วเท่านั้น และแต่ละบ่อสามารถเลี้ยงปลาได้ไม่เกิน 20 ตัว ในการอนุบาลลูกปลา 1 เดือนแรกจะไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำเลย เพียงแต่คอยดูดขี้ตะกอนทิ้งบ้าง หลังจาก 1 เดือนขึ้นไป ก็จะเลี้ยงเหมือนพ่อแม่พันธุ์คือเปลี่ยนถ่ายน้ำ 2 วันต่อครั้ง น้ำที่เราใช้เลี้ยงปลากระเบนนั้นต้อง สะอาด ก่อนนำมาใช้อนุบาลลูกปลาต้องทิ้งไว้ในบ่อ ประมาณ 1 คืน เพื่อให้คลอรีนระเหยออกไป ในช่วงระหว่างการอนุบาลไม่จำเป็นต้องพักน้ำ เนื่อง จากตลอดระยะการเลี้ยงจะถ่ายน้ำออกทิ้งและเข้าครั้งละ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งทำให้คลอรีนที่อยู่ในน้ำน้อยไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของปลา ลูกปลาอายุ 1-7 วัน ไม่ต้องให้อาหารเพียงแต่ปล่อยให้น้ำหมุนเวียนผ่านถังกรองเท่านั้น เมื่อลูกปลาได้ 7 วัน หรือถุงไข่แดงที่หน้าท้องยุบ ก็เริ่มปล่อยกุ้งฝอยตัวเป็น ๆ ลงไปเพื่อให้ลูกปลาได้กินเป็นอาหาร นอกจากนั้นทุก ๆ 3-4 วัน ควรให้อาหารจำพวกไส้เดือนแดงให้ลูกปลากินเป็นอาหารเสริม แต่ถ้าให้ทุกวันน้ำอาจจะเสียได้ง่ายเดี๋ยวโรคภัยจะตามมา

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/agriculture/12/17/148924_64852.jpg)
     
หนึ่งเดือนผ่านไปลูกปลาก็จะแข็งแรงมากและมีความเจริญเติบโตเร็ว โดยเฉลี่ย 25 เปอร์เซ็นต์ หรือมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำตัวเพิ่มขึ้นอีก 1 นิ้ว ลูกปลาที่คลอดออกมาอายุ 1 วัน จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-6 นิ้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์และอายุของแม่ปลา แต่ไม่ว่าขนาดไหนเมื่อเลี้ยงครบ 1 เดือน มันจะโตเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเพียง 1 นิ้วเท่านั้น และจะเจริญเติบโตไปเรื่อย ๆ 1-2 นิ้วต่อเดือน
 
ปลากระเบนโมโตโร่ เป็นปลากระเบนที่ตลาดมีความต้องการสูง เนื่องจากซื้อง่ายขายคล่อง ราคาซื้อขายไม่สูงมากนัก เลี้ยงดูง่าย และเพาะขยายพันธุ์ได้เร็ว ปัจจุบันนอกจากตลาดภายในประเทศแล้ว ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น และมาเลเซีย มีความต้องการไม่จำกัด แต่จำนวนของปลากระเบนที่ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงยังไม่มีเพียงพอต่อความต้องการของตลาด สาเหตุหนึ่งมาจากจำนวนของปลากระเบนในแหล่งธรรมชาติลดลงไปมากทั้งจากการจับมาจำหน่าย และสภาพแห้งแล้งที่เกิดขึ้นกับแหล่งน้ำธรรมชาติหลายแห่งในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของปลากระเบน ในขณะที่ความต้องการเลี้ยงปลากระเบนทั่วโลกยังมีอยู่ต่อเนื่อง จึงทำให้ปลากระเบนสายพันธุ์อเมริกาใต้ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นโมโตโร่หรือสายพันธุ์อื่น ๆ ยังคงมีอนาคตที่ดี

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/agriculture/12/17/148924_64853.jpg)
 
สำหรับปลากระเบนโมโตโร่ที่มีการซื้อขายกัน มีตั้งแต่ปลาอายุยังไม่ถึง 1 เดือน จนไปถึงปลาไซซ์ใหญ่ โดยปลาที่มีอายุยังไม่ถึง 1 เดือน ราคาซื้อขายจะอยู่ที่คู่ละประมาณ 2,500 บาท ในปลาไซซ์ใหญ่จะมีราคาสูงขึ้นไป ดังนั้นจะเห็นได้ว่า หากแนวโน้มของตลาดยังสดใสเช่นปัจจุบัน การเพาะเลี้ยงปลากระเบนสวยงามสายพันธุ์อเมริกาใต้ โดยเฉพาะโมโตโร่ เป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อย ด้วยเพราะใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงไม่นานให้ผลผลิตเร็ว ผลผลิตที่ได้ใช้เวลาไม่นานสามารถ จำหน่ายต่อไปได้ หรือเลือกทำตาม 4 รูปแบบข้างต้น จุดคุ้มทุนสามารถกลับคืนมาเร็วได้เช่นกัน.



จาก                 :                    เดลินิวส์  วันที่ 17 ธันวาคม 2550


หัวข้อ: Re: การเพาะขยายพันธุ์ ปลากระเบนโมโตโร่
เริ่มหัวข้อโดย: Sri_Nuan.Ray ที่ ธันวาคม 17, 2007, 01:31:08 AM
ปลาพันธุ์ นี้ น่าจะเป็นปลาน้ำจืด ใช่ไหมคะ... :-*


หัวข้อ: Re: การเพาะขยายพันธุ์ ปลากระเบนโมโตโร่
เริ่มหัวข้อโดย: WayfarinG ที่ ธันวาคม 17, 2007, 01:45:32 AM
หน้าตาประหลาด..


หัวข้อ: Re: การเพาะขยายพันธุ์ ปลากระเบนโมโตโร่
เริ่มหัวข้อโดย: Sea Man ที่ ธันวาคม 17, 2007, 03:10:20 AM
...สวยๆ...


หัวข้อ: Re: การเพาะขยายพันธุ์ ปลากระเบนโมโตโร่
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ ธันวาคม 17, 2007, 03:38:23 AM
เป็นปลาน้ำจืดที่แพร่พันธุ์อยู่แถวอเมริกาใต้ค่ะ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก  http://www.nicaonline.com/articles1/site/view_article.asp?idarticle=162

โมโตโร่ กระเบนทำเงินยอดนิยม

ปลากระเบนโมโตโร่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Potamotnygon motoro    เป็น  ปลาน้ำจืดที่มีถิ่นอาศัยอยู่ลุ่มน้ำในแถบประเทศอเมริกาใต้   เช่น บราซิล เปรู โคลัมเบีย ปารากวัย อุรุกวัย โบลิเวีย อาร์เจนตินา เป็นต้น มีขนาดตัวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 40-60 เซนติเมตร

ความสวยงามของปลากระเบนโมโตโร่อยู่ที่ลวดลายและโทนสีจำนวนมากบนลำตัวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมากกว่า 20 รูปแบบ ลักษณะเฉพาะของปลากระเบนโมโตโร่ที่แตกต่างจากปลากระเบนสายพันธุ์อื่นอยู่ที่สีพื้นของลำตัว ซึ่งจะเป็นสีโทนน้ำตาล (น้ำตาลเข้ม, น้ำตาลอ่อน,น้ำตาลส้ม) และลวดลายบนลำตัวที่เป็นจุดสีน้ำตาล หรือสีส้ม

ความนิยม

ความนิยมเลี้ยงที่เกิดขึ้นกับปลากระเบนโมโตโร่ ก็ด้วยเพราะว่า เป็นปลากระเบนที่เลี้ยง และดูแลง่ายกว่ากระเบนสายพันธุ์อื่น และมีราคาไม่สูงมากนัก โดยที่ราคาจะอยู่ที่ประมาณคู่ละ 2,500-3,000 บาท (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาด อายุ และความแปลกในลวดลายของปลา) ในขณะที่ปลากระเบนสายพันธุ์อื่นมีราคาซื้อ-ขายที่สูงมาก จึงเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเลี้ยงปลาชนิดนี้

การเลือกซื้อ

ปลากระเบนโมโตโร่ขนาดที่เหมาะสมต่อการเลี้ยง ควรมีขนาดอย่างน้อย 5 นิ้วขึ้นไป โดยลูกปลากระเบนที่แข็งแรงจะว่ายน้ำหาอาหารที่พื้นตู้ตลอดเวลา ผู้ซื้อควรจะสังเกตว่าปลาตัวนั้น ๆ สามารถจับหาอาหารเองได้หรือไม่ โดยส่วนมากตามร้านค้ามักจะให้ไส้เดือนน้ำที่เกาะกันเป็นก้อน ๆ และค่อย ๆ ดูดกิน ผู้ซื้อควรใช้เวลาสังเกตลูกปลากระเบนสักระยะ สังเกตดูว่าปลากระเบนกินอาหารหรือไม่ โดยอาจจะสังเกตขนาดของกระเพาะอาหารก็ได้ กระเพาะอาหารของปลากระเบน จะอยู่บริเวณใกล้โคนหางที่นูนขึ้นมาก บ่งบอกได้ว่าปลากระเบนตัวนั้นกินอาหารได้ดี ลูกปลาที่สามารถหากินอาหารได้ดีจะมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตได้สูง หลังจากเลือกปลากระเบนได้แล้วก่อนที่จะปล่อยปลากระเบนของตู้เลี้ยงต้องนำถุงที่มีปลากระเบนลงแช่ในน้ำที่เตรียมไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงหรืออาจจะใช้วิธีปล่อยปลาลงในภาชนะขนาดใหญ่อย่างเช่น อ่างไฟเบอร์หรือกะละมัง แล้วค่อย ๆ ตักน้ำจากตู้เลี้ยงมาผสม ๆ ทุก ๆ 5 นาที จนกว่าจะเต็มภาชนะแล้วจึงปล่อยปลาพร้อม ๆ กับน้ำในภาชนะนั้นลงไปในตู้เลี้ยงทั้งนี้เพื่อป้องกันปลาช็อคน้ำตายได้

การเลี้ยงดู

ในกรณีที่เลี้ยงในตู้ สำหรับบ่อไซส์ใหญ่ ขนาดของตู้เลี้ยงควรมีขนาดความยาว 60 นิ้วขึ้นไป กว้างมากกว่า 24 นิ้ว เพื่อให้ปลามีพื้นที่ว่ายน้ำไปมา เพราะปลากระเบนโมโตโร่มีขนาดตัวที่ใหญ่พอสมควรสำหรับในปลาไซส์เล็กขนาด 4-5 นิ้ว ควรใช้ตู้ 4-8 นิ้วขึ้นไป ตู้เลี้ยงควรจะมีฝาปิดมิดชิด เพราะปลากระเบนมักจะว่ายน้ำขึ้นลง แนบกระจกเพื่อหาอาหาร เมื่อประสาทของปลากระเบนรับรู้ถึงตำแหน่งของอาหารมันจะว่ายไปตะครุบเหยื่ออย่างรวดเร็ว ซึ่งหากอาหารนั้นอยู่ริมผิวน้ำและไม่มีฝาตู้ปิดมิดชิด อาจทำให้ปลากระเบนหลุดออกมาจากตู้เลี้ยงได้ โมโตโร่เป็นปลาที่อายุยืนยาวได้นานถึง 20 ปี เพราะฉะนั้นควรเลือกซื้อตู้ใบใหญ่เพื่อรองรับขนาดปลาที่ใหญ่ขึ้น ทั้งนี้โดยปกติปลากระเบนต้องการเนื้อที่ประมาณ 15 เท่าของตัวมันเอง ซึ่งจะทำให้ปลาไม่เครียด เพราะหากปลาเครียดอาจนำโรคภัยตามมาก็ได้ น้ำที่ใช้เลี้ยงต้องใสสะอาด มีออกซิเจนละลายในน้ำที่เพียงพอ

ดังนั้นการมีระบบกรองที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในการเลี้ยงปลากระเบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปลาเล็กถ้าคุณภาพน้ำไม่ดี ปลาจะเริ่มหยุดกินอาหาร และปลาอาจตายได้ กระเบนโมโตโร่ไวต่อสารเคมีในน้ำมาก เพราะฉะนั้นจึงควรระวังในการใช้ยา และใช้น้ำที่ปราศจากคลอรีน การให้อาหารในปลากระเบนไซส์เล็ก 3-4 นิ้ว ให้กินอาหารที่มีชีวิต เช่น ไส้เดือนน้ำ หนอนแดง กุ้งฝอยขนาดเล็ก ในปลาไซส์ใหญ่ควรฝึกให้กินกุ้งฝอยตาย ปลาหั่นชิ้นหรือกุ้งแกะเปลือก
     
การเพาะขยายพันธุ์ ปลากระเบนโมโตโร่ และปลากระเบนสายพันธุ์อื่น ๆ เป็นปลาออกลูกเป็นตัว โดยปลาจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เมื่อมีอายุประมาณปีครึ่งถึงสองปี หรือมีขนาดตั้งแต่ 12 นิ้วขึ้นไป โดยสามารถผสมพันธุ์ได้ในตู้เลี้ยงขนาดใหญ่เช่นตู้ 60 นิ้วขึ้นไป หรือ ล้างไฟเบอร์ สำหรับวิธีแยกเพศปลา หากเป็นปลาเพศเมียจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ซ.ม. แต่เพศผู้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 ซ.ม. โดยประมาณ หรือให้สังเกตที่ท่อน้ำเชื้อของปลาเพศผู้ (Claspers) โดยจะมีท่อน้ำเชื้อสองอันใต้ลำตัวบริเวณโคนหางในปลาเพศผู้ ที่พร้อมผสมพันธุ์ท่อน้ำเชื้อควรจะมีขนาดเท่านิ้วก้อยและยาวประมาณ 1 นิ้ว ถึงจะสามารถใช้ผสมพันธุ์ได้ ซึ่งท่อน้ำเชื้อนี้สามารถเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ปลายังมีขนาดเล็ก ๆ ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งปลาเพศผู้ 1ตัวสามารถผสมกับปลาเพศเมียได้ 2-3 ตัว และแม่ปลา 1 ตัวสามารถให้ลูกปลาโดยเฉลี่ย 5-6 ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของพ่อแม่ปลา
     
อนุบาลลูกปลากระเบน การอนุบาลลูกปลาระดับน้ำที่ใช้อนุบาลลูกปลาครั้งแรกสูงประมาณ 9 นิ้วเท่านั้น และแต่ละบ่อสามารถเลี้ยงปลาได้ไม่เกิน 20 ตัว ในการอนุบาลลูกปลา 1 เดือนแรกจะไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำเลย เพียงแต่คอยดูดขี้ตะกอนทิ้งบ้าง หลังจาก 1 เดือนขึ้นไปก็จะเลี้ยงเหมือนพ่อแม่พันธุ์คือเปลี่ยนถ่ายน้ำ 2 วันต่อครั้งน้ำที่เราใช้เลี้ยงปลากระเบนนั้นต้องสะอาด ก่อนนำมาใช้อนุบาลลูกปลาต้องทิ้งไว้ในบ่อประมาณ 1 คืน เพื่อให้คลอรีนระเหยออกไป ในช่วงระหว่างการอนุบาลไม่จำเป็นต้องพักน้ำ เนื่องจากตลอดระยะการเลี้ยงจะถ่ายน้ำออกทิ้งและเข้าครั้งละ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งทำให้คลอรีนที่อยู่ในน้ำน้อยไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของปลา ลูกปลาอายุ 1-7 วัน ไม่ต้องให้อาหารเพียงแต่ปล่อยให้น้ำหมุนเวียนผ่านถังกรองเท่านั้น เมื่อลูกปลาได้ 7 วัน หรือถุงไข่แดงที่หน้าท้องยุบ ก็เริ่มปล่อยกุ้งฝอยตัวเป็น ๆ ลงไปเพื่อให้ลูกปลาได้กินเป็นอาหาร นอกจากนั้นทุก ๆ 3-4 วัน ควรให้อาหารจำพวกไส้เดือนแดงให้ลูกปลากินเป็นอาหารเสริม แต่ถ้าให้ทุกวันน้ำอาจจะเสียได้ง่ายเดี๋ยวโรคภัยจะตามมา
     
หนึ่งเดือนผ่านไปลูกปลาก็จะแข็งแรงมากและมีความเจริญเติบโตเร็ว โดยเฉลี่ย 25 เปอร์เซ็นต์ หรือมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำตัวเพิ่มขึ้นอีก 1 นิ้ว ลูกปลาที่คลอดออกมาอายุ 1 วัน จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-6 นิ้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์และอายุของแม่ปลา แต่ไม่ว่าขนาดไหนเมื่อเลี้ยงครบ 1 เดือน มันจะโตเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเพียง 1 นิ้วเท่านั้น และจะเจริญเติบโตไปเรื่อย ๆ 1-2 นิ้วต่อเดือน

โรคและการรักษา

     
การติดเชื้อจากเห็ดรา การติดเชื้อจากเห็ดราจะพบได้บ่อยในปลากระเบนน้ำจืด และโดยทั่วไปจะเกิดจากเห็ดราที่ชื่อ Saprolegnia ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อจากแบคทีเรีย จากการได้รับบาดเจ็บและมักจะพบบนหางและเงี่ยงในปลาที่มาใหม่ เมื่อเกิดที่หางจะเห็นเป็นปุยฝ้ายเล็ก ๆ เมื่ออยู่บนร่างกายจะดูเป็นกลุ่มและมีลักษณะเยิ้ม
     
การรักษา ยาปฏิชีวนะมักจะช่วยในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียแต่ไม่มีผลต่อเห็ดรา ถ้าในการรักษาในการติดเชื้อเริ่มแรกการให้ยาปฏิชีวนะจะมีผลต่อการกำจัดการติดเชื้อจากเห็ดรา คือ เมื่อแบคทีเรียถูกกำจัด เห็ดราก็จะสามารถแก้ปัญหาไปได้แต่ถ้าหากมีการติดเชื้อจากเห็ดราแล้วจะยากที่ทำการรักษา

เหาปลา (Argulus) เหาปลานี้จะเกิดเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เกิดขึ้นแรก ๆ เป็นจุดวงกลมบนผิวหนังปลากระเบน เหาปลาจะเจาะเข้าไปที่ผิวหนัง ของปลาด้วยเข็มที่เรียกว่า style เหาปลาที่มีจำนวนมากจะทำให้ปลาตายได้

การกำจัดเหา ถ้าเหามีจำนวนมากให้ใช้ยา Dimilin ซึ่งปลอดภัยและมีผลต่อการสร้าง ไคตินของปริสตเท่านั้น ไม่มีผลต่อปลาปรสิตภายใน
     
ปลากระเบนบางตัวที่มีสภาวะที่ได้รับที่ดีและให้อาหารพร้อมสรรพก็อาจจะมีน้ำหนักตัวลดลงได้ อาจมีปรสิตอยู่ภายในเช่นตัวตืดหรือหนอนตัวกลม การวินิจฉัยโรคภายในทำยาก เพราะการที่จะได้อุจจาระในการวิเคราะห์ทำได้ยาก
     
มีตัวยา 2 ชนิด ที่ใช้สำหรับรักษาปรสิตภายในชื่อ ivermeetin และ praziquantel เราใช้ praziquantel ที่ประสพผลสำเร็จในบางกรณีโดยการฉีดปริมาณยาที่เหมาะสมลงไปในสัตว์เลื้อยคลานตอนกลางคืนแล้วนำสัตว์เลื้อยคลานเป็นอาหารปลากระเบนซึ่งจะทำให้ได้พอดีกับปลากระเบนตัวใหญ่ใช้ตัวยาประมาณ 7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมให้ 3 ครั้ง เพื่อให้ครบปริมาณยาทุก ๆ วัน
     
อนาคตทางการตลาด ปลากระเบนโมโตโร่ เป็นปลากระเบนที่ตลาดมีความต้องการสูง เนื่องจากซื้อง่ายขายคล่อง ราคาซื้อขายไม่สูงมากนัก เลี้ยงดูง่าย และเพาะขยายพันธุ์ได้เร็ว ปัจจุบันนอกจากตลาดภายในประเทศแล้ว ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น และมาเลเซีย มีความต้องการไม่จำกัด แต่จำนวนของปลากระเบนที่ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงยังไม่มีเพียงพอต่อความต้องการของตลาด สาเหตุหนึ่งมาจากจำนวนของปลากระเบนในแหล่งธรรมชาติลดลงไปมากทั้งจากการจับมาจำหน่าย และสภาพแห้งแล้งที่เกิดขึ้นกับแหล่งน้ำธรรมชาติหลายแห่งในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของปลากระเบน ในขณะที่ความต้องการเลี้ยงปลากระเบนทั่วโลกยังมีอยู่ต่อเนื่อง จึงทำให้ปลากระเบนสายพันธุ์อเมริกาใต้ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นโมโตโร่หรือสายพันธุ์อื่น ๆ ยังคงมีอนาคตที่ดี การทำธุรกิจปลากระเบนโดยทั่วไปจะนิยมทำกัน 4 รูปแบบหลัก ๆ ด้วยกันคือ
     
รูปแบบแรก  เป็นการซื้อมาและขายไปโดยมีผู้ค้าจะทำการสั่งนำเข้าปลา หรือสั่งซื้อปลาจากฟาร์มต่าง ๆ แล้วนำไปขายต่อให้กับผู้ที่สนใจ กำไรรูปแบบนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ค้าสามารถต่อรองราคาปลารับซื้อมาได้ต่ำเพียงใด เพราะหากซื้อปลามาได้ในราคาต่ำ จะสามารถขายออกไปได้ในราคาที่ได้กำไร แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพ สายพันธุ์ และความแปลกของตัวปลาด้วย
     
รูปแบบที่สอง  เป็นการซื้อปลาไซส์เล็กนำมาขุนฟอร์ม เพื่อให้ได้ปลาไซส์ใหญ่ จะทำให้ได้ราคาขายที่สูงกว่าราคาต้นทุน รูปแบบนี้จะคล้ายกับรูปแบบแรก แต่จะใช้เงินลงทุนน้อยกว่าเพราะปลาไซส์เล็กที่ซื้อมามีราคาไม่สูงมากนัก
     
รูปแบบที่สาม  วิธีนี้เป็นการใช้กลยุทธ์ทางการค้า คือผู้ค้าจะทำการจับผู้ขายปลาผู้-เมีย โดยจะขายปลาเป็นคู่ในราคาที่ต่ำกว่าขายแยกตัว เนื่องจากความต้องการของผู้เลี้ยงส่วนใหญ่ จะนิยมเพศเมียมากกว่า การจับคู่ปลาขายจึงเป็นกลวิธีเพิ่มมูลค่าให้กับเพศผู้ รวมทั้งยังระบายปลาได้วิธีหนึ่ง

รูปแบบที่สี่  รูปแบบนี้ต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่โอกาสคุ้มทุนระยะยาวก็มีสูง โดยการซื้อพ่อ- แม่ปลา หรือปลาไซส์เล็ก ๆ มาขุนเลี้ยงเพื่อเพาะขยายพันธุ์ ในระยะแรกอาจจะไม่คุ้มทุน เพราะต้องลงทุนซื้อปลา สร้างบ่อเพาะเลี้ยง แต่ในระยะยาววิธีนี้เป็นวิธีที่คุ้มค่าที่สุด เพราะเมื่อปลาเริ่มให้ผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งต้นทุนจะต่ำลงเรื่อย ๆ เพราะปลาจะให้ผลผลิตได้นานและลูกปลาที่ได้ยังนำมาขุนเลี้ยงเป็นพ่อ-แม่พันธุ์ปลาได้ต่อ

สำหรับปลากระเบนโมโตโร่ที่มีการซื้อขายกัน มีตั้งแต่ปลาอายุยังไม่ถึง 1 เดือน จนไปถึงปลาไซส์ใหญ่ โดยปลาที่มีอายุยังไม่ถึง 1 เดือน ราคาซื้อขายจะอยู่ที่คู่ละประมาณ 2,500 บาท ในปลาไซส์ใหญ่จะมีราคาสูงขึ้นไป ดังนั้นจะเห็นได้ว่า หากแนวโน้มของตลาดยังสดใสเช่นปัจจุบัน การเพาะเลี้ยงปลากระเบนสวยงามสายพันธุ์อเมริกาใต้ โดยเฉพาะโมโตโร่ เป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อย ด้วยเพราะใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงไม่นานให้ผลผลิตเร็ว ผลผลิตที่ได้ใช้เวลาไม่นานสามารถ จำหน่ายต่อไปได้ หรือเลือกทำตาม 4 รูปแบบข้างต้น จุดคุ้มทุนสามารถกลับคืนมาเร็วได้เช่นกัน

เอกสารอ้างอิง

กันยารัตน์ สุวรรณประทีป  รวมสุดยอดกระเบนน้ำจืดยอดฮิต. 2548. พิมพ์ครั้งที่ 1 หน้า 70-71.

มติชนบท เทคโนโลยีชาวบ้าน  ปีที่ 18 ฉบับที่ 374. 1 มกราคม 2549. หน้า 104-105.

Fish zone  ฉบับที่ 65 ประจำเดือน พฤศจิกายน 2548. หน้า