PDA

View Full Version : รู้ไหม? ฉลามใช้ “แผนที่จิตใจ” นำทาง


สายน้ำ
08-03-2011, 06:56
รู้ไหม? ฉลามใช้ “แผนที่จิตใจ” นำทาง

http://pics.manager.co.th/Images/554000003050101.JPEG
ฉลามเสือเดินทางไปยังปลายทางอย่างมีเป้าหมาย ราวกับมีแผนที่่ในกำหนดไว้ (บีบีซีนิวส์)

นักวิจัยเผยฉลามบางชนิดใช้ “แผนที่จิตใจ” นำทางกลับบ้าน ซึ่งช่วยให้ปลายักษ์ใหญ่ “ปักหมุด” เดินทางสู่จุดหมายได้ไกลถึง 50 กิโลเมตร โดยเป็นผลงานนักวิจัยสหรัฐฯ ซึ่งติดเครื่องส่งสัญญาณวิทยุจากฉลาม และพบว่าเจ้าแห่งท้องทะเล เดินทางเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง

สำหรับฉลามบางชนิดอย่างฉลามครีบดำ (blacktip reef shark) ไม่ได้แสดงออกว่ามีพฤติกรรมดังกล่าว โดยงานวิจัยซึ่งเผยแพร่ในวารสารเจอร์นัลออฟแอนิมอลอีโคโลจี (the Journal of Animal Ecology) นี้ได้ชี้ว่าพฤติกรรมของฉลามได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเก็บข้อมูลแผนที่ของจุดที่สำคัญไว้ มากกว่านั้นยังเป็นหลักฐานว่าปลาเจ้าสมุทรนี้อาจใช้สนามแม่เหล็กโลกเพื่อนำ ทาง

งานวิจัยก่อนหน้านี้ซึ่งศึกษาในฮาวาย ได้แสดงให้เห็นว่าฉลามเสือ (tiger shark) สามารถว่ายข้ามช่องแคบลึกไปหาอ่าวน้ำตื้นที่อุดมไปด้วยอาหารซึ่งอยู่ห่างถึง 50 กิโลเมตรได้

ส่วนโครงการนี้ บีบีซีนิวส์รายงานว่าทีมวิจัยได้เทคนิคทางสถิติเพื่อแสดงให้เห็นว่าเส้นทางของฉลามนั้นไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ และฉลามเสือสามารถที่เคลื่อนที่ไปตามบางเส้นทางได้ แต่กรณีไม่รวมฉลามครีบดำ ส่วนฉลามหางยาว (thresher shark) ได้แสดงให้เห็น “การเดินทางแบบตรงดิ่ง” เหมือนฉลามเสือ แต่อยู่ในระดับที่น้อยกว่า

“งานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่า บางครั้งฉลามเสือและฉลามหางยาว ไม่ได้ว่ายน้ำไปแบบเดาสุ่ม แต่ว่ายน้ำไปยังเป้าหมายที่กำหนดจำเพาะ พวกมันรู้ว่ากำลังจะไปไหน” ดร.ยานนิส ปาปาสแทมอาทีโอ (Dr.Yannis Papastamatiou) จากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาฟลอริดา (Florida Museum of Natural History) ในเกนส์วิลล์ ฟลอริดา สหรัฐฯ กล่าว

http://pics.manager.co.th/Images/554000003050102.JPEG
ฉลามหางยาวมีความสามารถคล้ายฉลามเสือแต่เดินทางในระยะใกล้กว่า (บีบีซีนิวส์)

คำถามสำคัญคือ ฉลามเหล่านั้นรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองกำลังจะไปไหน ทั้งนี้ ฉลามเป็นหนึ่งในสัตว์ที่รับสัมผัสสนามแม่เหล็กได้ หากแต่สัตว์อื่นที่รับสัมผัสสนามแม่เหล็กได้ เช่น ทูน่าครีบเหลือง (yellowfin tuna) นั้นอาศัยแร่แม่เหล็กก้อนเล็กๆในหัวเพื่อรับสัมผัสดังกล่าว แต่กลับไม่ปรากฏตัวรับสัญญาณสนามแม่เหล็กในฉลาม

อีกความเป็นไปได้คือ ฉลามอาจใช้สัญญาณจากกระแสน้ำในมหาสมุทร อุณหภูมิน้ำหรือกลิ่นเพื่อนำทาง

“พวกมันมีระบบนำทางที่ดีเยี่ยม เพราะว่าเส้นทางเดินนั้นไกลมาก ไม่ว่าฉลามจะใช้อะไรเป็นสัญญาณนำทางก็เปิดโอกาสให้มีการโต้เถียงทั้งนั้น แต่ความจริงว่าการเดินทางบ่อยครั้งนั้นเกิดขึ้นตอนกลางคืน คุณและฉันย่อมคิดว่าไม่มีอะไรให้เป็นเป็นจุดอ้างอิง ดังนั้น การอ้างอิงกับสนามแม่เหล็กน่าจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้” ดร.ปาปาสแทมอาทีโอ กล่าว

ในส่วนของฉลามหางยาวนั้น ตัวเต็มวัยจะเดินทางได้ไกลกว่าฉลามรุ่นเยาว์ ซึ่งนักวิจัยอธิบายว่า เป็นสิ่งที่ชี้ถึงการสร้างแผนที่จิตใจเมื่อปลาเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และความแตกต่างของฉลามแต่ละสปีชีส์น่าจะอธิบายได้ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตของฉลามที่หลากหลายนั่นเอง

แม้ว่าฉลามครีบดำ (คาร์ชารินัส เมลาโนเทรัส - Carcharhinus melanopterus) จะกระจายอยู่ทั่วมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ก็พบว่ากระจายตัวแคบๆ อยู่ภายในแนวปะการังที่อยู่อาศัยเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งฉลามเสือ (กาเลโอเซอร์โด คูเวียร์ - Galeocerdo cuvier ) สามารถท่องไปในระยะทางที่กว้างไกลกว่า และทีมวิจัยยังจับสัญญาณจากเครื่องส่งที่ติดให้กับฉลามไปได้ไกลถึง 3,000 กิโลเมตรจากจุดที่เครื่องสัญญาณถูกติด



จาก ................ ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 7 มีนาคม 2554

topping
10-03-2011, 02:15
น่าทึ่งมาก ๆ