PDA

View Full Version : ขอเชิญช่วยกันคิด/นักดำน้ำจะช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างไรบ้ าง


angel frog
02-02-2011, 13:00
ขออนุญาติ พี่สองสาย นำขึ้นเป็นกระทู้ จากการที่คุยกันกับน้องๆ นะค่ะ

สืบเนื่องจากการ "ถก" กันเล่นๆแต่จริงจัง ว่า นักดำน้ำควรจะมี "จิตสำนึก และ ใส่ใจ" ทรัพยากรธรรมชาติ ทางทะเล มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เลยนำพามาให้เกิดอยากจะร่วมด้วยช่วยกัน "คิด" ว่า จะกระตุ้นเหล่านักดำน้ำนี้ได้อย่างไร และมี ประเด็นใดๆ ที่นักดำน้ำ ควรทำและไม่ควรทำบ้าง ซึ่งอาจจะจัดทำเป็นโครงการเล็กๆ แต่มีประสิทธิภาพ ต่อไปในอนาคต

ขอเชิญทุกๆท่าน แสดงความเห็นได้ทุกรูปแบบ ความเห็นนี้ จะนำไปก่อสร้างเป็นโครงการนำร่อง ที่จะทำ ตามสมควร ต่อไป

ดอกปีบ
02-02-2011, 13:24
มาขออนุญาตนำเนื้่อหาสาระจากการนั่งคุยกันก่อนทานข้าวของพี่ๆน้องๆ มาสรุปตั้งต้นเป็นข้อมูลจะได้ช่วยกันคิดต่อไปนะครับ ..

สิ่งที่เราทำได้เรื่องหนึ่งคือ เรื่องของการประหยัดพลังงานเวลาไปออกทริปดำน้ำ ซึ่งลูกปูกะตอยก็ได้สรุปให้เราคร่าวๆได้เป็นสองประเด็นย่อยๆครับ

1. การประหยัดพลังงานในการขับเคลื่อนของเรือ
ทำได้โดยการที่นักดำน้ำพยายามตรงต่อเวลา เรือจะได้ไม่ต้องเร่งความเร็วเกินกว่าปกติในการไปให้ถึงจุดดำน้ำตามเวลาที่กำหนด

2. การประหยัดพลังงานต่างๆขณะอยู่อาศัยบนเรือ
พี่ๆน้องๆก็ได้ช่วยกันต่อยอดคิดถึงวิธีการง่ายๆที่เราทุกคนน่าจะทำได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่น่าจะอยู่ในจิตสำนึกของเราอยู่แล้ว เช่น
- ปิดแอร์ในห้องพักขณะลงไปดำน้ำ เพื่อประหยัดพลังงาน (ประเด็นนี้อาจต้องให้ผู้รู้มาอธิบายอีกทีครับว่า ปิดๆเปิดๆแอร์กับเปิดทิ้งไว้เลยทั้งวัน อย่างไหนจะเป็นการประหยัดพลังงานกว่ากัน
- ใช้แก้วน้ำวันละใบ
- อาบน้ำโดยใช้สบู่ยาสระผมวันละครั้งก็พอ ครั้งอื่นๆอาบแค่น้ำจืด
- การแยกขยะ และเรือใช้ถังดักไขมัน

ขออนุญาตต่อยอดไปอีกข้อด้วยครับ
3. การดำน้ำอย่างอนุรักษ์
ซึ่งข้อนี้สมาชิก sos ก็ทำร่วมกันทุกทริปอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการตรงต่อเวลาของการดำน้ำ ดำน้ำอย่างระมัดระวัง การเคารพกฎเกณฑ์ต่างๆ รวมถึงการเก็บขยะตัดอวน ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักๆของพวกเราอีกด้วยครับ ..

ดอกปีบ
02-02-2011, 13:33
เรื่องนี้เคยคิดเอาไว้แล้วบ้างเหมือนกันครับ เลยถือโอกาสนำมาแสดงความคิดเห็นไว้ในกระทู้นี้ด้วย

ณ ปัจจุบัน ผมเชื่อว่าทุกฝ่ายน่าจะเห็นพ้องต้องกันว่า จะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้ปะการังพักฟื้น มีการบริหารจัดการตามแผนที่ชัดเจน มีผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ที่ถูกต้องเหมาะสม รวมถึงมีการสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างพอเพียง ตอนนี้ทุกฝ่ายน่าจะเห็นร่วมกันแบบนี้ ..

ต่อยอดความคิดไปอีกว่า การท่องเที่ยวหรือการใช้ทรัพยากรทะเลไทยของเราอย่างอ นุรักษ์มากขึ้นก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่จะต้องกระตุ้ นและผลักดัน ซึ่งผมคิดว่า เรา (หมายถึง นักท่องเที่ยว นักดำน้ำ นักอนุรักษ์ และผู้ใช้ประโยชน์จากทะเล) สามารถรณรงค์การมีส่วนร่วมกันเฝ้าระวังและรายงานสถาน การณ์ที่ไม่ถูกต้องต่างๆได้ เช่น การปล่อยให้นักท่องเที่ยวไปดำน้ำในจุดที่อุทยานปิด การพบเห็นการทำลายปะการังอะไรต่างๆ ทุกกลุ่ม ทุกองค์กร หรือทุกคนมีส่วนร่วมทำงานในลักษณะเป็นพันธมิตรร่วมกั นได้ ผมเชื่อว่าเรื่องแบบนี้อยู่ในหัวใจของคนที่รักทะเลส่ วนใหญ่อยู่แล้ว หากมีการตกลงร่วมกัน อย่างน้อยเริ่มต้นจากกลุ่มที่ทำงานเพื่อทะเลอย่าง พวกเรา กำหนดสัญลักษณ์อะไรซักอย่างเป็นเครื่องหมายของการร่ว มด้วยช่วยกันในครั้งนี้ อาจเป็น "โลมาสีขาว" ก็ได้ ทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกบริษัท ทุกหน่วยงานเป็นโลมาสีขาวเฝ้าทะเลได้ แค่ช่วยกันรายงาน ไม่เพิกเฉย พลังเล็กๆของกลุ่มย่อยๆ น่าจะรวมกันเป็นพลังใหญ่ๆและมีแรงมากพอที่จะกดดันและ กระตุ้นทั้งภาครัฐและเอกชนในด้านทั้งป้องกันและป้องป รามได้

sos อาจจะเป็นสื่อกลางในการรับรายงานสถานการณ์เหล่านี้ได ้เช่นกัน นอกจากนี้ยังส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อีก ก็เลยอยากเรียนนำเสนอความคิดแก่สมาชิกซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์และเป็นส่วนหนึ่งที่น่าจะช่วยแก้ปัญหาได้บ้างครับผม ..

koy
02-02-2011, 13:36
เพิ่มเติมจากที่พี่ป้ากบอธิบายที่มาที่ไปของกระทู้นี้ และขออภัยหากคห.บางอย่างอาจคลาดเคลื่อน ก็ยินดีรับฟังคำโต้แย้งครับ

สืบเนื่องจากพวกเราปฏิเสธไม่ได้ว่า นักดำน้ำอย่างเราก็มีส่วนกระทำชำเราทะเลไม่ทางตรงก็ทางอ้อม การที่เราไปเสพสุขจากทะเล ดำดิ่งไปชื่นชมความงดงามภายใต้ท้องมหาสมุทรนั้น แน่นอนว่าก็เป็นการไปรบกวนทะเลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วจะทำอย่างไรล่ะที่เราจะเสพสุขโดยทำร้ายทะเลให้น้อยลงได้ พวกเราเลยคิดว่า ลองมาระดมสมองกัน ชี้ประเด็นที่นักดำน้ำควรใส่ใจ เพื่อไม่ให้การดำน้ำของเราเป็นแค่การสนองตอบ"สุขนิยม"ของตัวเอง แล้วพอสมหวังก็เดินจากไป โดยหารู้ไม่ว่าเราได้มีส่วนซ้ำเติมทะเลและสิ่งแวดล้อมเราไปแ้ล้ว

ส่วนตัวแล้วขอเสนอสองสามประเด็นนะครับ
1. เลือกใช้บริการเรือดำน้ำที่ให้ความใส่ใจต่อทะเล เช่น ไม่ปล่อยน้ำเสียที่ยังไม่ผ่านการบำบัดลงสู่ทะเลโดยตรง (มีระบบบำบัดน้ำเสีย ไม่เทน้ำล้างจานที่ยังมีคราบน้ำมัน/น้ำยาล้างจานลงไปทะเล) ที่เสนอเรื่องนี้ก็เพราะพลังผู้บริโภคจะเป็นตัวกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจดำน้ำหันมาสนใจดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
2. การใช้ชีวิตบนเรือ - แน่นอนว่านักดำน้ำส่วนใหญ่ก็ต้องการพักผ่อน มีความสุขบนเรือ เพราะคิดว่าในเมื่อตัวเองก็จ่ายเงินไปแล้ว ก็ควรจะได้รับความสะดวกสบายเต็มที่ แต่ความสุขและความสะดวกสบายนั้น อาจแลกมากับการต้องใช้ทรัพยากรมากเกินความจำเป็น(รึเปล่า) เช่นการเปิดแอร์ในห้องนอนไว้ตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลาที่ตัวเองไม่ได้อยู่ในห้องพักเลย(เช่นเวลาดำน้ำ ออกมานั่งดูทีวีที่ส่วนกลางหลายชั่วโมง และอื่นๆ) การใช้แก้วน้ำครั้งเดียวแล้วก็หย่อนลงไปให้เด็กเรือล้าง (เปลืองน้ำ ต้องใช้น้ำยาล้างจานมากขึ้น - อันนี้เ็ป็นไอเดียน้องปี๊บ น่าคิดทีเดียว และยอมรับว่าก่อนหน้านี้ตัวผมเองก็ไม่ได้คิดถึงจุดนี้เท่าไหร่)

เอาเท่านี้ก่อนครับ จะได้รับฟังมุมมองจากคนอื่นๆซึ่งจะช่วยสะกิดเตือนให้เรามองบางมุมที่เราเคยมองข้ามไปครับ

ลูกปูกะตอย
02-02-2011, 13:51
ขอบคุณพี่กบที่ตั้งคำถามเล่น ๆ มาให้ถกกันจริง ๆ จัง
ขอบคุณดอกปีบที่ช่วยสรุปความ ซึ่งเป็นไอเดียเยี่ยม ๆ จากหลายคนค่ะ
ไม่ได้มาจากปูคนเดียวนะคะ

เรื่องจิตสำนึก และใส่ใจ เริ่มได้ตั้งแต่ต้นที่วางแผนจะออกทริป จนจบเลยค่ะ
ตัวอย่างเรื่องพลังงานที่ใช้บน เรือ เรื่องพลังงานขับเคลื่อนเรือ กับพลังงานเพื่อกินอยู่ เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น

เรื่องพลังงานขับเคลื่อนเรือ เป็นต้นทุนที่มีนัยสำคัญ
นึกถึงตอนจะไปดำสุธาทิพย์ แล้วมีนักดำน้ำสายไปเกือบชั่วโมง เรือเลยต้องเร่งให้ทันตารางน้ำ นอกจากจะไปไม่ทันน้ำตายแล้ว นักดำน้ำ ยังพลัดหลงกันกระจาย

เรื่องพลังงานเพื่อกินอยู่บนเรือ
เคยเจอบทความเรือสำราญ ที่ไม่สามารถปิดแอร์ได้ แต่จะใช้การควบคุมอุณหภูมิแอร์ค่ะ

เรื่องการดำน้ำอย่างอนุรักษ์
ถ้าเริ่มต้นจากเราสำเร็จแล้ว ก็จะเป็นตัวอย่างให้คนอื่น ๆ เป็นแนวทางต่อๆ ไป
เช่น ถ้าอยู่บนเรือ ช่วยกันรักษาความสะอาด ใช้สิ่งไหนแล้วทำให้สะอาดพร้อมให้คนต่อไปใช้
ตัวอย่าง ถ้าเด็กเรือต้องวิ่งวุ่น คอยตามทำความสะอาด ถึงเค้าอยากจะทำอะไรเพื่อช่วยกันอนุรักษ์ เค้าก็ทำไม่ได้ เพราะไม่มีเวลา เป็นต้น

angel frog
02-02-2011, 14:47
ควรให้ความรู้กับนักดำน้ำว่า
การนั่งยืน สัมผััสกับปะการังโดยตรง เป็นการ"ทำลาย"
การดำน้ำแบบ "ขุดคุ้ย" หาของ เป็นการ "ทำลาย"
......ต้องอย่าคิดว่า เขารู้อยู่แล้ว เพราะบางที เขาอาจไม่รู้ก็ได้

ขอเสนอให้จัดพิมพ์ สติกเกอร์ แจก เพื่อให้ติด บนเรือ กระเป๋าดำน้ำ หลังรถ หรือที่ไหน ตามใจ ซึ่ง มีข้อความ บอกเล่า "...อย่าทำ" อะไรบ้าง ที่เป็นการทำลาย
ตัวอย่างเช่น สติดเกอร์เป็นภาพ หนูน้อยปะการังที่น่ารัก และบอบบาง หวาดกลัวสุดขีดที่มีมือมหากาฬ กำลังเอื้อมมาจับ ...อย่า จับ หนู ...

ยังมีอะไรๆ อีกมากมาย ที่"..อย่าทำ" ใต้น้ำค่ะ

ข้อความมันส์ๆ ที่แทงใจ จะสามารถ จี้ กระตุ้น จิตสำนึก ได้

สายชล
02-02-2011, 19:54
เห็นแล้ว....ชื่นใจ....:)


นี่คือสิ่งที่สองสายอยากเห็น...อยากฟัง...อยากรับรู้....รับทราบ....จากพวกเราชาว sos ซึ่งในส่วนลึกของหัวใจ ล้วนเป็นผู้รักทะเล และ ประสงค์ที่จะดูแลรักษาทะเลของเราไว้ให้สวยงามและสมบูรณ์ยิ่งๆขึ้น หรืออย่างน้อยๆก็ไม่แย่ลงกว่าที่เป็นอยู่....


มีอีกไหมคะ....อยากอ่านอีกเยอะๆค่ะ....

koy
02-02-2011, 21:40
จากที่พูดคุยกับพี่กบ ปูกะตอย พี่กุ้ง และปี๊บเมื่อบ่าย รู้สึกคลิกกับชื่อโครงการนี้ที่ปี๊บเสนอว่าน่าจะเป็นทำนองล้อชื่อหนังเรื่อง สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก เราอาจจะใช้ชื่อ "สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารักษ์" มั๊ยครับ รออ่านความเห็นจากท่านอื่นๆเหมือนกันครับว่าเราจะ"รักษ์" ทะเลกันได้ยังไง

Super_Srinuanray
02-02-2011, 21:55
Koy I like your wording so much "สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารักษ์" :)
I will sent some idea for next day coz so difficult to explain...

สายชล
02-02-2011, 22:09
ความคิดบรรเจิดเลิศสะแมนแตนมากน้องก้อย.....:d


ดีค่ะดี....ตั้งชื่อแล้ว ก็เขียนโครงการ แผนงาน และปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมนะคะ ส่วนเรื่องงบประมาณ เราเสนอสมาชิกขอผันจากงบกลาง หรือหาแหล่งเงินทุนมาทำกันให้เป็นรูปธรรมต่อไปค่ะ...

NAMPUENG
02-02-2011, 23:51
หัวข้อนี้ผ่านม๊ากมาย

"สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารักษ์(ทะเล)"

ชอบมากๆค่ะ ชนะเลิศๆ ยกมืออีกสองเสียงค่า

^-^/ นผ.มห.

-Oo-
03-02-2011, 07:38
"สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่ารักษ์" ดีมากๆ เลยค่ะ

สำหรับเรื่องการใช้แก้วน้ำบนเรือ ขอแนะนำให้นำกระติก/กระบอกน้ำส่วนตัวไป
สุขใจมากเพราะเทเข้าไปไว้ดื่มในห้องนอนก็ได้

ได้เห็นพี่สองสายทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง เลยเลียนแบบบ้างงง
มันเป็นสิ่งเล็กๆ ที่ช่วยทำ แต่สุขใจจริงๆ

สายน้ำ
03-02-2011, 08:01
ขอบคุณครับ น้อง Oo ....

เรื่องกินน้ำนี่ ถ้าเราทุกคนมีกันคนละกระบอก หิ้วขึ้นมาตอนกินข้าวด้วย เสร็จแล้วก็หิ้วกลับเข้าห้องไป เราน่าจะไม่ต้องใช้แก้วน้ำบนเรือเลย หรือ อาจจะมีใช้บ้าง (ยกเว้นถ้วยกาแฟ) คงจะประหยัดน้ำล้างแก้วไปได้โขเลยนะครับ จะได้เก็บน้ำไว้อาบตอนเย็น และไม่ต้องลุ้นในวันสุดท้ายกันด้วย

angel frog
03-02-2011, 09:15
สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า รักษ์ ...แต่ ยิ่งใหญ่ ใน หัวใจ

angel frog
03-02-2011, 09:34
เราน่าจะประมวล Briefที่divemaster จะต้องบรีฟนักดำน้ำ ในประเด็นของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เน้นที่ทะเล แนวปะการัง ขึ้นหัวข้อว่า สิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่อดำน้ำ ขอความร่วมมือ ให้ช่วย ชี้แจง เน้น นักดำน้ำทุกคน .....น่าจะถือเป็นหัวข้อที่จะต้องบรีฟ "ทุกครั้ง" ที่ ออกเรือ

และ อีกแผ่นคือ สิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่อออกทะเล สำหรับแจกไกด์ ที่พานักท่องเที่ยวไป snorkel

อาจพิมพ์ลงบนพลาสติก แจกแจงออกมาเป็นหัวข้อ ไม่ควรยาว เกิน 10 ข้อ เพราะ จะน่าเบื่อ เอาเนื้อๆเลยนะ แจกไว้ที่เรือ ฝากกัปตันไว้

.....วัตถุประสงค์ เพื่อ ให้ความรู้ และกระตุ้นการอนุรักษ์ และป้องกัน การทำลาย โดยไม่รู้

-Oo-
03-02-2011, 09:45
คำถามค่ะ ปกติแล้วพี่ไกด์ เขาจะผ่านการอบรมเรื่องพวกอนุรักษ์ทะเลรึเปล่าคะ

เคยไปทริป snorkle แล้วเขาลงไปหยิบดาวทะเล มาให้นักท่องเที่ยวจับ
จับมาวางบนหัวถ่ายรูป แล้วเอาไปปล่อยที่ชายหาด (งงเป็นไก่ตาแตก)
พร้อมเตรียมขนมปัง ไปให้ปลากิน

พอถามเขาว่าทำไมทำแบบนี้ เขาห้ามทำไม่ใช่หรือ พี่ไกด์ก็อารมณ์เสีย
และตัวอะฮั้นก็เป็นแกะดำ ที่โนทุกคนมองเป็นตาเดียว

จริงๆ เราควรจะมีเรื่องการปลุกจิตสำนึกให้กับพวกพี่ทัวร์ พี่ไกด์ ด้วย
เพราะถ้ามีกระดาษเรื่องสิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่ออกทะเล
แต่ พี่ไกด์อยากจะทำสิ่งต้องห้ามเหล่านี้เพราะอยากเอาใจนักท่องเที่ยวเพื่อหวังทิป
มันก็แย่อ่ะค่ะ

Sugary
03-02-2011, 09:52
สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า รักษ์
เริ่มได้ง่ายๆ จากจุดเล็กๆในหัวใจเรา

ปล.ของหนูประหยัดกว่าอีกขวดน้ำกระบอกเดียวใช้สองคน อิอิ

Coffee
03-02-2011, 10:39
เห็นด้วยกับทุกข้อความที่ว่ามาครับ และผมคิดว่าถ้ามีมิเตอร์วัดระดับความใส่ใจธรรมชาติพวกเราชาว S.O.S คงวัดกันได้เกือบๆเต็มอยู่แล้ว แต่ก็ยังพยายามจะทำให้ดีขึ้นอีก ก็เป็นเรื่องน่าสนับสนุนครับ

ขอนอกประเด็นนิดนึง ผมว่าพวกเรา, นักดำน้ำลึก, มีส่วนน้อยมากที่ไม่ใส่ใจสิ่งเวดล้อม เมื่อก่อนไม่เคยเชื่อด้วยซ้ำว่ามี นักดำน้ำลึก เหยียบปะการังหรือนั่งบนปะการัง จนได้เห็นคลิปในตำนาน ก็เลยต้องเชื่อว่าคนที่ไม่ใส่ใจก็ยังมีอยู่ ก็ต้องค่อยๆแก้กันไป

แต่ที่น่ากลัวกว่าพวกเรา คือ Snorkeler ที่ไม่ได้สนใจอะไรเลย (ทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ) หรือพวกไกด์ Snorkel ที่พยายามเอาใจแขกของตัวเองอย่างไม่น่าเชื่อ

น่ากลัวกว่า Snorkeler คือเรือประมง ที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องลงสู่ทะเลไม่เว้นแต่ละวัน

น่ากลัวว่านั้นอีก คือเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ทำหน้าที่ ปล่อยให้คนทำลายสภาพแวดล้อมต่อหน้าต่อตา ไม่ทำอะไรสักอย่าง มีหน้าที่เก็บค่าธรรมเนียมอย่างเดียว

คิดว่าคงต้องใช้เวลากว่าเรื่องเหล่านี้จะได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น ผมเห็นด้วยว่าเริ่มต้นที่ตัวเราเองก่อนอย่างที่ทุกๆคนเสนอมา ดีที่สุดครับ

ลูกปูกะตอย
03-02-2011, 10:40
สนับสนุนความคิดพี่กบค่ะ

hammerhume
03-02-2011, 14:06
นักดำน้ำหน้าใหม่ครับ
....ผมว่า น้อยมากที่จะหานักดำน้ำที่ไม่ใส่ใจต่อสภาพแวดล้อม มีนักดำน้ำที่ไหนบ้างที่เห็นความงามใต้ทะเลแล้วจะไม่รัก ไม่ห่วง ไม่หวง
....ขออนุญาติผ่าทางปืนไปเลยว่า แม้ว่าเราจะปกป้องรักษาดีขนาดไหน แต่ถ้าภาครัฐไม่ใส่ใจ คิดแต่หาตังค์เอาท่าเดียวโดยไม่สนใจอะไรใต้น้ำว่ามันจะเป็นยังไง มันก็แทบจะไม่มีประโยชน์ หลาย ๆ เรื่องที่รู้ทั้งรู้อยู่ว่าปัญหามันจะเกิดขึ้นแต่ก็ไม่เร่งแก้ มันก็พังอย่างที่เห็น ร้านดำน้ำหลายแห่งเริ่มขยับตัว จะให้ภูเก็ตเป็นแค่ ฮับ สำหรับพานักดำน้ำไปดำแถวอินโดแทนแล้ว
...ใจผมอยากให้มีองค์กรการดำน้ำที่เข้มแข็ง ที่มีผลต่อร้านดำน้ำทุกแห่ง ใครจะทำอะไรต้องได้รับการตัดสินใจจากองค์กรก่อน มีการเรียกเก็บค่าดูแลทรัพยากร แล้วนำไปใช้เพื่อการรักษาทรัพยากรอย่างจริงจัง ไม่รู้ว่าฝันไปเยอะไหม
.... เมื่อวาน มีนักท่องเที่ยวพึ่งไปดำน้ำที่สิมิลันกลับมาที่ร้าน ผมถามว่า เป็นยังไงบ้าง คำตอบของเขาคือ " สวยมาก ไม่เคยไปดำน้ำที่ไหนสวยเท่านี้มาก่อน " ฟังแล้วทั้งดีใจ ทั้งเสียใจ ดีใจที่เรายังมีอะไร ดี ๆ เหลืออยู่ แต่เสียใจที่ สิ่งดี่ ๆ ที่เหลืออยู่ คือ สิ่งที่เหลือรอดมาจากสิ่งที่ดีที่สุดที่เราเคยมี
....อีกอย่างครับ ตอนนี้ ร้านดำน้ำต่างชาติ ยกให้ เกาะดอกไม้ หินมูสัง เป็นจุดดำน้ำที่สวยและสมบูรณ์มาก ๆ แต่พื้นที่ตรงนี้ยังไม่มีการทำการเพื่อการอนุรักษ์ใด ๆ นอกจากประกาศให้เขตหินมูสังเป็นพื้นที่อนุรักษ์ของภาคเอกชน ( ข้อมูลจาก pocket dive guide of thailand 2010 ) เราจะมีแผนการณ์อย่างไรเพื่อรักษษพื้นที่ตรงนี้ดี ???????

ดอกปีบ
03-02-2011, 21:20
สิ่งที่ดีที่ดีสุดก็คือ "จิตสำนึกว่าเราเป็นเจ้าของร่วมกันครับ ทะเลไม่ใช่ของสาธารณะที่ใครอยากใช้ประโยชน์ก็ตักตวงเอาตามใจ รู้จักใช้ ก็ต้องรู้จักรักษาไว้ให้นานเท่านานด้วย" ถ้าคิดได้อย่างนี้ทุกคน ทะเลไทยคงยิ้มออก ..

อยากแสดงความเห็นในประเด็นที่ติ่งพูดถึง ในส่วนของนักท่องเที่ยวดำน้ำตื้นครับ จากประสบการณ์ที่เคยทำงานสร้างจิตสำนึกของการท่องเที่ยวให้กับนักดำน้ำตื้นกับชมรมคนรักเกาะสุรินทร์ ผมพบว่า หลายๆครั้งทีเดียว นักท่องเที่ยวทำผิดจาก "ความไม่รู้หรือไม่เข้าใจ" ซึ่งหลายๆครั้ง พอเข้าใจแล้วยังช่วยกันบอกต่อเรื่องที่ถูกต้องอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสัมผัส การเหยียบปะการัง การให้อาหารปลา สิ่งเหล่านี้เข้าใจได้ไม่ยาก ถ้านักท่องเที่ยวได้เห็นตัวอย่างที่ถูกต้อง

วิธีการที่เคยทำก็คือ จัดกิจกรรมท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์กลุ่มเล็กๆ การทำแผ่นพับเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดำน้ำตื้นอย่างถูกต้อง ข้อแนะนำต่างๆก็ถูกถ่ายทอดไปขณะที่ทำกิจกรรมร่วมกันด้วยครับ

ผมเชื่อว่าสิ่งที่ได้ทำนั้น มันเหมือนเทียนที่จะจุดต่อๆกันไปได้เรื่อยๆ อย่างน้อย เราพยายามบอกคนสิบคน แต่มีคนเพียงแค่คนสองคนที่เข้าใจและหันมาคิดแบบเรา ผมว่าแค่นั้นเราก็ดีใจแล้ว เพราะเค้าจะช่วยบอกคนอื่นๆต่อไปเรื่อยๆแบบไม่มีที่สิ้นสุด

แต่เรื่องความเสียหายจากการประมงนั้น เป็นเรื่องที่คิดไม่ออกจริงๆ และถ้าให้คิดต่อ บอกตรงๆ ผมยังไม่เคยทราบเลยว่าชาวประมงคนที่คอยทำความเสียหายให้กับท้องทะเลนั้น เค้าทราบหรือเปล่าว่า เค้ากำลังทำลายอู่ข้าวอู่น้ำของเค้าอยู่ ..
เค้าแค่ไม่รู้ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจดีแต่ไม่ทำ ..

อยากทำจริงๆครับ สำรวจความรู้สึกนึกคิดของคนที่ได้ประโยชน์จากท้องทะเลทุกกลุ่ม ตราบใดที่เรายังไม่เข้าใจว่า เค้าคิดอย่างไร เราก็อาจแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ไม่ถูกจุดก็ได้นะครับ ..

Thoto_Dive
03-02-2011, 23:22
เป็นไปได้ไหมครับพี่ ที่เราจะลองเซทมาตรฐานสำหรับทัวร์เพื่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ผู้ใดผ่านเกณฑ์ก็ให้ตราสัญลักษ์บางอย่าง เมื่อเราจะไปเที่ยวเราก็สามารถเลือกไปกลับทัวร์ที่มีสัญลักษ์นี้ครับ อาจจะแพงกว่า สดวกน้อยกว่า แต่เราก็มีทางเลือกที่จะทำถูกต้องตั้งแต่ต้น
แต่เราอาจต้องช่วยกันรณรงค์ด้วยนะครับ เดี๋ยวพี่ๆทัวร์ๆเพื่อสิ่งแวดล้อมอาจเฉาได้เพราะทุกวันนี้คนสนใจราคาเป็นปัจจัยแรก

angel frog
04-02-2011, 09:52
...น่าสนใจมากThoto_Dive เห็นด้วย 1000 เปอร์เซ็นต์เลย ถ้าทำได้ จะเป็นผลดี กับทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายอนุรักษ์ และฝ่ายธุรกิจ ต้องหาทางเริ่มต้น ทำตรารับรองรักษ์ธรรมชาติ ทัวร์เพื่อสิ่งแวดล้อม นี้ ให้ได้ น่าจะช่วยแก้ไข เรื่อง "ไกด์ที่เอาแต่เงิน" ได้บ้าง

...เรื่องนี้ ภาครัฐ น่าจะ เข้ามา อาจเริ่มต้น ที่พวกเราก่อน

chickykai
04-02-2011, 10:26
เท่าที่เคยไป snokle หลายๆที่ พบว่าไกด์ที่สิมิลันและสุรินทร์ค่อนข้างมีอนาคตที่ดีในการดูแลทะเลของเค้านะคะ พวกการชี้แจงลูกทัวร์เรื่องขึ้นหาด ไม่เหยียบปะการัง ไม่ให้อาหารปลา แต่ที่ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และฝั่งอ่าวไทยยังแย่อยู่มาก ให้อาหารปลาเป็นประจำและใช้เป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วย บางที่ก็อย่างที่พี่ๆว่าคือหยิบปลิง หอยมือเสือ ดาวทะเลมาให้นักท่องเที่ยวถือถ่ายรูป

นักท่องเที่ยวต่างชาติบางชาติก็เอาเรื่องเหมือนกัน เช่นทะเลใน ไก่เคยเจอชาวรัสเซียลงไปเล่นน้ำในทะเลในที่เค้าไม่ให้ลงเล่น พอไก่บอกเค้าว่าห้ามลงเล่น ให้ขึ้นมา ยังมีหน้ามาถามอีกว่าทำไมห้ามลงเล่น เค้าประกาศที่ไหน แล้วก็ไม่ยอมขึ้นอีกต่างหากค่ะ เจ้าหน้าที่ตรงนั้นก็ไม่มี ไม่รู้จะแจ้งใคร

hammerhume
04-02-2011, 11:41
เห็นด้วยกับคุณ thoto dive ครับ
....แต่ประเด็นสำคัญคือ ใครจะเป็นโต้โผใหญ่ในงานนี้ในการจัดตั้งสมาพันธ์ดำน้ำ ที่จะมีหน้าที่ดูแลกิจการด้านการดำนน้ำ และระบบนิเวศของทะเลไทย รวมถึงการออกกำระเบียบการดำน้ำที่เข้มข้น
....คิดถึงท่านมหาเธร์แห่งมาเลย์จริง ๆ ที่ในปี 47 ท่านกล้าทำในสิ่งทีี่ทุกคนไม่คาดคิด คือ ปิดรีสอร์ตทุกแห่งของสิปาดัน เหลือไว้เพียงที่เดียว เพื่อไม่ให้นักท่องเที่ยวล้นสิปาดันมากเกินไป ( แต่ไม่แน่ใจว่ารีสอร์ตที่เหลืออีก 1 ที เป้ฯของท่านหรือไม่ อิ อิ​)

hammerhume
04-02-2011, 14:34
ได้ข้อมูลบางอย่างมาแบ่งปัน
....ร้านดำน้ำหลายแห่งในภูเก็ต บรรทุกนักดำน้ำลงเรือครั้งละ 60-80 คน ไปดำน้ำเดย์ทริป คิดดูครับ คน 60-80 คนในแหล่งดำน้ำ 1 แห่ง มันจะพังขนาดไหน ใครสามารถควบคุมร้านดำน้ำเหล่านี้ได้บ้าง

Thoto_Dive
05-02-2011, 20:51
ขอบคุณครับคุณ Angle frog และคุณ Hammerhume
ผมคิดง่ายๆเช่น "SOS Ganruntee" เหมือนแม่ช้อยนางรำ ให้ขึ้นป้ายร้านอาหารอร่อย เราก็ขึ้นให้ทัวร์ที่อนุรักษ์ ต่อไปก็อาจมีชมรมหรือองค์กรอื่นๆทำตามบ้าง สุดท้ายก็อาจได้มาตรฐานรวมๆขึ้น ที่ไม่ต้องผูกกับองค์กรของรัฐ(รู้ๆอยู่นะครับ อะไรที่เกี่ยวกับองค์กรรัฐโดยส่วนใหญ่ เงินหรืออิทธิพลจะซื้อได้)

สายชล
06-02-2011, 12:20
ความคิดหลากหลายดีค่ะ.....มีอีกไหมคะ....;)


น้องกบและน้องก้อย ช่วยรวบรวมความคิดเห็นทั้งหมด เพื่อนำไปขยายผลกันบนเรือตอนไปอันดามันเหนือด้วยนะคะ....ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ...

koy
06-02-2011, 16:11
ความคิดหลากหลายดีค่ะ.....มีอีกไหมคะ....;)


น้องกบและน้องก้อย ช่วยรวบรวมความคิดเห็นทั้งหมด เพื่อนำไปขยายผลกันบนเรือตอนไปอันดามันเหนือด้วยนะคะ....ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ...



ครับพี่ จะได้ไปคุยกันช่วงระหว่างพักน้ำ

Super_Srinuanray
06-02-2011, 21:03
อยากให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำลายระบบน้ำ เช่นแชมพู ยาสระผม หรือสบู่ รวมทั้งน้ำยาล้างจาน แฉกเช่นกันถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ โดยให้ทางเรือที่มีระบบควบคุมมาตรฐานนั้นๆ เป็นผู้จัดหาให้กับนักดำน้ำ โดยที่นักดำน้ำไม่ต้องนำไป ซึ่งอาจจะไม่ถูกใจเรานัก แต่ก็ถูกต้องตามระบบรักษาคุณภาพของน้ำ

angel frog
07-02-2011, 09:43
เริ่มมองเห็นเป็นรูปธรมมากขึ้นแล้ว

....น่าจะทำได้
.......เราจะทำเป็นโครงการ
.......เราจะมีวัตถุประสงค์ "อย่างชัดเจน" ทั้งระยะสั้น และยาว
.......เราจะมีบุคลากรสำหรับโครงการนี้
.......เราจะสร้างกิจกรรม
.......เราจะมีการประเมินผล

สิ่งที่ ทุกคน ต้องวางใจไว้ คือ เรา ทำ เท่าที่ เรา ทำได้ โดย เริ่มที่ ตัวเราก่อน....และนี่น่าจะเป็น การเริ่มต้น ที่ดี....ชิมิ

ดอกปีบ
07-02-2011, 09:56
ใช่แล้วครับพี่กบ
เราทำเท่าที่เราทำได้ และเริ่มที่ตัวเราเองก่อน ..

(เข้ามายกมือเชียร์คร้าบ)

สายชล
07-02-2011, 11:26
ให้ข้อคิดนิดหนึ่งนะคะ....


ถ้าจะทำอะไรที่นอกเหนือจากการ "เริ่มด้วยตัวเราเอง" ที่ไม่ต้องมีขั้นตอนยุ่งยากมากมายแล้ว การทำโครงการรักษ์ทะเลด้านอื่นๆนั้น เราต้องมีเป้าหมาย แผนงาน กำลังคน และที่สำคัญต้องใช้ "เงิน" ทังนั้น..


ฉะนั้น....วางแผนงาน กำลังคน และงบประมาณให้ดีๆนะคะ เราจะได้รู้ว่าเราจะทำงานอย่างไร ใครทำอะไร จะหาเงินจากไหน และใช้ไปอย่างไร ทั้งนี้เพื่อความราบรื่นของการทำงานค่ะ...

koy
08-02-2011, 14:10
ยังมีเวลาเทความคิดเห็นลงมาในกระทู้นี้นะครับ พวกเราจะเอาข้อเสนอแนะของทุกท่านไประดมสมองกันบนเรือในทริปอันดามันเหนือวันพุธนี้ คาดว่ากลับมา ก็จะมีกิจกรรมที่ชื่อ "สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารักษ์" มาเป็นข้อแนะนำสำหรับนักดำน้ำว่าควรจะปฏิบัติยังไงให้มีส่วนรักษาทะเล...เริ่มต้นที่ตัวเราก่อน

ดอกปีบ
08-02-2011, 19:13
:d

ฝากช่วยคิดด้วยนะครับพี่ก้อย จริงๆอยากไปร่วมด้วยมากๆแต่เสียดายไปไม่ได้ ขอให้สนุกกับการทำงาน ทั้งดำน้ำ และระดมสมองนะครับ

angel frog
16-02-2011, 10:55
กลับมาจากการปฏิบัติภาระกิจเพื่อทะเลที่อันดามันเหนือเรียบร้อยแล้ว

จากการร่วมประชุมกัน ระหว่างสมาชิก จึงได้สรุปออกมาเป็นแบบร่างโครงการ ซึ่ง เราให้ชื่อว่า "โครงการสิ่งเล็กๆที่ เรียกว่า รักษ์ ซึ่ง จะได้นำเสนอ และขอความเห็นเพิ่มเติม จากสมาชิกทั้งหมด เพื่อสุดท้ายจะ จัดทำเป็นโครงการอย่างสมบูรณ์ และนำเสนอ พี่สองสาย ต่อไป

ขอขอบคุณ...... ความดีงาม ทั้งหลายจาก สมาชิก......ที่ช่วยกันออกความเห็นในกระทู้ และ สมาชิกที่ช่วยกัน สรุปบนเรือ และหวังว่า จากนี้ไป โครงการสิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า รักษ์ ......จะเริ่มกำเนิดขึ้น และดำเนิน ต่อไป อย่างเป็นรูปธรรม
..ทั้งนี้ เพื่อ ทะเล ที่ เรา รัก ...เย้ๆๆๆๆ

Thoto_Dive
16-02-2011, 21:04
อยากมีส่วนร่วมมากๆ และขอยกมือสนับสนุนด้วยคนครับ