กระดานข่าว Save Our Sea.net
เมษายน 26, 2024, 01:41:50 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พะยูน รีเทิร์น  (อ่าน 11189 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: มกราคม 20, 2009, 01:32:55 AM »


ตื่นเต้นเจอพะยูนหลายตัวโผล่อ่าว


เมื่อวันที่ 16 ม.ค. นางกาญจนา อดุลยานุโกศล นักวิชาการประมง 8 ว หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เปิดเผยว่า เมื่อปลายปี 2551 คณะนักวิจัยกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก จ.ภูเก็ต นำโดยนายเผ่าเทพ เชิดสุขใจ สำรวจพบรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนจำนวนมากที่อ่าวตังเข็น แหลมพันวา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นเวลานานแล้วที่พบพะยูนที่อ่าวตังเข็นนี้ โดยสถาบันเคยพบพะยูนยาว 2.8 เมตร เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2524 จากนั้นไม่เคยได้รับข่าวว่ามีพะยูนเข้ามาในอ่าวตังเข็นอีกเลย

ต่อมาทีมงานขออนุญาตโรงแรมเดอะ รีเจนท์ ตั้งอยู่บนเขาสูงด้านขวาของอ่าวตังเข็น เพื่อขึ้นไปสังเกตพะยูน และตื่นเต้นมากเพราะเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2551 เวลาประมาณ 10.00 น. พบพะยูน 1 ตัวโผล่ขึ้นมาหายใจ และดำลงไปกินหญ้าทะเลบริเวณแนวหญ้าทะเลกลางอ่าวนานกว่า 2 ช.ม. ทีมงานสามารถบันทึกภาพไว้ได้ จากนั้นเพียรเฝ้าสังเกตพะยูนจากโรงแรมเดอะ รีเจนท์เกือบทุกวัน โดยสังเกตเห็นพะยูนได้ 5 ครั้งใน 4 วัน จากการเฝ้าสังเกตทั้งหมด 26 ครั้ง และพบว่าพะยูนเข้ามากินหญ้าทะเลแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 2-3 ช.ม. ช่วงน้ำทะเลขึ้นฝั่ง

"สิ่งที่น่าห่วงใยคือ หาดแห่งนี้มีระบบนิเวศสมบูรณ์มาก ชายหาดด้านในมีแหล่งหญ้าทะเล ส่วนด้านนอกเป็นแนวปะการัง ด้านขวาของหาดเป็นป่าชายเลน จากเดิมที่อ่าวนี้มีเฉพาะชาวบ้านและชาวประมงขนาดเล็กเพียงไม่กี่หลังคาเรือน แทบไม่มีการทำการประมงในอ่าวนี้เลย ชาวบ้านอาจหาเก็บหอยเป็นครั้งคราวตอนน้ำลง ปัจจุบันมีการพัฒนาชายหาดของอ่าวตังเข็นเป็นโรงแรมขนาดใหญ่ และหากสร้างท่าเทียบเรือหรือมีเรือเร็วเข้าออกในอ่าวนี้ พะยูนคงจะอยู่ไม่ได้อย่างแน่นอน"นักวิชาการ ทช. กล่าว



จาก                                        :                                     ข่าวสด       วันที่ 17 มกราคม 2552
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 22, 2009, 01:59:30 AM โดย สายน้ำ » บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 22, 2009, 01:58:38 AM »


พะยูน รีเทิร์น


แผนที่บ่งชี้บริเวณที่มีการค้นพบพะยุน

คณะนักวิจัยกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ประกาศข่าวดี พะยูนโผล่ภูเก็ต หลังหายตัวกว่า 30 ปี หวั่นท่องเที่ยวรุกต่อ ทำพะยูนเผ่นซ้ำ ทิ้งน่านน้ำไทยถาวร

ข่าวพบเห็นการกลับมาของ "พะยูน" ที่บริเวณอ่าวตังเข็น แหลมพันวา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ถูกจัดวางเอาไว้ด้านในของหนังสือพิมพ์หลายฉบับ หลายคนอาจพลิกข้ามผ่าน แต่สำหรับ คณะนักวิจัยกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก แม้ไม่ใช่ "ข่าวใหญ่" ที่สร้างความเกรียวกราวขนาดหน้า 1 ต้องมอบพื้นที่ให้ .. แต่นี่คือ "ข่าวดี" ครั้งสำคัญ หลังจาก "พะยูน" ได้หายไปอย่างไร้ร่องรอยและไม่เคยปรากฏกายให้ใครๆ (ในภูเก็ต) ได้เห็นอีกเลยนานเกือบ 30 ปี ผู้อยู่เบื้องหลังคราวนี้ มีอยู่ 3 คน ได้แก่ กาญจนา อดุลยานุโกศล เผ่าเทพ เชิดสุขใจ และ สนธยา มานะวัฒนา คณะนักวิจัยกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก แม่ทัพสำคัญจากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตีกลองบอกข่าวดี

เผ่าเทพ เชิดสุขใจ นักวิชาการประมง หนึ่งในกลุ่มเจ้ากรมข่าวดีครั้งนี้ เริ่มต้นเล่าว่าภาพที่สามารถสร้างรอยยิ้มให้กับคณะนักวิจัยกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จ. ภูเก็ต ได้เป็นครั้งแรกเกิดขึ้นราวกลางเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา หลังจากได้สำรวจพบรอยกินหญ้าทะเลของพะยูน (feeding trails) จำนวนมากที่อ่าวตังเข็น แหลมพันวา และจุดนี้สถาบันฯ เคยได้ต้อนรับพะยูนความยาว 2.8 เมตรจากอ่าวตังเข็น เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524 และนั่นคือตัวสุดท้าย

ภารกิจติดตามค้นหาตัว "พะยูน" จึงเกิดขึ้นตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา และได้รับแรงสนับสนุนอย่างดีจากภาคเอกชน โดยเฉพาะโรงแรมเดอะรีเจนท์ ซึ่งวางตัวอยู่บนเขาสูงด้านขวาของอ่าวตังเข็น ได้อนุญาตให้ทีมเข้าไปสังเกตการณ์พะยูนอย่างอิสระ ในที่สุดเวลาที่ทุกคนรอคอยก็เดินทางมาถึง แต่ละคนล้วนสะกดความตื่นเต้นกันแทบไม่อยู่ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2551 เวลาประมาณ 10:00 น. ภาพของพะยูนลำตัวสีชมพูขนาดใหญ่จำนวน 1 ตัวโผล่ขึ้นมาหายใจและดำลงไปกินหญ้าทะเลในบริเวณแนวหญ้าทะเลกลางอ่าว เป็นเวลานานกว่า 2 ชั่วโมง และสามารถบันทึกภาพไว้ได้ หลังจากนั้นทีมงานก็ยังเพียรเฝ้าสังเกตพะยูนจากอาคารของโรงแรมเดอะรีเจนท์เกือบทุกวันที่มีโอกาส "แต่ละวัน เราจะเฝ้ารอดูอยู่ 2-3 ชั่วโมง ในช่วงน้ำทะเลขึ้นเต็มฝั่ง เพราะช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่พะยูนจะเข้ามากินหญ้าทะเล ซึ่งบางครั้งเราก็ได้เห็นพะยูนมากินหญ้านาน 2 ชั่วโมง โดยจะขึ้นมาหายใจทุกๆ 2-3 นาที แล้วค่อยดำลงไปกินต่อ

" เจ้าพะยูนตัวนี้ มีขนาดความยาวประมาณ 2 เมตร ตามคำบอกเล่าของเผ่าเทพที่สังเกตการณ์อยู่ไม่ไกล แล้วพอน้ำทะเลลง เจ้าหน้าที่จะใช้โอกาสตรงนั้นสำรวจและติดตามรอยกินหญ้าทะเลของพะยูน ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 2 เดือนเศษ จากนั้นก็จะทำการวางทุ่นเพื่อบอกกำหนดบริเวณพื้นที่ที่ศึกษาจำนวน 5 ทุ่น พร้อมทำเครื่องหมายรอยกินของพะยูนเพื่อให้สามารถติดตามรอยกินครั้งใหม่ๆ ได้ถูกต้อง

"เราพบรอยกินหญ้าวันละ 19-30 รอย แต่ละรอยกินความกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2 เมตร" จากการเฝ้าสังเกตทั้งหมด 26 ครั้ง คณะนักวิจัยกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สามารถสังเกตเห็นพะยูนเพียง 5 ครั้งใน 4 วัน (วันที่ 29 พฤศจิกายน และ 6,7 และ 9 ธันวาคม 2551)


หญ้าทะเล อาหารพะยูน

ระหว่างนั้นก็มีอุปสรรคแทรกเข้ามาเป็นระยะๆ " วันที่ 6 ธันวาคม เวลาประมาณบ่ายสามโมงสิบห้า มีพะยูน 1 ตัวเข้ามาหากินหญ้าทะเลในตำแหน่งใกล้ทุ่นที่เราวางไว้ แล้วจู่ๆ ก็มีเรือติดเครื่องยนต์วิ่งเข้ามาวางลอบในอ่าวใกล้กับที่พะยูนหากินอยู่ พอชาวประมงโยนลอบลงไป พะยูนก็ตกใจ ว่ายน้ำหนีออกไปอย่างรวดเร็ว"

แต่สิ่งนี้ก็ไม่ได้ทำให้ทีมวิจัยฯ ถอยหลังกลับ ทุกคนยืนยันว่า อุปสรรคที่เกิดขึ้นนับว่าเล็กน้อยมาก และจะเดินหน้าตามหาพะยูนต่อไป

"สิ่งที่น่าห่วงใย คือ หาดแห่งนี้มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์มาก ชายหาดด้านในมีแหล่งหญ้าทะเล ส่วนด้านนอกเป็นแนวปะการัง และด้านขวาของหาดเป็นป่าชายเลน จากเดิมที่อ่าวนี้มีเฉพาะชาวบ้านและชาวประมงขนาดเล็กเพียงไม่กี่หลังคาเรือน แทบไม่มีการทำการประมงในอ่าวนี้เลย ชาวบ้านอาจหาเก็บหอยเป็นครั้งคราวในตอนน้ำลง แต่ปัจจุบัน มีการพัฒนาชายหาดอ่าวตังเข็นเป็นโรงแรมขนาดใหญ่ ถ้ามีการสร้างท่าเทียบเรือ หรือมีเรือเร็วเข้าออกในอ่าวนี้ พะยูนคงอยู่ไม่ได้อย่างแน่นอน"

นอกจากความห่วงและกังวล นักวิจัยกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ยังเสนอแนะว่า ถ้าเป็นไปได้ก็อยากส่งเสริมให้นักท่องเที่ยว ได้มีส่วนร่วมกันอนุรักษ์พะยูนและระบบนิเวศหญ้าทะเล ปะการังและป่าชายเลน "อาจจะปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศก็ได้ โดยสถาบันฯ จะช่วยในเรื่องจัดทำ Nature trail เอง"

อาจไม่ได้มาแค่ตัวเดียว ก่อนการปรากฎกายของ "พะยูน" ที่อ่าวตังเข็นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ทศวรรษนั้น นักวิชาการกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก บอกว่านี่เป็นสัญญาณของการกลับมาของพะยูนภูเก็ตแล้ว โดยทางฝั่งทะเลด้านตะวันตกของเกาะภูเก็ต ลุงต๋อย หรือ จุรณ ราชพล เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์บ้านป่าคลอก ก็เคยพบเห็นพะยูนดอดเข้ามากินหญ้าทะเลหน้าหาดบ้านป่าคลอก และบางครั้งในช่วงน้ำขึ้น พะยูนก็ขึ้นมาหายใจ

ส่วนร่องรอยการกินหญ้าที่พบจะเป็นเฉพาะหญ้าทะเลชนิด หญ้าอำพัน หรือ หญ้าชะเงา (ชื่อวิทยาศาสตร์ Halophila ovalis) "รอยกินหญ้าของพะยูนจะไม่เป็นเส้นตรง ยาวตั้งแต่เมตรเศษๆ ไปจนถึง 5-6 เมตร บางครั้งก็พบรอยกินของลูกพะยูน รอยกินของเจ้าตัวเล็กมักอยู่ห่างจากรอยกินของแม่พะยูนประมาณ 1 เมตร" ลุงต๋อยร่วมให้ข้อมูล

ขณะนี้นักวิจัยได้ติดตามรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนที่หาดแห่งนี้ เพื่อใช้ในการประเมินประชากรพะยูนที่เข้ามาหากินในบริเวณดังกล่าว และศึกษาพฤติกรรมการกินอาหารของพะยูน ด้วยหวังว่าจะพบเห็นการปรากฎตัวอย่างเป็นทางการเช่นเดียวกับอ่าวตังเข็น แหลมพันวา

นอกจากนี้ ที่ อ่าวฉลอง (ห่างตัวเมืองภูเก็ตไป 11 กม.) ก็ส่งสัญญาณบ่งบอกการกลับมาของพะยูนภูเก็ตเช่นกัน โดย "เครือข่ายชุมชนชายฝั่งอ่าวฉลอง" พลังขับเคลื่อนจากชาวบ้านกลุ่มสำคัญที่รวมตัวกันผลักดันการเรียกคืนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำต่างๆ ให้กลับมา

สุทา ประทีป ณ ถลาง ประธานเครือข่ายชุมชนชายฝั่งอ่าวฉลอง ได้สำรวจพบแหล่งหญ้าทะเลในอ่าวฉลองว่ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทำให้พบเต่าทะเลและโลมากลับเข้ามาหากิน และนำไปสู่การเดินทางกลับมาของพะยูน ที่ปรากฎต่อสายตาชาวบ้านเป็นครั้งคราวอีกด้วย

ส่วนประเด็นที่ว่า ความสมบูรณ์ของธรรมชาติทางทะเลเป็นปัจจัยสำคัญหลักที่ส่งผลให้ "พะยูน" เดินทางกลับบ้านหลังเดิมที่ภูเก็ตอีกครั้งหรือไม่นั้น คณะนักวิจัยกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก กำลังไขปริศนาและหาคำตอบชนิดเร่งวันเร่งคืน ใครพรากพะยูน?

คำถามที่ว่า "พะยูนกำลังจะสูญพันธุ์ไปจากจังหวัดภูเก็ตจริงหรือ?" วันนี้ยังมีใครบางคนมองเป็นเรื่องตลก แต่ในทางตรงกันข้าม เหตุการณ์เช่นนี้กลับไม่ไกลเกินความเป็นจริงเลย พิสูจน์ได้จากความเพียรพยายามในการเฝ้าติดตามการกลับมาอีกครั้งของพะยูน ที่ต้องใช้เวลายาวนานถึง 30 ปี และจากข้อมูลของ นักวิจัยกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จ.ภูเก็ต พบว่า พะยูนที่อาศัยอยู่ทั่วโลกได้สูญพันธุ์ไปเป็นจำนวนมากในหลายพื้นที่และกำลังจะสูญพันธุ์ในอีกหลายๆแห่ง  ที่สำคัญ ประเทศไทยตกอยู่ในข่ายนั้น

เมื่อพิจารณาจากสถิติแนวโน้มจำนวนประชากรพะยูนที่น้อยลงเรื่อยๆ อัตราการตายสูงกว่าอัตราการเกิด "ถ้าเรายอมให้พะยูนวัยหนุ่มสาวที่พร้อมจะสืบพันธุ์ได้ ตายเกินร้อยละ 5 ตัวต่อหนึ่งปี นั่นก็คือเส้นทางแนวดิ่งของการสูญพันธุ์ของพะยูนในน่านน้ำไทยอย่างแน่นอน" เป็นคำพูดของ กาญจนา อดุลยานุโกศล นักวิชาการประมง 8 ว หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ร่วมให้ข้อมูลอีกว่า ในประเทศไทย สาเหตุที่ทำให้พะยูนตายส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์โดยเฉพาะการประมงอวนติดตาหรืออวนลอยประเภทต่างๆ  รองลงไปเป็นโป๊ะน้ำตื้น 


โผล่มาแล้ว

ในจังหวัดภูเก็ตก็เช่นกัน มีพะยูนเกยตื้นหรือตายจากการติดอวนลอยจำนวน 8 ตัว ติดโป๊ะจำนวน 3 ตัว เรือชนตาย 1 ตัว และไม่ทราบสาเหตุ 1 ตัวซึ่งเป็นลูกพะยูนขนาดเล็ก ทั้งนี้สถิติพะยูนที่เกยตื้นในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ตซึ่งถูกบันทึกไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2524-2550 เป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดีว่า "น้ำมือมนุษย์" คือเหตุผลใหญ่ที่พรากพะยูนไปอย่างไม่มีวันกลับ ไล่ตั้งแต่

2 มีนาคม 2524 พบพะยูน ความยาว 2.8 ม.น้ำหนัก 300 ก.ก.เพศผู้ ติดอวนลอย อ่าวตังเข็น แหลมพันวา เสียชีวิต

วันที่ 25 สิงหาคม 2524 พบพะยูน ความยาว 1.8 ม. น้ำหนัก 90 ก.ก. เพศผู้ ติดอวนลอยปู บริเวณอ่าวปอ อ.ถลาง ตายหลังจากอนุบาลที่สถาบันฯ ได้ 77 วัน

ในวันที่ 24 มีนาคม 2525 พบพะยูน ความยาว 1.2 ม.น้ำหนัก 31 ก.ก. เพศผู้ติดอวนลอย บริเวณอ่าวมะขาม เยื้องเกาะตะเภาใหญ่ ต.วิชิต อ.เมือง ตายหลังจากอนุบาลที่สถาบันฯ ได้ 111 วัน

จากนั้นปี 2529 พบพะยูน ความยาว 2.5 ม. เพศเมียติดอวนลอย บริเวณอ่าวฉลอง อ.เมือง ตายและชาวบ้านนำเนื้อไปกิน

ต่อมาปี 2529 พบซากพะยูน ความยาว 1.8 ม. ติดอวนลอย บริเวณอ่าวฉลอง อ.เมือง ตายและชาวบ้านนำเนื้อไปกิน

วันที่ 2 สิงหาคม 2541 พบพะยูน ความยาว 2.19 ม. หนัก 184 ก.ก. เพศผู้ ถูกเรือชนในท่าเรือน้ำลึก ใกล้เกาะตะเภาใหญ่ อ.เมือง

17 มกราคม 2543 พบซากพะยูน ติดอวนลอย ณ หาดป่าคลอก อ.ถลาง ชาวบ้านนำเนื้อไปกิน

วันที่ 10 เมษายน 2543 พบพะยูนติดโป๊ะที่บางโรง อ.ถลาง สามารถช่วยชีวิตไว้ได้และปล่อยไป วันที่ 25 ตุลาคม 2543 พบซากติดอวนลอย บริเวณหาดป่าคลอก อ.ถลาง ตายและชาวบ้านนำเนื้อไปกิน

วันที่ 28 มีนาคม 2545 พบพะยูน ความยาว 2.14 ม.น้ำหนัก 174 ก.ก.เพศผู้ ติดโป๊ะ บริเวณหัวแหลมบ้านพัด ต.วิชิต อ.เมือง

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547พบพะยูนความยาว1.15 ม.น้ำหนัก 30 ก.ก.เพศเมีย บริเวณบ้านพารา ป่าคลอก อ.ถลาง ตายหลังจากอนุบาลที่สถาบันฯ ได้ 79 วัน

วันที่ 1 มกราคม 2548 พบซากพะยูนติดอวนลอย ป่าหล่าย อ่าวฉลอง อ.เมือง ตายและชาวบ้านนำเนื้อไปกิน

วันที่ 2 เมษายน 2550 พบพะยูนขนาด 1.92 ม.น้ำหนัก 126 ก.ก.เพศผู้ ติดโป๊ะที่อ่าวป่าคลอก อ.ถลาง ตายและผ่าชันสูตรซาก

โดยพะยูนตัวล่าสุดที่ได้รับเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 บริเวณนอกชายฝั่งแหลมกา อ.เมือง จ.ภูเก็ต เวลา 6:00 น.จากการชันสูตรซากพบว่า พะยูนตัวนี้มีบาดแผลตื้นๆ ภายนอกเพียงเล็กน้อย เป็นแผลสดแต่ไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ที่สำคัญพบแผลและรอยช้ำบริเวณรอบโคนหาง ซึ่งเกิดจากการมัดเชือกและลากเพื่อขนย้าย ในกระเพาะอาหารมีหญ้าทะเล 6 กิโลกรัม ส่วนในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่มีเศษอาหารที่ย่อยแล้วอยู่เต็มตลอดทั้งลำไส้

กาญจนาให้ความรู้ว่า การพบหญ้าทะเลจำนวนมากตลอดทั้งทางเดินอาหาร เป็นข้อบ่งชี้ว่าพะยูนยังกินอาหารได้ปกติก่อนเสียชีวิตไม่กี่ชั่วโมง ไม่ได้ป่วยเรื้อรัง พบพยาธิตัวแบนในโพรงจมูกทั้งสองข้าง ในกระเพาะอาหารพบพยาธิตัวกลม และในกระพุ้งลำไส้ใหญ่พบพยาธิตัวแบนไม่ทราบชนิด ทั้งนี้การพบพยาธิดังกล่าวเป็นลักษณะปกติที่พบได้ในพะยูนในธรรมชาติ และไม่ส่งผลต่อสุขภาพแต่อย่างใด แต่สิ่งผิดปกติอยู่ที่ การพบของเหลวสีเหลืองใสในช่องอกทั้งด้านซ้ายและขวาปริมาตรรวม 400 มิลลิลิตร เป็นข้อบ่งชี้ว่าพะยูนเกิดภาวะช็อค และพบหนองสีเหลืองอ่อนบริเวณแขนงหลอดลมในปอดทั้งสองข้างหลายตำแหน่ง แต่สภาพเนื้อปอดโดยรวมยังอยู่ในสภาพปกติ อันเป็นการติดเชื้ออักเสบของปอดแบบเฉียบพลัน ซึ่งน่าจะเกิดจากการสำลักน้ำเข้าปอด และไม่พบความผิดปกติที่อวัยวะภายในอื่น ๆ

"ดังนั้นสาเหตุการตาย คาดว่าจะมาจากการติดเครื่องมือประมงทำให้จมน้ำ และสำลักน้ำเข้าปอดทำให้อ่อนแอ และปอดติดเชื้อแบบเฉียบพลันจนเสียชีวิต"   กาญจนา เผยที่มาความสลด

ภารกิจ "คณะนักวิจัยกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก" เพื่อติดตามการเดินทางกลับบ้านอีกครั้งของเจ้าพะยูนยังคงดำเนินต่อไป เพื่อหาหนทางสร้างเครื่องการันตีว่าฝูงพะยูนจะไม่หนีไปจากเกาะภูเก็ตซ้ำรอยเหตุการณ์ในอดีตอีกครั้ง


หมายเหตุ  : คณะนักวิจัยกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก • กาญจนา อดุลยานุโกศล • เผ่าเทพ เชิดสุขใจ • สนธยา มานะวัฒนา




จาก                                        :                                     กรุงเทพธุรกิจ      วันที่  22 มกราคม 2552
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 22, 2009, 02:34:33 AM »

 









ขอให้พวกมันอยู่รอดปลอดภัยด้วยเถอะ .. 
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
Sri_Nuan.Ray
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1808



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 22, 2009, 03:06:12 AM »

อยากเจอตัวเป็นๆๆ จัง
บันทึกการเข้า

~~~ หากเราหยุดนิ่ง ทุกอย่างที่ผ่านมา คือ อดีต.... ทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพื่อมันจะได้เป็นอดีตที่มีค่าแก่ ความทรงจำของเรา  ~~~
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 22, 2009, 03:44:25 AM »


อ่านรายงานสถิติการพบเห็นพะยูนทีไร....พบแบบตายแล้วมากกว่าที่ยังมีชีวิตอยู่นะคะ.....เศร้าจัง.....
บันทึกการเข้า

Saaychol
นกกินเปี้ยว
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 43



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: มกราคม 22, 2009, 03:47:55 AM »

อ่าวตังเข็นเมื่อมีการก่อสร้างโรงแรมด้านบนก้นอ่าว รวมทั้งใกล้เคียง ทำให้มีคนงานจากแคมป์ลงไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ไม่เหมือนสมัยที่ยังไม่มีการก่อสร้าง ที่เคยเดินลงไปศึกษาสิ่งมีชิวิตจะพบเพียงครอบครัวชาวประมงท้องถิ่นเท่านั้นที่ลงไปหาจับสัตว์น้ำเล็กๆ น้อยๆ เป็นพื้นที่ที่น่าห่วง

จริงๆ แล้วอยากให้ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ตั้งอยู่ในรั้วรอบเดียวกับสวพ. และกำลังจะสร้างอาคารใหม่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน ได้ขยายไปตั้งบนพื้นที่อ่าวตังเข็นมากเลย เพราะรู้สึกเสียดายพื้นที่ธรรมชาติของบริเวณนั้น ซึ่งสร้างดอคเตอร์มาแล้วหลายคน
บันทึกการเข้า
นกกินเปี้ยว
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 43



เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: มกราคม 22, 2009, 10:51:35 AM »

ชมวิวภาพอ่าวตังเข็นครับ

มุมสูงจากภูเขาด้านหนึ่ง (ทางขึ้นจุดชมวิวช่องเขาขาด)


* P1330152.jpg (98.64 KB, 827x496 - ดู 705 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
นกกินเปี้ยว
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 43



เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: มกราคม 22, 2009, 10:53:06 AM »

แนวหญ้าใบมะกรูด


* P1260382.jpg (95.15 KB, 827x620 - ดู 731 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
นกกินเปี้ยว
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 43



เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: มกราคม 22, 2009, 10:55:15 AM »

แนวหญ้าชะเงา (จำชื่อเต็มไม่ได้) ส่วนฉากหลังเป็นโรงงาน


* P1010031a.jpg (78.62 KB, 461x614 - ดู 690 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
นกกินเปี้ยว
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 43



เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: มกราคม 22, 2009, 10:57:22 AM »

ที่มุมหนึ่ง (มุมละแวกโรงงาน) มีหาดทรายดำซึ่งเกิดจากแร่ที่นำมาแต่ง


* P1010031.jpg (79.26 KB, 461x614 - ดู 695 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
นกกินเปี้ยว
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 43



เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: มกราคม 22, 2009, 10:59:01 AM »

ที่กั้นฉากเขียวๆ สูงจากหาด ตรงนั้นมีการก่อสร้างโรงแรมใหม่ครับ


* P1010013.jpg (90.82 KB, 827x552 - ดู 700 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
นกกินเปี้ยว
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 43



เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: มกราคม 22, 2009, 11:01:19 AM »

โรงแรมบนก้นอ่าวตังเข็นที่กำลังสร้าง ภาพตั้งแต่เดือนม.ค.51 ปัจจุบันตัวอาคารส่วนใหญ่น่าจะเหลือแค่ตกแต่งภายใน กับภายนอก แล้วก็ปรับปรุงภูมิทัศน์ เสร็จจากนี้ไม่รู้จะมีโครงการใหนผุดขึ้นมาอีกหรือเปล่า


* P1260399.jpg (93.23 KB, 827x551 - ดู 690 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
นกกินเปี้ยว
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 43



เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: มกราคม 22, 2009, 11:03:46 AM »

ถ้ามีเวลาว่างตรงกับช่วงน้ำลง จะชอบไปเดินที่นี่ ส่วนใหญ่จะหาถ่ายรูปเจ้าพวกนี้ ก็ยังเคยเจอบุคคลที่มีชื่อในข่าว กำลังง่วนอยู่กับการวัดระยะอยู่ในแนวหญ้าทะเล แต่ไม่ได้ถ่ายภาพนั้นมาหรอกครับ พอดีอยู่คนละทางกับปูตัวนี้


* P1350015.jpg (87.37 KB, 827x550 - ดู 693 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
นกกินเปี้ยว
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 43



เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: มกราคม 22, 2009, 02:55:13 PM »

ภาพเมื่อ 2-3 ปีก่อน


 




จากกระทู้ http://siamensis.org/board/6599.html
บันทึกการเข้า
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #14 เมื่อ: มกราคม 22, 2009, 03:05:20 PM »


ขอบคุณสำหรับภาพที่นำมาลงให้ชมค่ะ คุณนกกินเปี้ยว....

เห็นภาพโรงแรมและสิ่งก่อสร้างที่อยู่ประชิดติดชายหาดแล้ว ก็นึกห่วงว่าน้ำในอ่าวจะเน่าเสียในไม่ช้าไม่นาน....หญ้าก็จะพากันเน่าตาย  แล้วพะยูนจะมาเยี่ยมเยือนที่นี่ได้อีกอย่างไร.....
บันทึกการเข้า

Saaychol
หน้า: [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.321 วินาที กับ 20 คำสั่ง