กระดานข่าว Save Our Sea.net
เมษายน 26, 2024, 07:29:33 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว  (อ่าน 31101 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
boat sick forever
ตอบกระทู้เยอะ ๆ จะได้ 2 ดาว
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18


« ตอบ #15 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2008, 05:09:27 AM »

อย่างผมนี่เค้าเรียกว่าหล่อแบบหลอนๆครับ คนที่จะชมต้องมีขวัญแข็งหน่อย อิ อิ อิ
บันทึกการเข้า
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #16 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2008, 06:18:27 AM »

ก๊ากกก....หล่อแบบหลอนๆ.....คราวหน้าเจอกันต้องรีบวิ่งหนีแล้วล่ะจ้ะ กลัวโดนหลอก.....

น้องแม่หอยไม่เมารักจ๋า....อยากอ่านเรื่องและชมภาพ หอยอมไข่ จ้ะ มีเวลาว่างจากงานเมื่อไร ขอสักติ๊ดดด....นะจ๊ะ
บันทึกการเข้า

Saaychol
หอยกะทิ
สี่ดาวยังอยู่แค่เอื้อม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 155


บุ๋งๆ จงกลายเป็นวงๆๆๆ


« ตอบ #17 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2008, 04:00:18 PM »

หอยอมไข่ ตามดูครับ นั่งเฝ้าเลย

Mr. can คือพี่อุกกฤต เหรอครับ
บันทึกการเข้า
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #18 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2008, 05:53:03 PM »

ม่ายช่ายค่ะ.....ม่ายช่ายยยยย......

Mr. can คือ "เจ้าพ่อเพาะปลาการ์ตูนเมืองกระบี่" ค่ะ......

บันทึกการเข้า

Saaychol
หอยกะทิ
สี่ดาวยังอยู่แค่เอื้อม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 155


บุ๋งๆ จงกลายเป็นวงๆๆๆ


« ตอบ #19 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2008, 04:55:48 AM »

อ๋อครับ เห็นคุยไป คุยมา ผมเข้าใจว่าพี่อุกกฤตเขาเล่นเวบนี้ด้วย และใช้ชื่อ Mr.Can

ตอนนี้ก็เลยงงว่าพี่อุกกฤตเขาเล่นเวบนี้ด้วยเหรอครับ ส่วนพี่ Mr.Can นี่รับทราบครับ
บันทึกการเข้า
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #20 เมื่อ: มกราคม 06, 2009, 03:19:13 AM »



ปลาอมไข่ ปลาสวยงามเพาะขยายพันธุ์ในไทยได้แล้ว

 


นายสามารถ เดชสถิตย์ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บอกว่า ปลาอมไข่ครีบยาว เป็นปลาที่ปัจจุบันไม่มีรายงานว่าเจอในบ้านเรา พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ หรือปลาในตลาด มักนำเข้าจากอินโดนีเซียแถบเกาะ banggai ลักษณะเด่นของปลาตัวนี้คือ ปลาตัวผู้จะอมไข่ที่ผสมแล้วไว้ในปาก จนกว่าจะฟักเป็นตัวที่แข็งแรงแล้วจึงค่อยปล่อยให้ลูกออกไปผจญโลกภายนอกคล้าย ๆ กับปลานิล แต่ปลานิลตัวเมียเป็นตัวที่อมไข่ ราคา ขายปลีกในตลาดอยู่ที่ 150-200 บาท/ตัว
 
ผู้ที่ริเริ่มให้เพาะพันธุ์ปลาตัวนี้ได้แก่ อดีตอธิบดีกรมประมง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ คนปัจจุบัน คือ ดร.จรัลธาดา กรรณสูต เป็น  ผู้ช่วยติดต่อและจัดหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เพื่อให้ศูนย์ฯ กระบี่ได้ศึกษาเพาะพันธุ์
 
พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ใช้เป็นปลาธรรมชาติมีแหล่งกำเนิดที่อินโดนีเซียอาหารเป็นกุ้งเคย หรือกุ้งฝอย หรือลูกปลาเซลฟินทะเล เมื่อปลาพร้อมตัวเมียไข่แก่ ตัวผู้พร้อมก็จะผสมพันธุ์กันเวลากลางวัน ตัวผู้จะอมไข่ที่ผสมแล้วไว้ในปาก จะเห็นได้ชัดว่าปากป่อง หลังจากนั้นตัวผู้จะไม่กินอะไร อมอยู่อย่างนี้จนลูกปลาแข็งแรงและว่ายน้ำได้เก่ง ซึ่งจะฟักเป็นตัวและแข็งแรงพอที่จะว่าย   น้ำได้เองใช้เวลาประมาณ 20-25 วันขึ้นกับอุณหภูมิ เมื่อปลาอมไข่ไปได้สัก 15 วัน ควรย้ายพ่อปลาไปอยู่ตู้ใหม่ที่มีเม่นทะเลเทียม เพราะในธรรมชาติลูกปลาที่ออกจากปากพ่อแล้วจะอาศัยอยู่กับเม่นทะเลหนามยาว
 
จำนวนลูกปลาที่ได้แต่ละครอกประมาณ 10-30 ตัว แต่มีรายงานว่า อาจมีได้ถึง 50 ตัวต่อครอก เสร็จแล้วนำพ่อปลาไปอยู่กับแม่ปลา ส่วนลูกปลาก็ปล่อยให้อยู่กับเม่นทะเลเทียม เมื่อปล่อยลูกปลาไปแล้วก็ให้อาร์ทีเมียแรกฟักได้เลย
 
ช่วงแรกของการอนุบาลก็ให้อาร์ทีเมียไปเรื่อย ๆ ปลากินเก่งมาก ถ้าคนเลี้ยงไม่ขี้เกียจรับรองว่า ไม่มีปัญหาเรื่องปลาไม่กินอาหาร เมื่อปลาโตขึ้น 10-15 วัน ก็ให้อาร์ทีเมียที่โต    ขึ้น จนอายุประมาณ 45 วัน ปลาก็เริ่มกินกุ้งเคย หรือลูกปลาเซลฟินทะเลได้แล้ว หรือไม่ก็อาร์ทีเมียเต็มวัย จากนั้นก็เลี้ยงให้ลูกปลาโตเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการต่อไป
 
สำหรับปลาอมไข่นั้น เกิดมาจากสัญชาตญาณของปลาโดยตรงตามธรรมชาติในการอมลูกตัวเองไว้ในปาก เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ชนิดอื่นที่กินลูกปลาเป็นอาหาร ปลาชนิดนี้จะอาศัยกันเป็นกลุ่ม ๆ ในท้องทะเล แต่สามารถนำมาเลี้ยงทั้งตัวเดียวหรือเลี้ยงแบบเป็นฝูงก็ได้
 
ปลาชนิดนี้ไม่ดุร้าย แต่อาจมี ไล่กันบ้างเล็กน้อย ปัจจุบันมีนักเลี้ยงที่ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากลูกปลาชนิดนี้จะกินอาหารง่ายตั้งแต่เกิด กินไรทะเลขนาดเล็ก หรือตัวอ่อนอาร์ทีเมียได้โดยไม่ต้องเพาะพันธุ์แพลงก์ตอนเหมือนกับการเลี้ยงลูกสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ.



จาก                              :                          เดลินิวส์  วันที่ 27 ธันวาคม 2551
บันทึกการเข้า

Saaychol
lord of death
สี่ดาวยังอยู่แค่เอื้อม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 130



« ตอบ #21 เมื่อ: มกราคม 09, 2009, 08:09:02 AM »

อืม....น่าลอง น่าลอง
เพราะเท่าที่ทราบ Bangai Cardinal อัตราการหมุนเวียนในตลาด ไม่สูงเหมือน ปลาการ์ตูน จากการไปเลียบๆเคียงๆถามชาวบ้านมาเขาบอกว่าเลี้ยงง่ายตายยาก ตอนนี้ก็เพาะได้ แต่เท่าที่ดูถ้าจะให้สามารถรองรับตลาดต้องใช้ทุนและที่พอสมควร แต่ถ้าทำได้ เราก็จะมี บังไก่ ให้ดูในที่ของมัน เวลาไปนะ
แต่บังไก่ในบ้านเราเห็นว่าปัจจุบันไม่พบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าในอดีตไม่มี หรือเปล่าครับ
สำหรับ pink cardinal ถ้าเพาะได้ล่ะเยี่ยมเลย ในทะเลไทยคงใกล้จะไม่เหลือแล้วมั๊งครับ
อย่างไรก็ตามปล่อยให้เค้าอยู่ในที่ของเขาเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย 
บันทึกการเข้า

จงหมั่นระลึกถึงความตาย เพราะเป็นวาระติดตัวเรามาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ เมื่อถึงเวลาจักได้มีสติกับความตาย ยังให้เราระลึกถึงพุทธองค์และกำหนดจิตถึงภพภูมิใหม่ได้เมื่อวาระนั้นมาถึง ขอให้ทุกท่านพ้นอบายภูมิ เราได้มีเวลาเที่ยว หุ หุ
หน้า: 1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 20 คำสั่ง