กระดานข่าว Save Our Sea.net
พฤษภาคม 30, 2024, 08:02:56 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การจัดการเขตพิทักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ของ ราชา อัมพัต (Raja Ampat)  (อ่าน 7119 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: ตุลาคม 16, 2007, 09:59:28 AM »


ผมไปอ่านพบเรื่องนี้จาก Web Magazine ชื่อ “Underwater Photography”  Issue 38  Sept/Oct 2007    ซึ่งผมได้สมัครเป็นสมาชิกมาเป็นปีแล้ว โดยใช้วิธี download ไฟล์สกุล pdf จาก www.uwpmag.com มาเก็บไว้ในเครื่องที่บ้าน

วันนี้ พอมีเวลานั่งอ่าน และเห็นว่าน่าสนใจดี จึงสรุปจับใจความออกมาถ่ายทอดให้เพื่อนๆได้รับทราบกัน ...... ส่วนจะน่าสนใจอย่างไร ลองอ่านดูก่อนนะครับ แล้วค่อยมาถกกันตอนท้าย ........




ราชา อัมพัต (Raja Ampat) ประกาศเขตพิทักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ 7 แห่ง พร้อมกับออกบัตรอนุญาตรุ่นใหม่

ตามที่ได้มีการประกาศจัดตั้งเครือข่ายของเขตพิทักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ 7 แห่งไปเมื่อต้นปีนี้  รัฐบาลของราชา อัมพัต ในจังหวัดปาปัวตะวันตก ของประเทศอินโดนิเซีย ได้ประกาศที่จะใช้ระบบบัตรอนุญาตรายปีสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือน  บัตรที่ทำด้วยพลาสติคนี้จะมีอายุ 13 เดือน โดยนับเริ่มจากวันแรกของแต่ละปีปฏิทิน และมีราคา 500,000 รูเปียห์ หรือ US$55 หรือเท่ากับ 1,950 บาทโดยประมาณ สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และ250,000 รูเปียห์ หรือ US$22 หรือเท่ากับ 770 บาทโดยประมาณ สำหรับคนอินโดนิเซีย

70 % ของเงินจากการขายบัตรจะถูกนำไปบริหารโดยหน่วยงานต่างๆเพื่อใช้ในโครงการด้านการอนุรักษ์  ด้านการควบคุมบังคับใช้กฎหมายและโครงการอื่นๆของชุมชน  ส่วน 30 % ที่เหลือ จะถูกนำส่งให้กับกระทรวงการท่องเที่ยวเพื่อใช้ในงานด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว

รัฐบาลท้องถิ่นได้รับความช่วยเหลือด้านการให้คำแนะนำในการจำแนกพื้นที่สำคัญๆที่ควรได้รับการอนุรักษ์จาก 3 NGO ใหญ่ๆคือ Conservation International,  The Nature Conservancy  และ WWF  โดยที่ เขตพิทักษ์พันธุ์สัตว์น้ำทั้ง 7 แห่งสามารถครอบคลุมได้ถึง 45% ของแนวปะการังและระบบนิเวศชายฝั่งหลักๆของราชา อัมพัต



* 02.jpg (86.96 KB, 600x428 - ดู 1011 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2007, 10:00:33 AM »


ราชา อัมพัตได้กลายเป็นแหล่งดำน้ำที่คนทั่วไปกล่าวถึงตลอด 2 – 3 ปีที่ผ่านมา พร้อมๆกับการประกาศการค้นพบสปีซี่ใหม่ของปลาและสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังถึง 60 สปีซี่ที่สำรวจโดยนักวิทยาศาสตร์อินโดนิเซียและต่างชาติ   พื้นที่ที่ประกอบด้วยเกาะ 610 เกาะ กินพื้นที่กว่า 50,000 ตารางกิโลเมตรนั้น  เต็มไปด้วยทิวทัศน์ที่งดงามและปกคลุมไปด้วยป่าทึบเป็นส่วนมาก

ความที่ตั้งอยู่ไกลจากความเจริญและมีจำนวนประชากรน้อย ทำให้พื้นที่ใต้น้ำบริเวณนี้ คงความมีเสน่ห์และความหลากหลายเอาไว้ได้  แนวป่าโกงกางที่ยืนต้นเรียงรายอยู่ตามแนวปะการังอันเก่าแก่เป็นที่รวมของฝูงปลาสารพัดสีและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีที่ใดในโลกเทียบได้  นอกจากนี้ ราชา อัมพัตยังได้ถูกขนานว่าเป็น “แนวปะการังที่มีความสมบูรณ์ตามธรรมชาติมากที่สุด” 



* 03.jpg (44.2 KB, 297x201 - ดู 837 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2007, 10:01:20 AM »


จริงๆแล้ว  บริเวณนี้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุดเท่าที่เคยถูกบันทึกมา  มีเกือบ 1,200 สปีซี่ของปลาและ 540 สปีซี่ของปะการังที่ถูกพบ นับเป็นประมาณ 70% ของสปีซี่ของปะการังทั่วโลก  เหล่านักดำน้ำต้องตะลึงกับปลามากมายหลายชนิดที่ได้พบเห็น และ ดร.เกอร์รี่ อัลเลน  นักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง เคยบันทึกไว้ว่า เขาได้พบปลาถึง 284 สปีซี่ในไดฟ์เดียว

เหล่า NGO นานาชาติยังคงทำงานร่วมกับหน่วยราชการของราชา อัมพัต ในการพัฒนาแผนการจัดการสำหรับแต่ละเขตพิทักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ  และ The Coral Reef Alliance (CORAL) จะคอยให้คำแนะนำด้านการพัฒนาและการทำให้เป็นที่ยอมรับของระบบบัตรอนุญาตรายปีนี้ และจะคอยดูแลแนะนำไปจนถึงช่วงที่นำออกใช้จริงอีกด้วย



* 01.jpg (33.52 KB, 318x413 - ดู 798 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2007, 11:00:09 AM »

เพื่อให้เห็นภาพความงามและความอุดมสมบูรณ์ของ Raja Ampat ซึ่งอยู่ในจังหวัด Irian Jaya ประเทศอินโดนีเซีย ได้อย่างชัดเจนขึ้น เชิญอ่านเรื่องและชมภาพของที่นี่ได้ที่.....


http://www.saveoursea.net/oldboard/viewtopic.php?t=654&sid=7c6655ae3c4eefdb4873799675c1e100
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 28, 2008, 04:43:31 AM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2007, 01:29:32 AM »

  น้องที่รู้จัก .. เค้าชวนไปที่นี่แหละ .. แต่ว่างบประมาณ สุดยอด.. แทบสลบ ..
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2007, 01:49:25 AM »


จริงๆแล้ว .... เรื่องนี้มีเรื่องให้ติดตามอยู่ 2 ประเด็นครับ คือ
1. การประกาศบางพื้นที่ให้เป็นเขตคุ้มครองสัตว์น้ำ
2. การทำบัตรอนุญาตรายปี สำหรับเข้าไปในพื้นที่อนุรักษ์

.................................................................................................


1. การประกาศบางพื้นที่ให้เป็นเขตคุ้มครองสัตว์น้ำ ถึง 7 แห่ง ......

....... ถ้าใครเคยไปดำน้ำที่อินโดนิเซีย คงจะพอทราบดีว่า อินโดนิเซียมีเกาะแก่งมากมายหลายพันเกาะ  Raja Ampat ที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะปาปัวก็เช่นเดียวกัน  มีเกาะแก่งมากมาย  อยู่ใกล้กันบ้างห่างกันบ้าง  แต่ที่แน่ๆคือ มีประชากรน้อย และห่างไกลความเจริญ  การทำประมงพื้นบ้านก็ยังเป็นแบบดั้งเดิมคือ ทำมาหากินกันอยู่แถวแนวปะการังหน้าหมู่บ้านนั่นเอง  แต่ความที่มีจำนวนประชากรน้อยและการที่อยู่ไกลความเจริญจึงทำให้ขาดเครื่องไม้เครื่องมือในการทำประมงที่ทันสมัยและล้างผลาญไปด้วย ทำให้การทำลายสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติจึงอยู่ในระดับต่ำ และความสวยงามของแนวปะการังและความหนาแน่น หลากหลายของสัตว์น้ำจึงยังคงอยู่ค่อนข้างสมบูรณ์  ใต้ทะเลของ Raja Ampat จึงเรียกได้ว่า ค่อนข้างดิบมากๆ เป็นสวรรค์ของนักชีววิทยาทางทะเลและนักถ่ายภาพใต้น้ำเลยทีเดียว

..... แต่ไม่ได้หมายความว่า  จะไม่มีคนที่ทำประมงแบบล้างผลาญเสียเลย  อย่างที่ผมเคยเสนอข่าวสั้นๆไปเมื่อเร็วๆนี้  ที่เรือของนักวิทยาศาสตร์ที่ไปทำการสำรวจพบเรือประมงลำเล็กๆ 2 ลำ ที่ในเรือเต็มไปด้วย "หูฉลาม"  ส่วนตัวฉลามที่ไม่มีครีบ ถูกโยนทิ้งลงไปในทะเล
http://www.saveoursea.net/boardapr2007/index.php?topic=93.0




ข้อสงสัยของผมจึงอยู่ที่ว่า รัฐบาลท้องถิ่นจะควบคุมดูแลพื้นที่อนุรักษ์ทั้ง 7 แห่ง ที่ประกอบด้วยเกาะเป็นร้อยๆเกาะ ไม่ให้มีการทำประมงผิดกฎหมายให้เข้มงวดได้อย่างไร   รัฐบาลท้องถิ่นที่ยากจนจะเอากำลังคนและงบประมาณมาจากไหนมาใช้ในการควบคุมดูแล  

ดูอย่างของเมืองสารขันธ์สิครับ .... ขนาดประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ มีเกาะในพื้นที่เพียงไม่กี่เกาะ ยังดูแลกันไม่ได้ ปล่อยให้เล็ดลอดเข้ามาลักลอบทำประมงได้เลย ที่กล้าพูดเพราะพบทั้งซากเศษอวนและร่องรอยของการระเบิดปลาตามแนวปะการังชายเกาะอยู่เสมอ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 17, 2007, 03:20:38 AM โดย สายน้ำ » บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #6 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2007, 02:28:01 AM »


อีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องการทำบัตรอนุญาตรายปี สำหรับเข้าไปในพื้นที่อนุรักษ์ .....

เรื่องแบบนี้ไม่ใช่ของใหม่  สองสายเคยไปดำน้ำที่ Manado ผ่านมาประมาณ 10 ปีได้แล้ว  การดำน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ภายในบริเวณ Bunaken National Marine Park ซึ่งผู้ประกอบการดำน้ำหรือรีสอร์ทจะต้องให้นักดำน้ำลงทะเบียน เหมือนเช็คอินเข้าพักโรงแรม และชำระเงินสำหรับซื้อบัตรอนุญาตเข้าไปดำน้ำในเขตอุทยาน  เขาจะออกบัตรกึ่งแข็ง เป็น Tag ผูกติดไว้กับ BC  และเมื่อออกไปดำน้ำ จะมีเจ้าหน้าที่อุทยานมาตรวจ เช็คจากหมายเลข Tag ว่ามีการลงทะเบียนถูกต้องหรือไม่และคล้ายๆกันคือ Tag นี้จะมีอายุ ถ้าจำไม่ผิดคือ 6 เดือน  เรียกได้ว่า ถ้าเรากลับมาดำน้ำภายในระยะเวลาดังกล่าว เราไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมซ้ำอีก

วิธีนี้  นอกจากจะได้รายได้จากค่าธรรมเนียม ที่รายได้ต้องมาแบ่งเป็นสัดส่วนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆแล้ว  เขายังสามารถควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวดำน้ำที่เข้ามาในเขตอุทยานให้อยู่ในระดับที่อุทยานสามารถรับได้ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว และจากการลงทะเบียน ทำให้สามารถรู้ว่าใครเป็นใครที่เข้ามาดำน้ำในช่วงนั้นๆ และใครเป็นผู้ให้บริการ ทั้งดำน้ำและที่พัก หากมีเหตุอะไรเกิดขึ้น สามารถระบุได้อย่างชัดเจน

การออกบัตรอนุญาตเป็นแบบ Tag ของ Raja Ampat ก็คงจะมีวิธีการและวัตถุประสงค์ที่ใกล้เคียงกันกับของ Manado

แต่ที่เมืองสารขันธ์ (อีกแร๊ะ) ...... เขาใช้วิธีไปถึงประตูบ้านแล้วค่อยซื้อตั๋ว ที่เรียกว่าตั๋วคือ เหมือนตั๋วรถเมล์หรือทางด่วน (ตั๋วหนังยังดูดีกว่า)   ไม่มีการลงทะเบียน  ไม่มีการแจ้งล่วงหน้า  ทางอุทยานแต่ละแห่งจึงไม่มีทางทราบได้ว่า ในแต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในเขตอุทยานกี่คน  ใครเป็นใครบ้าง  ใครเป็นคนพามา  มาทำอะไรกันบ้าง  สิ่งอำนวยความสะดวกและเจ้าหน้าที่ในแต่ละอุทยานมีเพียงพอที่จะรับได้หรือไม่  .......

เมื่อไม่สามารถรู้อะไรล่วงหน้าเลยซักอย่าง  เหตุการณ์ที่นักท่องเที่ยวล้นอุทยานจึงเกิดขึ้นให้เห็นเป็นประจำไม่ว่าจะเป็นในทะเลหรือในป่าบนเขา  อาหารไม่เพียงพอ  ส้วมเน่า  ขยะเกลื่อน  ความเสื่อมโทรมจึงตามมาอย่างช่วยไม่ได้  เจ้าหน้าที่ก็มัวแต่ปวดหัวกับการขายตั๋วเข้าอุทยาน  คอยรับรองบริการนักท่องเที่ยว  จึงทำให้พวกบุกรุกจับสัตว์ป่า  ลักลอบตัดไม้   ลักลอบทำประมงผิดกฎหมาย ทำลายแนวปะการัง เอ้อระเหยเข้ามาทำอะไรตามใจชอบในเขตอุทยานได้เรื่อยๆ

อยากแนะนำให้ ลองนำวิธีขาย Tag ล่วงหน้า - มีการลงทะเบียนนักท่องเที่ยว - ลงทะเบียนผู้ให้บริการนักท่องเที่ยว - มีการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยว มาลองใช้ดูบ้างในบ้านของเรา  อาจจะขลุกขลักบ้างในระยะแรก แต่ถ้าจัดระเบียบให้ดี ไม่น่าจะมีปัญหานะครับ

จะบ่นไปทำไมเนี่ย เสียงเล็กๆจะมีใครฟัง .... ถ้าจะทำให้สำเร็จ  สงสัยต้องไปตั้งพรรคการเมือง  ตั้งตัวเป็นหัวหน้าพรรค และต้องเป็นนายกฯ ล่ะมั๊ง 

บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
early bird
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3


« ตอบ #7 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2007, 03:38:46 AM »

ขอคำแนะนำครับ
ถ้ามีโอกาสเลือกไประหว่าง Derawan vs Raja Ampat
บันทึกการเข้า
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #8 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2007, 04:12:56 AM »

  เป็นคำถามเดียวกะที่พิงค์ถามตัวเองเลย..แต่งบประมาณที่จะไป raja ampat vs derawan มันต่างกันเยอะพอควร.. 


สรุปสุดท้าย..เลือกอันหลัง..
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #9 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2007, 11:55:09 AM »


ค่าใช้จ่ายของทั้งสองแห่งมันต้องต่างกันแน่นอนเลยครับ .....

Raja Ampat จะเป็น Liveaboard  เพราะต้องเดินทางข้ามเกาะไกลจากกันมากเหมือนกัน  ส่วน Derawan - Kakaban - Sangalaki จะพัก Resort และ ใช้ Speedboat พาออกไปดำน้ำแบบเดียวกับ Sipadan

แต่ถ้าจะให้บอกว่าควรไปที่ไหน ..... คงต้องตอบว่า ถ้ามีปัญญา ควรไปทั้ง 2 แห่ง เพราะไม่ค่อยจะมีอะไรคล้ายกันสักเท่าไหร่  ลองอ่านเรื่องและดูภาพของ Raja Ampat ตาม link ที่คุณสายชลแปะไว้ให้ข้างบน  ส่วน Derawan ต้องไปอ่านที่นี่ครับ http://www.saveoursea.net/cgi-bin/webboard/generate.cgi?content=0015&board=board_1

Maratua ครับ    :    http://www.saveoursea.net/cgi-bin/webboard/generate.cgi?content=0055&board=board_1

Kakaban    :       http://www.saveoursea.net/cgi-bin/webboard/generate.cgi?content=0054&board=board_1

ส่วน Sangalaki นั้น  Highlight จะอยู่ที่การไป Skin Diving ดู Manta Ray  และถ่ายภาพยาก จึงไม่มีให้ดูครับ

บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายรุ้ง
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 838


« ตอบ #10 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2007, 09:23:53 AM »

โอ๊ย โอ๊ย โอ๊ย พี่สองสายขา ใจจะขาดแล้วเจ้าค่ะ  แค่คลิกตามลิงค์ไปที่    Raja Ampat ที่ เดียว หนูก็จะหัวใจวายตายด้วยความสวยของ Raja Ampat แล้วหล่ะค่ะ หนูเเปิดอ่านทั้ง 3 ลิงค์เปิดไป เปิดไป ได้แต่ร้องในใจว่า อยากไป อยากไปจังเลย สวยๆทั้งนั้น เลย ขนาดไปลงน้ำลึกยังสวยอย่างนี้  ชอบ ชอบ ถึง ชอบมากที่สุดเลยค่ะ  พี่สองสายไปกันมาตั้ง 4 กว่าปี แล้ว ว่าแต่ตอนนี้ยังสวยแบบนั้นอยู่หรือเปล่าค่ะ

ภาพทั้งของพี่สายสอง และ ของ พี่ foot fish สวยมากๆเลย  ทำให้มีความฝัน ฝัน หวานอีกแล้วว่า ชีวิตนี้ ฉันขอไปเห็นบ้างดีกว่า ว่าแล้วคงต้องนั่งเก็บ กะตัง กับ กล่อม หมู่เฮา  ให้เข้ามาชมและร่วมทางไปด้วยกัน  แต่สงกะสัยว่าต้องเก็บกะตังนานแน่เลย คงจะหลายอยู่ใช่ไหมค่ะ  อ่านเรื่องของพี่สองสายแล้วสนุกมากๆค่ะ

เห็นสนามบินแล้ว ทำให้นึกถึงสนามบินของหลวงพระบางเมื่อสมัย 10 กว่าปี ก่อน ก็ประมาณนี้เลยค่ะ ต้องไปยืนรอเครื่องบินกันใต้ต้นมะขาม (จริงๆนะค่ะ)

ขอบคุณพี่สายน้ำที่นำภาพ  NUDI แสนหวานมากกกกกกกก ที่ Mr.Harry เรียกให้ถ่าย มาให้ชมนะค่ะ ชอบตัว สีฟ้าหวานๆ ตัวนั้นมากเลยค่ะ (สีโปรด) ไม่เคยเห็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นสีฟ้าหวานๆแบบนี้มาก่อนเลย    กับ NUDI ตัวสีม่วง ตอนเปิดมาเจอ ร้องกรี๊ดในใจ สวยจังเลย  ขนาดไม่ใช่สีโปรดก็ยังชอบเลยค่ะ    แต่ที่ต้องอมยิ้ม ทันทีที่ดูและอ่านจบคือ หนูดีเปิดกระโปรง พรึ่บ!!! ของพี่สายน้ำนี่หล่ะค่ะ 

ทำให้สงกะสัยว่า ทำไม เด็กผู้ชายทุ้กกกคน  ถึงชอบดูตอนเด็กผู้หญิงโดนเปิดกระโปรงนักเรียนกัน   ( เอ เกี่ยวอะไรกับหนูดี ใต้น้ำเนี่ย)

มีคำถามค่ะว่า  Wobbegong ที่ถ่ายได้ที่  Paradise Rock  เค้าเป็นปลาหรือเปล่าค่ะ เห็นตัวแบนๆ ยังกะถูกสิบล้อทับ

อ้อ ลืมบอกไปค่ะว่า ทีแรกที่พี่สองสายบอกว่า หอยมือเสือตัวใหญ่ขนาดสิ่งที่ใส่ตัวเราเมื่อเราไม่อยู่ในโลกนี้แล้ว  อันดับแรก งง เลยค่ะ ว่าจริงหรือค่ะพี่ แต่พอเห็นพี่สายชลเทียบขนาดแล้ว ถึงกับ โอ้โห เลยค่ะ

อยากบอกพี่สายน้ำว่า หนูก็รู้สึกว่าตัวเองเริ่มชอบความน่ารักของเพรียงหัวหอม ตามพี่สายน้ำแล้วหล่ะค่ะ โดยเฉพาะ ที่มีก้านสีส้มๆ น่ารักที่สุด

ขอบคุณพี่ทั้งสองมากๆนะค่ะที่นำเรื่องดีๆมาให้พวกเราได้เรียนรู้โลกกว้างใบนี้ทั้งบนบก และใต้ทะเล 

แล้วจะพยายามตามฝันนี้ให้เจอในโลกแห่งความเป็นจริงค่ะ ....สาธุ 
บันทึกการเข้า
frappe
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1114



« ตอบ #11 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2007, 03:33:53 PM »

ขอบคุณคับพี่สองสายที่แนะนำสถานที่ดำน้ำที่น่าไปในโลกนี้มาฝาก
อยากไปทั้งสองที่เลยคับ แต่ด้วยงบประมาณแล้วคงต้องตั้งต้นกินแกลบไปก่อน
ยิ่ง Raja Ampat ด้วยแล้ว...นี่สงสัยได้ดองใส่ขวดโหลอีกนาน....เอิ๊กส์
บันทึกการเข้า

มีใจเป็นมิตร มีจิตเป็นเพื่อน
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #12 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 01:52:17 AM »

อยากไปทั้งสองที่เลยคับ แต่ด้วยงบประมาณแล้วคงต้องตั้งต้นกินแกลบไปก่อน
ยิ่ง Raja Ampat ด้วยแล้ว...นี่สงสัยได้ดองใส่ขวดโหลอีกนาน....เอิ๊กส์



สงสัยเราต้องจับมือร่วมกันแล้วมั๊งเป้..
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
frappe
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1114



« ตอบ #13 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2007, 04:53:09 PM »

จับมือร่วมกันตุนแกลบเหรอพี่...   
บันทึกการเข้า

มีใจเป็นมิตร มีจิตเป็นเพื่อน
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.124 วินาที กับ 21 คำสั่ง