Save Our Sea
เมษายน 19, 2024, 01:26:57 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: บอร์ดนี้งดการตั้งหรือตอบกระทู้ ขอเชิญใช้บอร์ดใหม่ที่ http://www.saveoursea.net/forums
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน สมาชิก เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หญ้าทะเล....อาหารหลักของพะยูนและประโยชน์อีกมากมาย  (อ่าน 4263 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายชล
Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 4098



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: กันยายน 01, 2006, 11:55:56 AM »

สยามรัฐ

รู้จัก...หญ้าทะเล มากคุณค่า พิทักษ์ชายฝั่งทะเลไทย

เย็นย่ำของวันที่ทะเลคลื่นลมสงบ ผู้คนกลุ่มหนึ่งกำลังมุ่งหน้ามาที่หมู่บ้านเล็กๆ ริมอ่าวปากคลอก พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ของอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

...เพื่อสำรวจและเรียนรู้เรื่องหญ้าทะเล ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของการประชุมวิชาการนานาชาติเกี่ยวกับทรัพยากรชายฝั่งทะเล จัดโดยโครงการ GLOBE (Global Learning and Observations to Benefit the Environment) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

“หญ้าทะเล” พืชที่มีคุณค่ามหาศาล ต่อระบบนิเวศริมชายฝั่ง มีวิวัฒนาการจากพืชบกที่ค่อยๆ ปรับตัวลงสู่ทะเล จนสามารถดำรงชีวิตอยู่ใต้น้ำได้อย่างสมบูรณ์ ทนต่อความเค็มของน้ำทะเล แรงคลื่น และกระแสน้ำ สามารถออกดอกผสมเกสรในน้ำ แพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ...เราสามารถพบหญ้าทะเล ตั้งแต่พื้นที่เป็นโคลนละเอียดถึงทรายหยาบ รวมถึงบริเวณน้ำกร่อยไปจนถึงเขตแนวปะการัง

การสำรวจของหญ้าทะเล ครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบวิทยาศาสตร์ ทั้งการสำรวจจำแนกชนิด และความหนาแน่น ของหญ้าทะเล ลักษณะของดิน คุณภาพน้ำ รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตที่พบในบริเวณนี้ด้วย โดยมี “คุณสมบัติ ภู่วชิรานนท์” นักวิชาการประมง 8 ว สถาบันวิจัยทรัพยากรชายฝั่งทะเล และ “ศ.ดร.ชาลี นาวานุเคราะห์” ภาควิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล เป็นวิทยากรนำสำรวจ

“คุณสมบัติ” กล่าวถึงการสำรวจว่า ชาวบ้านจะได้รับความรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ด้วย เพื่อตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรเหล่านี้ และสามารถจัดการได้เองในชุมชนสามารถแบ่งเบาภาระของรัฐได้เยอะ อย่างเมื่อก่อนมีปัญหาเรื่องเรืออวนรุน ทำลายหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชายฝั่ง รัฐก็ต้องจัดเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าระวังและออกเรือไล่จับเรือผิดกฏหมายเหล่านี้ เมื่อชาวบ้านตระหนักและหวงแหนทรัพยากรหน้าบ้าน พวกเขาก็ช่วยกันสอดส่องดูแลเป็นหูเป็นตาให้อีกทาง

“ทรัพยากรชายฝั่งทะเลมีประโยชน์เยอะ แต่คนดูแลน้อย ถ้าทุกคนได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอจะเกิดความเข้าใจ และควรให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมดูแล จะช่วยลดความขัดแย้งและร่วมกันดูแลจัดการทรัพยากรได้อย่างยั่งยืน” นักวิชาการประมง กล่าว

...นอกเหนือจากหญ้าทะเล เรายังพบสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิด ตั้งแต่พืชชั้นต่ำหรือพืชที่มีขนาดเล็ก บางชนิดอาศัยอยู่อย่างถาวร บางชนิดอยู่เพียงชั่วคราวในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อใช้แหล่งหญ้าทะเลเป็นแหล่งอาหาร หรืออาศัยอยู่เพียงบางฤดูกาล เพื่อใช้แหล่งหญ้าทะเลเป็นแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ในฤดูผสมพันธุ์ และเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนหลังจากที่ไข่ฝักออกมาเป็นตัว ยกตัวอย่างเช่น ปูม้า ปลาเก๋า หรือปลากะรัง และปลากระพง จะใช้แหล่งหญ้าทะเลเป็นแหล่งผสมพันธุ์ วางไข่ เลี้ยงดูตัวอ่อนอีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้น การสำรวจครั้งนี้ยังเป็นการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวของเด็กๆ ในพื้นที่อีกด้วย...

คุณครูมานะ สามเมือง โรงเรียนวีรสตรีอนุสรณ์ จ.ภูเก็ต เล่าว่า โรงเรียนอยู่ในชุมชนปากคลอกนี่แหล่ะ และตั้งอยู่ติดชายฝั่งทะเล ล้อมรอบด้วยป่าชายเลนและหญ้าทะเลเป็นหลัก ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำพิพิธภัณธ์ท้องถิ่นชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับคนในชุมชน และนักเรียน นักศึกษาได้เข้ามาใช้ประโยชน์

“...เด็กๆ ที่โรงเรียนทุกระดับชั้น ได้ใช้ที่นี่เป็นห้องเรียนสิ่งแวดล้อม โดยเน้นให้เขามีส่วนร่วมชุมชนในการเรียนรู้ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน กิจกรรมที่ได้ทำร่วมกับชุมชน อาทิ การสำรวจหญ้าทะเล การวิเคราะห์ปัญหาที่พบเกี่ยวกับป่าชายเลน เช่นการลดจำนวนของพะยูน การถูกทำลายจากเรือผิดกฎหมาย การจับเรืออวนรุนปลูกป่าชายเลนและค่ายเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง เด็กๆ ก็จะรักและหวงแหนสมบัติล้ำค่าจากธรรมชาติ และจะช่วยรักษาให้ยั่งยืน”

การสำรวจหญ้าทะเล ครั้งนี้ยังเอื้อประโยชน์ไปถึงเพื่อนร่วมโครงการ GLOBEอย่างประเทศญี่ปุ่น โดย “V. Lorenzo” คุณครูจากแดนปลาดิบ ซึ่งร่วมคณะสำรวจนี้กล่าวว่า โรงเรียนของตนเพิ่งเข้าร่วมโครงการ GLOBE เมื่อเดือนที่แล้ว และก็โชคดีมากที่ได้มาสำรวจหญ้าทะเลที่ปากคลอก ซึ่งถือเป็นการสร้างเครือข่ายสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมกันทำวิจัยเชิงปฏิบัติการกับโรงเรียนในท้องถิ่น ที่ปากคลอกนี้ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่ให้ชุมชนและโรงเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร

เห็นความงดงามของชายฝั่งทะเลแล้ว ก็ต้องยกนิ้วให้กับความร่วมมือร่วมใจของคนในพื้นที่ที่ร่วมกันเป็นผู้พิทักษ์รักษาให้สมบัติล้ำค่านี้ อยู่อย่างยั่งยืน เหมือนเช่นที่ คุณลุงชาวประมงในพื้นที่ปากคลอง ทิ้งท้ายว่า

“อ่าวหน้าหมู่บ้านปากคลอก หากินกันได้ชั่วลูกชั่วหลานก็ไม่หมดหรอกทั้งกุ้ง หอย ปู ปลาก็ยังอุดมสมบูรณ์ ถ้าเราดูแลรักษาดีๆ ไม่ปล่อยให้เรืออวนรุน อวนลาก และพวกจับสัตว์น้ำผิดกฎหมายมาทำลาย”

บันทึกการเข้า

Saaychol
สายชล
Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 4098



ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 01, 2006, 03:34:38 PM »

 Smiley

ไปทำงานที่กระบี่ต้นเดือนธันวามคมนี้....พวกเราจะได้มีโอกาสไปเดินดูและประทับใจไปกับแหล่งหญ้าทะเลที่เป็นเหมือนแหล่งอาหารทะเลตามธรรมชาติหรือตลาดที่ไม่ต้องเสียเงินซื้ออาหารทะเลของชาวบ้านที่กระบี่ด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า

Saaychol
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.255 วินาที กับ 21 คำสั่ง