กระดานข่าว Save Our Sea.net

หมวดหมู่ทั่วไป => สรรพชีวิตแห่งท้องทะเล => ข้อความที่เริ่มโดย: สายน้ำ ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2008, 01:27:56 AM



หัวข้อ: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2008, 01:27:56 AM
ผมเปิดอ่านข้อมูลของเว็บสถาบันวิจัยและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง  กรมประมง พบหัวข้อเรื่องที่น่าสนใจที่เล่าโดย Mr. Can เข้า คือ  "ตามไปดูคุณสามารถแนะนำการเพาะปลาอมไข่(ไม่ใช่ปลาเกย์) ที่กระบี่ " จึงขอนำมาถ่ายทอดต่อให้สมาชิก SOS ได้ศึกษาข้อมูลกันด้วยครับ


 การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว Pterapogon kauderni Koumans, 1933, banggai cardinal fish

ขอนำเสนอประสบการณ์การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาวแบบง่าย ๆ เพื่อผู้สนใจจะได้นำไปใช้ หรือพัฒนาการเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่อไป

รู้จักปลาอมไข่ครีบยาว

- ปลาชนิดนี้ปัจจุบันไม่มีรายงานว่าเจอในบ้านเราแล้ว
-พ่อแม่พันธุ์หรือปลาในตลาดมักนำเข้าจาก อินโดนีเซีย
- แหล่งของมันก็ตามชื่อของมันคือ เกาะ banggai (หากเป็นบ้านเราน่าจะเรียก บังไก่ 555)
-ลักษณะเด่นของปลาตัวนี้คือ ปลาตัวผู้จะอมไข่ที่ผสมแล้วไว้ในปากจนกว่าจะฟักเป็นตัวที่แข็งแรงแล้ว จึงค่อยปล่อยให้ลูกออกไปผจญโลกภายนอก ดูแล้วคล้าย ๆ กับปลานิล แต่ปลานิลตัวเมียเป็นตัวที่อมไข่  คิดอีกทีปลาชนิดนี้น่าจะเป็นเกย์ เพราะมันอ...ไข่
-ราคาขายปลีกในตลาด 150-200 บาท/ตัว แต่ราคาต้นตอที่ชาวประมงขายได้มีรายงานว่าไม่ถึงสิบบาท
-ปลาตัวผู้และตัวเมียคล้ายกันมากจนแยกไม่ออก แต่เมื่อตัวเมียมีไข่ แน่นอนว่ามันท้องป่อง และเมื่อตัวผู้อมไข่แน่นอน ฟันธงอีกแล้วว่า มันแก้มป่อง

(http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=1025.0;attach=547;image)

(http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=1025.0;attach=548;image)



หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2008, 01:28:34 AM


การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์

ผู้ที่ริเริ่มให้เพาะพันธุ์ปลาตัวนี้ได้แก่ อดีตอธิบดีกรมประมง และปลัดกระทรวงเกษตรฯ คนปัจจุบัน คือ ดร.จรัลธาดา กรรณสูตร  ซึ่งท่านได้ช่วยติดต่อและจัดหาพ่อแม่พันธุ์เพื่อให้ศูนย์ฯกระบี่ได้ศึกษาเพาะพันธุ์

พ่อแม่พันธุ์ที่ใช้เป็นปลาธรรมชาติมีแหล่งกำเนิดที่อินโดนีเซีย
ช่วงแรกมืดมากกว่าแปดด้าน เพราะไม่เคยศึกษาปลาตัวนี้มาก่อน
ช่วงแรกเลี้ยงรวมกันในบ่อซีเมนต์ขนาด 4 ตัน พ่อแม่ปลาค่อย ๆ ทยอยตายไปบางส่วนโดยไม่ทราบสาเหตุ
ต่อมาเปลี่ยนแนวเป็นเลี้ยงในตู้กระจกขนาด 45*90*45 ซม. เลี้ยงรวมกัน 5-6 ตัว ตอนหลังเมื่อทราบว่าตัวใหนเป็นตัวผู้ตัวเมีย (ดูตอนที่มีไข่เต็มท้อง กับตัวผู้ที่อมไข่จนปากป่อง) จึงเลี้ยงเพียงตู้ละคู่
จัดตู้แบบระบบกรองทรายธรรมดา
มีแผ่นปูพื้นวางอิงกับข้างตู้ทำให้เกิดช่องว่างเพื่อให้ปลาหลบซ่อน แต่เราสังเกตุปลาได้ง่าย

อาหารที่ให้พ่อแม่ปลาเป็นกุ้งเคย หรือกุ้งฝอย หรือลูกปลาเซลฟินทะเล

เมื่อปลาพร้อม ตัวเมียไข่แก่ ตัวผู้พร้อม ก็จะผสมพันธุ์กันเวลากลางวัน (แสก ๆ ) ตัวผู้จะอมไข่ที่ผสมแล้วไว้ในปาก จะเห็นได้ชัดว่าปากป่อง ที่ผ่านมา ปลาวางไข่ผสมพันธุ์ประมาณเดือนละครั้ง

หลังจากนี้ตัวผู้จะไม่กินอะไร เอาแต่อมอยู่อย่างนี้จนลูกของมันแข็งแรงและว่ายน้ำได้เก่ง ซึ่งไข่จะพัฒนาฟักเป็นตัวและแข็งแรงพอที่จะว่ายน้ำได้เองต้องใช้เวลาประมาณ 20-25 วัน ขึ้นกับอุณหภูมิ  ตัวผู้เลยผอมเซียวเลยหล่ะ แต่ปลาชนิดนี้แก้ปัญหาด้วยการอยู่นิ่ง ๆ ปกติแล้วถ้าไม่ไปรบกวนมัน มันจะลอยตัวอยู่เฉย ๆ เกือบไม่ไหวตัวเลยหล่ะพี่น้อง  ส่วนตัวเมียก็กินไปสบาย ๆ รอการวางไข่ครั้งต่อไป

เมื่อปลาอมไข่ไปได้สัก 15 วัน จะย้ายพ่อปลาไปอยู่ตู้ใหม่ ที่มีส่วนที่เพิ่มเติมคือ เม่นเทียม  เพราะในธรรมชาติลูกปลาที่ออกจากปากพ่อแล้วจะอาศัยอยู่กับเม่นทะเลหนามยาว ผมเลยให้น้อง ๆ ทีมงานทำ เม่นเทียมซึ่งทำจากเชือกไนล่อนสีดำเย็บติดกับตาข่ายพลาสติกอย่างที่เห็น

(http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=1025.0;attach=549;image)

(http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=1025.0;attach=550;image)



หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2008, 01:29:09 AM


การเคาะปากปลา

ไม่รู้จะใช้คำใหนดี จึงใช้ให้เหมือนกับของปลานิลที่เคาะปากเพื่อเอาไข่ แต่นี่เพื่อเอาลูกของมัน

จะเคาะปากเอาลูกออกเมื่อไหร่ดี
ปลาชนิดนี้ใช้เวลาอมไข่ 20-25 วัน ขึ้นกับอุณหภูมิ คือ อุณหภูมิสูงก็น้อยวัน อุณหภูมิต่ำก็หลายวันหน่อย
อีกอย่างคือปลานี้ไข่มีขนาดใหญ่ ดังนั้นลูกปลาจึงอยู่ในปากได้หลายวันโดยไม่ต้องกินอาหาร
คล้าย ๆ กับการผ่าท้องคลอด สามารถเคาะปากก่อนที่ปลาพร้อมจะออกมาเอง แต่หากเร็วเกินไป ปลายังว่ายน้ำเองไม่ได้ ก็จะดูแลยาก
ปลาที่เคาะปากในระยะเวลาที่เหมาะสม คือ ออกมาแล้ว ว่ายน้ำได้ดี
สำหรับผมจะสังเกตุว่าเมื่อเริ่มมีลูกปลาหลุดออกจากปากพ่อปลาเอง 1-2 ตัว ก็ทำการเคาะปากเลย ไม่รอให้ปล่อยออกมาเอง เคยมีประสบการณ์ว่า ลูกปลาตัวแรกออกมาแล้ว 4-5 วัน พ่อปลายังไม่ยอมคายลูกออกมา สงสัยมันยังไม่แน่ใจว่าลูกจะปลอดภัย หรือมันรู้ว่า เป็นเม่นเทียม เลยไม่ยอมคายลูกออกมา

เมื่อตกลงปลงใจว่าเคาะแล้วนะ  ก็ตักพ่อปลาใส่กะละมัง  ใช้แผ่นพลาสติกบางๆ อ้าปากพ่อปลา ลูกปลาก็จะหลุดออกมา  บางครั้งหากปล่อยพ่อปลา พ่อปลาจะคายลูกออกเองจนหมด แต่หากไม่ยอมก็ต้องบังคับกันละวะ ไม่ยอมใช่มั๊ย จับอ้าปากอีก 2-3 รอบก็หมด แต่ต้องทำนิ่ม ๆ และรวดเร็วนะครับ ไม่อย่างนั้นพ่อปลาไม่ช้ำตายก็ขาดอ๊อกซิเจนตายเสียก่อน

เสร็จแล้วพาพ่อปลาไปอยู่กับแม่ปลา
ส่วนลูกปลาก็ปล่อยให้อยู่กับเม่นทะเลเทียม ไม่รู้มันชอบหรือเปล่า แต่พบว่ามันอยู่กันเต็มไปหมด จนโตแล้วก็ยังไม่ยอมไปห่างจากเม่นเทียมเลย

เมื่อปล่อยลูกปลาไปแล้วก็ให้อาร์ทีเมียแรกฟักได้ เลย แม่เจ้าโว้ย คุณลูกปลากินได้ทันทีจริง ๆ ทั้ง ๆ ที่เพีงออกมาเมื่อกี้ แถมไข่แดงในท้องก็ยังเห็นเป็นเม็ดกลมๆอยู่เลย

(http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=1025.0;attach=552;image)

(http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=1025.0;attach=553;image)



หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2008, 01:29:52 AM


นี่เป็นภาพขณะใช้แผ่นพลาสติกเปิดปากปลา หากเปิดปากปลาเห็นว่า ลูกปลายังอ่อนมาก ไข่แดงยังเป็นสีส้ม หรือครีบปลายังพัฒนาไม่ดี ก็รีบปล่อยพ่อปลาลงตู้ และค่อยเคาะปากอีกรอบ เมื่อแน่ใจว่า ปลาพัฒนาดีแล้ว แต่หากมีลูกปลาหลุดออกมาเองบ้างแล้ว(โดยที่ไม่ต้องเคาะ) มักไม่มีปัญหา ไปโลด

(http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=1025.0;attach=554;image)

(http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=1025.0;attach=555;image)



หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2008, 01:30:43 AM


เมื่อปล่อยลูกปลาในตู้สักพัก ลูกปลาก็จะเข้ารวมกลุ่มกันในเม่นทะเลเทียม
จะเป็นว่าลูกปลายังมีไข่แดงอีกเยอะเลย

(http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=1025.0;attach=556;image)

(http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=1025.0;attach=557;image)

(http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=1025.0;attach=558;image)



หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2008, 01:31:39 AM


ช่วงแรกของการอนุบาลก็ให้อาร์ทีเมียไปเรื่อย ๆ ปลากินเก่งมาก ถ้าคนเลี้ยงไม่ขี้เกียจรับรองว่า ไม่มีปัญหาเรื่องปลาไม่กินอาหาร (นอกจากไม่มีอาหารกิน) เมื่อปลาโตขึ้น 10-15 วัน ก็ให้อาร์ทีเมียที่โตขึ้น จนอายุ ประมาณ 45 วัน (ตามภาพ) ปลาก็เริ่มกินกุ้งเคย หรือลูกปลาเซลฟินทะเลได้แล้ว หรือไม่ก็อาร์ทีเมียเต็มวัย

(http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=1025.0;attach=559;image)

(http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=1025.0;attach=560;image)



หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2008, 01:33:24 AM


ตามรายงานปลาชนิดนี้เริ่มสืบพันธุ์ได้เมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป ก็อีกไม่นานเกินรอสำหรับชุดแรกสุดที่มีอายุ 4 เดือน แล้ว ถ้าไม่เจออุบัติเหตุเสียก่อน

ปลาอมไข่ ...ตามีสีแดง หางเหลือง ๆ ....น่าจะเป็น ปลาอมไข่ตาแดง ซึ่งเป็นชนิดที่พบในเมืองไทย
แต่ถ้าชัวร์ต้องได้ดูรูปด้วยครับ

ถ้าเป็นปลาอมไข่ตาแดง ทางศูนย์ฯยังเพาะพันธุ์ไม่ได้ครับ

(http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=1025.0;attach=561;image)

 
ข้อมูลจาก สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง  กรมประมง 

โดย สามารถ เดชสถิตย์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่

สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง
กรมประมง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์




หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: WayfarinG ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2008, 02:27:28 AM
 :-* :-*


หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2008, 02:44:40 AM
ก๊ากกกก....ปลาตัวผู้เป็นเกย์ เพราะชอบอมไข่..... :-X :-X :-X

น้องสามารถของเราสำนวนชวนโอ้ยยยย.....จริงๆเลยนิ  อ่านสนุกแถมได้ความรู้ด้วยจ้ะ....ชอบใจและขอบใจหลายๆ... :)

ว่าแต่....เที่ยวนี้จะให้เราไปทดลองปล่อยบ้างหรือเปล่าจ๊ะ... ;)


หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: Mr.can ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2008, 06:47:05 AM
ขอบคุณหลาย ๆ ครับ
แต่ขอเวลาศึกษาอีกนิดครับว่าควรปล่อยตัวนี้ลงทะเลบ้านเราหรือเปล่า
เนื่องจากปัจจุบันปลาชนิดนี้ไม่พบในบ้านเรา (เท่าที่ทราบเพราะไม่เคยดำน้ำ 555) แต่พี่สองสายหรือสมาชิก sos เคยเจอบ้างไหมเอ่ย ถ้าใครเจอช่วยบอกด้วย
อย่างไรก็ตาม ในหนังสือของ Allen กล่าวว่ามีในทะเลไทย แต่ต้องไปตรวจสอบอีกที
แต่ถ้าปล่อยได้หรือไม่ถึงกับเป็น เอเลี่ยนสปีชีส์ เพราะปลาตัวนี้ในธรรมชาติชอบอยู่ตามเม่นทะเล ถ้าไม่มีเม่นประชากรของมันจะลดลงอย่างรวดเร็วาอย่างที่เกิดในอินโดนีเซีย (ตามรายงานอีกแล้ว) แต่ที่กระบี่ รอบ ๆ เกาะไก่ เกาะปอดะ เต็มไปด้วยเม่นดำหนามยาว ที่ไป skinning ทีไร เสียววววววววท้อง ทุกที เพราะมันเยอะมากจริง ๆ

สรุปว่ายังไม่พร้อมนะครับ แฮ่ ๆ ๆ


หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2008, 07:14:39 AM
ชอบปลาพันธุ์นี้มากๆ เพราะอยู่นิ่งๆเหมือนถูกจับแขวนแบบปลาตะเพียนสานบ้านเรา...... :-*

ยังมิเคยเห็นในไทยค่ะ แต่ที่อินโดนีเซีย เคยเห็นพันธุ์บังไก่ ที่ Lembeit และพันธุ์ใกล้เคียงกันที่ Derawan และ Raja Ampat ค่ะ


หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: boat sick forever ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2008, 04:25:32 AM
สถานภาพของปลาตัวนี้ที่บ้านเราเท่าที่ดำน้ำสำรวจมายังไม่เคยพบครับแต่ถ้าหากมีข้อสงสัยอันใดลองติดต่อสอบถามไปยัง พี่อุกฤต ที่ศูนย์ชีวะฯ ภูเก็ตดูนะครับ พี่เค้าเป็นคนที่รู้เรื่องเกี่ยวกับปลาทะเลในอันดับต้นๆของเมืองไทยเลย ส่วนการจะปล่อยสู่ธรรมชาติได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาจากหลายๆปัจจัยเช่นกัน หนังสือของAllenบอกพื้นที่แพร่กระจายอย่างกว้างๆครับความละเอียดค่อนข้างน้อยเพราะปลาบางตัวที่บอกว่าไม่มีการแพร่กระจายในบ้านเราก็ยังพบได้ ส่วนบางตัวที่บอกว่าพบในบ้านเราก็อาจจะไม่พบ เอาเป็นว่าถามผู้ที่ศึกษาในfield ดีกว่า ข้อมูลอัพเดทกว่า


หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2008, 05:43:56 AM
แม่นแล้วค่ะ.....น้องอุกฤตนี่ถือเป็นมือหนึ่งเรื่องปลาทะเล ส่วนมือสองต้องยกให้น้อง boat sick forever 

คนอะไรก็ไม่รู้.....เห็นปลาตัวไหนๆแล้วบอกชื่อเสียงเรียงนามทางวิทยาศาสตร์ และชื่อตามท้องถิ่น รวมทั้งชีวิตครอบครัว...ลักษณะพิเศษ....ฯลฯ  ได้ไปหมด..... :)  


หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: แม่หอย ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2008, 08:57:01 AM
 ;D น้องอุกกฤตเนี่ยรู้จัก (มากมาก) ชื่อเธอมี ก. ไก่ 2 ตัวนะคะ ไม่ได้พิมพ์ผิด .. ส่วนน้อง Boat sick forever นี่ใครหนอ.. แต่ชื่อแบบนี้ไงๆ ก็พวกเดียวกัน.. เพราะแม่หอยก็พวกเมาเรือ เมารถ แต่ไม่เมารัก คิกๆ..

ชอบพ่อปลาและลูกปลาอมไข่มากเลย น่ารักจริงจริง..
เห็นแล้วอยากจะเล่าเรื่องหอยอมไข่มั่ง.. ฮ่า ฮ่า.. แต่รู้สึกจะไม่ค่อยมีเวลาเล้ยยยย..


หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2008, 09:50:50 AM
อ้าววววว.....ก ไก่วิ่งหนีไปตัวหนึ่งจริงๆด้วย ไปดูในหนังสือคู่มือปลาในแนวปะการัง ฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ที่น้องอุกกฤต ให้มามี ก ไก่ สองตัวจริงๆด้วย 

ขอบคุณน้องแม่หอยค่ะที่มาช่วยแก้ให้.... :-*

ส่วนน้อง  boat sick forever  นี่ เป็นมือขวาด้าน ป ปลา ของอาจารย์บอย เคยทำงานใต้น้ำกับพี่สองสายหลายครั้งแล้ว หน้าตาของน้องเขาเหมือนเมาตลอด  แต่เราไม่เคยเห็นอาการเมาเรือสักทีค่ะ ชื่อนี้น่าจะยกให้คุณสายน้ำมากกว่านะคะ.... :-X :-X :-X

 (http://www.saveoursea.net/boardapr2007/index.php?action=dlattach;topic=393.0;attach=7482;image)


หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: boat sick forever ที่ กุมภาพันธ์ 22, 2008, 05:09:27 AM
อย่างผมนี่เค้าเรียกว่าหล่อแบบหลอนๆครับ คนที่จะชมต้องมีขวัญแข็งหน่อย อิ อิ อิ ??? ???


หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ กุมภาพันธ์ 22, 2008, 06:18:27 AM
ก๊ากกก....หล่อแบบหลอนๆ.....คราวหน้าเจอกันต้องรีบวิ่งหนีแล้วล่ะจ้ะ กลัวโดนหลอก..... :-X :-X :-X

น้องแม่หอยไม่เมารักจ๋า....อยากอ่านเรื่องและชมภาพ หอยอมไข่ จ้ะ มีเวลาว่างจากงานเมื่อไร ขอสักติ๊ดดด....นะจ๊ะ


หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: หอยกะทิ ที่ กุมภาพันธ์ 22, 2008, 04:00:18 PM
หอยอมไข่ ??? ตามดูครับ นั่งเฝ้าเลย :-*

Mr. can คือพี่อุกกฤต เหรอครับ ??? :P


หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ กุมภาพันธ์ 22, 2008, 05:53:03 PM
ม่ายช่ายค่ะ.....ม่ายช่ายยยยย...... ;)

Mr. can คือ "เจ้าพ่อเพาะปลาการ์ตูนเมืองกระบี่" ค่ะ...... :)  


หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: หอยกะทิ ที่ กุมภาพันธ์ 23, 2008, 04:55:48 AM
อ๋อครับ เห็นคุยไป คุยมา ผมเข้าใจว่าพี่อุกกฤตเขาเล่นเวบนี้ด้วย และใช้ชื่อ Mr.Can

ตอนนี้ก็เลยงงว่าพี่อุกกฤตเขาเล่นเวบนี้ด้วยเหรอครับ ส่วนพี่ Mr.Can นี่รับทราบครับ ;D


หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: สายชล ที่ มกราคม 06, 2009, 03:19:13 AM


ปลาอมไข่ ปลาสวยงามเพาะขยายพันธุ์ในไทยได้แล้ว

(http://ads.dailynews.co.th/column/images/2008/agriculture/12/27/67707_63185.jpg) 
(http://ads.dailynews.co.th/column/images/2008/agriculture/12/27/67707_63186.jpg)

นายสามารถ เดชสถิตย์ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บอกว่า ปลาอมไข่ครีบยาว เป็นปลาที่ปัจจุบันไม่มีรายงานว่าเจอในบ้านเรา พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ หรือปลาในตลาด มักนำเข้าจากอินโดนีเซียแถบเกาะ banggai ลักษณะเด่นของปลาตัวนี้คือ ปลาตัวผู้จะอมไข่ที่ผสมแล้วไว้ในปาก จนกว่าจะฟักเป็นตัวที่แข็งแรงแล้วจึงค่อยปล่อยให้ลูกออกไปผจญโลกภายนอกคล้าย ๆ กับปลานิล แต่ปลานิลตัวเมียเป็นตัวที่อมไข่ ราคา ขายปลีกในตลาดอยู่ที่ 150-200 บาท/ตัว
 
ผู้ที่ริเริ่มให้เพาะพันธุ์ปลาตัวนี้ได้แก่ อดีตอธิบดีกรมประมง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ คนปัจจุบัน คือ ดร.จรัลธาดา กรรณสูต เป็น  ผู้ช่วยติดต่อและจัดหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เพื่อให้ศูนย์ฯ กระบี่ได้ศึกษาเพาะพันธุ์
 
พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ใช้เป็นปลาธรรมชาติมีแหล่งกำเนิดที่อินโดนีเซียอาหารเป็นกุ้งเคย หรือกุ้งฝอย หรือลูกปลาเซลฟินทะเล เมื่อปลาพร้อมตัวเมียไข่แก่ ตัวผู้พร้อมก็จะผสมพันธุ์กันเวลากลางวัน ตัวผู้จะอมไข่ที่ผสมแล้วไว้ในปาก จะเห็นได้ชัดว่าปากป่อง หลังจากนั้นตัวผู้จะไม่กินอะไร อมอยู่อย่างนี้จนลูกปลาแข็งแรงและว่ายน้ำได้เก่ง ซึ่งจะฟักเป็นตัวและแข็งแรงพอที่จะว่าย   น้ำได้เองใช้เวลาประมาณ 20-25 วันขึ้นกับอุณหภูมิ เมื่อปลาอมไข่ไปได้สัก 15 วัน ควรย้ายพ่อปลาไปอยู่ตู้ใหม่ที่มีเม่นทะเลเทียม เพราะในธรรมชาติลูกปลาที่ออกจากปากพ่อแล้วจะอาศัยอยู่กับเม่นทะเลหนามยาว
 
จำนวนลูกปลาที่ได้แต่ละครอกประมาณ 10-30 ตัว แต่มีรายงานว่า อาจมีได้ถึง 50 ตัวต่อครอก เสร็จแล้วนำพ่อปลาไปอยู่กับแม่ปลา ส่วนลูกปลาก็ปล่อยให้อยู่กับเม่นทะเลเทียม เมื่อปล่อยลูกปลาไปแล้วก็ให้อาร์ทีเมียแรกฟักได้เลย
 
ช่วงแรกของการอนุบาลก็ให้อาร์ทีเมียไปเรื่อย ๆ ปลากินเก่งมาก ถ้าคนเลี้ยงไม่ขี้เกียจรับรองว่า ไม่มีปัญหาเรื่องปลาไม่กินอาหาร เมื่อปลาโตขึ้น 10-15 วัน ก็ให้อาร์ทีเมียที่โต    ขึ้น จนอายุประมาณ 45 วัน ปลาก็เริ่มกินกุ้งเคย หรือลูกปลาเซลฟินทะเลได้แล้ว หรือไม่ก็อาร์ทีเมียเต็มวัย จากนั้นก็เลี้ยงให้ลูกปลาโตเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการต่อไป
 
สำหรับปลาอมไข่นั้น เกิดมาจากสัญชาตญาณของปลาโดยตรงตามธรรมชาติในการอมลูกตัวเองไว้ในปาก เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ชนิดอื่นที่กินลูกปลาเป็นอาหาร ปลาชนิดนี้จะอาศัยกันเป็นกลุ่ม ๆ ในท้องทะเล แต่สามารถนำมาเลี้ยงทั้งตัวเดียวหรือเลี้ยงแบบเป็นฝูงก็ได้
 
ปลาชนิดนี้ไม่ดุร้าย แต่อาจมี ไล่กันบ้างเล็กน้อย ปัจจุบันมีนักเลี้ยงที่ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากลูกปลาชนิดนี้จะกินอาหารง่ายตั้งแต่เกิด กินไรทะเลขนาดเล็ก หรือตัวอ่อนอาร์ทีเมียได้โดยไม่ต้องเพาะพันธุ์แพลงก์ตอนเหมือนกับการเลี้ยงลูกสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ.



จาก                              :                          เดลินิวส์  วันที่ 27 ธันวาคม 2551


หัวข้อ: Re: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
เริ่มหัวข้อโดย: lord of death ที่ มกราคม 09, 2009, 08:09:02 AM
อืม....น่าลอง น่าลอง
เพราะเท่าที่ทราบ Bangai Cardinal อัตราการหมุนเวียนในตลาด ไม่สูงเหมือน ปลาการ์ตูน จากการไปเลียบๆเคียงๆถามชาวบ้านมาเขาบอกว่าเลี้ยงง่ายตายยาก ตอนนี้ก็เพาะได้ แต่เท่าที่ดูถ้าจะให้สามารถรองรับตลาดต้องใช้ทุนและที่พอสมควร แต่ถ้าทำได้ เราก็จะมี บังไก่ ให้ดูในที่ของมัน เวลาไปนะ
แต่บังไก่ในบ้านเราเห็นว่าปัจจุบันไม่พบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าในอดีตไม่มี หรือเปล่าครับ
สำหรับ pink cardinal ถ้าเพาะได้ล่ะเยี่ยมเลย ในทะเลไทยคงใกล้จะไม่เหลือแล้วมั๊งครับ
อย่างไรก็ตามปล่อยให้เค้าอยู่ในที่ของเขาเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย