กระดานข่าว Save Our Sea.net
เมษายน 29, 2024, 06:29:23 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้อ่านได้อย่างเดียว ต้องการตั้งกระทู้ใหม่กรุณาใช้งานบอร์ดใหม่ที่
http://www.saveoursea.net/forums/index.php
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แผ่นดินที่หายไป (2)  (อ่าน 61301 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #45 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2007, 12:36:58 AM »


10 ปีไทยอ่วมน้ำทะเลเซาะชายฝั่งรุกท่วม “กรุงเทพฯ”


น้ำทะเลกำลังรุกคืบ ชายฝั่งทะเลไทยหายไปแล้วกว่า 18,000 ไร่จากคลื่นทะเล (ภาพโดย จำนงค์ ศรีนวล จาก www.sarakadee.com )

      นักธรณีวิทยา จุฬาฯ ชี้ 10 ปี ไทยประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลทวีความรุนแรงขึ้น แจงกรุงเทพฯ –ปริมณฑลน่าอันตราย แผ่นดินหายไปแล้ว 1.8 หมื่นไร่ คลื่นในอ่าวไทยสูง 4 เมตรกลายเป็นเรื่องปกติ เหตุสร้างเขื่อน –สูบน้ำบาดาลใช้ ระบุไม่เร่งแก้ไขอีก 20 ปี แผ่นดินใกล้กรุงคืบโดนกลืน 1.3 กิโล บางบ่อ –บางพลี อ่วมสุดๆ “สุวรรณภูมิ” โดนชิ่ง –ไม่รอดใกล้ขอบทะเล       
       เมื่อช่วงสายวันที่ 3 พ.ย. ในรายการ “ทันโลกวิทยาศาสตร์” ทางคลื่นสถานีวิทยุจุฬาฯ เอฟเอ็ม 101.5 เมกะเฮิร์ซ ดำเนินรายการโดย ผศ.มานิต รุจิวโรดม อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการสัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล นักวิจัยหน่วยวิจัยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ และอาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงสถานการณ์ของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในประเทศ
       
       รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวว่า พื้นที่ชายฝั่งทะเลไทยทั้งหมด 2,667 กม.มีจุดที่ได้รับปัญหาอย่างหนักถึง 599 กม.หรือราว 21% ด้วยกัน โดยมี 5 จังหวัดที่น่าเป็นห่วง คือ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ซึ่งตลอดแนวชายฝั่งทะเล 120 กม.มีถึง 82 กม.หรือ 68%ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา บางพื้นที่ถูกกัดเซาะกินส่วนที่เป็นแผ่นดินไปแล้ว 1 กม. และมีพื้นที่หายไปรวม 18,000 ไร่
       
       “ในช่วง 10 ให้หลังมานี้ การติดตามเก็บข้อมูลคลื่นทะเลทั้งจากฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบว่าคลื่นใหญ่ซึ่งได้รับผลมาจากลมมรสุม ทั้งลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมประจำปี) มีการเปลี่ยนทิศทางและมีความรุนแรงมากขึ้น ตัวอย่างง่ายๆ คืออ่าวไทยเมื่อ 10 ปีก่อนหรือก่อนหน้า ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะทำให้เกิดคลื่นในอ่าวไทยโดยมีความสูงเฉลี่ยเพียง 0.8 -1 เมตรเท่านั้น”อาจารย์นักวิจัยกล่าว
       
       แต่ในช่วง 10 ปีหลังมานี้ รศ.ดร.ธนวัฒน์ เผยข้อมูลว่า ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือได้ทำให้เกิดคลื่นที่มีความสูงถึง 2 -4 เมตรแล้ว เช่นเมื่อปลายปี 2549 ที่ผ่านมา ณ จ.สงขลา ที่มีคลื่นความสูง 4 เมตรพัดบ้านเรือนประชาชนหายไปหลายหลัง
       
       ทั้งนี้ การกระทำของมนุษย์เป็นปัจจัยหลักที่เร่งให้เกิดปัญหาเร็วขึ้น อย่างการพัฒนาต้นน้ำ เช่นการสร้างเขื่อนที่กั้นไม่ให้ตะกอนดินจากต้นน้ำไหลลงมายังปากแม่น้ำตามธรรมชาติได้ โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ที่ทำให้ตะกอนดินหายไปกว่า 70%
       
       ขณะที่อีกปัญหาหนึ่งที่ซ้ำเติมให้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลรุนแรงมากขึ้น ยังเป็นการทรุดตัวของแผ่นดิน ซึ่งจะทำให้ดูเหมือนว่าน้ำทะเลเพิ่มระดับสูงขึ้น โดยราว 23 -24 ปีที่แล้ว อัตราการทรุดตัวของกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ที่มากกว่า 10 ซ.ม./ปี ศูนย์กลางอยู่ในเขตเมือง
       
       ต่อมาเมื่อรัฐบาลควบคุมการใช้น้ำบาดาล ไม่มีการขุดบ่อเพิ่มขึ้น ศูนย์กลางของแผ่นดินทรุดตัวจึงเปลี่ยนไปสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเลมากขึ้น โดยเฉพาะย่านบางพลีและบางบ่อ จ.สมุทรปราการ และเขตมหาชัย -บางขุนเทียน กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นย่านอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใช้น้ำมาก
       
       อัตราการทรุดตัวของแผ่นดินในพื้นที่ดังกล่าวจึงอยู่ที่ 3 -5 ซ.ม./ปีใกล้ชายฝั่งทะเล ซึ่งค่อนข้างน่ากลัวมาก เพราะจากการศึกษาเมื่อเทียบกับเมื่อ 12,000 ปีที่แล้ว พื้นที่แห่งนี้จะทรุดตัวไม่เกิน 20 -22 ม.ม./ปี โดยมีความต่างกันถึง 30 เท่า ทำให้แม้น้ำทะเลไม่เพิ่มระดับสูงขึ้นก็ยังได้รับผลกระทบไม่แตกต่างกัน ยิ่งต้องประสบกับปัญหาโลกร้อนในปัจจุบันและในอนาคตด้วยแล้ว ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งก็จะทวีความรุนแรงขึ้นแน่นอน
       
       “หลังสุดก่อนที่เราจะทำวิจัยกับ สกว.เราได้ทำวิจัยออกมาว่าปัญหาการกัดเซาะของอ่าวไทยตอนบนขณะนี้อยู่ที่ 25 เมตร/ปี แต่จะเพิ่มเป็น 65 เมตร/ปีอีก 20 ปีข้างหน้า โดยอัตรานี้หากเราไม่ทำอะไรเลย อ่าวไทยตอนบนในอีก 20 ปีจะหายไปประมาณ 1.3 ก.ม. 50 ปีจะหายไป 2.3 ก.ม. และใน 100 ปีจะหายไป 6 -8 ก.ม.” รศ.ดร.ธนวัฒน์ แจกแจง ก่อนทิ้งท้ายว่า
       
       ปัญหาที่พบนี้จึงเป็นตัวเร่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ศึกษาวิจัยและทำงานร่วมกัน ก่อนที่อีก 100 ปีข้างหน้า เขตบางพลี และบางบ่อจะถูกทะเลกัดเซาะเข้ามาในแผ่นดินลึก 6 -8 ก.ม. สนามบินสุวรรณภูมิที่ตั้งอยู่ห่างจากทะเลเพียง 15 ก.ม.ก็จะได้รับผลกระทบ และพื้นที่หน้าด่านทางทะเลของกรุงเทพฯ ก็จะหมดไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


จาก             :             ผู้จัดการออนไลน์   วันที่ 4  พฤศจิกายน  2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #46 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2007, 12:51:46 AM »


“เขื่อนสลายกำลังคลื่น” ป้องกันแผ่นดินหาย -ได้แผ่นดินคืน


ชายฝั่งบ้านขุนสมุทรจีนที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งทีมวิจัยได้ลงพื้นที่สร้างเขื่อนสลายกำลังคลื่น (ภาพจาก สกว.)

“เขื่อนสลายกำลังคลื่น” คำๆ นี้ฟังดูแปลกหูไม่ใช่เล่น แต่กำลังเป็นสิ่งก่อสร้างฝีมือคนไทย ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของนานาชาติอยู่ในเวลานี้ ที่สำคัญ คนที่ปลูกบ้านใกล้ชายฝั่งทะเลจะได้ไม่ต้องทนหงุดหงิดใจกับปัญหา “แผ่นดินหาย” อีกต่อไป
       
       เมื่อช่วงสายวันที่ 3 พ.ย. ในรายการ “ทันโลกวิทยาศาสตร์” ทางคลื่นสถานีวิทยุจุฬาฯ เอฟเอ็ม 101.5 เมกะเฮิร์ซ ดำเนินรายการโดย ผศ.มานิต รุจิวโรดม อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการสัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล นักวิจัยหน่วยวิจัยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ และอาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้วิจัยเรื่อง “เขื่อนสลายกำลังคลื่น”
       
       รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวว่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของคลื่นเป็นปัญหาใหญ่มากของประเทศไทย มีมาช้านาน และเกิดขึ้นอย่างช้าๆ “เป็นพิบัติภัยเงียบที่เกิดขึ้นทุกวัน แต่น้อยคนจะทราบได้” โดยพื้นที่ชายฝั่งทะเลไทยทั้งหมด 2,667 กม.มีจุดที่ได้รับปัญหาอย่างหนักถึง 599 กม.หรือราว 21% ด้วยกัน
       
       ทั้งนี้ “ชายฝั่งทะเล” ทั่วโลกมีอยู่ 2 ลักษณะคือที่เป็น “หาดทราย” ซึ่งทรายจะมีคุณสมบัติสะท้อนแรงคลื่นและเกิดการหมุนเวียนของทรายบนชายหาดได้ดี ไม่เกิดการกัดเซาะผืนดินได้ง่าย ส่วนอีกแบบคือ “หาดโคลน” อย่างของประเทศไทย ซึ่งหาดโคลนจะเป็นต้นกำเนิดของป่าชายเลน มีความอ่อนตัวสูง เมื่อคลื่นซัด ตะกอนดินจะละลายไปกับน้ำจนขุ่นข้น ป้องกันการกัดเซาะได้ลำบาก อันเป็นโจทย์วิจัยที่กล่าวถึงนี้
       
       รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย จุดที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ บริเวณอ่าวไทยตอนบน ในพื้นที่ 5 จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ซึ่งตลอดแนวชายฝั่งทะเล 120 กม. มีถึง 82 กม.หรือ 68%ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา บางพื้นที่ถูกกัดเซาะกินส่วนที่เป็นแผ่นดินไปแล้ว 1 กม. และมีพื้นที่หายไปรวม 18,000 ไร่
       
       สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงสนับสนุนทุนวิจัย 7,000,000 บาทให้เครือข่ายนักวิจัยจากกว่า 20 สถาบันร่วมทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวร่วมกัน ซึ่งนอกจากจะทำงานวิจัยให้ข้อมูลแล้วยังมีการก่อสร้างจริงในภาคสนามด้วย


คลื่นทะเลกัดเซาะเข้ามาถึงอุโบสถวัด (ภาพจาก สกว.)
       
       พื้นที่นำร่องโครงการคือ บ้านขุนสมุทรจีน อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ซึ่งพบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลแล้วกว่า 1 ก.ม.จนบางครอบครัวต้องย้ายที่ปลูกบ้านถอยร่นหนีน้ำทะเลนับสิบครั้งในเวลา 20 ปี และกว่า 90% สูญเสียที่ดินของตัวเองไปแล้ว โดยทีมวิจัยได้สร้างเขื่อนสลายกำลังคลื่นในระดับทดลองความยาว 250 เมตร โดยทาง จ.สมุทรปราการ ได้สนับสนุนทุนค่าก่อสร้างเชิงโครงสร้างเบื้องต้น 5,000,000 บาท โดยตั้งชื่อเขื่อนว่า “ขุนสมุทรจีน 49 A2”
       
       “เราได้นำความรู้ด้านชายฝั่งมาออกแบบให้เกิดโครงสร้างใหม่ที่เรียกว่าเขื่อนสลายกำลังคลื่น ซึ่งพบว่าคลื่นถ้าใหญ่เกินไปก็จะตีตะกอนโคลนให้ขุ่นและละลายไปกับน้ำ เราก็พยายามออกแบบโครงสร้างที่ลดจากคลื่นที่มีกำลังเยอะๆ ให้น้อยลงได้ และเราก็ได้ทำจนประสบความสำเร็จ มีการติดตั้ง และจดสิทธิบัตรแล้ว โดยโอนสิทธิ์ให้กับ สกว.และจุฬาฯ ต่อไปยังจะยื่นจดสิทธิบัตรในต่างประเทศด้วย เพราะเป็นงานที่ใหม่มาก หากขายได้ ก็จะนำเงินเข้าประเทศได้มากต่อไป” นักวิจัยกล่าว
       
       สำหรับการก่อสร้างเขื่อนสลายกำลังคลื่น ณ บ้านขุนสมุทรจีน ทำโดยการก่อโครงสร้างคอนกรีตสามเหลี่ยมด้านเท่า ความยาวด้านละ 50 ซ.ม. ข้างในกลวง ผลิตจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ทำจากเถ้าละเอียดและซีเมนต์คอนกรีตอัดแรง ความยาว 10 8 และ 6 เมตรตามลำดับ นำไปปักในทะเลห่างจากชายฝั่ง 500 เมตรแบบสลับฟันปลา 3 แถว ระยะห่างระหว่างแถว แถวละ 1.5 เมตร โดยมีความยาวตลอดแนวชายฝั่ง 250 เมตร


แนวเขื่อนสลายกำลังคลื่น (ภาพจาก สกว.)
       
       โครงสร้างดังกล่าวจะต่างจากเขื่อนทั่วไปที่มีโครงสร้างแบบปิดทึบที่กั้นไม่ให้คลื่นลอดผ่านได้ คือ เขื่อนสลายกำลังคลื่นเมื่อคลื่นพัดเข้ามาจะถูกเฉือนออกเป็น 2 ข้าง และสะท้อนไปสะท้อนมาตามแนวเสาที่วางไว้ จึงถือเป็นการสลายกำลังคลื่นทะเลไปได้โดยปริยาย
       
       ขณะที่ตะกอนดินที่มากับคลื่นจะถูกกักเก็บไว้โดยโครงสร้างคอนกรีตรูปบูมเมอแรง ไม่ให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดตะกอนออกสู่ทะเลอีกครั้ง จากนั้นเมื่อตะกอนดินมากพอก็นำต้นโกงกางมาปลูกเป็นแนวป่าชายเลนผืนใหม่ต่อไป
       
       ส่วนผลของการใช้งาน “ขุนสมุทรจีน 49 A2” รศ.ดร.ธนวัฒน์ เผยว่า เบื้องต้นได้ผลค่อนข้างดีแม้จะได้ก่อสร้างเสร็จไปเพียงครึ่งเดียวของโครงการ แต่ก็เห็นผลแล้วว่าสามารถลดการกัดเซาะชายฝั่งในอัตรา 25 เมตร/ปีลงได้เกือบ 100% ป่าชายเลนที่เคยล้มด้วยแรงคลื่นซัดเป็นแถบๆ ก็หมดไป
       
       พร้อมกันนี้ยังเกิดตะกอนดินใหม่เพิ่ม 40 ซ.ม./ปี แถมยังได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาและภาคเอกชนร่วมปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ดังกล่าวด้วย เชื่อว่าจะทำให้เกิดป่าชายเลนเพิ่มขึ้นออกไปจากชายฝั่งเดิม 500 เมตรอย่างแน่นอน


(ภาพจาก www.bkknews.net)
       
       “นอกจากนั้น จากการสังเกตการณ์ของชาวบ้านเองยังพบด้วยว่าคลื่นใหญ่ๆ ที่เคยเข้ามาสูง 3 เมตร ตอนนี้เหลือเพียงเมตรเดียว และเมื่อคลื่นใหญ่ๆ หรือพายุเข้ามา ชาวประมงยังใช้เขื่อนนี้หลบพายุหรือคลื่นได้ด้วย” รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าว โดยสิ่งก่อสร้างซึ่งกล่าวได้อย่างเต็มปากว่าประสบความสำเร็จชิ้นนี้เริ่มเป็นที่สนใจจากสื่อมวลชนในประเทศและต่างประเทศแล้วเมื่อกลางปี 2550 เป็นต้นมา
       
       ส่วนความเป็นไปได้ที่จะนำเขื่อนสลายกำลังคลื่นมาใช้กับพื้นที่ชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยตอนบนจุดอื่นๆ นั้น รศ.ดร.ธนวัฒน์ คาดว่า เป็นไปได้แน่นอน โดยจะใช้งบประมาณราว 5,000 ล้านบาทจึงจะครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด
       
       อย่างไรก็ตามถือว่าคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับกลับมา โดยเฉพาะป่าชายเลนประมาณ 38,000 ไร่ตลอดแนวชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนที่จะนำความอุดมสมบูรณ์กลับคืนสู่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน และเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผืนใหญ่ของประเทศ ที่จะขายเป็นคาร์บอนเครดิตตามที่ระบุไว้ในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ได้ถึง 270,000 ตันคาร์บอน/ปี หรือคิดเป็นมูลค่าเข้าสู่ประเทศกว่า 33,000,000 -48,000,000 บาท
       
       ขณะเดียวกัน รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ทีมวิจัยยังได้พัฒนาเขื่อนสลายกำลังคลื่นต่อเนื่องไปสู่การเป็น “เขื่อนเขียว” ด้วย โดยเขื่อนเขียวจะมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคต ซึ่งหากไม่มีการป้องกันแล้ว พื้นที่กรุงเทพฯ ในอนาคตอาจหายไปครึ่งหนึ่ง
       
       สำหรับเขื่อนเขียวจะเป็นการสร้างเขื่อนแบบ 2 ชั้นที่มีป่าชายเลนและเขื่อนสลายกำลังคลื่นรุ่นแรกยื่นลงไปในทะเล และมีเขื่อนกั้นระดับน้ำทะเลไม่ให้ท่วมเมืองติดชายฝั่งเดิมอีกแห่งหนึ่ง คาดว่าจะมีการก่อสร้างนำร่องที่เขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู จ.สมุทรปราการในเร็วๆ นี้
       
       (ผู้สนใจสามารถชมรายละเอียดของงานวิจัยชิ้นนี้เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ สกว. ตามลิงก์ www.trf.or.th/News/Content.asp?Art_ID=811)



จาก             :             ผู้จัดการออนไลน์   วันที่ 4  พฤศจิกายน  2550
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #47 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2007, 01:15:33 AM »

เรือหางยาวคณะอ.จุฬาฯล่มกลางคลองตาเพิ่มดับ 3 ศพ

       เรือหางยาวพาคณะ อ.จุฬาฯ พร้อมชาวต่างชาติ เกือบ 40 ชีวิต ดูงานเขื่อนสลายคลื่น ขากลับเรือครูดเสาไฟฟ้ากลางคลองตาเพิ่ม เกิดรูรั่วล่มกลางคลอง ดับ 3 ศพ
       
       วันนี้(4 พ.ย.)เมื่อเวลา 16.30 น.พ.ต.ต.จักรพงษ์ ขุนพรหม สารวัตรเวร สภ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ รับแจ้งเหตุเรือหางยาวชนตอเสาไฟกลางคลองตาเพิ่ม หมู่ 7 ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ จึงรุดไปตรวจสอบพร้อมด้วย พ.ต.ท.จิโรจน์ สุวรรณกูล รอง ผกก.ป.สภ.พระสมุทรเจดีย์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู
       
       ที่เกิดเหตุอยู่ห่างจากท่าเรือคลองตาเพิ่ม -บ้านขุนสมุทรจีน ไปประมาณ 3 กิโลเมตร พบเรือหางยาวโดยสารขนาดใหญ่ 40 ที่นั่ง ชื่อเรือโชคเจริญวัฒนา จมอยู่กลางคลอง มีผู้สูญหายไปในน้ำจำนวน 3 คน ประกอบด้วย น.ส.นงนุช ไพบูลย์ อายุ 24 ปี นายวิมาน เวชกุล อายุ 36 ปี และ นายคายาโต้ ไม่ทราบนามสกุล เป็นชาวอินโดนีเซีย
       
       จากการสอบสวนทราบ ว่า ก่อนเกิดเหตุ เมื่อเวลา 12.00 น.เรือลำดังกล่าวได้รับคณะของ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล   อาจารย์หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกจากท่าเรือดังกล่าวไปดูเขื่อนสลายคลื่น เอ 2 ที่ ดร. ธนวัฒน์ เป็นเจ้าของโครงการเชิงปฏิบัติการน้ำเซาะชายฝั่ง เพื่อเป็นกรณีศึกษา โดยผู้ร่วมคณะมีทั้ง 37 คน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ มาจากประเทศ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเวียดนาม
       
       หลังจากการดูงานแล้วเสร็จเมื่อเวลา 16.00 น. ก็ได้นั่งโดยสารเรือลำเดิมเพื่อกลับมายังท่าเรือคลองตาเพิ่ม ปรากฏว่า ขณะนั้นเป็นช่วงน้ำลด ประกอบกับมีเสาไฟฟ้าอยู่กลางคลอง ทำให้เรือครูดกับตอเสาไฟ ส่งผลให้ท้องเรือรั่ว และน้ำทะลักเข้ามาภายในลำเรือ ทำให้เรือค่อยๆ จมลง จากนั้นผู้โดยสารทั้งหมดได้พยายามว่ายน้ำหนีขึ้นฝั่ง
       
       อย่างไรก็ตามเวลาต่อมาทางตำรวจได้ประสานไปยังนักประดาน้ำของมูลนิธิร่วมกตัญญู ให้เดินทางมาช่วยค้นหาผู้สูญหาย กระทั่งเวลา 19.00 น. พบศพนายวิมานและนายคายาโต้จมอยู่ใต้น้ำ จึงได้ช่วยกันนำศพขึ้นมา ก่อนที่จะระดมกำลังค้นหาร่าง น.ส.นงนุช พบเป็นคนสุดท้าย


 

สองสายขอแสดงความเสียใจต่อญาติมิตรของผู้วายชนม์ และขอดวงวิญญาณของผู้สูญเสียชีวิตทั้งสามท่านจงไปสู่สุขคติภพค่ะ สายชลเชื่อว่างานที่พวกท่านได้ร่วมกันสร้างไว้ จะทำให้แผ่นดินที่หายไปกลับคืนมาแน่นอนค่ะ.....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 05, 2007, 01:51:11 AM โดย สายชล » บันทึกการเข้า

Saaychol
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #48 เมื่อ: มกราคม 16, 2008, 11:49:08 PM »


กทม.ยัน “เขื่อนบางขุนเทียน”ขึ้นแน่ปีนี้  /  สรุปทำ"ที-กรอยน์"

              กทม.ย้ำชัดปีนี้สร้างแน่นอน ทำเป็นเขื่อนรูปตัวทียื่นในทะเลลดแรงคลื่นและดักตะกอน ระบุที่ตัดสินใจช้าเพราะธรรมชาติละเอียดอ่อนต้องรอบคอบ รองผู้ว่าฯ บรรณโศภิษฐ์เผย ในหลวงทรงกำชับให้ศึกษาแนวทางดักตะกอนด้วยวิธีธรรมชาติอีกทาง

                นางบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าฯกทม.เปิดเผยถึงความคืบหน้าล่าสุดโครงการแก้ไขปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียนชายทะเลว่า ภายหลังจากที่คณะศึกษาลงสำรวจพื้นที่พร้อมประชุมชาวบ้านในพื้นที่ครั้งล่าสุดช่วงเดือนธ.ค.ที่ผ่านมาถึงแนวทางสร้างเขื่อนกันคลื่นที่เหมาะสมไปแล้วนั้น ล่าสุดคณะผู้บริหารได้อนุมัติให้เตรียมก่อสร้างเขื่อนแล้วภายในปีงบฯนี้ ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนเตรียมการ ซึ่งกทม.ถือว่าปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องที่ควรแก้ไขเร่งด่วน แม้การดำเนินการอาจจะไม่แล้วเสร็จในช่วงคณะผู้บริหารสมัยนี้ก็ตาม               

             ทั้งนี้ รูปแบบของเขื่อนที่จะสร้างนั้นจะเป็นเขื่อนรูปตัวทีหรือ ที-กรอยน์ (T-Groin) ยื่นออกไปในทะเลตลอดแนวชายฝั่ง ซึ่งจะช่วยลดแรงคลื่นและดักตะกอนไปในตัวด้วย โดยคาดว่าจะสร้างให้แกนหลักหรือขาของตัวทีเป็นแบบถาวร ส่วนแขนของตัวทีด้านบนจะสร้างให้สามารถหันรับกับทิศทางของคลื่นที่เปลี่ยนไปได้ และจะสร้างด้วยงบฯของกทม.พร้อมกับชักชวนให้พื้นที่ชายฝั่งใกล้เคียงอีก 2 จังหวัดคือ สมุทรสาคร สมุทรปราการ ร่วมกันสร้างในโครงการเดียวกันนี้ด้วย               

                สำหรับปัญหาความล่าช้าในการตัดสินใจของคณะผู้บริหารนั้น รองผู้ว่าฯกทม.ระบุว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากความจำเป็นที่ต้องศึกษาวิธีแก้ปัญหาให้สมบูรณ์ที่สุด เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากความพยายามแก้ไขปัญหาทางธรรมชาติ ซึ่งถ้าหากแก้ผิดที่หรือผิดวิธีก็อาจทำให้เกิดปัญหากับที่อื่นหรือข้างเคียงได้             

               “แม้ที่ผ่านมา เขตบางขุนเทียนและกทม.จะได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านเข้ามาตลอดก็ตาม แต่ด้วยสาเหตุหลายประการทำให้อาจต้องใช้เวลาบ้าง เช่น ที่ผ่านมายังมีการตัดถนนเข้าสู่พื้นที่ชายทะเลบางขุนเทียนซึ่งยังไม่เรียบร้อย ทำให้ไม่สามารถก่อสร้างได้โดยสะดวก ก็ถือเป็นสาเหตุหลักอีกสาเหตุหนึ่งเช่นกัน”

                รองผู้ว่าฯกล่าวอีกว่า แม้ถนนตัดใหม่นี้จะสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ยังกังวลว่าหากไม่มีการทดสอบการรับน้ำหนักของพื้นผิวถนนเสียก่อน การบรรทุกของหนักเพื่อนำไปสร้างเขื่อนอาจทำให้ถนนเสียหายเร็วยิ่งขึ้นเกิดเป็นปัญหาเพิ่ม จึงต้องทำอย่างระมัดระวังและรอบคอบที่สุด

                อย่างไรก็ตาม เมื่อครั้งที่คณะผู้บริหารได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายรายงานการแก้ปัญหาภายในเขตกทม. ได้ตรัสถามถึงปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งตลอดจนการแก้ปัญหาว่าคืบหน้าเป็นอย่างไรบ้างแล้ว โดยคณะผู้บริหารกทม.ได้กราบทูลว่ากำลังจะให้ธนาคารโลก เข้ามาตรวจสอบความเสียหายและให้คำปรึกษา ซึ่งทรงแนะนำว่าไม่จำเป็นเพราะเราสามารถศึกษาด้วยตนเองได้ เช่น การสำรวจรอบๆ บริเวณอ่าวไทยโดยรอบว่ามีลักษณะการไหลเวียนของกระแสน้ำและตะกอนอย่างไร

                นอกจากนี้ ยังทรงแนะนำให้ศึกษากระบวนการการเกิดสันดอนปากแม่น้ำด้วยว่า ตามธรรมชาติสันดอนจะเกิดได้ด้วยเหตุผลใดบ้าง เนื่องจากที่ผ่านมาได้ขุดสันดอนเพื่อกิจการเดินเรือมานาน รวมไปถึงวิธีบริหารจัดการน้ำ การระบายน้ำ และการผันน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม แต่กลับทำให้ตะกอนในร่องน้ำไม่สามารถไหลมารวมกันเกิดเป็นสันดอนได้ ส่งผลให้สภาพชายฝั่งเปลี่ยนแปลงไปดังที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้



จาก                         :                       สยามรัฐ   วันที่ 17 มกราคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #49 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2008, 12:40:30 AM »


แก้นํ้ากัดเซาะชายทะเลใช้ 300 ล.ทำรอดักทราย

นายพิชัย ไชยพจน์พานิช รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) แจ้งถึงความคืบหน้าโครงการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนว่า หลังจากที่ กทม.ได้มีการประชุมร่วมกับนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน เพื่อหาข้อสรุปการแก้ปัญหานั้น ล่าสุดทาง บ.ปัญญา คอนซัลแตนท์ ได้สรุปผลการศึกษาออกมาแล้ว โดยยังคงเสนอให้ก่อสร้างรอดักทราย (Groin) รูปตัวทีตั้งขนานตลอดแนวชายฝั่ง โดยระบุว่าคลื่นบริเวณบางขุนเทียนเป็นคลื่นซัดเข้าหาฝั่งในแนวขนานหรือเฉียงเข้าหาชายฝั่ง ซึ่งนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญต่างก็เห็นด้วยกับวิธีการดังกล่าว ดังนั้นสำนักผังเมืองจะสรุปผลการศึกษาทั้งหมด เสนอคณะผู้บริหารในสัปดาห์หน้า เพื่อขอความเห็นชอบและอนุมัติงบประมาณ เบื้องต้นคาดว่าจะใช้ประมาณ 300 ล้านบาท ทั้งนี้จะเริ่มติดตั้งแต่บริเวณคลองขุนราชวินิจฉัยไปจนถึงคลองบางเสาธงโดยรอดักทรายแต่ละตัวจะอยู่ห่างกัน 500 เมตร ซึ่งวิธีการดังกล่าวนอกจากจะช่วยลดกำลังของคลื่นที่จะซัดเข้ามา รวมทั้งป้องกันการกัดเซาะของชายฝั่งที่เหลือน้อยแล้ว ที่สำคัญยังช่วยกักดินตะกอนที่พัดเข้ามา ซึ่งจะทำให้ กทม.สามารถปลูกป่าโกงกางเพิ่มเติมบนดินตะกอนดังกล่าวด้วย

ด้านนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ตนเตรียมจะเสนอรัฐบาลชุดใหม่เพื่อขอตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง 3 จังหวัด คือ กทม. สมุทรปราการและสมุทรสาคร เพื่อให้การแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพมากขึ้น.



จาก                :                เดลินิวส์  วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 15, 2008, 01:06:23 AM โดย สายน้ำ » บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #50 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2008, 01:07:30 AM »


ใช้ T-Groin แก้ชายฝั่งบางขุนเทียนถูกกัดเซาะ

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน ซึ่งทาง กทม.ได้หารือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คณะบริษัทที่ปรึกษาได้เสนอ 5 ทางเลือกในการแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน และจากผลการศึกษาแบบจำลองประกอบกับผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญจึงได้เสนอให้ใช้ทางเลือกที่ 2 คือ การสร้างรอดักตะกอน หรือกรอยน์รูปตัวที (T-Groin) ความยาวประมาณ 200 เมตร หัวทียาว 200 เมตร

โดยสร้างตั้งฉากกับแนวชายฝั่ง ห่างกันทุกๆ 500 เมตร ตลอดแนวชายฝั่งรวม 10 ตัว เพื่อให้เกิดการงอกของดินเพิ่มขึ้นในระยะยาวจะได้ที่ดิน 200 เมตร เพื่อปลูกป่าเพิ่มเติมในอนาคต ซึ่งเป็นแบบที่ทำให้เกิดเสถียรภาพของชายฝั่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนแต่ในระยะการก่อสร้างอาจจะกระทบต่อการประกอบอาชีพประมง งบประมาณ 316 ล้านบาท ดังนั้น กทม.จะเสนอของบประมาณกลางปีจำนวน 316 ล้านบาท โดยปีแรกจะต้องใช้งบประมาณ 158 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างภายใน 4 เดือนนี้ ทั้งนี้การก่อสร้างจะเริ่มจากแนวขนานชายฝั่งก่อนให้มีระยะห่างจากแนวชายฝั่ง 1-2 เมตร

ทั้งนี้ หลังจากการก่อสร้าง 3 ปี จะมีการตกตะกอนก็จะมีการปลูกป่าชายเลนจำนวน 550 ไร่ ภายใน 6 ปี ขณะนี้สำนักระบายน้ำได้สำรวจพื้นที่แล้วสามารถเริ่มปลูกป่าชายเลนในระยะแรกได้เลย ส่วนระยะที่ 2-3 จะปลูกหลังจากที่มีการตกตะกอนของน้ำแล้ว ส่วนการทำงานร่วมกับพื้นที่ใกล้เคียง คือ จ.สมุทรปราการ จ.สมุทรสาคร จะมีการประสานงานผ่านกระทรวงมหาดไทยต่อไป อย่างไรก็ตามการตัดสินในเรื่องที่จะดำเนินการเรื่องนี้ในช่วงนี้ไม่เกี่ยวกับอะไรทั้งนั้น แต่เรื่องไหนที่มีความพร้อมก็จะดำเนินการทันทีไม่ควรจะรอ



จาก                :                บ้านเมือง  วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #51 เมื่อ: มีนาคม 09, 2008, 12:50:56 AM »


ความซวยที่ขุนสมุทรจีน                         โดย ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์


น้ำทะเลขึ้นมาถึงที่วัดบ้านขุนสมุทรจีน
 
"อาจารย์ว่า เราจะแก้ปัญหายังไงดีคะ?" ผู้ใหญ่สมรแห่งบ้านขุนสมุทรจีนถามผมด้วยน้ำเสียงจริงจัง

"ชาวบ้านซวยครับ คิดว่ารับกรรมไปเถอะ" ผมตอบด้วยน้ำเสียงเอื่อยเฉื่อย ด้วยกำลังสนใจกับสิ่งที่เราค้นพบ ไข่ปลาพวงพีอยู่ในท้องปลากระบอกทอด บนจานที่ผู้ใหญ่ยกมาเลี้ยงผม

ผู้ใหญ่ทำตาโต ทำท่าเหมือนจะยกจานปลากลับครัว ไม่เลี้ยงผู้ชายใจหินคนนี้แล้ว ผมจึงรีบเปลี่ยนคำพูดให้จริงจัง ผู้ใหญ่อยากรู้สาเหตุของความซวยหรือครับ วางจานปลาไว้ที่เดิม แล้วตั้งใจฟังให้ดีนะครับ

ความซวยอันดับแรก เกิดจากการสร้างเขื่อนแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผู้ใหญ่รู้ไหมเอ่ย เขื่อนที่อยู่ในตาก อยู่ในเจ้าพระยา ทำให้ตะกอนที่เคยไหลลงมากับแม่น้ำ หายไปตั้งร้อยละ 75 ธรรมชาติเค้ามีสมดุลอยู่แล้ว แผ่นดินตั้งแต่แม่กลองจรดบางปะกง เป็นดินดอนปากแม่น้ำ มีทั้งหยินทั้งหยาง บ้างถูกกัดซัดไป ตะกอนใหม่จากแม่น้ำก็มาตกทับถมแทน

เมื่อจู่ๆ เราไปหยุดตะกอน สมดุลย่อมเปลี่ยนไป ตะกอนมาใหม่มีน้อยกว่าดินที่ถูกกัดเซาะไป เห็นไหมซวยแท้ๆ

อันดับสอง ป่าชายเลนที่เคยมีหนาแน่น กินพื้นที่กว้างคลุมดินแดนปากแม่น้ำทั้งสี่ จากบางปะกงจรดแม่กลอง จู่ๆ ก็หายไปกลายเป็นนากุ้ง ตั้งแต่ พ.ศ.2523 เราเลี้ยงกุ้งกระจาย เพราะอยากได้ตังค์เยอะๆ ป่าชายเลนก็กระจายตาม แล้วอะไรเอ่ยจะมาหยุดความแรงของคลื่น มาคอยช่วยดักตะกอน ทั้งรากโกงกางรากแสม ลดพลังทะเลได้เท่าไหร่ เราไม่สน...เราตัด

อันดับสาม การพัฒนา โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ทำกันใหญ่โต เมื่อมีโรงงานย่อมต้องการน้ำ อะไรจะเหมาะกว่าน้ำบาดาลไม่มีเสียหรอก เราดูดเลยดูดจ๊วบๆ น้ำบาดาลร่อยหรอไป ดินก็ยุบ ของมันเห็นอยู่ชัดๆ แผ่นดินก็จมลงๆ ในอดีตจมเร็ว เดี๋ยวนี้มีกฎหมายดูแล แต่ก็ยังจมอย่างช้า ๆ ปีละ 4-5 เซนติเมตร

อันดับสุดท้าย โลกร้อน แม้ประเด็นระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ยังเป็นที่กังขา แต่ส่วนใหญ่เชื่อว่าสูงขึ้นนะ แม้ตัวเลขอาจไม่ดุดัน แต่อีกปัญหาที่ซ่อนอยู่คือฝนฟ้าแปรปรวน พายุรุนแรงมีมากขึ้น และเจ้าพายุนี่แหละตัวลุยชายฝั่ง
 


ในอ่าวไทยจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เป็นหลัก เข้าเดือนพฤษภาคม เรื่อยไปจนถึงเดือนตุลาคม หรือในช่วงหน้าฝนของคนไทย ลมจะพาคลื่นมาสู่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ตามปกติก็เป็นประเภทน้ำเซาะดิน ไม่ตูมตาม แต่ถ้ามีพายุใหญ่เข้ามา เช่น ลินดา ขนุน แผ่นดินจะบ๋ายบายไปพร้อมกัน แม้แต่ภาพหากินของผู้ใหญ่ คลื่นชนวัดตูมๆ ภาพนั้นก็ถ่ายตอนมีพายุใช่ไหมเอ่ย

เมื่อแจกแจงสาเหตุทั้งหมด ผู้ใหญ่จะเห็นเลย ชาวบ้านไม่ได้สร้างเขื่อน ไม่ได้ต้องการเขื่อนแถวนี้ด้วยซ้ำ เพราะหากินกับทะเล ไม่ได้ทำนา หรือทำก็นาเกลือ จะเอาน้ำไปทำไม ไฟฟ้าก็ใช้แค่เนี้ย แอร์ไม่ต้องเปิด ลมจากทะเลพัดฉิวๆ อยู่แล้ว

ชาวบ้านอาจตัดป่าชายเลนบ้าง เอาไม้ไปเผาฟืน ไปทำบ้านทำโพงพาง แต่ตัวการป่าหมดคือนายทุนเลี้ยงกุ้ง ใช่ชาวบ้านที่ไหน แล้วก็...ชาวบ้านไปเกี่ยวอะไรกับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดยักษ์ ชาวบ้านขับรถใช้น้ำมันเปลืองหรือเปล่า ชาวบ้านเป็นตัวการสำคัญทำให้โลกร้อนหรือไม่? เปล่าๆๆ ทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น คำตอบเดียวที่ผมคิดออก คือ ชาวบ้านรับกรรมที่พวกเขาไม่ได้ก่อ โบราณเรียกว่า "ซวย"

ผมอธิบายจบ พร้อมกับจิ้มปลากระบอกตัวนั้นมาไว้ในจาน เพื่อป้องกันคนอื่นแย่ง ระหว่างที่ผู้ใหญ่ทำท่าขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน ไม่ใช่แกหวงปลา แต่เป็นเพราะแกเพิ่งได้รับคำตอบที่แกไม่คิดว่าจะได้ จากนักวิชาการที่แกติดตามผลงาน

เมื่อผมแหวะท้อง พบว่าปลาตัวนี้มีไข่ยาวจริง สองพวงด้วยล่ะ ท่าทางสดมาก จึงเอาใจผู้ใหญ่แกอีกนิด เผื่อแกจะหาปลาอย่างนี้ใส่ถุง (ผ้า) ให้ผมกลับไปทอดกินเองที่บ้าน ผมจึงแถมให้อีกหนึ่งคำตอบ ทั้งที่แกไม่ได้ถาม

จากประสบการณ์ผ่านมา ผมพอบอกได้ว่า คนเราเมื่อซวยแล้ว จะซวยซ้ำซวยซ้อน นอกจากโดนทะเลถล่มจนต้องย้ายบ้านไม่รู้กี่ครั้ง ลูกบ้านก็กระเซ็นกระสายหายหมด วัดก็ถูกทะเลล้อมไว้ แกยังต้องซวยเพราะถูกใช้เป็นเครื่องมือดูดงบฯ หมู่บ้านนี้กำลังดัง มีโครงการมาลงเพียบ แต่ลงแบบไหน เรื่องต่อไปนี้โปรดใช้วิจารณญาณ

แน่นอนว่า โครงการที่หวังดีก็มีมาก เช่น การไฟฟ้านครหลวง เข้ามาช่วยบริจาคเสาไฟฟ้าป้องกันคลื่น แต่เช่นกัน มีบ้างที่ทำอะไรแปลกๆ เราช่วยเหลือได้ แต่เราต้องมีเถ้าแก่มีเอี่ยวด้วย เช่น ถุงทราย กำแพงยักษ์กั้นคลื่น ชาวบ้านอาจอยากได้ต้นโกงกางมาปลูกเพื่อชะลอแรงน้ำช่วยดักตะกอน แต่เถ้าแก่ไม่ได้รับเหมาปลูกโกงกางหรือขายกล้าโกงกาง เถ้าแก่ขายปูนรับเหมาสร้างเขื่อน การแก้ไขปัญหาทำได้ แต่หลายทีต้องเกี่ยวกับเถ้าแก่

ผู้ใหญ่อมยิ้ม ผมเชื่อว่า แกคงมีประสบการณ์เช่นนี้เหมือนกัน เราไม่ควรสอนหนังสือสังฆราช เราควรกินปลากระบอกต่อไป

"แล้วพวกชาวบ้านควรทำยังไงดีคะ นักวิชาการก็มาบอกปัญหา หาทางแก้ได้นิดหน่อย แต่คนกรุงเทพฯเค้าไม่เคยรู้สึกเลยหรือว่า บ้านขุนสมุทรจีนคือด่านหน้า กรุงเทพฯอยู่เบื้องหลัง หากด่านหน้าพัง กรุงเทพฯจะอยู่ได้ไง"

ผมหัวเราะจนปลาแทบติดคอ ผู้ใหญ่ครับ อดีตสอนเรามายังไง เมืองพิษณุโลกโดนพม่าล้อม อยุธยายังไม่ส่งกองทัพไป จนเมืองกลายเป็นของพม่า จากนั้นกรุงศรีก็แตก แต่บทเรียนเกิดมานานแล้ว เราลืมหมด ปัจจุบัน เราต้องเพ่งความสนใจไปที่ดาราคู่ไหนจะเตียงหัก ไว้รออีกสี่สิบปี น้ำท่วมทองหล่อเมื่อไหร่ เค้าคงสนใจมั้งครับ

คุณภูริ พระเอกสุดหล่อ พิธีกรผู้เชิญผมมาร่วมรายการ View Finder เริ่มทำหน้าทะแม่ง คงรู้สึกอิจฉาปลากระบอกในจานผม หรือไม่ก็คิดว่า เราเชิญคนผิดแล้วนี่นา จะกลับตัวกลับใจก็สายเสียแล้ว คุณภูริจึงตั้งคำถาม "แล้วเราจะช่วยชาวบ้านได้ไงครับ"

"เราควรอายบ้างค่ะ ชาวบ้านเค้าไม่ได้ทำ แต่เราทำ คนกรุงเทพฯทำทั้งนั้น" คุณแอน อลิชา อีกหนึ่งพิธีกรคู่ขวัญ เสนอความเห็นมาบ้าง

"ถูกต้องแล้วคร้าบ" ผมยิ้มให้คุณแอน เราสร้างกรรม ชาวบ้านรับกรรม ใครเค้าจะมารับกรรมเราได้ตลอดไป โลกร้อนทำฟ้าเปลี่ยนทะเลแปร น้ำจะท่วมกรุง เราก็สร้างทำนบกั้นให้เรารอด แล้วชาวบ้านรอบกรุงจะทนจมน้ำอีกนานแค่ไหน ชาวบ้านแหลมฟ้าผ่าจะต้องย้ายบ้านอีกกี่หน แล้วใครจะทนรับกรรมร่ำไป?

ผมเลื่อนจานข้าวที่หมดแล้วออกไป ก่อนอมยิ้มให้ผู้ใหญ่ "หากผู้ใหญ่รอให้ภาครัฐมาช่วย ผมรับรองว่า ผู้ใหญ่จะได้ย้ายบ้านอีกภายในไม่ช้า ผู้บริหารบ้านเมืองเราเค้าคิดแต่ Mega & Fast Project ประเภทช้าๆ แต่เห็นผลหลังจากเราออกจากตำแหน่งไปแล้ว เค้าไม่ทำหรอก จะไปหวังกับท่านอธิบดี ท่านปลัด ตำแหน่งท่านยังโดนเซาะอยู่ทุกวัน ต้นโกงกางไม่ได้มาเพราะเราขอ ต้นโกงกางเกิดเพราะเราปลูก"

ผมทราบดีว่า ชาวบ้านแถบนี้เข้าใจและช่วยกัน เราก็ต้องช่วยกันต่อไป อย่างน้อยสิ่งที่เกิดขึ้นที่นี่ ก็เป็นตัวอย่างให้คนบ้านอื่นเห็น ถ้าผู้ใหญ่และลูกบ้านขุนสมุทรจีนไม่ยอมแพ้แม้จะซวย ผมเชื่อว่า คนพันคนหมื่นคน อย่างน้อยคนสองคนก็ต้องอยากช่วยผู้ใหญ่ ประหยัดพลังงาน ลดขยะบรรเทาภาวะโลกร้อน

อย่างน้อยก็ยังมีคนกรุงเทพฯที่ละอายและอยากรับผิดชอบต่อสิ่งที่พวกเขาพวกเธอกระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขอเพียงให้เขาเธอเหล่านั้นได้รู้

ใช่ไหมครับ...คุณผู้อ่าน

หมายเหตุ - รายละเอียดบ้านขุนสมุทรจีน เส้นทางไปชมวัดกลางน้ำ ไปเห็นความซวยของชาวบ้าน เชิญคลิก www.khunsamut.com ใครอยากทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน ติดต่อผู้ใหญ่สมร เข่งสมุทร 0-2819-5296 โดยเฉพาะโรงเรียนต่างๆ น่าพานักเรียนไปทัศนาจรดูกรุงเทพฯในอีกสามสิบปีข้างหน้าครับ



จาก                :                มติชน  วันที่ 9 มีนาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #52 เมื่อ: มีนาคม 23, 2008, 12:20:57 AM »


สร้างดิน ฟื้นป่า เคารพภูมิปัญญา คนบางขุนเทียน


นกกินปลาเรียงแถวกันจับจ้องปลาในท้องทะเล

 
คลื่นใหญ่ลูกแล้วลูกเล่าซัดชายฝั่งจนน้ำกระจายสูงกว่า 1 เมตร บวกกับลมที่ค่อนข้างแรง ทำให้ป่าโกงกางเอียงลู่อย่างเห็นได้ชัด คงเพราะว่าคลื่นลมจัดเช่นนี้ ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว มิเช่นนั้นป่าคงฟื้นตัวได้ทัน แต่นี่ลำต้นกลับเอียงกระเท่เร่ไปตามพลังของลมและคลื่น

ตลอดแนวชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนเกือบ 5 กิโลเมตร การกัดเซาะชายฝั่งยังคงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ท้องทะเลแห่งเดียวของกรุงเทพมหานครยังคงเกรี้ยวกราดอยู่ทุกเมื่อ ซึ่งในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาผืนแผ่นดินนับพันๆ ไร่ต้องถูกกลืนหายไป

บางช่วงของชายฝั่งมีแนวหินถมไว้เป็นระยะๆ สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามต่อสู้กับธรรมชาติ ขณะที่กำแพงไม้ไผ่เรียงรายเป็นแนวยาว 1 กิโลเมตร ซึ่งเพิ่งทำขึ้นมาใหม่เป็นเสมือนแนวต้านทานชุดล่าสุดที่ชาวบ้านพยายามลดทอนความเสียหายที่เกิดขึ้น

ฝูงปลากระบอกต่างแตกตื่นพากันกระโดดขึ้นเหนือผิวน้ำเมื่อเรือแล่นเฉียด ขณะที่นกกินปลานานาพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นนกกาน้ำ นกกระยาง นกนางนวล ต่างบินโฉบเฉี่ยวไปมาใกล้ๆ เรือประมงขนาดเล็กที่กำลังไสเคย สะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ แม้จะถูกกระทำสารพัด

ท้องทะเลและป่าชายเลนบางขุนเทียนยังเป็นเหมือนห้องครัวใหญ่สำหรับคนเมืองหลวง ในแต่ละวันสัตว์ทะเลหลากหลายชนิดถูกจัดส่งไปสู่ปากท้องของคนในเมืองอย่างไม่สิ้น

แต่จะมีคนในเมืองสักกี่คนที่รู้จักและลุกขึ้นมาปกป้องครัวแห่งนี้ในยามที่กำลังถูกคุกคามอย่างหนักทั้งจากฝีมือมนุษย์และการทวงคืนของธรรมชาติ

คนเมืองหลวงส่วนใหญ่รู้จักแค่เปลือก เห็นบางขุนเทียนเป็นแค่ทางเลือกหนึ่งของการท่องเที่ยวเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามเสียงประโคมที่ดังมาจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร แต่กลับไม่เข้าถึงหัวใจและคุณค่าของผืนป่าและท้องทะเลแห่งนี้อย่างแท้จริง

ทะเลบางขุนเทียนอยู่ใกล้ตาใกล้ตีน แต่ไกลใจคนกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ชาวบ้านในชุมชนป่าชายเลนยังคงวังเวง เพราะถูกกระหน่ำทั้งขึ้นทั้งร่อง


เรือไสเคยกำลังทำหน้าที่ ส่วนด้านหลังเห็นแนวป่าที่เอนเอียงตามแรงคลื่นลม

กว่า 50 ปีแล้วที่ป้าปิ่นและลุงประสงค์ จินดาโฉม เข้ามาปักหลักทำมาหากินอยู่ริมทะเลบางขุนเทียน แรกทีเดียวแกยังชีพด้วยการจับปูแสมขาย แต่ความอุดมสมบูรณ์สมัยนั้น กุ้งหอยปูปลาเต็มไปหมด ทั้งคู่จึงมีทางเลือกมากมายในการทำมาหากิน ต่อมาระยะหลังถึงได้ขยับขยายทำวังกุ้ง

"โอ้ย กุ้งสมัยนั้นเขาไม่ชั่งกิโลขายหรอก พอได้ทีเอามาตวงเป็นปีบเหมือนถังข้าวนั่นแหละ" ป้าปิ่นอดย้อนอดีตให้ลูกๆ หลานๆ ในชุมชนฟังไม่ได้

วันนี้ป้าปิ่นและลุงประสงค์พร้อมชาวบ้านกำลังหนักอกหนักใจเรื่องที่ผู้บริหารกรุงเทพมหานครแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งด้วยการไส้กรอกทราย (Sand Sausage) มาเป็นแนวกันคลื่น คนในชุมชนกว่า 20 คน เลยมานั่งประชุมหารือกัน

เทคโนโลยีใหม่ที่ผู้บริหารกรุงเทพฯว่าจ้างให้บริษัทเอกชนที่มักคุ้นกัน และเตรียมนำมาลงทะเลบางขุนเทียนนั้น มีมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ซึ่งบริษัทเอกชนรายได้สร้างไส้กรอกทรายไปแล้วที่ทะเลคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ และทะเลมหาชัยซึ่งอยู่ติดกับบางขุนเทียน

"เราไปเห็นของคลองด่านมาแล้ว ตอนนี้ทรุดลงแถมยังมีทรายรั่วออกมา" ชาวบ้านเล่าประสบการณ์การดูงาน "ลมแรงๆ แบบนี้ เดี๋ยวไม้ก็ทิ่มทะลุ" ไม้ที่เขาพูดถึงคือหลักหอยแมลงภู่ที่ปักอยู่ดาดเดื่อนท้องทะเลบางขุนเทียน

"ลูกกุ้งลูกปูมันกินเลน จะให้มันกินทรายได้อย่างงัย" ป้าปิ่นว่าตามประสบการณ์ เพราะหากไส้กรอกทรายรั่วเมื่อใด ทรายจำนวนมหาศาลจะไหลปะปนกับท้องเลนซึ่งเป็นระบบนิเวศสำคัญของธรรมชาติแหล่งนี้

ลุงประสงค์และป้าปิ่นใช้เวลากว่าค่อนชีวิตในการต่อสู้กับคลื่นลมเพื่อไม่ให้ผืนดินของตัวเองถูกทะเลกลืนกิน ทั้งคู่ได้เรียนรู้วิธีที่จะชะลอความเสียหาย แม้เข้าใจดีว่าไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้


ป้าปิ่นและลุงประสงค์สองผู้อาวุโสแห่งบางขุนเทียน

"ลุงอยากให้เขาเปลี่ยนมาเป็นการใช้เสาไฟฟ้าปักเรียงแถวสลับกันไปมา วิธีนี้น่าจะได้ผลที่สุด ตะกอนต่างๆ จะมาตก ซึ่งถ้าใช้งบฯ 300 กว่าล้านนี้น่ะ เหลือเฟือเลย" ลุงประสงค์แสดงความเห็น ซึ่งตั้งแต่หนุ่มจนตอนนี้อายุ 74 ปี แกได้ลองผิดลองถูกมามาก

สาเหตุที่ลุงประสงค์และชาวบ้านเชื่อว่าการปักเสาเป็นแนวเป็นแนวยาวจะช่วยแก้ปัญหาการกัดเซาะได้ เพราะเรียนรู้ประสบการณ์จริง โดยสังเกตจากหลักไม้ที่ปักเลี้ยงหอยแมลงภู่ซึ่งมีตะกอนมาตกกองอยู่มาก เพราะหลักที่ปักนั้นนอกจากช่วยชะลอคลื่นบนผิวน้ำแล้ว ยังช่วยยึดตะกอนด้านล่างไม่ให้ปลิวไปตามคลื่นใต้น้ำ

เมื่อไม่กี่วันก่อนคนในชุมชนได้ช่วยกันปักหลักไม้ไผ่เป็นแนว ซึ่งทุกบ้านต่างร่วมไม้ร่วมมือกันเป็นอย่างดี แต่ทำได้ยาวเพียง 1 กิโลเมตร เพราะมีงบประมาณจำกัด ซึ่งชาวบ้านรู้ดีว่าหลักไม้ไผ่คงทนอยู่ไม่กี่ปี แต่มันช่วยบรรเทาได้บางช่วง บางเวลาก็ยังดี

ความหวังของชาวบ้านคืออยากเปลี่ยนจากหลักไม้เป็นหลักปูน แต่ข้อเรียกร้องและภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่เคยได้รับการใส่ใจจากภาครัฐเลย โดยเฉพาะผู้บริหาร กทม.

คนโน้นก็บอกจะสร้างนี่ คนนี้ก็บอกจะสร้างนั่น พูดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ยันรุ่นหลานแล้ว แต่ยังไม่เห็นสร้างอะไรสักที จนพื้นที่ของ กทม.หายไปกว่า 1,600 ไร่ เมื่อหลายปีก่อนแล้ว ตอนหลังชาวบ้านยังร่วมกันบริจาคให้อีก เพราะเขาบอกว่าจะสร้างสวนหย่อม สร้างแนวกันคลื่น แต่ทุกอย่างเงียบหาย" ชาวบ้านคนหนึ่งระบายความอัดอั้นตันใจ

"อยู่ที่นี่มาตั้งแต่เด็กจนเดี๋ยวนี้อายุ 79 ปีแล้ว ยังไม่เห็น กทม.ทำอะไรเลย" ป้าปิ่นเอาด้วย "แต่ไม่เป็นไร ป้าจะสู้ถึงอายุ 90 ปี" ป้าปิ่นเล่นมุขเรียกเสียงฮาครืนใหญ่ เพราะขนาดเดินมาร่วมประชุม แกยังต้องใช้ไม้เท้าและคนช่วยพยุง ส่วนคำว่า "สู้" ของแกนั้นหมายถึงสู้เพื่อชายฝั่งบางขุนเทียนมากกว่าจะไปสู้รบปรบมือกับใคร ซึ่งที่ผ่านมาแกขึ้นศาลาว่าการ กทม.จนโชกโชน

"ไม่มีใครขัดขวางหรอกที่จะมาสร้างแนวกันคลื่นให้บ้านเรา แต่เขาทำอะไรไม่เคยถามชาวบ้านสักคำ ถ้ามันดี ก็ดีไป แต่ถ้าไม่ดีก็เท่ากับมาซ้ำเติมกันอีก" ชาวบ้านอีกคนให้ความเห็น

"เดี๋ยวพวกดอกเตอร์ และใครต่อใครจะมาว่าเราอีก ถ้าไม้ไปทิ่มไส้กรอกทรายแตกก็จะมาพูดว่าชาวบ้านไม่รู้จักช่วยกันดูแล" ใครอีกคนหนึ่งรู้สึกเข็ด เพราะที่ผ่านมามีคนมากหน้าหลายตาเข้ามาเก็บข้อมูล แต่สุดท้ายชายฝั่งก็ค่อยๆ หมดไป

"นี่เดี๋ยวก็จะมาปลูกป่ากันอีก" มีคนเปิดประเด็นใหม่ ป่าที่เขาพูดถึงคือปลูกต้นโกงกาง ตามจุดต่างๆ แม้แต่ในวังกุ้งของชาวบ้านยังมีคนหวังดี ซึ่งกลายเป็นเรื่องฮามากสำหรับคนในชุมชน เพราะบางจุดปลูกได้ไม่กี่วันก็ถูกน้ำท่วมตายหมด เพียงแค่ได้ถ่ายภาพออกกล้องและทำตามกระแสแก้ปัญหาโลกร้อนทุกอย่างก็จบ

"ที่นี่แทนที่จะมาปลูกดินก่อน ดันไปปลูกป่า" เสียงหัวเราะดังขึ้นอีกครั้ง

สูตรท่องจำที่บอกว่าการปลูกป่าชายเลนจะช่วยเป็นแนวกันคลื่นซัดฝั่งได้ แต่ที่บางขุนเทียนได้พิสูจน์มาแล้ว ป่าเท่าไหร่ก็เอาไม่อยู่ วีธีของชาวบ้านคือต้องถมหินลงไปก่อน ปล่อยให้หอยนางรมและเพียงค่อยๆ มาจับ จนหินเกาะกันแน่น จึงค่อยปลูกป่าในแนวหลัง

สุดท้ายทุกคนเห็นตรงกันว่าจะทำหนังสือแสดงความคิดเห็นเหล่านี้ไปยังผู้บริหาร กทม. นอกจากนี้ ในวันที่ 1 เมษายนนี้ จะร่วมกันจัดงานเปิดป้ายโครงการปักไม้ไผ่ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้ชื่องานว่า "สร้างดิน ฟื้นป่า เคารพภูมิปัญญา คนบางขุนเทียน"

แต่ไม่รู้ว่าจะมีชาวเมืองหลวงกี่คนสนใจจิตวิญญาณของบางขุนเทียน




จาก                :                มติชน  โดย ภาสกร จำลองราช padsakorn@hotmail.com   วันที่ 9 มีนาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #53 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2008, 01:43:43 AM »


ไส้กรอกทรายไม่คืบ-หวั่นแผ่นดินหาย นักวิชาการแนะเปิดเวทีสร้างความเข้าใจ

จากกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) จะก่อสร้างแนวกันคลื่น หรือทีกรอย์ แบบไส้กรอกทราย บริเวณชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กทม. มูลค่า 316 ล้านบาท ป้องกันผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่ง โดยอ้างว่าเป็นแบบที่เหมาะสมแต่ชาวบางขุนเทียนออกมาคัดค้าน และเรียกร้องให้สร้างแบบเสาปูนแทนไส้กรอกทราย เพราะแข็งแรงทนทาน ดักตะกอนดินได้ และไม่ทำลายระบบนิเวศชายฝั่ง

วันที่ 5 พฤษภาคม นายสาทร ม่วงศิริ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตบางขุนเทียน กล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านกลุ่มรักษ์ทะเลบางขุนเทียน กำลังเคลื่อนไหวโดยการสร้างความรู้ความเข้าใจให้ชาวบ้านในเขตบางขุนเทียน กว่า 100 หลังคาเรือน เกี่ยวกับผลดีผลเสียของการสร้างแนวกันคลื่นแบบไส้กรอกทราย ข้อเรียกร้องของชาวบ้านยังคงยืนยันให้ กทม.ทบทวนการสร้างแนวกันคลื่นแบบไส้กรอกทรายเปลี่ยนเป็นการสร้างแบบเสาปูน ซึ่งจะมั่นคงแข็งแรงกว่า และสามารถดักตะกอนดินได้ดี หากเปรียบเทียบกับการปักแนวไม้ไผ่ที่ชาวบ้านปักไว้เป็นปีๆ ก็ทำให้เห็นว่าตะกอนดินหลังแนวไม้ไผ่ก็เพิ่มขึ้นมาก เรื่องนี้รอเวลาไม่ได้ เพราะแผ่นดินชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนถูกคลื่นลมมรสุมพัดพังทลายไปทุกวัน แต่ฝั่งของผู้บริหาร กทม.ก็เงียบมาก เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

นายสุรพล กฤษณามระ นักวิชาการอิสระ ในฐานะกรรมการกำกับการศึกษาผลกระทบโครงการก่อสร้างแนวกันคลื่น หรือที-กรอยน์ ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนในสมัยนั้น กล่าวว่า เมื่อมีเสียงติติงจากชาวบ้าน กทม.ก็น่าจะมีการทบทวนใหม่ ซึ่งทางเลือกที่ดีควรเปิดเวทีขึ้นมาพูดคุยสร้างความเข้าใจกันอย่างเปิดเผย เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม ควรจะเปิดเวทีใหม่ขึ้นมาพูดคุยกัน ขณะนี้ในฝั่งของชาวบ้านก็ใช้ภูมิปัญญาปักแนวไม้ไผ่เพื่อสลายกำลังคลื่น ซึ่งก็ได้ผลแต่ไม่ยั่งยืน ขณะเดียวกันหาก กทม. เห็นว่าการสร้างไส้กรอกทรายดี ก็น่าทดลองทำจำนวนไม่มากอาจจะลงทุนแค่ 10 ล้านบาท เพื่อศึกษาว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด ดีกว่าลงทุนทำทั้งหมด 316 ล้านบาท หากไม่ได้ผลก็เกิดความเสียหายและชาวบ้านก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร



จาก                :                มติชน  วันที่  6 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายชล
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8186


Saaychol


« ตอบ #54 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2008, 08:53:57 AM »


ได้ยินมาว่า....ไส้กรอกทรายที่นำทรายมาใส่ถุงแล้วนำไปทดลองทิ้งแถวทะเลบางขุนเทียน เกิดแตกขึ้นมา แล้วไปทำให้แหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลพากันล้มหายตายจากไปจากแหล่งที่อยู่อาศัยเดิม

ถ้าขนทรายมาหลายร้อยหลายพันตัน เกิดถุงแตกขึ้นมาคงวุ่นวายกันแน่ๆ....
บันทึกการเข้า

Saaychol
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #55 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2008, 12:57:55 AM »


ไทยวิกฤติหาดทรายหาย  สร้างหินกันคลื่นรุกจับตาพัทยา
 


เมืองท่องเที่ยววิกฤติ พื้นที่ชายหาดลดลง นาจอมเทียนหายหมด ส่วนพัทยาเหนือ-กลางเสี่ยงสูง สาเหตุจากสร้างแนวกันคลื่น เขื่อนทิ้งหิน จับตาพัทยา 30 ปีไม่มีชายหาด เตรียมดันแผนแม่บทป้องพื้นที่ชายหาด 23 จังหวัดชายทะเล ชาวบ้านโวยขอให้ภาครัฐยุติปลูกสร้างรุกล้ำธรรมชาติ

ปัญหาน้ำทะเลกินพื้นที่ชายหาดกำลังคุกคามเมืองท่องเที่ยวอย่างพัทยาอย่างหนัก โดยเฉพาะหาดนาจอมเทียนปัจจุบันแทบจะไม่มีชายหาดให้เห็นแล้ว และหากยังปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปมีผลการวิจัยชี้ว่า อีก 30 ปีข้างหน้าพัทยาอาจจะเหลือแต่ชื่อเท่านั้น

 นายวิโรจน์ ศรีพินิจ เจ้าของร้านทำป้ายโฆษณา วัย 59 ปี กล่าวว่า พื้นที่สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติและถนนสาธารณะวชิรปราการ แต่เดิมเป็นป่าชายเลน สมัยเป็นเด็กมาวิ่งเล่นเก็บหอยแครงกับเพื่อนๆ กระทั่งประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว ชาวบ้านและนักธุรกิจใน อ.เมือง จ.ชลบุรี อยากมีที่นั่งติดทะเลเหมือนบางแสนหรือพัทยา เลยทำโครงการเอาหินลูกรังมาถมทะเล แล้วทำเขื่อนกันลม-กันคลื่น เพื่อเป็นพื้นที่ตากอากาศให้ชาวบ้านมาเดินเล่น นั่งเล่น รวมถึงสร้างสนามฟุตบอลและสะพานเลียบชายฝั่ง ตอนนั้นยังไม่มีหลักวิชาการเรื่องสิ่งแวดล้อมว่าป่าชายเลนเป็นเสมือนปราการป้องกันภัยตามธรรมชาติ ส่วนตัวแล้วอยากให้มีการนำทรายขาวสะอาดมาถมใส่เพิ่มเติมเพื่อให้ประชาชนมาใช้พักผ่อน

 ด้านนายอิ๋น เจ้าของรถขายสินค้าที่ระลึกบนถนนชายหาดบางแสน วัย 53 ปี เล่าว่า เกิดที่บางแสนตั้งแต่ชายหาดยังเป็นทรายสีขาวสวย น้ำทะเลใส มีเรือประมงออกหาปลากระเบน ปลาสาก ปลากะพง ฯลฯ และที่ดินยังไม่แพงขนาดนี้ แต่ตอนนี้ไม่เหลืออะไรแล้วนอกจากหาดทรายดำๆ กองขยะแล้วก็ถนนที่ก่อสร้างจนทำให้พื้นที่หาดทรายลดลง หากเป็นไปได้อยากให้หน่วยงานท้องถิ่นไม่ต้องปรับปรุง หรือสร้างสิ่งก่อสร้างไปมากกว่านี้ อยากให้ปล่อยเป็นธรรมชาติ รักษาแค่ความสะอาดก็พอ เพราะเชื่อว่าที่หาดทรายดำก็เพราะขยะจากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นทุกวันนั่นเอง

 ไม่ต่างอะไรกับ "ลุงเช้า" เจ้าของเก้าอี้ผ้าใบสีสดประจำหาดนาจอมเทียนระบายปัญหาให้ฟังว่า ตอนนี้นักท่องเที่ยวเหลือน้อยลงเพราะ 2 สาเหตุคือ หาดทรายบางส่วนถูกปรับเป็นพื้นที่คอนกรีตยกระดับให้นั่งเล่น และพื้นที่ต้นมะพร้าวที่เป็นลานจอดรถธรรมชาติถูกปรับเป็นฟุตบาทหรือถนนเลียบชายหาดแทน ในอดีตนักท่องเที่ยวคนไทยจะขับรถมาจาก กทม.จอดรถใต้ต้นมะพร้าวแล้วก็มานั่งเก้าอี้ผ้าใบเป็นโต๊ะๆ เพื่อสั่งอาหารและเครื่องดื่มกิน แต่เมื่อพื้นที่หาดทรายถูกปรับเป็นทางเดินฟุตบาทก็ไม่เหลือพื้นที่จอดรถ นักท่องเที่ยวก็หายไปเกือบหมดไม่คึกคักเหมือนเดิม ส่วนฟุตบาทที่ทำก็ต้องปรับปรุงเรื่อยๆ เพราะน้ำทะเลและทรายกัดเซาะทำให้ทรุดตลอดเวลา

 "มนุษย์โกงธรรมชาติ หาดทรายถูกรุกราน พื้นที่นั่งเล่นบนชายหาดน้อยลง ตอนนี้ยังไม่มีพายุลูกยักษ์เข้ามา แต่เดาไว้เลยว่าถนนหรือสวนสาธารณะที่สร้างยื่นออกไปในหาดทรายนั้น ถ้าถูกพายุลูกใหญ่เหมือนพายุเกย์เมื่อปี 2543 หรือพายุลินดาตอนปี 2540 รับรองได้ว่าสิ่งก่อสร้างพวกนี้จะพังทลายลงทันที แต่ก่อนสร้างแค่ถนนยางมะตอยอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล ตอนน้ำขึ้นสูงสุดก็ไม่โดนถนน แต่ตอนนี้สิ่งก่อสร้างยื่นออกมาเรื่อยๆ และทำแบบไม่แข็งแรงกลัวว่าสักวันจะต้องเจอลมและมรสุมพัดเสียหาย อยากให้ปล่อยทุกอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องสร้างอะไรเพิ่มแล้ว ถ้าไม่มีสิ่งก่อสร้างก็ไม่มีการถูกทำลาย น้ำทะเลหรือลมพัดทรายมา ธรรมชาติก็พัดกลับไป ไม่มีอะไรสึกกร่อน" ลุงเช้ากล่าว

 ขณะที่นายพิเชษฐ์ อุทัยวัฒนานนท์ หัวหน้าสำนักการช่างเมืองพัทยา กล่าวว่า 30 ปีที่ผ่านมาน้ำทะเลและทรายกัดเซาะเข้าไปเกือบถึงพื้นที่ถนนริมชายหาด โดยเฉพาะปลายชายหาดแถวนาจอมเทียนกัดเซาะรุนแรงมาก จนฐานถนนเริ่มสึกกร่อนและทรุดลง โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงธันวาคม เวลาที่น้ำขึ้นสูงสุด แทบไม่เหลือพื้นที่ชายหาดให้เดิน เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้วมีโครงการปรับภูมิทัศน์ชายหาดพัทยาและนาจอมเทียน โดยเทปูนสร้างสวนสาธารณะเป็นที่นั่งเล่นให้ประชาชน แต่พื่นที่ช่วงที่เป็นหาดทรายก็ยังคงลดลงเรื่อยๆ ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าไม่ใช่เฉพาะชายฝั่งชลบุรีเท่านั้น แต่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่กัดเซาะชายฝั่งทั่วประเทศ ทั้งระยองและสมุทรปราการ จึงอยากเสนอให้รัฐบาลคิดหาวิธีแก้ไข โดยตั้งทีมงานศึกษาสภาพชายหาดที่มีการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว การลดลงของพื้นที่หาดทราย เพื่อหาวิธีป้องกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน

 "อยู่ที่นี่มานาน 30 ปี เป็นรุ่นบุกเบิกหาดจอมเทียน และเห็นชัดเจนเลยว่าพื้นที่หาดทรายของชายหาดพัทยาและจอมเทียนหายไป ช่วงปากหาดจอมเทียนจะเห็นชัดว่าไม่มีพื้นที่ทรายเหลืออยู่แล้ว จึงต้องสร้างเขื่อนไม่ให้กัดเซาะไปถึงถนน สภาพหาดก็เปลี่ยนไป มีหาดเว้าเพิ่มมากขึ้น อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเลทั่วประเทศ แต่พื้นที่หาดทรายช่วงพัทยายังไม่พบการเปลี่ยนแปลงชัดเจน เพราะเคยมีบริษัทเอกชนต้องการทำโครงการถมทะเลออกไป 50 เมตร แต่กรมโยธาธิการสำรวจและวัดพื้นที่ถูกกัดเซาะทุกเดือนเป็นเวลา 3 ปี ก็พบว่าหาดพัทยายังไม่มีการกัดเซาะในระดับรุนแรง โครงการดังกล่าวจึงล้มเลิกไป" นายพิเชษฐ์กล่าว 

 เมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้ว กรมโยธาธิการได้ว่าจ้างบริษัท ทีม เอนจิเนียริ่ง แอนด์ เมเนจเมนต์ จำกัด เข้ามาศึกษาสภาพชายหาดของเมืองพัทยา เป็นเวลา 3 ปี (2543-2546) โดยมีรายงานผลการศึกษาว่า ในระยะเวลาอันใกล้นี้หาดพัทยาไม่มีผลกระทบมาก เนื่องจากการไหลเวียนและเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่หาดทรายบางส่วน เป็นการหมุนเวียนและถ่ายโอนทรายตามฤดูกาล โดยในช่วง 3 ปีสำรวจนั้น พื้นที่หาดทรายบริเวณวงศ์อำมาตย์มีหาดทรายงอกจากเดิม 1.45 เมตร ในขณะที่ชายหาดพัทยาเหนือลดลง 76 เซนติเมตร และพัทยากลางลดลง 45 เซนติเมตร และหาดบริเวณแหลมบาลีฮายมีทรายเพิ่มขึ้น 3.5 เมตร ทรายเหล่านี้ไม่ได้หายไปไหน แต่จะมีการถ่ายโอนกัน

 ข้อมูลข้างต้นยังระบุถึงจุดที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ พัทยาเหนือและพัทยากลาง ซึ่งมีอัตราการลดลงจากหาดทรายสูงถึงปีละกว่า 20 เซนติเมตร และในระยะยาว 30 ปีข้างหน้า หากไม่มีการปรับปรุง หรือถมทะเลในพื้นที่ชายหาดพัทยา จะทำให้ช่วงหาดพัทยาเหนือจะถูกกัดเซาะหายไปประมาณ 15 เมตร พัทยาใต้ประมาณ 12 เมตร ในขณะที่พัทยากลางจะมีทรายงอก 12 เมตร และแหลมบาลีฮายเพิ่มขึ้นถึง 82 เมตร ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาที่ขายหาดทราย

 นอกจากนี้ รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออก พ.ศ.2549 โดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมที่ 13 (ชลบุรี) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการประเมินว่า จ.ชลบุรี มีพื้นที่สูญเสียจากการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงแล้ว 122 ไร่ และมีมูลค่าที่ดินที่สูญเสีย 610 ล้านบาท สำหรับสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งนั้นมี 2 สาเหตุด้วยกันคือ ตามธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์

 สาเหตุตามธรรมชาติคือ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การพังทลายของหน้าผาลดลง ทำให้ปริมาณตะกอนทดแทนมีน้อย ตะกอนจากทะเลที่พัดพาเข้าสู่ฝั่งลดลง คลื่นลมรุนแรงผิดปกติ กระแสน้ำมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ทิศทางของคลื่นเปลี่ยนแปลงและปริมาณฝนตกที่มากกว่าปกติ

 ส่วนการกระทำของมนุษย์ที่ทำให้เกิดการพังทลายของชายฝั่งคือ การสร้างเขื่อนหรือฝายกั้นแม่น้ำ การสร้างกำแพงกันคลื่น เขื่อนหินทิ้ง แนวหินทิ้ง การสร้างกำแพงปากแม่น้ำ และการถมสร้างชายหาดเทียม

สำหรับมาตรการแก้ไขปัญหานั้น ต้องมีการประเมินสถานภาพชายฝั่งทะเลทั่วประเทศ 23 จังหวัด และจัดทำแผนแม่บทป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและลำน้ำแห่งชาติ พร้อมวางกฎเกณฑ์ในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

 ผศ.ดร.สมบูรณ์ พรพิเนตพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ชลบุรีเคยมีชายหาดที่สวยงาม แต่เหตุที่หาดทรายหายไปเพราะมีโครงการสิ่งปลูกสร้างทำลายชายฝั่ง และหน่วยงานรัฐหรือองค์กรท้องถิ่นไม่คิดป้องกันหาดทรายและไม่ได้คำนึงถึงการรักษาสมดุลของชายฝั่งอย่างแท้จริง ซึ่งก็เหมือนกับชายหาดในจังหวัดท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย ดังนั้นการแก้ไขที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนคือ วิจัยและศึกษาชายหาดทุกแห่งอย่างละเอียด

 ผศ.ดร.สมบูรณ์กล่าวต่อว่า เมื่อสำรวจวิจัยชายฝั่งแล้ว ต้องแบ่งโซนความเสียหายให้ชัดเจน เช่น โซนหาดทรายวิบัติ โซนหาดทรายวิกฤติ โซนหาดทรายสมบูรณ์ จากนั้นก็หาวิธีแก้ปัญหาให้เหมาะสม เช่น หาดทรายที่วิบัติไม่อาจฟื้นฟูให้ทรายกลับมาสวยงามเหมือนเดิมได้ อาจจำเป็นต้องทำกำแพงหิน เพื่อป้องกันการกัดเซาะเพิ่ม ส่วนหาดทรายที่อยู่ในขั้นวิกฤติก็ต้องรื้อถอนโครงสร้างหรือเติมทรายเข้าไป ส่วนชายหาดที่ยังสมบูรณ์อยู่ก็ต้องออกกฎควบคุมไม่ให้มีการก่อสร้างทำลายสิ่งแวดล้อม

 "ถ้าทำโครงการสร้างเขื่อนกันคลื่นวันนี้เสร็จ พรุ่งนี้ทรายหายทันที ยังไม่มีใครที่เห็นความสำคัญของชายหาด ไม่เรียนรู้การรักษาสิ่งแวดล้อม มีแต่อยากทำโครงการก่อสร้าง เพื่อเอาผลประโยชน์จากงบประมาณ และบางพื้นที่ซึ่งอ้างว่าทรายหายไปเพราะภาวะวิกฤติตามธรรมชาติ หรืออ้างภาวะโลกร้อนก็ไม่เป็นความจริง แต่เกิดจากการใช้ประโยชน์ของชายฝั่งอย่างไม่ถูกต้องมากกว่า โดยเฉพาะทรายถูกนำไปใช้ประโยชน์กับทุกอย่าง เช่น ทำกระจก ก่อสร้าง ฯลฯ ในอนาคตอีกไม่กี่ปีถ้ายังไม่มีการอนุรักษ์อย่างถูกวิธี หากคนไทยอยากไปเที่ยวชายหาดจะต้องเดินทางไปตามเกาะที่อยู่ไกลๆ เท่านั้น" ผศ.ดร.สมบูรณ์กล่าว

 


จาก                :                คม ชัด ลึก  วันที่  19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #56 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2008, 01:40:22 AM »


เพชรบุรีแท็กทีม 4 จว. ฟื้นชายฝั่ง สกัดปัญหากัดเซาะตั้งแต่สมุทรสาครยันประจวบฯ


 นายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่า การกัดเซาะชายฝั่งถือเป็นปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทย บริเวณแนวชายฝั่งทะเลตั้งแต่ จ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งหากไม่เร่งดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน อาจมีผลทำให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะทางด้านการท่องเที่ยว และการทำประมงชายฝั่งในบริเวณดังกล่าว

 ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2552 ทั้ง 4 จังหวัดจึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการร่วมระหว่างกลุ่มจังหวัดเพื่อป้องกันการกัดเซาะตามแนวชายฝั่งทะเล โดยได้เสนอของบประมาณดำเนินการต่อรัฐบาลไปแล้วรวมทั้งสิ้น 480 ล้านบาท โดยแต่ละจังหวัดจะเลือกพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างรุนแรงเพื่อดำเนินการนำร่องในพื้นที่ของตนเอง

 ทั้งนี้ จ.เพชรบุรี ได้เลือกดำเนินการในพื้นที่หาดเจ้าสำราญ เนื่องจากปัจจุบันกำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจนสภาพพื้นที่ชายหาดสั้นลงจากเดิมมาก จนส่งผลให้การท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าวซบเซามาเป็นระยะเวลานานกว่า 40 ปี ในขณะเดียวกันสิ่งก่อสร้างต่างๆ ทั้งบ้านพักริมทะเล และถนนริมทะเลบางจุดก็ได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะชายฝั่ง ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ซึ่งเป็นพระราชวังของรัชกาลที่ 6 เดิมตั้งอยู่ที่หาดเจ้าสำราญ แต่ในปี พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้รื้อพระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่ที่หาดชะอำ นอกจากนั้นปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ส่งผลทำให้สัตว์ทะเลบางชนิดไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ และมีจำนวนลดลง กระทบต่อการทำประมงพื้นบ้านของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งทะเลอีกด้วย

 "หากมองในภาพรวมของกลุ่มจังหวัดในแถบนี้ การรักษาแนวชายฝั่งทะเล ก็เปรียบเสมือนการรักษาพื้นที่ชายหาดของแต่ละจังหวัดไว้ ซึ่งหากเราสามารถรักษาแนวชายหาดเหล่านี้ไว้ได้ จะทำให้เกิดผลประโยชน์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล" ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีกล่าว




จาก                           :                         แนวหน้า   วันที่ 2 มิถุนายน 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #57 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 12:57:57 AM »


เพชรบุรีจับมือ3จว.อ่าวไทย ผุดแผนป้องกันกัดเซาะชายฝั่ง ชง 480 ล. เสนอ รบ.ทำโครงการ

 เพชรบุรี:ภายหลังพื้นที่ของหลายจังหวัดที่ติดทะเลกำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของน้ำทะเล ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทย บริเวณแนวชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์นั้น

 นายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่า ปัญหาเรื่องการกัดเซาะชายฝั่ง หากไม่เร่งดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน อาจมีผลทำให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะทางด้านการท่องเที่ยว และการทำประมงชายฝั่งในบริเวณดังกล่าว ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2552 ทั้ง 4 จังหวัดจึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการร่วมมือระหว่างกลุ่มจังหวัดเพื่อป้องกันการกัดเซาะตามแนวชายฝั่งทะเล โดยได้เสนอของบประมาณดำเนินการต่อรัฐบาลไปแล้วรวมทั้งสิ้น 480 ล้านบาท โดยแต่ละจังหวัดจะเลือกพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างรุนแรงเพื่อดำเนินการนำร่องในพื้นที่ของตนเอง

 ทั้งนี้จังหวัดเพชรบุรี ได้เลือกดำเนินการในพื้นที่หาดเจ้าสำราญ เนื่องจากปัจจุบันกำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจนสภาพพื้นที่ชายหาดสั้นลงจากเดิมมาก จนส่งผลให้การท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าวซบเซามาเป็นระยะเวลานานกว่า 40 ปี ในขณะเดียวกันสิ่งก่อสร้างต่างๆ ทั้งบ้านพักริมทะเล และถนนริมทะเลบางจุดก็ได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะชายฝั่ง ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน นอกจากนั้นปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ส่งผลทำให้สัตว์ทะเลบางชนิดไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ และมีจำนวนลดลง กระทบต่อการทำประมงพื้นบ้านของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งทะเลอีกด้วย

 นายสยุมพร เปิดเผยอีกว่า การแก้ปัญหาในพื้นที่หาดเจ้าสำราญตลอดแนวชายหาดซึ่งมีระยะทาง 7.5 กิโลเมตร นั้น เดิมกรมเจ้าท่าได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วนเป็นระยะทางทั้งสิ้น 4 กิโลเมตร โดยในปีงบประมาณ 2552 นี้ จังหวัดจะดำเนินการต่อตามแนวชายหาดที่เหลืออีก 3.5 กิโลเมตร โดยใช้รูปแบบเดิมในวงเงินงบประมาณ 100 กว่าล้านบาท คาดว่าจะสามารถดำเนินการวางแท่งหินได้ภายในเดือนตุลาคมนี้




จาก                           :                         แนวหน้า   วันที่ 12 มิถุนายน 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #58 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2008, 12:14:30 AM »


สำรวจชายฝั่ง"เลเมืองคอน" ค้นบทเรียนการลุกล้ำชายฝั่ง ก่อนจะสายเกินไป


 
ก่อนหน้านี้เราได้รับรู้เรื่องราวของการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเพียงเล็กน้อย ไม่ได้ใส่ใจอะไรมากนัก คิดว่าคงเป็นเพียงบางจุดเท่านั้น รวมทั้งได้ยินมาว่าพี่น้องชาวบ้านที่ อ.จะนะ และ อ.นาทับ จ.สงขลา ได้ฟ้องกรมเจ้าท่าและพาณิชยนาวี เนื่องจากได้สร้างท่าเรือและเขื่อนดักทราย จนทำให้ชายฝั่งหายไปหลายร้อยเมตรแล้ว จนชาวบ้านหวั่นเกรงว่าหากยังเดินหน้าต่อไปอาจไม่เหลือชายหาดแน่ๆ และเราทราบว่าจะมีการก่อสร้างท่าเรือของบริษัทขุดเจาะน้ำมันแห่งหนึ่งบริเวณชายหาดท่าศาลา เราก็เกรงว่าจะเป็นเหมือนชายฝั่งที่สงขลาหรือไม่

เป้าหมายของเราในวันนี้คือ ต้องการดูผลกระทบจากการกัดเซาะของชายหาดแถวๆ อ.ปากพนัง และ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช

ขับรถย้อนจากปลายแหลมตะลุมพุกขึ้นไปถึงหัวไทร จุดแรกเริ่มที่แหลมตะลุมพุก ขับรถไปถึงบ้านปลายทราย ผ่านวัดและโรงเรียน เลี้ยวขวาหน้า อบต. ตรงไปบริเวณชายหาด มองดูป้ายจัดอันดับแหล่งท่องเที่ยว

หาดนี้ได้รับการจัดอันดับไว้ 3 ดาว

เราตรงต่อไปยังปลายแหลมที่มีถนนคอนกรีตประมาณ 300 เมตร ที่เหลือเป็นหินคลุกไปจนสุด สภาพถนนดีมาก ระหว่างทางเราเห็นซากต้นสนล้มเป็นแนวยาว รากไม้โผล่ขึ้นมาระเกะระกะ เห็นได้ชัดว่าบริเวณนี้มีการกัดเซาะจนต้นสนใหญ่อายุหลายสิบปีล้มไปหลายต้น และยังเซาะเข้ามาถึงถนนบางช่วง เลยไปผ่านป่าสนใหญ่ร่มครึ้ม ใบสนที่หล่นลงมาค้างตามกิ่งและใบสน เหมือนปุยนุ่นแต่งแต้มก้านกิ่งดูอ่อนนุ่ม เป็นบรรยากาศป่าสนที่สวยงามแปลกตา
 


ถึงปลายแหลมเห็นแนวสันดอนทรายที่งอกงุ้มเข้ามาทางด้านอ่าวปากพนัง อันเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนตัวของทรายนั้น จะเคลื่อนจากทางทิศใต้และไปทิศเหนือจนเกิดการทับถมกันที่บริเวณปลายแหลม

ย้อนกลับออกมาแวะคุยกับชาวประมงที่บ้านแหลมตะลุมพุก ชาวบ้านบอกว่า ทะเลรุกเข้ามาทุกปี โดยเฉพาะปีหลังๆ 4-5 ปีนี้รุกเข้ามาเร็วมาก พร้อมชี้ให้ดูบ้านที่พังเหลือแต่ซาก และกำแพงวัดที่ก่อเป็นผนังปูนพังไปสองช่วง ทางวัดจึงเอาหินก้อนใหญ่มาวางกั้นตลอดแนว

พวกเขาบ่นว่า คงต้องอพยพไปอยู่อีกฝั่งของถนน เพราะบ้านที่อยู่ปัจจุบันถูกทะเลรุกเข้ามาทุกที แม้จะรู้ดีว่าเป็นพื้นที่ป่าสงวนฯ แต่ก็จำเป็นต้องอยู่เพราะไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน

เรามุ่งหน้าไปตามถนนปากพนัง-หัวไทร ระหว่างทางเห็นการกัดเซาะหลายจุด ที่น่าตกใจเมื่อเห็นบางจุดนั้นเดิมเป็นบ่อกุ้งริมชายหาด และถนนมีคันดินกั้นเพียงสี่ห้าเมตร พอคลื่นซัดจนคันดินพังลงไปน้ำก็ทะลักเข้ามาถึงขอบบ่ออีกด้านในทันที ทำให้เกิดการรุกของน้ำทะเลที่เร็วมาก

บริเวณทางระบายน้ำฉุกเฉินบริเวณบ้านท่าพญา มีการทำแนวคอนกรีตกั้น บริเวณปลายคลองแล้วโค้งเป็นมุมออกไปทั้งสองฝั่ง แต่พนังคอนกรีตโดนกัดเซาะจนแนวพังไปเกือบหมดแล้ว แม้ดินที่ถมไว้หลังแนวพนังก็โดนน้ำซะออกไปเกือบหมด
 


จากจุดนี้ไปจนถึงบ้านนำทรัพย์มีการสร้างกองหินเป็นรูปตัวทีเพื่อกันการกัดเซาะ มาถึงบริเวณ ต.ขนาบนาถ อ.ปากพนัง ซึ่งเดิมคลื่นได้ซัดจนเข้ามาถึงถนน ตอนนี้ได้มีการสร้างกำแพงคอนกรีตขนาดใหญ่ ลึกประมาณ 8 เมตร สูงขึ้นมาประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ 2-3 กิโลเมตร และถมหินหน้ากำแพงอีกทีหนึ่ง บริเวณด้านในของกำแพงมีการปูตัวหนอนอย่างสวยงาม แต่มีบางช่วงเริ่มทรุดลงไปแล้ว พวกเราอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไม่ต้องปูตัวหนอนให้เปลืองงบประมาณด้วย เพราะทรายด้านใต้ที่รองรับตัวหนอนย่อมต้องมีโอกาสในการทรุดตัวสูง เพราะความลื่นไหลของทราย และอีกอย่างยังไม่แน่ว่ากำแพงจะกั้นคลื่นได้หรือเปล่า

มาถึงบ้านต้นสน ต.เกาะเพชร อ.หัวไทร ได้แวะคุยกับชาวประมงพื้นบ้าน เราเห็นการวางกองหินกันคลื่นเพิ่งเสร็จใหม่ มีรถแบ๊คโฮ 2 คัน กำลังเกลี่ยทรายบริเวณชายหาด เพื่อให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม เด็กๆ กลุ่มใหญ่เล่นน้ำอยู่ในเว้าหาดเล็กๆ ระหว่างกองหินสองกอง

ชาวบ้านที่นี่เล่าว่า 4 ปีแล้วที่คลื่นกัดเซาะรุนแรง เพราะมีการทำเขื่อนกั้นทรายมากหลายที่ โดยเฉพาะคลองชะอวดแพรกเมือง มีเขื่อนยาวประมาณ 2 กิโลเมตร ทำให้การกัดเซาะที่ชายหาดหัวไทรรุนแรง เมื่อก่อนการกัดเซาะเป็นไปตามธรรมชาติ บางปีก็กัดเข้ามา บางปีก็งอกออกไป แต่เดี๋ยวนี้กัดเซาะเข้ามาอย่างเดียว

"ทางการได้มีโครงการทำกองหินกันคลื่นตลอดแนวชายหาด ตอนแรกบอกว่าจะทำออกไปจากฝั่งประมาณ 100 เมตร ชาวบ้านจึงไม่ว่าอะไร เพราะถือว่าไกลพอแล้ว แต่พอทำจริงเหลือประมาณ 50 เมตร ชาวบ้านเกรงว่าการแล่นเรือเข้าออกจะลำบาก หากคลื่มลมแรงเรืออาจเสียหลักไปชนกองหินได้ ซึ่งก็เคยเกิดขึ้นแล้ว" ชาวบ้านเล่าด้วยความเป็นกังวล

ผ่านมาถึงท่าเรืออำเภอหัวไทร มีการทำกำแพงคอนกรีตกันคลื่นถึงสองชั้น เพราะชั้นแรกนั้นพังไปแล้ว ด้วยแรงคลื่นกระแทกกำแพงแล้วเซาะทรายข้างล่างทำให้กำแพงทรุดตัวลงและพังในที่สุด ก็ไม่รู้ว่ากำแพงใหม่นี้พังและจะต้องสร้างกำแพงอีกชั้นหรือไม่ สิ่งที่เห็นนี้ได้พิสูจน์ว่าวิธีคิดในการเอาชนะธรรมชาติด้วยการเอาของแข็งไปกั้นคลื่นนั้นไม่ได้ผล เพราะคลื่นลมมีแรงมหาศาล และไหลซอกซอนกัดเซาะไปได้เรื่อย สิ่งก่อสร้างที่แข็งและปะทะกันแรงคลื่นตรงๆ จึงไม่อาจจะทนทานได้

จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้นมีแนวชายหาดประมาณ 225 กิโลเมตร ปัจจุบันนี้ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะและมีการสร้างกองหิน แนวกำแพงจนหมดสภาพเดิมไปแล้วกว่าครึ่ง จึงเป็นคำถามว่าเราจะรักษาชายหาดที่เหลืออยู่เอาไว้ได้อย่างไร



จาก                           :                         มติชน   วันที่ 22 มิถุนายน 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
สายน้ำ
Moderator
คุณคือสุดยอดรับไปเลย5ดาว
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4627



« ตอบ #59 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2008, 12:10:44 AM »


วิศวกรฯขน.รับ”เขื่อนกันคลื่น”ตัวการทำชายหาดวิบัติ  
     
ดร.มานะ ภัตรพาณิช วิศวกรจากบริษัท ซีสเปคตรัม จำกัด ซึ่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นให้แก่กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี 
 
       ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – วิศวกรที่ปรึกษาของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ยอมรับ โครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นและทรายปากแม่น้ำ เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายหาดในหลายพื้นที่ ระบุแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ไม่สามารถให้คำตอบได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ต้องสร้างเพราะความสะดวกในการเข้า – ออก ของเรือประมง เผยหากใช้เรือขุดทรายปากร่องน้ำจะใช้งบประมาณสูง ขณะที่ชาวบ้านหวั่นบ้านเรือนพังยืนยันไม่ให้รื้อ
       
       ความคืบหน้าการแก้ปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งอ่าวไทย ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ที่โรงแรมรัชมังคลาพาวีเลียน อ.เมืองสงขลา กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้จัดประชุมระดมความคิดเห็นชาวบ้านในพื้นที่ อ.จะนะ และ อ.เมืองสงขลา กรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน มีคำสั่งให้รื้อเขื่อนกันคลื่นและทราย ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันตะกอนทรายทับถมริมปากแม่น้ำ รวมทั้งเขื่อนกันคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายหาด ที่สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวเนื่องจากเขื่อนริมปากแม่น้ำ แต่โครงสร้างทั้ง 2 แบบ กลับส่งผลกระทบทำให้ชายหาดในหลายพื้นที่ถูกคลื่นกัดเซาะเสียหายอย่างรุนแรง
       
       ดร.มานะ ภัตรพาณิช วิศวกรจากบริษัท ซีสเปคตรัม จำกัด ซึ่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นให้แก่กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กล่าวว่า กรมการขนส่งทางน้ำฯ เริ่มมีการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นและทรายริมปากแม่น้ำต่างๆ ในอ่าวไทยตั้งแต่ปี 2525 โดยเริ่มจุดแรกที่ปากแม่น้ำระยอง โดยเหตุผลที่ต้องมีการสร้างเขื่อนกันคลื่นและทรายริมปากแม่น้ำ เนื่องจากในแต่ละปีคลื่นจะพัดพาตะกอนทรายมาทับถมริมปากแม่น้ำ ทำให้ชาวประมงนำเรือเข้า – ออก ได้อย่างลำบาก
       
       การจะขุดตะกอนออกจากปากร่องน้ำต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ ชาวบ้านรอไม่ไหว การขุดต้องใช้งบประมาณครั้งละล้านกว่าบาทแต่กลับแก้ปัญหาได้ชั่วคราวไม่ยั่งยืน จึงหาแนวทางป้องกันอย่างถาวรด้วยการสร้างเขื่อนกันคลื่นและทรายขึ้นมา ซึ่งเป็นวิธีการที่ยอมรับกันทั่วโลก เช่น ที่ประเทศออสเตรเลีย มีการก่อสร้างเขื่อนลักษณะเดียวกันเป็นจำนวนมาก
       
       “การสร้างเขื่อนมีผลกระทบตามมา คือ จุดที่ต้องยอมรับเป็นเรื่องธรรมดาเราไปสร้างเขื่อนดักไว้ มันก็มีปัญหากัดเซาะตามมาเป็นเรื่องปกติ แต่เราก็พยายามป้องกันซึ่งก็มีหลายวิธีที่ใช้ คือใช้โครงสร้างป้องกันแบบที่ทำในพื้นที่ ต.นาทับ (อ.จะนะ จ.สงขลา) แต่ในการศึกษาด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ไม่สามารถให้ความถูกต้องได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เพียงแต่แสดงให้เห็นภาพรวม
       
       สำหรับเขื่อนที่นาทับ กรมการขนส่งทางน้ำฯ ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษามาศึกษาเมื่อปี 2533 ถึง 2535 จากนั้นปี 2538 จ้างบริษัทซีเทค มาก่อสร้างแล้วเสร็จปลายปี 2540 เราทราบดีว่าจะมีปัญหากัดเซาะเกิดขึ้น เราใช้ข้อมูลที่มีในขณะนั้น แบบจำลองไม่ใช่เครื่องมือวิเศษที่จะบอกทุกอย่างได้” ดร.มานะ กล่าวและว่า
       
       สาเหตุที่เกิดปัญหาคลื่นกัดเซาะชายหาดเนื่องจาก 10 ปีที่ผ่านมาพื้นที่อ่าวไทยมีพายุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้คลื่นแรงซัดชายฝั่งเสียหาย
       
       อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้ก่อนหน้านี้ ดร.มานะ ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดพายุในอ่าวไทย พบว่าปี 2517 – 2538 เกิดพายุในอ่าวไทย 2-3 ครั้งต่อปี และข้อมูลในปี 2539 – 2549 พบว่ามีพายุเกิดขึ้นปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
       
       “เราต้องอย่าโทษเขื่อนอย่างเดียว เขื่อนก็มีผลด้วยแต่ไม่ใช่สาเหตุหลัก และเราก็พยายามแก้ปัญหากันอยู่ โดยเฉลี่ยเขื่อนกันทรายและคลื่นจะมีมูลค่าประมาณ 200 ล้านบาทต่อโครงการ ซึ่งจุดนี้รัฐบาลลงทุนไปเพื่อความอยู่ดีกินดีของชุมชน เมื่อมีคนร้องเรียนว่าเขื่อนกันคลื่นและทรายที่ปากน้ำนาทับ ทำให้ชายหาดเสียหายคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนก็มาตรวจสอบ เรียกกรมการขนส่งทางน้ำฯ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งผู้ร้องไปให้ข้อมูลสุดท้ายก็ฟันธงว่า ให้รื้อแล้วซื้อเรือขุดทรายปากร่องน้ำแจกให้แก่ชุมชนไม่ใช่ให้รื้อเฉพาะที่นาทับแต่ให้รื้อที่อื่นออกหมดด้วย”
 
เขื่อนกันทรายและคลื่นบริเวณปากคลองนาทับ ที่สร้างยื่นออกไปในทะเล ต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหากัดเซาะชายฝั่งตามมา เมื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เสนอให้รื้อออก แต่พบว่า ชาวบ้านยืนยันไม่ให้รื้อ   
 
       ดร.มานะ กล่าวอีกว่า หากต้องรื้อเขื่อนกันคลื่นและทรายออกทั้งหมด แล้วกลับมาใช้วิธีการขุดทรายริมปากแม่น้ำเพื่อให้เรือประมงเข้า – ออก ได้สะดวก จะต้องใช้งบประมาณประกอบด้วย ค่าเรือขุดขนาดท่อ 12 นิ้ว ราคา 80 ล้านบาท ท่อขนาด 14 นิ้วราคา 150 ล้านบาท ค่าขุดลอกตกปีละ 3 ล้านบาท รวมทั้งต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลอีก 13 คน
       
       “ลองคิดดูเรามีร่องน้ำทั่วประเทศหลายแห่งรัฐบาล จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อมาซื้อเรือขุดแจก หากรื้อเขื่อนชาวบ้านก็จะเดือดร้อน ตะกอนทรายจะกลับมาทับถมปากร่องน้ำชาวบ้านก็จะเดือดร้อนอีก”
       
       นายนิวัติ หมานเจริญ ผู้ใหญ่บ้าน ม.8 บ้านบ่ออิฐ ต.เกาะแต้ว อ.เมืองสงขลา แสดงความเห็นว่า หากไม่มีการก่อสร้างเขื่อนป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งขึ้นมาแล้ว ชาวบ้านก็จะได้รับความเดือดร้อนเพราะมีบ้านเรือนตั้งอยู่ริมหาด
       
       “คนที่สั่งให้รื้อรู้หรือไม่ว่า หากรื้อเขื่อนออกบ้านเรือนจะถูกคลื่นซัดพังไปกี่หลัง คนที่สั่งให้รื้อไม่ได้มาอาศัยอยู่ที่นี่ เมื่อมีการสร้างเขื่อนกันคลื่นกัดเซาะขึ้นมาแล้ว ชาวบ้านมั่นใจว่าชายหาดจะไม่พังและไม่ต้องการให้รื้อออก” นายนิวัติ กล่าว
       
       นายพงศ์ศักดิ์ ไชยรัตน์ สมาชิก อบต.เกาะแต้ว อ.เมืองสงขลา กล่าวว่า ชาวบ้านบ่ออิฐอยู่กันอย่างสงบสุขมานานไม่ได้รับความเดือดร้อนแต่ปัจจุบันธรรมชาติกำลังรังแกเรา เราก็ต้องหาทางสู้และชาวบ้านเห็นด้วยที่จะให้เขื่อนกันคลื่นกัดเซาะชายหาดยังอยู่ต่อไป
       
       ในขณะที่ตัวแทนชาวบ้าน ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา ระบุว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีมาตรการให้รื้อเขื่อนกันคลื่นทั้งหมดออกแต่ชาวบ้านยังต้องการเขื่อนเนื่องจากมีความสะดวกในการนำเรือเข้าออก แต่อาจมีปัญหาการกัดเซาะชายหาดบ้างแลกกับความสะดวกที่ชุมชนได้รับ
       
       ด้านแหล่งข่าว ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสมุทรศาสตร์ กล่าวว่า เข้าใจความรู้สึกของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งทะเลเป็นอย่างดี เนื่องจากถ้าไม่มีเขื่อนกันคลื่นกัดเซาะบ้านเรือนเขาก็จะถูกคลื่นซัดได้รับความเสียหาย แต่เราต้องไปดูที่สาเหตุว่าปัญหาการกัดเซาะในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาเกิดจากอะไร
       
       งวันนี้วิศวกรที่ปรึกษาของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ก็ออกมายอมรับแล้วว่า การสร้างเขื่อนกันคลื่นและทรายริมปากแม่น้ำ ทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่ข้างเคียงเป็นปัญหาลูกโซ่ บ้านเรือนชาวบ้านได้รับความเสียหาย ระบบนิเวศถูกทำลาย ระบบสังคมก็ถูกทำลาย ชาวบ้านจึงเรียกร้องให้แก้ปัญหา
       
       “การแก้ปัญหาที่ผ่านมาก็เห็นแล้วว่า เขาใช้วิธีสร้างเขื่อนกันคลื่นกัดเซาะทั้งเขื่อนหินทิ้ง หรือกำแพงกันคลื่นซึ่งแก้ปัญหาได้ในจุดที่เขื่อนตั้งอยู่บ้านเรือนชาวบ้านปลอดภัย แต่ชายหาดจุดข้างเคียงก็ถูกกัดเซาะออกไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุดแม้จะรื้อออกก็ไม่ทำให้แก้ปัญหาได้ เมื่อเขายอมรับแบบนี้ก็เป็นเรื่องดี เพราะชาวบ้านที่เดือดร้อนสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้หากต้องการ” แหล่งข่าวระบุ




จาก                     :                    ผู้จัดการรายวัน    วันที่ 6 กรกฎาคม 2551
บันทึกการเข้า

ความจริงใจ อยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่คำพูด .....
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง