Save Our Sea
เมษายน 29, 2024, 12:14:18 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้งดการตั้งหรือตอบกระทู้ ขอเชิญใช้บอร์ดใหม่ที่ http://www.saveoursea.net/forums
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สำรวจอ่าวไทยตอนใน ถิ่นอาศัยหากิน"โลมา"  (อ่าน 5243 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3501


เรารักในหลวง


ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 11, 2007, 07:36:00 AM »


สำรวจอ่าวไทยตอนใน ถิ่นอาศัยหากิน"โลมา"



"โลมา" เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ออกลูกเป็นตัว และมีหัวใจ 4 ห้องเช่นเดียวกับมนุษย์ จัดอยู่ในกลุ่มวาฬและโลมา มีอยู่ถึง 80 สายพันธุ์ทั่วโลก สามารถแบ่งเป็นโลมานํ้าจืดและโลมานํ้าเค็ม

โลมาเป็นสัตว์ฉลาดมีนิสัยร่าเริงและขี้เล่น ความเฉลียวฉลาดของโลมาเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป นักวิทยาศาสตร์ศึกษาพบว่าสมองของโลมามีวิวัฒนาการมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น อย่างเช่น ลิงซิมแปนซี บางรายงานพบว่าโลมาปากขวด มีอัตราขนาดสมองต่อขนาดร่างกายสัดส่วนเป็นรองแค่เพียงมนุษย์เท่านั้น



ที่สำคัญโลมาถือเป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของท้องทะเลและแหล่งนํ้าที่โลมาอาศัยอยู่ เพราะในแต่ละวันโลมาต้องกินปลาเป็นจำนวนมาก หรือประมาณ 4-9 เปอร์เซ็นต์ต่อนํ้าหนักตัว ฉะนั้น วิถีชีวิตของโลมาจึงสัมพันธ์ต่อความสมบูรณ์ของระบบนิเวศชายฝั่งทะเลและแม่นํ้า

จากความสำคัญของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะโลมาและวาฬ ซึ่งเป็นสัตว์สงวนคุ้มครองตามบัญชี Appendix I และ II ในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ชนิดสัตว์ป่า และพันธุ์พืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือ "ไซเตส" ซึ่งในปัจจุบันจำนวนประชากรโลมาในประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤต

ทาง WWF ประเทศไทย องค์กรด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่สำรวจโลมา โดยเริ่มที่บริเวณปากแม่นํ้าบางปะกง ตามโครงการอนุรักษ์โลมาในอ่าวไทยตอนใน เพื่อรวบรวมข้อมูล และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านต่างๆ สำหรับเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัย และการอนุรักษ์โลมาในอ่าวไทยตอนใน



เนื่องจากอ่าวไทยตอนในมีแนวชายฝั่งทะเลระยะทาง 112 กิโลเมตร มีลักษณะแคบคล้ายรูป ก.ไก่ เป็นแหล่งรวมดินตะกอนสะสมจากต้นนํ้าตอนในของประเทศ มาจากแม่นํ้า 5 สายไหลลงทะเล คือ บางปะกง เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลองจนถึงปากแม่นํ้าเพชรบุรี

จึงเป็นที่รวมของ 3 นํ้า คือ นํ้าจืด นํ้ากร่อย และนํ้าเค็ม มีระบบนิเวศปากแม่นํ้าที่มีความสมบูรณ์ และหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่ง ไม่ว่าพืชนานาชนิด แพลงตอน ไปจนถึงสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ที่เอื้อประโยชน์แก่มนุษย์อย่างมหาศาล

จากการสำรวจโลมาและวาฬบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนใน ของเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบโลมา 3 ชนิด ได้แก่ โลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก และโลมาหัวบาตรหลังเรียบ อาศัยอยู่ตามบริเวณแนวชายฝั่งทะเลและปากแม่นํ้าในบริเวณอ่าวไทยตอนใน



นายสุรศักดิ์ ทองสุกดี นักวิชาการประมง ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน อธิบายว่า บริเวณปากแม่นํ้าบางปะกง พบโลมาอิรวดีมากที่สุด บางครั้งอาจมากถึง 30 ตัว และจะพบในช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งโลมาจะเข้ามาหาอาหารและผสมพันธุ์

ที่ผ่านมาเราสำรวจโลมาทุกเดือน โดยทีมสำรวจที่ประกอบด้วยชาวประมงท้องถิ่น นักวิจัยของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงเจ้าหน้าที่วิจัยของ WWF ประเทศไทย จะอบรมเทคนิคในการสำรวจและวางแผน จากนั้นเก็บข้อมูลบันทึกถึงจุดที่พบขนาดของฝูงโลมา พฤติกรรม วันเวลา รวมถึงระบบนิเวศ

นายสุรศักดิ์ อธิบายต่อว่า นอกจากนี้ ยังพบว่าเครื่องมือในการทำประมงบางชนิด เช่น อวนหาปลา เป็นสาเหตุที่ทำให้โลมาตายมาเกยหาดและชายฝั่งในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 20 ตัวทั่วประเทศ ล่าสุดเมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา พบซากโลมาอิรวดีที่แม่นํ้าบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ช่วงเวลา 5 เดือนที่โลมาเข้ามาผสมพันธุ์นั้น ทำให้ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการพานักท่องเที่ยวชมโลมา โดยชาวประมงดัดแปลงเรือประมงให้เป็นเรือรับท่องเที่ยวเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง

ในบริเวณปากแม่นํ้าบางปะกง เรายังสามารถพบโลมาปากขวด โลมาเผือกหลังโหนก และไม่ไกลจากทะเลเคยมีรายงานว่าพบวาฬบรูด้า กำลังกินอาหารในบริเวณดังกล่าวอีกด้วย การอนุรักษ์โลมาในบริเวณปากแม่นํ้าบางปะกงจึงมีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง โลมาที่เข้ามาในแม่นํ้าบางปะกงต้องได้รับการเฝ้าระวังและดูแล



ในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีหน่วยงานราชการใดที่ให้ความสนใจ และเข้าไปดูแลโลมาในบริเวณแม่นํ้าบางปะกงอย่างจริงจัง ต่อมากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งต้องปฏิบัติภารกิจด้านการคุ้มครอง อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยจัดตั้งหน่วยส่งเสริมการอนุรักษ์โลมาขึ้นร่วมกับเทศบาลตำบลท่าข้าม อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา พร้อมทำหน้าที่ตรวจตราดูแลการกระทำผิดกฎหมาย และทำลายระบบนิเวศทางทะเลอย่างต่อเนื่อง

เพื่อให้พื้นที่แห่งนี้เป็นบริเวณที่ปลอดภัย และอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสัตว์นํ้าที่เป็นอาหารของโลมา รวมถึงต้องรักษาระบบนิเวศชายฝั่งให้เกิดความสมดุล รักษาความต่อเนื่องของห่วงโซ่อาหารในทะเลและปากแม่นํ้าให้คงอยู่

ท้ายที่สุดยังเป็นการเสริมอาชีพและรายได้ให้แก่ชาวประมงพื้นบ้านอีกทางหนึ่ง จะได้มีรายได้ที่สูงขึ้น และมีกำลังใจในการให้ความร่วมมือกับราชการในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้อย่างเต็มที่



จาก    :    น.ส.พ.ข่าวสด   วันที่ 11 มีนาคม 2550
บันทึกการเข้า

"ทุกวันนี้ประเทศไทยยังมีทรัพยากรพร้อมมูล ทั้ง ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคล ซึ่งสามารถนำมา ใช้เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์และเสถียรภาพอัน ถาวรของบ้าน เมืองได้เป็นอย่างดี ข้อสำคัญจะต้องรู้จักใช้ทรัพยากรนั้นอย่างฉลาด โดยมุ่งถึงประโยชน์แท้จริงที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ" ..... พระราชดำรัส
noon_knight
Newbie
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 33


love whale ... save whale... for our world.

noon_knight_2535@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 12, 2007, 12:47:06 PM »

ผมดีใจมากเลยนะครับที่ได้เห็นข่าวนี้หน่วยงานต่างๆจะได้ดูแลเรื่องโลมามากขึ้น ชื่นใจจัง  Roll Eyes
โลมามีความสำคัญมากๆในระบบนิเวศทางทะเลนะครับ
อยากให้ทุกๆคนเห็นความสำคัญและช่วยกันดูแลในเรื่องๆนี้นะครับ
เราจะได้เห็นโลมาและมีท้องทะเลที่สวยงามตลอดไป....


* images3.jpg (4 KB, 135x90 - ดู 1225 ครั้ง.)

* images6.jpg (2.96 KB, 129x85 - ดู 1207 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

"noon_knight" believe me to run away and going to future...
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.309 วินาที กับ 21 คำสั่ง