Save Our Sea

รายงานการพบสัตว์และพืชหายากในน่านน้ำไทย => พะยูน => ข้อความที่เริ่มโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 25, 2006, 08:08:36 AM



หัวข้อ: พะยูนทั่วชายฝั่งตกที่นั่งลำบาก-เจอสารพัดภัยคุกคาม
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 25, 2006, 08:08:36 AM

พะยูนทั่วชายฝั่งตกที่นั่งลำบาก-เจอสารพัดภัยคุกคาม ไทย-ออสซี่ระดมสร้างเครือข่าย 23 ชาติรณรงค์อนุรักษ์

นายประวิม วุฒิสินธุ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรชายฝั่งและทะเล(ทช.) เผยว่า ไทยได้จัดทำข้อตกลงความเข้าใจในการอนุรักษ์และการจัดการพะยูน และแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน โดยได้ร่วมระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีสมาชิกจากประเทศต่างๆ กว่า 23 ประเทศซึ่งเครือข่ายได้ร่างแผนงาน และอยู่ระหว่างการรอทีมงานของออสเตรเลียปรับปรุงสาระข้อมูลทั้งหมด เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศสมาชิกต่างๆ ร่วมกันอนุรักษ์ต่อไป

 สำหรับเนื้อหาสาระของร่างดังกล่าว พบว่า ประชากรพะยูนที่แพร่กระจายในทะเลและชายฝั่ง กำลังถูกคุกคามอย่างหนักด้วยกิจกรรมต่างๆ จากมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่งผลให้แหล่งที่อยู่ของพะยูนเสื่อมโทรม การพัฒนาชายฝั่ง มลพิษ เรือชน การล่าอุตสาหกรรมทางทะเลที่ขาดการควบคุมและการท่องเที่ยวรวมทั้งการประมง เราจึงต้องตระหนักถึงการอนุรักษ์พะยูนแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน รวมทั้งแหล่งหญ้าทะเลที่เป็นอาหารของพะยูนประเทศต่างๆ จึงควรมีส่วนร่วมในการับบทบาทการอนุรักษ์และจัดกรพะยูอย่างมีประสิทธิภาพและต่อการแนวทางด้านนิเวศแบบบูรณการ

ทั้งนี้ ประเทศที่ลงนาม MOU จะต้องร่วมมือกับประเทศอื่นๆในการอนุรักษ์และจัดการพะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน ยอมรับข้อตกลงระหว่างประเทศที่สามารถนำมาใช้ในการอนุรักษ์พะยูนในประเทศของตน โดยมีการรวบรวมกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน และประเทศที่ลงนามครั้งนี้จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพะยูน ระหว่างกัน



จาก  :   แนวหน้า  วันที่ 25 ตุลาคม 2549



หัวข้อ: Re: พะยูนทั่วชายฝั่งตกที่นั่งลำบาก-เจอสารพัดภัยคุกคาม
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ ตุลาคม 31, 2006, 07:06:36 AM

พะยูนวิกฤติหนักจากน้ำมือมนุษย์ 23 ปท.จี้อนุรักษ์

นายประวิม วุฒิสินธุ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรชายฝั่งและทะเล (ทช.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันไทยได้จัดทำข้อตกลงความเข้าใจในการอนุรักษ์และการจัดการพะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน

ในพื้นที่ที่มีพะยูนแพร่กระจาย โดยได้ร่วมระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีสมาชิกจากประเทศต่างๆ กว่า 23 ประเทศเข้าร่วมร่างข้อตกลง

สำหรับเนื้อหาของร่างดังกล่าว พบว่าประชากรพะยูนที่มีแหล่งแพร่กระจายกว้างในทะเลและชายฝั่งกำลังถูกคุกคามอย่างหนักด้วยกิจกรรมต่างๆ จากมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่งผลให้แหล่งที่อยู่ของพะยูนเสื่อมโทรม   การพัฒนาชายฝั่ง  มลพิษ เรือชน การล่า อุตสาหกรรมทางทะเลที่ขาดการควบคุมและการท่องเที่ยว รวมทั้งการประมง จึงต้องตระหนักถึงการอนุรักษ์พะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัย รวมทั้งหญ้าทะเลที่เป็นอาหาร ซึ่งประเทศต่างๆ ควรมีส่วนร่วมในการรับบทบาทการอนุรักษ์อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ พะยูนจัดเป็นสัตว์ที่ต้องอนุรักษ์ ซึ่งประเทศที่ลงนามในข้อตกลงจะต้องร่วมมือกันกับประเทศอื่นๆ ในการอนุรักษ์และจัดการตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่สามารถนำมาใช้อนุรักษ์พะยูนในประเทศของตน โดยมีการรวบรวมกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และแหล่งที่อยู่ของพะยูน  และจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของพะยูนระหว่างกัน  เพื่อลดสาเหตุที่ทำให้พะยูนตาย  เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในเรื่องแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนจากงานวิจัยและการติดตามตรวจสอบ  การรณรงค์สร้างจิตสำนึกและการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และจัดการพะยูน การส่งเสริมความร่วมมือในระดับชาติ ภูมิภาคและระหว่างประเทศต่อไป.


จาก  :   X-cite ไทยโพสต์ วันที่ 31 ตุลาคม 2549