Save Our Sea
มีนาคม 29, 2024, 03:52:25 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้งดการตั้งหรือตอบกระทู้ ขอเชิญใช้บอร์ดใหม่ที่ http://www.saveoursea.net/forums
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สิ่งมีชีวิตหลากหลายใต้ท้องทะเลลึก  (อ่าน 52629 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายน้ำ
Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3501


เรารักในหลวง


ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2006, 02:55:19 PM »

สิ่งมีชีวิตหลากหลายใต้ท้องทะเลลึก


ปลาหมึกแวมไพร์ ภาพ ไมเคิล แรนดอลล์

หลายๆ คนอาจคิดว่าโลกยุคปัจจุบันมีสิ่งมีชีวิตหลงสำรวจอยู่น้อยเต็มที นั่นเป็นความเข้าใจผิด เพราะยังมีสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์ยังไม่เคยเห็นอีกมากมาย โดยเฉพาะใต้ท้องทะเลลึก

พื้นผิวโลกเป็นมหาสมุทรถึง 70% และมีความลึกโดยเฉลี่ย 4 กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับที่อื่นๆ แล้วใต้ท้องทะเลลึกเป็นบริเวณที่หนาวเย็นมืดทึบและมีออกซิเจนน้อย สภาพแวดล้อมจึงเอื้อต่อการมีชีวิตน้อยมาก แต่ที่นี่กลับมีสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายและมีรูปลักษณ์แปลกๆ

ท้องทะเลลึกมีสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็ก ตั้งแต่วาฬสเปิร์ม ปลาหมึกยักษ์ อาร์ชิทิวทิส ขนาด 13 เมตร ปลาหมึกยักษ์คอลอสซอล ขนาด 15 เมตร ปลาฉลามสลีปเปอร์ ไปจนกระทั่งถึง ปะการัง ปลาหมึกขนาดเล็ก หนอน และแบคทีเรีย

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์นานาชาติกว่า 70 ประเทศ กำลังสำรวจสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรตั้งแต่ขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ เพื่อทำฐานข้อมูลตามโครงการ "Census of Marine Life" (CoML)

ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2000

การสำรวจสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรครั้งใหญ่นี้จะใช้ระยะเวลา 10 ปี เพื่อประเมินและอธิบายความหลากหลาย การกระจายและความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรทั้งในอดีตปัจจุบันและอนาคต

ก้นทะเลลึกมีความลึกลับหลายอย่างที่มนุษย์เพิ่งจะรู้ ไม่น่าเชื่อว่าจะมีสัตว์ทะเลอาศัยอยู่ในบริเวณปล่องน้ำพุร้อน (Hydrothermal vent) (ส่วนใหญ่อยู่ในระดับความลึก 2,100 เมตร) ซึ่งอุดมไปด้วยแร่เหล็กและกำมะถัน ทว่าที่นี่เป็นที่อยู่ของสัตว์หลายชนิด เช่น แบคทีเรีย หอยกาบ ปลารูปร่างประหลาด และหนอนซึ่งมีลำตัวยาวมากกว่า 2 เมตร

สัตว์ขนาดเล็กที่นี่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะผลิตยาจากสัตว์เล็กๆ เหล่านี้รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย

ก้นทะเลลึกยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปะการัง เมื่อไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบปะการังในเขตหนาว ซึ่งอยู่ลึกถึง 6,000 เมตร และมีอุณหภูมิของน้ำเพียง 2 องศาเซลเซียส เท่านั้น ซึ่งต่างจากปะการังในเขตร้อนซึ่งอยู่ในน้ำตื้น และปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้พบปะการังน้ำลึกตั้งแต่ไอร์แลนด์ไปจนกระทั่งถึงนิวซีแลนด์ แต่น่าเสียดายมันกำลังถูกทำลายโดยเรือประมงน้ำลึก

เมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีการประชุมนานาชาติ "ชีววิทยาท้องทะเลลึก ครั้งที่ 11 " ที่เมืองเซาธ์แธมตัน สหราชอาณาจักร การประชุมครั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอภาพสัตว์ใต้ทะเลลึกหลายชนิด ซึ่งสัตว์บางชนิดน่าตื่นตาตื่นใจมาก ดังเช่น


หนอนทะเล (Annelid Worm)


หนอนแอนเนลิด ภาพ เดเนียล เดสบรูเยอร์

หนอนทะเลเป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัม แอนเนลิดา (Phylum Annelida) ไฟลัมนี้มีหนอนมากถึง 15,000 สปีซีส์ ที่รู้จักกันดีคือ ไส้เดือนและปลิง ในภาพคือหนอนทะเลหนึ่งใน 120 สปีซีส์ ในจีนัส เนออิส (Nereis) คลาสโพลีคีตา (Polychaeta) นักวิทยาศาสตร์พบมันในบริเวณน้ำพุร้อนก้นทะเล ลักษณะเด่นของหนอนชนิดนี้คือรูปร่างหน้าตาที่ประหลาดและดูน่าเกลียดน่ากลัว


ปลาหมึกลูกหมู (Piglet Squid)


ปลาหมึกลูกหมู ภาพ อลัน คินเนียร์

ปลาหมึกลูกหมูมีชื่อสามัญว่า Deep Sea Cranchid Squid เป็นปลาหมึกขนาดเล็กอยู่ในจีนัสเฮลิคอเครนเชีย (Helicocranchia) คลาส เซฟาโลโพดา (Cephalopoda) ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)

นักวิทยาศาสตร์คาดว่า มีปลาหมึกลูกหมูในจีนัสเฮลิคอเครนเชีย ประมาณ 14 สปีซีส์ แต่ปัจจุบันรู้จักกันเพียง 3 สปีซีส์ ในภาพเป็น สปีซีส์ pfefferi

ปลาหมึกลูกหมูอาศัยอยู่ใต้ทะลึกถึง 4,000 เมตร ลักษณะเด่นของมันคือมีรูปร่างหน้าตาคล้ายการ์ตูน หนวดตั้งตรงบนหัวคล้ายกับผมซึ่งต่างจากปลาหมึกชนิดอื่นๆ และมีครีบคล้ายใบพัดที่ปลายลำตัว


ปลาหมึกดัมโบ (Dumbo Octopus)


ปลาหมึกดัมโบ ภาพเดวิด เชล

ปลาหมึกดับโบเป็นปลาหมึกสปีซีส์ สโตทูธีส ไซเทนซิส Stauroteuthis syrte หนึ่งในสองสปี

ซีส์ของจีนีส สโตทูทีส (stauroteuth) จีนัสเดียวในแฟมิลี สโตทูไทได (Stauroteuthidae) คลาสเซฟาโลโพดา ไฟลัมมอสลัสกา

มันมีรูปร่างคล้ายระฆัง ลักษณะเด่นคือ มีตุ่มหรือหน่อจำนวนมากอยู่ที่หนวดหรือแขน ซึ่งผลิตแสงสว่างได้ และมีหูคล้ายครีบอยู่เหนือดวงตา


ปลาหมึกแวมไพร์ (Cirrate Octopod)

ปลาหมึกแวมไพร์เป็นปลาหมึกสปีซีส์ อินเฟอร์นาลิส (Vampyroteuthis infernalis ) ซึ่งหมายถึง "ปลาหมึกแวมไพร์จากนรก" อยู่ในจีนัสแวมไพร์ทูทีส (Vampyroteuthis) แฟมีลี แวมไพร์โรทูไทได (Vampyroteuthidae) คลาสเซฟาโลโพดา ไฟลัมมอสลัสกา

ปลาหมึกชนิดนี้อาศัยอยู่ในระดับน้ำลึก 300-3,000 เมตร ลักษณะเด่นของมันคือ มีดวงตาสีน้ำเงิน ผิวหนังสีน้ำตาลแดง มีพังผืดเหมือนกระโปรงรอบๆ ขา และมีหูคล้ายครีบเหนือดวงตาเช่นเดียวกับปลาหมึกดัมโบ นอกจากนั้นมันยังมีอวัยวะผลิตแสงสีน้ำเงิน ซึ่งทำให้ศัตรูมองเห็นมันได้ยาก


ไซโฟโนฟอร์ (Siphonophore)


ไซโฟโนฟอร์ ภาพเควิน ราสคอฟฟ์

ไซโฟโนฟอร์เป็นสัตว์ทะเลในไฟลัมไนเดเรีย (cnidaria) คลาสไฮโดรชัว (Hydrozoa) มันเป็นญาติกับแมงกะพรุน ลักษณะเด่นของมันคือไม่ใช่สัตว์ทะเลที่อยู่เดี่ยวๆ แต่มีโคโลนี (colony) หรือมีสัตว์ทะเลอื่นๆ ในสปีซีส์เดียวกันมาอาศัยรวมกันอยู่ด้วย และยังพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น ปกป้องโคโลนีจากการโจมตีของศัตรู และรวมกันโจมตีเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่า ตัวอย่างของการอยู่รวมกันเป็นโคโลนีคือ มดและผึ้ง

ในภาพเป็นไซโนฟอร์สปีซีส์หนึ่งในมหาสมุทรอาร์กติค ซึ่งมีโคโลนีอยู่ที่ลำตัวซึ่งเป็นก้านสีเหลือง และโคโลนีเหล่านี้สามารถเปล่งแสงสีแดงได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า การเปล่งแสงของมันก็เพื่อล่อเหยื่อเช่น ปลาให้เข้ามาเพื่อจับกินเป็นอาหาร

ไซโฟโนฟอร์ที่รู้จักกันดีที่สุดคือ "Portuguese man - of - war "

ซึ่งมักเข้าใจผิดว่าเป็นแมงกะพรุน


การสำรวจใต้ทะเลลึกเริ่มขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 โดยยานดำน้ำ ยูเอส โอเชียนโอกราฟเฟอรส์ ซึ่งสามารถดำน้ำได้ลึก 1,000 เมตร ต่อมาในทศวรรษที่ 1960 เครื่องดำน้ำลึกของสวิตเซอร์แลนด์สามารถดำได้ลึกถึง 11 กิโลเมตร ที่มาริอานัส เทรนช์ (Marianas trench ) ก้นทะเลที่ลึกที่สุดในโลกนอกชายฝั่งฟิลิปปินส์

ทศวรรษที่ 1990 ญี่ปุ่นพัฒนายานดำน้ำรุ่นใหม่เป็นหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำที่ควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรล หุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ "ไคโกะ" ซึ่งสำรวจก้นทะเลที่มาริอานัส เทรนช์ เมื่อปี 1995 แต่สูญหายไป ไคโกะจะถูกทดแทนด้วย "อัลวิน" ในปี 2009 ซึ่งจะสามารถสำรวจก้นทะเลได้ครอบคลุมถึง 99%

นักวิทยาศาสตร์คาดว่ายานสำรวจใต้น้ำในอนาคตอันใกล้นี้จะเคลื่อนที่เหมือนเครื่องบินเจ็ท บางชนิดจะเคลื่อนที่ได้เหมือนปลา และนักวิทยาศาสตร์จะสามารถสร้างเครือข่ายหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำรวมทั้งห้องแล็บอัตโนมัติที่ก้นทะเลลึกได้ด้วย ซึ่งจะทำให้มนุษย์สามารถศึกษาสิ่งมีชีวิตในทะเลลึกได้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่หลายเท่าตัว

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตบริเวณก้นทะเลได้เพียง 1% เท่านั้น


------------------------------------------------------------------
จาก น.ส.พ.มติชน ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม 2549  คอลัมน์ โลกสามมิติ  โดย บัณฑิต คงอินทร์

บันทึกการเข้า

"ทุกวันนี้ประเทศไทยยังมีทรัพยากรพร้อมมูล ทั้ง ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคล ซึ่งสามารถนำมา ใช้เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์และเสถียรภาพอัน ถาวรของบ้าน เมืองได้เป็นอย่างดี ข้อสำคัญจะต้องรู้จักใช้ทรัพยากรนั้นอย่างฉลาด โดยมุ่งถึงประโยชน์แท้จริงที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ" ..... พระราชดำรัส
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.032 วินาที กับ 21 คำสั่ง