Save Our Sea
มีนาคม 29, 2024, 08:46:58 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้งดการตั้งหรือตอบกระทู้ ขอเชิญใช้บอร์ดใหม่ที่ http://www.saveoursea.net/forums
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไทย-ออสเตรเลีย ระดมเครือข่ายอนุรักษ์พะยูนร่างแผนเสร็จเรียบร้อย พร้อมเตรียมบังคับ  (อ่าน 3405 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3501


เรารักในหลวง


ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: มิถุนายน 19, 2006, 02:37:46 PM »

ไทย-ออสเตรเลีย ระดมเครือข่ายอนุรักษ์พะยูนร่างแผนเสร็จเรียบร้อย พร้อมเตรียมบังคับ

         จากการประชุม เรื่อง “Second Meeting on Dugong Conservation and Management” เมื่อวันที่ 15 – 18 พฤษภาคม 2549 ณ โรงแรมอิสติน กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดย รัฐบาลไทย โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ รัฐบาลออสเตรเลีย โดย Department of the Environment and Heritage ล่าสุด ได้มีการระดมเครือข่ายร่างแผนการจัดการและอนุรักษ์พะยูนเสร็จเรียบร้อยแล้ว รอลงนามและประกาศใช้ในประเทศและรัฐต่างๆ ที่มีพะยูนแพร่กระจายอยู่เร็ว ๆ นี้

           นายไมตรี ดวงสวัสดิ์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุม กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ได้จัดการประชุมครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 – 25 สิงหาคม 2548 การประชุมครั้งนี้มีผู้แทนจากประเทศต่างๆ จำนวนกว่า 65 คน จาก 23 ประเทศ (หากรวมการประชุมครั้งที่ 1 ด้วย มีประเทศที่เข้ามามีส่วนร่วมร่าง MOU ตั้งแต่แรก จำนวนทั้งสิ้น 31 ประเทศ) ส่วนใหญ่เป็นผู้แทนจากประเทศไทยจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุทยาน สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมประมง สำนักนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยที่ประชุมได้เลือกให้ออสเตรเลียกับไทยเป็นประธานร่วมในการประชุม โดยมี Mr.Andrew Manee และนางสาวกาญจนา อดุลยานุโกศล หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน ทช. และมี Mr.Douglas Hykle ผู้แทนจาก CMS Secretariat มาให้ข้อแนะนำในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ CMS และ MOU ของเต่าทะเล ที่ใช้เป็นแม่แบบของ MOU พะยูน

           ด้านนางสาวกาญจนา อดุลยานุโกศล กล่าวถึงสาระจากการประชุมในครั้งนี้ว่า ขณะนี้ MOU พะยูน (ฉบับร่างสุดท้าย) ได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว เรียกเต็มว่า “ Memorandum Of Understanding On The Conservation And Management of Dugongs (Dugong dugon) And Their Habitats Through Their Range” (ข้อตกลงความเข้าใจในการอนุรักษ์และการจัดการพะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนในพื้นที่ที่มีพะยูนแพร่กระจายอยู่) ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอทีมงานของออสเตรเลียปรับปรุงสาระข้อมูลทั้งหมดอีกเล็กน้อย คิดว่าน่าจะมีการขับเคลื่อน MOU ไปตามประเทศและรัฐต่างๆ ที่มีพะยูนแพร่กระจายอยู่ เพื่อการแก้ไขเพิ่มเติม และลงนามต่อไปในอนาคต ซึ่งคาดว่าการลงนามของรัฐที่เกี่ยวข้องน่าจะเป็นไปได้ง่ายกว่า MOU เต่าทะเล เพราะมีความซับซ้อนน้อยกว่า

          สำหรับเนื้อหา ของ MOU โดยสังเขปก็คือ เนื่องจากประชากรพะยูนที่มีแหล่งแพร่กระจายกว้างในทะเลและชายฝั่ง กำลังถูกคุกคามอย่างหนักด้วยกิจกรรมต่างๆ จากมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การทำให้แหล่งที่อยู่ของพะยูนเสื่อมโทรม การพัฒนาชายฝั่ง มลพิษ เรือชน การล่า อุตสาหกรรมทางทะเลที่ขาดการควบคุม และการท่องเที่ยว รวมทั้งการประมง เราจึงต้องตระหนักถึงการอนุรักษ์พะยูน แหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน รวมทั้งแหล่งหญ้าทะเลที่เป็นอาหารของพะยูน ประเทศหรือรัฐต่างๆ ควรมีส่วนร่วมในการรับบทบาทการอนุรักษ์และจัดการพะยูนอย่างมีประสิทธิภาพ และต้องการแนวทางด้านนิเวศแบบบูรณาการ พะยูนถูกจัดให้เป็นสัตว์ที่ต้องอนุรักษ์ทั้งใน Convention On The Conservation Of Migratory Species Of Wild Animals (CMS) และ Convention On International Trade In Endangered Species Of Wild Fauna And Flora (CITES) ประเทศที่ลงนาม MOU นี้ จะต้องร่วมมือกับประเทศอื่นๆในการอนุรักษ์และจัดการพะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน ยอมรับข้อตกลงระหว่างประเทศที่สามารถนำมาใช้ในการอนุรักษ์พะยูนในประเทศของตน มีการรวบรวมกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน สนับสนุนปฏิบัติตาม CMP ใน 9 ประเด็น จัดตั้งกองเลขาธิการของ MOU เพื่ออำนวยความสะดวกในกิจกรรมต่าง เช่น การติดต่อสื่อสาร การจัดทำรายงาน การจัดประชุม ประเทศที่ลงนาม MOU นี้ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพะยูน ทำงานที่สอดคล้องกับ CMP คัดสรรองค์กรที่จะเป็น Focal point เพื่อติดต่อประสานงานระหว่างประเทศที่ลงนามใน MOU และประสานต่อไปยังกองเลขาธิการของ MOU ต่อไป

           สำหรับ แผนการจัดการและการอนุรักษ์พะยูน หรือ CMP (Conservation And Management Plan For Dugong) นั้น มีทั้งหมด 5 ประเด็นหลัก โดยมีการยกตัวอย่างเฉพาะแผนการดำเนินงานเพื่อใช้ในแผนการอนุรักษ์และการจัดการพะยูนด้วย ในแต่ละประเด็นจะมีทั้งแผนปฏิบัติ ระดับความสำคัญ ระยะเวลา องค์กรที่รับผิดชอบ และเป้าหมาย ในประเด็นต่างๆ ดังนี้   
             1. ตัวพะยูนโดยตรง : เพื่อลดสาเหตุที่ทำให้พะยูนตาย เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเรื่องพะยูนจากงานวิจัยและการติดตามตรวจสอบ
             2. แหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน : เพื่อป้องกัน อนุรักษ์และจัดการแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเรื่องแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนจากงานวิจัยและการติดตามตรวจสอบ
             3. การรณรงค์สร้างจิตสำนึกและการศึกษา : เพื่อการอนุรักษ์และจัดการพะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัย
             4. ความร่วมมือ : เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับชาติ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ ส่งเสริมการปฏิบัติตาม MOU
             5. Crosscutting issues: เพื่อแก้ไข้ปรับปรุงกฎหมายอนุรักษ์พะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัย ส่งเสริมความร่วมมือในเรื่องการอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเลในระดับชาติ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ตามหลักการพื้นฐานแล้ว MOU นี้ไม่เป็นพันธะผูกพันทางด้านกฎหมาย (not legally binding) ซึ่งมีส่วนที่เป็น CMP อยู่ด้วย MOU นี้ถูกพิจารณาภายใต้ Article IV, ย่อหน้าที่ 4 ของ CMS จะมีผลใช้ในวันที่ 1 ของเดือนที่ 3 หลังจากลงนามแล้ว และมีผลใช้ไปจนกว่ารัฐที่ลงนามจะสิ้นสุดการมีส่วนร่วมโดยส่งเอกสารแจ้งล่วงหน้า 1 ปี MOU นี้อาจมีการแก้ไขโดยการยินยอมของรัฐที่ลงนาม รัฐที่ลงนามอาจปฏิบัติเรื่องการอนุรักษ์พะยูนที่เข้มงวดกว่าใน CMP รัฐที่ลงนามอาจก่อตั้งโดยข้อตกลงระหว่างประเทศ หรือระหว่างภูมิภาคในเรื่องที่ตรงกับ MOU และเนื้อหาของ MOU จะเป็นภาษาอาราบิค อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน ซึ่งจะอยู่ในกองเลขาธิการของ UNEP/CMS แต่ภาษากลางที่ใช้จะเป็นภาษาอังกฤษ

นางสาวกาญจนากล่าวต่อไปว่า โดยทั่วไปการขับเคลื่อนเรื่องการอนุรักษ์ต่างๆ ถูกขับเคลื่อนได้สองทางใหญ่ๆ คือ จากภายในประเทศ และจากความร่วมมือระหว่างประเทศ ในเรื่องของการอนุรักษ์พะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัยนั้นในบ้านเราก็มีการขับเคลื่อนไปแล้วในระดับหนึ่ง แต่ขาดงบประมาณสนับสนุนจึงยังไม่ได้ดำเนินการต่อเนื่อง ในปีพ.ศ. 2547 ทช. ร่วมกับสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย ได้จัดประชุม 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นเฉพาะกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่กรุงเทพฯ ส่วนครั้งที่ 2 จัดที่จังหวัดตรังให้ประชาชนมีส่วนร่วม อันที่จริงจะต้องมีการจัดประชุมโดยประชาชนมีส่วนร่วมอีก 2-3 ครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ได้แผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ และต้องรวมเรื่องแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนเข้าไปด้วย ซึ่งก็มีแหล่งหญ้าทะเลเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งที่อยู่และแหล่งหากิน ซึ่งหากไทยได้ลงนามใน MOU นี้แล้ว ก็คงจะทำให้แรงขับเคลื่อนของแผนแม่บทเป็นรูปธรรม มากขึ้น และการอนุรักษ์พะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนจะได้มีกรอบการทำงานที่ชัดเจน รวมทั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องด้วย

“ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องอนุรักษ์พะยูน ถามว่าเราเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์หมีแพนด้าไหม ทุกคนคงเห็นด้วย ทั้งๆ ที่บ้านเราไม่มีหมีแพนด้า และในธรรมชาติในประเทศจีน ก็เหลือหมีแพนด้าน้อยมาก ทำไม่เราจึงเห็นด้วยกับการอนุรักษ์หมีแพนด้า อยากให้เราเห็นความสำคัญของพะยูนเหมือนแพนด้าที่อยู่ในทะเล พะยูนเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมของแหล่งหญ้าทะเลที่ดีที่สุด นั่นหมายถึงว่าที่ใดมีพะยูน เราให้ความอุดมของแหล่งหญ้าทะเลเป็น 100% ได้เลย แหล่งหญ้าทะเลสมบูรณ์นั่นหมายถึงเรามีการใช้ประโยชน์จากแหล่งหญ้าทะเลอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีการทำการประมงอย่างล้างผลาญ มีการท่องเที่ยวตามสมควร มีการพัฒนาชายฝั่งอย่างมีมาตรฐาน ไม่มีมลภาวะทางทะเล” “หากช้างมีความสำคัญกับป่าฉันใด พะยูนก็มีความสำคัญกับแหล่งหญ้าทะเลฉันนั้น เปรียบแหล่งหญ้าทะเลเสมือนป่าบก พะยูนช่วยกระจายความหลากหลายของชนิดหญ้าจากแหล่งหนึ่งไปสู่อีกแหล่งหนึ่ง มูลพะยูนเป็นทั้งอาหารของสัตว์น้ำบางชนิดและเป็นธาตุอาหารที่ดีของหญ้าทะเล การขุดไถกินหญ้าของพะยูน นอกจากจะช่วยเอื้อประโยชน์ให้ทั้งเป็นการเร่งการเจริญเติบโตของหญ้าทะเลแล้ว ยังช่วยให้ลูกสัตว์น้ำได้อาหารที่อาศัยอยู่ใต้ดินอีกด้วย ระบบนิเวศหญ้าทะเลที่สมบูรณ์ต้องมีพะยูนและเต่าทะเลอาศัยอยู่ด้วย” นางสาวกาญจนา กล่าวในที่สุด


คัดมาจากเว็บไซท์ของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

บันทึกการเข้า

"ทุกวันนี้ประเทศไทยยังมีทรัพยากรพร้อมมูล ทั้ง ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคล ซึ่งสามารถนำมา ใช้เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์และเสถียรภาพอัน ถาวรของบ้าน เมืองได้เป็นอย่างดี ข้อสำคัญจะต้องรู้จักใช้ทรัพยากรนั้นอย่างฉลาด โดยมุ่งถึงประโยชน์แท้จริงที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ" ..... พระราชดำรัส
สายชล
Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 4098



ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2006, 06:43:44 PM »

 Grin

ขอแสดงความยินดีกับน้องแม่หมูน้ำ และพยูนที่อยู่ในน่านน้ำไทยทุกตัวค่ะ

SOS คงจะร่วมด้วยช่วยในงานนี้ได้ในหัวข้อ การรณรงค์สร้างจิตสำนึกและการศึกษา : เพื่อการอนุรักษ์และจัดการพะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัย ด้วยการดำเนินโครงการส่งหนังสือ "นุ้ย"   พะยูนน้อย ออกไปให้กับโรงเรียนต่างๆ เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักพะยูน และช่วยกันอนุรักษ์พะยูนต่อไปค่ะ
บันทึกการเข้า

Saaychol
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.11 วินาที กับ 21 คำสั่ง