กระดานข่าว Save Our Sea.net
เมษายน 16, 2024, 01:22:12 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2] 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ  (อ่าน 26504 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
foot_fish
ได้2ดาวแล้วพยายามอีกหน่อยจะได้สอย3ดาว
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 81



« ตอบ #15 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2008, 01:21:12 PM »

เย่! อีกหน่อยมีบ้านติดน้ำแล้ว จะได้มีตลาดน้ำโดยไม่ต้องไปราชบุรี เหอๆๆๆ   (ไม่อยากให้เกิดเลยก๊าบ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 21, 2008, 11:14:17 PM โดย สายน้ำ » บันทึกการเข้า
Vita
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 983


อยู่เหนือสุขและทุกข์ได้ เป็นดี..!


« ตอบ #16 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2008, 02:30:08 PM »

แล้วเขื่อนจะมีผลต่อระบบนิเวศน์วิทยา ชายฝั่งรึเปล่าครับ......
เคยได้ยินว่า เขื่อนทำให้ตะกอนดินจำนวนมหาศาล ที่น้ำพัดมา
มาทับถมกันบริเวณเหนือเขื่อน......
บันทึกการเข้า

สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
Vita
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 983


อยู่เหนือสุขและทุกข์ได้ เป็นดี..!


« ตอบ #17 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2008, 02:32:25 PM »

ป.ล.  ถึง พี่ Seaman

Vita ขอแนะนำให้ปลูกเรือนหอ บนดอยอินทนนท์

(วางแผนเตรียมการป้องกันไว้แต่เนิ่นๆงัย)
บันทึกการเข้า

สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #18 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2008, 03:01:47 PM »


จริงหรือ...โลกร้อน ทำให้นํ้าท่วม กทม.
 
ถามว่า แล้วทำไมกรุงเทพฯถึงจมทะเลลงไปได้ล่ะ เมื่อนํ้าทะเลไม่เพิ่ม?

อาจารย์สุภัทท์ตอบประเด็นนี้ว่า น่าจะเกิดจากการสูบนํ้าบาดาลขึ้นมาใช้ ทั้งในชุมชนต่างๆ และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างมากมายในช่วงที่กรุงเทพฯและปริมณฑลเติบโตอย่างรวดเร็ว จนทำให้แผ่นดินทรุด

ขณะเดียวกันแถวๆสมุทรสาครและสมุทรปราการก็เกิดภาวะการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรง อันมีสาเหตุมาจากการลดลงของตะกอนจากแม่นํ้าที่ไหลลงสู่ทะเลน้อยลง

ปัจจุบันนี้ก็ได้มีความพยายามที่จะแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยการปลูกป่าชายเลนไปบ้างแล้ว


จากข้อความข้างต้น  ขยายความได้ว่า....การลดลงของตะกอนจากแม่นํ้าที่ไหลลงสู่ทะเลน้อยลงนั้น มีสาเหตุสำคัญมาจาก การสร้างเขื่อนเหนือปากแม่น้ำต่างๆที่ไหลลงสู่ทะเล ค่ะ 

ถ้าชาติเรามีเงินมากพอที่จะสร้างเขื่อนตลอดแนวชายฝั่งทะเลรูปตัว ก ไก่ ได้.....น่าจะมีตะกอนถูกกักไว้ที่ปากแม่น้ำได้มากขึ้น (เหมือนที่ชาวบ้านได้นำไม้ไผ่ไปกั้นสับหว่างตามแนวชายฝั่งแล้วกักตะกอนได้เพิ่มขึ้นมาก) ซึ่งน่าจะเป็นผลดีที่ทำให้มีแผ่นดินเพิ่มมากขึ้น  อย่างไรก็ตาม คงจะมีผลกระทบกับระบบนิเวศไม่น้อย 

แต่ถ้าเขื่อนสามารถกั้นการกัดเซาะของน้ำทะเลได้จริง  และทางการเข้มงวดกวดขันเรื่องลดการดูดน้ำบาดาลได้เพื่อป้องกันการทรุดตัวของดินได้ด้วยอีกทางหนึ่ง  ก็เห็นว่าน่าจะคุ้มกับการที่ไม่ต้องสูญเสียพื้นที่แนวชายฝั่งทะเลของเมืองฉะเชิงเทรา...สมุทรปราการ...สมุทรสาคร.... สมุทรสงคราม...รวมทั้งกรุงเทพฯไปทั้งหมดนะคะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 02, 2008, 03:19:44 PM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
Vita
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 983


อยู่เหนือสุขและทุกข์ได้ เป็นดี..!


« ตอบ #19 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2008, 04:53:26 PM »

  ....... นึกถึงหนังเรื่อง   <<< Water World >>>
บันทึกการเข้า

สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #20 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2008, 01:03:44 AM »


"อีก 10 ปี กทม.จะเป็นเมืองใต้บาดาล" หากอุณหภูมิสูงขึ้น 2-6 องศา



นับตั้งแต่พิบัติภัยสึนามิถาโถมเข้าใส่ชายฝั่งสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล คนทั่วโลกเริ่มหันมามองว่าเกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้ ตามติดมาด้วยพายุไซโคลนนาร์กีสถล่มประเทศพม่าและเหตุแผ่นดินไหวในประเทศจีน

หลายประเทศทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงภัยธรรมชาติที่อาจจะล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ได้ในชั่วข้ามคืน หากไม่มีมาตรการรับมือดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการด้านการเตือนภัย แล้วประเทศไทย โอกาสที่จะเผชิญกับมหันตภัยทางธรรมชาตินี้มีมากน้อยแค่ไหน ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะเป็นผู้ให้คำตอบ

 ตอนนี้มวลมนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่กับอะไร 4 ปีที่ผ่านมา หลายประเทศได้รับความสูญเสียจากภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งพายุและแผ่นดินไหว

 ขณะนี้โลกเรากำลังเผชิญกับภัยธรรมชาติที่มีความผิดปกติจนเห็นได้ชัด ทั้งเรื่องความรุนแรง ที่มีผลกระทบต่อทรัพย์สินและผู้คนจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีให้เห็นเรื่องของการเกิดภัยพิบัติถี่ขึ้นในหลายประเทศ ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่ระบุว่า สาเหตุของการเกิดภัยธรรมชาติที่ผิดปกตินี้มีผลกระทบมาจากสภาวะโลกร้อน อย่างเช่นภัยธรรมชาติที่เห็นได้ชัดคือพายุนาร์กีสที่ประเทศพม่า ที่ก่อตัวในมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิสูงพอ แต่สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวนั้น ทางวิชาการถือว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติ


 ประเทศไทยมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในรูปแบบของพายุมากน้อยแค่ไหน

 บอกได้เลยว่าประเทศไทยมีอัตราเสี่ยงภัยพายุแน่นอนและมีทุกปี ขึ้นอยู่กับว่าปีไหนมีน้อย ปีไหนมีมาก แต่สำหรับปีนี้มีอัตราเสี่ยงสูง โดยเฉพาะในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน และตุลาคม จะมีมรสุมที่ก่อตัวมาจากมหาสมุทรแปรซิฟิกเข้ามาทางอ่าวไทย และมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ภาคกลางจนถึงภาคเหนือ ซึ่งผลกระทบจะเกิดกับชุมชนใหญ่ๆ เมืองใหญ่ๆ ของประเทศแน่นอน ขณะนี้เราก็ยังไม่สามารถคำนวณได้ว่า ความรุนแรงจะมากน้อยแค่ไหน จะเท่าพายุนาร์กีสหรือไม่ อาจน้อยหรือมากกว่า เพราะเราต้องรอให้พายุที่จะเกิดขึ้นนั้นก่อตัว เคลื่อนตัว ขึ้นมาก่อน เราถึงจะคำนวณได้จากทิศทาง เส้นผ่าศูนย์กลาง และแรงลม หากตรวจจับได้ว่ามีการก่อตัวของพายุกลางทะเล เราจะสามารถคาดคะเนได้ก่อน 3-5 วัน แต่หากให้คาดการณ์ได้ว่าพายุลูกต่อไปจะเกิดความรุนแรงมากเท่าไร อันตรายแค่ไหน ไม่มีหลักวิทยาศาสตร์ไหนตอบได้


ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวไหม

 อย่างที่บอกการเกิดแผ่นดินไหวนั้นเป็นภัยธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งโลกประสบมาหลายร้อยล้านปี การเกิดแผ่นดินไหวมีสาเหตุมาจากการปลดปล่อยพลังงาน ระบายพลังงาน จากใจกลางใต้ผิวโลกมาสู่พื้นผิวโลก อันนี้ปกติ ซึ่งพลังงานใต้เปลือกโลกยังมีอีกมหาศาล สำหรับประเทศไทยนั้นโชคดี เราไม่มีพื้นที่อยู่บนหรือใกล้รอยแยกของเปลือกโลกเหมือนประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินโดนีเซีย


พื้นที่เสี่ยงของไทยต่อการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่ไหน

 ประเทศไทยของเราอยู่ใกล้กับรอยเลื่อนของเปลือกโลก มี 13 จุดทั่วประเทศที่เราเฝ้าระวัง ตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ไล่ลงมาทางกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ไปถึงจนภาคใต้ ซึ่งประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินยุบตัว แผ่นดินถล่ม ก็ต่อเมื่อเกิดการปลดปล่อยพลังงานผ่านรอยเลื่อนดังกล่าวรอยหนึ่งรอยใดก็จะได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือน ซึ่งเราไม่รู้อีกว่ามันจะรุนแรงแค่ไหน


ปัญหาที่จะเกิดขึ้นหากเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในประเทศไทยคืออะไร

 ที่ผ่านมาเราไม่เคยมีการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของอาคารสูงว่า สามารถทนทานต่อการสั่นสะเทือนจากเหตุแผ่นดินไหวได้มากน้อยแค่ไหน เพราะอาคารหลายแห่ง เอาแค่ใน กทม.มีการสร้างมานานแล้ว ตรงนี้วิศวกรหลายคนพูดเหมือนกันว่า หากเกิดแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงขนาดกลาง เพียงแค่ 7-8 ริกเตอร์ ก็จะมีตึกหลายตึกทรุดตัวลงมา เพราะทนแรงสั่นสะเทือนไม่ได้ เราก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพียงแต่ภาวนาว่าอย่าเกิดการปล่อยพลังงานที่บริเวณรอยเลื่อนในไทยเลย ไม่เช่นนั้นก็คงเห็นภาพตึกหลายตึกพังลงมา เพราะกฎหมายบ้านเราไม่เคยระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับการรองรับเรื่องนี้ไว้เลย อันที่จริงแล้วเราต้องออกกฎหมายเหล่านี้มาป้องกันเหตุสุดวิสัยนี้ แต่ตอนนี้เราทำอะไรไม่ได้เลยต่างก็สร้างเอาราคาถูกเข้าว่า


 ประเทศไทยมีความพร้อมในการเฝ้าระวังภัยพิบัติทางธรรมชาติมากน้อยแค่ไหน

 เรื่องพายุหรือลมมรสุมเนี่ยผมแน่ใจว่า กรมอุตุนิยมวิทยาของไทยมีความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์ตัววัด การเฝ้าระวัง รวมไปถึงการเตือนภัยที่ดี ดีจนแทบจะบอกได้ว่าเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคนี้เลยทีเดียว แต่ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่าเราจะเอาข้อมูลที่กรุมอุตุฯ เตือนไปบอกชาวบ้านอย่างต่อเนื่องยังไงมากกว่า หากเขารับรู้ชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้านก็คงจะปลอดภัย แต่เรื่องแผ่นดินไหวนั้นยอมรับว่าขณะนี้ก็คงพยายามติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว ซึ่งปัจจุบันเราก็มีแต่มันยังไม่สมบูรณ์เท่าไร แต่ก็อยู่ในมาตรฐานที่รับได้


 นอกจากภัยพิบัติทางธรรมชาติแล้ว ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนมีอะไรอีก

 จากที่มีการศึกษาและหากเป็นจริง อีกภายใน 50 ปีข้างหน้า โลกจะร้อนขึ้นอีกประมาณ 2-6 องศา ผลที่ตามมาคือระดับน้ำทะเลสูงขึ้นหลายฟุต เนื่องจากการละลายของน้ำแข็งลงสู่มหาสมุทร ก่อให้เกิดการพังทลายของแนวชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะเมื่อมีพายุรุนแรง การสูญเสียตามแนวชายฝั่งและแนวชายหาด ที่ลุ่มน้ำขัง และอุตสาหกรรมตามแนวชายฝั่ง น้ำเค็มจะแพร่เข้าสู่พื้นดิน ก่อปัญหาแก่น้ำบริโภค ระบบนิเวศตามแนวชายฝั่งทะเล และน้ำเค็มซึมสู่แหล่งน้ำจืดใต้ดิน เกิดพายุที่มีความรุนแรงมากขึ้นและบ่อยครั้ง แหล่งการเกษตรและการประมงจะเปลี่ยนแปลง เช่น ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศแคนนาดา และสหภาพโซเวียตอาจเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตของสหรัฐอเมริกาลดลง

 มีการเลื่อนตัวของแนวร่องความกดอากาศต่ำ ทำให้ปริมาณฝนในบางพื้นที่ตลอดจนตำแหน่งพายุเปลี่ยนแปลง คลื่นความร้อนและความแห้งแล้งจะทวีความรุนแรงและบ่อยขึ้น การลดลงของก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ มีผลต่อเนื่องถึงสุขภาพของมนุษย์ขาดโภชนาการต่อเนื่อง ทำให้เกิดโรคต่างๆ และเกิดโรคพืชและโรคสัตว์


 ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรหากอุณหภูมิสูงขึ้น 2-6 องศา

 หลังจากนี้ไปน้ำทะเลจะสูงขึ้นทุกวัน อีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า กทม.จะกลายเป็นเมืองใต้บาดาลอย่างถาวร เรื่องนี้ผมพูดมานานมากแล้ว ทุกวันนี้ผมท้อ เพราะหลายครั้งที่ผ่านมา ผมและนักวิชาการคนอื่นพูด ผมวิเคราะห์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่เห็นจะมีผลอะไร แทนที่จะเอาไปตั้งคณะกรรมการศึกษา สิ่งที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ หาแนวทางป้องกัน กลับนิ่งเฉยไม่ทำอะไร ผมต่อสู้มาหลายรัฐบาล แต่ไม่ได้รับความสนใจ หลายสิ่งหลายอย่างมีคนต่อต้านค้านไม่เห็นด้วย ทุกวันนี้ผมก็เลยไม่พูด ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมของประเทศ หากเกิดสภาวะแบบนั้นจริงๆ ซึ่งมันก็ช้าไปกับการที่จะหาวิธีป้องกันอย่างที่เราคำนวณไว้


 การพัฒนาศักยภาพและทิศทางในอนาคตของศูนย์เตือนภัยฯ

 เราพยายามที่จะพัฒนามาตลอด ตั้งแต่มีการจัดตั้งศูนย์ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าเลย ไม่ได้รับความสนใจจากผู้นำประเทศ ไม่ได้รับการพัฒนาในทิศทางที่ควรจะเป็น คือมีศักยภาพและมาตรฐานสากล เทียบเท่าที่เขาเจริญแล้ว เช่น สิ่งที่มองเห็นได้ชัดว่าเราด้อยกว่าเขาคือ เราไม่มีสถานภาพที่ชัดเจน องค์กรไม่มีการระบุชัดเจนว่าทำอะไร อยู่ในระดับไหน มีเจ้าหน้าที่เท่าไร อะไรต่างๆ ไม่มีความแน่ชัด จึงไม่มีผลงานที่จะออกไปต่อสาธารณชน ที่อยู่ได้มาถึงทุกวันนี้เป็นการประคับประคองเท่านั้น หากต้องการที่จะพัฒนาป้องกันอย่างจริงจัง ต้องทำในวันนี้ก่อนที่มันจะสายไป


 คนไทยควรปฏิบัติตัวอย่างไรในสถานการณ์แบบนี้

 ก็คงต้องทำตัวปกติ อย่าวิตกกังวลมากไป ติดตามข่าวสารที่มีการเตือนออกมา ศึกษาวิธีการป้องกันไว้บ้าง อย่างเช่นหากเกิดแผ่นดินไหวควรจะทำตัวอย่างไร ซึ่งข้อมูลลักษณะนี้ก็มีการประชาสัมพันธ์อยู่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่านั่นคือตอนนี้เรารับรู้แล้วว่า สาเหตุที่ในระยะนี้ทั่วโลกเกิดภัยพิบัติบ่อยครั้ง เนื่องจากโลกได้รับผลกระทบจากปฏิกิริยาความร้อนของเรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น หากอุณหภูมิในทะเลสูงขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียส ก็จะทำให้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงบ่อยครั้งขึ้น ดังนั้น จึงเป็นบทเรียนที่มนุษย์จะต้องหยุดทำลายสิ่งแวดล้อม ด้วยการปล่อยสารพิษสู่ชั้นบรรยากาศ




จาก              :             คม ชัด ลึก   วันที่ 19 พฤษภาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #21 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2008, 11:16:54 PM »


ชี้มหันตภัยโลกร้อน อีก 35 ปี กทม.จมบาดาล

 วันนี้ (21 พ.ค.) ที่ศูนย์ความเป็นเลศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS)  ดร.วิเชียร กีรตินิจการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และอาจารย์คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึง “ประเทศไทยกับมหันตภัยโลกร้อน”ว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่อยู่รอบบรรยากาศโลก ส่วนใหญ่ 90 % เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การใช้พลังงาน การเดินทางขนส่ง ป่าไม้และการทำลายป่า อุตสาหกรรม ขยะน้ำเสีย  กิจกรรมของมนุษย์ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบันเท่ากับ 383 พีพีเอ็มส่วนในอากาศ 1 ล้านส่วน นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงพยายามหาหนทางป้องกันไม่ให้อุณภูมิเฉลี่ยของโลกสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส เพราะหากเลยจุดนี้ไปแล้ว ความปลอดภัยของมนุษยชาติจะไม่มีหลักประกันอีกต่อไป ซึ่งการป้องกันภาวะโลกร้อนจะต้องไม่ให้คาร์บอนไดออกไซด์สะสมในชั้นบรรยากาศเกิน 450 พีพีเอ็ม
 
“นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกตั้งเป้าหมายให้หยุดอุณภูมิที่สูงขึ้นไว้ที่ 2 องศาเซลเซียส ในปี พ.ศ.2558 ซึ่งเหลือเวลาเพียง 7 ปีเท่านั้นโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงอุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียสมีถึง 93 %  หากมนุษย์สามารถลดการปลอดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 60 % ในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยมนุษย์ต้องลดใช้พลังงานอย่างเต็มที่ทั่วโลก หากเลยจุด 2 องศาเซลเซียสไปแล้ว มนุษย์ต้องเตรียมรับมือมหันตภัยต่าง ๆ และอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก 3 เป็น 4  5 และ 6 หยุดไว้ได้ยาก ผลดังกล่าวจะทำให้น้ำทะเลอุ่นขึ้น มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศมากทำให้โลกร้อนยิ่งขึ้น”ดร.วิเชียร กล่าว
 
ดร.วิเชียร กล่าวด้วยว่า ผลจากโลกร้อนขึ้นในปัจจุบันแม้เพียง 0.8 องศาเซลเซียส ก็ส่งผลกระทบต่อมวลมนุษย์ โดยมีสัญญาณเตือนให้เห็นทั่วโลก เช่น ในอดีตที่ผ่านมาความร้อนทำให้ชาวยุโรปเสียชีวิตกว่า 3 หมื่นคน อินเดียกว่า 1,500 น ปากีสถานมีอุณหภูมิสูงจนทำลายสถิติที่ 52 องศาเซลเซียส ทั่วโลกมีฝนตกมากขึ้น น้ำท่วมรุนแรง มีพายุต่าง ๆ ทั้งเฮอริเคน ไซโคลน ไต้ฝุ่น เช่น เฮอร์ริเคนแคทรินา ที่สหรัฐฯ ไต้ฝุ่นที่จีน และล่าสุดคือไซโคลนนาร์กีสที่พม่า รวมถึงไฟป่าที่มีจำนวนบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้นในสหรัฐฯและออสเตรเลีย ธารน้ำแข็งขั้วโลกเหนือและใต้ รวมทั้งภูเขาน้ำแข็ง ละลายเร็วขึ้น ทำให้เมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ทะเลมีโอกาสจมน้ำ ซึ่งรวมถึงกรุงเทพฯ ที่ติดอันดับ 6 ดังนั้นคาดการณ์ว่าประมาณ 25-35 ปีน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ จากที่ผลวิจัยชี้ว่า 48 ปีกรุงเทพฯจะจมน้ำ ดังนั้นไม่ควรซื้อบ้านริมชายหาดอย่างเด็ดขาด ดังนั้นไม่แน่ใจว่าในอีก 3-4 ปีข้างหน้าไทยอาจจะเจอพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงก็เป็นได้
 
ดร.วิเชียร กล่าวอีกว่า ผลจากโลกร้อนทำให้แหล่งน้ำจืดเหือดแห้งเหลือแต่พื้นทราบ อาจจะเกิดการอพยพผู้คนอย่างมหาศาล และการต่อสู้ช่วงชิงน้ำจืด น้ำทะเลมีสภาพเป็นกรดมากขึ้น ทำให้ปะการังฟอกขาว และอาจตายได้ในที่สุด ปลาและสัตว์น้ำอื่นจะสูญพันธุ์และลดปริมาณลง นอกจากนี้ภาวะโลกร้อนยังมีผลต่อการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ เช่น ยุงลายที่เป็นพาหะนำไวรัสไข้เลือดออก ปกติจะอาศัยอยู่ในความสูงไม่เกิน 3,300 ฟุต แต่ปัจจุบันพบที่ความสูง 7,200 ฟุตบนยอดเขาแอนดีส ในประเทศโคลัมเบีย และพบเชื้อมาเลเรยนที่ไม่เคยพบมาก่อนในบริเวณพื้นที่สูงของอินโดนีเซีย
 
“ผมเห็นว่ารัฐบาลควรหันมาให้ความสนใจเรื่องภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง โดยควรเตรียมพร้อมรับมือกับน้ำท่วมกรุงเทพฯ ที่เป็นเหมือนแอ่ง เพราะหากเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ รถไฟฟ้าใต้ดินจะได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรก” ดร.วิเชียร กล่าว



จาก              :             เดลินิวส์   วันที่ 21 พฤษภาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #22 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2008, 11:18:25 PM »


ผลวิจัยชี้ กทม.อีก 48 ปี จมบาดาล

 เหมือน'เวนิส'อิตาลีจี้หามาตรการรับมือเป็น'วาระแห่งชาติ'
ลุ้น 48 ปีข้างหน้ากรุงเทพฯ จมบาดาล เป็นเหมือน "เวนิส" อิตาลีกินพื้นที่จากชายฝั่งลึกเข้าไป27กม. น้ำท่วมสูง 1-1.5 เมตร วัฒนา-สวนหลวง-ลาดกระบัง ไม่รอด จี้เร่งดำเนินการป้องกัน ดันเป็นวาระแห่งชาติ ทุ่มงบ “หมื่นล้าน” ป้องกัน ด้าน กทม.ชี้อย่าตื่นตระหนก ยันเขื่อนริมน้ำป้องกันได้ อีก 2 ปี เสร็จสมบูรณ์
 
ผลวิจัยชี้อีก 48 ปีข้างหน้ากรุงเทพฯ จมบาดาล กทม.เตรียมพร้อมรับมือสร้างเขื่อนป้องกัน เมื่อวันที่ 20 พ.ค. รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหา วิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ทาง ธนาคารโลก (World Bank) ได้มอบให้ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ และบริษัท ปัญญาคอนซัลแตนท์ ร่วมกันทำงานวิจัยเรื่องน้ำท่วมกทม. ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากผลงานวิจัยขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ที่ระบุว่าจะเกิดน้ำท่วมใน 10 เมือง คือ กรุงเทพมหานครของประเทศไทย เมืองกัลกัตตาและ มุมไบ ของอินเดีย ย่างกุ้ง ของพม่า ดักการ์ ของบังกลาเทศ กวางตุ้งและเซี่ยงไฮ้ ของจีน เมืองไฮฟองและโฮจิมินห์ของเวียดนาม และเมืองไมอามีของประเทศสหรัฐอเมริกา โดย กทม.มีความเสี่ยงในลำดับที่ 6 จาก 10 เมือง จากผลวิจัยดังกล่าวธนาคารโลก เกรงว่าเหตุการณ์นี้จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ จึงว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญในประเทศนั้น ๆ ทำวิจัยถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแต่ละประเทศ
 
รศ.ดร.เสรี กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย ทางธนาคารโลกได้เริ่มให้ดำเนินการวิจัยมาตั้งแต่เดือน เม.ย. แต่ก่อนหน้านั้น ทางศูนย์ได้ทำวิจัยเรื่องเดียวกันก่อนหน้ามาแล้ว 3 ปี โดยใช้ข้อมูลจากคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งผลงานวิจัยในเบื้องต้นพบว่า หากประเทศไทยไม่วางระบบป้อง กันให้ดี ปล่อยให้เหตุการณ์ผ่านไปโดยปกติ จะทำให้ในอีก 48 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะถูกน้ำท่วมจากแนวชายฝั่งในปัจจุบันลึกเข้าไป 27 กม. ถึงเขตวัฒนา สวนหลวง และลาดกระบัง ของ กทม. โดยระดับความสูงของน้ำที่ท่วมจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ อาทิ จ.สมุทรปราการ จะท่วมสูงประมาณ 1-1.5 เมตร จากนั้นระดับความสูงก็จะลดหลั่นลงมา เมื่อถึงเขตสวนหลวง ระดับน้ำจะสูงประมาณ 60 ซม. ซึ่งระดับน้ำที่ท่วมจะไม่ใช่การท่วมถาวร แต่ระดับน้ำจะขึ้นลงตามระดับการหนุนของน้ำทะเล โดยอาจจะท่วม 6 ชม. แล้วลดลง จากนั้นอีก 6 ชม.ขึ้นท่วมใหม่
 
รศ.ดร.เสรี กล่าวต่อว่า การเกิดน้ำท่วมลักษณะนี้ จะทำให้กรุงเทพฯ เป็นเหมือนเมืองเวนิส ของประเทศอิตาลี ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคน เช่น เมื่อตื่นเช้ามาน้ำท่วมไม่สามารถไปทำงานได้ ทำให้เวลาการทำงานอาจเปลี่ยนแปลงไป ยังไม่นับรวมผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่จะตามมาอีกมากมาย เนื่องจากใน พื้นที่ จ.สมุทรปราการเป็นเมืองเศรษฐกิจ มีโรงงานตั้งอยู่จำนวนมาก “ผลจากการวิจัยในอีก 48 ปี ข้างหน้าน้ำจะท่วมอย่างแน่นอนหากเราไม่คิดหาวิธีป้องกันตั้งแต่ตอนนี้ จึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาด้วยการตั้งเป็นวาระแห่งชาติทำงานอย่างบูรณา การ ไม่เช่นนั้นแล้วจะส่งผลกระทบในวงกว้าง”
 
สำหรับแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหานั้น รศ.ดร.เสรี กล่าวว่า ในพื้นที่ใดที่เป็นป่าชายเลนจะต้องสงวนไว้ 300 เมตร จากชายฝั่ง เพราะจะเป็นแนวป้องกันตามธรรมชาติที่ดีที่สุด จากนั้นก็ต้องสร้างแนวกันชนเป็นคันดิน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนุนขึ้น หรือสร้างเป็นแนวป้องกันถาวรทำจากคอนกรีตอย่างที่ญี่ปุ่นใช้ ซึ่งทั้งหมดจะต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยจะต้องมีการศึกษาวิจัยว่าใช้วิธีไหนจะมีความคุ้มค่ากว่ากันระหว่างทำแนวกันชนเพื่อป้องกัน หรือทำการย้ายเมืองไปเลย เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่เศรษฐกิจ และเมืองหลวง ซึ่งผลวิจัยนี้คิดในพื้นฐานที่ไม่มีพายุพัดเข้ามาในประเทศเลย แต่หากมีพายุที่รุนแรงอย่างนาร์กีสพัดเข้ามาในพื้นที่อ่าวไทย ทำลายพื้นที่แนวชายฝั่งระยะเวลาที่น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ ก็ร่นระยะเวลาเร็วขึ้นไม่ถึง 48 ปี อย่างไรก็ตาม ผลเสียหายในด้านเศรษฐกิจที่จะตามมานั้น กำลังอยู่ในช่วงศึกษาวิจัยจะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 7 เดือน จะทราบผลวิจัยทั้งหมด
 
ด้านนายสมศักดิ์ กลั่นพจน์ ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงเรื่องเดียวกันนี้ว่า ไม่อยากให้ ประชาชนตื่นตระหนก เพราะจากการติดตามความเห็นในเรื่องปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ จากหน่วยงานหรือบุคคลต่าง ๆ ที่ผ่านมา ต่างมีความคิดเห็นที่หลากหลาย และยังไม่สามารถชี้ชัดว่าความเห็นของ ใครจะใกล้เคียงความจริงมากที่สุด แต่โดยส่วนตัวเห็นว่า หากมีปริมาณน้ำฝนตกในกรุงเทพฯ ทั่วทุกพื้นที่ถึง 200 มิลลิเมตร ในช่วงที่มีปัญหาน้ำเหนือและน้ำทะเลหนุนพร้อมกันทั้ง 3 น้ำ กรุงเทพฯ ก็จมน้ำได้ทันทีโดยไม่ต้องรออีกหลายปี แต่โอกาสดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นพร้อมกันได้ มีแค่ 0.1% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม กทม.ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้เตรียมความพร้อมด้วยการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำทะเลหนุนและน้ำทะเลไหลบ่า โดยก่อสร้างเขื่อนที่ระดับ 2.50 เมตร ระยะทาง 77 กม.ขณะนี้สร้างเสร็จแล้ว 68 กม. เหลืออีก 9 กม. เช่น บริเวณถนนทรงวาส ถนนสัมพันธวงศ์ และในพื้นที่เขตทวีวัฒนา ขณะนี้เคลียร์ปัญหาเรื่องบ้านรุกน้ำพื้นที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าในอีก 2 ปี จะก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์.
 


จาก              :             เดลินิวส์   วันที่ 21 พฤษภาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #23 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2008, 12:39:30 AM »


หุๆ...สองสำนัก....สองการพยากรณ์  กรุงเทพฯ จะจมน้ำห่างกัน 10 ปี อย่างนี้จะเชื่อใครดีเล่าคะ....

ไม่อยากให้กรุงเทพฯจมน้ำเลยล่ะค่ะ ขอให้มีคนดี...คิดดี...ทำดี หาทางป้องกันไม่ให้กรุงเทพฯ จมน้ำได้สำเร็จดีกว่า....
บันทึกการเข้า

Saaychol
kungkings
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 791



« ตอบ #24 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2008, 02:11:31 AM »

บ้านนู๋อยู่ปทุมจะโดนหางเลขด้วยอะป่าวววววว คะ ... แต่ขอให้ความคิดของพี่สายชลเป็นจริงดีกว่า ... 
บันทึกการเข้า

ทำวันนี้ และวันหน้าให้ดีที่สุด...
topping
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 566


งืม ๆๆ


« ตอบ #25 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2008, 02:24:10 PM »

แถว ๆ สมุทรปราการ บ้านขุนสมุทรจีน โดนผลของโลกร้อนชายฝั่งกัดเซาะเข้าไปหลายกิโลเมตรแล้ว
สามปี ต้องย้ายบ้านที เพราะน้ำท่วม เค้าทำนายกันว่า จะอยู่ให้ปลอดภัย ต้องอยู่โคราชเลยง่ะ
บันทึกการเข้า

สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #26 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2008, 03:02:07 PM »

ถ้าอย่างงั้นที่ดินที่สองสายซื้อไว้แถวๆเชิงเขาใหญ่เมื่อกว่าสิบปีมาแล้วก็คงจะกลายเป็นที่ดินติดชายทะเล หรือไม่ก็เป็นเกาะกลางทะเล....

ไปอยู่ด้วยกันไหมคะ....




บันทึกการเข้า

Saaychol
WayfarinG
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2388



« ตอบ #27 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2008, 01:27:43 AM »


ขอให้มีคนดี...คิดดี...ทำดี หาทางป้องกันไม่ให้กรุงเทพฯ จมน้ำได้สำเร็จดีกว่า....



อันนี้ยากซะยิ่งกว่า.. งมเข็มในมหาสมุทรอีกอะจ๊ะ.. 
บันทึกการเข้า

If you reject the food, ignore the customs, fear the religion and avoid the people, you might better stay home.  -- > James Michener
kungkings
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 791



« ตอบ #28 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2008, 02:01:05 AM »

ถ้าอย่างงั้นที่ดินที่สองสายซื้อไว้แถวๆเชิงเขาใหญ่เมื่อกว่าสิบปีมาแล้วก็คงจะกลายเป็นที่ดินติดชายทะเล หรือไม่ก็เป็นเกาะกลางทะเล....

ไปอยู่ด้วยกันไหมคะ....

น่าสนใจมั่กๆ เลยคะ มีบ้านพักชายทะเล หรือไม่ก็มีเกาะส่วนตัว ...ว๊าว ๆ แต่นู๋ว่าอย่าดีกว่านะคะ... อิอิ 




บันทึกการเข้า

ทำวันนี้ และวันหน้าให้ดีที่สุด...
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #29 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2008, 12:47:30 AM »


"ส.ค.-ต.ค."พายุใหญ่ถล่มไทย สมิทธฟันธงกทม.จมใต้บาดาล

"สมิทธ" ฟันธง "ส.ค.-ต.ค." พายุใหญ่ถล่มประเทศไทย ทำให้ กทม.จมบาดาล ระบบประปาพินาศ คนเมืองหลวงไม่มีน้ำใช้ จี้หน่วยงานรัฐเร่งหามาตรการรับมือโดยด่วน ขณะที่อดีตนายกสภาวิศวกรรมสถานฯ หวั่น "วัดพระแก้ว" เสียหายหากเกิดน้ำท่วมพระบรมมหาราชวัง


การออกมาแจ้งเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติครั้งใหญ่ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครของ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ครั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ในการเสวนาเรื่อง "แผนรับมือวิบัติภัยในมหานครกรุงเทพ" ซึ่งจัดโดยสถาบันพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร การเสวนาครั้งนี้มีนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสภาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมเสวนา

 ดร.สมิทธกล่าวว่า จากการศึกษาและติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติมาโดยตลอด พบว่าภัยพิบัติที่จะกระทบ กทม.และปริมณฑล มีอยู่ 2 ประเภท คือ ภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหว และภัยที่เกิดจากน้ำท่วมขัง ซึ่งเกิดจากสภาวะโลกร้อน โดยภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหวเป็นภัยที่รุนแรงและมีผลกระทบต่อมนุษย์จำนวนมาก ทั้งนี้ ประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ 13 รอย และจากการศึกษาพบว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิ รอยเลื่อนทั้งหมดเกิดรอยร้าวเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน ซึ่งการเกิดรอยร้าวดังกล่าวทำให้อาคารที่โครงสร้างไม่แข็งแรงใน จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่ มีโอกาสถล่มลงมาได้

 ดร.สมิทธกล่าวต่อว่า ในพื้นที่ กทม.อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากรอยเลื่อน 2 รอย คือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ จ.กาญจนบุรี หากเกิดแผ่นดินไหวซ้ำขึ้นมาอีก เชื่อว่าจะส่งผลให้เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์แตก และทำให้น้ำปริมาณกว่า 17 ล้านลูกบาศก์เมตร ไหลทะลักเข้าสู่ จ.ราชบุรี จ.นครปฐม และ กทม.

 "กรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนดินเลน เมื่อได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวแล้ว ระยะสั่นสะเทือนจะขยายตัว 2-3 ริกเตอร์ ทำให้อาคารที่สูงไม่เกิน 6 ชั้น อาจแตกร้าวและพังทลายลงมา ส่วนอาคารสูงไม่น่าเป็นห่วง เพราะวิศวกรได้ออกแบบอาคารไว้รองรับอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีความพร้อมในการรับมือกับแผ่นดินไหว โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติ หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงอาจทำให้เกิดความเสียหายมาก" ดร.สมิทธกล่าว

 ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติกล่าวว่า ภัยที่เกิดจากน้ำท่วมขัง เนื่องจากสภาวะโลกร้อนขึ้นนั้น จากสถิติไม่เคยปรากฏมาก่อนว่าพายุที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียจะมีแรงลมสูงมากถึงขนาดเป็นไซโคลน แต่ตอนนี้เกิดขึ้นแล้วคือพายุไซโคลนนาร์กีส ซึ่งมีความเร็วลมสูงถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเมื่อขึ้นฝั่งในลุ่มน้ำอิระวดีในพม่า แรงลมสูงสุดถึง 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความรุนแรงถึงระดับ 4

 "ผมขอทำนายว่าในเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคมนี้ จะมีพายุขนาดใหญ่พัดถล่มประเทศไทย ทางด้านอ่าวไทย ไล่ตั้งแต่ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.เพชรบุรี เข้ามา ซึ่งอาจทำให้เกิดปรากฏการณ์สตรอม เสิร์ช (Strom Search) หรือน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะทำให้น้ำทะเลไหลเข้ามาถึงบริเวณปากอ่าวเจ้าพระยา และเข้าท่วมพื้นที่ กทม. โดยกว่าจะไหลย้อนกลับสู่ทะเลต้องใช้เวลานานกว่า 2-3 สัปดาห์ และหากท่วมเหนือคลองประปา จะทำให้ประชาชนไม่มีน้ำในการอุปโภคบริโภค" ดร.สมิทธกล่าว

 ด้านนายต่อตระกูลกล่าวว่า มีความเป็นห่วงว่าหากเกิดน้ำท่วมใหญ่ขึ้นจริงจะทำให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญหลายแห่งเสียหายโดยเฉพาะวัดพระแก้ว ซึ่งก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ไม่ได้มีการฝังเสาลงดิน หากเกิดน้ำท่วมในพื้นที่พระบรมมหาราชวังก็จะทำให้เสื่อมความแข็งแรงลงอย่างรวดเร็ว

หลังการเสวนา "คม ชัด ลึก" ได้สอบถามไปยัง ดร.วัฒนา กันบัว ผู้อำนวยการฝ่ายอุตุนิยมวิทยาทะเล กรมอุตุนิยมวิทยา เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดพายุใหญ่พัดถล่มประเทศไทยตามที่ ดร.สมิทธกล่าวในการเสวนา ดร.วัฒนาระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่ช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม อาจจะเกิดพายุใหญ่ถล่มประเทศไทย เพราะช่วงดังกล่าวเป็นช่วงฤดูฝน อยู่ระหว่างช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าประเทศไทย จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าช่วงดังกล่าวมีพายุพัดถล่มประเทศไทยมาแล้วหลายครั้ง อย่างเช่น พายุไต้ฝุ่นเกย์ พายุไต้ฝุ่นลินดา ที่สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อนก็เกิดขึ้นในช่วงนี้

 ดร.วัฒนากล่าวต่อว่า สภาวะโลกร้อนอาจส่งผลให้ความรุนแรงของพายุเพิ่มมากขึ้นจากเดิมถึง 2 เท่า หากพายุพัดเข้าสู่พื้นที่ที่เป็นเมืองก็อาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะหากพายุเคลื่อนเข้าประเทศไทยทางฝั่งภาคตะวันออกจะทำให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ กทม.โดยตรง ซึ่งมีความเป็นห่วงว่า หากมีพายุพัดเข้าบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาจะสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่ กทม. เนื่องจากขณะนี้แม้จะมีการสร้างเขื่อนกั้นริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาในหลายจุด แต่การสร้างเขื่อนที่ผ่านมาทำเพื่อรองรับปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากน้ำเหนือไหลหลาก ไม่ได้มีไว้รองรับพายุที่พัดเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้บริเวณปากแม่น้ำยังไม่มีการก่อสร้างเขื่อน หากเกิดพายุพัดกระหน่ำจริง เขื่อนที่มีอยู่ก็ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมได้

 ดร.วัฒนากล่าวด้วยว่า มีความเป็นห่วงว่าหากช่วงเวลาที่เกิดพายุตรงกับช่วงที่ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดจะยิ่งทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวอาจทำให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์พัดกระหน่ำบริเวณชายฝั่ง หากอาคารบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งไม่แข็งแรงก็จะสร้างความเสียหายร้ายแรงทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ขณะนี้กรมอุตุนิยมวิทยามีการติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้า ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมความพร้อมไว้ด้วย โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอพยพผู้ประสบภัย เพราะขณะเกิดเหตุภัยพิบัติหากมีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ประสบภัยได้รวดเร็ว ความเสียหายต่อชีวิตของประชาชนก็จะลดน้อยลง




จาก                           :                              คม ชัด ลึก   วันที่ 5 มิถุนายน 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: 1 [2] 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.03 วินาที กับ 20 คำสั่ง