Save Our Sea
เมษายน 19, 2024, 09:24:42 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้งดการตั้งหรือตอบกระทู้ ขอเชิญใช้บอร์ดใหม่ที่ http://www.saveoursea.net/forums
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ดำน้ำอย่างไร จะไม่ปวดหู  (อ่าน 7156 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Batty
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2007, 09:47:17 PM »

ขออนุญาต ฝากบทความเพื่อแบ่งปันความรู้กับเพื่อนๆนักดำน้ำนะครับ     Huh

ดำน้ำอย่างไร จะไม่ปวดหู

เขียนโดย ภก.อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล บรรณาธิการโดยคุณบุษกร วิริยานนท์ชัย รูปภาพประกอบจาก Internet ครับ...
บันทึกการเข้า
Batty
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2007, 09:47:43 PM »

เพื่อนๆ นักดำน้ำ โดยเฉพาะมือใหม่ทุกท่านคงเคยได้สัมผัสประสบการณ์ทดลองการปรับความดันอากาศหรือการเคลียร์หูมาแล้ว 
ในระหว่างการดำดิ่งสู่ความลึกของโลกสีคราม ของแถมที่ตามมาจากการที่เคลียร์หูได้ช้า
หรือระหว่างที่เราดำเร็วเกินไป ก็คือ "ฉันเจ็บหูจังเลย" ภายหลังจากการไปดำน้ำกลับมา
ที่มีอาการน้อยก็แค่หูอื้อ เหมือนมีลมเข้าไปหวีดหวิวอยู่ในช่องหูตลอดเวลาเหมือนลมผ่านในช่องเขา
ถ้าเป็นมากก็มีอาการเจ็บหู เหมือนมีอะไรมาบีบช่องหูของเราตลอดเวลา

สำหรับนักดำน้ำบางคนที่ไม่เคลียร์หูเลย หรือทำได้ช้ามาก หรือทำเร็วเกินไป จะมีอาการเจ็บจี๊ดที่ช่องหูตลอดเวลา
และบางครั้งถ้าเป็นเอามาก ก้ออาจจะมีเลือดสีแดงสดไหลออกมาจากช่องจมูกอีกด้วย
อาการเจ็บหูที่เล่ามาทั้งหมด มันช่างเจ็บปวดทรมาน และน่ารำคาญจริงๆ ทำให้ดำน้ำอย่างไม่มีความสุขเลยใช่ไหมครับ
เพื่อนๆผุ้โปรดปรานการดำน้ำเป็นสรณะ วันนี้เราจะมาแนะนำถึงสาเหตุ และการป้องกันให้เกิดอาการดังกล่าวน้อยที่สุด
บันทึกการเข้า
Batty
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2007, 09:48:23 PM »

ทำไมจึงมีอาการ "ปวดหู"

ก่อนตอบคำถามนี้ ขอมีเครื่องมือที่ยืมมาจากโดราเอมอน เป็นไฟฉายย่อขนาดของทุกอย่างให้เล็กจิ๋วได้
เราจะนำมาฉายนักดำน้ำให้ย่อตัวเป็นมดตัวเล็กกระจิริด และไต่เข้ามาในดูอวัยวะในช่องหูเราก่อนดีไหมครับ

จากภาพประกอบ ในช่องหูของเราจะมีอวัยวะที่เรียกว่า หูชั้นกลาง ที่มีส่วนของประตูปิดที่เรียกว่า Ear Drum เมื่อเปิดประตูเข้าไปเราจะพบอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการควบคุมทิศทางการเคลื่อนไหวของเรา ในช่องหูนี้เองจะมีท่อที่เรียกว่า Eustachian Tube ซึ่งเป็นท่ออุโมงค์ที่ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อและกระดูกอ่อน ที่จะไปเชื่อมต่อกับคอหอย

ทำไมจึงปวดหู สาเหตุก็คือ ความดันอากาศที่แตกต่างกันของ หูชั้นกลาง และสภาพแวดล้อมนี่ละครับ ขณะที่คุณนั่งอ่านบทความนี้อยู่บนผิวโลก ความดันอากาศของห้องรอบตัวเราจะเท่ากับความดันในหูของเรา เราก็สบายดีใช่ไหมครับ พอเรานั่งเครื่องบินจะไปลงเรือที่ภูเก็ต เมื่อเครื่องบินไต่ระดับไปสู่ความสูง ความดันภายนอกจะน้อยกว่า (ถึงแม้ว่าในห้องโดยสารจะปรับความดันแล้วก็ตาม) ความดันที่มากกว่าในร่างกายคุณจะเป่าอากาศผ่านช่องหูของคุณออกไปด้านนอก เวลาเครื่องบินขึ้นหรือลงเร็ว คุณจึงมีอาการหูอื้อได้ง่าย ปล่อยไว้ซักพักพอยืนอยู่บนพื้นดินความดันเท่ากัน หูของคุณก็จะกลับมาทำหน้าที่ได้เหมือนเดิม

แต่เมื่อคุณเดินทางดำดิ่งไปสู่ความลึกของห้วงน้ำ คงทราบเป็นอย่างดีแล้วว่าในน้ำจะมีแรงกดดันของเนื้อน้ำที่มากกว่าความดันอากาศปกติเมื่อคุณอยู่บนผิวน้ำ ยังจำได้ไหมว่าเมื่อคุณดำลงไปกี่เมตร แรงกดดันใต้น้ำจะเป็น 1 เท่า ของความดันที่ผิวน้ำ แรงกดดันที่มากกว่าด้านนอก จะดันเข้าไปในช่องหูของคุณ ผลักดันให้ Ear Drum เปิดประตูโย้เข้าไปในหูชั้นกลางอีกด้วย


* middle ear.jpg (20.39 KB, 400x320 - ดู 530 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Batty
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2007, 09:48:58 PM »

หากคุณค่อยๆ ดำลึกลงไปอย่างช้าๆ และคอยเคลียร์หูอย่างสม่ำเสมอ ด้วยหลากหลายวิธีที่คุณเรียนมา อย่างเช่น ‘การกดจมูกแล้วเป่าลมออกหูอย่างเบาๆ’
‘การขยับกรามอย่างช้าๆ’ หรือ ‘หาวไปด้วยระหว่างดำดิ่งลงไป’ วิธีการเคลียร์หูต่างๆ ที่ว่ามา เราทำไปเพื่อให้ท่อ Eustachian Tube ช่วยระบายความดันระหว่างภายนอกผิวน้ำ และภายในร่างกายของคุณได้อย่างสมดุลย์ในแต่ละระดับความลึกที่คุณลงไป คุณก็จะรู้สึก "สบายหู" และดำน้ำได้อย่างเพลิดเพลินใจ

แต่ถ้าคุณดำลึกเร็วเกินไปและไม่ได้เคลียร์หูไปด้วย แรงดันอากาศที่มากกว่าจะผลักลมเข้าสู่ประตู Ear Drum และแรงดันอากาศที่มากกว่านี้ จะเหมือน "มือตุ้บตั้บ" ที่จะไปกดทับหูชั้นกลางของคุณจนบวมไปหมด

แรงกดดันนี่แหละครับ พอไปผลักที่ Ear Drum ก็จะทำให้คุณเกิดอาการ "หูอื้อ" และพอไปกดดันช่องหูส่วนกลาง คุณก็จะเกิดกาการ "เจ็บหู" แรงกดยิ่งมาก หรือคุณไม่ปรับความดันให้ทันท่วงที จะไปบีบให้ช่องหูส่วนกลางของคุณบวม ตอนนี้คุณจะรู้สึก "ปวดหู" อย่างมาก ถ้าเป็นมากช่องหูส่วนกลางก็อาจจะฉีกขาด (เหมือนลูกโป่งแตก) คุณจะมีอาการเจ็บหูจี๊ด ร้าวไปตามช่องหูทั้งหมด และเลือดที่ไหลรั่วมาจากหูส่วนกลางที่ฉีกขาด ก็จะทะลักออกมาทั้งในช่องหู ช่องจมูก และลำคอ
ผ่านด่านหฤโหดใต้น้ำไปแล้ว พอคุณลอยตัวเพื่อที่จะเดินทางสู่ผิวน้ำ หากคุณปรับความดันได้อย่างดี ความดันที่มากกว่าในร่างกายคุณก็จะเป่าลมผ่านท่อ Eustachian Tube ย้อนกลับไปหูชั้นกลาง และด้านนอกในที่สุด ดังนั้น เวลาลอยตัวขึ้นช้าๆ คุณจะรู้สึกและได้ยินเสียงลมปุดๆ ผ่านช่องหูของคุณระบายออกไป แต่หากคุณยังขึ้นเร็วเกินไป แรงดันที่มากกว่าก็จะมากดซ้ำเติมที่หูของคุณอีก เมื่อเดินทางสู่ผิวน้ำแรงดันที่มากกว่าก็จะผลักให้เลือดที่ไหลรั่วจากช่องหูที่ฉีกขาด ทะลักออกมาตามช่องหู รูจมูก หรือช่องปากของคุณ

ยังไม่จบเพียงแค่นี้ใช่ไหมครับ อาการหูอื้อเหมือนมีอากาศกักอยู่ในช่องหู ลองเอานิ้วแตะที่ช่องหูเบาๆ แล้วเจ็บมากๆ เหมือนหูบวม เนื่องจากช่องหูชั้นกลางมีตัวที่ควบคุมการทรงตัว และการบอกทิศทางของคุณด้วย หากมันฉีกขาดชำรุดไป คุณก็จะเดินโซเซ บ่งบอกทิศทางไม่ได้ บางรายก็มีอาการหงุดหงิดได้ง่าย หรือสูญเสียการได้ยินไปเลยก็มี

ถ้าคุณมีอาการน่ารำคาญต่างๆ ที่เล่ามาทั้งหมดแล้ว อย่าได้วางใจหรือคิดว่ามันจะหายไปเอง ถ้าหูของคุณอักเสบช้ำบวมน้อยๆ ร่างกายของคุณจะค่อยๆ สมานตัวเอง แต่จะเป็นไปอย่างช้ามาก และหากว่าคุณยังฝืนดำน้ำต่อไปโดยไม่ฝึกการปรับความดัน พร้อมกับปล่อยให้หูของคุณบวมเข้าบวมออกตลอดทริปของการดำน้ำ เรามีความเสียใจที่จะบอกว่า หูชั้นกลางของคุณฉีกขาด และชำรุดอย่างมาก คุณก็จะหมดโอกาศดำน้ำ และได้ยินเสียงไปในที่สุด

คำแนะนำเพียงอย่างเดียวสำหรับบำบัดอาการช่องหูต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก็คือ การไปพบแพทย์ผู้ชำนาญการช่องหู ตา จมูก หรือที่เขาเรียกว่า Ent แพทย์จะซักถามอาการ ส่องดูพยาธิ สภาพของช่องหูของคุณ และให้ยารักษาแต่ละอาการ และสั่งพักให้คุณหยุดดำน้ำไปจนกว่าช่องหูของคุณจะกลับมาปกติเหมือนเดิม


* middle_ear_pressure.gif (132.2 KB, 350x304 - ดู 579 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Batty
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2007, 09:49:35 PM »

แล้วฉันจะกลับไปดำน้ำได้อีกไหม ?
แน่นอนครับกินยาให้ครบ ทำตามคำแนะนำที่หมอแนะนำ เมื่อแพทย์ Ent ตรวจช่องหู และทดสอบการได้ยินจนเป็นปกติแล้ว
แต่ก่อนที่คุณจะไปดำน้ำอีก เรามีคำแนะนำดังต่อไปนี้ เพื่อคุณจะได้ไม่ซ้ำรอย อาการเจ็บหูเหมือนเดิมอีก

รักษาร่างกายให้แข็งแรง  :
หากเรารักษาช่องทางเดินหายใจให้ปกติ ไม่มีอาการหมักหมมของเยื่อเมือกเสมหะ ตลอดเส้นทางเดินหายใจ ตั้งแต่โพรงจมูก ปาก และช่องหู ถ้าคุณเป็นโรคหวัด หรือภูมิแพ้ จนมีสารคัดหลั่งเต็มโพรงจมูกไปหมด สารต่างๆ เหล่านี้จะไปอุดตันทางเดินหายใจ และบางครั้งก็ไปท่วมท่อ Eustaenian Tube ทำให้อุดตัน จนคุณเคลียร์หูได้ยากกว่าเดิมเข้าไปอีก ถ้าเป็นไซนัส หรือภูมิแพ้ ควรรับการรักษาจนอาการดีพอที่จะควบคุมอาการได้ หากเป็นหวัดควรพักผ่อนให้แข็งแรง หรือยกเลิกการเดินทางไปก่อน รอให้ร่างกายแข็งแรงเสียก่อนค่อยมาดำน้ำ ก็ยังไม่สายไปหรอกครับ

หลีกเลี่ยงสารระคายเคือง  :
การสูบบุหรี่ ควันจากเครื่องยนต์เรือ ละอองเกสร หรือสารก่อให้เกิดอาการแพ้ที่คุณเป็นอยู่ หากคุณสูดดมเข้าไปสารเหล่านี้จะไปทำให้เกิดอาการบวม และหากมีสารคัดหลั่งท่วมเต็มช่องทางเดินหายใจมากขึ้น คุณจะเคลียร์หูได้ยุ่งยากมากกว่าปกติ พยายามสูดอากาศที่บริสุทธิ์ บริเวณท้ายเรือก่อนโดดลงน้ำ หากจำเป็นจริงๆ อาจจะต้องกินยาในกลุ่ม Nasav Decongestant ได้แก่  Maxifed, Actifed ที่ยาจะไปออกฤทธิ์ขยายช่องทางเดินหายใจ และลดสารคัดหลั่งทำให้คุณเคลียร์หูได้ง่ายขึ้น

หมั่นเคลียร์หูอย่างสม่ำเสมอ  :
เมื่อดำดิ่งลงไปทุกๆ 5 ฟุต ถ้าโล่งจมูกลงไปได้ง่ายๆ ก็อย่าหยุด หมั่นเคลียร์หูลงไปตลอดเวลาทุกความลึก หากยังรู้สึกอุดตันอยู่ให้พยุงตัวลอยไว้ อย่าดำลึกลงไปอีก ลอยตัวขึ้นเล็กน้อยซัก 5 ฟุต แล้วลองเคลียร์หูต่อไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆ

อย่าเร่งเคลียร์หูเร็ว และแรงๆ  :
นักดำน้ำมือใหม่บางคนวิตกกังวลว่าจะเคลียร์หูไม่ได้ ก็มักจะออกแรงปรับความดันอย่างรุนแรง เพื่อให้ดำน้ำได้ลงลึกอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อร่างกายคุณเลย เพราะการกดดันอาการแรงๆ เร็วๆ ในช่องหู ก็ยิ่งไปซ้ำเติมให้ช่องหูชั้นกลางโดนแรงบีบอัดมากขึ้น จนเกิดอาการปวดหูตามมาในที่สุด ไม่ต้องรีบนะครับเพื่อนๆ นักดำน้ำ เพราะ Dive Leader พร้อมจะรอคุณดำไปสู่จุดหมายพร้อมกันเสมอ
ปรับความดันช้าๆ สม่ำเสมอ ไต่ระดับลงสู่ความลึกแต่ละขั้นอย่างช้าๆ จนคุณรู้สึกสบายดีแล้วค่อยดำดิ่งต่อไป

ดำดิ่งด้วยท่าที่เหมาะสม  :
ตัวคุณเองเปรียบเสมือนถุงน้ำใบใหญ่ เวลาคุณดำลงด้วยการเอาหัวปักลงไปในน้ำ แรงดึงดูดโลกจะฉุดดึงของเหลวจากทั่วร่างกายไปรวมตัวกันที่บริเวณศีรษะ ซึ่งจะมีผลทำให้ช่อง Eustaenian Tube เกิดการอุดตันได้ง่าย ทำให้เคลียร์หูได้ยากลงไปอีก  เราจึงมีคำแนะนำให้คุณลงน้ำด้วยท่าที่เท้าอยู่ตำแหน่งต่ำสุด และวางศีรษะอยู่ตำแหน่งสูงสุดจะดีกว่า

ขยับศีรษะไปมา  :
เจ้าท่อ Eustachian Tube เล็กๆ นี้ บางครั้งอาจจะเกิดการอุดตันไปก็ได้ ให้คุณลองขยับลำคอไปด้านซ้าย และขวาเบาๆ เพื่อยืดท่อนี้ให้ขยายตัว โล่งโปร่งตลอดเพื่อการเคลียร์หูที่ง่ายขึ้น
 
 
 
บันทึกการเข้า
ok3
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 123


o_komon3@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2007, 10:18:50 PM »

 Roll Eyes Roll Eyes Roll Eyes Roll Eyes Roll Eyes  ขอบคุณครับรู้แล้วทำไมเวลาเราดำน้ำเลือดชอบออกมา อิอิ   Sad Sad Sad   
 มิใช่เห็นสาว ๆ หรอกเหรอเนี่ย อิอิ Huh Huh
บันทึกการเข้า
WayfarinG
Sr. Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 437


nomadic_13@hotmail.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2007, 08:36:46 AM »

 Roll Eyes
บันทึกการเข้า

สายชล
Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 4098



ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2007, 10:26:10 AM »

ขอบคุณมากค่ะน้อง Batty.... Roll Eyes
บันทึกการเข้า

Saaychol
Sky
Sr. Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 384


umtgzmo@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2007, 12:49:47 PM »

ขอบคุณคุณ Batty มากๆ ค่ะ
 Grin
บันทึกการเข้า
นันคุง
Newbie
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16


nunkungthailand@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2007, 04:46:18 PM »

ขอบคุณครับคุณBatty ...เล่นละเอียดยิ๊บเลยตอนดำใหม่ๆ เจ็บจะแย่เลย...ตอนหลังพอเคลียหูมันดันไปออกทาง anus แทนกอ้เลยสบายทั้งเบื้องบนและเบื้องล่างเลย
บันทึกการเข้า
khonronram
Newbie
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2007, 11:36:33 PM »

Smiley Smiley
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 22 คำสั่ง