กระดานข่าว Save Our Sea.net
มิถุนายน 16, 2024, 04:49:09 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สุดสายปลายรุ้ง.....ทะเลอันดามันแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ  (อ่าน 28450 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #15 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2008, 11:03:32 AM »



การประชุมที่จะมีขึ้นในเดือนหน้านี้ จะเป็นขั้นตอนการร่วมกันศึกษารวบรวม พร้อมวิเคราะห์ข้อมูลของพื้นที่แหล่งอนุรัษ์อันดามัน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์มารตรฐานของมรดกโลกตามที่กำนดเกณฑ์ไว้

จากนั้นจะมีการจัดทำเอกสารประกอบต่างๆ จัดทำแผนการจัดการพื้นที่เป้าหมาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการพื้นที่ฯ และกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาพื้นที่เพื่อประโยชน์ที่หลากหลาย รวมทั้งเพื่อการศึกษา วิจัย และติดตามผล ฯลฯ


บันทึกการเข้า

Saaychol
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #16 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2008, 11:40:43 AM »




การทำงานครั้งนี้นอกจากเป็นงานที่หนัก ต้องใช้ทั้งเวลา....แรงกาย...และแรงทรัพย์มากมายแล้ว  ทีมงานต้องมีแรงใจ...ความตั้งใจจริง....ความมานะอดทน...และอดกลั้น ที่จะฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย เพื่อให้ถึงจุดหมาย คือ ทำให้แหล่งธรรมชาติทะเลอันดามันเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

สองสายเชื่อว่า.....ทีมงานจะไม่ต้องทำงานอย่างโดดเดี่ยว....เพราะนอกจากจะมีผู้คนอีกมากมายพร้อมจะร่วมเสียสละแรงกายช่วยเหลือทีมงานเท่าที่จะทำได้แล้ว เรายังเชื่ออีกว่ายังมีผู้คนอีกมากมายที่พร้อมจะส่งแรงใจให้ทีมงานให้สำเร็จได้สมดังประสงค์ เปรียบดั่งการเดินทางไปจนถึงสุดสายปลายรุ้งตามที่ฝันไว้.....

นั่นคือ.....แหล่งธรรมชาติในทะเลอันดามันจะได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกธรรมชาติทางทะเลแห่งแรกของไทยให้เราได้ภาคภูมิใจไม่น้อยหน้าชาติอื่น.....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 03, 2008, 06:14:05 AM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #17 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2008, 11:58:04 AM »

แหล่งข้อมูล....

http://worldheritage.pantown.com

http://en.wikipedia.org/

http://www.lonelyplanet.com

http://www.sc.psu.ac.th/units/cbipt/index.html

ขอขอบคุณไว้ ณ. ที่นี้ค่ะ
บันทึกการเข้า

Saaychol
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #18 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2008, 12:10:18 PM »

บทความจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ (วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม 2551)  เกี่ยวกับเรื่องนี้ค่ะ

สู่ฝันอันดามันเป็นมรดกโลก                                      

โดย ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์


 
คงต้องยอมรับว่า พ.ศ.2551 ของคนไทย เริ่มต้นด้วยความไม่สดใส อารมณ์รื่นเริงของพวกเราหายไป นับตั้งแต่ทราบข่าวการเสด็จสู่สวรรคาลัยของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ

ความเศร้ายังถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาเศรษฐกิจ สินค้าที่อั้นมานาน พากันขึ้นราคา สวนทางกับตลาดหุ้นที่ซบเซา ยิ่งมองไปข้างหน้า ยิ่งแทบไม่เห็นอนาคต ทั้งด้านการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม ต่อเนื่องถึงปัญหาจากภาวะโลกร้อน

ผมจึงตั้งใจ ครั้งนี้จะไม่เพิ่มทุกข์ เราจะเขียนบทความมีสุข มองไปสู่อนาคตข้างหน้า อีกไม่ไกล อาจเกิดเรื่องใหญ่ๆ ดีๆ กับประเทศชาติ

เรื่องที่ผมจะกล่าวถึงนั้น มิใช่โครงการเพ้อฝันพันล้าน หรือการมองโลกในแง่ดีเกินเหตุ แต่เป็นเรื่องที่เริ่มต้นแล้ว กำลังดำเนินการ และจะมีผลสรุปออกมา ไม่น่าเกิน พ.ศ.หน้า เป็นเรื่องดีที่ทุกฝ่ายต่างได้ประโยชน์ ทั้งเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ต่อเนื่องถึงการอนุรักษ์ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการศึกษาวิจัยและห้องเรียนกลางแจ้งสำหรับเด็กน้อย

เพราะอีกไม่นาน คนไทยอาจได้เฮ เมื่อประเทศไทยอาจมีเขตมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 3 ของบ้านเรา (แห่งแรกคือห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร แห่งที่สองคือเขาใหญ่ ทับลาน และปางสีดา) และเป็นแห่งแรก...ทางทะเล

เท่าที่ผมจำได้ เราเคยมีความพยายามจะเสนอชื่อเขตอนุรักษ์ในทะเลไทย ให้กลายเป็นเขตมรดกโลก นับย้อนไปเมื่อเกือบสิบปีก่อน ผมเคยช่วยรวบรวมรายชื่อสัตว์ทะเลในหมู่เกาะสุรินทร์-สิมิลัน ต่อเนื่องถึงการพาผู้เชี่ยวชาญจากออสเตรเลีย ไปเยี่ยมชมทั้งสองเกาะ ตามด้วยการเขียนรายงาน เพื่อนำเสนอองค์กรระหว่างประเทศ

ทั้งหมดที่ผ่านมา เป็นเพียงการตีกอล์ฟสู่ห้วงนภา เล็งดวงจันทร์ แต่ไปไม่ถึงแม้ก้อนเมฆ ลูกกอล์ฟตกมาก่อน ด้วยแรงตีช่างน้อยเหลือ

แต่ครั้งนี้...ไม่ ! ครั้งนี้ ผมมั่นใจ ด้วยเราเคยตีแล้ว เราจึงทราบ ต้องใช้แรงแค่ไหน

คำตอบคือต้องใช้สุดแรง !

การใช้สุดแรงเริ่มต้น เมื่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตัดสินใจทำ "โครงการศึกษาจัดทำเอกสารพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ"

ผมเคยไม่เห็นด้วยกับหลายสิ่งที่เกิดขึ้นในอุทยานฯ ผมเคยเห็นด้วยกับอีกหลายสิ่ง แต่ไม่มีครั้งไหน ขอย้ำ ไม่มีครั้งไหน ผมเห็นด้วย "สุดใจ" เช่นครั้งนี้

เพราะสิ่งที่กรมอุทยานฯ กำลังทำ คือสิ่งที่ผมและอีกหลายต่อหลายคน อยากให้ทำมากๆ อยากให้ทำมาก่อนหน้านี้นานๆ ด้วยเราทราบดี ทั้งบนบกและใต้ผืนน้ำของอันดามัน ไม่เป็นสองรองใครในโลก

ไม่สิ เป็นหนึ่ง ต้องเป็นหนึ่งเท่านั้น ดีสุดเท่าที่ทะเลพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้จะดีได้ แม้อีกหลายทะเลทั่วโลก หลากหลายกว่าอันดามัน ยิ่งใหญ่กว่าอันดามัน แต่ถ้าวัดตัวต่อตัว พื้นที่ต่อพื้นที่ ในขนาดเท่ากัน

อันดามันแพ้ทะเลใด  คำตอบคือไม่...ไม่มี

ไม่มีเพราะจำนวนชนิดของปะการังในหมู่เกาะตะรุเตาเพียงแห่งเดียว มีมากกว่าทะเลแคริเบี้ยนทั้งทะเล เพราะหาดเล็กปลายแหลมพันวา ห่างจากรีสอร์ทยักษ์ไม่เกินสองร้อยก้าว มีปลาพันธุ์ใหม่ที่มนุษย์ไม่รู้จัก เพราะหอยสวยสุดและหายากสุดชนิดหนึ่งของโลก ชื่อเกริกเกียรติเกรียงไกร หอยเต้าปูนไทย Glory of Thailand (Conus crocatus thailandis)

เพราะนั่น เพราะนี่ เพราะโน่น อีกคำตอบและอีกคำตอบ พันหมื่นคำตอบ จนมาถึงคำตอบสุดท้าย เพราะทะเลแห่งนี้ยิ่งใหญ่จนเราหมดความสามารถในการอธิบาย เธอมหัศจรรย์เกินกว่าการบรรยายด้วยถ้อยคำ

จึงเป็นเรื่องที่ไม่ต้องสงสัย อันดามันดีพอเป็นมรดกโลกหรือไม่ แต่จึงเป็นเรื่องที่ต้องสงสัย คนไทยมีดีพอทำให้เธอได้ในสิ่งที่เธอควรได้ หรือไม่ ?

กรมอุทยานฯ กำลังจะตอบคำถามนี้ ด้วยโครงการชื่อยาวเหยียด ผมจึงตั้งชื่อย่อให้สั้น GO Andaman เราจะพาเธอไปสู่จุดหมาย

การตั้งชื่อโครงการให้ยาวให้เท่ ไม่ได้มีความหมายใดเลย ต่อผลที่จะเกิดขึ้น แต่ผม "เห็นด้วยสุดใจ" เพราะผมทราบเบื้องหลังที่มา ผมทราบว่ากรมอุทยานฯ ทุ่มทุนอย่างจริงจัง ใช้งบประมาณกว่าสิบล้านบาท จ้างหน่วยงานที่ผมเชื่อถือมาตลอด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อดำเนินการนี้

และหน่วยงานที่ผมเชื่อถือมาตลอด ไม่ทำให้ผิดหวัง เมื่อหัวหน้าโครงการ อ.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง ป่าวประกาศเรียกรุ่นพี่รุ่นน้อง จากเกษตรฯ จากจุฬาฯ จากมหิดล จากที่โน่นที่นี่ เข้าไปร่วมโครงการ ด้วยอาจารย์ทราบดี นี่ไม่ใช่งานของสถาบัน นี่เป็นงานของชาติ

เมื่อดูจากรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ ผมบอกคุณเต็มปากเต็มคำ นี่คือดรีมทีม นี่คือการรวมตัวของนักวิชาการผู้มากความสามารถ

จากสถานที่ มาถึงโครงการ มาถึงทีมงานที่เกี่ยวข้อง ทุกอย่างลงตัว ดูเหมือนจะง่าย แต่เป้าหมายคล้ายเมฆา เห็นได้...แต่จับต้องไม่ได้ จึงต้องรวมแรงรวมใจให้สุดปัญญา ทว่า...ยังไม่พอ

และนั่นคือเหตุผล ที่ผมเขียนถึงโครงการนี้ ตั้งแต่เพิ่งเริ่มดำเนินการ ด้วยเชื่อว่าสุดแรงสุดปัญญาของพวกผม ของคนทั้งกรมอุทยานฯ บวกกับอีกหลายแรงแข็งขันจากอีกหลายกรมกอง เรายังจับต้องเมฆไม่ได้

เพราะที่นี่ไม่ใช่แผ่นดิน ไม่ใช่ป่าที่พวกเราคุ้นเคย ที่นี่คือทะเล กาลก่อนอาจง่าย แต่กาลนี้โคตรยาก (ขออภัยที่ใช้ถ้อยคำรุนแรง) โดยเฉพาะทะเลที่มีการใช้งานอย่างดุเดือดเฉกเช่นอันดามัน เมฆนั้นจึงลอยสูงลิ่ว

สูงเกินกำลังของคนเพียงร้อยเพียงพัน แต่ถ้าเป็นล้าน เป็นหลายล้าน เอาให้ตรง 62,828,706 คน (กรมการปกครอง 31 ธันวาคม 2549)

เมฆอาจอยู่ลิบฟ้า แต่หากนำล้านฝันของพวกเรามากองซ้อนกัน พระจันทร์ยังไปถึง

ผมยังไม่บอกหรอก เราช่วยเติมฝันกันอย่างไร อย่างที่บอกไว้ โครงการเพิ่งเริ่ม ยังมีเวลาอีกนานเกือบทั้งปี ที่ผมจะมาบอกคุณ ผู้รักอยากช่วย

แต่ผมบอก ผมมีความสุขเหลือเกินในการเขียนเรื่องนี้ แม้นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่เป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบ

ในการพาเธอไปสู่จุดหมายที่คู่ควร...

หมายเหตุ – ขอบคุณจอม สุดยอดแฟนพันธุ์แท้หอย ผู้กรุณามอบภาพหอย Glory of Thailand มาประกอบบทความ โครงการ จะจัดประชุมในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ สื่อมวลชนผู้สนใจ ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ TalayThon@Hotmail.com

บันทึกการเข้า

Saaychol
สายรุ้ง
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 838


« ตอบ #19 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2008, 07:40:08 AM »

ได้อ่านบทความนี้ใน นสพ.ผู้จัดการเหมือนกัน  เมื่ออ่านแล้วก็เกิดคำถามในใจว่า  ความเป็นไปได้มีมากน้อยเพียงใด  เพราะถ้าเป็นผืนป่าอุทยานอย่างบ้านเราได้มาแล้วนั้น  การพิสูจน์หรือยืนยันของสรรพสิ่งต่างๆนั้น ดุจะง่ายกว่า เพราะ อาจจะด้วยการขึ้น ฮ. สำรวจหรือ การเดิน สำรวจ ทั้งจากนักวิจัยอื่นๆ

แต่ใต้ทะเลนี่ทำกันยังไงหล่ะค่ะ  แต่เห็นด้วยอย่างยิ่งในเรื่องนี้  แล้วก็มีคำถามอีกว่า ถ้าได้มาแล้ว เราจะช่วยกันรักษาไว้ได้อย่างไร เพราะโลกใต้ทะเลไม่เหมือนบนบก ที่เวลาใครทำอะไรมันจะเห็นกันได้ง่ายกว่าใต้ทะเล 

เอาใจช่วยเหล่านักวิชาการทุกท่านนะค่ะ  สู้สู้  (แบบหนังเกาหลีเลย)
บันทึกการเข้า
ลุงแซม
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10


« ตอบ #20 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2008, 08:39:12 AM »

เรื่องอนุรักษ์ทะเลและสิ่งแวดล้อมทางทะเลเป็นเรื่องที่ดี ควรกระทำอย่างยิ่ง แต่ควรกระทำด้วยความรอบคอบ และมองในด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว
คนที่ดำน้ำเป็นอยากให้แนวปะการังสวยงามสมบูรณ์ ไม่อยากให้ใครทำลาย  แต่คนที่ไม่มีโอกาสอยากนำไปไว้ในตู้บ้าง เพราะไม่มีโอกาสมาดูถึงใต้ทะเลและอยากดูเมื่อไรก็ได้ดู

หากประกาศเป็นมรดกโลก มีคำตอบหรือยังว่าจะอนุรักษ์มากน้อยแค่ใหน คนที่กินเงินเดือนหรือหากินกับอาชีพอื่นที่ไม่ใช่ชาวประมงย่อมไม่เดือนร้อน  แต่ประมงพื้นบ้านที่มีเป็นจำนวนมากเขาจะยังหากินได้เช่นเดิมหรือเปล่า  บัดนี้เขารู้หรือยังว่าเขากำลังไม่มีที่หากิน  ใครจะช่วยอะไรเขาได้บ้าง  แต่คนที่ชอบที่สุดน่าจะเป็นฝรั่งเจ้าของธุรกิจดำน้ำละมั๊ง

ถ้าจะประกาศให้เกาะใด ๆ หรือแนวปะการังใด ๆ เป็นเขตรักษาพืชพันธุ์  โดยมีเขตที่ชัดเจน ห้ามทุกอย่างแม้แต่การท่องเที่ยว  น่าจะดีกว่าการตีคลุมทั้งอันดามัน  มันไม่แฟร์กับคนที่เกิดจากทะเลและดำรงชีวิตอยู่กับทะเล แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แบบทำลายล้างอย่างนายทุน

จะเอาตัวอย่างป่ามาใช้กับทะเลคงยาก เพราะมันต่างกันมาก เรายังต้องพึ่งพาอาหารที่ได้จากการล่าจากทะเลเป็นปริมาณมาก

แค่ขอแสดงความคิดเห็น เพราะจนถึงวันนี้ยังไม่รู้เลยว่า
-อาณาเขตที่เสนอมากน้อยแค่ใหน
-อะไรคือข้อห้าม อะไรที่ไม่ห้ามในบริเวณที่จะประกาศ คงไม่เหมือน FTA ที่ผู้ได้ประโยชน์คือนายทุนการเมือง ส่วนผู้เสียประโยชน์คือคนทั้งชาติ
-จุดประสงค์ในการประกาศมีอะไรบ้าง
บันทึกการเข้า
boat sick forever
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18


« ตอบ #21 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2008, 12:15:30 PM »

เข้ามาลองเสนอคำตอบซึ่งจะใช่หรือไม่นั้นก็ต้องไปถามคณะทำงานอีกทีครับ ส่วนผมได้ยินเค้าพูดมาอีกทีหนึ่ง
- อาณาเขตที่เสนอมากน้อยแค่ไหน ผมว่าก็น่าจะเท่าเดิมที่อเคยมีอยู่ในอุทยานแห่งชาติทางทะเลทุกแห่งนั่นแหละครับ
เอาทั้งป่าชายเลนและหญ้าทะเลด้วย ไม่เฉพาะแนวปะการังที่สวยๆเท่านั้น แต่เอาเฉพาะที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเท่านั้น ครับ
ลำพังแค่ที่มีอยู่นี้ก็ดูแลยากพออยู่แล้ว หากคลุมหมดทั้งทะเล คงลำบากน่าดู ประเทศที่เจริญแล้วเค้าคงไม่ทำกัน
- อะไรคือข้อห้าม อะไรที่ไม่ห้าม ก็คงเอาข้อหลักๆตามกฏหมายอุทยานฯเดิมๆน่ะแหละครับ เพียงแต่อาจจะเข้มงวดขึ้น
อะไรที่เคยห้ามอยู่แล้วก็อาจจะกลายเป็นฮ้ามมม ห้าม นะฮ้าตัวเอง
- จุดประสงค์ในการประกาศก็คงเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นน่ะแหละครับ
เพื่อสร้างความยั่งยืนแก่ทรัพยากรในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล
ส่วนอื่นๆนั้นคงต้องคุยกันอีกที ผมเชื่อว่าจุดประสงค์ในการประกาศนั้นก็คงหวังดีกับทรัพยากรของทั้ง
ประเทศน่ะแหละแต่จะทำได้ดีขนาดไหนก็ต้องช่วยๆคิดอ่านกันไปครับ
ถ้าการได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกถือเป็นเกียรติยศอันสูงสุดแล้ว
การถูกประกาศถอดจากการเป็นมรดกโลกนั้นก็เป็นความอัปยศอย่างที่สุดเช่นกันครับ
ดังนั้นหากเมื่อใดที่ตัดสินใจจะแบกรับเกียรติยศชิ้นนี้ก็ต้องมีความพร้อมที่จะรักษามันไว้
จะทำได้หรือไม่ก็อยู่ที่เจ้าของทรัพยากรเหล่านั้นแหละครับว่าจะมีความพร้อมขนาดไหน
บันทึกการเข้า
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #22 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2008, 01:04:40 PM »

"ถ้าการได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกถือเป็นเกียรติยศอันสูงสุดแล้ว....การถูกประกาศถอดจากการเป็นมรดกโลกนั้นก็เป็นความอัปยศอย่างที่สุดเช่นกัน....."

ชอบคำพูดของน้อง boat sick forever ข้างบนนี้มากค่ะ......หุๆ  ได้มาแล้วรักษาไว้ไม่ได้ หน้าก็แตกยับเยิน......

ตามความเห็นของสายชล....ถ้าบริเวณที่เสนออยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเดิมๆ  สายชลเชื่อว่าการประกาศให้อุทยานเหล่านั้นเป็นแหล่งมรดกโลก จะไม่มีผลกระทบกับการทำมาหากินโดยสุจริตของชาวประมงพื้นบ้านที่มีอยู่เดิม 

และนายทุนเจ้าของกิจการดำน้ำและท่องเที่ยวทางบกก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไรเพิ่มเติมจากแหล่งธรรมชาติที่เขาหากินอยู่เดิม....นอกจากผลทางจิตวิทยาที่จะทำให้การขายบริการของเขาดูดีขึ้นหน่อย ตรงที่ใช้คำว่า "มรดกโลก" ไปโฆษณาหากินได้เท่านั้นเอง

 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 04, 2008, 01:08:22 PM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #23 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2008, 02:04:18 PM »

เมื่อวันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ได้ไปร่วมประชุมสัมมนาเรื่องนี้มาแล้ว ลองอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ไปก่อนนะคะ เดี๋ยวมีเวลาจะมาช่วยเสริมให้ค่ะ

จาก กรุงเทพธุรกิจ

ชูอันดามัน 'มรดกโลก' ชี้เด่นด้านทรัพยากร-วัฒนธรรม


 
กระทรวงทรัพยากรเสนอ "อันดามัน” ขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางทะเลแห่งแรกของไทย ชี้ความโดดเด่นด้านทรัพยากร วัฒนธรรม มีภาพเขียนประวัติศาสตร์ถึง 500 ภาพ

นายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ ดร.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง จากศูนย์ความหลากหลาย ทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำเอกสารพื้นที่ แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)

รวมทั้งเอกสารเบื้องต้นน่าจะแล้วเสร็จภายในอีก 6 เดือน จากนั้นจะนำเสนอขึ้นบัญชีรายชื่อมรดกโลกแห่ง ใหม่ในปี 2552 ต่อไป 

ด้าน ดร.ทรงธรรม สุขสว่าง ผู้อำนวยการส่วนศึกษาและวิจัยอุทยาน กรมอุทยาน กล่าวว่า  เบื้องต้นได้เชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านทะเล และผู้เกี่ยวข้องจากภาคประชาชน หารือในรายละเอียดในแต่ละด้าน ซึ่งพบว่าพื้นที่อันดามันมีศักยภาพที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนสูงมาก

โดยเฉพาะมีความโดดเด่นครอบคลุมทางด้านทรัพยากรหายากใกล้สูญพันธุ์เฉพาะถิ่น ระบบนิเวศน์ที่หลากหลายในแต่ละพื้นที่ของแต่ละอุทยาน เช่นปะการังน้ำตื้น ปะการังน้ำลึก แหล่งท่องเที่ยว ดำน้ำที่สวยงามติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก เขาหินปูน รวมถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของชนเผ่ามอแกน และอุรักลาโวย ตลอดจนความหลากหลายทางด้านโบราณคดี เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความน่าสนใจในเชิงคุณค่ามาก 

ด้าน ดร.ศักดิ์อนันต์ กล่าวว่า มีการสำรวจพบภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรไว้ราว 500 ภาพ ทั้งนี้คณะทำงานจะสรุปและวิเคราะห์ศักยภาพ พร้อมทั้งจัดทำแผนจัดการทั้งหมดแล้วเสร็จใน 1 ปี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 20, 2008, 02:05:56 PM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #24 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2008, 02:07:07 PM »

ผู้จัดการออนไลน์


ทส.เสนอขึ้นทะเบียน"อันดามัน" มรดกโลกทางทะเลแห่งแรก

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า ขณะนี้กรมอุทยานฯได้มอบหมายให้ ดร.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง จากศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำเอกสารพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) รวมทั้งแผนการจัดการรวมพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน สำหรับใช้กำหนดความเหมาะสมในการพัฒนาพื้นที่รองรับกิจการรมต่างๆ ด้วย ทั้งนี้ เอกสารเบื้องต้นน่าจะแล้วเสร็จภายในอีก 6 เดือน จากนั้นจะนำเสนอขึ้นบัญชีรายชื่อมรดกโลกแห่งใหม่ในปี 2552 ต่อไป

ดร.ทรงธรรม สุขสว่าง  ผู้อำนวยการส่วนศึกษาและวิจัยอุทยาน กรมอุทยานฯ กล่าวว่า เบื้องต้นได้เชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านทะเล และผู้เกี่ยวข้องจากภาคประชาชน หารือในรายละเอียดในแต่ละด้าน ซึ่งพบว่าพื้นที่อันดามัน มีศักยภาพที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนสูงมาก โดยเฉพาะมีความโดดเด่นครอบคลุมทางด้านทรัพยากรหายากใกล้สูญพันธุ์เฉพาะถิ่น ระบบนิเวศที่หลากหลายในแต่ละพื้นที่ของแต่ละอุทยาน เช่น ปะการังน้ำตื้น ปะการังน้ำลึก แหล่งท่องเที่ยว ดำน้ำที่สวยงามติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก เขาหินปูน รวมถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของชนเผ่ามอแกน และอุรักลาโวย ตลอดจนความหลากหลายทางด้านโบราณคดี เป็นต้น ดังนั้น จึงมีความน่าสนใจในเชิงคุณค่ามาก

"สำหรับพื้นที่อันดามันที่เตรียมสำรวจและสรุปเสนอเป็นมรดกโลกทางทะเลเป็นแห่งของไทยนั้น จะครอบคลุมอุทยานแห่งชาติ 18 แห่งคือ อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี หมู่เกาะพยาม แหลมสน เขาหลัก-รำลู่ เขาลำปี-หาดท้ายเหมือง อ่าวพังงา หมู่เกาะสุรินทร์ สิมิลัน สิรินาถ หาดเจ้าไหม หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี หมู่เกาะลันตา เกาะเภตรา ทะเลบัน ตะรุเตา ธารโบกขรณี หมู่เกาะระ-เกาะพระทอง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง รวมทั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่งในฝั่งอันดามัน อย่างไรก็ตาม มีการหารือเบื้องต้นว่าบางพื้นที่มีประชาชนอาศัยอยู่แล้วอาจจะตัดออกจากพื้นที่ เช่น พีพีดอน เป็นต้น" ดร.ทรงธรรมกล่าว

ดร.ศักดิ์อนันต์กล่าวว่า จุดเด่นของพื้นที่อันดามันถือว่ามีความโดดเด่นทางด้านทางธรรมชาติ โดยเฉพาะระบบนิเวศแบบเขาหินปูนของอ่าวพังงา มีสัตว์หายากหลายชนิด เช่น เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ ฝูงพะยูน ที่ทะเลตรัง สิ่งมีชีวิตในแนวปะการังน้ำลึก และหอยเต้าปูนไทยที่เป็นสัตว์เฉพาะถิ่น เป็นต้น ขณะที่มีการสำรวจพบภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรไว้ราว 500 ภาพ ทั้งนี้ คณะทำงานจะสรุปและวิเคราะห์ศักยภาพ พร้อมทั้งจัดทำแผนจัดการทั้งหมดแล้วเสร็จใน 1 ปี


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 24, 2008, 07:56:04 AM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #25 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2008, 01:53:26 AM »

ยังไม่มีเวลาทำรายงานสรุปผลการประชุม แต่ผู้สื่อข่าวทำรายงานให้เสร็จเรียบร้อย.....สองสายเลยสบาย ขอนำมาลงซะดื้อๆ

ขอบคุณมากค่ะ.....


ไทยโพสต์


ปฏิบัติการ..หนุน 'อันดามัน' ตีตรา 'มรดกโลก'


เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทะเล ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ และชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับทะเลอันดามัน ได้ร่วมระดมความคิดเห็นและหยิบยกข้อมูลที่โดดเด่นของทะเลอันดามัน  ทั้งเรื่องราวความสวยงาม  ธรรมชาติที่น่าประทับใจ สิ่งมีชีวิตที่มีคุณค่า และร่องรอยอารยธรรมในบริเวณทะเลอันดามันของไทย  ในการประชุม "โครงการศึกษาจัดทำเอกสารพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ"  ที่ส่วนศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติ สำนักงานอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)  ร่วมกับพันธมิตรสถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดขึ้น

ที่ผ่านมามรดกโลกของไทยมีเพียง  5  แห่งที่ได้รับการประกาศ คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดี ประกอบด้วยแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา  แหล่งมรดกโลกสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง  แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง  ถัดมาองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมสหประชาชาติ  (ยูเนสโก)  ขึ้นบัญชีรายชื่อป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นมรดกโลกในปี 2548 สำหรับการจัดทำเอกสารพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันเพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ถือเป็นปฏิบัติการครั้งสำคัญในการผลักดันอันดามันขึ้นทะเบียนมรดกโลกแห่งใหม่ 

เฉลิมศักดิ์  วานิชสมบัติ   อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช  ทส.  กล่าวว่า  ในทะเลอันดามัน  ซึ่งมีพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล 17 แห่ง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพระดับสูงที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลก  ทางกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชจึงได้ทำข้อตกลงกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้จัดทำเอกสารดังกล่าว  โดยมีสถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทยเป็นแม่งานโครงการ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากหลายสถาบันการศึกษา  สถาบันวิจัย  และองค์กรพัฒนาเอกชน เข้าร่วมเป็นคณะทำงาน ทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์  มหิดล ม.ราชภัฏสงขลา สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

โดยจะเพื่อศึกษาข้อมูลในแต่ละด้านของพื้นที่ทั้ง  18  แห่ง และคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมสอดคล้องกับเกณฑ์การนำเสนอขึ้นเป็นมรดกโลก  รวมทั้งจะมีการจัดทำแผนบริหารจัดการรวมพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันสำหรับใช้เป็นกรอบในการพัฒนาพื้นที่รองรับกิจกรรมต่างๆ  เอกสารเบื้องต้นคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน  1 ปี เพื่อเตรียมนำเสนอยูเนสโกในปี 2552 จากนี้จะมีการประชุมอีกหลายครั้งหาข้อยุติที่ชัดเจนพื้นที่ใดมีศักยภาพในการทำเรื่องเสนอเข้าไป

ด้าน  ผศ.ดร.ธรณ์  ธำรงนาวาสวัสดิ์  คณะประมง  ม.เกษตรฯ  หนึ่งในคณะทำงานโครงการ กล่าวว่า  จากการสำรวจพบว่าพื้นที่อันดามันมีศักยภาพแน่นอน  มีความโดดเด่นครอบคลุมทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและหายากใกล้สูญพันธุ์ มีระบบนิเวศวิทยาและชีววิทยาที่หลากหลายในแต่ละพื้นที่แต่ละอุทยาน

"อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ มีแนวปะการังน้ำตื้นกว่า 8 ตารางกิโลเมตร ถือว่าใหญ่ที่สุดในทะเลอันดามัน  ไม่มีที่ไหนสู้ได้ และมีหอยพันธุ์ใหม่ Glory of Thailands ที่พบในหมู่เกาะสุรินทร์และเกาะราชาน้อยเท่านั้น    วงการหอยทั่วโลกตื่นเต้นเพราะหายากมาก แล้วยังมีพันธุ์   Cypraea guttata  surinensis  หอยเบี้ยประเภทหนึ่งของเกาะที่พบได้ที่นี่แห่งเดียว  ส่วนอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันโดดเด่นที่ระบบนิเวศปะการังน้ำลึก  พบฉลามวาฬ   กระเบนราหู  เต่าทะเล  หมู่เกาะทั้งสองศักยภาพสูงมากเป็นตัวแทนในแง่  HOT  SPOT สัตว์น้ำในแนวปะการังของไทยกว่าครึ่งพบเห็นได้ที่นี่ แล้วยังลักษณะพิเศษที่เป็นเขาหินปูน"  ผู้เชี่ยวชาญทะเลไทยยกตัวอย่าง แต่เขาเสนอให้มีการศึกษาสิมิลันเพิ่มเติม  เพราะปัจจุบันยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะอยู่ในเขตน้ำลึกมีข้อจำกัดในการศึกษาวิจัย

อาจารย์ธรณ์  ยังบอกถึงธรรมชาติในเขตอุทยานแห่งชาติอีกหลายแห่งที่มีความโดดเด่นในพื้นที่ เช่น  อุทยานแห่งชาติแหลมสน  จ.ระนอง  มีธรรมชาติป่าชายเลนที่เด่น  พบต้นโกงกางที่มีขนาดใหญ่ รวมทั้งค้นพบหอยพันธุ์  Conus  ranonganus  และ Golden ranonganus ล้วนแล้วแต่หายาก หรืออุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง  มีธรรมชาติหาดทรายยาว  13 กิโลเมตร พบสัตว์แปลกๆ บนแนวชายหาดลงไปจนถึงแนวปะการังมากมาย  ที่นี่เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่  ผืนป่ากับผืนทะเลเชื่อมต่อกัน อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาโดดเด่นด้านระบบนิเวศป่าชายเลนและเขาหินปูน ตลอดจนความต่อเนื่องของวิถีชีวิตผู้คนเกาะในเกาะปันหยี

ถัดมาพื้นที่อันดามันตอนล่างก็มีศักยภาพไม่แพ้กัน  เช่น หมู่เกาะพีพี อ่าวมาหยา เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นในแง่ธรณีวิทยา   ชมปะการังสวยงามโอบล้อมด้วยภูเขาปูน   แล้วยังมีพันธุ์ไม้หายาก  ส่วนอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ระบบนิเวศหลากหลายคลุมเกือบทุกระบบ ตั้งแต่บนบก น้ำจืด ชายฝั่ง และทะเล รวมถึงมีคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์  กรณีตะรุเตาไทยเคยเสนอไปแล้ว  แต่ไม่ผ่านการพิจารณา  เพราะยังมีการทำลายแนวปะการัง ระเบิดปลา จึงไม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นมรดกโลก

อย่างไรก็ตาม อาจารย์ธรณ์แสดงทัศนะว่า การได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกไม่ใช่หัวใจสำคัญที่สุด เพราะผืนทะเลนี้ได้เป็นมรดกโลกด้วยตัวของมันเองเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่คนไทยจะเกิดเสียอีก ทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์นี้ควรเก็บรักษาเอาไว้ให้ลูกหลานในอนาคต อยากตั้งคำถามว่าเราได้ช่วยกันปกป้อง คุ้มครอง และดูแลของดีที่สำคัญนี้แล้วหรือยัง

อีกมุมมองที่มีการนำเสนอในการประชุมครั้งนี้  เป็นเรื่องราวอันดามันที่มีความโดดเด่นด้านโบราณคดีและวัฒนธรรม  ซึ่ง ดร.นฤมล อรุโณทัย จากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในคณะทำงานหลักด้านสังคมของโครงการ ได้ให้รายละเอียดในด้านนี้กับผู้เข้าร่วมประชุม เนื่องจากไทยอาจนำเสนออันดามันเป็นมรดกโลกแบบผสม ทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรมก็ได้ อันดามันก็โดดเด่นเข้าเกณฑ์เช่นกัน

ผู้เชี่ยวชาญด้านมานุษยวิทยาและชนพื้นเมือง  บอกว่า อันดามันมีเอกสารรายงานถึงหลักฐานมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะกลุ่มล่าสัตว์เก็บอาหาร พบแหล่งที่พักอาศัยตามถ้ำและเพิงผาบริเวณอ่าวพังงาอายุประมาณ  1  หมื่นปี บางแห่งพบเศษเปลือกหอยฝาเดียว สองฝา ก้ามปู กระดองเต่า เครื่องมือหินกระเทาะ  เครื่องมือจากกระดูกสัตว์  ร่องรอยการใช้ไฟ  เศษภาชนะดินเผา  พบภาพวาดและภาพเขียนสี  แสดงให้เห็นว่าถ้ำเป็นแหล่งอาศัย ประกอบพิธีกรรม บางถ้ำมีลักษณะโปร่ง มีแสงสว่างเข้าไปถึง  เช่น  ถ้ำผีหัวโต  จ.กระบี่ พบภาพเขียนกว่า 100 ภาพ มีการศึกษาวิจัยและงานเอกสารของกรมศิลปากรอย่างชัดเจน

นอกจากความโดดเด่นด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี  เธอยังบอกถึงด้านวัฒนธรรมและมานุษยวิทยา  ผ่านการนำเสนอแผนที่เส้นทางเดินเรือของมอแกนจากตำนานพื้นบ้านเรื่อง "กามัน"   และเรื่อง  "กาเอ็ด" แสดงถึงขอบเขตพื้นที่การดำรงชีวิตมอแกน ดร.นฤมลบอกว่า สำหรับชาวเล อันดามันเป็นทั้งผืนน้ำ  เป็นบ้าน เป็นที่ฝังบรรพบุรุษ พวกเขามีความผูกพันกับพื้นที่    โดยกลุ่มชาวเลมี 3 กลุ่มในไทย มอแกน มีที่เกาะพยาม  เกาะช้าง  เกาะสินไห  เกาะสุรินทร์ ส่วนมอแกนอาศัยอยู่ตามหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง จนถึงด้านเหนือของเกาะภูเก็ต อูรักลาโว้ยเป็นชาวเลบนเกาะลันตา เกาะหลีเป๊ะ

อันดามันเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเล   มีภาษามอแกน   มีความรู้พื้นบ้านด้านนิเวศทางทะเล  สามารถแยกแยะลักษณะและสภาพของหัวแหลม  แนวปะการัง  ความลึก ลักษณะของคลื่น ผู้ชายเหมือนพรานเก็บหาล่าสัตว์  ใช้เครื่องมือเรียบง่ายและทำได้เอง  ไม่ใช่แบบประมงพื้นบ้าน ผู้หญิงก็เช่นกัน  แต่ปัจจุบันความรู้เรื่องการหากินกับทะเลลดลง  นอกจากนี้ยังมีความรู้พื้นบ้านยาสมุนไพร เช่น ใบต้นหยีทะเลนำมาอังไฟอ่อน  มีสรรพคุณบรรเทาปวดจากแมลงสัตว์กัดต่อย รวมถึงเรือมอแกน เป็นเรือไม้ระกำ ซึ่งในปัจจุบันแทบหาดูไม่ได้แล้ว แต่ยังพบมอแกนอาวุโสสอนวิธีการต่อเรือแก่ลูกหลาน

นอกจากนี้  เธอระบุถึงความสำคัญและความโดดเด่นเท่าที่พบในปัจจุบันในแต่ละพื้นที่แต่ละอุทยาน  เช่น  อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี  มีร่องรอยทางรถไฟสายมรณะ  หมุ่เกาะสุรินทร์ มีร่องรอยเส้นทางการค้าและค่ายสงครามโลก มีมอแกนอยู่ในปัจจุบัน อ่าวพังงามีภาพเขียนสีอยู่เด่นชัด และมีเอกสารบันทึกที่ค้นได้ เช่นเดียวกับอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ที่มีภาพเขียนสี ส่วนที่หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี และเกาะลันตา  มีอูรักลาโว้ยอยู่จนทุกวันนี้  อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมมีร่องรอยภาพเขียนสีและเปลือกหอยนางรมโบราณ  ตลอจนหมู่เกาะเภตรา  มีเรื่องเล่าตำนานท้องถิ่นสำเภาเภตรา   และชาวเลอูรักลาโว้ย  อีกที่ที่โดดเด่นมากคือตะรุเตา มีประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับสถานจองจำ รวมทั้งชาวอูรักลาโว้ยตั้งหลักแหล่ง

ดร.มฤมลยังชี้ให้เห็นว่า จำนวนแหล่งมรดกโลกที่เป็นมรดกโลกผสมนั้น  ในโลกนี้มีเพียง  25 แห่งเท่านั้น  ถ้าไทยสามารถเก็บข้อมูลและจัดทำเอกสารรายงานแสดงถึงความโดดเด่นของจารีตประเพณีในการตั้งถิ่นฐาน  การใช้ประโยชน์ของทะเล  ซึ่งเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมหนึ่งหรือหลายวัฒนธรรม  หรือความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ  โดยเฉพาะชี้ให้เห็นว่าชาวเลเป็นเรื่องเปราะบาง   ถ้าเปลี่ยนแปลงไปแล้วไม่สามารถกลับไปเป็นเหมือนได้อีก ก็เป็นเกณฑ์หนึ่งในการพิจารณาของยูเนสโก

"นอกจากการเสนอขึ้นทะเบียนแล้ว  เราจะต้องจัดทำแผนการจัดการอย่างเหมาะสม   เอื้อให้คนสามารถรักษาสิทธิทางวัฒนธรรมได้  และมีระบบคุ้มครองพื้นที่เพียงพอเพื่อให้มั่นใจในการดูแลรักษาพื้นที่ต่อไป" ผู้เชี่ยวชาญด้านมานุษยวิทยาแสดงความเห็น

ด้าน  ดร.สุชาย  วรชนะนันท์   จากคณะประมง  ม.เกษตร  ที่ร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมช่วยฉายให้เห็นภาพรวมของแหล่งมรดกโลกว่า   เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม    660  แห่ง  มรดกโลกทางธรรมชาติ  116  แห่ง  ในจำนวนนี้ เป็นมรดกโลกทางทะเล 63 แห่ง มรดกโลกทางบก 103 แห่ง  และขึ้นทะเบียนมรดกโลกผสม  25  แห่ง  สำหรับมรดกโลกทางทะเลที่ได้รับการพิจารณาจากยูเนสโก  ส่วนใหญ่เสนอเข้าเกณฑ์เรื่องความสวยงามตามธรรมชาติ  มีธรรมชาติที่น่าประทับใจที่สุด เน้นลักษณะระบบนิเวศเกาะห่างไกลและระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตสูง รวมทั้งสิ่งมีชีวิตเด่นหรือถูกคุกคามและมีความจำเป็นต้องรักษาแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ  บางแหล่งเสนอโดยเน้นความสัมพันธ์และต่อเนื่องของระบบนิเวศหลายๆ ระบบนิเวศ

"กรณีฮาลองเบย์ชูความเป็นกลุ่มเกาะหินปูนมากกว่า  1,600 เกาะ เนื้อที่ 1,500 ตารางกิโลเมตร  ลักษณะกลุ่มเขาหินปูนที่โดดเด่นนี้  มีลักษณะใกล้เคียงกับอ่าวพังงา  ฮาลองเบย์เป็นตัวอย่างชั้นดีของการเปลี่ยนแปลงทางธรณีของผิวโลก    เวียดนามเสนอไปก็เข้าเกณฑ์  อีกตัวอย่าง  Puerto-Princesa  Subterranean  River ของฟิลิปปินส์ เป็นพื้นที่เขาหินปูน ถ้ำ และธารน้ำใต้ดิน 57.53 ตารางกิโลเมตร มีธารน้ำใต้ดินยาวกว่า 8 กิโลเมตร ไหลผ่านใต้หุบเขาและออกสู่ทะเล เป็นตัวแทนระบบนิเวศต่อเนื่องเทือกเขาสู่ท้องทะเลผ่านเกณฑ์ แม้จะมีปัญหาการตัดไม้รอบเขตมรดกโลกอาจส่งผลกระทบต่อทะเล"  ดร.สุชายยกตัวอย่างเพื่อเป็นแนวทางแก่การจัดทำเอกสารพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน  เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางธรรมชาติ 

พร้อมกับกล่าวว่า  จากการดูพื้นที่ อันดามันมีความสามารถเป็นมรดกโลกได้  อย่างไรก็ตาม  ในด้านศักยภาพเพียงพอสำหรับการบริหารจัดการหรือไม่นั้น  ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่  ชุมชนเจ้าของพื้นที่ ตลอดจนงบประมาณสนับสนุนทำกิจกรรมอนุรักษ์และพัฒนาต่างๆ

อย่างไรก็ตาม  ในการประชุมครั้งนี้  ธนู  แนบเนียร  จากองค์กรความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน  (ARR)  แสดงความห่วงใยถึงปัญหาการบุกรุกที่ดินของเอกชนและกลุ่มทุนข้ามชาติตามเกาะต่างๆ  ในอุทยานแห่งชาติ  ซึ่งภาครัฐไม่สามารถจัดการปัญหานี้ได้    โดยหยิบยกกรณีบุกรุกที่ดินบนเกาะระ-เกาะพระทอง เกาะลันตา เกาะพีพี และเกาะรายาวดี สร้างโรงแรมหรู ปัญหานี้จะส่งผลกระทบต่อการนำเสนออันดามันเป็นมรดกโลก

ทั้งยังตั้งคำถามว่า แหล่งมรดกโลกจะสามารถหยุดยั้งโครงการเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ  ที่เตรียมสร้างในแต่ละพื้นที่ได้หรือไม่  เช่น  ขณะนำเสนออ่าวพังงาเป็นมรดกโลก รัฐมีแผนสร้างท่าเรือน้ำลึกในบริเวณนั้น  เช่นเดียวกับที่ จ.สตูล มีโครงการสร้างท่าเรือปากบารา อาจจะส่งผลกระทบต่อตะรุเตา ข้อเท็จจริงเหล่านี้เกิดขึ้นในพื้นที่   ถ้ารัฐบาลตั้งใจจะนำเสนออันดามันเป็นมรดกโลกเห็นว่าโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ต้องยุติ

ทั้งหมดพร้อมใจกันเพื่อผลักดัน "ทะเลอันดามัน" ตีตราทะเบียนแหล่งมรดกโลก ก็ต้องติดตามกันต่อไป อย่างไรก็ตาม  ก่อนที่คนไทยจะไปบอกชาวโลกรับรู้ เราเองควรจะภาคภูมิใจว่าเรามีของดีและพร้อมจะร่วมมือร่วมใจรักษาไว้เป็นมรดกของลูกหลาน.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 24, 2008, 08:05:09 AM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
หน้า: 1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.026 วินาที กับ 20 คำสั่ง