กระดานข่าว Save Our Sea.net
เมษายน 27, 2024, 07:20:36 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 [4] 5   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมเรื่องราวของ .... แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด กับภัยพิบัติอื่นๆ  (อ่าน 88390 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #45 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2008, 01:35:31 AM »


แผ่นดินไหวกับริคเตอร์สเกล


แผ่นดินไหวที่ถล่มเสฉวนเสียหวิดราบเป็นหน้ากลอง และคร่าชีวิตชาวจีนไปไม่น้อยกว่า 50,000 คนตามการประเมินของทางการ ถือเป็นหนึ่งในเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่มากครั้งนักในแต่ละปี

ตามสถิติที่มีการจัดเก็บระหว่างปี ค.ศ.1990-1997 พบว่าในแต่ละปี มีเหตุแผ่นดินไหวในระดับที่รุนแรงกว่า 7.0 ริคเตอร์ เกิดขึ้นราว 20 ครั้งในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก

เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการเกิดแผ่นดินไหวขนาดย่อม (ความรุนแรงระหว่าง 1.0-2.0 ริคเตอร์) ซึ่งเกิดขึ้นราวๆ 8,000 ครั้งต่อวันแล้ว ถือว่าแผ่นดินไหวรุนแรงระดับที่เกิดขึ้นในจีน เกิดขึ้นยากและน้อยครั้งกว่ามาก

แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่า เปลือกโลกชั้นนอกสุดไม่ได้นิ่งอยู่กับที่ แต่วางอยู่บนหินเหลวชั้นในซึ่งได้รับความร้อนจากแกนของโลกที่มีความร้อนสูงระหว่าง 4,000-7,000 องศาเซลเซียส

นอกจากนั้น เปลือกโลกภายนอกยังไม่เชื่อมต่อกันสนิทเป็นแผ่นเดียว ตรงกันข้ามกลับปริแตกเป็นแผ่นเปลือกโลกใหญ่น้อยมากมาย โดยจำนวนแผ่นเปลือกโลก หรือ "เพลท" ที่สำคัญๆ มีทั้ง 18 แผ่นด้วยกัน เคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกันหรือตรงกันข้ามกัน ทำให้เกิดแรงดึงและแรงกระแทกซึ่งกันและกัน ซึ่งก่อให้เกิดแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวมีด้วยกัน 3 ลักษณะ ลักษณะแรกคือการที่เปลือกโลก 2 ฟากของรอยแยกเคลื่อนที่เข้าหากันโดยตรง ทำให้แผ่นหนึ่งมุดเข้าไปใต้อีกแผ่นหนึ่ง ซึ่งจะถูกหนุนสูงขึ้นในเวลาเดียวกัน

ลักษณะที่สอง คือการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกสองแผ่นในทิศทางขนานแต่ตรงกันข้ามกันทำให้เกิดแรงดึงบริเวณรอยปริของเปลือกโลก แรงดึงดังกล่าวจะสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อแรงดึงดังกล่าวกระชากเปลือกโลกทั้ง 2 แผ่นออกจากกัน

ลักษณะสุดท้าย เกิดขึ้นเมื่อหินเหลวชั้นในใต้เปลือกโลกสะสมความร้อนสูงจนเกิดแรงดันเพิ่มขึ้นถึงระดับที่สามารถแทรกตัวขึ้นมาตามรอยปริแตกของแผ่นเปลือกโลก หากแรงดันดังกล่าวมีเพียงพอหิวเหลวจะดันสูงขึ้นจนถึงรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกชั้นนอก ที่จะถูกดันออกไปสองข้างในทิศทางตรงกันข้ามแยกออกจากกันและก่อให้เกิดแผ่นดินไหว

เราวัดค่าความรุนแรงของการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวด้วยมาตราริคเตอร์ ซึ่งมาตราวัดแบบปลายเปิด คือไม่กำหนดระดับรุนแรงสูงสุดเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของแผ่นดินไหวสูงสุดเท่าที่เคยปรากฏอยู่ที่ระหว่าง 8-9 ริคเตอร์เท่านั้น

ดร.เป็นหนึ่ง วาณิชชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ให้ความรู้เอาไว้ว่า ในแต่ละระดับความรุนแรงตามมาตราริคเตอร์ ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่าในแต่ละขั้นที่สูงขึ้นไป หากวัดด้วยเครื่องวัดแบบเก่า ณ จุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวราว 100 กม. แต่เครื่องวัดสมัยใหม่ที่สามารถวัดใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว พบว่า แรงสั่นสะเทือนของแต่ละขั้นของมาตราริคเตอร์ อาจเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 20-30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวขึ้นอยู่กับระดับความสั่นสะเทือน, ระยะเวลา และอาณาบริเวณที่เกิดแรงสั่นสะเทือน เช่นแผ่นดินไหว 6 ริคเตอร์ ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนนานราว 10 วินาที ในพื้นที่เป็นทางยาวราว 10 กม. กว้าง 5 กม. ย่อมมีโอกาสสร้างความเสียหายได้น้อยกว่าขนาด 8 ริคเตอร์ ซึ่งจะสั่นไหวรุนแรงกว่าราว 20-30 เปอร์เซ็นต์ กินเวลานานกว่าคือนานเป็นนาที และกินอาณาบริเวณกว้างกว่าคือ ครอบคลุมพื้นที่ยาว 200 กม. กว้าง 30-40 กม.



จาก                       :                   มติชน คอลัมน์ Fact&Figure โดย pairat@matichon.co.th วันที่ 21 พฤษภาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #46 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2008, 12:09:44 AM »


Global Disasters เมื่อธรรมชาติเอาคืน !


 
ขณะที่ข่าวทั่วโลกรายงานตัวเลขของผู้เสียชีวิตชาวพม่าจากไซโคลนนาร์กีสกว่า 2 หมื่นคน บาดเจ็บและสูญหายรวมกว่า

1 แสนชีวิต และยังเชื่อว่าตัวเลขนี้ยังไม่นิ่ง เหตุแผ่นดินไหว 7.9 ริกเตอร์ในเสฉวน จีนก็สั่นสะเทือนโลก มีตัวเลขผู้เสียชีวิตเขยิบใกล้ 2 หมื่นราย บาดเจ็บอีกเกือบ 7 หมื่นราย ยังไม่นับรวมตัวเลขผู้สูญหายและไร้บ้านอีกไม่รู้เท่าไร ในเวลาเดียวกันข้ามไปอีกฟากของโลก ที่รัฐโอกลาโฮมาและมิสซูรี สหรัฐอเมริกา พายุทอร์นาโดที่ก่อตัวนานถึง 9 วันก็ได้กลืนร่างมนุษย์ไปอีก 23 ชีวิต

เสียงร่ำไห้ยังไม่สร่างซา เสียงร้องหาความช่วยเหลือยังดังระงมไปทั่วโลก เสียงประกาศเตือนพายุรามสูรที่ก่อตัวแถบฟิลิปปินส์ก็กำลังเคลื่อนตัวอย่างไม่น่าไว้วางใจไปสู่ประเทศญี่ปุ่น

นี่คือภัยพิบัติที่อุบัติขึ้นภายในเดือนเดียว...ทำไมมันจึงเกิดขึ้นถี่ยิบเช่นนี้ ?

มอง (ภัยพิบัติ) แบบ...ดร.สมิทธ ธรรมสโรช

จากข่าวภัยพิบัติที่เกิดขึ้นชุกเหลือเกินในช่วงนี้ นั่นย่อมทำให้เราต้องมาคิดเหมือนกันว่า ต่อไปจะมีอะไรเกิดขึ้นในบ้านเราบ้าง เพื่อจะได้เตรียมรับสถานการณ์ได้ทันท่วงที

ในมุมมองการคาดการณ์ในแบบวิทยาศาสตร์ ของ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เขาให้ความเห็นถึงสิ่งควรจับตามองมากๆ

"การเกิดแผ่นดินไหว ผมมีทฤษฎีแก้วร้าวของผมอยู่ว่า ประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ 13-14 รอยเลื่อน เหมือนกับเรามีแก้วร้าวอยู่ 13-14 รอย นานทีที่มีคนเอาอะไรไปทุบแก้วของเราอยู่ด้วย หนแรกมันอาจจะไม่ร้าว พอหนที่สองหนที่สาม มันก็อาจจะแตกเลย ทฤษฎีที่ผมทำอยู่ผมพิสูจน์ได้ว่าในปี พ.ศ.2550 เรามีการเกิดแผ่นดินไหวในกลุ่มรอยเลื่อนมากกว่าปี พ.ศ.2547 ถึง 10 เท่า แสดงให้เห็นว่าการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ๆ รอบๆ ประเทศ มันทำให้เกิดปฏิกิริยาของการเกิดแผ่นดินไหวในรอยเลื่อนที่มีพลังของเรามากขึ้น...

...ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ส่วนใหญ่บางรอยเลื่อนมันอยู่ในย่านชุมชน อย่างที่แม่ริม มันอยู่ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่ไม่กี่กิโลเมตรเท่านั้นเอง ถ้ามันเกิดรุนแรงขึ้น 4 ถึง 6 ริกเตอร์เมื่อใด ทำให้ตึกพังได้ เพราะฉะนั้นต้องระวัง อาจจะมีการเกิดแผ่นดินไหวในรอยเลื่อนเหล่านั้นสูงขึ้น ถี่ขึ้น และรุนแรงมากขึ้น เพราะฉะนั้นเราต้องจับตาดูรอยเลื่อนต่างๆ ที่อยู่ในประเทศอีกหลายรอยเลื่อนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพราะอีก 2-3 ปีข้างหน้าผลกระทบการเกิดแผ่นดินไหวที่จีนที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็ววันนี้จะมีผลกระทบต่อรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ในประเทศไทยอีกหรือไม่ ถ้ามีจะมีตรงไหนที่จะเกิดขึ้น จะมีผลกระทบต่อทรัพยากรทางธรรมชาติ

ต่อเขื่อน ต่อโครงสร้างของตึก ต่อชีวิตคนอย่างไรบ้าง"

ดร.สมิทธบอกว่า เรื่องแผ่นดินไหว เป็นเรื่องที่คาดการณ์ไม่ได้ แต่สิ่งที่สามารถคาดการณ์ได้ คือเรื่องของวาตภัย

"ผมห่วงเรื่องพายุมากกว่า เพราะพายุสามารถที่จะเกิดได้ง่ายกว่า และเกิดผลกระทบต่อประเทศไทยได้มากกว่าแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวนานทีมันถึงจะเกิด มันต้องสะสมพลังงานมากพอถึงจะเกิดแผ่นดินไหวได้ หลักฐานที่เห็นได้ชัดก็คือการเคลื่อนตัวของพายุแต่ละเดือนว่าเคลื่อนตัวไปทางไหน ก่อตัวไปทางไหน จะมีผลกระทบต่อประเทศไทยจังหวัดไหน...

...เรามีข้อมูลในแต่ละเดือน โดยดูแนวโน้มจากสถิติของพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่สู่ประเทศไทยในรอบ 55 ปี (พ.ศ.2494-2548) เราก็ใช้ข้อมูลนี้ในการเตือนภัย"

เหตุที่ ดร.สมิทธห่วงเรื่องพายุที่สุดก็เพราะภาวะโลกร้อนที่เรารู้กันอยู่

ส่วนภัยพิบัติอื่นๆ อย่างเช่น แผ่นดินถล่ม ไฟไหม้ป่า หรือสึนามิ ดร.สมิทธให้ความเห็นว่า

"อย่างพวกแผ่นดินถล่มหรือไฟไหม้ป่าก็แล้วแต่สถานการณ์ ไฟไหม้ป่าก็เกิดตอนฤดูร้อนที่แห้งแล้งยาวนาน มันก็เกิดไฟไหม้ป่าขึ้นมา ฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นวันก็มีแผ่นดินถล่มได้...

...ส่วนสึนามิ เราเตือนภัยได้ เพราะมันเกิดหลังแผ่นดินไหว แต่ตอบไม่ได้ว่าจะเกิดเมื่อไหร่ ตอนไหน แต่มันมีแนวโน้มที่มันจะเกิดขึ้นได้ แต่มันจะเกิดเมื่อไหร่ รุนแรงเท่าไหร่ไม่รู้"

"เราต้องระวังทุกภัยพิบัติ แต่มาบอกแบบหมอดูไม่ได้ว่า เดือนนั้นภัยพิบัติจะเข้าตรงนั้น น้ำจะเข้าตรงนี้ หรือแผ่นดินจะถล่ม แต่พายุบอกได้ใกล้เคียง บอกได้ล่วงหน้าด้วย มันอยู่ที่ผู้ที่ได้รับข้อมูลจะปฏิบัติตัวอย่างไร"

คำทำนายและความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์

จะว่าไปแล้ว วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ใช่ว่าจะไม่เคยมีใครทำนายทายทักมาก่อน เพราะหากย้อนกลับไปดู จะพบว่ามีคำทำนายมากมายที่ใกล้เคียงมากกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

ฤๅว่า ณ วินาทีนี้ วัฏจักรแห่งความเลวร้ายที่มนุษย์กระทำต่อธรรมชาติกำลังย้อนคืนมา !

พุทธทำนาย 2500 ปีล่วง

เป็นพุทธทำนาย ที่พระพุทธเจ้าทำนายพระสุบินที่แปลกประหลาดของพระเจ้าปเสนทิโกศล

ผู้ครองกรุงสาวัตถี มีถึง 16 ประการ แต่ที่น่าสนใจเกี่ยวกับภัยพิบัติก็คือ ในประการที่ 1 ที่ทรงฝันว่า มีโคตัวผู้สีเหมือนดอกอัญชัน 4 ตัว ต่างคิดจะชนกัน ก็พากันวิ่งมาสู่ท้องพระลานหลวงจาก 4 ทิศ ฝูงชนต่างรอดู โคทั้งสี่ก็ส่งเสียงคำรามลั่น แต่แล้วต่างก็ถอยออกไป ไม่ชนกัน

ประการนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงทำนายว่า ในอนาคตในชั่วศาสนาของพระองค์ เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดที่เสื่อมลง มนุษย์ไม่ตั้งอยู่ในศีลในธรรม ฝนฟ้าจักแล้ง ทุพภิกขภัยจักเกิดขึ้น คล้ายเมฆตั้งเค้าจะมีฝน มีเสียงคำรามกระหึ่ม แต่แล้วก็ไม่ตก กลับเลยหายไป

และในประการที่ 10 ทรงฝันว่า เห็นข้าวที่คนหุงในหม้อใบเดียวกัน สุกไม่เท่ากัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ข้าวแฉะ ข้าวดิบ และข้าวสุกดี

ประการนี้พระพุทธองค์ทรงทำนายว่า ในอนาคตเมื่อคนทั้งหลายไม่อยู่ในศีลในธรรมกันมากขึ้น ก็จะทำให้ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้การเพาะปลูกบางแห่งได้ผล บางแห่งก็ไม่ได้ผล

คำพยากรณ์โลกที่ตรงกันโดยบังเอิญ

ทั้งคำทำนายของนอสตราดามุส โหราจารย์โลก, คำทำนายในมหาพีระมิด, คำทำนายของนางจีน ดิกสัน, คำทำนายของเอ็ดการ์ เคย์ซี และคนอื่นๆ ที่มีการบันทึกคำพยากรณ์โลกเอาไว้ เป็นที่น่าประหลาดใจเหลือเกินว่าคำทำนายล้วนออกมาใกล้เคียงกันอย่างเหลือเชื่อว่า "โลกจะเกิดสงครามยืดเยื้อ ทำลายล้างซึ่งกันและกันอย่างกว้างขวาง เกิดความอดอยาก (ทุพภิกขภัย) พร้อมกับที่จะเกิดภัยธรรมชาติต่างๆ ทำลายล้างมนุษยชาติ ตายกันเป็นเบือ"

ฟอร์เวิร์ดเมล์ยอดฮิตของ "โสรัจจะ นวลอยู่"

"โสรัจจะ นวลอยู่" คือหมอดูคนดังที่ทำนายทายทักพิบัติภัยหลายอย่างเอาไว้ และมีความใกล้เคียงจนชาวไซเบอร์และผู้คนแตกตื่น โดยเฉพาะเดือนมหาวิปโยคอย่างพฤษภาคมที่เขาพยากรณ์ว่าปลายเดือนเกิดภัยพิบัติทางทะเลครั้งยิ่งใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ของประเทศ มีคลื่นยักษ์เป็นกำแพงสูงเสียดฟ้า อันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวในหมู่เกาะสุมาตรา พัดเข้าถล่มหมู่เกาะและชายฝั่งด้านอันดามันอีกครั้ง กวาดผู้คนและทรัพย์สินบ้านเรือนที่อยู่ติดทะเลลงทะเลไปเกือบหมดสิ้น พม่า เนปาล มีความเครียดอย่างรุนแรงจนยากที่จะปกปิดให้มิดได้

เกิดรถไฟชนกันและตกราง คนตายนับร้อยและบาดเจ็บจำนวนมาก ส่วนสหรัฐต้องตัดสินใจต่อปัญหาบางอย่างให้เด็ดขาดลงไป และมีท่าทีแข็งกร้าวขึ้น สถานการณ์โลกขณะนี้เขม็งเกลียวร้ายแรงอย่างน่าวิตก สหรัฐยังโดนภัยธรรมชาติคุกคาม ในบางรัฐภาคใต้เกิดแห้งแล้ง โดนคลื่นลมแรง คนตายหลายร้อยคน และเกิดแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นและเกาหลีมีผู้คนล้มตาย

ยิ่งตุลาคม เห็นว่า สำหรับบ้านเราภัยธรรมชาติยังคุกคามต่อไปอีก ทั้งภาคเหนือ อีสาน และภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ถือว่าโดนหนัก เป็นวาตภัยครั้งร้ายแรงที่สุด บ้านเรือนสิ่งก่อสร้างและผู้คนที่อายุอยู่ติดทะเลจะถูกพายุร้ายหอบตกทะเลแทบไม่เหลือหลอแม้แต่รายเดียว เศรษฐกิจพังพินาศ เงินเฟ้อไม่มีค่าซื้อข้าวของไม่ได้ เหมือนเศษกระดาษ คนงานในบริษัทใหญ่โต รวมถึงข้าราชการบางส่วนต้องถูกปลดออกจากงาน เนื่องจากเศรษฐกิจตกสะเก็ด

กรุงเทพฯล่มไปจนถึงพฤศจิกายนที่เขาว่า น้ำจะท่วมโลก น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ขณะที่ธันวาคม ทำนายว่าดินฟ้าอากาศวิปริตไปทั่ว เกิดอากาศหนาวจัดในรอบร้อยปี มีคนเสียชีวิต และมีหิมะตกในเมืองไทย

ความจริงไม่อิงคำทำนาย

ในยามนี้เราอาจรู้สึกได้ถึงผลแห่งกรรมที่มนุษย์เราได้ทำเอาไว้กับโลก เพราะภาวะโลกร้อนกำลังรุนแรงขึ้น โดยวิกฤตการณ์ทางสภาพอากาศที่เราเผชิญก็เป็นหนึ่งในนั้น ผลการศึกษาหนึ่งที่อัล กอร์ นำมาเปิดเผยใน An Inconvenient Truth ก็คือ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะโลกร้อนและอาศัยตัวแบบคอมพิวเตอร์ที่แม่นยำกว่า ได้พยากรณ์พิสัยอุณหภูมิของมหาสมุทรอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์ คำนวณค่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

พบว่าตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา ค่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงเริ่มทะยานขึ้นเหนือระดับอุณหภูมิที่ขึ้นลงตามปกติ

และเมื่อมหาสมุทรอุ่นขึ้น ความเร็วลมก็สูงขึ้น ทำให้ความชื้นในพายุหนาแน่นมากขึ้น

ว่ากันว่า นับแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา พายุทรงพลังที่พัดอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิกก็ปรากฏถี่ขึ้น และมีกำลังแรงขึ้นถึงร้อยละ 50

ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ต่างยืนยันว่าน้ำอุ่นบนผิวหน้าของมหาสมุทรสามารถถ่ายทอดพลังงานความร้อนได้มากขึ้นจนก่อให้เกิดเฮอร์ริเคนที่ทรงพลังขึ้น และนั่นเป็นการยอมรับความเชื่อมโยงของภาวะโลกร้อนกับพายุเฮอร์ริเคนที่รุนแรงขึ้นและเกิดถี่ขึ้น หลักฐานล่าสุดทำให้นักวิทยาศาสตร์บางคนถึงกับประกาศว่า ภาวะโลกร้อนจะทำให้เกิด

เฮอร์ริเคนถี่ขึ้นจนเกินกว่าระดับการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามวัฏจักรของธรรมชาติ

ข้อมูลที่น่าตกใจคือ ปี 2004 มีพายุทอร์นาโดในอเมริกามากจนทำลายสถิติ, ในประเทศแถบเอเชียอย่างญี่ปุ่นที่ใกล้บ้านเรา มีสถิติถูกพายุไต้ฝุ่นถล่มมากเป็นประวัติการณ์ในปี 2004 ที่มีมากถึง 10 ลูก จากปกติสถิติสูงสุดเคยอยู่ปีละ 7 ลูก, ฤดูใบไม้ผลิ 2006 ออสเตรเลียถูก

พายุไซโคลนระดับ 5 หลายลูกพัดเข้าถล่ม รวมถึงไซโคลนโมนิกา ที่ทรงพลังยิ่งกว่าเฮอร์ริเคนแคทรีนา ริตา และวิลมาเสียอีก

ไม่เพียงแค่พายุนะ ปริมาณน้ำฝนที่ตกทั่วโลกในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ปริมาณทั้งหมดเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 20 มีน้ำท่วมรุนแรง อุทกภัยเกิดขึ้นในทวีปเอเชียมากมาย บางครั้งฝนก็ตกผิดที่ผิดทาง สร้างความเสียหายร้ายแรง

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ถูกนำมาเปิดเผย และมันกำลังสะท้อนความรุนแรงขึ้น โดยมนุษย์อย่างเราลืมไปว่า เราได้ทำอะไรเอาไว้กับธรรมชาติบ้าง นี่จึงถึงคราวธรรมชาติเอาคืน !!!




จาก              :            ประชาชาติธุรกิจ  D-Life คอลัมน์ STORY  วันที่ 26 พฤษภาคม 2551
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2008, 12:14:12 AM โดย สายน้ำ » บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #47 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2008, 12:12:48 AM »


พลังมนุษย์-พลังธรรมชาติ


 
The fishermen know that the sea is dangerous and the storm terrible, but they have never found these dangers sufficient reason for remaining ashore

Vincent van Gogh

คุณคิดว่าประเทศไทยของเรามีภูมิประเทศคล้ายอะไรคะ ?

ถ้าพูดกันถึงลักษณะภายนอก ดูจากแผนที่โลก ใครๆ ก็บอกว่า ประเทศไทยของเรามีรูปร่างคล้ายขวาน แถมไม่ใช่ขวานธรรมดา ยังเป็นขวานทองคำเสียด้วย ...ขวานทองของไทย ที่ใครก็ไม่อาจแบ่งแยกได้...

ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน สมัยที่ฉันยังต้องท่องหนังสือสอบให้ผ่านวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ใครบางคนสอนฉันว่า ประเทศไทย "มีภูมิประเทศคล้ายร่างกายมนุษย์"

เด็กหญิงผมม้า หน้าหงิก ยืนตัวตรง เท้าชิด งอแขนซ้ายเท้าสะเอว พยายามยืดตัวให้ดูโตที่สุดเท่าที่จะทำได้ต่อหน้าพ่อ ถึงแม้หน้าตาจะดูไม่ค่อยสบอารมณ์สักเท่าไรนัก แต่หูกลับตั้งใจฟังทุกคำ...

"ไหนดูซิ ภาคเหนือมีภูมิประเทศเป็นภูเขามากมาย มีป่าไม้เยอะแยะ ไหนลองเอามือขวาจับหน้าตัวเองดูสิ รู้สึกไหมลูก"

"มีจมูก มีแก้ม มีปาก มีตา มีหู ปูดๆ โปนๆ เต็มไปหมด นั่นล่ะภูเขา ไหนลองจับหัวตัวเองดู นั่นไง ผมดกๆ ดำๆ เหมือนกันเลย ภาคเหนือของเรามีป่าไม้เยอะแยะ"

"ต่อมาภาคอีสาน แขนซ้ายของหนูที่เท้าสะเอวอยู่ ไม่มีอะไรเลยใช่ไหม ก็เหมือนกับภาคอีสานของเรา ภูมิประเทศแถบนี้ค่อนข้างแห้งแล้ง เพาะปลูกยาก"

"ภาคกลางของไทย ไหนลองเอามือลูบพุงสิ นั่นล่ะ พื้นที่ลุ่มกว้างใหญ่ที่เป็นแหล่งเพาะปลูกและอู่ข้าวอู่น้ำ"

"ภาคใต้...มีภูเขาเล็กน้อย หนูลองเอามือจับดูก็ได้ มีหัวเข่าปูดๆ เห็นไหม แปลว่าภาคใต้นี่ก็มีภูเขาเหมือนกัน แต่น้อยกว่าภาคเหนือ"

"แล้วลองมาดูที่ขาพ่อนี่ เห็นไหมมีขนด้วย แปลว่าที่ภาคใต้ของเราก็มีป่าไม้เหมือนกัน แต่ก็ยังไม่มากเท่าภาคเหนืออยู่ดี เข้าใจไหมลูก"

"ทีนี้เวลาที่เราดื่มน้ำ หนูจะเห็นว่าแม่น้ำก็จะค่อยๆ ไหลลงมา เริ่มตั้งแต่ภาคเหนือ จนมาสู่ภาคกลางที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของเรา จากนั้นพอใช้เพาะปลูกเสร็จ ก็จะไหลทิ้งออกไปยังอ่าวไทย เข้าใจหรือยัง"

"เข้าใจค่ะ" ฉันตอบแล้ววิ่งปร๋อ

ด้วยเหตุนี้ฉันจึงมีความเชื่อมาตลอดว่า ลักษณะภูมิประเทศของไทย มีส่วนคล้ายกับร่างกายของเรามากอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่ว่าจะด้วยเหตุบังเอิญหรืออะไรก็ตาม

คำอธิบายของพ่อทำให้เด็กอายุไม่ถึงสิบขวบสามารถเข้าใจเรื่องลักษณะทางธรรมชาติได้เป็นอย่างดี ลูกพ่อทุกคนผ่านบทเรียนเดียวกันนี้ และฉันก็เชื่อว่าวิธีคิดแบบพ่อน่าจะทำให้คนรักแผ่นดินมากขึ้น

ในวันที่พายุไซโคลนนาร์กีสพัดถล่มพม่า ข่าวการปฏิเสธความช่วยเหลือแบบสิ้นเยื่อใยของรัฐบาลพม่ายิ่งทำให้คนทั่วโลกรู้สึกสลดหดหู่มากขึ้นหลายเท่า

ทุกข์โทมนัสยิ่งกว่าเมื่อแรกได้รับทราบข่าวความเสียหายหรือความตายของผู้คนเรือนแสนเสียอีก

เราพ่อลูกคุยกัน ฉันบอกพ่อว่า ถ้าประเทศเปรียบเสมือนร่างกายมนุษย์อย่างที่พ่อว่า เวลาที่คนเราประสบอุบัติเหตุ แล้วไม่ยอมรับการรักษา อีกหน่อยเซลล์เล็กๆ ต่างๆ ก็คงอยู่ไม่ได้ ถึงวันก็จำต้องเสื่อมสภาพตามร่างกายไปในที่สุด

เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราน่าจะต้องดูแลร่างกายของเราให้สมบูรณ์พร้อม ก่อนที่จะลงมือทำอย่างอื่น

พ่อนิ่งคิดไม่นาน คำตอบของพ่อทำให้ฉันตระหนักว่า แม้ธรรมชาติจะยิ่งใหญ่ แต่จิตใจมนุษย์นั้นกลับยิ่งใหญ่กว่า

แม้ธรรมชาติจะสามารถก่อให้เกิดหายนภัยได้ใหญ่หลวง

แต่จิตใจมนุษย์กลับสามารถก่อให้เกิดหายนภัยได้มหาศาล

พระสมุทรสุดลึกล้น คณนา

สายดิ่งทิ้งทอดมา หยั่งได้

เขาสูงอาจวัดวา กำหนด

จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง




จาก              :            ประชาชาติธุรกิจ  D-Life   คอลัมน์ 365 DAYS  วันที่ 26 พฤษภาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #48 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2008, 12:24:25 AM »


รับมือ ! ภัยธรรมชาติ


ภัยน้ำท่วม

I ตรวจสอบดูเขตแนวพื้นที่น้ำท่วมเพื่อหาพื้นที่สูงที่ปลอดภัย

I บริเวณท้ายเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำเป็นบริเวณที่ไม่ปลอดภัย

I หลีกเลี่ยงการปลูกบ้านบริเวณพื้นที่น้ำท่วม

I ย้ายสวิตช์อุปกรณ์สะพานไฟฟ้าให้อยู่สูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง

I ควรเตรียมกระสอบทรายไว้ทำพนังกั้นน้ำ

I ควรทำความสะอาดพื้นที่อย่าให้มีเศษวัสดุที่สามารถลอยตามน้ำและก่อให้เกิดอันตรายได้

I ห้ามขับขี่ยานพาหนะ ห้ามเดิน ห้ามเล่นน้ำในกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว

I มีวิทยุติดตัวและคอยฟังประกาศเพื่อปฏิบัติตาม

I หลีกเลี่ยงจากสายไฟฟ้าที่ตกลงมาสู่พื้น

I ไม่วางกระสอบทรายพิงผนังข้างนอกบ้าน เพราะเป็นการเพิ่มแรงดันอาจทำให้ผนังทลายได้

I ไม่ดื่มน้ำประปาและไม่ดื่มน้ำที่ไหลมาท่วม เพราะจะเป็นอันตรายได้

I อย่าอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ หรือใกล้ป้ายโฆษณาใหญ่ เพราะอาจจะล้มทับได้

I หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านเรือนยามพายุฝนฟ้าคะนอง ควรถอดเครื่องประดับที่เป็นสายล่อฟ้า อาทิ กิ๊บ นาฬิกา ฯลฯ


ภัยแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวคือ แผ่นดินเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง โดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า !

D จำไว้ว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง มักมีแผ่นดินไหวตามมาอีกหลายครั้ง อาจเกิดแผ่นดินแยก แผ่นดินถล่มและอาคารอาจไม่พังทลายในทันที แต่จะพังทลายภายหลัง

D ตรวจสอบดูว่าที่พักอาศัยอยู่นั้นตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวหรือไม่

D ควรเสริมบ้านหรืออาคารให้มั่นคงแข็งแรงมากขึ้นเพื่อต้านแผ่นดินไหว

D ทำที่ยึดตู้และเฟอร์นิเจอร์ไว้ไม่ให้ล้ม

D ติดยึดชุดโคมไฟบนเพดานให้มั่นคง

D จัดการป้องกันไม่ให้แก๊สรั่วไหล โดยใช้สายท่อแก๊สที่ยืดหยุ่นได้

D หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้หน้าต่างหรือผนังห้อง

D มีไฟฉาย วิทยุไว้ใกล้ตัว

D ออกจากอาคารไปสู่ที่โล่งแจ้งในทันทีที่เกิด

D หากมีคนอยู่จำนวนมากอย่าแย่งกันออกที่ประตู

D หากออกจากอาคารไม่ได้ให้หมอบอยู่ใต้โต๊ะ หรือยืนชิดติดกับเสาที่แข็งแรง

D คลุมศีรษะไว้จนกระทั่งแผ่นดินไหวหยุดลง

D ถ้าอยู่ในตึกสูงให้อยู่ที่ชั้นเดิม อย่าใช้ลิฟต์

D เตรียมพร้อมเพื่อใช้ระบบเตือนภัยและระบบดับเพลิง

D หากขับขี่ยานพาหนะให้รีบจอดยานพาหนะในที่โล่งแจ้ง ห้ามหยุดใต้สะพาน ใต้ทางด่วน ใต้เสาไฟฟ้าแรงสูง และให้อยู่ภายในรถยนต์


ภัยพายุ

- เมื่อมีการแจ้งเฝ้าระวัง หมายถึงพายุที่จะมาภายใน 36 ชั่วโมง แต่เมื่อมีการแจ้งเตือนภัย หมายถึงพายุที่จะมาถึงใน 24 ชั่วโมง

- ปรากฏการณ์ศูนย์กลางพายุ คือเมื่อเกิดพายุแล้วแต่มีลมสงบฉับพลัน หมายถึงท่านอยู่ในศูนย์กลางพายุ และจะมีพายุตามมาอีกครั้ง

- พยายามติดตามข่าวสารทางวิทยุและโทรทัศน์

- หลบอยู่ในที่กำบังที่มั่นคง อยู่บนที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง และอย่าออกเรือ

- เตรียมชุดยังชีพและชุดอุปกรณ์หนีภัย

- ตัดต้นไม้สูงไม่ให้ล้มทับบ้าน

- ติดตั้งอุปกรณ์เสริมความแข็งแรงของหน้าต่าง

- เก็บตุนอาหาร น้ำดื่ม และถ่านไฟฉาย

- เติมน้ำมันรถไว้ให้เต็ม เตรียมแผนอพยพ

- เมื่อมีประกาศอพยพให้อพยพทันทีอย่าลังเล เพราะจะหนีภัยไม่ทัน



จาก              :            ประชาชาติธุรกิจ  D-Life  วันที่ 26 พฤษภาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #49 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2008, 10:52:20 PM »


ฤาปล่อยตามยถากรรม


 
สำรวจประเทศไทยพร้อมต่อกรพิบัติภัย "แผ่นดินไหว-ดินถล่ม"

เฉียดแสนชีวิต ที่ต้องเซ่นสังเวยพายุไซโคลนนาร์กีสถล่มประเทศพม่า

และอีกเกือบแสนชีวิตเช่นกัน ต้องสูญเสียเพราะเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศจีน

หากจะว่ากันไปแล้ว เหตุการณ์ที่สามารถคร่าชีวิตมนุษยชาติได้ คราวละมหาศาล และไม่เลือกว่าจะเป็นชาติที่ร่ำรวยหรือยากจน หรือแม้ กระทั่งประเทศมหาอำนาจ ล้วนแล้วแต่ต้องศิโรราบต่อภัยพิบัติ “ธรรมชาติ” ที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ความเจริญทางวัตถุและเทคโนโลยีที่ทันสมัย

สำหรับประเทศไทย ดินถล่ม และน้ำป่าไหลหลาก นับเป็นธรณีพิบัติภัยที่รุนแรงและมีความเสี่ยงมากที่สุด

ย้อนอดีตกลับไปแค่ 20 ปี ประเทศไทยเคยเผชิญกับเหตุการณ์ดินถล่ม น้ำป่าไหลหลากครั้งใหญ่มากกว่า 20 ครั้ง นับจากเหตุการณ์ดินถล่มและ น้ำป่าไหลหลากที่บ้านกะทูนเหนือ อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2531 ซึ่งมีคนเสียชีวิตถึง 230 คน บ้านเรือนเสียหาย 1,500 หลัง และพื้นที่การเกษตรเสียหาย 8,550 ไร่

ถัดมาอีกเพียง 13 ปี เช้าวันที่ 11 ส.ค. 2544 คนไทยทั้งประเทศก็ต้องช็อก กับเหตุการณ์ดินถล่มทับคนตายอีก 136 ศพ ที่บ้านน้ำก้อ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ และอีก 3-5 ปีต่อมา โศกนาฏกรรมก็ยังเกิดขึ้นที่บ้านวังชิ้น จ.แพร่ และ ที่บ้านน้ำต๊ะ บ้านน้ำลี อ.ท่าปลา และที่บ้านผามูบ บ้านมหาราช อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2549 และมีคนต้องสังเวยชีวิตอีกถึง 75 คน!!!

ปรากฏการณ์พิบัติภัยทางธรรมชาติ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่าง รุนแรงต่อประเทศเพื่อนบ้านใกล้ที่อยู่ติดกันกับประเทศไทย หรือความ เลวร้ายเกิดขึ้นกับประเทศไทยเอง น่าจะเป็นสัญญาณเตือนภัยที่ชัดเจนถึง ความแปรปรวน ไม่แน่นอนอันเกิดจากธรรมชาติคุกคามมนุษยชาติ

และนำมาซึ่งคำถามว่า ประเทศไทย โดยเฉพาะรัฐบาลไทยตระหนักถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความรุนแรงและความเลวร้ายอันเกิดจากภัยคุกคามโดยธรรมชาติ มากน้อยเพียงใด ทั้งเคยคิดแผนจำลองเหตุการณ์ไว้บ้าง หรือหากเกิดพายุแบบพม่า แผ่นดินไหวแบบประเทศจีน เราจะรับมืออย่างไร

รวมถึงมีการติดตาม คาดการณ์ พยากรณ์ หรือสร้างระบบเตือนภัย ซ้อมรับเหตุร้ายได้ดีมากขึ้นกว่าที่เคยทำในอดีตหรือไม่

เพราะจากการคาดการณ์ของนักวิชาการหลายสำนัก ต่างระบุคล้ายๆกันว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหว การเกิดพายุใหญ่ ดินถล่มหรือน้ำป่าไหลหลาก มีโอกาส ที่จะเกิดขึ้นมาก

ดร.รอยล จิตรดอน ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า ไทยจะต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือพายุขนาดใหญ่ เพราะข้อมูลการเฝ้าระวังและเตือนภัยของสถาบันน้ำพบว่า ปริมาณน้ำฝนในปี 2551 จะมีจำนวนมากและเกิดขึ้นตลอดปี

“สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยของประเทศไทย คือ ทุกจังหวัดที่ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวไทย สิ่งสำคัญที่สุดขณะนี้ ไม่ใช่ข้อมูล แต่คือระบบการจัดการการเตือนภัยที่ดี” ดร.รอยลกล่าว

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า “นักวิชาการกำลังเฝ้าระวังรอยเลื่อนที่เป็นจุดเสี่ยงการเกิดแผ่นดินไหว และดินถล่ม ของประเทศไทยทั้ง 3 จุด คือ จุดที่ 1 รอยเลื่อนสะแกง ที่พาดผ่านตอนกลางของประเทศ พม่า อยู่ห่างชายแดนไทย 300 กม. เป็นรอยเลื่อนมีพลังสูง จุดที่ 2 แนวรอยเลื่อน ซุนดา ในมหาสมุทรอินเดีย อยู่ห่างจาก จ.ภูเก็ต ประมาณ 600 กม. เป็นรอยเลื่อน เดียวกันกับการเกิดสึนามิเมื่อปี 2547 และจุดที่ 3 รอยเลื่อนฟิลิปปินส์ เป็นจุดกำเนิด แผ่นดินไหวในมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ห่างอ่าวไทยกว่า 6,000 กม. ทั้ง 3 จุด มีการ เคลื่อนตัวอย่างเด่นชัด จะส่งผลกระทบถึงไทยหรือไม่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้”



ด้าน ผศ.ดร.มนตรี ชูวงศ์ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า ไทยมีรอยเลื่อน 19 กลุ่มที่มีพลัง ขณะที่กรุงเทพฯ มีข้อมูลค่อนข้าง เชื่อได้ว่าตั้งอยู่บนรอยเลื่อนเช่นกัน

ขณะที่หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงอย่าง กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ออกมาตรการเชิงรุก สกัดปัญหาอย่างจริงจัง โดยประกาศแผนที่เสี่ยงภัยพิบัติรวม 51 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัย ดินถล่ม น้ำป่าไหลหลาก และการพังทลายของหน้าดิน หลังจากพบมีหมู่บ้านเสี่ยงภัยจำนวน 2,371 หมู่บ้าน และในจำนวนนี้มี 21 จังหวัด เสี่ยงภัยในระดับสูงมาก ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ จันทบุรี พังงา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร กระบี่ สงขลา และสตูล

“ไทยกำลังเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ซึ่งช่วงเสี่ยงภัยจะแบ่ง เป็นภาคเหนือ เดือน มิ.ย.-ก.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส.ค.-ต.ค. ภาคตะวันออก มิ.ย.-ต.ค. ขณะที่ภาคใต้ฝั่ง ตะวันออก ต.ค.-ธ.ค. และภาคใต้ฝั่งตะวันตก พ.ค.- ต.ค. ที่สำคัญปีนี้ปริมาณของฝน ความถี่ และระยะ เวลาที่พายุฝนพัดผ่าน จะเป็นปัจจัยให้เกิดดินไหล ดินถล่ม และน้ำป่าไหลหลากได้ง่าย” นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี สรุปสถานการณ์

“ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม” มองว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น ณ เวลานี้ คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ภัย พิบัติทางธรรมชาติ รวมถึงการติดตั้งระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ และการหาพื้นที่ปลอดภัย สำหรับการอพยพของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย

สำคัญที่สุดคือ ความพร้อมและความตื่นตัวของรัฐบาล ที่จะเอาจริง เอาจังกับฐานข้อมูลจากทุกหน่วยงานที่ใช้เกี่ยวข้อง รวมถึงความแข็งขัน จริงใจ และจริงจัง กับการวางแผนตั้งรับ กำหนดมาตรการซักซ้อมความพร้อมรับมือกับพิบัติภัยทางธรรมชาตินั้น มีมากน้อยแค่ไหน

ฤาจะปล่อยให้คนไทยมีชีวิตอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงจากพิบัติภัยทางธรรมชาติ กันตามยถากรรม!!!


 
 
จาก              :            ไทยรัฐ   วันที่ 27 พฤษภาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #50 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2008, 11:04:44 PM »


ธรณีพิบัติภัยในเสฉวน : ชะตากรรมหรือน้ำมือมนุษย์?!


      แรงสั่นไหวที่รับรู้ได้ถึงกรุงเทพฯ เมื่อบ่ายวันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม 2008 ทำให้พนักงานออฟฟิศตามตึกระฟ้ากลางกรุงหลายแห่งต้องวิ่งหนีกันอลหม่านลงมาตั้งหลักกันนอกอาคาร โดยไม่มีใครคาดคิดว่า นี่เป็นเพียง ‘ห่างเลข’ ของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่ไกลออกไปราว 2,000 กิโลเมตร
       
       ถอยหลังไปไม่กี่อึดใจในเวลา 14.28 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ณ อำเภอเวิ่นชวน ซึ่งห่างจากนครเฉิงตู มณฑลเสฉวน ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 92 กิโลเมตร ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ริกเตอร์ (ต่อมาทางการจีนได้ปรับเพิ่มเป็น 8 ริกเตอร์) นาน 80 วินาที ฉีกรอยลึก 33 กิโลเมตรจากผิวดิน และมีอาฟเตอร์ช็อก 5.0-6.0 ริกเตอร์ ตามมาอีกหลายสิบครั้ง ทางการจีนคาดการณ์ว่ายอดผู้ตายและสูญหายครั้งนี้น่าจะทะลุ 80,000 คน รวมทั้งกระทบกับชีวิตผู้คนนับ 10 ล้านคน

 


         แผ่นโลกเคลื่อนรอยเลื่อนขยับ
     
        ทุกครั้งที่เกิดเหตุภัยพิบัติขึ้น สิ่งที่ทุกคนตั้งคำถามคือเหตุแห่งความวิปโยคที่ยังความเศร้าโศกมาให้ ต่อกรณีแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงในรอบ 30 ปีของจีนนี้ นายจางกั๋วหมิน (张国民) นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยและพยากรณ์แผ่นดินไหว สำนักงานแผ่นดินไหวแห่งชาติจีน เปิดเผยว่า ธรณีพิบัติภัยครั้งนี้มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวระดับตื้น (shallow-focus earthquakes) ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง อีกทั้งเวิ่นชวนอยู่ในเขตรอยเลื่อนมีพลัง ‘หลงเหมินซัน’ (Longmenshan Fault / 龙门山断层) ที่มีโอกาสเกิดธรณีไหวได้ค่อนข้างสูง
       
        ด้านผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยธรณีฟิสิกส์ แห่งบัณฑิตยสภาด้านสังคมศาสตร์แห่งชาติจีน ศาสตราจารย์หวังเอ้อชี (王二七) อธิบายสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ว่า เกิดจากแผ่นเปลือกโลกอินเดียเคลื่อนตัวไปทางเหนือ เข้าชนกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเชีย ซึ่งมีที่ราบสูงทิเบตอยู่ตอนใต้ ทำให้เกิดการยกตัวขึ้นแล้วขยับไปทางตะวันออก ไปกดทับแอ่งเสฉวน จนเกิดแผ่นดินไหวขึ้น และจะส่งผล

   
(บรรยายใต้ภาพ : ในอดีต บริเวณขอบแอ่งเสฉวนด้านตะวันตกเฉียงเหนือเคยเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงมาแล้วหลายครั้ง ดังเช่น แผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 1933 ที่คร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 9,300 ราย)  
 
 
       ภัยแล้งคือสัญญาณมหันตภัยล่วงหน้า
       
       ว่ากันว่า ธรณีพิโรธจัดเป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติที่ไม่อาจพยากรณ์ล่วงหน้าได้ กระนั้น นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งก็เชื่อว่า ธรรมชาติและสรรพสิ่งรอบตัว มักจะส่งสัญญาณเตือนอันตรายให้เราระวังตัวเสมอ อยู่ที่เราจะสังเกตและนำมาพินิจพิเคราะห์หรือไม่
       
        นายเกิ่งชิ่งกั๋ว (耿庆国) นักวิจัยประจำสำนักงานแผ่นดินไหวแห่งชาติจีน ผู้เคยพยากรณ์ธรณีพิโรธที่ถังซันเมื่อปี 1976 ได้อย่างแม่นยำมาแล้ว ระบุว่า ระหว่างปี 2005-2007 เสฉวนมีภาวะภัยแล้ง ซึ่งตามบันทึกที่มีมาในประวัติศาสตร์ หลังจากภัยแล้ง 1-3ปีครึ่ง จะมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวบริเวณนั้นในระดับ 6 ริกเตอร์ขึ้นไป
       
        ตามวิทยานิพนธ์เรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างภัยแล้งกับแผ่นดินไหว และการพยากรณ์ธรณีพิบัติภัยในระยะกลาง” ของนายเกิ่งชิ่งกั๋ว ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์จีนเมื่อเดือนกรกฎาคม 1984 รายงานว่า ตั้งแต่ 231 ปีก่อนคริสตกาล (ปีที่ 16 ในรัชสมัยจักรพรรดิจิ๋นซี) จนถึงช่วงปี 1971-2202 บริเวณอ่าวป๋อไห่และภาคเหนือของจีน เคยเกิดแผ่นดินไหวสูงกว่า 6 ริกเตอร์ถึง 69 ครั้ง โดยก่อนเกิดเหตุ 67 ครั้ง เคยเกิดภัยแล้งล่วงหน้า คิดเป็นสัดส่วน 97.1% ในจำนวนนี้ แบ่งเป็นภัยแล้งล่วงหน้า 1 ปี 27 ครั้ง ภัยแล้งล่วงหน้า 2 ปี 15 ครั้ง ภัยแล้งล่วงหน้า 3 ปี 16 ครั้ง ภัยแล้งล่วงหน้า 3 ปีครึ่งอีก 9 ครั้ง
       
        ทั้งนี้ นายเกิ่งยังชี้ว่า ภาวะภัยแล้งถือเป็นดัชนีชี้วัดในระยะกลางและระยะยาว มักจะมีระยะห่างจากการเกิดแผ่นดินไหวในช่วง 1-3 ปีครึ่ง แต่ยังมีดัชนีชี้วัดในระยะสั้น ซึ่งประกอบด้วยความกดอากาศที่ลดลงกว่าปกติและต่อเนื่องกันหลายวัน อุณหภูมิมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นหรือลดต่ำลงอย่างมาก ปริมาณฝนตกหนาแน่นในรอบทศวรรษ รวมทั้งอาจสังเกตจากพฤติกรรมแปลกๆ ของสัตว์ อาทิ กบที่ยกคาราวานออกมา ระดับน้ำใต้ดินที่ผิดปกติ ฯลฯ
       
        มีรายงานว่า ก่อนเกิดแผ่นดินไหวไม่ถึง 3 สัปดาห์ คือเมื่อ 26 เมษายน สระน้ำขนาด 80,000 ลูกบาศก์เมตรที่เมืองเอินซือ มณฑลหูเป่ย ซึ่งห่างจากเมืองเวิ่นชวน ศูนย์กลางแผ่นดินไหวไปทางตะวันออกราว 560 กิโลเมตร เหือดแห้งไปในเวลาไม่ถึง 5 ชั่วโมง เหลือเพียงปลาขนาดใหญ่เพียง 2 ตัวไว้ก้นสระ ส่วนปลาตัวเล็กตัวน้อยล้วนหายหมด
       
       และก่อนเกิดเหตุเพียง 3 วัน ชาวบ้านพบคางคกหลายพันตัว บนถนนในเมืองเหมียนจู ที่ห่างจากเวิ่นชวนเพียง 60 กิโลเมตรและได้รับความเสียหายหนักจากเหตุธรณีพิโรธ ซึ่งชาวบ้านต่างเกรงว่าคางคกเป็นลางบอกเหตุว่ากำลังจะมีหายนะเกิดขึ้น แต่กรมป่าไม้ท้องถิ่นกลับเมินเฉย บอกเพียงว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่คางคกจะอพยพย้ายที่อยู่
       
        ต่อคำถามที่ว่าแล้วเราจะสามารถรู้ล่วงหน้าได้หรือไม่ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้น ผู้เชี่ยวชาญต่างมั่นใจว่า มนุษย์มีอุปกรณ์ที่พยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหวได้ ทว่าปัญหาคือ ไม่มีใครล่วงรู้ได้ว่า จะเกิดขึ้น ณ จุดใด และเวลาใด

       
       ชะตากรรมหรือน้ำมือมนุษย์?!
       
        ภัยพิบัติครั้งนี้หากจะโยนความผิดให้ธรรมชาติเพียงอย่างเดียว คงจะเป็นการสรุปที่ง่ายเกินไป เพราะเราทุกคนต่างอาศัยและใช้ทรัพยากรบนโลกอยู่ทุกอณูลมหายใจ โลกที่นับวันจะแปรปรวนผวนผันมากขึ้น จึงมีน้ำมือมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอย่างยากที่จะปฏิเสธได้ บางคนยังถึงกับลงความเห็นว่า ธรณีพิโรธครั้งนี้ ตลอดจนภัยธรรมชาติที่กระหน่ำชะตากรรมมวลมนุษยชาติในปัจจุบัน ล้วนเป็น ‘บทลงโทษ’ จากพลังธรรมชาติอันยิ่งใหญ่
       
        นายหยางหย่ง (杨勇) นักธรณีวิทยา และนักอนุรักษนิยมชื่อดังของจีน เปิดเผยว่า การสร้างเขื่อนพลังน้ำหลายแห่งบนลำน้ำหมินเจียง (岷江) ทางตอนบนของแม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) ทำให้โครงสร้างทางธรณีวิทยาเปลี่ยนแปลงไป อันเป็นสาเหตุหลักของการเกิดธรณีไหวครั้งรุนแรงนี้ เนื่องจากลำน้ำหมินเจียงตั้งอยู่บนแนวแผ่นดินไหวของจีน
       
        “อำเภอเวิ่นชวนตั้งอยู่บนเขตกันชนระหว่างที่ราบสูงทิเบตกับแอ่งเสฉวน ขณะที่ลำน้ำหมินเจียงตั้งอยู่บนรอยเลื่อน ‘หลงเหมินซัน’ ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่มักเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อยู่บ่อยครั้ง” นายหยางหย่งอธิบาย
       
       ที่น่าสลดใจ คือ ข้อมูลดังกล่าวนี้ กลุ่มนักอนุรักษ์จีนได้ส่งเสียงเตือนไปยังรัฐบาลจีนมาหลายปีก่อนหน้านี้แล้ว โดยหวังให้เกิดการทบทวนและศึกษาถึงผลกระทบของการสร้างเขื่อนพลังน้ำขนาดใหญ่ของจีนอย่างจริงจัง ทว่าทุกฝ่ายกลับนิ่งเฉยพร้อมเดินหน้าการก่อสร้างสถานีผลิตไฟฟ้าพลังน้ำต่อไป เพื่อเร่งป้อนพลังงานสำหรับการพัฒนาประเทศที่กำลังเดินเครื่องเต็มสูบ
       
        ขณะเดียวกัน การศึกษาของนักธรณีฟิสิกส์ตะวันตกยังพบว่า การละลายของธารน้ำแข็งขั้วโลก ยังมีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหว เช่นที่เคยปรากฏแล้วในอลาสก้าและแคนาดา ในทางกลับกัน ธารน้ำแข็งก็มีสรรพคุณในการถ่วงรั้งการเกิดแผ่นดินไหว
       
        แม้จะยังไม่มีบทพิสูจน์ว่า ‘น้ำมือ’ มนุษย์ที่ได้สร้างชะตากรรมต่อโลกในหลายรูปแบบ ทั้งปัญหาโลกร้อน จนส่งผลให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายในอัตราที่น่าวิตกยิ่ง หรือ การสร้างเขื่อนน้อยใหญ่ที่กระจายตัวตามแม่น้ำฉางเจียง จะเป็นต้นเหตุแห่ง 80 วินาทีพิฆาตในอีก 88 วันก่อนโอลิมปิก 8 สิงหาคม 2008 นี้หรือไม่ แต่ด้วยเพราะ “สรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนอาศัยกันและกัน” สิ่งที่เกิดขึ้นจึงพิสูจน์แล้วว่า เราทุกคนล้วนตกอยู่ใน ‘เงื้อมมือ’ ชะตากรรมของธรรมชาติ!
 



จาก              :            ผู้จัดการรายวัน   วันที่ 26 พฤษภาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #51 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2008, 07:26:22 AM »

เวปไซด์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ได้แจ้งว่าเช้าวันนี้เวลา 02:14  ได้เกิดแผ่นดินไหว 5.6 ริกเตอร์ ที่ทางใต้ของเกาะสุมาตรา จุดศูนย์กลางอยู่ใต้ทะเลความลึก 40 กม.

และเมื่อ 08:52 และ 09:53 ได้เกิดแผ่นดินไหวระดับ  5  และ 6 ริกเตอร์ อีกที่ NIAS REGION, INDONESIA ใต้ทะเลลึก 2 และ 20 กม.  ซึ่งนับเป็นความลึกที่น้อยกว่าหลายๆครั้งที่ผ่านมา


* Earthquake3.jpg (97 KB, 463x399 - ดู 4334 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

Saaychol
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #52 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2008, 07:35:02 AM »

เมื่อ 13:40 น. ที่ผ่านมาเมื่อสักครู่นี้เอง  ได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นอีกที่ SAMAR, PHILIPPINES ระดับความรุนแรง  5.4 ริกเตอร์  ลึกลงไปใต้ทะเล 60 กม.

ในระยะนี้....แผ่นดินไหวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดขึ้นถี่เหลือเกินนะคะ ยังดีค่ะ ที่ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงตามมา


* Earthquake4.jpg (97.55 KB, 446x489 - ดู 4325 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 25, 2008, 07:36:41 AM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #53 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2008, 01:29:25 AM »


แผ่นดินไหวเสฉวน


 
จากการวิเคราะห์ของนักวิทยาศาสตร์ด้านปฐพีวิทยาที่มหาวิทยาลัยเอ็มไอทีถึงแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ริกเตอรŒ ที่มณฑลเสฉวน ประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่า แผ่นดินไหวอย่างที่เกิดขึ้นที่เสฉวนนี้มีโอกาสเกิดขึ้นเพียง 2,000-10,000 ปีต่อครั้ง

ศ.คลาร์ก เบิร์ชฟีลด์ ศ.ลีห์ รอยเดน และคณะ ผู้ทำการวิเคราะห์ กล่าวว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เอ็มไอทีทำการศึกษาด้านปฐพีวิทยาในพื้นที่ส่วนใหญ่ของจีน รวมทั้งทิเบต แต่ก็ไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้าใดๆ ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในบริเวณนี้ "มันค่อนข้างผิดปกติ"

แผ่นดินไหวอาจเกิดจากรอยร้าวของ 2 รอยเลื่อนที่แยกกันแต่ต่อเนื่องกัน โดยภูมิภาคแห่งนี้มีลักษณะทางปฐพีวิทยาที่แปลก เพราะมีเขาลาดชันบริเวณแอ่งเสฉวนซึ่งอยู่ทางตะวันออก และที่ราบสูงทิเบตซึ่งอยู่ทางตะวันตก ความลาดชันนี้สูงถึง 3,500 เมตร แต่กว้างเพียง 50 กิโล เมตร ส่วนบริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่บริเวณรอยเชื่อมต่อของแผ่นธรณีภาค 2 แผ่นคือ แผ่นเปลือกโลกอิน เดียและแผ่นเปลือกโลกเอเชีย ที่มาบรรจบกันจนทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัยและที่ราบสูงทิเบต

ในตอนกลางและตะวันออกของทิเบต แผ่นดินได้ยกสูงขึ้นโดยเปลือกที่มีความเปราะบางและอยู่ใต้พื้นโลก 15 กิโลเมตร ซึ่งแผ่นนี้เคลื่อนที่จากตอนกลางไปทางตะวันออกของทิเบต เพื่อหนีแผ่นเปลือกโลกอินเดีย แต่เมื่อวันหนีมันกลับพบกับแอ่งเสฉวนที่ขวางอยู่ ความสูงที่แตกต่างกันมากระหว่างพื้นผิวที่ราบสูงทิเบตและแอ่งเสฉวน ทำให้เกิดแรงกดดันอย่างมหาศาลจนทำให้เกิดแผ่นดินไหว

นอกจากนี้ แม่น้ำ 4 สายใน 10 สายที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวมทั้งแม่น้ำแยงซี ที่มีความยาวหลายร้อยกิโลเมตร ลึก 2 กิโลเมตรครึ่ง เปรียบเสมือนกับแกรนด์แคนยอนน้อยๆ ยังทำให้พื้นที่บริเวณนี้เปราะบางมากยิ่งขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหว สำหรับแผ่นดินไหวที่เสฉวนนี้ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 69,000 ราย บาดเจ็บ 374,000 ราย



จาก              :              ข่าวสด   หมุนก่อนโลก  วันที่ 10 กรกฎาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #54 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2008, 01:00:54 AM »


'ร้ายยิ่งขึ้น' มันมาแล้ว 'ภัยธรรมชาติ' เรียงแถว 'ถล่มไทย!'



"โลกร้อนขึ้น พื้นที่ของน้ำทะเลอุ่นขึ้น พายุในวันข้างหน้าจะรุนแรงมากขึ้น” “จากสถิติพายุหมุนที่เข้าประเทศไทยรอบ 55 ปี มีพายุประมาณ 177 ลูก จะเกิดช่วง ส.ค., ก.ย., ต.ค., พ.ย. ซึ่งพายุรุนแรงแค่ 120-130 กม./ชม. เราก็แย่แล้ว” “ช่วงเดือน ส.ค.- ต.ค.นี้ จะมีพายุขนาดใหญ่พัดถล่มประเทศไทยด้านอ่าวไทย”

...เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งจาก “คำเตือน” เกี่ยวกับ “ภัยธรรมชาติ” ของ สมิทธ ธรรมสโรช ประธานอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ผ่านทาง “เดลินิวส์” ซึ่งก็เป็นอีกครั้งที่นักเตือนภัยธรรมชาติรายนี้เน้นย้ำ

เป็นคำเตือนที่ทุก ๆ ฝ่าย “ไม่ควรละเลย-มองข้าม”
เพราะเรื่องนี้เมื่อเกิดขึ้นมันหมายถึง “ความสูญเสีย”

ทั้งนี้ บางคนบางฝ่ายอาจมองคำเตือนของ สมิทธ ธรรมสโรช เป็นเรื่องไกลตัว เป็นการตื่นกลัวเกินเหตุ แต่จริง ๆ แล้วคำเตือนลักษณะนี้สอดคล้องทั้งกับการเตือนของส่วนงานอื่น และกับข้อเท็จจริงที่เริ่มเกิดแล้ว...

กับข้อเท็จจริง ว่ากันเฉพาะช่วง 10 พ.ค. - 11 ก.ค. 2551 ที่ผ่านมา ในส่วนของภัยที่เกิดจากฝน จากข้อมูลของศูนย์อำนวยการสาธารณภัย (กลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่า... เริ่มส่อแววมาตั้งแต่เดือน พ.ค. เป็นต้นมา เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ประเทศไทยก็มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ แต่ที่ไม่ธรรมดาก็คือบางพื้นที่มีฝนตกชุกหนาแน่นติดต่อกันนานหลายวัน...

เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เป็นเหตุให้ประชาชนประสบความเดือดร้อน สิ่งสาธารณประโยชน์ พื้นที่การเกษตร และทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหาย

ถามว่าเสียหายไปแล้วแค่ไหน ? ช่วง 10 พ.ค. - 11 ก.ค. 2551 ที่ผ่านมา ก็มีพื้นที่ประสบภัยแล้ว 79 อำเภอ 469 ตำบล 3,201 หมู่บ้าน ใน 14 จังหวัด ได้แก่... น่าน กำแพงเพชร อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชัยนาท สุพรรณบุรี จันทบุรี นครราชสีมา หนองคาย อุดรธานี สุราษฎร์ธานี ชุมพร พังงา

และกับ 14 จังหวัด แค่ช่วง 2 เดือน ความเสียหายด้านทรัพย์สิน มีบ้านเรือนเสียหายบางส่วน 55 หลัง ถนน 1,412 สาย สะพาน 32 แห่ง ฝาย 38 แห่ง ท่อระบายน้ำ 96 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง ทำนบกั้นน้ำ 15 แห่ง ยานยนต์ 1 คัน บ่อปลา 504 บ่อ ปศุสัตว์ 327 ตัว สัตว์ปีก 498 ตัว พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วม 445,209 ไร่

แค่ช่วง 2 เดือนที่ว่ามา ความเสียหายเบื้องต้นตีเป็นมูลค่าประมาณ 315,270,806 บาท และแค่ช่วง 2 เดือนที่ว่านี้มีราษฎรเดือดร้อนแล้ว 220,945 ครัวเรือน จำนวน 912,982 คน !!

ถามต่อว่าปีนี้มีคน “เสียชีวิตเพราะภัยธรรมชาติ” บ้างแล้วหรือยัง ? คำตอบคือมี !! เช่นรายที่เพิ่งเป็นข่าวคือ นายถัน พันพาแก้ว อายุ 69 ปี ถูก “น้ำป่า” ถาโถมใส่จนเสียชีวิต ในพื้นที่หมู่ที่ 6 ต.บ้านกลาง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เมื่อ 9 ก.ค. ที่ผ่านมา นี่ยังไม่รวมที่ไม่เป็นข่าว ที่เจ็บป่วยจากภัยธรรมชาติซึ่งตัวเลขยังไม่ชัดเจน

“ขอให้ประชาชนในพื้นที่ภูเขาสูง หุบเขา และหมู่บ้านเสี่ยงภัย ดินถล่ม บริเวณ จ.เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน และเพชรบูรณ์ โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณเขตเทือกเขาผีปันน้ำ และเทือกเขาหลวงพระบาง อ.อมก๋อย แม่แจ่ม ฝาง แม่อาย ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ อ.แม่จัน แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย อ.จุน ปง จ.พะเยา อ.เชียงกลาง ท่าวังผา เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน อ.หล่มเก่า หล่มสัก น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ตรวจเฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องหลายวันในหลายพื้นที่”

...นี่ก็เป็นการประกาศเตือนภัยเมื่อ 21 ก.ค. 2551 โดยกรมทรัพยากรธรณี เกี่ยวกับภัยน้ำป่าไหลหลาก และภัยดินถล่ม ซึ่งทุก ๆ ฝ่ายก็ควรต้อง “ตื่นตัว” กันไว้ดีกว่าแก้...

เช่นเดียวกับการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ช่วงฤดูฝนตั้งแต่กลางเดือน พ.ค. - กลางเดือน ต.ค. ที่ว่า... คาดว่าจะมี “พายุหมุนเขตร้อน (ดีเปรสชัน-โซนร้อน-ไต้ฝุ่น)” เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 2-3 ลูก ผ่านเวียดนามเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน หรือผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีแนวโน้มสูงสุดที่จะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนในเดือน ส.ค. และ ก.ย. และเคลื่อนผ่านภาคใต้ในเดือน ต.ค. และ พ.ย.

ข้อควรระวังคือ...
1.ช่วงที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันหลายวันอาจเกิดน้ำป่าไหลหลาก “น้ำท่วมฉับพลัน-อุทกภัย”,
2.ช่วงที่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าใกล้หรือเคลื่อนผ่านประเทศไทย จะมี “พายุลมแรง” ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก อุทกภัย บริเวณชายฝั่งจะมี “คลื่นพายุซัดฝั่ง” “ทะเลมีคลื่นจัดถึงจัดมาก” ความสูงของคลื่น 3-5 เมตร

ทั้งนี้ กับภัยคลื่นนี้ สมิทธ ธรรมสโรช ก็เตือนไว้ว่าให้ระวังปรากฏการณ์ “สตอร์ม เสิร์ช (Storm Search) - น้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น” จนน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล และอาจมีผลต่อการผลิตน้ำประปา

ในยุคที่มีการเตือนว่า “ภัยธรรมชาติจะมีระดับที่รุนแรงยิ่งขึ้น” ในช่วงนี้ในไทยก็มีการเตือนทั้ง “น้ำป่า-น้ำท่วม-ดินถล่ม-ลมพายุ-คลื่นใหญ่” และอาจแถม “แผ่นดินไหว” ด้วย ซึ่งประชาชนก็ไม่ควรแตกตื่นเกินเหตุ...แต่ก็ “ต้องกลัว...เพื่อระมัดระวัง !!” ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น ส่วนที่ตื่นตัวป้องกันภัยให้ประชาชนแล้วก็ต้องชื่นชม แต่ถ้ายังเรื่อยเฉื่อยอยู่ก็ต้องวอนให้แอ๊คทีฟเสียที และที่สำคัญ...กับระดับรัฐบาลก็หวังว่าจะแบ่งแยกจากเรื่องวุ่นทางการเมืองเพื่อสนับสนุนการป้องกันภัยให้ประชาชนได้เต็มที่

ระยะยาวจะทำอย่างไรกับ “ภัยธรรมชาติ” นั่นก็ว่ากันไป
แต่เฉพาะหน้า “อย่ารอแต่ล้อมคอก” หลังสูญเสีย !!!!!.



จาก              :              เดลินิวส์  วันที่ 25 กรกฎาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #55 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2008, 01:44:43 AM »


เฝ้าระวังก่อนประวัติศาสตร์ซ้ำรอย !! ภัยพิบัติ 'คลื่นพายุหมุน'
 


 ปรากฏการณ์โลกร้อนการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากส่งผลกระทบต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สัญญาณความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเชื่อว่ายังส่งผลต่อการเกิดขึ้นของ คลื่นพายุหมุนหรือ คลื่นซัดชายฝั่ง (Storm Surge) อีกพิบัติภัยทางธรรมชาติที่สร้างความเสียหายได้ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ล่าสุดประเด็นดังกล่าวยังเป็นหัวข้อสำคัญที่หยิบยกมาให้ความรู้กันในการสัมมนา Storm Surge มหันตภัยของคนกรุงเทพฯและคนชายฝั่ง ซึ่งสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้น

นอกจากนี้ที่ผ่านมายังมีความเคลื่อนไหวเตือนให้เฝ้าระวัง ติดตามคลื่นพายุหมุนอย่างใกล้ชิดเนื่องด้วยภัยพิบัตินี้เคยเกิดขึ้นแล้ว ในอดีต ไม่ว่าจะเป็น คราวพายุเกย์ พายุลินดา พายุที่แหลมตะลุมพุกหรือแม้แต่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครก็เคยเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ฝนพันปีพายุใหญ่พัดเข้ามาในอ่าวไทยส่งผลให้น้ำท่วมสูงในกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทย

ปรากฏการณ์คลื่นพายุหมุนหรือคลื่นซัดชายฝั่ง คลื่นทะเลที่เกิดจากพายุโซนร้อนและไต้ฝุ่น รศ.ดร. ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ศูนย์ศึกษา พิบัติภัย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มบอกเล่าพร้อมให้ความรู้เพิ่มถึงการเกิดขึ้นของคลื่นพายุหมุนว่า หากให้เห็นภาพคงต้องเปรียบเทียบกับคลื่นที่ เกิดขึ้นในทะเลซึ่งโดยปกติคลื่นจะ มีความสูงประมาณ 1-3 เมตร แต่หากเปรียบกับคลื่นพายุหมุนจะสูงกว่าคลื่นปกตินิดหน่อย แต่ในด้านความเร็วลมจะมีมากกว่าซึ่งความเร็วลมนั้นมีความน่ากลัวและไม่ได้มาเฉพาะคลื่น แต่มาทั้งลมทั้งฝน



“ในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมาพบว่าภัยธรรมชาติลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นแล้วและมีผู้เสียชีวิต บ้านเรือนประชาชน พื้นที่การเกษตรเสียหายหลายสิบล้านไร่ ฯลฯ อย่างคลื่นพายุหมุนที่อยู่ในความทรงจำที่ทำให้เกิดความเสียหายที่ผ่านมามีทั้งที่แหลมตะลุมพุก ซึ่งเกิดจากพายุโซนร้อนแฮเรียต

ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตเกือบ พันคน ส่วนอีกครั้งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2532 พายุไต้ฝุ่นเกย์ที่พัดถล่มชุมพรมีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนเช่นกันแล้วก็บ้านเรือนเสียหาย นอกจากนี้ยังมีพายุลินดาในปี 2540 ซึ่งแม้จะมีผู้เสียชีวิตน้อยแต่ก็มีความเสียหายมากครั้งหนึ่งเช่นกัน”

คลื่นพายุหมุนเป็นปรากฏการณ์ที่อยู่ใกล้ ๆ กับศูนย์กลางพายุทำให้น้ำใกล้ศูนย์กลางพายุสูงกว่าปกติ ส่วนคลื่นจะมีความสูงมากหรือน้อยเป็นไปตามความเร็วลมพายุ ทีนี้ไต้ฝุ่นหรือพายุโซนร้อนที่มักทำให้เกิดคลื่นพายุหมุนนั้นมักจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมเป็นต้นมาถึงธันวาคมซึ่งช่วงเวลานี้ต้องติดตามเฝ้าระวังการเกิดขึ้นของพายุให้ดี

ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคมเป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการเกิดขึ้นของพายุ โดยเวลานี้พายุจะเข้ามาทางอ่าวไทยและช่วงห้าสิบกว่าปีที่ได้รวบรวมข้อมูลไต้ฝุ่นหรือดีเปรสชัน ที่มีผลกับบ้านเรา มีเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง อย่างเช่นปี 2494 ครั้งนั้นเกิด ดีเปรสชัน ซึ่งยังไม่มีชื่อเข้ามาทางปลายแหลมญวน พายุเว้ เกิด ขึ้นในปี 2495 เข้ามาเฉียดทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯซึ่งปีนั้นน้ำท่วมกรุงเทพฯประมาณเมตรกว่า ๆ



พายุแฮเรียต เข้ามาทางแหลมตะลุมพุกในปี 2505 ไต้ฝุ่นคิม ทำให้เกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯครั้งใหญ่ โรงเรียนปิดร่วมเดือนในปี 2526 ไต้ฝุ่นเกย์ ที่พัดถล่มทำให้เกิดความเสียหายมากมายและครั้งนั้นก็เกิดคลื่นพายุหมุนขึ้นสร้างความเสียหายให้กับชีวิต ทรัพย์สินประชาชน นอกจากนี้ยังมี ไต้ฝุ่นลินดา เกิดขึ้นในปี 2540 ครั้งนั้นก็ได้สร้างความเสียหายเช่นกัน

คลื่นพายุหมุนนอกจากจะทำให้บ้านเรือนเสียหายแล้ว คลื่นลมแรง คลื่นสูงที่พัดถล่มยังทำให้พื้นที่การเกษตรเสียหาย ต้นไม้ เสาไฟล้มหักโค่นและฝนที่ตกหนักก็อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้ด้วย สิ่งที่ควรรู้ทำความเข้าใจคือ คลื่นพายุหมุนลักษณะนี้เกิดขึ้นได้พร้อมกับพายุ การติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศเป็นสิ่งสำคัญช่วยให้เกิดความปลอดภัย ห่างไกลจากอันตรายได้

“สิ่งที่เป็นอันตรายคือการไม่ได้รับข่าวสาร ไม่พยายามทำความเข้าใจ สมัยนี้มีความก้าวหน้าทางการสื่อสารและการพยากรณ์อากาศ การแจ้งเตือนจะช่วยให้ปลอดภัยเตรียมพร้อมได้ทัน ซึ่งในช่วงเดือนตุลาคมต่อเนื่องถึงธันวาคมของทุกปีเป็นช่วงที่มีโอกาสเกิดขึ้นของพายุ และไม่ใช่เฉพาะปีนี้ต้องติดตามเฝ้าระวังทุกปี และเมื่อทราบข่าวการพยากรณ์อากาศเพื่อความปลอดภัยควรออกจากเส้นทางพายุ”

ส่วนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพายุโซนร้อน จากที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาติดตามพบว่า การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนพายุ ความรุนแรงรวมทั้งทิศทางการเกิด อุณหภูมิที่เพิ่มสูงจากหลักฐานไม่ว่าจะเป็นการละลายของน้ำแข็ง การตรวจวัดซึ่งพบว่าอุณหภูมิสูงขึ้น 1.2 องศาบริเวณที่เป็นพื้นทวีป ในทะเลสูงขึ้นประมาณ 1 องศาสูงจากอดีตที่ผ่านมาและการสูงขึ้นเช่นนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งจำนวนพายุ ความรุนแรง รวมทั้งทิศทางเปลี่ยน ไป ฯลฯ



ในบ้านเราจากการติดตามพายุที่เข้ามาทางอ่าวไทยส่วนใหญ่เป็นดีเปรสชัน แต่ช่วงหลังเป็นพายุโซนร้อนและไต้ฝุ่น ส่วนพื้นที่ที่น่าเป็นห่วงสำหรับคลื่นพายุหมุนเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลตั้งแต่เพชรบุรีจนถึงสงขลา โดยในช่วงเดือนตุลาคม ถึงธันวาคมเป็นช่วงที่ต้องติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด แต่หากจัดลำดับพื้นที่กรุงเทพฯน่าจะเป็นอันดับรองจากพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้

นอกจากนี้การป้องกันคลื่นพายุหมุนทางวิชาการยังมีการศึกษาถึงวิธีการป้องกันด้วยการใช้โครงสร้าง แยกเป็นโครงสร้างป้องกันนอกชายฝั่ง สร้างกำแพงป้องกันคลื่น สร้างหออพยพป้องกันพายุ มาตรการอนุรักษ์ชายฝั่งทะเล การปลูกป่าชายเลน แนวปะการังต่างก็เป็นแนวกำบังป้องกันทางธรรมชาติที่สำคัญ ฯลฯ

ขณะเดียวกันมาตรการทางกฎหมาย ระบบเตือนภัยควรต้องมี ความชัดเจน รวมทั้งมีการประสานงานเตรียมแผนการอพยพพร้อมไว้สำหรับรองรับภัยที่จะเกิดขึ้น แต่ท้ายที่สุดการเคารพธรรมชาติเข้าใจในธรรมชาติเป็นสิ่งที่ต้องไม่มองข้าม ละเลย

ขณะที่ความเคลื่อนไหวภัยพิบัติทางธรรมชาติยังคงมีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้เข้าใจใน ธรรมชาติจึงไม่เพียงแค่ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน แต่ยังมีความหมายต่อการรักษาความสมดุล ให้ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข.
 


จาก              :              เดลินิวส์  วันที่ 5 สิงหาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #56 เมื่อ: ตุลาคม 22, 2008, 01:05:41 AM »


18เมืองใหญ่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสี่ยงที่สุดน้ำทะเลจะท่วมถึงก่อน



"ยูเอ็น" เรียกร้องให้หามาตรการบรรเทาทุกข์ ภัยที่จะเกิดจาก"ระดับน้ำ"ที่สูงขึ้น

รายงาน“สภาพเมืองต่าง ๆ ของโลก ประจำปี 2008-2009” ของสำนักงานสารนิเทศแห่งประชาชาติ ชี้ว่า เมืองตามชายฝั่งในเอเชียจะได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศมากที่สุด

เมืองใหญ่ในเอเชียหลายเมืองมีความเสี่ยงหากระดับน้ำสูงขึ้นอันเป็นผลมา จากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และต้องหามาตรการป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อ ประชากรและทรัพย์สิน

โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติและคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) จะร่วมกันจัดงานเปิดตัวรายงานสำคัญประจำปีของโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่ง สหประชาชาติ ชื่อ State of the World’s  Cities  2008/9: Harmonious Cities 

รายงานของสหประชาชาติฉบับใหม่นี้ ระบุว่ากว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนเมืองในประเทศกำลังพัฒนาที่ตกอยู่ในภาวะ เสี่ยงอันตรายหากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นที่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิ อากาศนี้อยู่ในทวีปเอเชีย
 
ในจำนวน 20 เมืองใหญ่ในภูมิภาค  มี 18 เมืองที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหรือไม่ก็ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่ม เมืองแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษเพราะประชากร มากกว่าหนึ่งส่วนสามของจำนวนประชากรในเมืองทั้งหมด
อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
 
รายงานสำคัญของโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติเล่มนี้กล่าว ว่าหกสิบสี่เปอร์เซนต์ของจำนวนเมืองทั่วโลกทั้งหมด 3,351 เมืองที่ตั้งในแถบชายฝั่งที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล  อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาและมีความสามารถจัดการกับปัญหาความยุ่งยากที่อาจ เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นได้น้อยมาก  พื้นที่แถบชายฝั่งที่ต่อเนื่องกันเหล่านี้อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลกว่าสิบ เมตร

รายงานชึ้ให้เห็นว่าภายในปีค.ศ. 2070 ประชากรในเมืองที่ตั้งอยู่แถบที่ราบลุ่มน้ำ ที่ได้เคยได้รับความเดือดร้อนจากภัยน้ำท่วมมาแล้ว เช่น เมืองดากา, โกลกาทา และย่างกุ้ง จะอยู่ในกลุ่มที่มีความสุ่มเสี่ยงมากที่สุด  ส่วนเมืองท่าต่าง ๆ เช่น เมืองมุมไบและเซี่ยงไฮ้ ที่มีประชากรอยู่หนาแน่นและเป็นเมืองเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบอย่างสาหัสทาง ทรัพย์สินและเศรษฐกิจหากมาตรการบรรเทาทุกข์ไม่ได้เตรียมพร้อมไว้รับมือกับ ภัยพิบัตินี้

รายงานกล่าวเพิ่มเติมอีกว่าราวกลางศตวรรษที่21 ในประเทศกำลังพัฒนา ประชากรในเมืองจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวปัจจุบันในประเทศกำลังพัฒนา ทุกสัปดาห์มีชาวชนบทกว่าสามล้านคนย้ายถิ่นฐานเข้ามาพำนักในเมืองใหญ่



จาก             :             มติชน   วันที่ 21 ตุลาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
Sri_Nuan.Ray
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1808



เว็บไซต์
« ตอบ #57 เมื่อ: ตุลาคม 22, 2008, 02:28:59 AM »

เฮ้อ น่ากลัวจังเลยค่ะ  บ้านเรา ประเทศเราจะจม หรือไม่นะคะ

เหตุการณ์บ้านเมืองทางการเมืองก็ยังวุ่นวาย  แถมเหตุการณ์ทางธรรมชาติ อีก

สามัคคี กันไว้ค่ะ  เราต้องจับมือกันไว้ แล้วหันหน้ามาเจรจา ก่อนที่เวลาจะหมดลงโดยเปล่าประโยชน์....

ปล.  ต้องการหาผู้ร่วมทุน สร้างเรือโนอาร์  สำหรับบรรทุกผู้รักษ์ทะเลจ้า...... ล้อเล่นน่ะ  

    อย่างมาก ก็หาแท้งค์ และเตียมอุปกรณ์ชูชีพเท่านั้นเองจ้า
บันทึกการเข้า

~~~ หากเราหยุดนิ่ง ทุกอย่างที่ผ่านมา คือ อดีต.... ทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพื่อมันจะได้เป็นอดีตที่มีค่าแก่ ความทรงจำของเรา  ~~~
marine_wi
สี่ดาวยังอยู่แค่เอื้อม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 216


ผู้พิทักษ์ทะเลตัวน้อย


เว็บไซต์
« ตอบ #58 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2008, 02:36:27 AM »

ประเทศไทยอยู่ได้เพราะมีพวกเรา
เราอยู่ได้เพราะมีกันและกัน

ยังไงเราก้ต้องอยู่ต่อสู้เพื่อทะเลต่อไป
ถึงจะตายเพราะนำท่วมโลก   หนูก็คงดีใจเพราะตายในอ้อมกอดของทะเล

ขอขึ้นเรือพี่ SNR  ด้วยคนน้า  ไปกันให้หมดบ้านเลย
บันทึกการเข้า
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #59 เมื่อ: ธันวาคม 28, 2008, 11:27:11 PM »


ฤทธิ์ภัยธรรมชาติ ถล่มโลกปี 51


 
เมื่อพูดถึงภัยธรรมชาติที่โลกต้องผจญในรอบปีที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีหลายประเทศร้องโอ๊ย เนื่องจากได้รับความเสียหายย่อยยับและรุนแรงขนาดไหนกันมั่ง ทีมข่าวต่างประเทศ เก็บเนื้อหามาร้อยเรียง ได้ความดังนี้.....


ธรณีพิโรธถล่มมณฑลเสฉวน ประเทศจีน

เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่มณฑลเสฉวน ของจีน เมื่อ 12 พฤษภาคม ที่ผ่านมา วัดแรงสั่นสะเทือนได้ถึง 7.9 ริกเตอร์ ส่งผลให้อาคารบ้านเรือนในเมืองต่างๆที่ใกล้จุดแผ่นดินไหวพังทลายราบ โดยแรงสั่นสะเทือนยังรู้สึกไปไกลถึงกรุงปักกิ่ง นครหลวงของจีน, ฮ่องกง, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, เวียดนาม แม้แต่ไทยซึ่งอยู่ห่างหลายพันกิโลเมตรยังรับรู้ได้ แสดงว่าโลกได้เผชิญกับภัยพิบัติจากธรรมชาติมากและถี่ขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ก็เกิดเหตุการณ์ แผ่นดินไหวในพื้นที่หลายแห่งของโลก แต่แรงสั่นสะเทือนไม่รุนแรงเท่ากรณีที่เกิดในมณฑลเสฉวน ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

เหตุแผ่นดินไหวในจีนครั้งนี้มีจุดศูนย์กลางการสั่นสะเทือนอยู่ลึกใต้ดิน 29 กม. ห่างจากเมือง เฉิงตู เมืองเอกของมณฑลเฉสวน ขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งนี้ แรงสั่นสะเทือนยังได้ลามไปถึงนครเซี่ยงไฮ้ทางภาคตะวันออก ทำให้ตึกจินเหมา อาคารสูงที่สุดของประเทศสั่นไหวโงนเงน จนต้องมีการอพยพประชาชนลงจากตึกอย่างฉุกละหุก

ทั้งนี้ เมืองเฉิงตู อยู่ห่างจากกรุงปักกิ่งไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ถือเป็นที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดเมืองหนึ่งของจีน ทั้งยังเป็นสถานที่ ตั้งของศูนย์วิจัยและเพาะพันธุ์หมีแพนด้า ตลอดจนเป็นที่ตั้งของเขื่อนสามหุบผา ซึ่งเป็นโครงการเขื่อนขนาดยักษ์

ธรณีพิโรธครานี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต, สูญหายและได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นเด็กนักเรียนประสบเคราะห์เสียชีวิตประมาณ 2 หมื่นศพ ก่อให้เกิดการประท้วงและความไม่พอใจของบรรดาผู้ปกครอง เนื่องจากมีรายงานว่า โรงเรียนหลายแห่งพังถล่มลงมาเพราะใช้วัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

ด้านนายกรัฐมนตรี เหวิน เจียเป่าของจีน รับหน้าที่เป็นหัวหน้าศูนย์อำนวยการปฏิบัติการกู้ภัย เพื่อช่วยผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากตึกทันควัน สั่งให้มีการค้นหาผู้รอดชีวิตหลายวันติดต่อกันหลังจากเกิดเหตุ โศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งที่มนุษยชาติเคยประสบมา





พายุไซโคลนนาร์กีสกระหน่ำพม่า

พายุไซโคลนนาร์กีสถล่มประเทศสหภาพ พม่าเมื่อวันที่ 2-3 พฤษภาคมที่ผ่านมา ด้วยแรงลมความเร็วถึง 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พัดเข้าถล่มทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของพม่า ความเร็วของพายุรุนแรงระดับ 4 จากทั้งหมด 5 ระดับ สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอิรวดี ไปจนถึงนครย่างกุ้ง และทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 78,000 ศพ จนทำให้บางคนเปรียบความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ว่า เลวร้ายยิ่งกว่าเหตุ ธรณีพิบัติภัยคลื่นยักษ์สึนามิซัดถล่มชายฝั่งทะเลอันดามันเมื่อปี 2547 ซะอีกจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจหากใครจะจดจำปีเก่าที่กำลังผ่านพ้นไปในฐานะ “ปีที่ธรรมชาติลงโทษมนุษย์” อย่างหนักหน่วง เพราะนับตั้งแต่ต้นปีถึงท้ายปี บอกได้เลยว่าไม่มีเดือนไหนที่โลกว่างเว้นจาก “ภัยธรรมชาติ” ซึ่งแม้จะไม่หนักหนาเท่าสิ่งที่เกิดขึ้นในพม่าและจีน แต่ก็อ่วมอรทัยไม่แพ้กัน!!

28 ม.ค. เกิดพายุหิมะกระหน่ำทางฝั่งตะวันออกและทางใต้ของจีน ทำคนหนาวตาย 24 ศพ และต้องอพยพชาวเมืองกว่า 827,000 คน ออกจากพื้นที่ ทั้งยังมีผู้โดยสารกว่า 600,000 คน ติดอยู่ในรถไฟเพราะเส้นทางถูกตัดขาดหลังหิมะกองสุมหนาเตอะ สายการบินหลักกว่า 15 แห่งต้องระงับเที่ยวบิน ความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยประมาณอยู่ที่ 3.2 พันล้านดอลลาร์

ก.พ.-เม.ย. พายุทอร์นาโดหลายลูกพัดกระหน่ำพื้นที่ทางตอนใต้และตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ นับตั้งแต่รัฐเทนเนสซี อาร์คันซอ อลาบามา เคนตักกี จอร์เจีย โอไฮโอ เมืองแอตแลนตา เวอร์จิเนีย รวมถึงเท็กซัส และเพนซิลเวเนีย ทั้งยังทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันตามมา มีผู้เสียชีวิต 70 ศพ

11 พ.ค. พายุทอร์นาโดบุกสหรัฐฯอีกครั้ง บริเวณรัฐมิสซูรี โอกลาโฮมา และจอร์เจีย ทำให้มีผู้เสียชีวิต 20 ศพ และประชาชนกว่า 9,000 คน ติดอยู่ในเมืองโดยไม่มีไฟฟ้าใช้นานถึง 3 วัน

17 มิ.ย. พื้นที่ใน 9 มณฑลทางภาคใต้ของจีนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปี ทำลายพื้นที่ทางการเกษตรของประชาชนกว่า 5.4 ล้านเอเคอร์ ขณะที่แผ่นดินถล่มซ้ำ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 60 ศพ และอีก 13 คนหายสาบสูญ

24 ก.ค. นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติรวม 90 คน ได้รับบาดเจ็บหลังเกิดแผ่นดิน ไหว 6.8 แมก นิจูด ที่เมืองอิวาเตะ ทำให้บ้านเรือนนับพันหลังได้รับความเสียหาย

28 ส.ค. น้ำในแม่น้ำโกสีไหลท่วมเมืองทางตอนเหนือของรัฐพิหารในอินเดีย แม้รัฐบาลสั่งอพยพประชาชนกว่า 2 ล้านคนออกจากพื้นที่แต่ยังมีผู้เสียชีวิตถึง 75 ศพ และอีก 5 แสนคนกลายเป็นคนไร้ที่อยู่

1 ก.ย. พายุเฮอริเคน “กุสตาฟ” ก่อตัวแถวชายฝั่งกัลฟ์โคสต์ของสหรัฐฯ ซัดเข้าฝั่งเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐหลุยเซียนา จอร์เจีย และมิสซิสซิปปี ทำให้ไฟฟ้าถูกตัดขาด และมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 26 ศพ

5 ก.ย. พายุโซนร้อน “ฮันนา” พัดกระหน่ำเมืองท่าโกนาอีฟส์ของเฮติ มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บนับร้อยคน



7-8 ก.ย. หมู่เกาะแถบทะเลแคริบเบียน รวมถึงเฮติและคิวบา ถูกพายุเฮอริเคน “ไอค์” ถล่มราบ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือเกาะเติร์กและไคคอส บ้านเรือนกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เสียหายยับเยิน ส่วนที่เฮติมีผู้เสียชีวิต 61 ศพ และอีก 4 ศพในคิวบา

13-14 ก.ย. พายุเฮอริเคนไอค์เคลื่อนตัวจาก ทะเลแคริบเบียนเข้ามาทางตอนใต้ของสหรัฐฯ ส่งผลให้รัฐเท็กซัสและเมืองฮิวส์ตันเผชิญกับพายุฝนกระหน่ำและลมพายุพัดรุนแรง ขณะที่เมืองกัลเวสตันเบย์ ซึ่งเป็นเมืองบนเกาะได้รับผลกระทบหนักที่สุด ประชาชนกว่า 15,000 คน ตกค้างอยู่ในเมืองที่ถูกน้ำท่วมตัดขาดจากสาธารณูปโภคพื้นฐาน ทั้งน้ำประปา ไฟฟ้า และรถโดยสาร ยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมดอยู่ที่ 50 ศพ

14-16 ก.ย. เฮอริเคนไอค์เคลื่อนตัวต่อไปยังรัฐหลุยเซียนา แคนซัส และมิสซูรี ตอนกลางของภาคตะวันตกในสหรัฐฯ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากฝนกระหน่ำและน้ำท่วมไหลบ่าเพิ่มอีก 17 ศพ

6 ต.ค. ชาวคีร์กีซสถาน 70 รายเสียชีวิต และผู้บาดเจ็บอีกนับร้อย หลังเกิดแผ่นดินไหวแรง 6.6 แมกนิจูด ทำให้เมืองนูราในแคว้นออชพังราบ



29 ต.ค. เกิดแผ่นดินไหวแรง 6.4 แมกนิจูด ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 170 ศพ และบ้านเรือนกว่า 15,000 หลังได้รับความเสียหาย

22-23 พ.ย. ชาวบราซิลเสียชีวิตอย่างน้อย 119 ศพ และอีก 80,000 คนไร้ที่อยู่ หลังฝนกระหน่ำติดต่อกันอย่างรุนแรง ทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงในรัฐซานตาแคลิฟอร์เนีย ทางตอนใต้ของประเทศ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม และดินถล่ม

11 ธ.ค. ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช แห่งสหรัฐฯ ประกาศภาวะฉุกเฉินบางพื้นที่ในรัฐแมสซาชูเสตต์และนิวแฮมป์เชียร์ พร้อมส่งทหารหน่วยกู้ภัยเข้าไปช่วยเหลือ หลังมีพายุน้ำแข็งพัดกระหน่ำติดต่อกันหลายวัน ทำให้ไฟฟ้าดับ บ้านเรือนกว่า 800,000 หลังตกอยู่ในความมืดและหนาวเย็น


บริษัทสร้างภาพว่าอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

บรรดาผู้นำประเทศสมาชิกสหประชาชาติต่างเห็นพ้องต้องกันว่าสาเหตุ ที่ทำให้ภัยธรรมชาติทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ มีความเกี่ยวพันกับ “ภาวะโลกร้อน”

ขณะที่สรุปผลรายงานการประชุมด้านสิ่ แวดล้อม และการรับมือปัญหาภาวะโลกร้อนครั้งที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองพอซนันในโปแลนด์ ระหว่าง 11-13 ธ.ค. ก็ระบุชัดเจนว่า ภาวะโลกร้อนส่งผลให้สภาพอากาศในภูมิภาคต่างๆทั่วโลกแปรปรวน ก่อให้เกิดผลกระทบใหญ่หลวงตามมาต่อสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตมนุษย์ ทั้งยังทำให้ภัยธรรมชาติแต่ละครั้งร้ายแรงขึ้นด้วย

เป้าหมายที่นานาชาติต้องร่วมมือกันจึงได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ การลดปริมาณการตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลก รวมถึงการส่งเสริมพลังงานทางเลือกทดแทนพลังงานถ่านหิน ซึ่งจะว่าไปก็แทบไม่ต่างอะไรจากที่เคยประชุมที่บาหลีเมื่อปี 2550 ทำให้หลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ ว่าผู้นำกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ รวมถึงสหภาพยุโรป และจีน ไม่มีความจริงใจในการแก้ปัญหา ทำให้ประเทศเล็กๆ และประเทศกำลัง พัฒนาขาดความกระตือรือร้นในการรณรงค์ ด้านสิ่งแวดล้อมไปด้วย

ทว่า “กระแสสีเขียว” หรือ “การรณรงค์ ลดภาวะโลกร้อน” ในภาคธุรกิจกลับคึกคักสวนทางกับความเคลื่อนไหวจากภาครัฐอย่างมาก ถึงขนาดที่บริษัทหรือผู้ประกอบธุรกิจต่างๆหันมาชูจุดขายว่าสินค้าหรือบริการของตนนั้น “สีเขียว” หรือ “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” จนเป็นที่ฮือฮาไปทั่วโลก

อย่างไรก็ดี “เอติคัล บิสเนส แมกกาซีน” นิตยสารเพื่อการประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรมของอังกฤษ และองค์กรเอกชนเฝ้าระวังผู้ประกอบการธุรกิจของสหรัฐฯ ที่มีชื่อว่า “คอร์ปวอตช์” ออกมาเตือนประชาชนให้รู้ทัน “กระบวนการสร้างภาพ” ของผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ว่ายังมีสินค้าและบริการอีกมากที่ใช้กลยุทธ์ฟอกเขียว (Greenwash) ซึ่ง “สร้างภาพ” หรือ “ให้ข้อมูลด้านเดียว” จนผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้าเหล่านั้นไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม หรือไม่ก็โน้มน้าวให้ผู้บริโภคเชื่อว่า การซื้อสินค้าหรือบริการของธุรกิจฟอกเขียวเป็นหนทางหนึ่งในการส่งเสริมธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

สำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษรายงานเพิ่มเติม ว่า ปีนี้กองทุนคุ้มครองสัตว์ป่าโลก (WWF) มอบ รางวัล “สุดยอดนักฟอกเขียว” ให้กับบริษัทน้ำมันข้ามชาติรายหนึ่ง ซึ่งยกเลิกการสนับสนุนเงินรางวัลการประกวดภาพถ่ายสัตว์ป่า หลังช่างภาพบางคนถ่ายภาพสัตว์ที่ได้รับผลกระทบบริเวณแหล่งขุดเจาะ น้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัทดังกล่าวและส่งเข้าประกวด ในขณะที่โฆษณาในปี 2551 ของบริษัทน้ำมันแห่งนี้อวดอ้างมาตลอดว่า “เป็นผู้สนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”

ภารกิจรับมือภาวะโลกร้อนและภัยธรรมชาติในปีหน้าฟ้าใหม่ 2552 จึงเป็นประเด็นสาธารณะที่ทุกคนต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพราะดูท่าว่าการโบ้ยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลหรือหน่วยงานใดๆคงไม่พอ และที่สำคัญก็คือทุกครั้งที่เกิดภัยธรรมชาติ คนที่อ่วมหนักสุดก็ได้แก่ประชาชนตาดำๆ ทู้กทีสิน่า!



คนดังที่รณรงค์ช่วยโลก

หากพูดถึงดาราใจบุญชาวฮอลลีวูดที่เข้ามามีส่วนช่วยเหลือสังคมและเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มีแซมเปิ้ลได้แก่......

1. แบรด พิตต์ ดาราหนุ่มเซ็กซี่ของนิตยสารพีเพิล เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิ เมค อิท ไรต์ หรือ “ทำในสิ่งที่ถูก” เพื่อ ช่วยสร้างที่พักอาศัยให้แก่ผู้ประสบภัยจากพายุเฮอริเคนที่เมืองนิวออร์ลีนส์ ตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว พิตต์กะว่าเป็นโครงการระยะยาว แถม แองเจลินา โจลี ศรีภรรยาสุดเลิฟ ยังมีรอยสักไว้เพื่อเตือนใจชาวโลก ให้ โนว์ ยัวร์ ไรต์ กรุณารู้ถึงสิทธิอันชอบธรรมของพวกคุณด้วยนะ อู้ย คู่สามีภรรยาคู่นี้นอกจากหน้าตาดีเลิศประเสริฐศรีแล้ว ยังใจบุญซะด้วยสิ มีการรับเด็กกำพร้านำมา เลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ของโจลี-พิตต์ตั้งหลายคน แถมยัง ช่วยปลอบขวัญผู้ลี้ภัย ซะด้วย

2. ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ ดาราหนุ่มจากหนังเรื่องไททานิค กลายเป็นศิษย์โปรดของอดีตรองประธา-นาธิบดี อัล กอร์ แห่งสหรัฐฯ หลังเขารณรงค์ชูธงช่วย “ลดภาวะโลกร้อน” กับท่านกอร์ ซึ่งก่อนหน้านี้นายอัล กอร์ คว้ารางวัลออสการ์หนังสารคดีเรื่อง ดิ อินคอนวีเนียนต์ ทรูธ มาแล้ว

3. ชาร์ลีซ เธียรอน ดาราหญิงเจ้าของรางวัลออสการ์จากเรื่องมอนสเตอร์'ส บอล ได้รับเลือกให้เป็น ผู้นำสารสันติภาพจากสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เมื่อเร็วๆนี้ หลังมีส่วนรณรงค์เรื่อง สิทธิสัตว์ และ ช่วยรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก เช่นเดียวกับที่ นิโคล คิดแมน ดาราหญิงเจ้าของรางวัลออสการ์เรื่อง The Hours ก็ได้รับเลือกจากกองทุนพัฒนาสตรีของสหประชาชาติให้เป็นทูตสันถวไมตรี ไปหมาดๆ

4. คริส มาร์ติน นักแต่งเพลงและสมาชิกของวงดนตรีโคลด์เพลย์ รวมทั้งเป็นสามีของกวินเน็ท พัลโทรว์ ดาราหญิงที่มีรางวัลรับประกันคุณภาพของวงการบันเทิงอีกคน วงดนตรีวงนี้มีส่วนร่วมในการแสดงคอนเสิร์ตไลฟ์เอดส์

5. อาร์โนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์ ดาราหนุ่มใหญ่ที่กลายเป็นผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย เข้าร่วมประชุมหาทางลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษเป็นประจำ เพราะเห็นความสำคัญในด้านนี้น่ะซี.

 
 

จาก                                   :                               ไทยรัฐ      วันที่  29 ธันวาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: 1 2 3 [4] 5   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.131 วินาที กับ 20 คำสั่ง