กระดานข่าว Save Our Sea.net
เมษายน 24, 2024, 08:37:29 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ‘ฉลาม’ นักล่าแห่งท้องทะเล  (อ่าน 4807 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2007, 12:18:28 AM »


‘ฉลาม’ นักล่าแห่งท้องทะเล
 

 
  หากสิงโตคือเจ้าแห่งป่านักล่า ใต้ผืนน้ำสีครามเจ้าแห่งท้องทะเลคงหนีไม่พ้นนักล่าที่แม้แต่คนเองยังหวาดกลัวและไม่นึกอยากจะพบเจออย่างฉลาม แต่ใช่ว่าในบรรดาฉลามที่มีอยู่กว่า 350 ชนิดนั้น จะเป็นสัตว์นักล่าไปทั้งหมด เพราะจะว่าไปมีฉลามเพียงแค่หยิบมือเดียวที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
 
ในจำนวนน้อยนิดที่ว่านั้นมีทั้งฉลามขาว ฉลามเสือ ฉลามหัวบาตร และฉลามหัวค้อนใหญ่ด้วย และรูปแบบการทำประมงเกินขนาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ก็กำลังทำให้มนุษย์เป็นอันตรายต่อฉลามมากกว่าที่ฉลามจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์
 
การล่าฉลามยังคงเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งที่มันเป็นสัตว์นักล่าที่ผู้คนทั่วไปหวาดกลัว ขณะที่นักอนุรักษ์เห็นว่าฉลามเป็น ๆ ทั้งตัวนั้นมีค่ามากกว่าอวัยวะต่าง ๆ ของมัน เพราะมันคือตัวจักรสำคัญของระบบนิเวศวิทยาใต้ท้องทะเลที่คอยควบคุมการแพร่พันธุ์ของสัตว์น้ำ อื่น ๆ ที่เป็นเหยื่อ และฉลามหลายชนิดทั่วโลกก็กำลังอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์


 
ฉลามส่วนใหญ่มีหัวที่เรียวแหลมเพื่อช่วยในการนำร่อง และนักล่าขนาดใหญ่อย่างฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) ก็เช่นเดียวกัน ปลายจมูกแหลมช่วยให้สามารถแหวกว่ายน้ำได้ดี รวมทั้งช่วยในการสอดส่ายหาสัตว์ที่อาจเป็นเหยื่อและวัตถุต่าง ๆ
 
ขากรรไกรอันทรงพลังกว้างกว่าปกติเพื่อช่วยให้กัดได้อย่างแข็งแรง และยังประกอบด้วยฟันแหลม ๆ ชุดบน 13 แถวซึ่งช่วยให้งับเหยื่อได้แน่น ส่วนชุดล่างรูปสามเหลี่ยม 12 แถวใช้สำหรับตัดและเฉือน
 
ผิวหนังที่ปกคลุมไปด้วยเกล็ดแข็งและแบน รู้จักในนามเดอร์มอล เดนติเคิล ซึ่งแปลว่าฟันเล็ก ๆ บนผิวหนัง เพราะรูปร่างและโครงสร้างที่คล้ายฟัน เกล็ดเหล่านี้เป็นเหมือนเกราะห่อหุ้มฉลามไว้ ขณะที่รูปทรงโค้งเป็นร่องบนผิวหนังช่วยลดแรงเสียดทานของน้ำ และบางครั้งผิวหนังหยาบเหมือนกระดาษทรายนี้ยังทำหน้าที่เป็น อาวุธได้ หากมีเหยื่อบางตัวเข้ามาโดนเข้า


 
เหยื่อของฉลามนั้นมีหลากหลายชนิด ตั้งแต่กุ้งตัวจิ๋วไปจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ กระเพาะอาหารขนาดใหญ่ของฉลามซึ่งห่อหุ้มด้วยกล้ามเนื้อที่มีลักษณะเป็นรอยพับริ้ว ๆ เรียกว่ารูกี (rugae) นั้นจะขยายออกยามที่มีอาหารขนาดใหญ่เข้ามา
 
สัตว์นานาชนิดใต้ท้องทะเลเป็นอาหารอันโอชะของฉลาม แต่ทำไมบางครั้งเราจึงพบว่าพวกมันหันมาหาเหยื่ออย่างมนุษย์ และนั่นเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบว่า เพราะอะไรมันจึงเข้าจู่โจมมนุษย์
 
.....นักดำน้ำหาหอยเป๋าฮื้อคนหนึ่งถูกฉลามขาวกัดที่ศีรษะและแขน
 
หญิงคนหนึ่งว่ายน้ำอยู่ในทะเลลึกใกล้เกาะอีสเตอร์ต้องถูกชักเย่อระหว่างที่ลูกเรือพยายามช่วยชีวิตเธอจากฉลามตัวมหึมาที่งับขาของเธอไว้ในปาก
 
ที่บาฮามาสนักวิทยาศาสตร์ด้านฉลามคนหนึ่งถูกนักล่าหนึ่งโหลล้อมไว้ และเขาถูกกัดที่น่อง
 
ชาวประมงคนหนึ่งถูกกัดแขนข้างหนึ่งขาด แต่เขาจำการจู่โจมครั้งนั้นไม่ได้เลย
 
ผู้หญิงคนหนึ่งที่พักร้อนบนเรือยอชท์ใกล้เกาะห่างไกลในมหาสมุทรแปซิฟิก ถูกฉลามขาวยาว 9 ฟุตลากลงไปใต้น้ำ แต่เธอไล่มันไปได้ด้วยการต่อยจมูกมัน ขณะที่เพื่อน ๆ บนเรือโกลาหลกับการหายตัวไปของเธอ.....
 
ทั้งหมดคือเรื่องราว ของผู้รอดชีวิตจากฉลามที่จะ  มาถ่ายทอดถึงสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ วิธีการไล่ฉลามไม่ได้มีเพียงสัญชาตญาณการเอาตัวรอดเพียงอย่างเดียว
 
ที่บาฮามาส ไมค์ โรว์ พิธีกรจากรายการ Dirty Jobs ร่วมทีมกับบริษัทที่ทุ่มเทเพื่อการผลิตยาไล่ฉลามเพื่อช่วยปกป้องนักว่ายน้ำเมื่อต้องเผชิญหน้ากับมัน แต่ใครจะคิดว่าฉลามเน่าคือส่วนผสมในการผลิตยาที่ว่า ฉลามเน่าที่ได้มาจะถูกหั่นเป็นชิ้นส่วน ก่อนที่นักเคมีจะเปลี่ยนมันให้กลายเป็น สารเคมีที่ฉลามเกลียด


 
นอกจากสารเคมีที่น่าทึ่งแล้ว ปริศนาอันลึกลับของชนเผ่าอันห่างไกลในเกาะนิวกินี ก็เป็นอีกเรื่องที่น่าทึ่ง คนท้องถิ่นที่นั่นสามารถเรียกฉลามขณะที่นั่งอยู่บนเรือแคนูลำเล็ก ๆ โดยไม่ใช้เหยื่อใด ๆ และที่นั่นคนสามารถอยู่ร่วมกันกับฉลามได้อย่างลงตัว
 
แต่สำหรับลูกเรือยูเอสเอส อินเดียนาโปลิส ที่จมลงโดยตอร์ปิโดของญี่ปุ่นในทะเลฟิลิปปินส์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันที่ 30 กรกฎาคม 1945 ลูกเรือ 800 คน ทั้งบาดเจ็บและถูกไฟลวกต้องตกลงไปในน้ำและลอยอยู่ในทะเลอย่างสิ้นหวังกว่า 4 วัน พวกเขาไม่เพียงต้องต่อสู้กับความหิวกระหายน้ำจนแทบบ้า แต่ยังต้องอยู่ท่ามกลางวงล้อมของฉลามนับร้อยด้วย
 
ติดตามการกลับมาอีกครั้งของ SHARK WEEK สารคดีที่ร่วมฉลองครบ 10 ปีสัปดาห์ของฉลามในเอเชียตั้งแต่ 26 พ.ย.-2 ธ.ค. เวลา 20.00 น. ทางทรูวิชั่นส์ 47.
 


จาก                  :                 เดลินิวส์  วันที่ 26 พฤศจิกายน 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
mars
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 26


My Life for Freedom.


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 03, 2007, 05:24:27 PM »

ภาพสุดท้ายนี่สิ ใหญ่กว่าเรืออีก
บันทึกการเข้า
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 01, 2008, 12:10:57 AM »


หายนะฉลามนักล่าแห่งท้องทะเล "อินเดีย"ล่าทำน้ำมันปีละ 500 ตัว 
   
ดร.อนุวัฒน์ นทีวัฒนา ผู้อำนวยการสำนักความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นตัวแทนประเทศไทยไปประชุมเรื่อง เงื่อนไขความร่วมมือ เรื่องปลาฉลามที่อพยพระหว่างประเทศที่สาธารณรัฐซีเชล ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการประชุมเรื่องปลาฉลามกัน มีประเทศที่ร่วมลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการดูแลสัตว์อพยพย้ายถิ่นไกลมากันครบทุกประเทศ สำหรับประเทศไทย แม้ยังไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาดังกล่าว แต่ถือเป็นประเทศที่เป็นเส้นทางอพยพของสัตว์ทะเลหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับฉลาม และสัตว์ทะเลที่สำคัญอื่นๆ เช่น เต่าทะเล ซึ่งที่ประชุมให้ความสำคัญกับเสียงของประเทศไทยเทียบเท่าประเทศที่ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการดูแลสัตว์อพยพย้ายถิ่นไกล

ดร.อนุวัฒน์กล่าวว่า ที่ประชุมได้ร่วมกันอภิปรายข้อมูลของปลาฉลามในประเทศของตัวเอง และได้ช่วยกันสรุปออกมาว่า ท้องทะเลทั่วโลกนั้นมีปลาฉลามอยู่ประมาณ 140 สปีชีส์ ที่มีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ หรือเคลื่อนย้ายไปมา และมักจะถูกมนุษย์จับเพื่อตัดครีบไปทำหูฉลามขายตามภัตตาคาร หรือร้านอาหารต่างๆ ทั้งนี้ ฉลามอพยพส่วนใหญ่มักจะมีขนาดใหญ่ โตช้า และให้ลูกน้อย จึงเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างสูง

"ตอนหนึ่งที่ประชุมกันเป็นที่ฮือฮากันมาก ตัวแทนจากประเทศอินเดียให้ข้อมูลว่า เมื่อไม่นานมานี้ที่รัฐคุชราต ฆ่าปลาฉลามเพื่อเอาเนื้อและน้ำมันส่งไปขายยังประเทศไต้หวันปีละกว่า 500 ตัว ทุกคนในที่ประชุมตกใจกันมาก เพราะไม่เคยมีใครทราบเรื่องนี้มาก่อน อย่างไรก็ตาม ตัวแทนจากอินเดียคนนั้นก็บอกว่า เหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่มีอีกต่อไป เพราะวันนี้ประเทศอินเดียประกาศกฎหมายฉบับใหม่ห้ามจับปลามฉลามเด็ดขาด พร้อมกับทำโครงการเทพธิดากลับถิ่น เพื่อเพิ่มปริมาณปลาฉลามในน่านน้ำอินอินให้มากขึ้นด้วย" ดร.อนุวัฒน์กล่าว

ดร.อนุวัฒน์กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยนั้น พบว่าในน่านน้ำมีปลาฉลามที่อพยพย้ายถิ่นเพียงชนิดเดียวคือ ฉลามวาฬ ซึ่งมีสถานภาพตามกฎหมายระหว่างประเทศคือ เป็นสัตว์ในบัญชีไซเตส หรืออนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์อยู่แล้ว

ด้าน ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีปลาฉลามและปลากระเบนอยู่ประมาณ 56 ชนิด เป็นฉลามที่มีประวัติการจู่โจมมนุษย์ประมาณ 7-8 ชนิด แต่ภาพรวมฉลามในประเทศไทยนั้นอยู่ในสภาพที่ใกล้สูญพันธุ์ทุกชนิด

"เรายังไม่มีกฎหมายสำหรับการอนุรักษ์ฉลามโดยเฉพาะเลย ทุกวันนี้มีเพียงฉลามวาฬที่อยู่ในบัญชีไซเตส และเป็นสัตว์ห้ามล่าในกฎหมายประมงเท่านั้น ที่ผ่านมา ฉลามที่นักดำน้ำเคยพบบ่อยที่สุดอย่างฉลามหูดำ และฉลามครีบเงิน ก็ไม่ค่อยได้พบแล้ว จึงถือว่า ฉลามเป็นสัตว์ที่มีโอกาสสูญพันธุ์มากอีกชนิดหนึ่ง" ดร.ธรณ์กล่าว



จาก                  :                 มติชน วันที่ 30 ธันวาคม 2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 22 คำสั่ง