กระดานข่าว Save Our Sea.net
เมษายน 19, 2024, 06:41:35 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2] 3 4 5   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมเรื่องราวของ .... แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด กับภัยพิบัติอื่นๆ  (อ่าน 88352 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #15 เมื่อ: กันยายน 18, 2007, 12:09:58 AM »


อ่าวไทย-อันดามัน ปฐพีไหวตรงไหน


 
สร้างความอกสั่นให้ลุ้นระทึกไปตามๆกัน สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 8.4 ริกเตอร์ ที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเย็นวันพุธที่ผ่านมา

ด้วยเป็นแผ่นดินไหวในระดับรุนแรง เกิดที่เกาะสุมาตรา ซึ่งทำให้เกิดสึนามิ เมื่อ 26 ธ.ค. 2547 ที่ทำให้ผู้คนเสียชีวิตไปไม่น้อยกว่า 280,000 คน

ให้โชคดีแผ่นดินไหวคราครั้งนี้...ไม่เกิดคลื่นยักษ์ถาโถมเข้าเมืองไทยเหมือนคราครั้งนั้น

แต่ใช่ว่าเปลือกโลกโยกส่ายครั้งนี้ จะไม่เกิดสึนามิตามมา

มีคลื่นสึนามิเกิดตามมา แต่เนื่องจากจุดเกิดแผ่นดินไหวนั้น อยู่ค่อนไปทางใต้ของเกาะสุมาตรา

เกาะสุมาตราเลยกลายเป็นเกราะกำบัง ผลักให้สึนามิเคลื่อนกระฉอกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรอินเดีย มุ่งหน้าสู่ขั้วโลกใต้

และให้บังเอิญทิศทางที่คลื่นสึนามิมุ่งหน้าไปนั้น มหาสมุทรอินเดียบริเวณนั้นไปจนยันขั้วโลก ไม่ค่อยมีผู้คนอาศัย รวมทั้งไม่มีนักข่าวไปอยู่

ก็เลยไม่มีรายงานข่าวแจ้งมาให้ทราบว่า คลื่นสึนามิที่กระเพื่อมยักย้ายไปนั้นสร้างความเสียหายขนาดไหน

“การเกิดแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตราครั้งนี้ เครื่องตรวจจับคลื่นในมหาสมุทร พบว่า มีคลื่นสูงผิดปกติขึ้นมาแค่เพียง 5 เซนติเมตร เท่านั้นเอง

คลื่นมีความสูงผิดปกติขนาดนี้ ยังไม่มีโมเดลเพื่อศึกษาให้แน่ชัดว่า เมื่อมันเคลื่อนที่ไปกระทบชายฝั่งแล้ว จะกลายเป็นคลื่นที่มีความสูงขนาดไหนตามมา แต่คาดว่าน่าจะประมาณ 1-2 เมตร”

นายบุรินทร์ เวชบรรเทิง นักวิจัยสำนักแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวและบอกอีกว่า ปกติแล้วการเกิดแผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 8 ริกเตอร์ขึ้นไป มักจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาเสมอ

แต่จะเกิดเป็นสึนามิขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก ขึ้นอยู่กับว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหวแล้ว พื้นทะเลใต้มหาสมุทรมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เปลือกโลกมีการแทนที่น้ำทะเลมาแค่ไหน

แทนที่น้ำทะเลมากก็เกิดสึนามิขนาดใหญ่...แทนที่น้อยก็ขนาดเล็ก

ในเมื่อธรรมชาติของแผ่นดินไหวเป็นเช่นนี้ มีคำถามตามมาว่า การเกิดแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตราครั้งนี้ มีสึนามิตามมา ทำไมศูนย์เตือนภัยของไทย ถึงนิ่งดูตายไม่รีบเตือนภัยบอกให้รู้กันแต่เนิ่น...มีบอกให้รู้แค่มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอย่างเดียว

นายบุรินทร์ บอกว่า...ไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่การเกิดแผ่นดินไหวแบบนี้ แรงกว่านี้ ใกล้ไทยมากกว่านี้ เราเคยเจอมาแล้ว

ที่เคยเจอมา ไม่ใช่แผ่นดินไหว เกิดสึนามิเมื่อปี 2547

แต่เป็นแผ่นดินไหว ที่เกาะสุมาตรา เมื่อ 28 มี.ค. 2548 ขนาด 8.7 ริกเตอร์ (12 ก.ย. 50 ไหวแค่ 8.4 ริกเตอร์)

นอกจากจะแรงกว่า จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวค่อนมาทางเหนือ อยู่ใกล้กับประเทศไทยมากกว่า เพราะอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมา 2 องศาเหนือ

ในขณะที่ครั้งนี้ จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ค่อนทางใต้ของเกาะสุมาตรา และอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรไปเกือบ 5 องศาใต้

“การเกิดแผ่นดินไหวครั้งนั้น เครื่องตรวจวัดความผิดปกติของคลื่น ที่อินโดนีเซีย พบความผิดปกติไม่มาก มีคลื่นสูงขึ้นมาแค่ 5 ซม. และจากการเฝ้าติดตาม เราพบว่า ไม่เกิดคลื่นสึนามิที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เหตุการณ์ครั้งนั้นเลยเป็นประสบการณ์ให้กับเรา

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวคราวนี้ จุดศูนย์ลงไปทางใต้มากกว่าคราวนั้น เครื่องตรวจวัดความผิดปกติของคลื่น ที่เรานำทุ่นไปติดตั้งกลางมหาสมุทรอินเดีย ให้ข้อมูลมาว่า มีคลื่นสูงผิดปกติแค่ 4-5 ซม.

เราเลยมั่นใจว่า จะไม่เกิดสึนามิที่จะส่งผลกระทบต่อบ้านเราแน่ แต่เพื่อความมั่นใจเต็มร้อย เราต้องรอผลการตรวจวิเคราะห์จากเครือข่ายแผ่นดินไหวอื่นๆ มายืนยันตรวจสอบว่า ได้ผลตรงกันหรือไม่”

เลยเป็นเหตุผลว่า ทำไมถึงได้ออกมาประกาศไม่เกิดขึ้นสึนามิ ช้าเกินไป...ในความรู้สึกของประชาชนทั่วไป

คราครั้งนี้ โชคดีที่จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวลงไปอยู่ทางใต้ค่อนข้างมาก เกาะสุมาตราเลยช่วยเป็นโล่กำบังให้กับประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

เลยมีคำถามตามมาว่า...เกิดแผ่นดินไหวบริเวณไหน ที่เกิดแล้วจะมีสึนามิสร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยได้บ้าง

ทางด้านฝั่งอ่าวไทย นายบุรินทร์ บอกว่า จุดบริเวณที่จะเกิดแผ่นดินไหวและจะทำให้เกิดคลื่นสึนามิมาถึงไทยได้ มีอยู่ 2 จุด

นั่นคือ แผ่นดินไหวที่ในทะเล แถบประเทศฟิลิปปินส์ ถ้าเกิดแผ่นดินไหวระดับ 8 ริกเตอร์ที่มักจะเกิดคลื่นสึนามิตามมา แต่กว่าคลื่นยักษ์จะกระเพื่อมจะถึงประเทศไทย ใช้เวลาประมาณ 11 ชั่วโมง...มีเวลามากพอที่จะประกาศอพยพผู้คนได้ทัน

จ.นราธิวาส จะเป็นพื้นที่แรกของประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบโดยตรง จากนั้นคลื่นสึนามิจะกระเพื่อมเข้าอ่าวไทย ทุกจังหวัดที่ติดชายทะเล แต่อาจจะโชคดีว่าคลื่นสึนามิเข้ามาในอ่าวไทย แล้วจะลดความแรงลง

เพราะอ่าวไทยตื้น...ความตื้นจะช่วยชะลอคลื่นสึนามิให้ลดความรุนแรงก่อนที่จะถึงชายฝั่งได้ และที่ผ่านมายังไม่เคยมีบันทึกว่าเคยเกิดสึนามิในอ่าวไทยเลย

อีกจุดหนึ่งใกล้ประเทศไทยมาหน่อย

บริเวณห่างจากชายฝั่งประเทศเวียดนาม ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 200 กม. มีภูเขาไฟใต้ทะเล 2 ลูก ที่กำลังคุกรุ่นอยู่

แต่โชคดีว่าเป็นภูเขาไฟขนาดเล็ก ไม่ใช่ภูเขาไฟขนาดใหญ่ อำนาจพิษสง เมื่อเกิดการระเบิดปะทุถึงขั้นทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ มีน้อยมาก

แต่ก็ไม่อาจมองข้าม...เพราะหาอะไรที่แน่นอนจากธรรมชาติไม่ค่อยได้

สำหรับด้านอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีอยู่ 2 จุดที่จะต้องระวังให้มาก นั่นก็คือ เกิดแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตราทางตอนเหนือ และจุดศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหว จะต้องอยู่ในบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตร ประมาณ 2 องศาเหนือขึ้นไป

ตอนเกิดสึนามิที่ถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ของไทย เมื่อปี 2547 ขนาด 9.4 ริกเตอร์ จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 3.4 องศาเหนือ

แต่เกิดขึ้นจุดนี้ ในตอนนี้ไม่ค่อยน่ากลัวเท่าไร เพราะตอนนี้เรามีเครื่องไม้เครื่องมือตรวจวัด ระบบเตือนภัยดีขึ้นมาเยอะแล้ว สามารถบอกเตือนภัยอพยพได้ทัน

เพราะคลื่นสึนามิจากจุดนี้ จะกระเพื่อมมาถึงไทยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง

อีกจุดหนึ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่า นั่นก็คือ เกิดในทะเลอันดามัน ที่ขึ้นมาทางเหนือ เหนือเส้นศูนย์สูตร ประมาณ 8-9 องศาเหนือ ที่เรียกกันว่า หมู่เกาะนิโคบาร์

จุดนี้อยู่ตรงข้ามกับภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย เกิดแผ่นดินไหวระดับ 8 ริกเตอร์เมื่อใด มีคลื่นสึนามิตามมา จะมาถึงประเทศไทยภายใน 1 ชั่วโมง โดยไม่มีอะไรมาเป็นโล่กำบังให้ด้วย


แต่กระนั้นก็ตามสิ่งสำคัญที่สุดในการเอาตัวรอดให้ปลอดภัยจากสึนามิ นั่นก็คือทำยังไง...หนีให้ทันสึนามิ

จะหนีให้ทันได้...ต้องรู้ได้ทัน ได้เร็วว่าจะเกิดสึนามิแล้ว

วิธีง่ายๆ แบบพึ่งพาตัวเอง นายบุรินทร์ แนะเฉพาะคนที่อยู่ใกล้ทะเล เพราะอยู่ที่อื่น อยู่บนภูเขาสึนามิทำอะไรไม่ได้

จะหนีสึนามิให้ทัน เมื่ออยู่ใกล้ทะเลแล้วรู้สึกกับตัวเองได้ว่า มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น ให้เตรียมตัว ตั้งหลักที่จะหนีขึ้นไปอยู่บนที่สูง

สังเกตระดับน้ำทะเล ถ้าขึ้นลงช้าเป็นชั่วโมง เหมือนน้ำขึ้นลงปกติก็ไม่เป็นไร

แต่ถ้าระดับน้ำขึ้นเร็ว ลงเร็วภาย 5-10 วินาที...ขั้นนี้ชัวร์ได้ ให้ หนีขึ้นที่สูงลูกเดียว คุณถึงจะอยู่รอดปลอดภัย.
 
 

จาก     :     ไทยรัฐ     วันที่ 18 กันยายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #16 เมื่อ: กันยายน 18, 2007, 12:15:15 AM »


"แผ่นดินไหว"อยู่บนตึก 11 พื้นที่เขตอันตรายหนีตายยาก  กทม.แจกคาถารับมือ..แค่เตรียมตัว ไม่ตื่นตระหนก

เหตุแผ่นดินไหวเกิดขึ้นติด ๆ กันถึง 2 วัน ที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ความแรงเกือบ 8 ริคเตอร์ แม้ศูนย์กลางจะอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ถึง 2,000 กม. ห่างจากเกาะภูเก็ตที่เคยได้รับผลกระทบจาก “สึนามิ” 1,400 กม. แต่ตึกสูงในกรุงเทพฯ ย่านสีลมและสาทร ก็รับรู้ถึงความสั่นไหว สร้างความหวาดผวาให้ประชาชนไม่น้อย

แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดจากการเคลื่อนที่อย่างฉับพลันของเปลือกโลก ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของพื้นดิน หากมีความรุนแรงนอกจากจะทำลายทรัพย์สิน อาคารบ้านช่องแล้ว ถ้าเกิดแผ่นดินไหวในทะเล แรง ๆ จะทำให้เกิดคลื่นยักษ์ “สึนามิ” ที่เคยก่อความวิปโยคแสนสาหัสในชายทะเลฝั่งอันดามันเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2547 ทำให้ชีวิตมนุษย์ต้องสังเวยไปหลายแสนคน แผ่นดินไหวล่าสุดที่ประเทศลาว เมื่อวันที่ 16 พ.ค. ที่ผ่านมา วัดได้ 6.4 ริคเตอร์ แรงสั่นสะเทือนยังทำให้ยอดฉัตรพระธาตุจอมกิตติ ในจังหวัดเชียงรายเสียหายหักโค่น อาคารในจังหวัดภาคเหนือเสียหายเป็นจำนวนมาก ไม่นับที่ประเทศเปรู หมู่เกาะโซโลมอน เม็กซิโก ก็เกิดความเสียหาย ประชาชนเสีย ชีวิตจำนวนมากเช่นกัน

สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ติดตามภาวการณ์แผ่นดินไหวรอบ ๆ ประเทศไทยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีรายงานแผ่นดินไหวโดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ปรากฏว่าการเกิดแผ่นดินไหวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รอบประเทศไทยมีความถี่สูง ส่วนความรุนแรงก็มีต่ำบ้างสูงบ้างดังนี้

การเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าวส่งผลให้เกิดรอยเลื่อนในประเทศไทยแล้ว 13 จุด ส่วนใหญ่อยู่ในทางภาคเหนือใกล้สุดก็ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งห่างจากกรุงเทพฯเพียง 100 กม. แม้นักวิชาการจะยังถกเถียงกันเรื่องรอยเลื่อนจากแผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ ที่แตกออกเป็น 2 ฝ่ายว่าเกิดรอยเลื่อนแล้วกับยังไม่เกิด รวมทั้งยังไม่มีกฎหมายกำหนดให้มีการก่อสร้างอาคารใหม่ที่รับแรงสั่นสะเทือนเพื่อรองรับแผ่นดินไหวได้ ซึ่งกรมโยธาธิการอยู่ระหว่างการพิจารณา อย่างไรก็ตามแม้จะได้ออกกฎหมายมาบังคับใช้จริง ๆ....... แต่จะมีตึกเกิดใหม่ที่ปฏิบัติตามกฎหมายได้กี่ตึก เพราะพื้นที่ว่างเมืองกรุงแทบไม่เหลือแล้ว

จากข้อมูลของสำนักป้องกันฯ ระบุว่า ในกรุงเทพฯมีตึกรามบ้านช่องถึง 1.98 ล้านหลังคาเรือน ในจำนวนนี้เป็นตึกสูงเกินกว่า 9 ชั้นถึง 3,000 หลัง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ใน 11 เขตพื้นที่ ดังนี้ เขตสาทร บางรัก คลองเตย วัฒนา ปทุมวัน ราชเทวี ยานนาวา คลองสาน บางคอแหลม ห้วยขวาง และดินแดง ที่เหลือต่ำกว่า 9 ชั้น และเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัย โดยเขตที่มีจำนวนหมู่บ้านจัดสรรจำนวนมาก ได้แก่ เขตลาดพร้าว บางกะปิ วังทองหลาง พระโขนง จตุจักร บางเขน หลักสี่ คันนายาว บางแค ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ธนบุรี บางกอกน้อย แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันในแวดวงนักวิชาการอีกว่า ระหว่างตึกสูงเกิน 9 ชั้น กับบ้านเรือนที่อยู่อาศัยอันไหนเสี่ยงจะเกิดความเสียหายหากเกิดแผ่นดินไหวมากกว่ากัน......... โดยฝ่ายหนึ่งบอกว่า ตึกสูงแม้จะเกิดรอยร้าวเมื่อมีแรงสั่นสะเทือน แต่ในการออกแบบผู้รับเหมาได้คำนวณเพิ่มจำนวนเหล็กในโครงสร้างเพื่อรับแรงลมและรับการสั่นสะเทือนได้มากกว่า แม้ว่าบางส่วนจะมีการก่อสร้างผิดแบบแต่ก็ผิดแบบตามหลักวิชาการ ในขณะที่บ้านเรือนจัดสรรทั่วไปก่อสร้างไม่ค่อยได้มาตรฐาน รับแรงสั่นสะเทือนได้น้อยกว่า แต่ที่เห็นตรงกันคือ ผู้ที่อยู่ในตึกสูงขณะที่เกิดแผ่นดินไหวจะเสี่ยงตายมากกว่า เพราะออกจากอาคารได้ยาก อยู่ในบ้านยังหนีได้ทัน

ในส่วนของกทม. ได้จัดทำคู่มือ “รับมือแผ่นดินไหว” ไว้นับแสนเพื่อแจกจ่ายประชาชน โดยขอได้ที่สำนักป้องกันฯ สำนักงานตั้งอยู่ที่เแยกศรีอยุธยา ซึ่งมีวิธีเตรียมรับมือแผ่นดินไหว เช่น ต้องเตรียมไฟฉาย นกหวีด กระเป๋ายาประจำบ้าน น้ำดื่ม อาหารสำเร็จรูป เครื่องนอนสนาม พร้อมเสื้อผ้า 2-3 ชุด ไว้ในบ้านในจุดที่หยิบฉวยได้ง่าย เพื่อเตรียมพร้อมยามฉุกเฉิน อย่าวางสิ่งของที่แตกหักง่าย เช่น เครื่องแก้ว สิ่งของหนัก ๆ บนหิ้งหรือชั้นสูง ๆ ควรวางไว้ชั้นต่ำสุด ตรึงเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ติดโครงสร้างอาคาร ติดเครื่องดับเพลิงไว้ประจำจุดเสี่ยง ซักซ้อมสมาชิกในครอบครัวเพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว และจุดนัดพบที่ปลอดภัยนอกบ้าน แนะนำวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น อยู่ห่างจากบริเวณที่อาจมีวัสดุหล่นใส่ หลบลงใต้โต๊ะหรือมุมห้อง ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้งให้อยู่ห่างจากป้ายโฆษณา เสาไฟ อาคาร และต้นไม้ใหญ่ ระวังเศษอิฐ กระจกแตก และชิ้นส่วนอาคารหล่นใส่

สำหรับผู้อยู่ตึกสูง ถ้าอาคารมั่นคงแข็งแรงให้หลบในอาคารนั้น ถ้าอาคารเก่าไม่มั่นคงแข็งแรงให้หลบออกจากอาคารเร็วที่สุด หลังการสั่นสะเทือนให้รีบออกจากอาคาร ถ้าไม่อยู่ใกล้ทางออกให้หมอบลงกับพื้น หาทางหลบใต้โต๊ะหรือมุมห้อง ป้องกันตนเองโดยใช้แขนปกป้องศีรษะและคอ ยึดเกาะโต๊ะให้แน่นและเคลื่อนตัวไปพร้อมโต๊ะ รอจนความสั่นไหวหยุดลงหรือปลอดภัยแล้วจึงไปหาที่ปลอดภัย ห้ามใช้ลิฟต์เด็ดขาด หลังเกิดแผ่นดินไหว รีบออกจากอาคารที่เสียหาย ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส เปิดประตูทุกบานระบาย ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟหรือก่อไฟ ออกจากที่สายไฟขาดหรือสายไฟพาดถึง อย่าเป็นไทยมุงเข้าไปในเขตที่เสียหาย หรือปรักหักพัง อย่าแพร่ข่าวลือ

นายนิยม กรรณสูต ผู้อำนวยการสำนักป้องกันฯ เปิดเผยว่า นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. มีความห่วงใยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกรุงเทพฯ ซึ่งได้จัดตั้งศูนย์ป้องกันและควบคุมภัยพิบัติ กทม. ที่ได้วางแผนและระบบการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติของกทม. ที่มีประสิทธิภาพ โดยมีแนวปฏิบัติในการเผชิญเหตุ วินัยการเผชิญเหตุ การบัญชาการเหตุการณ์สำหรับวิบัติภัยทุกประเภท รวมทั้งวางแผนในการประสานกับหน่วยงานภายในและภายนอกทั้งหมด เพื่อรับสถานการณ์หากเกิดภัยพิบัติในกรุงเทพฯ เตรียมพร้อมในส่วนของเจ้าหน้าที่สำนักป้องกันฯ 1,000 คน พร้อมอุปกรณ์เครื่องมือ รถกู้ภัย และรถดับเพลิงต่าง ๆ กว่า 1,000 คัน ตลอด 24 ชม. โดยประสานพื้นที่เขตในการเข้าบรรเทาภัยพิบัติทันที ไม่นับรวมบุคลากรจากหน่วยงานภายนอกอีกหลายหมื่นคนที่เตรียมรับสถานการณ์บรรเทาภัยพิบัติ อย่างไรก็ตามขอความร่วมมือประชาชนในการเตรียมตัวไม่ตื่นตระหนกและมีจิตสำนึกในการป้องกันและระแวดระวังภัยอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่เกิดเหตุการณ์ทีก็ตื่นตระหนกกันที รวมทั้งเมื่อเกิดเหตุ มีภัย โทร. 199 สำนักป้องกันฯ พร้อมออกไปช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง

แผ่นดินไหวเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่าลืมว่า การเตรียมตัว ที่ดีเพื่อรับมือ ตั้งสติไม่ตื่นตระหนกจะช่วยลดความเสียหายทั้งจากชีวิตและทรัพย์สินได้.

วัน/เดือน/ปี เวลา สถานที่ ความรุนแรง
26/12/2004 7.58 ตอนเหนือเกาะสุมาตรา 9.3
26/12/2004 11.21 หมู่เกาะนิโคลบาร์ 7.5
5/2/2005 19.23 ในทะเลเซเลเบส 7.1
28/3/2005 23.09 ทางเหนือของเกาะสุมาตรา 8.6
3/3/2006 8.36.07 สหภาพพม่า 5.2
12/5/2006 0.22.54 สหภาพพม่า 5.7
26/12/2006 19.34.00 ไต้หวัน 7.1
16/5/2007 15.56.16 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 6.4
19/8/2007 19.17 สหภาพพม่า 4.1
30/8/2007 18.07 ชายแดนไทย-พม่า 4.1



จาก     :     เดลินิวส์     วันที่ 18 กันยายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
แมลงปอ
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 681


« ตอบ #17 เมื่อ: กันยายน 18, 2007, 08:12:25 AM »

พี่ขา เหมือนรวมเล่มเรื่องราวเลยค่ะ ยังไม่สามารถอ่านหมดได้ แต่ก็ติดตามอ่านเป็นระยะ ถึงแม้จะใช้เวลานานหน่อยนะค่ะ  ช่วงนี้ยังไม่เข้าที่เข้าทางเลยค่ะ ไว้จะเข้ามาติดตามอ่านต่อเรื่อยๆ นะค่ะ
ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีดี มาแบ่งปันกันเสมอ ๆ ค่ะ
บันทึกการเข้า
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #18 เมื่อ: กันยายน 23, 2007, 12:26:38 AM »


ริกเตอร์


 
วันนี้พี่มีศัพท์น่ารู้ที่พบได้ในข่าวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว นั่นคือ "ริกเตอร์"

เช่น เกิดแผ่นดินไหวบริเวณหมู่เกาะอันดามัน ความรุนแรง 4.9 ริกเตอร์ ห่างจากจังหวัดระนองประมาณ 600 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 16 ก.ย.

ริกเตอร์ เป็นหน่วยวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว เสนอขึ้นเมื่อปีค.ศ.1935 โดยนักวิทยาศาสตร์ 2 คน คือ เบโน กูเทนเบิร์ก และ ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์

มาตราริกเตอร์ไม่มีขีดจำกัดว่ามีค่าสูงสุดเท่าใด แต่โดยทั่วไปกำหนดไว้ในช่วง 0-9 วัดได้ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องวัดความไหวสะเทือน (seismograph)

ระดับความรุนแรงของริกเตอร์

1-2.9 สั่นสะเทือนเล็กน้อย ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนบ้าง

3-3.9 สั่นสะเทือนเล็กน้อย ผู้คนในอาคารสูงจะรับรู้ ความรู้สึกคล้ายเมื่อรถไฟวิ่งผ่าน

4-4.9 สั่นสะเทือนปานกลาง ผู้ที่อยู่ทั้งภายในและนอกอาคารรู้สึกถึงการสั่นสะเทือน วัตถุที่ห้อยอยู่จะแกว่ง

5-5.9 สั่นสะเทือนรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือนและวัตถุเคลื่อนที่จากจุดเดิม

6-6.9 สั่นสะเทือนรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย อาจมีรอยแยกของอาคาร และอาจพังทลาย

7.0+ สั่นสะเทือนร้ายแรง อาคาร บ้านเรือน เสียหาย มีรอยแยกของแผ่นดิน วัตถุที่อยู่บนพื้นสั่นสะเทือนและตกหล่น และมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดคลื่นสึนามิ



จาก     :     ข่าวสด  คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์   วันที่ 23 กันยายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #19 เมื่อ: กันยายน 23, 2007, 09:30:34 AM »

 ค่ำคืนสุดแสนโกลาหล ค่ำคืนที่แสนหวั่นภัย"สึนามิ"             :             โดย ด้วง-ตุ่น-ไมตรี อาสาสมัครสึนามิ


 
ห้าโมงเย็นวันที่ 12 กันยายน พวกเราเดินทางออกจากภูเก็ตเพื่อไประนอง เพราะจะมีการสัมมนาเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่น คนไร้สัญชาติ ที่ต้องการสิทธิความเป็นมนุษย์เหมือนคนอื่นเขา

ระหว่างเดินทางฝนตกหนักมาก ไมตรี จงไกรจักร ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้ประสบภัยสึนามิ เป็นคนขับรถ พวกเราพูดกันถึงเรื่องแผนป้องกันภัยพิบัติและการซ้อมหนีภัยสึนามิของชาวบ้านน้ำเค็ม ที่มีการทำแผนและฝึกซ้อม อปพร. 35 คน เพื่อเตรียมความพร้อมของชาวบ้าน ในการเฝ้าระวังภัยสึนามิ เพราะที่ผ่านมาบ้านน้ำเค็มมีความเสียหายมากที่สุด และชาวบ้านยังไม่มั่นใจสัญญาณเตือนภัยที่ทางการมาติดตั้งไว้

ไมตรีเล่าว่า ก่อนหน้านี้ชาวบ้านมีลางสังหรณ์ว่า จะมีการเกิดแผ่นดินไหวขึ้นอีก โดยชาวบ้านที่ออกทะเลสังเกตมาเกือบ 2 เดือนแล้วว่าได้ปลามากเกินไปผิดปกติ ได้มากจนน่ากลัว ได้มากเหมือนตอนที่จะเกิดสึนามิ ปี 2547

"พี่เชื่อไหม ได้มากจนเอากลับไม่ไหว ต้องใช้วิทยุเรียกเรือลำอื่นบอกว่า หากเอ็งยังไม่วางอวน ก็ไม่ต้องวาง มาเอาปลาที่ข้า บางคนต้องเอาอวนและปลาที่ติดมาไปฝังดินให้ปลาเน่าเปื่อย เพื่อเอาอวนมาใช้ใหม่ บางคนขายไม่หมดต้องเอาไปทำปลาเค็มเป็นโอ่งๆ ขายไม่ทัน ออกเรือคืนเดียวมีรายได้คืนละหมื่นหรือมากว่านั้น มันไม่ปกติแล้ว อีกอย่างหนึ่งช่วงนี้ คนที่ออกทะเลมือเปื่อย ทั้งๆ ที่เขาทำงานอยู่กับทะเลมานาน 20-30 ปี มือไม่เคยเปื่อย ชาวบ้านสันนิษฐานว่ามีก๊าซ มีสารเคมีบางอย่างปนกับน้ำในทะเล เป็นไปได้หรือไม่ว่าเป็นก๊าซจากรอยแยกก่อนแผ่นดินไหว ปลาจึงหนีเข้าฝั่ง อันนี้ชาวบ้านเขาคิดกันเอาเอง และพูดกันหลายๆ คน" ไมตรีเล่า

ขณะที่ไมตรีกำลังเล่าอยู่นั้น มี SMS ที่ส่งข่าวผ่านโทรศัพท์มือถือว่า เกิดแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา 8.9 ริคเตอร์ อาจเกิดสึนามิ ให้เฝ้าระวัง" เวลาตอนนั้นประมาณหนึ่งทุ่ม หลังจากนั้นมีโทรศัพท์เข้ามาที่ไมตรี นับร้อยสาย ข่าวโทรทัศน์บอกให้รออีกหนึ่งชั่วโมง

เสียงโทรศัพท์จากเพื่อน อปพร. บ้านน้ำเค็ม โทร.มาถามว่าจะเอาอย่างไร จะบอกชาวบ้านว่าอย่างไร ตอนนี้ฝนตกและมืดมาก ชาวบ้านกลัวไฟดับ และไม่สามารถรอฟังข่าวนานถึงหนึ่งชั่วโมงได้ มันเหมือนนั่งรอ!! และบางคนเอาลูกหลานออกจากบ้านแล้ว

"ข่าวบอกว่า ขณะนี้เกิดสึนามิที่อินโดนีเซียแล้ว มีตึกถล่ม มีคนตาย และอีกหนึ่งชั่วโมงจะรู้ว่าจะกระทบถึงไทยหรือไม่" อีกข่าวบอกว่า "อีกครึ่งชั่วโมงจะรู้ว่ากระทบถึงไทยหรือไม่ กลุ่มที่ไปเฝ้าระดับน้ำในทะเล ไม่มีสปอตไลท์ ฝนตกหนักมืดมาก ดูทะเลไม่เห็น ไม่มีหน่วยงานราชการสักคน ตำรวจก็ไม่มี" เสียงเพื่อน อปพร.มาตามสาย

ไมตรีและพวกเราปรึกษากัน และตัดสินใจบอกทีม อปพร.ว่า ให้ค่อยๆ อพยพชาวบ้านตามแผนที่ซ้อมกันไว้ สั่งเสร็จพวกเราหันหัวรถกลับบ้านน้ำเค็มด้วยความเป็นห่วง ท่ามกลางฝนที่ตกหนัก เมื่อมาถึงเห็น อปพร. คอยโบกรถเพราะไม่มีตำรวจ ไม่มีราชการ มีแต่ชาวบ้าน รถวิ่งซ้าย คนวิ่งขวาตามที่ตกลงกันไว้ บางคนจูงลูกจูงหลาน จูงคนแก่ จูงหมา ขนของพะรุงพะรัง คนที่มีรถซาเล้งก็บรรทุกได้ทั้งครอบครัว มีมอเตอร์ไซค์พ่อแม่ลูกก็ใช้ได้ คนที่มีรถยนต์ก็ขนได้มากหน่อย ที่บ้านน้ำเค็มมีแรงงานพม่าจำนวนมากที่วิ่งหนีภัยด้วย จุดหลบภัยมี 3 แห่ง คือ วัดบ้านน้ำเค็ม โรงเรียนบ้านน้ำเค็ม และ อบต.บางม่วง

ที่วัดบ้านน้ำเค็ม ชาวบ้านพักได้สัก 200 คน ตอนที่พวกเราไปถึงทุกคนนั่งพักด้วยความเหนื่อย ถามว่าตอนวิ่งเอาอะไรมาบ้าง "ยายเตรียมของไว้แล้ว แต่ตกใจได้ผ้าห่มเก่าๆ ผืนเดียว"

หลายคนบอกว่าตอนซ้อมเป็นกลางวันยังมองเห็น แต่พอมาวันนี้มันมืดฝนก็ตกร่มก็ไม่มี ข้าวเย็นก็ยังไม่ได้กิน เพราะทำกับข้าวยังไม่เสร็จรถก็มาก ตอนซ้อมมันมีแต่รถวิ่งออก พอเอาจริงวันนี้หลายคนมันไปทำงานข้างนอกเอารถเข้าไปรับลูกรับเมีย จึงมีรถวิ่งเข้าวิ่งออกมั่วไปหมด

ส่วนโรงเรียนบ้านน้ำเค็ม มีชาวบ้านหลบภัยอยู่ไม่น้อยกว่า 1,000 คน หากจะมาพักอยู่ที่ชั้น 1 ของอาคารเรียนหลังใหญ่ก็น่าจะพ้นคลื่นแล้ว เพราะเป็นที่สูง แต่ชาวบ้านไม่วางใจ ช่วยกันเอาค้อนงัดประตูแล้ว ขึ้นไปพักที่ชั้น 3 เพราะจะรู้สึกปลอดภัยและสบายใจได้มากกว่า

พวกเราถามชาวบ้านว่า ทำไมไม่รอฟังเสียงสัญณาณเตือนภัยก่อนถึงจะออกจากบ้าน พวกเขาแย่งกันตอบทันที "หอเตือนภัย เชื่อไม่ได้ว่าจะดังหรือเปล่า แถมฝนตกหนักขนาดนี้อาจไม่ได้ยินเสียงเตือนภัย" ส่วนที่บอกให้รอฟังข่าวจากโทรทัศน์อีกหนึ่งชั่วโมง ชาวบ้านบอกว่า "ข่าวที่อินโดนีเซียเกิดแล้ว เรานั่งรอในบ้านไม่ได้แล้ว มาที่นี่ดีกว่า คนที่ไม่เคยเจอด้วยตัวเองก็พูดได้ว่าให้รอ เพราะเขาไม่ได้มาวิ่งกับเรา เขาไม่ได้มาเสี่ยงตายกับเรา พวกเราบ้างมีลูกอายุ 2 เดือน บ้างอายุ 3 ขวบ บ้างมีพ่อแม่ที่อายุมากแข้งขาไม่ดี เรารอฟังประกาศอยู่ที่บ้านไม่ได้มันกลัวไปหมด"

ชาวบ้านพักตามที่หลบภัยทั้ง 3 แห่ง อยู่ 2-3 ชั่วโมง คอยฟังข่าว โดยที่หลบภัยไม่มีโทรทัศน์ จึงใช้วิธีโทร.ถามญาติๆ เอาว่า เขาประกาศว่าปลอดภัยแล้วหรือยัง

ที่หลบภัยทั้ง 3 แห่งไม่ได้เตรียมน้ำหรืออาหารไว้ หลายคนหิว เพราะยังไม่ได้กินอาหารเย็น แต่ต้องทน บางคนออกไปซื้อของที่เซเว่นอีเลฟเว่น แต่ต้องกลับมามือเปล่า เพราะผู้จัดการเขาสั่งปิด เนื่องจากกลัวสึนามิเหมือนกัน

ระหว่างที่ชาวบ้านออกจากบ้านมาที่หลบภัยทั้ง 3 แห่ง อปพร.บ้านน้ำเค็มก็ต้องออกลาดตระเวน ระวังทรัพย์สินของชาวบ้าน อย่างขยันแข็งขัน ท่ามกลางสายฝนที่ตกหนักตลอดเวลา

ดึกแล้วโทรทัศน์ประกาศว่าปลอดภัย ไม่ถึงประเทศไทยแน่ อปพร.จึงบอกให้ชาวบ้านกลับบ้าน มีบางคนที่ไม่กล้ากลับไปนอนบ้าน ต้องไปนอนบ้านญาติ

เที่ยงคืนเมื่อชาวบ้านกลับแล้ว ทีม อปพร.นัดสรุปงานกันที่ใต้อาคารโรงเรียนบ้านน้ำเค็ม เมื่อมากันครบ พวกเราถามกันแบบทีเล่นทีจริงว่า ตอนเกิดเหตุใครแต่งชุด อปพร.ได้ครบเครื่องที่สุด ปรากฏว่า "ปาน ซอยตกปู" คนเดียวเท่านั้นที่ใส่ได้ครบชุดรวม ทั้งรองเท้าบู๊ท ทุกคนเฮลั่น

บางคนแซวว่า "ถ้าสึนามิมาจริง เอ็งจะถอดรองเท้าไม่ออก ว่ายน้ำไม่ได้" และตั้งข้อสังเกตว่า ชุด อปพร.สีกากีนี้เหมาะกับสึนามิหรือไม่ ควรเป็นชุดผ้าร่มเบาๆ ไม่เปียกน้ำ สวมใส่ง่าย หลายคนมาในชุดกางเกงขาสั้น รองเท้าแตะ และบางคนมีเสื้อชูชีพใส่ทับทั้งกันหนาวและพร้อมรับน้ำ

อุ๊ ปาท่องโก๋บอกว่า "ตอนโบกรถ คนโบกไม่มีไฟแวบๆ ไม่มีเสื้อสะท้อนแสง รถเกือบชน หากกระโดดหลบไม่ทันคงตายแล้ว"

"ผมไปเฝ้าระดับน้ำในทะเล ไฟส่องไปไม่ถึง ต้องกลับมาหาสายไฟยาวๆ แสงไฟก็แรงสู้ฝนไม่ได้ เราต้องขอให้ราชการติดตั้งให้แล้ว" อปพร.อีกคนบอก

อาสาสมัครอีกรายหนึ่งเล่าด้วยความขบขันว่า ไปลาดตระเวนตอนที่ชาวบ้านออกมาหมดแล้ว ไม่มีปืนสักกระบอก หากโจรมีปืน จะทำปรือ ต้องวิ่งหนีมันหรือเปล่า ปืนของหมู่บ้านน่าจะเอากลับมา

มีคนแซวว่า "ไฟฉายส่องแลโจรไม่เห็น" ตำรวจก็หนีสึนามิหมด ไม่มีสักคน วิทยุที่ใช้สื่อสารกัน น่าจะมีเพิ่มและของบางคนแบตเตอรี่หมด

บางคนไม่มีเสื้อกันฝน ตอนทำงานไม่มี อาหาร น้ำ ไม่มีหน่วยเสบียง พี่หมีบอกว่า ผมทำหน้าที่โปกรถหิวมาก ต้องไปเคาะประตูบ้านให้ช่วยต้มม่าม่า ให้กินหน่อย หิวจะเป็นลมแล้ว

อปพร.ปิดประชุมด้วยข้อสรุปว่า ต้องไปเสนอเรื่องนี้ที่ อบต. ที่อำเภอ และที่จังหวัดให้เข้าใจว่า ในการป้องกันภัย ต้องสนับสนุนชาวบ้าน ให้มีเครื่องไม้เครื่องมือป้องกันภัย เพราะเราจะต้องพึ่งตนเองยามขับขัน ไม่มีใครมาช่วยเหลือ

หลังแผ่นดินไหวที่อินโดนีเซีย ที่ประชุม คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน อนุมัติงบประมาณมากกว่า 100 ล้านบาท ทำหอหลบภัยและอะไรอีกหลายอย่าง ทำให้สงสัยว่าก่อนอนุมัติได้ถามชาวบ้านบ้างหรือเปล่า ว่าพวกเขาต้องการอะไร และรัฐบาลใส่ใจการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมของประชาชนจริงหรือไม่ หน่วยงานราชการเข้าใจการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือชุมชนเป็นแกนหลักอย่างไร หรือระเบียบของราชการไม่สามารถสนับสนุนแผนป้องกันภัยของประชาชนได้ เส้นทางงบประมาณจึงไม่เสริมความเข้มแข็งชุมชน เงินสึนามิที่บริจาคผ่านรัฐบาลหมดแล้วหรือยัง

ก่อนที่รัฐบาลนี้จะจากไป มาช่วยกันตรวจข้อสอบเรื่องผู้ประสบภัยสึนามิที่รัฐบาลทำว่า ควรได้คะแนนเท่าไร

จาก : มติชน  วันที่ 23 กันยายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #20 เมื่อ: กันยายน 23, 2007, 09:32:14 AM »


ได้อ่านเรื่อง "ค่ำคืนสุดแสนโกลาหล ค่ำคืนที่แสนหวั่นภัย"สึนามิ"" ที่เขียนเล่าโดยอาสาสมัครสึนามิที่บ้านน้ำเค็ม ที่พิมพ์ลงในมติชนแล้ว รู้สึกสงสารและเศร้าใจแทนชาวบ้านบ้านน้ำเค็มเสียจริงๆ



จะมีใครสักกี่คนบนหอคอยงาช้างที่เข้าใจถึงความรู้สึกและหัวอกของผู้คนที่เคยประสบกับภัยพิบัติจากสึนามิมาเต็มๆอย่างพวกบ้านน้ำเค็ม .....

ในช่วงเวลาที่เฝ้ารอคอยการเตือนภัยทางวิทยุและโทรทัศน์จากทางการ ท่ามกลางสายฝนที่เทลงมาอย่างหนัก  พวกเขาต้องช่วยเหลือดูแลกันเอง โดยปราศจากความช่วยเหลือหรือคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่เปิดก้นหนีภัยอพยพหายจ้อยกันไปก่อนชาวบ้านแล้ว มิใยต้องไปพูดถึงเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางที่หายศีรษะกันไปตั้งแต่ข่าวคราวของสึนามิเริ่มซาลงตอนต้นปี 48 แล้ว



ความรู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง  คงเคว้งคว้าง วังเวง และว้าเหว่อย่างบรรยายไม่ถูก   การแจ้งข่าวเตือนภัยของบ้านเราก็ทำชนิดไม่ต่อเนื่อง เพราะนั่งคอยเตือนกันอยู่ในกรุงเทพฯ แต่สำหรับคนที่อยู่ริมทะเลที่เคยประสบภัยมาก่อน ในวินาทีนั้น พวกเขาได้ยินข่าวว่าอินโดนิเซียเขาเตือนภัยสึนามิและเริ่มอพยพผู้คนแล้ว  เขานึกไม่ออกหรอกว่าสุมาตรามันอยู่ด้านไหนของไทย จะมีภัยถึงเขาหรือไม่ 

ความกลัวที่ยังจับจิตจับใจอยู่ มันทำให้พวกเขาทนนั่งอยู่เฉยๆรอความตายไม่ได้  ในเมื่อคำเตือน คำแนะนำจากทางการมาไม่ถึงตัวพวกเขาๆ ก็ต้องเลือกที่จะไม่เสี่ยง ด้วยการอพยพกันขึ้นที่สูงก่อนตามแผนที่ซักซ้อมกันมา โดยปราศจากเจ้าหน้าที่ทางการ แม้แต่ตำรวจสักคนเดียวที่จะมาคอยช่วยเหลือ





 
อ้างถึง
"ตอนโบกรถ คนโบกไม่มีไฟแวบๆ ไม่มีเสื้อสะท้อนแสง รถเกือบชน หากกระโดดหลบไม่ทันคงตายแล้ว"

"ผมไปเฝ้าระดับน้ำในทะเล ไฟส่องไปไม่ถึง ต้องกลับมาหาสายไฟยาวๆ แสงไฟก็แรงสู้ฝนไม่ได้ เราต้องขอให้ราชการติดตั้งให้แล้ว"

"ไปลาดตระเวนตอนที่ชาวบ้านออกมาหมดแล้ว ไม่มีปืนสักกระบอก หากโจรมีปืน จะทำปรือ ต้องวิ่งหนีมันหรือเปล่า ปืนของหมู่บ้านน่าจะเอากลับมา"

 "ไฟฉายส่องแลโจรไม่เห็น" ตำรวจก็หนีสึนามิหมด ไม่มีสักคน วิทยุที่ใช้สื่อสารกัน น่าจะมีเพิ่มและของบางคนแบตเตอรี่หมด

อปพร.ปิดประชุมด้วยข้อสรุปว่า ต้องไปเสนอเรื่องนี้ที่ อบต. ที่อำเภอ และที่จังหวัดให้เข้าใจว่า ในการป้องกันภัย ต้องสนับสนุนชาวบ้าน ให้มีเครื่องไม้เครื่องมือป้องกันภัย เพราะเราจะต้องพึ่งตนเองยามขับขัน ไม่มีใครมาช่วยเหลือ




อย่างที่ชาวบ้านเค้าคุยกันครับ .... ถ้าทางการจะไม่มาคอยช่วยเหลือ ก็ควรจะจัดหาเครื่องไม้เครื่องมือไว้ให้พวกเขาไว้คอยป้องกันภัยให้ตัวเองสิครับ ..... ถ้าหางบไม่ได้  แทนที่จะเอาเงินไปละลายทะเล ในการจัดงานรำลึกวันครบรอบสึนามิ เพื่อหวังผลด้านการท่องเที่ยว ผมว่าเอาเงินนั้น มาทำอะไรที่จะต่อชีวิตให้พวกเขา และช่วยทำให้พวกเขาพ้นภัยที่อาจจะมีในอนาคต  จะได้บุญมากกว่าการจัดงานเยอะเลยครับ

ถ้ายังไม่ได้Feel .... ผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองลองไปนั่งอยู่กับพวกเขา ในคืนที่มีแผ่นดินไหวและมีการเตือนภัยสึนามิจากประเทศเพื่อนบ้านดู   อาจจะเข้าถึงหัวอกชาวบ้านน้ำเค็มได้บ้างครับ 

บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #21 เมื่อ: กันยายน 23, 2007, 09:33:22 AM »



ชีวิตที่อยู่อย่างหวาดผวา คงจะหาความสุขที่แท้จริงได้ยากจริงๆนะคะ.....
บันทึกการเข้า

Saaychol
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #22 เมื่อ: กันยายน 29, 2007, 12:45:31 AM »


10 อันดับเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก


โรงงานอุตสาหกรรมในเมืองซัมกายิตกำลังปล่อยมลพิษสู่ท้องฟ้า( ภาพBlacksmith Institute)
 
หนึ่งในวิกฤตการณ์ของมนุษยชาติในปัจจุบันคือ วิกฤติการณ์ภาวะมลพิษซึ่งกำลังคุกคามสุขภาพของมนุษย์หลายร้อยล้านคน และนับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในหลายประเทศ

สถาบันแบล็คสมิธ (BlacKsmith Institute) องค์กรวอทช์ด๊อกด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ผลการสำรวจ10 เมืองที่มีภาวะมลพิษมากที่สุดในโลกประจำปี 2007 จากการศึกษาข้อมูลภาวะมลพิษใน 400 เมืองทั่วโลก

ข้อมูลจากหลายๆเมืองได้มาจากประชากรในเมืองนั้นๆ เอ็นจีโอ และรัฐบาลท้องถิ่น โดยพิจารณาจากปัจจัย ความเป็นพิษ ระดับความมากน้อยของมลพิษ และจำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบ

หลังจากนั้นนำมาจัดอันดับเมืองที่มีภาวะมลพิษมากที่สุดในโลกจำนวน 10 เมือง รายงานนี้ระบุว่า มีประชาชนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากมลพิษที่เกิดจากอุตสาหกรรมผลิตสารเคมี โลหะหนักและเหมืองแร่ซึ่งทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคเรื้อรังและตายก่อนวัยอันสมควรราว 12 ล้านคน

มาดูกันว่ามีเมืองใดบ้าง

เมืองซัมกายิต ประเทศอาเซอร์ไบจาน เมืองศูนย์กลางอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมีการเกษตร ซึ่งรวมทั้งยางสังเคราะห์ อลูมิเนียม และยาฆ่าแมลง

โรงงานอุตสาหกรรมผลิตสารเคมี น้ำมัน และโลหะหนักปล่อยมลพิษสู่อากาศปีละ 70-120,000 ตัน มีประชาชนที่ได้รับผลกระทบจำนวน 275,000 คน อัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งของเมืองนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ 22- 51 % การเปลี่ยนแปลงของยีนรวมทั้งเด็กพิการแต่กำเนิดถือเป็นเรื่องปกติ


เมืองหลินเฟิน ประเทศจีน เมืองหลินเฟินอยู่ใน มณฑลชานสี

ศูนย์กลางการใช้พลังงานถ่านหินของจีน เป็น 1 ใน 20 เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลกจากการศึกษาของธนาคารโลก(16 เมืองอยู่ในจีน) และเป็นเมืองที่มีคุณภาพของอากาศเลวร้ายที่สุดในจีนจากการศึกษาขององค์การ State Environmental Protection Administration (SEPA)

มลพิษทีถูกปล่อยออกมามีหลายชนิด อาทิเช่น เขม่าคาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ เป็นต้น แหล่งปล่อยที่สำคัญคือโรงงานอุตสาหกรรมและยานยนต์ มีประชาชนได้รับผลกระทบจากมลพิษมากถึง 3 ล้านคน


เมืองเทียนหยิง ประเทศจีน เมืองเทียนหยิงอยู่ในมณฑลอานฮุยซึ่งเป็นมณฑลที่เป็นแหล่งผลิตสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน การใช้เทคโนโลยีต่ำ การผลิตที่ผิดกฎหมาย และการขาดมาตรการควบคุมมลพิษเป็นสาเหตุทำให้เกิดการปล่อยสารตะกั่วและโลหะหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารตะกั่วมีปริมาณสูงกว่ามาตรฐานด้านสุขภาพหลายเท่า แหล่งปล่อยสารตะกั่วคือเหมืองตะกั่วขนาดใหญ่

มีประชาชนได้รับผลกระทบ 140,000 คน


เมืองสุกินดา ประเทศอินเดีย เมืองสุกินดาอยู่ในรัฐโอริสสา

แหล่งแร่โครไมท์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินเดีย มลพิษมาจากเหมืองแร่โครไมท์ จำนวน12 แห่งซึ่งดำเนินกิจการโดยไม่มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เศษหินกว่า 30 ล้านตันกระจายไปทั่วบริเวณรอบๆเหมือง น้ำเสียจากเหมืองซึ่งไม่ได้รับการบำบัดไหลลงแม่น้ำที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของชุมชน น้ำที่ใช้ดื่มปนเปื้อนสาร Hexavalent Chromium ประมาณ 60% อากาศและดินก็ปนเปื้อนสารดังกล่าวนี้ด้วย

มีประชาชนได้รับผลกระทบ 2.6 ล้านคน


เหมืองร้างในเมืองคับเว แซมเบีย(ภาพBlacksmith Institute)
คนงานกำลังทิ้งของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมในเมืองวาปี อินเดีย(ภาพBlacksmith Institute)



เมืองวาปี ประเทศอินเดีย เมืองวาปีอยู่ในรัฐคุชราต

มีอุตสาหกรรมต่างๆมากกว่า 50 ชนิด ในจำนวนนี้มี อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยาฆ่าแมลง สิ่งทอ ยารักษาโรค เมื่อปี 1994 องค์การCentral Pollution Control Board of India (CPCB) ประกาศว่าเมืองวาปีเป็นเขตมลพิษรุนแรง

มลพิษมาจากของเสียในโรงงานอุตสาหกรรม อาทิเช่น โลหะหนัก ย่าฆ่าแมลง ไซยาไนด์ เป็นต้น ทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคผิวหนังอักเสบ โรคปอด และมะเร็งช่องคอ

น้ำใต้ดินที่เมืองวาปีปนเปื้อนสารปรอทและสารตะกั่วเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนดเกือบ 100 เท่า

มีประชาชนได้รับผลกระทบ 71,000 คน


เมืองลา โอโรยา ประเทศเปรู

เมืองเหมืองแร่บริเวณเทือกเขาแอนดิสและแหล่งหลอมโลหะ นับตั้งแต่ปี 1922 ประชาชนในเมืองนี้ได้รับผลกระทบจากมลพิษและของเสียจากเหมืองและโรงงาน คือ สารตะกั่ว ทองแดง สังกะสีและ กำมะถัน

ปัจจุบันทางการเปรูขึ้นบัญชีเป็นเมืองที่มีคุณภาพอากาศอยู่ในระดับเลวร้าย 99% ของเด็กที่อาศัยอยู่ในและรอบๆเมืองมีสารตะกั่วในเลือดสูงเกินมาตรฐาน

มีประชาชนได้รับผลกระทบ 35,000 คน


เมืองเซอร์ซินสค์ ประเทศรัสเซีย

นี่คือเมืองที่หนังสือกินเนสส์บุ๊คบันทึกว่าเป็นเมืองที่มีมลพิษทางเคมีมากที่สุดในโลก เมืองเซอร์ซินสค์ เป็นศูนย์กลางการผลิตเคมีภัณฑ์และอาวุธเคมีตั้งแต่ครั้งสงครามเย็นรวมทั้งการผลิตน้ำมันที่มีสารตะกั่วด้วย

มลพิษของเมืองนี้คือแก๊สซาริน แก๊สวีเอ็กซ์ รวมทั้งสารตะกั่ว

มีประชาชนได้รับผลกระทบ 300,000 คน


เมืองนอริลสค์ ประเทศรัสเซีย

เมืองนอริลสค์ อยู่ในไซบีเรีย เป็นเมืองที่มีอุตสาหกรรมหลอมโลหะที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ละปีมลพิษจากทองแดงและนิเกิลออกไซด์เกือบ 500 ตันและกำมะถันอีก 2 ล้านตันถูกปล่อยสู่อากาศ

เมืองนอริลสค์ เป็นหนึ่งในเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในรัสเซีย หิมะที่นี่มีสีดำ ประชาชนได้รับผลกระทบจากมลพิษในอากาศ 134,000 คน


ร่างกายของคนงานเหมืองถ่านหินในเมืองหลินเฟิน เปรอะเปื้อนไปด้วยเขม่า(ภาพBlacksmith Institute)
ผู้ป่วยจากรังสีนิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล(ภาพBlacksmith Institute)



เมืองเชอร์โนบิล ประเทศยูเครน

แม้ว่าอุบัติเหตุเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลระเบิดเมื่อวันที่

26 เมษายน ปี1986 จะผ่านไปเป็นเวลา 21 ปีและมีประชาชนได้รับผลกระทบมากถึง 5.5 ล้านคนแล้วก็ตาม แต่บริเวณในรัศมี 19 ไมล์รอบๆโรงไฟฟ้าแห่งนี้ก็ยังเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยไม่ได้

กัมมันตภาพรังสีส่วนใหญ่ยังถูกเก็บกักไว้ภายในโรงไฟฟ้า รอยรั่วของโครงสร้างโรงไฟฟ้าอาจทำให้น้ำฝนไหลเข้าไปจนทำให้เกิดของเหลวเป็นพิษและปนเปื้อนในน้ำใต้ดินได้


เมืองคับเว ประเทศแซมเบีย

เมืองคับเวเคยรุ่งเรืองด้วยอุตสาหกรรมเหมืองแร่สังกะสีและตะกั่วจนถึงปี 1994 อุตสาหกรรมนี้ได้ทิ้งฝุ่นตะกั่วไว้ในดิน โลหะหนักไว้ในน้ำ งานวิจัยระบุว่ามีการกระจายของตะกั่ว แคดเมียม ทองแดง สังกะสีปนเปื้อนอยู่ในดินในปริมาณที่สูงกว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ในรัศมี 20 กิโลเมตร

มีประชาชนได้รับผลกระทบ 255,000 คน

รายงานของสถาบันแบล็คสมิธมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความตระหนักหรือใส่ใจต่อปัญหามลพิษในประเทศที่กำลังพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งที่ผ่านมาไม่ถูกนำเสนอให้รับรู้อย่างกว้างขวางทั้งทางสื่อมวลชนหรือภายในชุมชนนั้นเอง



จาก            :           มติชน คอลัมน์ โลกสามมิติ  โดย บัณฑิต คงอินทร์     วันที่ 29 กันยายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #23 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2007, 12:46:36 AM »


อินโดนิเซียเพิ่มขีด เตือนภัยภูเขาไฟ เตรียมขนชาวบ้าน ออกจากพื้นที่เสี่ยง   

 อินโดนีเซีย เพิ่มระดับเตือนภัยภูเขาไฟเกาะชวา เตรียมอพยพประชนออกจากพื้นที่เสี่ยง หวั่นเกรงมีผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดของภูเขาไฟ

 จาการ์ตา – เจ้าหน้าที่อินโดนีเซีย ยกระดับการเตือนภัยภูเขาไฟที่จังหวัดชวาตะวันออก พร้อมเตือนประชาชนให้อยู่ห่างจากพื้นที่เสี่ยงภัย

 สำนักงานภูเขาไฟวิทยา ของอินโดนีเซีย ได้ปรับระดับการเตือนภัยภูเขาไฟเคลุต ไปอยู่ที่ระดับ 3 จากทั้งสิ้น 4 ระดับ พร้อมเตือนให้ประชาชนอยู่ห่างจากบริเวณปากปล่องภูเขาไฟอย่างน้อย 5 กิโลเมตร และให้เตรียมพร้อมอพยพทันทีที่ภูเขาไฟเริ่มเกิดการปะทุ

 การยกระดับเตือนภัยครั้งนี้ มีขึ้นภายหลังเจ้าหน้าที่พบว่า ภูเขาไฟเริ่มมีปฏิกิริยาสั่นไหวรุนแรงขึ้น โดยระหว่างวันที่ 26-29 กันยายน ที่ผ่านมา สามารถบันทึกแผ่นดินไหวจากภูเขาไฟได้ถึง 54 ครั้ง และการสั่นไหวของแผ่นเปลือกโลก 9 ครั้ง และมีสัญญาณว่า ศูนย์กลางของการสั่นไหวเริ่มขยับขึ้นมาใกล้ผิวโลก นอกจากนี้ พบด้วยว่าอุณหภูมิของน้ำในทะเลสาบที่ปากปล่องภูเขาไฟเริ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่องค์ประกอบทางเคมีของน้ำก็เริ่มมีความเข้มข้นสูงขึ้น ทำให้น้ำซึ่งเดิมเป็นสีเขียวกลายเป็นสีขาวขุ่น และเริ่มมีก๊าซระเหยออกมา

 ภูเขาไฟเคลุต มีความสูง 1,731 เมตร ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ทั้งโดยรอบก็มีประชาชนตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ภูเขาไฟเคลุต เกิดการระเบิดครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2533 และคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วมากกว่า 15,000 ราย นับตั้งแต่การปะทุเมื่อ 507 ปีก่อน



จาก            :           แนวหน้า     วันที่ 2 ตุลาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #24 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2007, 01:02:32 AM »


คนหวั่น กรุงเทพฯไหว                 
 

กรุงเทพฯ มุมสูง
 
แผ่นดินไหว เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการระบายความเครียดของโลกในรูปการสั่นสะเทือน หลายพื้นที่เกิดแผ่นดินไหวถี่จึงมีระบบป้องกัน ส่วนบางพื้นที่หลายสิบหลายร้อยปีจึงจะมีการสั่นไหวสักครั้ง มาตรการในการรองรับความปลอดภัยจึงยังไม่ได้รับการพัฒนา ประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้น ทว่า ระยะ 4-5 ปีหลัง เกิดเหตุบ่อยครั้งจนรู้สึกได้ จุดประกาย ชวนคุณวิเคราะห์เหตุแผ่นดินไหว ที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

วันที่ 19 กันยายน 2528 ขณะที่ประชากรในกรุงเม็กซิโกกำลังใช้ชีวิตประจำวันไปตามวิถีปกติ มหันตภัยร้ายทางธรรมชาติบางอย่างก็พลันเกิดขึ้น โดยที่ไม่มีใครคาดคิดหรือทันระวังตัว

แผ่นดินไหวขนาด 8.1 ริกเตอร์ มีศูนย์กลางอยู่ห่างจากกรุงเม็กซิโกประมาณ 350 กิโลเมตร สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับกรุงเม็กซิโก เพียงไม่ถึง 1 นาที อาคารบ้านเรือนก็ถล่มร่วงลงมาพังราบ ยังผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 10,000 คน อาคารเสียหาย 600 หลัง และมูลค่าทรัพย์สินที่สูญสลายไปกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

อีก 10 ปีถัดมา ญี่ปุ่นต้องระส่ำระสายไปทั้งประเทศ เมื่อเกาะเล็กๆ แต่มีประชากรหนาแน่นอย่างโกเบ ประสบเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในเช้ามืดของวันที่ 17 มกราคม 2538 ความแรงขนาด 7.2 ริกเตอร์ คร่าชีวิตผู้คนไปมากถึง 5,300 คน อาคารเสียหายรุนแรงกว่า 75,000 หลัง ทางด่วนและทางรถไฟยกระดับหลายส่วนพังทลายลงมา และท่าเรือเกือบทั้งหมดเสียหายจนใช้การไม่ได้

ช่วงสายของวันที่ 26 ธันวาคม 2547 นักท่องเที่ยวรวมถึงทุกชีวิตที่อยู่ริมทะเลหลายประเทศ ต้องหนีตายจากคลื่นร้ายสึนามิ ที่มีต้นตอมาจากแผ่นดินไหวขนาด 9.3 ริกเตอร์ บริเวณยอดเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ความรุนแรงครั้งนั้นกระชากวิญญาณของผู้คนไปมากมายนับไม่ถ้วน

ประเทศไทยได้รับผลกระทบโดยตรง 6 จังหวัด แต่ความรุนแรงที่วัดได้คือความเสียใจของคนทั้งโลก 

หลังจากนั้นก็เกิดเหตุแผ่นดินไหวอีกบ่อยครั้ง แต่ที่น่าสนใจคือ มันส่อเค้ารุนแรงขึ้นจนสามารถเขย่าขวัญประชากรชาวกรุงเทพมหานครได้ เพราะอาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพฯ แอบโยกเยกเบาๆ

ไม่มีใครล่วงรู้อนาคตของการเกิดแผ่นดินไหวได้ แต่สิ่งที่คนไทยทุกคนควรตระหนักไว้ก็คือ ภัยแผ่นดินไหวกำลังคืบคลานเข้ามาใกล้ชีวิตประจำวันของเราไปทุกที

แล้วจะเกิดอะไรขึ้น หากแผ่นดินไหวขยายความรู้สึกต่ออาคารสูงในกรุงเทพฯ มากกว่าแค่โยกเยกเบาๆ 


ตำแหน่งและขนาดแผ่นดินไหวในประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง
 

กรุงเทพฯ (ยัง) อันตราย

ถึงแม้ประเทศไทยจะประสบภัยธรรมชาติในลักษณะนี้ค่อนข้างน้อยเมื่อดูตามประวัติศาสตร์ของการเกิด และหลายๆ คนก็เชื่อว่า "ทำเลที่ตั้งของประเทศไทย ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวแน่ๆ"

แต่ ณ วันนี้ความเชื่อเหล่านั้นถูกนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวลบทิ้งไป เพราะข้อมูลจากการศึกษาวิจัยในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ยืนยันแล้วว่า ประเทศไทยไม่ได้ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวร้อยเปอร์เซ็นต์

รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) บอกว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหว โดยเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดภาคเหนือและภาคตะวันตก ทว่า ไม่ได้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่สูงจนเกินไป

"ความเสี่ยงไม่สูง ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่มีการสั่นสะเทือนที่รุนแรง เพียงแต่ว่าการสั่นสะเทือนที่รุนแรงที่เป็นอันตรายต่ออาคารบ้านเรือนไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ไอ้ตัวที่แรงๆ จริงๆ อาจจะใช้เวลาหลายร้อยปีจึงจะเกิดสักครั้ง จริงๆ แล้วเท่าที่ข้อมูลเราบอกมา แผ่นดินไหวตั้งแต่ 5 ริกเตอร์ขึ้นไป มันก็เป็นอันตรายแล้ว และ 5 ริกเตอร์นี่ก็เกิดทุกๆ 5 ปี 10 ปี เพียงแต่ว่าแผ่นดินไหวประเภทนี้รัศมีการทำลายต่ำ มันแค่ประมาณ 10 กว่ากิโลเมตร ถ้าเราไม่อยู่ใกล้ๆ ใจกลางของมัน เราก็ไม่เป็นอะไร"

ผู้เชี่ยวชาญคนเดิมว่า แผ่นดินไหวขนาด 6 ริกเตอร์ อาจจะใช้เวลา 50-60 ปีกว่าจะเกิดสักครั้ง ส่วนที่ขนาดใหญ่กว่านั้นคือ 7 ริกเตอร์ขึ้นไป ก็อาจจะใช้เวลานานถึง 200-300 ปี แต่เหล่านี้ก็ไม่ใช่ความแน่นอน

จากการที่กรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล เคยเป็นทะเลมาก่อนในอดีต ส่งผลให้ดินใต้พื้นมีลักษณะเป็นแอ่งดินอ่อนขนาดยักษ์ เรียกว่า แอ่งกรุงเทพฯ หรือ Bangkok Basin ซึ่งดินอ่อนที่มีความหนา 10-20 เมตรนี้มีคุณสมบัติพิเศษที่เรียกว่า อีลาสติก (elastic) คือมีความยืดหยุ่นสูง ดังนั้น ชั้นดินอ่อนหนาเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว การสั่นสะเทือนจะรุนแรงกว่าปกติ

"บนดินอ่อนเวลาถูกแผ่นดินไหวเขย่า มันจะสั่นเป็นจังหวะพิเศษ จะแตกต่างจากการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวบนดินแข็งๆ ทางภาคเหนือหรือพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี อันนั้นจะสั่นแบบแรงๆ เร็วๆ แต่ว่าบนดินอ่อนจะเป็นการสั่นสะเทือนแบบช้าๆ มีจังหวะที่ชัดเจน แล้วก็สั่นนาน มันจะมีกำลังขยายมากกว่าปกติ เทียบกับพวกดินแข็งๆ อาจจะแรงกว่าถึง 3 เท่า"

ลักษณะการสั่นแบบนี้ส่งผลกระทบต่ออาคารที่มีขนาดสูง เช่น อาคารทั่วไปในกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่หากเป็นการสั่นสะเทือนบนพื้นดินแข็งที่แรงและเร็ว จะส่งผลต่ออาคารขนาดเล็ก ไปจนถึงอาคารขนาดกลาง ดังนั้น การเตรียมพร้อมในแต่ละพื้นที่จึงค่อนข้างแตกต่างกัน

"สำหรับกรุงเทพฯ เรารู้กันแล้วว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นหลายครั้งในรอบหลายปี อาคารสูงๆ อาจจะสูงมากๆ 20-40 ชั้น ก็โยกกันเยอะเลย แถวสีลม หรือที่อื่นก็มี บางเหตุการณ์ตึกนั้นโยก บางเหตุการณ์ตึกนี้โยก แต่ประเด็นที่สังคมต้องรู้ไว้ก็คือว่า ที่เกิดมาทั้งหมดนั่นยังไม่ใช่ของจริง"

อาจารย์เป็นหนึ่ง กล่าวว่า ขนาดของแผ่นดินไหวแม้จะเป็นตัวเลขที่แตกต่างกันเพียงแค่ขั้นเดียว คือ 6, 7, 8 แต่พลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาต่างกันมากมายมหาศาล อาจจะเป็น 1,000 เท่า ในบางกรณี

"ในระยะเป็นพันๆ กิโลเมตรรอบประเทศไทย มีแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวเยอะแยะ อาจจะเกิด 6 ริกเตอร์ 7 ริกเตอร์ 8 ริกเตอร์ได้ แต่ที่ผมเป็นห่วง แล้วคนที่ศึกษาเรื่องนี้เป็นห่วงก็คือ เกิดแบบนั้นแหละ แต่เกิดขนาด 8 ริกเตอร์ ในระยะประมาณ 400 กิโลเมตร ซึ่งมันมีอยู่ แถวทะเลอันดามัน" ผู้เชี่ยวชาญคนดัง เผย

บริเวณที่ว่าอยู่บนรอยเลื่อนสะแกง หากดูตามประวัติรอยเลื่อนนี้เคยเกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 8 ริกเตอร์ และ 7.9 ริกเตอร์มาแล้วเมื่อ 90 ปีก่อน และอีก 20 ปีถัดมาก็เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.3 ริกเตอร์ ถึง 2 ครั้ง ในจุดที่ต่ำลงมา นั่นแปลว่า บนรอยเลื่อนเส้นเดียวกัน หากเกิดแผ่นดินไหวจะคายพลังงานออกมาเป็นจุดๆ ไม่ใช่ตลอดทั้งแนว แต่ค่อยๆ ไล่เรียงไป

"ตอนที่เกิดขนาด 7.3 ริกเตอร์ เมื่อประมาณ 70 ปีมาแล้ว ก็มีเรคคอร์ดว่าในกรุงเทพฯ วุ่นวายพอสมควร ตอนนั้นยังไม่มีตึกสูง ก็ไม่ได้ทำความเสียหายอะไร แต่รถที่จอดอยู่ก็ขยับ น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยากระฉอก คนบนพื้นดินตกใจกันหมด แต่ตอนนั้นยังไม่มีตึกสูง ไม่มีอาคารที่โยกได้เหมือนอย่างนี้ แล้วเราก็ยังไม่เกิดเหตุการณ์แบบคลิติเคิลจริงๆ คือ 8 ริกเตอร์ ในระยะ 400 กิโลเมตร"

นั่นหมายถึงตำแหน่งต่อไปบนรอยเลื่อนสะแกง ซึ่งอาจารย์เป็นหนึ่ง หรือผู้เชี่ยวชาญคนใด ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า เมื่อไรพลังงานจะคลายความเครียดออกมาจริงๆ และถ้าเวลานั้นมาถึง กรุงเทพฯ และปริมณฑล พร้อมหรือยังกับการป้องกันภัย

"ทำไมขนาด 8 ริกเตอร์ในระยะ 400 กิโลเมตรเป็นอันตราย ก็จะเทียบให้เห็น เราต้องดูเหตุการณ์ที่เม็กซิโกซิตี เมืองนี้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.1 ริกเตอร์ ห่างจากเม็กซิโกซิตี 350 กิโลเมตร อาคารลงมากองกันเยอะเลย 600 หลังเสียหายรุนแรง คนเสียชีวิตมากกว่า 10,000 คน ส่วนใหญ่เป็นอาคารเตี้ย คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ อาคารเตี้ยหรืออาคารขนาดกลางเสียหายแค่ 2 เปอร์เซ็นต์ แต่อาคารสูงที่มีอยู่น้อยกว่า ความเสียหายคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว 20 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นโดยสัดส่วนแล้ว อาคารสูงมีผลกระทบมากกว่า"

ในกรณีของกรุงเม็กซิโก ไม่ได้มีปัญหาแค่อาคารสูงเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องปัญหาดินอ่อน ซึ่งคล้ายกับกรุงเทพฯ และปริมณฑลมาก กรุงเม็กซิโกเคยเป็นทะเลสาบมาก่อน เพราะฉะนั้นประวัติจะคล้ายๆ กัน จึงไม่น่าแปลกที่นักวิชาการจะนำสภาพภูมิศาสตร์ของทั้ง 2 ประเทศมาเทียบเคียงเพื่อเตรียมพร้อมเรื่องความปลอดภัย

"แต่ผมก็ไม่อยากทำให้คนตกใจมาก เรารู้ว่าอาคารหลายอาคารอาจจะโยกได้ แต่ถ้าเผื่อมีกระดูกข้างในดีๆ ซึ่งเราเช็คหลายอาคารแล้วพบว่า ลิฟต์คอร์ ตัวแกน ปล่องลิฟต์ กำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กที่อยู่ในโครงสร้าง ที่เราเรียกว่าเป็นกระดูก มีการจัดวางตัวดีมาก มีความต่อเนื่องกันดี หลายๆ หลังก็เลยมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ แต่ว่ามีอาคารหลายหลังเหมือนกันที่อ่อนแอ คือมันมีทั้งอาคารแข็งแรงและอ่อนแอปะปนกัน สิ่งที่เราพยายามทำ คือ ออกกฎหมาย ผลักดันให้มีการบังคับให้การออกแบบอาคารใหม่ทนต่อผลของการเกิดแผ่นดินไหวในระยะไกลได้ เพื่อที่เราจะได้ขจัดอาคารอ่อนแอออกไปในอนาคต"

ถามถึงเรื่องการตรวจสอบคุณภาพอาคารในกรุงเทพฯ อาจารย์เป็นหนึ่งบอกว่า ยังไม่มีการสำรวจอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะกระบวนการค่อนข้างละเอียด ต้องมีการวิเคราะห์โครงสร้าง และใช้วิศวกรผู้มีความสามารถ ซึ่งจะดูภายนอกอย่างเดียวไม่ได้

"เรื่องที่ทำง่ายกว่าคือการจัดการกับอาคารใหม่ แล้วประชาชนก็จะถามเรื่องนี้เองแหละว่า อาคารที่เขามีอยู่จะปลอดภัยหรือเปล่า พอถึงตอนนั้นก็คงจะมีการสำรวจอย่างจริงจัง ยกตัวอย่างเช่นตอนนี้เรากำลังทำโครงการกับการเคหะแห่งชาติ เพื่อที่จะออกแบบแฟลตเอื้ออาทร ที่เป็นแฟลตราคาถูก ให้มันทนต่อแผ่นดินไหวได้ แล้วจำเป็นต้องสร้างให้เร็วด้วยวิธีชิ้นส่วนสำเร็จรูป เราก็พยายามหาวิธีให้เขาว่าจะสร้างอย่างไรให้เร็ว ราคาถูก และต้านแรงแผ่นดินไหวได้ด้วย ซึ่งเราคิดว่ามันทำได้ แต่ต้องมีความต้องการขึ้นมาก่อน"


อาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ที่ออกแบบต้านทานแผ่นดินไหว

อาคาร (ต้อง) ปลอดภัย

ขณะนี้ ร่างกฎกระทรวงฉบับปรับปรุงใหม่ ผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว กำลังอยู่ในขั้นพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งถ้าประกาศใช้แล้วจะมีผลบังคับใช้ต่ออาคารในกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรสาคร เนื่องจากอยู่บนชั้นดินอ่อนซึ่งจะมีการสั่นไหวที่รุนแรง

จริงอยู่ว่า การผลักดันให้มีกฎหมายควบคุมการออกแบบก่อสร้างอาคาร จะเป็นตัวกำหนดให้วิศวกรก่อสร้างอาคารทนต่อแรงสั่นของแผ่นดินไหว แต่ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่กฎกระทรวงฉบับที่ 49 (พ.ศ.2540) ออกมา ก็อาจจะไม่ได้แก้ปัญหามากนัก เพราะยังมีคนไม่ปฏิบัติตามเยอะ และไม่มีกระบวนการตรวจสอบที่แท้จริง

ปัญหาอีกเรื่องหนึ่งที่ถือเป็นประเด็นสำคัญก็คือ วิศวกรส่วนใหญ่ยังออกแบบอาคารที่สามารถต้านทานแผ่นดินไหวได้ไม่เป็น เพราะในหลักสูตรปริญญาตรีไม่มีสอน ส่วนหลักสูตรปริญญาโทก็มีบ้างบางสถาบัน เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ทว่า วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) ก็พยายามจัดการอบรมวิศวกรทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนทักษะให้กับวิศวกรในอนาคต

"คนที่รู้เรื่องการออกแบบมีอยู่จำกัด เราก็ต้องรีบผลิตวิศวกร รีบทำการฝึกอบรมวิศวกรให้รู้เรื่องการออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหว ปริญญาตรีไม่ได้สอนแต่ก็มีการพูดกันในคณะกรรมการแผ่นดินไหว เมื่อหลังจากเกิดแผ่นดินไหวที่ลาว มีมติว่าน่าจะขอความร่วมมือไปที่สถาบันการศึกษาให้บรรจุลงในหลักสูตรในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เพื่อให้มีพื้นฐาน อันนี้เป็นมติของคณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ" ศาสตราจารย์ ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว

อาจารย์ปณิธาน บอกว่า แม้นักวิชาการจะนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเม็กซิโกซิตีมาเป็นบทเรียน แต่ก็ไม่ควรทึกทักไปว่าจะเหมือนกันซะทีเดียว เพราะจากข้อมูลรอยเลื่อนที่มีอยู่ อาจารย์เชื่อว่าไม่เลวร้ายเท่ากรุงเม็กซิโก

"ยังไงก็ตาม เราพบว่าการสั่นไหวที่กรุงเทพฯ ถ้ามันเกิดก็จะอยู่ในระดับ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราเร่งจากแรงโน้มถ่วง (เปอร์เซ็นต์ g) คือถ้าเราเอาก้อนหินมาแล้วปล่อยให้มันหล่นลง ทุกๆ 1 วินาที มันจะมีความเร็วเปลี่ยนไปเท่าไร ค่านั้นคือค่าอัตราเร่งจากแรงโน้มถ่วงของโลก ทีนี้อัตราเร่งในแนวราบประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ถามว่ามากแค่ไหน แผ่นดินไหวที่เรายืนบนพื้นแล้วเรารู้สึกมันจะประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ g เพราะฉะนั้นโครงสร้างทั่วไปถ้าไม่ได้ออกแบบให้ต้านแผ่นดินไหว ถ้าเกิดสัก 10 เปอร์เซ็นต์ g ขึ้นมามันจะเสียหายได้"

สำหรับอาคารที่ดีที่สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้ อาจารย์ปณิธาน บอกว่า ต้องมีความเหนียว และเสริมเหล็กให้เพียงพอ ที่สำคัญคือส่วนของโครงสร้าง เช่น เสา คาน ถ้าเป็นอาคารสูงก็ควรจะเพิ่มผนังคอนกรีตรับแรง หรือ Shear wall ด้วย

"ไม่ใช่ไปทำโครงสร้างหวือหวาเป็นรูปอะไรก็ไม่รู้ เวลามันสั่นมันก็จะยุ่งเหยิงไปหมด เกิดแรงเพิ่มเติมมากมาย ให้ทำเป็นรูปร่างเรียบง่าย มีลักษณะสมมาตรเท่าที่จะทำได้ ถ้าทำอย่างนี้แล้ว การออกแบบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นก็แค่ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของส่วนโครงสร้างเท่านั้น แต่ถ้าเป็นตึกรูปร่างแปลกๆ ต้องวิเคราะห์โดยวิธีพลศาสตร์ให้ดี ซึ่งมันจะยุ่งยากมากขึ้น แล้วการสั่นไหวไม่ดี บิดบ้าง แกว่งบ้าง ก็ควรหลีกเลี่ยง ถ้าปล่อยให้บิดไปบิดมาก็อาจจะเหมือนอาคารในเมืองนอกที่บิดเป็นเกลียวเลย แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องใช้วิทยาการที่ทันสมัยมาวิเคราะห์ให้มันละเอียด"

สำหรับผู้ที่จะซื้ออาคารหรือคอนโดมิเนียมเพื่ออยู่อาศัย สินิทธ์ บุญสิทธิ์ วิศวกรวิชาชีพ 8 สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย แนะว่า อาจจะดูจากภายนอกทั่วไปไม่ได้ หากต้องซื้อจริงๆ ต้องตรวจสอบให้ละเอียดถึงโครงสร้างภายในจากแบบแปลน

"ถ้าเราจะไปซื้อ เจ้าของโครงการเขาต้องบอกว่าดีอยู่แล้ว ผมแนะนำว่า คืออาจจะลำบากนิดหนึ่ง เราคงต้องไปตรวจสอบกับทาง กทม. ว่าอาคารนี้ตอนเริ่มสร้างเขามีการออกแบบต้านแรงแผ่นดินไหวหรือเปล่า เพราะตอนนี้กฎหมายยังไม่ออก เพราะฉะนั้นเจ้าของโครงการบางรายก็อาจจะยังไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้"

สินิทธ์ เพิ่มเติมว่า ในฐานะของผู้บริโภคการจะซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมสักหลังไม่ใช่แค่ตัดสินใจซื้อ ควรจะต้องศึกษารายละเอียดอย่างแน่นหนัก เพราะนอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ยังมีภัยอื่นๆ อีกมากที่เกิดกับอาคาร ไม่ว่าจะเป็นอัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย เหล่านี้ควรมีระบบป้องกันไว้อย่างดีเยี่ยม หากมั่นใจว่าปลอดภัย การตัดสินใจคงไม่ใช่เรื่องยาก


ภาพการซ้อมหนีภัยของเด็กๆ ในฟิลิปปินส์

ด้าน อาจารย์ปณิธาน แนะว่า การซ้อมหนีภัยอาจจะไม่ช่วยอะไรได้มากนักหากเกิดแผ่นดินไหวจริงๆ แต่ก็อาจจะมีประโยชน์ในแง่ของการติดต่อประสานงาน เพราะการซ้อมหนีภัยครอบคลุมถึงการหนีไฟและแผ่นดินไหวด้วย

"ทางหนีมันเป็นช่องทางเดียวกัน ไม่ใช่แผ่นดินไหวมาไปใช้ลิฟต์ไม่ใช่ ต้องรู้เส้นทาง แล้วลงมาเป็นระเบียบ ไม่ใช่เหยียบกันตาย ลงมาต้องทำอะไร จะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่หน่วยไหน เบอร์อะไร รถดับเพลิงติดต่ออย่างไร เพราะถ้ารุนแรงอาจจะเกิดไฟไหม้ ไม่ใช่ไฟไหม้แต่ไม่มีใครเรียกรถดับเพลิง ติดต่อรถยก ติดต่อหลายๆ อย่าง การซ้อมก็ทำให้ได้รู้ว่าจะไปเรียกใครมา ถึงเวลาก็เรียกได้จริงๆ"

ตามข้อมูลทางวิชาการ ภัยแผ่นดินไหวรุนแรงอาจจะยังไม่เกิดขึ้นภายในปีนี้ หรือปีหน้า แต่ว่าการผลักดันให้มีกฎหมายบังคับเรื่องการออกแบบอาคารต้านแรงแผ่นดินไหว จะช่วยให้คุณภาพของอาคารเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต

แน่นอนว่า เมื่อถึงวันนั้นเราไม่อาจคาดเดาสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ แต่มันก็น่าจะดีกว่าปล่อยให้วัวหายแล้วค่อยล้อมคอก ไม่ใช่หรือ



จาก            :            กรุงเทพธุรกิจ  จุดประกาย   วันที่ 9 ตุลาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #25 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2007, 12:50:46 AM »


กรีซวิเคราะห์ภาพศิลปะ แสดงถึงสภาพอากาศในอดีต


 
นักวิทยาศาสตร์กำลังรวบรวมและวิเคราะห์ภาพศิลปะของบรรดาศิลปินรุ่นก่อน เพื่อนำมาปรับปรุงการคาดคะแนนของคอมพิว เตอร์โมเดล ที่ใช้เลียนแบบสภาพอากาศ

ศ.คริสทอส เซเรฟอส ผู้เชี่ยวชาญชาวกรีซ จากสถาบันสังเกตการณ์แห่งชาติ ผู้นำการศึกษา กล่าวว่า ภาพศิลปะแสดงให้เห็นสภาพภูมิอากาศในยุคนั้นๆ อย่างภาพพระอาทิตย์ตกของ โจเซฟ มัลลอร์ด วิลเลียม เทิร์นเนอร์

เซเรฟอสและคณะรวบรวมภาพอาทิตย์ตกจากเว็บไซต์ของพิพิธภัณฑ์มาได้กว่า 554 ภาพ ซึ่งเป็นงานระหว่างศตวรรษที่ 15 จนถึงศตวรรษที่ 19 จากผลงานของศิลปิน 181 คน ทั้งรูเบนส์ เรมแบรนด์ เรย์โนลด์ส เรอนัวร์ เกนสโบโรห์ และโฮการ์ท และนำแต่ละภาพมาวิเคราะห์ เพราะถ้าเรามองเห็นความสวยงามของภาพอาทิตย์ขึ้นหรืออาทิตย์ตก แต่นักวิทยาศาสตร์อาจมองเห็นไปอีกแบบ เช่น เห็นฝุ่นละออง ซึ่งละอองเล็กๆ เหล่านี้ จะแต้มสีแดงและสีทองบนท้องฟ้า

แสงแดดที่กระจัดกระจายเมื่อไปเจอกับอนุภาคเล็กๆ ในบรรยากาศ มีสีแดงมากกว่าสีเขียว ดังนั้นถ้าเห็นสีพระอาทิตย์ตกที่มีสีแดงเข้ม แสดงว่า ท้องฟ้าสกปรก

และมีภาพของศิลปิน 5 คน ที่นับว่ามีประโยชน์มาก เนื่องจากวาดภาพท้องฟ้าในช่วงก่อน ระหว่าง และหลัง ภูเขาไฟระเบิด ซึ่งนำเถ้าถ่านมาปกคลุมบริเวณ นั่นคือ ค็อบลีย์ เทอร์เนอร์ เดวิด แอสครอฟต์ และ เดอกาส์

โดยเฉพาะภาพของเทอร์เนอร์ที่วาดขึ้นเมื่อค.ศ.1816 หลังจากภูเขาไฟทัมโบราของอินโดนีเซียระเบิด เถ้าถ่านได้ลอยมาถึงยุโรปและเข้าปกคลุมเป็นเวลานาน จนปีนั้นยุโรปไม่มีช่วงฤดูร้อน ส่งให้พืชผลทางการเกษตรล้มตาย เกิดข้าวยากหมากแพง ผู้คนเสียชีวิตจากความอดอยากและโรคระบาดกว่า 66,000 คน เทอร์เนอร์ได้วาดปรากฏการณ์นี้ ทั้งภาพพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถนำสีจากภาพไปคำนวณหาปริมาณฝุ่นละอองในอากาศได้

ปรากฏการณ์นี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Global dimming" เกิดจากมลพิษทางอากาศไปกั้นแสงแดด ผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่มเชื่อว่า มลพิษทางอากาศเปรียบเสมือนกับ "เบรก" ไม่ให้โลกร้อนเร็ว และอากาศจะร้อนจัดขึ้นอย่างมาก ถ้ามลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมลดลง



จาก            :           ข่าวสด  หมุนก่อนโลก   วันที่ 12 ตุลาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #26 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2007, 01:07:57 AM »


ขุดดิน"รอยเลื่อนซานแอนเดรียส" ศึกษาการเกิดแผ่นดินไหว


 
เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ขุดดินของ "รอยเลื่อนซานแอนเดรียส" รัฐแคลิฟอร์เนีย มาศึกษา

ดินนี้อยู่ลึกลงไปจากพื้นผิวโลกประมาณ 3 กิโลเมตร และจะนำมาตรวจสอบเพื่อหาส่วนประกอบของดิน

ศ.มาร์ก โซแบค จากสแตนฟอร์ดยูนิเวอร์ซิตี้ กล่าวว่า การที่ได้ดินนี้มา ทำให้เราทราบว่าดินนี้ประกอบด้วยแร่ธาตุอะไรบ้าง จะได้ทราบว่ารอยเลื่อนซานแอนเดรียสทำงานอย่างไร

การขุดดินขึ้นมาจากรอยเลื่อน ทำในพื้นที่ใกล้กับเมืองพาร์กฟิลด์ ซึ่งรอยเลื่อนมีการเคลื่อนตัวเล็กๆ แต่บ่อยครั้ง อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนตัวนี้เกิดเป็นเพียงแผ่นดินไหวเล็กๆ เท่านั้น

การทดลองขั้นต่อไปคือ นำอุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหวลงไปในหลุมบริเวณรอยเลื่อน เพื่อศึกษาการเกิดแผ่นดินไหว

นายสตีฟ ฮิกแมน นักภูมิศาสตร์ฟิสิกส์ของสหรัฐ กล่าวว่า สำหรับนักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวแล้ว การนำดินจากรอยเลื่อนขึ้นมาศึกษา เปรียบได้กับความสำคัญของการศึกษาหินจากดวงจันทร์เลยทีเดียว และถ้าการศึกษาประสบผลสำเร็จ จะทำให้นักวิทยาศาสตร์คำนวณการเกิดของแผ่นดินไหวได้อย่างถูกต้องและแม่นยำขึ้น

รอยเลื่อนซานแอนเดรียส มีความยาว 1,300 กิโลเมตร แยกผ่านแคลิฟอร์เนียกลาง ซึ่งรอยเลื่อนนี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มาแล้วหลายครั้ง รวมทั้ง "บิ๊กวัน" แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อค.ศ.1906 ทำให้นครซานฟรานซิสโกราบเรียบไปทั้งเมือง



จาก            :           ข่าวสด     วันที่ 16 ตุลาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #27 เมื่อ: ตุลาคม 28, 2007, 01:02:16 AM »


เตือน 'ภูเขาไฟเคลุด' อิเหนาจวนระเบิดรุนแรงเร็วๆ นี้

รายงานข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศระบุว่า ดร.คริสตัล โต นักวิทยาศาสตร์อินโดนีเซีย กล่าวว่า ภูเขาไฟเคลุด ซึ่งสูง 1,731 เมตรและสงบมาเป็นเวลานาน ได้เริ่มปะทุขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ทางการอินโดนีเซียต้องสั่งอพยพประชาชนที่อาศัยในบริเวณรัศมีรอบภูเขาไฟ 10 กิโลเมตร

ดร.คริสตัล กล่าวต่อว่า ขณะนี้อุณหภูมิที่ปากปล่องภูเขาไฟอยู่ที่ 39 องศาเซลเซียส ซึ่งเกือบเท่ากับอุณหภูมิที่ปากปล่องเมื่อภูเขาไฟลูกนี้ระเบิดขึ้นครั้งล่าสุดในปี 2533 ทั้งนี้ อุณหภูมิที่ปากปล่องทำให้ทราบว่าหินละลาย (ลาวา) ภายในภูเขาไฟกำลังเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง และเป็นสัญญาณบอกว่าภูเขาไฟเคลุดใกล้จะระเบิดอย่างรุนแรงแล้ว

ด้านดร.อัลตุส มูเดียนโต นักภูเขาไฟวิทยาอินโดนีเซีย กล่าวว่า ศูนย์กลางการเคลื่อนไหวภายในภูเขาไฟเคลุดเริ่มขยับขึ้นมาใกล้ปากปล่องมากขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่เคยอยู่ห่างจากปากปล่องเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร แต่ขณะนี้ ศูนย์กลางการเคลื่อนไหวอยู่ห่างจากปากปล่องไม่ถึง 1 กิโลเมตร



จาก            :           มติชน     วันที่ 28 ตุลาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #28 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2007, 12:29:24 AM »


เกิดพายุลูกเห็บครั้งร้ายแรงสุด กระหน่ำโคลอมเบีย


รถยนต์ร่วม 30 คัน ติดอยู่ในน้ำแข็ง หลังเกิดพายุลูกเห็บครั้งร้ายแรงสุดถล่มกรุงโบโกต้า และทำให้เกิดน้ำท่วมหนักตามมา

โบโกต้า - เกิดพายุลูกเห็บครั้งร้ายแรงสุดถล่มโบโกต้า ทำให้ถนนหลายแห่งเสียหาย และเกิดน้ำท่วมหนัก แต่ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต หรือสูญหาย

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เกิดพายุลูกเห็บที่มีความรุนแรงผิดปกติ กระหน่ำกรุงโบโกต้าของโคลอมเบีย ทำให้ถนนหลายสายเสียหาย และเกิดน้ำท่วมหนักจากน้ำแข็ง และลูกเห็บ แต่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต หรือสูญหาย

เจ้าหน้าที่ดับเพลิง และเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้พยายามช่วยเหลือผู้คนราว 100 คน ที่ติดอยู่ในรถยนต์ 30 คัน หลังพายุลูกเห็บที่มีความรุนแรง ผิดปกติพัดกระหน่ำลงมาทำให้พื้นที่บริเวณกว้างถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งจำนวนมหาศาล

เจ้าหน้าที่กล่าวว่า พายุลูกเห็บที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในกรุงโบโกต้า โดยพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด คือถนนและที่พักอาศัยที่ตั้งอยู่ทางตอนกลาง  ใต้ ตะวันตก และตอนเหนือของกรุงโบโก



จาก               :              กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 5  พฤศจิกายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #29 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2007, 01:17:32 AM »


50 ปีผ่านไป-ผู้ป่วยมินามาตะ ยังคงเรียกร้องความเป็นธรรม


สถานที่รำลึกถึงผู้ที่เสียชีวิตและป่วยด้วยโรคมินามาตะ ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณเชิงเขา ฝั่งตรงข้ามมองเห็นเมืองและอ่าวมินามาตะ
 
สมัยเด็กหลายคนคงเคยเรียนเรื่อง "โรคมินามาตะ" หรือความหายนะทางสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น เมื่อ "สารปรอท" เข้าไปปนเปื้อนกับแหล่งน้ำ จนชาวบ้านเมืองมินามาตะกว่า 2,000 คนเสียชีวิต อย่างน้อย 30,000 คน กลายเป็นคนพิการ และความพิการยังส่งผลต่อลูกหลาน

ความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้ทั่วโลกเรียก "โรคที่เกิดจากสารปรอท" ว่า "โรคมินามาตะ" และแทบไม่น่าเชื่อว่า เรื่องราวของมินามาตะยังไม่จบ คดีฟ้องร้องของชาวบ้านยังคง คาราคาซังอยู่ที่ศาล แม้เรื่องเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว เมื่อ "บริษัทชิสโสะคอร์ป" ปล่อย "สารเมทธิลเมอคิวรี่" หรือ "สารปรอท" ลงมายังอ่าวมินามาตะและทะเลชิรานูอิ

อากิโนริ และ อิตสึโกะ โมริ สองสามีภรรยาชาวประมง ปัจจุบันอายุ 62 และ 58 ปี ตามลำดับ ย้อนให้ฟังถึงมหันตภัยครั้งนั้นว่า ครอบครัวของทั้งสองเป็นชาวเมืองมินามาตะ จังหวัดคุมา โมโตะ พ่อแม่ได้รับสารปรอทจนมีอาการปวดศีรษะจนตาพร่ามัว ไม่มีความรู้สึกที่แขนและขา นอนไม่หลับ เวียนหัวอาเจียน ขณะที่ตัวของอากิโนริและอิตสึโกะเองเริ่มรู้สึกว่า โรคฝังตัวอยู่ตามกระดูก ปวดตามแขนตามขา สูญเสียความรู้สึก อาการผิดปกติเหล่านี้เกิดจากรับประทานปลาปนเปื้อนสารปรอทตั้งแต่ยังเด็ก

อิตสึโกะ กล่าวว่า "มือและนิ้วของฉันกลายเป็นสีขาวซีดและคดงอ"


1. โรงงานสารเคมีชิสโสะคอร์ป ตัวต้นเหตุ   2. อีกส่วนหนึ่งของโรงงานชิสโสะ   3. ทางระบายน้ำฮักเเคน ที่ชิสโสะเคยปล่อยสารปรอทลงมาที่นี่   4. อาสาสมัครป้อนข้าวนายยูจิ คาเนโกะ ผู้ป่วยมินามาตะ ที่สถานพยาบาลผู้พิการฮอตโตะเฮาสุ

"โรคมินามาตะ" เป็นจุดกำเนิดของการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่ของญี่ปุ่น เหมือนหายนะที่เกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ประเทศยูเครน และโรงงานสารเคมียูเนี่ยนคาร์ไบด์ เมืองโบพาล ประเทศอินเดีย ที่กลายเป็นประเด็นถกเถียงด้านสิ่งแวดล้อมของโลก

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ญี่ปุ่นพยายามฟื้นฟูประเทศด้วยการเปลี่ยนเศรษฐกิจให้เป็นแบบอุตสาหกรรม ทำให้เกิดโรงงานทั่วญี่ปุ่นมากมาย วันหนึ่งเมื่อราว 50 ปีที่แล้ว มีผู้พบว่า ปลาในอ่าวมินามาตะที่ไหลลงทะเลชิรานูอิตายเป็นเบือ อีกาตกลงมาตายจากท้องฟ้าหรือไม่ก็บินชนหินตาย แมวเดินด้วยท่าทีประหลาดก่อนเสียชีวิต จากนั้นประชาชนเริ่มพูดไม่ชัด เดินไม่ได้ ตัวสั่น ชัก และเสียชีวิต และค.ศ.1956 เป็นปีที่โลกรู้จัก "โรค มินามาตะ"

ในตอนแรกชาวบ้านต่างหวาดกลัวว่าผู้ป่วยจะนำเชื้อมาติดต่อ ไม่มีใครอยากพูดถึงเรื่องนี้ ผู้ป่วยที่ไปถึงมือหมอมักมีอาการร้ายแรงแล้ว ถ้ายอมรับว่า เกิดโรคร้ายแรงขึ้นกับสื่อมวลชน ราคาปลาจากบริเวณนี้จะตกลงทันที ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ดำรงชีพด้วยการหาปลาขายไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้

"สารเมทธิลเมอคิวรี่" เกิดขึ้นเมื่อโรงงานต้องการผลิตสาร "เอซ ทัลดีไฮด์" เพื่อนำไปใช้ตามโรงงานต่างๆ ไปจนถึงโรงงานผลิตยา ส่วนบริษัทชิสโสะนั้นมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศหลังสงครามเป็นอย่างมาก จนทำให้รัฐบาลและข้าราชการในท้องถิ่นไม่อยากที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยว ชิสโสะซึ่งสามารถปล่อยสารปรอทลงในแหล่งน้ำยาวนานถึง 10 ปี จนถึงปี 1968 และกว่าที่ชิสโสะจะยอมรับว่าเป็นต้นเหตุในการปล่อยสารปรอทลงในแหล่งน้ำของมินามาตะนั้น ก็ใช้เวลากว่าสิบปีเช่นกัน เนื่องจากรัฐบาลพยายามปิดข่าวช่วยชิสโสะ


1.  นายคูนิจิ ฮิรายามา อายุ 62 ปี ผู้ป่วยที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล   2. นายแพทย์ชิเอโกะ เอคิโนะ ช่วยพยุงนายมาซาฟูมิ ทาคิชิตะ ผู้ป่วยมินามาตะ โดยทาคิชิตะมีอาการแขนขาอ่อนแรงจนต้องใช้ไม้เท้า วันหนึ่งๆ ต้องกินยาถึง 9 ขนาน ทั้งยาคลายกล้ามเนื้อไปจนถึงยาคลายเครียด   3.  อากิโนริและอิตสึโกะ โมริ สองสามีภรรยาชาวประมง ที่แม้จะป่วยด้วยโรคมินามาตะ แต่ต้องพยายามทำงานเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง    4.  ผู้พิการจากโรคมินามาตะ

เมื่อปี 1959 ชิสโสะให้ "เงินช่วยเหลือ" กับเหยื่อมินามาตะจำนวนหนึ่ง แต่ยังปฏิเสธความรับผิดชอบ แต่เมื่อราว 20 กว่าปีที่แล้ว รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศว่า เป็นความผิดของชิสโสะ ทำให้บริษัทต้องจ่ายเงินให้กับเหยื่อมินามาตะมากขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลและวงการอุตสาหกรรมยังคงปกป้องชิสโสะจากการจ่ายเงินเต็มจำนวนที่บริษัทควรจ่าย เช่น จำกัดจำนวนเหยื่อที่จะได้รับเงินช่วยเหลือก้อนใหญ่มีแค่ 2,960 ราย ซึ่งเหยื่อ 2,078 รายเสียชีวิต

การต่อสู้ยังคงดำเนินต่อไป จนเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ศาลฎีกาพิพากษาว่า รัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อการแพร่กระจายโรค ทำให้ผู้ป่วยอีก 12,000 คน ได้รับความช่วยเหลือในการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่ยังไม่ใช่ความช่วยเหลือที่เหยื่อมินามาตะควรจะได้รับอยู่ดี และรัฐบาลกำลังขยายความช่วยเหลือไปสู่ผู้ป่วยอีก 5,600 คน ที่ต้องการให้รัฐบาลยอมรับว่าพวกเขาเหล่านั้นล้มป่วยด้วยโรคที่มีสาเหตุมาจากสารปรอทปนเปื้อนที่มินามาตะ

จากการที่ญี่ปุ่นก้าวขึ้นเป็นประเทศร่ำรวย จึงเปลี่ยนแนวคิดจากเน้นหนักทางอุตสาหกรรมมาเป็นเพิ่มคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ ระบอบประชาธิปไตยยังแผ่ขยาย ทำให้ศาลยอมรับคำฟ้องที่มีต่อบริษัทขนาดยักษ์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังไม่ยอมทำการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างเต็มรูปแบบถึงพื้นที่บริเวณมินามาตะที่ได้รับผลกระทบจากสารปรอท

ดังนั้น จึงไม่มีผู้ใดทราบว่า อันตรายจากสารปรอทยังคงตกค้างอยู่ใต้ทะเลหรือไม่ แม้ก่อนหน้านี้จะมีการทำความสะอาดบริเวณที่ปนเปื้อน โดยชิสโสะและรัฐบาลช่วยกันถมดินบริเวณที่พบการปนเปื้อนมากที่สุด รวมทั้งนำสารปรอทออกจากน้ำทะเล ปิดพื้นใต้ท้องทะเลที่ปนเปื้อนด้วยการนำแผ่นเหล็กและซีเมนต์มากั้น จนปี 1997 หรือสิบปีที่แล้ว รัฐบาลประกาศให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยต่อการประมง

ถึงกระนั้น จากการนำปลามาตรวจ ยังพบว่า ปลาบางตัวมีสารปรอทสะสมเป็นจำนวนมาก และการปนเปื้อนที่มากผิดปกติยังพบอยู่ตามตะกอนในอ่าวมินามาตะ



จาก          :            ข่าวสด  โดย รวิกานต์ แก้วประสิทธิ์   วันที่ 6 พฤศจิกายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: 1 [2] 3 4 5   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง