Save Our Sea
เมษายน 19, 2024, 01:09:14 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้งดการตั้งหรือตอบกระทู้ ขอเชิญใช้บอร์ดใหม่ที่ http://www.saveoursea.net/forums
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “พะยูน” หลังคลื่นยักษ์จะอยู่หรือไป?  (อ่าน 3411 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ชาญชล
Newbie
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2005, 03:35:04 PM »

ที่มา: http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9480000001751

หลังเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภาคใต้ไม่กี่วัน มีสกู๊ปข่าวชิ้นหนึ่งน่าสนใจพาดหัวไว้ว่า“ท่องเที่ยวพังหมื่นล้านปะการัง-สัตว์น้ำเค็ม หวั่นสิ้นชื่อไข่มุกอันดามัน” (คมชัดลึก วันที่ 28 ธันวาคม) ภายในข่าวมีส่วนหนึ่งพูดถึงว่าห่วงพะยูนสูญพันธ์!!!
นอกจากความกังวลในเรื่องปะการังซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่สำคัญแล้ว ดูเหมือนความเป็นห่วงเจ้า “พะยูน หรือหมูน้ำ” ก็มีมากไม่แพ้กัน
เป็นที่ทราบกันว่า “พะยูน” เป็นสัตว์หายากชนิดหนึ่งซึ่งถูกบรรจุลงในบัญชีสัตว์สงวนที่มีทั้งหมด 15 ชนิด สามารถเจอพวกมันได้ทั้งสองฝั่งของคาบสมุทรมลายู โดยเฉพาะทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก

จากการสำรวจเมื่อปี 2540 ของสถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล จังหวัดภูเก็ต พบว่าพะยูนอาศัยอยู่ตลอดแนวชายฝั่งภาคใต้ตะวันตกเป็นบริเวณกว้างกว่าฝั่งอ่าวไทย ซึ่งจะพบเพียงที่ระยอง ตราด จันทบุรี และบางส่วนของภาคใต้ฝั่งตะวันออก ซึ่งเดิมทีหลายคนมักเข้าใจว่า แหล่งอาศัยของพะยูนในภาคใต้มีที่จังหวัดตรังเพียงแห่งเดียว

เมื่อคลื่นยักษ์มา ไม่ได้มีเพียงแค่ปริมาณน้ำมหาศาลและกระแสความรุนแรงที่พัดเข้ามาเท่านั้น คลื่นสึนามิยังหอบเอาโคลนและทรายจากท้องทะเลลึกขึ้นมาในปริมาณมากแล้วสาดซัดขึ้นไปบนฝั่ง ขากลับยังมีของแถมคือกอบเอาทรายบริเวณชายหาดและข้าวของต่างๆ ที่อยู่ในรัศมีการทำลายของมันลงทะเล ดังภาพที่เห็นกันบนจอทีวีที่ปรากฏข้าวของลอยเกลื่อนตามน่านน้ำชายฝั่ง
พลังของกระแสน้ำและโคลนทรายนี่เอง ที่หลายคนกลัวว่าจะทำลายแหล่งหญ้าทะเลซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพะยูน ซึ่งเดิมแหล่งอาหารนี้ก็อยู่ในสภาวะวิกฤติจากมลภาวะโลกที่มีสูงขึ้นอยู่แล้ว

ณ วันนี้จึงมีคนถามกันมากว่าหลังเหตุการณ์สึนามิพะยูนจะสูญพันธุ์ไปจากเมืองไทยหรือเปล่า?!?

“ หญ้าทะเล”อาหารของพะยูนซึ่งคาดว่าไม่ได้รับผลกระทบมากเพราะไม่ได้โดนแรงปะทะอย่างรุนแรง
เพชร มโนปริตร รองผู้อำนวยการสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย เล่าให้ฟังว่า “พะยูนอยู่ในความดูแลรับผิดชอบโดยสมาคมรักษ์สัตว์ป่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อุทยานแห่งชาติทางทะเล หาดเจ้าไหม ส่วนใหญ่คนจะรู้สึกว่าพะยูนอยู่ที่ตรังที่เดียว แต่ที่หาดเจ้าไหม จะเป็นแหล่งวิจัยใหญ่ที่สุดเพราะมีข้อมูลสำรวจ 3 ปีที่แล้วเป็นตัวเลขพะยูน ไม่ต่ำกว่า 123 ตัว”
ก่อนจะให้ความรู้ว่า “พะยูนเป็นสัตว์ที่ไม่ใช่จำพวกปลา กินหญ้าทะเลอย่างเดียว คนจะรู้สึกว่ามันเคลื่อนตัวช้าแต่เมื่อมีสิ่งมาคุกคาม พะยูนก็สามารถเคลื่อนตัวหนีได้อย่างรวดเร็ว”

ทางด้านของ กาญจนา อดุลยานุโกศล นักวิชาการประมง8 (สวพ.) กรมทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งและป่าชายเลน ร่ายยาวให้ฟังว่า
“หลายคนกังวลว่าพะยูนกับหญ้าทะเลจะหมดจากทะเลไทย จริงๆแล้ว ทีมงานสถาบันวิจัยของกรมทรัพยากรธรณีออกมายืนยันว่าสภาพปะการังรอบภูเก็ตทั่วไปเสียหายไม่ถึง 10% ซึ่งเกิดจากสาเหตุท่อนซุงและตะกอนทับ น่าแปลกแม้คลื่นจะแรงมาก... แต่พอมีคนไปสำรวจก็พบน้ำใสอย่างไม่น่าเชื่อ แม้ไม่เหมือนเดิมแต่ก็ยังใสกว่าที่เราคิด ปะการังที่เสียหายแค่หักลงมา ยังมีชีวิตอยู่ เกาะตะเภาเล็ก ตะเภาใหญ่ไม่มีปัญหา ทาง อุทยานฯ ก็ไม่มีปัญหา ปะการังยังสวยเหมือนเดิม”
ก่อนพูดถึงเกาะอื่นว่า “เกาะสุรินทร์ที่ช่องขาดระหว่างสุรินทร์เหนือ-ใต้เสียหาย 60-70% พีพีด้านไม่โดนลมปะการังไม่เสียหายอะไร เกาะลิบงยืนยันโดยชาวประมงว่าไม่กระทบมาก เพราะคลื่นมาหลังเขาซึ่งเป็นปะการังน้ำลึก เกาะบอยาคงเสียหายบ้างแต่ยังไม่ได้ลงไปตรวจ เกาะยาวน้อยยาวใหญ่คงไม่เสียหายมาก ป่าชายเลนใน จ.ภูเก็ต คนบอกเรือแตกป่าชายเลนหักบ้าง ตอนนี้นักวิชาการจาก 5 มหาวิทยาลัยคือ จุฬาฯ บูรพา มหิดล เกษตร รามคำแหง กำลังสำรวจทะเลอันดามันเพื่อตรวจสภาพ ปะการังและหญ้าทะเล”
ด้วยมลภาวะทางทะเลที่เพิ่มขึ้น อัตราการตายของลูกพะยูนจึงสูงมาก จึงน่าเป็นห่วงกับประชากรของพะยูนในอนาคต

สาเหตุที่พะยูนรอดตายระหว่างที่เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ

กาญจนา อดุลยานุโกศล ยังแสดงทัศนะถึงผลกระทบจากสึนามิต่อพะยูนว่า “พอเกิดสึนามิขึ้น หลายคนเป็นห่วง ด้วยความที่เขาตัวใหญ่ หลายคนกลัวว่าแรงดันน้ำอาจจะมีผลเหมือนที่ทำให้คนเสียชีวิตจำนวนมากเพราะพะยูนอาศัยใกล้ชายฝั่ง แต่วันนี้ยังไม่มีรายงานว่ามีพะยูนเกยตื้นตาย พบตัวเดียวที่ฐานทัพเรือทับละมุ เป็นพะยูนตัวใหญ่ซึ่งมีอายุเยอะ ไม่ต่ำกว่า 40 ปี ได้รับบาดเจ็บภายนิดหน่อย ตัวเขายาว 2.6 เมตร เกือบ 3 เมตร หนักราวๆ 300 กิโลกรัม ซึ่งทางทหารเรือช่วยพยุงกันกว่า 3 ชม. เพื่อนำไปปล่อยกลับทะเล ”

“ช่วงนั้นน้ำขึ้น พะยูนกำลังเข้ามาหากิน แต่คาดว่ายังมาไม่ถึงฝั่ง ยังอยู่ในที่ลึก พอเกิดน้ำแห้งลงไปและกลายเป็นกำแพงคลื่นเขาจึงไม่ได้ผลกระทบมาก แต่ถ้าอยู่ใกล้ฝั่งสัก 200-300 เมตร ไม่แน่อาจถูกพัดเข้ามา บริเวณที่เขาอยู่เยอะ อย่างเกาะลิบงก็ไม่โดนคลื่นโดยตรงเท่าไร และถึงวันนี้ก็ยังไม่มีรายงานว่าพบพะยูนเกยตื้นอีกเลย”

เป็นอันว่าพะยูนที่หาดเจ้าไหมไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าคน แต่ก็ยังมีข้อสงสัยในเรื่องของแหล่งหญ้าที่ทะเล อาหารชนิดเดียวที่หล่อเลี้ยงชีวิตพวกมัน
“ในส่วนของหญ้าทะเลคงไม่เสียหายมาก ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจ แล้วผลออกมาว่าเสียหาย 20 % หญ้ายังคงขึ้นได้ เพราะบริเวณนั้นไม่ได้ถูกตะกอนหนามาก สามารถลอกได้ไม่มีปัญหา คิดว่ากลางเดือนมกราคมนี้คงได้ความชัดเจนทั้งหมด หญ้าทะเลส่วนมากเขาก็ลู่ตามคลื่นไป ไม่ได้โดนปะทะมากมาย และเป็นแค่ชั่วขณะไม่นานมากไม่เหมือนกับเวลาโดนพายุที่อาจจะหนักกว่าและก็เหมือนกับหญ้าบกที่ขึ้นเองได้”
แม้จะเป็นข่าวที่น่ายินดีว่าพะยูนไม่ได้รับความกระทบกระเทือนมาก รวมไปถึงหญ้าทะเลอาหารคู่กายของเจ้าพะยูนก็ไม่ได้รับความเสียหายอย่างที่ใครหลายคนเป็นห่วง แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และรีบจัดการโดยด่วนคือ "ปัญหาขยะ"

“ขยะเป็นสิ่งหนึ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ซึ่งขยะถูกคลื่นซัดมาจากไหนต่อไหนมากมาย ต้องมีมาตรการเก็บให้เรียบร้อย ไม่อย่างนั้นก็อาจจะโดนคลื่นซัดให้ลงทะเลอีก และสัตว์ทะเลอย่างเต่าก็อาจจะกินเข้าไป หรืออาจทำให้ปะการังไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ดังนั้นขยะบนทั้งบกและทะเลควรจะรีบจัดการเก็บให้หมด” กาญจนากล่าวด้วยน้ำเสียงเป็นห่วง

พะยูนจอมอึดน้ำหนักกว่า 300กิโล ที่โชคร้ายโดนคลื่นยักษ์ซัดมาเกยตื้นจนทหารเรือต้องช่วยกันพากลับลงทะเลอย่างปลอดภัย
“วันที่ 5 มกราคม 2548 นี้จะมีนักดำน้ำมาสำรวจโดยมีนักวิชาการเป็นไกด์ช่วยเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เรื่องปะการัง จริงๆ คลื่นไม่มีผลกระทบกับปะการังและพะยูนมาก โอกาสพะยูนตายน้อย คลื่นมาสูงท่วมยอดสน แรงปะทะสูงสุดจะอยู่ยอดคลื่น ขึ้นกับว่าตอนนั้นพะยูนอยู่ตรงไหน ถ้าไม่ถูกกระแทกก็ไม่บาดเจ็บ ยังไงก็ไม่น่าสูญพันธุ์ตราบเท่าที่หญ้าทะเลยังมี ไม่น่าเป็นห่วง นอกจากเรื่องร่องน้ำเปลี่ยนที่จะทำให้สัตว์น้ำหลงทาง” นี่คือคำกล่าวทิ้งท้ายอย่างมั่นใจ
คงพอจะเป็นคำตอบได้บ้างว่าวันนี้เจ้า “พะยูน หรือ หมูน้ำ” ตัวอุ้ยอ้ายน่ารักที่ว่ายน้ำอยู่แถบชายฝั่งอันดามัน จะมีอนาคตต่อไปอย่างไร
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
พะยูนมีชื่อเรียกหลายชื่อไม่ว่าจะเป็นหมูน้ำ วัวทะเล หมูดุด และดูกอง แตกต่างกันออกไปตามถิ่น บางคนก็เรียกเจ้าสัตว์ชนิดนี้ว่า เงือก เชื่อว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกับช้าง แต่วิวัฒนาการอาศัยอยู่ในทะเล ปัจจุบันเหลือพบในประเทศไทยเพียงสกุลเดียว คือดูกอง( Dugong ) มีลักษณะพิเศษตรงที่หางเป็นแฉกและมีเขี้ยวเป็นเลี้ยงสัตว์ลูกด้วยนมในทะเลเพียงชนิดเดียวที่กินเฉพาะพืชเป็นอาหาร เป็นที่ทราบกันดีว่าอาหารของมันคือหญ้าทะเลชนิดต่าง ๆ แล้วแต่ว่าบริเวณที่พะยูนอาศัย โดยกินหญ้าทะเลทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนในช่วงน้ำขึ้น และหลบไปอาศัยในร่องน้ำในช่วงน้ำลง ถ้าในบริเวณที่อยู่อาศัยเกิดคลาดแคลนหญ้าทะเล พะยูนจะกินสาหร่ายแทนหรืออพยพไปหาหญ้าทะเลแหล่งใหม่

พะยูนปกติจะเป็นสัตว์รักสงบ ส่วนมากอยู่เป็นฝูงตามชายฝั่งน้ำตื้นมากกว่าน้ำลึกและเป็นบริเวณที่คลื่นลมไม่แรง ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในการกินหญ้าทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ในไทยมีพะยูนอยู่ทั้งสองฝั่งคือทั้งอ่าวไทยและอันดามัน แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก
ทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงชุมชนท้องถิ่นต่างสนับสนุนการอนุรักษ์พะยูน สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นการติดเครื่องประมงโดยบังเอิญ ความเสื่อมโทรมของหญ้าทะเลที่เป็นแหล่งอาหาร สภาวะมลพิษต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้จำนวนพะยูนลดลงอย่างรวดเร็ว อัตราการตายของพะยูนสูงถึง 12 ตัวต่อปี คาดว่าปัจจุบันในประเทศไทยเหลืออยู่ไม่เกิน 200 ตัวและอาจสูญพันธุ์ในเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า

http://www.saveoursea.net/oldboard/viewtopic.php?t=1044&sid=113b3e5feaca3705d69b7fff5f33b01f
บันทึกการเข้า
Heineken Narcosis
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 92


Rock me if you can :D

alisa_minty@hotmail.com alisa_minty@yahoo.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 02, 2005, 07:24:54 AM »

ว๊า  .... จะได้มีโอกาสได้เจอพะยูนมั้งไม๊เนี่ย  Huh
บันทึกการเข้า

ทำดีเด้วยใจ เพื่อทะเลไทย สวยเนินนาน
สายชล
Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 4098



ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: ธันวาคม 02, 2005, 08:22:23 AM »

 Grin

เดี๋ยวพี่สองสายจะลองไปด้อมๆมองๆหาพะยูนแถวๆกระบี่และตรังให้ก่อนนะคะ....หากเห็นจะส่งข่าวมาให้หนู Heineken Narcosis ตามไปค่ะ
บันทึกการเข้า

Saaychol
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.126 วินาที กับ 21 คำสั่ง