กระดานข่าว Save Our Sea.net
มิถุนายน 18, 2024, 10:48:13 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม: วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน 2551  (อ่าน 1726 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2008, 01:22:36 AM »

กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลงอีก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศากับหมอกเพิ่มมากขึ้นในตอนเช้าขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายในการสัญจร ผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้อ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 องศา สูงสุด 33 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 16-17 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัด ปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลงด้วย ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศอุ่นขึ้น กับมีหมอกเพิ่มมากขึ้นในตอนเช้า สำหรับภาคใต้มีจะมีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจาย และคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 18-22 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่เสริมลง มาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก และอุณหภูมิจะลดลง 2-5 องศา โดยจะมีอากาศหนาวเย็นลง ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกเพิ่มขึ้นและคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น


ข้อควรระวัง

ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 พ.ย. ขอให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา ในวันที่ 19-22 พ.ย. ประชาชนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรรักษาสุขภาพ ส่วนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไประมัด ระวังอันตรายจากสภาวะฝนที่ตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง ส่วนชาวเรือในอ่าวไทยควรระวังอันตรายในการเดินเรือในช่วงเวลาดังกล่าว



* Forecast2.jpg (41.28 KB, 693x430 - ดู 244 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2008, 01:27:17 AM »

มติชน


สถานการณ์ร้อนชาวเล  สภาพปัญหาของชุมชนชาวเลในพื้นที่ต่างๆ

จ.ภูเก็ต

ชุมชนหาดราไวย์ ชาวเลกว่า 200 ครอบครัว สภาพความเป็นอยู่แออัด ทรุดโทรม มีปัญหาเรื่องระบบสาธารณูปโภค ต้องใช้ห้องน้ำร่วมกันในจุดเดียว ไม่มีน้ำประปา-ไฟฟ้าใช้ ที่สำคัญคือผู้อ้างกรรมสิทธิ์บนที่ดินห้ามสร้าง/ปรับปรุงบ้านใหม่ ทั้งที่ชาวเลอยู่กันมานับร้อยปี โดยมีดงมะพร้าวสูงยืนยัน ล่าสุดมีชาวเลถูกฟ้องร้อง 3 รายโดยถูกกล่าวหาว่าสร้างบ้านในที่ดินที่มีผู้แอบอ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้ชาวบ้านได้ถูกปิดเส้นทางไปบ่อน้ำ ที่น่าเป็นห่วงคือปัจจุบันชาวเลที่นี่ต้องประสบปัญหาเรื่องการทำมาหากิน เนื่องจากกระแสท่องเที่ยวที่รุนแรงขัดแย้งกับชีวิตความเป็นอยู่ เพราะถูกมองว่าทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ขัดขวางการท่องเที่ยว ถึงขนาดบางคนเคยถูกตัดสายออกซิเจนขณะลงไปดำปลาที่หน้ารีสอร์ทแห่งหนึ่ง

ชุมชนแหลมหลา มีชาวมอแกน 150 ครอบครัว อยู่กันมานานกว่า 100 ปี โดยอดีตผู้ว่าราชการฯภูเก็ต ระบุว่าได้กันพื้นที่ชุมชนแหลมหลาให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์สำหรับชาวเล แต่เนื่องจากไม่ได้มีการทำหลักฐานหรือเอกสารสิทธิใดๆ ไว้ ต่อมาสำนักงานราชพัสดุได้แจ้งให้ชาวเลเป็นผู้เช่า แต่ชาวเลไม่ยอมและต้องการพื้นที่นี้เป็น "สิทธิร่วมของชุมชน" แต่ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ

ชุมชนบ้านหินลูกเดียว มีชาวมอแกน 50 ครอบครัว อาศัยในพื้นที่ที่เป็นป่าชายเลน และได้สร้างบ้านใหม่หลังประสบภัยสึนามิ และมีกติการ่วมกันในการรักษาป่าชายเลนโดยได้รับการดูแลจาก อบต. ในพื้นที่เป็นอย่างดี แต่ไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยเพราะหวั่นว่าเมื่อเกิดโครงการพัฒนาภูเก็ต ชาวเลกลุ่มนี้จะถูกไล่รื้อได้

ชุมชนสปำ มีชาวอูรักลาโว้ย 36 ครัวเรือน อยู่ในที่ดินของกรมเจ้าท่าแต่อยู่มาก่อนการประกาศของกรมเจ้าท่า จึงมีสิทธิอยู่อาศัยได้ โดยชาวบ้านต้องการให้กันพื้นที่เป็น "สิทธิร่วมของชุมชน" ปัจจุบันมีปัญหาสภาพความเป็นอยู่แออัด และมีเอกชนเข้าไปเลี้ยงหอยแครงหน้าชุมชนทำให้การทำมาหากินยากลำบากขึ้น

ชุมชนสิเหร่ มีทั้งชาวมอแกนและอุรักลาโว้ย อยู่กันอย่างแออัด ปัญหาที่สำคัญคือเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต


จ. พังงา

ชุมชนทับตะวัน มีชาวมอแกน 98 ครัวเรือน อาศัยอยู่มากว่า 100 ปี พื้นที่เป็นชุมชนดั้งเดิมและขุมเหมืองเก่า หลังสึนามิมีเอกชนอ้างกรรมสิทธิ์ นำ นส.3ก. มาขอออกโฉนด แต่ชาวบ้านคัดค้าน ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิ์ฯ ซึ่งเห็นว่าเอกชนออกเอกสารโดยมิชอบ นอกจากนี้ พื้นที่ "ขุมเขียว" ซึ่งเป็นที่จอดเรือและหาสัตว์น้ำของชาวบ้านยังถูกอ้างกรรมสิทธิ์ด้วยและห้าม ชาวบ้านเข้าพื้นที่ทั้งๆ ที่ที่ดินดังกล่าวควรเป็นที่ดินสาธารณะ

ชุมชนทุ้งหว้า มีชาวมอแกน 70 ครัวเรือน อาศัยอยู่กันมาดั้งเดิมโดยมีสุสานบรรพบุรุษยืนยัน แต่หลังสึนามิบ้านเรือนเสียหายทั้งหมดหน่วยงานปกครองท้องถิ่น (อบต.) อ้างสิทธิในพื้นที่ จะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น จนเกิดกระบวนการต่อรอง ทางผู้ว่าราชการจังหวัดใช้อำนาจสั่งการให้ชาวบ้านมีสิทธิอาศัยอยู่ได้อีก 5 ปี และจะเสนอระดับนโยบายให้ชุมชนอยู่ได้อย่างถาวรต่อไป ปัจจุบันผ่านไปกว่า 3 ปีแล้วแต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ จึงทำให้ชาวบ้านรู้สึกถึงความไม่มั่นคงในการอยู่อาศัย

ชุมชนเกาะนก เป็นชาวเลที่อาศัยอยู่กันมานาน แต่รับประกาศเขตป่าสงวนทับที่ดินในย่านนี้ทั้งหมด ชาวบ้านบางราย ถูกฟ้องร้องจากรัฐจนไม่กล้าเข้าไปทำกินในที่ดินของตัวเอง

ชุมชนทับปลา ชาวเลบางส่วนมีที่ดินของตัวเอง เพราะได้ สปก.แต่บางส่วนถูกกว้านซื้อที่ดินไปแล้ว ต้องอาศัยอยู่ในที่ดินของเอกชน ทำให้เกิดความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย ไม่มีน้ำประปา ใช้น้ำบ่อ สภาพความเป็นอยู่ค่อนข้างลำบาก หาเช้ากินค่ำ

ชุมชนซอยสุพรรณบ้านน้ำเค็ม ชาวเล 63 ครัวเรือนอยู่มากว่า 100 หลัง เกิดปัญหาความไม่ชัดเจนในสิทธิของตัวเองทั้งๆ ที่เป็นคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากแต่กลับไม่ได้เอกสารสิทธิ ขณะที่ชาวบ้านกลุ่มอื่นได้รับเอกสารสิทธิหมดแล้ว นอกจากนี้ยังมีผู้มีอำนาจในท้องถิ่นเอาที่ดินบางส่วนซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ ชาวไทยใหม่ไปออกเอกสารสิทธิ์โดยที่ชาวเลไม่กล้าคัดค้านเพราะกลัวอิทธิพล

บ้านขนิม มีชาวมอแกน 34 ครัวเรือน อยู่กันมาราว 200 ปี สภาพชุมชนดั้งเดิมของหมู่บ้านมีความอุดมสมบูรณ์เป็นทุ่งนาและภูเขาสูงซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นป่าทึบ ต่อมาในปี พ.ศ.2516 รัฐบาลประกาศเขตอุทยานทับที่ทำกินของชาวมอแกน และได้มีการออกเอกสารเป็น ภ.ท.บ.5 ให้สิทธิทำกินแก่ชาวมอแกนอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ แต่มีข้อตกลงว่าชาวบ้านต้องเสียค่าภาษีบำรุงท้องที่ไร่ ไร่ละ 3 บาท จนถึงปัจจุบันชาวบ้านไม่สามารถปลูกยางใหม่ทดแทนได้

บ้านคลองญวนใต้ มีชาวมอแกน 13 ครัวเรือน ถูกอุทยานประกาศทับที่ชาวบ้าน


จ. กระบี่

บ้านสังกะอู้ เป็นชุมชนชาวอุรักลาโว้ย บนเกาะลันตาใหญ่ซึ่งได้รับผลกระทบจากสึนามิ โดยทางการพยายามขอให้ชาวบ้านย้ายออกจากที่อยู่เดิมซึ่งอยู่หน้าหาดเพราะต้อง การทำแหล่งท่องเที่ยว โดยระบุว่าจะให้บ้านหลังใหม่ แต่ไม่ยอมเพราะวิถีชีวิตไม่สามารถไปอยู่บนที่สูงและห่างจากฝั่งได้ เพราะต้องดูแลเรือประมง ขณะเดียวกันได้มีองค์กรการกุศลต่างชาติเข้ามาหาชาวบ้านและพยายามเปลี่ยนแปลง ความเชื่อเดิมของชาวเลให้หันไปนับถือศาสนาใหม่ โดยมีเรื่องทุนและความช่วยเหลือต่างๆ เป็นสิ่งล่อใจ สร้างความแตกแยกให้ชุมชน

บ้านแหลมตง เป็นชาวมอแกนบนเกาะพีพี อยู่กันมาก่อนที่เกาะแห่งนี้โด่งดัง ซึ่งก่อนหน้านั้นมีเอกชนจ่ายให้ชาวเลเพื่อขอที่ดิน ซึ่งชาวบ้านรู้เท่าไม่ถึงการณ์ บางส่วนจึงรับมา แต่ชาวบ้านไม่มีที่ไปซึ่งขณะนี้ยังคงอาศัยอยู่ในที่ดินเดิมที่ไม่มีความมั่น คงเพราะมีโรงแรมและสิ่งปลูกสร้างจำนวนมากล้อมรอบ ทำให้ต้องถูกบีบให้อยู่อย่างจำกัด และชาวเลไม่มีทางเลือกใดๆ


เกาะสุรินทร์ ชาวมอแกนอยู่บนเกาะแห่งนี้มากว่าศตวรรษ ปี พ.ศ.2514 กรมป่าไม้ได้ประกาศให้พื้นที่นี้เป็นป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติในเวลาต่อมา ช่วงแรกชาวมอแกนเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่รวมถึงที่ตั้งของอุทยาน แรกที่เดียวชาวมอแกนได้รับอนุญาตให้นำเปลือกหอยสวยงามแก่นักท่องเที่ยวได้ ต่อมาอุทยานสั่งยกเลิก ปัจจุบันชาวบ้านต้องอยู่กันอย่างลำบากเพราะไม่สามารถจับสัตว์น้ำขายได้


จ. ระนอง

ชุมชนเกาะเหลา มีชาวมอแกนกว่า 50 หลังคาเรือนซึ่งได้รับผลกระทบจากสึนามิ และชาวบ้านไม่สามารถหากินกับทะเลได้เพราะถูกอวนรุนอวนลากบุกรุกจึงต้องไปรับ จ้างดำปลิงที่หมู่เกาะนิโคบา ประเทศอินเดีย และระเบิดปลาน่านน้ำพม่าถูกจับ ซึ่งมีความเสี่ยงมาก ขณะนี้ทุกคนยังไม่มีบัตรประชาชน

ชุมชนเกาะพยาม มีชาวมอแกน 21 ครอบครัวส่วนใหญ่ยังไม่มีบัตรประชาชน

บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.367 วินาที กับ 21 คำสั่ง