กระดานข่าว Save Our Sea.net
เมษายน 28, 2024, 11:27:16 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เต่าทะเลอันดามันวิกฤติพบข้อมูลจับขายต่างประเทศ  (อ่าน 2149 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: เมษายน 20, 2009, 01:13:01 AM »


เต่าทะเลอันดามันวิกฤติพบข้อมูลจับขายต่างประเทศ


วิกฤติเต่าทะเลน่าเป็นห่วง สถิติวางไข่ในอันดามันเหลือ 150 รังต่อปี เผยข้อมูลจับขาย ตปท. แนะออกกฎหมายคุ้มครองที่ตัวเต่าและหญ้าทะเล

 นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ นักวิชาการประมงประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กล่าวถึงสถานการณ์เต่าทะเลในฝั่งทะเลอันดามันว่า ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา สถิติการวางไข่ของเต่าทะเลคงที่ อยู่ที่ประมาณ 150 รังต่อปี แต่ในภาพรวมทั่วประเทศจะอยู่ที่ประมาณ 400-500 รังต่อปี และพบว่าในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มของแม่เต่าใหม่ที่เข้ามาวางไข่มีจำนวนลดน้อยลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอนาคตของเต่าทะเลค่อนข้างน่าเป็นห่วง

 นักวิชาการประมงรายนี้ กล่าวอีกว่า สาเหตุที่จำนวนเต่าทะเลลดน้อยลง เนื่องจากแม่พันธุ์เต่าถูกคุกคามเป็นอย่างมากในต่างประเทศจากการถูกจับกุม เพราะแม่เต่าที่ขึ้นมาวางไข่บริเวณชายหาดบ้านเราจะมีแหล่งหากินในต่างประเทศ เช่น ฝั่งอันดามัน จะอยู่ในแถบหมู่เกาะประเทศอินเดีย ฝั่งอ่าวไทยจะอยู่ในแถบประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย หรือมาเลเซีย และโททัลไอส์แลนด์ ซึ่งเป็นอาณาเขตของประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นการลักลอบทำประมงล่าจับเต่าโดยเฉพาะ ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทางการของประเทศอินโดนีเซียสามารถจับกุมเรือประมงที่ลักลอบจับเต่าได้ พบเต่าอยู่ในเรือจำนวน 400-500 ตัว มีการสตัฟฟ์พร้อมที่จะขายได้ทันที ส่วนใหญ่จะนำไปส่งขายต่อประเทศที่เป็นผู้ซื้อ เช่น เวียดนาม ไต้หวัน เป็นต้น เพื่อนำไปทำเครื่องประดับตกแต่งบ้าน ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภคเนื้อเต่านั้นก็ยังคงมีอยู่เช่นกัน

 นายก้องเกียรติ กล่าวอีกว่า ชนิดของเต่าทะเลที่เหลืออยู่ขณะนี้ พบเต่าตนุขึ้นมาวางไข่มากที่สุด รองลงมาเป็นเต่ากระ ส่วนเต่ามะเฟืองกับเต่าหญ้าค่อนข้างน่าเป็นห่วงมาก เนื่องจากมีการขึ้นมาวางไข่เพียง 5 รังต่อปี ทั้งนี้จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น จึงจัดทำโครงการติดไมโครชิพให้เต่าทะเล เพื่อติดตามการเคลื่อนไหว รวมถึงการรณรงค์ให้มีการปล่อยลูกเต่าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพราะจะทำให้อัตรารอดมีสูงกว่าการปล่อยลูกเต่าขนาดเล็ก

 ส่วนแนวทางในการอนุรักษ์เต่าทะเลนั้น นายก้องเกียรติ กล่าวว่า การปล่อยเต่าในช่วงเทศกาลต่างๆ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกร่วมกันอนุรักษ์ แต่สิ่งที่เป็นสำคัญคือ การสร้างความร่วมมือตั้งแต่ระดับชุมชน ช่วยกันดูแลพื้นที่ในเขต 3 กิโลเมตรจากชายฝั่ง เพื่อดูแลพ่อแม่พันธุ์หรือลูกเต่า ตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันไม่ให้เต่าที่ปลายทางถูกจับไปกิน รวมถึงภัยอื่นๆ ที่ยังมีอยู่ แม้ว่าจะมีกฎหมายคุ้มครองเต่าทะเล แต่ต้องเข้าใจว่าเต่าทะเลต้องอาศัยหญ้าทะเล ดังนั้นควรจะมีกฎหมายที่คุ้มครองทั้งตัวเต่าและหญ้าทะเล จึงพยายามที่จะดำเนินโครงการสร้างพื้นที่คุ้มครองสำหรับเต่าทะเลและสิ่งแวดล้อมบริเวณที่เต่าทะเลอาศัยอยู่ เช่น บริเวณท้ายเหมือง ซึ่งเป็นแหล่งที่เต่าทะเลสามารถขึ้นมาวางไข่ได้ จากข้อมูลที่ศึกษาพบว่าเต่าทะเลจะอยู่ในเขตประมาณ 5-6 กิโลเมตร จึงพยายามรณรงค์การขยายออกไปอีก 5 กิโลเมตร เพื่อคุ้มครองเต่าทะเลในบริเวณที่สำคัญ เช่น เกาะที่สิมิลัน หาดท้ายเหมือง เป็นต้น

 ส่วนของ จ.ภูเก็ต พบว่าปัจจุบันมีเต่าขึ้นมาวางไข่น้อยมาก เนื่องจากพื้นที่ชายหาดซึ่งเคยใช้เป็นที่วางไข่ ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการวางไข่บริเวณชายหาด เนื่องจากสันทรายมีความกว้างค่อนข้างมาก แคบลง ทำให้ไข่บางส่วนถูกคลื่นซัดลงทะเลไป เรื่องนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลรายละเอียด รวมถึงปัญหาการก่อสร้างที่ใกล้กับชายหาดที่เคยเป็นแหล่งวางไข่ ควรจะต้องมีความเข้มงวดในการอนุญาตและการเว้นระยะห่างจากชายหาดตามที่กฎหมายกำหนด



จาก                                  :                                คม ชัด ลึก    วันที่ 19 เมษายน 2552
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 21 คำสั่ง