กระดานข่าว Save Our Sea.net
มิถุนายน 18, 2024, 12:42:36 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม: วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม 2551  (อ่าน 2688 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2008, 12:51:38 AM »

กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นในระหว่างวันที่ 4-7 ส.ค. ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย อาทิเช่นบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เพชรบูรณ์ สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี  ระวังอันตรายจากสภาวะฝนที่ตกหนัก รวมทั้งคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ขอให้ชาวเรือระวังอันตรายในการเดินเรือในระยะ 2-3 วันนี้( 4-7 ส.ค.)ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25 องศา สูงสุด 34 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.


คาดหมาย

ร่องความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงจะพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตลอดสัปดาห์ ในช่วงวันที่ 3-4 ส.ค.มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง

ส่วนในช่วงวันที่ 5 -9 ส.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นตลอดช่วงโดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่โดยเฉพาะภาคเหนืและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนมากในช่วงวันที่ 5 -9 ส.ค.


ข้อควรระวัง

ในระยะนี้ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิเช่นจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ สกลนคร อุดรธานี และกาฬสินธุ์ ระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักที่จะทำให้เกิด น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 ส.ค. ขอให้ชาวเรือในทะเลอันดามันและอ่าวไทยขอให้ระวังอันตรายในการเดินเรือ



* Forecast2.jpg (40.15 KB, 665x415 - ดู 254 ครั้ง.)

* Earthquake.jpg (32.73 KB, 400x439 - ดู 256 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 05, 2008, 12:57:34 AM โดย สายน้ำ » บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2008, 01:12:46 AM »

แนวหน้า


กลุ่มควันไฟป่าในอินโดฯ โหมปกคลุมสตูลอีกระลอก สสจ.เตือนปชช.ดูแลสุขภาพ  
 
 สตูล:ผู้สื่อข่ารายงานว่า สถานการณ์หมอกควันไฟไหม้ป่าจากประเทศอินโดนีเซียได้เข้าปกคลุมพื้นที่ จ.สตูล อีกระลอก ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นในพื้นที่ โดยเฉพาะในเขต อ.เมืองสตูล ไม่ชัดเจน

 นายแพทย์ณรงค์ ลือขจร ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข 9 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล เปิดเผยว่า หมอกที่เห็นชัดในช่วงเช้ามากนั้น เกิดจากความกดอากาศสูงทำให้กลุ่มหมอกควันไม่สามารถลอยขึ้นข้างบนได้ ประกอบกับทิศทางลมที่หอบเอากลุ่มหมอกควันเข้ามา

 โดยปริมาณหมอกควันไฟที่ปกคลุมเริ่มเห็นชัด และมีปริมาณที่สูงขึ้น แต่จากการวัดค่าของกรมควบคุมมลพิษทางอากาศที่มาตั้งรถโมบายตรวจค่าปริมาณละอองฝุ่นในอากาศเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2551 ยังพบว่าจะไม่เกินเกณฑ์อันตราย อย่างไรก็ตามขอเตือนให้ประชาชนที่มีอากาศเจ็บป่วย หรือเป็นภูมิแพ้ได้ง่ายงดกิจกรรมกลางแจ้งชั่วคราว และดูแลสุขภาพในระยะนี้ให้ดี

 ผู้สื่อข่าวรายงายเพิ่มเติมว่า ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ทัศนวิสัยตามท้องถนนในช่วงเช้ายังครึ้มไปด้วยหมอกควันที่ปกคลุม ส่งผลให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะต้องใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง ทั้งนี้หากประชาชนต้องการหน้ากากปิดจมูก-ปาก เพื่อเป็นการป้องกัน สามารถติดต่อขอรับได้ทางสาธารณสุข จ.สตูล

บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
เด็กน้อย
สี่ดาวยังอยู่แค่เอื้อม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 190


« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2008, 02:11:48 AM »

เดลินิวส์

ฝน-เหนือบ่า-ทะเลหนุน ตรวจ 'แผนรับมือ' 'ภัย 3 น้ำ' ปีนี้วิกฤติ!

 เตือนภัยฝ่ายโหรก็ว่าระยะจากนี้ไป “ต้องระมัดระวังเรื่องภัยธรรมชาติ เป็นพิเศษ” โดย อ.เก่งกาจ จงใจพระ เพิ่งออกมาระบุว่า...จันทรคราสที่กำลังจะเกิดในวันที่ 17 ส.ค. ให้หลังการเกิดสุริยคราส 1 ส.ค. ที่ผ่านมา เป็น 2 คราสซ้อน ๆ จะยิ่งมีผลเสริมแรงภัยธรรมชาติ ซึ่งยุคนี้-ช่วงนี้ “ภัยน้ำ” น่าห่วงที่สุด   
ด้านเตือนภัยฝ่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โดย สมิทธ ธรรมสโรช ประธานอำนวยการเตือนภัยฯ ก็ระบุเช่นกันว่าช่วงนี้ถึงปลายปีต้องระวัง ทั้ง “พายุใหญ่” และ “น้ำทะเลยกตัวสูง” หรือ “สตอร์มเสิร์ช” ขณะที่หน่วยงานอื่นทั้งกรมอุตุนิยมวิทยา กรมอุทกศาสตร์ ก็เตือนและจับตาเรื่องพายุ ฝน คลื่นสูง สอดคล้องกัน
 
“ภัยน้ำ” กำลังหายใจรดต้นคอเมืองไทย-คนไทย
 
แล้วฝ่ายต่าง ๆ เตรียม “แผนรับมือ” อย่างไร ??
 
ในส่วนของคลื่นสูงที่อาจถาโถมใส่ไทยจากทางด้านอ่าวไทย จนเกิด น้ำท่วมกรุงเทพฯ จนการผลิตน้ำประปามีปัญหา วันก่อนทาง กทม. และ กปน. มีการหารือร่วมกัน แล้วยืนยันว่าได้เตรียมพร้อมรับมือมาตลอดอยู่แล้ว และก็มีแผนป้องกันเพิ่มเติมสำหรับปัญหาที่อาจรุนแรงกว่าปกติ โดยประสานกับกรมชลประทานด้วย   
 
ก็หวังว่าปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯ จะไม่เกิด หรือหากเกิดก็จะมีการป้องกัน-แก้ไขได้ อย่างไรก็ตาม ก็ใช่ว่ากรุงเทพฯ เมืองหลวงและจังหวัดปริมณฑลเท่านั้นที่สำคัญ-ที่ต้องป้องกันแก้ไข “ภัยน้ำ” จังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่ ในกลุ่มเสี่ยงทั้งมาก-ทั้งน้อย...ก็สำคัญ ก็ต้องมีแผนรับมือ มีมาตรการป้องกัน- แก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพด้วย !!   
 
ทั้งนี้ สำหรับภัยน้ำท่วมที่อาจเกิดในจังหวัดต่าง ๆ ทางอธิบดีกรมชลประทาน ธีระ วงศ์สมุทร ระบุว่า... “น้ำเหนือ” จะควบคุมได้ด้วยเขื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งหากฝนตกเหนือเขื่อนอยู่ในเกณฑ์ค่าเฉลี่ยประมาณ 1,500 มิลลิเมตร เขื่อนขนาดใหญ่มีความพร้อมรองรับปริมาณน้ำได้ไม่มีปัญหา ขณะนี้ โดยเฉลี่ยทุกเขื่อนยังรองรับน้ำได้อีกถึงร้อยละ 40 ของปริมาณความจุ โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลที่ขณะนี้มีปริมาณน้ำร้อยละ 47 ของความจุ และเขื่อนสิริกิติ์ร้อยละ 55 ของความจุ ซึ่งเขื่อนทั้ง 2 แห่ง ยังรองรับน้ำได้อีก กว่า 11,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วน “น้ำทะเลหนุน” ก็คาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าวันไหนน้ำขึ้น ซึ่งจะสามารถเตรียมความพร้อมในการรับมือได้
 
“แต่ที่หนักที่สุดสำหรับที่ลุ่มภาคกลาง ก็คือ “น้ำฝน” โดยเฉพาะน้ำ ฝนที่ท้ายเขื่อนหรือตกนอกพื้นที่รับน้ำ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะควบคุม จำเป็นจะต้องใช้การบริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบ”
 
อธิบดีกรมชลประทานแจกแจงว่า...หากฝนตกท้ายเขื่อน พื้นที่ ลุ่มภาคกลางถือว่าน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะในพื้นที่การเกษตร อาทิ ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี ซึ่งได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ชลประทานลงสำรวจพื้นที่เพื่อเตรียมแผนระบายน้ำ พร้อมกำชับให้นำประสบการณ์น้ำท่วมปี 2549 มาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา
 
นอกจากนี้ ได้มีการตรวจสอบสภาพอาคารชลประทาน เครื่องมือต่าง ๆ ประตูระบายน้ำ เครื่องสูบน้ำ ให้อยู่ในสภาพพร้อมระบายน้ำ เร่ง กำจัดวัชพืชในคลองชลประทาน เพื่อให้การระบายน้ำเหนือลงสู่ทะเลรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเตรียมแผนประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน รับรู้ข่าวสารอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย
 
ทางกรมฯ ได้มีการเตรียมแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม โดยได้ติดตามสถานการณ์ฝนตกอย่างใกล้ชิด และตรวจศักยภาพการรอง  รับน้ำของอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งจากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา ในปีนี้คาดว่าจะมีพายุพัดผ่านเข้าประเทศไทยประมาณ 1-2 ลูก ซึ่งถือว่าไม่น่ากังวลมาก
 
“ที่น่าเป็นห่วงก็คือฝนไม่ตกกระจายในวงกว้าง ตกอยู่เพียงจุดเดียว ซึ่งตัวชี้วัดว่าน้ำจะท่วมมากน้อยแค่ไหนนั้นจะดูที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ว่าระบายน้ำจากเขื่อนเท่าไหร่ ถ้าอยู่ระหว่าง 1,500-2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเตรียมเสริมกระสอบ ทราย ถ้ามีน้ำมากถึง 2,000-2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ให้เสริมคันดิน แต่ถ้าถึง 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในส่วนกลางต้องร่วมกันวางแผนแก้ปัญหา”
 
อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมชลประทานบอกอีกว่า...ยังมั่นใจว่าจะป้องกันน้ำท่วมได้เต็มที่ ส่วนพื้นที่กรุงเทพฯ ก็มีแผนระบายน้ำในลุ่มแม่น้ำเจ้า พระยาลงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เปิด-ปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อย่นระยะทางระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลให้เร็วขึ้น รวมทั้งให้เขื่อนเจ้าพระยาควบคุมน้ำเหนือให้ออกทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ผ่านคลองระพีพัฒน์ ลงสู่ทะเลทางแม่น้ำบางปะกง ส่วนฝั่งตะวันตกก็ระบายลงแม่น้ำท่าจีน เพื่อปล่อยลงสู่ทะเล พร้อมกันนี้ จะใช้โครง การแก้มลิงสนามชัย-มหาชัย ช่วยระบายและกักเก็บน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาอีก ทาง และเร่งสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ 3 แห่งคือ ประเวศบุรีรมย์ หนองจอก และคลองหกวาสายล่าง ให้แล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค. 2551 นี้
 
“หากสถานการณ์อยู่ในขั้นวิกฤติ การขอผันน้ำเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรของเกษตรกร จะพิจารณาเป็นแนวทางสุดท้าย”...อธิบดีกรมชล ประทานระบุ พร้อมทั้งบอกว่า...กับการแก้ปัญหาระยะยาว เรื่องการสร้างเขื่อน ขนาดใหญ่เพิ่มก็ยังจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน
 
ก็เป็น “แผนรับมือ” อย่างคร่าว ๆ กับ “ภัย 3 น้ำ” ในปีนี้
 
“น้ำฝน-น้ำเหนือบ่า-น้ำทะเลหนุน” ปีนี้จะประมาทไม่ได้
 
หวังว่าจะป้องกันดี-แก้ไขได้...ไม่เสียหายร้ายแรงอีก !!!.
บันทึกการเข้า
Sri_Nuan.Ray
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1808



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2008, 02:16:09 AM »

เฮ้อ น่ากัวจัง  หาชูชีพเสริมใยเหล็ก ติดตัวกันไว้แล้วหรือยังจ๊ะ......
 
ตราบใด ที่ยังไม่หยุดการทำลาย คราบนั้น ก็ต้องเตรียมรับสภาพคร้าบบบ พี่น้องงงงงงง
บันทึกการเข้า

~~~ หากเราหยุดนิ่ง ทุกอย่างที่ผ่านมา คือ อดีต.... ทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพื่อมันจะได้เป็นอดีตที่มีค่าแก่ ความทรงจำของเรา  ~~~
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2008, 03:25:20 AM »


ฮ่าๆๆๆ ..... ทำให้ได้รู้ว่า น้องเด็กน้อยไม่ได้หายไปไหน  ยังคงแว๊บไปแว๊บมาอยู่แถวๆนี้แหล่ะครับ

บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2008, 03:30:31 AM »


นั่นสิคะ....เงียบไปนาน (กว่าปกติ) จนนึกห่วง จริงๆแล้วยังแว่บไปแว่บมาอย่างคุณสายน้ำว่า.....ขอบคุณจ้ะน้องเด็กน้อย.....

น้องแมลงปออีกคน....เงียบไปจนนึกห่วง.....อยู่ดีมีสุขหรือไฉน.....
บันทึกการเข้า

Saaychol
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.688 วินาที กับ 20 คำสั่ง