กระดานข่าว Save Our Sea.net
มิถุนายน 15, 2024, 03:07:12 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เบี้ยน้อย หอยน้อย  (อ่าน 3223 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2008, 12:54:14 AM »


เบี้ยน้อย หอยน้อย                         วินิจ รังผึ้ง



       "ยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ดเช่นนี้ คน “เบี้ยน้อยหอยน้อย” อย่างเราคงต้องประหยัดกันให้มากเข้าไปอีกทั้งที่ไม่รู้จะประหยัดอะไรกันแล้ว"
       
       เด็กรุ่นใหม่หลายๆคนคงเคยได้ยินคำพูดทำนองนี้จากคุณแม่กันบ่อยๆในช่วงนี้ แล้วก็คงเกิดคำถามขึ้นในใจว่า เอ...ทำไมเศรษฐกิจไม่ดีแล้วไปเกี่ยวอะไรกับ "หอย" กับ "เบี้ย" ล่ะ ว่าแล้วก็แบมือขอ "เบี้ยเลี้ยง" ประจำวัน ก่อนออกจากบ้านโดยไม่ค่อยสนใจใยดีกับคำตอบเท่าใดนัก
       
       ความจริง "เบี้ย" หรือ "หอยเบี้ย" นั้นเป็นหอยทะเลที่มีเปลือกสวยงามชนิดหนึ่ง เป็นหอยฝาเดียวที่คนสมัยโบราณนำมาใช้แทนเงินตรามาเนิ่นนานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในชุมชนโบราณหลายภูมิภาคของโลก เช่นในแถบทะเลแคริเบียน เยอรมันนี ลิธัวเนีย ชายฝั่งทวีปอเมริกา แอฟริกา และอินโด-แปซิฟิก รวมทั้งประเทศไทยที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเรียกกันว่า "เบี้ยจั่น" โดยหอยเบี้ยที่นำมาใช้แทนเงินตรานั้นเป็นหอยเบี้ยชนิดที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cypraea moneta ซึ่งเป็นหอยเบี้ยขนาดเล็ก มีสีขาวอมเหลืองนวลอ่อนๆ คำว่า "moneta" ภาษาลาตินนั้นก็หมายถึงเงินตรานั้นเอง ส่วนชื่อสามัญนั้นก็เรียกว่า money cowrie นั่นเอง
       
       บางคนคงสงสัยว่าถ้าใช้หอยเบี้ยแทนเงินกันแล้ว ชาวประมงมิเป็นมหาเศรษฐีกันหมดหรือ ก็ต้องบอกว่าหอยเบี้ยชนิดนี้ก็ไม่ใช่ของหาง่าย โดยสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นต้องนำเข้าจากแถวหมู่เกาะมัลดีฟ ศรีลังกา อินเดีย ซึ่งผมไปค้นเจอข้อมูลที่คุณ "หอยทากชรา" เขียนไว้ในเว็บไซต์ www.siamensis.org  กล่าวถึงในสมัยที่ใช้หอยเบี้ยแทนเงินตรากันนั้น ก็ยังอุตส่าห์มีพ่อค้า นายทุนหากินกับการค้า การกักตุนและเก็งกำไรในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรากันมาตั้งแต่สมัยโบราณกันแล้ว โดยในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนั้น บรรดาพ่อค้า นายทุน ทำตัวเป็นจอร์จ โซรอส กักตุนเบี้ยไว้เพื่อปั่นราคา จนเกิดการขาดแคลนเบี้ยไปหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ทำให้เงินเบี้ยมีราคาแข็งค่าคล้ายๆเงินบาทในทุกวันนี้
       
       พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงดัดหลังพวกพ่อค้าด้วยการออกเงินตราดินเผาตีตราขนาดต่างๆขึ้นมาใช้เป็นเงินตราร่วมกับเบี้ย ทำให้ค่าของเบี้ยตกรูดจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อยู่ราวๆ 800 ตัวต่อเฟื้อง อ่อนค่าลงไปถึง 1,600 ตัวต่อเฟื้อง จนบรรดาพ่อค้านายทุนตัวแสบขาดทุนย่อยยับไปตามๆกัน (สมน้ำหน้า) ค่าของเบี้ยยังคงขึ้นๆลงๆ ตามยุคตามสมัย จนในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้มีการกำหนดค่าของเบี้ยไว้ในอัตราแลกเปลี่ยนไม่เกิน 400 ตัวต่อเฟื้องเพื่อป้องกันความผันผวน คล้ายๆกับระบบการกำหนดค่าเงินตายตัวที่บางประเทศใช้กันในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการใช้เบี้ยแทนเงินตราก็ถูกยกเลิกไปในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4
       
       แม้นหอยเบี้ยจะไม่มีราคาค่างวดเท่าใดในปัจจุบัน ยกเว้นหอยเบี้ยบางชนิดที่เปลือกหอยสวยๆและหายากซึ่งนักสะสมซื้อขายกันตัวละเป็นล้าน แต่ในโลกใต้ท้องทะเลนั้นหอยเบี้ยตัวเล็กๆก็นับเป็นชีวิตที่สวยงามต้องตาต้องใจนักดำน้ำเป็นอย่างยิ่ง หอยเบี้ยขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ และกินสัตว์เป็นอาหารนั้น นักวิชาการเขาเรียกมันว่าเป็นหอยเบี้ยเทียม ส่วนหอยเบี้ยทั่วไปที่มีขนาดใหญ่จะกินสาหร่ายเป็นอาหาร แต่รูปร่างหน้าตาก็จะดูรู้ว่าเป็นหอยเบี้ยเช่นกัน ซึ่งหอยเบี้ยตัวโตๆขนาดกำปั้นก็มีให้เห็นโดยส่วนใหญ่จะชอบอาศัยอยู่บนซอกหลืบหิน หรือบนลานหินที่มีสาหร่ายขนาดเล็กครอบคลุมอยู่
       
       บางครั้งก็เจอเป็นคู่คืบคลานจู่จี๋กันอย่างมีความสุขตามประสาหอยๆ แม้นเปลือกของหอยเบี้ยเหล่านี้จะมีลวดลายสวยงาม มีเปลือกเป็นมันวาว แต่นักดำน้ำกลับเป็นคนละกลุ่มกับนักสะสมเปลือกหอย การดูการเห็นมันคืบคลานในท้องทะเลนั้นเป็นภาพที่สวยงามและมีชีวิตชีวากว่า การเก็บมันกลับขึ้นมาอาจจะเป็นของมีค่าตัวละ 10 บาท 100 บาท แต่ก็จะเป็นการทำลายวงจรชีวิตของบรรดาหอยเบี้ยเหล่านี้ไปอย่างน่าเสียดาย และน่าเห็นใจบรรดาเพื่อนใต้ทะเลเหล่านี้
       
       ก็ลองคิดดูสิครับ หอยเบี้ยหนุ่มตัวหนึ่งกว่าจะคืบคลานอย่างเชื่องช้าไปตามพื้นทะเลกว้าง โอกาสจะคลานไปพบเจอหอยเบี้ยสาวสักตัวก็เป็นเรื่องยากเต็มทีเหมือนงมเข็มในมหาสมุทร ยิ่งเราไปเก็บตัวใดตัวหนึ่งขึ้นมาอีก โอกาสของบรรดาหอยเบี้ยทั้งหลายที่จะได้มาพบรักกันเพื่อสืบสานเผ่าพันธุ์ก็ยิ่งน้อยลงไป คงเป็นเรื่องเศร้าของเหล่าหอยทั้งหลายยิ่งนัก
       
       การดำน้ำในเวลากลางคืนหรือที่เรียกว่าไนท์ไดฟ์นั้น นับเป็นโอกาสทองที่จะได้พบบรรดาหอยเบี้ย โดยเฉพาะหอยเบี้ยเทียมที่อาศัยอยู่กับกอปะการังอ่อน ซึ่งปะการังอ่อนสีชมพูสดใส สีแดงจัดจ้าน สีม่วง สีเหลือง ซึ่งดูโดยทั่วไปแล้วก็มีลักษณะคล้ายกับต้นไม้แสนสวย เพราะมีลำต้นอวบน้ำสีขาวหยัดยืนแตกกิ่งก้านสาขาออกไป ปลายยอดมีพุ่มยอดคล้ายดอกสีสันสดใส ดูมุมไหนก็เหมือนต้นไม้ดอกไม้
       
       แต่ในความจริงแล้วมันเป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่ง เป็นชีวิตเล็กๆที่รวมตัวกันอยู่ช่วยกันสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่เป็นลำต้น เป็นกิ่งก้านขึ้นมา ปะการังที่เป็นสัตว์ทะเลเหล่านี้ จะชูช่อเอิบอิ่มเบ่งบาน เพื่อที่จะอ้ารยางค์แขนเล็กๆ จับกินแพลงก์ตอนที่ล่องลอยมากับกระแสน้ำเป็นอาหาร และเมื่อเราส่องไฟฉายเข้าไปพินิจพิเคราะห์ใกล้ๆก็จะพบว่า บนลำต้นและกิ่งก้านปะการังอ่อนนั้น ยังมีสรรพชีวิตชนิดอื่นๆ อาศัยใช้กิ่งก้านและลำต้นของปะการังอ่อนเห่านั้นเป็นบ้านที่แสนจะอบอุ่นและปลอดภัย โดยเราอาจจะพบปูแมงมุมขนาดเล็กขายาวเดินไต่ไปมาหาอาหาร และโชคดีอาจจะพบปูลูกกวาด ที่มีลักษณะหน้าตาปุ่มป่ำเป็นเหลี่ยมเป็นมุมและสีสันลวดลายบนลำตัวที่มีลักษณะและสีสันคล้ายกับช่อปะการังอ่อน ซึ่งหากดูเผินๆ มองผ่านๆ ก็คงจะไม่สามารถสังเกตเห็น เรียกว่าเป็นการพัฒนาการพรางตัวที่เป็นสุดยอดจริงๆ เพราะไม่รู้ว่าบรรพบุรุษของเจ้าปูลูกกวาดหรือปูปะการังอ่อนเหล่านี้ใช้เวลามากมายเท่าใดกว่าจะพัฒนาสายพันธุ์จนเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาจนแทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของปะการังอ่อนอย่างที่เห็นเช่นนี้
       
       นอกจากการพบปูปะการังอ่อนที่นับเป็นโชคดีแล้ว สิ่งที่เป็นสุดยอดของการเสาะแสวงหาขุมทรัพย์ตามกอปะการังอ่อนอีกอย่างหนึ่งก็คือ การค้นพบเจ้าหอยเบี้ยปะการังอ่อนซึ่งเป็นหอยเบี้ยเทียมชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ตามลำต้นและกิ่งก้านของปะการังอ่อนสีแดง สีชมพู ขนาดของมันนั้นเล็กเท่าปลายนิ้วก้อย สีสันของเปลือกหอยจะมีสีขาว และมีวงจุดสีชมพูหรือสีแดงสีเดียวกับปะการังอ่อนต้นที่มันอาศัยอยู่
       
       แม้นมันจะไม่ได้พรางตัวจนกลมกลืนเป็นยอดอย่างเจ้าปูปะการังอ่อน แต่มันก็เป็นนักพรางที่หากไม่สังเกตกันดีจริงๆแล้วก็คงยากที่จะเห็น แต่แม้นมันจะมีเปลือกที่ไม่กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับกอปะการังอ่อน แต่เจ้าหอยเบี้ยปะการังอ่อนนั้นก็มีความสามารถพิเศษในการแผ่เนื้อเยื่อภายในเปลือกออกมาครอบคลุมเปลือกของมัน เนื้อเยื่อที่แผ่ออกมาคลุมนี้จะมีสีสันและมีปุ่มปมเหมือนกับยอดของปะการังอ่อน อันเป็นวิธีการพรางตัวอย่างแนบเนียนอีกทางหนึ่ง เรียกว่าโลกใต้ท้องทะเลนั้นชีวิตจะสามารถดำรงอยู่ยืนยาวได้ก็ล้วนต้องอาศัยกลยุทธ์ ลับ ลวง พราง อย่างสูงยิ่งไม่แพ้โลกบนบกเช่นกัน.



จาก               :                 ผู้จัดการออนไลน์    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
ok3
สี่ดาวยังอยู่แค่เอื้อม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2008, 02:22:30 AM »

เคยรู้มาแต่จำไม่ค่อยได้ละ  ได้อ่านเรื่องเต็ม ๆ แบบนี้ก็ดีครับ จะได้ save เก็บไว้เล่าให้ลูกฟังครับ    ขอบคุณครับ 
บันทึกการเข้า
หอยกะทิ
สี่ดาวยังอยู่แค่เอื้อม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 155


บุ๋งๆ จงกลายเป็นวงๆๆๆ


« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2008, 01:43:58 PM »

เรื่องหอยๆ นี่ชอบครับ หาอ่านไม่ค่อยจะได้ ไม่รู้เพราะผมมองแคบไปไหน แต่ขอบอกว่า ไม่ค่อยได้หาอ่านจากในเน็ตเลย เปิดเน็ตก็มัวไปทำอย่างอื่น

เมื่อก่อนว่าจะขอเป็นลูกศิษย์แม่หอยแต่สงสัย คงเป็นลูกศิษย์ที่ไม่มีคำถามเพราะผมเองก็หาความรู้น้อย ไม่ขยัน อาจารย์คงเบื่อ แหะๆ

แต่ตอนนี้ถ้ามีคำถามสงสัยต้อง ค่อยๆถาม เพราะอาจารย์คนนี้ทำงานหนักกว่าเมื่อก่อนซะอีก
บันทึกการเข้า
แม่หอย
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1404



« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2008, 05:25:05 PM »

  อ๊ะ.. อ๊ะ.. พาดพิง
โห.. จะไปเบื่อน้องหอยลายกะทิได้ยังไงล่ะจ๊ะ..
พี่แม่หอยเองก็ไม่ค่อยจะรู้อะไรนักหรอก งูๆ ปลาๆ หอยๆ ไปตามเรื่อง .. แหะๆ..
บันทึกการเข้า
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2008, 05:54:21 PM »

น้องหอยลายกะทิ ลองไปอ่านกระทู้ข้างล่างนี้ในบอร์ดเก่าของเราสิคะ....น้องแม่หอยเขียนเรื่องหอยๆไว้ได้อย่างสนุกสนานและความรู้เพรียบค่ะ

http://www.saveoursea.net/oldboard/viewtopic.php?t=785&postdays=0&postorder=asc&start=0&sid=47fff67197534c4383df00ef3ed68002

เรื่องหอยๆยังหาอ่านได้อีกประปรายในห้อง "สรรพชีวิตแห่งท้องทะเล"  ในบอร์ดเก่าๆของเราค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 16, 2008, 09:16:15 PM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
หอยกะทิ
สี่ดาวยังอยู่แค่เอื้อม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 155


บุ๋งๆ จงกลายเป็นวงๆๆๆ


« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2008, 04:49:35 PM »

ความรู้เน้นๆครับ ชอบมากๆในส่วนที่พี่แม่หอยเอารูปและเรื่องราว ประสบการณ์ที่เพาะหอยสังแตรได้ อุอุ ชอบๆ มาก ตอนอ่านตาลุกวาวเลย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.039 วินาที กับ 21 คำสั่ง