กระดานข่าว Save Our Sea.net
เมษายน 20, 2024, 02:44:17 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อหมอสั่งห้ามดำน้ำ!  (อ่าน 17811 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
conundrum
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 454


« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 03:40:03 PM »

เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ได้มีโอกาสสนทนากับ instructor ท่านหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นแพทย์ควบคุม Recompression Chamber ที่ภูเก็ตมาก่อน

มีอยู่คำถามหนึ่งที่เอ่ยขึ้นในวงสนทนาว่า "ทำไม ท่า recovery position ของผู้ป่วยที่มีอากาศ Decompression Illness หรือผู้ป่วยที่ผ่านการช่วยเหลือจากการทำ CPR มาแล้ว จึงเป็นท่านอนตะแคงซ้าย"

instructor ท่านนั้นก็เฉลยว่า เป็นเหตุจากคำว่า "Patent Foramen Ovale" หรือ PFO

พอมีเวลาผมก็เลยค้นหาความรู้เรื่องนี้ในอินเตอร์เน็ต  ก็พบว่ามีเวบไซต์ pandadumnam.com  กล่าวถึงเรื่องนี้เหมือนกัน  และดูแล้วมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์มาก สำหรับนักดำน้ำทุกท่าน จึงนำมาบอกกล่าวเอาไว้ในนี้ 

ต้นฉบับดูได้ที่ http://www.pandadumnam.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2008, 03:48:41 PM โดย conundrum » บันทึกการเข้า
conundrum
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 454


« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 03:42:34 PM »

เมื่อปลาเล็กถูกหมอสั่งให้...หยุดดำน้ำ!!! (ตอนที่ 1)


ใช่ค่ะ...ไม่ผิดหรอก หมอสั่งให้เราหยุดดำน้ำจริงๆ...

เรื่องมันเริ่มจากการที่ปลาเล็กได้ฤกษ์ไปพบหมอเพื่อรักษา"ไมเกรน" ที่ปวดมาตั้งหลายปีให้จริงจังเสียที นั่งคุยกับหมอไปก็ได้ความว่า หมอจำเป็นต้องให้ตรวจสมองด้วยเครื่อง MRA เพื่อดูว่ามีความเสียหาย กับหลอดเลือดต่างๆและสมองหรือไม่ เนื่องจากเราทนกับอาการนี้มานับสิบปีไม่รู้ว่ามีอะไรในหัวเสียหาย ไหม...

เหมือนไม่เกี่ยวกับดำน้ำเลยจริงไหม แต่มันเกี่ยวค่ะ เพราะเราเผลอไปถามหมอว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเรามักมี อาการเวียนหัวอย่างรุนแรงไปจนถึงหน้ามืดใต้น้ำหลายครั้ง เป็นช่วงสั้นๆพอหายก็ดำน้ำต่อได้ นับๆดูก็ประ มาณ 10 กว่าหนเห็นจะได้ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับไมเกรนหรือเปล่า 10 หน..อืม...ก็เยอะนะในมุมมองของหมอ เพราะในตอนนี้หากเราหาสาเหตุไม่ได้ ก็ไม่มีใครบอกได้ว่าอาการจะเกิดอีกเมื่อไหร่ รุนแรงขึ้นไหม หรือว่า จะเกินเลยไปจนถึงหมดสติใต้น้ำหรือไม่....นี่ล่ะเรื่องใหญ่!! ฟังแล้วเครียดแฮะ

หมอแนะนำอะไรที่ง่ายและปลอดภัยที่สุดสำหรับเรา นั่นก็คือ....

"เลิกดำน้ำเถอะเพราะดูเหมือนร่างกายของคุณจะมีอาการผิดปกติบ่อยเกินไป ที่จะมองข้าม ไม่ลงน้ำซะก็หมดเรื่อง”

รู้ไหมว่าเราก็ตะโกนกลับไปเกือบในทันทีว่า "ไม่ได้ค่ะ...ให้เลิกดำน้ำ..ตกงานชัดๆ" เราเลยบอกหมอไปว่า ถ้าหมอจะบอกให้เราเปลี่ยนอาชีพ..เราขอหลักฐานที่จับต้องได้มากกว่านี้ หาสาเหตให้เจอก่อนแล้วค่อยว่า กัน งานนี้หมอเลยกลายเป็นฝ่ายเครียดแทน ^^' หมอเจ้าของไข้(ซึ่งเป็นคุณหมอด้านสมอง) เลยตัดสินใจ ให้เรา Admit เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง


* pfo_chap1.gif (49.25 KB, 450x360 - ดู 915 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
conundrum
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 454


« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 03:45:44 PM »

3 วัน 2 คืนที่นอนในโรงพยาบาลครั้งนี้นับว่าคุ้มค่ะ ไปมันทุกแผนกทั้งหัวใจ ปอด หู คอ จมูก (เออ..เราเป็นภูมิแพ้ด้วยค่ะ) คงเพราะเราไม่ได้ใส่ใจกับการตรวจร่างกายอย่างจริงจังมาก่อน พอมาตรวจ จริงๆ...เหอ เหอ มากันเพียบ...

เรียงไปเลยตั้งแต่ Echo Scan ดูว่าหัวใจปกติไหม (อันนี้เดี๋ยวจะเล่า แยกว่าทำไมมาหาหมอเรื่องไมเกรนแล้วต้องตรวจหัวใจ) ปรากฎว่าเสียงการปิดเปิดของลิ้นหัวใจและการ สูบฉีดเลือดมีแววว่าจะผิดปกติ หรือมีรูรั่วที่ผนังห้องบนซ้ายทะลุไปขวา (หมอเรียกว่า PFO-Patent Foramen Ovale) แต่ด้วยการทำ Ultra sound จากด้านนอกของร่างกายไม่สามารถฟันธงได้ว่ามี หรือไม่มี PFO ต้องตรวจด้วยการกลืนอุปกรณ์กำเนิดคลื่นลงไปในคอเพื่อให้ได้ผลตรวจที่แน่นอน

หมอ บอกไม่เจ็บ กล้องไม่ใหญ่ มียาชา...เอ้า..เอาไงก็เอา...เพราะมาบอกให้สงสัยแล้วจะให้กลับบ้านไปเฉยๆ ได้ยังไงจริงไหม...เลยตกลงว่าจะทำในอีก 5 วันต่อมา (รอหมอหัวใจกลับจากพักร้อน T_T) ระหว่างนี้เรา ก็ถูกส่งตัวไปตรวจในแผนกอื่นๆ เพื่อหาความเป็นไปได้ในหลายๆด้าน เย็นนั้นก็ไปนอนเข้าเครื่องสแกน เนอร์ราคา 65 ล้าน O_o...หรูดีค่ะ มีขนมให้กินด้วย แต่เสียงดังกว่าเครื่องเรืออีกง่ะ

เช้าวันรุ่งขึ้นผลของการทำ MRA หรือการตรวจสมองด้วยคลื่นแม่ เหล็กก็กลับมา... หมอของเราเดินเข้า ห้องมาด้วยสีหน้ากึ่งโล่งใจกึ่ง กังวล คือหลอดเลือดและสมองของเราปกติ ไม่ได้โดนทำลายจากอา การของไมเกรนแต่อย่างใด

แต่การสแกนกลับพบก้อนเนื้อขนาดประมาณลูกเต๋าอยู่ในโพรงหลังจมูกที่เรียกว่า Nasopharynx ซึ่งเจ้า ก้อนนี้สามารถกลายร่างเป็นมะเร็งได้ค่ะ...T_T

แต่หมอก็ยิ้มแล้ว ปลอบว่าไม่เป็นไรมะเร็งชนิดนี้ตรวจพบเร็ว จะรักษาได้หายขาดแล้ว ตอนนี้หน้าตาเจ้าก้อนลูกเต๋ามันก็ดูไม่โหดร้าย ยังไม่ต้องทำอะไร แต่ อยากให้กลับมา mornitor ทุกๆปี หากขนาดเปลี่ยนหน้าตาโหด ก็ต้องตัดออกมาดู

เอาเป็นว่าเป็นโครงการระยะยาว ไม่ตอบโจทย์ที่ถามไป...ละไว้ก่อน

บอกตรงๆตอนนั้นไม่กลัวเรื่องมะเร็งเลย...กลัวไม่ได้ดำน้ำอย่างเดียว


* pfo_chap1_2.gif (14.16 KB, 150x182 - ดู 791 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
conundrum
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 454


« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 03:47:23 PM »

วันต่อมา เราถูกส่งไปหาหมอ หู คอ จมูก เพราะจริงๆแล้วเรามีอาการภูมิแพ้ที่เรื้อรังมานาน ซึ่งปฏิเสธ ไม่ได้ว่านี่น่าจะเป็นอุปสรรคในการดำน้ำไม่น้อย หมอดูจมูกเสร็จยังถามเลยว่าสภาพจมูกคุณ"เยิน" ขนาด นี้ยังดำน้ำได้อีกหรือ ^^'

สรุปหมอหู คอ จมูก ฟันธงว่าอาการหน้ามืดวิงเวียนของเราน่าจะเป็น อาการของ Barotrauma อย่างหนึ่งที่เรียกว่า Vertigo (มีอาการวิงเวียน เมื่อเปลี่ยนความลึก) เนื่องจากว่าหูทั้ง สองข้างของเราไม่สามารถ equalize ได้อย่างที่มันควรจะเป็น คือไงล่ะมัน equalize แรงดันได้ไม่ พร้อมกันค่ะ และต้องทำแรง ทำให้เกิดความผิดปกติกับกระดูกในช่องหู ส่งผลให้แรงดันและน้ำในหูมัน รวนทำให้มีอาการของ Vertigo (เกิดมาเพิ่งรู้ว่ามีการตรวจหูแบบ ที่อัดแรงดันเข้าไปในหู แล้วให้เราลอง clear หูด้วย...แปลกดี) แต่ในใจเราก็ยังไม่ clear นะ เพราะแค่ vertigo ก็ไม่น่ารุนแรงจนตามองไม่ เห็นและเกิดบ่อย...ก็ตั้งคำถามไว้ก่อน...คงต้องรอผลหัวใจอีกที

แต่ยังไงสภาพโพรงจมูกและหูแบบนี้ หมอหู คอ จมูกก็แนะนำว่าควรงดการดำน้ำ...อีกคน...T_T

เฮ้อ...สรุปว่าตอนนี้มีแต่คำถามที่ไม่ได้คำตอบ อีกสามวันต่อมาก็ถึงวัน D-Day ที่ต้องกลืนกล้อง จริงๆ แล้วหมอสมองก็บอก fact เรามาอย่างหนึ่งว่า ถึงแม้ว่าจะตรวจพบว่าเรามี PFO ในหัวใจ แต่การแพทย์ ปัจจุบันไม่มีที่ไหนการันตีก็ปิดรูรั่วนี้ได้...เท่ากับว่านี่เป็นการตรวจเพื่อให้รู้เท่านั้น แต่จะไม่มีทางแก้ไขได้ ...well กรรม แต่เอาเถอะด้วยความอยากรู้ล้วนๆ กลืนก็กลืน

เราอดน้ำอาหารมาก่อนหน้านันคืนหนึ่ง เพื่อจะได้ไม่อ๊อกตอนยัดกล้องลงไป ตอนตรวจคุณหมอหัวใจพร้อม ทีมพยาบาลเอาเราเข้าห้อง CCU ...เหอ เหอ ใช่แล้ว CCU นั่นล่ะ ประหลาดที่สุดเดินเข้าไปดื้อๆ อาการก็ดูสบายดีทุกอย่าง แต่มีหมอกับพยาบาลพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่รุมอยู่ห้องเล็กๆของเราประมาณ 10 ชีวิต เพราะต้องมีการฉีดฟองอากาศเข้าหัวใจด้วย(ตอน 3 จะมีบอกละเอียด) ซึ่งไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะคะ อันตรายใช้ได้ ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เผื่อมีเหตุฉุกเฉิน...ซึ่งเราก็เห็นด้วย ^^'

เปลี่ยนชุดเสร็จ ก็เดินมึนๆ(เพราะหิวข้าว)เข้าไปนั่ง พยาบาลก็มาหยอดยาชาซึ่งเป็นเจลรสเชอรี่บีบลงคอ กลืนไป 4 ขวดเท่ายาหยอดตา คอก็ชาสนิท หันไปนอนมองกล้องที่ตัวเองต้องกลืน... ขนาดมันก็สาย Low pressure ที่มีหัวต่อ BCD ติดเอาไว้ดีๆนี่เอง... อยากวิ่งหนีกลับบ้านก็ตอนนี้ล่ะ เพราะหลงผิดจินต นาการเอาเองว่ามันน่าจะเป็นสาย fiber optic เล็กๆ เพราะถามหมอแล้ว ว่ากล้องใหญ่ไหม? หมอตอบว่า ขนาดประมาณ"ตะเกียบ" แต่ที่เห็นนี่มัน size ตะเกียบทอดปาท่องโก๋ชัดๆ!!

และวินาทีสยองก็มาถึง หมอสั่งให้นอนตะแคง จู่ๆก็มีพยาบาลห้าคนกดเราทั้งตัว จนต้องบอกให้พี่ๆปล่อย เพราะพี่นี่ล่ะทำหนู panic แล้วคุณหมอก็ให้เราคาบท่อสั้นๆหน้าตาเหมือน mouse piece แล้วค่อยๆ ใส่กล้องลงไปในหลอดอาหาร ทุลักทุเลอยู่อึดใจ พอกล้องพ้นบริเวณโคนลิ้นเราก็ไม่รู้สึกอะไรแล้ว เพราะ บริเวณต่อจากนั้นมันไม่มีเส้นประสาท ไม่เจ็บนะยืนยันนอนยัน แต่ feeling แย่เป็นบ้า ใครนึกไม่ออกลอง หันไปมองสาย reg ดูจะเข้าใจ

ไม่ถึง 5 นาทีคำตอบชี้ชะตาก็ปรากฎ...ฟองอากาศเล็กๆไหลทะลุจากผนังห้องขวาบนไปห้องซ้ายตามคาด PFO ในหัวใจเรามีขนาดไม่ใหญ่ หมอสรุปว่าไม่ใช่สาเหตุของอาการหน้ามืดแน่นอน แต่มีความจริงที่ ปฏิเสธไม่ได้เพิ่มมาคือ เราจะมีความเสี่ยงในการดำน้ำมากกว่าชาวบ้าน เพราะในกรณีที่เราเป็น DCS หรือติด D-com ฟองอากาศอาจไหลไปถึงสมองได้ (ตอน 3 จะมีบอกละเอียดค่ะ)

ที่นี้หมอ สามแผนกก็ลงความเห็นกันว่า เอาจริงๆถ้าอยากกลับไปดำน้ำ เราต้องพยายามตัดความผิดปกติที่พอจะทำได้ในร่างกายออกไปทีละอย่าง หนึ่งโรคภูมิแพ้ต้องรักษาอย่างจริงจัง สองเราไม่ควรดำลึก(ไม่รู้ เกี่ยวยังไง...) และ ต้องปรับ mode dive computer ให้อยู่ใน mode conservative

อืม...ไม่ค่อย clear เท่าไหร่ เพราะสรุปก็ไม่มีใครตอบได้แน่ชัดว่าอาการหน้ามืดของเราเกิดได้ยังไง จะเป็นอีกไหม ออกจากโรงพยาบาลแล้วก็ตัดสินใจหา 2nd opinion เราเลยตัดสินใจหอบผลการตรวจ ทั้งหมด วิ่งไปโรงพยาบาลเกียรติอาภากรณ์ที่สัตหีบ เพื่อไปปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ ใต้น้ำ หลายๆคนคงงงว่าแล้วทำไมไม่ไปตั้งแต่แรก.. ก็ตอนแรกคิดแค่ไปรักษาไมเกรนไง แต่ก็ดีนะ เพราะโรงพยาบาลที่กรุงเทพฯอุปกรณ์พร้อมกว่า สบายกว่าแน่ล่ะ ตรวจครบแล้วเราก็แบกคำถามเต็มหัว มุ่งสู่สัตหีบ....

(ต่อตอน 2 นะคะ)

ปลาเล็ก
10-06-08
บันทึกการเข้า
conundrum
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 454


« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 03:52:11 PM »

คุยกับคุณหมอทหารเรือ ในวันฟ้าใส ทะเลสวย (ตอนที่ 2)

เรา ไปถึงโรงพยาบาลตอนบ่ายสองอากาศดี ทะเลสวยเชียว ^^ น่าลงมากๆ แผนกเวชศาสตร์ใต้น้ำและ การบินของโรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์อยู่สุดตึกหน้าเลยค่ะ โรงพยาบาลสะอาดบรรยากาศดีมากมายลมทะ เลโชยมาเย็นๆเป็นกำลังใจ เพราะถ้าคุณหมอที่นี่ยืนยันคำเดิมว่าเราดำน้ำไม่ได้อีกล่ะก็...แย่แน่ๆ

พอไปถึงก็เข้าไปพบคุณหมอในห้อง โดนคุณหมอถามคำถามหลายอย่าง ที่หมอทั่วไปที่โรงพยาบาลในกรุงเทพ ไม่ได้ถามเราเช่น อาการเกิดที่ความลึกเท่าไหร่ ดำไปนานหรือยัง เป็นตอนขึ้นหรือลง เป็นที่ไหนบ้าง ลงซ้ำที่เดิมเป็นไหม ตอนเป็นกำลังทำอะไรอยู่ เป็นต้น

แล้วคุณหมอก็รีวิวผลตรวจต่างๆที่เราขอ copy ไปจากโรงพยาบาลที่กรุงเทพฯอย่างละเอียด แล้วก็ให้เราเล่า เหตุการณ์ตอนเกิดอาการอย่างละเอียดเท่าที่จำได้ เท่าที่นึกออก...อะไรก็ได้เล่ามาให้หมด

ทบทวนเท่าที่จำได้ก็คืออาการมักจะเริ่มตอนที่เราลงไปข้างล่างปรับความลึกเรียบร้อย แล้วจู่ๆเราก็จะรู้สึก เหมือนมีใครจับเราหมุนติ้วซักพักตาก็เริ่มมองไม่เห็น แต่ fact หนึ่งก็คือ เราไม่รู้จริงๆว่าเราหน้ามืด หรือเรา หลับตา เคยเป็นไหมคะเวียนหัวนานมากๆจนรู้สึกเหมือนตัวเองหลับไปแล้ว...

สิ่งเดียวที่เรายึดเอาไว้ไม่ให้ตัว เองหลับตอนนั้นคือ เสียงหายใจ 2-3 ครั้งแรกที่เป็นเราจำได้ว่าหายใจแรงๆ 3 ครั้งอาการ ก็ทุเลาและหายไป ดำน้ำต่อได้สบายใจหลังๆเริ่มเพิ่มเป็น 5 ทีอาการหายไป จนล่าสุดเราหายใจเป็น 10 ทีเลยลองลืมตามามันก็ยัง ไม่หาย

คิดในใจว่า..ซวยล่ะ ถ้าหลับตายแน่ๆ แต่แล้วอาการก็หายไป

คุณหมอฟังจบถามคำถามที่แปลกมากๆ 1 ข้อคือ เรารู้สึกเหมือนเราตัวหมุนหรือว่าสภาพแวดล้อมเราหมุน อืม.. ไม่เหมือนกัน เราตอบไปว่าเราเห็นแนวปะการังกับน้ำรอบๆตัวหมุน คุณหมอก็ถามต่อว่าแล้วระหว่าง เวียนหัวเรา ขยับตัวไม่ได้หรือจงใจไม่อยากขยับตัว เราก็ตอบว่าเราไม่อยากขยับเพราะกลัวอาเจียน (มันไม่อยากขยับด้วย แหล่ะ)

จากประเด็นข้างต้นคุณหมอบอกว่าการที่เรายังขยับตัวได้นับว่าดี ตัดความเป็นไปได้ของลมชักได้ เพราะมันมี ค่ะคนที่เป็นลมชักแบบเฉียบพลัน(ชักแล้วนิ่งด้วย)และไม่รู้ตัวว่าเป็น ซึ่งหากเป็น case นี้ก็จะอันตรายมากได้ เลิกดำน้ำแน่ๆ

แล้วคุณหมอก็ลองให้เราหายใจเหมือนเวลาดำน้ำให้ดูแล้วก็ฟังปอด ดูผลการตรวจหูและปอดที่ได้ไปจากกรุง เทพแล้วได้ข้อสรุปเหมือนคุณหมอหู-คอ-จมูกที่กรุงเทพฯค่ะ ว่าสิ่งที่เราเป็นมันคืออาการ Barotrauma-vertigo แต่ไม่ธรรมดาตรงที่...

เราเป็น vertigo ที่บวกอาการ silent panic เข้าไปด้วย...ฟังตอนแรกแทบไม่เชื่อ ดำน้ำมาจะ 1000 dives จะมาเป็น silent panic เนี่ยนะ คุณหมอเลยถามกลับมาคำหนึ่ง

"ตอนเวียนหัวคุณนับลมหายใจทำไม?"

เออ...แฮะ นับทำไม?เรานับเพื่อบอกตัวเองว่าเดี๋ยวมันจะหายไป แรกๆนับได้ 3 ครั้ง พอครั้งหลังๆ เฮ้ย 3 ครั้งไม่หายมันก็กลัวสิกลัวโดยไม่รู้ตัว พอหลายๆครั้งเราก็ยิ่ง panic มันเลยไม่หายเวียนหัวซะที

ส่วนอาการของ Barotrauma นั้นเกิดจากปัจจัยหลายอย่างค่ะ

1. เราเป็นไมเกรน --> ปวดหัว --> นอนหลับไม่สนิท --> ร่างกายไม่พร้อมดำน้ำ

2. เนื่องจากเสมหะและน้ำมูกจากการเป็นภูมิแพ้ มีส่วนทำให้เรา equalize หูได้ยาก เมื่อฝืน หรือต่อให้ clear ได้ แรงดันในช่องหูด้านนอกกับชั้นกลางจะไม่เท่ากัน ส่งผลให้กระดูกทั้ง 3 ชิ้น (ค้อน,ทั่ง,โกลน) เกิดการบิดตัว และส่งผลไปถึงหูชั้นในที่ตอบสนองต่อการทรงตัว ทำให้เกิดอาการที่เข้าใจง่ายๆคือ "น้ำใน หูไม่เท่ากัน" นั่นเอง

3. พอหูไปกระตุ้นอาการเวียนศีรษะใต้น้ำ เราจะหายได้ยากกว่าบนบกค่ะ เพราะเท้าเราจะไม่แตะพื้น

4. อันนี้สำคัญจากการประเมิณเรามักจะมีอาการ แบบนี้ใน dive site ที่โล่งๆ ลงบ่อยๆ สรุปได้ว่าไม่มีอะไรน่า ตื่นเต้น(คงจริงเพราะไม่เคยเป็นตอนลงเรือจมเลย) พอเบื่อๆเราก็เลยเผลอไป focus กับการหาย ใจพยายามหาย ใจยาวๆประหยัดอากาศ มันก็เลยเผลอแอบกั๊กอากาศโดยไม่รู้ตัว แบบหายใจเข้าแล้วกลั้น หายใจไปแป๊ปนึงแล้ว ค่อยหายใจออกไง...หลายคนคงเคยทำ

การทำแบบนี้ปอดจะได้ Oxygen ไม่ได้จังหวะพอดีกับการบีบตัวของมัน คุณหมอบอกว่าก็เหมือนเวลาเราสูบ ลมยางรถจักรยาน แล้วกดลมลงไปทั้งๆที่กระบอกสูบยังไม่มีแรงอัดพอนั่นล่ะ สูบไปก็่ได้ลมไม่พอ
สมองได้ Oxegen ไม่เพียงพอ เราก็ยิ่งเวียนหัวหาย





* ear.gif (26.02 KB, 400x300 - ดู 875 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
conundrum
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 454


« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 03:54:10 PM »

คุณหมอให้คำแนะนำมาอย่างหนึ่งที่สำคัญมาก...การดำน้ำที่ดีเราไม่ควรรู้สึกถึงการหายใจ ไม่ได้ลงไปทำสมาธิ จะได้นับลมหายใจเข้า-ออก T_T

สรุปว่าถ้าอยากดำน้ำจริงๆก็ดำได้ แต่ต้องรักษาอาการไมเกรนและโพรงจมูกให้โล่ง และปรับวิธีการดำน้ำดังนี้

1.เราต้องลงช้ากว่าที่เคยเป็น clear หูเบาๆ บ่อยๆกว่าปกติ ท่าลงก็สำคัญ การลงโดยให้ร่างกายอยู่ในท่านอน จะลดอาการหลงทิศได้ดีกว่าการปักหัวลง หรือเอาเท้าลง

2.เมื่อเกิดอาการ เราต้องไม่หลับตา เพราะตาเป็นอุปกรณ์ในการวัดทิศทาง และการทรงตัวอย่างแรงของ มนุษย์ ยิ่งหลับตาร่างกายจะปรับตัวได้ยากขึ้น ดังนั้นเมื่อเริ่มมีอาการ ให้ลืมตา จ้องอะไรที่เป็นของซึ่งมองเห็นชัดๆเอา ง่ายๆ ยกมือขึ้นมาแล้วพยายาม focus มือตัวเอง หรือดู dive com ก็ได้ ลองมาแล้วหาย เร็วขึ้นจริงๆ

3.หายใจแบบสบายๆ ไม่ต้องหวงอากาศ หมดก็หมด

4.ที่สำคัญเมื่อเกิดอาการ อย่าพยายามตีขาขยับตัวเพราะอันตรายจากการเปลี่ยนความลึกอย่างเร็วนั้น น่ากลัว กว่ามากนัก

5.ใจเย็นๆ อย่าตระหนก และหมอย้ำมาว่า "คุณต้องมี buddy ที่รู้อาการคุณนะ buddy ที่ไม่หายน่ะ" (เหอ เหอ... เหมือนรู้) นั่นหมายถึงไม่นับการดำน้ำกับคนที่ skill ไม่พอที่จะช่วยเราได้ด้วย

สังเกตุว่า PFO(รูรั่วที่ผนังหัวใจ) ไม่ใช่ประเด็นเลย...(แต่สำคัญนะมองข้ามไม่ได้ เดี๋ยวเล่าทีหลัง)

นับว่าคุ้มที่ขับรถไปค่ะ เพราะได้รู้อะไรมากขึ้นอีกเยอะ คุณหมอไม่ได้มองว่าอาการนี้เป็นปัญหาใหญ่จนทำให้ เราไม่สามารถดำน้ำได้ แต่เราต้องปรับตัวปรับการดำน้ำและเข้าใจอาการ ส่วนเรื่องของ PFO ถ้าดำน้ำให้ดีไม่ ประมาท ไม่ติด D-Com แล้วล่ะก็ PFO ก็ไม่ใช่ปัญหาค่ะ


เฮ้อ...สรุปว่าปลาเล็กก็ลิงโลดดำน้ำได้เหมือนเดิม ดีกว่าเดิมหน่อยตรงที่คราวนี้ buddy คงไม่ ว่ายหนีเราแล้ว^^


ตอนหน้าจะสาธยายเรื่องของ PFO ซึ่งเปรียบเสมือนแดยสนทยาที่หมอหลายแขนงพยายามศึกษา และมีสถิติ ในเรื่องของ PFO และการดำน้ำออกมามากมาย น่าสนใจและไม่น่ามองข้ามค่ะ

ปลาเล็ก
10-06-08


* pfo_chap2.gif (61.81 KB, 450x355 - ดู 831 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
conundrum
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 454


« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 03:57:31 PM »

PFO...รูรั่วเล็กๆ ที่อาจก่อปัญหาไม่เล็ก...หากเราประมาทในการดำน้ำ (ตอนที่ 3)

PFO (Patent Foramen Ovale) คืออะไร?


------------PFO คือสภาวะที่ผนังของหัวใจระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและห้องบนขวาเกิดมีรูรั่วขนาด เล็กๆซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนทุกคนจะมีรูนี้ในตอนที่เป็นทารกอยู่ในครรภ์ของแม่ และจะปิดสนิทตาม ธรรมชาติเมื่อคลอดออกมาแต่ทั้งนี้ก็มีคนจำนวนหนึ่ง  (ประมาณ 1 ใน 5 คน) ที่พบว่ารูนี้...ไม่ปิดสนิท.... โดย มีลักษณะเหมือนรูรั่วบริเวณผนังหัวใจที่เผยอออกเล็กน้อย เมื่อได้รับแรงดันหรือในสภาวะความเปลี่ยน แปลงของการเต้นของหัวใจ อย่างเช่น ไอ จามแรงๆ เป็นต้น

แต่ก่อนที่จะเล่าเรื่อง PFO อย่างละเอียด ผมอยากให้มาทบทวนความเข้าใจเรื่องการทำงานของหัวใจ แบบปกติกันก่อนครับ

การทำงานของหัวใจในคนปกติ

อย่างที่เรารู้กันดีว่าหัวใจของมนุษย์มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย โดยมีโครง สร้างหลักและการไหลเวียนของเลือดดังนี้

โครงสร้างหลักของหัวใจประกอบด้วย

1. ห้องทั้ง 4 ห้อง: แบ่งเป็นห้องบน(Atrium)ซึ่งแบ่งเป็นซ้ายและขวา และห้องข้างล่าง (Ventricle) ซึ่งก็มีทั้งซ้ายและขวาเช่นกัน

2. ลิ้นหัวใจ: มีชื่อเรียกต่างกันไปดังนี้ Tricuspid valve กั้นระหว่างหัวใจห้องบนขวา และล่างขวา, Pulmonary or Pulmonic valve กั้นระหว่างหัวใจห้องบนขวากับหลอดเลือดดำ, Mitral valve กั้นระหว่างหัวใจห้องบนและล่างซ้าย, Aortic valve กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือด Aorta

กระบวนการไหลเวียนของเลือดผ่านหัวใจ

1. หัวใจจะรับเลือดดำเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา Right atrium
2. ไหลผ่านลงหัวใจห้องล่างขวา Right ventricle ฉีดเลือดไปยังปอดเพื่อฟอกเลือด
3. เลือด ที่ฟอกแล้ว(เลือดแดง)ไหลกลับเข้าหัวใจที่ห้องซ้ายบน LEFT Atrium แล้วไหลลงห้องล่างซ้าย Left ventricle ซึ่งจะทำหน้าที่สูบเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายทางหลอดเลือดแดง




* heartsystem.gif (30.66 KB, 400x426 - ดู 2575 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
conundrum
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 454


« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 03:59:49 PM »

แล้ว PFO มีผลอย่างไรกับการทำงานของหัวใจล่ะ?

อย่างที่เราบอกไปแล้วว่า PFO คือรูเล็กๆที่เกิดขึ้นบริเวณผนังห้องบนขวาและซ้าย ในหัวใจปกติเมื่อเลือด ถูกส่งไปยังปอด ปอดจะทำหน้าที่ให้ออกซิเจนแก่โลหิตและกรองกำจัดสารเคมีต่างๆที่ร่างกายไม่ต้องการ ออกจากกระแสเลือด ก่อนส่งเลือดที่เต็มไปด้วยอ๊อกซิเจนกลับเข้าหัวใจ

แต่ในร่างกายของคนที่มี PFO เลือดบางส่วนที่ควรจะถูกส่งไปยังปอด อาจไหลย้อนผ่านรูรั่วเข้าไปใน กระแสเลือดแดงโดยไม่ผ่านการกรองจากปอด ซึ่งเมื่อเลือดส่วนนี้ไปถึงสมองอาจทำให้เรามีอาการสมอง ขาดเลือด,หน้ามืดหรือเวียนหัว เนื่องจากลิ่มเลือดที่ปนอยู่ในเลือดดำ

(จริงๆแล้วการแพทย์ในปัจจุบันพยายามอธิบายสาเหตุของไมเกรนบางชนิด ด้วย PFO เช่นกัน....แต่ก็ยัง ไม่มีใครสามารถฟันธงได้ครับ ว่าถ้าปิดรูนี้แล้ว...จะหายขาดจากอาการของไมเกรน)

คนที่มี PFO ดำน้ำได้ไหม?

PFO ไม่ได้ก่อผลให้เกิดอุปสรรคใดๆในการดำรงชีวิตครับ แม้แต่การดำน้ำ... PFO ก็ไม่ได้เป็นสาเหตุ ให้เราได้รับอันตรายแต่อย่างใดครับ...

แต่จุดสำคัญอยู่ตรงนี้ครับ...หากเราดำน้ำเกินข้อจำกัดในเรื่องของความปลอดภัย จนมีการสะสมของไน โตรเจนในเลือดจนถึงขั้นเป็น DCS (Decompression Sickness) แล้วล่ะก็ PFO จะกลายเป็น factor สำคัญที่ทำให้ฟองอากาศ และ micro bubbles พุ่งจากหัวใจตรงเข้าสู่สมองโดยไม่ผ่านการ กรองจากปอด...ยิงตรงครับงานนี้^^' นั่นหมายถึงการที่ cell สมองถูกทำลายเชียวนะครับ ไม่ใช่แค่ ปวดแขนปวดขาแล้ว...ที่สำคัญไม่แพ้สมองคือดวงตาครับ ฟองอากาศอาจสร้างความเสียหายต่อระบบ การมองเห็น ซึ่งอาจเป็นแบบชั่วคราวหรือถาวรก็ได้

โดยทั่วไปเมื่อเรามีอาการต้องสงสัยว่าจะเป็น DCS แพทย์จะ focus ความเสียหายของร่างกายไล่จาก ปอดลงมา เช่น ไขสันหลัง, กล้ามเนื้อ, และประสาทส่วนปลายของแขนขา แต่ในผู้ป่วยที่ ตรวจพบ PFO แพทย์จะทำการตรวจความเสียหายของสมองและหลอดเลือดสมองด้วยครับ ซึ่งการตรวจนี้จะต้องทำ โดยการสแกนด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRA)

การตรวจว่าร่างกายมี PFO ไหมทำได้อย่างไร?

PFO เป็นรูที่เล็กมากจนไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยการทำอัลตราซาวน์จากภายนอกร่างกาย หรือ Echo Scan เพราะในร่างกายของผู้ใหญ่จะมีชั้นไขมันและซี่โครงบังหัวใจเอาไว้เต็มๆ ไม่สามารถชี้ชัดได้ครับ ต้องทำการตรวจด้วยการกลืนอุปกรณ์ Echo scan เข้าไปในหลอดอาหาร เพื่อให้เครื่องได้สแกนภาพของหัวใจได้โดยตรงโดยไม่มีอะไรมาบดบัง

เมื่อกลืนกล้องเข้าไปแล้วแพทย์จะทำการฉีด micro bubble ผ่านเข้าเส้นเลือดดำ เพื่อให้หัวใจสูบฉีดฟองพวกนี้เข้าไป และให้คนไข้ลองกลั้นหายใจ หรือเบ่ง แรงๆเพื่อดูว่าฟองดังกล่าวจะมีการเล็ดลอดจากหัวใจห้องบนขวาไปยังห้องบนซ้ายไหม ซึ่งจำนวนของ ฟองอากาศที่ปรากฎในห้องบนซ้ายจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงขนาดของ PFO ได้ครับ เช่น 1-20 จุดถือว่ายังเล็ก



* TEE.gif (33.05 KB, 450x284 - ดู 857 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
conundrum
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 454


« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 04:02:49 PM »

นักดำน้ำกับการตรวจ PFO...จำเป็นไหม?

ที่เล่ามานี่ไม่ได้ให้ทุกคนตกใจ วิ่งไปกลืนกล้องตรวจหา PFO กันนะครับ อย่างที่บอก PFO ไม่ได้เป็น สาเหตุให้เกิดDCSแต่อย่างใด แต่เมื่อเราเป็น DCS แล้ว PFO อาจเป็นปัจจัยในการกำหนดระดับความ เสียหายของร่างกายที่ฟองอากาศจะไปทำลายได้

ความรู้จากคุณหมอ: ปลายประสาทที่เล็กที่สุดของสมองคนเรานี่ เล็กกว่าขนาดของเม็ดเลือดแดงนะ ครับ ดังนั้นคาดการณ์ได้เลยว่า Micro bubbles สามารถก่อให้เกิดความเสียหายที่ระบบประสาทอีกทั้ง ความเสียหายของสมองนั้น ร่างกายจะไม่สามารถซ่อมแซมได้ครับ แต่ cell สมองจะทำการเรียบเรียงการ ใช้งานพื้นที่สมองใหม่ และอาจจะทำไม่ได้ทุก function เหมือนเก่านะครับ บางอย่างพังแล้ว...พังเลย

การสังเกตุตนเองเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการ DCS ว่ามีผลกระทบต่อสมองหรือไม่?

ทำได้ง่ายๆครับ สมมุติเราติด D-com มีข้อสงสัยว่าจะเป็น BEND เช่นเจ็บตามร่างกาย ปวดข้อ แขน ขา ชา ลองส่องกระจกครับ ถ้ามีความเสียหายทางสมอง โดยมากมักปรากฎบนกล้ามเนื้อใบหน้า ลองยักคิ้ว กระพริบตา ยิ้ม ดูวิว่าใบหน้ามีอะไรผิดปกติหรือไม่...แล้ววิ่งหาหมอโดยเร็วที่สุดครับ

เมื่อรู้อย่างงี้แล้ว นึกบ้างไหมครับว่าเราอาจเป็น 1 ใน 5 ของคนที่มี PFO ในหัวใจ...อ๊ะ...เริ่มเห็นความ สำคัญของ Dive Computer กันแล้วใช่ไหมครับ ที่เล่ามายาวเหยียดนี้เพื่อให้เพื่อนได้ตระหนักว่าการ ดำน้ำไม่ใช่การเดินเล่นครับยังไงก็ยังมีความเสี่ยง

ดังนั้นเราทุกคนควรเคารพกติกาในการดำน้ำครับ เพราะในเมื่อเราไม่ได้เดินไปตรวจกันทุกคนว่าเรามี PFO ไหม จะแน่ใจได้ยังไงครับว่า ติด D-Com นิดหน่อยๆไม่เป็นไรหรอก อย่าคิดแบบนั้นเลยครับ ประมาทเกินไปแล้ว...

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2008, 04:09:34 PM โดย conundrum » บันทึกการเข้า
conundrum
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 454


« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 04:08:49 PM »

สรุปต่ออีกนิดนึง

ด้วยสาเหตุเกี่ยวกับ PFO ดังที่ได้นำเอาบทความมาให้ดูกันแล้ว

ก็สรุปว่า การให้คนไข้นอนตะแคงซ้าย จะช่วยลดโอกาสที่ฟองอากาศในเส้นเลือดดำจะไหลจากหัวใจห้องบนขวาผ่านช่อง PFO (สำหรับคน 1 ใน 5 ที่อาจเป็น) นี้เข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย ซึ่งจะไหลลงช่องล่างซ้าย และสูบฉีดไปยังเส้นเลือดแดง โดยที่ฟองอากาศไม่ได้ผ่านเข้าไปกำจัดที่ปอดเสียก่อน  ซึ่งจะก่อให้เกิดฟองอากาศอุดตันที่เส้นเลือดแดงใหญ่ที่จะส่งไปยังสมองได้  ก่อให้เกิด DCS ที่มีอากาศทางระบบประสาท ซึ่งเป็นอันตรายมาก

ต้องขอขอบคุณ นพ.ดร.เกตุกำภู  เพชรรัตน์  และ www.pandadumnam.com เอาไว้ในที่นี้ด้วยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 26, 2008, 05:02:33 PM โดย conundrum » บันทึกการเข้า
frappe
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1114



« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 04:54:09 PM »

ขอบคุณค้าบสำหรับความรู้เป็นประโยชน์ที่นำมาฝาก
 
บันทึกการเข้า

มีใจเป็นมิตร มีจิตเป็นเพื่อน
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2008, 05:33:57 PM »

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ มีประโยชน์เช่นนี้ค่ะ....

เมื่อไม่นานมานี้....ได้รับทราบข่าวนักดำน้ำสาวท่านหนึ่งเสียชีวิตจากการดำน้ำ  เมื่อผ่าพิสูจน์ศพแล้วก็ไม่พบฟองอากาศทั้งในสมองและเนื้อเยื่อสวนต่างๆของร่างกาย  แต่จากอาการที่เกิดขึ้นก่อนเสียชีวิตคืออาเจียนอย่างรุนแรง...หน้ามืด....หมดสติ....แล้วเสียชีวิตลงอย่างกระทันหันนั้น  ทำให้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า อาจจะเป็น PFO  แล้วก๊าซดาร์บอนไดอ๊อกไซด์และก๊าซอื่นๆที่ร่างกายไม่ได้ใช้ไหลข้ามจากหัวใจด้านขวาบน.....ข้ามไปหัวใจด้านซ้ายบน....ลงไปซ้ายล่าง แล้วถูกส่งต่อไปยังเนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างกาย (โดยไม่ส่งต่อไปที่ หัวใจห้องล่างขวา   เพื่อส่งต่อไปยังปอด และส่งออกไปนอกร่งกายพร้อมการหายใจออก) ทำให้ร่างกายได้รับก๊าซดาร์บอนไดอ๊อกไซด์และก๊าซอื่นๆมากเกินไป ในขณะที่ได้รับอ๊อกซิเจนในจำนวนปกติ

เรื่องนี้จะจริงเท็จประการใด....ต้องขอฝากน้องหนึ่งไปช่วยเรียนถามคุณหมอ ดร.เกตุกำภู  เพชรรัตน์  ให้ด้วยนะคะ....

ส่วนการที่ให้คนไข้นอนตะแคงซ้ายนอกจากเหตุผลที่น้อง  conundrum บอกแล้ว  อาจจะเป็นเพราะ แรงสูบฉีดของหัวใจด้านซ้าย (ที่ส่งเลือดที่ฟอกแล้วจากปอดถูกส่งไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างกาย)  มีแแรงสูบฉีดมากกว่าแรงสูบฉีดของหัวใจด้านขวา (ที่ส่งเลือดที่มีก๊าซดาร์บอนไดอ๊อกไซด์และก๊าซอื่นๆที่ร่างกายไม่ได้ใช้หรือก๊าซส่วนเกินไปให้ปอดเพื่อส่งออกไปพร้อมลมหายใจออก)

การตะแคงซ้าย.... จึงทำให้หัวใจด้านขวาไม่ถูกกดทับ  ส่งผลให้การระบายออกของก๊าซดาร์บอนไดอ๊อกไซด์และก๊าซอื่นๆที่ร่างกายไม่ได้ใช้ทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2008, 05:45:27 PM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
conundrum
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 454


« ตอบ #12 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2008, 02:04:27 AM »



เรื่องนี้จะจริงเท็จประการใด....ต้องขอฝากน้องหนึ่งไปช่วยเรียนถามคุณหมอ ดร.เกตุกำภู  เพชรรัตน์  ให้ด้วยนะคะ....



พี่สายชลครับ  ในวงสนทนา ก็ได้มีการกล่าวถึงกรณีนี้แหละครับ คุณหมอก็คาดว่าน่าจะเป็นเพราะคนไข้มี PFO แล้วไม่รู้ตัว ทำให้ฟองอากาศที่มีขนาดเล็ก ที่น่าจะทำให้เกิด DCS แบบ skin ข้ามไปยังหัวใจห้องขวาบน แล้วลงห้องขวาล่าง ถูกส่งไปยังหลอดเลือดแดงเรื่อย ๆ จนเป็นปัญหา

เท่าที่ทราบ ผู้ป่วยมีอาการในขณะที่เรือกำลังเข้าฝั่ง และกำลังเก็บข้าวเก็บของอยู่
บันทึกการเข้า
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #13 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2008, 02:19:00 AM »

กรณีที่พูดถึงนั้น....ผู้เสียชีวิตไม่น่าจะเป็น DCS ค่ะ เพราะไม่ได้พบฟองอากาศในร่างกายเลย  แต่มีผู้สันนิษฐานว่ามีก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์และก๊าซอื่นๆที่ร่างกายไม่ได้ใช้ (ที่มากที่สุดคือไนโตรเจน)สูงมาก เพราะวนเวียนอยู่ในร่างกายแทบไม่ได้ระบายออกไปทางลมหายใจออกเลยค่ะ

และตามตำรา....เลือดแดงที่ได้รับการฟอก (รับอ๊อกซิเจนแล้ว)จากปอด จะถูกสูบฉีดจากห้องหัวใจด้านซ้ายบนลงห้องซ้ายล่าง เพื่อส่งอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย  จากนั้นจะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์และก๊าซที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้เข้ามาตามเส้นเลือดดำสู่หัวใจห้องด้านขวาบนลงห้องขวาล่าง ส่งไปยังปอดเพื่อส่งออกไปจากปอดในจังหวะการหายใจออกค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 26, 2008, 02:33:50 AM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #14 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2008, 02:54:28 AM »

ขอบคุณสำหรับ..บทความดีดีจ้า.. 
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
หน้า: [1] 2 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.032 วินาที กับ 20 คำสั่ง