กระดานข่าว Save Our Sea.net
พฤศจิกายน 01, 2024, 01:58:01 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟ้าหญิงฯเลี้ยงหอยพัด เพื่อนำการพัฒนาสู่ธุรกิจ  (อ่าน 1907 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: มิถุนายน 19, 2007, 12:01:55 AM »


ฟ้าหญิงฯเลี้ยงหอยพัด เพื่อนำการพัฒนาสู่ธุรกิจ
 


หอยพัด... หรือ หอยเชลล์ เป็นสัตว์ น้ำเค็มที่ เปลือกสดสวยใช้เป็นเครื่องประดับได้ ยังไม่ทราบถึงถิ่นกำเนิดที่แน่ชัด เพียงพบแหล่งอาศัย อยู่ในทะเลแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ระดับน้ำค่อนข้างลึกและมีพื้นเป็นทราย...ซึ่งเป็นสัตว์ตัวหนึ่งที่มีรสชาติอร่อย หาเปิบได้ตามร้านอาหารทั่วๆไป

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงโปรดให้เพาะเลี้ยงหอยเชลล์ ชนิด Mimachlamys senatoria ไว้ที่ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนได้ผล สำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ถือว่าเป็นครั้งแรกของโลก... เพราะยังไม่มีประเทศใดดำเนินการทำวิจัยหรือทดลองได้เลย

การเพาะเลี้ยงเริ่มจากใช้ลูกหอยที่เพาะได้เองมาทำการทดลอง โดยครั้งแรกทำในอวนเลี้ยงที่เย็บเป็นชั้นจำนวน 5 ชั้น มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 เซนติเมตร สูง 12 เซนติเมตร นำไปแขวนที่ความลึก 1-3 เมตร ในความหนาแน่นที่ 10, 20, 30, 40 และ 50 ตัวต่อชั้น...

จนได้ข้อมูลว่าอัตราการเลี้ยง 10-20 ตัวต่อชั้น หอยจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุด... ต่อมาจึงได้ทดลองเลี้ยงในตะกร้าพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์ กลาง 14.5 เซนติเมตร สูง 14.0 เซนติเมตร ด้วยความหนาแน่น 5, 10 และ 15 ตัวต่อตะกร้า ในการเลี้ยงที่ความลึก 3 เมตร

การศึกษาผลสรุป ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของหอยเชลล์ 9 ชนิด (8 ชนิดของประเทศไทย อีก 1 ชนิดจากประเทศอินโดนีเซีย) นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจมาก เนื่องจากที่ผ่านมาการจำแนกหอยเชลล์มีปัญหา โดยมีการจำแนกจากลักษณะภายนอกและจากตัวอ่อน ทำให้เกิดผลที่ได้ออกมาขัดแย้งกัน จึงต้องใช้เครื่องหมายทางพันธุกรรมเข้ามาช่วยสนับสนุน



ผลการศึกษานี้ได้ยืนยันระบบการจัดกลุ่มหอย ทราบว่า หอยเชลล์ในแถบอินโดแปซิฟิก มีความผันแปรของลำดับนัวคลีโอไทด์ของยีนในไมโตคอนเดรีย และยีนในนิวเคลียส รวม 4 ยีน ทำให้ทราบว่าหอยทั้ง 9 ชนิด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม จัดอยู่ในครอบครัวย่อย คือ Pectininae และ Chlamydinae โดยใช้ micros culpture ของเปลือกหอย และลักษณะสัณฐานวิทยาของหอยขนาดเล็ก เป็นการค้นพบวิวัฒนาการของหอยเชลล์ในโลกนี้ชัดเจนขึ้น

รวมทั้งยังเป็นข้อเตือนใจให้รักเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจำพวกหอยเชลล์ ที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ เพราะหอยเชลล์มีความคล้ายคลึงกันมาก อีกทั้งยังแพร่กระจายอยู่ในพื้นที่เดียวกัน หากไม่สังเกตหรือตรวจสอบได้ดี อาจจะนำหอยเชลล์ที่ไม่ใช่เป้าหมายมาเพาะเลี้ยง จนกลายเป็นผลเสียและมีความน่าเป็นห่วงในการผสมข้ามชนิดโดยไม่ได้ตั้งใจ

ในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในชนิดของหอยเชลล์ชนิด Amusium pleuro nectes ซึ่งเป็นหอยเชลล์ชนิดเดียวที่มีการจับเป็นการค้าในประเทศไทย ทำให้หอยเชลล์ชนิดนี้มีปริมาณลดลง จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดการประมงที่ถูกต้อง รวมทั้งได้ทราบว่า ประชากรหอยเชลล์ในจังหวัดจันทบุรีมีความหลากหลายสูงที่สุด รองลงมาคือ ตราด เพชรบุรี ระยอง กระบี่ และ นราธิวาส

ที่สำคัญยังพบว่า ประชากรหอยเชลล์เกิดจากพ่อแม่พันธุ์เพียงไม่กี่ตัว แม้ว่าจะมีจำนวนมากก็ตาม ดังนั้น จึงได้ทราบว่าหากหอยปรับตัวไม่ดี เมื่อธรรมชาติเปลี่ยนแปลงหรือปัญหาเกิดสิ่งแวดล้อมไม่ดี หอยอาจจะไม่สามารถอยู่รอดได้

สำหรับประชากรหอยเชลล์ในอ่าวไทยนั้น มีความแตกต่างจากทะเลอันดามันอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งยังทราบว่าหอยทั้งสองฝัางแยกจากกันมานานกว่า 1.3 ถึง 1.5 ล้านปีมาแล้ว

ฉะนั้น การศึกษาวิจัยนี้ จึงกลายเป็นข้อเสนอแนะว่า ไม่ควรมีการขนย้ายประชากรหอยเชลล์จากฝั่งอ่าวไทยไปฝั่งทะเลอันดามัน เพราะอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรม


จาก     :     ไทยรัฐ   วันที่ 19 มิถุนายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.025 วินาที กับ 21 คำสั่ง