กระดานข่าว Save Our Sea.net
มิถุนายน 14, 2024, 09:44:07 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้ : ช่างภาพใต้น้ำกับงานภายใต้ความกดดัน  (อ่าน 6649 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2007, 11:42:29 PM »


ช่างภาพใต้น้ำกับงานภายใต้ความกดดัน         โดย  วินิจ รังผึ้ง



      งานถ่ายภาพใต้ท้องทะเลลึกนั้นเป็นงานภายใต้ความกดดันสูงยิ่ง เป็นงานที่กดดันจริงๆครับ เพราะบรรยากาศใต้ทะเลลึกนั้นสิ่งแวดล้อมรอบข้างนั้น ไม่ใช่อากาศเหมือนเช่นบนบก แต่เป็นมวลน้ำที่มีความกดดันมากมายมหาศาล ลองหลับตานึกดูเล่นๆก็ได้ว่ามวลน้ำอันมากมายทั้งทะเลมหาสมุทรนั้น กดทับบีบอัดทุกสิ่งทุกอย่างที่แทรกตัวลงไปอยู่ในมวลน้ำทะเล การทำงานใต้น้ำจึงนับเป็นงานภายใต้ความกดดันอย่างแท้จริงไม่มีใครจะเถียงได้
       
       ลึกลงไปในท้องทะเลทุกๆ 33 ฟุต ความกดดันจะเพิ่มขึ้นกว่าความกดดันบนบกในระดับผิวน้ำทะเล 1 บรรยากาศหรือความกดดันเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของบรรยากาศปรกติ เมื่อนักดำน้ำดำลึกลงไปทุก 33 ฟุต เจ้าความกดดันที่เพิ่มมากขึ้นนี้มีผลอย่างยิ่งต่ออากาศที่ใช้หายใจใต้ผืนน้ำ เพราะความกดดันอากาศที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ จะบีบกดให้อากาศที่เราหายใจเข้าไปมีขนาดเล็กลง ซึ่งมันจะมีผลมากสำหรับอากาศที่หายใจแต่กับส่วนต่างๆของร่างกาย อวัยวะต่างๆของนักดำน้ำที่มีมวลหนาแน่นกว่าอากาศนั้นไม่ค่อยจะมีผลครับ ไม่ได้เล็กลงตามความกดดันของอากาศไปด้วย ไม่ต้องเป็นห่วงครับ หรือแม้มันจะถูกความกดดันอากาศบีบอัดให้เล็กลงไปบ้างก็อย่างไปเป็นกังวลเลยครับ เพราะเมื่อกลับขึ้นมาสู่ผิวน้ำ กลับมาที่บรรยากาศปรกติมันก็จะกลับมาเท่าเดิมนั่นแหละครับไม่ต้องเป็นห่วง หรือถ้าเป็นห่วงเป็นกังวลมากนักก็อย่ามาเป็นนักดำน้ำเลยดีกว่าครับ เปลี่ยนงานอดิเรกไปเป็นนักบินเลยดีไหมครับ บรรยากาศยิ่งสูงมันยิ่งเบาบางดี เผื่ออะไรต่อมิอะไรมันจะขยายตัวขึ้นบ้าง
       
       ยิ่งดำลึกลงไปใต้ท้องทะเล ปริมาตรของอากาศก็จะยิ่งถูกบีบอัดให้มีขนาดเล็กลง แต่ร่างกายของคนเรายังเท่าเดิม ยังเคยสูดหายใจอากาศ 1 เฮือกยาวเท่าใด ก็ยังคงสูดหายใจยาวเท่านั้น ผลก็คือยิ่งลึกก็จะยิ่งใช้อากาศเปลือง แต่นั่นก็คงไม่ใช่ปัญหาเพราะนักดำน้ำสามารถจะตรวจเช็คปริมาณอากาศในถังได้ว่าใช้ไปเท่าไหร่ เหลืออีกเท่าไร จะพอใช้หรือไม่หรือจำเป็นจะต้องกลับขึ้นมาสู่ผิวน้ำ แต่อันตรายของความกดดันที่เพิ่มขึ้นนั้น อยู่ที่ตอนจะกลับขึ้นสู่ผิวน้ำที่มีความกดดันต่ำกว่า ซึ่งขณะกลับขึ้นสู่ผิวน้ำนั้น อากาศที่อยู่ในร่างกายไม่ว่าจะเป็นอยู่ในถุงลมปอด หรือฟองอากาศเล็กๆที่แทรกซึมเข้าไปอยู่ในกระแสเลือด ก็จะมีปริมาณใหญ่ขึ้นมีขนาดโตขึ้นเมื่อความกดดันลดลง หากกลับขึ้นมาสู่ผิวน้ำเร็วเร็วเกินไปแล้วกลั้นหายใจ ไม่ได้หายใจถ่ายเทเอาอากาศที่อยู่ในปอดออก อากาศที่ค้างอยู่ในปอดก็อาจจะขยายตัวจนถุงลมปอดฉีกขาด หรือที่อันตรายยิ่งขึ้นไปอีกหากมีฟองอากาศอยู่ในกระแสเลือด แล้วฟองอากาศเหล่านี้ฟองโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนเส้นโลหิตในส่วนต่างๆของร่างกายแตก หากเป็นเส้นโลหิตตามกล้ามเนื้อ ตามข้อ ก็อาจจะเกิดอาการเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ ตามข้อ แต่หากโชคร้ายเส้นโลหิตที่แตกนั้นเป็นเส้นโลหิตตามไขสันหลัง หรือเส้นโลหิตในสมอง ก็อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือเป็นอัมพาตขึ้นได้ นี่แหละครับความกดดันที่สูงขึ้นของโลกใต้ทะเลที่ยิ่งลึกยิ่งสูงขึ้นนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่นักดำน้ำทุกคนจะต้องให้ความสำคัญกับมัน และปฏิบัติตัวตามข้อปฏิบัติในการดำน้ำที่เรียนมาอย่างเคร่งครัด การกลับขึ้นสู่ผิวน้ำจึงต้องค่อยๆกลับขึ้นมาอย่างช้าๆ เพื่อให้ร่างกายปรับสมดุล และให้ฟองอากาศที่ตกค้างอยู่ในร่างกายค่อยๆสลายออกไปเสียก่อน การทำงานถ่ายภาพใต้น้ำที่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาอยู่ในระดับความลึกที่อาจจะยาวนานกว่านักดำน้ำทั่วๆไปจึงมีความเสี่ยงภายใต้ความกดกันที่สูงกว่า
       
       แต่ความกดดันของท้องทะเลนั้นก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับช่างภาพใต้น้ำครับ เพราะแต่ละคนก็ร่ำเรียนฝึกฝนและเก็บเกี่ยวประสบการณ์กันมายาวนาน และแต่ละคนก็ยิ่งเพิ่มความระมัดระวังในความปลอดภัยให้กับตัวเองยิ่งขึ้นเพราะตระหนักในความเสี่ยงที่มีมากกว่าคนอื่น แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นกลับเป็นความกดดันอย่างอื่นมากกว่าครับ กลับเป็นความกดดันจากความเห็นหรือมุมมองของนักดำน้ำที่ไม่ได้ถ่ายภาพบางส่วนหรือแม้แต่คนทั่วไปบางคนบางกลุ่มที่อาจจะมีความเป็นห่วงเป็นใยต่อวิถีชีวิตของสัตว์ทะเล และแนวปะการัง ซึ่งมองว่าการถ่ายภาพใต้น้ำนั้นอาจจะไปรบกวนวิถีชีวิตของสัตว์ทะเล หรือมีส่วนในการทำลายปะการัง ที่มองว่าช่างภาพใต้น้ำนั้นอาจจะเข้าไปใกล้ชิดกับปะการังมากกว่าคนอื่นๆ จนกลายเป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งบางช่วงบางอารมณ์ความกดดันเหล่านี้ ก็ทำให้ผมคิดมากถึงขนาดจะเลิกถ่ายภาพ เลิกเขียนเรื่องใต้ทะเล เพราะทำงานถ่ายภาพเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับสรรพชีวิตใต้ท้องทะเลมาก็ยาวนานเกือบจะ 20 ปีแล้ว เลิกถ่ายภาพใต้น้ำหันไปถ่ายภาพโรงแรม รีสอร์ต ถ่ายภาพนางแบบในสปา ซึ่งทั้งรายได้ก็ดีและมีความสุข บรรดานางแบบสาวสวยเธอก็ยิ้มแย้มแจ่มใสเต็มอกเต็มใจทุกครั้งเมื่อกดชัตเตอร์เมื่อแสงไฟแฟลชวูบไหว ไม่รบกวนใครดี มีความสุขด้วยกันทุกฝ่าย
       
       แต่นั่นก็เป็นเพียงความคิดความทดท้อที่เกิดขึ้นชั่ววูบ เพราะเมื่อได้คิดถึงภาพของเพื่อนนักดำน้ำหลายๆคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย เดินเข้ามาพบและกล่าวคำขอบคุณที่ภาพถ่ายและข้อเขียนของผมได้เป็นแรงบันดาลใจให้เขาและเธอเหล่านั้นตัดสินใจมาเรียนดำน้ำและได้พบกับโลกแห่งความสวยงามใต้ผืนน้ำ ได้พบกับความมหัศจรรย์ของสรรพชีวิตใต้ท้องทะเล นั่นทำให้ผมเกิดมีกำลังใจที่จะทำงานภายใต้ความกดดันนี้ต่อไป ยิ่งเมื่อคิดถึงผลงานเรื่องราวและภาพถ่ายใต้ท้องทะเลที่เป็นสารคดี บทความในคอลัมน์ต่างๆ ที่เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือในเว็บไซต์ รวมทั้งหนังสือภาพ หนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ค ที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับความงดงามและคุณค่าแห่งสรรพชีวิตใต้ท้องทะเลไทยที่เผยแพร่ออกไป ได้กระจายไปตามห้องสมุดของโรงเรียน ห้องสมุดของสถาบันศึกษา ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กเยาวชน ทำให้พวกเขารู้จักท้องทะเลของเขามากขึ้นไปกว่าการก่อกองทราย เล่นน้ำทะเล กินขนม ไอศกรีมใต้ร่มชายหาดเท่านั้นและก่อให้เกิดความรักความหวงแหน ก็ยิ่งรู้สึกว่าหน้าที่เหล่านี้เป็นภาระผูกพันที่ต้องผลักดันต่อไป
       
       ยิ่งเมื่อย้อนกลับไปคิดถึงตอนที่เริ่มดำน้ำกันใหม่ๆเมื่อเกือบ 20 ปีมาแล้วนั้น ผมและเพื่อนนักดำน้ำสมัยนั้นหาหนังสือและเรื่องราวความรู้เกี่ยวกับโลกใต้ทะเลไทยของเราได้ยากเย็นเต็มที แทบจะไม่มีให้อ่านให้ดูกันเลย จะมีก็หนังสือ “โลกสีคราม” ของท่านมุ้ยที่ได้กลายเป็นข้อมูลและแรงบันดาลใจของผมและนักดำน้ำอีกหลายๆคน กับโปสเตอร์ภาพวาดของปลาและสัตว์ทะเลของกรมประมงที่มีให้ดูกันไม่กี่ชนิดเท่านั้น ในสมัยนั้นยังไม่มีอินเตอร์เนตให้ค้นให้ดูกันด้วย เมื่อดำลงไปพบไปเห็นปลาอะไรก็ยากจะรู้ยากจะอธิบายว่าเป็นปลาอะไรกันแน่ ต้องไปอาศัยค้นหนังสือต่างประเทศที่ฝรั่งทำไว้มาเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นเรื่องยากเย็นเต็มที จนเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป เมืองไทยมีนักดำน้ำเพิ่มมากขึ้น มีนักวิชาการให้ความสนใจในการศึกษาท้องทะเลไทยมากขึ้น มีช่างภาพใต้น้ำมากขึ้น เครื่องมืออุปกรณ์ถ่ายภาพใต้น้ำได้พัฒนาทันสมัยจนเข้าสู่ยุคดิจิตอล เข้าสู่ยุคอินเตอร์เนตที่องค์ความรู้สามารถจะค้นหากันได้ง่ายขึ้นสะดวกสบายขึ้นและเป็นช่องทางในการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับทะเลไทยของเราได้กว่าไกลยิ่งขึ้น ภาพถ่ายและเรื่องราวเกี่ยวกับโลกใต้ทะเลไทยก็ได้รับการเผยแพร่กว้างขวางยิ่งขึ้น การพัฒนาสร้างสรรค์องค์ความรู้เกี่ยวกับท้องทะเลเหล่านี้ จึงไม่ควรที่จะถูกปิดกั้นโอกาสแห่งการพัฒนา รวมทั้งการสร้างสรรค์งานสารคดีของคนไทย ซึ่งในปัจจุบันนั้นผมมั่นใจว่าฝีมือถ่ายภาพของช่างภาพใต้น้ำคนไทยเราทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นนั้น มีความหลากหลายและมีคุณภาพไม่แพ้ชาติใดในโลกเลยทีเดียว
       
       การอนุรักษ์ทรัพยากรที่ดีที่สุดนั้นคงมิใช่การเก็บรักษาแบบปิดตายไม่แตะต้อง ไม่ยุ่ง ไม่ใช้ประโยชน์อะไรเลย เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจะต่างอะไรเล่ากับการไม่มีทรัพยากรเหล่านั้น หรือที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือการปิดกั้นเจ้าของทรัพยากรด้วยกันเองแต่กลับเปิดช่องว่างให้คนต่างชาติต่างภาษาเข้ามาใช้ประโยชน์กับทรัพยากรอย่างที่ประเทศชาติแทบจะไม่ได้อะไร แต่การอนุรักษ์ทรัพยากรที่ถูกต้องคือการรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ใช้ให้อยู่ในความพอดี และมีแนวทางดูแลรักษาอย่างยั่งยืน เพื่อให้ทรัพยากรนั้นยืนหยัดอยู่กับเราตลอดไป


จาก     :     ผู้จัดการออนไลน์  วันที่ 23 พฤษภาคม 2550
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2007, 10:01:29 AM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
แม่หอย
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1404



« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2007, 12:58:42 AM »

 
เป็นคนหนึ่งที่รู้สึกขอบคุณช่างภาพใต้น้ำที่นำความงามของโลกใต้ทะเลออกมาเผยแพร่ช่วยสร้างสำนึกให้ผู้คนเกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรค่ะ..
รักหนังสือโลกทะเลของท่านมุ้ย ชื่นชมสารคดีโลกใต้ทะเลทั้งหลายที่ทั้งช่างภาพและนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศได้ผลิตขึ้นมาเป็นสื่อให้พี่น้องที่ไม่มีโอกาสได้เห็นของจริง ได้ดูได้ชื่นชม ..หรือแม้กระทั่งให้เราๆ ที่ได้เห็นของจริง แต่เอาแค่ลงไปชมความงาม ไม่ค่อยได้สนใจไฝ่รู้อะไรนัก ได้รับความรู้ขึ้นมาบ้าง..

แม่หอยพูดเสมอว่า เรื่องชีวิตสัตว์ใต้ทะเลนั้น อ่านเรื่อง ชมภาพ ดูวีดีโอ ภาพยนต์สารคดีต่างๆ ได้ข้อมูลความรู้ รายละเอียดต่างๆ ชัดเจน ดีกว่าจับสัตว์น้ำมาใส่ตู้อะควาเรียม อ้างว่าเพื่อให้คนไม่มีโอกาสลงทะเลได้เห็นได้ศึกษาซะอีก.. รู้ดีว่าการทำงานสารคดีใต้น้ำแต่ละเรื่อง น่าจะรบกวนวุ่นวายกับชีวิตสัตว์ไม่น้อย กว่าจะได้ภาพได้เรื่องมาครบถ้วน แต่คงไม่ทรมานยาวนานเท่าการถูกจับเอามากักขังให้จบชีวิตลงในตู้ ชีวิตแล้วชีวิตเล่า คนที่มาดูก็แค่เดินผ่านๆ ชมแค่ความงามความแปลก แทบไม่ได้รู้เห็นอะไรเกี่ยวกับชีวิตมันเลยแม้แต่น้อย ..

ติดตามชื่นชมผลงานทั้งเรื่องและภาพของสรรพชีวิตใต้ทะเลของคุณวินิจและปรมาจารย์อีกหลายๆ ท่านที่ทำงานเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของชีวิตใต้ทะเลมาโดยตลอด..
งานของท่านมีประโยชน์นะคะ ไม่ใช่ถ่ายไว้โชว์ไว้อวดฝีมืออย่างเดียว .. อย่าท้อแท้เลยค่ะ

สมัยนี้คนเราถือกล้องลงน้ำกันเยอะ แต่ถ้าเราแค่จะเก็บความประทับใจไว้ชื่นชมเป็นความทรงจำส่วนตัว ก็ควรจะเอาแค่พอดูได้ อย่าถึงกับเอาจริงเอาจังยิงชัตเตอร์พร้อมแฟลชไม่ยั้งจนปลาตาบอดตามๆ กัน หรือตะเกียกตะกายแก่งแย่งซีนจนปะการังกระจุยเลยนะคะ
 แหม.. คนทำงานยังจะต้องมารู้สึกถูกกดดัน สงสัยว่าคนที่ถือกล้อง ถ้าจะมีใครที่ต้องก้มมองตัวเอง เพื่อพิจารณาหยุดการถ่ายภาพอันเป็นการรบกวนชีวิตสัตว์  ก็คงไม่ใช่คุณวินิจหรอกนะคะ ..

ปล. เรื่องถ่ายภาพใต้น้ำน่ะแม่หอยไม่มีความกดดันหรอกค่ะ ถ่ายภาพเพื่อบันทึกเรื่องราวและเก็บไว้ใช้ในงาน ถ่ายมา 3 ปี 5 ปี ไม่มีพัฒนา ไม่กดดัน ไม่ประกวดกับใคร และถ้ากล้องน้อยยังบันทึกภาพได้ก็ยังไม่หยุดถ่ายภาพ ไม่เลิกไม่แลกทั้งนั้น ฮิๆ..
มีแต่ความกดดันเรื่องอื่น.. เครียด...ด...ด...
บันทึกการเข้า
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2007, 01:38:17 AM »

การอนุรักษ์ทรัพยากรที่ดีที่สุดนั้นคงมิใช่การเก็บรักษาแบบปิดตายไม่แตะต้อง ไม่ยุ่ง ไม่ใช้ประโยชน์อะไรเลย --> แล้วปล่อยให้ 'คนข้างใน' บุกรุกย่ำยี...


จริงๆ แล้ว...คนทุกคน...ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นชาติไหนภาษาไหนศาสนาไหน..ก็ควรที่จะมีส่วนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม..ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นภาระกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง..


ยกตัวอย่าง...คนกวาดถนนดิ...ตื่นเช้ามา...กวาดดดดด...กวาดดดด...พิงค์ว่า...เค้ากวาดเท่าไหร่ ขยะก็ไม่หมดหรอก..ถ้าคนทิ้ง..ตั้งหน้าตั้งตาทิ้ง.. บางทีแค่ถือแล้วเอาไปทิ้งในถังขยะที่ห่างออกไปไม่เกินเมตร..ก็ไม่ทำให้เค้าต้องลำบากกวาดแล้ว...


'ตะเกียกตะกายแก่งแย่งซีนจนปะการังกระจุยเลยนะคะ' --> เหตุการณ์นี้เจอบ่อยเลยคะ แม่หอย..เคยแบบกำลังถ่ายรูปอยู่..ไม่รู้พ่อคุณแม่คุณ ร่อนมาจากไหน ... ตีทรายกระจุย ไม่พอ..ร่อนลงมาบนหัวเราด้วย.. คำว่า 'รอ' หรือ 'wait' ไม่รู้จัก..
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
แมลงปอ
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 681


« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2007, 07:15:58 AM »

   
บันทึกการเข้า
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2007, 07:20:27 AM »

อ่านบทความของน้องวินิจแล้ว ทำให้รับรู้ได้ถึงความกดดันและความบอบช้ำในใจของน้องวินิจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ถูกข่มขู่คุกคามจากนักดำน้ำฝรั่งต่างชาติในขณะที่ทำหน้าที่ช่างภาพใต้น้ำมืออาชีพที่ต้องนำเสนอเรื่องราวของทะเลและสรรพชีวิตใต้ท้องทะเลไทยได้เป็นอย่างดี

น้องวินิจคะ....แผลในใจครั้งนี้คงยากที่จะจางหายไปจากใจของน้อง....

เหนื่อยใจ...เหนื่อยกาย และท้อแท้ใจ เป็นเรื่องธรรมดาที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆกับมนุษย์ที่ตั้งใจจะทำสิ่งที่ดีๆให้กับสังคมส่วนรวมและประเทศชาติ

แต่ขอเถอะค่ะ...ขออย่า ท้อถอย นะคะ

เพราะเมื่อไรที่เรา "ถอย"....เมื่อนั้นคนชั่วจะเข้ามาแทนที่เรา และตั้งหน้าตั้งตาทำลายสังคมและประเทศชาติของเราทันที...

พี่สองสายขอเป็นกำลังใจให้น้องวินิจ และมนุษย์ที่คิดดี....พูดดี....ทำดี เพื่อสังคมและชาติไทยของเราทุกๆท่านค่ะ
บันทึกการเข้า

Saaychol
conundrum
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 454


« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2007, 07:53:26 AM »

ผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ดำน้ำ และมีกล้องถ่ายรูปใต้น้ำ แต่ก็เป็นแค่ช่างภาพใต้น้ำรุ่นเบบี้สมัครเล่น (baby amature) ถ้า object ไหนที่ไม่มีใครคอยต่อคิวอยู่ ผมก็จะบรรจงถ่าย อย่างหนำใจ ปั้นแล้วปั้นอีก (แต่ก็พยายามไม่ให้รบกวนธรรมชาติใต้น้ำมากเกินไป และพยายามไม่ไปเตะ หรือแตะต้องธรรมชาติรอบตัว) ถ้าปั้นแล้วไม่ได้ซักทีก็หยุดครับ เพราะ buddy ข้าง ๆ ตัวมักจะสะกิดว่าไปต่อเหอะ! ฉันรอเธอนานแล้ว 

แต่ถ้า object ใดมีคนต่อคิวอยู่เยอะ เข้าลักษณะรุมสกรัม ผมก็จะรออยู่ห่าง ๆ พอถึงคิว ก็ถ่ายภาพเพียงแค่ 2-3 ช็อต  แล้วก็ออกไป ให้คนอื่นถ่ายมั่ง  (ถ้ามีคนรอต่อคิวอยู่)  บางครั้งผมก็รอถ่ายรูปเป็นคนสุดท้าย จนเกือบจะติด decomp  ซะงั้น แต่ก็ช่างเถอะ เพราะคนที่เข้ามาถ่ายรูปก่อนหน้าผมบางคนก็ไม่มี dive comp (อันนี้พิจารณาจากข้อมือของคนอื่น ๆ ที่ต่อคิวอยู่)
บันทึกการเข้า
Sky
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 2506



« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2007, 08:15:33 AM »


Sky ก็มักจะมีกล้องติดมือ เกือบๆ ทุก Dive เหมือนกัน นอกจาก Dive ไหน ท่าทางจะทุลักทุเล ก็ไม่เอากล้องลงค่ะ

แต่เมื่อไหร่ที่เอากล้องลงน้ำ ก็ไม่ค่อยเอาตัวไปโดนอะไรๆ มาก เพราะกลัวเปื้อน(แหะๆ) กลัวตัวไปเกี่ยว ไปติด กลัวไปทับถูกอะไรที่ตาเซ่อๆ ของเรามองไม่เห็น ภาพที่ออกมา ก็เลยไม่ค่อยชัด แต่ก็ปลื้มกับภาพตัวเอง ว่าเราเจอตัวนั้นตัวนี้ และปรกติก็ถ่ายรูปด้วยโหมดอัตโนมัติอยู่แล้ว ก็เลยไม่ได้ใช้เวลานานในการถ่ายมากค่ะ

Sky ชอบดูรูปใต้น้ำสวยๆ ยิ่งถ้าเป็นวีดีโอยิ่งชอบสุดๆ แต่ไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นเท่าไหร่นะคะ

ขอเป็นกำลังใจ ให้ทุกๆ ท่านที่รักการถ่ายภาพใต้น้ำค่ะ
 
บันทึกการเข้า
Sri_Nuan.Ray
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1808



เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2007, 10:28:18 AM »

ยอมรับ และเห็นด้วย กับบทความของคุณวินิจ ครั้งนี้

ในประเด็นที่ถือกล้องแล้วดำน้ำนั้น เป็นเรื่องที่กดดัน ตัวเองและกดดันผู้อื่นเป็นอย่างยิ่ง
ในมุมมองของตัวเอง ณ ปัจจุบัน   ตัวอย่างเช่น เวลาที่ SNR เป็น Leader ใต้น้ำ มีหน้าที่หลักคือ คอยดูแล สารทุกข์ของลูกทีมตัวเอง  และ ต้องสอดส่าย สายตา หาสัตว์น้อยๆ ถึงสัตว์ใหญ่ๆ ให้ทุกคนได้ชม ได้มีความสุขเช่นกัน  แต่การที่ SNR  เอง ถือกล้องด้วย และปฎิบัติหน้าที่ด้วย ในบางครั้งเป็นเรื่องที่เกิน ความสามารถของ Leader ได้ อาจจะทำให้ไม่มีเวลาดูเรื่องความปลอดภัยใต้น้ำให้ลูกทีม หรือ ช่วยแย่งเวลา...ลูกทีม ถ่ายรูปด้วยเช่นกัน   อาจจะติด ดีคอมทั้งกลุ่ม และอาจทำให้ไม่มีเวลา ใส่ใจลูกทีม ซึ่งทำให้อาจเกิดกรณี ของคุณวินิจ ที่ผ่านมาได้เช่นกัน   เรื่องนี้ กดดันมากกกก

การถ่ายรูปใต้น้ำ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี... แบ่งปันความสุข กันได้ เก็บความรู้สึก ดีๆ ได้ แต่ ต้องเตือนตัวเองเสมอว่าอย่ามากเกินไป  หน้าที่หลัก เป็นอะไร หน้าที่รองเป็นอะไร ควรเพิ่มการระมัดระวัง การดูแล เอาใจใส่สมาชิกใต้น้ำ ให้มากขึ้น  ที่สำคัญคือ
ตัวเองต้องมีความรู้ต้องมีความมั่นใจว่าไม่ได้รบกวนบรรดาสิ่งมีชีวิตใต้น้ำรวมทั้งไม่เป็นผู้ที่มีส่วนในการทำลายสภาพแวดล้อมใต้น้ำ
หรือเป็นนักทำลายเสียเอง... สิ่งหนึ่งที่คาใจที่เป็นคำถามและต้องการคำตอบคือ คือ...   การถ่ายภาพใต้น้ำโดยการใช้แฟลช ทำให้สิ่งมีชีวิต เช่นปลา มีผลกระทบ หรือไม่... หากยังไม่ทราบตอนนี้ ก็จะพยายามลดการใช้ แฟลช ให้น้อยลงค่ะ

แต่หากภาพออกมาเขียวๆ ฟ้าๆ ก็อย่าโทษ กันเน้อ....พี่น้อง
บันทึกการเข้า

~~~ หากเราหยุดนิ่ง ทุกอย่างที่ผ่านมา คือ อดีต.... ทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพื่อมันจะได้เป็นอดีตที่มีค่าแก่ ความทรงจำของเรา  ~~~
conundrum
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 454


« ตอบ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2007, 02:30:17 PM »

คุณ SNR ครับ  ผมว่า กล้องถ่ายรูป กับการปฏิบัติหน้าที่ leader หรือ dive master ที่ต้องดูแลนักดำน้ำคนอื่น เป็นเหมือนทางขนานกันครับ       

ครูที่ผมรู้จักถึงกับขายกล้องยกชุด เขาบอกว่า เมื่อทำหน้าที่ leader แล้ว ก็ไม่มีโอกาสถ่ายรูปอีกต่อไป ยกเว้นแต่จะหลบลี้หนีหน้าไปเที่ยวส่วนตัว แล้วโชว์บัตร advanced ให้ dive operator ดู
บันทึกการเข้า
Bubble-LAX
ได้2ดาวแล้วพยายามอีกหน่อยจะได้สอย3ดาว
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 77



« ตอบ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2007, 05:47:21 PM »

Truely appreciated the UDW photographer for his/her hard work na ka.
They present the beauty of the different world for us on the dry land to learn and appreciated the unseen part of the world to most people.  We enjoy the UDW photographing too...we bring down camera to keep some of the nice memory...but most of all..if we just saw it with or without catching the moment in the camera....i believe it' alright since all those nice and great moment were still be remembered in our memory and out heart forever anyway...just close yr eyes sometime and think about those nice and relaing moments you have had UDW !!!!!   
So ..pls don't fight to take any pixs underwater na ka....we will see those cuty fish again....!!! on the next dives...
บันทึกการเข้า

Pay It Forward
แม่หอย
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1404



« ตอบ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2007, 11:05:54 PM »

 
ขอยืนยันความสุขเล็กๆ ของนักดำน้ำ (เหี่ยวๆ) ที่ไม่รู้สึกกดดันในการถ่ายภาพใต้น้ำ ..
เห็นด้วยกับคุณ Bubble-LAX ค่ะ .. ความทรงจำของแม่หอยมีรายละเอียดสวยกว่าภาพที่ตัวเองบันทึกมาได้มากมาย ..ยังจำความรู้สึกงดงาม ความสุขใจ และบรรยากาศใต้น้ำในวันหนึ่งเมื่อ 3 ปีก่อน ที่ได้บันทึกภาพเจ้าตัวน้อยสุดโปรดตัวหนึ่ง ภาพสวยสุดที่มือสมัครเล่นบันทึกได้ สวยสุดได้แค่เนี้ย..

 เมื่อไม่นานมานี้ไปดำน้ำสำรวจพื้นที่เกาะจาน ได้เจอเจ้าตัวน้อยชนิดเดียวกันนี้ 2 ตัว เกาะเกี่ยวอยู่ด้วยกันบนกิ่งก้านกัลปังหา.. ไม่ได้เอากล้องลงไปเลยไม่ได้ถ่ายภาพ แต่ภาพที่เห็นยังติดตรึงอยู่ในความทรงจำ  เจ้าตัวน้อยสีม่วงสวยน่ารักมาก.. เห็นแล้วคิดถึงเจ้าตัวแรกที่ได้เห็นเมื่อ 3 ปีก่อน
 
ย้อนไปอ่านเรื่องราวเก่าๆ มีความสุขมากค่ะ ..
http://www.saveoursea.net/oldboard/viewtopic.php?t=953&sid=4db8f0c099780c1b5f3b055341652b71

แค่อยากแบ่งปันความสุขต้อนรับเช้าวันนี้นะคะ..
บันทึกการเข้า
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 01:34:31 AM »

เห็นด้วยกะ พี่พี่ น้องน้อง ทุกท่าน .. ถ่ายรูปอย่างมีความสุข ..แต่ต้องไม่รบกวน สิ่งแวดล้อม .. พี่สีนวลเคยเล่าให้ฟัง .. ว่าไอ้ leader ญี่ปุ่น .. ชอบเล่น hide & seek พอพวกมันมา มันก็พาไปดู .. พอพวกมันไป .. มันก็เอาไปซ่อน ..  ทะเลเป็นสมบัติของคนทุกคนบนโลก .. ไม่ใช่ของผู้ใดผู้หนึ่ง .. 
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
angel frog
อีกไม่กี่กระทู้ก็ได้5ดาวแล้วเร่งมือหน่อย
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 371


สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว


« ตอบ #12 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 07:57:01 AM »

.. พี่สีนวลเคยเล่าให้ฟัง .. ว่าไอ้ leader ญี่ปุ่น .. ชอบเล่น hide & seek พอพวกมันมา มันก็พาไปดู .. พอพวกมันไป .. มันก็เอาไปซ่อน ..  ทะเลเป็นสมบัติของคนทุกคนบนโลก .. ไม่ใช่ของผู้ใดผู้หนึ่ง .. 

ไอ้แบบนี้มันแย่จริงนะ .....

สมัยก่อนลีดเดอร์ถ้าเจออะไร  เราก็จะบอกกัน  ไม่เพียงแต่เท่านั้น ต้องจัดคิวให้เข้าไปถ่ายรูป หรือเข้าไปดู (ทีละคน)แล้ว  ยังคอยกันไม่ให้กลุ่มอื่นๆ ที่ผ่านมาแสกหรือแหวกเข้ามา  ทั้งแนวบนล่างซ้ายขวา   บ่อยครั้งที่กลุ่มฝรั่งผ่านมา  ถามเรา เราก็บอก  เขาก็มีมรรยาทขอบคุณ   คนไทยเสียอีก  บางคนก็คอยตามคิว   บางคนลีดเดอร์เฉิดใส่...แต่ลูกทีมแวะเข้ามาก็มี        เราก็ไม่ว่าอะไรกัน   ......เรียกว่า สมบัติผลัดกันชม..นะ      บางทีเราจะช่วยจับตัวตรึงคนถ่ายไว้ให้นิ่ง   เพื่อเขาจะได้ไม่ปลิวตามกระแสไปโดนปะการัง ขณะที่ถ่ายภาพ   เราก็ทำกันมามาก

จิตสำนึกของการอนุรักษ์ ......   ถ้าใครมี .....   ไม่ว่าจะทำอะไร ..... มันก็จะแสดงออกมาเองแหละ  ...นะ ว่าไหม
บันทึกการเข้า
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #13 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2007, 12:25:38 PM »

[จิตสำนึกของการอนุรักษ์ ......   ถ้าใครมี .....   ไม่ว่าจะทำอะไร ..... มันก็จะแสดงออกมาเองแหละ  ...นะ ว่าไหม


เห็นด้วยกะพี่ป้ากบจ้า..
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
P-I-juun
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11


« ตอบ #14 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2007, 03:55:07 AM »

เห็นด้วยนะครับ และขอร่วมแนวความคิดที่จะช่วยกัน ...ดูแล..ป้องกันตามความสามารถของตัวบุคคล...สร้างจิตสำนึกอนุรักษ์...และ...เผื่อแผ่ความรักให้ทั้งคนและสิ่งแวดล้อมอะครับ....

สำหรับผู้ที่ทำเป็นงานคงกดดันนะครับแต่ผมแค่ๆๆ เก็บภาพความทรงจำที่น่าประทับใจ..ในแต่ละช่วงของเหตุการณ์ ถ่ายเอาหนุกๆๆอะครับ ........
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.499 วินาที กับ 20 คำสั่ง