กระดานข่าว Save Our Sea.net
มิถุนายน 18, 2024, 12:56:03 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม: วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม 2551  (อ่าน 1651 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: ตุลาคม 04, 2008, 12:36:23 AM »

กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน
ภาคใต้และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกระจายและมีฝนตกหนักบางแห่งในระยะนี้

อนึ่ง พายุดีเปรสชั่น “ฮีโกส (HIGOS)” บริเวณเกาะไหหลำจะเคลื่อนตัวทางทิศเหนือเข้าสู่ประเทศจีนตอนใต้ในวันนี้ (4 ต.ค. 51)


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง  อุณหภูมิต่ำสุด 24 องศา สูงสุด 33 องศา  ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 3-4 ต.ค. ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออก และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนกระจายและมีฝนตกหนักบางพื้นที่

ต่อจากนั้นในช่วงวันที่ 5-6 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวเและเวียดนามตอนบน ทำให้ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 7-9 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาจะ มีกำลังอ่อนลง ทำให้ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านมีกำลังอ่อนลงด้วย ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง

อนึ่ง พายุโซนร้อน” ฮีโกส” ในทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มจะเคลื่อนสู่ประเทศจีนตอนใต้ ในช่วงวันที่ 4-5 ต.ค


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 5-6 ต.ค. ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนระมัดระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนัก ที่จะเกิดขึ้น



* Forecast2.jpg (41.16 KB, 693x430 - ดู 267 ครั้ง.)

* Earthquake.jpg (39.08 KB, 400x439 - ดู 240 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2008, 12:54:12 AM »

ข่าวสด


ประมงพื้นบ้านจี้อนุรักษ์วิถีชีวิตประมง ร้องถึงนายกฯแก้ไขสัมปทานขุดเจาะปิโตรเลียม

สงขลา - ที่ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายทวี เทพนะ แกนนำคณะกรรมการประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ และนายศรีมงคล นุ้ยสามัญ ประธานประมงพื้นบ้าน อ.เมืองสงขลา ยื่นหนังสือต่อนายสนธิ เตชานันท์ ผวจ.สงขลา เพื่อนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี รมว.พลังงาน และอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เพื่อขอให้แก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม และโครงการพัฒนาเพื่อผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่แปลงสัมปทานปิโตรเลียมหมายเลข G5/43 บริเวณอ่าวไทย จ.สงขลา

โดยระบุว่า การที่บริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด ได้สัญญาสัมปทานขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมดังกล่าว เป็นการดำเนินโครงการในพื้นที่ทับซ้อนกับพื้นที่ทำกินของชาวประมงพื้นบ้าน ที่ประกอบอาชีพประมงมาเป็นเวลาหลายสิบปี และอาจจะทำให้อาชีพประมงพื้นบ้านสูญสิ้นไป นอกจากนี้ยังไม่มีการตรวจสอบถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน จึงเรียกร้องให้รัฐบาลและบริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด สร้างหลักประกันในด้านอาชีพ เช่น พื้นที่ทำการประมง สิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมไปถึงวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน และสุขภาพที่จะเกิดขึ้นจากการได้รับอาหารที่ปลอดภัย อันเป็นการเชื่อมโยงไปถึงความมั่นคงทางอาหารของพี่น้องประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ประกอบอาชีพประมงด้วย

สำหรับข้อเรียกร้อง คือ 1.ให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการอนุมัติสัมปทานต้องรับฟังความเห็นและเปิดเผยข้อมูลทุกด้านต่อประชาชน เพื่อพิจารณาและร่วมตัดสินในการกำหนดมาตรการ รวมทั้งให้ออกกฎ กติกา ที่จะกำหนดให้บริษัทต้องผูกพันที่จะดำเนินการตามเงื่อนไข โดยต้องกำหนดในสัญญาสัมปทาน 2.ต้องให้ประชาชนตรวจสอบควบคุมการทำงานของบริษัทให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ หากบริษัทฝ่าฝืนชาวประมงพื้นบ้านมีสิทธิ์เรียกร้องขอให้บริษัทยุติการดำเนินงานได้ทันที 3.การดำเนินโครงการทางบริษัทจะต้องทำข้อตกลง โดยเจรจาร่วมกันระหว่างชาวประมงพื้นบ้าน วางข้อกำหนดที่จะแก้ไขสัญญาสัมปทานให้เรียบร้อย และระหว่างการเจรจาจะต้องยุติการทำงานใดๆ ที่จะเป็นการก่อสร้างโครงการในท้องทะเลโดยเด็ดขาด 4.รัฐบาลจะต้องมีเงื่อนไขให้บริษัทรับผิดชอบค่าชดเชยหรือค่าเสียหายที่สอดคล้องกับความเป็นจริงอันเกิดจากผลกระทบระหว่างการขุดเจาะน้ำมัน รวมถึงรับผิดชอบฟื้นฟูทรัพยากรท้องถิ่นที่จะเกิดขึ้นภายหลัง โดยให้องค์กรท้องถิ่นเข้ามาบริหารจัดการ


***********************************************************************************************************************************


โจรสลัดยุคใหม่                            :                           คอลัมน์ เจาะโลก

ใครที่ดูหนังเรื่อง Pirate of the Caribbean อาจทำให้คิดไปว่าเรื่องของ "โจรสลัด" เป็นเรื่องโบราณ หรือไม่ก็ในนิยายหลอกเด็กเท่านั้น แต่ความจริงเรื่องของโจรสลัดเป็นสิ่งที่กฎหมายระหว่างประเทศปัจจุบันระบุถึงไว้ รวมทั้งยังมีปัญหาของ "โจรสลัด" ให้ปวดหัวจริงๆ เสียด้วย

ชายฝั่งโซมาเลียคือน่านน้ำที่ถือว่าอันตรายที่สุดสำหรับการเดินเรือในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการล่องเรือเพื่อความสำราญ หรือประมง เรือส่งน้ำมัน หรือแม้แต่เรือบรรทุกอาวุธ และคาดกันว่า เรือ "โจรสลัด" ที่หน้าตาโจรเป็นคนผิวดำ พูดภาษาอังกฤษกระท่อนกระแท่นนั้นมีอยู่ไม่น้อยกว่า 1 พันลำ กระจายไปทั่วชายฝั่งโซมาเลียที่ยาวถึง 3,000 ก.ม.

โซมาเลียเป็นชาติแอฟริกาที่อยู่ทางตะวันออกของทวีป ตอนบนติดกับอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันสำคัญของโลก ทางใต้ติดกับเคนยา และลึกเข้าไปนิดก็คือซูดาน ที่มีปัญหารบราฆ่าฟันกันมาตลอด

ความที่มีชายฝั่งยาวถึง 3,000 ก.ม. ทำให้โซมาเลียมีแหล่งทรัพยากรทางน้ำที่สมบูรณ์ แต่ตั้งแต่ช่วงปี 1990 โซมาเลียมีปัญหาต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันเองในประเทศ โดยใช้อาวุธของชาติอื่นที่ส่งเข้าไปห้ำหั่นกัน อีกทั้งก็ยังตั้งตนเป็นอริกับตะวันตกด้วย โดยเฉพาะสหรัฐ

จากความระส่ำในบ้านเมือง ทำให้รัฐบาลอ่อนแอลง เศรษฐกิจฝืดเคือง และการควบคุมน่านน้ำหย่อนยานลงไปมาก

กองเรือประมงเถื่อนจากนานาชาติจึงแห่กันไปตักตวงทรัพยากรของโซมาเลีย โดยที่รัฐบาลโซมาเลียทำอะไรมากไม่ได้

นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวหาจาก "โจรสลัด" ด้วยว่า หลายชาติขนขยะสารพัดอย่างไปทิ้งในน่านน้ำของเขา

ชาวประมงโซมาเลียจึงค่อยๆ เปลี่ยนสภาพจากกองเรือหาเช้ากินค่ำมาเป็นเรือ "โจรสลัด" แทน งานหลักของพวกนี้คือ การยึดจับและเรียกค่าไถ่จากเรือประมง และเรือขยะต่างชาติที่รุกล้ำน่านน้ำโซมาเลีย

และบอกว่าพวกเขานั้นทำงานเสมือน "เรือยามฝั่ง" ของประเทศ คอยปกป้องผลประโยชน์ของชาติ และไม่ยินยอมให้เรือต่างชาติละเมิดน่านน้ำ ค่าตอบแทนที่ "โจรสลัด" พวกนี้ได้ก็คือ ค่าไถ่ (ทั้งคนและเรือ) ลำละล้านเหรียญสหรัฐบ้าง หรือบางครั้งก็มากกว่า เช่น เมื่อเร็วๆ นี้ "โจรสลัดโซมาเลีย" ยึดเรือรัสเซียลำใหญ่ที่ละเมิดน่านน้ำได้ และพบว่าทั้งเรือมีแต่อาวุธหนัก จุดหมายปลายทางเข้าใจว่าหากไม่ใช่เคนยา ก็ซูดาน

โจรสลัดเหล่านี้บอกว่าพวกเขาไม่ได้ต้องการอาวุธ เขาต้องการเงินเอาไปเลี้ยงดูลูกเรือเท่านั้น เลยเรียกค่าไถ่เสียเบาะๆ แค่ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ

สหรัฐ ฝรั่งเศส ปวดหัวกับเรื่องพวกนี้มาก ซึ่งไม่ทราบว่าทำไมฝรั่งชาติอื่นถึงไม่กลุ้ม อาจเพราะไม่มีการค้าขายกับโซมาเลียก็ได้ แต่สหประชา ชาติเองนั้นร่ำๆ อยากจะจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพทางน้ำในย่านนี้

แต่เรื่องคงไม่ง่ายเหมือนคิด เพราะการที่เกิดกองเรือ "โจรสลัด" ขนาดราว 1,000 ลำได้นั้น แสดงว่าต้องมีผลประโยชน์จูงใจมากมาย และคงต้องแบ่งรายได้กับผู้ร่วมอุดมการณ์โจรสลัดกันแน่นอน เช่น ผู้ที่ซ่อมบำรุงเรือ ติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารในเรือโจรสลัด กระบวนการฟอกเงิน หรือผู้จัดหาอาวุธให้โจรสลัดพวกนี้ ซึ่งไม่ใช่แค่ดาบห้อยติดเอวแบบที่เห็นในหนัง พูดแบบสมัยนิยมก็คือ "โจรสลัด" นั้นน่าจะเป็น "อาชญากรจัดตั้ง"

เรื่องนี้ก็ทำให้ผมหวนคิดไปถึงคำสอนในคริสต์ศาสนาที่ว่า ความรักในเงินตราคือรากเหง้าของความชั่วร้ายทั้งปวง

ไม่ทราบว่าผู้คน และนักการเมืองในประเทศต่างๆ จะสำเหนียกในข้อเตือนใจนี้หรือไม่

บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 21 คำสั่ง