PDA

View Full Version : คู่มือ...รับสถานการณ์น้ำท่วม


สายชล
10-10-2011, 10:35
ก่อนน้ำท่วม



การป้องกันตัวเองและความเสียหายจากน้ำท่วม ควรมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพราะหาก รอให้มีการเตือนภัย เวลามักจะไม่เพียงพอ



เตรียมความพร้อมก่อนน้ำท่วม


การรับมือสำหรับน้ำท่วมครั้งต่อไปควรปฏิบัติดังนี้



1. คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินของคุณเมื่อเกิดน้ำท่วม

2. ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการอพยพ

3. เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุดจากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย

4. เตรียมเครื่องรับวิทยุแบบพกพา อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉิน แหล่งอาหารและไฟฉาย รวมทั้งแบตเตอรี่สำรอง

5. ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เป็นต้น เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน และทราบแหล่งทรายที่จะนำมาใช้

6. นำรถยนต์และพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ซึ่งน้ำไม่ท่วมถึง

7. ปรึกษาและทำข้อตกลงกับบริษัทประกันภัยเกี่ยวกับการประกันความเสียหาย

8. บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และเก็บไว้ตามที่จำง่าย

9. รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหารที่ต้องการใช้ภายหลังน้ำท่วมไว้ในที่ปลอดภัยและสูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง

10. ทำบันทึกรายการทรัพย์สินมีค่าทั้งหมด ถ่ายรูปหรือวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน

11. เก็บบันทึกรายการทรัพย์สิน เอกสารสำคัญและของมีค่าอื่นๆ ในสถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้านหรือห่างจากที่น้ำท่วมถึง เช่น ตู้เซฟที่ธนาคาร หรือไปรษณีย์

12. ทำแผนการรับมือน้ำท่วม และถ่ายเอกสารเก็บไว้ในที่สังเกตได้ง่าย และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมที่เหมาะสมกับบ้านของคุณ


รู้จักกับภัยน้ำท่วมของคุณ


สอบถามหน่วยงานที่จัดการด้านน้ำท่วม ด้วยคำถามต่อไปนี้

- ภายในละแวกใกล้เคียงในรอบหลายปีที่ผ่านๆมา เคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดเท่าไหร่

- เราสามารถคาดคะเนความเร็วน้ำหรือโคลนได้หรือไม่

- เราจะได้การเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมาถึงเป็นเวลาเท่าไหร่

- เราจะได้รับการเตือนภัยอย่างไร

- ถนนเส้นใดบ้างในละแวกนี้ที่จะถูกน้ำท่วมหรือจะมีสิ่งกีดขวาง


ถ้าคุณคือพ่อแม่ :

· ทำการซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตรหลานของคุณขณะเกิดน้ำท่วม เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน้ำ

· ต้องทราบหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่น

· ต้องทราบแผนฉุกเฉินสำหรับ โรงเรียนที่บุตรหลานคุณเรียนอยู่

· เตรียมแผนการอพยพสำหรับครอบครัวของคุณ

· จัดเตรียมกระสอบทราย เพื่อกั้นน้ำไม่ให้เข้าสู่บ้านเรือน

· ต้องมั่นใจว่าเด็กๆได้รับทราบแผนการรับสถานการณ์น้ำท่วมของครอบครัวและของโรงเรียน

สายชล
10-10-2011, 10:38
การทำแผนรับมือน้ำท่วม



การจัดทำแผนรับมือน้ำท่วม จะช่วยให้คุณนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่จะต้องทำหลังได้รับการเตือนภัย เดินสำรวจทั่วทั้งบ้านด้วยคู่มือเล่มนี้ พร้อมทั้งจดบันทึกด้วยว่าจะจัดการตามคำแนะนำอย่างไร ในช่วงเวลาที่ทุกๆ คน เร่งรีบและตื่นเต้นเนื่องจากภัยคุกคาม สิ่งสำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ หมายเลขโทรศัพท์ต่างๆ ที่สำคัญไว้ในแผนด้วย



ถ้าคุณมีเวลาเพียงเล็กน้อยหลังการเตือนภัย : สิ่งที่ต้องทำและมีในแผน



- สัญญาณเตือนภัยฉุกเฉิน และสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์ที่รายงานสถานการณ์และรายชื่อสถานีวิทยุที่รายงาน



- รายชื่อสถานที่ 2 แห่งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถพบกันได้หลังจากพลัดหลง โดยสถานที่แรกให้อยู่ใกล้บริเวณบ้าน และอีกสถานที่อยู่นอกพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง



- เมื่ออพยพออกจากบ้าน ในกรณีที่คุณไม่สามารถกลับเข้าบ้านได้หลายวันควรติด ข้อความอธิบายที่บ้านด้วยว่า คุณอพยพไปที่ไหนและสามารถติดต่อได้อย่างไร



- เมื่อจะออกจากบ้านให้ปิดบ้านให้เรียบร้อย และวิ่งออกไปตามเส้นทางที่วางแผนไว้สู่ที่อพยพ



ถ้าคุณมีเวลามาก หลังการเตือนภัย : สิ่งที่ต้องเพิ่มลงไปในแผนคือ



- ติดตั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เตรียมไว้สำหรับการป้องกันน้ำท่วม

- อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล้างจาน พื้นห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้านได้

- ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า แก๊สและประปาในบริเวณที่จะถูกน้ำท่วม หรือถ้าคาดว่าน้ำจะท่วมเฉพาะชั้นล่างก็สามารถปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเฉพาะส่วนนั้นและเปิดใช้ในส่วนที่อยู่อาศัยได้ ในแผนรับมือน้ำท่วม ให้ทำเครื่องหมายจุดที่เป็นฟิวส์ หรือเบรกเกอร์ เพื่อแสดงวงจรไฟฟ้าที่เข้าสู่ตัวบ้าน

- ปิดถังแก๊สให้สนิท

- จัดเตรียมน้ำสะอาดใส่ในภาชนะเพื่ออุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอ

- ตรวจสอบแหล่งพลังงานที่ใช้กับเครื่องสูบน้ำ

- เคลื่อนย้ายทรัพย์สินมีค่าไปเก็บไว้ที่สูงหรือปลอดภัย



น้ำสามารถไหลเข้าบ้านคุณได้อย่างไร



น้ำท่วมสามารถไหลเข้าบ้านได้หลายทาง โดยทางเข้าจะสูงกว่าระดับพื้นบ้านดังนั้นหลังจากระดับน้ำท่วมลดลง น้ำจึงยังคงอยู่ในตัวบ้าน เป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหาย



น้ำเข้าบ้านได้หลายทาง ดังนี้



- น้ำสามารถผ่านเข้ารอบๆประตู และช่องว่างของอิฐได้

- หากน้ำท่วมสูงมาก น้ำจะสามารถไหลย้อนกลับเข้าบ้าน

ทางท่อในห้องน้ำหรือท่ออ่างล้างหน้าได้

- น้ำสามารถซึมผ่านรอยร้าวและรอยต่อของกำแพง

- น้ำสามารถซึมผ่านขึ้นมาทางพื้นชั้นล่างได้

- น้ำสามารถผ่านเข้าทางรอยร้าวและรอยต่อรอบๆสายไฟ

หรือ สายโทรศัพท์ที่เจาะผ่านกำแพง

- น้ำสามารถผ่านเข้าทางท่อระบายน้ำทิ้ง

สายชล
10-10-2011, 10:46
ระหว่างเกิดน้ำท่วม


ระดับการเตือนภัยน้ำท่วม


ลักษณะการเตือนภัยมี 4 ประเภท คือ


1. การเฝ้าระวังน้ำท่วม ( Flood Watch) : มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างสังเกตการณ์

2. การเตือนภัยน้ำท่วม (Flood Warning) : เตือนภัยจะเกิดน้ำท่วม

3. การเตือนภัยน้ำท่วมรุนแรง (Severe Flood Warning) : เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง

4. การกลับสู่ภาวะปกติ (All Clear) : เหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติ



สิ่งที่คุณควรทำ : หลังจากได้รับการเตือนภัยจากหน่วยงานด้านเตือนภัยน้ำท่วม



1. ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถฉุกเฉิน


2. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน และคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฏิบัติดังนี้

- ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

- อย่าพยายามนำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด

- อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเวณทางน้ำหลาก


3. ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว


4. ถ้ามีการเตือนการเฝ้าระวังน้ำท่วม จะยังพอมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม


5. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง ควรปฏิบัติดังนี้

- อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล้างจาน พื้นห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน

- อ่านวิธีการที่ทำให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อยู่นอกบ้าน

- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊สถ้าจำเป็น

- ล๊อคประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง

- ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจาก วิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับ สถานที่หลบภัยของหน่วยงาน


6. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึงแต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน

- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน

- ปิดแก๊สหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก๊ส

- เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน

- ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถึงบ้าน


น้ำท่วมฉับพลัน

- น้ำท่วมฉับพลันสามารถเกิด ขึ้นได้โดยไม่มีการเตือนภัย

- ควรทราบว่าถ้าเกิดน้ำท่วมฉับพลันจะทำอย่างไร ทั้งตอนอยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน และในรถ

- เมื่อเกิดฝนตกหนักและคุณอยู่ใกล้ลำน้ำ ควรติดตามข่าวทางสถานีวิทยุท้องถิ่นหรือโทรทัศน์ ถ้าได้รับการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน ให้ระมัด ระวังตัวและย้ายไปอยู่ที่สูง

- ถ้าได้ยินการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันให้วิ่งไปบนที่สูงทันที

- ออกจากรถและที่ที่อยู่ คิดอย่างเดียว ว่าต้องหนี

- อย่าพยายามขับรถหรือวิ่งย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม


ปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้าน


- ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อบ้านโดนน้ำท่วม : อุปกรณ์บางอย่างสามารถทำให้คุณช็อกได้

แม้ในขณะที่ไม่เสียบปลั๊ก ห้ามใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ จนกว่าแน่ใจว่าทุกชิ้นส่วน

ของอุปกรณ์นั้น สะอาดและแห้งสนิท

- ระวังสัตว์อันตราย : สัตว์อันตราย เช่น งู ตะขาบ ที่อาจหนีน้ำเข้ามาในบ้าน

- เดินอย่างระมัดระวัง : ระวังอันตรายจาก โคลนที่ทำให้ลื่น เศษแก้ว เข็ม ซากสิ่งของที่พังลอยมากับน้ำตอนที่น้ำลดแล้ว

- ระวังแก๊สรั่ว : หากได้กลิ่นแก๊สให้อยู่ห่างๆ ไว้ ลองใช้ไฟฉายส่องดูเพื่อเช็คความ

เสียหาย และห้ามสูบบุหรี่หรือจุดไฟจนกว่าจะปิดแก๊สหรือระบายอากาศในพื้นที่แล้ว

- อันตรายจากคาร์บอนมอนออกไซด์ : ควรใช้ เตาย่าง และโคมไฟ นอกบ้านเพราะควันที่ออกมาจากสิ่งเหล่านี้อาจมีพิษ และไม่ ควรนำไปใช้ในบ้าน

- ทำความสะอาดทุกอย่างที่เปียกน้ำ : น้ำท่วมเป็นน้ำมีสิ่งปฏิกูลและสารอันตราย เจือปน

ห้ามบริโภคทุกอย่างที่สัมผัสน้ำ อาหาร ส่วนเครื่องใช้ให้ล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาด

- ดูแลตัวเองและครอบครัว : หลังจากน้ำท่วมควรดูแลตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ความเจ็บป่วยทางจิตใจอาจใช้เวลารักษานานกว่าความเจ็บป่วยทางกาย ดังนั้นควรพยายาม เรียนรู้วิชาการที่จะสามารถเอาชนะความเครียดและความวิตกกังวล



ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่นอกบ้าน


- ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล : มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากจมน้ำตายในขณะที่น้ำกำลังมา ความสูงของน้ำเพียงแค่ 15 เซนติเมตรก็ทำให้เสียหลักล้มได้ ดังนั้นถ้ามีความจำเป็นต้องเดินผ่านทางที่น้ำไหลให้ลองนำไม้จุ่มเพื่อวัดระดับก่อนทุกครั้ง


- ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดนน้ำท่วม : การขับรถในพื้นที่น้ำท่วมมีความเสี่ยงสูงมากที่จะจมน้ำ หากเห็นป้ายเตือนตามเส้นทางต่างๆ ห้ามขับรถเข้าไป เพราะอาจมีอันตรายข้างหน้า น้ำสูง 50 เซนติเมตรพัดรถจักรยานยนต์ให้ลอยได้


- ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสาย : กระแสไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านน้ำได้ เมื่อเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากไฟดูดมากว่าสาเหตุอื่นๆ เมื่อเห็นสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายกรุณาแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สายชล
10-10-2011, 10:49
หลังน้ำท่วม



3 ขั้นตอนที่คุณควรทำในวันแรกๆหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วม



ขั้นตอนที่ 1 : เอาใจใส่ตัวเอง



หลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วม คุณและครอบครัวอาจเกิดความซึมเศร้า และต้องใช้เวลาเพื่อกลับสู่ภาวะปกติ อย่าลืมว่าเหตุการณ์น้ำท่วมก็อาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหาย คุณต้องดูแลทั้งตัวเองและครอบครัวพร้อมกับการบูรณะบ้านให้กลับมาเหมือนเดิม



อุปสรรคที่สำคัญคือ ความเครียด และหงุดหงิดง่ายรวมทั้งปัญหาอื่น เช่น นอนหลับยาก ฝันร้าย และปัญหาทางกายโรคภัยไข้เจ็บ จริงๆแล้วเรื่องความเครียดที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งคุณและครอบครัวควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้


1. ให้เวลากับครอบครัวเพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยียวยารักษาได้ดี

2. พูดคุยปัญหาเรื่องต่างๆ กับเพื่อนและครอบครัว ร่วมแบ่งปันความกังวล จะช่วยให้ระบายและผ่อนคลายความเครียด

3. พักผ่อนและกินอาหารที่มีประโยชน์เพราะมีปัญหาทั้งความเครียดและ ทางกายเพิ่มขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ

4. จัดลำดับสิ่งที่จำเป็นต้องทำตามลำดับและค่อยๆ ทำไป

5. ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เมื่ออาการซึมเศร้าจนเกินที่จะรับมือได้

6. ดูแลเด็กๆ ให้ดี และโปรดเข้าใจว่าเด็กก็มีความตื่นกลัวไม่แพ้กัน และอย่าตำหนิเด็กทีมีพฤติกรรมแปลกๆ หลังจากน้ำท่วม เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้งหรือเกาะคุณอยู่ตลอดเวลา จำไว้ว่าเด็กก็เพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิต

7. ระวังเรื่องสุขอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่เคยโดยน้ำท่วม



ขั้นตอน 2 : การจัดการดูแลบ้านของคุณ



ที่ผ่านมามีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากน้ำท่วม ส่วนใหญ่เกิดจากการถูกไฟดูดหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นหลังจากน้ำลด สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับเข้าบ้านคือ การตรวจสอบความปลอดภัยก่อนเข้าบูรณะและอยู่อาศัย โดยมีขั้นตอน ดังนี้



1. ปรับจูนคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ฟังรายงานสถานการณ์

2. ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหายและซ่อมแซมทรัพย์สินต่างๆ

3. เดินตรวจตรารอบๆ บ้าน และเช็คสายไฟฟ้า สายและถังแก๊ส โดยถ้าหากเกิดแก๊สรั่ว จะสามารถรู้ได้จากกลิ่นแก๊ส ให้ระวังและรีบโทรแจ้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย

4. ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้าง ทุกอย่างปลอดภัย

5. ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน

6. ปิดวาล์วแก๊สให้สนิท หากได้กลิ่นแก๊สรั่วก็ไม่ควรเข้าใกล้บริเวณนั้น

7. เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง อย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ

8. ถ่ายรูปความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน(ถ้ามี)

9. เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า และห่อหุ้มรูปภาพหรือเอกสารสำคัญ

10. เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตูเพื่อระบายอากาศและตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งก่อสร้างต่างๆ

11. ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย

12. เก็บกวาดกิ่งไม้หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน

13. ตรวจหารอยแตกหรือรั่วของท่อน้ำ ถ้าพบให้ปิดวาล์วตรงมิเตอร์น้ำ และไม่ควรดื่มหรือทำอาหารด้วยน้ำจากก๊อก

จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย

14. ระบายน้ำออกจากห้องใต้ดินอย่างช้าๆเนื่องจากแรงดันน้ำภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรือ พื้นห้องใต้ดินได้

15. กำจัดตะกอนที่มาจากน้ำ เนื่องจากเชื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน



ขั้นตอน 3 : ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



ก่อนที่คุณพยายามทำความสะอาดและซ่อมแซมทุกอย่าง คุณควรประเมินความเสียหายและทำความแผนที่วางไว้ ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ฃ

1. เรียกบริษัทประกันภัยและเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น เพื่อพิจารณาความเสียหาย

2. ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างอาคารของบ้านคุณ

3. ทำแผนการบูรณะซ่อมแซม ซึ่งเป็นรายการสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำ เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

4. เปิดหน้าต่างเพื่อให้ความชื้นระเหยออกไป

สายชล
10-10-2011, 10:55
ขอบคุณข้อมูลจากมติชน...

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318159283&grpid=01&catid=01&utm_source=twitterfeed&utm_medium=twitter

Udomlert
11-10-2011, 07:40
ขอบพระคุณพี่น้อยมากๆครับ ที่นำข้อมูลมาเผยแพร่ครับ
ผมกำลังเตรียมตัว เพราะน้ำเยอะกว่าปี 38 มาก ปี 38 แค่ท่วมถนนซอยเล็กน้อย
ปีนี้...บรื๋อ

สายน้ำ
11-10-2011, 08:17
เพิ่มเติมจากข้อมูลข้างบน ....



โรคที่มากับน้ำท่วม

โรคน้ำกัดเท้าและผื่นคัน

เกิดขึ้นได้ก็เพราะผิวหนังเท้าของเรา โดยเฉพาะที่ง่ามเท้าเกิดเปียกชื้นและสกปรก เวลาที่เท้าสกปรก สิ่งสกปรกจะเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ทำให้เชื้อราหรือเ ชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี เท้าที่แช่น้ำหรือเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ผิวหนังที่เท้าอ่อนส่วนผิวๆของหนังจะเปื่อยและหลุดออก เศษผิวหนังที่เปื่อยนี้จะทำให้เชื้อโรคที่ปลิวไปปลิว มาเกาะติดได้ง่าย และผิวที่เปื่อยก็เป็นอาหารของเชื้อราได้ดี เชื้อราจึงไปอาศัยทำให้เกิดแผลเล็กๆขึ้นตามซอกนิ้วเท้าเกิดเป็นโรคน้ำกัดเท้าขึ้น

โรคน้ำกัดเท้า มักพบว่ามีอาการคันและอักเสบตามซอกนิ้วเท้า (หรือนิ้วมือ) และถ้ามีเชื้อแบคทีเรียเข้าแทรกซ้อนด้วย ก็จะทำให้อักเสบเป็นหนอง และเจ็บปวดจนเดินลำบากได้


ไข้หวัด

ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อของจมูก และคอ บางครั้งเรียก upper respiratory tract infection URI เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วย Rhino-viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่นๆมี Adenoviruses, Respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลังของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุดโดย เฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้ หวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก คนสูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้ง


โรคเครียดวิตกกังวล

ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อม ที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่ อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เ กิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแ ปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้ง ผลดีและผลเสีย


โรคตาแดง

โรคตาแดงเป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา (conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตา ที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีบ ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรัง


โรคอุจจาจระร่วง

โรคอุจจาระร่วง หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว จำนวน 3 ครั้งต่อกันหรือมากกว่า หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง ใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ปรสิตและหนอนพยาธิ สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทยมักจะหาสาเหตุของเชื้อโรคท ี่ก่อให้เกิดอาการ อุจจาระร่วงไม่ได้ ก็จะให้การวินิจฉัยจากอาการ อาการแสดงและลักษณะอุจจาระได้แก่ บิด (Dysentery) อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ไข้ทัยฟอยด์ (Typhoid fever) เป็นต้น ในกรณีที่มีอาการของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันไม่ใช่โร คดังกล่าวข้างต้น และอาการไม่เกิน 14 วัน ก็จะรายงานเป็นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea)


แหล่งให้ความช่วยเหลือน้ำท่วม

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

- เว็บไซต์ disaster.go.th
- สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784
- ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อยๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6

กรุงเทพมหานคร
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ 50 แห่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6858

สภากาชาดไทย
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “สภากาชาดไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” เลขที่บัญชี 045-3-04190-6 แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ สำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลขโทรสาร 02-250-0120 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4066-8
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หากมาจากถนนพระราม 4 ให้เลี้ยวตรงแยกอังรีดูนังต์ เมื่อเข้าสู่ถนนอังรีดูนังต์ให้ชิดซ้ายทันที เนื่องจากอยู่ต้นๆถนน (ทางด้านพระราม 4) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-251-7853-6 ต่อ 1603 หรือ 1102 หากเป็นวันหยุดราชการ ต่อ 1302 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร 02-252-7976

- สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภ ัยน้ำท่วมได้ที่ http://www.rtrc.in.th/ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603 มาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) เป็นผู้ชายก็จะดีมาก หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นรายๆไป




จาก ...................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 10 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
11-10-2011, 08:19
รพ.เด็ก ห่วงใยเด็กเล็ก แนะวิธีป้องกันภัยที่มาจากน้ำท่วม


ช่วงนี้หลายจังหวัดของประเทศไทยประสบกับปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรง เนื่องจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องกันมาหลายสัปดาห์ ไม่ใช่มีเพียงแต่ปัญหาเรื่องที่พักอาศัย และอาหารในช่วงน้ำท่วมเท่านั้น แต่คุณพ่อคุณแม่ยังต้องดูแลตัวเองและเด็กๆให้ห่างไกลภัยอันตรายที่เกิดจากน้ำท่วมด้วย โดยเฉพาะการจมน้ำ การจมน้ำเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 และสูงกว่าการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรถึง 2 เท่า โดยในแต่ละปีมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตถึงเกือบ 1,500 คน หรือเฉลี่ยวันละ 4 คน ซึ่งช่วงที่พบมากมักเป็นช่วงที่ตรงกับปิดเทอมซึ่งตรงกับช่วงนี้ ร่วมกับการมีน้ำท่วมยิ่งมีความเสี่ยงที่เด็กๆจะเกิดอันตรายทางน้ำ นอกจากนี้ยังมีโรคที่มาจากน้ำท่วมที่เกิดได้กับเด็กด้วย

ปัญหาการจมน้ำเป็นปัญหาใหญ่สำหรับเด็กไทย ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ และมีคำขวัญว่า เด็กทั่วไทย ปลอดภัย ไม่จมน้ำ โดยมีนโยบายที่จะเร่งป้องกันปัญหานี้โดยการจัดอบรมครูสอนทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และวางแผนจะเผยแพร่ไปทุกจังหวัด โดยมีเป้าหมายว่าภายใน 10 ปี เด็กที่อายุ 6 ปีขึ้นไป ต้องว่ายน้ำเป็นครบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้ชื่อว่า โครงการให้วัคซีนป้องกันเด็กจมน้ำ รวมทั้งให้ความรู้เรื่องการช่วยเด็กเบื้องต้นเมื่อจมน้ำ

พ.ญ.พิมพ์ภัค ประชาศิลป์ชัย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จริงๆ แล้วแค่เพียงระดับน้ำเพียง 1-2 นิ้ว ก็สามารถทำให้เด็กเล็กๆจมน้ำได้แล้ว และเด็กส่วนมากมักจมน้ำบริเวณแหล่งน้ำใกล้บ้าน คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็กๆอย่างใกล้ชิดขณะเด็กเล่นน้ำนะคะ ไม่ควรปล่อยให้เด็กไปเล่นน้ำ จับปลา พายเรือ หรือว่ายน้ำตามลำพัง และควรให้เด็กๆยืนห่างจากขอบแหล่งน้ำเพื่อป้องกันการลื่นตกด้วย รวมถึงไม่ควรให้อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน เพราะความเย็นของน้ำจะทำให้เด็กเป็นตะคริวจมน้ำได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์น้ำท่วมแบบนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ และถ้าต้องเดินทางทางเรือก็ควรสวมเสื้อชูชีพให้เด็กๆตลอดเวลาที่เดินทาง

“...ถ้ามีเหตุจมน้ำเกิดขึ้นควรสอนไม่ให้เด็กลงไปช่วยเหลือกันเองควรบอกให้ผู้ใหญ่ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงช่วยเหลือแทน สำหรับวิธีการช่วยเหลือ ถ้าเด็กรู้สึกตัวดีและหายใจเองได้ ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เด็กและรีบเช็ดตัวเด็กให้แห้ง เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แต่ถ้าเด็กหายใจเองไม่ได้หรือหัวใจหยุดเต้น ให้รีบทำการปฐมพยาบาลในเบื้องต้น และรีบเปิดทางเดินหายใจ โดยให้เด็กนอนราบกดหน้าผากและเชยคางขึ้นเบาๆ ถ้าเด็กยังไม่หายใจแต่ชีพจรยังเต้นอยู่ ให้ทำการเป่าปากต่อเพียงอย่างเดียว โดยทำ 20 ครั้ง/นาที และให้รีบนำเด็กส่งโรงพยาบาล ห้ามจับอุ้มพาดบ่า กระโดด หรือวิ่งรอบสนาม เพราะจะทำให้ขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้น” พ.ญ.พิมพ์ภัค กล่าว

ที่สำคัญแม้ว่าเด็กๆจะว่ายน้ำเป็น ผู้ปกครองก็ไม่ควรปล่อยให้เด็กๆอยู่ตามลำพัง เพราะเด็กอาจได้รับอันตรายจากสัตว์มีพิษที่อาศัยอยู่ใต้น้ำ เช่น งู ปลิง เป็นต้น และถ้าเกิดอันตรายในระหว่างการเล่นน้ำ เด็กจะไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที การสอนให้เด็กว่ายน้ำเป็น ได้เรียนรู้ถึงอันตรายจากการเล่นน้ำ และรู้วิธีการช่วยเหลือตนเองกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นได้

อุบัติเหตุอื่นๆที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่ ไฟดูด อุบัติเหตุจากการเหยียบของมีคม อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ซึ่งหนีน้ำมาหลบในบริเวณบ้าน การป้องกันง่ายๆ ทำได้โดยไม่ให้เด็กๆเดินเท้าเปล่า ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า สับคัตเอาท์ตัดไฟฟ้าในบ้าน ก่อนที่น้ำจะท่วมถึง และเก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคม ในบริเวณบ้าน ถ้ามีบาดแผลที่เกิดจากของมีคม ควรล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาด แล้วไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง และต้องตรวจเช็คว่าเด็กได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักครบแล้วหรือยังด้วย

นอกจากนี้ยังมี โรคต่างๆที่ระบาดมากในช่วงน้ำท่วม ที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวังด้วย พ.ญ.พิมพ์ภัคกล่าวถึงโรคต่างๆไว้ดังนี้

- โรคแรกคือ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร หรือที่เรียกกันทั่วๆไปว่า โรคอุจจาระร่วง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค แบ่งออกเป็นหลายชนิด เช่น โรคไทฟอยด์ อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ ส่วนหนึ่งโรคเหล่านี้อาจติดต่อจากการสัมผัสอุจจาระหรืออาเจียนของผู้ป่วยซึ่งแพร่กระจายอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม โดยมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรค อาการทั่วไป เด็กๆจะมีอาการไข้ ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำวันละหลายครั้ง หรือถ่ายอุจจาระมีมูกหรือเลือดปน คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งในเด็กจะพบว่ามีอาการรุนแรง และเสี่ยงต่อการมีภาวะขาดน้ำและเกลือแร่กว่าผู้ใหญ่ค่ะ

การป้องกันคือ ดื่มและใช้น้ำที่สะอาด ควรระวังอย่าให้น้ำที่ท่วมขังอยู่เข้าปากและไม่ควรนำมาล้าง ภาชนะ ถ้วยชาม หรือผักผลไม้ ต้องล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ ไม่ถ่ายลงในน้ำ เก็บภาชนะที่ใส่อาหารให้มิดชิด ไม่ให้มีแมลงวันตอม แต่ถ้าเด็กๆเริ่มมีอาการท้องร่วง ก็ควรให้เด็กๆดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (โออาร์เอส) ทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ควรงดอาหารรสจัดหรืออาหารทอดน้ำมัน เพราะจะยิ่งทำให้ท้องอืด ปวดท้องมากขึ้น และถ้ารักษาเบื้องต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรพาไปปรึกษาแพทย์

- โรคที่ 2 คือ โรคตาแดง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อด้วยการสัมผัสจากมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวค่ะ เด็กๆจะมีอาการที่สำคัญคือ คันตา มีน้ำตาไหลมากผิดปกติ มีขี้ตามาก เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง การป้องกันคือ สอนให้เด็กๆล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ เมื่อน้ำสกปรกเข้าตาเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดค่ะ และถ้าเด็กๆมีอาการปวดตา หรือมองแสงไม่ได้ควรรีบพาไปปรึกษาแพทย์

- โรคที่ 3 คือ โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อรา ซึ่งเกิดจากการย่ำน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรคหรือเท้าอับชื้นอยู่เป็นเวลานานค่ะ จะเริ่มจากมีอาการด้วยตุ่มใสบริเวณง่ามเท้า คันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย มีอาการคันมากจนแตกเป็นแผล การป้องกัน คือ ควรล้างเท้าให้สะอาด เช็ดให้แห้งค่ะ รักษาได้โดยใช้ยาทารักษาเชื้อราค่ะ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงและเรื้อรัง ทายาไม่ได้ผล อาจต้องไปปรึกษาแพทย์

- โรคสุดท้ายคือ โรคฉี่หนู หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคเลปโตสไปโรสิส โรคนี้เป็นโรคที่ส่วนมากพบในผู้ใหญ่ แต่ก็สามารถเกิดในเด็กได้ด้วย โดยเฉพาะในช่วงน้ำท่วม โรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อมาจากสัตว์ เชื้อโรคจะอยู่ในปัสสาวะของสัตว์ เช่น หนู โค กระบือ ตลอดไปจนถึงสัตว์เลี้ยงในบ้านอย่างสุนัขหรือแมวเลยทีเดียว โดยคนจะสามารถรับเชื้อเข้าไปทางบาดแผล หรือผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานานๆ รวมถึงเยื่อเมือกอย่างตาและปากอีกด้วย อาการสำคัญ คือ จะมีไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อ และศีรษะมาก เด็กๆบางคนจะมีอาการตาแดง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม และท้องเดินร่วมด้วย จำเป็นต้องรีบพบแพทย์ เนื่องจากทำให้มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเสียชีวิตได้ การจะป้องกันโรคนี้ ถ้ามีแผลในบริเวณที่สัมผัสกับน้ำได้ง่าย ควรหลีกเลี่ยงการเดินหรือเล่นน้ำในบริเวณที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเด็กๆที่มักจะสนุกสนานไปกับการย่ำน้ำหรือเล่นน้ำในช่วงน้ำท่วม และถ้าเป็นไปได้ควรใส่รองเท้าบู๊ตทุกครั้งเมื่อเดินลุยน้ำ

การป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุทางน้ำ และการป้องกันโรคเหล่านี้เป็นเรื่องที่ง่ายกว่าการแก้ไข หรือรักษา เพราะฉะนั้นอย่าลืมใส่ใจความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยของเด็กๆในช่วงน้ำท่วมด้วย




จาก .......................... บ้านเมือง วันที่ 10 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
11-10-2011, 08:20
เตือนซ้ำ..ไม่กลัวไม่ได้ ‘ภัยซ้อนภัย’ ‘ตาย’ กันเยอะแล้ว!!

http://www.dailynews.co.th/content/images/1110/10/newspaper/p3thurl.jpg

จากสถานการณ์ “น้ำท่วม” ที่เกิดขึ้นราว 30 จังหวัด ส่งผลให้มีคนไทยต้องเสียชีวิตแล้วกว่า 250 ราย บาดเจ็บ ป่วย อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุก็มีทั้งจากน้ำที่ท่วมโดยตรง และจาก ’ภัยซ้ำซ้อน“ ซึ่งกับภัยซ้ำซ้อนที่เกิดขึ้นนั้น ก็ต้องเตือนกันไว้ ณ ที่นี้อีกครั้งว่า ’ไม่กลัวไม่ได้“ ทำให้ ’เจ็บ-ตาย“ กันไปไม่น้อยแล้ว!!

สำหรับผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว และประสบภัยซ้ำซ้อนจากน้ำท่วมแล้ว ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือก็ต้องเร่งดำเนินการ ส่วนกับผู้ที่ยังไม่ประสบภัยน้ำท่วม-ยังไม่ประสบภัยซ้ำซ้อนจากน้ำท่วม ก็อย่าได้วางใจ ’อย่าประมาท“ ถ้ามีโอกาสได้รับทราบข้อมูล “เตือนภัย-ป้องกันภัย” ก็น่าจะได้จดจำไว้เพื่อใช้ปฏิบัติ เช่น อย่าประมาท “ความแรงของกระแสน้ำ” แม้จะดูเหมือนไม่แรง เพราะ ’จมน้ำตาย“ กันเยอะแล้ว !!

’โรคร้าย“ ที่ทำให้ถึงตายได้-ที่เกิดจากน้ำ...ก็ควรจะรู้เท่าทัน

หรือ ’กระแสไฟฟ้า“ ที่ยิ่งอันตรายเมื่อมีน้ำ...ก็ต้องกลัว!!

ทั้งนี้ กับ “กระแสไฟฟ้า” นั้น ทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” เคยนำข้อมูลมาเตือนกันไว้แล้ว ว่าช่วงน้ำท่วมนั้นยิ่งต้องระวัง ยิ่งเป็นกรณี “น้ำท่วมในเขตเมืองยิ่งอันตราย” อย่างที่พระนครศรีอยุธยาก็มีรายงานข่าวว่ามีประชาชนห ลายรายที่บาดเจ็บและเสียชีวิตจากกระแสไฟฟ้า จากการที่เกิดน้ำทะลักเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว

เมื่อเกิดน้ำทะลักเข้าท่วมบ้านอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว ก่อนจะห่วง-ก่อนจะพะวงกับทรัพย์สินต่างๆ ควรรีบสับคัตเอาต์ตัดกระแสไฟฟ้าเสียก่อน ต้องงดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด และหากยังจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้า ก็ต้องระมัดระวังเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตั้งอยู่บริเวณที่ชื้นแฉะให้มากๆ ต้องงดใช้และงดสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดขณะที่ตัวแช่อยู่ในน้ำ หรือขณะยืนบนพื้นที่ชื้นแฉะ หรือแค่ตัวเปียกชื้น ก็อย่าใช้!!

เพราะอาจจะทำให้ได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ง่ายๆ

หรือหากจะว่ากันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ก็มีคำแนะนำ-คำเตือนของทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ว่าไว้ว่า... การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในช่วงที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมมีค วามเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตเพราะถูก ’ไฟฟ้าดูด-ไฟฟ้าช็อต“ ซึ่งเมื่อเกิดน้ำท่วม หากจะให้ปลอดภัยจากภัยกระแสไฟฟ้า ก็จะต้องปฏิบัติดังนี้คือ...

รีบตัดกระแสไฟฟ้าที่แผงสวิตช์ไฟหรือสับสวิตช์ไฟลง พร้อมย้ายสวิตช์ไฟให้พ้นจากระดับน้ำที่ท่วมถึง, ก่อนจะนำอุปกรณ์-เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆมาใช้งานควรต้องตรวจสอบให้อุปกรณ์-เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และผู้ใช้งานต้องไม่ยืนอยู่บนพื้นที่ชื้นแฉะ ต้องเป็นที่แห้ง พร้อมสวมรองเท้าให้เรียบร้อยด้วย

หากเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วพบว่ามีสิ่งผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็นไหม้ มีเสียงดัง ฯลฯ ให้หยุดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นทันที ต้องนำไปให้ช่างผู้ชำนาญซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ก่อนจึงจะนำมาใช้งานอีก

ห้ามใช้ ห้ามสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ตัวเปียกชื้นหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเปียกน้ำ ห้ามนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมาใช้งาน รวมถึงห้ามซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตนเองโดยไม่มีความชำนาญอย่างเด็ดขาด เพราะอาจเกิดข้อผิดพลาดทำให้ถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิต

นอกจากนี้ กรณีต้องฝ่าน้ำท่วมออกไปนอกบ้าน หากพบเห็นเสาไฟฟ้าทรุดตัวหรือล้ม สายไฟฟ้าขาด ต้นไม้ล้มทับเสาไฟฟ้า ห้ามเข้าใกล้และห้ามสัมผัสถูกสายไฟฟ้าหรือวัสดุที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงอย่างเด็ดขาด เพราะอาจถูกกระแสไฟฟ้าดูด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้ามาดำเนินการตรวจสอบโดยด่ว น และกรณีถูกไฟดูดนอกบ้านนี้ ทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ก็ขอเน้นย้ำไว้อีกครั้งว่า... หน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน ก็ต้องใส่ใจสายไฟฟ้าในความรับผิดชอบของตนด้วย เพราะอาจก่ออันตรายต่อผู้สัญจรผ่านไปมาได้

นี่ก็เป็นภัยซ้ำซ้อนจากไฟฟ้าที่นำมาเตือนกันอีกครั้ง

ส่วนกับภัยซ้ำซ้อนจากน้ำท่วมจากโรคร้ายๆที่ก็ต้องเตื อนกันอีก ก็เช่น... ถ้า...เป็นไข้เฉียบพลัน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ปวดที่น่องและโคนขา ปวดกล้ามเนื้อหลังและท้อง ตาแดง คอแข็ง เป็นไข้ติดต่อกันหลายวันสลับกับระยะไข้ลด มีผื่นที่เพดานปาก มีจุดเลือดออกตามผิวหนังและเยื่อบุ รู้สึกสับสน ซึม เหล่านี้เป็นอาการของ ’โรคฉี่หนู-โรคเลปโตสไปโรซิส“ ซึ่งมักจะมากับน้ำ ยิ่งเมื่อน้ำลดแล้วยิ่งต้องระวัง เพราะเชื้อร้ายนี้มักจะระบาดง่ายจากโคลนตม ดินที่ชื้นแฉะ หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์ด่วน

เพราะเชื้อร้ายนี้ทำให้ผู้ป่วยถึงตายได้ !!

เช่นเดียวกับ... ถ้า...มีไข้สูงเฉียบพลัน หน้าแดง ซึม เบื่ออาหาร มีจุดสีแดงตามตัว แขน ขา ปวดเมื่อยตัว ปวดหลัง ปวดหัว อาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นสีดำ ถ้ามีอาการน่าสงสัยลักษณะนี้ก็ต้องรีบไปพบแพทย์ด่วน เพราะอาจเป็น ’โรคไข้เลือดออก“ ซึ่งถ้าอาการหนักมาก ตัวจะเย็น ช็อก และถึงตาย

นี่ก็เป็นตัวอย่าง ’ภัยซ้ำซ้อนจากน้ำท่วม“ ที่ไม่กลัวไม่ได้

ก็ต้องนำมาเตือนซ้ำกันอีกเพราะ ’ถึงตาย“ กันต่อเนื่อง

’ตายกันไปเยอะแล้ว“ ขออย่าให้มียอดเพิ่มอีกเลย!!!!!!!.




จาก .......................... เดลินิวส์ วันที่ 10 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
11-10-2011, 08:21
เทคนิค! ขับรถลุยน้ำ 'ไม่ให้เครื่องดับ'

http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2011/10/09/images/news_img_412933_1.jpg

อ่าน! คำแนะนำว่าต้องทำอย่างไรบ้าง..เมื่อต้องขับรถตอนน้ำท่วม อยู่ในขั้นวิกฤติ ตั้งแต่ขั้นตอนขณะลุยน้ำ และการดูแลรักษารถหลังผ่านน้ำท่วมไปแล้ว

ทำอย่างไรเมื่อต้องขับรถตอนน้ำท่วมอยู่ในขั้นวิกฤติ แต่เรายังต้องใช้รถเดินทางไปทำงาน ไปทำกิจธุระต่างๆ ผ่านเส้นทางที่มีน้ำท่วมขัง มาดูคำแนะนำจากบริษัททางด่วนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) แนะนำไว้ในวารสารทางด่วนศรีรัช


ขณะลุยน้ำ

-ห้ามเปิดแอร์! นี่เป็นสาเหตุใหญ่ของรถดับ เมื่อเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน จะพัดน้ำให้กระจายไปทั่วห้องเครื่อง น้ำนี้แหละทำให้เครื่องดับได้

-ใช้เกียร์ต่ำ เกียร์ธรรมดา ควรใช้เกียร์ 1-2 ก็พอ เวลาลุยน้ำ สำหรับเกียร์ออโต้ ใช้ L แล้วขับ ช้าๆ ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าหยุด อย่าเร่งเร็ว

-ไม่ควรเร่งเครื่องให้รอบสูง เพราะทำให้ความร้อนสูง ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน ไม่ต้องห่วงว่าน้ำจะเข้าทางท่อไอเสีย ต่อให้น้ำท่วมท่อไอเสีย แล้วสตาร์ทเครื่องแบบเดินเบา แรงที่ดันออกมา ก็เพียงพอที่จะดันน้ำในท่อออกมาได้อย่างสบายๆ ต่อให้น้ำท่วมมิดท่อไอเสียแล้วสตาร์ท รถยังติดแน่นอน สำหรับเครื่องหัวฉีดทั่วไป

-ลดความเร็วลง เมื่อขับรถสวนอีกคัน ไม่งั้นจะเป็นการทำคลื่นชนคลื่น น้ำที่ประทะกันทำให้น้ำกระเด็นไปทำอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในได้ทั้งสองคัน หลังจากลุยน้ำมาแล้ว ควรย้ำเบรกบ่อยๆ เพื่อไล่น้ำ

-หลังจากลุยน้ำมาลึกๆ อาจเบรกไม่อยู่ เพราะเบรกถูกน้ำจะพองตัวขึ้น เมื่อถึงจุดหมายแล้ว ควรติดเครื่องต่อสักพัก โดยสังเกตว่าไม่มีไอน้ำออกท่อไอเสียแล้ว ให้น้ำที่ค้างในหม้อพัก รถจะได้ไม่ผุต่อไป


การดูแลหลังน้ำท่วม

-ให้ล้างรถให้สะอาด ฉีดน้ำเช้าท้องรถ ล้อรถ กำจัดเศษหินดินทราย เศษหญ้า ใบไม้ อาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้

-เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ เพราะจะมีน้ำซึมเข้าไปในระบบเกียร์ ทำให้พังได้

-เช็คลูกปืนล้อ เมื่อแช่น้ำนานอาจทำให้เกิดเสียงดัง

-ตรวจสอบพื้นพรมในรถ เปิดผ้ายาง รื้อพรม ป้องกันการติดเชื้อราในพรม และการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ

-ตรวจสอบระบบต่างๆให้อยู่ในความเรียบร้อย หรือเข้าศูนย์เช็คสภาพรถ


หมายเหตุ:คำแนะนำนี้เป็นเบื้องต้น หากพบมีสิ่งผิดปกติใดๆ เช่นเสียงดัง เข้าเกียร์ไม่ได้ ฯลฯ ควรปรึกษาช่างทันที




จาก ...................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 10 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
11-10-2011, 08:22
ข้อแนะนำเกี่ยวกับไฟฟ้าในกรณีที่มีน้ำท่วม


http://www.voicetv.co.th/cache/images/6e1fdbe52dd9a0c5b4ebf07722935181.jpg


จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น จนส่งผลทำให้ประชาชนหลายรายต้องถูกไฟฟ้าช็อต ดังนั้นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงมีข้อแนะนำประชาชนเกี่ยวกับไฟฟ้า กรณีเกิดน้ำท่วม



ข้อแนะนำเกี่ยวกับไฟฟ้าในกรณีที่มีน้ำท่วม

จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น จนส่งผลทำให้ประชาชนหลายรายต้องถูกไฟฟ้าช็อต ดังนั้นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงมีข้อแนะนำประชาชนเกี่ยวกับไฟฟ้า กรณีเกิดน้ำท่วม


1. ปลดเมนสวิตช์ (สะพานไฟ) ภายในบ้าน

http://www.voicetv.co.th/cache/images/b7f797dd80d28dc505882a78081dbff8.jpg


2. กรณีเป็นบ้าน 2 ชั้น และมีสวิตช์แยกแต่ละชั้น หากน้ำท่วมเฉพาะชั้นล่าง ให้ปลดสวิตช์ตัดกระสแไฟฟ้าเฉพาะชั้นล่าง

http://www.voicetv.co.th/cache/images/899e571877474fec09b4c3959f634f99.jpg


3. กรณีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานและมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้าน ให้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชั้นบน แต่กรณีบ้านชั้นเดียว ให้งดใช้กระแสไฟฟ้า เพราะอาจจะเป็นอันตราย

http://www.voicetv.co.th/cache/images/9ae4ecc6591d6ac802565a1b752831a2.jpg

สายน้ำ
11-10-2011, 08:23
4. งดใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าในกรณีที่ตัวผู้ใช้ต้องสัมผัสอยู่กับน้ำ หากมีความจำเป็นให้ย้ายไปใช้บนที่สูงพ้นน้ำหรือชั้นบน

http://www.voicetv.co.th/cache/images/10adb77a8175636b4c35bf623752194d.jpg


5. ปลั๊กไฟฟ้าที่น้ำท่วม ห้ามใช้งานโดยเด็ดขาด

http://www.voicetv.co.th/cache/images/8be937951e4e0d923d06cc5e349748b6.jpg


6. หากพบสายไฟฟ้าขาดหรือเสาล้ม อย่าจับต้อง ให้แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ เพื่อทำการแก้ไข

http://www.voicetv.co.th/cache/images/743dfc0b94f5604ce66722a5230c83c9.jpg


7. ในขณะฝนตกและตัวเปียก อย่าสัมผัสกับสวิตช์ไฟฟ้าที่อยู่ภายนอกอาคาร

http://www.voicetv.co.th/cache/images/05f121cefc7592a10f946af801496044.jpg

สายน้ำ
11-10-2011, 08:23
8. พบสายไฟฟ้าขาดแช่อยู่ในน้ำ อย่าเข้าใกล้ ให้แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ เพื่อทำการแก้ไข

http://www.voicetv.co.th/cache/images/6da2f116c1a33705aad7b3d70906be28.jpg


9. หากพบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดในบ้านเรือน อย่าจับต้อง ให้ใช้ไม้แห้งเขี่ยสายไฟฟ้าออกก่อนหรือหรือใช้ผ้าคล้องหรือให้ผู้มีความรู้ด้านไฟฟ้าปลดสวิตช์ จากนั้นปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล

http://www.voicetv.co.th/cache/images/5a661ada6ade3cb5559c9a58fb361a22.jpg




สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับไฟฟ้า ปรึกษาได้ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือสายด่วน กฟภ. โทร.1129 ตลอด 24 ชั่วโมง


http://www.voicetv.co.th/cache/images/92e25910eec09f5b697474bdd1b6a74b.jpg

ขอบคุณข้อมูลจาก... News Center / facebook.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA/ pea.co.th(Ima
http://life.voicetv.co.th/bigvoice/20280.html

สายน้ำ
11-10-2011, 08:27
คู่มือ...รับภัยน้ำท่วม ฉบับกระเป๋า

http://www.dailynews.co.th/content/images/1110/10/ann.jpg

ข้อแนะนำรับมือน้ำท่วม ทั้งการเตรียมพร้อมที่อยู่อาศัย ตุนของจำเป็น การเตรียมสุขากระดาษ วิธีช่วยคนจมน้ำ-ไฟช็อต และวิธีขับรถลุยน้ำเบื้องต้น

หากที่อยู่อาศัยของคุณเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ข้อแนะนำเพื่อเตรียมรับมือกรณีน้ำท่วมที่อยู่อาศัยคือ ก่อกระสอบทรายเพื่อป้องกันน้ำเข้าบ้าน อุดทางที่น้ำอาจเข้าได้ เช่น ท่อระบายน้ำในห้องน้ำ ท่อบริเวณซิงค์ล้างจาน บริเวณประตู บริเวณที่มีรอยร้าวหรือพื้นบ้าน (วิธีป้องกันน้ำเข้าบ้านโดยไม่ต้องใช้ถุงทราย อยู่ด้านล่างของของบทความ)

สำหรับสิ่งของที่ควรเตรียมไว้คือ อุปกรณ์ทำอาหารแบบฉุกเฉิน อาหารแห้งที่ปรุงง่าย อาหารกระป๋องที่ฝาเป็นแบบห่วงดึงเปิดสะดวก น้ำดื่ม-น้ำใช้ ผ้าขนหนู เสื้อผ้าสะอาด เชือก วิทยุแบบใช้ถ่านไฟฉาย-ถ่านสำรอง โทรศัพท์มือถือ-ที่ชาร์ต ชอล์กขีดมดและแมลง ยาประจำตัว ยากันยุงแบบทา ของใช้เพื่อชำระล้างร่างกาย ชุดปฐมพยาบาลและยาสามัญประจำบ้าน ถุงดำ ธงหรือผ้าผืนใหญ่ๆ เผื่อต้องใช้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ ถังดับเพลิงประจำบ้าน เตรียมด่างทับทิมและขี้ผึ้งเบอร์ 28 ไว้ใช้กรณีน้ำกัดเท้า โดยแช่เท้าในน้ำสะอาดผสมด่างทับทิมเพื่อฆ่าเชื้อโรค จากนั้นเช็ดเท้าให้แห้งโดยเฉพาะซอกนิ้ว และทาด้วยขี้ผึ้งเบอร์ 28 จะทำให้แผลหายเร็ว

ขนทรัพย์สินไว้ชั้นบนของบ้าน หรือใช้ถุงดำใส่ของและมัดปากให้แน่น เพื่อป้องกันความเสียหาย พกเงินสดติดตัวไว้บ้าง จัดเก็บเอกสารสำคัญทางราชการ เช่น บัตรประชาชน สูติบัตร ทะเบียนบ้าน สมุดบัญชี เก็บทรัพย์สินมีค่าไว้ในที่ปลอดภัยโดยอาจฝากธนาคาร จอดรถไว้ในที่สูง ถ้าน้ำเข้าบ้านต้องรีบตัดไฟในบ้านชั้นที่น้ำท่วมเพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อต และปิดแก๊สด้วย

ที่สำคัญต้องติดตามสถานการณ์น้ำอยู่เสมอ รวมถึงศึกษาทางหนีทีไล่และต้องซักซ้อมวิธีหนีน้ำกับสมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะคนแก่และเด็ก โดยให้กำหนดจุดนัดพบที่มั่นใจว่าน้ำจะไม่ท่วม หากพลัดหลงจะได้หากันเจอ และจดหมายเลขโทรศัพท์เพื่อขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินไว้ด้วย

หากคุณคาดว่าจะติดน้ำท่วมอยู่ในบ้าน และไม่สามารถใช้สุขาได้ตามปกติ มูลนิธิเอสซีจีแจก“สุขากระดาษ” สำหรับถ่ายหนักและเบา มีลักษณะเป็นกล่องกระดาษลูกฟูกน้ำหนักเบา แต่รับน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม ประกอบเสร็จได้ภายใน 10 วินาที (มีคลิป)ใช้ร่วมกับถุงดำ หรือขอ”สุขาลอยน้ำ” สำหรับบ้านเรือนจำนวนมากที่อยู่ใกล้กัน โดยสามารถแจ้งความจำนงผ่านมูลนิธิฯ โดยระบุจำนวน ชื่อผู้ติดต่อ สถานที่ ส่งแฟกซ์มาที่ 02-586-3910 หรือโทร 02-586-5506 เพื่อทางมูลนิธิฯจะประสานงานต่อไป

แต่ถ้าเป็นบ้านชั้นเดียว หรือน้ำขึ้นสูงเรื่อยๆ ต้องรีบอพยพโดยด่วนเพื่อรักษาชีวิต ล็อกบ้านให้แน่นหนาเพื่อป้องกันมิจฉาชีพ และต้องอพยพอย่างระมัดระวัง โดยไม่เดินผ่านทางน้ำ เพราะอาจถูกน้ำพัดหรือจมน้ำได้


วิธีช่วยคนจมน้ำ

หากพบคนกำลังจะจมน้ำ และคุณว่ายน้ำไม่เป็น ให้หาไม้ เชือก หรือผ้า เพื่อยื่นให้ผู้ประสบเหตุจับแล้วดึงขึ้นมา หรือโยนทุ่น ห่วงยาง หรืออุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้ให้ผู้ประสบเหตุยึดเหนี่ยว แต่หากไม่มีอุปกรณ์ที่สามารถช่วยได้ หรือประเมินแล้วว่าผู้ประสบเหตุตัวใหญ่เกินกว่าที่คุณจะสามารถพาเข้าฝั่งได้อย่างปลอดภัย ให้รีบตั้งสติ และตะโกนให้ผู้อื่นได้สติ ผู้ที่สามารถช่วยได้จะได้ลงไปช่วย สิ่งสำคัญคือต้องรีบช่วยโดยเร็ว เพราะหากช้าแค่ 1 นาที ผู้ประสบเหตุอาจจมน้ำได้

สำหรับการช่วยผู้ประสบเหตุ ต้องว่ายเข้าไปช่วยจากด้านหลัง เพราะตามธรรมชาติ คนใกล้จมน้ำจะตื่นตระหนกทำให้เกาะสิ่งที่ยึดได้ไว้แน่น ซึ่งอาจทำให้ผู้เข้าไปช่วยจมน้ำไปด้วย

วิธีที่ปลอดภัยต้องใช้มือทั้งสองสอดไปใต้วงแขนของผู้ประสบเหตุและงอมือขึ้นให้ร่างของผู้ประสบเหตุชิดตัว และพูดปลอบผู้ประสบเหตุให้คลายความตระหนก จากนั้นว่ายน้ำช้าๆเข้าฝั่ง ยกเว้นผู้ประสบเหตุต้องการการพยาบาลอย่างเร่งด่วน แต่หากผู้ประสบเหตุยึดเกาะคุณและจะทำให้คุณจมไปด้วย ให้ดำน้ำ ผู้ประสบเหตุจะปล่อยมือ

หากผู้ประสบเหตุจมน้ำไปแล้ว ให้ดึงตัวขึ้นมา และยกศีรษะผู้ประสบเหตุให้พ้นน้ำโดยเร็ว จากนั้นรีบผายปอดและนวดหัวใจ(การทำซีพีอาร์) ผู้ประสบเหตุบางรายที่อาการดูเหมือนไม่เป็นอะไรก็ต้องเข้ารับการตรวจทางการแพทย์ด้วยเพราะหากน้ำเข้าไปในปอดอาจเสียชีวิตได้

นอกจากอันตรายจากการจมน้ำ สัตว์มีพิษและโรคที่มากับน้ำแล้ว สิ่งที่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมต้องระมัดระวังคือ “การถูกไฟช็อต” เพราะน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้าชั้นดี หากถูกไฟช็อตอย่างหนัก ผู้ประสบเหตุอาจหมดสติ ผิวหนังไหม้บริเวณที่กระแสไฟฟ้าวิ่งผ่าน กล้ามเนื้อกระตุก บางรายที่ใช้มือแตะสายไฟ มืออาจกำสายไฟไว้แน่นเพราะแรงช็อต


วิธีช่วยผู้ประสบเหตุไฟช็อต

ดึงตัวผู้ประสบเหตุออกห่างจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าทันที แต่ผู้ช่วยเหลือก็ต้องระวังไม่ให้ตัวเองได้รับอันตราย อย่าแตะต้องตัวผู้ประสบเหตุ เพราะไฟฟ้าอาจไหลผ่านมาสู่ตัวได้ โดยหากทำได้ให้ตัดไฟเร็วที่สุดโดยการสับสวิตช์ไฟหรือถอดปลั๊ก หากเป็นสายไฟหรือลวด ให้ใช้ขวานที่ด้ามเป็นไม้สับสายไฟ โดยต้องป้องกันดวงตาจากประกายไฟด้วย แต่ถ้าเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงต้องแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตัดไฟ (การไฟฟ้านครหลวง โทร.1130 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร.1129)

หรือใช้วัตถุที่ไม่ใช่สื่อไฟฟ้า เช่น ไม้แห้ง เชือก เข็มขัด ผ้าห่ม หรือใช้ผ้าแห้งพันมือ เพื่อดึงหรือผลักผู้ประสบเหตุออกไป แต่หากจะให้เร็วอาจใช้เท้าที่สวมรองเท้าถีบให้ผู้ประสบเหตุออกจากจุดไฟช็อต ในกรณีที่ผู้ประสบเหตุกำสายไฟไว้ในมือ ให้ใช้ไม้หรือผ้าทำให้มือผู้ประสบเหตุหลุดจากสายไฟ ส่วนกรณีที่ผู้ประสบเหตุถูกไฟช็อตในน้ำ ให้เขี่ยสายไฟออกไปให้พ้นก่อนจึงเข้าไปช่วย

จากนั้นรีบปฐมพยาบาลผู้ประสบเหตุโดยเร็วที่สุด หากผู้ประสบเหตุไม่หายใจและหัวใจหยุดเต้นต้องรีบทำซีพีอาร์ โดยต้องทำไปเรื่อยๆ จนกว่าบุคลากรทางการแพทย์จะมาถึง และต้องทำให้ร่างกายผู้ประสบเหตุอบอุ่น หากผู้ประสบเหตุยังไม่หมดสติ ให้พูดกับผู้ประสบเหตุเบาๆ เรื่อยๆ เพื่อรักษาสติผู้ประสบเหตุเอาไว้และทำให้ผู้ประสบเหตุสงบ

หลังจากผู้ประสบเหตุได้รับการช่วยชีวิตแล้ว สิ่งที่เร่งด่วนในอันดับต่อมาคือการพาผู้ประสบเหตุไปโรงพยาบาล แต่น้ำที่ท่วมถนนก็ทำให้การเดินทางยากลำบาก และอาจง่ายขึ้นหากมีความรู้เรื่องการขับรถลุยน้ำเบื้องต้น


วิธีขับรถลุยน้ำท่วมเบื้องต้น

ระดับน้ำที่รถโดยทั่วไปสามารถแล่นผ่านได้คือ น้ำนิ่ง สูงไม่เกิน 6 นิ้ว แต่ถ้าน้ำไหล ต้องสูงไม่เกิน 4 นิ้ว ดังนั้นควรจอดรถลงมาสำรวจ และคุยกับคนขับรถที่ผ่านมาว่าสถานการณ์น้ำเป็นอย่างไร เพื่อประเมินว่าคุณจะขับรถผ่านได้หรือไม่

หากตัดสินใจที่จะขับผ่าน ต้องขับรถบนส่วนที่ดูสูงที่สุดบนถนน และขับช้าๆ ประมาณ 2-3 กิโลเมตรต่อชั่วโมงด้วยเกียร์หนึ่งหรือเกียร์ต่ำ หากเป็นรถเกียร์ธรรมดา ให้เหยียบคลัชบ่อยๆ แต่ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติให้เหยียบเบรกบ่อยๆ เพื่อไล่น้ำ อย่าแล่นเร็ว เพราะการเร่งความเร็วแค่ 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อน ใบพัดลมจะทำงาน และปัดน้ำเข้าห้องเครื่อง

นอกจากการขับรถเร็วจะเสี่ยงทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์หรือทำให้เกิดคลื่นน้ำที่จะไปทำลายคันดินหรือกระสอบทรายที่ก่อไว้ ยังเสี่ยงกับการควบคุมรถไม่ได้ด้วย แม้จะเป็นน้ำนิ่งก็ตาม เพราะถ้าแล่นรถเร็ว ยางรถจะไม่สัมผัสพื้นถนน ทำให้รถลอย และเสียการควบคุมในที่สุด ซึ่งหากควบคุมไม่ได้ ให้จับพวงมาลัยหลวมๆ และปล่อยให้รถเคลื่อนไปเรื่อยๆ เพราะหากความเร็วลดลง ยางรถก็จะแตะพื้นถนนเอง

ส่วนข้อแนะนำอื่นๆ คือ ควรหยุดให้รถคันอื่นผ่านไปก่อนเพื่อลดความรุนแรงของคลื่นน้ำ เมื่อขับรถพ้นน้ำมาได้ให้เช็คระบบเบรกทันที และอย่าขับรถผ่านน้ำที่ไหลแรง เพราะรถอาจถูกพัดไปได้




จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 11 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
11-10-2011, 08:34
'น้ำท่วมบ้าน' ทำเป็น-ทำทัน- 'กัน' ได้

http://www.dailynews.co.th/content/images/1110/11/newspaper/p3thurl.jpg

หลายพื้นที่ที่เป็นเขตเมือง รวมถึงในกรุงเทพฯ จากที่เคยมีการระบุประมาณว่า...เชื่อว่าจะรับมือได้-เชื่อว่าน้ำจะไม่ท่วม แต่เอาเข้าจริงเขตเมืองในหลายจังหวัดก็ถูกน้ำท่วมหนัก และสำหรับในกรุงเทพฯ แค่เกิดฝนตกหนักก็มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งสำหรับผู้ที่มีบ้านพักอาศัยเป็นของตนเองอยู่ในเขตเมือง จากที่คิดว่าบ้านคงไม่ถูกน้ำท่วม ก็กลายเป็นกังวลว่าบ้านอาจถูกน้ำท่วม ซึ่งถ้าพอจะมีกำลังทรัพย์ ก็คงพยายามจะก่อ-สร้าง-วาง-กั้น...กันน้ำท่วม

’ป้องกันน้ำท่วมบ้าน“ ก็มีวิธีการที่พอจะทำได้อยู่

ก็ต้องทำถูกวิธี-เหมาะกับสถานการณ์จึงจะรอด...

ทั้งนี้ กับ “การป้องกันน้ำท่วมบ้าน” ซึ่งหมายถึงกรณีที่ปริมาณน้ำ-ระดับน้ำมิได้มหาศาล-สูงแทบถึงหลังคา จากข้อมูลของหน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็น่าพิจารณา ซึ่งโดยสังเขปก็เช่น... ต้องพิจารณาจุดอ่อนของอาคารบ้านเรือน ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะอาคารชนิดต่างๆ ความต้านทานแรงดันน้ำ (แรงดันจากน้ำนิ่ง แรงยกของน้ำ แรงดันจากการไหลของน้ำ) การเปลี่ยนแปลงของวัสดุเมื่อจมน้ำ (คุณภาพของปูน พฤติกรรมของทรายและดินเหนียวใต้ฐานราก)

บ้านในพื้นที่เขตเมืองส่วนใหญ่มีพื้นคอนกรีต ซึ่งคำแนะนำเกี่ยวกับ วิธีป้องกันบ้านและสิ่งก่อสร้างที่มีพื้นคอนกรีต คือ...

ป้องกันน้ำท่วมได้โดยฉาบด้วยปูนหรือกำแพงอิฐที่ทาด้วยสีชนิดพิเศษ ซึ่งน้ำจำนวนมากที่อยู่ระหว่างฐานรากกับนอกกำแพงสามารถซึมผ่านพื้นเข้าภายในกำแพงได้ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือ

1. อัดรอยรั่วภายนอกบ้านทั้งหมด โดยใช้วัตถุกันน้ำทั่วไป
2. ทำความสะอาดกำแพงและรอยรั่ว รูรั่วอาจจะเกิดมาจากการก่อสร้าง แล้วสิ่งสกปรกอาจจะกลับเข้าไปติดบังในรูรั่ว
3. วิธีป้องกันกำแพงบ้านแบบชั่วคราวทำได้โดยหาแผ่นพลาสติกกันน้ำ หรือวัตถุที่คล้ายๆกันมาวางไว้ข้างกำแพง และปกคลุมขอบล่างด้วยดินให้แน่นหนา

กรณีเป็นการป้องกันบ้านและอาคารที่มีพื้นเป็นไม้โครงสร้าง ทั้งนี้ น้ำสามารถไหลซึมและขังนองในช่องว่างหรือใต้ถุนผ่านรอยแตกของฐานราก รูรั่วของท่อช่องระบายอากาศและหน้าต่าง น้ำสามารถซึมผ่านระหว่างผนังบ้านและฐานราก เมื่อไหร่ก็ตามที่ช่องว่างหรือห้องใต้ถุนเต็มไปด้วยน้ำ น้ำจะเพิ่มระดับและไหลเข้าสู่สิ่งปลูกสร้างผ่านพื้นและรอยต่อของผนังจนกระทั่งล้นและมีระดับเดียวกับน้ำภายนอก ซึ่งการป้องกันคือ
1.อุดช่องระบายอากาศและหน้าต่างด้วย “แผงกั้นน้ำ” (ทำให้ถอดย้ายได้หลังน้ำท่วมผ่านพ้นไป) แต่ช่องระบายอากาศนั้นต้องสร้างได้ตามมาตรฐานงานก่อสร้างเพื่อป้องกันโรคราน้ำค้างและการผุเปื่อย
2. อุดรอยแตกร้าวของฐานรากและผนังด้วยคอนกรีตหรือวัตถุอื่นๆที่สามารถใช้อุดรอยแตกได้
3. อุดรอยรั่วเล็กๆรอบๆท่อ ด้วยคอนกรีตหรือสารประกอบที่ใช้อุดรูรั่วในเรือ กาวซิลิโคน
4. อุดรอยต่อระหว่างผนังกับฐานรากด้วยสารประกอบที่ใช้อุดรูรั่ว

นี่ก็เป็นหลักคร่าวๆในการป้องกันน้ำท่วมบ้าน

ส่วนวิธีทำแผงกั้นน้ำเพื่อใช้อุดฐานราก ช่องระบาย และหน้าต่าง ก็คือ
1. ใช้ไม้อัดตามขนาดสำหรับทำแผงกั้นน้ำ คัดไม้อัดให้เหลื่อมกับกรอบ
2. ติดแถบสักหลาด หรือยาง ด้วยกาวกันน้ำ ให้เหลื่อมกับผิวของแผงกั้นน้ำ ซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายประเด็นอุดรูรั่ว
3. ยึดแผงกั้นน้ำให้เข้าที่อย่างแน่นหนาด้วยตะปู ตะปูควง หรือสลักเกลียว 4. ยึดแผงกั้นน้ำเข้ากับกรอบไม้ด้วยตะปู

นอกจากนี้ ข้อมูลของหน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ยังมีในส่วนของวิธีติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำเข้าทางประตู โดย

- วิธีที่ 1 ใช้ดินน้ำมัน ดินปั้น ดินเหนียว หรือวัสดุอื่น ๆ ที่สามารถอุดรอยแตกและรอยต่อรอบๆประตู ธรณีประตู และกรอบประตู
-วิธีที่ 2 ใช้แผ่นพลาสติกหรือกระดาษกันน้ำที่ใช้ในงานก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ทั้งวิธีที่ 1 และ 2 นี้มีข้อควรระวังคือ ต้องทำการล็อกประตูจากด้านในเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเปิดประตู และช่วยป้องกันการแตกของสารกันน้ำที่ใช้อุด และแม้ว่าวัสดุที่ใช้จะอุดรอยแตกรอบประตูและกรอบประตูได้ แต่ก็มีอายุการใช้งานเพียงระยะเวลาสั้น ๆ

ถ้าจะใช้แผงกั้นน้ำ วิธีใช้แผงกั้นน้ำป้องกันน้ำเข้าทางประตู การติดตั้งเข้ากับประตูทางเข้า-ออกจะคล้ายคลึงกับการติดตั้งหน้าต่างหรือช่องระบายอากาศ แต่ในกรณีพิเศษก็จะต้องใช้วัสดุทำเป็นประเด็นรอบๆขอบด้านล่างของแผ่นกระดานเพื่อให้กันน้ำได้ดียิ่งขึ้น โดยที่
1. ใช้แผ่นกระดานหรือไม้อัดทำแผงกั้นน้ำ
2. ตัดแถบยางหรือสักหลาดให้เหลื่อมกับผิวของไม้กระดานให้กว้างประมาณ 8 เซนติเมตร เพื่อทำเป็นประเก็น แล้วยึดติดกับด้านล่างของไม้กระดานด้วยกาวกันน้ำ
3. ใช้อุดด้านล่างของธรณีประตู รอยแตก และรอยต่อกรอบประตู

ทั้งนี้ ที่ว่ามาก็เป็นหลัก-วิธีการเกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วมบ้าน แต่ที่ดีที่สุดคือมีการเตรียมการไว้แต่แรก มีการก่อสร้างโดยยกระดับพื้นให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุด ซึ่งทำได้โดยก่อสร้างบนพื้นที่สูงหรือถมดินให้สูง หรือสร้างโดยยกพื้นให้สูง ซึ่งถ้าเตรียมการไว้ดี เพียง “กั้นน้ำด้วยกระสอบทราย” ก็อาจช่วยป้องกันตัวบ้านได้

ก็นำมาบอกต่อกันไว้...กับ ’การป้องกันน้ำท่วมบ้าน“

ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากเกิน...เพียง ’ต้องถูกวิธี-ทันการ“

หาไม่แล้ว...ก็ต้องพึ่ง ’พิธีไล่น้ำ“ ชิ้วๆๆ ?!?!?!?!?.



จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 11 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
11-10-2011, 08:42
รวมเว็บไซต์และเบอร์โทรศัพท์"ช่วยเหลือ-ติดตาม"น้ำท่วมที่สำคัญ


เว็บไซต์ :

1. แผนที่แสดงจุดเกิดอุทกภัยบนทางหลวงทั่วประเทศ วันที่ 10 ตุลาคม พศ. 2554 (ขัอมูลอัพเดตทุกวัน เวลา 10.00 และ 19.00 น.)
http://maintenance.doh.go.th/test.html

2. ตรวจพื้นที่น้ำท่วมทั่วประเทศ
http://flood.gistda.or.th/

3. ตรวจน้ำท่วมบนถนนใน กทม.
http://dds.bangkok.go.th/Floodmon/

4. รายงานสภาพการจราจร
http://traffic.longdo.com/

5. ตรวจวัดระดับน้ำในคลองหลัก
http://dds.bangkok.go.th/Canal/index.aspx

6. ติดตามข่าวสารน้ำท่วม
http://dds.bangkok.go.th/m/index.php

7.กรมทรัพยากรน้ำ
http://www.dwr.go.th/report

8.กรมทางหลวงชนบท
http://fms2.drr.go.th/


เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญ :

สำนักนายกรัฐมนตรี 1111

สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย) 1784

บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี 1669

ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146

ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1193

การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690

สายด่วน กฟภ. 1129

ท่าอากาศยานไทย 02-535-1111

ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส 02-790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822

ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ 0-2243-6956

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลพบุรี 0-3641-4480-1 , 0-3641-1936

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิษณุโลก 0-5523-0537-8 , 0-5523-0394

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พระนครศรีอยุธยา 0-3533-5798 , 0-3533-5803

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พระนครศรีอยุธยา 035 – 241-612

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ตาก 0-5551-5975

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สิงห์บุรี 0-3652-0041

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อ่างทอง 0-3564-0022

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครสวรรค์ 0-5625-6015

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นนทบุรี 0-2591-2471

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปทุมธานี 0-2581-7119-21

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิจิตร 0-5661-5932

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครนายก 0-3738-6209 , 0-3738-6484

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุพรรณบุรี 0-3553-6066-71

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สระบุรี 0-3621-2238

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุโขทัย 0-5561-2415

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุทัยธานี 0-5652-4461

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุตรดิตถ์ 0-5544-4132

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำปาง 0-5426-5072-4

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงใหม่ 0-5321-2626

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำพูน 0-5356-2963

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุบลราชธานี 0-4531-2692 , 0-4531-3003

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เลย 0-4286-1579 , 0-4296-1581

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ชัยนาท 0-5641-2083

ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 02-281-5443

ศูนย์อุทกวิทยาที่1จังหวัดเชียงใหม่ 053-248925, 053-262683

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน 053-202609

ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ 053-222-479 ( 24 ชั่วโมง )

สนง.ชลประทานจังหวัดสมุทรสาคร 034-881175, 034-839037 ต่อ 11

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.น่าน โทร. 054-741061

ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกองทัพไทยที่ ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน โทร. 054-792433

ศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ปี 2554 จ.น่าน ณ ศาลากลางจังหวัด โทร. 054-710-232

สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) 1784 รับแจ้งเหตุน้ำท่วม 24 ชั่วโมง

สายด่วน กรมชลประทาน โทร 1460 หรือ 02 669 2560 (24 ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)

ผู้ประสบภัยทางภาคใต้ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ กองทัพภาคที่ 4 โทร 075 -383405,075-383253

แจ้งขอความช่วยเหลือและปัญหาน้ำท่วม ได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยไทยพีบีเอส โทร. 02-791-1113 หรือ 02-791-1385-7

ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โรงเรียนเทศบาล1 ตลาดเก่า จ.กระบี่ โทร 0-7566-3183

เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 199, 075-348-118, 075-342-880-3 ตลอด 24 ชม.

สายด่วน กรมทางหลวง 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง

ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356

ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146

การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690

บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 1490

ตำรวจทางหลวง โทร. 1193 สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669 กู้ชีพฟรี 24 ชั่วโมง

ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย นครศรีธรรมราช โทร. 075 358 440-4 รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง

รพ. เทศบาลนครนครศรีฯ หากต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรติดต่อได้ที่ 075 356 438 หรือ 075 356 014 ตลอด 24 ชั่วโมง

ม.วลัยลักษณ์ ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา โทร. 0 7567 4013 ต่อ 4013

มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย โทร. 075 345 599

มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง ต้องการความช่วยเหลือ โทรแจ้ง 075 343 602 ความถี่ 168.775MHz. ความถี่ 245 MHz. ช่อง 35 ตลอด 24 ชั่วโมง

ท่าอากาศยานไทย 02 535 1111

บางกอกแอร์เวย์ส (Bangkok Airways) 1771

นกแอร์ (Nok Air) 1318, 02900 9955

นกแอร์ นครศรีธรรมราช 075 369 325

นกแอร์ สุราษฎร์ธานี 077 441 275-6

แอร์เอเชีย 02 515 9999

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 075-763-337 หรือ 1129 ตลอด 24 ชั่วโมง



สำหรับผู้ใช้ทวิตเตอร์ สามารถติดตามสถานการณ์และดูคำร้องขอความช่วยเหลือผ่านบัญชีทวิตเตอร์ดังนี้ :

@thaiflood - ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

@Rawangpai -สถานีโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ การเตือนภัยพิบัติธรรมชาติ

@BKK_BEST - รับแจ้งและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ท่อตัน ฝาท่อชำรุด น้ำเน่าเสีย@

@floodcenter- ศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย

@thaiflooding - ศูนย์ข่าวรายงานการแจ้งเตือนน้ำท่วมนาที ต่อนาทีโดยอาสาสมัคร-นักศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ

@help_thaiflood-สร้างขึ้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

@Asa_Thai - อาสาคนไทยช่วยน้ำท่วม

@PR_RID - กรมชลประทาน สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มประชาสัมพันธ์ฯ โทร.022410965 สายด่วน 1460 สอบถามสถานการณ์น้ำ 026692560(24ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)

@ndwc_Thai - ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

@Aormortor - องค์การนศ.ธรรมศาสตร์ (ทวิตเตอร์ประสานงานกลางศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยมธ.)

@bangkokgovernor - ทวิตเตอร์กทม.

@BKKFlood - ตามติดสถานการณ์กรุงเทพฯ และรอบนอก

@SiamArsa - อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย | เครือข่ายอาสาสมัครออนไลน์ | ตลาดนัดกิจกรรมอาสา | ข่าวประชาสัมพันธ์ | ข้อมูลช่วยเหลือ | แหล่งบริจาค | ประกาศรับอาสาสมัคร

@GCC_1111 - ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน

@aunonline - Owner of Red Dane Milk @Samyarn Chula, Citizen Journalist


นอกจากนั้น ผู้สนใจยังสามารถติดตามผ่านช่องทางเฟซบุ๊คได้ดังนี้:

"เกษตรศาสตร์รวมใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม"

"อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย

"อาสาฯคนไทยช่วยน้ำท่วม"

"The Thai Red Cross Society"

"ThaiFlood ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม"

"น้ำขึ้น ให้รีบบอก"


จุดรับบริจาค

-จุดบริจาค มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ปทุมวัน โทร 0-2256-4583-4, 0-2256-4427-9, 0-2251-0385 http://www.princess-pa-foundation.or.th/index.html

-จุดบริจาค อาสาดุสิต 1 ที่ ธ.กรุงไทย สนง.ใหญ่ ฝั่งเพลินจิต สุขุมวิท ซ.2 9.00-22.00 น. รายละเอียด http://www.facebook.com/ArsaDusit

-จุดบริจาค อาสาไทยฯ (พรรคประชาธิปัตย์) www.facebook.com/AsaThai แผนที่ http://ow.ly/6Bzaj

-จุดบริจาค กลุ่ม PS-EMC (หน้า ร.ร.ดุสิต สีลม) 7 ก.ย.-30 ต.ค. 19:30-22:30 น. รายละเอียด

-จุดบริจาค โรงแรมไนซ์พาเลซ (5 -15 ต.ค.) ซ. อินทามระ 1/1 ถ.สุทธิสาร อยู่ใกล้ BTS สะพานควาย www.nicepalace.com โทร 02-2700514-8 บริจาคของ น้ำดื่ม ถุงดำ อาหารแห้ง ยา เช่น ยาน้ำกัดเท้า แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ ฯลฯ แพมเพอสผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย กระดาษชำระ

-จุดบริจาค สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อาหารแห้งและสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ที่ส่วนบริหารงานทั่วไป ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี สอบถามโทร 3177, 3781-4 ,0-2329-8110

-จุดบริจาค ด่านทางด่วน "ทางด่วนร่วมใจภัยน้ำท่วม" ทุกด่าน (ข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่ม)

-จุดบริจาค หอศิลปกรุงเทพ (แยกปทุมวัน) 1-31 ต.ค.

-จุดบริจาค 96.75MHz: สิ่งของจำเป็น ข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ฯลฯ สอบถาม 0-5581-7716-7

-จุดบริจาค ร้านแมคโดนัลด์ ทุกสาขาทั่วประเทศ รับบริจาคข้าวสาร อาหารแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และน้ำดื่ม

-จุดบริจาค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล รับบริจาคเงิน และเครื่องอุปโภค-บริโภค ทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. ที่ โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช สอบถามโทร. 0 2419 7646-56



จาก .................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 10 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
11-10-2011, 08:48
ทำถุงยังชีพเป็นเสิ้อชูชีพ

แนะนำโดย คุณตัน ภาสกรนที

ผมขอแนะนำวิธีทำถุงยังชีพ ให้เป็นเสื้อชูชีพ สำหรับใช้ใส่ป้องกันท่วม ได้อย่างรวดเร็ว น้ำท่วมปีนี้คนไทยต้องไม่จมน้ำครับ

SzPhq7I_tFk

สายน้ำ
12-10-2011, 08:25
ท่วมขังระวัง 'ปลิง'! เกาะต้องแกะถูกวิธี

http://www.dailynews.co.th/content/images/1110/11/etc/hl12102011.jpg

เรื่องหนึ่งที่ควรระวังในช่วงที่หลายพื้นที่เผชิญภาวะน้ำท่วม คือ 'ปลิง' สัตว์ที่อยู่ในน้ำ โดยเฉพาะน้ำนิ่งๆ ทั้งหนองน้ำ ลำธาร รวมถึงบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ในประเทศไทยมักพบปลิง 2 ชนิด คือ ปลิงเข็ม ตัวยาวขนาดใกล้เคียงกับก้านไม้ขีดไฟ อีกชนิดเป็นปลิงควาย ตัวยาว 3 นิ้ว ลำตัวกว้าง 1 นิ้ว

กรณีมีความจำเป็นต้องลงไปในน้ำที่ท่วมขังและนิ่ง เมื่อขึ้นจากน้ำแล้วต้องสังเกตตามเนื้อตัวของตนเองอย่างละเอียด เพราะหากถูกปลิงเกาะ ตัวของปลิงนั้นเบาจึงไม่ทำให้รู้สึกว่า มีสิ่งแปลกปลอมเกาะติดอยู่ เช่นเดียวกับการดูดเลือดของปลิงก็เป็นไปอย่างแผ่วเบา

ระหว่างที่ปลิงเริ่มกัดและดูดเลือดจะปล่อยสารที่มีฤทธิ์คล้ายยาชาออกมา ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ ทั้งยังมีสารช่วยขยายหลอดเลือดและสารต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อให้ดูดเลือดได้ต่อเนื่อง หากปลิงยังดูดเลือดไม่อิ่มก็ยังจะเกาะอยู่อย่างนั้น โดยจะหลุดออกเมื่ออิ่ม ทว่าถูกรุมเกาะหลายตัวและถูกดูดเลือดมาก ก็จะเกิดอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด

วิธีแกะปลิงให้หลุดออก ไม่ควรใช้มือหรืออุปกรณ์อื่นดึงหรือกระชากตัวปลิงออกจากผิวหนังโดยตรง เนื่องจากจะทำให้เกิดแผลฉีกขาด เลือดหยุดยาก แต่วิธีที่ควรทำในเบื้องต้นมีทั้งใช้น้ำมะนาว น้ำมะกรูด น้ำเกลือเข้มข้น หรือน้ำแช่ยาฉุนหรือยาเส้นไส้บุหรี่ อย่างใดอย่างหนึ่งราดใส่ตรงที่ปลิงเกาะ นอกจากนี้ยังอาจเลือกใช้บุหรี่ที่ติดไฟหรือธูปติดไฟ จี้ลงไปที่ตัวปลิง ก็ทำให้ปลิงหลุดออกเอง

เมื่อปลิงหลุดออก ให้หยดยาฆ่าเชื้อที่คอตตอนบัดและเช็ดเป็นวงรูปก้นหอย เริ่มจากส่วนในของแผลวนออกรอบนอกแผล เช็ดวนรอบเดียวเพื่อไม่ให้แผลสกปรก แล้วเปลี่ยนอตตอนบัดอันใหม่ สัก 2-3 อัน

หากไม่สามารถเลี่ยงการลงไปในน้ำที่ท่วมขัง ควรป้องกันตนเองจากปลิงและสัตว์มีพิษอื่นๆ เช่น งู ตะขาบ ด้วยการสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดรัดกุมและมัดปลายขากางเกง โชลมเสื้อผ้าส่วนที่ต้องโดนน้ำด้วยน้ำมันก๊าดจะช่วยป้องกันสัตว์มีพิษได้.



จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 12 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
12-10-2011, 08:32
เมื่อต้องขับรถผ่านพื้นที่น้ำท่วม ....................... โดย วินิจ รังผึ้ง

http://pics.manager.co.th/Images/554000013726301.JPEG

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางยามนี้ช่างหนักหนาสาหัสเป็นยิ่งนัก ด้วยปริมาณน้ำจำนวนมากมายมหาศาลที่หลากไหลลงมารวมกันจนพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางไม่อาจจะระบายน้ำได้ทัน จนเกิดการท่วมท้นเป็นบริเวณกว้าง และมากมายถึงขนาดท่วมจนมิดหลังคาบ้านกันเลยก็มี มหาอุทกภัยครั้งนี้มีพื้นที่ประสบภัยทั้งพื้นที่ทำการเกษตร นิคมอุตสาหกรรม รวมไปถึงย่านใจกลางเศรษฐกิจของเมืองใหญ่ สร้างความเสียหายทั้งชีวิตทรัพย์สินเป็นมูลค่ามากมายมหาศาล มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจนั้นมากมายเกินกว่าความเสียหายครั้งเกิดมหัตภัยคลื่นยักษ์สึนามิในช่วงปลายปี 2547 เสียอีก ซึ่งขณะนี้ทุกฝ่ายทั้งรัฐบาล ฝ่ายค้าน กองทัพ ภาคเอกชนและประชาชนคนไทยในทั่วทุกภาคต่างระดมความช่วยเหลือลงไปในพื้นที่ประสบอุทกภัย เพื่อช่วยกันกู้วิกฤตอย่างเต็มที่

หลายหน่วยงานที่พยายามนำขบวนรถส่งน้ำ อาหารและสิ่งของบรรเทาทุกข์ลงไปในพื้นที่นั้นในหลายพื้นที่หลายเส้นทางก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องผ่านเข้าไปในเส้นทางที่มีน้ำท่วมบางพื้นที่มีกระแสน้ำเชี่ยวแรง ซึ่งการจะเดินทางเข้าไปก็คงต้องมีการเช็คเส้นทางกันให้แน่นอนเสียก่อนว่าในช่วงนั้นสภาพเส้นทางเป็นอย่างไร และระดับน้ำมีแนวโน้มเป็นเช่นไร ทางที่ดีก็ควรที่จะประสานงานหรือนำไปส่งให้กับหน่วยงานในพื้นที่ ซึ่งมีความชำนาญสภาพท้องที่เพื่อให้ช่วยกระจายสิ่งของและความช่วยเหลือเข้าไปให้ถึงมือชาวบ้านในพื้นที่ต่อไปน่าจะดีกว่า อย่างไรก็ขอส่งกำลังใจไปถึงพี่น้องประชาชนในพื้นที่ประสบภัยรวมทั้งกำลังพลจากหน่วยงานที่กำลังปฏิบัติงานหนักในการกู้วิกฤตและให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้มีกำลังใจในการฟันฝ่าวิกฤตครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้โดยเร็วด้วยเทอญ

http://pics.manager.co.th/Images/554000013726302.JPEG

ในขณะที่พี่น้องประชาชนคนไทยเราร่วมแสดงความรักความห่วงใยด้วยการส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ และส่งกำลังใจลงไปถึงพี่น้องในพื้นที่ประสบภัย แต่พื้นที่อื่นๆในยามนี้โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งแม้นจะยังไม่ถึงกับมีน้ำท่วมท้น แต่ก็กลายเป็นพื้นที่ๆน่าเป็นห่วงเป็นใยอยู่ไม่น้อย เพราะปริมาณน้ำฝนก็ยังพร่างพรมลงมาอยู่ไม่เว้นแต่ละวัน ในขณะที่สถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงก็อาจจะทำให้การระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ปากอ่าวเป็นไปได้ยากลำบาก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆของกรุงเทพฯขึ้นได้ หลายคนเริ่มเป็นห่วงสถานการณ์ เริ่มเก็บข้าวของขึ้นสู่ที่สูง เริ่มเตรียมสะสมอาหารแห้ง น้ำดื่มและสิ่งของที่จำเป็นตุนไว้ในบ้าน และปัญหาใหญ่อีกอย่างหนึ่งที่คนกรุงเทพฯต่างวิตกก็คือ สภาพที่ต้องผจญกับน้ำท่วมบนท้องถนน เพราะเมื่อฝนตกหนักน้ำในท้องถนนระบายไม่ทันก็จะเกิดปัญหารถติดกันยาวเหยียดใช้เวลาเดินทางนานหลายชั่วโมง ในขณะที่หลายคนอาจจะวิตกยิ่งขึ้นไปอีกว่าหากน้ำท่วมสูงขึ้นมากๆ แล้วจะต้องขับรถผ่านท้องถนนที่มีน้ำท่วมนั้นจะมีสภาพอย่างไร โอกาสนี้ผมจึงขอนำข้อปฏิบัติในการขับรถผ่านพื้นที่น้ำท่วมมาบอกเล่าสู่กันเพื่อจะได้นำไปลองปฏิบัติเมื่อจำเป็น ซึ่งความจริงแล้วหากสามารถจะเช็คข้อมูลได้ก็ควรจะเช็คให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจขับรถออกจากที่จอดรถในอาคารที่ทำงาน เพราะหากมีรายงานว่าเส้นทางที่จะผ่านไปมีน้ำท่วมสูงก็ไม่ควรที่จะเสี่ยงขับรถผ่านเข้าไป ควรหาเส้นทางที่พอจะหลีกเลี่ยงได้ หรือตัดสินใจจอดรถไว้ในลานจอดบนอาคารแล้วใช้รถสาธารณะจะดีกว่า

ถ้าหากไม่สามารถหลีเลี่ยงได้ การขับรถผ่านถนนที่มีน้ำท่วมขังก็ควรจะเลิอกขับเลนขวาด้านกลางสุดของถนน เพราะจะเป็นพื้นที่สูงที่สุด เมื่อต้องขับรถลุยน้ำที่ท่วมขังมากๆ ควรปิดเครื่องปรับอากาศภายในรถ เพราะการเปิดเครื่องปรับอากาศจะทำให้ใบพัดของพัดลมเครื่องปรับอากาศซึ่งอยู่ในระดับต่ำพัดตีให้น้ำกระจายเข้าไปในส่วนต่างๆของห้องเครื่องยนต์ อาจจะพัดตีเอาเศษขยะ ถุงพลาสติก เศษไม้ไปติดในส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ทำให้เครื่องยนต์ดับได้ และการปิดเครื่องปรับอากาศ ก็จะช่วยให้ไม่ไปรบกวนกำลังของเครื่องยนต์ด้วย เมื่อปิดเครื่องปรับอากาศแล้วการขับรถลุยน้ำนั้น ไม่ควรเร่งเครื่องกระชาก กระตุกเป็นช่วงๆ ควรขับโดยใช้เกียร์ต่ำถ้าเป็นเกียร์ธรรมดาควรใช้เกียร์ 1 เกียร์ 2 ในขณะที่รถยนต์เกียร์อัตโนมัติควรใช้เกียร์ที่ต่ำลงมากว่าเกียร์ D และควรเลี้ยงรอบเครื่องยนต์ให้สม่ำเสมอ ใช้ความเร็วต่ำ แล่นไปข้างหน้าเรื่อยๆ โดยเว้นระยะให้ห่างจากคันหน้าพอประมาณ เพราะการขับรถลุยน้ำนั้นระบบเบรกจะทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพเนื่องจากมีน้ำเข้าไปในจานเบรก ควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ต้องเบรกกะทันหัน เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการเบรกลื่น เบรกไม่อยู่ การเบรกควรจะต้องย้ำเบรกหลายๆครั้งเพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรกจนกว่าเบรกจะทำงานเป็นปรกติ หรืออาจจะใช้วิธีแตะเบรกเบาๆ เป็นระยะๆ ก็ได้ ระหว่างการขับเคลื่อนไปก็ได้

การขับรถผ่านไปในพื้นที่น้ำท่วมนั้นไม่ควรใช้ความเร็ว เพราะนอกจากจะควบคุมรถลำบากแล้วจะทำให้คลื่นน้ำกระเพื่อมแรงเข้าไปในตัวเครื่องยนต์ของเรา กระเพื่อมไปรบกวนผู้อื่นที่ใช้ถนนร่วมกัน หรือเกิดคลื่นแรงไปสร้างความเดือดร้อนให้กับอาคารบ้านเรือนของผู้อยู่อาศัยริมถนนสายนั้น และเมื่อขับถึงบ้านหรือจุดหมายปลายทางแล้ว ก่อนจอดควรย้ำเบรกหลายๆครั้งเพื่อช่วยไล่น้ำออกจากระบบเบรก เมื่อจอดรถแล้วอย่าเพิ่งดับเครื่องยนต์ในทันที ควรติดเครื่องทิ้งไว้สักครู่เพื่อช่วยไล่น้ำออกจากท่อไอเสีย และเมื่อจอดรถไว้ในที่ปลอดภัยภายในบ้านแล้ว ควรเปิดประตู เปิดกระจก เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นอับ หรืออาจใช้พัดลมเป่าเพื่อช่วยไล่ความอับชื้นก็ได้ และเมื่อจะสตาร์รถใช้งานอีกครั้งในวันรุ่งขึ้นก็ควรจะเปิดฝากระโปรงสำรวจในห้องเครื่อง หรือบริเวณพัดลมระบายอากาศ พัดลมเครื่องปรับอากาศ เช็คดูให้ทั่วว่ามีเศษขยะ เศษไม้ที่อาจจะสร้างความเสียหายอยู่หรือไม่ และควรตรวจเช็คสภาพความเรียบร้อยให้รอบคัน เพราะการขับรถลุยน้ำนานๆนั้นแผ่นป้ายทะเบียนมักจะต้านน้ำไม่ไหวหลุดหายกันบ่อยๆ ซึ่งผมเองก็มีประสบการณ์เคยขับรถลุยน้ำจนกลับถึงบ้าน มาตรวจดูอีกทีป้ายทะเบียนด้านหน้าก็หลุดหายไปเสียแล้ว ยุ่งยากต้องไปทำเรื่องยื่นขอป้ายทะเบียนแผ่นใหม่จากกรมการขนส่งทางบกเสียเวลาเสียอารมณ์ไปอีก อย่างไรก็ขอภาวนาให้ทุกท่านไม่ต้องขับรถลุยน้ำกันน่าจะดีกว่า และขอส่งกำลังใจไปถึงท่านที่ประสบความเดือดร้อนจากอุทกภัยขอให้สามารถจะฝ่าฟันผ่านพ้นวิกฤติครั้งใหญ่นี้ไปให้ได้โดยเร็วด้วยเทอญ




จาก .................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 11 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
12-10-2011, 08:45
ข้อปฏิบัติในการขับรถเมื่อน้ำท่วม และไอเดียรักษารถที่ใครๆก็ทำได้


น้ำท่วมปีนี้หนักหนากว่าที่ใครๆคิด ไม่ว่าจะเกิดจากฝีมือมนุษย์ หรือจากธรรมชาติที่ประทานน้ำให้แก่มนุษย์มากเกินความต้องการ ในเมื่อมันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเรายังจำเป็นต้องดำรงชีวิตให้รอดท่ามกลางสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยเช่นนี้ต่อไป เราจึงมีวิธีการดูแลรถให้แก่ผู้ที่ยังจำเป็นต้องใช้รถเพื่อการประกอบอาชีพการงาน ให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง

โดยระดับน้ำที่รถโดยทั่วไปสามารถแล่นผ่านได้คือ น้ำนิ่ง สูงไม่เกิน 6 นิ้ว แต่ถ้าน้ำไหล ต้องสูงไม่เกิน 4 นิ้ว ดังนั้นควรจอดรถลงมาสำรวจ และคุยกับคนขับรถที่ผ่านมาว่าสถานการณ์น้ำเป็นอย่างไร เพื่อประเมินว่าคุณจะขับรถผ่านได้หรือไม่

หากตัดสินใจที่จะขับผ่าน ต้องขับรถบนส่วนที่ดูสูงที่สุดบนถนน และขับช้าๆ ประมาณ 2-3 กิโลเมตรต่อชั่วโมงด้วยเกียร์หนึ่งหรือเกียร์ต่ำ หากเป็นรถเกียร์ธรรมดา ให้เหยียบคลัชบ่อยๆ แต่ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติให้เหยียบเบรกบ่อยๆ เพื่อไล่น้ำ อย่าแล่นเร็ว เพราะการเร่งความเร็วแค่ 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อน ใบพัดลมจะทำงาน และปัดน้ำเข้าห้องเครื่อง

นอกจากการขับรถเร็วจะเสี่ยงทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์หรือทำให้เกิดคลื่นน้ำที่จะไปทำลายคันดินหรือกระสอบทรายที่ก่อไว้ ยังเสี่ยงกับการควบคุมรถไม่ได้ด้วย แม้จะเป็นน้ำนิ่งก็ตาม เพราะถ้าแล่นรถเร็ว ยางรถจะไม่สัมผัสพื้นถนน ทำให้รถลอย และเสียการควบคุมในที่สุด ซึ่งหากควบคุมไม่ได้ ให้จับพวงมาลัยหลวมๆ และปล่อยให้รถเคลื่อนไปเรื่อยๆ เพราะหากความเร็วลดลง ยางรถก็จะแตะพื้นถนนเอง

ส่วนข้อแนะนำอื่นๆ คือ ควรหยุดให้รถคันอื่นผ่านไปก่อนเพื่อลดความรุนแรงของคลื่นน้ำ เมื่อขับรถพ้นน้ำมาได้ให้เช็คระบบเบรกทันที และอย่าขับรถผ่านน้ำที่ไหลแรง เพราะรถอาจถูกพัดไปได้


_____________


http://www.matichon.co.th/online/2011/10/13179546771317963203l.jpg


ขับรถขณะน้ำท่วมควรทำอย่างไร?

1.ห้ามเปิดแอร์เด็ดขาด เพราะเมื่อเราเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน ทำให้ใบพัดพัดน้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง แล้วทำให้เครื่องดับ

2.ใช้เกียร์ต่ำ สำหรับเกียร์ธรรมดา เราควรใช้ประมาณเกียร์ 2 แต่หากว่าเป็นเกียร์ออโต้ สามารถใช้เกียร์ L ได้ รวมถึงการขับขี่ที่มีความเร็วต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และควรใช้ความเร็วอย่างสม่ำเสมอ อย่าหยุด หรืออย่าเร่งความเร็วขึ้น

3.ไม่ควรเร่งเครื่องให้รอบสูงเกินไป ผู้ขับรถหลายคนมักเร่งเครื่องแรงๆเพราะกลัวเครื่องดับ เนื่องจากน้ำเข้าท่อไอเสีย ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะการเร่งเครื่องขึ้น ยิ่งจะทำให้รถมีความร้อนสูงยิ่งขึ้น ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน และยิ่งทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์มากยิ่งขึ้น การสตาร์ตรถอยู่โดยที่รอบเดินเบา แม้ว่าจะแช่อยู่ในน้ำ (แต่ระดับน้ำต้องไม่สูงมากขนาดระดับกะโปรงรถ) แรงดันที่ออกมาเพียงพอที่จะดันน้ำออกมาได้

4.การลดความเร็วลง โดยเฉพาะในกรณีที่เมื่อกำลังจะขับรถสวนกับรถอีกคันหนึ่ง เพราะยิ่งขับเร็วมากเท่าไหร่ แรงคลื่นที่เกิดจากการปะทะก็จะแรงมากเท่านั้น และกระเด็นเข้าสู่เครื่องยนต์ได้ง่ายขึ้น

5.หลังจากลุยน้ำที่มีระดับลึกมา สิ่งแรกที่ควรทำคือ พยายามย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำ เพราะในช่วงแรกๆจะเบรกไม่อยู่และเป็นอันตรายมาก


http://img153.imageshack.us/img153/2765/imageorg.jpg

ขั้นตอนที่ควรทำทันที เมื่อรถยนต์ถูกน้ำท่วม

1. ล้างรถ รวมถึงการฉีดน้ำเข้าไปในบริเวณใต้ท้องรถและซุ้มล้อ เพื่อล้างเศษดินทรายที่ตกค้างหรือติดอยู่ออกให้หมด ซึ่งอาจมีเศษขยะหรือหญ้าแห้งติดอยู่ ที่อาจก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย เช่นเดียวกับกรณีของรถที่ติดตั้งตัวกรองไอเสีย หรือ CAT ที่ไม่แนะนำให้จอดในที่ที่มีหญ้าขึ้นสูง เนื่องจากอุณหภูมิของ Catalytic Converter ค่อนข้างสูง และอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย

2. พึงจำเอาไว้ว่าอย่าทำการสตาร์ทรถ หรือบิดกุญแจให้ไฟออนโดยเด็ดขาด จากนั้นเดินไปเปิดฝากระโปรงรถและปลดขั้วแบตเตอรี่ทันที โดยจะปลดขั้วใดขั้วหนึ่งหรือจะปลดทั้ง ขั้วบวกขั้วลบก็ได้ (จริงๆถ้าคุณคาดว่าน้ำจะท่วมสูงถึงห้องเครื่องให้เตรียมปลดขั้วแบตเตอรี่ เอาไว้ล่วงหน้าก่อนจะเป็นการดีที่สุด) เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟเข้าไปเลี้ยงระบบต่างๆของรถ รวมถึงเครื่องยนต์

3. เปิดประตูออกทุกบาน ให้ลมโกรก หรือถ้ามีแดดให้จอดตากแดด จากนั้นถอดเบาะนั่ง พรม ผ้าต่างๆ ที่อยู่ภายในรถออกมาซักทันที เพราะถ้าทิ้งเอาไว้นาน ความเหม็นอับจะมาเยือน และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราและเชื้อโรคต่างๆ

4. เริ่มเข้าสู่กระบวนการทางเทคนิคที่พอจะทำได้เอง คือ ปลดทุกอย่างที่เป็นขั้วไฟฟ้า ในกรณีที่เป็นเครื่องเบนซินให้ใช้ลมเป่าไปที่เบ้าหัวเทียนไล่น้ำออกให้หมดทุกซอกทุกมุม จากนั้นให้ถอดหัวเทียนออก ตรวจดูแผงฟิวส์ตัวฟิวส์ กล่องรีเลย์ต่างๆรวมทั้งกล่องอีซียูต้องถอดออกให้หมดตากแดดทิ้งไว้ ตรวจดูปลั๊กไฟใช้ลมเป่าทำความสะอาดทั้งหมด หรือใช้สเปรย์ไล่ความชื้นฉีดทิ้งไว้

5. สำรวจน้ำมันเกียร์ ว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ คือถ้ามีลักษณะคล้ายสีชาเย็น นั่นแสดงว่ามีน้ำเข้าไปปะปนแล้ว ต้องรีบเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทันที เช่นเดียวกับน้ำมันเกียร์ รวมถึงเปลี่ยนกรองอากาศ ซึ่งประเด็นนี้ใครทำเองได้ก็ทำเลย เพราะยิ่งจัดการเร็วโอกาสที่สนิมจะมาเยือนก็น้อยตามไปด้วย แต่ถ้าไม่ไหวก็ต้องเข้าศูนย์บริการหรืออู่ ซึ่งจะมีขั้นตอนการเปลี่ยนถ่ายที่ถูกต้องและละเอียดมาก

6. เพลาขับ หากยางหุ้มเพลาขาดน้ำจะเข้าไปนำเอาจารบีออกไป ต้องอัด จารบีใหม่และเปลี่ยนยางหุ้มเพลาด้วย อีกอย่างหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ คือลูกปืนล้อทั้งหน้าและหลังที่มีอยู่ในรถทั่วไป ต้องนำออกมาล้างอัดจารบีใหม่แล้วใส่กลับคืนที่ด้วยการปรับใหม่ให้แน่นตามลำดับไม่แน่นเกินไปจนล้อหมุนฝืด

7. ในกรณีที่เป็นเครื่องเบนซินให้ใช้ลมเป่าไปที่เบ้าหัวเทียนไล่น้ำออกให้หมดทุกซอกทุกมุม จากนั้นให้ถอดหัวเทียนออก ตรวจดูแผงฟิวส์ตัวฟิวส์ กล่องรีเลย์ต่างๆรวมทั้งกล่องอีซียูต้องถอดออกให้หมดตากแดดทิ้งไว้ ตรวจดูปลั๊กไฟใช้ลมเป่าทำความสะอาดทั้งหมด หรือใช้สเปรย์ไล่ความชื้นฉีดทิ้งไว้

8. โคมไฟหน้าเลนส์ ไฟท้าย เบาะนั่ง พรมปูพื้น ที่ถอดออกมาตากแดดแห้งแล้วยังไม่ต้องรีบใส่ แม้ว่าส่วนประกอบอื่นๆจะแห้งดีแล้ว ให้เอารถออกตากแดดเปิดประตูรถทุกบาน พยายามให้แผงหน้าปัดรถตากแดดแรงๆเพื่อไล่ความชื้นออกจากแผงหน้าปัดให้หมด

9. เมื่อแน่ใจว่าทุกอย่างแห้งสนิทดีแล้วค่อยใส่ทุกอย่างที่ถอดออกจากในห้องเครื่องเข้าที่ให้หมด ยกเว้นหัวเทียนในกรณีของรถเครื่องยนต์เบนซินหรือหัวฉีดในกรณีเครื่องดีเซล ให้ยกแบตเตอรี่เข้าที่ก่อนโดยใส่ขั้วแบตเตอรี่ เสียบกุญแจบิดกุญแจไปจังหวะแรก(จังหวะสำหรับตรวจมาตรวัดต่างๆก่อนสตาร์ทรถ) หากเกจ์วัดไหนยังไม่ทำงานอย่าเพิ่งกังวล ให้เปิดสวิตช์ค้างไว้แล้วลงมาตรวจสอบที่ห้องเครื่องยนต์ว่ามีควันหรือความร้อนอะไรเกิดขึ้นจากการใช้ไฟจากแบตเตอรี่หรือไม่ เมื่อแน่ใจว่าไม่มีทุกอย่างปกติดีจึงค่อยบิดกุญแจปิดสวิตช์

10. ตรวจสอบเบ้าหัวเทียนอีกครั้งว่ามีอะไรติดขัดหลงเหลืออยู่อีกหรือไม่ หากดูแล้วว่าเรียบร้อยดีให้ลองสตาร์ทเครื่องใหม่ โดยคนหนึ่งบิดกุญแจส่วนอีกคนหนึ่งคอยเช็คที่รูหัวเทียน เมื่อเครื่องหมุน หากถ้ามีน้ำ น้ำจะถูกพ่นออกมาทางรูหัวเทียน ให้สตาร์ทต่อไปจนแน่ใจว่าน้ำถูกพ่นออกมาจนหมด ต่อไปก็ให้ใส่หัวเทียนเข้าที่ หากทำมาถูกต้องและไม่มีอุปกรณ์อื่นที่เสียหายรุนแรง เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ หากว่าได้ยินเสียงเครื่องยนต์ทำงานดังกระหึ่มขึ้นตามมา แสดงว่าทุกอย่างเป็นปกติ


วิธีการยกรถหนีน้ำ ด้วยการนำแม่แรงที่อยู่ภายในรถงัดรถให้สูงขึ้น จากนั้นให้นำก้อนอิฐไปค้ำล้อรถทั้ง 4 ล้อให้สูงเหนือระดับน้ำ ส่วนกรณีที่รถอาจต้องจมน้ำ ข้อแนะนำคือควรปิดกระจกให้แน่น หลังจากนั้นให้ถอดขั้วแบตเตอรี่ ขั้วบวกหรือขั้วลบออก เพื่อป้องกันระบบไฟฟ้าภายในรถช็อต

ภายหลังน้ำท่วมรถ ให้แกะลูกยางที่อยู่ใต้ท้องรถออก เพื่อเป็นการระบายน้ำที่ท่วมขังอยู่ภายในรถ

(มีต่อ)

เด็กน้อย
12-10-2011, 08:46
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ครับ

สายน้ำ
12-10-2011, 08:49
ข้อปฏิบัติในการขับรถเมื่อน้ำท่วม และไอเดียรักษารถที่ใครๆก็ทำได้ (ต่อ)


http://www.rsunews.net/News/SecondhandCar/500.jpg


เมื่อรถยนต์ถูกน้ำท่วมทั้งคันควรทำอย่างไร?

1. ห้ามเปิดสวิตช์ไฟหรือสตาร์ตเครื่องเด็ดขาด และถอดสายแบตเตอรีออก

2. ลากรถยนต์ออกจากน้ำให้เร็วที่สุด เพราะถ้าหากทิ้งไว้นานจะก่อให้เกิดความเสียหายบริเวณตัวรถเพิ่มขึ้น

เมื่อรถจมน้ำทั้งคัน หลายคนเข้าใจว่าไฟฟ้าจะลัดวงจร แต่ในความเป็นจริงไฟฟ้ายังไม่ได้ลัดวงจรเพราะว่าไม่มีไฟฟ้าลงดิน แต่ความเสียหายจะเกิดขึ้นหลังจากที่ระบบอิเลคทรอนิกส์ต้องจมอยู่ในน้ำ และจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อมอเตอร์ไฟฟ้า กล่องอีซียูซึ่งปัจจุบันใช้ระบบกล่องรวมที่ควบคุมทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นแอร์ ไฟส่องสว่างและเครื่องยนต์


หลังจากกู้รถขึ้นจากน้ำแล้ว ข้อห้ามอย่างแรกที่สำคัญคือห้ามติดเครื่องยนต์เด็ดขาด จนกว่าจะตรวจสอบจนแน่ใจว่าไม่มีน้ำค้างในเครื่องยนต์ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง รถที่ถูกน้ำท่วมต้องเปลี่ยนถ่ายของเหลวและกรองต่างๆออก เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีฝุ่นหรือดินโคลนค้างอยู่ การซ่อมบำรุงรถน้ำท่วมจะต้องทำโดยช่างผู้เชี่ยวชาญรถยี่ห้อนั้นจริงๆ เพราะแทบจะต้องประกอบใหม่ทั้งคันทีเดียว


_____________



วิธีป้องกันรถแบบไทยๆ

เว็บไซต์ rackmanagerpro.com ได้เสนอไอเดียให้มีการประดิษฐ์ "ถุงคลุมกันน้้ำแบบกลับหัวกลับหาง" ซึ่งเหมาะสมกับฤดูฝนของบ้านเราเป็นอย่างดี แค่นี้ผ้าคลุมรถธรรมดาๆ ก็ป้องกันน้ำท่วมรถยนต์คันงามของคุณได้แล้ว

มาใช้ผ้าคลุมรถกันน้ำท่วมเพื่อป้องกันรถคุณจากน้ำท่วมกันเถอะ!

http://www.rackmanagerpro.com/wp-content/uploads/2011/10/cover-change.jpg
ภาพ: Rackmanagerpro.com

เริ่มใช้ผ้าคลุมรถ โดยเลือกเอาขนาดไซซ์ XL หรือยิ่งใหญ่ยิ่งดี เพราะจะได้สวมใส่กันได้สะดวก และเนื่องจากไอเดียครั้งนี้คือ การเอาผ้าคลุมรถแทนที่จะใส่จากด้านบน ก็เอามาใส่จากด้านล่างแทน ดังนั้น ตอนที่เลือกผ้าคลุมรถ จึงต้องเลือกผ้าหรือเป็นวัสดุที่สามารถกันน้ำได้ด้วยเท่านั้น

และหากว่าอยากให้ผ้าคลุมดังกล่าวสามารถปกป้องรถได้อย่างเต็มที่ และไม่หลุดรุ่ยง่ายๆ ควรติดขอบยาง เพื่อให้กระชับพอดีกับตัวรถ

เริ่มต้นให้วางผ้าคลุมรถไว้ ณ ตำแหน่งที่คุณอยากจะจอดรถเอาไว้ แล้วก็ให้คนจับมุมเอาไว้ทั้งสองฝั่ง หลังจากนั้นก็ให้คนขับถอยรถช้าๆ การถอยรถต้องค่อยๆถอย โดยผ่านมุมเข้าผ้าคลุมช้าๆเป็นแนวเดียวกับผ้าคลุมรถ และ ผ้าคลุมควรจะต้องขึงตึงเอาไว้ เพราะ เราไม่อยากจะให้รถเหยียบผ้าคลุมเอาไว้ เดี๋ยวมันจะยกขอบผ้าคลุมไม่ขึ้นครับ

เมื่อถอยรถได้ตำแหน่งอยู่กลางผ้าคลุมแล้วก็ให้คุณเอาขอบของผ้าคลุมคลุมเอาไว้รอบคัน ทั่วทั้งคันครับ และ สำหรับการป้องกันที่จะทำได้จริง คุณจะต้องติด tape กาวแบบที่เมื่อมีน้ำชะจะต้องไม่หลุดลอกออกมาด้วยครับ แนะนำว่าให้แปะก็แปะทั่วทั้งคันเพื่อความมั่นใจได้ว่า น้ำจะไม่ซัดหรือดึงผ้า หรือไปกร่อนเนื้อกาวเพื่อให้ผ้าคลุมหลุดลอกออกมาได้ง่ายๆ



http://www.civicesgroup.com/forum/files/1318233908_333331.jpg

หรือปฏิบัติตามขั้นตอนง่ายๆดังนี้

1. ซื้อยางรถสิบล้อมา 3 เส้น
2. นำยางรถที่ยังไม่ได้สูบ สอดไว้ใต้ท้องรถ
3. สูบลมเข้าไปทั้ง 3 ล้อ ก่อนสูบควรผูกเชือกตำแหน่งต่างๆ เพื่อยึดรถให้อยู่กับล้อ
4. ผูกเชือกล่ามรถไว้กับเสาบ้าน หรือหลักที่แน่นหนา ป้องกันรถลอยไปตามน้ำ
5. รถจะปลอดภัยในช่วงน้ำท่วม และสามารถใช้เป็นที่พักชั่วคราวได้




จาก ..................... มติชน วันที่ 11 ตุลาคม 2554

เด็กน้อย
12-10-2011, 08:50
ได้รับข้อมูล มาจาก FWD mail ครับ
วิธีการก่อถุงทราย

สายน้ำ
12-10-2011, 09:01
ไทยรัฐ


รถจมน้ำ ทำไงดีหลังน้ำลด

อ่านได้ที่ลิ๊งค์นี้ http://www.thairath.co.th/content/life/208452

สายน้ำ
12-10-2011, 09:02
ขอบคุณครับ น้องเด็กน้อย ..... ช่วยๆกันให้ข้อมูลครับ อย่างน้อยคงมีประโยชน์กับคนที่เข้ามาอ่านกันบ้างไม่มากก็น้อยครับ

เด็กน้อย
12-10-2011, 09:22
ได้รับจาก FWD Mail ครับ
วิธีทำรองเท้าถุงพลาสติก ป้องกันโรคฉี่หนู (กรมควบคุมโรค)

โรคฉี่หนู เป็นโรคที่มีหนูเป็นตัวแพร่โรคที่สำคัญ เชื้อโรคที่ออกมากับปัสสาวะหนูจะปนเปื้อนอยู่ในน้ำท่วมขัง หรือบนพื้นดินที่ชื้นแฉะได้นาน ประชาชนที่เดินลุยน้ำ ย่ำโคลนอาจติดเชื้อโรคนี้ได้ จึงควรป้องกันโรคนี้โดยการสวมรองเท้าบูทยาง หรือสวมรองเท้าถุงพลาสติก

สายชล
12-10-2011, 11:56
ขอบคุณจ้ะน้องเด็กน้อย....น่ารักที่สุดเลย...:)

สายน้ำ
13-10-2011, 07:51
บัญญัติ 20 ประการ ฝ่าวิกฤตอุทกภัย


อุทกภัยที่ขยายวงกว้างอยู่ในหลายจังหวัดขณะนี้ สร้างความเดือดร้อน และหวาดวิตกให้แก่ประชาชนค่อนประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเรามีสติและเตรียมการแก้ปัญหาเชื่อว่าจะผ่านวิกฤตได้อย่างแน่นอน ซึ่งบัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วมมีข้อมูลดังต่อไป

1. ดูทางน้ำที่จะมาสู่บ้านเรา แล้วจะไปทางไหนได้บ้าง
2. กำแพงบ้านไว้กั้นน้ำได้ แต่ต้องระวังรั้วพัง โดยมีการตรวจสอบความแข็งแรง
3. น่าจะมี “ปืน” ไว้สู้ฝน สู้น้ำท่วม จัดการกับรูรั่ว
4. ตรวจสอบต้นไม้ว่าโอกาสล่มทับบ้านหรือไม่ ในยามน้ำท่วมและพายุมา
5. ตรวจสอบถังน้ำใต้ดินในการรองรับน้ำ
6. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้านอกบริเวณบ้าน โดยการตัดกระแสไฟบริเวณที่มีโอกาสไฟรั่ว
7. ป้องกันสัตว์เลื่อนคลานต่าง ๆ ที่มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง
8. เตรียมจัดหาด้านสุขอนามัย เช่น สุขา
9. ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดภายในบ้าน ให้อยู่พ้นจากน้ำท่วม
10. ตรวจสอบความแข็งแรงของประตู หน้าต่าง ให้แน่หนา และแข็งแรง
11. เตรียมระบบสื่อสารให้พร้อม เช่น โทรศัพท์มือถือ
12. จัดเตรียมชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พร้อมใช้งานในยามวิกฤติ
13. ย้ายสิ่งของทุกชนิดให้อยู่พ้นน้ำ
14. ใช้พลาสติกซึ่งเป็นวัสดุที่กั้นน้ำให้เป็นประโยชน์ เช่น ห่อหุ้มสิ่งของไม่ให้เปียกน้ำ
15. เตรียมน้ำดื่ม อาหารแห้ง และยาประจำบ้านให้พร้อม
16. บ้านชั้นเดียวต้องตรวจสอบหลังคา
17. หาวิธีป้องกันพวกวิชาชีพลักขโมย




จาก ......................... สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 13 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
13-10-2011, 07:55
9 สิ่งยิ่งมียิ่งช่วยในถุงยังชีพ ........................ โดย นพ.กฤษดา ศิรามพุช,พบ.(จุฬาฯ) ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ

http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2011/10/lif04121054p1.jpg

น้ำท่วมปีนี้มาหนักและแรงอย่างน่าเห็นใจที่สุด แม้จะป้องกันอย่างที่สุดก็ได้แต่มองน้ำท่วมตาปริบๆ รอเวลาว่าจะเข้ามา "เมื่อไร" เท่านั้น ซอยข้างคลินิกผมก็ท่วมแล้วท่วมอีกครับ

ถุงยังชีพ ต้องรีบช่วย นอกจากข้าวสารอาหารแห้ง น้ำ ก็มี

1) กระดาษชำระ กางเกงในกระดาษและผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ในสภาพที่ไม่อาจหาห้องน้ำได้หรือส้วมกระดาษไม่พอ ขอให้มีกระดาษชำระสะอาดดีๆ อย่างหนานุ่ม หรือได้เปลี่ยนชั้นในสะอาดๆ ก็ทำให้รู้สึกสบายคลายทุกข์ไปได้มากทีเดียวครับ

2) นมผู้ใหญ่ จำพวกเอ็นชัวร์หรือพีเดียชัวร์ที่เป็นนมผงสูตรผู้ใหญ่ใช้บำรุงร่างกายได้ดีเพราะมีสารอาหารที่จำเป็นอยู่มาก หากแบ่งส่งไปเป็นกระป๋องเล็กพร้อมน้ำสะอาดไว้ชงได้ก็ดีครับ เพราะผู้ประสบภัยจะได้สะดวกหาที่เก็บให้พ้นน้ำง่าย

3) ด่างทับทิม ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดแบบน้ำอาจจัดส่งลำบากหรือไม่เพียงพอ แต่ถ้ามีเกล็ดด่างทับทิมสีม่วงสวยใส่ไปสักถุงน้อยๆ ไว้ใช้ผสมน้ำแช่แก้น้ำกัดเท้า แช่ผักผลไม้ก่อนรับประทานได้บ้างก็ยังดีนะครับ

4) สารส้ม อันนี้เป็นของที่ต้องซื้อเข็มขัดใหม่เพราะคาดไม่ถึงอย่างแรงครับ วันหนึ่งดูภาพข่าวได้เห็นคนน้ำท่วมตักน้ำขุ่นๆรอบตัวมาแกว่งสารส้มใช้เลย อยากแนะให้ส่งสารส้มก้อนน้อยๆไปด้วย เผื่อช่วยให้พี่น้องผู้ประสบภัยทำน้ำใสไว้อาบเองได้ก็ยังดีครับ

5) น้ำเกลือปลอดเชื้อ หรือน้ำเกลือสเตอไรซ์นั่นเอง ใช้ชะแผลปะทะปะทังไว้ก่อนได้ดีกว่าปล่อยให้โดนน้ำสกปรกที่ท่วมอยู่รุมกัดเอา อย่างน้อยถ้าน้ำยาฆ่าเชื้อยังมาไม่ถึงก็สามารถใช้น้ำเกลือที่ว่านี้ล้างแผลปฐมพยาบาลไปก่อนได้หลายวันครับ

6) ยาแก้ปวดพาราเซตามอล พอน้ำท่วมแล้วไข้หวัดก็ตามมา โรคปวดหัวจากความเครียดก็มากครับ ยาแก้ปวดง่ายๆในยามยากนี้ถ้าใครมีพอแจกจ่ายกันก็จะช่วยทุเลาอาการไม่สบายกายลงได้แล้วเดี๋ยวใจก็จะค่อยกลับมาครับ

7) แชมพูถวายพระ พระสงฆ์องค์เณรต้องงดปฏิบัติกิจช่วงน้ำท่วม ญาติโยมก็ไม่สะดวกใส่บาตร ของใช้ที่จำเป็นอาจขาด อาทิ ผ้าเช็ดตัวสะอาด กระดาษชำระ, สบู่ และแชมพูเพราะพระท่านก็จำเป็นต้องใช้ทำความสะอาดร่างกายไม่ต่างจากญาติโยม ขอแต่เลี่ยงชนิดที่ใส่น้ำหอมแรงจนเกินไปครับ

8) อาหารสุนัข อาหารแมว ไม่เคยเห็นใครพูดถึง จึงอยากขอให้ช่วยเหลือชีวิตน้อยๆที่พลอยเดือดร้อนจากน้ำท่วมไปพร้อม "เจ้าของ" ลองคิดถึงใจเขาใจเราว่าขนาดคนยังเดือดร้อนถึงขนาดแล้วสัตว์ที่พูดไม่ได้เหล่านี้จะมีความทุกข์สักเพียงใด หัวใจของเจ้าของหมาก็คงอยากให้เพื่อนรักของเขาสบายด้วย

9) โน้ตข้อความให้กำลังใจ อย่างสุดท้ายดูเหมือนไม่จำเป็นแต่ถ้าเป็นผมจะขอใส่ลงไปด้วย เพราะลงไปช่วยพูดคุยไม่ได้ตลอดอย่างน้อยส่งข้อความที่เขียนจากใจลงไปก็จะได้ใช้เก็บไว้อ่านได้เป็นกำลังใจที่ต่างคนต่างช่วยเติมให้กันครับ

อาหารกายในถุงยังชีพผมเชื่อว่าพี่น้องไทยมีให้กันเกินร้อยครับ ที่เหลือก็คืออาหารใจเป็นน้ำใจให้ยามน้ำท่วมที่จะช่วยพยุงกันให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ อย่างน้อยก็เป็นพลังเล็กๆที่พอช่วยได้ อย่าไปคิดว่าน้ำคงท่วมเฉพาะต่างจังหวัดนะครับ กรุงเทพฯเองก็โดนได้ ขึ้นอยู่แค่ว่าเมื่อไรเท่านั้นเอง ทุกคนมีสิทธิตกอยู่ในน้ำเหมือนๆกัน

เป็นเพื่อนร่วมชาติและเพื่อนร่วมทุกข์




จาก ..................... มติชนรายวัน วันที่ 12 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
13-10-2011, 08:06
มาดูนวัตกรรมป้องกันน้ำแบบต่างๆ ที่คนไทยไม่เคยเห็น

ด้วยว่าไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ จึงหลีกเลี่ยงเหตุการณ์น้ำท่วมไม่ได้ หลายต่อหลายครั้ง ทั้งหนัก-เบา แต่เราก็คงยังใช้วิธีการแบบดั้งเดิม ตั้งแต่น้ำท่วมโลกมนุษย์จนถึงทุกวันนี้ ลองมาเรียนรู้ มาดู เพื่อสร้างแรงบันดาลใจที่จะค้นคิดนวัตกรรมการแก้ปัญหาดีกว่า


จาก ..................... มติชนรายวัน วันที่ 12 ตุลาคม 2554


GwzUCk_qvt4

ts3eh5gS-5Q

PnTQIqQWC98

dEVtsy_D-y0

EpUfB3D6Ghs

koy
13-10-2011, 11:39
น่าสนใจครับ ใช้น้ำต้านน้ำ แต่ถุง/สายยางยาวสำหรับใส่น้ำไว้สกัดน้ำอย่างนั้นไม่รู้จะไปหาที่ไหน วันก่อนในเฟซบุ๊คเห็นคนเขาดัดแปลงเอาถุงดำมาเป็นตัวสกัด/เบี่ยงเบนน้ำ ไม่ทราบจะได้ผลหรือเปล่า และต้องหาอะไรมากั้นด้านหน้าถุงไม่ให้สิ่งของแหลมคมที่ไหลมากับน้ำ มาเจาะถุงดำทะลุได้ ตามรูปนี้ครับ เครดิต Anupong รักและเทิดทูนในหลวง

รายละเอียดเพิ่มเติม ดูในนี้นะครับ www.facebook.com/photo.php?fbid=248629965182918&set=p.248629965182918&type=1&ref=nf

สายชล
13-10-2011, 20:09
สิ่งของที่ต้องเตรียมไว้ยามน้ำท่วม


http://a8.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/297377_10150359126009868_515654867_8206798_730088323_n.jpg


ขอบคุณข้อมูลจาก....http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150359126009868&set=a.430410049867.198937.515654867&type=1&theater

สายชล
13-10-2011, 20:14
เตรียมน้ำดื่มช่วงน้ำท่วม


http://a1.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/308166_299403576741920_100000168398246_1344643_2115520348_n.jpg


คุณพงศกร พัฒผล ผู้เชี่ยวชาญการเดินป่าและพจญภัยแห่งThailand Survivalครับ กับ1ไอเดียในการเอาชีวิตรอด จากการเสวนาเรื่อง"การออกแบบเพื่อเตรียมพร้อมรับมือและจัดการกับภัยพิบัติ" เมื่อวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2554 โดยกลุ่มDesign for disasters และ หอศิลปกรุงเทพ


ขอบคุณข้อมูลจาก...a1.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/308166_299403576741920_100000168398246_1344643_2115520348_n.jpg

สายน้ำ
14-10-2011, 07:03
บรรเจิด! “ผ้าอนามัยฉุกเฉิน” ยามน้ำท่วม

http://pics.manager.co.th/Images/554000013845901.JPEG

ช่างเป็นความลำบากของคุณผู้หญิงที่ต้องเจอภาวะ “น้ำหลาก” หลายทางท่ามกลางอุทกภัย บางคนมัวแต่เตรียมข้าวของจำเป็นและเสบียงจนลืมวันนั้นของเดือน ในภาวะฉุกเฉินที่ไม่อาจลุยน้ำไปหา “ผ้าอนามัย” มาผลัดเปลี่ยน ลองหยิบของใกล้ตัวมากู้วิกฤตกันก่อน

http://pics.manager.co.th/Images/554000013845902.JPEG

อีกหนึ่งแนวคิด “ต้องรอด” กู้วิกฤตยามฉุกเฉินจาก แฟนเพจ Design for Disasters ที่นำแนวคิดชาวญี่ปุ่นมาประดิษฐ์เป็น “ผ้าอนามัยยามฉุกเฉิน” ซึ่งมี

สิ่งที่ต้องเตรียม ได้แก่ เสื้อแขนยาว, กระดาษชำระหรือเศษผ้า, กรรไกร และเทปกาว

วิธีทำ

http://pics.manager.co.th/Images/554000013845903.JPEG

1.สละเสื้อแขนยาว 1 ตัว นำมาตัดแขนให้ยาว 15-20 เซนติเมตร (ความยาวปรับได้ตามความเหมาะสม)

http://pics.manager.co.th/Images/554000013845904.JPEG

2.ใช้กระดาษชำระหรือเศษผ้า ซ้อนให้หนาพอประมาณ แล้วสอดเข้าไปในแขนเสื้อที่ตัดออกมา
3.ใช้เทปสอดเข้าไปใต้เศษผ้า โดยให้ยื่นเทปยาวส่วนหนึ่งออกมาเพื่อแปะกับกางเกงชั้นใน

เมื่อใช้งานแล้วสามารถนำแขนเสื้อไปซักทำความสะอาด และเปลี่ยนกระดาษชำระหรือเศษผ้าได้

ขอบคุณแนวคิดดีๆเพื่อผู้ประสบภัยจากแฟนเพจ Design for Disasters




จาก .................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 13 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
14-10-2011, 07:07
ขับอย่างไรเมื่อน้ำท่วม

ขณะนี้ประเทศไทยของเรากำลังประสบปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัด สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการขนย้ายข้าวของและการส่งสิ่งของไปบรรเทาความเดือนร้อน ใครที่ต้องขับรถขณะสถานการณ์แบบนี้ไม่ใช่เรื่องน่าปวดหัว แต่หากหลายท่านไม่รู้จะทำอย่างไร การเตรียมตัวรับมือกับสายฝนและน้ำท่วมนั้นเพียงแต่ผู้ขับขี่ เพิ่มความรอบคอบ และวินัยในการขับมากขึ้น รวมทั้งเทคนิคที่เรานำมาฝากกัน

http://pics.manager.co.th/Images/554000013713601.JPEG


**การขับรถเมื่อฝนตกหรือถนนลื่น**

จำเป็นต้องระวังเป็นอย่างมากขณะฝนตกใหม่ๆ ถนนจะลื่นมาก เพราะน้ำฝนฝุ่นโคลน จะรวมกันกลายเป็นฟิล์มรองรับระหว่างยางกับพื้นถนนรถจะเกิดการลื่นเสียหลัก เมื่อวิ่งผ่านหากขับรถฝ่าสายฝนต้องลดความเร็วลงให้มากกว่าปกติ ควรใช้เกียร์ต่ำกว่าปกติ1 เกียร์จะทำให้รถเกาะจับถนนไดดีขึ้นขณะขับรถให้เปิดไฟหรี่หรือไฟใหม่ตามแต่ สถานการณ์ การเปิดไฟจะช่วยให้รถคันอื่นมองเห็นเราควรหลีกเลี่ยงการเบรกอย่างรุนแรงและ กะทันหักจะทำให้รถลื่นไถลหรือหมุนกลางถนนได้ถ้ารถเริ่มเสียหลักให้ผู้ขับขี่ ถอนคันเร่งจะทำให้รถเกาะขับถนนได้ดีรถวิ่งผ่านแอ่งน้ำ ให้ยกเท้าออกจากคันเร่งโดยทันที อย่าเบรกอย่าหักพวงมาลัย จับพวงมาลัยให้แน่นเมื่อรถลดความเร็วลงหรือผ่านแอ่งน้ำไปแล้ว รถก็จะเริ่มจับเกาะถนนได้และก็สามารถควบคุมได้


*การขับระดับน้ำท่วมผิวถนน**

คือระดับความลึกของน้ำประมาณไม่เกิน 6 นิ้ว ไม่มีผลต่อรถของเราส่วนที่จมน้ำจึงมีเพียงลูกหมากและบูชยางของระบบรองรับและ ระบบบังคับเลี้ยวเท่านั้นชิ้นส่วนเหล่านี้ถูกออกแบบมาให้แช่น้ำชั่วคราวได้ โดยไม่เกิดความเสียหายสิ่งสำคัญที่สุด คือ การรักษาระดับความเร็วของรถโดยขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้น้ำที่ถูกล้อรถ รีดด้วยความเร็วจะทะลักพุ่งออกมาทางด้านข้างอย่างแรงฉีดไปที่ห้องเครื่อง ยนต์ อาจทำให้กระแสไฟจุดระดับลัดวงจร และเครื่องดับหรือไม่ก็ฉีดไปบนห้องเกียร์และเล็ดลอดเข้าไปภายในทำให้น้ำมัน เกียร์เสื่อมสภาพได้

http://pics.manager.co.th/Images/554000013713602.JPEG


**การขับระดับที่ผิวน้ำสูงถึงท้องรถ**

ระดับนี้อาจจะมีน้ำสูงถึงท้องรถเป็นครั้งคราวขณะขับรถจะได้ยินเสียงน้ำกระทบท้องรถค่อนข้างดังควรขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงการตกหลุมที่มองไม่เห็นโดยสังเกตจากรถคันหน้าและพยายามจำแนวไว้ ความลึกระดับนี้จานเบรกจะจมอยู่ในน้ำตลอดเวลา รถที่ใช้ดรัมเบรกประสิทธิภาพการทำงานจะลดลงอย่างมาก หากพ้นช่วงน้ำท่วมจะต้องทดสอบเบรกทันทีโดยการเบรกและเร่งความเร็วสลับกันไป เพื่อให้ผ้าเบรกรีดน้ำจากจานเบรกและเพื่อให้จากเบรก หรือดุมเบรกร้อนจนน้ำระเหยเป็นไอหมด


**การขับระดับน้ำท่วมเลยท้องรถ**

ไม่ว่าจะขับช้าเพียงใดน้ำก็อาจจะทะลักท่วมห้องเกียร์และเฟืองท้าย (รถขับเคลื่อนล้อหลัง)ผสมกับน้ำมันเกียร์ และน้ำมันเฟืองท้าย ทำให้เสื่อมสภาพฟันเฟืองต่างๆภายในจะสึกหรออย่างรวดเร็วเนื่องจากน้ำใต้ท้อง รถจะแทรกซึมเข้ามาทางจุกยางหลายจุดจากพื้นรถพรมและฉนวนกันเสียงจะชุ่ม หากเจ้าของรถไม่รีบรื้อเก้าอี้และถอดออกมาผึ่งแดดรถบางรุ่นจะมีศูนย์ควบคุม ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E C U)อยู่ใต้เก้าอี้ซึ่งชิ้นส่วนนี้มีราคาสูงมาก หากความชื้นเล็ดลอยเข้าไปจะชำรุดภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่วนด้านหน้ารถก็เกิดความเสียหายไม่น้อยเช่น ใบพัดของพัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำ ซึ่งอยู่ด้านหลังของหม้อน้ำจะดูดน้ำจากด้านหน้าใบพัดซึ่งทำจากพลาสติก จึงงอไปทางด้านหน้าครูดกับรังผึ้งหม้อน้ำจนหัก น้ำซึ่งถูกกันชนหน้ารถดันจน สูงอาจทะลักเข้าทางขั้วของโคมไฟหน้ากลายเป็นไอน้ำสะสมอยู่ภายในและจะทำลาย ผนังโคมที่ฉาบปรอทไว้ซึ่งจะทำให้หลุดล่อนในเวลาไม่นาน

http://pics.manager.co.th/Images/554000013713603.JPEG


**ระดับน้ำท่วมจนถึงไฟหน้า**

ถือว่าระดับน้ำที่อันตรายที่สุดหากขับหรือจอดอยู่นานน้ำ ท่วมภายในห้องโดยสารจนถึงเบาะนั่งห้องเกียร์และเฟืองท้ายจะถูกท่วมมิด หากเครื่องยนต์ไม่ดับไปเสียก่อนเนื่องจากระบบจุดระเบิดขัดข้องและผู้ขับยัง ฝืนขับด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (โดยเฉพาะรถเครื่องยนต์ดีเซลจึงไม่ต้องอาศัยกระแสไฟจุดระเบิด)น้ำจะทะลักเข้า ทางท่อดูดอากาศ ผ่านไส้กรองอากาศ ท่อไอดีและเข้าไปในกระบอกสูบลูกสูบที่กำลังเคลื่อนที่ขึ้นอย่างรวดเร็วจะ กระแทกกับปริมาตรน้ำอย่างรุนแรง(ไฮดรอลิกลอค) จนลูกสูบและก้านสูบชำรุดทันที

สรุปว่าระดับน้ำที่เรายังใช้งานได้โดยไม่เกิดความเสียหาย คือ ระดับน้ำท่วมผิวถนนและระดับที่ผิวน้ำสูงถึงท้องรถเป็นครั้งคราวเท่านั้น วิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้องเมื่อต้องเผชิญกับถนนที่มีน้ำท่วมลึกจำเป็นต้องหลีก เลี่ยง โดยกลับรถเพื่อเปลี่ยนเส้นทางหรือหาที่จอดรถซึ่งน้ำท่วมไม่ถึงไว้ก่อนแทนเป็นการประหยัดค่าซ่อมรถได้มากทีเดียว

หากมีปัญหาความนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟือง ท้ายหลังจากลุยน้ำลึกมาทุกครั้งและให้เจ้าหน้าที่บริการถอดเก้าอี้และตรวจด้านล่างของพรมปูพื้นว่ามีน้ำรั่วเข้าถึงหรือไม่ รถที่ลุยน้ำลึกมาแล้วหากถึงที่หมายหรือรถพ้นน้ำห้ามดึงเบรกมือทิ้งไว้เด็ดขาดเพราะเมื่อน้ำแห้ง ผ้าเบรกจะยึดกับจานเบรกจะทำให้เกิดสนิมจนไม่สามารถเคลื่อนรถออกไปได้

: ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก : บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด




จาก .................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 13 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
14-10-2011, 07:11
มาดู"ทางด่วนน้ำบายพาส" ทริคเก๋กู๊ดเลี่ยงน้ำท่วมจากเยอรมัน (เผื่อไทยเราจะนำไปใช้บ้าง...)

ในเฟซบุ๊กของ Geranun Giraboonyanon ได้มีการเผยแพร่ "ทางด่วนน้ำบายพาส" จาก สะพานน้ำ อควาดัค ที่ประเทศเยอรมัน เขาใช้ในการระบายน้ำเป็นเหมือนทางเลี่ยงเพื่อผลักดันมวลน้ำส่วนเกินให้พ้นทะเล ออกไปซึ่งประเทศไทยอาจสามารถนำมาประยุกต์ในการรับมือน้ำท่วมในครั้งต่อไปได้ โดยเขาระบุข้อความ รวมถึงโพสต์รูปภาพไว้ดังนี้

http://www.matichon.co.th/online/2011/10/13184747351318474812l.jpg

"สะพานน้ำ อควาดัค ถ้าประยุกต์เอาวิธีนี้มาใช้ จะทำสะพานถ่ายน้ำ ยกน้ำบายพาส ข้ามอยุธยา ข้าม กทม.ไปลงทะเลได้อย่างรวดเร็วโดยตรง หรือจะถ่ายน้ำจากเขื่อนได้โดยไม่เดือดร้อนชาวบ้านได้อย่างสบายๆ (น่าจะประยุกต์ติดตั้งระบบดันน้ำเสริมได้ด้วย)

http://www.matichon.co.th/online/2011/10/13184747351318474786l.jpg

ในภาพจากในเยอรมันเขาทำขึ้นใหม่ ความกว้างขนาดใช้เรือขนสิ่งทางน้ำได้ด้วย กลายเป็นเส้นทางขนส่งในยามปกติ และสะพานถ่ายน้ำจากเหนือลงทะเลสบาย เนื่องจากความชัน-ลาดเอียงระหว่างเชียงใหม่ นครสรรค์ ถึงกรุงเทพ อยู่ระดับ 30- 45 องศา

http://www.matichon.co.th/online/2011/10/13184747351318474795l.jpg

ก็เหมือนทางด่วนของน้ำแหละครับ สะพานถ่ายน้ำบายพาสผ่านแนวแก้มลิงเดิมก็ได้กันพลาด ทำหลายเส้นก็ได้ ลัดน้ำออกทะเลไปเลยตรงๆ

ต้นแบบในเยอรมัน ในยุโรปมีตัวอย่าง น่าจะประยุกต์เอาแบบมาทำได้"




จาก ..................... มติชน วันที่ 13 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
15-10-2011, 07:25
คู่มือเผชิญน้ำท่วม รับมือวิกฤติน้ำ (1) ................................จาก ไทยรัฐ วันที่ 15 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
15-10-2011, 07:27
คู่มือเผชิญน้ำท่วม รับมือวิกฤติน้ำ (2) ............................. จาก ไทยรัฐ วันที่ 15 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
16-10-2011, 08:16
รวมเทคนิค กู้ภัยน้ำท่วมรถน้ำเข้ารถ

http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2011/10/15/j5adbf5ab7iaie5f7k9df.jpg

เป็นเรื่องหนาสาหัสสากรรจ์สำหรับผู้ใช้รถ ที่อยู่ๆก็เจอกับภัยธรรมชาติ จนน้ำท่วมรถมิดคัน อย่างไรก็ตาม ยังพอมีทางออกที่จะทำให้เสียเงินน้อยหน่อยในการกู้คืนรถต่างๆ ลองพิจารณาขั้นตอนต่อไปนี้สำหรับการสู้ภัยน้ำท่วม


การกู้รถกรณีน้ำเข้ารถขณะจอด(ดับเครื่อง)

- ลากจูงจนรถพ้นน้ำ ห้ามสตาร์ทเครื่องยนต์เด็ดขาด
- เปิดหรือคลายน็อตอ่างน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ เฟืองท้ายและที่ถังน้ำมันเชื้อเพลิง
- คลายน็อตเดรนน้ำมันพอหลวม ให้น้ำที่ขังอยู่ไหลออกมาจนหมดแล้วปิดน็อต
- ถอดหัวเทียน ถอดหัวฉีด
- กรณีรถใช้ก๊าซ ปิดการใช้งานระบบก๊าซให้หมด ให้เหลือระบบน้ำมันอย่างเดียว
- หมุนเครื่องด้วยมือเปล่า 2-3 รอบเพื่อไล่น้ำออกจากห้องเผาไหม้
- ปล่อยชิ้นส่วนต่างๆไว้ให้แห้งโดยการตากแดดหรือเปล่าลมร้อน
- ถอดแบตเตอรี่ออกตรวจเช็กปริมาณไฟที่มีอยู่ว่ามากพอที่จะสตาร์ทเครื่องได้ไหมถ้าไฟหมดส่งเข้าร้านชาร์จไฟ
- ตรวจสอบ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวกับการจุดระเบิด
- ถอดปลั๊ก สมองกล ECU อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกระบบ
- แกะซีลสมองกล ECU ออกแม้ มีระบบกันน้ำอยู่แล้วก็ตามเพื่อทำให้แห้ง
- ตากแดดหรือเป่าด้วยลมร้อน (จากไดร์เป่าผม) จนแห้งสนิท ชิ้นส่วนต่างๆที่เกี่ยวกับไฟฟ้าทุกตัวไม่เว้นแม้สมองเครื่อง
- ตรวจปลั๊กทุกตัวในห้องเครื่อง เมื่อพบให้ถอดออกเช็กและเป่าให้แห้ง
- ตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ออโต้
- เมื่อทุกอย่างแห้งและไม่ชิ้นให้ใส่แบตฯ เปิดสวิทช์ไฟเพื่อตรวจดูแผงไฟบนหน้าปัด
- ประกอบชิ้นส่วนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ทดลองติดเครื่องยนต์ (อาจจะต้องสตาร์ทหลายครั้ง)
- หากพบว่า เครื่องเดินไม่เรียบ ไม่ต้องแตะคันเร่ง ไม่ต้องเปิดแอร์ อุ่นเครื่องไล่ความชื้นที่หลงเหลือ
- สังเกตอาการเครื่องเมื่ออุณหภูมิพร้อมทำงาน(เครื่องปกติจะกลับมาเดินเรียบ)
- ถอดอุปกรณ์ในรถ เบาะนั่ง พรมปูพื้น ออกตากแดด
- ตรวจดูความเปียกชื้นบนพื้นรถ หากพบทำให้แห้ง
- ตรวจระบบไฟส่องสว่างไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเบรก ไฟเลี้ยว ที่ปัดน้ำฝน (ถ้าเสียซ่อมเป็นกรณีไป)
- ลองเข้าเกียร์ทุกตำแหน่ง(โดยไม่ต้องออกรถ)
- หากทุกเกียร์ตอบสนอง แสดงว่ารถพร้อมทำงาน ลองขับเคลื่อน ด้วยเกียร์ต่ำ ระยะหนึ่ง(สั้นๆ)
- หากอาการ รถวิ่งได้ แต่วิ่งไม่ออก อาจต้องนำรถเข้าตรวจที่อู่ อีกครั้ง


กรณีดับกลางน้ำ(น้ำเข้าเครื่อง)

ในกรณีที่ขับรถไปแล้วรถเกิดตกน้ำจมน้ำ เรื่องค่าใช้จ่ายการกู้คืนรถจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเกี่ยวกับเครื่องยนต์และเกียร์
- เมื่อน้ำเข้าเครื่อง จะเกิดความเสียหาย ตั้งแต่ฝาสูบ วาล์ว ลูกสูบก้านสูบ
- เกียร์ออโต้ ต้องทำการถ่ายน้ำออกจากห้องเกียร์ ไม่พยายามทำให้เกียร์หมุน(ก่อนเดรนน้ำออก)




จาก .................... คม ชัด ลึก วันที่ 16 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
17-10-2011, 06:27
“รถยนต์ประสบอุทกภัย” บริษัทประกันชดเชยอย่างไร?!

http://www.dailynews.co.th/content/images/1110/17/newspaper/p4thurl.jpg

สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปี 2554 นี้นับเป็นครั้งที่รุนแรงและหนักที่สุดในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนจนทำให้หลายคนเครียดจัด แต่สิ่งหนึ่งที่จะสามารถช่วยเหลือและบรรเทาความเสียหายได้นั่นก็คือ การประกันภัยที่ได้ทำไว้ให้กับทรัพย์สินต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “รถยนต์” ซึ่งหากต้องได้รับความเสียหายจากวิกฤติอุทกภัย ความครอบคลุมของประกันภัยจะชดเชยได้มากน้อยแค่ไหน...?!?

จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้ความรู้ว่า สำนักงาน คปภ.มีความห่วงใยผู้ประสบอุทกภัยเป็นอย่างยิ่ง จึงเร่งให้บริษัทประกันภัยสำรวจความเสียหายเพื่อจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยได้ทันทีหลังน้ำลด โดยสถิติความสูญเสียทรัพย์สินด้านการประกันภัยจากความเสียหายสถานการณ์น้ำท่วมเบื้องต้นแบ่งเป็นความเสียหายต่อรถยนต์มีจำนวน 818 คัน คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 53,199,744.30 บาท จ่ายเต็มจำนวนเงินที่เอาประกันภัยแล้ว 1,878,388.60 บาท ซ่อมแซมรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายคิดเป็นมูลค่าเงินที่เอาประกันภัย 5,826,981.08 บาท อย่างไรก็ตามสถานการณ์น้ำท่วมยังไม่คลี่คลาย บริษัทประกันจึงไม่สามารถเข้าไปประเมินความเสียหายได้ทั้งหมด ต้องรอสรุปตัวเลขหลังน้ำลดต่อไป

ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จะได้รับความคุ้มครองจากประกันภัย แบ่งเป็นประเภท การประกันภัยเกี่ยวกับบุคคล คือ
1. การประกันชีวิต คุ้มครองการเสียชีวิตทุกกรณี (รวมถึงการเสียชีวิตจากภัยน้ำท่วม)
2. การประกันภัยอุบัติเหตุ ส่วนบุคคล คุ้มครองกรณีเสียชีวิตเนื่องจากการจมน้ำหรือถูกน้ำซัดจมหายไป
3. การประกันสุขภาพ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยจากเหตุการณ์น้ำท่วม

สำหรับ การประกันภัยเกี่ยวกับทรัพย์สิน (บ้าน ที่อยู่อาศัย สถานประกอบการ) คือ
1. การประกันภัย คุ้มครองผู้ที่ได้ทำประกันอัคคีภัย และ ’ต้องซื้อภัยคุ้มครองภัยน้ำท่วมเพิ่มเติมไว้“
2. การประกันความเสี่ยงทรัพย์สิน คุ้มครองผู้ที่ได้ทำประกันภัยความเสียหายทรัพย์สิน ซึ่งให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันอันเกิดจากภัยต่างๆ รวมถึงน้ำท่วมด้วย
3. การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก คุ้มครองกรณีผู้ประกอบการต้องการปิดกิจการและขาดรายได้จากภัยน้ำท่วมด้วย

ส่วนการประกันภัยรถยนต์ คือ
1. การประกันรถยนต์ คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นหากเสียหายบางส่วนจะได้รับการชดเชยค่าเสียหายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย หากรถยนต์เสียหายจนไม่สามารถซ่อมได้หรือความเสียหายที่มีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่ร้อยละ 70 ของมูลค่ารถยนต์ บริษัทประกันจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มตามจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้
2. การประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่น (นอกจากประเภท 1) คุ้มครองสำหรับรถที่ประกันภัยภาคสมัครใจและได้มีการซื้อประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้ด้วยก็จะได้รับความคุ้มครองเพิ่มในส่วนนี้ตามจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้
3. การประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) คุ้มครองในกรณีที่มีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บขณะที่ได้รับบาดเจ็บขณะที่ขับขี่หรือโดยสารในรถนั้นเบื้องต้นจะได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยตาม พ.ร.บ.เป็นค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท กรณีเสียชีวิตได้รับ 35,000 บาท

ทั้งนี้ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ให้คำแนะนำแก่ผู้เสียหายที่เป็นเจ้าของรถยนต์ที่ประสบภัยน้ำท่วมว่า ข้อควรปฏิบัติกรณีที่รถยนต์ได้รับความเสียหาย คือหลังจากน้ำลดผู้เป็นเจ้าของรถควรแจ้งความเสียหายต่อบริษัทประกันทราบโดยเร็ว แสดงรายละเอียดของเอกสาร หลักฐาน ที่สำคัญ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แก่บริษัทประกันภัยเพื่อดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (ในกรณีที่เอกสารทำการประกันภัยหรือกรมธรรม์ประกันภัยสูญหายขณะน้ำท่วม สามารถประสานสำนักงาน คปภ.จังหวัดได้ทันที) และนำรถเข้าศูนย์โดยรถยกให้เร็วที่สุด

ที่สำคัญข้อห้ามสำหรับเจ้าของรถเพื่อไม่ให้รถได้รับความเสียหายมากยิ่งขึ้น คือ อย่าสตาร์ตรถยนต์ในทันที ควรเปิดฝากระโปรงรถเพื่อสำรวจให้มั่นใจว่าไม่มีเศษอะไรมาติดอยู่ในตัวเครื่อง รวมถึงตรวจเช็กชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆในตัวถัง พร้อมทั้งสายไฟในบริเวณต่างๆ ว่ายังอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ หากไม่มั่นใจให้นำรถเข้าศูนย์โดยรถยกให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันความเสียหายที่ไม่คาดคิด และอย่าพ่วงไฟควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีระบบไฟฟ้าลัดวงจรที่จะก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบเครื่องยนต์และระบบไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

นอกจากนี้ทางสำนักงาน คปภ.ได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือด้านการประกันภัยให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ โดยให้บริการรับแจ้งเหตุและให้คำปรึกษาด้านการประกันภัยรวมถึงการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือเจ้าของรถที่ได้รับความเสียหายในการให้บริการรถลาก ซ่อมรถยนต์และการตรวจสภาพรถที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมฟรี ดังนั้นผู้ประสบภัยที่เป็นเจ้าของรถสามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือด้านการประกันภัย ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ทุกวันจันทร์-ศุกร์ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186

ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างบ่อยครั้งโดยที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถบรรเทาความเสียหายและความเดือดร้อนทางด้านการเงินได้ด้วยการทำประกันภัย แต่สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดคือก่อนซื้อประกันภัยควรพิจารณาเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัยให้เหมาะสมตรงกับความต้องการของตัวเอง รวมทั้งตรวจสอบใบอนุญาตตัวแทนหรือนายหน้าจากนายทะเบียนเท่านั้น ที่สำคัญอย่าลืมตรวจสอบเอกสารการชำระเบี้ยประกันภัยทุกครั้งเพื่อรักษาและคงไว้ซึ่งประโยชน์ของตัวเอง.

.............................



วิธีดูแลรถหลังประสบภัยน้ำท่วม

อาจารย์รักชาติ แสงวงศ์ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์และหัวหน้าศูนย์บริการยานยนต์ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความรู้ในการดูแลรักษารถยนต์ที่ผ่านการจมน้ำว่า การสำรวจรถยนต์ที่ผ่านการจมน้ำต้องตรวจดูสภาพโดยรวมว่ามีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน จากนั้น ควรเปิดฝากระโปรงรถเพื่อปลดขั้วแบตเตอรี่ออกเพื่อตัดระบบการจ่ายไฟ ที่สำคัญไม่ควรสตาร์ตรถ เพื่อลองเครื่องยนต์เนื่องจากระบบกลไกในรถยนต์รุ่นปัจจุบันมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสมองกล ซึ่งระบบเหล่านี้จมน้ำเพียง 5 นาทีก็เกิดความเสียหายได้ ทั้งนี้หากจมน้ำ 1-2 วัน ระบบดังกล่าวอาจเป็นสนิมทำให้ระบบการทำงานเสียหายมาก และที่สำคัญต้องตรวจดูว่าเครื่องยนต์เสียหายมากน้อยแค่ไหน จากนั้น ให้ทำการเป่าหรือใช้สเปรย์ไล่ความชื้น เพราะในจังหวะที่เราดับเครื่อง กระบอกสูบบางกระบอกยังทำงานอยู่อาจทำให้น้ำเข้าได้ และควรถ่ายน้ำมันทุกชนิดที่อยู่ในรถออกทันที เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรก น้ำมันคลัตช์ ฯลฯ เพราะน้ำที่ปนกับน้ำมันจะทำให้เกิดสนิม

สำหรับรถยนต์ที่ผ่านการจมน้ำมาควรซ่อมแซมหรือขายทิ้ง อาจารย์รักชาติ แนะนำว่าต้องเอารถไปประเมินสภาพก่อนว่ามีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน คุ้มค่าหรือไม่ที่จะนำไปใช้ต่อ โดยปกติค่าซ่อมแซมรถยนต์ที่เสียหายจากการจมน้ำมีมูลค่าต่อคันอยู่ที่ประมาณ 300,000 บาท เพราะทุกอย่างเสียหายหมดเหลือแต่โครงรถกับเครื่องยนต์ ซึ่งต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ ส่วนเครื่องยนต์ก็ต้องผ่าดูอีกว่ามีน้ำขังอยู่ข้างในหรือเปล่า ถึงแม้จะเสียเงินซ่อมแล้ว สภาพก็ไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม เพราะมีอุปกรณ์บางตัวที่ติดอยู่กับรถซึ่งไม่สามารถถอดออกมาเปลี่ยนได้ หากต้องการส่งซ่อมควรใช้บริการศูนย์ของรถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ หรือส่งซ่อมที่อู่รถที่ได้มาตรฐาน มีผู้เชี่ยวชาญดูแล สำหรับรถยนต์ที่มีประกันชั้นหนึ่ง บริษัทประกันจะรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด โดยบริษัทจะสำรวจว่ามีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน แต่ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันด้วย

ส่วนข้อควรระวังในการซื้อรถยนต์มือสองหลังเกิดเหตุอุทกภัย เพื่อป้องกันการหลอกขายรถยนต์ที่เคยจมน้ำมา คือก่อนตัดสินใจซื้อรถต้องสำรวจดูสภาพโดยรวมก่อน เช่น รถที่ผ่านการจมน้ำเมื่อเปิดประตูเข้าไปจะได้กลิ่นอับ แม้จะซ่อมดีแค่ไหนแต่กลิ่นก็ไม่หาย เพราะน้ำท่วมไม่ใช่น้ำสะอาดต้องใช้เวลานานในการดับกลิ่น และผู้ซื้อควรตรวจสอบระบบจ่ายไฟว่ามีความขัดข้องหรือไม่ แม้จะซ่อมดีแค่ไหน หากรถยนต์ผ่านการจมน้ำมาระบบจะมีข้อบกพร่อง และจุดเด่นที่ต้องสังเกตคือ นอต ที่ใช้ขันเครื่องยนต์ ควรสำรวจดูว่ามีร่องรอยการรื้อหรือเป็นสนิมเพราะผ่านการจมน้ำมาหรือไม่




จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 17 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
18-10-2011, 08:20
สุดเจ๋ง 'แอพพลิเคชั่น' ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม!!!


จาก ................... ไทยรัฐ วันที่ 18 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
18-10-2011, 08:24
เปิดตัวนวัตกรรมไทย สู้ภัยน้ำท่วมทั่วประเทศ

http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2011/10/col01181054p1.jpg&width=360&height=360

นาทีนี้ คนไทยเกือบทั้งประเทศกำลังประสบกับมหันตภัยน้ำท่วมใหญ่ครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงกว่าทุกครั้ง

ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 283 ราย สูญหาย 2 คน และอาจมียอดตัวเลขความสูญเสียพุ่งสูงขึ้นอีกเนื่องจากในหลายจังหวัดน้ำยังคงท่วมขังสูงกว่า 4 เมตร และมีแนวโน้มที่จะกักขังนานนับเดือน

ดังนั้น วิทยาการความรู้ในการเอาตัวรอดระหว่างเกิดน้ำท่วมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในห้วงเวลาปัจจุบัน

และเพื่อเตรียมรับมือกับเหตุอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นอีกในปีต่อๆ ไป!

สำหรับการช่วยเหลือตัวเองขณะเกิดเหตุน้ำหลากไหลแรง สุ่มเสี่ยงต่อการพลัดตกน้ำและอาจจมน้ำเสียชีวิตได้นั้น สิ่งจำเป็นอันดับแรกที่ควรเตรียมพร้อมก็คือ อุปกรณ์ช่วยในการพยุงตัวขณะอยู่ในน้ำ

อาจเป็นเสื้อชูชีพมาตรฐาน หรือจะประดิษฐ์เองจากขวดพลาสติกก็ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ควรทำความรู้จักไว้ก็คือ 'แรงลอยตัว'

ในทางฟิสิกส์ แรงลอยตัวคือแรงกระทำในทิศทางพุ่งขึ้นที่น้ำต่อต้านต่อน้ำหนักของวัตถุ

ดังนั้นวัตถุที่จมอยู่ในน้ำในระดับลึก จะพบกับความดันที่มากกว่าเมื่ออยู่ที่ระดับตื้น

ด้วยเหตุนี้วัตถุที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจะมีแนวโน้มที่จะจมลงไป ถ้าวัตถุมีความหนาแน่นน้อยกว่า หรือมีรูปร่างที่เหมาะสม เช่น เรือ แรงนั้นจะสามารถทำให้วัตถุลอยตัวอยู่ได้นั่นเอง

ด้านวงการผลิตอุปกรณ์ช่วยลอยตัวในปัจจุบัน แบ่งออกคร่าวๆ ได้เป็น เสื้อชูชีพ กับ เสื้อพยุงตัว

โดยเสื้อพยุงตัว ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยพยุงร่างกายของผู้สวมใส่ให้ลอยอยู่ในน้ำได้ ส่วนเสื้อชูชีพนั้น ถ้าสวมใส่อย่างถูกต้องและอยู่ในสภาพดี จะช่วยให้ผู้สวมใส่ลอยตัวอยู่ในน้ำในตำแหน่งที่ปากและจมูกของผู้สวมใส่อยู่เหนือน้ำแม้ในขณะหมดสติ

กล่าวคือ ออกแบบมาให้ช่วยพลิกตัวผู้ประสบภัยจมน้ำได้นั่นเอง

เพราะฉะนั้น หากใครต้องการออกแบบเสื้อชูชีพเพื่อใช้เองในสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็ควรพิจารณาเรื่องแรงลอยตัว และตำแหน่งด้านหน้าของผู้สวมใส่เป็นสำคัญ

ประเภทของเสื้อชูชีพมาตรฐาน (Life Jacket)

ก่อนจะไปดู เสื้อชูชีพทำเองจากขวดพลาสติกแบบต่างๆ ที่คิดขึ้นจากมันสมองของคนไทยล้วนๆ ก็ควรทราบเสียก่อนว่า เสื้อชูชีพมาตรฐานนั้นมีกี่ชนิด

จากข้อมูลของ www.seaairthai.com อธิบายไว้ว่ามีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ เสื้อชูชีพประเภทที่ 1 หรือที่เรียกกันว่า "เสื้อชูชีพสำหรับปฏิบัติงานนอกชายฝั่ง" เป็นเสื้อชูชีพชิ้นเดียว ที่ใส่ได้ทั้ง 2 ด้าน ออกแบบสำหรับเจ้าหน้าที่หรือผู้โดยสารบนเรือ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่หมดสติมีโอกาสรอดในน้ำได้สูงสุด และจำเป็นจะต้องเป็นสีส้มสากล



เสื้อชูชีพประเภทที่ 2 หรือที่เรียกกันว่า "เสื้อชูชีพสำหรับปฏิบัติงานใกล้ชายฝั่ง" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยลอยตัว ที่จะช่วยพลิกตัวผู้สวมใส่ให้อยู่ในท่าหงายหน้า ได้ในบางกรณี

เสื้อชูชีพประเภท 3 หรือที่เรียกกันว่า "อุปกรณ์ช่วยในการลอยตัว" ซึ่งเป็นเสื้อชูชีพที่ใช้ใส่ประจำเรือเมื่อต้องการการเคลื่อนไหวที่คล่องตัว ไม่ได้ถูกออกแบบ ให้ช่วยพลิกตัวผู้สวมใส่ มีอัตราการลอยตัวต่ำสุด


http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2011/10/col01181054p2.jpg&width=360&height=360

เสื้อชูชีพขวดพลาสติกฝีมือคนไทย

ปัจจุบันมีการประดิษฐ์ และเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยกันหลายแบบ ทั้งจากภาคเอกชนและหน่วยงานของรัฐ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นของใคร ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามความสะดวกของแต่ละบุคคลได้ดังนี้

ตัน ภาสกรนที จัดทำคลิปแนะนำการแปลงถุงยังชีพให้เป็นเสื้อชูชีพ สำหรับใช้ใส่ป้องกันน้ำท่วมได้อย่างรวดเร็ว โดยตัน กล่าวในคลิปวิดีโอว่า "น้ำท่วมปีนี้คนไทยต้องไม่จมน้ำครับ" สนใจรับชมพิมพ์คำว่า 'ทำถุงยังชีพเป็นเสื้อชูชีพ by ตัน' ได้ในเว็บไซต์ยูทูบ

ด้านมูลนิธิกระจกเงา ระดมกำลังอาสาสมัครกว่า 200 คน เร่งทำเสื้อชูชีพจากขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว เพื่อนำไปแจกจ่ายให้ผู้ประสบอุทกภัย โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 4 ส่วน เริ่มจากการคัดแยกขวดพลาสติกที่สมบูรณ์ คือไม่รั่วและมีฝาปิด นำขวดพลาสติกมามัดต่อกันด้วยเชือกให้เป็นแพ แพละ 4 ขวด และ 5 ขวด โดยจะต้องมัดติดกันให้แน่น จากนั้นนำแพมาวางซ้อนกันมัดด้วยเชือก ขั้นตอนสุดท้ายคือการประกอบเป็นเสื้อชูชีพ โดยนำเชือกถักมาทำเป็นที่คล้องไหล่ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง

ทางมูลนิธิยืนยันว่า เสื้อชูชีพจากขวดน้ำพลาสติกสามารถใช้ลอยน้ำได้จริง หากเป็นขวดขนาดใหญ่สามารถรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 80 กิโลกรัม ส่วนขวดขนาดกลางรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 60 กิโลกรัม ขณะนี้ยังต้องการขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว เชือก กรรไกร และคัตเตอร์ ผู้ที่ต้องการช่วยเหลือสามารถนำมาบริจาคได้ที่ ศปภ.ภาคประชาชน มูลนิธิกระจกเงา อาคารผู้โดยสารภายในประเทศชั้น 2 ท่าอากาศยานดอนเมือง

(มีต่อ)

สายน้ำ
18-10-2011, 08:28
เปิดตัวนวัตกรรมไทย สู้ภัยน้ำท่วมทั่วประเทศ .... (ต่อ)

http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2011/10/col01181054p3.jpg&width=360&height=360

หน่วยงานของรัฐในระดับท้องถิ่นก็มีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์สู้ภัยน้ำท่วมเช่นเดียวกัน คือที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค จึงได้คิดค้น 'นวัตกรรมกระเป๋าชูชีพอัจฉริยะช่วยป้องกันจมน้ำ' ขึ้น ลักษณะเหมือนกระเป๋านักเรียนทั่วไป ทำด้วยผ้า ภายในมีถุงลมพลาสติกหนา 2 ใบพับใส่ไว้ สามารถนำถุงลมออกมาเป่าด้วยปากให้ลมเต็มถุงจากนั้นปิดให้สนิท เท่านี้กระเป๋าชูชีพดังกล่าวก็จะสามารถรับน้ำหนักร่างกายพยุงตัวให้ลอยเหนือน้ำได้ สามารถรับน้ำหนักได้มากถึงประมาณ 100 กิโลกรัม

นอกจากที่กล่าวมา ยังมีคนไทยที่มีความสามารถและอยากช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติอีกมาก เช่น เสื้อชูชีพต้นแบบช่วยเหลือนํ้าท่วม 'Thai Scrap' คิดค้นโดย คุณประเสริฐ มหคุณวรรณ หรือ เสื้อชูชีพจากขวดน้ำและถุงข้าวสาร ต้นทุน 50 บาท ของ ทีมชุดกู้ภัยสว่างวังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว เป็นต้น

ไม่เพียงเท่านี้ เพราะแม้แต่กองทัพ ก็ยังออกมายอมรับว่าเสื้อชูชีพมาตรฐานอาจไม่เพียงพอสำหรับแจกประชาชนที่กำลังเดือดร้อนได้ครบทุกคน จึงเริ่มมีการระบุให้ทางกรมพลาธิการทหาร เริ่มออกแบบเสื้อกั๊กที่ใส่ขวดน้ำพลาสติกเช่นเดียวกัน


นวัตกรรมชนิดอื่นๆ จากฝีมือคนไทย

นอกจากเสื้อชูชีพทำจากขวดพลาสติกแล้ว ยังมีสิ่งประดิษฐ์อื่นๆที่น่าสนใจอีกสองชิ้น ได้แก่

- เรือจากวัสดุเหลือใช้ ฝีมือนักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นำโดย นายทวิช จิตรสมบูรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ประดิษฐ์คิดค้นเรือท้องแบนจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อนำไปใช้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

โดยเรือดังกล่าวจะใช้วัสดุอุปกรณ์เพียง 6 อย่าง ประกอบด้วย เหล็กเส้นความยาว 1.5 เมตร ผ้าใบคลุมสินค้ากว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ลวดขนาดเล็ก ยางในรถจักรยานยนต์ เชือก และ ไม้อัด

ส่วนวิธีการทำเรือจะนำเหล็กเส้นมาเชื่อมต่อเป็นโครง ก่อนใช้ยางในรถที่ตัดเป็นเส้นมาผูกยึดเหล็กให้ติดกัน จากนั้นนำผ้าใบมาผูกด้วยเชือกยึดติดกับโครงเรือและนำไม้อัดมาปูเป็นที่นั่งก็เป็นอันเสร็จสิ้น โดยใช้เวลาต่อเรือเพียง 2 ช.ม. และใช้งบประมาณ 2,000 บาทเท่านั้น ซึ่งเรือดังกล่าวสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 3-4 คน และยังรองรับน้ำหนักสูงถึง 400 ก.ก.

- ถุงคลุมรถกันน้ำท่วม โดย นายสันติประชา ดอนชุม อาจารย์ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยการอาชีพวังสะพุง จ.เลย คิดค้นถุงคลุมรถกันน้ำขึ้น โดยวัสดุที่ใช้ทำถุงคลุมรถกันน้ำมาจากพลาสติกที่คล้ายกับเรือยาง ซึ่งจะมีความทนทานกว่าพลาสติกทั่วไป สามารถทนต่อการอยู่กับน้ำได้นานถึง 3 เดือน และจะไม่ฉีกขาดง่าย รวมทั้งสามารถกันน้ำได้ 100 เปอร์เซ็นต์

ทิ้งท้ายกันในเรื่องของการเตรียมความพร้อมให้กับครอบครัวและตัวบ้าน หากต้องเผชิญกับภาวะน้ำท่วมแน่ๆ อันดับแรกควรวางแผนเรื่องพื้นที่สูงสำหรับการอพยพหากจำเป็น และจัดเตรียมกระสอบทรายสำหรับกั้นน้ำในจำนวนที่พอเพียง

เก็บทรัพย์สินมีค่า เอกสารสำคัญให้ปลอดภัยและควรอยู่ในที่เดียวกัน จากนั้นสำรองอาหารแห้งตลอดจนน้ำดื่มและภาชนะเท่าที่สมควร และจัดยารักษาโรค ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนเสื้อชูชีพ หรือแพยาง นกหวีด ไฟฉาย อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น

สุดท้ายคือเมื่อน้ำมา ต้องตัดไฟในตัวบ้านทันทีเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากไฟดูดนั่นเอง


ญี่ปุ่นผุด'โนอาห์'ลูกบอลแกร่ง ช่วยหลบมหันตภัยดินไหว-สึนามิ

นอกจากนวัตกรรมทำมือในภาวะฉุกเฉินของไทยแล้ว ลองไปดูสิ่งประดิษฐ์ระดับมืออาชีพทำขายจริงของญี่ปุ่นกันบ้าง โดยเดลี่เมล์ รายงานว่าบริษัทวิศวกรรม "คอสโม เพาเวอร์" เมืองฮิราสึกะ ประเทศญี่ปุ่น เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ชื่อ "โนอาห์" ซึ่งอ้างว่าเป็นนวัตกรรมหลบภัยพิบัติฉุกเฉิน และตั้งชื่อตาม "เรือโนอาห์" ที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลว่าเป็นเรือที่ช่วยให้มนุษย์และสัตว์โลกบางส่วนมีชีวิตรอดอยู่ได้ในวันที่พระเจ้าทรงทำให้น้ำท่วมโลก เพื่อชำระบาปของมนุษย์

นายโชจิ ทานากะ ประธานคอสโมฯ ระบุว่า "โนอาห์" มีลักษณะคล้ายลูกเทนนิสขนาดยักษ์สีเหลือง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 ฟุต มีคุณสมบัติลอยน้ำได้ ติดตั้งกระจกและท่อรับอากาศจากภายนอก ผู้ใหญ่สามารถเข้าไปหลบภัยอยู่ได้ 4 คนพร้อมๆ กัน โครงสร้างทำจากไฟเบอร์กลาสเสริมแรงชนิดพิเศษ ซึ่งมีความแข็งแกร่งสูง ช่วยให้มนุษย์ที่หลบอยู่ข้างในรอดตายได้ถ้าต้องเผชิญกับมหันตภัยร้ายแรง อาทิ แผ่นดินไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลื่นยักษ์สึนามิ

บริษัทคอสโมเปิดตัว "โนอาห์" เป็นครั้งแรกช่วงต้นเดือนก.ย.2554 ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันทางบริษัทอ้างว่ามีคำสั่งซื้อ "โนอาห์" เข้ามาถึง 600 ลูก นำส่งลูกค้าไปแล้ว 2 ลูก โดยนอกจากซื้อเก็บไว้ใช้ป้องกันพิบัติภัยแล้ว ยังซื้อเอาไว้ใช้เป็นเหมือน "บ้านของเล่น" สำหรับบุตรหลานได้อีกด้วย ราคาประมาณ 123,000 บาทต่อลูก



จาก ....................... ข่าวสด วันที่ 18 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
19-10-2011, 07:50
20 บัญญัติ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม

http://www.dailynews.co.th/content/images/1110/18/etc/hh18102011.jpg

การติดตามข่าวสถานการณ์น้ำท่วม ส่งผลให้ผู้รับข่าวสารเกิดความรู้สึกทุกข์ เพราะต้องลุ้นด้วยความระทึกว่า ที่อยู่อาศัยของตนจะถูกน้ำท่วมหรือไม่ การเตรียมบ้านให้พร้อมรับภัยน้ำที่อาจมาถึงจึงเป็นวิธีที่ช่วยลดความทุกข์ลงได้ ซึ่ง 'ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์' สถาปนิกคนดัง แนะนำ “บัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม” ดังต่อไปนี้

บัญญัติข้อ

1.ดูทางน้ำที่จะมาสู่บ้านเรา แล้วจะไปทางไหนได้บ้าง ขอให้คิดว่าเราเหมือนกำลังตั้งค่ายคูประตูหอรบอยู่ เราต้องรู้ว่าข้าศึกจะเข้ามาโจมตีเราทางทิศใดได้บ้าง แล้วเริ่มวางแผนที่จะ “หยุดน้ำ หยุดข้าศึกที่จะเข้ามาโจมตีเรา” มีหลายวิธีที่ต้องจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการ “สร้างเขื่อนชั่วคราว” ด้วยกระสอบทราย หรือเอาแผ่นวัสดุใดๆมากั้น

2.กำแพงบ้านไว้กันน้ำได้ แต่ต้องระวังรั้วพังนะครับ ทางป้องกันที่ง่ายที่สุดก็คือ เราหากระสอบทรายมาวางไว้อีกด้านหนึ่งของรั้วบ้านเรา (ในบ้านเรา) วางไว้ติดชิดกับรั้วไปเลย เพื่อช่วยรับน้ำหนัก ถ่ายแรงจากรั้วมา

3.น่าจะมี “ปืน” ไว้สู้ฝน สู้น้ำท่วม จัดการกับ “รูรั่ว” บ้านหลายหลังที่มีรู มีรอยแตกเล็กๆตามผนังหรือช่องหน้าต่าง ดังนั้น เราก็น่าจะมีวัสดุอุดประสานรอยจำพวก ซิลิโคน หรือ อะคริลิค หรือ โพลี่ยูริเทน เอาไว้ ซึ่งเราน่าจะทำได้ด้วยตัวเอง แต่การที่เราจะใช้วัสดุ ประสานที่มีความยืดหยุ่นและอยู่ในหลอดแข็งๆนี้ได้ เราจะต้องมีอุปกรณ์การ "ฉีด" ซึ่งภาษาช่างทั่วไปเขาเรียกกันว่า "ปืน" ซึ่งราคาไม่แพงเลยครับ

4.อย่าให้ต้นไม้ล้มทับบ้าน ยามน้ำท่วมและพายุมา เมื่อน้ำท่วม ระดับน้ำใต้ดินจะสูงมาก (หรือน้ำท่วมเข้ามาได้จริงๆ) รากของต้นไม้จะแช่น้ำเป็นเวลานาน รากต้นไม้จะเน่าได้ แล้วความสามารถในการยึดเกาะกับดินก็จะน้อยลง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ใหญ่ที่ไม่มีรากแก้ว) ต้นไม้ก็อาจจะล้มลงได้ ต้องทำการค้ำยันลำต้นเอาไว้ให้ดี ก่อนน้ำจะท่วมครับ ซึ่งตอนที่น้ำท่วมห้ามให้ปุ๋ยต้นไม้ครับ เพราะจะทำให้รากเน่าเร็วขึ้น (ต้นไม้ที่โดนน้ำท่วมก็เหมือนคนป่วย เขาไม่ต้องการอาหารดีๆ (แต่ย่อยยาก) ครับ ขอให้หายป่วยเสียก่อนค่อยกินอาหารดีๆเยอะๆได้ครับ)

5.ตรวจสอบถังน้ำใต้ดิน(ถ้ามี) ต้องตรวจสอบ “ฝา” ของถังน้ำให้ดีๆ เพราะเวลาน้ำท่วม ถังน้ำจะอยู่ใต้น้ำด้วย หากฝาของถังน้ำมีระบบป้องกันน้ำเข้าไม่ดี น้ำสกปรกที่ท่วมเข้ามา ก็จะไปปนกับน้ำสะอาดในถังน้ำของเรา หากเราไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องน้ำเล็ดลอดเข้ามาในถังของเราได้ ก็ขอให้ต่อท่อน้ำตรงจากท่อประปาหน้าบ้านเรา เข้ามาที่ตัวบ้านของเราเลย (โดยปกติแล้ว บ้านที่มีถังน้ำใต้ดินจะมีวาล์วหมุนเปิดทางให้น้ำประปาจากหน้าบ้านเรา วิ่งผ่านตรงเข้ามาในบ้านโดยไม่ลงไปที่ถังน้ำใต้ดินได้ ต้องหาวาล์วตัวนี้ให้เจอ แล้วต่อตรงเข้ามาเลยดีกว่า น้ำจะเบาลงหน่อย แต่ก็ยังเป็นน้ำสะอาดครับ)

6.ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้านอกบ้าน-ตัดกระแสไฟเสีย โดยภายนอกบ้านของเราจะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่าง เช่น ปั๊มน้ำ เครื่องปรับอากาศ หรือแม้กระทั่งไฟสนาม และกริ่งหน้าบ้าน ต้องหาสวิตซ์ตัดไฟให้พบว่า จะต้องตัดไฟตรงไหนไม่ให้ไฟฟ้าวิ่งเข้าไปที่อุปกรณ์เหล่านั้นได้ ยามเมื่อน้ำท่วมเข้ามา ต้องทำการตัดไฟตรงนั้นเสีย ส่วนการย้ายเครื่องมือย้ายอุปกรณ์เหล่านั้นในตอนนี้ หากแน่ใจว่าน้ำท่วมแน่ และมีช่างมาช่วยย้าย ก็อาจจะย้ายได้

7.ป้องกัน งู เงี้ยว เขี้ยว ขอ ตะกวด และสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ ดังนั้นเราต้องมั่นใจว่า “รู” ต่างๆของบ้านเราจะต้องโดน “อุด” เอาไว้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “รูจากท่อระบายน้ำ” ที่พื้นบ้านของเรา บางท่านอาจจะมีการโรย “ปูนขาว” ล้อมรอบบ้านเอาไว้ด้วยก็ได้ (แต่ต้องมั่นใจว่าโรยรอบบ้านจริงๆ และ ไม่ถูกน้ำท่วม หรือถูกฝนชะล้างจนหายไปหมดครับ) เพราะปูนขาวจะกันสัตว์เหล่านี้ได้ครับ นอกจากนี้ก็น่าจะเตรียมยาฉีดกันแมลงติดไว้ด้วย

8.เรื่องส้วม ส้วมที่เป็นระบบบ่อเกรอะ บ่อซึมแบบเดิม พอน้ำท่วม ส้วมก็จะเกิดอาการ “อืด และ ราดไม่ลง” หากน้ำจากภายนอกท่วมมาก มีแรงดันมาก ก็อาจจะเกิดอาการ “ระเบิด” ทำให้สิ่งปฏิกูลต่างๆพุ่งกลับมาที่โถส้วม กรณีนี้ต้องป้องกัน โดยปิดโถส้วมให้ดี หากเป็นโถส้วมนั่งราบที่มีฝาปิด ก็ต้องปิดฝาให้แน่น เอาเชือกผูกเอาไว้ กรณีที่เป็นบ่อบำบัดสำเร็จ ในเวลาปกติเขาจะบำบัดจนเสร็จภายในถังเอง แล้วก็จะระบายน้ำที่บำบัดเสร็จแล้วลงท่อระบายน้ำนอกบ้านของเรา ยามน้ำท่วม น้ำจากบ่อบำบัดจะไหลระบายออกไปไม่ได้ เพราะระดับน้ำที่ท่วมอยู่สูงกว่าบ่อบำบัด ซึ่งเป็นการแก้อะไรไม่ได้ ต้องปล่อยไว้อย่างนั้นครับ ถังบำบัดสำเร็จบางรุ่นจะมีมอเตอร์อัดอากาศเข้าไป (ซึ่งในบ้านส่วนใหญ่จะไม่ใช้รุ่นนี้) ก็ต้องตรวจดูว่ามอเตอร์อยู่ที่ไหน หากมอเตอร์น่าจะอยู่ในระดับที่น้ำท่วมถึง ก็ต้องตัดกระแสไฟไม่ให้เข้าไปสู่ตัวเครื่องกล

ทั้งนี้สิ่งที่ต้องระวังก็คือ “ท่อหายใจ” ที่เป็นท่อระบายอากาศของระบบส้วมของเรา หากท่อหายใจของเราอยู่ระดับต่ำ ก็ต้อง “ต่อท่อ” ให้มีระดับสูงขึ้นให้ได้ จะต่อแบบถาวรก็ได้หรือจะต่อแบบท่อไม่ถาวร ก็คือเอาสายยางธรรมดา มาครอบท่อหายใจเดิม แล้วก็ยกให้ปลายท่อนั้นอยู่สูงขึ้นกว่าระดับน้ำที่คาดหมายว่าจะท่วม ท่อหายใจนี้จะเป็นอุปกรณ์สำคัญมากในการช่วยระบายความดันภายในระบบส้วมของเรา ไม่ให้สิ่งปฏิกูลมีแรงดันมากเกินไปครับ

9.ปลั๊กไฟ สวิตซ์ไฟ ตรวจสอบและแยกวงจร เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด หากบ้านของเรามีการแยกวงจรไฟฟ้าไว้ตั้งแต่แรก คือวงจรไฟฟ้านอกบ้าน วงจรไฟฟ้าชั้นล่าง และวงจรไฟฟ้าชั้นบน ก็ต้องปิดวงจรไฟฟ้านอกบ้านเมื่อน้ำท่วมนอกบ้าน หากน้ำสูงขึ้นมาจนเข้าในตัวบ้าน ก็ต้องปิดวงจรไฟฟ้าชั้นล่าง หากน้ำสูงขึ้นถึงชั้นสอง น่าจะหาทางออกจากบ้านเพื่อย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว เพราะสวิตซ์หลักของบ้านโดยทั่วไปจะอยู่ที่ชั้นล่างระดับประมาณ 1.8 เมตรจากพื้นห้องครับ กรณีที่บ้านไหนโชคดี วงจรไฟฟ้าชั้นล่างแยกวงจรออกมาเป็นระดับปลั๊กด้านล่างและระดับสวิตซ์บน ก็ค่อยๆ ตัดวงจรปลั๊กชุดล่างก่อนตามระดับน้ำที่ท่วมขึ้นมา

10.ตรวจสอบว่าประตูหน้าต่างแน่นหนาและแข็งแรง เพราะประตูและหน้าต่าง เป็นจุดหนึ่งที่ถือว่ามีความอ่อนแอมากที่สุด มีโอกาสที่จะบิด หรือเผยอตัว หรืออาจจะหลุดออกมาทั้งบาน หากมีแรงดันน้ำมากๆ ดันเข้ามา หากหนักหนาจริงๆ ให้เอาของหนักมาวางช่วยดันประตูไว้

11.เตรียมระบบสื่อสารทุกประเภทเอาไว้ให้พร้อม ระบบสื่อสารทุกอย่างที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นระบบโทรศัพท์ปกติหรือโทรศัพท์มือถือ ระบบอินเตอร์เน็ตทั้งมีสายและไร้สาย วิทยุ โทรทัศน์ หรือ อุปกรณ์สื่อสารพิเศษอย่างอื่น (เช่นระบบดาวเทียม วอร์คกี้ทอร์คกี้ เป็นต้น) เพราะการรับข่าวสาร และการติดตามข่าวสารเรื่องภัยน้ำท่วมที่จะมาถึงตัวเราเป็นเรื่องสำคัญ

12.ชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่างเตรียมพร้อม 24 ชั่วโมง เพราะมีความจำเป็นยามเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น ไฟฉาย วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ มือถือ หรือแม้กระทั่งกล้องถ่ายภาพ ฯลฯ ยามน้ำท่วม ระบบไฟฟ้าทั้งหมดอาจติดขัดครับ และการใช้อุปกรณ์เหล่านั้นเมื่อไฟฟ้าปกติไม่มา จะต้องประหยัดไฟด้วย เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์เหล่านั้นจะทำงานได้เต็มที่ยามฉุกเฉิน

13.ย้ายของทุกอย่างให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม ตั้งแต่รถยนต์ ถังกาซ เฟอร์นิเจอร์ หนังสือ ของขวัญ รูปภาพ ฯลฯ มีข้อมูลว่า เมื่อน้ำท่วม หลายคนเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากการ “ห่วงของ” ต้องลุยน้ำกลับไปกลับมาเพื่อขนของออกจากบ้าน และหลายครั้งที่ขนของออกมาแล้ว แต่ไม่มีที่วาง ก็จำต้องวางไว้ในที่ที่ไม่ปลอดภัย ปรากฏว่าของที่อุตส่าห์ขนออกมาด้วยความเสียดายหรือความผูกพันนั้น ถูกผู้ชั่วร้ายใจทรามขโมยต่อเอาไปอีกด้วย แต่ของที่เราจะย้ายนั้น ไม่ได้หมายความว่าเป็นของทุกอย่างไปเลย เลือกเฉพาะที่เราคิดว่าต้องย้ายเท่านั้น ของบางอย่างที่แช่น้ำได้ไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องขนย้ายก็ได้

14.ใช้พลาสติกซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่กลัวน้ำให้เป็นประโยชน์ เช่นถังน้ำพลาสติก ท่อพลาสติก กระดานพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ้าหรือแผ่นพลาสติก ที่เราจะเอาไว้ใช้หุ้มอุปกรณ์หรือส่วนต่างๆของบ้านเรา ตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ หนังสือ ฯลฯ แม้กระทั่งการหุ้มป้องกันตัวเรา และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ “ห่วงยาง” ครับ

15.เตรียมอาหาร น้ำดื่ม และยาให้พร้อม ประมาณ 3 วัน ยาหลักๆก็คือ ยาแก้ปวด ยากแก้ไข้ ยาแก้ท้องเสีย ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า ยาล้างแผล ยาแก้แพ้ ยากันแมลงและยาของโรคประจำตัวของทุกคน

16.บ้านชั้นเดียว ต้องตรวจสอบหลังคาด้วย น้ำอาจจะท่วมชั้นล่างของบ้านอย่างรวดเร็ว หลังคาหรือส่วนของหลังคาจึงเป็นพื้นที่หลบภัยได้ชั่วคราวพื้นที่หนึ่ง เราจึงต้องตรวจสอบทางหนีทีไล่ของเรา กรณีที่เราต้องขึ้นไปหนีภัยบนหลังคา ซึ่งเราอาจจะขึ้นไปทางฝ้าเพดานของเรา (กรุณาอย่าลืมตัดวงจรไฟฟ้าที่บ้านทั้งหมดก่อนจะขึ้นไปบนฝ้าเพดานสู่หลังคานะครับ)

17.ระวังโจร อย่าเก็บของมีค่าเอาไว้ในบ้านของเรา เอาไปฝากที่อื่นก่อนดีกว่า

18.เพื่อนบ้าน ต้องร่วมด้วยช่วยกัน ในกรณีนี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องของการต่อสู้ป้องกันโจรประการเดียว แต่หมายถึงในทุกๆกรณี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เรา “ขอความช่วยเหลือ” หรือเพื่อนบ้านขอความช่วยเหลือจากเรา

19.เตรียมทางหนีทีไล่เพื่อออกจากบ้าน อย่าคิดเพียงทางหนีออกจากบ้าน แต่ต้องคิดให้จบว่าหนีออกไปแล้ว จะหนีด้วยอะไร มีเรือหรือห่วงยางหรือไม่ มีเชือกสาวตัวเองหรือไม่ จะพกอะไรติดตัวไปบ้าง และจะมุ่งหน้าไปทางทิศใด มุ่งหน้าไปไหน พักที่ใด

และสุดท้าย 20.ตั้งจิตให้มั่น ตอนนี้ “สติ” สำคัญที่สุด อย่าเสียเวลากับการเกรี้ยวโกรธ อย่าเพิ่งด่าอะไรใคร อย่าโทษฟ้าดิน โดยให้เตรียมการอย่างเป็นระบบ เราต้องรับรู้ข่าวสารต่างๆอย่างทันต่อเหตุการณ์จากคนที่เชื่อถือได้ เช่น http://www.thaiflood.com/ หรือ http://flood.gistda.or.th/ เป็นต้น.




จาก ........................ เดลินิวส์ วันที่ 18 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
19-10-2011, 07:56
''สุขอนามัยช่วงน้ำท่วม'' รอบรู้ป้องกันก่อนเรื้อรัง

http://www.dailynews.co.th/content/images/1110/19/newspaper/p4thurl.jpg

จากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในหลายพื้นที่ การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องจำเป็นโดยเฉพาะอาหารการกิน ที่อาจมีผลร้ายระยะยาวต่อผู้ประสบภัยเอง เช่นเดียวกับสุขภาพที่อาจมีผลเรื้อรังต่อไปในอนาคตด้วยเช่นกัน

ดร.นพ.เกริกยศ ชลายนเดชะ ผู้อำนวยการแพทย์อาวุโส (กลุ่มการแพทย์ 1) รพ.พญาไท 1 กล่าวว่า การดูแลสุขภาพร่างกายของผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งอาจส่งผลทางร่างกายให้เกิด โรคผิวหนัง เช่น อาการแพ้, เชื้อราผิวหนัง และโรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเเป็นผลมาจากการทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ

ขณะที่ผลทางด้านจิตใจเป็นอีกส่วนที่น่าห่วงไม่แพ้กัน เพราะหลายคนมีความวิตกกังวลและหวาดกลัวกับระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องพยายามทำความเข้าใจเพื่อสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน

สำหรับการเลือกทานอาหารสด อย่าง หมู ควรดูเนื้อที่เป็นสีชมพู ไม่มีกลิ่นเหม็น พอกดดูเนื้อแล้วจะไม่บุ๋มลงไป เช่นเดียวกับเนื้อวัวที่กดลงไปแล้วไม่บุ๋ม ส่วนปลาให้ดูเหงือกสีชมพู ด้านเนื้อไก่ต้องไม่มีรอยเป็นจ้ำบนผิวเนื้อ

อาหารกระป๋องที่เก็บไว้หรือได้รับการช่วยเหลือต้องตรวจสอบว่ามีฉลากบริเวณกระป๋องติดไว้หรือไม่ รวมถึงต้องมีฉลากบอกวันผลิตและวันหมดอายุที่ชัดเจน กระป๋องต้องไม่มีรอยบุบ และเมื่อเปิดกระป๋องออกมาต้องไม่มีแรงลมออกมาด้วย เพราะถ้าอาหารกระป๋องมีปัญหาอย่างที่กล่าวมาอาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพควรหลีกเลี่ยงรับประทาน

ในส่วนของน้ำที่จะนำมาใช้ล้างภาชนะต้องใช้สารส้มแกว่งก่อนนำมาใช้ เมื่อตกตะกอนจึงนำส่วนที่เป็นน้ำใสมาใช้ได้ หรือนำน้ำจากแหล่งน้ำมาใส่ไว้ในภาชนะเพื่อให้ตกตะกอนก่อนแล้วตักน้ำส่วนบนมาใช้ แต่ถ้าหากจะใช้น้ำไปดื่มกินต้องใช้สารส้มแกว่งจนตกตะกอนแล้วตักน้ำส่วนที่เป็นน้ำใสไปต้มจนเดือดแล้วจึงนำมาดื่มได้

เสื้อผ้าของผู้ประสบภัยเป็นอีกส่วนที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมากในเด็กและคนชรา เพราะจะทำให้เกิดโรคผิวหนังและเชื้อราได้ ถ้าไม่มีผงซักฟอกในการซักให้ผึ่งแดดเพื่อฆ่าเชื้อ อย่างน้อยๆ จะช่วยให้ปัญหาเชื้อราต่างๆลดลง

อาการที่เกิดจากการทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพจะมีอาการท้องเสียเนื่องจากอาหารเป็นพิษ โดยสามารถทำน้ำเกลือแร่ขึ้นเองในภาวะฉุกเฉินได้ โดยนำน้ำอัดลมมาผสมกับเกลือและดื่มแทนได้ หรือนำน้ำสะอาดมาใส่ในขวดขนาด 750 ซีซี ใส่น้ำตาลลงไป 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับเกลืออีกครึ่งช้อนชาแล้วทำให้เข้ากันจะได้น้ำเกลือแร่แบบง่าย ๆ ในภาวะฉุกเฉิน

มือเป็นพาหะที่สำคัญซึ่งต้องระวังอย่างมาก โดยก่อนจะหยิบอาหารกินทุกครั้งต้องล้างมือด้วยน้ำสะอาดก่อนทุกครั้ง เพื่อฆ่าเชื้อที่อาจปนเปื้อนมากับมือและเข้าสู่ร่างกายส่งผลให้ระบบทางเดินอาหารมีปัญหา

“สิ่งที่ต้องระวังคือเด็กและคนชราที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษเนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้มีภูมิต้านทานที่อ่อน ดังนั้นเรื่องอาหารการกินและเสื้อผ้าควรให้ความสำคัญอย่างมากเช่นกัน”

อนาคตการดูแลเรื่องอาหารและสุขภาพร่างกายเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งปัญหาน้ำท่วมครั้งนี้น่าจะทำให้รัฐมีการเตรียมแผนรองรับด้านอาหารและการรักษาพยาบาลในอนาคตหากมีเหตุน้ำท่วมใหญ่เหมือนครั้งนี้อีก

สุรนุช ธงศิลา กรรมการและผู้จัดการ มูลนิธิเอสซีจี ธนศักดิ์ สาคริกานนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท สยามซานิทารีแวร์ จำกัด และ มงคล ลีกำเนิดไทย ผู้จัดการ Solution Technology Development บริษัท สยามซานิทารีแวร์ จำกัด เล่าว่า เมื่อปีที่ผ่านมาที่เกิดอุทกภัยได้ผลิต สุขากระดาษ เพียงอย่างเดียวเพราะถึงแม้น้ำจะท่วมกินพื้นที่กว้างแต่ไม่นาน จึงไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง แต่ครั้งนี้ความเดือดร้อนรุนแรงมากและสุขากระดาษก็เหมาะสำหรับการใช้ในครัวเรือนที่ยังพอมีสถานที่มิดชิด แต่ครั้งนี้เมื่อเดือดร้อนมากๆ มีการนำผู้ประสบภัยอพยพมาอยู่รวมกัน ทำให้สุขากระดาษไม่เพียงพอ จึงเกิดไอเดีย “สุขาลอยน้ำ” ขึ้นมาและคิดว่าน่าจะเหมาะสมกว่า

จริงๆแล้ว สุขาลอยน้ำไม่ใช่ไอเดียใหม่ เพราะมีการทำกันออกมาเยอะ แต่ที่ผ่านมาเป็นการทำเฉพาะกิจทุกคนทำออกมาให้ลอยน้ำได้ซึ่งคิดว่าเป็นไอเดียที่ดี เช่น มีการนำถังน้ำมันมาประกอบให้ลอยน้ำได้ รวมทั้งนำสังกะสีมาล้อม และมีส้วมอยู่ด้านในเจาะรูแล้วถ่ายสิ่งปฏิกูลก็ลงไปในน้ำ ซึ่งเราต้องการมาตรฐานในเรื่องของสุขลักษณะและสุขอนามัย รวมทั้งความปลอดภัย ทำให้สุขาลอยน้ำที่เราทำขึ้นมาแตกต่างจากของหน่วยงานอื่น คือเรามีถังบำบัด เพราะสุขาลอยน้ำที่ทำกันส่วนใหญ่ไม่มีหรือถ้ามีก็เป็นถังเก็บปฏิกูล เมื่อเต็มก็ต้องเปลี่ยนหรือดูดออก แต่ของเราเป็นถังบำบัดที่เมื่อมีสิ่งปฏิกูลลงไปในถังจะมีจุลินทรีย์ในการย่อยสลายสิ่งปฏิกูล เมื่อย่อยสลายเสร็จแล้วสิ่งที่ปล่อยออกมาจากถังบำบัดจะได้มาตรฐานเหมือนกับถังบำบัดในบ้านเรือน

การออกแบบสุขาลอยน้ำนี้เราคิดว่าทำอย่างไรให้สามารถช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้เร็วที่สุด จึงคิดที่จะนำสินค้าทุกตัวของเอสซีจีมาประกอบกันให้เป็นห้องน้ำและมีการบ้านที่ต้องคิดคือต้องเป็นส้วมลอยน้ำที่ถูกสุขลักษณะ โล่ง ปลอดภัย โดยสิ่งสำคัญอยู่ที่ว่าทำอย่างไรให้ลอยได้และเป็นถังบำบัดของเสียได้ด้วย จึงพบว่าถังน้ำขนาด 700 ลิตร สามารถดัดแปลงเป็นทุ่นลอยและเป็นถังบำบัดได้ด้วย การทำคือนำถังน้ำขนาด 700 ลิตร มาติดตั้งกับโครงเหล็กข้างละ 2 ถัง รวมเป็น 4 ถัง จึงมีทุ่นลอยทั้งหมด 4 ใบ เกิดแรงลอยตัวได้ถึง 2,800 กิโลกรัม สามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 8 คน จากนั้นออกแบบสุขาลอยน้ำให้มีขนาดความกว้าง 2.40 เมตร ยาว 3.60 เมตร สูง 3.20 เมตร และมี 2 แบบคือ นั่งราบและนั่งยอง ซึ่งชาวบ้านจะคุ้นเคยทั้ง 2 แบบโดยใช้น้ำราดเหมือนกัน สาเหตุที่ทำ 2 แบบ เพราะผู้สูงอายุเวลาใช้แบบนั่งยองนานๆ อาจจะนั่งไม่ไหว ถ้าใช้แบบนั่งราบจะสะดวกกว่า แต่บางคนที่ทนไหวก็สามารถนั่งได้ และถ้าทำแบบนั่งราบอย่างเดียวบางคนอาจจะไม่คุ้นเคยก็จะทำให้ปีนขึ้นไปนั่งยองบนโถอาจเป็นอันตรายได้ จึงทำ 2 แบบให้เลือกตามความสะดวก

อย่างไรก็ตามเรื่องเล็กๆน้อยๆ เราก็ไม่มองข้าม เช่น หลังคาที่ใช้เป็นหลังคาโปร่งแสง ในเวลากลางวันไม่ต้องมีไฟฟ้าก็ใช้ได้ และติดตั้งแผงระบายอากาศด้านข้าง แสงแดดสามารถเข้าได้ช่วยในการฆ่าเชื้อโรคและมีที่จับด้านในห้องน้ำและรอบๆทางเดินด้านนอกด้วย เพราะห้องสุขาลอยอยู่ในน้ำอาจมีโยกเยกบ้าง ผู้สูงอายุจะได้จับเพื่อความปลอดภัย เมื่อได้ตรงนี้แล้วเรามาคิดว่าถ้าคนเข้าห้องน้ำก็ต้องมีน้ำราด จึงคิดทำระบบน้ำด้วยการทำปั๊มมือเพื่อปั๊มน้ำที่ท่วมด้านล่างเข้ามาใส่ถังที่เราเตรียมไว้ให้ในห้องน้ำแล้วตักราด ซึ่งจะเหมือนก๊อกน้ำทั่วไปแต่ใช้มือปั๊ม โดยสุขาลอยน้ำนี้สามารถช่วยลดโรคระบาดได้ เพราะโรคระบาดส่วนใหญ่มากับการขับถ่าย ทางกระทรวงสาธารณสุขห่วงใยมาก เพราะเมื่อน้ำเริ่มนิ่งถ้าขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทางโรคระบาดก็จะตามมาได้

ทางมูลนิธิฯ จะผลิตสุขาลอยน้ำประมาณ 150 ชุด มอบให้ผ่านทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ดูแลจำนวน 100 ชุด เนื่องจากทาง ปภ.มีเครื่องมือในการดูแลรักษาและมีเกือบทุกจังหวัด เพราะเมื่อน้ำลดจะได้นำสุขามาทำความสะอาดและสามารถใช้งานบนพื้นดินต่อหรือจะเก็บไว้ใช้เมื่อเกิดอุทกภัยครั้งต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม หากผู้ประสบภัยมีความต้องการสุขากระดาษหรือสุขาลอยน้ำ สามารถแจ้งความจำนงผ่านมูลนิธิฯ ได้โดยส่งแฟกซ์มาที่เบอร์ 0-2586-3910 พร้อมระบุจำนวน ชื่อผู้ติดต่อ สถานที่ที่ได้รับความเดือดร้อน และประสานงานต่อที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2586-5506

เพราะเราคนไทยย่อมไม่ทิ้งกัน.


เตือนภัยเล่นน้ำท่วมขังระวังเป็นตาแดง

พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานควรระมัดระวังอย่าปล่อยให้เล่นน้ำในที่น้ำท่วมขังเพราะเป็นน้ำสกปรก โดย นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ความรู้ว่า โรคตาแดงเป็นโรคที่พบมากในช่วงน้ำท่วม ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับน้ำ จากการลงเล่นน้ำ น้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา การใช้น้ำที่ไม่สะอาดล้างหน้า การใช้มือ แขน เสื้อผ้าที่สกปรกขยี้ตาหรือเช็ดตา อย่างไรก็ตามโรคนี้อาการไม่รุนแรง หลังจากติดเชื้อภายใน 2-14 วัน จะมีอาการเคืองตา คันตา ตาแดง น้ำตาไหล มีขี้ตามาก มักเริ่มจากตาข้างหนึ่งก่อน แล้วลามไปยังตาอีกข้างหนึ่งภายใน 2-3 วัน

นอกจากนี้โรคตาแดงสามารถติดต่อกันได้ง่ายมาก จากการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม สำหรับการป้องกันโรคมีข้อแนะนำดังนี้
1. ถ้ามีน้ำสกปรกเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที
2. หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ห้ามใช้มือขยี้ตา
3. รักษาความสะอาดเสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัว สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด
4. เมื่อเป็นหรือสงสัยว่าอาจเป็นโรคตาแดง ควรไปพบแพทย์ที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาตั้งแต่แรก

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคตาแดงแล้ว ควรปฏิบัติตัวดังนี้ ให้ใช้กระดาษนุ่มๆ ซับน้ำตาหรือใช้สำลีชุบน้ำสะอาดเช็ดขี้ตาและบริเวณเปลือกตาแล้วทิ้งในถังขยะที่มิดชิด ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดหน้าเช็ดน้ำตา เนื่องจากเชื้อจะสะสมที่ผ้าเช็ดหน้า และติดต่อไปยังผู้อื่นได้ ไม่ควรใช้ผ้าปิดตาเพราะจะยิ่งทำให้เกิดการติดเชื้อมากขึ้น งดใส่คอนแทคเลนส์จนกว่าตาจะหายอักเสบ ใส่แว่นกันแดดเพื่อลดการระคายเคืองแสง ควรนอนแยกจากสมาชิกในครอบครัว และไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นเพื่อป้องกันการระบาด

สิ่งสำคัญคือ หมั่นล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ เนื่องจากเชื้อไวรัสติดต่อโดยการสัมผัสมากที่สุด การล้างมือจะช่วยตัดการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างดี ทั้งนี้หากมีอาการปวดตารุนแรง ตาพร่ามัว หรืออาการตาแดงไม่ทุเลาภายใน 7 วัน ขอให้ไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อรับการรักษา หรือ หากเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถโทรฯ สายด่วน 1669 เพื่อรับความช่วยเหลือ.

“น้ำที่จะนำมาใช้ล้างภาชนะต้องใช้สารส้มแกว่งก่อนนำมาใช้ เมื่อตกตะกอนจึงนำส่วนที่เป็นน้ำใสมาใช้ได้ หรือนำน้ำจากแหล่งน้ำมาใส่ไว้ในภาชนะเพื่อให้ตกตะกอนก่อนแล้วตักน้ำส่วนบนมาใช้ แต่ถ้าหากจะใช้น้ำไปดื่มกินต้องใช้สารส้มแกว่งจนตกตะกอนแล้วตักน้ำส่วนที่เป็นน้ำใสไปต้มจนเดือดแล้วจึงนำมาดื่มได้”




จาก ........................ เดลินิวส์ วันที่ 18 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
19-10-2011, 08:00
สอนลูกให้รู้จักพวกฉกฉวยสถานการณ์จากน้ำท่วม ........................... โดย สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

http://pics.manager.co.th/Images/554000014003501.JPEG

สถานการณ์ช่วงนี้ไม่ชวนให้ผู้คนอยากทำอะไร เพราะจิตใจหดหู่ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารของผู้ประสบอุทกภัยที่พบเห็นอยู่ทุกวี่วัน มีผู้คนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนเพิ่มขึ้นทุกขณะ ภาพความเดือดร้อนของผู้คนที่ต้องอพยพ วิตกกังวล ทุกข์ร้อน หรือบางคนต้องสิ้นเนื้อประดาตัวก็มีไม่น้อย

แต่ท่ามกลางความเดือดร้อน เราก็ยังเห็นน้ำใจของผู้คนมากมายที่อาสาสมัครหลั่งไหลจากทุกสารทิศ และพยายามหาทางช่วยเหลือผู้คนในหลากหลายพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยจากผู้คนในหน่วยงาน องค์กร และหลายภาคส่วน ซึ่งมักเกิดขึ้นทุกครั้งที่บ้านเมืองของเราประสบเหตุเภทภัยอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ นั่นคือความสวยงามของนิสัยคนไทยที่ไม่เคยทอดทิ้งกัน

อย่างไรก็ดี เหรียญมีสองด้าน เรามีคนที่มีน้ำใจมากมาย แต่เราก็พบเห็นผู้คนไม่ดีก็มีจำนวนไม่น้อย ที่ฉกฉวยสถานการณ์จากความเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

ข่าวคราวที่เกิดขึ้นทั้งจากภาพข่าว และจากคนที่รู้จักพบว่ามีหลายพื้นที่ที่ความช่วยเหลือเข้าไปไม่ถึง เพราะอยู่ห่างไกลและยากต่อการเข้าถึง ทำให้มีผู้คนแย่ๆ ที่ฉกฉวยสถานการณ์ในการเข้าไปเสนอตัวช่วยเหลือด้วยการคิดเงินราคาแพง เช่น กรณีที่มีคนต้องการใช้เรือเพื่อออกจากบ้านเพราะไม่สามารถสัญจรได้ และความช่วยเหลือเข้าไปไม่ถึง เลยมีความจำเป็นต้องใช้เรือเดินทาง และต้องจ้างเรือรับจ้าง ปรากฏว่าผู้รับจ้างก็คิดราคาค่าจ้างสูงถึงหลักพันบาท เพราะรู้ว่าอย่างไรคนเหล่านั้นไม่มีทางเลือก ต้องใช้บริการอยู่ดี

"ทำไมคนเหล่านั้นถึงทำอย่างนี้ล่ะครับ ทั้งที่คนเขากำลังเดือดร้อน"

คำถามของลูกชายที่ดิฉันก็สะอึกเหมือนกัน เพราะเป็นเช่นนั้นจริงๆ เป็นการซ้ำเติมผู้เดือดร้อนหนักเข้าไปอีก ไม่รู้ว่าคนเหล่านั้นจิตใจทำด้วยอะไร

ตามมาด้วยหัวขโมยจำนวนมากที่ผู้คนต้องอพยพหนีภัยน้ำท่วม แต่ตัวเองกลับเข้าไปขโมยทรัพย์สินของคนอื่น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาหนักใจอย่างยิ่ง และเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ผู้คนจำนวนมากไม่ยอมเคลื่อนย้ายตัวเองออกจากพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย

หรือแม้แต่สถานการณ์ล่าสุดที่ดิฉันไปซื้อของแล้วพบว่าสินค้าราคาสูงจนน่าตกใจ จนเกิดคำถามจากลูกชายอีกครั้งว่า

"ทำไมสินค้าถึงราคาแพงขึ้นล่ะครับ ก็ผู้คนกำลังเดือดร้อนอยู่ แล้วเขาจะมีเงินซื้อของได้อย่างไร"

และ…ก็ต้องอึ้งอีกครั้ง เพราะเป็นเรื่องจริงที่พวกเราคนไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์น้ำท่วมที่ยังคงสร้างความเสียหายอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินความเสียหายกันรายวัน แต่ความเสียหายที่ชัดเจนจะปรากฏอีกครั้งอย่างแท้จริงก็เมื่อหลังน้ำลด

จริงอยู่ราคาสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับความเสียหายจากน้ำท่วมต้องมีราคาสูงอย่างแน่นอนก็ยังพอเข้าใจได้ แต่ก็มีสินค้าอีกจำนวนมากที่ฉวยสถานการณ์ขึ้นราคาล่วงหน้าซ้ำเติมสถานการณ์เข้าไปอีก

ไหนๆลูกก็ตั้งคำถามแล้ว ก็น่าจะถือโอกาสตั้งคำถามให้กับลูกๆ หรือกระตุ้นให้ลูกตั้งคำถามในสถานการณ์เช่นนี้ก็ไม่เลวนะคะ และถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีกก็สอนลูกให้รู้ว่าท่ามกลางสถานการณ์น้ำท่วมก็มีทั้งคนดีและไม่ดีได้ด้วยเช่นกัน

http://pics.manager.co.th/Images/554000014003502.JPEG

สอนอะไรได้บ้าง ?

หนึ่ง สอนให้ลูกรู้จักการให้ การมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รวมไปถึงการสอนให้รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น จากข่าวผู้ประสบอุทกภัยสถานการณ์จริง อาจจะชี้ให้เห็นถึงผู้คนที่อาสาสมัครไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย เขาช่วยเหลือผู้อื่นชนิดที่ไม่หวังผลตอบแทน พ่อแม่ควรจะยกย่องคนเหล่านั้นให้ลูกฟังอย่างสม่ำเสมอ และอาจจะชักชวนให้ลูกร่วมเป็นอาสาสมัครด้วยก็ได้

สอง ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น อาจจะยกสถานการณ์ที่เห็นผู้คนฉกฉวยสถานการณ์และเอาเปรียบผู้อื่น ก็หยิบยกขึ้นมาพูดว่ามันไม่ดีอย่างไร และเป็นการซ้ำเติมผู้ที่เดือดร้อนขนาดไหน ถ้าเป็นเราเดือดร้อนจะทำอย่างไร

สาม สอนให้มีความซื่อสัตย์ ไม่หลอกลวง ทั้งกาย วาจา และใจ อาจยกตัวอย่างเรื่องราคาสินค้าที่พบว่าราคาแพงและไม่สมเหตุผล หรือกักตุนสินค้า หรือโก่งราคาสินค้า จะนำไปสู่อะไร ผู้คนจะยิ่งเดือดร้อนขนาดไหน และถ้าลูกเติบโตมาในครอบครัวค้าขาย ก็ไม่ควรมีพฤติกรรมเหล่านั้น ต้องฝึกไม่ให้ลูกเห็นความสำคัญของเงินมากกว่าจิตใจ

สี่ สอนให้มีอดทน ถ้าครอบครัวของคุณเป็นผู้ประสบภัยเสียเอง ก็ต้องฝึกให้ลูกมานะอดทนต่อความยากลำบาก ไม่ท้อถอยแม้มีปัญหามากมายเข้ามาในชีวิต ต้องรู้จักต่อสู้กับอุปสรรคที่เกิดขึ้นให้ได้ ที่สำคัญต้องถูกต้องชอบธรรมโดยไม่ทำร้ายผู้อื่น

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างของการฝึกให้ลูกมีธรรมประจำใจ เป็นคนดีต่อไปในอนาคต ในเมื่อเราต้องเจอะเจอทั้งคนดีและไม่ดี ก็ควรสอนให้ลูกมีภูมิคุ้มกันในชีวิตที่ดีในการแยกแยะได้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี รวมถึงใครเป็นคนดีและคนไม่ดี

และสุดท้าย ให้ลูกได้เลือกชีวิตที่จะเป็นคนดี




จาก ....................... ผู้จัดการออนไลน์ หมวด Life & Family วันที่ 19 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
21-10-2011, 06:30
อาหารปลอดภัยในช่วงน้ำท่วม


จาก .................. ไทยรัฐ วันที่ 21 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
21-10-2011, 06:34
แผ่นโฟม ช่วยรถยนต์รอดน้ำได้อย่างไร ? มาดู....


ได้รับ Forword Mail รวมถึง เห็นการเผยแพร่ต่างๆถึงวิธีการรับมือน้ำท่วมมากมาย จากทางเฟซบุ๊ก (Facebook) ที่มีการส่งต่อ เผยแพร่กันมากมาย ในโลกแห่งสังคมออนไลน์ คราวนี้ มติชนออนไลน์ จึงหยิบยกอีกหนึ่ง ภาพการแก้ไขรถจมน้ำ ด้วยแผ่นโฟม ซึ่งในข้อความดังกล่าว โดยผู้เขียนที่ ใช้ชื่อว่า "ป๋อ" ระบุว่า

" บางท่านก็คงจะได้เห็นผ่านตามาแล้ว สำหรับคนที่ยังไม่เคยเห็น ผมขอนำเสนอภาพการแก้ไขรถจมน้ำ ด้วยแผ่นโฟม

ผู้สนใจจะซื้อโฟมไปใช้ ลองสอบถามผู้ขายโฟมโดยตรง

ผมลองหาใน net ได้มา 1 แห่ง คือ www.polyfoam.co.th

ใครยังมีความสามารถในการคำนวณเรื่องแรงลอยตัว ก็ลองคำนวณดู

ถ้าคิดไม่ออกให้ลูกหลานคิดให้แทน"

ป๋อ


http://www.matichon.co.th/online/2011/10/13191016641319101770l.jpg

เป็นอีกหนึ่งวิธีน่าสนใจ สำหรับการปกป้องรถยนต์แสนรัก ที่หลายคนกว่าจะเก็บตังค์ดาวน์ ผ่อนหรือใช้เงินสดซื้อมาได้แต่ละคัน เลือดตาแทบกระเด็นทีเดียว ถ้าปล่อยให้จมน้ำไปต่อหน้าต่อตา คงเสียดายแทบบ้าไม่เบา...



จาก ..................... มติชน วันที่ 20 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
21-10-2011, 06:39
แก้ปัญหาน้ำท่วมตามแนวพระราชดำริ รัฐบาลอย่าปล่อยให้เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ........................... ปิ่น บุตรี

http://pics.manager.co.th/Images/554000014204201.JPEG

วิกฤตประเทศไทยกับเหตุการณ์อภิมหาน้ำท่วมใหญ่มโหฬารบานตะเกียงครั้งนี้ นอกจากรัฐบาลปูนิ่มและศปภ.จะต้องแก้ปัญหาให้พ้นตัวไปวันๆแบบแก้ผ้าเอาหน้ารอดแล้ว หลังน้ำลดรัฐบาลยังจะต้องเผชิญกับปัญญาสารพัดสารพันที่ถาโถมเข้ามาจากวิกฤตใหญ่ครั้งนี้ ให้ตามแก้กันอีกหลายเปลาะ

ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้งด้านทรัพย์สินและด้านจิตใจ รวมไปถึงแรงงานจำนวนมากที่ต้องตกงานจากน้ำท่วมครั้งนี้,การฟื้นฟูประเทศ ซ่อมแซมถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน วัดวาอาราม สถานศึกษา สถานที่ราชการ เรือกสวนไร่นา และทรัพย์สินข้าวของที่เสียหายต่างๆจำนวนมาก การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศเยียวยาแก้ปัญหาในภาคเกษตร อุตสาหกรรม ภาคบริการ และอื่นๆที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม,การเร่งสร้างความเชื่อต่อนักลงทุนต่างชาติไม่ให้ย้ายฐานการผลิต

เหล่านี้ถือเป็นปัญหาหลักๆ ทั้งปัญหาเร่งด่วนและปัญหาระยะสั้น ที่รัฐบาลต้องรีบเร่งดำเนินการแก้ไขหลังน้ำลดอย่างฉับพลันเร่งด่วน ซึ่งจะเป็นการสอบซ่อมพิสูจน์กึ๋น พิสูจน์ฝีมือรัฐบาลอีกครั้งว่าจะสอบผ่านหรือสอบตกซ้ำซากเหมือนการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมาหรือเปล่า

ในขณะที่ปัญหาระยะกลางนั้นรัฐบาลต้องปรับปรุงและบริหารจัดการระบบด้านการเตือนภัย การรับมือกับภัยพิบัติให้มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที ไม่ใช่ทำกันมั่วซั่วไม่เป็นมวยเหมือนที่ผ่านมา

ส่วนปัญหาระยะยาว(ซึ่งอันที่จริงก็ต้องลงมือทำอย่างเร่งด่วนควบคู่ไปกับปัญหาระยะสั้น ระยะกลาง)ก็คือ การแก้ปัญหาและป้องกันเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในอนาคต

ทั้งนี้มีเสียงบอกกล่าว เสียงสะท้อน จากประชาชนจำนวนมากว่า ต้องการให้รัฐบาล(ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลนี้ รัฐบาลหน้า หรือรัฐบาลไหนๆก็ตาม) น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้แก้ปัญหาน้ำท่วม และบริหารจัดการเรื่องน้ำในเมืองไทยแบบ“บูรณาการ”อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่จัดการแบบ“ปูรณาการ”อย่างที่เป็นอยู่

ทั้งนี้เนื่องจากแผนบริหารจัดการน้ำและการรับมือปัญหาน้ำท่วมตามแนวพระราชดำรินั้น มีการมองปัญหาและดำเนินการแบบเป็นองค์รวม ทั้งดิน ป่า น้ำ โดยเรื่องของน้ำได้มีแยกย่อยออกเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา น้ำแล้ง น้ำเสีย และน้ำท่วม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติมาเป็นเวลานับสิบปีแล้ว ดังกระแสพระราชดำรัสที่พระองค์ท่านได้พระราชทานไว้ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ที่ว่า

“...การพัฒนาแหล่งน้ำนั้น ในหลักใหญ่ก็คือการควบคุมน้ำให้ได้ดังประสงค์ ทั้งปริมาณและคุณภาพ กล่าวคือ เมื่อมีปริมาณน้ำมากเกินไป ก็ต้องหาทางระบายออกให้ทันการณ์ ไม่ปล่อยให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายได้ และในขณะที่เกิดภาวะขาดแคลน ก็จะต้องมีน้ำกักเก็บไว้ใช้อย่างเพียงพอ ทั้งมีคุณภาพเหมาะสมแก่การเกษตร การอุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภค ปัญหาอยู่ที่ว่า การพัฒนาแหล่งน้ำนั้นอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง แต่ถ้าไม่มีการควบคุมน้ำที่ดีพอแล้ว เมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้น ก็จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนสูญเสียทั้งในด้านเศรษฐกิจและในชีวิตคามเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งส่งผลกระทบเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง”

สำหรับหลักการดำเนินแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณา ดำเนินการแก้ไข ป้องกัน หรือช่วยบรรเทาปัญหา ในช่วงฤดูน้ำหลากไม่ให้น้ำไหลบ่าเข้าไปท่วมสร้างความเสียหายต่อชุมชน พื้นที่ทำการเกษตรของราษฎร(รวมถึงพื้นที่อุตสาหกรรมดังที่ปรากฏในปีนี้ด้วย) ตลอดจนการเร่งระบายน้ำออกจากที่ลุ่ม ซึ่งแบ่งออกเป็นหลักใหญ่ๆ สรุปความได้ดังนี้

การก่อสร้างคันกั้นน้ำ : เพื่อกั้นน้ำที่มีระดับสูงกว่าตลิ่งไม่ให้ไหลบ่าเข้าไปท่วมพื้นที่ต่างๆให้ได้รับความเสียหาย วิธีนี้นิยมทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยการกั้นเป็นคันดิน(หรือคันกระสอบทรายที่กำลังทำกันอยู่ในขณะนี้)กั้นน้ำขนาดเล็กที่มีความสูงไม่มากนัก ขนานไปตามลำน้ำห่างจากขอบตลิ่งเข้าไปเป็นระยะพอประมาณ วิธีนี้เคยสามารถป้องกันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและน้ำตามลำคลองต่างๆไม่ให้ไหลบ่าเข้ามาท่วมพื้นที่กรุงเทพฯชั้นในและเขตเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ : เป็นการปิดกั้นลำน้ำตามธรรมชาติ เพื่อกักเก็บน้ำที่ไหลลงมามากในฤดูน้ำหลาก จนเกิดเป็นเขื่อนหรือ“อ่างเก็บน้ำ”ขนาดต่างๆ ดังเช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี-สระบุรี เขื่อนคลองท่าด่าน จังหวัดนครนายก โดยน้ำที่เก็บกักไว้ในเขื่อนยามปกติจะระบายออกทีละน้อยเพื่อนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเพาะปลูกในยามน้ำแล้ง ซึ่งเขื่อนทั้งสองสามารถป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างรวมถึง กทม.ได้ไม่น้อยเลย

การก่อสร้างทางผันน้ำ : เป็นการผันน้ำในส่วนที่ล้นตลิ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วมออกไปจากลำน้ำ และปล่อยให้น้ำส่วนใหญ่ที่ยังไม่ล้นตลิ่งไหลไปตามลำน้ำตามเดิม การสร้างทางผันน้ำหรือขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับแม่น้ำที่มีปัญหาน้ำท่วม จะต้องสร้างอาคารเพื่อควบคุมและบังคับน้ำ หรือสร้างประตูระบายน้ำที่เปิด-ปิดได้ตามความเหมาะสม เพื่อเชื่อมกับลำน้ำสายเก่า(สายใหญ่)ให้ไหลเข้าลำน้ำสายใหม่ได้โดยอัตโนมัติ ดังตัวอย่าง ทางผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรง ผันเข้าแม่น้ำท่าจีน แล้วผันลงสู่ทุ่งบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนระบายออกสู่ทะเล

การระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม : พื้นที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ จำเป็นต้องทำการระบายน้ำออกด้วยการขุดคลองระบายน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม และให้สามารถเพาะปลูกได้ รวมถึงมีการก่อสร้างประตูระบายน้ำ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการกักเก็บน้ำ ในคลองและป้องกันน้ำจำด้านนอกไม่ให้ไหลย้อนกลับเข้าไปในพื้นที่

ตัวอย่างอันขึ้นชื่อของโครงการนี้ก็คือ โครงการแก้มลิงตามพระราชดำริ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำรัสอธิบายเกี่ยวกับแก้มลิงว่า

“...ลิงโดยทั่วไป ถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงก็จะรีบปอกกล้วยแล้วเอาเข้าปากเคี้ยวๆ แล้วเอาไปเก็บที่แก้ม จะกินกล้วยเข้าไปที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน แล้วจะนำมาเคี้ยวและกลืนกินเข้าไปภายหลัง ด้วยพฤติกรรมการนำเอากล้วยหรืออาหารมาสะสมไว้ที่กระพุ้งแก้มก่อนการกลืนนี้ จึงเป็นพฤติกรรมตัวอย่างที่จะนำมาใช้ในการระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังบริเวณทิศตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา...”

แก้มลิง เป็นการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ท่วมขังในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลให้ออกจากพื้นที่ตอนบน ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ แล้วปล่อยให้ไหลลงไปเก็บพื้นที่แก้มลิงหรือคลองพักน้ำขนาดใหญ่บริเวณชายทะเล เมื่อระดับน้ำทะเลลดลงต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ให้ทำการระบายน้ำออกจากแก้มลิงทางประตูระบายน้ำ

การปรับปรุงสภาพลำน้ำ : ทรงให้ขุดลอกคูคลอง ลำน้ำที่ตื้นเขิน และตกแต่งลำน้ำเพื่อช่วยให้น้ำไหลได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ในกรณีที่ลำน้ำมีแนวโค้งมากและเป็นระยะไกล ก็ให้พิจารณาขุดคลองลัดเชื่อมระหว่างแม่น้ำสายใหญ่ ดังกรณีของการขุดคลองลัดโพธิ์ จ.สมุทรปราการ ที่ช่วยย่นระยะทางการไหลของทางน้ำเดิมลงสู่ทะเลได้ถึง 17 กิโลเมตร

การหาความสัมพันธ์ของระดับน้ำและปริมาณปากแม่น้ำเจ้าพระยา(Hydrodynamic Flow Measurement) : วิธีการนี้เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของน้ำทะเลหนุน และปริมาณน้ำเหนือหลาก ผ่านเขตกทม. แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปบริหารจัดการน้ำเหนือที่ไหลผ่านลงมายังเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

และนั่นก็คือข้อมูลเบื้องต้นจาก 6 หลักใหญ่ๆในการป้องกัน แก้ปัญหา และบริหารจัดการเรื่องน้ำท่วมตามแนวพระราชดำริ ซึ่งนอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่นๆอีก อย่าง การสร้างฝายชะลอน้ำและกักเก็บน้ำ การใช้วิธีธรรมชาติ อย่าง การปลูกหญ้าแฝก(หรือที่นายกฯปูนิ่มเข้าใจผิดคิดว่าเป็นหญ้าแพรกนะค๊า)ช่วยยึดคลุมดิน ลดการชะล้าง พังทลายของหน้าดิน การปลูกป่าและการรักษาป่าต้นน้ำ เพื่อช่วยดูดซับน้ำ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นต้น

อย่างไรก็ดีในจะการดำเนินการโครงการใดโครงการหนึ่งหรือเชื่อมโยงกันหลายโครงการ พระองค์ท่านทรงให้แนวทางไว้ว่า จำเป็นต้องมีการศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียด ดูความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ ประโยชน์ที่ได้รับกลับมา และความคุ้มค่าในการลงทุน ก่อนที่จะตัดสินใจลงมือดำเนินการ

จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวพระราชดำริ และทรงดำเนินการก่อตั้งโครงการพระราชดำริต่างๆขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเสีย ดินเสีย และแก้ปัญหาความเดือดร้อนอื่นๆอีกมากมายของพสกนิกรชาวไทยมานับเป็นสิบๆแล้ว

เพียงแต่ว่าที่ผ่านมาไม่ว่ากี่รัฐบาล นักการเมืองบ้านเรากับละเลย เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ไม่สนใจไยดี ทำให้ปัญหาต่างๆเกิดการสะสมกลายเป็นวิกฤติของประเทศชาติอยู่จนทุกวันนี้




จาก ....................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 20 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
22-10-2011, 07:50
น้ำท่วมห่วงเด็ก วิธีป้องกันภัยจมน้ำ

http://www.dailynews.co.th/content/images/1110/21/etc/open2.jpg

ช่วงนี้หลายจังหวัดของประเทศไทยประสบกับปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรง คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องดูแลเด็กๆให้ห่างไกลภัยอันตรายที่เกิดจากน้ำท่วม โดยเฉพาะการจมน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่ง และสูงกว่าการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรถึง 2 เท่า โดยในแต่ละปีมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตถึงเกือบ 1,500 คนหรือเฉลี่ยวันละ 4 คน ซึ่งช่วงที่พบมากมักเป็นช่วงที่ตรงกับการปิดเทอมซึ่งตรงกับช่วงนี้ ร่วมกับการมีน้ำท่วม

ทุกปีกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ และมีคำขวัญว่า เด็กทั่วไทย ปลอดภัย ไม่จมน้ำ โดยมีนโยบายเร่งป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยจัดอบรมครูสอนทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และวางแผนจะเผยแพร่ไปทุกจังหวัด ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 10 ปี เด็กที่อายุ 6 ปีขึ้นไป ต้องว่ายน้ำเป็นครบ 100 เปอร์เซ็นต์

พญ.พิมพ์ภัค ประชาศิลป์ชัย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยว่า "จริงๆแล้วแค่เพียงระดับน้ำเพียง 1-2 นิ้ว ก็สามารถทำให้เด็กเล็กๆจมน้ำได้แล้ว และเด็กส่วนมากมักจมน้ำบริเวณแหล่งน้ำใกล้บ้าน ดังนั้นพ่อแม่ควรดูแลเด็กๆอย่างใกล้ชิด ไม่ควรปล่อยให้เด็กไปเล่นน้ำ จับปลา พายเรือ หรือว่ายน้ำตามลำพัง และควรให้เด็กๆยืนห่างจากขอบแหล่งน้ำเพื่อป้องกันการลื่นตกด้วย รวมถึงไม่ควรให้อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน เพราะความเย็นของน้ำจะทำให้เด็กเป็นตะคริวจมน้ำได้ โดยเฉพาะในสถานการน้ำท่วมแบบนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ ถ้าต้องเดินทางทางเรือก็ควรสวมเสื้อชูชีพให้เด็กๆตลอดเวลา"

กรณีที่มีเหตุจมน้ำเกิดขึ้น พญ.พิมพ์ภัค ระบุว่า ควรสอนไม่ให้เด็กลงไปช่วยเหลือกันเอง ควรบอกให้ผู้ใหญ่ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงช่วยเหลือแทน ขณะที่วิธีการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ ถ้าเด็กรู้สึกตัวดี และหายใจเองได้ ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เด็ก และรีบเช็ดตัวเด็กให้แห้ง เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

แต่ถ้าเด็กหายใจเองไม่ได้หรือหัวใจหยุดเต้น ให้รีบทำการปฐมพยาบาลในเบื้องต้น และรีบเปิดทางเดินหายใจ โดยให้เด็กนอนราบกดหน้าผากและเชยคางขึ้นเบาๆ ถ้าเด็กยังไม่หายใจแต่ชีพจรยังเต้นอยู่ ให้ทำการเป่าปากต่อเพียงอย่างเดียว โดยทำ 20 ครั้ง/นาที และให้รีบนำเด็กส่งโรงพยาบาล ห้ามจับอุ้มพาดบ่า กระโดด หรือวิ่งรอบสนาม เพราะจะทำให้ขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้น

ที่สำคัญแม้ว่าเด็กๆจะว่ายน้ำเป็น ผู้ปกครองก็ไม่ควรปล่อยให้เด็กๆอยู่ตามลำพัง เพราะเด็กอาจได้รับอันตรายจากสัตว์มีพิษที่อาศัยอยู่ใต้น้ำ และถ้าเกิดอันตรายในระหว่างการเล่นน้ำ เด็กจะไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที

พญ.พิมพ์ภัค บอกด้วยว่า อุบัติเหตุอื่นๆที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่ ไฟดูด อุบัติเหตุจากการเหยียบของมีคม อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ซึ่งหนีน้ำมาหลบในบริเวณบ้าน การป้องกันง่ายๆทำได้โดยไม่ให้เด็กๆเดินเท้าเปล่า ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า สับคัทเอาท์ตัดไฟฟ้าในบ้าน ก่อนที่น้ำจะท่วมถึง และเก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคม ในบริเวณบ้าน

ถ้ามีบาดแผลที่เกิดจากของมีคม ควรล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาด แล้วไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและต้องตรวจเช็คว่าเด็กได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักครบแล้วหรือยัง.




จาก ....................... เดลินิวส์ วันที่ 22 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
22-10-2011, 07:55
"โรคเครียด" จาก "น้ำท่วม" จิตแพทย์แนะ "ทำใจ"

http://www.prachachat.net/news-photo/prachachat/2011/10/dlf01171054p1.jpg

กว่า 2 สัปดาห์ที่อุทกภัยครั้งใหญ่พัดพาน้ำไหลบ่าเข้าท่วมเกือบทุกหัวระแหงของประเทศไทย ตั้งแต่ภาคเหนือลงมาถึงที่ราบลุ่มภาคกลาง มวลน้ำมุ่งเข้าโจมตีเมืองหลายแห่งจนฝาย เขื่อน คันกั้นน้ำพังทลาย น้ำก้อนใหญ่ทะลักเข้าท่วมตัวเมือง แผ่ขยายทั่วอาณาบริเวณ หลายพื้นที่กลายเป็นทะเลในชั่วข้ามคืน

ไม่ว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไปจนถึงร้านค้าขนาดเล็กและบ้านเรือนประชาชนล้วนได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ไร้ที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน เครื่องอุปโภคบริโภค หยุดงาน ขาดรายได้

ผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อยไปจนถึงรายใหญ่แทบสิ้นเนื้อประดาตัวไปตามๆกัน

เนื่องจากขนย้ายสิ่งของหนีน้ำไม่ทัน หรือย้ายทันแต่ไม่รู้จะขนไปเก็บไว้ที่ไหน ก็ได้แต่นั่งมองข้าวของค่อย ๆ จมน้ำ

บางคนต้องสูญเสียคนที่รัก สัตว์ที่เลี้ยง เพราะกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากพรากพวกเขาจากไปอย่างไม่มีวันกลับมา

ต่างกับกระแสน้ำที่ยังท่วมขังและไม่รู้ว่าน้ำจะกลับมาอีกเมื่อไหร่

หลายชีวิตต้องอาศัยพื้นถนนหลับนอน ศูนย์อพยพหลายแห่งมีผู้คนเข้าไปพักพิงจนแน่น

นี่คือสภาพน้ำท่วมในเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2554

ผู้ประสบภัยย่อมเกิดความเครียด สิ้นหวัง หดหู่ จากการสูญเสียครั้งนี้

ยากที่จะทำใจรับได้ในทันทีทันใด

ขณะที่ชาวเมืองหลวงผู้รับข่าวสารจากทุกทาง ตกอยู่ในภาวะตื่นตระหนก เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำที่กำลังมุ่งเข้าสู่กรุงเทพฯแบบนาทีต่อนาที

หลายครอบครัวเร่งกักตุนสินค้า วิ่งหาที่ปลอดภัยจอดรถกันให้วุ่น จนอาคารสูงหลายแห่งเต็มจนล้นเกือบทุกแห่ง

ภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลไปทุกหย่อมหญ้า เกิดความเครียดสะสม...จนถึงระดับคิด "ฆ่าตัวตาย"

ทั้งหมดขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของภัยพิบัติที่แต่ละคนได้รับและรับได้

ฉะนั้นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะเกิดความเครียด จิตตก วิตก กังวล ซึ่งควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันเหตุที่ไม่คาดคิด


กลุ่มเสี่ยง "วัยทำงาน-คนแก่"

น.พ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข อธิบายว่า กลุ่มคนที่มีอาการเครียดเพราะน้ำท่วมเป็นกลุ่มคนที่กรมสุขภาพจิตเฝ้าระวังคือ คนที่เครียดมากถึงมากที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีภาวะทางจิตเวชมาก่อน

"สำหรับคนทั่วไปที่ประสบอุทกภัย ในเวลานี้ยังไม่ถึงเวลาที่เค้าอยากจะฆ่าตัวตาย แต่จะเกิดหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปซักระยะหนึ่งแล้ว ฉะนั้นเราต้องเฝ้าดูคนเหล่านั้น ถ้าเขาไม่สนุกสนาน ร่าเริง แยกตัว บางครั้งก็พูดเรื่องความตาย ฝากลูกฝากหลาน พูดทำนองที่ว่า ถ้าเขาไม่อยู่แล้วจะทำอย่างไร รวมทั้งคนที่พอเครียดแล้วก็ดื่มเหล้า เครียดแล้วก็ดื่มเหล้า

คนเหล่านี้ก็อาจทำร้ายตัวเองได้"

เจ้าหน้าที่จำต้องเข้าไปดูเป็นพิเศษในพื้นที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ทำแบบประเมินแนวโน้มการฆ่าตัวตาย และเจ้าหน้าที่ทุกคนมีแบบประเมินในพื้นที่มีปัญหาก็จะเลื่อนตามระดับน้ำลงมาเรื่อยๆ

น.พ.อภิชัยบอกว่า โรคเครียดเกิดขึ้นได้กับหลายช่วงอายุ แต่ที่เฝ้าระวังคือ คนที่มีแนวโน้มฆ่าตัวตายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 75-85 ปี กับกลุ่มวัยแรงงานอายุ 25-45 ปี โดยกลุ่มผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนการฆ่าตัวตายสูงที่สุด ขณะที่คนวัยทำงานจะมีจำนวนการฆ่าตัวตายมากที่สุดจึงต้องดูแลกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

"ผู้สูงอายุจะเกิดอาการซึมเศร้า ห่วงบ้าน ห่วงข้าวของเครื่องใช้ ส่วนกลุ่มคนทำงานก็กังวลเรื่องรายได้ ครอบครัว อนาคตเพราะกำลังอยู่ในช่วงสร้างเนื้อสร้างตัว แต่ทุกอย่างต้องจมหายไปกับน้ำ ทำให้สองกลุ่มนี้อาจเกิดภาวะเครียดจนถึงขั้นฆ่าตัวตายได้" อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว

ฉะนั้นขอให้ทุกคนมีความหวัง ให้เวลาเยียวยาทุกสิ่งทุกอย่างจะดีขึ้น ขอเพียงแค่ทุกคนยังมีชีวิตอยู่


ทางบรรเทาทุกข์

น.พ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวว่า ตอนนี้คนที่ประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วมต้องเผชิญปัญหาหลายด้านพร้อมกัน ความไม่สะดวกในการดำรงชีวิต ความเสียหายของบ้าน รถยนต์ และทรัพย์สินเงินทอง พื้นที่ทำการเกษตรที่เสียหาย มีภาระหนี้สิน หรือบางคนเกิดการเจ็บป่วย สูญเสียญาติพี่น้อง ทำให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรง วิตกกังวล และป่วยเป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้

"แต่ละคนสามารถรับมือกับความเครียดได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับต้นทุนพื้นฐานด้านจิตใจแต่ละคนว่าแข็งแรงแค่ไหน"

ความเครียดสามารถแสดงอาการออกมาได้หลายรูปแบบ เบื้องต้นมักแสดงออกมาในรูปของความไม่สบายทางกาย เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ใจสั่น หายใจไม่ออก ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน บางรายถ้าอาการรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้จะเกิดอาการกลัว วิตกกังวลอย่างรุนแรง มีอาการตื่นตระหนก หายใจเร็วกว่าปกติ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เกร็งตามมือและเท้า กลัวว่าตัวเองกำลังจะตาย

"แรงปะทะจากเหตุการณ์อันเดียวกันบางคนล้ม บางคนไม่ล้ม คนที่ไม่โดนน้ำท่วมก็อาจจะเอื้อเฟื้อให้เพื่อนบ้านที่เดือดร้อน มีบ้านชั้นเดียวมาอาศัยให้ใช้ห้องน้ำ ห้องครัว มีอะไรก็แบ่งปันกันไป หรือไม่ก็ให้เวลารับฟังปัญหา ความรู้สึก ความคับข้องใจและเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน เราทุกคนอยู่ในเรือลำเดียวกัน เป็นผู้ร่วมชะตากรรม จำเป็นต้องช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่กัน"

"ไม่ใช่เราคนเดียวที่ถูกน้ำท่วม ธรรมชาติไม่ได้คิดที่จะทำร้ายเราคนเดียว และทุกอย่างก็ต้องมีเวลาสิ้นสุด เราจะเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่เมื่อเห็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เราจะเห็นว่าเขาได้รับทุกข์ที่ใหญ่กว่า" พ.ญ. ขนิษฐา อุดมพูนสิน แพทย์ประจำแผนกจิตเวช โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล พหลโยธิน กล่าว


4 วิธีรับมือวิกฤต

1.ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ทำความเข้าใจและยอมรับ ภัยพิบัติไม่ได้เกิดกับเราคนเดียว แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ใช่ว่าเราเป็นผู้เคราะห์ร้ายอยู่คนเดียว ยังมีเพื่อนร่วมชะตากรรมอีกมาก อาจจะต้องใช้เวลาบ้าง

"ท้อแท้ได้ แต่อย่านาน และต้องลุกขึ้นเดินต่อ"

2.จัดลำดับความสำคัญของปัญหา พยายามนั่งพักให้จิตใจนิ่งแล้วรวบรวมสติมองปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วจัดลำดับความสำคัญของปัญหา เช่น แก้ปัญหาเฉพาะหน้า การอยู่ การกิน การนอน เรื่องการขับถ่าย

3.พยายามใช้ชีวิตเรียบง่าย คนที่ประสบกับปัญหาจะต้องปรับวิธีคิด และปล่อยวางเรื่องทรัพย์สินสิ่งของนอกกาย อนาคตยังมีโอกาสหาใหม่ได้ พยายามใช้ชีวิตเรียบง่ายเพื่อลดความรู้สึกเครียดลงบ้าง

บางคนห่วงทรัพย์สินจนไม่ยอมอพยพ ควรมีการชั่งน้ำหนัก "ชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า"

4.เอาใจใส่ ดูแลกันและกัน คนที่แข็งแรงต้องช่วยคนที่อ่อนแอ ต้องคอยให้กำลังใจกับคนที่รู้สึกหมดแรง ท้อแท้ ได้ระบายความรู้สึก แล้วก็ให้กำลังใจกัน

วิกฤตครั้งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่รุนแรงมากในประวัติศาสตร์ของประเทศ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะผ่านไปได้สำเร็จ ต้องใช้เวลายอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วก็ตั้งหลัก ตั้งสติให้ได้

"ทุกคนต้องร่วมมือกัน...เพื่อฟันฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้"


ระวังภัย 5 โรคที่มากับน้ำ

กระทรวงสาธารณสุขแจ้งเตือนประชาชนเรื่องโรคระบาด ต้องเฝ้าระวังในเรื่องสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม คือเรื่องขยะ สิ่งขับถ่าย รวมถึงน้ำดื่มต้องสะอาด

โรคระบาดที่มากับน้ำท่วมต้องเฝ้าระวัง 5 โรคหลัก ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู ไข้หวัด ตาแดง และไข้เลือดออก ส่วนโรคที่ป่วยกันมากคือ โรคน้ำกัดเท้า ให้ดูแลอย่าให้มีบาดแผลที่เท้า และให้ล้างเท้าให้สะอาดหลังจากลุยน้ำแล้วทุกครั้ง




จาก ...................... ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
23-10-2011, 08:58
“จัดหนัก” ชักชวนทำถุงพลาสติกชีวภาพไว้ “อึ” ช่วงน้ำท่วม

http://pics.manager.co.th/Images/554000014270901.JPEG
(ซ้าย) ต้นแบบถุงจัดหนักสำหรับถ่ายหนัก (ขวา) ภาพต้นแบบถุงจัดหนัก ที่มีรายละเอียดวิธีการใช้

การถ่ายหนักในช่วงน้ำท่วมเป็นอีกความลำบากของผู้ประสบอุทกภัย แม้ว่า “สุขาฉุกเฉิน” จากถุงดำจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาแก่ผู้เดือดร้อนได้ แต่ในยามน้ำลดแล้วจะเหลือขยะปฏิกูลปริมาณมหาศาลที่จัดการยาก และไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงเกิดแฟนเพจ “ถุงจัดหนัก” ที่ส่งเสริมให้ใช้ “ถุงพลาสติกชีวภาพ” แทน พร้อมทั้งชักชวนให้โรงงานที่มีศักยภาพมาร่วมทำบุญด้วยการผลิตถุงบริจาค

http://pics.manager.co.th/Images/554000014270902.JPEG
รายละเอียดวิธีการใช้ถุงจัดหนักซึ่งจะพิมพ์ไว้ข้างถุง

แฟนเพจ “ถุงจัดหนัก” ในเฟซบุ๊ก เป็นโครงการที่ชักชวนชาวเครือข่ายสังคมออนไลน์รวมพลังสนับสนุนให้มีการผลิตถุงพลาสติกชีวภาพเพื่อบริจาคแก่ผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งทางเพจได้ออกแบบถุงพลาสติกชีวภาพที่สามารถใช้ระหว่างถ่ายหนักได้ โดยไม่ต้องอาศัยเก้าอี้พลาสติกหรือสวมฉุกเฉินที่ต้องใช้ “ถุงดำ” รองรับของเสียจากร่างกาย ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการผลิตถุงพลาสติกดังกล่าวบริจาคสามารถนำแบบจากแฟนเพจไปใช้ได้โดยไม่สงวนสิทธิ

อนุรักษ์ สุชาติ นักออกแบบผู้ชื่อเสียง และหนึ่งในผู้ก่อตั้งแฟนเพจให้สัมภาษณ์แก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ถึงแนวคิดในการก่อตั้งแฟนเพจว่า ได้เห็นสหประชาชาตินำถุงลักษณะดังกล่าวไปใช้แก้ปัญหาห้องน้ำในแอฟริกา ซึ่งประชาชนขับถ่ายทิ้งเรี่ยราด จึงสนับสนุนให้ใช้ถุงพลาสติกชีวภาพสำหรับเก็บอุจจาระ เมื่อใช้เสร็จแล้วก็ฝังดิน ซึ่งช่วยให้ดินดีขึ้นด้วย และเห็นว่าถุงพลาสติกสำหรับขับถ่ายนี้เหมาะกับสถานการณ์ในเมืองไทยขณะนี้ อีกทั้งเหมาะแก่การใช้งานของคนหมู่มาก แม้ขาดเก้าอี้ก็สามารถใช้ได้โดยการตัดขวดน้ำมาใช้แทน และการเก็บอุจจาระไว้ในถุงนี้จะช่วยลดโรคระบาดได้ โดยเก็บรวบรวมแล้วฝังกลบหลังน้ำลด

http://pics.manager.co.th/Images/554000014270904.JPEG
ขั้นตอนการใช้ถุงพลาสติกชีวภาพและการจัดเก็บหลังถ่ายหนัก

หลังจากอาศัยพลังของเครือขายสังคมออนไลน์ได้ 5 วัน เพื่อนของอนุรักษ์ซึ่งมีโรงงานผลิตพลาสติกได้ช่วยผลิต “ถุงจัดหนัก” จากเม็ดพลาสติกชีวภาพ 100 กิโลกรัม ซึ่งได้ถุงทั้งหมด 200,000 ใบ โดยการสนับสนุนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบ้านอาสาใจดี ซึ่งจะรับถุงดังกล่าวไปแจกจ่าย และทางโครงการจะผลิตเพิ่มอีก 800 กิโลกรัมจึงอยากเผยแพร่โครงการนี้ให้มากที่สุด และอยากประชาสัมพันธ์ให้บริษัทใหญ่ๆ อย่าง ปตท.และ SCG ที่มีเม็ดพลาสติกชีวภาพมาร่วมโครงการผลิตถุงพลาสติกชีวภาพสำหรับผู้ประสบอุทกภัย

“อาทิตย์หน้าเราคงต้องใช้แน่นอน เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วมเราจะกดชักโครกไม่ลง และคนกรุงเทพฯ อาศัยอยู่ในคอนโด 20-30 ชั้น หากติดอยู่อยู่ 2 อาทิตย์ จะเป็นเรื่องน่ากลัวมาก สถานการณ์บีบคั้นมาก เป็นอีกปัญหาที่คนมองไม่เห็น ตอนนี้ทุกคนบริจาคถุงดำซึ่งเป็นพลาสติก HBPE ที่ไม่ย่อยสลาย ต้องเผาอย่างเดียว ถ้าจะรีไซเคิลต้องแยกออกมา ซึ่งถ้าเป็นอึจะไม่มีคนแยกเลย จึงอยากให้คนหันมาใช้ถุงพลาสติกแบบย่อยสลายได้ แม้ต้นทุนตกใบละ 50 สตางค์จะแพงกล่าวพลาสติกปกติ แต่ควรใช้ในกรณี และอนาคตเมื่อคนตระหนักตรงนี้และใช้กันมากขึ้น ราคาก็จะถูกลง” อนุรักษ์กล่าว

http://pics.manager.co.th/Images/554000014270905.JPEG
ภาพสาธิตการใช้งานและการกำจัด

ทั้งนี้ หลังจากโพสต์ข้อความในแฟนเพจแล้วมีผู้ติดต่อเข้ามาใน 2 ส่วน คือ ส่วนแรกคือผู้เสนอให้ทุน และอีกส่วนคือโรงงานผู้ผลิตพลาสติก โดยทางโครงการพยายามที่จับคู่ความต้องการทั้งสองส่วนให้ตรงกัน แต่สิ่งที่ทางแฟนเพจอยากจะเน้นคืออยากได้ผู้บริจาคเม็ดพลาสติกชีวภาพจากผู้ประกอบการรายใหญ่ ส่วนผู้ประกอบการรายย่อยก็จะมีการกระจายกันทางเฟซบุ๊กต่อไป โดยอาจช่วยเหลือในเรื่องเงินหรือนำไปบริจาคก็ได้

“ในอีก 1-2 อาทิตย์เราอาจต้องใช้เอง” อนุรักษ์ให้ความเห็น

ติดตามความเคลื่อนไหวอื่นๆ ได้ที่ แฟนเพจ ถุง “จัดหนัก” http://www.facebook.com/judnakbag



จาก ..................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 22 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
23-10-2011, 09:00
คนมีเงินเขาเก็บรถหนีน้ำท่วมกันแบบนี้ครับพี่น้อง

http://www.matichon.co.th/online/2011/10/13192665271319266725l.jpg

ท่ามกลางสถานการณ์น้ำท่วมเมืองหลวง มีประชาชนมากมายทยอยนำรถขึ้นไปจอดบนทางด่วนซึ่งบางแห่งจอดกีดขวางการจราจร ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องมายกไปเก็บที่สถานที่อื่น

ลองมาดูที่ลานจอดรถแบบบ้านๆ ไม่น่าเชื่อว่าจะพบรถยนต์มินิคูเปอร์ และรถเมอร์เซเดส-เบนซ์ ป้ายแดง 2 คันในสภาพหุ้มถุงพลาสติกผูกปากถุงแบบเดียวกับการบรรจุสิ่งของหลังจากซื้อของจากห้างสรรพสินค้าอย่างใดอย่างนั้น โดยรถทั้ง 2 คันถูกนำมาจอดเคียงคู่กันที่ลานจอดรถแห่งหนึ่งในย่านใจกลางเมือง ซึ่งเป็นลานแบบติดดินแท้ๆ เน้นว่าติดดิน เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ไม่รู้เจ้า 2 เครื่องจักรชื่อก้องราคารวมเฉียด 6 ล้านบาทจะรอดชะตาน้ำท่วมหรือไม่

แต่ดูแล้วไอเดียก็ไม่เลวเท่าไหร่สำหรับผู้ประสบภัยแบบย่อมๆ




จาก ..................... มติชน วันที่ 22 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
24-10-2011, 07:56
คู่มือ 'ทำผ้าอนามัย ส้วม หุ้มรถ ขนตู้เย็น อุดบ้าน น้ำดื่ม' รอดตายน้ำท่วม

http://www.thairath.co.th/content/life/210964


จาก ...................... ไทยรัฐ วันที่ 24 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
24-10-2011, 07:58
บัญญัติ 10 ประการ กันโรคน้ำท่วม

กรมควบคุมโรคแนะประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมถึงข้อควรปฏิบัติ 10 ประการ เพื่อป้องกันโรคและภัยที่มากับน้ำท่วม

นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวแนะนำข้อควรปฏิบัติ 10 ประการ กับประชาชนพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อป้องกันโรคและภัยที่มากับน้ำท่วม ดังนี้

1. สวมเสื้อชูชีพก่อนลงน้ำ ใส่รองเท้าบู๊ต หรือสวมถุงพลาสติกก่อนลุยน้ำ
2. ล้างมือ ไม่กินอาหารค้างมื้อ ดื่มน้ำสะอาด
3. ป้องกันไม่ให้ยุงกัด
4. เก็บเศษอาหารและขยะใส่ถุงพลาสติก และมัดปากถุงให้แน่น
5. มีโรคเรื้อรังอย่าลืมรับประทานยาประจำตัว
6. หากิจกรรมทำเพื่อผ่อนคลายความเครียด
7. ถ้ามีอาการป่วยแจ้งหน่วยแพทย์ อย่าปล่อยไว้เกิน 2 วัน
8. สวมหน้ากากอนามัยเวลาเป็นหวัด
9. ดื่ม ORS เมื่อมีอาการท้องเสีย และ
10.นำเด็กไปฉีดวัคซีนตามนัดหลังน้ำลด

เนื่องจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นเขตเมือง จะมีปัญหาเรื่องขยะจำนวนมาก หากไม่มีการจัดการที่ดีและถูกวิธีอาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคท้องร่วง หรือเป็นแหล่งให้เกิดสัตว์พาหะนำโรคต่างๆ เช่น แมลงวัน เป็นต้น

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคได้จัดทำคู่มือประชาชนสำหรับโรคที่มากับน้ำท่วมให้กับประชาชนได้เตรียมตัวและป้องกันตนเองจากโรคและภัยสุขภาพต่างๆ ทั้งก่อนน้ำท่วม ช่วงน้ำท่วม และหลังน้ำลด เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนตามหน่วยบริการสาธารณสุขในศูนย์พักพิงและประชาชนทั่วไป หรือสามารถดูได้ทางเว็บไซต์กรมควบคุมโรค www.ddc.moph.go.th หากมีข้อสงสัยติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0-2590-3333, 0-2590-3333.




จาก ..................... ไทยโพสต์ วันที่ 24 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
24-10-2011, 09:16
การป้องกันน้ำไหลเข้าบ้าน

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image002.jpg

การป้องกันน้ำท่วมบ้านเรือน เป็นการลดความเสียหายจากน้ำท่วมสามารถทำได้โดยให้น้ำอยู่ห่างจากโครงสร้าง ให้น้ำหมดไปจากโครงสร้าง และให้โครงสร้างอยู่ห่างจากน้ำ การป้องกันน้ำท่วมคือการใช้เทคนิคต่างๆเพื่อป้องกันอาคารบ้านเรือนและโครงสร้างอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานต่างๆจากน้ำท่วม หรือเพื่อลดความเสียหายจากน้ำท่วม ความรุนแรงของน้ำท่วมขึ้นอยู่กับจำนวนของตัวแปรต่างๆดังต่อไปนี้ ความลึกของน้ำระยะเวลาของการท่วม ความเร็วในการไหลของน้ำ อัตราการสูงขึ้นของระดับน้ำในแม่น้ำ ความถี่ของการเกิดน้ำท่วม และระยะเวลาการตกของฝน การป้องกันน้ำท่วมที่ได้ผลจะช่วยลดการซ่อมแซมแก้ไขต่างๆของอาคารบ้านเรือนหลังน้ำท่วม


การป้องกันน้ำท่วมสำหรับอาคารบ้านเรือน

การพิจารณาจุดอ่อนของอาคารขึ้นอยู่กับลักษณะของอาคารชนิดต่างๆ รวมถึงความต้านทานต่อแรงดันน้ำ(แรงดันจากน้ำนิ่ง แรงยกของน้ำและแรงดันจากการไหลของน้ำ) และการเปลี่ยนแปลงของวัสดุเมื่อจมน้ำ(คุณภาพของปูน, พฤติกรรมของทรายและดินเหนียวใต้ฐานราก) อาคารสาธารณะที่ใช้สำหรับเป็นที่พักต้องยกระดับพื้นให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดซึ่งสามารถทำได้โดยก่อสร้างอาคารบนพื้นที่สูงหรือถมดินให้สูงขึ้น หรือสร้างอาคารโดยยกพื้นให้สูงขึ้น ในพื้นที่ที่น้ำไหลการกั้นกระสอบทรายก็อาจช่วยป้องกันตัวอาคารได้


การป้องกันน้ำท่วมสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน

ความเสียหายของโครงสร้างพื้นฐานจากน้ำท่วมอาจมีสาเหตุจากแรงดันน้ำโดยตรงจากการกัดเซาะ หรือจากทั้งสองสาเหตุรวมกัน ความกว้างของช่องเปิดที่ไม่เพียงพอของแม่น้ำใต้สะพานจะทำให้ระดับน้ำเหนือน้ำสูงขึ้น ท้องน้ำที่จุดเหนือน้ำและท้ายน้ำของสะพานจึงควรเสริมเครื่องป้องกันการกัดเซาะด้วยส่วนมากการป้องกันการกัดเซาะของท้องน้ำจะเสริมท้องน้ำด้วยอิฐ หิน หรือปลูกพืชคลุมดินความเสียหายของระบบประปาคือการที่น้ำเข้าไปในท่อ ทำให้น้ำมีตะกอนและสารพิษปนเปื้อน ปัญหานี้แก้ไขได้โดยการวางแนวท่อให้สูงกว่าระดับน้ำท่วม สำหรับระบบไฟฟ้า ระบบท่อต่างๆ และสายโทรศัพท์ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยหลักการเดียวกัน


วิธีป้องกันความเสียหายจากน้ำไหลตามถนน

น้ำท่วมที่มาจากรางน้ำที่ถนนหรือท่อระบายน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถนนที่ลาดเอียง อาจจะไหลทะลุผ่านทรัพย์สินเข้าไปในทางถนนโล่งเข้าตัวอาคาร ทะลุผ่านที่ต่ำในท่อระบายน้ำหรือรางน้ำเหนือถนน น้ำอาจจะเปลี่ยนทิศทางอย่างเหมาะสมโดยกองถุงบรรจุทรายหรือแผ่นกระดาน หรือไม้หมอนทางรถไฟ อุปสรรคของน้ำนี้จะควบคุมทิศทางของน้ำให้ไกลจากทรัพย์สิน ดังนั้นป้องกันน้ำที่จะกัดกร่อนสวนและสนามหญ้า ถังน้ำไม่ลึก อุปสรรคก็จะป้องกันน้ำไม่ให้ไปถึงบ้าน ถุงทรายหรือ ฝายไม้แสดงในรูปที่ 1 ต้องถูกวางไว้ที่หัวมนและต้องมีความยาวเพียงพอที่จะเปลี่ยนทางน้ำให้ไหลไปตามถนน โดยจะมีน้ำบางส่วนเท่านั้นที่ผ่านฝายเข้ามา แต่น้ำส่วนที่ไหลแรงจะถูกตีกลับไปที่ถนน

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image002_0000.jpg


วิธีการใช้ถุงทรายเพื่อเปลี่ยนทางน้ำ

ระดับของถุงทราย ที่ถูกวางอย่างเหมาะสมจะทำให้การไหลของน้ำไหลอ้อมทรัพย์สินแทนที่จะไหลผ่านทรัพย์สิน

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image002_0001.jpg


วิธีใช้แผ่นไม้หรือใช้หมอนเพื่อกำหนดทิศทางการไหลของน้ำ

แผ่นไม้หรือไม้หมอนเมื่อวางไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมสามารถเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำได้ และให้ผลได้ดีกว่าการใช้ถุงทราย แต่ต้องใช้เวลาในการเตรียมและติดตั้งให้มากขึ้น แต่สามารถใช้คนเพียงแค่คนเดียวที่จะติดตั้งและถอนออกได้อย่างง่ายและรวดเร็ว

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image001.jpg

(มีต่อ)

สายน้ำ
24-10-2011, 09:23
การป้องกันน้ำไหลเข้าบ้าน (2)

วิธีป้องกันบ้านและสิ่งก่อสร้างโดยมีพื้นคอนกรีต

ป้องกันน้ำท่วมได้โดยฉาบด้วยปูนหรือกำแพงอิฐที่ทาด้วยสีชนิดพิเศษ น้ำจำนวนมากที่อยู่ระหว่างฐานรากกับนอกกำแพง สามารถซึมผ่านพื้นเข้ามาภายในกำแพงได้ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้

1. อัดรอยรั่วภายนอกบ้านทั้งหมด โดยใช้วัตถุกันน้ำทั่วไป
2. ทำความสะอาดกำแพงและรอยรั่ว รูรั่วอาจจะเกิดมาจากการก่อสร้างๆ แล้วสิ่งสกปรกอาจจะกลับเข้าไปติดในรูรั่ว
3. วิธีป้องกันกำแพงบ้านแบบชั่วคราว สามารถทำได้โดยหาแผ่นพลาสติกกันน้ำ หรือวัตถุที่คล้ายๆกันมาวางไว้ข้างกำแพง และปกคลุมขอบล่างของมันด้วยดิน และเอาแผ่นนี้ออกหลังจากที่น้ำหายท่วมแล้ว เพื่อป้องกันการผุพังและเชื้อราที่จะขึ้นบนไม้

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image002_0002.jpg

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image002_0003.jpg

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image002_0004.jpg

(มีต่อ)

สายน้ำ
24-10-2011, 09:32
การป้องกันน้ำไหลเข้าบ้าน (3)


การป้องกันบ้านและอาคารที่มีพื้นเป็นไม้โครงสร้าง

น้ำสามารถไหลซึมและขังนองในช่องว่างหรือใต้ถุนผ่านรอยแตกของฐานราก รูรั่วของท่อช่องระบายอากาศและหน้าต่าง นอกจากนั้นน้ำยังสามารถซึมผ่านระหว่างผนังบ้านและฐานรากอีกด้วย เมื่อไหร่ก็ตามที่ช่องว่างหรือห้องใต้ถุนเต็มไปด้วยน้ำ น้ำจะเพิ่มระดับและไหลเข้าสู่สิ่งก่อสร้างผ่านพื้นและรอยต่อของผนังจนกระทั่งล้นและมีระดับเดียวกันกับน้ำภายนอก

ขั้นตอนการปฏิบัติ

1. อุดช่องระบายอากาศและหน้าต่างด้วย แผงกั้นน้ำ ช่องระบายอากาศนั้นต้องสร้างให้ได้ตามมาตรฐานงานก่อสร้าง เพื่อป้องกันโรคราน้ำค้างและการผุเปื่อย ดังนั้น แผงกั้นน้ำ ทุกชิ้นต้องสามารถถอดย้ายออกได้ หลังจากอันตรายจากน้ำท่วมได้พ้นผ่านไปแล้ว
2. อุดรอยแตกร้าวของฐานรากและผนัง ด้วยคอนกรีตหรือวัตถุอื่นๆ ที่สามารถใช้อุดรอยแตกได้
3. อุดรอยรั่วเล็กๆ รอบๆ ท่อด้วยคอนกรีต หรือสารประกอบที่ใช้อุดรูรั่วในเรือ กาวซิลิโคน
4. อุดรอยต่อระหว่างผนังกับฐานรากด้วยสารประกอบที่ใช้อุดรูรั่ว

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image002_0005.jpg

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image002_0006.jpg


การทำแผงกั้นน้ำ เพื่อใช้อุดฐานราก ช่องระบายและหน้าต่าง

1. ใช้ไม้อัดขนาด ?” สำหรับทำแผงกั้นน้ำ คัดไม้อัดให้เหลื่อมกับหน้าต่าง
2. ติดแถบสักหลาด หรือยาง ด้วยกาวกันน้ำ ให้เหลื่อมกับผิวของแผงกั้นน้ำ ซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายปะเก็นอุดรูรั่ว
3. ยึดแผงกั้นน้ำ ให้เข้าที่อย่างแน่นหนาด้วยตะปู ตะปูควงหรือสลักเกลียว
4. ยึดแผงกั้นน้ำ เข้ากับกรอบไม้ด้วยตะปู

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image002_0007.jpg


วิธีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำเข้าทางประตู

วิธีที่ 1 : ใช้ดินน้ำมัน ดินปั้น ดินเหนียวตามธรรมชาติหรือวัสดุอื่นๆ ที่สามารถอุดรอยแตกและรอยต่อรอบๆประตู ธรณีประตู และกรอบประตู วัสดุดังกล่าวข้างต้นนั้นสามารถขูดออกได้อย่างสะดวก เมื่อน้ำท่วมได้บรรเทาลง
วิธีที่ 2 : ใช้แผ่นพลาสติกหรือกระดาษกันน้ำที่ใช้ในงานก่อสร้าง

ข้อควรจำ

ทั้งวิธีที 1 และ 2 ข้างต้นนั้นมีข้อควรระวังคือ จะต้องทำการล็อคประตูจากด้านในเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเปิดประตูและยังช่วยป้องกันการแตกของสารกันน้ำที่ใช้อุด

แม้ว่าวัสดุที่กล่าวมาเช่น ดินน้ำมัน และดินปั้นจะใช้อุดรอยแตกรอบประตูและกรอบประตูได้ก็จริง แต่ก็มีอายุการใช้งานเพียงระยะเวลาสั้น

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image002_0008.jpg

(มีต่อ)

สายน้ำ
24-10-2011, 09:37
การป้องกันน้ำไหลเข้าบ้าน (4)


วิธีการใช้ แผงกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำเข้าทางประตู

สามารถป้องกันน้ำที่จะไหลเข้าสู่ประตูทางเข้าได้ด้วยการติดตั้งแผงกั้นน้ำ

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image002_0009.jpg


การเตรียมพร้อมติดตั้งแผงกั้นน้ำ เข้ากับประตูทางเข้า-ออก

ในการติดตั้งแผงกั้นน้ำ เข้ากับประตูทางเข้า-ออกนั้น ก็คล้ายคลึงกับการติดตั้งหน้าต่าง หรือช่องระบายอากาศ ในกรณีพิเศษจะต้องใช้วัสดุทำเป็นประเก็นรอบๆขอบด้านล่างของแผ่นกระดาน เพื่อกันน้ำได้ดียิ่งขึ้น

ขั้นตอนการปฏิบัติ

1. ใช้แผ่นกระดานหรือไม้อัดในการทำแผงกั้นน้ำ ดังแสดงในหน้าตรงข้าม
2. ตัดแถบยางหรือสักหลาดให้เหลี่ยมกับผิวของไม้กระดานให้กว้างประมาณ 8 เซนติเมตร เพื่อทำเป็นประเก็นแล้วยึดติดกับด้านล่างของไม้กระดานด้วยกาวกันน้ำ
3. อุดด้านล่างของธรณีประตู รอยแตก และรอยต่อ กรอบประตู โดยปกติแล้ว แผงกั้นน้ำจะไม่แนบสนิทกับประตูเลยทีเดียว ใช้สารอุดรอยต่อที่คุณภาพสูงจะทำให้มีระยะเวลาการใช้งานนานหลายปี ก็จะทำให้ไม่ต้องซ่อมแซมหรือซ่อมแซมเพียงเล็กๆน้อยๆ
4. หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายฉากประตู ก็ใช้สลักเกลียวหรือตะปูควงพร้อมด้วยแหวนรองสลักเกลียวยึดติดเข้ากับเสาด้านข้างประตูทั้งสองข้าง

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image002_0010.jpg

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image002_0011.jpg

(มีต่อ)

สายน้ำ
24-10-2011, 09:42
การป้องกันน้ำไหลเข้าบ้าน (5)


การเตรียมการกันน้ำสำหรับประตูโรงเก็บรถ

1. ใช้ไม้อัดที่มีความหนาที่เหมาะสมประมาณ 25 มม. สำหรับใช้อุดประตูตัดด้านล่างของแผงกั้นน้ำ ให้พอดีกับผิวของถนนเพื่อป้องกันน้ำด้านล่าง
2. สำหรับประตูบานพับ ใช้แผงกั้นน้ำ แยกกันอุดด้านข้างและตรงกลางของประตู โดยติดในแนวดิ่งให้สูงกว่าแผงกั้นน้ำที่อุดอยู่ด้านล่าง
3. อุดรอบๆบานพับด้วยดินน้ำมันหรือกาวจนมั่นใจว่าไม่มีการรั่วซึมอย่างแน่นอน

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image002_0012.jpg

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image001_0000.jpg


การควบคุมการชะล้างพังทลายของเนินดิน

1. นำน้ำออกจากดิน

น้ำไหลตามธรรมชาติ - ขุดคูน้ำเล็กๆให้รอบขอบบนของพื้นที่ ควรขุดขณะดินมีความชื้นสูงจะทำให้ขุดได้ง่าย โดยให้มีความเอียงเล็กน้อยเพื่อให้น้ำสามารถไหลได้ช้าๆ และขุดให้ปลายของคูน้ำ เชื่อมต่อกับทางระบายน้ำ

น้ำจากน้ำฝน - ขุดคูน้ำเล็กๆในส่วนบนเนินดินนั้นไม่ควรขุดให้น้ำไหลมารวมกันทางเดียว ซึ่งจะทำให้ดินอ่อนแอและง่ายต่อการชะล้างพังทลาย เราสามารถเพิ่มความมั่นคงของดินได้คือ ใช้แผ่นพลาสติกราคาถูก ปูบนดินนั้น แผ่นพลาสติกจะทำหน้าที่คล้ายกรวด ทำให้น้ำส่วนใหญ่ไม่สามารถไหลลงสู่ดินนั้นได้ หรืออาจจะปลูกต้นไม้ทำเป็นรั่วก็ได้เพียงแค่ ตัดพลาสติกให้พอดีกับขนาดของหลุมต้นไม้ ก็จะเป็นการช่วยสร้างความมั่นคงแก่ดิน

2. ทำให้น้ำไหลช้าลง

เมื่อดินเกิดการชะล้าง เราสามารถควบคุมได้โดยการใช้กรวดหรือไม้แผ่นเล็กๆ มาทำหน้าที่คล้ายเขื่อนทำได้ง่ายๆ โดยการโรยกรวด หรือวางแผ่นไม้ข้ามส่วนที่เป็นลำธารเล็กๆ ซึ่งกรวดและแผ่นไม้จะทำหน้าที่เหมือนเขื่อนกันน้ำๆไว้ หากต้องการเพิ่มความมั่นคงยิ่งขึ้น ก็ควรฝังกรวดหรือแผ่นไม้ให้ลึกๆบนเนินที่มีความชันมากๆ แนะนำให้สร้างคูน้ำเป็นระยะห่างเป็นช่วงๆ และควรดูระดับความสูงของพื้นที่และสามารถปล่อยน้ำให้ไหลเข้าสู่ทางระบายน้ำ

http://www.cendru.eng.cmu.ac.th/flooding/pages/chapter2/cp2_2/artical2_clip_image002_0013.jpg

3. เพิ่มความแข็งแรงของดินเพื่อป้องกันการพังทลาย

ฟางหรือเศษไม้ก็ส่งผลต่อความมั่นคงในดินได้ และยังมีส่วนช่วยเพิ่มสารอินทรีย์ในดิน ใช้เศษไม้ปกคลุมดินด้วยความหนาประมาณ 3 เซนติเมตรหรือใช้ฟางปกคลุมดินด้วยความหนาประมาณ 30 เซนติเมตร จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินอีกด้วย คือ เพิ่มก๊าซไนไตรเจน

4. ปลูกพืชคลุมดิน

วิธีนี้เกี่ยวข้องกับวิธีการข้างต้น ควรปลูกพืชก่อนฤดูแล้ง หญ้าที่ทนแล้งหรือปลูกพืชทนแล้งชนิดอื่นปกคลุม




โดย: หน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จาก .................... เว็บไซท์ของ อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย http://www.siamarsa.org/profiles/blogs/5895095:BlogPost:924

สายน้ำ
25-10-2011, 07:50
คู่มือรับวิกฤตอุทกภัย การปฏิบัติตัวหลังน้ำลด

http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2011/10/col01251054p1.jpg&width=360&height=360

วิกฤตอุทกภัยหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย ไล่มาตั้งแต่ภาคเหนือ อีสาน กลาง และคาดว่าจะไล่ลุกลามเข้าสู่ภาคใต้ด้วยอิทธิพลของพายุต่างๆ

คนไทยต้องตั้งรับ รับมือ สู้กับมหาภัยน้ำท่วมครั้งนี้อย่างไร ข้อมูลจาก "คู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม" ซึ่งจัดทำโดยหน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ความรู้เอาไว้ดังนี้

เหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่น้ำท่วม โดยทางรัฐและหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบต้องกระทำการป้องกันและฟื้นฟู ระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญก่อน อาจไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนได้อย่างทันที ดังนั้น ประชาชนจึงควรมีความพร้อมในการเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วมเพื่อป้องกันและบรรเทาภัยที่จะเกิดขึ้นได้


การเตรียมการก่อนน้ำท่วม

การป้องกันตัวเองและความเสียหายจากน้ำท่วม ควรเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพราะหากรอให้เตือนภัยเวลามักไม่เพียงพอ รู้จักกับภัยน้ำท่วมของคุณ สอบถามหน่วยงานที่มีการจัดการด้านน้ำท่วม ด้วยคำถามดังต่อไปนี้

- ภายในละแวกใกล้เคียงในรอบหลายปี เคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดเท่าไร

- เราสามารถคาดคะเนความเร็วน้ำหรือโคลนได้หรือไม่

- เราจะได้รับการเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมาถึงเป็นเวลาเท่าไหร่

- เราจะได้รับการเตือนภัยอย่างไร

- ถนนเส้นใดบ้างในละแวกนี้ที่จะถูกน้ำท่วมหรือจะมีสิ่งกีดขวาง


การทำแผนรับมือน้ำท่วม

การจัดทำแผนรับมือน้ำท่วม จะช่วยให้คุณนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่จะต้องทำหลังได้รับการเตือนภัยเดินสำรวจทั่วทั้งบ้านด้วยคำแนะนำที่กล่าวมา พร้อมทั้งจดบันทึกด้วยว่าจะจัดการคำแนะนำอย่างไร ในช่วงเวลาที่ทุกๆคนเร่งรีบและตื่นเต้นเนื่องจากภัยคุกคาม สิ่งที่สำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ หมายเลขโทรศัพท์ต่างๆ ที่สำคัญไว้ในแผนด้วย

ถ้าคุณมีเวลาเล็กน้อยหลังการเตือนภัย สิ่งที่ต้องทำและมีในแผน คือ

- หาทางรับสัญญาณเตือนภัยฉุกเฉิน และข้อมูลจากสถานีวิทยุ หรือสถานีโทรทัศน์ที่รายงานสถานการณ์

- จัดทำรายชื่อสถานที่ 2 แห่งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถพบกันได้หลังจากพลัดหลงโดยสถานที่แรกให้อยู่ใกล้บริเวณบ้านและอีกสถานที่อยู่นอกพื้นที่ที่น้ำท่วมถึงระดับการเตือนภัยน้ำท่วม


สิ่งที่ควรทำหลังจากได้รับการเตือนภัยจากหน่วยงานด้านเตือนภัยน้ำท่วม

1.ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถแจ้งข่าว

2.ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันและคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฏิบัติดังนี้

- ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

- อย่าพยายามนำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด

- อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเวณน้ำหลาก

3.ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว

4.ถ้ามีการเตือนภัยการเฝ้าระวังน้ำท่วมจะยังมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม

5.ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง ควรปฏิบัติดังนี้

- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊สถ้าจำเป็น

- อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล้างจาน

- ปิดพื้นที่ห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน

- ล็อกประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง

- ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจากวิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับสถานที่หลบภัยของหน่วยงาน

6.หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึง แต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน

- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน

- ปิดแก๊สหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก๊ส

- เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน

- ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถึงบ้าน


น้ำท่วมฉับพลันคือ น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในแม่น้ำ ลำธารหรือร่องน้ำที่เกิดจากฝนที่ตกหนักมากติดต่อกันหรือจากพายุฝนที่เกิดซ้ำหลายครั้ง น้ำป่าอาจเกิดจากที่สิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เขื่อนหรือฝายพังทลาย

- ถ้าได้ยินการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันให้วิ่งไปบนที่สูงทันที

- ออกจากรถและที่อยู่ คิดอย่างเดียวว่าต้องหนี

- อย่าพยายามขับรถหรือวิ่งย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม


ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่นอกบ้าน

- ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล

มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตจากจมน้ำตายในขณะที่น้ำกำลังมา ความสูงของน้ำแค่ 15 ซ.ม. ก็ทำให้เสียหลักล้มได้ ดังนั้น ถ้ามีความจำเป็นต้องเดินผ่านที่น้ำไหลให้ลองนำไม้จุ่มเพื่อวัดระดับน้ำก่อนทุกครั้ง

- ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดนน้ำท่วม

การขับรถในพื้นที่ที่น้ำท่วมมีความเสี่ยงสูงมากที่จะจมน้ำ หากเห็นป้ายเตือนตามเส้นทางต่างๆ ห้ามขับรถเข้าไปเพราะอาจมีอันตรายข้างหน้า น้ำสูง 50 ซ.ม. พัดรถยนต์ จักรยานยนต์ให้ลอยได้

- ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟ

กระแสไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านได้ เมื่อเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิต เนื่องจากไฟดูดมากกว่าสาเหตุอื่นๆ เมื่อเห็นสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายกรุณาแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


หลังน้ำท่วมผ่านพ้น

3 ขั้นตอนที่ควรทำในวันแรกๆ หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วม

ขั้นตอนที่ 1 : เอาใจใส่ตัวเอง

หลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วม คุณและครอบ ครัวอาจเกิดความซึมเศร้า และต้องใช้เวลากลับสู่ภาวะปกติ อย่าลืมว่าเหตุการณ์น้ำท่วมนั้นอาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหาย คุณต้องดูแลตัวเองและครอบครัว พร้อมกับการบูรณะบ้านให้กลับมาเหมือนเดิม อุปสรรคที่สำคัญคือ ความเครียด รวมทั้งปัญหาอื่น เช่น นอนหลับยาก ฝันร้ายและปัญหาทางกาย โรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งคุณและครอบครัวควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

1.ให้เวลากับครอบครัวเพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยียวยารักษาได้ดี

2.พูดคุยปัญหากับเพื่อนและครอบครัว ร่วมแบ่งปันความกังวลจะช่วยให้ได้ระบายและผ่อนคลายความเครียด

3.พักผ่อนและกินอาหารที่เป็นประโยชน์ เพราะมีปัญหาทั้งความเครียดและทางกายเพิ่มขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ

4.จัดลำดับสิ่งที่จำเป็น ต้องทำตามลำดับก่อนหลังและค่อยๆทำ

5.ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เมื่อเกิดอาการซึมเศร้าจนที่จะรับมือได้

6.ดูแลเด็กๆให้ดี และโปรดเข้าใจเด็กมีความตื่นกลัวไม่แพ้กัน และอย่าตำหนิเด็กที่มีพฤติกรรมแปลกๆหลังจากน้ำท่วม เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้งหรือเกาะคุณอยู่ตลอดเวลา จำไว้ว่าเด็กเพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิต

7.ระวังเรื่องสุขอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่เคยน้ำท่วม


ขั้นตอนที่ 2 : การจัดการดูแลบ้านของคุณ

ที่ผ่านมามีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากน้ำท่วม ส่วนใหญ่เกิดจากถูกไฟดูด หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากน้ำลด สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับบ้านคือ การตรวจสอบความปลอดภัย ก่อนเข้าบูรณะและอยู่อาศัย โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.ปรับจูนคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ฟังรายงานสถานการณ์

2.ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหาย และซ่อมแซมทรัพย์สินต่างๆ

3.เดินตรวจตรารอบๆบ้าน และเช็กสายไฟฟ้า สายถังแก๊ส ถ้าหากเกิดแก๊สรั่วจะสามารถรู้ได้จากกลิ่นแก๊สให้ระวังและรีบโทร.แจ้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย

4.ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้าง ตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้างทุกอย่างปลอดภัย

5.ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน

6.ปิดวาล์วแก๊สให้สนิท หากได้กลิ่นแก๊สรั่วไม่ควรเข้าใกล้บริเวณนั้น

7.เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง และอย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ

8.ถ่ายรูปความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน (ถ้ามี)

9.เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า และห่อหุ้มรูปภาพหรือเอกสารสำคัญ

10.เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตู เพื่อระบายอากาศ และตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งก่อสร้างต่างๆ

11.ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย

12.เก็บกวาดกิ่งไม้ หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน

13.ตรวจหารอยแตกหรือรั่วของท่อน้ำ ถ้าพบให้ปิดวาล์วตรงมิเตอร์น้ำ ไม่ควรดื่มและประกอบอาหารด้วยน้ำจากก๊อกน้ำ จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย

14.ระบายน้ำออกจากห้องใต้ดินอย่างช้าๆ เนื่องจากแรงดันน้ำภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรือพื้นห้องใต้ดิน

15.กำจัดตะกอนที่มาจากน้ำ เนื่องจากเชื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน


การรับมือเหตุน้ำท่วมครั้งต่อไป

1.คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของคุณเมื่อเกิดน้ำท่วม

2.ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการอพยพ

3.เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด จากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย

4.เตรียมเครื่องมือรับวิทยุแบบพกพา อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉินแหล่งอาหารและไฟฉาย รวมทั้งแบตเตอรี่สำรอง

5.ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน และควรทราบแหล่งวัตถุที่จะนำมาใช้

6.นำรถยนต์และพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ ซึ่งน้ำท่วมไม่ถึง

7.ปรึกษาและทำข้อตกลงกับบริษัทประกันภัย เกี่ยวกับการประกันความเสียหาย

8.บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินและเก็บไว้ตามที่จำง่าย

9.รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหารที่ต้องการใช้ ภายหลังน้ำท่วมไว้ในที่ปลอดภัยและสูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง

10.ทำบันทึกรายการทรัพย์สินมีค่าทั้งหมด ถ่ายรูปหรือวิดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน

11.เก็บบันทึกรายการทรัพย์สิน เอกสารสำคัญและของมีค่าอื่นๆ ในสถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้านหรือห่างไกลจากที่น้ำท่วมถึง เช่น ตู้เซฟที่ธนาคาร หรือไปรษณีย์

12.ทำแผนการรับมือน้ำท่วม และถ่ายเอกสารเก็บไว้เป็นหลักฐานที่สังเกตได้ง่าย และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมที่เหมาะสมกับบ้านของคุณ

13.ถ้าคุณคือพ่อแม่ ซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตรหลานของคุณ ขณะเกิดน้ำท่วม เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน้ำ




จาก .......................... ข่าวสด วันที่ 25 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
25-10-2011, 07:54
น้ำที่ท่วม-ส้วมฉุกเฉิน 'ต้องรู้หลักใช้' มีภัยเชื้อโรคต้องกลัว!

http://www.dailynews.co.th/content/images/1110/25/newspaper/p3thurl.jpg

สถานการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในไทยในยามนี้ นอกจากจะทำให้คนไทยจำนวนมากมายต้องเดือดร้อนในเรื่องการอยู่อาศัย อาหารการกิน การประกอบอาชีพ การเดินทางสัญจร หลายพื้นที่เรื่องการขาด ’น้ำใช้“ และการมีปัญหาเรื่องสุขา หรือ ’ส้วม“ ก็เป็นทุกข์เช่นกัน ซึ่งแม้รายรอบจะมีแต่ ’น้ำที่ท่วม“อยู่ และแม้จะได้รับแจก ’ส้วมฉุกเฉิน-ส้วมชั่วคราว“ แต่ก็ ’ใช่ว่าจะสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย“

’ภัยเชื้อโรค“ จาก 2 เรื่องนี้...ก็ ’ควรต้องกลัว!!“

ทั้งนี้ กับ 2 เรื่องดังกล่าวนี้ ทางกลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดงความห่วงใย พร้อมมีคำแนะนำที่น่าพิจารณา กล่าวคือ... ในภาวะอุทกภัยที่เกิดขึ้น การประยุกต์ใช้กรรมวิธีอย่างง่ายใน การผลิตน้ำสะอาดที่สามารถนำมาอุปโภคหรือเป็นน้ำใช้ (ไม่รวมถึงการเป็นน้ำดื่ม) ได้อย่างปลอดภัย นับว่ามีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งการผลิตน้ำสะอาดสำหรับเป็นน้ำใช้ด้วยตนเองนั้น อุปกรณ์ที่จำเป็นประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่
1. โอ่ง ถังพลาสติก หรือภาชนะรองรับน้ำ จำนวน 2 ใบ
2. สารส้มก้อน
3. สารฆ่าเชื้อโรคคลอรีนชนิดน้ำ 2% (หยดทิพย์)

ขั้นตอนการผลิตน้ำใช้เอง มี 4 ขั้นตอนคือ

1. เตรียมน้ำลงในภาชนะรองรับน้ำใบที่ 1 โดยเลือกใช้น้ำจากแหล่งน้ำในบริเวณที่ห่างจากแหล่งสุขาหรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ตักใบไม้ เศษไม้ หรือเศษสิ่งอื่นๆ ที่อาจลอยอยู่บนผิวน้ำออก

2. แกว่งสารส้มในน้ำ แกว่งที่ความลึกประมาณ 2/3 ส่วนของความลึกน้ำจากผิวน้ำ แกว่งสารส้มจนสังเกตเห็นตะกอนเริ่มจับตัว ซึ่งอาจใช้เวลามากน้อยต่างกันไปตามปริมาตรและลักษณะน้ำ

3. หลังจากขั้นตอนการแกว่งสารส้ม จะต้องทิ้งน้ำไว้จนกระทั่งตะกอนตกลงสู่ก้นภาชนะ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาประมาณ 30 นาที หรืออาจตั้งทิ้งไว้ข้ามคืน จากนั้นจึงตักหรือถ่ายน้ำส่วนที่ใสเข้าสู่ภาชนะบรรจุใบที่ 2 โดยน้ำที่ผ่านขั้นตอนนี้จะมีลักษณะใส แต่ก็ยังไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรค

4. เติมสารฆ่าเชื้อโรคคลอรีนชนิดน้ำ 2% (หยดทิพย์) ลงในภาชนะรองรับน้ำใบที่ 2 ซึ่งควรจะรู้ปริมาตรน้ำโดยคร่าวๆ แล้วจึงเติมสารในปริมาณ 1 หยด ต่อน้ำ 1 ลิตร กวนผสมและปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เพื่อให้สารฆ่าเชื้อโรคออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อผ่าน 4 ขั้นตอนแล้ว ก็จะได้น้ำที่ปลอดภัยเพื่อการเป็น ’น้ำใช้“ แต่อาจจะยังไม่เหมาะสมต่อการบริโภค เนื่องจากเป็นน้ำที่ผ่านการผลิตขึ้นเอง อาจไม่มีการควบคุมคุณภาพที่ดีเพียงพอ

และก็มีคำเตือนเกี่ยวกับสารฆ่าเชื้อโรคคลอรีนชนิดน้ำ 2% (หยดทิพย์) ด้วยว่า สารนี้ต้องเก็บรักษาในที่มืด ที่สำคัญต้องเก็บให้พ้นมือเด็ก ห้ามรับประทานโดยตรง อย่าให้สารเข้าตาและสัมผัสผิวหนัง ถ้าสารถูกมือให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด ถ้าสารเข้าตาต้องรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง แล้วรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

อีกเรื่องคือ การใช้ส้วมฉุกเฉิน-ส้วมชั่วคราวให้ปลอดภัย ซึ่งทางกลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนำไว้สรุปได้ว่า... การใช้จำเป็นต้องพึงระวังถึงการแพร่กระจายของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค ที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ซ้ำซ้อนขึ้นอีกปัญหาหนึ่ง ซึ่งการป้องกันมีวิธีปฏิบัติอย่างง่ายคือการเติมสารเคมีลงไปในส้วมชั่วคราว โดยเฉพาะ “ส้วมถุงดำ” เพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อโรค และลดการแพร่กระจาย รวมถึงการสะสมตัวของเชื้อโรคในบริเวณน้ำท่วมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

การ ’ฆ่าเชื้อโรคสำหรับส้วมชั่วคราวแบบที่ใช้ถุงดำ“ ให้ ’เติมปูนขาว“ เพื่อปรับสภาพให้เป็นด่าง ซึ่งจุลินทรีย์ก่อโรคจะถูกกำจัดไปเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

ปริมาณการเติมปูนขาวเพื่อฆ่าเชื้อโรค คร่าวๆคือ เติมปูนขาว 300 กรัม (1 ถ้วย) ต่อปริมาตรของเสียประมาณ 10 ลิตร หรือประมาณ 0.3 ลิตร ต่อปริมาตรของเสียประมาณ 10 ลิตร ดังนั้น การขับถ่ายใส่ถุงดำควรต้องเผื่อปริมาตรไว้สำหรับการเติมปูนขาวด้วย ในกรณีที่เลือกใช้ถุงดำขนาด 20 ลิตร ควรใส่ปูนขาวประมาณ 300 กรัม ซึ่งน่าจะใช้งานได้ประมาณ 5-10 ครั้ง (อาจใช้ได้ถึง 15 ครั้ง กรณีถ่ายหนักอย่างเดียว)

รูปแบบการเติมปูนขาวทำได้ 3 แบบ คือ
1. แบ่งเติมทุกครั้งที่ขับถ่าย ประมาณ 15 กรัม (2 ช้อนโต๊ะ) ต่อการขับถ่าย 1 ครั้ง ไม่ว่าจะอุจจาระหรือปัสสาวะ
2. เติมตอนเริ่มต้นใช้ครึ่งหนึ่ง (150 กรัม) หลังจากใช้งานเสร็จอีกครึ่งหนึ่ง (150 กรัม)
3. เติมตอนเริ่มต้นใช้ครั้งเดียว (300 กรัม) โดยรูปแบบที่ 1 จะดีที่สุด ซึ่ง ควรใช้ถุงดำ 2 ชั้นเพื่อความแข็งแรง และใช้งานแล้วต้องมัดให้ดีเพื่อป้องกันการปนเปื้อนและง่ายต่อการนำไปกำจัด ส่วนการเติมอีเอ็ม (EM) ในการใช้ส้วมถุงดำ ช่วยเรื่องการย่อยสลายสูงในเวลาสั้นๆ แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อโรคโดยตรง

ทั้งนี้ คำแนะนำ 2 เรื่องนี้ นับว่ามีประโยชน์มาก ทั้งกับผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วม แล้วมีปัญหาขาดน้ำใช้-ขาดส้วมแบบปกติ และกับฝ่ายที่จะไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในการเตรียมปัจจัยเพื่อการนี้ คือเตรียม “สารส้มก้อน-สารฆ่าเชื้อโรคคลอรีนชนิดน้ำ 2% (หยดทิพย์)” และ “ปูนขาว” ไปให้ผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมด้วย

’เชื้อโรค“ อาจจะมากับน้ำที่ท่วม-เกิดในส้วมฉุกเฉิน

ไม่กลัว-ไม่ป้องกัน ’ภัยซ้อนภัย“ อาจเกิดขึ้นได้!!!!!.




จาก .......................... เดลินิวส์ วันที่ 25 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
25-10-2011, 07:57
ไอเดียญี่ปุ่น "กระสอบน้ำเจล" ใช้แทนกระสอบทราย น้ำหนักเบา อายุใช้งาน 3 ปี

http://www.khaosod.co.th/online/2011/10/13194338711319433888l.jpg

วันที่ 24 ต.ค.ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ดร.ณพงศ์ นพเกตุ ที่ปรึกษาสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เดินทางมาเสนอเทคโนโลยีใหม่ในการป้องกันน้ำท่วมต่อ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้แก่ กระสอบพองน้ำ (Hydro Bag) ที่จะนำมาใช้ในการป้องกันน้ำแทนกระสอบทราย โดย น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า ดร.ณพงศ์เป็นอดีตนักเรียนทุนญี่ปุ่นเห็นว่ากระสอบพองน้ำที่ญี่ปุ่นใช้ป้องกันน้ำท่วมนั้นน่าจะมีประโยชน์และประสิทธิภาพในการเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับประเทศไทย

กระสอบดังกล่าวในเวลาปกติจะคล้ายถุงผ้าหรือกระสิอบทั่วไป มีน้ำหนักเบาและพกพาสะดวก แต่เมื่อนำไปแช่น้ำเจลในกระสอบจะอมน้ำ ทำให้พองตัวมีคุณสมบัติคล้ายกระสอบทราย มีน้ำหนักและขนาดป้องกันน้ำได้ ซึ่งในญี่ปุ่นกระสอบพองน้ำนี้จะมีราคา 450 เยนหรือประมาณ 182 บาท แต่หากรัฐบาลไทยติดต่อขอเทคโนโลยีดังกล่าวจากรัฐบาลญี่ปุ่น ก็จะทำกระสอบพองน้ำได้ในราคาที่ถูกกว่า หรือหากเอกชนรายใดสนใจจะซื้อมาบริจาคก็สามารถทำได้

นอ.อนุดิษฐ์กล่าวอีกว่า หากเปรียบเทียบในเรื่องของราคา แม้จะสูงกว่าทราย แต่ก็สามารถนำกลับมาใช้ได้ถึง 3 ครั้ง มีอายุใช้งานถึง 3 ปี อีกทั้งสารที่ใช้ก็ไม่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติ เมื่อเลิกใช้ก็จะมีสารที่ทำให้กระสอบน้ำยุบตัวลงเหมือนเดิม จึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งแม้น้ำท่วมครั้งนี้จะนำมาใช้ไม่ทัน แต่ในอนาคตก็น่าจะมีประโยชน์อย่างมาก




จาก .......................... ข่าวสด วันที่ 25 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
25-10-2011, 08:03
ใช้ “ถุงยางอนามัย” ช่วยกันน้ำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

http://pics.manager.co.th/Images/554000014370801.JPEG
ใช้ถุงยางอนามัยช่วยกันน้ำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (ภาพทั้งหมดจาก DIY Photography)

นอกจากรถยนต์ที่คนเมืองเป็นห่วงว่าจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแล้ว มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นอีกปัจจัยที่หลายคนเป็นห่วงจะเสียหายจากการเปียกน้ำ หากไม่กระอักกระอวนใจกันจนเกินไป อุปกรณ์ใกล้ตัวอย่าง “ถุงยางอนามัย” ช่วยคลายกังวลเรื่องนี้ได้ ด้วยคุณสมบัติของถุงยางที่มีความยืดหยุ่นและกันน้ำได้อย่างดี

ในเว็บไซต์ DIY Photography ได้นำวิธีกันน้ำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีง่ายๆ โดยใช้ถุงยางอนามัยเป็นวัสดุหุ้ม ซึ่ง แซม โนยัน (Sam Noyoun) สมาชิกเว็บไซต์ผู้แนะนำเคล็ดลับดีๆนี้ ควรใช้ถุงยางอนามัยแบบไม่มีสารหล่อลื่น แต่ในกรณีที่หาไม่ได้ก็ใช้ถุงยางอนามัยที่มีขายอยู่ทั่วไป แล้วนำมาล้างน้ำเอาผงแป้งหรือสารหล่อลื่นออก เพียงแต่เมื่อใช้น้ำล้างแล้วจะทำให้คลี่ถุงยางได้ลำบาก

เมื่อสวมถุงยางอนามัยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ให้ผูกปมและทากาวปิดรอยรั่ว โดยในกรณีของกล้องดิจิตัลนั้น ให้ใช้แกนกระดาษทิชชู หรืออุปกรณ์ที่สามารถครอบเลนส์ เพื่อปกป้องกลไกในการซูมเลนส์ และเพิ่มความมั่นใจด้วยซองกันชื้นที่หาได้ทั่วไป

http://pics.manager.co.th/Images/554000014370802.JPEG
หาอุปกรณ์มาครอบป้องกันเลนส์และกลไกซูม


http://pics.manager.co.th/Images/554000014370803.JPEG
ผูกปมและทากาวปิดรอยรั่ว


http://pics.manager.co.th/Images/554000014370804.JPEG
ได้อุปกรณ์กันน้ำ




จาก ....................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 24 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
26-10-2011, 07:56
เปิด 10 บัญญัติสกัดโรค "ตามน้ำ"บวกสุดยอดเคล็ดลับ "อย่าลืมรัก"

โดย นพ.กฤษดา ศิรามพุช,พบ.(จุฬาฯ) ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ American Board of Anti-aging medicine


ตอนนี้ข่าวอะไรก็ไม่ถูกตามติดในเมืองไทยเท่ากับข่าวมวลน้ำมหาศาลที่ล้างผลาญไล่มาจากจังหวัดต่างๆลงมาจนถึงเมืองหลวงของประเทศ เหตุการณ์ใดๆก็เทียบไม่ได้ คนทั่วไปก็เครียดเพราะเสพข่าวน้ำท่วมทุกวัน พอลองนึกถึงใจกันแล้วสื่อมวลชนท่านก็เครียดไม่แพ้กันครับ และน่าจะเครียดกว่าด้วยซ้ำ เห็นจากพี่นักข่าวที่สนิทกันบ่นให้ฟังทุกวันอย่างน่าเห็นใจ ข่าวการตายของกาดาฟียังเป็นหัวข้อรองไปเลยเมื่อคิดถึงว่าน้ำจะบุกมาอย่างมากที่สุดในประวัติศาสตร์

ธรรมชาติมีอำนาจเหนือมนุษย์ตัวน้อยเสมอ

อิทธิพลใดๆในทางการเมืองก็ไม่อาจบังคับ "น้ำ" ได้ นอกจากความมีคารวธรรมเท่านั้นที่น้อมรับธรรมชาติบัญชา ที่ผ่านมามีมนุษย์นับไม่ถ้วนคิดว่าแหล่งน้ำไม่ต่างจาก "ส้วม" คือเป็นที่ทิ้งปฏิกูลโสโครก การลอยกระทง ก็ทำไปเป็นพิธีอย่างนั้น เป็นความสุขสันทน์แล้วจากนั้นก็ลืมสิ้น

ปีนี้เลยมีกระทงหลายแห่งต้องลอยด้วยน้ำตาแทนความเดือดร้อนเหลือแสนในครั้งนี้มีผลมาจากความไม่รักน้ำ ไม่รักดิน ไม่รักป่า ที่เสมือนมารดาของเรา แม้กระนั้นมารดาก็ยังสู้อดทนเพื่อลูกเกเรนี้มานานจนทานไม่ไหวจึงได้ปล่อยวาง ลูกนั้นจึงต้องกระเสือกกระสนเอาตัวรอดกันเองเหมือนทุกอย่างถูกล้างไพ่หมด ถ้าสลดแล้วสำนึกได้ก็จะยังพอไม่สายที่จะคิดรักแม่อีกครั้ง


10 บัญญัติสกัดโรค "ตามน้ำ"

หากแม้นคันกั้นน้ำและประตูน้ำคือด่านป้องกันเมืองจากมวลน้ำมหาศาลแล้วไซร้ตัวท่านก็คือด่านกั้นโรคที่สำคัญที่จะป้องกันมวลเชื้อโรคจำนวนมหาศาลที่จ้องจะผ่านเข้าไปอยู่ทุกขณะถ้าได้ทำตามบัญญัติสกัดโรคน้ำท่วมต่อไปนี้

1) อย่าเพิ่งตัดเล็บเท้าหรือเล็บมือช่วงน้ำท่วม รวมถึงการตะไบเล็บด้วยในกรณีที่ต้องแช่น้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง เพราะจะเป็นการเปิดช่องให้เชื้อน้ำเน่าพากันแห่เข้าเท้าราวกับเป็นศูนย์อพยพชั้นดี

2) อย่าให้มีหวัดหรือรีบรักษาภูมิแพ้คัดจมูกให้หาย ไม่เช่นนั้นมีสิทธิกลายเป็น "ปอดบวม" ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างได้ถ้าต้องเปียกติดน้ำอยู่นาน

3) เริ่มเป็นหวัด ให้กินยากันไว้ก่อน ใช้ยาสามัญอย่าง ยาแก้แพ้คลอเฟนิรามีนก็ได้ครับ ช่วยให้หลับได้แล้วหวัดที่เป็นน้อยอาจหายได้เลยครับ

4) เลี่ยงนอนทั้งหัวเปียก และเมื่อผมเปียกแล้วต้องสระผม เพราะความเย็นจากศีรษะส่งให้โพรงจมูกเย็นเป็นที่แบ่งตัวดีของไวรัสหวัด ให้สังเกตว่าเรามักเป็นหวัดเมื่อหัวเย็นครับ

5) ลดการนอนเปิดแอร์ บ้านเรามี "เด็กติดแอร์" เยอะครับ เพราะคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ต้องเปิดแอร์ให้ลูกนอน ตอนน้ำท่วมอากาศชื้นอยู่แล้ว การเปิดแอร์จะทำให้อุณหภูมิศีรษะต่ำลงเป็นที่อาศัยของเชื้อหวัดดีกว่าปกติ

6) ให้งีบหลับพักผ่อนบ้าง จะเป็นกลางคืนหรือกลางวันก็ได้ ให้พักกันเข้าไว้ถ้าไม่อยากพลาดข่าวด่วนอาจสลับเวรกันนอนได้ ขอให้คิดว่าจะได้ตื่นมามีแรงสู้ต่อในวันรุ่งขึ้นครับ

7) งดการกินมากสิ่ง ยิ่งกินหลากหลายมากในตอนน้ำท่วมก็ยิ่งเพิ่มสิทธิป่วยมากขึ้นเพราะความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอย่าง อี.โคไล จากน้ำสกปรกมีมากในช่วงนี้ครับ

8) พักสมองด้วยการลองพักเสพสื่อน้ำท่วมเป็นระยะ กำหนดเวลารับข่าวต่อวันเป็นรายชั่วโมง เพื่อลดความ เครียดสะสมจากการจมอยู่กับข่าวที่น่าหดหู่

9) ล้างมือล้างเท้าเป็นประจำ เพราะเป็นทางด่วน นำเชื้อน้ำท่วมเข้าตัวที่สำคัญ แค่ล้างมือ-เท้าอย่างเดียว ยังไม่พอขอให้ซับแห้งทุกครั้ง จะได้ไม่ดูดเชื้อโรคเข้ามาเกาะง่าย

10) ล้างปากแปรงลิ้นและแปรงฟันทุกวัน ไม่ว่าจะติดน้ำนานแค่ไหนเพราะช่องปากเป็นปราการด่านสำคัญที่รับเชื้อเข้าทางเดินอาหาร,เข้าหลอดเลือดและเข้าหัวใจได้

ทิ้งท้ายแต่ไม่ท้ายสุดของบัญญัติ 10 ประการนี้คือ "อย่าลืมรัก" ครับ

เพราะที่สุดแล้วก็คงยังต้องมีเหตุ สุดวิสัยที่ไม่อาจป้องกันได้ไม่ว่าจะใช้โมเดลสุขภาพใดๆก็ตาม ธรรมชาติเป็นอำนาจที่ไม่อาจหยั่งรู้ครับแม้จะกับนักวิชาการเก่งกาจ แต่สิ่งที่ทำได้คือความเมตตาที่มีให้กัน แล้วท่านจะมีหัวใจที่หนักน้อยลงมาก หากมองตากันด้วย

สายตาแห่งรักที่คิดว่าจะช่วยอะไรกันได้บ้าง ท่านจะเห็นสายน้ำงามได้แม้ในห้วงทุกข์สาหัสครับ

ต้องเคยรับทุกข์จึงจะรู้สุขได้อย่างซึ้ง




จาก ..................... มติชน วันที่ 25 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
26-10-2011, 08:01
มาดูไอเดียชาว" Gen-V" กับภารกิจผนึกกำลังทำ "เสื้อชูชีพ" อย่างง่ายกัน...

http://www.matichon.co.th/online/2011/10/13195169381319517055l.jpg

จากวิกฤตการณ์น้ำท่วมใหญ่หลวงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่กับประเทศไทยขณะนี้ โดยเฉพาะในภาคกลาง อีสาน กรุงเทพฯ และปริมณฑลที่อาณาจักรของสายน้ำค่อยๆกระชับวงล้อมแผ่อาณิคมกินพื้นที่ต่างๆเข้ามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนั่นอาจทำให้หลายคนตื่นตัว หวาดวิตก ขนข้าว อพยพของหนีน้ำกันจ้าละหวั่น บ้างก็พาตัวเองยอมสละออกจากบ้านเพื่อความปลอดภัยของชีวิต บ้างก็ไม่อยากจากบ้านสุดที่รัก ที่กำลังจมจากไปต่อหน้าต่อตา

แต่ทว่า แล้วชีวิตของเราเอง สำคัญสุด!! โดยเฉพาะกับคนที่ว่ายน้ำไม่เป็นช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มีโรคประจำตัวฯลฯ น่าห่วงมากก! หากเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานต่างๆรวมถึงบรรดาจิตอาสาทั้งหลายไม่สามารถเข้าช่วยเหลือได้ทั่วถึง และกรณีที่เสื้อชูชีพ มีไม่เพียงพอ...

http://www.matichon.co.th/online/2011/10/13195169381319517210l.jpg

มติชนออนไลน์ ได้เข้าไปเห็นวิธีการทำเสื้อชูชีพอย่างง่ายๆ จากไอเดียเก๋ๆ และประหยัดกำลังทรัพย์ ในเฟซบุ๊กของ ศูนย์คนรุ่นใหม่ใจอาสา เพื่อผู้ประสบภัย (สวนโมกข์ กทม.) ซึ่งเขาได้ใช้ขวดน้ำ ถุงกระสอบ และปอฟางมาประดิษฐ์ทำเสื้อชูชีพแบบง่ายๆ และใช้ได้ในสถานการณ์จริงซะด้วย ในการประคองชีวิตให้กับเราๆในช่วงน้ำหลากเบื้องต้น จึงขออนุญาตนำวิธีการดังกล่าวมาเผยแพร่ ซึ่งตอนนี้ทางทีมงานเขากำลังเร่งระดมกำลังพลในการทำเสื้อชูชีพจากกระสอบที่ว่านี้อย่างแข็งขัน รวมถึงขอรับบริจาคอุปกรณ์ในการทำเสื้อชูชีพนี้ด้วย ได้แก่ 1.กระสอบพลาสติก 2.ขวดน้ำ 3.เชือกปอ หรือเชือกฟาง(ขออย่างเหนียว..)

ศูนย์คนรุ่นใหม่ใจอาสา เพื่อผู้ประสบภัย (สวนโมกข์ กทม.) ระบุไว้บนเฟซบุ๊กของพวกเขาไว้ดังนี้ ...

ภารกิจเร่งด่วน : ระดมขวดน้ำ, ถุงกระสอบ และปอฟาง(อย่างเหนียว) เพื่อนำไปผลิตเสื้อชูชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย..งานนี้ตั้งเป้าไว้ 500 ตัว..

ประกาศ! ท่านใดมีอุปกรณ์เหล่านี้อยู่ในมือแล้วล่ะก็ นำมาส่งให้ Gen-V (ศูนย์คนรุ่นใหม่ใจอาสา เพื่อผู้ประสบภัย..(สวนโมกข์กรุงเทพฯ)) ได้เลยนะคะ..ทีมงานคันไม้คันมืออยากทำกันเต็มที่แล้ว..ที่สำคัญผู้ประสบภัยก็ลอยคอ..รอคอย พวกเราอยู่ค่ะ..

http://www.matichon.co.th/online/2011/10/13195169381319517266l.jpg


ทำเสื้อชูชีพง่ายนิดเดียว....

ภารกิจ:ทำเสื้อชูชีพแบบลด cost! แต่ปลอดภัย เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม..

ศูนย์คนรุ่นใหม่ใจอาสา เพื่อผู้ประสบภัย (สวนโมกข์กรุงเทพฯ) ต้องการรับบริจาคอุปกรณ์สำหรับทำเสื้อชูชีพ 500 ตัวดังนี้ (โดยสามารถนำมาสมทบได้เรื่อยๆ ไม่จำกัดจำนวน)

1. ขวดน้ำขนาด 1.5 ลิตรจำนวน 4,000 ขวด (ใช้ 8 ขวดต่อเสื้อชูชีพ 1 ตัว)
2. ถุงกระสอบขนาด 16.5 x 24 นิ้วจำนวน 1,000 ถุง (ดูภาพประกอบ)
3. ปอฟางหรือเชือกฟางไซซ์หนา จำนวน 250 ม้วนเล็ก

ทีมงานทดสอบแล้ว สามารถรับน้ำหนักผู้สวมใส่ได้ถึงส่วนสูง 180 cm น้ำหนักตัว 80 kg

สามารถบริจาคได้ด้วยตนเองที่ศูนย์ ติดต่อคุณบุ๋ม 081-763-5236, 088-097-9809

http://www.matichon.co.th/online/2011/10/13195169381319517501l.jpg




จาก .................... มติชน วันที่ 25 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
26-10-2011, 08:03
8 ขั้นตอนช่วยเหลือเด็กจมน้ำ


เป็นเรื่องที่ต้องอ่านอีกเรื่องหนึ่งเลยทีเดียวค่ะสำหรับคนเป็นพ่อแม่ หรือผู้ที่มีเด็ก ๆ อยู่ในอุปการะ เพราะมวลน้ำขนาดใหญ่ที่ยึดครองพื้นที่ของประเทศไทยเอาไว้ในตอนนี้อาจคร่าชีวิตเด็กๆไปจากเราได้ทุกขณะ วันนี้เราจึงมีคำแนะนำดีๆ จาก รศ.นพ.วรการ พรหมพันธุ์ กุมารแพทย์โรคหัวใจ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มาฝากกันถึงวิธีช่วยเหลือเด็กจากการจมน้ำ ดังนี้ค่ะ

1. รีบนำเด็กขึ้นจากน้ำให้เร็วที่สุด

2. แจ้ง 1669 หรือ หน่วยพยาบาลใกล้เคียงโดยเร็วที่สุด

3. ห้ามนำเด็กวิ่งอุ้มพาดบ่า เพราะนอกจากจะไม่ได้ช่วยให้น้ำในปอดไหลออกมาแล้ว ยังทำให้การช่วยชีวิตเด็กช้าลงไปอีก

4. วางเด็กลงบนพื้นแห้ง แข็ง ถอดเสื้อที่เปียกออก เช็ดตัวเด็กให้แห้งเท่าที่จะทำได้

5. หากเด็กไม่รู้สึกตัว ให้คลำชีพจรบริเวณคอ (เด็กโต) หรือ บริเวณข้อศอก (เด็กเล็ก)

6. หากไม่พบว่ามีชีพจร หรือ ไม่แน่ใจว่ามีชีพจร ให้เริ่มนวดหัวใจ โดยวางสันมือบริเวณกลางหน้าอก ต่ำกว่าราวนมเล็กน้อย กดหน้าอกให้ยุบลงไปประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของหน้าอก ด้วยอัตราอย่างน้อย 100 ครั้ง/นาที ทำติดต่อกัน 30 ครั้ง จากนั้นบีบจมูกและเป่าปากพอให้หน้าอกยกขึ้น 2 ครั้ง และรีบนวดหัวใจต่อ ทำสลับกันในอัตราส่วน 30:2 ติดต่อกัน 5 ชุด (หรือประมาณ 2 นาที)

7. เมื่อครบ 2 นาทีแล้ว ให้ตรวจคลำชีพจรอีกครั้ง หากมีชีพจร หรือ เริ่มหายใจได้เอง ให้หยุดนวดหัวใจ จัดท่านอนตะแคงเพื่อเปิดทางเดินหายใจ และรีบนำส่งโรงพยาบาล

8. หากยังไม่มีชีพจร หลังครบ 2 นาที ให้นวดหัวใจ สลับเป่าปาก ต่อไปเรื่อยๆ และตรวจชีพจรซ้ำอีกครั้ง เมื่อครบ 2 นาที ทำซ้ำไปจนกว่าจะมีทีมแพทย์มาช่วยเหลือ หรือ จนกว่าเด็กจะเริ่มรู้สึกตัว

นอกจากนั้นในภาวะวิกฤตน้ำท่วม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) ได้เปิด สายด่วน Call Center ให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาทางสุขภาพและอุบัติภัยในเด็กในภาวะวิกฤตน้ำท่วม โดยบุคลากรทางการแพทย์ อีกด้วยที่หมายเลข 0-2354-8346 ค่ะ




จาก ...................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 25 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
26-10-2011, 08:37
รับมือ 6 โรคฮิตน้ำท่วม

http://www.dailynews.co.th/content/images/1110/26/etc/hl26102011.jpg

น้ำที่ท่วมขังไม่ได้สร้างความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินเท่านั้น แต่ยังนำโรคภัยไข้เจ็บมาด้วย ที่ฮิตและเป็นกันมาก คงไม่พ้น 'โรคน้ำกัดเท้า' เพราะติดเชื้อราชื่อ Dermatophytes เกิดจากความอับชื้นและสกปรก ย่ำน้ำไม่สะอาด อาการเริ่มจากคนตามซอกหรือง่ามนิ้ว ผิวลอกเป็นขุย เป็นผื่น หนักเข้าจะพุพอง เท้าเปื่อย มีหนอง เมื่อได้รับยาทาต้านเชื้อรา ผู้ป่วยต้องทาวันละ 2-3 ครั้ง ต่อเนื่องไปถึง 2 สัปดาห์เพื่อป้องกันติดเชื้อซ้ำ แต่ทางที่ดี หลังย่ำน้ำสกปรกมา ควรล้างเท้าให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง ถ้าไม่จำเป็นอย่าแช่อยู่ในน้ำที่ท่วมนานๆ

ถัดมาเป็น 'โรคตาแดง' เนื่องจากน้ำสกปรกหรือฝุ่นละอองเข้าตา ถูกแมลงตอมตา ขยี้ตา หรือติดโรคตาแดงนี้มาจากผู้อื่น ซึ่งจะทำให้ระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง ขี้ตาออกมาก เปลือกตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน จากนั้นจึงลามไปอีกข้าง วิธีป้องกันในเบื้องต้นก็คือ ไม่ขยี้ตา หากรู้สึกระคายเคืองหรือน้ำสกปรกเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดทันที และไม่เข้าใกล้ผู้ป่วยโรคตาแดง

ต่อด้วย 'โรคฉี่หนู' หรือเลปโตสไปโรซิส อาการบ่งบอก คือ ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะน่อง โคนขา และหลัง ทั้งยังมีไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว มีจุดเลือดออกตามผิว ไอมีเลือดปน ตัวและตาเหลือง ปัสสาวะน้อย เพลียซึม ซึ่งแนะนำให้รีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ส่วนการป้องกันโรคฉี่หนู ไม่ควรเดินย่ำน้ำลุยโคลน ถ้ามีบาดแผลที่ผิวหนัง หากเลี่ยงไม่ได้ ต้องสวมรองเท้าบู้ท หรือล้างเท้าแล้วเช็ดให้แห้งสะอาดทันที

ในกลุ่มของ 'โรคทางเดินอาหาร' ก็พบได้บ่อย อาทิ ท้องร่วง อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ โรบิด หรือไทฟอยด์ อาการโดยรวมคือจะถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายมีมูกเลือด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัวและปวดตามตัว เป็นไข้ เบื่ออาหาร ทางป้องกัน ก่อนกินข้าวหรือหลังจากขับถ่ายต้องล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาด กินอาหาและน้ำที่สะอาด ไม่บูดเสีย

และในช่วงน้ำท่วมน้ำขัง ลูกน้ำยุงลายชุกชุมกว่าปกติ ส่งผลให้เสี่ยงป่วยเป็น 'โรคไข้เลือดออก' อาการที่ปรากฎมีทั้งปวดศีรษะ ปวยเมื่อยตามตัว มีไข้สูง ใบหน้าแดง มีจุดเลือดออกตามลำตัว เห็นชัดที่ขาและแขน ป้องกันด้วยการทายากันยุงเอาไว้ หากมีอาการอย่างที่กล่าว หรือกินยาลดไข้แล้ว ไข้ไม่ลดไม่หายควรปรึษาแพทย์ตรวจอาการอย่างละเอียด

สุดท้าย 'กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ' ด้วยเหตุน้ำท่วมอาจทำให้หลายคนต้องอยู่ในสภาพตัวเปียกชื้น พักผ่อนไม่เพียงพอ จึงมักป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไซนัสอักเสบ โรคเยื่อจมูกอักเสบ โรคกล่องเสียงอักเสบ โรคคออักเสบ/ต่อมทอนซิลอักเสบ ในเบื้องต้นหากมีอาการป่วย เช่น ไข้ เจ็บคอ ไอ จาม คัดจมูก ให้พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่นมากๆ ดูแลร่างกายให้อบอุ่น เลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ สวมหน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อ และพบแพทย์เพื่อรักษาอาการป่วย.




จาก .......................... เดลินิวส์ วันที่ 26 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
27-10-2011, 08:33
"FLOOD_REST" ตัวช่วยประเมินความเสี่ยงน้ำท่วมด้วยตัวเอง

http://pics.manager.co.th/Images/554000014426701.JPEG

ท่ามกลางวิกฤตน้ำท่วมที่ไหลหลากสร้างความเดือดร้อน และความเสียหายในหลายๆจังหวัด และค่อยๆทะลักเข้าท่วมแถบปริมณฑล บ้านเรือนในย่านปากเกร็ด บางบัวทอง จ.นนทบุรี หมู่บ้านในเขตคลองรังสิต จ.ปทุมธานี ได้รับผลกระทบสาหัส ขณะเดียวกัน น้ำก็รุกคืบเข้าบดขยี้ ไหลเข้าท่วมบางเขตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทำให้หลายๆครอบครัวในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมอกสั่นขวัญแขวนและเครียดกับการตั้งรับวิกฤตครั้งนี้เป็นอย่างมาก

ไม่เพียงแต่วิกฤตน้ำท่วมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังเกิดวิกฤตสำลักข้อมูลข่าวสารที่สับสนปนเปเพราะได้รับข้อมูลเตือนภัยจากหลากหลายช่องทาง จนกระทั่งเมื่อเร็วๆนี้ ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์ฯ ได้ทำการระดมผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาระบบและเครื่องมือสำหรับประชาชนได้ใช้ในยามฉุกเฉินออกมาเป็น "เครื่องมือช่วยประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วมด้วยตัวเอง" เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิตตนเองและครอบครัว รวมทั้งลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สิน

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับ "เครื่องมือช่วยประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วมด้วยตัวเอง" รศ.ชัยยุทธ สุขศรี อาจารย์จากภาควิชาวิศกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายให้ฟังว่า เป็นส่วนหนึ่งของระบบประเมินความเสี่ยงน้ำท่วมด้วยตนเอง (Flood Risk Evaluation System for Thailand มีชื่อย่อว่า FLOOD_REST) โดยระบบนี้พัฒนาขึ้นจากข้อมูลและฐานข้อมูลที่เกิดจากการศึกษาวิจัยของจุฬาฯ และจากข้อมูลที่มีใช้งานอยู่แล้วในส่วนราชการ โดยข้อมูลที่นำเข้าในระบบปัจจุบัน ได้แก่

1. ค่าระดับพื้นดินบางส่วนของเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร บางส่วนของอำเภอบางพลีและอำเภอเมืองสมุทรปราการ ข้อมูลจากโครงการศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้ไลดาร์สำหรับงานวิศวกรรม โครงการความร่วมมือระหว่างกรมทางหลวง กรมแผนที่ทหาร และแคนนาดา ข้อมูลบันทึกโดยเลเซอร์สแกนเนอร์ (ไลดาร์) ปี 2548

2. ค่าระดับของผิวถนนสายหลักของกรุงเทพมหานคร สำรวจเมื่อปี พ.ศ.2550

3. พื้นที่ปิดล้อมเพื่อการระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร

นอกจากนี้ รศ.ชัยยุทธ กล่าวต่อไปว่า ระบบ FLOOD_REST เป็นแผนที่ออนไลน์ที่ทุกบ้านสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้รับรู้สภาพกายภาพที่ตั้งของที่อยู่อาศัย ทรัพย์สินของบุคคล และสถานประกอบการธุรกิจต่างๆ รวมทั้งเส้นทางน้ำ และระบบระบายน้ำ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลการป้องกัน (บรรเทา) และแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยระบบพื้นที่ปิดล้อมของกรุงเทพมหานครได้

ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นแผนที่ออนไลน์ ผู้ใช้แต่ละบ้านสามารถเข้าถึงได้สะดวกในรูปแบบโปรแกรมประยุกต์ที่แพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ โปรแกรมกูเกิ้ลแมพ และกูเกิ้ลเอิร์ธ ที่เว็บไซต์ www.chula.ac.th/flood_rest/ ซึ่งมีขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงด้วยตัวเองง่ายๆ ดังต่อไปนี้

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ www.chula.ac.th/flood_rest/ เลือกระบบการเข้าใช้เพื่อประเมินระดับน้ำท่วม ซึ่งมีให้เลือกทั้งดูบนมือถือ และคอมพิวเตอร์

2. คลิกเลือกระบบใดระบบหนึ่ง

3. หลังจากคลิกเข้าไปแล้ว จะปรากฎแผนที่ขึ้นมา ให้มองหาตำแหน่งที่อยู่อาศัยของคุณ

4. เมื่อหาเจอแล้ว ด้านบนขวามือสุดจะมีเครื่องหมายบวกเล็กๆ ให้คลิกเข้าไปแล้วเลือกเครื่องหมายถูกที่ Google Hybrid เพื่อให้สามารถเห็นตำแหน่งบ้านของท่านได้ชัดเจนขึ้น

http://pics.manager.co.th/Images/554000014426702.JPEG
ตัวอย่างโปรแกรม Flood_REST ตัวช่วยประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วม

5. ขยายเข้าไปใกล้ๆบริเวณพื้นที่บ้านของท่านให้มากที่สุด

6. คลิกไปที่ตำแหน่งบริเวณใกล้ๆบ้าน ระบบจะปรากฎหน้าต่างแสดงค่าระดับพื้นผิวดินขึ้นมา จากนั้นป้อนค่าคาดการณ์ที่ทราบข่าวมา หรือจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ระบบก็จะแสดงตัวเลขของระดับน้ำที่มีความเสี่ยงต่อการท่วมบ้านให้เตรียมการวางแผนในการตั้งรับต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ค่าระดับพื้นผิวดินอยู่ที่ 1 เมตร และค่าระดับน้ำคาดการณ์ว่าจะท่วมอยู่ที่ 2.50 เมตร ความสูงของระดับน้ำที่จะท่วมก็อยู่ที่ 1.50 เมตร

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สามารถใช้ระบบตรวจสอบได้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีความแม่นยำระดับบวก-ลบ 30 เซนติเมตร และในพื้นที่เขตประเวศ กทม.และจ.สมุทรปราการ มีความแม่นยำระดับบวก-ลบ 10 เซนติเมตร

"ประชาชนสามารถใช้ FLOOD_REST ประเมินระดับน้ำที่กำลังคุกคามและประเมินผลกระทบเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากระบบเป็นแผนที่ออนไลน์ เพียงแค่ป้อนค่าข้อมูลคาดการณ์ระดับน้ำท่วมซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกดูจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ โดยผลต่างระหว่างค่าระดับน้ำคาดการณ์และค่าระดับพื้นผิวดินที่มีความละเอียดถูกต้องสูงระดับ "เดซิเมตร" เลยทีเดียว นั่นจะเป็นประโยชน์ให้แต่ละบ้านสามารถประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วมเพื่อใช้ในการเตรียมตัว เช่น กำหนดระดับการยกของขึ้นที่สูง ตำแหน่งที่ดอนที่อาจย้ายรถไปจอด ตลอดจนถึงความจำเป็นในการเตรียมการและตัดสินใจอพยพ" รศ.ชัยยุทธสรุปทิ้งท้าย

///////////////////////

ข้อมูลประกอบข่าว

สำหรับการพิจารณาค่าคาดการณ์น้ำท่วมเพื่อประเมินความเสี่ยง แต่ละบ้านสามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมตามช่องทางดังต่อไปนี้

- ข้อมูลระดับตลิ่งคลอง หรือระดับน้ำในคลองในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เว็บไซต์ dds.bangkok.go.th/Canal/

- ข้อมูลระดับน้ำที่ประตูน้ำ และสถานีสูบน้ำต่างๆ ภายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่เว็บไซต์ dds.bangkok.go.th/Scada/

- ข้อมูลปริมาณน้ำท่วมบนถนน ณ เวลาปัจจุบัน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่เว็บไซต์ dds.bangkok.go.th/Floodmon/

โดยข้อมูลส่วนนี้มีความจำเป็นต้องไปอ้างอิงกับระดับถนนที่อยู่ในโปรแกรม Flood_REST เพื่อให้สามารถเทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก.) ได้

นอกจากนั้นแล้ว พื้นที่ที่อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาสายหลัก ยังสามารถพิจารณาข้อมูลระดับน้ำเจ้าพระยาประกอบการพิจารณาค่าคาดการณ์น้ำท่วม โดยข้อมูลระดับน้ำที่ตำแหน่งต่างๆตลอดลำน้ำเจ้าพระยา สามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์ของกรมชลประทาน www.rid.go.th ในรายงานการพยากรณ์สภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยเฉพาะส่วนที่ผ่านกรุงเทพมหานครอันได้แก่ สถานีปากเกร็ด (C.22A) สถานีสามเสน (C.12) สถานีสะพานพุทธ (C.4) และสถานีการท่าเรือ (C.53) ที่เว็บไซต์ water.rid.go.th/chao_scada/forecast

///////////////////////

หมายเหตุ

*** เนื่องจากตอนนี้มีผู้อ่านจำนวนมาก ไม่สามารถเข้าใช้ระบบ FLOOD_REST ได้ซึ่งทางผู้ดูแลระบบของจุฬาฯ ชี้แจงว่า ระบบพัฒนาบนฐาน Freeware เกื่อบทั้งหมด การรองรับเบื้องต้นจึงจำกัดต่อ Server ประมาณ 1,000 ผู้ใช้ ระบบจะตัดการเชื่อมต่อที่เกินอัตโนมัติ และเป็นระบบที่เตรียมการเพื่อการขยายระบบในอนาคต ดังนั้น ระหว่างนี้ ทางทีมงานกำลังกระจาย Load ไปที่ Server หลักอื่นๆ

ดังนั้น ในตอนนี้ท่านสามารถประเมิน "น้ำ" ที่อาจมีผลกระทบในเบื้องต้นไปก่อน โดยดูจากแผนที่ค่าระดับพื้นดินในพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการตามลิงค์นี้ www.chula.ac.th/flood_rest/contents/map_lidar_2548_hi.pdf

เมื่อคลิกเข้าไปแล้ว ให้ขยายเข้าไปดูว่าพื้นที่ของท่านอยู่ในสัญลักษณ์สีอะไร แล้วดูว่ามีค่าระดับพื้นดินเท่าไร จากนั้นนำมาหักลบกับค่าคาดการณ์น้ำท่วมที่ท่านได้ทราบข่าวมา หรือจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ค่าระดับพื้นผิวดินในย่านอาศัยของท่านอยู่ที่ประมาณ 1 เมตร และค่าระดับน้ำคาดการณ์ว่าจะท่วมอยู่ที่ 2.50 เมตร ความสูงของระดับน้ำที่จะท่วมบ้านคุณก็จะอยู่ที่ 1.50 เมตร




จาก ....................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 26 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
27-10-2011, 08:35
เก็บของให้กินได้นานในช่วงน้ำท่วม

http://pics.manager.co.th/Images/554000014191801.JPEG

ช่วงน้ำท่วมแบบนี้ อาหารการกินก็เริ่มหายากขึ้นทุกที จะไปซื้อของแห้งมาตุนไว้ก็แทบจะหาซื้อไม่ได้แล้ว สำหรับคนที่น้ำยังไม่ท่วมบ้าน หรือยังพออาศัยในบ้านได้ มีน้ำมีไฟใช้อยู่ “108 เคล็ดกิน” ก็รวบรวมเอาวิธีเก็บของกินให้อยู่กับเราได้นานขึ้นมาฝากกัน

- เริ่มต้นที่ข้าวสวย คนไทยเราปกติก็กินข้าวเป็นอาหารหลักอยู่แล้ว ซึ่งข้าวสวยที่เราหุงมานั้น เก็บไว้นอกตู้เย็นได้สองวันเป็นอย่างมาก แต่สำหรับวิธีที่จะทำให้เก็บข้าวสวยไว้กินได้นานขึ้นก็คือ หลังจากซาวข้าวแล้ว ให้ใส่น้ำปริมาณพอเหมาะกับปริมาณข้าวที่ต้องการหุง จากนั้นให้ใส่น้ำส้มสายชูลงไปด้วย (ประมาณ 1 ช้อนชาต่อข้าว 3 กระป๋อง) จากนั้นก็หุงตามปกติ ข้าวสวยจะอยู่ได้ประมาณ 4-5 วัน เนื่องจากน้ำส้มสายชูจะปรับค่า Ph ให้ไม่เหมาะสมกับแบคทีเรียที่จะเจริญเติบโตในข้าวสวย แต่ก็ไม่ควรเก็บข้าวไว้นานเกินไปเพราะอาจมีแบคทีเรียกลุ่มอื่นเจริญเติบโตได้

- ผัก ผลไม้สดที่มีอยู่ ก็ควรล้างน้ำให้สะอาด เก็บไว้ในตู้เย็น หรืออาจเก็บผัก ผลไม้อบแห้งติดบ้านไว้บ้างก็ได้ เพราะจะช่วยให้ร่างกายไม่ขาดวิตามินในช่วงน้ำท่วม

- ของสดที่มีอยู่ ควรนำไปประกอบอาหารเก็บไว้ (เท่าที่เวลายังพอมีเหลือและสามารถทำได้) เมื่อสุกแล้วก็เก็บไว้ในตู้เย็น ยังสามารถเก็บไว้กินได้อีก 1-2 วัน แทนที่จะต้องกินแต่ของแห้ง

- กรองน้ำสะอาดเก็บไว้มากเท่าที่จะทำได้ เพื่อใช้บริโภคในช่วงน้ำท่วม

- ซื้อน้ำแข็งมาใส่กระติกหรือคูลเลอร์ใหญ่ๆ สามารถแช่ของสดได้ ยืดอายุเก็บไว้กินได้นานขึ้น

ที่สำคัญ ควรดูแลเรื่องสุขอนามัย ความสะอาดปลอดภัยของอาหารการกิน จะได้ปลอดภัยจากโรคที่สามารถติดต่อกันได้ในช่วงน้ำท่วม




จาก ....................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 20 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
27-10-2011, 08:39
มันจะมากับ 'น้ำท่วม' 'ภัยสัตว์พิษ' ไม่เท่าทัน...อันตราย!!

http://www.dailynews.co.th/content/images/1110/27/newspaper/p3thurl.jpg

นอกจากภัย “ไฟช็อต-ไฟดูด” ที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” เป็นสื่อแรกๆที่นำเสนอแจ้งเตือนแล้ว ในช่วงที่เกิด ’น้ำท่วม“ นั้น ภัยซ้อนภัยอีกรูปแบบที่ก็ต้องระวังให้จงหนักคือ ’ภัยสัตว์พิษ“ เช่น... งู, ตะขาบ, แมงป่อง หรือแม้แต่ มด บางชนิดก็มีพิษภัยไม่ธรรมดา สัตว์พิษต่างๆ มักจะมาสู่บ้านเรือนในช่วงน้ำท่วม ต้องระวังให้ดี

’ต้องป้องกัน“ และ ’ต้องรู้เท่าทันถึงอันตราย“

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่น้ำยังไม่ท่วมแต่ก็อยู่ใกล้กับพื้นที่น้ำท่วม พื้นที่ที่น้ำกำลังท่วมอยู่ พื้นที่ที่น้ำท่วมและน้ำลดแห้งแล้ว จะอย่างไรก็วางใจ “ภัยสัตว์พิษ” ไม่ได้ ซึ่งก็ลองมาดูคำแนะนำในเรื่องนี้ จากข้อมูลในเว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม ข้อมูลของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

โดยสรุปนั้น มีดังนี้คือ... พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง สัตว์มีพิษ เช่น งู มด ตะขาบ แมงป่อง ด้วงน้ำมัน ฯลฯ มักจะหนีน้ำจากที่ต่างๆ เช่น ใต้ดิน พุ่มไม้ ท่อระบายน้ำ กองหิน กองวัสดุ เข้าสู่บ้านเรือนของมนุษย์ ซึ่งการป้องกันนั้น ต้องเก็บของบริเวณที่อยู่อาศัยให้เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยเฉพาะบริเวณใต้ตู้ รองเท้า เสื่อ ผ้าเช็ดเท้า อย่ากองวัสดุรกรุงรัง เพราะอาจจะเป็นแหล่งหลบซ่อนของสัตว์พิษเหล่านี้ และต้องอุดรูประตู หน้าต่าง ผนังบ้าน ท่อน้ำทิ้งอ่างล้างจาน อ่างล้างหน้า ท่อระบายน้ำในห้องน้ำ หรือรูตามพื้นบริเวณบ้าน ด้วยวัสดุ เช่น ปูนขาว ปูนซีเมนต์ หรือวัสดุอุดยาแนวอื่นๆ ซึ่งก็จะสามารถป้องกันสัตว์พิษไม่ให้เข้าอาคารบ้านเรือนได้ในระดับหนึ่ง

ต้อง ’อุดรู“ ต่างๆ และกรณีที่น้ำยังไม่ท่วมถึงตัวบ้าน ถ้าเป็นไปได้ให้ ’โรยปูนขาว“ ล้อมรอบบ้าน จะช่วยป้องกันสัตว์มีพิษมิให้เข้ามาในบริเวณบ้าน กรณีน้ำท่วมเข้าบ้านแล้ว ให้ ’ใช้น้ำมันก๊าดราด“ รอบที่พักอาศัย จะทำให้สัตว์ไม่เข้ามาใกล้ และควร ’เตรียมยาฆ่าแมลง“ ไว้ใช้ไล่สัตว์มีพิษด้วย

สำหรับนอกบ้าน... กรณีต้องลุยน้ำท่วมออกไป ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มิดชิด หนาๆ และรัดกุม หาไม้มาใช้ตีหรือกระทุ้งน้ำให้น้ำกระจายขณะเดินลุยน้ำ จะทำให้สัตว์ตกใจและหนีไป

การออกไปลุยน้ำนั้น สัตว์ที่ต้องระวังอีกชนิดคือ ปลิง ควรใช้ถุงพลาสติกหุ้มเท้าทับปลายขากางเกงแล้วรัดด้วยเชือกหรือยางเพื่อป้องกันมิให้ปลิงเข้าไปในกางเกง ซึ่งปลิงเล็กๆ ยังอาจจะหลุดเข้าร่างกายได้ทั้งทางจมูก ปาก หรือแม้แต่ทางตา ซึ่งจะเกิดอันตรายร้ายแรง จะทำลายอวัยวะภายในให้ฉีกขาดและเสียเลือดมาก และยังอาจได้รับอันตรายจากสารพิษ สารเคมี เชื้อโรค และพยาธิด้วย จุดนี้ก็ต้องระวังให้ดี และถ้าถูกปลิงดูดกัด ห้ามดึงออกทันทีเพราะจะเกิดแผลฉีกขาดและเลือดหยุดยาก ให้ใช้น้ำมะนาว หรือน้ำมะกรูด น้ำเกลือเข้มข้น น้ำแช่ยาฉุนหรือยาเส้นไส้บุหรี่ ราดที่ตัวปลิง จะทำให้หลุดออกง่าย แล้วรีบล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์ หรือน้ำต้มสุก และควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อที่หากมีอาการแพ้ แพทย์จะได้ช่วยเหลือได้ทันท่วงที

ทั้งนี้ กรณีถูกสัตว์พิษอย่างตะขาบ แมงป่อง หรือแมงมุมกัด คำแนะนำการปฐมพยาบาลแผลที่ถูกกัดคือ... ใช้ผ้าหรือเชือกรัดเหนือบาดแผลเพื่อป้องกันพิษซึมเข้ากระแสเลือด ถ้าถูกกัดที่นิ้วมือหรือนิ้วเท้าให้รัดตรงโคนนิ้ว รัดประมาณ 5 นาทีจึงคลายออก หลังบีบหรือดูดเอาพิษออก หรืออาจใช้เหล็กเผาไฟจี้แผล หรือผ่าแผลให้กว้างแล้วใช้เกล็ดด่างทับทิมใส่ ใช้น้ำแข็งวางบริเวณที่ถูกกัดหรือต่อยประมาณ 2 ชั่วโมง โดยแขนหรือขาข้างที่ถูกกัดหรือต่อยควรจะวางต่ำกว่าส่วนอื่นของร่างกาย ซึ่งแผลบริเวณที่ถูกกัดนั้นให้ล้างด้วยด่างทับทิม ถ้ามีเหล็กในของสัตว์ที่กัดติดอยู่ก็ให้คีบออก แล้วทาแผลด้วยแอมโมเนีย โซดาไบคาร์บอเนต น้ำเกลือ หรือน้ำปูนใส

เพิ่มเติมกรณีสัตว์ที่กัดมีเหล็กใน เช่น ผึ้ง แตน ต่อ ให้รีบเอาเหล็กในออกจากแผล ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณแผลเพื่อระงับอาการปวดและช่วยลดการซึมซาบของพิษ ถ้าถูกสัตว์กัดต่อยบริเวณหน้า คอ แล้วมีอาการบวมหายใจไม่ออก รีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยด่วน เพราะอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้!!

กรณีถูกงูพิษกัด ลักษณะรอยเขี้ยวจะเป็นแผลลึก 2 รอย บาดแผลจะเขียวช้ำ การถูกงูพิษกัดอาจมีอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของงูพิษ ซึ่งมีอาการเกิดขึ้นได้ 3 แบบคือ พิษต่อประสาท เช่น งูเห่า งูจงอาง ทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ และที่สำคัญคือทำให้หยุดหายใจ, พิษต่อโลหิต เช่น งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ ทำให้เลือดออก เช่น เลือดออกจากผิวหนัง ปัสสาวะเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด, พิษต่อกล้ามเนื้อ เช่น งูทะเล ทำอันตรายต่อเซลล์กล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้ออย่างมาก และอาจถ่ายปัสสาวะเป็นสีดำ

สำหรับคำแนะนำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับแผลที่ถูกงูกัดคือ... ให้ใช้สายยาง หรือเชือก หรือผ้า หรือวัสดุอื่น ๆ รัดบริเวณเหนือแผลให้แน่น โดยรัดระหว่างแผลกับหัวใจ และรีบไปหาแพทย์นำส่งแพทย์โดยด่วน ซึ่งถ้าสามารถบอกชนิดของงูที่กัดได้ก็จะสะดวกในการฉีดเซรุ่มแก้พิษ ทั้งนี้ ระหว่างทางไปพบแพทย์ ถ้ามีด่างทับทิมแก่ ๆ ก็ควรนำไปล้างแผลหรือใช้ปิดที่ปากแผล ต้องพยายามอย่าหลับ อย่าให้ผู้ถูกงูกัดหลับ และที่สำคัญห้ามใช้ยาที่กระตุ้นหัวใจ ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เด็ดขาด เพราะจะทำให้พิษงูเข้าสู่หัวใจเร็วขึ้น

ที่ว่ามาก็เป็นคำแนะนำที่เกี่ยวกับ ’ภัยสัตว์มีพิษในช่วงน้ำท่วม“

ไม่เกี่ยวกับ ’พฤติกรรมเป็นพิษต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วม“ นะ!!!.




จาก ....................... เดลินิวส์ วันที่ 27 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
27-10-2011, 08:41
แนะเส้นทางหลีกเลี่ยงน้ำท่วม เดินทางออกต่างจังหวัด

http://pics.manager.co.th/Images/554000014481001.JPEG

กรมทางหลวง เตือนประชาชนเลี่ยง 77 สายทาง ใน 15 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม พร้อมแนะนำเส้นทางเลี่ยงขึ้นเหนือ-อีสาน ด้านถนนสายเอเชียช่วงนครสวรรค์-ชัยนาท กลับมาใช้เส้นทางได้เป็นปกติ และศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร แจ้งการปิดเส้นทางการจราจรในกรุงเทพฯ 7 สาย และนนทบุรี 7 สาย อีกทั้งกรมทางหลวงเปิดสายด่วน 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง ให้ข้อมูลข่าวสารสภาพเส้นทาง การจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือ

วันชัย ภาคลักษณ์ รักษาการอธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัยปัจจุบันยังส่งผลให้เส้นทางการจราจรทางบกบางส่วนถูกน้ำ ทะลักเข้าท่วม จนไม่สามารถใช้สัญจรไปมาตามปกติ ทั้งนี้ เพื่อให้การเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขต พื้นที่ประสบอุทกภัยคล่องตัว และปลอดภัยยิ่งขึ้น กรมทางหลวง ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงที่ประสบปัญหาอุทกภัย และเส้นทางที่เจ้าหน้าที่กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แจ้งห้ามใช้เส้นทาง แล้วใช้เส้นทางที่เจ้าหน้าที่แนะนำ เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง

จากสรุปรายงานการเกิดอุทกภัย กรมทางหลวง ประจำวันที่ 26 ตุลาคม 2554 มีสภาวะน้ำท่วมพื้นที่ 20 จังหวัด จำนวน 99 สายทาง ทั้งนี้ เพื่อให้การเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขต พื้นที่ประสบอุทกภัยคล่องตัว และปลอดภัยยิ่งขึ้น กรมทางหลวง ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงเส้นทาง 77 สายทางที่ผ่านไม่ได้ ในพื้นที่ 15 จังหวัด เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางโดยประชาชนที่จะเดินทางไปยังภาค เหนือและตะวันออกเฉียงเหนือสามารถสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 305 รังสิต-นครนายก-สระบุรี เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ล่อง ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือและทางหลวงหมายเลข 9 ทางแยกต่างระดับบางปะอิน-คลองระพีพัฒน์(วงแหวนตะวันออก) ท้องที่อำเภอพยอม ที่กม. 0-4 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 305 รังสิต-ธัญบุรี-นครนายก-ทางหลวงหมายเลข ย 3222 บ้านนา- แก่งคอย เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ลงภาคเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ

ส่วนประชาชนที่ไม่สามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 9 ลาดหลุมแก้ว-ทางแยกต่างระดับบางปะอิน (วงแหวนตะวันตก) ท้องที่อำเภอลาดหลุมแก้ว ที่กม. 62-81 ได้ ให้ใช้ วงแหวนตะวันตกหมายเลข 9 บางบัวทอง-ตลิ่งชัน-ทางหลวงหมายเลข 338 ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี -ทางหลวงหมายเลข 4 นครชัยศรี-นครปฐม แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 321 นครปฐม-กำแพงแสน เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ลงภาคเหนือแทน นอกจากนั้นหาก ทางหลวงหมายเลข 305 รังสิต-นครนายก ท้องที่อำเภอธัญบุรี ที่กม. 0-3 ใช้ไม่ได้ ให้ใช้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์สาย 7) -บางปะกง-ใช้ทางหลวงหมายเลข 314 บางปะกง-ทางหลวงหมายเลข 304 ฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม-กบินทร์บุรี- ปักธงชัย เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ลงภาคตะวันออกเฉียงเหนือแทนได้

ด้านประชาชนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ที่ไม่สามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 9 บางบัวทองบริเวณหน้าหมู่บ้านสมบัติบุรี-ปทุมธานี ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่ กม. 45-50 เนื่องจากมีน้ำท่วมให้เลี่ยงไปใช้ถนนวงแหวนตะวันตกหมายเลข 9 บางบัวทอง-ตลิ่งชัน-ทางหลวงหมายเลข 338 ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี-ทางหลวงหมายเลข 4 นครชัยศรี-นครปฐม แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 321 นครปฐม-กำแพงแสน เพื่อเป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ลงภาคเหนือแทน และหากประชาชนที่เคยใช้เส้นทางทางหลวงหมายเลข 340 บางบัวทอง-ลาดบัวหลวง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 25-31 และขณะนี้ไม่สามารถใช้เส้นทางดังกล่าวได้เนื่องจากน้ำท่วมปริมาณมากนั้น ให้เปลี่ยนมาใช้ถนนวงแหวนตะวันตกหมายเลข 9 บางบัวทอง-ตลิ่งชัน-ทางหลวงหมายเลข 338 ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี-ทางหลวงหมายเลข 4 นครชัยศรี-นครปฐม แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 321 นครปฐม-กำแพงแสน เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ลงภาคเหนือแทน ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนน ที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย ขอให้โปรดใช้ความระมัดระวังในการใช้เส้นทางเพิ่มขึ้นด้วย และให้สอบถามเส้นทางก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือทุกระยะในการเดินทาง


กู้สายเอเชียกลับมาเป็นปกติช่วงนครสวรรค์-ชัยนาท

สำหรับสภาพการจราจรบริเวณสี่แยกสะพานเดชาติวงศ์ ถนนสายเอเชีย หลังเปิดใช้ได้เป็นปกติแล้วทั้ง 2 ฝั่ง ปริมาณรถหนาแน่น ทำให้การจราจรติดขัดบางช่วง แต่เคลื่อนตัวได้ตามสัญญาณไฟ ขณะที่เทศบาลนครสวรรค์ เร่งเก็บกวาดขยะจากน้ำท่วม โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจหลักของเมือง ทำให้การค้าขายและการดำเนินธุรกิจ กลับมาเดินหน้าต่ออีกครั้ง

ส่วนระดับน้ำท่วมถนนชัยนาท-ตาคลี จ.ชัยนาท ลดลงกว่า 50 เซนติเมตร ทำให้สามารถใช้เส้นทางดังกล่าวได้แล้ว แต่ยังต้องให้ทางรถที่สวนมาเป็นระยะ เนื่องจากมีเต็นท์ผู้ประสบภัยอยู่บนถนน


ปิดเส้นทางการจราจรในกรุงเทพฯ และนนทบุรี

ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) รายงานว่าในวันนี้(26ต.ค.)มีถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำเป็นต้องปิดการจราจรรวม 7 เส้นทาง เนื่องจากเกิดน้ำท่วมขังหลายสาย แบ่งเป็นทางด้านทิศเหนือ 5 สาย ส่วนด้านทิศตะวันตกมี 2 สาย ได้แก่
1. ถนนวิภาวดี-รังสิต จากสุดเขตกรุงเทพมหานคร ถึงสะพานกลับรถแยกหลักสี่
2. ถนนพหลโยธิน จากสุดเขตกรุงเทพมหานคร ถึงตลาดสะพานใหม่
3. ถนนกำแพงเพชร 6 จากสุดเขตกรุงเทพมหานคร ถึงสถานีรถไฟดอนเมือง
4. ถนนสรงประภา จากแยกวัดสีกัน ถึงแยกประชาอุทิศ
5. ถนนเวฬุวนาราม เชื่อมต่อซอยแจ้งวัฒนะ 14 ตลอดเส้นทาง
6. ถนนจรัญสนิทวงศ์ ขาเข้า ตั้งแต่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 84-72 ขาออกจากซอยจรัญสนิทวงศ์ 75/1-89
7. ถนนสิรินธร ขาเข้าจากต่างระดับสิรินธร ถึงซอยสิรินธร 2 ขาออกตั้งแต่ซอยสิรินธร 7 บริเวณห้างตั้งฮั่วเส็ง ถึงต่างระดับสิรินธร

ด้านสำนักงานบำรุงทางนนทบุรี แจ้งว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมหนักใน อ.บางใหญ่ บางบัวทอง บางกรวย และไทรน้อย ทำให้ถนนหลายสาย รถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ สำนักงานบำรุงทางนนทบุรี กรมทางหลวง จึงได้ปิดการจราจร 7 เส้นทาง ประกอบด้วย ถนนบางคูวัด - บางบัวทอง ตั้งแต่แยกบางคูวัด - บางบัวทอง ทางหลวงหมายเลข 346 ตอน กม. 20 + 480 - (ต่อเขตแขวงฯปทุมธานี) - ทางหลวงหมายเลข 340 ระหว่าง กม. 20 + 480 - กม. 32 + 537 ถนนปทุมธานี - บางเลน ตั้งแต่ต่างระดับลาดหลุมแก้ว - แยกนพวงศ์ ทางหลวงหมายเลข 3215 ตอน ต่อทางของอำเภอบางกรวย - ต่อเขตเทศบาลตำบลราษฎร์นิยม ระหว่าง กม.21 + 560 - กม. 28 + 000 (สะพานคลองเจ๊ก) ถนนบางกรวย - ไทรน้อย ตลอดทั้งสาย ทางหลวงหมายเลข 3901 ทางขนานฝั่งขาออก ถนนกาญจนาภิเษก ทางหลวงหมายเลข 3902 ทางขนานฝั่งขาเข้า ถนนกาญจนาภิเษก

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ตอน กม. 30 + 600 (ต่อเขตสำนักงานบำรุงทางธนบุรี)-บางบัวทอง ระหว่าง กม.30 + 600-กม. 58 + 869 ถนนกาญจนาภิเษก ตั้งแต่คลองมหาสวัสดิ์ — ต่างระดับลาดหลุมแก้ว ทางหลวงหมายเลข 340 ตอนบางบัวทอง (กม.25 + 659) - กม. 54 + 100 (ต่อเขตแขวงฯ กาญจนบุรี - สุพรรณบุรีที่ 2 ) ระหว่าง กม. 25 + 659 - กม.54 + 100 ถนนบางบัวทอง - สุพรรณบุรี ตั้งแต่บางบัวทอง - สี่แยกนพวงศ์ ทางหลวงหมายเลข 345 ตอน สะพานนนทบุรี - บรรจบทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (บางบัวทอง) ระหว่าง กม. 0 + 000 - กม. 10 -547


เบอร์โทร. สอบถามเส้นทางการจราจร

สำหรับประชาชนที่ต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง การจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรศัพท์ไปได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง 1586 ตำรวจทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง 1193 สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง 0-2354-6530, 0-2354-6668-76 ต่อ 2014, 2031 ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง 0-2354-6551 ศูนย์บริการข้อมูลทางหลวงพิเศษ 0-2533-6111 หน่วยกู้ภัย มอเตอร์เวย์ กรุงเทพ - ชลบุรี (สายใหม่) 0-3857-7852 - 3 หน่วยกู้ภัยวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก (บางปะอิน - บางพลี) 0-2509-6832ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) 1111 กด 5 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) 1784 สายด่วนกรมทางหลวงชนบท 1146 สายด่วนกรมชลประทาน 1460




จาก ....................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 26 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
28-10-2011, 08:28
เปิดแผนที่จุดเสี่ยง! โมเดล 2 สำนัก เพื่อตัดสิน 'หนีหรืออยู่สู้น้ำ'

http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2011/10/27/images/news_img_415964_1.jpg

เปิดแผนที่น้ำ!สองสำนักเรียนรู้ความเสี่ยงเพื่อตัดสินใจ "หนี้หรืออยู่สู้กับน้ำ"จากการประเมินของดร.เสรี และทีมกรุ๊ป

ตอนนี้คนกรุง ดูเหมือนจะทำใจแล้วว่า กทม.ทุกเขตจะถูกน้ำท่วม"รับสภาพ...กทม. จมน้ำ " เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เนื่องจาก"แผนเดิม"การผันน้ำออกสู่สองฝั่งทั้งตะวันออกลงแม่น้ำบางปะกง และตะวันตกสู่แม่น้ำท่าจีน เพื่อลงทะเลนั้น ทำได้ลำบาก เพราะมีอุปสรรคมากมาย สิ่งกีดขวาง ทั้งสิ่งก่อสร้างและถนน ขณะเดียวกันพลังแรงของน้ำทำให้พนังกั้น ประตูน้ำ หลายจุดมิอาจรับได้ อย่างที่นายกรัฐมนตรียอมรับ"พลังแรงของน้ำเกินศักยภาพของระบบที่จะรับได้"

ความสนใจของคนกรุง ตอนนี้จึงอยู่ที่ว่า จะรับมือ กับความเสี่ยงอย่างไร ซึ่งแน่นอน จะสู้หรืออพยพ ก็ขึ้นอยู่กับว่า ระดับความรุนแรงแต่ละพื้นที่ เป็นอย่างไร ?

ขณะนี้มีการประเมิน"จุดเสี่ยง"จากหลายฝ่าย แต่ที่จะหยิบยก"โมเดล"มาเป็นข้อมูลในการประเมินในขณะนี้นั้นมีอยู่สองสำนัก ที่พูดถึงกันมาก

ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญภัยพิบัติจากมหาวิทยาลัยรังสิต และผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม และผู้จัดการใหญ่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ยังเห็นต้องผลักน้ำให้ไปทางตะวันออก เพราะถือเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ตามแนวทางพระราชดำริ

อย่างไรก็ตาม ในวันนี้เขาเห็นคงปฎิเสธไม่ได้แล้วว่า จะต้องหาทางออกโดยการปล่อยให้น้ำไหลผ่านกทม. เนื่องจากขณะนี้มีมวลน้ำมหาศาลจ่อเข้ามาอีกมาก โดยระดับน้ำคาดว่าจะเฉลี่ยกันไปตั้งแต่ 10 เซ็นติเมตร ไปจนถึง 2 เมตร ตามระดับความสูง ต่ำของแต่ละพื่นที่

ทั้งนี้ดร.เสรี เห็นว่าสำหรับระดับน้ำที่ดอนเมือง คงไม่สูงไปกว่านี้แล้ว อย่างมาก 1 เมตร แต่ที่เป็นห่วงในเวลานี้คือย่านบางกะปิ และพระโขนง เพราะถ้าแก้สถานการณ์ไม่ได้น้ำก็สูงถึง 1.50- 2 เมตร

ประเมินพื้นที่น้ำท่วมกทม.เขตต่างๆกรณีเลวร้ายที่สุด โดยดร.เสรี http://bit.ly/sVzWsG

คลิปรายการตอบโจทย์...ดร.เสรี http://youtu.be/uexHyYcCAIQ

ชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการผู้จัดการ หน่วยธุรกิจแหล่งน้ำ จากกลุ่มบริษัททีมกรุ๊ป ก็มีโมเดล ของตัวเองเช่นกัน โดยเห็นว่าปริมาณน้ำในทุ่งเจ้าพระยาที่ยังมีมากกว่า 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เปรียบเสมือนมีอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลอีก 1 อ่าง อยู่ที่บางไทร และปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยา แม้จะลดลงแต่ยังมีปริมาณมากกว่าน้ำที่สามารถระบายลงสู่ทะเลได้

มีน้ำไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยาวันละ 419 ล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลทั้งที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน และทางทุ่งและคลองฝั่งตะวันออกรวมทั้งสิ้นได้วันละ 403 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีน้ำเหลือสะสมเพิ่มเติมในทุ่งเจ้าพระยาอีกวันละ 16 ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนั้น ตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค.ที่ผ่านมาน้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้นเรื่อยๆ จนไปหนุนสูงสุดในวันที่ 31 ต.ค. ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพุทธฯ อยู่ที่ +2.45 เมตรจากระดับน้ำทะเลกลาง

ซึ่งจะมีผลเสริมทำให้ระดับน้ำในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่อยู่ใกล้แม่น้ำและมีคลองเชื่อมโยงกับแม่น้ำเจ้าพระยาและท่าจีน หลังจากนั้นระดับน้ำจะทรงตัว และจะค่อยๆ ลดลงอย่างช้าๆ จนถึงหลังวันที่ 15 พ.ย.ไปแล้ว ระดับน้ำในพื้นที่ อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี จึงจะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนในพื้นที่ บางไทร ปทุมธานี นนทบุรี นครชัยศรี สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ ระดับน้ำจะลดลงอย่างช้าๆ

จากการวิเคราะห์สถานการณ์ของทีมกรุ๊ป ดูจากปริมาณน้ำและระดับความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่ ในกทม. คาดว่า น้ำในคลองหกวาสายล่าง จะไหลทะลักท่วมในพื้นที่กทม.ตะวันออกมีระดับสูงเฉลี่ยประมาณ 50 เซนติเมตร ขณะที่ บริเวณตั้ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนถึงรังสิตจะมีระดับน้ำท่วมสูง 1 เมตร ส่วนบริเวณริมคลองกทม. อาทิ คลองแสนแสบ คลองพระโขนง คลองประเวศบุรีรมย์ จะมีน้ำท่วมสูงประมาณ 1เมตรเช่นกัน ทั้งนี้ ประชาชนที่อาศัยริมคลองแสนแสบให้ขนของขึ้นที่สูง

เช็คระดับสูงต่ำ ของทีมกรุ๊ป http://www.teamgroup.co.th/teamgroup-261011.jpg

ระดับความเสี่ยงเขตต่างๆประเมินโดยทีมกรุ๊ป http://www.teamgroup.co.th/teamgroup-221011-2.jpg




จาก ....................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 28 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
29-10-2011, 07:02
ใช้ไฟ-กั้นน้ำ..ห้ามมั่ว 'โดยประมาท' ทำคนตาย 'ติดคุก!'

http://www.dailynews.co.th/content/images/1110/28/p3scoop1.jpg

"เพิ่มโทษในช่วงน้ำท่วม จากเดิมข้อหาลักทรัพย์มีความผิดตามมาตรา 334 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าหากลักทรัพย์ในช่วงบ้านเมืองกำลังประสบปัญหาอุทกภัย รวมถึงทำลายคันกั้นน้ำ จะมีโทษคือจำคุกระหว่าง 1-5 ปี และปรับ 2,000-10,000 บาท แต่ถ้าหากเป็นการกระทำผิดมากกว่า 2 องค์ประกอบ มีโทษจำคุก 1-7 ปี และปรับ 20,000-24,000 บาท” ...นี่เป็นการแถลงเมื่อวันก่อนของทางฝ่ายตำรวจ พวกหัวขโมยที่ซ้ำเติมทุกข์น้ำท่วมจำใส่หัวไว้

อย่าคิดว่า น้ำท่วม...ตำรวจที่ไหนจะมาตรวจ-มาจับ

เพราะตำรวจก็ถูกชาวบ้านกดดัน...ต้องเอาจริงแน่…

ทั้งนี้ ว่ากันถึงกฎหมาย การลงโทษผู้กระทำความผิดในช่วงน้ำท่วม ทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ก็ขอเตือนเราๆท่านๆทั้งหลายว่า ’ช่วงน้ำท่วมก็ต้องระวังจะตกเป็นผู้ต้องหาฆ่าคนตายโดยประมาท!!“ โดยมีองค์ประกอบของคดีคือ ’กระแสไฟฟ้า“ และ ’วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สร้าง-ใช้ในการป้องกันน้ำท่วม“

สำหรับกรณีกระแสไฟฟ้า “ไฟช็อต-ไฟดูด” ในช่วงที่เกิดน้ำท่วม กับน้ำท่วมครั้งใหญ่ปีนี้ทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” เป็นสื่อแรกๆที่เตือนให้ระวังกัน และก็เตือนซ้ำอีกหลายครั้ง แต่กระนั้นก็น่าสลดใจที่มีคนตายเพราะกระแสไฟฟ้าในช่วงน้ำท่วมไปแล้วหลายราย ทั้งในบ้านเรือนของตนเองและตามถนนหนทางที่เกิดน้ำท่วม ซึ่ง ณ ที่นี้ก็ขอย้ำเตือนกันอีกว่าเรื่องนี้ไม่ระวังไม่ได้ โดยเฉพาะกับน้ำท่วมในเขตเมืองและไม่ได้มีการตัดกระแสไฟฟ้า

นอกจากต้องกลัวว่าตนเองจะถูกไฟช็อต-ไฟดูดแล้ว การใช้กระแสไฟฟ้าในช่วงน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไฟตามปกติในบ้านในบริษัทในหน่วยงานตนเอง หรือใช้กับอุปกรณ์สู้น้ำท่วมต่างๆ ก็ยังต้องระวังกระแสไฟฟ้าดูด-ช็อตคนอื่นด้วย ขณะที่ การใช้วัสดุต่างๆมาสร้างป้องกันการถูกน้ำท่วม ต้องทำให้มั่นคงแข็งแรง ไม่เพียงในแง่การป้องกันน้ำท่วม แต่ต้องไม่สุ่มเสี่ยงต่อการพังทลายจนก่ออันตราย ทั้งกับตนเองและผู้อื่น

กับกรณีการตกเป็นผู้ต้องหา โดยมีองค์ประกอบคดีคือกระแสไฟฟ้าหรือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันน้ำท่วมนั้น ว่ากันทางหลักกฎหมาย ทาง อ.วันชัย สอนศิริ เลขานุการคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ความรู้ความเข้าใจว่า... กรณีน้ำท่วมบ้านน้ำท่วมพื้นที่ ในเบื้องต้นเจ้าของบ้าน เจ้าของพื้นที่จะต้องตัดไฟฟ้า ซึ่งนอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของตัวเองแล้ว ยังเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดต่อชีวิตของผู้อื่นด้วย กรณีที่ประมาท ทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตคนอื่นเสียชีวิต เจ้าของบ้าน เจ้าของพื้นที่มีความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 291 ที่ระบุไว้ว่า ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท

อีกทั้ง ญาติผู้เสียชีวิต หรือผู้เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต สามารถฟ้องร้องทางแพ่งต่อเจ้าของบ้าน เจ้าของพื้นที่ต้นเหตุ ได้ด้วย โดยกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ระบุไว้ว่า ผู้ใดจงใจประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ผู้นั้นทำละเมิด จำเป็นต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน

อ.วันชัย ชี้ต่อไปว่า... นอกจากระหว่างเอกชนกับเอกชนแล้ว กรณีต้นเหตุเกิดจากหน่วยงานรัฐ ซึ่งรวมถึงหน่วยงานที่ดูแลการตัดกระแสไฟฟ้า ถ้าปล่อยปละละเลยเรื่องไฟฟ้าจนเป็นเหตุให้บุคคลเสียชีวิต ก็สามารถจะถูกฟ้องร้องความผิดทางแพ่งให้รับผิด ร่วมรับผิด ตามมาตรา 420 ของกฎหมายแพ่งได้เช่นกัน

กรณี วัสดุต่างๆในการป้องกันการถูกน้ำท่วม พังหรือถล่ม ทำให้คนอื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทาง อ.วันชัย แยก 2 กรณีคือ ถ้าเป็นเหตุที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาติซึ่งควบคุมไม่ได้จริงๆ ให้ถือเป็นเหตุสุดวิสัย แต่ถ้าเป็นเหตุที่เกิดจากการสร้างไม่ได้มาตรฐาน มีคนเสียชีวิต เจ้าของผู้สร้างต้องรับโทษอาญา มาตรา 291 จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท และญาติหรือผู้เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิตก็ฟ้องร้องทางแพ่งตามมาตรา 420 ให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนได้ ซึ่งก็เช่นเดียวกับกรณีละเลยเรื่องไฟฟ้า

ทั้งนี้ เลขานุการคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ ยังบอกด้วยว่า... วิกฤติน้ำท่วม อย่าตื่นตระหนกจนขาดสติ อย่าตื่นตูมตามข่าวลือ ในภาวะแบบนี้ทุกคนควรแบ่งปันความทุกข์ ความลำบาก ความไม่สะดวกสบาย และควรถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน การเห็นแก่ตัว ยิ่งในภาวะไม่ปกติยิ่งไม่ควรทำ ใครเอาแต่สบายหรือเอาตัวรอดแล้วคนอื่นเดือดร้อนหมด สุดท้ายคนนั้นก็อยู่ไม่ได้ เพราะคนอื่นอยู่ไม่ได้ ซึ่งนี่ก็รวมถึงเรื่องการขโมยกระสอบทราย ทำลายคันดิน ขูดรีดค้ากำไรเกินควรซึ่งเป็นการซ้ำเติมทุกข์ประชาชนในวิกฤติน้ำท่วม ซึ่งทั้งเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำเพราะทำให้คนอื่นๆเดือดร้อนกันทั่ว และเป็นการกระทำความผิด มีโทษตามประมวลกฎหมาย

ช่วง “น้ำท่วม” จะต้อง “ระวังฆ่าคนตายโดยประมาท” ด้วย

และช่วยกันจับตา มีใครหาประโยชน์โดยมิชอบหรือไม่??

มีใคร ’โกงกินบนทุกข์น้ำท่วมของคนไทย“ หรือไม่?????.




จาก ....................... เดลินิวส์ วันที่ 29 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
29-10-2011, 07:04
อุโมงค์ยักษ์


รัฐบาลกำลังจัดการกับมวลน้ำขนาดใหญ่ที่กำลังเล่นงานหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ ด้วยการหาทางระบายน้ำลงทะเลให้เร็วที่สุด เครื่องมือสำคัญที่ใช้อยู่ขณะนี้ คือ "อุโมงค์ยักษ์" 4 แห่ง ที่ กทม. ทุ่มงบฯ ก่อสร้างถึง 1.6 หมื่นล้านบาท หวังจะช่วยป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ได้อย่างยั่งยืน

อุโมงค์ระบายน้ำขนาดยักษ์ เปรียบเสมือนทางด่วนใต้ดินที่จะบังคับน้ำเหนือและน้ำฝนระบายออกลงสู่เจ้าพระยาและอ่าวไทยได้อย่างรวดเร็ว เท่ากับระบายน้ำออกจากสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐาน 4 สระภายในเวลาเพียง 1 วินาที ประกอบด้วย

1. อุโมงค์พระราม 9-รามคำแหง หรือ อุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ - ลาดพร้าวเดิม เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2544 ใช้งบประมาณกว่า 2 พันล้านบาท มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร ยาว 5 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นที่คลองลาดพร้าวเชื่อมคลองแสนแสบ และไหลลงสู่เจ้าพระยา สามารถระบายน้ำได้ 60 ลบ.ม.ต่อวินาที

2. อุโมงค์รัชดาภิเษก-สุทธิสาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร ยาว 6 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นจากถนนรัชดาภิเษกตัดถนนสุทธิสาร สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา และช่วยระบายน้ำในพื้นที่เขตห้วยขวาง ดินแดง จตุจักร พญาไท ดุสิต และบางซื่อ

3. อุโมงค์ดอนเมือง เป็นอุโมงค์ระบายน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เมตร ยาว 13.5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 100 ตารางกิโลเมตร ช่วยระบายน้ำในย่านจตุจักร หลักสี่ บางเขน ดอนเมือง และบางส่วนของเขตสายไหม ประสิทธิภาพในการระบายน้ำเท่ากับ 15 เท่า เมื่อเทียบกับอุโมงค์ระบายน้ำแห่งแรกของกทม.ในย่านสุขุมวิทที่สร้างขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อน

4. อุโมงค์สวนหลวง ร.9 หรืออุโมงค์บึงหนองบอน - เจ้าพระยา ปรับเนื้องานจากเดิมที่จะเป็นโครงการบึงหนองบอน - คลองประเวศบุรีรมย์ ระยะทาง 3 กิโลเมตร งบประมาณ 995 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม กทม.ได้ขยายแนวอุโมงค์ให้ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาไปทางบางนา รวมระยะทางยาว 9.5 กิโลเมตร งบประมาณ 4.9 พันล้านบาท ประสิทธิภาพในการระบายน้ำ 60 ลบ.ม.ต่อวินาที ครอบคลุมพื้นที่ประเวศ พระโขนง บางนา และสวนหลวง

สถานีของอุโมงค์ระบายน้ำอยู่ภายในโรงบำบัดน้ำเสียคลองเตย ในพื้นที่บริษัท ไม้อัดไทย เขตบางนา

สำหรับโครงการอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ-ลาดพร้าว เริ่มขึ้นในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าฯ กทม. แต่เกิดข้อร้องเรียนการทุจริตเกิดขึ้น เมื่อเดือนก.ค.ปี 2551 โดยสำนักงานอัยการญี่ปุ่นระบุว่า บริษัท นิชิมัตสึ คอนสตรั๊คชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลในโครงการดังกล่าว ได้ติดสินบนเจ้าหน้าที่ไทยเป็นเงินจำนวน 200 ล้านเยน

อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการ "ระบบอุโมงค์ยักษ์" ดังกล่าว จะทำให้คนกรุงเทพฯ ทุกคนได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน เพราะไม่เพียงจะช่วยพื้นที่ที่อุโมงค์ นี้ตั้งอยู่ให้รอดพ้นจากภาวะน้ำท่วม แต่คาดว่าจะช่วยพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของกรุงเทพฯ ให้รอดพ้นจากภาวะน้ำท่วมเกือบทั้งหมดเช่นกัน

โดยจะช่วยลดปริมาณน้ำที่ไหลผ่านระบบระบายน้ำอื่นๆ ที่ปัจจุบันต้องรับหน้าที่เกินกำลังความสามารถได้อีกทางหนึ่งด้วย




จาก ................ ข่าวสด คอลัมน์ คอลัมน์ที่ 13 วันที่ 29 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
29-10-2011, 08:41
อยู่กับน้ำ

จาก ................. www.siamarsa.org


f52Tf-pod7Y

สายน้ำ
30-10-2011, 08:03
คู่มือ...น้ำสะอาด(ฉุกเฉิน)...ทำง่ายๆด้วยตัวคุณเอง


จาก ................ ไทยรัฐ วันที่ 30 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
31-10-2011, 07:45
10 บัญญัติขจัดโรคน้ำท่วม

http://www.dailynews.co.th/content/images/1110/28/etc./hl31112011.jpg

หากแม้นคันกั้นน้ำและประตูน้ำคือด่านป้องกันเมืองจากมวลน้ำมหาศาลแล้วไซร้ ตัวท่านก็คือด่านกั้นโรคที่สำคัญที่จะป้องกันมวลเชื้อโรคจำนวนมหาศาลที่จ้องจะผ่านเข้าสู่ร่างกายไปอยู่ทุกขณะ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ เผย 10 บัญญัติขจัดโรคในช่วงน้ำท่วม

เริ่มจากบัญญัติข้อแรก 'อย่าเพิ่งตัดเล็บเท้าหรือเล็บมือช่วงน้ำท่วม' รวมถึงการตะไบเล็บด้วยในกรณีที่ต้องแช่น้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง เพราะจะเป็นการเปิดช่องให้เชื้อน้ำเน่าพากันแห่เข้าเท้าราวกับเป็นศูนย์อพยพชั้นดี

บัญญัติข้อถัดมา 'อย่าให้มีหวัดหรือรีบรักษาภูมิแพ้คัดจมูกให้หาย' ไม่เช่นนั้นมีสิทธิ์กลายเป็นปอดบวม ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างได้ถ้าต้องเปียกติดน้ำอยู่นาน

ต่อด้วยบัญญัติข้อสาม 'เริ่มเป็นหวัด ให้กินยากันไว้ก่อน' ใช้ยาสามัญอย่าง ยาแก้แพ้คลอเฟนิรามีนก็ได้ครับ ช่วยให้หลับได้แล้วหวัดที่เป็นน้อยอาจหายได้เลยครับ

บัญญัติข้อสี่ 'เลี่ยงนอนทั้งหัวเปียก' และเมื่อผมเปียกแล้วต้องสระผม เพราะความเย็นจากศีรษะส่งให้โพรงจมูกเย็นเป็นที่แบ่งตัวดีของไวรัสหวัด ให้สังเกตว่าเรามักเป็นหวัดเมื่อหัวเย็นครับ

ในบัญญัติข้อห้า 'ลดการนอนเปิดแอร์' บ้านเรามีเด็กติดแอร์เยอะครับ เพราะคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ต้องเปิดแอร์ให้ลูกนอน ตอนน้ำท่วมอากาศชื้นอยู่แล้ว การเปิดแอร์จะทำให้อุณหภูมิศีรษะต่ำลงเป็นที่อาศัยของเชื้อหวัดดีกว่าปกติ

ตามด้วยข้อหก 'ให้งีบหลับพักผ่อนบ้าง' จะเป็นกลางคืนหรือกลางวันก็ได้ ให้พักกันเข้าไว้ถ้าไม่อยากพลาดข่าวด่วนอาจสลับเวรกันนอนได้ ขอให้คิดว่าจะได้ตื่นมามีแรงสู้ต่อในวันรุ่งขึ้นครับ

ส่วนบัญญัติประการที่เจ็ด 'งดการกินมากสิ่ง' ยิ่งกินหลากหลายมากในตอนน้ำท่วมก็ยิ่งเพิ่มสิทธิ์ป่วยมากขึ้น เพราะความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอย่าง อี.โคไล จากน้ำสกปรกมีมากในช่วงนี้ครับ

นอกจากนี้ บัญญัติข้อแปดให้ 'พักสมองด้วยการลองพักเสพสื่อน้ำท่วมเป็นระยะ' กำหนดเวลารับข่าวต่อวันเป็นรายชั่วโมง เพื่อลดความเครียดสะสมจากการจมอยู่กับข่าวที่น่าหดหู่

และข้อเก้า 'ล้างมือล้างเท้าเป็นประจำ' เพราะเป็นทางด่วนนำเชื้อน้ำท่วมเข้าตัวที่สำคัญ แค่ล้างมือ-เท้าอย่างเดียวยังไม่พอขอให้ซับแห้งทุกครั้ง จะได้ไม่ดูดเชื้อโรคเข้ามาเกาะง่าย

บัญญัติสุดท้าย 'ล้างปากแปรงลิ้นและแปรงฟันทุกวัน' ไม่ว่าจะติดน้ำนานแค่ไหนเพราะช่องปากเป็นปราการด่านสำคัญที่รับเชื้อเข้าทางเดินอาหาร,เข้าหลอดเลือดและเข้าหัวใจได้

แต่ที่สำคัญนอกเหนือจากบัญญัติทั้งหมดที่กล่าวมา นพ.กฤษดา เน้นเพิ่มว่า 'อย่าลืมรัก' คือความเมตตาที่มีให้กัน หากมองตากันด้วยสายตาแห่งรักที่คิดว่าจะช่วยอะไรกันได้บ้าง จะเห็นสายน้ำงามได้แม้ในห้วงทุกข์สาหัส.




จาก ....................... เดลินิวส์ วันที่ 31 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
31-10-2011, 07:49
เกาผื่นยุงกัดระวังติดเชื้อรุนแรง

http://pics.manager.co.th/Images/554000014638701.JPEG

เตือนเกาผื่นคัน บริเวณยุงกัด ระวังติดเชื้อรุนแรง แนะใช้ผ้าสะอาดบางๆ รองก่อนเกา หวั่นช่วงน้ำท่วมมือมีเชื้อโรคมากกว่าปกติ

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้มีหลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมขังประชาชนเสี่ยงต่อการถูกยุงกัดและเกิดผดผื่นคันได้ง่าย จึงฝากเตือนว่าเมื่อถุงยุงกัดบางรายอาจมีความไวต่อยุงที่กัด มีอาการคันและเกาทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง ขณะที่มือที่ใช้เกามีเชื้อโรคจะส่งผลให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจากแผลที่ เกิดจากการเกา จนกลายเป็นการติดเชื้อและแผลลุกลามกลายเป็นแผลที่มีขนาดใหญ่หรือเป็นหนอง ทั้งนี้ข้อแนะนำในการเกิดแผลจากการเกาผดผื่นคัน นั้นหากแผลเกิดหนังตื้นๆให้รีบรักษา เพราะหากปล่อยไว้จนติดเชื้อลงถึงชั้นลึกของผิวหนังจะเกิดผิวหนังอักเสบ ทำให้เกิดปัญหาที่ส่วนชั้นลึกของผิวหนังและมีโอกาสรุนแรงกลายเป็นการติด เชื้อในกระแสเลือดได้

นพ.สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า หลังจากโดนยุงกัดหรือลุยน้ำ ถ้าเกิดเป็นตุ่มให้ทาคาลามายด์เพื่อลดอาการคัน โดยไม่ต้องเกา หากทนไม่ไหวจะต้องเกาควรหาผ้าสะอาดบางๆรองก่อนใช้มือเกาลดอาการคัน หรือกรณีคันมากก็รับประทานยาแก้แพ้ แต่ถ้าเกิดแผลแล้วให้ทำความสะอาดแผลก่อน ซับให้แห้งแล้วใช้ยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม เช่น เบตาดีนทา หรือใช้เจลแอลกอฮอลืเช็ดแผลอย่าชะล่าใจและปล่อยทิ้งไว้ เนื่องจากในช่วงน้ำท่วม มือหรือผิวหนังส่วนต่างๆของร่างกายมีโอกาสได้รับเชื้อโรคจากสิ่งแวดล้อมมากกว่าในเวลาปกติทั่วไป เมื่อเกิดอาการคันจึงไม่ควรเกา เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น




จาก ....................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 31 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
31-10-2011, 07:52
ซ่อมได้...เมื่อหนังสือเปียกน้ำ


น้ำท่วมกรุงเทพฯ และเมืองรอบข้างครั้งนี้ ไม่ว่าจะยากดีมีจนแค่ไหน อยู่บ้านราคาหลักแสนหรือหลักสิบล้าน ก็เดือดเนื้อร้อนใจไปทั่วๆกัน

หนึ่งในการรับมือน้ำท่วมคือต้องขน "ของมีค่า" ขึ้นที่สูงให้หมด และคำว่าของ "มีค่า" ที่ไม่ได้มีความหมายเพียงมีราคาของแต่ละคนก็คงแตกต่างกันแน่ๆ

และของมีค่าของคนรักการอ่าน ก็น่าจะรวมไปถึง "หนังสือ" ด้วยแน่ๆ

ข้อพิสูจน์สำคัญก็มาจากคนรอบข้างนี่ล่ะ ที่เวลาถามไถ่ถึงสถานการณ์ก็มักจะมีคำตอบมาว่าขนหนังสือที่รักที่บางเล่มก็เป็นพิมพ์ครั้งแรก บางเล่มก็ไม่มีวางขายอีกแล้ว หรือบางเล่มก็เก่าแก่จนแทบจะเป็นมรดกของชาติได้เลย ไปไว้ในที่สูงๆเรียบร้อย บางคนถึงกับว่าไม่เสียดายอะไรเท่าหนังสือ...

แต่ถึงวันนี้คงไม่มีความแน่นอนอะไรอีกแล้ว เพราะที่ว่าออกมาบอกกันว่าเฝ้าระวังก็แปลว่าท่วมแน่ๆ ส่วนที่ว่าท่วมแน่ๆ ก็หมายถึงท่วมสูงกว่าที่คาดการ หรือถ้าพูดว่าเอาอยู่ ก็แปลว่าขนของเลย ว่าไปแล้วก็คล้ายๆรหัสลับเหมือนกันนะเนี่ย

เพราะงั้นหนังสือที่เก็บไว้สูงๆแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าจะรอดปลอดภัยไม่มีเปียก

แต่ถ้าเกิดเหตุขึ้นจริง อย่าเพิ่งตระหนกตกใจไป เพราะยังพอมีวิธีแก้ไขอยู่บ้าง ถ้าหากว่าไม่ถึงขั้นจมน้ำจนกระดาษเปื่อย หรือลอกกระดาษหลุดเป็นแผ่นๆ

แยกตามระดับการเปียก ถ้าหนังสือเปียกไม่มาก อันดับแรกให้ใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆ ซับน้ำส่วนเกินออกก่อน ห้ามขัดถูหรือเช็ดแรงๆ หรือพยายามแกะ หรือแซะเอาโคลนออกด้วยแปรง หรือของแข็ง และก็ไม่ควรใช้สบู่ ยาขจัดคราบสกปรก ผงซักฟอก ครีมน้ำยาต่างๆเด็ดขาด เพราะจะเป็นอันตรายและเพิ่มความเสียหายแก่หนังสือมากขึ้น

จากนั้นก็เอามือลูบกระดาษให้เรียบก่อนที่จะเอาไปวางแช่ในช่องแช่แข็งตู้เย็นประมาณ 1 วัน ซึ่งจะแห้งช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับระดับความเปียกและความหนาของหนังสือ โดยวางให้ส่วนที่เปียกอยู่ด้านบน ก่อนจะหาอะไรมาทับซักนิด แล้วจะได้หนังสือที่มีแผ่นกระดาษเรียบๆ เหมือนเดิม

และถ้ามีหลายเล่ม ห้ามวางซ้อนกันเด็ดขาด ไม่งั้นพอแห้งแล้วปกจะติดกัน คราวนี้จะเป็นปัญหายิ่งกว่าหนังสือเปียกซะอีก

อ้อ ที่สำคัญคือ อย่าเอาของกลิ่นแรงๆแช่พร้อมหนังสือนะ เพราะกระดาษมีคุณสมบัติในการดูดกลิ่น ไม่งั้นอาจจะได้หนังสือกลิ่นทุเรียนออกมา

ซึ่งสาเหตุที่กระดาษเรียบได้นั้น ก็เพราะว่าเมื่อกระดาษเปียกน้ำเจอความเย็น โมเลกุลของน้ำจะขยายตัว ช่องว่างในกระดาษจะมีการเรียงตัวใหม่ กระดาษก็เลยเรียบเนียนเหมือนเดิมนั่นเอง

ในกรณีที่ตู้เย็นแช่ผักกักตุนอาหารไว้เต็มจนแทบไม่เหลือที่ว่างให้หนังสือ ก็ไม่ต้องกังวล เพราะมีวิธีซักแห้งมาเสนอ โดยมีอุปกรณ์สำคัญที่นอกเหนือจากผ้านุ่มๆ สะอาดๆ ก็คือ แป้งเด็กที่ไม่มีสีและกลิ่น

โดยเริ่มจากนำผ้าสะอาดมาซับน้ำจากกระดาษทีละแผ่นๆ ที่ค่อยๆคลี่ออกจากกัน จากนั้นก็โรยแป้งเด็กลงบนกระดาษทุกหน้าที่เปียก โดยเกลี่ยให้เสมอกัน ก่อนที่จะนำไปไว้ที่แห้งๆ แล้วนำของที่มีน้ำหนักมากๆ ทับลงไปให้เรียบไปกับพื้นผิวที่วาง ทิ้งไว้ประมาณ 2-7 วัน จะช้าเร็วก็ขึ้นกับว่าเปียกมากน้อย และปริมาณความชื้นในอากาศ

ซึ่งทั้งหมดต้องรีบทำทันที อย่าทิ้งไว้นาน เพราะถ้าแช่น้ำนานๆ ต่อให้เทวดาเหาะลงมาก็คงช่วยอะไรไม่ได้ เพราะเชื้อราจะสามารถเติบโตได้ภายในเวลา 24 ชั่วโมง ว่าแล้วก็ชักคิดถึงอีบุ๊ก ถ้ามีการเก็บหนังสือเก่าๆหายากไว้ในอีบุ๊กก็คงจะดี

แต่ถ้าถึงที่สุดแล้ว สิ่งที่น่าจะทำได้อย่างเดียวก็คือทำใจ ความรู้นอกกายไม่ตายหาใหม่ได้ อย่างน้อยก็ยังดีกว่าชีวิตหายไปละกัน

สร้างกำลังใจทั้งตัวเองและคนรอบข้างให้เข้มแข็ง วันนี้ผ่านไปแล้วพร้อมกับสายน้ำที่กำลังไหลริน พรุ่งนี้ต่างหากที่สำคัญ และมีอะไรมากมายที่ต้องจัดการหลังน้ำผ่านไป

จริงไหม




จาก ....................... มติชน วันที่ 30 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
31-10-2011, 07:53
เตือนอย่าเกาแผล เสี่ยงติดเชื้อง่าย


จาก ..................... ไทยรัฐ วันที่ 31 ตุลาคม 2554

สายน้ำ
01-11-2011, 07:50
วิตกจริตทำจิตใจร้าย 'ไทยตื่นน้ำ' ธรรมดาแต่อย่าฝังลึก

http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/01/newspaper/p3thurl.jpg

กลางกระแสวิกฤติน้ำท่วม ในเมืองไทยก็เกิดภาพดีๆมากมาย อย่างภาพแห่งจิตอาสาของคนไทยเพื่อคนไทย แต่ในอีกด้านหนึ่ง ภาพความแตกตื่นโกลาหล รวมไปจนถึงภาพไม่ดีอันไม่น่าพึงประสงค์ ก็ไม่น้อย!!

อาจกล่าวได้ว่า...ไทยกำลังอยู่ในยุค ’ตื่นน้ำ“

ก็เป็นธรรมดา...ทว่า ’บางอย่างก็ไม่น่าเลย...“

’ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เรามองได้ว่าสังคมมีภาพใหญ่ 2 ภาพซ้อนกัน ทั้งในแง่บวก และแง่ลบ“...ที่ปรึกษาฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ระบุถึงภาพปรากฏการณ์ต่างๆในวิกฤติน้ำท่วม พร้อมทั้งบอกอีกว่า...มุมดีๆเรื่อง จิตอาสา-จิตสาธารณะ เป็นเรื่องดีมาก ขณะที่การแตกตื่นข่าว กักตุนอาหาร เอารถไปจอดบนทางด่วนซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จากเหตุที่ไม่คาดคิด ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ปรากฏการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้น

“แง่ลบ เรื่องความขัดแย้ง การทำลายคันดินคันทราย สะท้อนให้เห็นถึงการดูแลแก้ไขน้ำในระดับจังหวัดและระดับเขตที่ต่างคนต่างทำ ไม่มีความเป็นเอกภาพ การจัดการทำได้ไม่ดี ไม่ปรึกษาหารือ ไม่ช่วยเหลือกันและกัน ที่สุดก็ทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นธรรมดา” ...ศ.ดร.อดิศร์ ระบุ

และยังบอกด้วยว่า...ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งดีและไม่ดี สะท้อนชัดว่าเราไม่ได้มีการเตรียมตัว วางแผน ประเมินสถานการณ์ต่ำเกินไป ให้ความสำคัญเรื่องอุทกศาสตร์ต่ำมาก และมีปัญหาเรื่องการจัดการน้ำโดยรวม ที่สำคัญสภาพภูมิประเทศของไทยในปัจจุบันไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำฝนที่มากได้ สะท้อนถึงป่าต้นน้ำของเราที่ถูกทำลายจนไม่มีที่ชะลอความแรงและความเร็วของน้ำฝน ที่ปีนี้มีมากกว่าเดิม 3 เท่าตัว

ด้าน รศ.พรชัย ตระกูลวรานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และวิจัย และอาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่า...ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงน้ำท่วม โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ทั้งการแตกตื่นข่าว ทะเลาะเบาะแว้ง ห่วงรถ ก็เป็นปรากฏการณ์ที่สมกับเหตุ คนเห็นภาพน้ำท่วมหลายจังหวัดไล่มาเรื่อยๆ จึงกลัวว่าจะเกิดขึ้นกับตนบ้าง เรื่องต่างๆก็จึงเกิดขึ้น อย่างเรื่องรถก็เป็นธรรมดาที่ทุกคนจะต้องห่วง เพราะรถมิดทั้งคันไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งต้องเสียค่าซ่อมหลายแสน คงไม่มีใครอยากจ่าย

การแตกตื่นข่าวสารที่เกิดขึ้น ก็เพราะข่าวจริงของรัฐบาลเชื่อไม่ค่อยได้ เพราะบอกว่าควบคุมได้ ป้องกันได้ แต่ไม่จริง ขณะที่ข่าวลือที่บอกว่ามาแน่ ท่วมแน่ กลับจริง คนจึงเชื่อข่าวลือมากกว่า และเพราะความรุนแรงของน้ำครั้งนี้มีมาก จึงไม่แปลกที่คนจะปริวิตกเดือดเนื้อร้อนใจถึงขนาดทะเลาะกัน พึ่งรัฐไม่ได้ ก็ต้องพึ่งตัวเอง เมื่อพึ่งตัวเอง ก็ต่างคนต่างทำ ความโกลาหลอลหม่านต่างๆก็เกิดให้เห็น

“การรื้อกระสอบทราย พังคันดิน ในระดับชาวบ้าน ถือว่าไม่แปลก เพราะเครียด ฝั่งเราเปียก อีกฝั่งแห้ง ที่ทำเพราะอยากบรรเทาความเดือดร้อนของชีวิตตัวเองมากกว่าที่จะคำนึงถึงภาพรวม ไม่ได้มีเจตนาร้าย แต่ภาพนักการเมืองท้องถิ่นพาชาวบ้านไปพังกระสอบทรายอีกด้าน เป็นเรื่องที่ไม่น่าดู ไม่ควรทำ”…รศ.พรชัย ระบุ

พร้อมทั้งกล่าวถึงเรื่องจิตอาสาว่า...เป็นเรื่องดี เป็นอีกมุมดีของพลังโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทำให้ได้เห็นว่าโซเชียลเน็ตเวิร์กไม่ได้ถูกใช้แค่ประท้วงรัฐบาล คราวนี้เราได้เห็นเด็กวัยรุ่นอายุไม่มาก ที่บ้านก็ยังไม่ปลอดภัย แต่ก็ออกมาช่วยคนอื่น เพราะการบอกข่าวกันในโซเชียลเน็ตเวิร์ก นี่เป็นพลังด้านดีอีกด้านที่ควรขยายความต่อ

นอกจากมุมมองของนักวิชาการ 2 ราย ดังที่ว่ามาแล้ว ทาง ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา ประธานโครงการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ก็วิเคราะห์และแบ่ง คนไทยกลางวิกฤติน้ำท่วม ได้น่าพิจารณา โดยแบ่งเป็น 7 กลุ่ม ซึ่งโดยสังเขปคือ... กลุ่มที่ยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่ตั้งสติ เตรียมพร้อมรับมือ แต่ไม่ได้ตื่นกลัวหรือทำให้แตกตื่น, กลุ่มที่ยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่ผวา วิตกกังวล แตกตื่นหรือตื่นตูม จิตเตลิดตลอดเวลา, กลุ่มที่ต้องทำตามหน้าที่ เก็บเรื่องราวของตัวเองไว้ก่อน ยึดภาระรับผิดชอบเป็นหลัก

กลุ่มที่เข้าช่วยเหลือเผื่อแผ่ แบ่งปัน แม้บุคคลที่ช่วยจะไม่ใช่ญาติพี่น้องหรือเป็นคนที่ไม่ชอบหน้า, กลุ่มที่ร่วมด้วยช่วยกัน แม้จะทุกข์ก็ช่วยประคับประคองกันและกัน ช่วยอะไรได้ก็จะช่วย ทำอะไรได้ก็จะทำ, กลุ่มที่มือไม่พายแต่เอาเท้าราน้ำ หาเรื่องตำหนิได้เสมอ สนุกกับการทำให้ผู้อื่นตื่นตระหนก ไม่ได้ช่วยทำให้สถานการณ์ต่างๆดีขึ้นมีแต่จะนั่งดูและพูดถึงคนอื่นในด้านลบ, กลุ่มที่เอาตัวเองให้รอด คนอื่นเป็นอย่างไรไม่สนใจ ถ้ามีใครเข้ามาช่วยก็จะขอบคุณ แต่ถ้าใครรุกล้ำก็จะเดือดดาล หากตัวเองเป็นอะไรไปหรือต้องประสบชะตากรรม จะไม่ยอมและจะพยายามให้คนอื่นเป็นอย่างตนเองด้วย ทั้งนี้ จาก 7 กลุ่มที่ว่ามา กลุ่มใดถือว่าดี-ถือว่าไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มใดมองก็ย่อมมองออก แต่ ’ประเด็นสำคัญจริงๆ“ อยู่ตรงที่ ดร.จิตรา ทิ้งท้าย คือ...

’สำคัญมากในช่วงนี้สำหรับทุกคนทุกกลุ่มคือ กายต้องรอดต้องไม่เจ็บป่วย ใจต้องแกร่งคือจิตไม่ตก รู้จักตื่นตัวแทนการตื่นกลัว ตั้งสติให้ได้แทนสติแตก มองปัญหาว่าสามารถคลี่คลายได้เสมอ

เพื่อให้สามารถมองไกลไปถึงวันข้างหน้าได้“.




จาก ....................... เดลินิวส์ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
01-11-2011, 08:00
เปิดคู่มือ เอาตัวรอดจากสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ แนะต้องมีสติตลอดเวลา


นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ในช่วงที่มีน้ำท่วมในหลายพื้นที่ พบสถิติการเข้ารักษาฉุกเฉินที่พบบ่อย คือ การถูกสัตว์มีพิษที่มากับน้ำกัด ทั้ง ปลิง ตะขาบ แมงป่อง และงู ซึ่งเฉพาะ งู มีทั้งงูเหลือม งูเขียว งูเห่า โดยงูมีพิษแบ่งได้เป็นเป็น 3 ชนิด คือ
- ชนิดเป็นพิษต่อระบบประสาท พบใน งูเห่า งูจงอาง ผลคือเกิดอัมพาต ลืมตาไม่ได้ และอาจหยุดหายใจจนเสียชีวิตได้
- ชนิดที่ 2 คือเป็นพิษต่อเลือด ได้จากงูแมวเซา งูเขียวหางไหม้ ผู้รับพิษจะมีเลือดออกตามที่ต่างๆ อาเจียนเป็นเลือดไม่หยุด เพราะพิษจะส่งผลให้เลือดไม่แข็งตัว และ
- ชนิดเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อ ได้จาก งูทะเล เป็นอัตรายต่อกล้ามเนื้อ

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากถูกสัตว์มีพิษ โดยเฉพาะงูกัด ก่อนที่ทีมแพทย์ฉุกเฉินจะเข้าไปถึงพื้นที่ คือประชาชน ต้องตั้งสติก่อนเป็นอันดับแรก ดูให้แน่ว่าเป็นงูที่มีพิษหรือไม่ หากแน่ใจเป็นงูมีพิษผู้บาดเจ็บมีเวลาครึ่งชั่วโมงกว่าพิษจะเริ่มแสดงอาการ สิ่งแรกที่ต้องทำคือรีบล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำหรือแอลกอฮอล์ แต่ห้ามกรีดแผล ดูดแผล ใช้ไฟจี้ ดื่มสุรา หรือกินยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของแอสไพรินโดยเด็ดขาด เพราะจะเพิ่มการติดเชื้อที่แผลมากขึ้นจนเนื้อรอบบริเวณตาย หรือไปเสริมฤทธิกับพิษงูให้รุนแรงมากขึ้น

จากนั้นให้ผู้บาดเจ็บนอนนิ่งๆ จัดส่วนที่ถูกงูกัดให้อยู่ระดับต่ำกว่าหัวใจ ห้ามเคลื่อนไหวโดยไม่จำเป็น เพื่อชะลอการดูดซึมพิษงูเข้าสู่ท่อน้ำเหลืองและเส้นเลือดดำไหลเวียนเข้าหัวใจ หาไม้ดามบริเวณที่ถูกงูกัดแล้วใช้ผ้าพันให้แน่นพอประมาณเหนือแผลงูกัดประมาณ 5-15 เซนติเมตร รีบนำผู้ถูกงูกัดส่งสถานบริการสาธารณสุขที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว

หากระหว่างนำส่งผู้บาดเจ็บหยุดหายใจให้กดนวดหัวใจ จนกว่าจะถึงโรงพยาบาล หากผู้บาดเจ็บอยู่คนเดียว ควรโทรหาสายด่วน 1669 ตั้งแต่ถูกงูกัดแล้วปฐมพยาบาลตัวเองระหว่างรอเจ้าหน้าที่เข้าถึงพื้นที่




จาก ....................... มติชน วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
01-11-2011, 08:02
ทำอย่างไรเมื่อถูกคราบสารเคมีในน้ำ

http://www.dailynews.co.th/content/images/1110/28/etc./kt01112011.jpg

ผู้ประสบอุทกภัยบางพื้นที่บ่นว่าน้ำที่เอ่อท่วมนั้นสกปรก มีสีและกลิ่นไม่พึงประสงค์ บางคนบอกมีคราบมันๆลอยรวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่สบายใจเมื่อต้องลงไปลุยน้ำ 'เกร็ดความรู้' วันนี้เตรียมวิธีเบื้องต้นในการกำจัดสารพิษสารเคมีที่ปะปนมากับน้ำ

หากสัมผัสถูกทางผิวหนัง ให้ถอดเสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่ออก รีบล้างตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำสะอาดทุกซอกทุกมุมของร่างกาย โดยให้ล้างด้วยวิธีรดหรือราด อย่าเข้าไปแช่ตัวในอ่างเพราะสารเคมีจะเจือปนและกลับมาเกาะผิวหนังอีก

กรณีที่รู้แน่ชัดว่าคราบมันๆ เป็นน้ำมันหรือไฮโดรคาร์บอน ควรล้างตัวพร้อมถูสบู่อ่อนๆ ด้วย โดยให้ชำระล้างร่ายกาย 10 นาที หรือจนกว่าผิวหนังจะหายลื่นมัน ขณะที่เสื้อผ้าชุดที่เปื้อนคราบมันๆ ไม่ควรนำมาใช้ใหม่ หากจำเป็นต้องใช้ จะต้องซักทำความสะอาดหลายครั้ง

ทว่าน้ำต้องสงสัยพวกนั้นกระเด็นเข้าตา ควรล้างตาทันทีโดยใช้ได้ทั้งน้ำอุ่น น้ำสะอาด หรือน้ำเกลือ เทไหลผ่านตาเบาๆ ในขณะที่นอนตะแคงข้าง ล้างนาน 15-20 นาที

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการแสบร้อนที่ผิวหนัง ตาลืมไม่ขึ้น ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด.




จาก ....................... เดลินิวส์ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
01-11-2011, 12:26
หลอดดูดน้ำยังชีพ

จาก ..................... ไทยรัฐ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
02-11-2011, 07:41
น้ำประปา


หลายคนเกรงว่า เหตุการณ์น้ำท่วมจะทำให้คุณภาพน้ำประปาต่ำลงจนไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้

เนื่องจากน้ำทุ่งไหลลงคลองน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา

จนการประปานครหลวง (กปน.) ต้องออกมาชี้แจงว่า คุณภาพน้ำดิบต่ำลงจริง แต่ได้เร่งแก้ปัญหา โดยเพิ่มสารเคมีปรับปรุงคุณภาพน้ำให้มากขึ้น

ยืนยันว่า น้ำประปาที่จ่ายปราศจากสารพิษที่เป็นอันตราย ยกเว้นมีกลิ่นและสีบางส่วนที่ยังกำจัดไม่ได้

การประปานครหลวง รับผิดชอบผลิตและให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ มีอัตราการสูบจ่ายน้ำประมาณ 5 ล้านลบ.ม. สำหรับคน 10 ล้านคน

ด้วยปริมาณที่มากมายเช่นนี้ การควบคุมคุณภาพน้ำจึงมีความสำคัญ สิ่งที่ท้าทายมากที่สุด คือการควบคุมให้น้ำมีคุณภาพเดียวกันทั้งเส้นท่อ หรือตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ซึ่งตามปกติ กปน. จะใช้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปา โดยจะควบคุมให้มีปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือตามเกณฑ์แนะนำขององค์การอนามัยโลก คือ 0.5 ม.ก./ล. ณ สถานีสูบจ่ายน้ำ และ 0.5 ม.ก./ล. ณ ปลายทางบ้าน ผู้ใช้น้ำ

แต่เนื่องจากต้องส่งน้ำผ่านท่อระยะไกลกว่าจะถึงมือผู้ใช้น้ำ การเติมคลอรีน ณ โรงงานผลิตน้ำประปาเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ กปน. จึงนำ "ระบบจ่ายคลอรีนอัตโนมัติปลายสาย" (automatic chlorination booster system) ซึ่งเป็นระบบเฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพน้ำที่มีประสิทธิภาพกว่ามาใช้

การจ่ายคลอรีนปลายสาย หมายถึง การจ่ายคลอรีนกลางทางลงในเส้นท่อระบบสูบส่งหรือระบบจ่ายน้ำ ซึ่งโดยปกติจะดำเนินการเติมคลอรีน ณ สถานีเพิ่มแรงดันหรือสถานีสูบจ่าย

ในกรณีนี้ กปน. เลือกติดตั้งระบบนำร่องจ่ายคลอรีนอัตโนมัติปลายสาย ณ สถานีสูบจ่ายน้ำที่อยู่ห่างไกลจากต้นทาง (โรงงานผลิตน้ำบางเขน) มากที่สุด นั่นคือ สถานี สูบจ่ายน้ำบางพลี โดยเปิดเดินระบบมาแล้วตั้งแต่ ม.ค. 2553

ผลดำเนินการพบว่า ปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำประปาระบบสูบส่งมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ลดความผันผวน และยังช่วยให้สารไม่พึงประสงค์อันสืบเนื่องจากการใช้คลอรีนเกิดน้อยลงด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการรายงานผลเป็นระบบบันทึกข้อมูลแบบปัจจุบัน (Real-time) ระบบประมวลข้อมูลเป็นรายชั่วโมง สำหรับรายงานเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้รับผิดชอบสามารถเปิดดูข้อมูลและควบคุมระบบได้ทันท่วงทีเมื่อคุณภาพน้ำเกิดความผิดปกติ

อีกหนึ่งระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปาเป็นไปอย่างทั่วถึงและเต็มประสิทธิภาพ คือ ระบบเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปาแบบรายงานผลเป็นปัจจุบัน" (Real-time tapwater quality monitoring system) เป็นการดึงข้อมูลจากตู้วัดคุณภาพน้ำที่ประจำอยู่ตามสถานีสูบส่งและสูบจ่าย 20 แห่ง เข้ามาสู่ระบบประมวลผล จากนั้นนำข้อมูลรายงานขึ้นสู่อินเตอร์เน็ตให้ประชาชนทราบทางเว็บไซต์ของ กปน. ที่ www.mwa.co.th โดยแสดงเป็นค่าต่อเนื่อง และเปลี่ยนไปทุกๆ 10 วินาที

ส่วนผู้ที่กลัวว่า ดื่มน้ำประปาที่มีคลอรีน จะทำให้เป็นมะเร็งนั้น กปน.ชี้แจงว่า คลอรีนในน้ำประปาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หากไม่ชอบกลิ่นคลอรีน รองน้ำตั้งทิ้งไว้ในภาชนะเปิด 1 ช.ม. กลิ่นคลอรีนจะระเหยไปเอง และใช้ดื่มได้อย่างปลอดภัยแน่นอน




จาก ...................... ข่าวสด คอลัมน์ คอลัมน์ที่ 13 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
02-11-2011, 07:42
ระวังสวมบู๊ตนาน เกิดผื่นคันจนได้


ผอ.สถาบันโรคผิวหนังเผย มีผู้ป่วยด้วยอาการผื่นคันเข้ารับการรักษาที่สถาบันแล้วกว่า 100 ราย แต่สถานการณ์ยังไม่น่าวิตก เตือนผู้สวมบู๊ตตลอดเวลาก็อาจเกิดผื่นคันได้ง่ายเช่นกัน เพราะเท้าอับชื้น

นพ.จิโรจ สินธวานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า ระหว่างเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ สถาบันโรคผิวหนังได้เปิดให้บริการประชาชนตามปกติ ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งพบว่าขณะนี้มีประชาชนป่วยด้วยอาการผื่นแพ้ ผื่นคัน ตามง่ามมือ ง่ามเท้ากันมากขึ้น เข้ารักษาที่สถาบันวันละกว่า 20 ราย ส่วนมากเกิดจากการแพ้สิ่งปฏิกูลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร กรณีที่หนักสุดเป็นผิวหนังอักเสบ ซึ่งเกิดจากดูดซับความชื้นเป็นเวลานานทำให้ติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการทายา แต่บางรายมีบาดแผลเป็นแผลเปิดวงกว้าง ก็ต้องกินยาแก้อักเสบด้วย ซึ่งจากจำนวนผู้ป่วยกว่า 100 รายที่มารักษา พบแค่ 1 รายมีอาการติดเชื้อรา จึงไม่ถือว่ามีการระบาดเกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางผิวหนังที่รุนแรง ซึ่งแพทย์จะสั่งยาแก้ผื่นคันให้ และอาการผิวหนังติดเชื้อราจะหายไปในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์

นพ.จิโรจกล่าวว่า ในสภาวะเช่นนี้ การสวมใส่รองเท้าบู๊ตเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ควรสวมใส่ตลอดเวลา เนื่องจากรองเท้าบู๊ตจะเก็บความอับชื้นทำให้เท้าแฉะ เสี่ยงต่อการเกิดผื่นคันได้ง่ายเช่นกัน ไม่ต่างจากการเดินลุยน้ำสกปรกหรือแช่เท้าในน้ำนานๆ ดังนั้นถ้าน้ำไม่สกปรกมาก และมีสถานการณ์การท่วมแค่บางช่วง แนะนำให้ถอดรองเท้าบู๊ตออกเพื่อให้เท้าไม่อับชื้นจนเกินไป

“หากมีการดูแลร่างกายที่ดีและหลีกเลี่ยงสิ่งปฏิกูลในน้ำ ก็สามารถป้องกันอาการผื่นคันได้แล้ว ดังนั้นขอให้ประชาชนเฝ้าระวังตัวเองให้มาก และพยายามแยกภาชนะหรือเครื่องใช้ไว้ในที่ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการละลายรวมกับน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน แต่กรณีมีน้ำระบายตลอดเวลาก็ไม่ถือว่าอันตราย” นพ.จิโรจกล่าว.




จาก ..................... ไทยโพสต์ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
03-11-2011, 07:59
'จุลินทรีย์' บำบัดน้ำเสีย ฟื้นคืนคุณภาพแหล่งน้ำ

http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/03/newspaper/p4thurl.jpg

พิบัติภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน อีกด้านหนึ่งหลังจากน้ำท่วมขังนิ่งเป็นเวลานานยังทำให้เกิดการเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น

การฟื้นฟูคุณภาพน้ำ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาน้ำเน่าเสียในช่วงเวลานี้ รวมทั้งยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายหลังจากน้ำลดและจากที่หลายหน่วยงานได้ร่วมกันให้ความช่วยเหลือ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมาประสานความร่วมมือกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. นำดาสต้าบอลจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง

อ.ดำรงศักดิ์ แก้ววงษ์ไหม ที่ปรึกษาองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ให้ความรู้ว่า ในสถานการณ์น้ำท่วมขังการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นกระบวนการทางชีวภาพ แต่อย่างไรก็ตามคงต้องทราบก่อนว่าทำไมจึงต้องใช้จุลินทรีย์ทั้งนี้อาจเป็นเพราะจุลินทรีย์ในพื้นที่บริเวณนั้นมีไม่พอที่จะสามารถกำจัดของเสียได้

ขณะเดียวกันพื้นที่บริเวณนั้นมีสภาวะไม่เหมาะสมทำให้จุลินทรีย์ตายไป อีกทั้งอาจมีจุลินทรีย์ที่ไม่เหมาะสมอยู่ในพื้นที่จึงมีความจำเป็นต้องใช้จุลินทรีย์เติมลงไปในการกำจัดของเสีย ดังนั้นหากน้ำท่วมขังนานเกินกว่าสัปดาห์ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวจะเริ่มส่งผลเกิดการหมักตัวของของเสียไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ใบหญ้า ขยะ ฯลฯ สารอินทรีย์จำนวนมากเหล่านี้จะไปดึงออกซิเจนในน้ำต่ำลงเกิดการหมักตัวของของเสีย กลุ่มจุลินทรีย์ก็จะทำให้เกิดก๊าซมีเทน จุลินทรีย์บางสายพันธุ์ทำให้เกิดซัลเฟอร์ ฯลฯ ซึ่งเมื่อน้ำท่วมขังเน่าเสียก็จะส่งผลกระทบในหลายด้านทั้งเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค แพร่ระบาดของเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นฉี่หนู เชื้อรา ฯลฯ อีกทั้งน้ำที่เน่าเสียไม่สามารถนำน้ำมาใช้อุปโภคบริโภคได้

“การฟื้นฟูคุณภาพน้ำหากเป็นช่วงที่สถานการณ์ปกติอาจมีหลายแนวทางแก้ไข อย่างการเติมอากาศเพิ่มออกซิเจนซึ่งก็เป็นทางหนึ่ง แต่ช่วงน้ำท่วมขังการควบคุมพื้นที่เป็นไปได้ยากลำบากจึงมีความพยายามในการเพิ่มจุลชีพหรือจุลินทรีย์ลงไป ซึ่งจุลินทรีย์นั้นมีด้วยกันหลายชนิด โดยทั่วไปจะใช้เชื้อที่เหมาะสมเป็นสายพันธุ์ที่แข็งแรงไม่กลายพันธุ์ง่ายและเป็นเชื้อที่มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมได้ดี”

จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจากที่มีใช้กันและมีการจัดทำขึ้นในลักษณะทรงกลมทำเป็นจุลินทรีย์บอลจะมีการเติมเชื้อจุลินทรีย์ลงไปผสมกับส่วนผสมหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแกลบ ขี้เถ้า ฯลฯ นำมาปั้นเป็นก้อนซึ่งที่รู้จักคุ้นเคยกันในลักษณะของ อีเอ็มบอล ซึ่งก็เป็นจุลินทรีย์อย่างหนึ่งที่นำมาปรับปรุงฟื้นฟูคุณภาพน้ำ

ส่วนความร่วมมือฟื้นฟูคุณภาพน้ำ อพท. ได้ผลิต ดาสต้าบอล (DASTA Ball) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่ผู้ศึกษาวิจัยมอบชื่อเป็นเกียรติแก่หน่วยงานโดยจุลินทรีย์บอลดังกล่าวเกิดจากสายพันธุ์ที่คัดเลือก อีกทั้งมีปริมาณส่วนผสมที่เหมาะสมสามารถปรับสภาพให้ดำรงชีพในน้ำที่เน่าเสียหรือมีระดับความเค็มตามสภาพพื้นที่จริงได้ดี

จากการปั้นส่วนผสมทั้งหมดเป็นลูกกลมขนาดเท่าลูกปิงปองเพื่อให้จุลินทรีย์มีพื้นที่เกาะและสามารถได้รับออกซิเจนในการหายใจ ทั้งยังมีน้ำหนักพอเหมาะจมลงในน้ำได้ดีจึงทนกับสภาพแวดล้อม ส่วนประกอบสำคัญของจุลลินทรีย์บอลได้แก่ จุลินทรีย์ เพอร์ไลท์ ขี้ไก่ น้ำหมักปลา รำละเอียด อาหารกุ้งและกากน้ำตาล ซึ่ง อพท. ได้จดสิทธิบัตรส่วนผสมของดาสต้าบอลไว้ พร้อมกันนั้นที่ผ่านมาได้เผยแพร่ความรู้ต่อเนื่องแก่ผู้ที่สนใจ

“ดาสต้าบอลเป็นจุลินทรีย์บอลที่มีการคัดสายพันธุ์ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นมากว่าสองปี จากส่วนประกอบมีเพอร์ไลท์แร่ธรรมชาติที่มีคุณสมบัติดี จุลินทรีย์หลายสายพันธุ์ที่คัดเลือกนำมาทำหน้าที่ฟื้นฟูสภาพน้ำอย่างมีประสิทธิผล ฯลฯ การใช้จะโยนดาสต้าบอลลงในบริเวณที่มีน้ำเน่าเสียในอัตราส่วน 1 ลูกต่อ 1-4 ลูกบาศก์เมตร โดยหลังจากใช้ภายใน 48 ชั่วโมงมีการรายงานถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพน้ำทั้งในเรื่องของกลิ่น สีน้ำที่เปลี่ยนไป”

จุลินทรีย์บอลดังกล่าวสามารถ กำจัดน้ำเสีย ได้เนื่องจากภายในดาสต้าบอลเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่กินสิ่งเน่าเสียเป็นอาหาร มีเพอร์ไลท์ที่มีลักษณะทางกายภาพเป็นรูพรุนทำให้แบคทีเรียสามารถยึดเกาะและช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำให้อยู่ที่ pH 5-8 เหมาะกับการทำงานของจุลินทรีย์

ขณะที่การ กำจัดกลิ่น สามารถกำจัดไนโตรเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นได้ เนื่องจากมีส่วนประกอบของขี้ไก่ซึ่งมีไนโตรเจนอยู่เพื่อปรับสภาพของจุลินทรีย์ให้คุ้นเคยกับสภาพจริงและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ เมื่อจุลินทรีย์ในดาสต้าบอลลงไปอยู่ในน้ำเสียก็จะกินไนโตรเจนที่อยู่ในน้ำเสียนั้นทำให้ไนโตรเจนหมดไป กลิ่นเหม็นจึงหายไปด้วย

การสังเกตคุณภาพน้ำนอกเหนือจากการตรวจวัดด้วยเครื่องมือ คุณภาพน้ำที่ดีขึ้นยังสังเกตได้จากกลิ่นเหม็นที่ห่างหายไป ขณะที่สีของน้ำจะดีขึ้นและนอกเหนือจากจุลินทรีย์ซึ่งมีส่วนช่วยบำบัดน้ำเสีย อาจารย์ท่านเดิมยังฝากถึงการมีส่วนร่วมช่วยกันดูแลธรรมชาติ รักษาน้ำไม่ให้เน่าเสียทั้งในภาวะปกติและน้ำท่วมเวลานี้อีกว่า สิ่งที่ไม่ควรละเลยมองข้ามคือการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ไม่ทิ้งสิ่งสกปรกต่างๆลงในแม่น้ำลำคลอง รวมทั้งการมีจิตสำนึกรักษ์โลก ห่วงใยธรรมชาติสิ่งแวดล้อมซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นแนวทางการรักษาคุณภาพน้ำให้คงความสมบูรณ์ไว้ได้อย่างยั่งยืน.




จาก ....................... เดลินิวส์ หน้าวาไรตี้ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
03-11-2011, 08:07
ปริศนา”น้ำท่วม” อะไรที่ไม่หนัก แต่ย้ายยากกว่า”ตู้เย็น-เครื่องซักผ้า-เปียโน” อะไรเอ่ย???

http://i835.photobucket.com/albums/zz275/Saaynam/Morning%20News/111103_KhomChudLuek.jpg

ก่อนที่น้ำจะเริ่มไหลบ่าเข้ามาตีโอบบ้าน และทะลุทะลวงฝ่าแนวป้องกันเข้ามาท่วมบ้าน

ทุกบ้านจะมีการเตรียมพร้อม

เริ่มจากใช้กระสอบทรายหรือก่ออิฐบล๊อครอบบ้าน หรือค้นคิดวิธีการที่จะทำให้บ้านเราปลอดภัยจาก ”น้องน้ำ”

จากนั้นก็เริ่มยกของสำคัญขึ้นที่สูง

สำคัญมากก็สูงมาก

เอกสารหรือของสำคัญส่วนใหญ่จะไว้บนชั้นสองของบ้าน

ส่วนของหนักหรือสำคัญรองมาก็จะยกขึ้นที่สูง อาจจะเป็นบนโต๊ะหรือบนตู้


ในช่วงของการเตรียมพร้อม ถ้าถามว่าอะไรคือ คือสิ่งที่หนักที่สุดและขยับย้ายยากที่สุดของบ้าน

บ้านทั่วไปจะตอบว่า ”ตู้เย็น” หรือ ”เครื่องซักผ้า”

แต่บ้านที่ฐานะดีจะบอกว่า ”เปียโน” ยากที่สุด

ยิ่งใครที่คิดจะอพยพหนีไปที่อื่น

ของ 3 สิ่งนี้ถือว่าปัญหาใหญ่ที่สุดของการขนย้าย

แต่เมื่อน้ำมาจริงๆ แทบทุกบ้านได้ค้นพบว่าสิ่งที่คิดไว้ไม่ใช่ ”ความจริง”

เพราะสิ่งที่ย้ายออกจากบ้านยากที่สุด

ไม่ใช่”ตู้เย็น”

ไม่ใช่”เครื่องซักผ้า”

แต่เป็น”พ่อ”หรือ”แม่”ของเราเอง

คุยเท่าไรก็ไม่ยอมออกจากบ้าน

จะขอร้อง อ้อนวอน ร้องไห้ โวยวาย ฯลฯ

ทั้ง”ขู่”ทั้ง”ปลอบ” แต่ก็ไม่ได้ผล

”ผู้อาวุโส” ส่วนใหญ่มักจะติดบ้าน เป็นห่วงบ้าน

ไม่อยากย้ายไปไหนที่เราไม่คุ้นเคย

และส่วนใหญ่จะเคยลำบากมาก่อน จึงไม่กลัวความลำบาก

โดยลืมไปว่าตอนที่ฝ่าฟันความลำบากนั้น ทั้งคู่ยังเป็นคนหนุ่มสาวที่พร้อมด้วยความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจ

ไม่ใช่อายุ 70 เหมือนกับวันนี้

แม้ว่าลูกจะอธิบายถึงความห่วงใย ฉายภาพความลำบากในการย้ายหากน้ำขึ้นสูง ยกตัวอย่างที่บางบัวทอง ทวีวัฒนนา

หรือจุดต่างๆที่น้ำท่วมสูงว่าน่ากลัวเพียงใด

อธิบายแค่ไหน “พ่อ-แม่”ก็ไม่ยอม

ลูกหลายคนเป็นระดับผู้บริหารในองค์กร มีลูกน้องใต้บังคับบัญชาจำนวนมาก

แต่ไม่ว่าตำแหน่งจะใหญ่โตมาจากไหน

เมื่อเข้าบ้านทุกคนก็เป็น ”ลูก”

ไม่มีใครสั่งการให้ ”พ่อ-แม่” ย้ายออกจากบ้านเหมือนกับสั่งลูกน้องในบริษัทได้

ยิ่งลูกโวยวายมากเท่าไร พ่อ-แม่ก็จะน้อยใจมากเท่านั้น

เพราะ”ผู้ใหญ่”ยิ่งอายุมาก ยิ่งใจน้อยง่าย

ในเฟซบุ๊คของแต่ละคนมีการสนทนาถึงเรื่องนี้เยอะมาก

ทั้งบ่น ทั้งขอคำปรึกษา

บางคนถึงขั้นถามเพื่อนว่าใช้ ”ทนาย” ฟ้องขับไล่ได้ไหม

ยอมให้ ”พ่อ-แม่” โกรธ

แต่ขอชีวิต ”พ่อ-แม่” ให้รอดไว้ก่อน

เรื่องอื่นค่อยเคลียร์ทีหลัง

มีบางคนบ่นกับเพื่อนว่าถ้าเจรจาครั้งสุดท้ายไม่ได้ผล

“สงสัยข้าต้องวางยานอนหลับ แล้วอุ้มเลย”

แม้เรื่องการขอให้พ่อ-แม่ย้ายออกจากบ้านในช่วงน้ำท่วมจะเป็น ”ปัญหา” ที่ใหญ่ยิ่งของลูกๆหลายคน

แต่ทั้ง 2 ฝ่ายก็รู้ว่าปัญหานี้ไม่ได้เกิดจาก ”ความเกลียดชัง”

หากเป็น ”ปัญหา” ที่เกิดจาก ”ความรัก”

ในเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ นี่คือ ”ปัญหา” ที่ ”น่ารัก”

แต่ ”หนัก” เหลือเกิน




จาก ..................... มติชน วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
03-11-2011, 08:12
FloodDuck "เจ้าเป็ดน้อย" แสนดี เตือนภัยก่อนไฟมาดูด

http://www.prachachat.net/gallery/fullimages/2011/11/1320159614.jpg

สถานการณ์การเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดในพื้นที่น้ำท่วมนับวันมีตัวเลขเพิ่มขึ้น เป็นภัยแฝงที่น่ากลัวที่มากับน้ำท่วม มีการรายงานขั้นต่ำแล้วว่ามีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 36 ราย ใน 15 จังหวัด โดยมากเป็นการเสียชีวิตจากถูกไฟฟ้าดูดในวันแรกที่น้ำท่วม และมักจะเสียชีวิตในบ้าน จากการสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ตู้เย็น ปั๊มน้ำ สายชาร์จโทรศัพท์มือถือ หรือ อุปกรณ์ที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ

ความจริงแล้วตัวเลขผู้เสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดอาจมากกว่าที่ได้รับรายงาน เนื่องจากการลงพื้นที่พบปะจากชาวบ้านที่ประสบภัยยืนยันว่ามีการเสียชีวิตจากไฟดูดมากกว่าตัวเลขจริงถึง 2 เท่า หรือประมาณ 50 ราย เช่นในพื้นที่บางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เพราะบางคนถูกไฟดูดจมอยู่ในน้ำ เวลาไปชันสูตรศพก็จะรายงานว่าจมน้ำ แต่ก่อนจมน้ำคือถูกไฟฟ้าดูดก่อน

วิธีป้องกันด้วยการเช็คว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วในบริเวณที่เราจะต้องผ่านหรือไม่แน่ใจที่แนะนำกันคือใช้ไขควงแบบเช็คไฟฟ้าแต่วิธีนี้ทำได้ไม่สะดวก และติดจะรู้สึกไม่สบายใจนักเมื่อน้ำมีระดับความสูงเพิ่มขึ้น

http://www.prachachat.net/online/2011/11/13201595731320159593l.jpg

นั่นทำให้สัปดาห์ที่ผ่านมา ชื่อเสียงของ "เป็ดน้อยเตือนภัย" จึงเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง

เจ้าเป็ดน้อยเตือนภัยนี้สามารถนำไปลอยน้ำเพื่อตรวจวัดกระแสไฟฟ้ารั่วก่อนเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งเป็ดน้อยเตือนภัยจะส่งเสียงและมีไฟแดงขึ้นในตัว เมื่อพบกระแสไฟฟ้ารั่ว และสามารถรับกระแสไฟฟ้าได้ในรัศมี 1 ตารางเมตร และความลึก 50 เซนติเมตร

ที่มาที่ไปของ เป็ดน้อยเตือนภัย หรือ FloodDuck มีที่มาจากแรงบันดาลใจของ อ.ดุสิต สุขสวัสดิ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่คิดว่านอกจากไขควงเช็คกระแสไฟฟ้าแล้วอะไรจะเป็นตัวแจ้งเตือนให้คนรู้ว่ามีไฟรั่วในน้ำได้อีก อ.ดุสิตเล่าผ่านเฟซบุคเพจที่ชื่อ FloodDuck ว่า ในเชิงช่างอุปกรณ์ที่เราใช้ตรวจสอบว่าสายเส้นใดมีไฟก็คือไขควงวัดไฟ แต่จะให้ถือไขควงวัดไฟก็จะดูไม่เข้าท่า มันน่าจะมีอะไรดีกว่านั้นไหม เมื่อมองไปในอ่างก็มีเป็ดตัวหนึ่งซึ่งมันลอยอยู่จึงเป็นที่มาของเป็ดเตือนภัยตัวแรกของโลกและนำมาสู่โครงการเป็ดน้อยเตือนภัยในที่สุด

http://www.prachachat.net/gallery/fullimages/2011/11/1320159963.jpg
ทีมงานและอาสาสมัครผลิตเจ้าเป็ด

หลักการทำงานของเจ้า "เป็ดน้อย" FloodDuck หัวใจการทำงานจริงจะอยู่ที่บริเวณด้านล่างของตัวเป็ดน้อย ที่บริเวณด้านล่างประกอบด้วยแท่งตัวนำจำนวน 2 แท่งวางตัวอยู่ห่างกัน ( กรณีนี้ใช้สายไฟหุ้มปลายทองแดง ) ลักษณะเหมือนตะเกียบ ประจุไฟฟ้าจะเดินทางจากปลายข้างหนึ่งไปสู่ปลายอีกข้างหนึ่ง ตะเกียบต้องมีระยะห่างสักประมาณหนึ่ง ทั้งนี้ อ.ดุสิตได้ออกแบบวงจรตรวจจับกระแสไฟฟ้าใส่ลงไป

โดยรุ่นแรกที่ออกแบบมาจะมีแต่ไฟเตือน

ทีนี้โจทย์ข้อต่อไปคือไฟจะต้องสว่างเมื่อกำลังจะเข้าสู่ย่านที่แรงดันเริ่มจะมีผลต่อร่างกายมนุษย์ ก็เริ่มต้องใช้เครื่องมือวัดซึ่งปริมาณกระแสที่ตรวจสอบได้ในระดับ 1 ใน 1000 แอมป์ ที่แรงดันประมาณ 40 โวลท์ ก็จะเริ่มมีแสงสว่างพอท่ีจะสังเกตได้เมื่อเพิ่มแรงดันตกคร่อมเข้าไปแสงก็จะสว่างขึ้นและดังขึ้น โดยคุณสมบัติข้อนี้นี่เองเจ้าเป็ดน้อยจึงมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งคือสามารถตรวจหาตำแหน่งของแหล่งจ่ายไฟที่อยู่ใต้น้ำได้อีกด้วย

ต้นทุนเป็ดหนึ่งตัวอยู่ที่ประมาณ 150-160 บาท โดยขณะนี้มีบรรดานักศึกษา และอาสาสมัครเข้าไปร่วมผลิตเจ้าเป็ดน้อยที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

http://www.prachachat.net/gallery/fullimages/2011/11/1320159620.jpg

ส่วนวิธีใช้-วิธีดูแลเจ้าเป็ด..ควรทำคันแขวนเอาไว้ถือคล้ายตะเกียงส่องนำทางไปยังจุดหมายที่จะลุยน้ำไป เมื่อใช้เสร็จก็ควรเช็ดให้แห้งและตรวจสอบว่ามีน้ำรั่วเข้าไปบ้างหรือไม่ และสุดท้ายหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอว่าแบตเตอรี่หมดหรือไม่

ขณะนี้เจ้าเป็ดน้อยลอยน้ำได้ถูกส่งมอบให้หน่วยงานต่างๆนำไปใช้ประโยชน์ทั้ง กทม. พนักงานการไฟฟ้าที่ต้องเสี่ยงเข้าไปลุยน้ำตัดไฟให้ประชาชน รวมไปถึงนำไปมอบให้โรงพยาบาลศิริราชด้วย

มีเจ้าเป็ดน้อยเตือนภัยก็อุ่นใจได้ระดับหนึ่งในยามน้ำท่วมทุลักทุเลเวลานี้




จาก ..................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
03-11-2011, 08:14
"ชุดกันน้ำ" อีกทางเลือกเมื่อต้องลุยน้ำออกมาทำงาน

http://www.prachachat.net/online/2011/11/13201227341320122807l.jpg

หลังจากรัฐบาลเป็นห่วงสถานการณ์น้ำทะเลในวันที่ 29 ตุลาคม จะหนุนสูงมากจึงมีมติให้ประกาศวันหยุดราชการในวันที่ 27, 28 และ 31 ตุลาคม ให้ 21 จังหวัดพื้นที่ประสบภัยเป็นวันหยุดราชการพิเศษ เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมการรับสถานการณ์

พร้อมด้วยถ้อยแถลงที่ให้ประชาชนที่พอจะ "หนีกรุง" ได้ ให้พาครอบครัวญาติพี่น้องอพยพ "หนีน้ำ" ออกจากกรุงเทพฯ

อย่างไรก็ตามประชาชนอีกจำนวนมากไม่ได้อพยพ ทั้งยังต้องปักหลักเฝ้าน้ำอยู่บ้าน หรือโกลาหลรับน้ำบ้าง อพยพบ้างในช่วงสัปดาหวันหยุดพิเศษ

แต่คำถามที่ตามมาคือ สถานการณ์น้ำยังไม่จบ หมดน้ำทะเลหนุน ยังคงมีน้ำเหนือที่ถูกกักตามคันกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำทยอยเข้าหลายพื้นที่ บางพื้นที่น้ำค่อยๆหลากเข้ามา ส่วนที่ท่วมแล้วยังเป็นน้ำขังระดับเอวระดับเข่า

การอยู่อาศัยอาจทนได้ แต่การ "เดินทาง" เข้าออกไม่ใช่เรื่องง่ายๆ หมด "วันหยุดพิเศษ" แต่ผู้คนต้องกลับมาทำงาน และต้องเผชิญน้ำอย่างหนีไม่พ้น ซึ่งระยะเวลากว่าน้ำจะลดก็ยังร่วมเดือน ยิ่งสภาพน้ำท่วมในกทม.มีลักษณะน้ำผุดตามท่อ บ้านไหนไม่มีเรือ ก็ต้องเดิน หรืออย่างน้อยก็หนีไม่พ้นการเดินลุยน้ำออกมาทำงาน จึงต้องเผชิญทั้งกลิ่น และความเสี่ยงต่อเชื้อโรคต่างๆ

http://www.prachachat.net/online/2011/11/13201227341320122770l.jpg

บางครอบครัวจะหาคอนโดฯ อพาร์ทเมนท์ ห้องเช่าอยู่ก็ใช่ง่าย วางมัดจำกันล่วงหน้า 3 เดือน ทำให้สภาพบางคนคือกลับไปอยู่บ้าน ที่อยู่อาศัย แต่ยังยากต่อการเดินทางออกมาทำงาน ผลคือคนจำนวนไม่น้อยยังคงหยุดงาน โดยเฉพาะกลุ่มที่บ้านอยู่รอบนอกของกทม.ฝั่งตะวันตก และตะวันออก บางคนเป็นแรงงานรับจ้างลูกจ้าง ถ้าไม่ออกมาก็ถูกหักเงินเดือนรายวัน ข้าราชการที่จะไปศูนย์ราชการก็เข้าออกลำบากไม่แพ้กัน ขณะที่ปัญหาคือรถรับส่งเป็นจุดๆก็ยังไม่ทั่วถึง ทำให้การเดินทางลุยน้ำออกมาขึ้นเรือหารถเป็นเรื่องลำบาก แต่เมื่อชีวิตยังต้องทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนจึงยังต้องดิ้นกันไป

วิธีการที่หลายคนพยายามหาทางออกพาตัวเองออกมาทำงานโดยให้ถูกน้ำท่วมน้อยที่สุด จำนวนไม่น้อยที่พอมีทุนทรัพย์เลือกจะใส่ "ชุดกันน้ำ" แบบมีสายคาดไหล่ (ชุดเอี๊ยม) หรือพูดกันง่ายๆคือ "ชุดมาริโอ้" แบบเจ้ามาริโอ้ในเกมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเท่าที่เห็นมีเจ้าหน้าที่กู้ภัย ทีมข่าว และเจ้าหน้าที่จากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) จำนวนหนึ่งใส่เจ้าชุดกันน้ำแบบเอี๊ยมกันไม่น้อย

ชุดกันน้ำที่เห็นใส่กันบ้างช่วงนี้ เป็นชุดที่เห็นบ่อยในหมู่นักตกปลา เมื่อนำมาประยุกต์ก็สามารถใช้ได้ไม่แพ้กัน เพราะชุดกันน้ำพวกนี้ใช้วัสดุเป็นยางพีวีซีค่อนข้างหนา ทนทาน ทำให้ป้องกันของมีคม เศษแก้ว กิ่งไม้ ที่ลอยมาตามน้ำได้ แม้กระทั่งป้องกันปลิงมาเกาะได้ อย่างไรก็ตามชุดอาจจะมีน้ำหนักอยู่บ้าง แต่ก็ปลอดภัยกันน้ำได้มากเมื่อยามต้องลุยน้ำออกมาทำงาน




จาก ..................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
04-11-2011, 08:16
เลือกเครื่องกรองน้ำกลางวิกฤติน้ำท่วม

http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2011/11/03/ijc6dfi7ge68fjijgik9b.jpg

“น้ำดื่ม” เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในการดำรงชีวิต เพราะหากร่างกายขาดน้ำติดต่อกันเกิน 3 วัน ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่วันนี้ “น้ำดื่ม” กลายเป็นของหายากเพราะผู้คนพากันตื่นตระหนกกักตุน เนื่องจากวิตกว่า ภาวะอุทกภัยที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จนทำให้น้ำดื่มหายไปจากชั้นวางขายในห้างสรรพสินค้าจนเกลี้ยง

ดังนั้น การ “กรองน้ำ” สำหรับดื่มเอง จึงกลายเป็นทางเลือกในการเตรียมรับมือกับภาวะขาดแคลนน้ำดื่มของผู้บริโภค แต่ด้วยคุณภาพของน้ำที่หลายคนเริ่มไม่ไว้ใจ แม้การประปานครหลวงจะออกมายืนยันว่า คุณภาพของน้ำประปายังอยู่ในระดับมาตรฐาน ทำให้การเลือกเครื่องกรองน้ำกลายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคไม่อาจละเลย

ญาตา โล่ห์สวัสดิกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เดอะซิกเนเจอร์ แบรนด์ จำกัด ผู้ทำตลาดเครื่องกรองน้ำคามาร์ซิโอ แนะว่า การเลือกซื้อเครื่องกรองน้ำในช่วงสถานการณ์น้ำท่วม ควรเลือกซื้อเครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อาจมาตามท่อน้ำประปา รวมถึงโลหะหนัก คลอรีนและสารอินทรีย์อื่นๆ ซึ่งเกิดจากการเจือจางของคลอรีนและสารปนเปื้อนในน้ำประปาซึ่งมีมากกว่า 2,000 ชนิด

“ขณะนี้ผู้บริโภคให้ความสนใจเรื่องของเครื่องกรองน้ำเป็นอย่างมาก เพราะน้ำดื่มและน้ำใช้เริ่มมีปัญหา ทำให้ทุกบ้านต่างก็ต้องเตรียมน้ำสะอาดสำหรับใช้อุปโภคบริโภค การเลือกซื้อเครื่องกรองน้ำจึงต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะความสามารถในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งบริษัทฯ เองตระหนักถึงความสำคัญในจุดนี้ และได้ผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค อย่างเครื่องกรองน้ำบางรุ่นมีการเติมแร่ธาตุที่จำเป็นลงไปในน้ำด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคสบายใจว่าจะมีน้ำสะอาดและมีประโยชน์ต่อร่างกายไว้ดื่มต่อไป” ผู้จัดการฝ่ายการตลาดเผย

http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2011/11/03/5jab87hekgcgaiabdefje.jpg

ส่วนบ้านที่มีเครื่องกรองน้ำอยู่แล้ว จะต้องหมั่นตรวจดูการทำงานของสารกรองและไส้กรองว่ายังมีประสิทธิภาพดีอยู่หรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่สารกรองและไส้กรองแต่ละชนิด มีอายุการใช้งานอยู่ที่ 1 ปี จึงต้องหมั่นเปลี่ยนเพื่อให้ระบบกรองมีประสิทธิภาพสูงสุดในการดักเศษสนิมและผงฝุ่นจากท่อน้ำ สารเคมี คลอรีน กลิ่น สี และดูดซับสารโลหะหนักต่างๆ รวมถึงกรองแบคทีเรีย เพื่อให้ได้น้ำสะอาดเหมาะแก่การใช้มากที่สุด

สำหรับผู้ที่อยู่ในภาวะคับขัน ศ.นพ.ดร.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หัวหน้าหน่วยระบาดวิทยา และผู้อำนวยการสถาบันและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แนะว่า การเตรียมน้ำดื่มในช่วงวิกฤติสามารถทำได้ด้วยการนำขวดพลาสติกใสที่ไม่เก่าและไม่มีรอยขีดข่วน แกะพลาสติกออกจนหมดแล้วนำมาวางแนวนอน เพื่อให้รับแสงอาทิตย์ฆ่าเชื้อโรคสิ่งสกปรกภายในขวด หลังจากนั้นนำน้ำสะอาดมาใส่ขวด 3-4 ขวด เขย่าแรงๆ 20 ครั้ง เพื่อให้อากาศ (ออกซิเจน) ผสมกับน้ำให้ทั่ว เติมน้ำให้เต็มปิดฝาขวดนำไปวางในแนวนอนนำไปไว้บริเวณที่มีแดดจัด ให้ความร้อนจากแสงแดดและออกซิเจนจะทำปฏิกิริยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสและพยาธิ ซึ่งระยะเวลาการนำขวดน้ำไปตากแดด ขึ้นอยู่กับพื้นผิวที่เรานำขวดไปวาง หากเป็นพื้นโลหะใช้เวลาตากแดด 2 ชั่วโมง หากเป็นพื้นกระเบื้องหรือซีเมนต์ ใช้เวลา 6 ชั่วโมง แต่หากเป็นช่วงเวลาที่ท้องฟ้ามีเมฆมาก ก็ควรปล่อยทิ้งไว้ 2 วัน




จาก ..................... คม ชัด ลึก วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
05-11-2011, 08:06
สารพัดโรคภัยที่มากับ "น้องน้ำ" เรื่องที่ทุกบ้านไม่ควรมองข้าม

http://pics.manager.co.th/Images/554000014851102.JPEG

สถานการณ์น้ำท่วม ณ เวลานี้ ยังคงสร้างความเดือดร้อนอยู่มากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบ้านที่ถูก "น้องน้ำ" เข้าท่วมจนข้าวของเครื่องใช้เสียหาย ส่วนบ้านไหนที่ขนของขึ้นที่สูงได้ทัน ก็ถือว่าโชคดีไป แต่นอกจากจะมุ่งความสนใจไปที่การรับมือกับน้ำเพียงอย่างเดียวแล้ว การดูแลสุขภาพให้ปลอดโรคที่มากับน้องน้ำก็เป็นอีกเรื่องสำคัญที่ทุกๆบ้านไม่ควรมองข้ามเช่้นกัน

รอ.นพ. พันเลิศ ปิยะลาศ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า โรคภัยที่มากับน้ำมีหลากหลาย โดยเฉพาะโรคติดต่อและอันตรายที่มากับภาวะน้ำท่วม และหลังน้ำลด เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม โรคระบบทางเดินอาหาร อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ โรคน้ำกัดเท้า และโรคฉี่หนูที่ทำให้มีไข้สูงฉับพลัน และเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก นอกจากนั้นแล้ว ภาวะน้ำท่วมขังเป็นเวลานานๆ ก่อให้เกิดโรคที่มาจากแมลงเป็นพาหะ เช่น ไข้เลือดออก มาลาเรีย เป็นต้น

ความน่าเป็นห่วงข้างต้น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ มีวิธีรับมือกับสารพัดโรคภัยที่แฝงมากับ "น้องน้ำ" มาฝากทุกๆบ้านตามแนวทางที่สามารถทำได้ง่ายๆด้วยตัวเองดังต่อไปนี้

- บ้านที่มีน้ำท่วมขัง ควรหาหามุ้ง หรือยาทากันยุงติดบ้านไว้บ้าง โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็ก โดยกางนอนทั้งกลางวัน และกลางคืน โดยเฉพาะตอนกลางวัน เป็นช่วงที่ยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ออกหากิน

- ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น เช็ดตัวให้แห้ง หลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากไข้หวัดใหญ่ และปอดบวม

- เลือกทานอาหารที่ปรุงสุก และสะอาด อาหารกระป๋องที่ยังไม่หมดอายุ กระป๋องไม่บวมหรือเป็นสนิม ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำจากขวดที่ฝาปิดสนิท น้ำต้มสุก หลีกเลี่ยงการถ่ายอุจจาระลงในน้ำ ซึ่งจะเป็นบ่อเกิดของโรค

- หากไม่แน่ใจว่าน้ำที่เราใช้ดื่มมีความสะอาดเพียงพอหรือไม่ ควรต้มน้ำดื่มให้เดือดเพื่อทำลายเชื้อโรคในน้ำก่อนหรือในส่วนของน้ำใช้ หากไม่แน่ใจให้ใช้ผงปูนคลอรีนทำลายเชื้อโรคในน้ำ โดยคลอรีนสามารถทำลายเชื้อโรคได้มากกว่า 99% รวมทั้ง อี.โคไล (E.coli) และเชื้อไวรัส นอกจากนี้ผงปูนคลอรีนสามารถเพิ่มปริมาณอ๊อกซิเจนในน้ำได้ ซึ่งการใช้คลอรีนอย่างระมัดระวังจะไม่เกิดอันตราย

- หลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน และป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำโดยการสวมร้องเท้าบู๊ทยาง หากไม่สามารถเลี่ยงได้ควรรีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นโรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิสซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรคที่มากับน้ำ

- หากพบอาการระคายเคืองบริเวณตา ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคตาแดง ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดทันที หรือถ้ามีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตาไม่ควรขยี้ตาด้วยมือที่สกปรก อย่าให้แมลงตอมตา และหลีกเลี่ยงที่จะใช้ของร่วมกับผู้ป่วยเพื่อป้องกันการระบาดของโรค

- บ้านใครที่มีผู้ป่วยเบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง ลมชัก จำเป็นต้องใช้ยาต่อเนื่อง ควรจัดเตรียมยาประจำตัวของตนเองให้พร้อมอยู่เสมอในภาชนะที่ปิดกันน้ำได้

นอกจากนั้นแล้ว อุบัติเหตุที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วมที่ต้องระมัดระวังด้วยเช่นกัน ได้แก่ ไฟดูด จมน้ำ เหยียบของมีคม สามารถป้องกันได้โดย

- ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า สับคัทเอาท์ตัดไฟฟ้าในบ้านก่อนที่น้ำจะท่วมถึง

- เก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคม ในบริเวณอาคารบ้านเรือน และตามทางเดินอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากของมีคมได้แล้ว ยังช่วยป้องกันอันตรายจากสัตว์มีพิษที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็น งู ตะขาบ แมงป่อง ซึ่งหนีน้ำมาหลบอาศัยในบริเวณบ้านเรือนได้ด้วย

"เมื่อต้องเป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วม อย่างแรกที่ต้องมีก็คือ สติ อย่าตกใจหรือกลัวจนขาดสติ ควรเตรียมตัว เตรียมใจรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ ติดตามรายงานของทางราชการอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนศึกษาขั้นตอนการอพยพ ระบบการเตือนภัย เส้นทางการเคลื่อนย้ายในกรณีเร่งด่วนครับ" ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพทิ้งท้าย




จาก ..................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
06-11-2011, 08:01
'น้ำดื่ม' ปนเปื้อนเชื้อโรค!! ภัยสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม

http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/06/newspaper/p4thurl.jpg

จากวิกฤติปัญหาน้ำท่วมที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทำให้ประชาชนจำต้องระมัดระวังตนเองในการบริโภค “น้ำดื่ม” เพราะการบริโภคน้ำที่ไม่สะอาด อาจทำให้ร่างกายได้รับเชื้อโรคส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้

นพ.วิโรจน์ เมืองศิลป ศาสตร์ แพทย์หัวหน้าแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลเวชธานี ให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำสะอาดว่า ลักษณะของน้ำดื่มที่ดีมีคุณประโยชน์กับร่างกายมนุษย์ ควรปราศจากสารปนเปื้อนทางเคมีและสารอินทรีย์ต่าง ๆ เช่น มีเชื้อจุลินทรีย์ โลหะหนัก สารเคมี โดยจะต้อง ประกอบด้วยแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โปแตสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม เพราะ การที่น้ำมีแร่ธาตุละลายอยู่มากจะช่วยลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว นอนหลับ สดใส กระปรี้กระเปร่า ลดคอเลสเตอรอลและจิตใจสงบผ่อนคลาย

รวมทั้ง จะต้องมีโครงสร้างโมเลกุลขนาดเล็กเพื่อทำให้แทรกซึมสู่เซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างทั่วถึง และนำพาของเสียออกมาจากเซลล์ไปทิ้งได้

“น้ำดื่มที่ดีควรมี ความกระด้างของน้ำปานกลาง โดยมีความเป็นด่างอ่อนๆ มีค่าความเป็นกรดและด่างระหว่าง พีเอช 7.25-8.50 เพื่อช่วยกำจัดความเป็นกรดและของเสียในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีภาวะที่สมดุล สุดท้าย มีปริมาณออกซิเจนที่เจือปนอยู่ด้วย โดยจะต้องวัดค่าได้ประมาณ 5 มิลลิกรัมต่อลิตรหรือมากกว่า”

สิ่งที่จะปนเปื้อนมากับน้ำดื่มได้ นพ.วิโรจน์ กล่าวว่า จะเป็นเชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ โปรโตซัว เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ไกอาร์เดีย แลมเบลีย และคริปโตสปอรีเดียม สำหรับแบคทีเรีย ที่เป็นเชื้อจุลินทรีย์ขนาดกลาง ได้แก่ อีโคไล, วิบริโอ คอเลอเร, แคมไพโลแบคเตอร์ และซัลโมเนลล่า ส่วนไวรัส เป็นชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ที่เล็กที่สุด เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ ตลอดจน มลพิษ ได้แก่ สารเคมี น้ำเสีย น้ำมันเชื้อเพลิงที่รั่วไหล สารมลพิษโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ สารที่มนุษย์สร้างขึ้นและสารที่เป็นธรรมชาติ สารมลพิษที่มนุษย์สร้างขึ้นจะถูกนำเข้าสู่แหล่งน้ำโดยโรงงานผลิตของเสียและการจัดการกำจัดมลพิษทางอากาศและอื่นๆ ส่วนใหญ่มักเป็นสารเคมี เชื้อเพลิง หรือสิ่งปฏิกูลจากผลิตภัณฑ์ มลพิษเหล่านี้สามารถทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็นและสามารถทำให้เกิดโรคทางร่างกายหรือเสียชีวิตได้

หากบริโภคน้ำดื่มที่ไม่สะอาดมีเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้ปนเปื้อนจะก่อให้เกิดโรค และอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น โรคอหิวาตกโรค เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย วิบริโอ คอเลอเร ที่แพร่กระจายอยู่ในน้ำดื่มและอาหาร โดยมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรค และแน่นอนว่าโรคนี้แพร่ระบาดได้โดยการกินและดื่มอาหารและน้ำที่มีแมลงวันตอมและมีเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ รวมทั้งอาหารสุกๆดิบๆ

โดยผู้ป่วยจะมีอาการอุจจาระเหลวเป็นน้ำวันละหลายครั้ง แต่ไม่เกินวันละ 1 ลิตร อาจมีอาการปวดท้องหรืออาเจียนร่วมด้วย สามารถรักษาให้หายได้ภายใน 1-5 วัน แต่ถ้าติดเชื้อรุนแรงจะมีอาการท้องเดิน อุจจาระมากและมีลักษณะอุจจาระเป็นน้ำซาวข้าว มีกลิ่นเหม็นคาว และอุจจาระได้โดยไม่ปวดท้องและไม่รู้สึกตัว สามารถหายได้ภายใน 2-6 วัน หากได้รับเกลือแร่และชดเชยน้ำที่เสียไป แต่หากได้รับไม่พอดีกับที่เสียไปแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการหมดแรง หน้ามืด อาจช็อกได้

การป้องกันทำได้โดยการรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก รวมถึง รักษาสุขภาพอนามัยด้วยการล้างมือและภาชนะให้สะอาดทุกครั้ง และ ไม่ควรนำน้ำท่วมมาล้างภาชนะ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นอหิวาตกโรค หรือหากติดเชื้อแล้ว ควรพบแพทย์และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ต่อมา คือ ไข้ไทฟอยด์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซาลโมเนลลา ไทฟี ที่อยู่ในน้ำและอาหารเช่นเดียวกับอหิวาตกโรค สามารถแพร่ระบาดโดยการดื่มน้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เมื่อได้รับเชื้อนี้เข้าไปจะไม่แสดงอาการทันที แต่จะแสดงอาการหลังจากรับเชื้อประมาณ 1 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว เบื่ออาหาร มีไข้สูงมาก ท้องร่วง บางรายมีผื่นขึ้นตามตัว แน่นท้อง สามารถหายได้เองภายใน 1 เดือน แต่ผู้ป่วยควรจะพบแพทย์หลังจากมีอาการแล้ว เพราะอาจจะเสียชีวิตจากภาวะปอดบวมได้

การป้องกันไข้ไทฟอยด์ ทำได้โดยรับประทานอาหารที่สะอาด อยู่ในภาชนะที่สะอาด รวมถึง ล้างมือให้สะอาดก่อนทานอาหารทุกครั้ง และควรจะหลีกเลี่ยงอาหารจากร้านค้าข้างถนนที่อยู่ในบริเวณที่ไม่สะอาด เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรืออีกทางหนึ่ง คือ ฉีดวัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์

อีกโรคหนึ่ง คือ โรคตับอักเสบ เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเซลล์ตับ ทำให้ตับทำงานผิดปกติ โดยไวรัสตับอักเสบที่มาจากภาวะน้ำท่วม คือ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ที่มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด ไม่ทำให้สุก

“ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร ปวดท้อง ปวดตัวแถวชายโครงขวา และมีปัสสาวะเป็นสีชาแก่ เริ่มมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองในสัปดาห์แรก และจะหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์ การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคตับอักเสบรับประทานอาหารที่สุกและสะอาด ไม่ใช้แก้วน้ำและช้อนร่วมกับผู้อื่น”

ในเรื่องของการดื่มน้ำ นพ.วิโรจน์ ทิ้งท้ายว่า เชื้อโรคนั้นมักปนเปื้อนสู่ร่างกายโดยการบริโภคน้ำดื่มที่ไม่สะอาด การป้องกัน คือ ควรดื่มน้ำที่ผ่านการกรองแล้วนำมาต้มสุก ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกายเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะขาดน้ำ ในกรณีที่มีอาการท้องร่วงจากเชื้อโรคในน้ำที่ดื่ม ควรดื่มน้ำทดแทนอย่างเพียงพอ หรือ ดื่มน้ำเกลือแร่เสริม ในกรณีที่มีอาการท้องเสียรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที.

***************************************

เคล็ดลับสุขภาพดี แนะวิธีรักษาอาการ 'ตาแดง' ภัยแฝงที่มากับน้ำท่วม

โรคที่มักมากับน้ำท่วมคือ “ตาแดง”ซึ่งพบบ่อยและมีการแพร่ระบาดสู่ผู้อื่นด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และเด็กๆที่ชอบกระโดดเล่นน้ำในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง หากเราไม่สามารถป้องกันตัวเองจากโรคตาแดงได้ก็ควรทราบวิธีรักษาอาการเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการและเพื่อความปลอดภัยของดวงตา วันนี้เคล็ดลับสุขภาพมีวิธีดูแลตัวเองหลังจากเป็นโรคตาแดงมาฝากกันค่ะ

โดย รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ด้านความเสี่ยง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ความรู้ว่า โรคตาแดงหรือเยื่อบุตาขาวอักเสบ เป็นโรคที่มีการแพร่ระบาดเมื่อเกิดน้ำท่วมมาสักระยะหนึ่ง มักเกิดจากเชื้อไวรัสหรือสิ่งระคายเคืองปะปนอยู่กับน้ำท่วมขังซึ่งเป็นน้ำที่ไม่สะอาด โดยอาการของผู้ป่วยจะมีอาการปวด คัน และบวมบริเวณเยื่อบุตาขาว มีอาการกลัวแสง น้ำตาไหล มีขี้ตา อาจมีอาการที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อนที่จะลุกลามไปยังตาอีกข้างหนึ่ง ผู้ป่วยบางคนอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน กระจกตาดำอักเสบ เป็นต้น

การดูแลตัวเองในเบื้องต้นหากเราติดเชื้อโรคตาแดงแล้ว โดยเราสามารถดูแลตัวเองได้ด้วยการทำความสะอาดบริเวณดวงตา โดยการเช็ด ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลือหรือน้ำสะอาดเช็ดขี้ตาออก หลีกเลี่ยงการใช้มือขยี้ตา หรืออาจใช้ยาหยดตากลุ่มยาปฏิชีวนะ เช่น ยาหยดตาคลอแรมเฟนนิคอล แต่หากผู้ป่วยมีอาการคันอย่างมากอาจต้องพบแพทย์เพื่อรับยามารับประทานแก้คัน อย่างไรก็ตามการล้างตาด้วยน้ำยาล้างตาหรือน้ำสะอาดมักจะไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น

หากเราดูแลตัวเองอย่างดีตามขั้นตอนแรกที่เอ่ยไปแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน โดยมีอาการ เช่น ขี้ตาเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง มีอาการตามัว ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที สำหรับการป้องกันโรคตาแดงที่เราสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีง่าย คือ หลีกเลี่ยงไม่ให้ฝุ่นละอองหรือน้ำท่วมขังที่สกปรกเข้าตา โดยเฉพาะเด็กๆ ไม่ควรเล่นน้ำในที่น้ำท่วมขัง ถ้าหากฝุ่นละอองหรือน้ำกระเด็นเข้าตาควรรีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด หมั่นล้างมือเป็นประจำเพราะมือเราอาจจะเปียกน้ำสกปรกหรือเปื้อนขี้ฝุ่นโดยไม่ตั้งใจแล้วเผลอไปแคะขี้ตาหรือขยี้ตาทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ดวงตาได้ ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการขยี้ตา ทั้งนี้หากเป็นไปได้ควรแยกผู้ป่วยจากสมาชิกอื่นในครอบครัวนาน 2-3 วัน หรือไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค

เมื่อทราบแบบนี้แล้วอย่าลืมป้องกันหรือหากติดเชื้อตาแดงแล้วควรดูแลตัวเองด้วยการปฏิบัติตามขั้นตอนที่แนะนำไป โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่เราควรดูแลมากเป็นพิเศษเพื่อป้องกันตัวเองและลดการแพร่ระบาดของโรคตาแดงอย่างเคร่งครัด เพราะหากเป็นโรคตาแดงแล้วอาจมีโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ต่อดวงตาของเราได้ซึ่งจะเป็นอันตรายในภายหลังค่ะ.


สรรหามาบอก

- ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ขอเชิญผู้สนใจร่วมงานเสวนาเรื่อง ’ปวดข้อ ปวดกระดูก“ ใน วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2554 เวลา 09.30–12.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 4 โรงพยาบาลไทยนครินทร์ บางนา-ตราด กม.3.5 สำหรับ 60 ท่านแรกที่ลงทะเบียนรับบริการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ข้อมือโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สนใจสำรองที่นั่งได้ที่ แผนกลูกค้าสัมพันธ์ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ โทรศัพท์ 0-2361-2727 ต่อ 3042 และ 3056

- แผนกไต โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ยังคงเปิดให้บริการการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในช่วงภาวะวิกฤติอุทกภัยตามปกติตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังหรือไตวายเฉียบพลันจำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือดทุกสัปดาห์ โดยทางโรงพยาบาลได้จัดเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์ น้ำยาฟอกเลือดอย่างเพียงพอ เพื่อรองรับการให้บริการรักษาอย่างทั่วถึง พร้อมทีมแพทย์และพยาบาลวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0-2711-8272-3 หรือ Call Center โทร. 0-2711-8181

- มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยสามารถบริจาคได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาโรงพยาบาลราชวิถี เลขที่บัญชี 051 -265547-2 ชื่อบัญชี ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม โดยมูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี สอบถามโทร. 0-2354-8108-9

-โรงพยาบาลมนารมย์ เปิดสายด่วนให้คำปรึกษาทางใจแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2725-9555 ตั้งแต่เวลา 08.00–18.00 น. ภายใต้ ’โครงการมนารมย์ร่วมใจ…ช่วยภัยน้ำท่วม“ โดยได้จัดทีมนักจิตวิทยา และทีมจิตแพทย์อาสาของโรงพยาบาล ไว้พร้อมบริการให้คำปรึกษาทางใจกับผู้ประสบภัย หรือผู้ดูแลผู้ประสบภัยทางโทรศัพท์โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย.




จาก ....................... เดลินิวส์ หน้าวาไรตี้ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
06-11-2011, 08:03
อาการทางจิตจาก 'เหล้า' ช่วงน้ำท่วม

http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/06/newspaper/p7thurl2.jpg

ผลกระทบทางสุขภาพจากภาวะน้ำท่วม นอกจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วยทางกายแล้ว สุขภาพจิต ก็เป็นเรื่องสำคัญที่กระทรวงสาธารณสุขให้ความสนใจในการดูแลผู้ประสบภัย โดยปัญหาหนึ่งที่หลายคนอาจคาดไม่ถึงก็คือ อาการทางจิตที่เกิดจากการหยุดเหล้า

เกี่ยวกับเรื่องนี้ พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า อาการทางจิตอันเป็นผลแทรกซ้อนจากการหยุดเหล้าช่วงน้ำท่วมเป็นปัญหาที่พบอยู่ในขณะนี้ มักเกิดขึ้นกับคนที่ติดเหล้า ดื่มเหล้าจนมึนเมาแทบทุกวัน หรือดื่มต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ชาย

พอน้ำท่วมไม่สามารถหาเหล้าดื่มได้ ทำให้ต้องหยุดดื่ม อีกทั้งไม่มีเวลาพักผ่อน ต้องขนของหนีน้ำ อดนอน เครียด ดื่มน้ำน้อย รับประทานอาหารไม่ถูกส่วน ขาดเกลือแร่บางตัว อยู่ในที่แออัด ป่วยเป็นไข้หวัด หรือติดเชื้อโรค ประมาณ 3 วันหลังจากหยุดเหล้า จะเริ่มมีไข้ต่ำๆ เพลียมาก สับสนมึนงง คล้ายกับคนที่มีอาการทางจิต จำเวลาสถานที่ไม่ได้ พูดจาไม่รู้เรื่อง มีพฤติกรรมก้าวร้าว ควบคุมสติไม่ได้ เพ้อ เห็นภาพหลอน โวยวาย ได้ยินเสียงแว่ว ถึงขั้นคลุ้มคลั่งทำร้ายตัวเอง และทำร้ายคนอื่น หรืออาละวาดชกต่อยคนอื่น ที่สำคัญคือ อาจมีอาการชักเกร็ง หมดสติ ถึงขั้นเสียชีวิตได้

กรณีเช่นนี้สามารถป้องกันได้ โดยหลักการ คือ ต้องให้คนที่ติดเหล้ารู้ปัญหาของตัวเอง ว่าเขามีความเสี่ยงอย่างไร โดยเขาควรจะนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ

ถ้ามีอาการข้างต้นควรขอความช่วยเหลือจากคนอื่น เช่น ถ้าอยู่ศูนย์พักพิงควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ได้รับรู้เพื่อที่จะได้หาทางช่วยเหลือต่อไป ทั้งนี้หากแพทย์ทราบว่ามีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นก็อาจจะให้ยากับคนไข้เพื่อให้สามารถนอนหลับได้ดี ป้องกันปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นตามมา

ที่ผ่านมาตัวหมอเองเคยเจอคนไข้ชายรายหนึ่ง มีอาการอาละวาดในศูนย์พักพิง แต่ในขณะนั้นการคมนาคมยังสะดวกอยู่ทำให้คนไข้รายนี้เข้าถึงการรักษาได้เร็ว แต่ถ้าติดเกาะ หรือติดอยู่ในบ้านหากมีอาการขึ้นมาการช่วยเหลือจะยุ่งยากมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีอีก 1 รายเป็นผู้หญิง ทำงานบริษัท และเคยเสพยาบ้า ช่วงน้ำท่วมปรากฏว่ามีความขัดแย้งกับสามี อีกทั้งติดต่อลูกไม่ได้ ทำให้เสียใจมาก ก็เลยเสพยาบ้า ทั้งหัวเราะ และร้องไห้ เดินไปเดินมา

กรณีข้างต้นเป็นอุทาหรณ์ย้ำเตือนว่า การดื่มเหล้าและใช้สารเสพติด ทั้งที่เกิดจากความเครียดหรือจากสาเหตุใดก็ตามล้วนแต่นำไปสู่ปัญหาทั้งในช่วงเวลาที่เสพและช่วงเวลาที่ขาดสารเหล่านั้น ดังนั้นทางที่ดีที่สุดไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับสิ่งมึนเมา และสารเสพติดทั้งหลาย เลิกได้ขอให้เลิกเลย

อย่างไรก็ตามจากปัญหาข้างต้น นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้ให้นโยบายบุคลากรของกรมสุขภาพจิตและเครือข่ายเร่งค้นหาผู้มีความเสี่ยงเหล่านี้เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น.




จาก ....................... เดลินิวส์ x-ray สุขภาพ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
07-11-2011, 06:46
เปิดตัวครั้งแรก"น้องน้ำ" เธอเป็นใคร นิสัยอย่างไร ทำไมทะเลาะกับ "พี่กรุง"


ถามว่าวันนี้มีใครไม่รู้จัก "น้องน้ำ" บ้าง


ผู้หญิงคนนี้ก้าวเข้ามาสู่ชีวิตทุกคนแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว


อยู่ดีๆก็โดดเข้ามา และใช้เวลาเพียง1เดือนเศษก็ทำให้คนไทยทุกคนรู้จักเธอ

และเรียกเธอว่า "น้อง"


แต่ถ้าถามว่า "น้องน้ำ" เป็นใคร มีนิสัยใจคออย่างไร


ไม่มีใครตอบได้


ความลึกลับของเธอทำให้ "ดีเอสไอ" ต้องปวดหัว


"หมอพรทิพย์" ต้องกลุ้มใจ


แต่จากร่องรอยของ "น้องน้ำ" ที่มีอยู่ตั้งแต่ "จดหมาย" ถึง "พี่กรุง". จนถึงการคืบคลานไปตามที่ต่างๆ

เราพอสรุปได้ว่า "น้องน้ำ" เป็นใคร และมีนิสัยใจคออย่างไร


และนี่คือการเปิดตัวครั้งแรกของ "น้องน้ำ"





1. "น้องน้ำ" เป็นเด็กผู้หญิงที่ถูกชายหนุ่มชื่อ "กรุง" สลัดทิ้งอย่างไม่ไยดี


และไปหลงสาวคนใหม่ชื่อ "ทราย"


แต่เธอก็ยังมุ่งมั่นตามหารักแท้


ไม่ว่า "พี่กรุง" จะเขียนจดหมายขอร้องไม่ให้มา แต่เธอก็ไม่นำพา


และเมื่อรักมาก ก็ย่อมแค้นมาก


ปรากฏการณ์ "รักจัดหนัก" จึงเกิดขึ้น





2. "น้องน้ำ" เป็นคนชอบการท่องเที่ยว


แม้จะแค้นพี่กรุงมากขนาดไหน. แต่นิสัยรักการท่องเที่ยวของเธอก็ไม่เปลี่ยนแปลง


เธอแวะเที่ยวตามจังหวัดต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนครสวรรค์ ลพบุรี นนทบุรี ปทุมธานี ฯลฯ


แม้จะแวะเที่ยวไปทั่วแต่ "น้ำ" ก็ยังคงมุ่งมั่นเช่นเดิม


นั่นคือ จะมาหา "พี่กรุง" ...ไม่เปลี่ยนแปลง





3. "น้องน้ำ"เป็นคนรักความสะอาด


แม้มีจังหวัดต่างๆให้เที่ยวมากมาย


แต่เธอก็ไม่ลืมที่จะไป "อยุธยา"


เพื่อให้ได้ชื่อว่า "ผ่าน อย." แล้ว





4. "น้ำ" เป็นเด็กลูกครึ่ง


ไม่มีใครรู้ว่าพ่อแม่ของเธอเป็นใคร


แต่ดูจากพฤติกรรมแล้ว ในฐานะคนคุ้นเคย "พระร่วง" ยืนยันว่า "น้ำ" ต้องมีเชื้อสาย "ขอม" อย่างแน่นอน


"ขอม"ยุคก่อนชอบ"ดำดิน"




แต่ "ขอม" พ.ศ.นี้ ชอบ "ดำท่อระบายน้ำ"





5. "น้ำ" ชอบช็อปปิ้ง และพัฒนารสนิยมตลอด


จากที่เคยเดินเล่นที่ "ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต" . เธอก็ขยับมาที่ "เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน" และ "เซ็นทรัลลาดพร้าว"


ไม่มีใครรู้ว่าเธอจะยกระดับไป "พารากอน" และ "เซ็นทรัลเวิล์ด" เมื่อไร


แถวนั้นรู้สึกว่า "แบรนด์เนม" เยอะจัด


"น้ำ" ชอบบบ...





6. "น้องน้ำ" เป็นเด็กฉลาด รักการเรียน


ชอบใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย


ผ่านทั้งธรรมศาสตร์ ม.กรุงเทพ ม.รังสิต เกษตรศาสตร์ ธุรกิจบัณฑิตย์ ฯลฯ


แม้แต่ "เอไอที" ก็ยังผ่านมาแล้วเลย





7."น้องน้ำ" อายุเพิ่มขึ้นเร็วมาก


ตอนที่ "น้องน้ำ" วิ่งไล่ล่ามหาวิทยาลัย คนส่วนใหญ่คิดว่าเธอต้องอายุประมาณ.18-22ปี


แต่พอผ่าน "เอไอที" ก็ชักไม่แน่ใจ


เพราะระดับปริญญาโทและเอกอายุอาจจะประมาณ 20 ปลายๆ


แต่เมื่อ 2 วันก่อน ทุกคนจึงรู้ได้ว่า"น้องน้ำ"อายุมากแล้ว


จาก "ดอนเมือง". เธอเคลื่อนตัวเรื่อยมา


จนกระทั่งเข้า "หลักสี่"


เราจึงสรุปได้ว่าแท้จริงแล้ว"น้องน้ำ"อายุประมาณ 40 กว่า


และบางทีนี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ความรักระหว่าง "พี่กรุง" และ "น้องน้ำ" เกิดปัญหาขึ้นมา


"น้องน้ำ" อาจหลอก "พี่กรุง" มาตลอดว่าอายุแค่ 20


แต่เมื่อพี่กรุงรู้ว่าแท้จริงแล้วน้องน้ำเลยหลัก 4


พี่กรุงก็เลยพยายามชิ่ง


การไล่ล่าหา "รัก" จึงเกิดขึ้น





8. "น้องน้ำ" เป็นคนรัก "แม่"


ไม่ว่าจะตะลอนไปเที่ยวที่ไหน. จะตามหารักแท้อย่างไร


แต่สุดท้าย "น้ำ" ก็จะกลับไปหา "แม่"


"แม่น้ำ" ชื่อ "เจ้าพระยา"




จาก ....................... มติชน วันที่ 6 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
08-11-2011, 07:41
ทำผ้าอนามัยฉุกเฉิน-วันนั้นของเดือนอย่าลุยน้ำ

http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/04/etc/kret08112011.jpg

น้ำท่วม ส่งผลกระทบกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในแง่สุขอนามัย เนื่องจากธรรมชาติของผู้หญิงต้องมีประจำเดือน ดังนั้นหากจะลุยน้ำที่ท่วมสูงจนเปียกชื้นถึงอวัยวะเพศ ควรรู้ไว้ว้า

ในช่วงนั้นของเดือน ปากมดลูกจะเปิดให้เลือดไหลออกมา จึงเสี่ยงที่น้ำสกปรกซึ่งอาจมีแบคทีเรีย เชื้อรา หรือปรสิตปะปนเล็ดลอดเข้าช่องคลอดได้ หากเป็นเช่นนั้นก็จะมีโอกาสป่วยเป็นมดลูกอักเสบติดเชื้อ สามารถลุกลามไปถึงช่องท้อง หากรุนแรงอาจเป็นหนอง เป็นฝีในช่องทาง ทว่าไม่ได้รับการรักษา ก็เสียชีวิตได้ ทั้งนี้ยังรวมถึงผู้หญิงใกล้คลอดและเพิ่งคลอดบุตรมาใหม่ๆด้วย

เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าช่องคลอด ผู้หญิงมีประจำเดือนไม่ควรลุยน้ำ หากเลี่ยงไม่ได้แนะให้สวมเครื่องป้องกัน เช่น กางเกงกันน้ำ หรือชุดกันน้ำ หรือหลังจากลุยน้ำแล้วต้องรีบชำระล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่อ่อนๆ เสร็จแล้วเช็ดให้แห้ง อย่าให้อับชื้น หลังจากนั้นจำเป็นต้องคอนสังเกตความผิดปกติของช่องคลอดด้วย เช่น กลิ่นและสีของสิ่งคัดหลั่ง เป็นต้น

สำหรับผู้หญิงที่เป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วม บางรายอาจมีอาหารและน้ำเพียงพอต่อการดำรงชีพ ทว่าขาดผ้าอนามัยที่ต้องใช้ กรณีไม่สามารถซื้อหาได้ เฟซบุค แฟนเพจ ‘Design for Disasters’ เผยวิธีทำผ้าอนามัยฉุกเฉินให้ลองทำด้วยตนเองจากวัสดุอุปกรณ์ใกล้ตัวประกอบด้วย เสื้อแขนยาวที่พร้อมสละแขนเสื้อออก ผ้าสะอาดหรือทิชชู กรรไกร และเทปกาว

วิธีทำ เริ่มจากใช้กรรไกรตัดแขนเสื้อให้ได้ความยาว 15-20 เซนติเมตร จากนั้นวางทบผ้าสะอาดหรือทิชชูให้หนาพอสมควรแล้วสอดเข้าไปในแขนเสื้อที่ตัดออกมา ส่วนปลายของแขนเสื้อสองด้านให้ติดเทปกาวโดยให้เหลือปลายด้านกาวยื่นออกมาจากขอบผ้าเพื่อใช้ติดกับกางเกงชั้นในด้วย โดยหลังจากใช้งานแล้วยังสามารถดึงเศษผ้าหรือทิชชูเปื้อนประจำเดือนทิ้งไป ขณะที่ชิ้นส่วนของแขนเสื้อนำไปซักทำความสะอาดแล้วนำกลับมาประกอบและใช้ใหม่ได้.




จาก ....................... เดลินิวส์ คอลัมน์ เกร็ดความรู้ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2554

ดอกปีบ
08-11-2011, 10:42
ขอบคุณมากๆสำหรับข้อมูลครับผม ..

สายน้ำ
09-11-2011, 08:21
ประชันไอเดียเก๋ กลางวิกฤตน้ำท่วม นวัตกรรมใหม่ ชีวิตชาวน้ำ

http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2011/11/pra01081154p1.jpg

ตั้งแต่มวลน้ำซึ่งท่วมพื้นที่ทางภาคเหนือเมื่อเกือบ 2 เดือนที่แล้ว ค่อยๆไหลลงสู่พื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อออกทะเลอ่าวไทย ไหลผ่านพื้นที่ภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งกระจุกตัวของชุมชนขนาดใหญ่ของประเทศ ทั้งบ้านเรือน เรือกสวนไร่นา และนิคมอุตสาหกรรม ล้วนได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน

น้ำท่วมครั้งนี้ทำให้เห็นว่า "เงิน ซื้อไม่ได้ทุกอย่าง" บางคนลงทุนเป็นเงินหลักร้อย-หลักหมื่น ป้องกันบ้านเรือนอย่างดี แต่เมื่อน้ำมาเงินที่ลงทุนก็ละลายหายไปกับสายน้ำ บางคนหนีน้ำไปเที่ยวต่างจังหวัดนานแรมสัปดาห์ กลับมาพบว่าบ้านยังแห้งสนิท ยิ่งรอน้ำนานเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายในการกักตุนอาหารและการกินอยู่ก็ยิ่งบานปลาย บางคนอาจคิดในใจ ทำไมไม่ท่วมให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย

ภาวะเช่นนี้ หน่วยงานทั้งราชการและเอกชนต่างระดมไอเดียกันอุตลุด ประดิษฐ์สิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยเพื่อให้การดำเนินชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น กลายเป็นโอกาสอันดีในการใช้ชีวิตแบบชาวน้ำ สร้างรอยยิ้มแก่ผู้พบเห็น

สิ่งแรกที่คนนึกถึงเมื่อน้ำท่วมคือ เรือ รวมถึงสิ่งของต่างๆที่ลอยน้ำสามารถบังคับไปตามทิศทางที่ต้องการได้ ไม่เสี่ยงกับอันตรายที่มากับน้ำ ทั้งสัตว์ร้ายนานาชนิด วัสดุแหลมคม รวมทั้งไฟฟ้าที่รั่วอยู่

http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2011/11/pra01081154p2.jpg
(ซ้าย) ชุดลุยน้ำ (บน) รถคันนี้ไปได้ทุกที่ที่น้ำท่วมน้อย (กลาง) ใช้ท่อพีวีซีกันน้ำ (ล่าง) การห่อรถด้วยถุงซิปพลาสติก

บางคนหาซื้อเรือ มีขายทั้งเรือไฟเบอร์ เรือยาง เรือเหล็ก เรืออะลูมิเนียม แต่คุณภาพอาจไม่สูงตามราคา

บางคนคิดว่าเรือยางรั่วง่าย ชนอะไรแข็งๆหน่อยก็เหี่ยว ส่วนเรือที่ทำจากวัสดุนำไฟฟ้าแม้จะพายไปในน้ำที่มีกระแสไฟวิ่งอยู่ ก็ยังปลอดภัยจากการถูกดูดแน่นอน หากร่างกายไม่สัมผัสกับน้ำที่มีไฟรั่วอยู่

หรือคนอีกกลุ่มอาจประยุกต์สิ่งของรอบตัวใช้เป็นเรือ ทั้งกะละมัง ถังน้ำ ยางในรถขนาดใหญ่ กระทะใบบัว แพไม้ไผ่ แพต้นกล้วย แพท่อพีวีซี เรือขวดพลาสติกหรือถังน้ำขนาดใหญ่ หรือสิ่งของอื่นๆ แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน

ในยามที่พาหนะซดน้ำมันใช้การไม่ได้ การหันมาใช้พาหนะแบบกินหญ้าก็ไม่เลวเหมือนกัน ทั้งช้าง ม้า วัว ควาย แค่ไม่ขโมยคนอื่นมาก็พอ

ส่วนรถยนต์ซดน้ำมัน ทั้งรถเล็กรถใหญ่ต่างจอดสนิทเมื่อน้ำมา บ้างก็ขับไปจอดยังลานจอดรถที่อยู่สูง บ้างก็จอดรอน้ำอยู่ที่บ้านซึ่งมีวิธีป้องกันน้ำสุดเหลือเชื่อ

แผ่นโฟมอย่างหนาขนาดใหญ่ เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับถอยรถคันงามขึ้นไปจอด แล้วมัดโฟมให้ติดกับตัวรถ ผูกไว้กับที่มั่น เมื่อน้ำมาแล้วรถไม่ลอยไปไหนไกล

http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2011/11/pra01081154p3.jpg

ที่พบเห็นบ่อยครั้ง คือ ถุงใส่รถ เท่าที่เห็นมีสองสี คือ สีขาวขุ่นแบบถุงซิปใส่ยา และสีดำดูคล้ายถุงขยะ นอกจากขนาดใหญ่พอที่จะถอยรถคันงามเข้าไปได้ ยังมีขนาดย่อมลงมา สำหรับเครื่องเรือนและเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ก่อนนำสิ่งของขนาดใหญ่ใส่ถุง อย่าลืมรองด้วยตาข่ายแข็งๆ เพื่อกระจายน้ำหนักไม่ให้อยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง เพราะแม้ว่าถุงของคุณจะหนาเพียงใดก็ตาม มันอาจรั่วได้ง่ายๆ

เมื่อบรรจุลงถุงแล้วปิดปากถุงให้สนิท ผูกไว้กับที่มั่น เพราะแม้ว่าสิ่งของที่อยู่ในถุงจะมีน้ำหนักเป็นตันๆ แต่มันก็สามารถลอยตุ๊บป่องๆไปกับน้ำ ออกทะเลอ่าวไทยไปได้

บางคนอาจหาถุงพลาสติกใส่รถไม่ได้ เพราะเป็นที่ต้องการเหลือเกินแม้ราคาจะสูงเพียงใด จึงใช้ผ้าใบที่ปกติคลุมบนตัวถังรถ เปลี่ยนเป็นการห่อจากด้านล่างตัวถัง ส่วนวิธีการกันน้ำเข้าท่อไอเสีย มีทั้งต่อท่อไอเสียกับสายยางบ้าง ท่อพีวีซีบ้าง เห็นแล้วทึ่งกับไอเดียจริงๆ

อีกสิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องสำรวจก่อนลงน้ำ คือ การตรวจว่าในน้ำมีไฟฟ้ารั่วหรือไม่ ด้วยสิ่งที่เรียกว่าไม้ตรวจไฟที่มีความยาวอย่างน้อย 2 เมตร สำหรับวัดว่าน้ำที่ท่วมขังนั้นมีกระแสไฟฟ้ารั่วอยู่หรือไม่ แม้จะมีหลายหน่วยงานแนะนำวิธีทำไม้ตรวจไฟ หรือขายเป็ดน้อยตรวจไฟ แต่ถ้าไม่มีความรู้เรื่องวงจรไฟฟ้าก็ไม่ควรเสี่ยงประดิษฐ์เองตามคำแนะนำเป็นอันขาด ทางที่ดีคือเลี่ยงจากการอยู่ในที่ที่มีน้ำท่วมขัง

หากใครเลี่ยงไม่ได้ ก็แนะนำให้หารองเท้าบูตยางและกางเกงกันน้ำมาใส่ นอกจากจะป้องกันไฟฟ้าดูด ยังป้องกันอันตรายจากเชื้อราและเชื้อโรคต่างๆ ที่มากับกระแสน้ำ รวมถึงสัตว์มีพิษต่างๆ ด้วย

สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้อีกอย่างคือ สุขา ที่มีหลากหลายไอเดียที่พบเห็นได้ทั่วไปช่วงก่อนหน้านี้คือสุขาลอยน้ำ ทว่า ยังมีไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงมีการคิดค้นสุขาชั่วคราว ที่ทำจากกระดาษบ้าง เก้าอี้พลาสติกบ้าง โดยขับถ่ายใส่ถุงดำ เมื่อเสร็จกิจก็เทผงอีเอ็ม 1 ช้อนชา ตามด้วยน้ำ 1 ถ้วยต่อการถ่าย 1 ครั้ง ถุงหนึ่งใช้ได้หลายครั้ง ก่อนจะนำถุงไปทิ้งต้องไล่อากาศออกให้หมด อย่ารังเกียจผลงานตัวเองเป็นอันขาด แล้วใส่ถังไว้ ไม่ทิ้งลงน้ำ

นวัตกรรมที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิ่งที่คนไทยช่างคิด รังสรรค์ขึ้นเท่านั้น

หากไม่เกิดมหาอุทกภัยเช่นนี้

ไอเดียแปลกๆ ก็คงไม่เกิด




จาก .................. มติชน วันที่ 8 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
09-11-2011, 08:24
รู้ไว้ใช่ว่ารอเวลาน้ำลด 'ซ่อมแซมบ้าน' เรื่องใหญ่ที่ 'เอาอยู่?'

http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/09/newspaper/p3thurl.jpg

หนักหนาสาหัส วิกฤติการณ์ครั้งเลวร้ายสุดๆ และอีกสารพัดคำจำกัดความทางร้ายๆ ถูกนำมาใช้กับภัย ’น้ำท่วมใหญ่“ ที่เกิดขึ้น ท่ามกลางกระแสมากมายหลายหลากที่เกี่ยวกับน้ำท่วม อย่างไรก็ดี ที่ดีที่สุดนาทีนี้สำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วม คือต้องพยายามทำใจ ปรับจิตปรับใจ เพื่อให้ปรับตัวเพื่อผ่านทุกข์ภัยที่ประสบได้

จากนั้นก็จะได้ก้าวสู่การ ’ฟื้นฟูซ่อมแซม“ ต่อไป...

น้ำท่วมใหญ่ปีนี้ มีทั้งร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สิน และอื่น ๆ อีกมาก ที่ต้องซ่อมแซมกันหลังน้ำลด รวมถึง ’บ้านเรือนที่อยู่อาศัย“ ที่เสียหายมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งว่ากันถึงเรื่องการซ่อมแซมบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เรื่องนี้ข้อมูลของ home care ในเชิงเกร็ดความรู้ ในเว็บไซต์ http://www.hm.co.th/data.asp?pg=knowledge ของ บริษัท โฮม เมนเทนแนนซ์ จำกัด ซึ่งทำเกี่ยวกับด้านการปรับปรุง ซ่อมแซม ก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย ก็น่าสนใจ ลองดู ๆ กันไว้ระหว่างที่น้ำยังท่วม-รอน้ำลด เมื่อถึงเวลาที่น้ำลดแล้วก็อาจช่วยให้ดำเนินการได้ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น

ทั้งนี้ ข้อมูลในเชิงเกร็ดความรู้ที่ว่านี้ มีการแบ่งย่อยเกี่ยวกับการซ่อมแซมบ้านหลังน้ำท่วมในหลายส่วน กล่าวคือ...การซ่อมแซมพื้นบ้าน พื้นบ้านที่เป็น พื้นไม้ปาร์เกต์ จะหลุดล่อนหลังจากเกิดน้ำท่วม วิธีแก้ไขคือนำแผ่นไม้ปาร์เกต์ไปผึ่งแดดให้แห้ง แล้วจึงค่อยทาด้วยกาวลาเท็กซ์ กดลงให้แน่น หลังจากนั้นทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 15 วัน จึงสามารถใช้งานได้ ถ้าเป็นพื้นบ้านที่เป็น พื้นพรม วิธีแก้ไขซ่อมแซมหลังถูกน้ำท่วมคือ ต้องลอกออก แล้วนำไปซักและตากแดดให้แห้งสนิท จากนั้นจึงค่อยนำกลับมาปูใหม่ โดยต้องให้พื้นคอนกรีตแห้งสนิทก่อน

การซ่อมแซมผนังบ้าน ถ้าเป็น ผนังยิปซัมบอร์ด ให้เลาะเอาแผ่นที่เสียออก ถ้าโครงเคร่าเป็นโลหะก็สามารถติดแผ่นใหม่ได้เลย แต่ถ้าโครงเคร่าเป็นไม้ต้องทิ้งให้ความชื้นในไม้ระเหยหมดก่อนจึงติดแผ่นใหม่ได้ ถ้าเป็น ผนังไม้ ต้องเช็ดทำความสะอาด เพื่อให้ผิวสามารถระเหยความชื้นได้ เมื่อแห้งดีแล้วใช้น้ำยารักษาเนื้อไม้ชโลมที่ผิว หรือทาสีด้านในบ้านก่อนทิ้งไว้ 5-6 เดือน แล้วค่อยทาสีด้านนอก ถ้าเป็น ผนังก่ออิฐฉาบปูน ให้ใช้วิธีเดียวกับผนังไม้ แต่ต้องทิ้งไว้เพื่อให้มีการระเหยความชื้นนานกว่าผนังไม้ เพราะจะมีความหนามากกว่า

การซ่อมแซมวอลเปเปอร์ ผนังวอลเปเปอร์ของบ้านที่ถูกน้ำท่วมนั้น วิธีแก้ไขคือให้ลอกแผ่นวอลเปเปอร์ออกให้หมด เพื่อให้ผนังที่ชื้นสามารถระเหยความชื้นออกมาได้ โดยต้องรอให้ผนังแห้งก่อน ลอกทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงค่อยปิดวอลเปเปอร์ทับลงไป ถ้าส่วนไหนขึ้นราหรือเช็ดไม่ออก ก็เปลี่ยนแผ่นใหม่

การซ่อมแซมฝ้าเพดานบ้าน ซึ่งหลายบ้านน้ำท่วมถึงฝ้ากันเลย กรณีเป็น ฝ้ายิปซัมบอร์ดหรือกระดาษอัด ถ้าเปื่อยยุ่ยมากเพราะอมน้ำ ก็ควรเลาะออกแล้วเปลี่ยนแผ่นใหม่ ทิ้งไว้ให้ทั้งหมดแห้งสนิทก่อนแล้วจึงค่อยทาสีทับ ถ้าเป็น ฝ้าโลหะ ให้เช็ดทำความสะอาดให้แห้ง ถ้าเป็นสนิมให้ใช้กระดาษทรายขัดออกให้เรียบร้อยแล้วจึงทาสีทับ ส่วน ฝ้าไม้ เกิด
การแอ่นตัว ก็ต้องแก้ไขให้ได้ระดับก่อนแล้วจึงทำการติดตั้งแผ่นฝ้าใหม่

การซ่อมแซมประตู ถ้าเป็น ประตูไม้ เมื่อต้องแช่น้ำท่วมจะบวมและผุพัง วิธีแก้ไขคือ ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วซ่อมแซมส่วนที่ผุให้เรียบร้อยก่อนจึงค่อยทาสีใหม่ แต่ถ้าผุมากก็ควรเปลี่ยนใหม่ ถ้าเป็น ประตูเหล็ก ที่ขึ้นสนิม วิธีแก้ไขคือ ใช้กระดาษทรายขัดสนิมออกให้หมด เช็ดให้แห้ง แล้วทาสีกันสนิมก่อน จากนั้นจึงทาสีใหม่

การซ่อมแซมบานพับ ลูกบิด รูกุญแจ อุปกรณ์ต่างๆที่ทำด้วยโลหะ เมื่อโดนน้ำท่วมมักจะมีปัญหาตามมา ซึ่งวิธีแก้ไขคือ เช็ดให้แห้งสนิท ขัดส่วนที่เป็นสนิมออกให้หมด แล้วให้ใช้น้ำยาหล่อลื่นชโลมตามจุดรอยต่อให้ทั่ว และมีคำเตือนคือ อย่าใช้จาระบี หรือใช้ขี้ผึ้งทา เพราะจะทำให้ความชื้นระเหยออกไม่ได้

ต่อด้วย การทาสีบ้าน หลังผ่านพ้นน้ำท่วมบ้าน คำแนะนำคือ ก่อนจะทำการทาสีบ้านใหม่ ควรจะซ่อมแซมส่วนอื่นๆภายในและภายนอกบ้านให้เรียบร้อยก่อน ส่วนเรื่องสีวิธีการคือ ต้องขูดสีเก่าออกก่อน ทำความสะอาดผนังและทิ้งไว้ให้แห้งสนิท เมื่อแห้งดีแล้วจึงทาสีรองพื้นชนิดกันเชื้อราก่อน แล้วทาทับด้วยสีจริง

ปิดท้ายด้วยเกร็ดความรู้ ข้อมูลจาก home care ในเว็บไซต์ของ บริษัท โฮม เมนเทนแนนซ์ จำกัด เกี่ยวกับเรื่อง ’บ้าน“ กับ ’น้ำท่วม“ ซึ่งสำหรับผู้ที่พอจะมีกำลังทรัพย์ และจากการที่น้ำท่วมบ้านครั้งนี้ทำให้คิด ๆ อยู่ว่าจะปรับปรุงบ้านแบบไหนให้หนีน้ำท่วม คิดว่าจากระดับน้ำที่ท่วมที่เห็นๆ น่าจะพอทำได้ กับการยกบ้านเพื่อหนีปัญหาน้ำท่วม นั้น ถ้าโครงสร้างบ้านเป็นไม้ทั้งหมด ก็คงไม่ยากเกิน เพราะไม้มีน้ำหนักค่อนข้างเบา แต่ถ้าโครงสร้างบ้านเป็นปูน จำเป็นต้องเสริมฐานรากใหม่ ซึ่งก็ทำได้ยากและมีน้ำหนักที่มากด้วย อีกทั้งยังมีงานระบบต่างๆที่ติดอยู่กับพื้นดิน เช่น ท่อประปา ท่อไฟฟ้า ต้องตัดออกแล้วเชื่อมใหม่ ก็ค่อนข้างยุ่งยาก และทำให้เสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างมากพอสมควร ซึ่งจากข้อมูลนี้ ควรจะทำหรือไม่ควรจะทำ ก็คงต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่

ทั้งนี้ ถึงตอนนี้หลายๆบ้านที่ถูกน้ำท่วม น้ำอาจจะลดแล้ว “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ก็ยินดีด้วย ขณะที่อีกหลายๆบ้านที่ยังท่วมอยู่หรือมีแนวโน้มว่าจะท่วม ก็ขอเป็นกำลังใจให้ก้าวผ่านวิบากจากภัยน้ำครั้งนี้ไปได้

ส่วนเรื่อง ’ซ่อมบ้าน“ ก็ลองพิจารณาข้อมูลที่ว่ามาข้างต้น

เผื่อว่าจะมีส่วนช่วยในการตัดสินใจได้บ้างไม่มากก็น้อย.





จาก ....................... เดลินิวส์ คอลัมน์ สกู๊ปหน้า 1 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
10-11-2011, 07:39
สัญญาณเตือน "ไทย" แผนแก้ท่วมระยะยาว "จำเป็น" ต้องทำ

http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2011/11/col01091154p1.jpg

นับจากวันนี้ รัฐบาลจะต้องมองถึง "แผนระระยาว" ในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต

น้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ขณะนี้ ถือเป็น "สัญญาณ" เบื้องต้นของอนาคตที่น่ากลัวสำหรับเมืองหลวงของไทย

เพราะตั้งอยู่บนที่ลุ่มต่ำและจมลงช้าๆอย่างต่อเนื่อง

กทม.เป็นเมืองที่ตั้งอยู่เหนืออ่าวไทยเพียง 30 กิโลเมตร

มีผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ อย่างธนาคารโลก คาดการณ์กันว่า อีกประมาณ 39 ปี หรือปี พ.ศ.2593 ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยจะสูงขึ้น 19-29 เซนติเมตร

กทม.เป็น 1 ใน 10 เมืองที่เสี่ยงต่อการจมน้ำ

เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับน้ำที่สูงขึ้นจะทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักผ่ากลาง กทม.สูงขึ้นตามไปด้วย

ธนาคารโลกระบุถึงขนาดว่า กทม.จะเสี่ยงน้ำท่วมเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า

เหตุผลที่ผู้เชี่ยวชาญชี้ตรงกันคือ การขยายตัวของความเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้น้ำท่วมสร้างความเสียหายรุนแรงแก่ กทม. เพราะเหลือทางให้น้ำไหลน้อยมาก

มีการเสนอทางออกว่า ทางการไทยจะต้องแก้ปัญหาการใช้ที่ดินใน กทม. ปัญหาการวางผังเมือง และอาจต้องพิจารณาเรื่องย้ายโรงงานและนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม

รุนแรงที่สุดอาจถึงขึ้นต้องพิจารณาย้ายเมืองหลวง

เหล่านี้คือการคาดการณ์ เมื่อบวกเข้ากับ "สัญญาณ" ที่คนกรุงประสบอยู่เวลานี้

ทำให้รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ต้องเตรียมวางแผนระยะยาวในการแก้ไขปัญหา

เพราะครั้งนี้จะเป็นโอกาสดี ที่จะต้องร่วมกันในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

ทั้งการพัฒนาพื้นที่ตลอดสองฝั่งเจ้าพระยา ด้วยการทำคันกั้นแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยระบบที่ทันสมัยคล้ายประตูเปิด-ปิดประตูน้ำ พร้อมๆกับถือโอกาสในการจัดระเบียบริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด

เช่นเดียวกับคลองสำคัญต่างๆใน กทม.ทุกคลอง จะต้องทำการขุดลอก บูรณาการใหม่หมด ทำให้ชุมชนริมคลองหมดไป ด้วยการจัดระเบียบการพักอาศัยให้กับประชาชนใหม่ทั้งหมด

พร้อมบูรณะให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ นี่เป็นโอกาส

รัฐบาลควรนำแนวคิด "โครงการแก้มลิง" ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริมาดำเนินการผันน้ำเหนือลงสู่ทะเล ด้วยการเสริมเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้าไป

เพราะลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง คือ

1.ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ลงคลอง พักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ แก้มลิง ต่อไป

2.เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ

3.สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่แก้มลิง ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลาส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง

4.เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันมิให้น้ำย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow)

นอกจากนั้น ก็วางแผนในการชะลอน้ำอย่างถูกต้องตามหลักสากล ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเขื่อน สร้างฝาย ตั้งแต่ด้านบนของประเทศ เรื่อยลงมาถึงพื้นที่ภาคกลาง เพื่อการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ

จริงอยู่ เวลานี้รัฐบาลกำลังวุ่นวายอยู่กับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เยียวยาผู้ประสบภัย แต่จะต้องมองการแก้ไขปัญหาในอนาคตควบคู่กันไปด้วย

รัฐบาลจะต้อง "กล้า" กู้เงินเป็นแสนๆล้าน เพื่อทำระบบป้องกันภัยจากอุทกภัยที่ทันสมัย ด้วยการนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยของต่างประเทศมาปรับใช้

ซึ่งการแก้ปัญหาทุกอย่าง คงไม่มีอะไรที่ "สมองมนุษย์" ทำไม่ได้ เว้นแต่คิดจะทำหรือไม่

หากรัฐบาลคิดทัน ก็ควรจะต้องเร่งตั้งคณะกรรมการการแก้ไขปัญหาระยะยาวขึ้นมาศึกษาโครงการระดับอภิมหาโปรเจ็กต์ โดยมีระยะเวลาที่ชัดเจน

เพราะมีบทเรียนมให้เห็นแล้วว่า น้ำจะท่วมจะมิดหัวอยู่แล้ว ศปภ.เพิ่งจะสั่งซื้อเครื่องสูบน้ำ ขยะ ผักตบขวางทางระบายน้ำ กทม.เพิ่งจะเร่งเก็บขยะ ลอกผักตบ

เข้าลักษณะไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา

เพราะไม่เช่นนั้น อุทกภัยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ สังคมไทยจะไม่ได้อะไรเลย นอกจากความเจ็บปวด สูญเสีย




จาก .................. มติชน วันที่ 9 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
11-11-2011, 08:19
Food For Flood "สำรับ" ยามยาก

http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2011/11/09/images/news_img_418212_1.jpg

วันที่มวลน้ำมหาศาลยังไม่ระบายออกจากแผนที่ประเทศไทย นอกจาก "ที่หลับที่นอน" แล้ว "อาหารการกิน" ถือเป็นอีกเรื่องที่ต้องคิด

ระหว่างทาง "ลงทะเล" ของมวลน้ำก้อนโต หรือปลาวาฬฝูงใหญ่ (แล้วแต่ใครจะเรียก) มหากาพย์การเดินทางครั้งนี้ สร้างผลกระทบมากมายไม่ว่าจะ "ทางตรง" หรือ "ทางอ้อม"

กว่า 60 จังหวัดทั่วประเทศ เรือกสวนไร่นา อาคารบ้านเรือน ตลอดจนพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ต่างถูกน้ำ "กวาดเรียบ"

น้ำ จึงกลาย "โจทย์สำคัญ" ให้คิด และปรับชีวิตไปโดยปริยาย

หลายบ้านต้องเทครัวอพยพไปยังศูนย์พักพิง ขณะที่อีกหลายบ้านยัง "ใจดีสู้น้ำ" รอเวลาอยู่กับที่ไม่ยอมไปไหน

จนวันนี้ ถึงคิว กรุงเทพมหานคร ที่ค่อยๆ "จม" ไปทีละเขต

แม้จะมีเสียงจากฟากบริหารออกมาพูดถึงความพยายามในการ "เอา" อุทกภัยให้ "อยู่" หมัด แต่กลับถูกน้ำไล่กระเจิงครั้งแล้วครั้งเล่า

ไม่ว่าจะงัดกระสอบทราย ก่ออิฐ ยาแนว หรือคลุมพลาสติก เท่าที่ "คัมภีร์กันน้ำ" เล่มไหนจะการันตี

ที่สำคัญกว่านั้น หนึ่งในปัจจัยสี่ อย่าง "อาหาร" คงเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้

หวั่นน้ำท่วม สินค้าขาดตลาด แห่กักตุนข้าว

มาม่าหมดสต็อกหลังเกิดน้ำท่วม

วิตกคนกรุง กักตุนน้ำดื่ม มาม่า ปลากระป๋อง ขาดตลาด

พาดหัวข่าวต่างๆ สะท้อนถึงความกังวลเรื่องปากท้องของคนเมือง ตั้งแต่ "น้องน้ำ" ยังเดินทางมาไม่ถึง

คำถามคือ เราจะดูแล "ปากท้อง" ตัวเองได้อย่างไร เมื่อน้ำกำลังทั้ง "รุก-รุม-ล้อม" อยู่ตอนนี้


เตรียม-ตุนให้ท้องอิ่ม

"เป็นคนกินยากค่ะ เลยยังไม่ได้คิดอะไรเท่าไหร่" เป็นคำสารภาพจาก อ้อม-เพ็ญสิริ เกษมสุข ถึงการเตรียมตัวรับสถานการณ์น้ำที่กำลัง "งวด" เข้ามาทุกขณะ

ปกติชีวิตสาวออฟฟิศที่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานในเมือง ทำให้หอพักของเธอแถวๆโรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์) ซอยรามอินทรา 109 ถนนพระยาสุเรนทร์ มักมีอาหารสำเร็จรูปติดห้องเอาไว้อยู่บ้าง หรือไม่ก็เป็นของขบเคี้ยวเล็กๆน้อยๆ เอาไว้แก้เหงาปาก

ข่าวน้ำท่วมบนหน้าจอทีวี ทำให้อ้อมเป็นกังวลอยู่พอสมควร เพราะห้องที่เธอพักอยู่ทุกวันนี้นั้น อยู่ชั้น 1 และตัวอาคารก็สูงจากถนนไม่มากเท่าไหร่ ก่อนจะออกมาทำงานเท่าที่รู้ เมื่อคืนน้ำก็ล้นท่อระบายน้ำขึ้นมาแล้ว

"ซอยข้างๆ ก็มีน้ำท่วมขังตั้งแต่สองวันก่อนแล้วค่ะ"

นอกจากเก็บของบางอย่างขึ้นที่สูง น้ำดื่ม นม และอะไรที่คิดว่าน่าจะ "กินง่าย" สำหรับตัวเองคือเสบียงที่เธอเตรียมเอาไว้รับน้ำเหนือตอนนี้ ส่วนหนึ่งเพราะเป็นคนที่กินอะไรยากมาเป็นทุนเดิม ที่สำคัญ หากท่วมขึ้นมาจริงๆ อ้อมเองก็ไม่คิดแช่น้ำอยู่เป็นสัปดาห์อยู่แล้ว

"กาแฟ นม บิสกิต เลย์ โจ๊ก แอปเปิ้ล ฝรั่งค่ะ" ที่นี่คือลิสต์เมนูในดวงใจ

แน่นอน ตอนนี้ เธอย้ายตัวเองไปพักบ้านญาติที่ต่างจังหวัดเรียบร้อย

ส่วน แจน - วรรณวิสา ฤทธิ์สกุลวงษ์ ตั้งหลักรับน้ำอยู่กับครอบครัวที่บ้าน ย่านลาดพร้าว 101 ตอนนี้อยู่ในขั้นเตรียมความพร้อมรับมือด้วยการ ก่อปูนกั้นประตูทางเข้าบ้าน และขนของขึ้นข้างบนเรียบร้อยหมดทุกอย่างแล้ว

"ทำตั้งแต่ท่วมบางบัวทองแล้วค่ะ" เธอยืนยัน

ไม่ได้โอเวอร์เกินเหตุ แต่ด้วยประสบการณ์จากตาและยายที่เคยผ่านน้ำท่วมมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ทำให้ที่บ้านค่อนข้างพร้อมพอสมควร

"แค่เดือนเดียวค่ะ" คือระยะเวลาที่ให้โอกาสตัวเองเดือดร้อนกับน้ำท่วม พอๆ กับบริมาณเสบียงที่มี

"ส่วนใหญ่เป็นพวกปลากระป๋อง หรือ อาหารกระป๋องน่ะค่ะ เพราะที่บ้านก็เป็นร้านขายของชำด้วย" เธอบอก

ขณะที่ แตง - พิริยา ยงเพชร กับพ่อ และแม่ของเธอเตรียมตัวเพียงทำรั้วกันน้ำเท่านั้น แต่ไม่ได้ย้ายของขึ้นที่สูง เพราะที่บริเวณบ้านค่อนข้างสูงพอสมควร

"เตรียมเสบียงไว้บ้าง แต่ไม่เยอะ เอาแค่พอสมควร ซื้อน้ำเป็นส่วนใหญ่ แล้วก็เป็นพวกอาหารแห้งเป็นบางส่วน ปลากระป๋อง, ข้าวสาร, มาม่า, น้ำพริกแบบแห้ง" เธออธิบาย

เหตุผลหลักที่ทั้ง 3 คนเลือกใช้อาหารแห้ง เครื่องกระป๋องก็เพราะ ความสะดวก และที่สำคัญยังสามารถเก็บได้นานด้วย

"ไม่มีไฟฟ้าใช้ อย่างน้อยปลากระป๋องก็ยังเปิดกินได้แหละค่ะ เพราะกว่าจะรอความช่วยเหลือจะเข้ามาถึงเรา เราก็คงเกือบตายก่อน" อ้อมออกความเห็น

แต่ถ้าถามถึงเรื่องสารอาหาร

"ชั่วโมงนี้ขอแค่พออิ่มก่อนดีกว่าคะ ยังไม่ต้องคิดว่าจะได้สารอาหารครบหรือไม่ครบหรอก" ทั้ง 3 สาวต่างยืนยันเป็นเสียงเดียว


น้ำนอง ท้องอิ่ม (+ครบ 5 หมู่)

เปรียบเทียบสภาพน้ำล้อมบ้าน อย่กว่าแต่จะหาซื้ออะไรกินเลย แค่คิดจะฝ่าระดับน้ำเหนือเข่าขึ้นไปก็ลำบากแล้ว หากย้อนมองสภาพความเป็นอยู่ท่ามกลางมวลน้ำที่ยังไม่มีท่าทีว่าจะลดง่ายๆ เช่นนี้ ถ้าไม่หาพื้นที่ลี้ภัยชั่วคราวรอน้ำลด การทำใจยอมรับสภาพ และปรับตัวดูจะเป็นทางออกที่เป็นไปได้มากที่สุด

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การหุงหาอาหารในสถานการณ์ดังกล่าว คำตอบของทั้ง แตง อ้อม และแจน ดูเหมือนจะเป็นคำตอบที่อยู่ในใจของหลายๆ คน แต่สำหรับนักโภชนาการชำนาญการพิเศษ อย่าง ณัฏฐิรา ทองบัวศิริไล จากสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เธอกังวลถึงสุขภาพในระยะยาว หากต้องพึงพาของกินเฉพาะอย่างเป็นเวลานานเกินไป

"คนเราต้องการสารอาหารต่างกันนะคะ" เธอตั้งข้อสังเกต

เพราะในจำนวนผู้ประสบภัยมีผู้คนหลากหลาย ทั้ง เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ คนท้อง หรือคนป่วย ซึ่งต้องการสารอาหารเพื่อบำรุงร่างกายแตกต่างกัน การเอาใจใส่กับอาหารการกินโดยเฉพาะช่วงน้ำท่วมอย่างนี้ แม้จะดูเป็นการเรียกร้องที่ "เกินไป" แต่ก็ไม่ควร "ละเลย"

"คุณอาจจะทานผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปได้ แต่ก็น่าจะดูด้วยว่ามีอะไรสามารถแทนแป้ง หรือแทนโปรตีนได้บ้าง"

เธอยกตัวอย่างกรณีที่ของกินยอดนิยมอย่าง "บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป" หรือ "ปลากระป๋อง" ขาดตลาด ผู้บริโภคก็ยังมี ขนมปังกรอบ ขนมเปี๊ยะ หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ แทนได้อยู่ แต่ข้อควรระวังเป็นพิเศษในช่วงนี้ คือเชื้อโรคที่อาจ "แถม" มากับน้ำ

"ช่วงน้ำท่วม หมู หรือไก่ อาจติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ เหมือนกับของกินที่มีส่วนประกอบของกะทิ หรือยำที่นำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยก็อาจเสียได้ง่าย อาหารที่ต้องใช้มือสัมผัสโดยตรงก็อาจจะติดเชื้อโรคได้ง่าย"

"กล้วยน้ำว้า" และ "ส้ม" เป็นผลไม้ 2 ชนิดที่เธอคิดว่าน่าจะเหมาะกับสถานการณ์แบบนี้ เพราะผักใบเขียวดูจะเป็นอะไรที่ถือว่ายากพอควร ที่สำคัญ วิตามินพวกนี้ล้วนแต่ต้อง "ปรุงเพิ่ม"

แต่หากเป็นของขบเคี้ยว หรืออาหารแห้ง คุกกี้ แคร็กเกอร์ อาหารเช้าจำพวกซีเรียล กินคู่กับนมยูเอชที (นมที่ผ่านการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิเกิน 135 องศาเซลเซียส) ก็เป็นตัวเลือกที่ทดแทนสารอาหารได้ค่อนข้างครอบคลุมเหมือนกัน

แต่ถ้าเด็กเล็กที่ต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ

"โดยเฉพาะเด็กแรกเกิด - 3 เดือนแรก แนะนำให้กินนมแม่อย่างเดียว เพราะนมผงจะทำให้ท้องร่วงได้ง่าย" เธอยืนยัน

แม้เด็กจะหย่านม หรือตัวแม่ไม่มีน้ำนมแล้วก็ตาม ณัฏฐิรา อธิบายว่าสามารถกระตุ้นน้ำนมได้ ด้วยการให้ลูกดูดบ่อยๆ แต่ตัวแม่เองก็ต้องดื่มน้ำให้มากกว่าปกติด้วยเหมือนกัน

สำหรับคนทั่วไป อาหารกระป๋องจำพวกข้าวกระป๋องที่สามารถกินได้เลย หรืออาหารปรุงสำเร็จบรรจุกระป๋องต่างๆ อาจมีราคาสูง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าตัวเลือกสำหรับสารอาหารยามยากจะขีดวงจำกัดอยู่เพียงเท่านั้น ถั่วตัด กระยาสารท หมูหยอง ไก่หยอง เนื้อสวรรค์ ไข่เค็ม เนื้อแดดเดียว ปลาแห้ง หรือปลาเล็กปลาน้อย ก็ล้วนแต่เป็นตัวเลือกที่ไม่น่ายากเกินความสามารถ

เพื่อให้ท้องอิ่ม และไม่ต้องพึ่งโรงหมอ หลังน้ำลดนั่นเอง.


จัดชุด (อาหาร) ลุยน้ำ

"เพราะนิสัยคนไทยยังไงก็ต้องกินข้าว" บางสุ้มเสียงจากฟากนักวิชาการเปรียบเทียบถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารช่วงน้ำท่วมที่แม้จะอัดแน่นไปด้วยสารอาหาร และการคำนวณแคลอรี่มาให้ตรงเป๊ะสักเพียงใด ถ้าลอง "สวยแต่รูป จูบไม่หอม" แม้จะถูกส่งให้ถึงมือผู้ประสบภัย แต่ก็มักจะได้รับการหยิบเป็นลำดับท้ายๆอยู่ดี

เมนูน้ำท่วม จึงค่อนข้างมีรายละเอียดมากกว่าแค่ตาเห็น

ทางศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยกรมอนามัย จึงได้ เซตเมนู "ชุดอาหารอิ่มท้อง" ขึ้นมาสำหรับเป็นทางเลือก ทั้งผู้ช่วยเหลือ และผู้รับการช่วยเหลือจะสามารถนำไปประยุตก์ใช้เพื่อให้มากกว่าอิ่มท้องรอน้ำลดได้

แน่นอนว่า นอกจากจะถูกหลักโภชนาการ ยังสามารถเก็บเอาไว้ได้นานเกินกว่า 3 วัน โดยอาหารภายในชุดประกอบไปด้วย

กลุ่มข้าว-แป้ง ได้แก่ ขนมปังกรอบคุ กกี้ แคร็กเกอร์ ขนมเปี๊ยะไส ถั่ว ขนมปังไส้ สับปะรด ข้าวแต๋น ซีเรียล ข้าวตังหน้าธัญพืช ข้าวตู มันฉาบ เผือกฉาบ

กลุ่มถั่วและธัญพืช ได้แก่ ถั่วลิสงคั่ว ถั่วกรอบแกว ถั่วทองทอด ถั่วปากอ้า กระยาสารท ถั่วตัด งาตัด

กลุ่มผลไม้แห้ง ได้ แก่ กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยฉาบ เป็นต้น

กลุ่มน้ำพริก ได้แก่ น้ำพริกเผา น้ำพริกตาแดง น้ำพริกปลาปน น้ำพริกปลาสลิด น้ำพริกปลาย่าง

กลุ่มปลาและเนื้อสัตว์ ได้แก่ ปลานิลแดดเดียว ทอดหมูแดดเดียวทอด ไข่เค็ม ปลาหวาน หมู/เนื้อทุบ ปลาฉิ้งฉ้างอบกรอบ ไก่/หมู/ปลาหยองหมูแผ่น หมูยอ หมู/เนื้อสวรรค์

อาหารกระป๋องสำเร็จรูปต่างๆ ได้แก่ ปลากระป๋อง หัวไชโป๊ว ผักกาดกระป๋อง เป็นต้น

อื่นๆ ได้แก่ น้ำดื่ม นมถั่วเหลือง นมสด UHT น้ำผลไม้


ตัวอย่างชุดอาหารอิ่มท้อง

แบบที่ 1 ประกอบด้วย ขนมเปี๊ยะไส้ถั่ว คุ๊กกี้ ข้าวตู กล้วยตาก มันฉาบ น้ำพริกตาแดง หมูแดดเดียว ปลากระป๋อง ไก่หยอง ผักกาดกระป๋อง น้ำดื่ม นมถั่วเหลือง/นมสดUHT

แบบที่ 2 ประกอบด้วย ขนมปังกรอบ ข้าวแต๋น กล้วยฉาบ ถั่วทองทอด น้ำพริกปลาย่าง ปลาแดดเดียว ปลากระป๋อง ไข่ เค็มหมูยอ ซีเรียล น้ำดื่ม นมถั่วเหลือง/นมสดUHT

แบบที่ 3 (สำหรับชาวมุสลิม) ประกอบ ด้วยขนมปังกรอบ กล้วยตาก น้ำพริกเผา ปลานิลแดดเดียวทอด ไข่เค็ม ปลาหวาน ปลากระป๋อง ซีเรียล หัวไชโป้ว น้ำดื่ม น้ำผลไม้ นมถั่วเหลือง/นมสดUHT




จาก .................. กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์ Life Style วันที่ 9 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
11-11-2011, 08:23
แปลงเรือหางยาวเป็นเครื่องดันน้ำ ภูมิปัญญาชาวบ้านระบายน้ำฝั่งธนฯ ..................... โดย สุรัตน์ อัตตะ

http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2011/11/10/7aadfeeb8c75fafakffad.jpg

จากความพยายามร่วมกันของเครือข่ายชุมชนย่านฝั่งธนบุรี ที่จะไม่ยอมนั่งรอเป็นผู้ประสบภัยจากวิกฤติอุทกภัย มูลนิธิซิเมนต์ไทยและกรมอู่ทหารเรือ จึงได้สนับสนุนให้ชุมชนเอาภูมิปัญญาริมคลองฝั่งธนฯ มาใช้ คือเครื่องผลักดันน้ำ ด้วยเป็นแนวคิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่เรียกว่าการเป่าฟอง โดยใช้ถังขนาด 200 ลิตรมาเชื่อมต่อกัน 2-3 ถัง เพื่อสร้างอุโมงค์หรือท่อส่งน้ำ แล้วนำไปติดตั้งบนแพไม้ไผ่ ซึ่งมีใบพัดและเครื่องยนต์ของเรือหางยาวติดตั้งอยู่ โดยใบพัดจะทำหน้าที่ดึงน้ำเข้าไปในอุโมงค์ ทำให้มีแรงดันใต้น้ำที่จะช่วยผลักน้ำออกไปเร็วขึ้น

"ที่จริงมันเป็นเครื่องที่ชาวบ้านที่เขาใช้กันมานานแล้ว แต่ใช้ในนากุ้งคือใช้เครื่องนี้ดันน้ำเข้านากุ้งหรือเรือสวนไร่นา เพียงแต่เรานำมาดัดแปลงให้เครื่องมีกำลังส่งเพิ่มขึ้น อุปกรณ์การประดิษฐ์ก็มีเครื่องยนต์เรือหางยาว ถังน้ำมัน 200 ลิตร ไม้ไผ่มาผูกติดกัน ถ้ามีเครื่องยนต์เรือหางหางยาวแล้วก็ซื้อวัสดุอื่นๆเพิ่มเติมก็ไม่เกิน 5,000 บาท ข้อดีไม่ใช่ดันน้ำแค่ผิวน้ำ แต่สามารถดันน้ำข้างล่างด้วย"

สุพจน์ ภูมิใจกุลวัฒน์ ประธานสภาพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร แกนนำเครือข่ายชาวบ้านย่านฝั่งธนบุรี ผู้จุดประกายให้ชาวบ้านนำเครื่องผลักดันน้ำเผยถึงจุดเด่นเครื่องผลักดันน้ำ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่นำมาใช้ในการระบายน้ำท่วมบริเวณย่านฝั่งธนบุรีในขณะนี้ โดยเครื่องดังกล่าวนั้นไม่ใช่ของใหม่ แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งใช้ในการผลักดันน้ำในนากุ้ง ตลอดจนเรือกสวนไร่นาอยู่แล้ว เพียงแต่มาดัดแปลง โดยการเพิ่มกำลังเข้าไปเพื่อให้สามารถผลักดันน้ำได้มากขึ้นเพื่อระบายน้ำท่วมขังลงสู่ทะเลอ่าวไทยโดยเร็ว

สำหรับเครื่องผลักดันน้ำจากแนวคิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ผลิตจากถังน้ำมันขนาด 200 ลิตรมาเชื่อมต่อกันประมาณ 2-3 ถัง เพื่อสร้างอุโมงค์หรือท่อส่งน้ำ แล้วนำไปติดตั้งบนแพไม้ไผ่ ซึ่งมีใบพัดและเครื่องยนต์ของเรือหางยาวติดตั้งอยู่ โดยใบพัดจะทำหน้าที่ดึงน้ำเข้าไปในอุโมงค์ ทำให้มีแรงดันใต้น้ำที่จะช่วยผลักน้ำออกไปเร็วขึ้น ขณะเดียวกันแรงผลักดังกล่าวจะช่วยให้ขี้เลนที่ตกตะกอนฟุ้งกระจาย ผลคือคลองจะลึกขึ้น และน้ำเคลื่อนได้เร็วขึ้น ช่วยดันน้ำให้ออกอ่าวไทยในระยะทางที่สั้นที่สุด แบ่งเบาภาระของเจ้าพระยาได้อีกทางหนึ่ง

http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2011/11/10/bdgf6dai7ka7keaa8b886.jpg

สุรนุช ธงศิลา ผู้จัดการมูลนิธิซิเมนต์ไทย (SCG) กล่าวเสริมว่าเครื่องแรกลองวางที่คลองราชมนตรีตรง ถ.เอกชัยบางบอน เครื่องผลักดันน้ำภูมิปัญญาชาวบ้านตัวแรก วางที่คลองราชมนตรีที่ ถ.เอกชัย-บางบอน ซึ่งขณะนี้ทำงานได้ดีมาก โดยชาวบ้านนำเครื่องเรือหางยาวที่ปรับจากเครื่องยนต์ 4 สูบ และใช้ถังน้ำมัน 200 เปล่ามาเชื่อมต่อกันเป็นท่อเพื่อใช้เป็นอุโมงค์น้ำ นำหางเรือที่มีใบพัดแหย่ที่ปากท่อที่วางไว้ใต้น้ำ ชาวบ้านผลักดันน้ำจากข้างใต้ ในขณะที่รัฐบาลใช้เรือผลักน้ำบนผิวน้ำ

ผู้จัดการมูลนิธิซิเมนต์ไทย (SCG) ระบุอีกว่า คลองราชมนตรีเป็นอีกคลองหนึ่งที่จะสามารถช่วยชาวฝั่งธนฯ ให้ผ่อนหนักเป็นเบา เนื่องจากเป็นคลองที่รับน้ำจากคลองเล็กคลองน้อยรวมทั้งคลองทวีวัฒนาและคลองภาษีเจริญให้ไหลลงอ่าวไทยได้อย่างรวดเร็ว แทนที่จะดึงน้ำไปที่แม่น้ำเจ้าพระยาอย่างเดียว ซึ่งไกลกว่าในขณะที่คลองราชมนตรียังแห้งขอดและยังความสามารถรองรับน้ำได้อีกมาก รวมทั้งยังเดินทางไปสู่อ่าวไทยในระยะทางที่สั้นกว่าด้วย

"วิธีนี้อาจจะไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้ แต่อย่างน้อยก็จะทำให้ปริมาณน้ำและระยะเวลาที่น้ำท่วมขังน้อยลงและเรายังได้รับความร่วมมือจากกรมอู่ทหารเรือเข้ามาช่วยผลิตเครื่องผลักดันน้ำดังกล่าว ทำให้ขณะนี้มีเครื่องผลักดันน้ำภูมิปัญญาชาวบ้าน 4 ชุด และเครื่องผลักดันน้ำจากกรมอู่ทหารเรืออีก 2 เครื่อง วางตามจุดต่างๆในคลองราชมนตรี เชื่อว่าจะมีส่วนช่วยผลักดันน้ำที่ท่วมขังทางด้านฝั่งธนฯ ให้ลงอ่าวไทยได้เร็วขึ้น" สุรนุชกล่าวทิ้งท้าย

นับเป็นนวัตกรรมที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน แม้จะผลักดันน้ำได้ปริมาณไม่มากนัก แต่อย่างน้อยก็เป็นแรงเสริมหน่วยงานภาครัฐในการระบายน้ำออกสู่ทะเลได้เร็วขึ้น




จาก .................. คม ชัด ลึก วันที่ 11 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
14-11-2011, 07:57
มองดูให้รู้ทันน้ำ สีไหนปลอดภัย สีไหน "เน่า"!?!

http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/11/etc/wt14112011.jpg

เพราะผู้คนในหลายพื้นที่ยังต้องใช้ชีวิตอยู่กับมวลน้ำที่เคลื่อนตัวเอ่อล้นคู คลอง ผุดจากท่อเข้าท่วมบ้าน ท่วมถนน วิถีชีวิตคนเมืองจากที่เคยขึ้นรถไฟฟ้าต่อรถยนต์ จำต้องเปลี่ยนเป็นขึ้นรถลงเรือ บ้างต้องเดินลุยน้ำเป็นบางช่วง จึงไม่แปลกที่ความกังวลเกี่ยวกับน้ำซึ่งต้องสัมผัสจะผุดขึ้นในหัวเหมือนกับน้ำผุดท่อ

ต่อข้อสงสัยดังกล่าว ทีมเดลินิวส์ออนไลน์ได้รับคำตอบจาก นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ รักษาการอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ยืนยันว่า มวลน้ำมหาศาลถึงเพียงนี้ไม่ทำให้สารพิษไหลเวียนไปยังบริเวณต่างๆได้ อีกทั้งสารเคมีอันตรายของโรงงงานอุตสาหกรรมก็มีหลักเกณฑ์การจัดการเป็นอย่างดีไม่ให้มีการปล่อยทิ้งออกภายนอก ประกอบกับกรมควบคุมมลพิษส่งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำบริเวณรอบๆโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ไม่พบการปนเปื้อนแต่อย่างใด

ขณะที่ลักษณะของน้ำ การจะรู้ได้ว่าสกปรกหรือไม่? นายวรศาสน์ ชี้แจงว่า ประชาชนทั่วไปสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า หากเป็นน้ำที่มีสภาพดีตามธรรมชาติต้องไม่ขุ่นจนเกินไป มีสีออกน้ำตาล ในทางตรงกันข้าม น้ำที่สกปรกจะขุ่นมาก มีตะกอน น้ำดำ มีกลิ่้นไม่พึงประสงค์ คล้ายกลิ่นแก๊สไขเน่า กลิ่นเปรี้ยว สัตว์น้ำอาศัยอยู่ไม่ได้

ดังนั้น หลังจากสัมผัสกับน้ำสกปรกตามลักษณะข้างต้น ควรล้างผิวหนังให้สะอาด เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากเชื้อโรคในน้ำ ที่อาจทำให้เป็นโรคผิวหนัง โรคอหิวาตกโรค ท้องร่วง ไทฟอยด์ โรคฉี่หนู ส่วนผู้ที่วิตกกลัวจะได้รับอันตรายจากสารพิษและโลหะหนัก เช่น แคดเมียม สารหนู ยาฆ่าแมลง สารปรอท แล้วจะป่วยเป็นอิไต อิไต มะเร็ง มินามาตะ และท้องร่วงนั้น นายวรศาสน์ ระบุว่า หากไม่ดื่มลงท้องไป ของแถมที่แฝงในน้ำเหล่านี้จะไม่มีกับสุขภาพ เพราะเพียงแค่สัมผัสถูกผิวหนังไม่ก่อให้เกิดโรค

ทั้งนี้กรมควบคุมมลพิษ มีข้อคำเตือนฝากถึงประชาชนที่มีบุตรหลาน โดยนายวรศาสน์ ขอให้หลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำที่มีความสกปรกมากหรือเน่าเสีย เพราะเด็กอาจสำลักน้ำ กลืนเอาเชื้อราที่ปะปนอยู่ในน้ำเข้าไปสู่ร่างกาย หากเคราะห์ร้าย เชื้อราอาจเข้าไปเจริญเติบโตในสมอง

ดังเช่นกรณีของอดีตนักร้องหนุ่ม ‘บิ๊ก วงดีทูบี’ ที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ตกคูน้ำและสำลักเอาน้ำสกปรกเข้าไป เป็นผลให้ติดเชื้อราซูดาเลสชีเรียบอยดิไอ เชื้อราเข้าไปกัดกินเส้นเลือดแดงในสมอง แพทย์พบเลือดออกในสมอง และสมองบวม เป็นอันตรายต่อสมองอย่างมาก อีกทั้งเชื้อราเจริญเติบโตเร็ว และยาฆ่าเชื้อรามีราคาแพง

ทว่าเด็กบังเอิญลงเล่นน้ำแล้วเกิดสำลักน้ำที่มีสภาพไม่น่าไว้วางใจ ให้พยายามบ้วนทิ้งหรืออาเจียนออกมาให้ได้ หลังจากนั้นหากมีอาการผิดปกติ มีไข้สูงไม่ลด ต้องรีบพาตัวส่งโรงพยาบาลให้แพทย์ตรวจหาความผิดปกติ

และเพื่อลดมลภาวะทางน้ำในช่วงที่มวลน้ำสกัดการคมนาคมทางบกตามวิถีปกติ เจ้าหน้าที่รักษาความสะอาดบ้านเมืองไม่สามารถออกเก็บกวาดขยะไปกำจัดได้อย่างที่ควรเป็น นายวรศาสน์ ในฐานะที่เป็นคนทำงานด้านการควบคุมมลพิษ แนะให้ประชาชนจัดการกับขยะมูลฝอยบริเวณที่อยู่อาศัยของตนเอง โดยอย่าทิ้งลงน้ำ ให้รวบรวมและบรรจุขยะใส่ถุงมัดปากให้มิดชิดเก็บใส่ถังขยะให้พ้นน้ำ เพื่อลดปัญหาน้ำเน่าเสีย มีกลิ่นเหม็น ซึ่งหากมีสภาพเช่นนั้นแล้ว สามาถใช้น้ำชีวภาพหรืออีเอ็มบอล แก้ปัญหาได้ในเบื้องต้น ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ หากลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำแล้วพบว่าบริเวณใดมีค่าออกซิเจนละลายในน้ำต่ำกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร จะใช้น้ำจุลินทรีย์ราดเพื่อบรรเทาน้ำเน่าเสีย

อย่างไรก็ตาม กรมควบคุมมลพิษ ยังจัดกิจกรรมขยะโฟมแลกไข่ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันเก็บโฟมเหลือใช้ ขยะที่ก่อมลพิษและใช้เวลาย่อยสลายยาวนานกว่าขยะชนิดอื่นๆ โดยขยะโฟมจำนวน 20 ชิ้น สามารถแลกไข่ไก่ได้ 1 ฟอง สำหรับประชาชนที่สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่กรมควบคุมมลพิษ 0 2298-2000 หรือ www.pcd.go.th




จาก ....................... เดลินิวส์ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
14-11-2011, 08:00
'เครื่องกรองน้ำฉุกเฉิน' เน้นวัสดุท้องถิ่น ต้นทุนต่ำ ใช้งานง่ายทำได้จริง !?

http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/14/newspaper/p4thurl.jpg

ในสถานการณ์น้ำท่วมที่ขยายวงกว้างอย่างนี้ นอกจากจะสร้างความเดือดร้อนในเรื่องของที่อยู่อาศัยแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อระบบาธารณูปโภคพื้นฐานอย่าง “น้ำ” ที่ใช้สำหรับดื่มกิน และชำระล้างร่างกายอีกด้วย!!

หลายฝ่าย หลายหน่วยงาน ต่างร่วมแรงร่วมใจระดมความคิด ความสามารถในด้านต่างๆ สร้างสำนึกจิตอาสาขึ้นมาช่วยเหลือสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประสบภัยน้ำท่วมในยามคับขัน

ขณะที่หลายพื้นที่กำลังประสบปัญหามีแต่น้ำท่วมขัง...และน้ำที่มีอยู่ก็เริ่มใช้ไม่ได้ บ้างมีสี มีกลิ่น จากน้ำที่เคยใสเปลี่ยนเป็นสีขุ่น ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ ด้วยเหตุนี้ บุคลากรที่มีจิตอาสาภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร จึงได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า “เครื่องกรองน้ำแบบฉุกเฉิน” ขึ้น

เครื่องกรองน้ำแบบฉุกเฉิน เป็นผลงานของ นายวาสนิธิ์ พญาปุโรหิต นายธีรภัทร์ ฉัตรทอง นายวรนล กิติสาธร นายอภิชัจ เจียรวิริยะนาถ 4 หัวเรือใหญ่ของทีมวิจัย และกลุ่มเพื่อนนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จาก ศูนย์วิจัยส่วนนวัตกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ (Applied Innovation Division : AID) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร โดยมี ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม และ รศ.ดร.วิษณุ มีอยู่ เป็นที่ปรึกษาของโครงการ

“จริง ๆ แล้วการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์นี้ขึ้นมาก็เพื่อต้องการช่วยเหลือผู้ที่ประสบภาวะน้ำท่วมที่ขาดแคลนน้ำใช้ น้ำเพื่อชำระล้างสิ่งต่าง ๆ จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้น้ำไม่มีกลิ่น ไม่มีสี มีความสะอาดเพียงพอและสกปรกน้อยที่สุด เพราะหากผู้ประสบภัยน้ำท่วมใช้น้ำที่มีเชื้อโรคหรือสารปนเปื้อนบ่อยครั้ง อาจไม่ปลอดภัยและเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้” ทีมวิจัย เกริ่นนำ ก่อนช่วยกันอธิบายถึงขั้นตอนการทำงานของเครื่องกรองน้ำแบบฉุกเฉินให้ฟังว่า

เครื่องกรองน้ำฉุกเฉินนี้ถูกออกแบบไว้ให้มีความสะดวกในการทำใช้ได้เอง ไม่ต้องมีเครื่องมือพิเศษอะไร ขนาดเล็กหรือใหญ่ก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ ที่ประดิษฐ์ขึ้นมานั้นเป็นขนาดเล็กน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม เพื่อความสะดวกแก่การเคลื่อนย้าย ติดตั้งและซ่อมบำรุง สามารถกรองน้ำได้ครั้งละ 5 ลิตร ภายในครึ่งนาที

หลักการทำงานไม่สลับซับซ้อน อุปกรณ์แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ เครื่องทรงกระบอก ความสูง 45 เซนติเมตร ขนาดบรรจุน้ำได้ 5 ลิตร อีกส่วนหนึ่งคือ กระบอก ความสูง 70 เซนติเมตร เพื่อบรรจุชุดกรองที่ได้ประยุกต์โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาพัฒนาไว้ในตัวกระบอก ซึ่งชั้นกรองแต่ละชั้นทำจากวัสดุที่สามารถหาได้ในพื้นที่ ประกอบด้วย หิน กรวด ชั้นทรายละเอียด และทรายหยาบ เพื่อทำการกรองสารแขวนลอยที่มีอยู่ในน้ำ และก่อนที่อินทรีย์สารจะทำให้เกิดสีจะถูกดูดซับโดยถ่านกัมมันต์

“ถ่านกัมมันต์จริงๆแล้ว ไม่ได้แตกต่างจากถ่านที่เรารู้จักกันมากนัก เพียงแต่ถูกกระตุ้นหรือปรับเปลี่ยนคุณสมบัติให้มีศักยภาพในการดูดซับสารเจือปนต่างๆที่อยู่ในน้ำได้ ซึ่งชั้นกรองทั้งหลายเหล่านี้จะทำหน้าที่กรอง ดูดซับกลิ่น และปรับสภาพน้ำขุ่นให้กลายเป็นน้ำใสได้”

อุปกรณ์ชุดนี้ ถูกออกแบบให้สามารถถอดทำความสะอาดล้างเองได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ เนื่องจากน้ำที่ใช้มีความขุ่นไม่เท่ากัน โดยผู้ใช้ต้องสังเกต หากปริมาณน้ำไหลออกมาช้ากว่าปกติ ก็สามารถถอดอุปกรณ์ล้างทำความสะอาดได้ทันที

ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม กล่าวเสริมว่า เครื่องกรองน้ำประเภทนี้ น้ำจะไหลผ่านชั้นกรองด้วยการอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ส่งผลให้อัตราการผลิตน้ำได้ไม่สูงนัก ดังนั้น ปั๊มน้ำ จึงมีความจำเป็นในการเสริมเข้ามาในระบบ เพื่อใช้เป็นตัวส่งน้ำเข้าสู่ระบบและทำให้อัตราการผลิตน้ำด้วยเครื่องกรองน้ำนั้นสูงขึ้น

โดยจะเห็นได้ชัดว่า ถ้ายังมีกระแสไฟฟ้าใช้อยู่ในพื้นที่คงไม่ใช่เรื่องลำบากที่จะติดตั้งระบบเครื่องกรองน้ำเดิมที่มีอยู่ แต่ในเวลานี้พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ประสบอุทกภัยจะไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ ดังนั้น จำเป็นต้องหากลไกอื่นในการปั๊มน้ำส่งเข้าสู่ระบบเครื่องกรองน้ำที่จะต้องไม่อาศัยกระแสไฟฟ้า เครื่องกรองน้ำที่ถูกจัดทำขึ้นนั้น จึงใช้ แรงลมที่มีอยู่ในกระบอกสูบลม ไปดันน้ำให้เข้าสู่เครื่องกรองน้ำด้วยอัตราการไหลที่เหมาะสมสำหรับการกรอง

“หลักการทำงานจะอาศัยหลักการแทนที่น้ำของอากาศ ซึ่งเป็นหลักวิทยาศาสตร์พื้นฐานไม่ได้มีความสลับซับซ้อน เพียงแต่ต้องนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยตัวเครื่องกรองน้ำจะประกอบไปด้วยชั้นกรองต่างๆ เช่น ทรายหยาบ ทรายละเอียด และถ่านกัมมันต์ รวมถึงใยกรองต่างๆ ส่วนที่สอง เป็นส่วนของอุปกรณ์ส่งน้ำซึ่งประกอบไปด้วยปั๊มลมที่ต่อเข้ากับภาชนะบรรจุน้ำขนาด 5 ลิตร โดยการใช้งานนั้นสามารถทำได้โดยการปั๊มลมเข้าสู่ภาชนะที่บรรจุน้ำอยู่ โดยการปั๊มลมนี้ไม่ต่างอะไรจากการสูบลมเข้าจักรยานนั่นเอง”

น้ำที่ถูกแทนที่ด้วยอากาศจะไหลผ่านถังกรองน้ำด้วยอัตราการไหลที่เหมาะสม น้ำที่ผ่านเครื่องกรองนี้จะไม่มีสีและสามารถนำไปใช้อาบและชำระล้างได้ แต่ยังไม่เหมาะสำหรับการนำไปบริโภค ทางทีมงานวิจัยจึงได้พัฒนาอุปกรณ์เสริมขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง สำหรับในกรณีจำเป็นที่ต้องนำน้ำนั้นไปดื่ม โดยชุดกรองชุดนี้จะประกอบขึ้นแบบง่ายๆ โดยเพิ่มไส้กรองเซรามิกส์ ฟิลเตอร์ ขนาดรูพรุน 0.3 ไมครอน ที่ใช้ในเครื่องกรองน้ำทั่ว ๆ ไป และมีจำหน่ายในร้านค้าและซุูเปอร์มาร์เกต ราคาตั้งแต่ 150-500 บาท แล้วแต่คุณภาพ ทำหน้าที่เป็นตัวดูดซับเชื้อโรคในน้ำ เพื่อให้น้ำมีสภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อการนำมาใช้อุปโภคบริโภค ซึ่งสามารถกรองจุลินทรีย์บางชนิดออกได้

อย่างไรก็ตาม การจะนำน้ำที่ผ่านเครื่องกรองน้ำฉุกเฉินไปบริโภคนั้นควรมีการฆ่าเชื้อ ด้วยการเติมคลอรีนหรือนำไปต้มเสียก่อน ทั้งนี้ ทีมงานวิจัยภายใต้การนำ รศ.ดร.วิษณุ มีอยู่ กำลังทำการพัฒนาถ่านกัมมันต์ชนิดพิเศษที่สามารถใช้กำจัดเชื้อแบคทีเรียได้อยู่

“ต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ นักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร พร้อมจิตอาสาบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง จะเริ่มผลิตเครื่องกรองน้ำแบบฉุกเฉินนี้ คาดว่าจะผลิตได้วันละ 35 เครื่อง และจะมอบเครื่องกรองน้ำให้แก่ ชุมชน หรือในศูนย์พักพิงที่ประสบปัญหาในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งนี้ หากชุมชนใดสนใจนำไปพัฒนาใช้ต่อสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.0-2988-3655 ต่อ 1105-7 สายตรง 0-2988-4023 สำนักประชาสัมพันธ์และบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร”

สำหรับผู้ที่ต้องการร่วมสมทบทุนสามารถร่วมบริจาคเงินได้ที่ บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาหนองจอก ชื่อบัญชี ม.มหานครผลิตเครื่องกรองน้ำเพื่อช่วยผู้ประสบอุทกภัย เลขที่ 217-4-11111-8

นับเป็นอีกหนึ่งหนทางของการอยู่รอดในสภาวะที่น้ำท่วมหนักเช่นนี้.




จาก ....................... เดลินิวส์ คอลัมน์วาไรตี้ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
14-11-2011, 08:03
ทำน้ำใช้จากน้ำท่วม

http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2011/11/tec05141154p1.jpg&width=360&height=360

ทางศปภ.เตือนชาวกรุงเทพฯ ว่าอาจต้องทนกับสภาพน้ำท่วมขังนานนับเดือน ดังนั้น ความรู้ในการเตรียมน้ำใช้ช่วงน้ำท่วมจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรเรียนรู้ไว้

โดยเริ่มต้นจากการเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่
1.โอ่ง ถังพลาสติก หรือภาชนะรองรับน้ำ จำนวน 2 ใบ
2.สารส้มก้อน
3.สารฆ่าเชื้อโรค คลอรีนชนิดน้ำ 2% (หยดทิพย์)

ด้านขั้นตอนการผลิตน้ำสะอาด ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ

1.เตรียมน้ำลงในภาชนะรองรับน้ำใบที่ 1 โดยเลือกใช้น้ำจากแหล่งน้ำในบริเวณที่สะอาด ห่างจากแหล่งสุขาหรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

2.แกว่งสารส้มในน้ำจนกระทั่งสังเกตเห็นตะกอนเริ่มจับตัว ซึ่งอาจใช้เวลามากน้อยต่างกันไปตามปริมาตรและลักษณะของน้ำ โดยแกว่งที่ความลึกประมาณ 2/3 ส่วนของความลึกน้ำจากผิวน้ำ

3.หลังจากแกว่งสารส้ม จะต้องทิ้งน้ำไว้จนกระทั่งตะกอนตกลงสู่ก้นถัง ซึ่งอาจต้องใช้เวลาประมาณ 30 นาที หรืออาจตั้งทิ้งไว้ข้ามคืน จากนั้นจึงตักหรือถ่ายน้ำส่วนใสเข้าสู่ภาชนะบรรจุใบที่ 2 น้ำที่ผ่านขั้นตอนนี้จะมีลักษณะใสแต่ยังไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรค

4.การเติมสารเพื่อฆ่าเชื้อโรคลงในภาชนะรองรับน้ำใบที่ 2 โดยเติมสารฆ่าเชื้อโรคคลอรีนชนิดน้ำ 2% (หยดทิพย์) ในปริมาณ 1 หยด ต่อน้ำ 1 ลิตร กวนผสมและปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เพื่อให้สารฆ่าเชื้อโรคออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม น้ำใสที่ได้อาจยังไม่เหมาะสมต่อการบริโภคเนื่อง จากน้ำที่ผ่านการผลิตขึ้นเองอาจไม่มีการควบคุมคุณภาพที่ดีเพียงพอ

ส่วนคำเตือนสำหรับน้ำยาหยดทิพย์คือ เก็บให้พ้นมือเด็ก อย่าให้เข้าตาและสัมผัสผิวหนัง ห้ามรับประทานโดยตรง หากสารละลายหยดทิพย์ถูกมือให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด ถ้าสารละลายหยดทิพย์เข้าตาต้องรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้งแล้วรีบไปพบแพทย์ และเก็บรักษาสารละลายหยดทิพย์ในที่มืด

ขอขอบคุณข้อมูลจากกลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




จาก ....................... ข่าวสด คอลัมน์หมุนก่อนโลก วันที่ 14 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
16-11-2011, 08:13
ทำกิจกรรมอะไรดีกับลูกในช่วงน้ำท่วม ....................... โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ

http://pics.manager.co.th/Images/554000015354901.JPEG

ช่วงนี้ไม่เพียงแต่คุณแม่คุณพ่อต้องเครียดกับภาวะน้ำท่วม เด็กๆก็เกิดความเครียดด้วยเช่นเดียวกัน การให้โอกาสเด็กๆได้แสดงออกและระบายความรู้สึกออกมาจะช่วยบรรเทาอาการเครียดของเด็กได้ ด้วยเหตุผลดังนี้

• การให้เด็กได้เล่าเรื่องหรือพูดเรื่องที่เกิดขึ้นหลายๆครั้ง จะช่วยให้เด็กได้เรียงลำดับเหตุการณ์ ได้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น หรือคิดหาทางควบคุมต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ในภาวะที่สับสน และหาทางออกไม่ได้

• การได้ระบายความกลัว หรือความเครียดออกมาบางครั้งจะช่วยลดความวิตกกังวลและลดความไม่สบายใจได้

• การได้ยินเรื่องราวจากเพื่อนคนอื่นๆ จะช่วยให้เด็กๆรู้ว่ามีเพื่อนคนอื่นตกอยู่ในสภาพเดียวกับเรา ไม่ว่าจะเป็นความกลัวหรือความวิตกกังวล

• การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กๆกับเพื่อนๆกับคุณพ่อคุณแม่ หรือกับคุณครู เด็กๆจะเป็นการได้แบ่งปันเรื่องราว และความรู้สึก


กิจกรรมที่จะช่วยลดความเครียดให้เด็กๆได้มีดังนี้

เด็กอนุบาลและเด็กประถม

1. หาอุปกรณ์หรือของเล่นที่ให้เด็กได้มีโอกาสได้เล่นบทบาทสมมติในสภาวะน้ำท่วมจะช่วยให้เด็กๆมีประสบการณ์และมีความรู้ ความเข้าใจในสถานการณ์น้ำท่วมมากขึ้น อุปกรณ์ดังกล่าวคือ ไม้บล็อก ถุงจำลองทราย รถตักทราย รถพยาบาล รถทหาร เรือ ถุงยังชีพ ยา อาหารแห้ง เป็นต้น การให้เด็กๆได้เล่นหุ่นมือ ตุ๊กตา หรือเล่นบทบาทสมมติจะช่วยให้เด็กได้มีโอกาสพูดและระบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นอีกด้วย

2. กิจกรรมการให้เด็กได้ออกกำลังทางด้านร่างกายถือว่าเป็นวิธีช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลได้

3. ทำงานศิลปะ ให้เด็กๆวาดภาพน้ำท่วม งานศิลปะถือเป็นงานสร้างสรรค์ที่ให้เด็กๆได้แสดงออก ให้เด็กๆวาดภาพอะไรก็ได้ที่อยู่ในใจและอยากวาด อาจตั้งหัวข้อ หรือตั้งคำถามให้เด็กๆเป็นแนวทางให้เด็กๆมีโอกาสพูดคุยถึงรูปที่วาด จัดเด็กเป็นกลุ่มเล็กๆ เปิดโอกาสให้ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน การได้พูดคุยถึงความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นจะช่วยให้เด็กๆได้ระบายออกถึงความเครียดและความกลัว

4. เล่านิทานหรือเรื่องสั้นเกี่ยวกับภาวะน้ำท่วมให้เด็กๆฟัง

5. จัดทำโครงงานในหัวข้อ มีอะไรเกิดขึ้นในบ้านของเรา ที่โรงเรียน ในชุมชนของเรา หรือเราจะทำอย่างไรเมื่อมวลน้ำใหญ่ไหลมา ภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปส่งผลอย่างไรต่อโลก เป็นต้น

6. เด็กๆสามารถวาดรูป เขียน หรือเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่พวกเขาจำได้ดี และตอบคำถาม เช่น มีอะไรเกิดขึ้นเมื่อฝนตกหนัก มีอะไรเกิดขึ้นเมื่อเขื่อนมีน้ำมากเกินกำหนด เราจะช่วยครอบครัว คนเฒ่า คนแก่ เด็กและคนเจ็บได้อย่างไร เมื่อน้ำท่วมบ้าน การจัดเตรียมอาหารและเครื่องใช้ในระหว่างเกิดอุทกภัย โรคและอันตรายต่างๆเมื่อเกิดเมื่อน้ำท่วม พร้อมทั้งการระวังตัวและการป้องกัน เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเกิดอุทกภัยครั้งนี้ มีอะไรที่เป็นข้อดีที่เราได้เรียนรู้ในการเกิดน้ำท่วมคราวนี้บ้าง

การพูดคุยสนทนา การฟังคำตอบและคำถามของเด็กๆ จะช่วยในการประเมินความเข้าใจและความรู้สึกของเด็กๆได้ สิ่งที่สำคัญคือจบบทสนทนาด้วยความคิดทางบวก เสริมแรงให้กำลังใจ และให้สัมผัสแห่งความปลอดภัย และการเตรียมตัวในครั้งต่อไป ให้เด็กๆสรุปเองโดยมีผู้ใหญ่เป็นผู้เสริมแรง และตะล่อมให้ตรงประเด็น ตัวอย่างความคิดทางบวก เช่น

• ความรู้สึกที่ได้มีความใกล้ชิดกับครอบครัว
• ได้พบเพื่อนใหม่ และผู้ที่ตกสถานการณ์เดียวกัน
• เรียนรู้ทักษะใหม่ สัมผัสแห่งความรับผิดชอบ การแก้ปัญหาอย่างฉลาด
• การผนึกกำลังของชุมชนในการช่วยกันแก้ปัญหา
• การให้ความช่วยเหลือดูแลแก่ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก


ชั้นประถมปลาย

1. ทำสมุดภาพโครงงาน ให้เด็กๆได้มีโอกาสได้รวบรวมความคิดและข้อมูลต่างๆ จัดหาวิธีแก้ไขอย่างเป็นระเบียบ

2. ให้เด็กๆได้เล่นเกมอุทกภัย โดยคิดกฎกติกาเอง คิดวิธีการจบเกมเอง เพื่อพัฒนาสัมผัสในการแก้ปัญหาและความรู้สึกปลอดภัย

3. ใช้หนังสือภาพระบายสี หรือหนังสืออื่นๆ ที่เกี่ยวกับอุทกภัย เสริมแรงให้เด็กวาดรูป เขียน หรือพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์


กิจกรรมสำหรับชั้นมัธยม

เราอาจใช้หลักการพื้นฐานเดียวกันและต่อยอดความคิดสำหรับใช้กับเด็กโต เช่น

1. ใช้ศิลปะ ดนตรี คำกลอน ในการบรรยายความรู้สึกและประสบการณ์ เด็กอาจจะทำเป็น Power Point สมุดภาพ สมุกบันทึกความทรงจำ เล่นเป็นละคร หรืออัดวีดีทัศน์ไว้ สะสมผลงานต่างๆของเด็ก อาจจัดพิมพ์ หรือจัดแสดงกันในชั้นเรียน ที่งานโรงเรียน หรือที่ชุมชน เป็นต้น

2. จัดกลุ่มสนทนา อภิปรายความคิด โต้วาที ให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นได้แสดงออกถึงความรู้สึก ให้เด็กรู้ว่าความรู้สึกกลัวหรือวิตกกังวลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ คำว่าอุทกภัยและ วาทภัยมีความหมายว่าอย่างไร สิ่งที่สำคัญคือให้เราได้รับบทเรียนอะไรบ้างโดยที่ไม่ว่าเรื่องจะจบลงด้วยความคิดทางบวกหรือเป็นความคิดทางลบก็ตาม

กิจกรรมต่างๆเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูสามารถทำร่วมกับเด็กๆได้ จะช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวลรวมทั้งความกลัวของลูกได้ สิ่งที่สำคัญคือการให้ความรักและความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อช่วยให้ทุกคนผ่านวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปได้ด้วยดี




จาก ....................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
17-11-2011, 07:45
ธรรมชาติของไฟฟ้า รู้ไว้ไม่ตาย

http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2011/11/11/images/news_img_418918_1.jpg

ในภาวะน้ำท่วมอันตรายหนึ่งที่มองไม่เห็นและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตคือ อันตรายจากไฟฟ้าโดยเฉพาะไฟฟ้าที่รั่วไหลอยู่ใต้ผิวน้ำ

ในภาวะน้ำท่วมอันตรายหนึ่งที่มองไม่เห็นและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตคือ อันตรายจากไฟฟ้าโดยเฉพาะไฟฟ้าที่รั่วไหลอยู่ใต้ผิวน้ำ

รายงานการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพจากน้ำท่วมของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระบุว่าสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในภาวะน้ำท่วมของคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมาจากไฟฟ้าดูด ซึ่งต่างจากต่างจังหวัดที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ

ผศ.พงษ์ ทรงพงษ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า แต่ละคนมีการตอบสนองต่อกระแสไฟฟ้าต่างกัน ขึ้นกับสาเหตุหลายอย่าง เช่น เพศ วัยการฝึกฝน และประสบการณ์ที่เคยได้รับ อย่างไรก็ตาม เราอาจกำหนดเป็นช่วงของความรู้สึกได้โดยประมาณดังนี้

1 มิลลิแอมป์ (1 ใน 1000 แอมแปร์) เริ่มรู้สึก อาจรู้สึกจั๊กจี้ หรือรู้สึกเหมือนโดนเข็มเล็กๆ สะกิด โดยทั่วไปไม่เป็นอันตราย ยกเว้นคนที่มีภาวะหัวใจผิดปกติอยู่แล้ว

5 มิลลิแอมป์ เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นกระแสที่ยังปลอดภัยอยู่ หากสูงกว่านี้จะเริ่มอันตราย แทบทุกคนจะรู้สึกอย่างชัดเจนว่ามีกระแสไฟ อาจรู้สึกชาๆ แต่ยังคงควบคุมอวัยวะได้

10-20 มิลลิแอมป์ กล้ามเนื้อที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จะเกิดการหดตัวแบบควบคุมไม่ได้ นั่นคือถ้ากำมือจับวัตถุที่ไฟรั่ว ก็จะไม่สามารถปล่อยมือได้นั่นเอง

100-300 มิลลิแอมป์ กล้ามเนื้อจะหดตัวอย่างแรงถึงฉีกขาดได้ ถ้าอยู่ในภาวะนี้นานจะเป็นอันตรายถึงชีวิต

6 แอมแปร์ กล้ามเนื้อจะหดตัวสุด หากสัมผัสชั่วขณะจะกลับสู่สภาพเดิม เหมือนถูก reset จึงใช้ในการกระตุ้นหัวใจให้กลับมาเต้นอีกครั้งในคนไข้ที่หัวใจหยุดเต้น

"หากใช้กระแสไฟฟ้าขนาดนี้กับคนใกล้ตายหัวใจหยุดเต้น ก็อาจปลุกให้ฟื้นได้ หรือในทางกลับกัน หากใช้กับคนที่ปกติ ก็อาจจะทำให้ตายได้นั่นเอง" ผศ.พงษ์ อธิบายเพิ่ม

สิ่งที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมเกี่ยวกับไฟฟ้าคือตัวกระแสไฟฟ้า จึงควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดกระแสไฟฟ้าผ่านร่างกาย ดังนี้

1. สังเกตบริเวณที่จะเข้าไป ว่ามีสายไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าจมน้ำอยู่หรือไม่ ถ้ามีหรือไม่แน่ใจให้ตัดกระแสไฟบริเวณนั้น แต่มีข้อสังเกตว่า ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่รั่วในน้ำ หรือที่ทำอันตรายต่อร่างกายได้นั้นเป็นปริมาณที่ไม่มากเลย ดังนั้น เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าทั่วไปที่ไม่ใช่เครื่องตัดไฟรั่วจะไม่ตัดกระแสโดยอัตโนมัติ จึงอย่าหวังว่าเครื่องตัดไฟจะทำงาน ให้ตัดด้วยมือเพื่อความแน่ใจเสมอ

2. ถ้าไม่แน่ใจ ให้ทดสอบด้วยเครื่องตรวจวัดไฟรั่ว ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือตรวจวัดแบบทุ่นลอยน้ำ และตรวจโดยใช้ไม้แหย่ เครื่องตรวจที่เป็นแบบทุ่นลอยน้ำจะสามารถตรวจไฟรั่วจากสายไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แช่อยู่ในน้ำได้ แต่ถ้าขั้วไฟฟ้าที่รั่วจมอยู่ลึกๆ เช่น ปลั๊กตัวเมียที่จมอยู่ในน้ำ อาจไม่สามารถตรวจได้ เพราะกระแสไฟฟ้าที่รั่วจะวนอยู่รอบๆขั้วเท่านั้น ต้องใช้แบบไม้แหย่

ถ้าเป็นไม้ที่สร้างจากไขควงวัดไฟ ต้องระวังว่าไฟอาจไม่สว่างเพราะบริเวณที่เป็นอันตรายจะอยู่ใกล้ๆขั้วไฟฟ้าเท่านั้น ประกอบกับมีน้ำล้อมรอบ อาจจะทำให้ไขควงสว่างได้ยาก

3. กรณีที่เครื่องใช้ไฟฟ้าจมน้ำ และต้องการทดสอบว่าไฟรั่วหรือไม่ ไขควงวัดไฟเป็นตัวเลือกที่ดี และถ้าพบว่ามีไฟรั่ว ควรติดป้ายเตือนและหลีกเลี่ยงบริเวณรอบๆ

4. ถ้าน้ำไม่ลึกมาก รองเท้าบูตยางจะช่วยได้มาก เพราะยางเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี ไฟฟ้าผ่านได้ยาก การนั่งเรือที่เป็นฉนวน เช่น เรือไฟเบอร์หรือเรือไม้ก็ช่วยได้มากเช่นกัน ตรงข้ามกับเรือที่เป็นโลหะก็ปลอดภัยสำหรับคนที่อยู่บนเรือ แต่ไม่ปลอดภัยสำหรับคนที่อยู่ในน้ำและจับหรือเข็นเรืออยู่

5. ถ้าต้องการสัมผัสโลหะที่แช่น้ำอยู่ แต่กลัวว่าจะมีไฟรั่วโดยที่มองไม่เห็นหรือตรวจไม่พบ เช่น ลูกบิดประตูที่เป็นโลหะ หรือกรอบประตูหน้าต่างอะลูมิเนียม ให้ใช้หลังมือสัมผัสก่อน เพราะตามธรรมชาติเมื่อกล้ามเนื้อได้รับกระแสไฟฟ้า จะเกิดการหดตัว เมื่อเราใช้หลังมือสัมผัสและเกิดไฟฟ้ารั่วผ่าน ก็จะเป็นการชักมือหนีออกจากแหล่งที่ไฟรั่วนั้น แต่หากใช้ด้านหน้ามือไปสัมผัส เมื่อกล้ามเนื้อมือหดตัวก็จะกำแน่นขึ้น และอาจทำให้เสียชีวิตได้

ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องตรวจวัดไฟรั่วหลายแบบที่นำมาแจกจ่าย แต่เครื่องวัดทุกแบบก็มีข้อจำกัด ควรทำความเข้าใจการใช้งานก่อน และใช้ด้วยความระมัดระวัง

ขอให้ทุกท่านโชคดี และขอเป็นกำลังใจให้ผ่านพ้นภัยจากไฟฟ้าและน้ำท่วมไปโดยเร็ว




จาก ....................... กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์สุขภาพ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
17-11-2011, 07:47
กปน.จัดทำคู่มือ "ข้อแนะนำการใช้น้ำประปาในภาวะน้ำท่วม"


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประปานครหลวง (กปน.) ห่วงใยผู้ใช้น้ำที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในขณะนี้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้น้ำประสบปัญหาในการใช้น้ำประปา กปน. จึงมีข้อแนะนำ ดังนี้

1. กรณีที่พักอาศัยของท่าน มีถังพักน้ำใต้ดินและถูกน้ำท่วม ควรหยุดใช้น้ำจากถังพักน้ำชั่วคราว แล้วเปลี่ยนไปใช้น้ำประปาจากท่อภายในที่ต่อตรงจากหลังมาตรวัดน้ำแทน เนื่องจากน้ำที่ท่วมขังอาจไหลลงไปปะปน หรือซึมเข้าไปในถังพักน้ำ ทำให้น้ำมีสภาพไม่เหมาะสมต่อการใช้ หากน้ำยังท่วมไม่ถึงถังพักน้ำของท่าน ควรเตรียมป้องกันถังพักน้ำไว้ล่วงหน้า

2. ควรระมัดระวังไม่ใช้เครื่องสูบน้ำ (ปั๊มน้ำ) จากระบบท่อที่จมอยู่ใต้น้ำเพราะหากมีท่อแตกรั่วซึ่งมองไม่เห็น เครื่องสูบน้ำ (ปั๊มน้ำ) จะดูดสิ่งสกปรกเข้าสู่ระบบท่อได้

3. กรณีก๊อกจมอยู่ในน้ำ สามารถใช้สายยางที่สะอาดต่อจากก๊อกแล้วยกแขวนให้สูงขึ้น จะสามารถใช้น้ำได้ตามปกติ

4. น้ำประปาที่ กปน.ผลิตและสูบจ่ายเข้าสู่ระบบท่อประปา ได้ผ่านการตรวจสอบจากนักวิทยาศาสตร์ของ กปน. และสถาบันที่เชื่อถือได้ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตน้ำท่วม หน่วยงานด้านสาธารณสุข อาทิ กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำดิบและน้ำประปา และยืนยันว่าน้ำประปาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก ไม่เป็นอันตรายเพราะไม่มีสารพิษและเชื้อโรค

5. ขณะนี้ กปน. ได้เพิ่มปริมาณคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค จึงอาจมีกลิ่นคลอรีนในน้ำประปาที่บ้าน ท่านสามารถลดกลิ่นคลอรีนได้โดยรองน้ำประปาใส่ภาชนะเปิดฝาและตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที กลิ่นคลอรีนจะระเหยไป หรืออาจนำไปต้มก่อนดื่ม

6. กรณีจำเป็นต้องอพยพออกจากที่พักอาศัย โปรดปิดประตูน้ำ (วาล์ว) ที่มาตรวัดน้ำเพื่อป้องกันกรณีท่อรั่วภายในบ้าน ทำให้สูญเสียน้ำประปาโดยไม่จำเป็น

7. ท่านสามารถแจ้งและขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ "ศูนย์บริการประชาชน" โทร.1125 ตลอด 24 ชั่วโมง




จาก ....................... ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
19-11-2011, 08:18
น้ำท่วมนาน อาหาร เรื่องสำคัญสำหรับเด็ก


วิกฤติมหาอุทกภัยครั้งนี้กินเวลากลับเรามานานเกือบ 3 เดือน ปัญหาที่ตามมานอกจากชาวบ้านจะต้องอพยพไม่มีที่อยู่อาศัย การเดินทางต่างๆก็ถูกตัดขาด โชคดีหน่อยที่ในช่วงนี้ตามโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆ ขยายวันเปิดเรียน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

อีกปัญหาที่ตามมาระหว่างน้ำท่วมคือในเรื่องของโรคที่มากับน้ำและอาหาร โดยเริ่มต้นไปที่เรื่องโรคซึ่งคนทุกเพศทุกวัยต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะเด็ก ที่ไม่มีความรู้ในการป้องกันและดูแลรักษาตัวเอง เป็นหน้าที่ผู้ปกครองจะต้องใส่ใจดูแล คือเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการกิน

โดยข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า โรคที่มีความเสี่ยงการเกิดโรคสูงที่สุดขณะน้ำท่วมรวมไปถึงหลังน้ำลดด้วย คือ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน และปัญหาด้านสุขอนามัยสิ่งแวดล้อมจากของเสียต่างๆ ดังนั้นชุมชนและประชาชนควรมีความรู้ในการป้องกันโรคอย่างถูกวิธี มิฉะนั้นจะส่งผลต่อการเกิดโรคระบาดต่างๆตามมาได้ง่าย

ทั้งนี้ จากรายงานเฝ้าระวังพิเศษโรคจากโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศในสถานการณ์อุทกภัย พบอัตราป่วยของประชาชนอันดับแรก คือ โรคอุจจาระร่วงถึง 3,146 ราย สาเหตุสำคัญมาจากโรคอาหารเป็นพิษที่เป็นโรคติดต่อทางอาหาร น้ำ ที่พบได้บ่อย เพราะประชาชนไปรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป

ในอาหารที่ปรุงสุกๆดิบๆจากเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว และไข่เป็ด ไข่ไก่ รวมทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเล และน้ำนมที่ยังไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ

นอกจากนี้อาจพบในอาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านานๆ แล้วไม่ได้แช่เย็นไว้ หรือไม่ได้อุ่นให้ร้อนเพียงพอก่อนรับประทาน สาเหตุของอาหารเป็นพิษมีมากมาย และอาการของอาหารเป็นพิษก็มีหลากหลายตามไปด้วย อาจแบ่งชนิดของอาหารเป็นพิษได้หลายแบบ เช่น ตามชนิดของเชื้อ ตามสารพิษ หรือพิษในอาหาร หรือตามอาการเจ็บป่วย

ภาวะอาหารเป็นพิษมักจะไม่มีอาการรุนแรง และอาการจะเป็นไม่นาน ผู้ป่วยอาจมีเพียงอาการท้องเสียแค่สอง-สามวัน อาจมีไข้ต่ำๆ หรือบางคนไม่มีไข้เลยก็ได้ อาจเพียงรู้สึกปวดมวนท้องบ้างเล็กน้อย หากติดเชื้อบางชนิดทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะอาหารและลำไส้ ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง ซึ่งถ้าถ่ายมากจะเกิดอาการขาดน้ำและเกลือแร่ได้ และบางรายอาจมีอาการรุนแรง เกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ข้อและกระดูก ถุงน้ำดี กล้ามเนื้อหัวใจ ปอด ไต เยื่อหุ้มสมอง และเมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสโลหิตจะทำให้เกิดโลหิตเป็นพิษ

คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีอาการถ่ายเหลวเป็นเนื้อปนน้ำไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อทันที แต่หากมีอาการถ่ายเหลวตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป หรือมีถ่ายเป็นน้ำ 1 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน ให้ดื่มสารละลายเกลือแร่ โออาร์เอส จะช่วยป้องกันและรักษาภาวะขาดน้ำ แต่เมื่อถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือดจะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที

โรคอาหารเป็นพิษเป็นโรคที่ประชาชนสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขอนามัยในการรับประทานอาหาร การเก็บอาหาร และการปรุงอาหาร รวมทั้งล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง จึงขอแนะนำง่ายๆ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคอุจจาระร่วงและอาหารเป็นพิษ คือ เลือกอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างปลอดภัย เช่น นมที่ผ่านกระบวนการพาสเจอไรซ์ ผักผลไม้ควรล้างด้วยน้ำปริมาณมากๆให้สะอาดทั่วถึง ปรุงอาหารให้สุกทั่วถึงก่อนรับประทาน และรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ

รวมทั้งล้างมือให้สะอาด ไม่ว่าจะเป็นก่อนการปรุงอาหาร ก่อนรับประทาน และโดยเฉพาะหลังการเข้าห้องน้ำ ดูแลความสะอาดของพื้นที่สำหรับเตรียมอาหาร ล้างทำความสะอาดหลังการใช้ทุกครั้ง เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู หรือสัตว์อื่นๆ ใช้น้ำสะอาดในการปรุงอาหาร

นอกจากนี้ยังมีความเป็นห่วงสำหรับกรณีเด็กว่าจะขาดอาหารช่วงน้ำท่วมที่กินระยะเวลานานหรือไม่ โดยอาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ผู้จัดการแผนงานโภชนาการเชิงรุก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และที่ปรึกษากรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยังออกมาเตือนพ่อแม่ในภาวะน้ำท่วมให้ดูแลเด็กด้านอาหารและโภชนาการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หากประสบภัยน้ำท่วมในระยะยาวนานจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์ในระยะยาว และยากที่จะฟื้นกลับคืนปกติได้

นายสง่ากล่าวว่า ในภาวะน้ำท่วมติดต่อกันยาวนาน กลุ่มเด็กอายุแรกเกิด-5 ขวบ เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพและภาวะโภชนาการมากที่สุด เพราะเป็นกลุ่มที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งจำเป็นต้องได้รับสารอาหารจากอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วน เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายทุกมื้อ และการเจริญเติบโตของเซลล์ทุกเซลล์ เม็ดเลือด กระดูกและกล้ามเนื้อของเด็กไม่สามารถจะหยุดยั้งได้ ไม่ว่าจะเป็นภาวะน้ำท่วมหรือภาวะวิกฤติใดๆ

การที่เด็กเล็กได้รับอาหารไม่เพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพติดต่อกันเพียง 2-4 สัปดาห์ ก็จะมีผลทำให้ร่างกายเด็กพร่องสารอาหารที่สำคัญหลายตัว ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุ จะนำไปสู่การขาดสารอาหาร อาการที่แสดงออกมาให้เห็นในระยะสั้นคือ การเจริญเติบโตของร่างกายไม่เต็มตามศักยภาพ น้ำหนัก ส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน รูปร่างผอมใน ที่สุดภูมิต้านทานก็จะต่ำ เจ็บป่วยง่าย

โดยเฉพาะโรคติดเชื้อทั้งหลาย หากไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการฟื้นฟูแก้ไข จะเพิ่มความรุนแรงและเกิดผลเสียต่อการเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญาเด็กในอนาคต กล่าวคือเด็กจะตัวเตี้ย ผอม และไอคิวต่ำ

นายสง่าแนะต่อไปอีกว่า แม่ที่มีลูกอายุต่ำกว่า 6 เดือน และกำลังให้ลูกกินนมแม่อยู่ นับว่าลูกโชคดีมากในภาวะวิกฤติเช่นนี้ จงให้ลูกกินนมแม่ต่อไปเป็นปกติ แต่แม่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงความกังวล ความเครียด เพราะหากแม่เครียดอย่างต่อเนื่องจะทำให้ฮอร์โมนที่สร้างน้ำนมหลั่งออกมาน้อย จะมีผลทำให้น้ำนมไหลน้อยหรือหยุดไหลได้

ส่วนแม่ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตนเองต้องพึ่งนมผสมนั้น ต้องรีบเคลื่อนย้ายทั้งแม่และลูกให้มาอยู่ในสถานที่ที่สามารถเข้าถึงนมผสมสำหรับทารกให้ได้ ไม่แนะนำให้นั่งรอขอความช่วยเหลือจากภายนอก ถ้าชุมชนใดมีแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองหลายๆ คนอาจรวมกลุ่มกัน แบ่งปันนมตนเองให้ลูกเพื่อนบ้านในลักษณะเป็นแม่นม แต่ต้องมั่นใจว่าแม่นมเหล่านั้นต้องไม่ติดเชื้อเอชไอวี

สำหรับเด็กเล็กถึง 1 ขวบ เป็นวัยที่ต้องได้รับอาหารอื่นนอกจากนมแม่เสริมอีกทางหนึ่ง เพราะลำพังนมแม่แม้ว่าคุณค่าทางโภชนาการจะยังพร้อมมูลอยู่ แต่ปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเด็กที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงต้องเริ่มให้ข้าวบดผสมน้ำแกงจืด ไข่แดงต้มสุกสลับกับเนื้อปลา หมู ไก่และตับสัตว์ และผสมผักใบเขียว ฟักทอง แครอต มะเขือเทศต้มสุกผสมลงไป โดยเด็กอายุ 6-8 เดือน กินอาหารเหล่านี้ทดแทนนมแม่ได้ 1 มื้อ

ส่วนเด็ก 8-10 เดือน กินทดแทนนมแม่ได้ 2 มื้อ พอครบ 11-12 เดือน กินทดแทนนมแม่ได้ 3 มื้อ หากแม่มีความจำเป็นต้องใช้อาหารทารกกึ่งสำเร็จรูปต้องมั่นใจว่าเด็กได้โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ จากผักและเนื้อสัตว์พอ ควรบดผสมลงไปด้วย แต่อย่าลืมให้ลูกกินนมแม่ควบคู่กันไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่านั้น

ส่วนเด็กอายุ 1-5 ขวบ นับเป็นกลุ่มที่น่าห่วงเช่นกัน เพราะอย่าลืมว่าเด็กวัยนี้ร่างกายและสติปัญญายังต้องการสารอาหารที่มีคุณค่าไปหล่อเลี้ยงให้เติบโตสมวัย แต่เด็กเหล่านี้มักจะถูกละเลย เพราะพ่อแม่คิดว่าเขาโตแล้ว และช่วยเหลือตนเองได้ ประกอบกับพ่อแม่ไม่มีเวลา มัวแต่ไปแก้ปัญหาน้ำท่วมและสาระวนอยู่กับลูกคนเล็ก จึงปล่อยให้ลูกกินตามมีตามเกิด

ดังนั้นพ่อแม่ต้องใส่ใจดูแลอาหารลูกเป็นพิเศษ ต้องแบ่งปันอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เด็กเล็กกินก่อน อาหารที่มีคุณค่าในภาวะน้ำท่วมคงหนีไม่พ้นไข่ต้ม ไข่ตุ๋น ไข่เจียว ไข่น้ำ หมูทอด ไก่ทอด ปลาทูนึ่งและปลากระป๋อง สามารถดัดแปลงปรุงได้สารพัดเมนู เมนูเหล่านี้ควรปรุงด้วยเกลือและน้ำปลาเสริมไอโอดีน แต่อย่าลืมต้องให้เด็กดื่มนมรสจืดวันละ 2-3 กล่อง เป็นอาหารเสริม ต้องดูแลอาหารว่างของเด็ก ไม่ควรปล่อยให้ลูกกินแต่น้ำอัดลมและขนมกรุบกรอบทั้งวัน

ในภาวะน้ำท่วม พ่อแม่เครียดจัด ไม่มีเวลาเล่นกับลูก จึงพลอยทำให้ลูกเครียดไปด้วย จงตั้งสติและหาเวลาโอบกอดลูก นั่งเล่านิทานให้ลูกฟัง พูดคุยเรื่องที่เกี่ยวกับน้ำท่วม การเล่นกับลูก เสียงหัวเราะของลูก เป็นการผ่อนคลายความเครียดในบ้านได้ในระดับหนึ่ง และช่วยพัฒนาการของลูกได้ด้วย

"น้ำท่วมบ้าน แต่อย่าให้น้ำท่วมสติ ถ้ามีสติจะเกิดปัญญาที่จะดูแลบุตรหลานด้านอาหารและโภชนาการ อย่าให้น้ำท่วมไปสร้างตราบาปโดยปล่อยให้ลูกหลานขาดสารอาหารซึ่งยากที่จะฟื้นกลับคืนสู่ภาวะปกติได้" นายสง่ากล่าวทิ้งท้าย.




จาก ....................... ไทยโพสต์ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
19-11-2011, 08:20
คู่มือคำนวณ "ค่าใช้จ่าย" วัสดุ-ค่าแรงฟื้นฟูบ้าน


เป็นความเสียหายครั้งใหญ่จากมหาอุทกภัยที่ว่ากันว่าหนักที่สุดในรอบ 50 ปี เชื่อว่าภาพที่อยู่อาศัยและโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากต้องอยู่ในสภาพ จมบาดาล จะยังคงเป็นภาพติดตาคนไทยไปอีกพักใหญ่

แต่วิกฤตก็ย่อมมีวันจบ หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย กรุงเทพฯ ปริมณฑล และอีกหลายจังหวัด จะต้องเข้าสู่โหมด "ซ่อมแซม" ขนานใหญ่ โดยก่อนหน้านี้ "อิสระ บุญยัง" นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรประเมินว่า น่าจะมีบ้านจัดสรรถูก น้ำท่วมกว่า 100,000 หลัง และถ้านับรวมถึงบ้านปลูกสร้างเอง (นอกหมู่บ้านจัดสรร) และตึกแถว น่าจะมีบ้านทั่วประเทศถูกน้ำท่วมสูงถึง 500,000 หลัง

"ประชาชาติธุรกิจ" สำรวจราคาวัสดุหลัก-ค่าแรงที่จะต้องใช้ซ่อมแซมบ้าน หลังน้ำลด และนำมาประมาณการค่าใช้จ่ายซ่อมบ้าน โดยพบว่าในกรุงเทพฯ ปริมณฑลส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมสูงตั้งแต่ "หน้าแข้ง" จนถึง "หน้าอก" หรือตั้งแต่ระดับกว่า 0.30-2.00 เมตร ซึ่งกรณีที่ท่วมขังตั้งแต่ 2-4 สัปดาห์ขึ้นไปก็มักจะสร้างความเสียหายให้กับส่วนต่าง ๆ อาทิ พื้น ผนัง ประตู หน้าต่าง สวิตช์ไฟ ฯลฯ หรือแม้กระทั่งสนามหญ้าจึงควรสำรวจและเร่งซ่อมแซมทันที


"พื้นไม้-สี-วอลเปเปอร์" ไม่สู้น้ำ

"พื้น" ถือเป็นพื้นที่ส่วนแรกที่จะได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ไม่ว่าน้ำจะท่วมแค่ไม่กี่เซนติเมตรก็ตาม วัสดุมักหนีไม่พ้น 1) กระเบื้อง 2) ไม้ลามิเนตหรือไม้ปาร์เกต์ และ 3) หินอ่อนหรือหินแกรนิต

ในจำนวนวัสดุ 3 ตัวนี้ "กระเบื้อง" สามารถทนการแช่น้ำได้นาน แต่อาจเกิดความเสียหายได้กรณีที่มีน้ำท่วมขังใต้พื้นดินเป็นจำนวนมาก และเกิดแรงดันตามร่องจนทำให้แผ่นกระเบื้องล่อนเสียหายก็จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่

"ไม้ลามิเนต-ไม้ปาร์เกต์" ไม่สามารถ ทนน้ำได้ หากถูกน้ำท่วมไม่กี่ชั่วโมงมีโอกาสหลุดล่อนหรือเกิดเชื้อราภายใน เนื้อไม้ได้ จึงควรรื้อออกและปูใหม่

ส่วน "หินอ่อน-หินแกรนิต" สามารถทนน้ำได้ แต่หากแช่น้ำเป็นเวลานาน จะเกิดรอยด่าง สามารถแก้ไขโดยใช้เครื่องขัดซึ่งมีค่าแรงค่อนข้างสูง เฉลี่ยตารางเมตรละ 400-500 บาท

ถัดมาคือ "ผนัง" วัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่มี 2 แบบ 1) ทาสี และ 2) ติดวอลเปเปอร์

กรณีทาสีปัญหาที่ตามมาหลังน้ำท่วมประมาณ 2 สัปดาห์คือ คราบตะไคร่-เชื้อรา และสีหลุดล่อน การซ่อมแซมต้องใช้แปรงขัดตะไคร่และเชื้อราออก ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง 3-4 สัปดาห์จึงทาสีใหม่ และควรจะต้องทาสีผนังภายในและเพดานทุกด้านเพื่อไม่ให้เกิดความแตกต่างระหว่างสีเก่าและใหม่ ส่วนผนังภายนอกหากน้ำไม่ได้ท่วมสูงอาจขัดตะไคร่และเชื้อราออกก็เพียงพอ

ซึ่งกรณีที่จะซื้อสีมาทาเองในตลาดมีตั้งแต่ราคาถังละ 900-3,500 บาท (ขนาดถัง 5 แกลลอน) มีหลักการคำนวณคือ สีถังใหญ่ขนาด 5 แกลลอน จะทาได้พื้นที่ 30 ตารางเมตร และจะต้องทาทั้งหมด 2 ครั้ง ส่วนบ้านหลังไหนที่ติด "วอลเปเปอร์" ก็ต้องบอกว่า...งานเข้า เพราะนอกจากจะเป็นรอยด่างยังมีความเสี่ยงเกิดเชื้อราสูง จึงควรรื้อทิ้งทำความสะอาดทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์จึงค่อยทาน้ำยาฆ่าเชื้อราและปิดวอลเปเปอร์ใหม่


"ประตู-หน้าต่างไม้" เสี่ยงบวม

นอกจากพื้นแล้ว รายการต่อมาคือ "ประตูไม้" เป็นวัสดุอีกตัวที่มีโอกาส เสียหายจากการบวมทำให้เปิด-ปิดลำบาก ถึงแม้มีน้ำท่วมขังภายในบ้านเพียงเล็กน้อย นอกจากการเปลี่ยนบานประตูใหม่ซึ่งมีราคาหลากหลาย ตั้งแต่ประตูไม้อัดเริ่มต้นบานละ 1,000 บาท ประตูไม้เต็งราคาประมาณบานละ 4,000 บาท ไปจนถึงประตูไม้สักราคาบานละ 10,000-15,000 บาท หากไม่เน้นเรื่องความสวยงามมากนักอาจใช้วิธีไสหรือเลื่อยไม้ส่วนที่บวมออกก็ได้

ส่วนถ้าระดับท่วมสูงเกินกว่า 0.80 เมตร "หน้าต่างไม้" ก็มีโอกาสถูกน้ำและบวมได้ การซ่อมแซมคือเปลี่ยนหรือไส-เลื่อยส่วนที่บวมออกเช่นเดียวกัน


"สวิตช์ไฟ-สนามหญ้า" อย่าละเลย

จากพื้นและผนัง หากบ้านถูกน้ำท่วมตั้งแต่ 0.80-1.00 เมตร สวิตช์ไฟมักเป็นจุดที่เสียหายถูกน้ำเข้า การแก้ไขเบื้องต้นให้สับคัตเอาต์ เปิดฝาครอบสวิตช์ออก และทำความสะอาดแผงสวิตช์ให้แห้งและทิ้งไว้ 3-5 วัน

หากที่บ้านมีคัตเอาต์หรือเซฟ-ที-คัทให้ทดลองเปิด-ปิดสวิตช์ดู หากไม่สามารถใช้งานได้ก็ต้องเปลี่ยนแผงสวิตช์ใหม่ ซึ่งมีราคาตั้งแต่ชุดละ 100-500 บาทแล้วแต่ยี่ห้อ และค่าแรงอีกจุดละประมาณ 100 บาท

ส่วนถ้าเป็นบ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่สนามหญ้าในรั้วบ้าน หญ้าที่ถูกแช่น้ำนาน 2-4 สัปดาห์มีโอกาสจะตายได้ หากไม่สามารถระบายน้ำออกได้ทันก็จำเป็นต้องปูหญ้ากันใหม่ โดยเฉลี่ยการปูหญ้าจะเป็นการเหมาพร้อมค่าแรงเริ่มต้นตารางเมตรละ 100 บาทขึ้นไป

นอกจากนี้ ยังมีงาน "รั้วไม้" ที่อาจจะเกิดสีลอกล่อนหรือเป็นตะไคร่สามารถ ขัดออกและซื้อสีทาไม้มาทาเองได้ มีราคาเริ่มต้นกระป๋องละ 300-1,000 บาท

เบ็ดเสร็จหากน้ำท่วมบ้านในระดับ 0.30-0.50 เมตร ก็จะมีค่าใช้จ่ายซ่อมแซมเริ่มต้น 30,000-110,000 บาท (ขึ้นกับวัสดุที่เปลี่ยนใหม่) ส่วนถ้าท่วมระดับ 1.00-2.00 เมตร ก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 65,000-145,000 บาท





จาก ....................... ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
21-11-2011, 08:10
เตือนรื้อหลังคา-ฝ้า ระวังรับแร่ใยหินแนะลดฝุ่นทำให้เปียกก่อนซ่อมบ้าน

http://pics.manager.co.th/Images/554000015664101.JPEG

สสส.-คคส.เตือน รื้อกระเบื้องมุงหลังคาบ้าน ฝ้า เพดาน กระเบื้องปูพื้นหลังน้ำลด ระวังได้รับแร่ใยหิน เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ พร้อมออกคู่มือให้ความรู้ แนะวิธีป้องกันลดฝุ่นด้วยการทำให้เปียก ใส่หน้ากากที่เหมาะสม แนะเลือกวัสดุใหม่ อย่าลืมดูคำเตือนบนสินค้า

รศ.ดร วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมที่มีความรุนแรงมากที่สุดในรอบ 60 ปีที่ผ่านมา มีพื้นที่ได้รับผลกระทบเกือบ 60 จังหวัดทั่วประเทศไทย น้ำท่วมใหญ่ในปีนี้ ทำให้บ้านเรือนของประชาชนได้รับความเสียหายอย่างมาก ซึ่งหลังจากน้ำลดจะต้องมีการซ่อมแซม สิ่งที่ควรระวังนอกจากเรื่องโรคที่มากับน้ำ ยังต้องให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆ ที่ต้องซ่อมแซม โดยพบว่า กระเบื้องมุงหลังคา ฝ้า และกระเบื้องปูพื้นจำนวนมาก มีส่วนผสมของแร่ใยหิน หรือ แอสเบสตอส เป็นส่วนประกอบ การรื้อถอนทุบทำลาย และขนย้าย ทำให้ชิ้นส่วนเหล่านั้นแตกกระจาย ทำให้อนุภาคของแร่ใยหินที่อยู่ในวัสดุก่อสร้างฟุ้งกระจายเข้าสู่ปอดได้ ซึ่งเป็นสาเหตุเกิดโรคอันตรายร้ายแรง เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอด หรือ เมโสเทลิโอมา รวมทั้งสามารถทำให้เกิดโรคผังผืดปอดอักเสบที่เรียกว่า แอสเบสโตซีสได้

“การรื้อถอน ซ่อมแซมบ้านเรือน อาคารสถานที่ต่างๆ ซึ่งมีวัสดุที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ จำเป็นต้องมีวิธีการป้องกัน เพื่อไม่ให้ผู้รื้อถอนได้รับอันตรายจากแร่ใยหิน หรือ แอสเบสตอส โดยมีมาตรการสำคัญ คือ 1.ผู้รื้อถอนต้องสวมใส่หน้ากากป้องกันที่เหมาะสม เพราะละอองจากแร่ใยหินมีขนาดอนุภาคที่เล็กมาก หน้ากากโดยทั่วไปไม่สามาถป้องกันได้เพียงพอ 2.ป้องกันไม่ให้เกิดอนุภาคหรือฝุ่นละอองในระหว่างที่มีการรื้อถอน การทุบทำลาย หรือ การขนย้าย โดยอาจทำให้วัสดุที่ต้องรื้อถอนเปียกก่อนเพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง และ 3.คัดแยกเศษวัสดุที่มีแร่ใยหินโดยใส่ถุงเฉพาะ ป้องกันไม่ให้เกิดการแตกหักที่จะทำให้ฟุ้งกระจายเป็นอันตรายและป้องกันไม่ ให้มีการนำมาใช้อีก” รศ.ดร.วิทยา กล่าว

รศ.ดร.วิทยา กล่าวว่า สำหรับการเลือกซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมบ้านเรือน ควรเลือกซื้อวัสดุที่ไม่มีแร่ใยหิน เช่น กระเบื้องหลังคา ฝ้า กระเบื้องปูพื้น ผู้ซื้อดูได้จากการที่กระเบื้องหลังคา ฝ้า กระเบื้องปูพื้น ที่มีแร่ใยหิน โดยจะต้องแสดงคำเตือนบนสินค้าว่า “ระวังอันตราย ผลิตภัณฑ์นี้มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ การได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกาย อาจก่อให้เกิดมะเร็งและโรคปอด” ตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. กำหนดไว้ หากผู้ขาย ไม่ดำเนินการจะมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือ จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ ทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้า หากไม่ดำเนินการจะมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ดร.วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์ ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำคู่มือให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการรื้อถอนกระเบื้องซีเมนต์มุงหลังคา ฝ้าเพดาน ฝากั้นห้อง กระเบื้องยางปูพื้น ที่มีวัสดุแร่ใยหินเป็นองค์ประกอบ ผู้ที่สนใจและประชาชนที่ต้องการรื้อถอนอาคาร หรือซ่อมแซมบ้านเรือน สามารถดูข้อมูลได้ที่ www.thaihealthconsumer.org/ และ www.noasbestos.org




จาก ....................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
22-11-2011, 08:20
เมื่อมือถือเปียกน้ำ


คำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพในช่วงน้ำท่วมมีเยอะแยะเลย วันนี้ขอแทรกบรรยากาศว่าด้วยกรณีมือถือตกน้ำป๋อมแป๋ม คุณก็ต้องรู้วิธีบริหารจัดการ เริ่มจากต้องปิดเครื่อง (ซึ่งในกรณีที่เปียกรุนแรงมาก มักจะเครื่องดับเองโดยอัตโนมัติ) จากนั้นให้แกะเครื่องออกเท่าที่จะสามารถใส่กลับเองได้ เช่น หน้ากาก แบตเตอรี่ ซึ่งจุดนี้ช่างระบุว่า หากไม่ถอดถ่านออก โอกาสเครื่องชอร์ตจะมีสูง

เมื่อแกะเครื่องออกแล้วให้ใช้ผ้าเช็ด หรือใช้พัดลมเป่า ห้ามใช้ไดร์ร้อนเพราะอาจทำให้เป็นสนิมได้เร็ว และอุณหภูมิที่แปรปรวนมากๆ จะทำให้วงจรมีโอกาสเสียหาย หากเช็ดแห้งแล้วอย่าเพิ่งชาร์จแบตเตอรี่ทันที เนื่องจากวงจรภายในอาจจะยังไม่พร้อมที่จะรับกระแสไฟฟ้า กรณีที่เครื่องเปียกมาก เมื่อเป่าแห้งแล้วให้ส่งช่างซ่อมโดยทันที เพราะส่งซ่อมเร็วเท่าใด ความเสียหายก็จะน้อยลงเท่านั้น.




จาก ....................... ไทยโพสต์ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
23-11-2011, 08:03
'ยังมีอยู่' แม้น้ำจะลด 'ภัยในบ้าน' ต้องระวัง 'ยังร้ายแรง'

http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/23/newspaper/p3thurl23.jpg

สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ตอนนี้พื้นที่ใดยังท่วมกันอยู่ ทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ก็ขอเอาใจช่วย ซึ่งเดลินิวส์เองเราก็ยังอยู่กับน้ำเช่นเดียวกัน ส่วนในพื้นที่ใดที่ท่วม แล้วตอนนี้น้ำเริ่มลดหรือน้ำแห้งแล้ว ก็ขอแสดงความยินดีด้วยที่ผ่านช่วงทุกข์ไปได้เปลาะหนึ่ง แต่แม้น้ำจะแห้งแล้ว “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ก็ต้องเตือนภัยกันต่อ

’น้ำลด-น้ำแห้ง“ ก็ ’ยังต้องระวัง“ เหมือนน้ำท่วม

เพราะอาจจะ ’ยังมีภัย“ ไม่เว้น ’แม้แต่ในบ้าน“

ทั้งนี้ พูดถึงเรื่องอาคารบ้านเรือน กับสถานการณ์น้ำท่วม แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่ภัยน้ำเริ่มคลี่คลายแล้ว แต่ก็ยังมีจุดที่ต้องระวัง ต้องตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย ทั้งกับภัยจากตัวอาคารบ้านเรือน และภัยที่อาจยังแฝงอยู่

กับ ’ภัยที่อาจยังแฝงอยู่“ ก็ได้แก่...

สัตว์อันตราย สัตว์พิษต่างๆ เชื้อโรคต่างๆ อย่างเช่น... จระเข้ แม้ว่าน้ำลดแล้วก็อาจยังนอนแอ้งแม้งซุ่มอยู่บริเวณอาคารบ้านเรือนก็ได้ มิใช่เป็นไปไม่ได้, สัตว์กัดต่อยที่มีพิษแรงอย่าง ตะขาบ แมงป่อง ก็อาจซุกซ่อนอยู่ตามซอกตามหลืบต่างๆ เช่นเดียวกับ งู ที่ถ้าเป็นงูพิษร้ายแรงอย่าง งูเห่า งูจงอาง หรือ งูพิษนำเข้าจากต่างประเทศ อย่างที่เคยมีข่าว เหล่านี้เราระวังไว้ก่อนดีกว่า

ส่วนเชื้อโรคต่างๆนั้น บางชนิดช่วงน้ำท่วมว่าต้องระวังแล้ว ช่วงน้ำลดเหลือแค่เฉอะแฉะซึ่งอาจทำให้เราเริ่มวางใจกับสารพัดภัย จริงๆแล้ว ยิ่งต้องระวัง ยิ่งอาจจะสร้างอันตรายให้ได้ง่ายๆ เช่นเชื้อที่ทำให้เกิด ’โรคฉี่หนู-โรคเลปโตสไปโรซิส“ เชื้อมักจะมากับน้ำ และยิ่งเมื่อน้ำลดแล้วยิ่งต้องระวังเพราะเชื้อร้ายนี้มักจะระบาดง่ายจากโคลนตมหรือดินที่ชื้นแฉะ ซึ่งหากใครมีอาการ... เป็นไข้เฉียบพลัน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ปวดที่น่องและโคนขา ปวดกล้ามเนื้อหลังและท้อง ตาแดง คอแข็ง เป็นไข้ติดต่อกันหลายวันสลับกับระยะไข้ลด มีผื่นที่เพดานปาก มีจุดเลือดออกตามผิวหนังและเยื่อบุ รู้สึกสับสน ซึม ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

เพราะพิษสงของมันนั้นถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้!!

และแหล่งอันตรายก็อาจอยู่บริเวณบ้าน-ในบ้าน

สำหรับกรณี “ภัยจากตัวอาคารบ้านเรือน” จากชุดข้อมูล “7 ประเด็นความปลอดภัยโครงสร้างอาคารหลังน้ำท่วม” โดย รศ.ดร.อมร พิมานมาศ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมโครงสร้างและสะพาน ก็น่าสนใจ น่าคิดน่าพิจารณามากทีเดียว ซึ่งเนื้อหาเต็ม ๆ นั้นสามารถจะเสิร์ชดูจากในอินเทอร์เน็ตได้ตามหัวข้อที่ว่ามา ส่วน ณ ที่นี้ก็มาดูกันโดยสังเขป เช่น...

อาคารบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วม น้ำนั้นมีแรงดัน แรงดันน้ำในระดับความสูงไม่เกิน 2 เมตร หากอาคารก่อสร้างไม่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม เช่น เสามีขนาดเล็กหรือเสริมเหล็กน้อยเกินไป ก็อาจเสียหายได้, ระดับน้ำท่วมที่สูง 1–2 เมตร อาจทำให้ผนังกำแพงแตกพังทลายได้, คาน เสา ที่มีขนาดเล็กเกินไป เช่น เล็กกว่า 20 ซม. อาจมีปัญหาที่รอยต่อระหว่างชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่นำมาประกอบกันเป็นโครงสร้าง, โครงสร้างที่แช่น้ำอยู่เป็นเวลานาน เหล็กเสริมอาจเกิดสนิมขึ้นได้ ต้องรีบซ่อมแซม มิฉะนั้นสนิมอาจลามจนแก้ไขไม่ทัน จนเกิดอันตราย

ฐานรากอาคารบ้านเรือนที่จมน้ำท่วมอยู่ใต้น้ำ 1-2 เมตร จะเกิดแรงดันน้ำยกบ้านให้ลอยขึ้น โดยเฉพาะหากเป็นบ้านชั้นเดียวที่มีน้ำหนักไม่มาก และไม่ได้ใส่เหล็กเดือยยึดเสาเข็มกับฐานรากเข้าไว้ด้วยกัน อาจทำให้ตัวบ้านลอยเคลื่อนออกจากฐานราก ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก!!

ในกรณีที่ตัวบ้านหลุดหรือเคลื่อนจากฐานราก จะเป็นอันตรายต่อโครงสร้างมากเพราะเท่ากับว่าบ้านไม่ได้รองรับด้วยฐานรากอีกต่อไป จะต้องยกอาคารและทำฐานรากใหม่ ซึ่งทำเองไม่ได้ ต้องปรึกษาวิศวกรที่ชำนาญทางด้านนี้โดยตรง, หาก เสาหักหรือขาด ต้องรีบให้ช่างหาเสาเหล็กหรือเสาไม้มาตู๊โครงสร้างโดยด่วน เนื่องจากเสาที่หักจะรับน้ำหนักไม่ได้อีกต่อไป ดังนั้น โครงสร้างอาจจะถล่มได้ทุกเมื่อ!! จะต้องรีบปรึกษาวิศวกร การแก้ไขต้องทุบเสาทิ้งและหล่อเสาขึ้นใหม่ ...นี่ก็เป็นโดยสังเขปจากที่ รศ.ดร.อมร แนะนำไว้

ทั้งนี้ นอกจากที่ว่ามาแล้ว ’ภัยหลังน้ำท่วม“ อีกรูปแบบที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ต้องเตือน จากที่เคยเตือนช่วงก่อนน้ำท่วมหนักไปแล้วเป็นสื่อแรก ๆ และก็เตือนซ้ำอีกหลายครั้ง นั่นก็คือ ’ไฟดูด-ไฟช็อต“ ซึ่งใครจะเข้าไปดูบ้านเมื่อน้ำลด ก็ต้องระวังไฟฟ้าที่อาจรั่วอยู่ ทั้งในบ้านเราเอง บ้านใกล้เคียง และระหว่างทางเข้าไป ต้องระวังอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ตั้งอยู่บริเวณที่ชื้นแฉะ ต้องงดใช้งดสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าขณะที่ตัวเปียกชื้นหรือยืนอยู่บนพื้นที่ชื้นแฉะ อย่าใช้เครื่องไฟฟ้าที่เสียหายจากน้ำท่วมโดยที่ยังไม่ได้ผ่านการซ่อมแซมจากช่างผู้ชำนาญ ถ้าเปิดใช้งานเครื่องไฟฟ้าแล้วพบว่าเหม็นไหม้ มีเสียงดัง ฯลฯ ให้หยุดใช้ทันที พึงตระหนักกันไว้ว่า น้ำท่วมปีนี้มีคนไทยเสียชีวิตเพราะไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก!! หากไม่ระวังกันให้ดี แม้น้ำจะลดแล้วแต่ตัวเลขก็อาจเพิ่มขึ้นอีก

สรุปก็คือ ’น้ำลดแล้ว...แต่ก็ยังต้องระวังภัย“

’แม้แต่ในบ้าน...ก็อาจจะยังมีภัย“ ต้องระวัง

แค่ลื่นตะไคร่หัวฟาดพื้น..ก็อาจตายได้นะ!!!.




จาก ....................... เดลินิวส์ คอลัมน์สกู๊ปหน้า1 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
23-11-2011, 08:11
บทเรียนดี ๆ ที่สอนลูกจากเหตุการณ์น้ำท่วม .................... ดร.แพง ชินพงศ์

http://pics.manager.co.th/Images/554000015690101.JPEG

จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เราคนไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ทำให้คนไทยได้รับความเดือดร้อนนับหลายแสนครอบครัว บางครอบครัวต้องประสบกับปัญหาบ้านเรือนเสียหาย หลายคนหมดเนื้อหมดตัวสูญเสียทรัพย์สิน หลายครอบครัวต้องกลายเป็นคนไร้ที่อยู่อาศัย และกลายเป็นผู้อพยพในแผ่นดินบ้านเกิดของตนเอง และเป็นเรื่องที่น่าเศร้าไปยิ่งกว่านั้นคือมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้กว่า 600 คน

แต่ในวิกฤตการณ์เช่นนี้ ถ้าเราวิเคราะห์กันดีๆ แล้ว เราจะพบว่าในทุกวิกฤติปัญหานั้นมีหลายสิ่งที่สามารถนำมาใช้เป็นบทเรียนสอนใจในเรื่องหลักการดำเนินชีวิตของตัวเราเองและลูกๆ อยู่หลายประการ ดังนี้

1.การแสดงความเมตตาและความเสียสละต่อเพื่อนร่วมชาติ

ท่ามกลางภาวะวิกฤติปัญหาที่มีผู้คนที่ต้องประสบกับความทุกข์ลำบากทั้งไร้ที่อยู่อาศัย ไม่มีอาหารประทังชีวิต สูญเสียทรัพย์สินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ผู้เขียนรู้สึกประทับใจที่ได้เห็นการแสดงความเมตตาของคนไทยด้วยกันในการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละต่อเพื่อนร่วมชาติ เช่น มีการบริจาคเงินช่วยเหลือ มีการนำของใช้และทำอาหารไปแจกแก่ผู้ประสบภัย มีบางกลุ่มออกไปช่วยคนและสัตว์ที่ติดอยู่ในบ้านให้สามารถออกมาได้ หรือตัวอย่างของมหาวิทยาลัยรังสิตร่วมกับชุมชนหมู่บ้านเมืองเอก และชุมชนหลักหกที่เสียสละช่วยปกป้องพื้นที่โดยรอบไม่ให้เกิดน้ำท่วม ซึ่งถือเป็นแนวป้องกันน้ำด่านสุดท้ายก่อนถึงตัวเมืองกรุงเทพมหานคร และมีหลายหน่วยงานและหลายสถานที่ได้เปิดเป็นศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยอีกด้วย ตัวอย่างดี ๆ เหล่านี้คุณพ่อคุณแม่สามารถนำมาสอนลูกในเรื่องของการแสดงความเมตตาและเสียสละต่อผู้อื่น โดยทำให้เห็นเป็นแบบอย่างหรือพาลูกไปลงมือทำเองเลยได้ยิ่งดี


2.การดูแลรักษาความสะอาดของแม่น้ำลำคลอง

ผู้เขียนจำได้ว่าคุณครูเคยให้ท่องจำในวิชาสุขศึกษาเมื่อสมัยเด็ก ๆ ว่าห้ามทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง เพราะจะทำให้น้ำเน่าและเกิดมลพิษต่างๆต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม แต่จากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้มีบทเรียนสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่ผู้ใหญ่ทุกคนควรสอน และย้ำเตือนกับเด็กๆทุกคนว่า อย่าทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง เพราะนอกจากจะทำให้น้ำสกปรกแล้ว หากเกิดภัยน้ำท่วมอย่างเช่นคราวนี้ก็จะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ในการระบายน้ำได้ช้ากว่าปกติเพราะมีขยะไปอุดดันตามท่อระบายน้ำต่างๆ น้ำก็จะท่วมขังเป็นเวลานาน ซึ่งมีแต่ผลเสียทั้งต่อความเป็นอยู่ ต่อสุขภาพร่างกายที่พอน้ำขังนานๆ ก็เน่าเสียเป็นแหล่งเชื้อโรค ทั้งเป็นผลเสียต่อความเป็นอยู่ของสัตว์น้ำต่างๆด้วย ดังนั้นเราจึงต้องให้ความสำคัญกับการรักษาความสะอาดของแม่น้ำลำคลองกันให้มากยิ่งขึ้น

http://pics.manager.co.th/Images/554000015690102.JPEG
ภาพจากเอเอฟพี


3.การนำสิ่งเหลือใช้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในภาวะวิกฤติน้ำท่วม

เช่น เสื้อชูชีพ รองเท้ากันน้ำและเรือ ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นมากสำหรับผู้ประสบภัย เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกคนโดยเฉพาะผู้ประสบภัยต้องการ เข้าตำราว่ามีเอาไว้ให้อุ่นใจ ดังนั้นเมื่อมีความต้องการมากจึงทำให้หาซื้อได้ยากและที่สำคัญราคาสูงจนน่าตกใจ หลายคนเกิดความคิดสร้างสรรค์นำวัสดุเหลือใช้ต่างๆรอบตัวมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น ทำเสื้อชูชีพจากขวดพลาสติกเปล่า การเอายางรถยนต์เก่ามาทำเป็นเรือ ซึ่งตรงนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนลูกๆให้เห็นประโยชน์ของสิ่งของเหลือใช้รอบตัว และหัดให้ลูกลองประดิษฐ์สิ่งของต่างๆที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จากวัสดุเหลือใช้ต่างๆดูและนำมาทดลองใช้จริง ก็จะสร้างความภาคภูมิใจให้กับลูกได้ด้วย


4.การใช้ชีวิตที่ไม่ตั้งอยู่บนความประมาท

คุณพ่อคุณแม่ควรจะสอนให้ลูกได้เรียนรู้และยอมรับว่าชีวิตของมนุษย์นั้นไม่มีอะไรที่แน่นอน ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าอีก 1 วินาทีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ดังนั้นเราควรสอนลูกๆให้ดำเนินชีวิตอย่างระมัดระวังและรอบคอบอยู่เสมอ ทั้งสอนให้รู้จักการเตรียมพร้อมกับทุกๆเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นด้วย เช่น เมื่อทางการมีการประกาศว่าจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติขึ้นเป็นต้นว่าจะมีน้ำท่วมมาก สิ่งสำคัญที่เราต้องทำก็คือการจัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็น เช่น น้ำดื่ม อาหารแห้ง ยารักษาโรค ไฟฉาย อุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆในการดำรงชีวิตให้พร้อมจะได้ดำเนินชีวิตต่อไปได้โดยไม่ลำบากแก่ตนเองและไม่ต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่น


5.การเรียนรู้ถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ

จากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ ทำให้เราได้เห็นความสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทยมากขึ้น ทั้งความช่วยเหลือที่มีให้แก่กัน และจากเหตุการณ์นี้ทำให้หลายคนได้หันหน้ามาพูดคุยกันมากขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วละแวกบ้านของผู้เขียนจะเป็นลักษณะต่างคนต่างอยู่ แต่เพราะเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้ผู้เขียนต้องออกไปสังเกตดูปริมาณน้ำที่คลองใกล้บ้าน และไปในบริเวณพื้นที่น้ำท่วมทุกวัน วันละ2-3 ครั้งเป็นอย่างน้อย จึงทำให้ได้มีโอกาสรู้จักกับเพื่อนใหม่อีกหลายคน ซึ่งมีทั้งวัยเดียวกัน ต่างวัย ต่างอาชีพการงาน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดรวมไปถึงการแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อกันใน สถานการณ์เช่นนี้ ซึ่งสำหรับผู้เขียนแล้ว นี่นับเป็นสิ่งดีที่ทำให้คิดถึงวัฒนธรรมรากเหง้าดั้งเดิมของคนไทยที่มีความเป็นมิตร โอบอ้อมอารีต่อกันและกัน ซึ่งมิตรภาพที่ดีเหล่านี้เป็นสิ่งที่ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปสอนลูกได้

เหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งนี้แม้จะไม่รุนแรงเท่าเหตุการณ์สึนามิที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นที่มีผู้เสียชีวิตและสูญหายนับหมื่นคน แต่ก็นับว่าเป็นเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ยืดเยื้อและสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติและคนไทยเป็นอย่างมาก ผู้เขียนจึงขอส่งกำลังใจให้กับพี่น้องเพื่อนผองชาวไทยทุกคนให้ผ่านพ้นภัย พิบัติในครั้งนี้ไปได้ด้วยความอดทนและอย่ากังวลถึงวันพรุ่งนี้ว่าจะเป็นเช่นไรเพราะแต่ละวันก็มีทุกข์พออยู่แล้ว...

คนไทยสู้ๆ !!!





จาก ....................... ผู้จัดการออนไลน์ คอลัมน์ Life & Family วันที่ 23 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
23-11-2011, 08:44
น้ำท่วมก็สวยได้แฟชั่นใหม่ "ถุงน่องลุยน้ำ"...ลืมไปเลย"ชุดหมี"

http://i835.photobucket.com/albums/zz275/Saaynam/Morning%20News/CheriLon.jpg

แฟชั่นน้ำท่วมที่หลายคนคิดค้นประดิษฐ์ประดอยกันขึ้นมาเองบ้าง ซื้อหามาบ้าง ก็สุดแต่ใครจะไขว่คว้า หาชุดกันน้ำมาลุยน้ำท่วม หากสูงเกินเข่ารองเท้าบูท อาจจะกันได้ไม่ค่อยดี ดังนั้นจึงมีชุดกันน้ำที่คิดค้นกันขึ้นมาส่วมใส่ก่อนเดินลุยน้ำท่วมเสมอเอวหรือโค่นขา

ฉะนั้นการลุยน้ำแต่ละครั้งก็ต้องเตรียมตัวกันให้พร้อมเสียก่อน เนื่องจากน้ำที่ขังเป็นเวลานานอาจจะเน่าและเหม็นการไปสัมผัสโดยตรงคงไม่ดีแน่ แต่ถ้ามีอะไรมากั้นมากันไว้บ้างก็คงจะดีไม่น้อย

แต่ชุดกันน้ำที่มีอยู่ในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นชุดหมี...ที่ฟูพองใส่แล้วดูอึดอัดเคลื่อนไหวลำบากน่าดู

ดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นประดิษฐ์ดัดแปลงชุดลุยน้ำขึ้นมาใหม่ โดยฝ่ายผลิตภัณฑ์เชอรีล่อน บริษัท นิวซิตี้ (กรุงเทพฯ) จำกัด (มหาชน) แนะนำไอเดียสู้วิกฤติน้ำท่วมจากเชอรีล่อน เพื่อคุณสุภาพสตรีทั้งหลาย นอกจากสวยงามแล้วยังสามารถป้องกันเชื้อโรคและความสกปรกต่างๆที่มากับน้ำ อีกทั้งยังคล่องตัวอีกด้วย

เริ่มจากการนำถุงพลาสติกยาวมาสวมเรียวขา จากนั้นเพิ่มความกระชับด้วยการสวมถุงน่องเต็มตัวทับอีกชั้น ซึ่งอาจจะเป็นถุงน่องที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว เนื้อถุงน่องทุกประเภทสามารถนำมาใช้งานได้หมด แต่ขอแนะนำให้ใช้เป็นแบบเนื้อซัพพอร์ทจะให้ผลดีที่สุด เพราะเป็นประเภทที่มีแรงกระชับสูงกว่าประเภทเนื้อเนียนธรรมดา เนื้อถุงน่องจะทำหน้าที่เก็บถุงพลาสติกที่สวมให้แนบเข้ารูปกับเรียวขา ช่วยให้เกิดความคล่องตัว ไม่เกิดแรงต้านขณะเดินลุยน้ำ ซึ่งจะต่างจากกางเกงพลาสติกกันน้ำ ที่จะดูเทอะทะขณะเดินฝ่าน้ำ และต้องออกแรงมากขึ้น

ส่วนการลุยฝ่าน้ำในระดับความสูงได้เท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับถุงพลาสติกที่นำมาใช้สวม หากน้ำท่วมในระดับที่ไม่เกิน 30 – 40 เซนติเมตร การใช้ถุงพลาสติกหรือถุงก๊อบแก๊บทั่วๆไปที่หาได้ง่าย แล้วสวมทับด้วยถุงน่อง ก็สามารถใช้งานได้ดีเช่นกัน โดยถุงน่องที่ผ่านการใช้งานแล้ว มีการรันหรือขาดบ้าง ก็ไม่มีผลต่อการใช้งานแต่อย่างใด

ไอเดียการใช้ถุงน่องลุยน้ำ ยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับช่วงน้ำลด และอยู่ในช่วงที่ต้องทำความสะอาดบ้านเรือน อาคาร ร้านค้า เนื่องจากยังมีสิ่งปฏิกูล หรือเชื้อโรคต่างๆ เช่น ฉี่หนู รวมถึงคราบน้ำมันที่ปนเปื้อนมากับน้ำ ช่วยให้ผิวขาไม่ต้องสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้โดยตรง

อย่างไรก็ตาม ควรสวมรองเท้าไว้ภายนอก ไม่ควรสวมรองเท้าก่อนสวมถุงพลาสติก เพราะอาจทำให้ถุงพลาสติกขาด และน้ำสกปรกเข้าไปสัมผัสเท้าได้

ฝ่ายผลิตภัณฑ์เชอรีล่อน บริษัท นิวซิตี้ (กรุงเทพฯ) จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำถุงน่องลุยน้ำ พร้อมถุงพลาสติกจัดเป็นชุดๆ เพื่อมอบให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับได้ที่เคาน์เตอร์เชอรีล่อนเฉพาะ 5 จุด ดังนี้ เซ็นทรัลปิ่นเกล้า, เซ็นทรัลลาดพร้าว, เซ็นทรัลพระราม 2, เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน และเดอะมอลล์บางกะปิ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 02-294-6999 ต่อ 128, 119




จาก ....................... ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
24-11-2011, 08:17
น้ำลดแล้ว...ก็ 'สำคัญ' ฟื้นฟูสังคมไทย 'น้ำใจไทย' จำเป็น!!

http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/24/newspaper/p3thurl24.jpg

ประเทศไทยกำลังจะ ’ก้าวผ่านสถานการณ์มหาอุทกภัย“ ซึ่งหลายพื้นที่น้ำแห้งแล้ว หลายพื้นที่น้ำเริ่มลดแล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่น้ำยังท่วมอยู่ และก็อาจจะมีบาง
พื้นที่ในภาคใต้ที่น้ำเพิ่งจะท่วม ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ใด สถานการณ์น้ำท่วมจะเป็นเช่นไร กับการจะก้าวผ่านสถานการณ์มหาอุทกภัยไปให้ได้จริง ๆ นั้น...

มวลน้ำลด-ระดับน้ำลด...อาจมิใช่กุญแจก้าวผ่าน

เข้าใจกัน-มีน้ำใจ...สำคัญเฉกเช่นตอนน้ำยังท่วม

ทั้งนี้ กับการ “ฟื้นสังคมไทยจากภัยน้ำท่วม” การจะทำให้ “คนไทยหายป่วยจากวิกฤติอุทกภัย” ได้จริงๆนั้น ทางศูนย์พัฒนาความสุขมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) โดย ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา ประธานศูนย์ฯ ก็มีข้อเสนอแนะไว้ให้ลองพิจารณา ซึ่งก็น่าสนใจ โดยสรุปคือ... จากภาวะวิกฤติอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การใช้ชีวิตของประชาชนคนไทยต้องอาศัย ’ความเข้าใจซึ่งกันและกัน“ ต้องอาศัยการ ’เอาใจเขามาใส่ใจเรา“ ให้มาก โดยขณะนี้บรรยากาศของภาวะอุทกภัยมีการเปลี่ยนแปลงไป คนที่ตอนนี้รู้สึกโล่งใจได้แล้วว่ายังไงก็ไม่ถูกน้ำท่วม คนกลุ่มนี้น่าจะแสดงน้ำใจต่อคนที่ยังต้องทำใจกันอยู่ ต่อคนที่ยังได้รับความเดือดร้อน

ตอนที่ตนเองก็ยังต้องลุ้น...ตอนนั้นจะช่วยใครก็คงไม่ถนัด

เมื่อชัวร์ว่าน้ำไม่ท่วมแน่แล้ว...ตอนนี้น่าจะช่วยๆกันได้...

สำหรับการช่วย การแสดงน้ำใจนั้น ก็สามารถทำได้หลายรูปแบบ ไม่จำเป็นว่าจะต้องไปลุยน้ำเสมอไป ซึ่งทางประธานศูนย์พัฒนาความสุขมนุษย์ มศว ระบุไว้ว่า... ในช่วงจังหวะวิกฤติอุทกภัยนั้น อาจสร้างโอกาสการทำมาหากินให้ใครหลายๆคน แต่ถ้าโอกาสนั้นเป็นการ “ฉกฉวย” เช่น ขึ้นราคาสินค้าอย่างไม่เป็นธรรม นั่นเป็นการ “ทำลายบรรยากาศการเกื้อหนุนและการแบ่งปัน” ซึ่งแน่นอนว่ามิใช่เรื่องดีต่อการฟื้นสังคมไทย

หากมีการเกื้อหนุนกันแต่แรก...นี่ย่อมจะเป็นเรื่องดี

ดีทั้งตอนน้ำท่วม...และตอนฟื้นสังคมหลังน้ำท่วม...

ย้อนเวลาไปก่อนหน้านี้ ดร.จิตราระบุไว้ว่า... ในหลายพื้นที่เราจะเห็นเรื่องการกักตุนสิ่งต่างๆ เช่น ทราย ถุงทราย อาหาร ของแห้งต่าง ๆ ซึ่งการที่คนขายของได้กักตุนสิ่งของไว้ โดยใช้หลักอุปสงค์-อุปทาน เพื่อหวังจะหาทรัพย์ให้ได้มากๆจากโอกาสในช่วงวิกฤติน้ำท่วม แสดงว่าไม่ได้คิดให้ยาวๆ เพราะคนที่ต้องฝืนทนจ่ายแพงโดยไม่เป็นธรรม จะจดจำไปในระยะยาว ต่อไปก็จะไม่ซื้อสิ่งของจากคนขายที่เคยฉวยโอกาส

เพราะ “เสียความรู้สึก” ไปแล้ว!!

ต่อไปคนฉกฉวยขึ้นราคาก็จะขายสินค้าไม่ค่อยได้

’การขายของให้ได้ใจคน ต้องช่วยกันยามตกทุกข์ได้ยาก และขายโดยมีกำไรตามสมควร เพื่อจะได้คบหา ซื้อขายกันได้อย่างยาวนาน ด้วยความรู้สึกดีต่อกัน“ ...ประธานศูนย์พัฒนาความสุขมนุษย์ระบุ พร้อมทั้งยังบอกอีกว่า... การขายสินค้าในภาวะวิกฤติ คนขายควรต้องขายแบบได้กระจายสินค้าให้ลูกค้าหลายๆคน ไม่ใช่เห็นแก่ประโยชน์ ได้เงินเร็ว-ได้เงินมาก ยอมให้ลูกค้าบางคนซื้อตุนเยอะๆ จนลูกค้าคนอื่นๆไม่มีโอกาส

ในด้านของคนซื้อสินค้า ถึงตอนนี้หลายๆคนก็คงได้ “บทเรียน” จากการ “ซื้อตุนอย่างตื่นตระหนก” แล้วก็เสียเปล่า ไม่ได้ประโยชน์คุ้มค่าคุ้มราคา ซึ่งที่เหมาะที่ควรนั้น แม้จะมีกำลังเงิน แต่การใช้เงินก็เป็นเรื่องที่ต้องรอบคอบ ใช้จ่ายให้คุ้มค่า ควรดู-ควรสำรวจก่อนว่าจำเป็นต้องซื้ออะไร จำเป็นต้องจัดการอะไร เครื่องมือเครื่องใช้ชิ้นใดที่จำเป็นต้องซื้อเข้าบ้าน หรือซื้อหาร่วมกัน แบ่งปันกันใช้ในชุมชนเดียวกันได้ หยิบยืมกันได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบต่างคนต่างซื้อต่างคนต่างจ่าย ซึ่งจะช่วยให้แต่ละคนในชุมชนไม่ต้องเสียเงินโดยใช่เหตุ

ควรมีการแบ่งปันข้อมูล-แบ่งปันสิ่งของกันในชุมชน การจะซื้อข้าวของเครื่องใช้ทุกชิ้น ไม่ว่าจะก่อนน้ำท่วม ขณะน้ำกำลังท่วม หรือในยามที่น้ำเริ่มแห้ง ก็ต้องมีสติ ’อย่าใจร้อนหรือโหมไปตามกระแส“ ซึ่งจะ ’ช่วยลดการกักตุน-การขึ้นราคาสินค้าโดยไม่มีเหตุผล“ ของร้านค้าได้ระดับหนึ่ง

ถ้าตื่นตระหนก รีบกักตุน ก็ยิ่งเป็นเหยื่อผู้ฉวยโอกาส

ประธานศูนย์พัฒนาความสุขมนุษย์ มศว ระบุไว้อีกว่า... ตอนนี้การลดราคาสินค้า เช่น อุปกรณ์ซ่อมแซมบ้าน อุปกรณ์ซ่อมแซมเครื่องมือการเกษตร ฯลฯ เป็นสิ่งที่ควรจะทำเพื่อช่วยผู้เดือดร้อนจากวิกฤติน้ำท่วม และในช่วงเวลาที่ประชาชนเดือดร้อนกันมาก องค์กร-หน่วยงานใหญ่ๆ ควรจะมีการทำกิจกรรมซีเอสอาร์ กิจกรรมร่วมรับผิดชอบต่อสังคม โดยช่วยเหลือผู้เดือดร้อนจากวิกฤติน้ำท่วมกันให้มากๆ หรือมีการแข่งขันกันทำ

’การจะช่วยฟื้นฟูเยียวยาสังคมให้ดีขึ้น สังคมที่บอบช้ำ ผู้คนที่อ่อนล้าหมดสิ้นกำลังใจ จะฟื้นตัวขึ้นได้เร็ว ก็เพราะน้ำใจจากทุกส่วนช่วยกัน“ …เป็นทิ้งท้ายของข้อเสนอแนะ ซึ่งสรุปไว้ที่คำว่า ’น้ำใจ“

’ฟื้นฟูสังคมจากภัยน้ำท่วม“ เมืองไทยจำเป็นต้องเร่งทำ

และ ’น้ำใจไทย“ คือ ’กุญแจสำคัญ“ ที่ ’จำเป็นต้องมี!!“.




จาก ....................... เดลินิวส์ คอลัมน์สกู๊ปหน้า1 วันที่ 24 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
24-11-2011, 08:20
ตรวจสอบบ้านหลัง 'น้ำ' ลด ทำความสะอาดหรือต้อง รื้อ!

http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/24/sv4.jpg

หลังเกิดมหาอุทกภัย เป็นเหตุให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบต้องอพยพออกจากบ้าน เนื่องด้วยมวลน้ำครั้งนี้ ไม่ได้ท่วมเพียงระดับพื้นชั้นล่างเท่านั้น หากยังเข้าสู่ตัวบ้าน ซึ่งบางพื้นที่อ่วมตั้งแต่ชั้นหนึ่งกระทั่งเกือบถึงชั้นสอง คำถามที่ตามมาคือ บ้านที่ทิ้งไปในขณะน้ำท่วมเป็นเวลานานนั้น จะกลับเข้าไปอยู่ได้หรือไม่ และต้องถึงกับรื้อหรือเปล่า? วันนี้ Special Report จะพาไปไขคำตอบกับผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเรียนรู้ “วิธีตรวจสอบความผิดปกติของโครงสร้างหลักในบ้าน” รวมถึง “สิ่งที่ควรทำ และต้องห้าม! หลังน้ำลด”

อาจารย์ธเนศ วีระศิริ เลขาธิการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ หรือ วสท. และ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยกับเดลินิวส์ออนไลน์ว่า จากประสบการณ์การลงพื้นที่ตรวจสอบน้ำท่วมขังอาคารต่าง ๆ พบว่าอาคารไม้ หรือ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กส่วนใหญ่ ไม่ได้รับความเสียหายถึงขนาดรื้อทิ้ง แต่ถามว่ามีหรือไม่ที่พบความเสียหายก็คือมี

ดังนั้นวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ หรือ วสท. จึงมีนโยบายที่จะใช้ความรู้ ความสามารถ และระดมวิศวกรอาสา ซึ่งปัจจุบันได้ 173 ท่านแล้ว เตรียมจะเข้าไปช่วยประชาชนตรวจบ้าน ทางด้านวิศวกรรม ไฟฟ้า สุขาภิบาล รวมทั้งโครงสร้าง ฐานราก เพื่อให้ประชาชนมีความสบายใจ หมดความกังวลใจ โดยจะบริการฟรี ตรวจฟรี ภายใต้ “ศูนย์ตรวจสอบอาคารด้านวิศวกรรมหลังอุทกภัย” ทั้งนี้ ขั้นตอนดังกล่าวอยู่ระหว่างรอเวลา ให้เป็นไปตามลำดับ ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ที่ 080-812-3733 หรือ 080-812-3743 และจะมีการเพิ่มหมายเลขในภายหลัง

“สำหรับกรณีน้ำลดแล้ว มีคำแนะนำคือ ก่อนเข้าบ้านควรเตรียมถุงเท้า บู๊ทยาง ถุงมือยาง รวมทั้งหน้ากากป้องกันมลภาวะ เพราะน้ำท่วมขังจะมีการปนเปื้อน เตรียมแว่นตาในลักษณะป้องกันไว้ด้วย รวมทั้งอุปกรณ์ตรวจวัดไฟ เช่น ไขควงวัดไฟ จากนั้น ทำความสะอาดรอบนอกบ้าน กำจัดตะไคร่ ส่วนน้ำที่ยังขังต้องหาทางระบายออก แม้จะเป็นลักษณะท่วมติดพื้น

นอกจากนั้น สิ่งสำคัญคือ เมื่อเข้าไปในตัวบ้านแล้ว อย่าแตะสวิทซ์ไฟโดยเด็ดขาด ยังไม่ควรสับคัทเอาท์เชื่อมต่อแม้จะเห็นว่าแห้ง หรือ พยายามทำความสะอาดผิวภายนอกแล้วก็ตาม อย่ามั่นใจว่าข้างในไม่มีน้ำอยู่ ควรตามช่างมาถอดดู เช็ดทำความสะอาดเต้าปลั๊กไฟต่างๆ เพราะหากสับคัทเอาท์จะเกิดการลัดวงจร ทำให้ระบบไฟฟ้าเสียทั้งบ้าน” อาจารย์ธเนศ กล่าว

อาจารย์ธเนศ กล่าวต่อถึง หลักทำความสะอาดห้องน้ำ โดยต้องตรวจดูการอุดตัน ล้างท่อระบายน้ำ กำจัดถุงขยะ เศษพลาสติก รวมถึงถุงทรายที่เคยอัดไว้ก่อนออกจากบ้าน จากนั้น กดชักโครกดูว่าน้ำไหลดีหรือไม่ ถัดมา เช็คมิเตอร์น้ำ หากปิดวาล์วแล้วมิเตอร์ยังหมุนแสดงว่าท่อรั่ว อาจมีอะไรกดทับทำให้แตกร้าว หรือ หากเปิดวาวว์แล้วมิเตอร์ไม่ทำงานก็ผิดปกติเช่นกัน

พรม ผ้า หรือ โซฟาที่วางอยู่ชั้นล่างถูกน้ำท่วมถึง จะอุ้มน้ำ ต้องนำออกนอกบ้านผึ่งแดด แต่การทำความสะอาดพรมค่อนข้างลำบาก หากไม่มั่นใจควรทิ้ง อย่าปล่อยเป็นแหล่งกักเก็บเชื้อโรค ต่อมา สังเกตการบวมตัวของฝ้าเพดาน หากบวมให้ตามช่างมาถอดออก ป้องกันเหตุร่วงหล่น จากนั้น ทำความสะอาดพื้น ผนัง เสา แล้วเช็ดให้แห้ง

“อย่าลืมตรวจคาน พื้น และผนัง แอ่นหรือไม่ มีรอยร้าวที่ผิดปกติไปจากเดิมก่อนจะออกจากบ้านหรือเปล่า เสาโย้ไหม หากเป็นไม้อาจเกิดลักษณะบวม ปล่อยทิ้งไว้นานเสี่ยงแตกได้ ส่วนกรณีบ้านอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง ให้สังเกตแนวรั้วด้านที่อยู่ชิดแม่น้ำลำคลองว่าโน้มเอียงเข้าหาบ้าน หรือ เอียงออกฝั่งลำคลองหรือไม่ เพราะรั้วมีแนวโน้มจะล้ม จากนั้น สังเกตว่ามีรอยแยกของดินขนานคลองหรือเปล่า เป็นข้อบ่งชี้ว่าดินอาจจะสไลด์ แต่ไม่เสมอไป สำหรับ กรณีบ้านวางอยู่บนเสาเข็ม ให้ตรวจว่าดินฐานรากยุบตัวลง หรือ มีรอยแตกไหม ถ้าไม่มีแสดงว่าเสาเข็มยังรับแรงได้ ดังนั้น หากพบสิ่งผิดปกติข้างต้น ควรติดต่อวิศวกรเข้าตรวจสอบ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน” อาจารย์ธเนศ ให้คำแนะนำ

การตรวจสอบความผิดปกติหลังจากทิ้งบ้านไปนานช่วงน้ำท่วม ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำเป็นอันดับต้นๆที่ทุกคนควรทำ เพราะโครงสร้างของบ้านอาจได้รับผลกระทบร้ายแรงกว่าที่เราคิดจากปัญหาน้ำท่วม การตรวจสอบอย่างจริงจังและไม่ประมาทจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้บ้านของทุกครอบครัวกลับมาอยู่ได้อย่างปลอดภัยอีกครั้ง




จาก ....................... เดลินิวส์ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
25-11-2011, 08:58
ยาแนวบ้านด้วยตนเอง หลังน้ำท่วม

http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/24/h1.jpg

หลังจากปัญหาน้ำท่วมค่อยๆลดลง เชื่อว่าหลายครอบครัวคงกำลังตรวจสอบความเสียหายที่บ้านของตนเองได้รับ ซึ่งบ้านหลายหลังที่พังยับเยินอาจต้องเสียเงินซ่อมมากมาย แต่สำหรับใครที่อยากประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยการซ่อมบ้านเอง วันนี้ เดลินิวส์ออนไลน์ มีวิธียาแนวพื้นบ้านด้วยตนเองมาฝาก

เริ่มต้นพยายามสำรวจยาแนวทั่วบริเวณบ้านว่ามีส่วนไหนชำรุดบ้าง จากนั้นพยายามขูดยาแนวเก่าหมดสภาพออกให้มากที่สุด ถ้าจะให้ดีต้องขูดลงลึกเท่ากับความหนากระเบื้อง หลังจากขูดแล้ว ล้างทำความสะอาด แล้วปล่อยให้แห้ง เตรียมตัวสู่ขั้นตอนต่อไป

หลังจากทำความสะอาดของเก่าจนแห้งแล้ว ก็ไปซื้อยาแนวสำเร็จรูปมาใช้ซึ่งปัจจุบันจะเป็นรูปแบบกันเชื้อราเกือบทั้งหมด ขั้นตอนสำคัญอยู่ที่การผสม ต้องเคร่งครัดกับสัดส่วน และขั้นตอนตามรายละเอียดข้างถุง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามสรรพคุณของยาแนว

วิธีการทำ ก็เริ่มจาก หาแผ่นยางขนาดเหมาะมือไว้ปาดยาแนวลงร่อง ลองนึกถึงรองเท้าแตะฟองน้ำ ตัดแต่งให้ใช้งานได้ ถ้าพื้นที่ไม่มากใช้มือปาดเอาก็ได้ แต่อย่าลืมใส่ถุงมือยางเพราะอาจดดนกัดจนมือแตกรอกได้ การปาดไล่ให้เต็มร่องเป็นแนวๆไป ยาแนวอย่างพิถีพิถันลงไปไล่อากาศแล้วล้นขึ้นมา จะได้เต็มร่องไม่โปร่งแล้วจะยุบทีหลัง

จากนั้นปล่อยให้เซ็ทตัวรอบแรกประมาณหนึ่งชั่วโมง พอเริ่มแห้งหมาด เตรียมฟองน้ำหยาบชุบน้ำหมาดๆ เช็ดล้างอย่างรวดเร็วบริเวณที่เลอะล้นร่อง ลูบให้เรียบเนียน สม่ำเสมอกัน ทิ้งไว้ให้แห้งโดยใช้เวลาประมาณ2 ชั่วโมง ใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาดอีกที สุดท้ายทิ้งไว้ให้เซ็ทตัวเต็มที่ 24 ชั่วโมง ก็จะสามารถใช้งานได้




จาก ....................... เดลินิวส์ คอลัมน์เกร็ดความรู้ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
27-11-2011, 07:51
กำจัดยุงตัวร้ายด้วย “ถุงดักยุง”

http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/27/kred.jpg

น้ำท่วมขังแบบนี้ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงชั้นเยี่ยม วันนี้แนะนำอีกหนึ่งวิธีในการกำจัดยุงตัวจิ๊ดแต่ฤทธิ์เยอะ

ช่วงนี้หลายพื้นที่น้ำท่วม ปัญหาหนึ่งที่แม้ว่าจะดูไม่ใหญ่โต แต่ก็ก่อให้เกิดความรำคาญอย่างใหญ่หลวง นั่นก็คือ ถูกยุงกัด เพราะแหล่งน้ำขังทั้งหลาย เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ที่จะเจริญเติบโตต่อไปกลายเป็นยุงได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งยุงบางชนิดไม่เพียงแค่ทำให้เราแสบๆคันๆเท่านั้น แต่สามารถเป็นพาหะก่อให้เกิดโรคร้ายแล้วแต่ชนิดของยุง เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้สมองอักเสบ โรคเท้าช้าง ฯลฯ เพื่อป้องกันตัวเองและคนที่คุณรักไว้แต่เนิ่นๆ “กรมควบคุมโรค” ได้แนะนำวิธีในการทำ “ถุงดักยุง” มาฝาก โดยอุปกรณ์ที่ใช้ทำ “ถุงดักยุง” นั้น มีไม่มากและหาได้ง่าย คือ ถุงดำ ขวดน้ำพลาสติก และเสื้อผ้าที่ใส่แล้ว

ขั้นตอนแรกเป็นวิธีล่อยุง ให้นำเสื้อผ้าที่ใส่แล้ว ใส่ลงไปในถุงดำ แล้วยุงจะได้กลิ่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระเหยออกมาจากผิวหนังมนุษย์แล้วติดอยู่กับเสื้อผ้าเหล่านั้น เสร็จแล้วทำปากถุงให้เป็นลักษณะท่อ โดยใช้ขวดพลาสติกที่เตรียมไว้ หรืออาจจะใช้แกนทิชชู่ก็ได้ เนื่องจากพฤติกรรมโดยทั่วไปของยุงจะชอบบินเข้าที่แคบๆ

ขั้นตอนต่อมา เป็นขั้นตอนสำคัญ นั่นก็คือ “การดักยุง” ให้นำถุงที่เตรียมไว้แล้วไปวางไว้ในบริเวณที่มืดๆ ไม่พลุกพล่าน เพียงเท่านี้ เจ้ายุงทั้งหลายก็จะบินเข้ามายังกับดักที่จัดไว้เอง

วิธีสุดท้าย “การกำจัดยุง” เมื่อยุงเข้ามาสู่ “ถุงดักยุง” แล้ว ให้ปิดปากถุง แล้วนำไปวางกลางแดดสัก 1-2 ชั่วโมง แสงแดดจะช่วยแผดเผาจนยุงตาย เพียงแค่นี้ก็กำจัดยุงได้แล้ว แถมยังนำอุปกรณ์ทั้งหมดกลับมาใช้ใหม่ได้อีกต่างหาก เป็นวิธีที่สุดแสนประหยัดจริงๆ.




จาก ....................... เดลินิวส์ คอลัมน์เกร็ดความรู้ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
28-11-2011, 07:20
ดูแล 'บ้านน้ำท่วม' นานาเคล็ดลับปลอดภัยประหยัดเงิน

http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/28/newspaper/p4thurl.jpg

การดูแลบ้านก่อนและหลังน้ำท่วมเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้เจ้าของบ้านได้ซ่อมแซมกันได้อย่างถูกวิธี โดย เจือ คุปติทัฬหิ โซลูชั่นแม็กซีไมซ์เซอร์ (หมอบ้าน) บริษัท เอสซีจี เอ็กซพีเรียนซ์ จำกัด ให้ความเห็นว่า บ้านไม้ค่อนข้างมีปัญหาหลังน้ำลดเพราะเนื้อไม้มีการพองตัว ซึ่งควรให้แห้งแล้วทาน้ำยารักษาเนื้อไม้ป้องกันความชื้น สำหรับไม้สักไม่ค่อยมีปัญหามากนัก แต่ถ้าไม้แดงเวลาแห้งเนื้อไม้อาจมีการปริแตกได้

สิ่งที่สำคัญเวลาเข้าไปตรวจบ้านที่ประตูและวงกบเป็นไม้ อาจเจอปัญหาปิดประตูไม่ได้ ไม่ควรใช้กบไสไม้เพราะหลังจากไม้แห้งอาจเข้ารูปเหมือนเดิม ซึ่งจะเป็นปัญหาให้ปิดประตูไม่สนิท ขณะเดียวกันตัวโครงสร้างบ้านไม้ถ้ามีปัญหาให้ติดต่อวิศวกรเพราะช่วงน้ำท่วมอาจมีขอนไม้ที่มากับน้ำเชี่ยวพัดมาทำลายโครงสร้างได้

ส่วน บ้านปูน ตัวโครงสร้างมีปัญหาน้อย แต่สำหรับกำแพงที่มีรอยร้าวและน้ำซึมผ่านเข้าไปได้อาจมีฝุ่นผงอยู่ด้านใน ควรทำความสะอาดโดยกวาดฝุ่นไว้กองรวมกันแล้วค่อยตักใส่ถังขยะ เพราะถ้าใช้น้ำจากสายยางฉีดอาจทำให้ฝุ่นต่างๆ ไหลไปตามท่อและทำให้อุดตัน กำแพงปูนควรทิ้งให้แห้งประมาณ 7–14 วัน ซึ่ง สีที่เหมาะกับการทนน้ำจะเป็นสีพลาสติก ด้านบ้านที่ปูพื้นจากหินธรรมชาติเมื่อน้ำท่วมนานอาจมีรูพรุน แม้น้ำจะเลิกท่วมแต่ขอบโดยรอบยังมีน้ำซึมควรติดต่อวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ

“เมื่อน้ำแห้งและเข้าบ้านควรเปิดประตูหน้าต่างทุกบานเพื่อให้ลมเข้า และควรมีถุงมือและไม้ที่ใช้ในการทำความสะอาด หากส่วนใดเป็นมุมอับที่สัตว์มีพิษอาจซ่อนตัวได้ให้ลองฉีดยาฆ่าแมลงนำไปก่อนแล้วค่อยใช้ไม้เขี่ย”

พงศ์เทพ ตั้งประเสริฐกิจ โซลูชั่นพาร์ทเนอร์ (หมอบ้าน) บริษัท เอสซีจี เอ็กซพีเรียนซ์ จำกัด ให้ความรู้ว่าต้องทำความเข้าใจว่า น้ำที่ท่วมนั้นมักไม่ทำความเสียหายในระดับโครงสร้างกับตัวบ้าน แต่มักทำความเสียหายกับวัสดุตกแต่งต่างๆ เช่น พื้นผนัง ดังนั้นการดูแลจึงทำอะไรมากไม่ได้ในช่วงเวลาน้ำท่วม และอาจไม่ต้องกังวลมากนัก เนื่องจากทั้งพื้นและผนังคงรื้อออกก่อนขณะน้ำท่วมไม่ได้ ในช่วงเวลาน้ำท่วมจึงควรให้ความสนใจกับชีวิต และทรัพย์สินมีค่าชิ้นเล็กๆจะดีกว่า เช่น เรื่องความปลอดภัยจากไฟช็อต ไฟรั่ว ซึ่งควรตรวจสอบว่าไฟฟ้าได้ตัดดีแล้วหรือไม่

สิ่งอื่นๆ จะเป็นความเสียหายจากของที่ยกขึ้นสูง หรือของที่ยกหนีน้ำไม่ทัน เช่นตู้เย็น เครื่องซักผ้า สิ่งที่ต้องระวังคือของที่ยกขึ้นสูงนั้นยกไปตั้งไว้บนอะไร มีความแข็งแรงขนาดไหน หลายคนมักวางบนตู้ ชั้น เฟอร์นิเจอร์ หากเฟอร์นิเจอร์นั้นเป็นไม้ก็ต้องระวังการล้มลงมา เนื่องจากไม้ไม่ถูกกับน้ำ โดยเฉพาะไม้อัดเมื่อแช่น้ำนานๆ จะพอง เสียหาย แล้วรับน้ำหนักของที่เรายกไปวางไว้ไม่ได้ จะทำให้ของเหล่านั้นล้มตกลงมาเสียหายได้

สำหรับผนังบ้านที่ตกแต่งด้วยวอลเปเปอร์ หากน้ำเพิ่งท่วมเข้ามาใหม่ๆ หรือท่วมไม่นาน สามารถป้องกันความเสียหายได้ โดยการกรีดตัดวอลเปเปอร์ในส่วนที่โดนน้ำออก ส่วนที่ยังไม่โดนน้ำก็จะยังไม่เสียหายมากนัก เนื่องจากเป็นกระดาษน้ำสามารถซึมขึ้นสูงกว่าระดับน้ำที่ท่วมได้ การกรีดตัดก่อนจะช่วยเก็บรักษาส่วนที่อยู่เหนือน้ำได้ แต่หากบ้านแช่น้ำหลายวันแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องทำเพราะอาจเสียหายจากน้ำไปแล้ว

หากที่บ้านมีประตูหรือบานกระจก จะต้องระมัดระวัง เพราะอาจเกิดแตกเสียหายได้ เมื่อเกิดแรงดันน้ำมากๆ ทั้งมาจากการเปิดปิดใช้งาน การเดินไปจนทำให้เกิดคลื่นไปกระแทกกับกระจก หรือประตูกระจก ก็จะทำให้เกิดความเสียหาย แตกร้าว หรือประตู หน้าต่าง หลุดออกจากรางได้เช่นกัน

การดูแลบ้านไม้กับบ้านปูนหลังจากน้ำลดจะต่างกันตรงที่ไม้จะเกิดปัญหามากหากเจอน้ำเพราะไม้จะบวมพอง หลังจากน้ำลดจึงอาจต้องรื้อไม้ที่แช่น้ำออกมาทิ้งไว้ให้แห้ง หากไม่เสียหายมาก ก็จะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่สำหรับบ้านปูนนั้นจะไม่ค่อยเกิดปัญหา

ในแง่ของโครงสร้างหากบ้านตั้งอยู่บนเสาเข็มลึก จะไม่ต้องกังวลในเรื่องบ้านทรุดเท่าใดนัก แต่หากบ้านตั้งอยู่บนเสาเข็มสั้น (เสาเข็มยาว 4-12 เมตร) อาจจะเกิดปัญหาการทรุดตัวได้

เมื่อน้ำลดแล้วการดูแลบ้านหลักๆ คงจะเป็นเรื่องการทำความสะอาดและตรวจสอบความเสียหาย ในการทำความสะอาดนั้นสิ่งแรกที่ควรทำคือ ท่อน้ำรอบบ้าน ให้ขุดลอกให้เรียบร้อยเสียก่อน เนื่องจากน้ำที่ท่วมมักจะนำดินโคลนมาด้วยจะทำให้ท่อน้ำหรือคูระบายน้ำอุดตันตื้นเขินได้

การทำความสะอาดเบื้องต้น อาจทำความสะอาดที่พื้นคร่าวๆ เพื่อให้เดินได้สะดวก แต่ต้องระวังไม่ให้พื้นลื่น เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ หลังจากนั้นให้ทำความสะอาดจากส่วนบนลงมาด้านล่าง สิ่งของต่างๆที่อมน้ำให้ย้ายออกมาไว้นอกบ้าน เช่น เครื่องไม้ โซฟา กระดาษ เพื่อลดปัญหาเรื่องกลิ่นอับชื้นเน่าเหม็น เช่น ผนังติดวอลเปเปอร์ให้ทำการลอกออกแล้วนำไปทิ้งนอกบ้าน ชุดโซฟาเครื่องเรือนต่างๆ ให้นำออกไปตากแดด ไล่ความชื้น หากเป็นพื้นไม้ปาร์เกต์ ให้ทำการรื้อไม้ปาร์เกต์ออก นำไปผึ่งตากแดดไว้

หลังจากนั้นพยายามเปิดผิวพื้น และผนังให้ระบายอากาศ ระบายความชื้นออกมาได้สะดวก รอให้พื้นผนังแห้งอย่างน้อย 7 วันหลังน้ำแห้ง แล้วจึงทำการซ่อมแซม

ตรวจสอบงานระบบต่างๆ ทั้งไฟฟ้าและประปา การตรวจสอบระบบไฟฟ้าต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะอันตรายถึงชีวิตได้ ควรทำการปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งไม่ต่ำกว่า 7 วัน แล้วทำการสับคัตเอาต์ ปล่อยกระแสไฟเข้า หากยังมีการช็อตอยู่ให้ทิ้งไว้ให้แห้งต่อหรือตามช่างไฟมาทำการตรวจสอบ

ระบบประปาให้ทำการตรวจสอบถังน้ำทั้ง ถังบำบัด ถังเก็บน้ำ และถังดักไขมัน ให้ทำความสะอาดให้เรียบร้อย เอาดินโคลนออกจากถัง สำหรับถังบำบัด ให้นำเชื้อแบคทีเรียเติมลงในระบบฝั่งช่องที่มีลูกบอลพลาสติกเล็กๆ ก็จะกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ถังน้ำหากเป็นบนดินให้ตรวจสอบความเสียหาย และทำความสะอาดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่หากเป็นถังน้ำใต้ดินจะลำบากในการทำความสะอาดเพราะหากทำไม่ถูกต้องอาจทำให้ถังแตกเสียหาย

การเตรียมรับมือน้ำท่วมในอนาคต เนื่องจากเราไม่อาจคาดเดาได้ว่าน้ำจะท่วมอีกเมื่อใด สิ่งที่ต้องเตรียมตัวคือเรื่องของสิ่งของต่างๆ ที่จะต้องพร้อมในการใช้งานเมื่อเกิดน้ำท่วม เช่น อาหารสำรอง ไฟฉาย ยารักษาโรค น้ำดื่ม น้ำใช้ หรืออุปกรณ์บำบัดน้ำเพื่อใช้สอยหรือระบายทิ้ง

ขณะเดียวกันอาจทำการตรวจสอบว่าน้ำเข้าบ้านมาจากที่ใดบ้าง พื้นที่ใดของบ้านจะมีน้ำเข้ามาก่อนหลัง แล้วสามารถวางแผนในการป้องกัน หรือชะลอให้น้ำเข้าบ้านเราได้ช้าลง หรือแจ้งเตือนการมาถึงของน้ำเพื่อที่จะเตรียมพร้อมและควรประเมินความยอมรับน้ำที่เข้าท่วมเสียก่อนว่าจะยอมให้เข้ามาได้ขนาดไหน เช่น ยอมให้เข้าได้ในระดับไม่เกิน 1 เมตร แสดงว่า ตั้งแต่ระดับพื้นจนถึง 1 เมตร จะต้องตั้งหรือวางสิ่งของที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ไม่หนัก และเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระดับดังกล่าวจะต้องคงทนต่อการจมน้ำ และแข็งแรงเพียงพอในการรับน้ำหนัก

พีระพงษ์ บุญรังสี โซลูชั่นพาร์ทเนอร์ (หมอบ้าน) บริษัท เอสซีจี เอ็กซพีเรียนซ์ จำกัด เล่าว่า บ้านในเขตเมืองส่วนใหญ่มักเป็นบ้านปูน ขณะที่น้ำกำลังจะท่วม สิ่งที่ควรประเมินก่อน คือระดับความสูงของน้ำและความรุนแรงของสถานการณ์ ควรประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ จากนั้นจะได้วางแผนป้องกัน สิ่งที่ตามมาคือ การจัดเตรียมข้าวของต่างๆที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต และการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์เพื่อสร้างแนวป้องกันน้ำ สิ่งที่เกิดขึ้น คือวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาป้องกันน้ำท่วมนั้นค่อนข้างหาซื้อยากและมีราคาสูงกว่าปกติ รวมทั้งตัวช่างก็หาได้ยากด้วย ถ้าเป็นไปได้ควรเตรียมตัวล่วงหน้าประมาณ 2 สัปดาห์ แนวทางในการปฏิบัตินั้นแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ เช่น ถ้าน้ำแค่ไหลผ่านระดับน้ำไม่สูงกว่า 20 เซนติเมตร การทำเพียงแผงกั้นน้ำบริเวณทางเข้าบ้านน่าจะเพียงพอ เพราะแรงดันและน้ำหนักของมวลน้ำนั้นไม่มากพอที่จะสร้างความเสียหาย วัสดุที่นำมาใช้ก็เป็นเพียงวัสดุชั่วคราวรื้อถอนได้ง่าย

แต่ถ้าระดับน้ำสูงประมาณครึ่งเมตรจำเป็นต้องทำแผงกั้นที่แข็งแรงถาวรมากขึ้น อุดปิดท่อระบายน้ำ โถชักโครก เนื่องจากน้ำจะพยายามรักษาระดับแรงดันให้สมดุล และจำเป็นต้องตัดกระแสไฟฟ้าที่ชั้นล่าง เนื่องจากปลั๊กไฟส่วนใหญ่มักติดตั้งสูงจากระดับพื้นชั้นล่างประมาณ 30 เซนติเมตร ในกรณีที่ระดับน้ำสูงเกินกว่าครึ่งเมตรควรจะอพยพออกจากบ้าน

ลองนึกดูว่าน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร มีน้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม ถ้าเกิดน้ำท่วมขังที่บ้านเป็นเวลานาน น้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม ที่กดทับลงบนพื้นบ้านขนาด 1 ตารางเมตร หรือซัดกระแทกแนวรั้วบ้านเป็นระยะ ๆ จะสร้างความเสียหายให้กับบ้านได้มากแค่ไหน นอกจากนี้น้ำยังสามารถดันตัวเองผ่านเข้ามาทางรอยต่อ รอยแยก ตามพื้น ผนัง วงกบ ช่องเปิดซึ่งถ้าบ้านปูนก่อสร้างพื้นด้วยแผ่นพื้นสำเร็จน้ำสามารถซึมขึ้นตามรอยต่อแผ่นได้ ถ้าบ้านปลูกสร้างมานานแล้วน้ำสามารถซึมผ่านรอยต่อผนังกับวงกบ รอยแตกร้าวช่วงต่อพื้นกับผนัง ยาแนวกระเบื้องที่พื้น แม้จะมีการป้องกันน้ำเข้าทางประตูแล้วก็ตาม อาจจะพบน้ำซึมเอ่อบนพื้นบ้านอยู่บ้างก็ถือว่าเป็นปกติ

เมื่อน้ำลดแล้วสิ่งที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจซ่อมแซมบ้าน ได้แก่ งบประมาณที่มี และรายการงานซึ่งควรตรวจสอบจากความเสียหายเริ่มจากแนวรั้วภายนอกไล่เข้ามาที่พื้น ผนัง เพดาน งานระบบไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล โครงสร้างเสาคานภายในตัวบ้าน จนถึงข้าวของเครื่องใช้ เครื่องเรือน ซึ่งควรซ่อมแซมตามลำดับความจำเป็นในการใช้งาน หลังจากล้างทำความสะอาดบ้านเสร็จแล้วควรรอจนกว่าตัวบ้านจะแห้งสนิทก่อนทำการซ่อมแซมซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลาถึง 2 สัปดาห์

สำหรับการเตรียมบ้านรับน้ำท่วมในครั้งต่อไป สิ่งที่ควรใส่ใจได้แก่ ระบบท่อระบายน้ำไม่ให้อุดตัน พื้นบ้านชั้นล่างควรปรับเปลี่ยนใช้วัสดุปูพื้นที่ดูแลทำความสะอาดได้ง่าย เช่น กระเบื้องเซรามิก หรือซีเมนต์ขัด ควรจัดให้มีเบรกเกอร์ควบคุมปลั๊กไฟที่ระดับน้ำท่วมถึงแยกออกมาต่างหาก อาจออกแบบวิธีการติดตั้งแผงกั้นน้ำให้สามารถติดตั้งได้โดยสะดวกรวดเร็ว.




จาก ....................... เดลินิวส์ คอลัมน์วาไรตี้ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
28-11-2011, 07:24
เทคนิคกำจัดเชื้อโรค สารเคมี สัตว์มีพิษที่มากับน้ำ และยังค้างอยู่ในบ้านหลังน้ำลด


น้ำท่วม พัดพาเชื้อโรคหลากหลายชนิดที่ปกติไม่ได้อยู่ในบ้าน หรือทำให้เชื้อโรคบางชนิดที่มีอยู่แล้วเจริญเติบโตมากขึ้น สารเคมีที่เคยนอนนิ่งอยู่ในซอกตู้ ใต้พื้นก็ลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำ และเป็นคราบติดกระจายเป็นบริเวณกว้างหลังน้ำลด สัตว์มีพิษชนิดต่างๆ ก็ย้ายที่อาศัยจากนอกบ้านมาอยู่ตามซอกตู้ ใต้พื้น ใต้บันไดของบ้านของเราแทน

เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆที่มาจากเชื้อโรค, สารเคมี และสัตว์มีพิษ เมื่อน้ำลด เราคงต้องยอมเสียเวลาทำความสะอาด สำรวจตามจุดต่างๆ เพื่อให้ทุกคนในบ้านกลับมามีบ้านที่อบอุ่น, ปลอดภัยอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านที่มีคุณตา คุณยาย และเด็กเล็กอยู่ในบ้านควรยิ่งต้องใส่ใจเป็นพิเศษ

น.พ.อิทธิชัย วัชรีคุปต์ แพทย์สาขาอายุรกรรมทั่วไป รพ.กล้วยน้ำไท (แผนกผู้สูงอายุ) กล่าวว่า ผู้สูงอายุและเด็กเล็กต้องเผชิญความเครียดจากสภาพน้ำท่วมขังหรือย้ายบ้านอยู่แล้ว เมื่อต้องกลับมาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเชื้อโรค สารพิษ และสัตว์มีพิษจะยิ่งทำให้ร่างกายอ่อนแอลง และพร้อมจะเกิดโรคต่างๆได้ง่าย

“ความเครียด” ทำให้ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล และ DHEA ที่หลั่งจากต่อมอาดรีนัลเสียสมดุลและมีส่วนทำให้การทำงานของภูมิคุ้มกันลดต่ำลง เสี่ยงทำให้เกิดโรคต่างๆได้ง่ายกว่าปกติ

ณัฐนันท์ ปัญญาโกศา นักสุขศึกษา กล่าวว่า สิ่งแรกที่เราสามารถทำได้อย่างง่ายๆ คือก่อนย้ายกลับเข้าไปในบ้าน เราควรสำรวจสิ่งต่างๆให้ทั่ว ก่อนจะเดินเข้าไปในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ควรสับคัตเอาท์ในบ้านลงก่อนที่จะเดินเข้าไปในบริเวณบ้านที่มีน้ำท่วมขังเพื่อป้องกันไฟดูด ควรเปิดประตู หน้าต่างให้รับแสงแดดจัดๆหลายๆวันเพื่อฆ่าเชื้อ และให้ลมโกรกเพื่อระบายอากาศ และความอับชื้น รวมทั้งเก็บกวาดกิ่งไม้ ทำความสะอาดตะกอน และคราบต่างๆที่มากับน้ำ โดยไล่ทำความสะอาดส่วนอื่นๆ อย่างละเอียด และควรนำผ้าที่อยู่ในที่อับมาซัก,ตากแดดจัดเพื่อฆ่าเชื้อ รวมทั้งต้องดูแลร่างกายทุกคนในบ้านให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่สุก และน้ำดื่มที่สะอาด หลังน้ำลดอาจเสี่ยงต่อการมีเชื้อโรค, สารพิษ และสัตว์มีพิษ

สำหรับเชื้อโรค เช่น เชื้อรา เราสามารถได้รับเชื้อจากการสัมผัสเชื้อราที่อยู่บนผนังที่อาจมีคราบเปียกชื้น, ใต้ตู้ที่อับชื้น, ผ้าม่าน, ในท่อแอร์, ด้านหลังวอลล์เปเปอร์, ในฉนวนกันความร้อนชนิดเส้นใย ใต้พื้นพรมที่ด้านบนอาจจะดูแห้ง, เสื้อผ้า และชุดชั้นในที่อยู่ในตู้เสื้อผ้าที่อับ

เชื้อรามีหลายชนิด แต่ละชนิดทำให้เกิดโรคต่างกันไป ตัวที่ควรต้องระวังคือเชื้อราเดอร์มาโตไฟต์ซึ่งทำให้เกิดกลาก, เชื้อ Pityrosporum Ocbiculare และเชื้อ Malassezia Furfur ก่อให้เกิดโรคเกลื้อน, เชื้อ Tinea Nigra ทำให้เกิดโรคด่างดำ และเชื้อ Candida ที่เป็นสาเหตุของโรคเชื้อราในช่องคลอด


วิธีกำจัดเชื้อรา

1.ทิ้ง ถ้าเป็นของไม่มีค่าควรนำไปทิ้ง

2.ทำให้แห้งก่อนฆ่าเชื้อ พรม ผนัง วอลล์เปเปอร์ เสื่อน้ำมัน พื้นไม้ กระเบื้องยาง สำรวจดูข้างใต้ว่าเปียกหรือไม่ ถ้าเปียกให้ทำให้แห้ง อาจใช้พัดลมเป่า หรือใช้เครื่องดูดน้ำออก เปิดห้องให้อากาศถ่ายเท และเพื่อลดความชื้นของห้อง

3.เปลี่ยนใหม่ เช่น ฝ้า, ฉนวนหุ้มท่อแอร์

4.ถอดซัก และตากแดดจัดๆ จนกว่าจะแห้งสนิท เช่น ผ้าม่าน, ผ้าปูที่นอน, ผ้าห่ม ฯลฯ ถอดออกไปซักและตากแดดจัดๆ ให้แห้งสนิท

5.เปิดขึ้นไปดูและทำให้แห้งก่อนฆ่าเชื้อ เช่น เส้นใยลดความร้อนที่อยู่ในฝ้าควรเจาะขึ้นไปดู ถ้าพบเชื้อราให้กำจัดส่วนที่มีเชื้อราทิ้ง ส่วนที่ไม่พบเชื้อราให้ทำให้แห้งแล้วใส่น้ำยาฆ่าเชื้อในบริเวณใกล้เคียง


ส่วนเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อเลปโตสไปร่าที่ก่อให้เกิดโรคฉี่หนู โรคนี้มาได้จากทั้งหนูและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ มักจะพบในบริเวณที่น้ำท่วมขัง หรือบริเวณที่ชื้นแฉะ เกิดจากการที่สัตว์ เช่น หนู, สุนัข, แมว, วัว ฯลฯ ปัสสาวะลงในน้ำหรือดิน สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางผิวหนังโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีบาดแผลเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น และยังเข้าสู่ร่างกายได้ทาง หู จมูก และปาก เชื้อจะสามารถอยู่ในธรรมชาติได้นานถึง 30-45 วัน

วิธีทำความสะอาด กำจัดบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง หรือชื้นแฉะโดยการทำให้แห้ง แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด


เชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร เช่น อหิวาตกโรค, โรคบิด, โรคไทฟอยด์

วิธีทำความสะอาด กำจัดบริเวณขยะสด และบริเวณที่แมลงวันตอม ทำความสะอาดพื้นผิวบริเวณที่คาดว่าอาจจะมีอุจจาระปนเปื้อน


เชื้อปรสิต เช่น พยาธิตัวจี๊ด พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน ยุง ฯลฯ
วิธีทำความสะอาด ทำความสะอาดคราบดินทรายต่างๆ ที่อาจมีไข่พยาธิติดมา และถ้ามีเด็กเล็กควรล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร และระวังไม่ให้เด็กเอามือเข้าปากหลังจากคลานบนพื้น รวมทั้งทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง


สารพิษ สารพิษในบ้านที่อาจยังหลงเหลืออยู่บนพื้นบ้านหลังน้ำท่วม

1.ยาฆ่าหนูชนิดก้อน ถ้าซึมเข้าผิวหนังอาจส่งผลต่อระบบประสาททำให้เกิดอาการงุนงง อาเจียน ควรรีบพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการ

2.ยาฆ่าปลวก ถ้าซึมเข้าผิวหนังอาจทำให้เป็นผื่นแดง ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการ

วิธีทำความสะอาด ควรใช้น้ำเปล่าล้างให้สะอาด ถ้าใช้น้ำยาสารเคมีในน้ำยาอาจทำปฏิกิริยากับสารที่ตกค้างได้


สัตว์มีพิษ

1.งู มีงูหลายชนิดที่อาจเข้ามาอาศัยในบ้านเราได้เนื่องจากงูชอบที่แห้ง เช่น งูเหลือม งูเห่า งูจงอาง งูเขียวหางไหม้ งูแมวเซา งูกะปะ ฯลฯ โดยปกติแล้วเมื่อเราย้ายกลับเข้ามาในบ้าน ถ้าไม่มีอาหาร และมีคนอยู่ในบ้านเกิดเสียง งูมักจะย้ายออกไปเองเพราะงูชอบอยู่ในที่เงียบ

วิธีกำจัด หลีกเลี่ยงการมีพื้นที่รกไม่ได้ใช้งานในบ้าน และไม่ให้มีหนูในบ้าน เพราะหนูเป็นอาหารของงู

2.ตะขาบ

วิธีกำจัด กำจัดบริเวณที่รกและแดดส่องไม่ถึง

3.ยุง

วิธีกำจัด กำจัดแหล่งน้ำที่นิ่งขังอยู่ในบ้าน

4.แมงป่อง

วิธีกำจัด กำจัดเศษใบไม้ใบหญ้าที่กองสุมอยู่รอบบ้านออก เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยของแมงป่อง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าน้ำท่วมจะทิ้งความเสียหายไว้มากมาย แต่ทุกคนทุกครอบครัวก็ไม่ควรท้อแท้หรือสิ้นหวังไปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ควรคิดในแง่บวกและให้กำลังใจกัน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ท่านอาจยังรู้สึกสูญเสียที่เห็นบ้านที่อยู่มานานต้องเสียหาย ลูกหลานและคนใกล้ชิดควรช่วยกันดูแลและวางแผนช่วยกันทำความสะอาด กำจัดสัตว์พิษและสิ่งสกปรกอย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติเหมือนเดิม




จาก ....................... บ้านเมือง วันที่ 27 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
29-11-2011, 10:53
'คู่มือประชาชน' ป้องกันโรคร้ายแฝงน้ำท่วม

http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2011/11/col01291154p1.jpg&width=360&height=360

มือสะอาด-ร่างกายสะอาดป้องกันโรค

'มือ' เป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้สัมผัสกับร่างกายของตนเอง และสิ่งแวดล้อมทั่วๆไป ถ้ามือสกปรกก็จะเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคได้ โดยมืออาจเปรอะเปื้อนสิ่งสกปรก เช่น ขยะมูลฝอย อาหารดิบ ฯลฯ

ผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจมีโอกาสที่จะใช้มือสัมผัสน้ำมูก น้ำลายของตัวเอง และเชื้อจะไปปนเปื้อนกับสิ่งของรอบๆตัว ทำให้คนอื่นๆที่ใช้มือหยิบจับสิ่งของเหล่านั้นได้รับเชื้อโรคแล้วนำเข้าสู่ร่างกายเมื่อใช้มือมาจับ ดังนั้นจึงต้องดูแลรักษาให้ "มือสะอาดและมีสุขภาพดี" ตัดเล็บมือให้สั้นอยู่เสมอ กรณีมีแผลที่มือและนิ้วมือต้องรักษาให้หายหรือใส่ยา ปิดปลาสเตอร์ไว้ และล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจล ทำความสะอาดมือทุกครั้ง

- หลังไอ จาม หรือสั่งน้ำมูก

- ก่อนและหลังจากสัมผัสผู้ป่วย

- ก่อนรับประทานอาหาร

-ก่อนและหลังการเตรียม และป้อนอาหารให้

วิธีที่ง่ายสะดวก และประหยัดที่สุดคือ การล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด โดยถูซอกนิ้วมือ ฝ่ามือ หลังมือ และรอบข้อมือให้ทั่วถึง แล้วเช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าสะอาด


การดูแลบาดแผล

บาดแผลที่ดูแลไม่ดี อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น เช่น แผลติดเชื้อจากแบคทีเรีย เกิดหนอง เป็นแผลเรื้อรัง เกิดการเน่าของเนื้อเยื่อ จนบางครั้งอาจทำให้ต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นทิ้งไป หรือเสียชีวิตได้ การปฏิบัติเมื่อเกิดบาดแผลมีดังนี้

- แผลข่วน แผลถลอก หรือแผลแยกของผิวหนังที่ไม่ลึก จะมีเลือดออกเล็กน้อย และหยุดเองได้ แผลพวกนี้ไม่ค่อยมีอันตราย ให้ทำความสะอาดบาดแผล โดยใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน และปิดปากแผล แผลก็จะหายเอง

- แผลฉีกขาด เป็นแผลที่เกิดจากแรงกระแทก หากเป็นวัสดุที่ไม่มีคม แผลมักฉีกขาดขอบกะรุ่งกะริ่ง แผลชนิดนี้เนื้อเยื่อถูกทำลายและมีโอกาสติดเชื้อมาก ควรทำความสะอาดบาดแผลให้สะอาด ถ้าบาดแผลลึกมากควรนำส่งโรงพยาบาล เพราะผู้ป่วยอาจได้รับอันตรายจากการติดเชื้อโรค


การปฏิบัติตัวเมื่อถูกสัตว์ แมลงมีพิษกัด

'งูกัด' เป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจพบได้กรณีน้ำท่วม ผู้ถูกงูกัดควรดูแลรักษาตนเองเบื้องต้น ดังนี้

- ตั้งสติให้ดี อย่าตกใจเกินเหตุ เนื่องจากผู้ถูกงูกัดบางรายที่ถูกงูพิษกัดอาจไม่ได้รับพิษ เพราะบางครั้งงูพิษกัด แต่ไม่ปล่อยพิษออกมา หรืองูพิษตัวนั้นได้กัดสัตว์อื่นมาก่อนและไม่มีน้ำพิษเหลือ ในกรณีที่ได้รับพิษงู ผู้ถูกงูกัดจะไม่เสียชีวิตหรือมีอาการอันตรายร้ายแรงทันที ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาที จึงจะเริ่มมีอาการรุนแรง

- ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด (ถ้ามี) ห้ามทำสิ่งต่อไปนี้ คือ กรีดแผล ดูดแผล ใช้ไฟ/ไฟฟ้าจี้ที่แผล โปะน้ำแข็ง สมุนไพรพอกแผล ดื่มสุรา กินยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของแอสไพริน การกระทำเหล่านี้ไม่ช่วยรักษาผู้ถูกงูกัด แต่จะมีผลเสีย และที่สำคัญทำให้เสียเวลาที่จะนำส่งผู้ถูกงูกัดไปสถานพยาบาล

- เคลื่อนไหวร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ถูกงูกัดให้น้อยที่สุด การเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ อาจจะทำให้มีการดูดซึมพิษงูจากบริเวณที่ถูกกัดเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดมากขึ้น และถ้าทำได้ให้ใช้ไม้ดามบริเวณที่ถูกงูกัดและใช้ผ้าพันยึดหรือผ้าสะอาดพันทับให้แน่นพอประมาณ คล้ายการปฐมพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหัก หรือข้อมือ ข้อเท้าซ้น

- ไม่ควรขันชะเนาะ อาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดเป็นเนื้อตาย

- นำส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เร็วที่สุด

- ระหว่างการนำส่ง ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ช่วยให้หายใจ เช่น การช่วยหายใจแบบปากต่อปาก จะช่วยชีวิตผู้ป่วยได้นานพอที่จะไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลได้ เพราะงูพิษบางอย่าง เช่น งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม และงูทับสมิงคลา มีพิษทำให้ร่างกายเป็นอัมพาตทั้งตัว ผู้ถูกงูกัดจะเสียชีวิตจากการหยุดหายใจ

http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2011/11/col01291154p2.jpg&width=360&height=360

โรคติดต่อที่พบบ่อย ช่วงน้ำท่วมและหลังน้ำลด

'โรคผิวหนัง' ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคน้ำกัดเท้า โรคผิวหนังจากเชื้อรา แผลพุพองเป็นหนอง เป็นต้น ซึ่งเกิดจากการย่ำน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรค หรือความอับชื้นจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาด ไม่แห้งเป็น เวลานาน

อาการในระยะแรกอาจมีอาการเท้าเปื่อย และเป็นหนอง ต่อมาเริ่มมีอาการคันตามซอกนิ้วเท้า และผิวหนังลอกออกเป็นขุย มีผื่น ระยะหลังๆ ผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง นิ้วเท้าหนาและแตก อาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ผิวหนังอักเสบได้

การดูแลตนเองเบื้องต้น ควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำโดยไม่จำเป็น ถ้าจำเป็นต้องย่ำน้ำ ควรใส่รองเท้าบู๊ตกันน้ำ และเมื่อกลับเข้าบ้าน ควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด แล้วเช็ดเท้าให้แห้ง สวมใส่ถุงเท้า รองเท้า และเสื้อผ้าที่สะอาดไม่เปียกชื้น หลังย่ำน้ำใช้น้ำสะอาดใส่ถัง เกลือแกง 1-2 ช้อนชา แช่เท้า 10 นาที เช็ดให้แห้ง และหากมีอาการเท้าเปื่อย คัน ให้ทายารักษาตามอาการ

หากมีบาดแผล ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดแผล แล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน

ถ้าป่วยเป็น 'โรคตาแดง' การดูแลตนเองเบื้องต้นนั้นเมื่อมีอาการของโรค ควรพบแพทย์เพื่อรับยาหยอดตา หรือยาป้ายตาป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยใช้ติดต่อกันประมาณ 7 วัน หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้แก้ปวดตามอาการ หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่บ่อยๆ ไม่ควรขยี้ตา อย่าให้แมลงตอมตา และไม่ควรใช้สายตามากนัก ผู้ป่วยควรนอนแยกจากคนอื่นๆ และไม่ใช้สิ่งของต่างๆร่วมกัน และไม่ควรไปในที่มีคนมาก เพื่อไม่ให้โรคแพร่

ถ้ามีอาการปวดตารุนแรง ตาพร่ามัว หรืออาการไม่ทุเลาภายใน 1 สัปดาห์ต้องรีบพบแพทย์อีกครั้ง

สำหรับ 'โรคอุจจาระร่วง' หากผู้ป่วยเป็นเด็กที่ดื่มนมแม่ ให้ดื่มนมต่อได้ตามปกติ พร้อมป้อนสารละลายน้ำตาลเกลือแร่บ่อยๆ

หากผู้ป่วยเป็นเด็กที่ดื่มนมผงชง ให้ผสมนมจางลงครึ่งหนึ่งของที่เคยดื่ม และให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่สลับกันไป

ไม่ควรกินยาเพื่อให้หยุดถ่าย เพราะจะทำให้เชื้อโรคค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งจะเป็นอันตรายมากขึ้น

ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหรืออาหารเหลวมากๆ ให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (โออาร์เอส) หรือเตรียมสารละลายเกลือแร่เอง โดยผสมน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ กับเกลือป่นครึ่งช้อนชา ละลายในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 ขวดกลม หรือ 750 ซีซี ให้ผู้ป่วยดื่มบ่อยๆ ทดแทนน้ำและเกลือแร่ หากดื่มไม่หมดใน 1 วัน ให้เททิ้ง

หากมีอาการมากขึ้น เช่น อาเจียนมาก ไข้สูง ชักหรือซึมมาก ต้องไปพบแพทย์โดยเร็ว

ข้อมูลจาก : คู่มือประชาชนสำหรับป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม, สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข



น้ำดื่ม-น้ำใช้สะอาด

วิธีการทำน้ำดื่ม-น้ำใช้ให้สะอาด

1. ต้มให้เดือดนาน 5 นาที เพื่อทำลายเชื้อโรคในน้ำ และช่วยทำลายความกระด้างของน้ำได้ น้ำที่นำมาต้มควรเป็นน้ำที่ใสสะอาดผ่านการกรองหรือทำให้ตกตะกอนแล้ว

2. ใช้สารส้มกวนในน้ำ สังเกตตะกอนในน้ำเริ่มจับตัว นำสารส้มออกใช้มือเปล่ากวนน้ำต่ออีก 1-2 นาที ตั้งทิ้งไว้จนตกตะกอน ใช้สายยางจุ่มไปที่ก้นภาชนะบริเวณที่เกิดตะกอน ดูดตะกอนออกจนหมด เหลือแต่น้ำใส เติมคลอรีนตามปริมาณและวิธีการที่กำหนดก่อนการนำไปใช้

3. การใช้คลอรีน เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ทำได้โดย

- คลอรีนชนิดผง ผสมผงปูนคลอรีน 60% ในอัตราส่วนคลอรีน 1/2 ช้อนชาในน้ำ 1 แก้ว คนให้เข้ากันทิ้งไว้ให้ตกตะกอน รินเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำใสผสมในน้ำสะอาด 10 ปี๊บ ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีก่อนนำไปใช้

- คลอรีนชนิดเม็ด มีหลายขนาด เช่น ขนาด 2.5 กรัม 3 กรัม หรือ 5 กรัมต่อเม็ด ให้ผสมน้ำในสัดส่วนตามฉลากที่ระบุไว้ข้างกระป๋อง

- คลอรีนชนิดน้ำ ใช้หยดลงในน้ำ 1-2 หยดต่อน้ำ 1 ลิตร

4. ปิดฝาภาชนะใส่น้ำให้มิดชิด และจัดให้มีภาชนะที่สะอาดสำหรับตักน้ำ ในกรณีใช้น้ำดื่มบรรจุขวด จะต้องดูตราเครื่องหมาย อย. (ก่อนดื่มให้สังเกตความสะอาดของน้ำภายในขวดว่ามีสิ่งปลอม ปนหรือไม่) ควรทำลายขวด ภาชนะบรรจุโดยทุบบีบให้เล็กลง ก่อนนำไปทิ้งในถุงดำ เพื่อง่ายและสะดวกต่อการนำไปกำจัด


อาหารสุก-สะอาดปลอดภัย

การใส่ใจอาหารที่รับประทาน ตั้งแต่วัตถุดิบ เครื่องปรุง ภาชนะที่ใช้ในการประกอบอาหาร ภาชนะใส่อาหาร ต้องสะอาด ถูกสุขลักษณะ เก็บรักษาอาหารให้มิดชิดปลอดภัยจากแมลงวันและสัตว์นำโรคเป็นสิ่งสำคัญ ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่เน่าเสียได้ง่าย เพื่อป้องกันการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ต้องมีพฤติกรรมอนามัยที่ถูกต้อง คือ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังขับถ่าย

ในสถานการณ์น้ำท่วม หากได้รับอาหารกล่อง หรืออาหารบรรจุถุงพร้อมบริโภค ควรกินภายใน 2-4 ชั่วโมง ไม่ควรเก็บอาหารไว้นานๆ ข้ามมื้ออาหาร สังเกตลักษณะสภาพ สี กลิ่นของอาหารว่า บูด เสีย หรือไม่ หากอาหารมีลักษณะผิดปกติ ห้ามชิมหรือกิน ให้ทิ้งในถุงดำ และนำไปกำจัดต่อไป หากต้องนำอาหารค้างมื้อมากินควรอุ่นให้สุกอย่างทั่วถึงก่อน

อาหารจากการบริจาค เช่น อาหารแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเครื่องกระป๋อง ก่อนจะบริโภค ควรตรวจวันหมดอายุ หรือดูสภาพ สี กลิ่นและภาชนะบรรจุ หากหมดอายุหรือมีลักษณะผิดปกติให้ทิ้งทันที




จาก ....................... ข่าวสด วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
30-11-2011, 08:05
ปฏิบัติการตรวจสอบไฟฟ้า!! รู้ระวังก่อนใช้หลังน้ำลด

http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/30/newspaper/p4thurl.jpg

ภาวะน้ำท่วมขณะนี้แม้จะยังไม่สิ้นสุด บางพื้นที่ยังคงมีระดับน้ำสูงแต่ทว่าบางพื้นที่น้ำเริ่มลดระดับลง ขณะที่บางบ้านเรือนเร่งทำความสะอาดเตรียมขนย้ายสัมภาระกลับเข้าที่พักดังเดิม

ช่วงน้ำท่วมนอกเหนือจากอันตรายจากสัตว์มีพิษ การใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ คงต้องยิ่งเพิ่มความระมัดระวัง เช่นเดียวกับช่วงเวลาที่สถานการณ์น้ำเริ่มคลี่คลาย

ทวายุทธ เรืองมาลัย ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกบำรุงรักษาระบบจำหน่าย การไฟฟ้านครหลวงเขตบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ให้ความรู้แนะนำถึง การใช้ไฟฟ้าหลังน้ำท่วม พร้อมเล่าถึงปฏิบัติการไฟฟ้าของเจ้าหน้าที่ช่วงวิกฤติน้ำท่วมว่า การใช้ไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ใดๆ ควรต้องมีความรู้ความเข้าใจ โดยเฉพาะช่วงน้ำท่วมไม่ว่าจะเป็นช่วงที่น้ำมาใหม่ๆ กำลังเริ่มท่วม หรือแม้แต่สถานการณ์ขณะนี้ที่ระดับน้ำเริ่มลดลง

“ช่วงแรกที่น้ำกำลังท่วม เวลานั้นมีความโกลาหลเกิดขึ้นไม่น้อย ทั้งเรื่องการอพยพ ขนย้ายสิ่งของไว้ในที่สูงเพื่อให้พ้นจากน้ำฯลฯ ปัญหาที่เกิดกับไฟฟ้าที่พบเวลาที่น้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้นมากๆ มีทั้งเรื่องของมิเตอร์ไฟฟ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ปลั๊กไฟที่น้ำท่วมถึงจมน้ำฯลฯ ก็จะมีผู้โทรฯ เข้ามาแจ้งขอให้เจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยแก้ไขอย่างต่อเนื่องซึ่งพวกเราก็เร่งเข้าไปดำเนินการแก้ไขเพื่อให้เกิดความปลอดภัย”

อย่างกรณีการเลื่อนมิเตอร์ไฟให้พ้นจากน้ำท่วม ต้องทำงานแข่งกับเวลาที่มีอย่างจำกัดทำงานกันหามรุ่งหามค่ำ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับประชาชน อุปสรรคก็มีอยู่ไม่น้อยทั้งเรื่องการเดินทาง โดยช่วงน้ำท่วมซึ่งไม่สามารถเดินทางได้เหมือนในยามปกติต้องใช้เวลา ถนนหลายสายน้ำท่วมสูงก็ต้องใช้เรือเป็นพาหนะเพื่อเข้าไปในพื้นที่ ขณะที่รถก็วิ่งได้ตามเส้นทางที่ยังผ่านไปได้เท่านั้น

“ช่วงน้ำท่วมปัญหาที่เกิดขึ้นกับไฟฟ้าพบหลายส่วน บางบ้านน้ำท่วมมิดหลังคาบ้าน ขณะที่บางบ้านน้ำเข้าไปในบ้านท่วมปลั๊กไฟฯลฯ อย่างในเขตพื้นที่บางใหญ่ บางบัวทองซึ่งที่นี่มีน้ำท่วมสูง เจ้าหน้าที่ภาคสนามที่ปฏิบัติงานเร่งระดมสรรพกำลังแก้ไขให้บริการแก่ประชาชนซึ่งนาทีการปฏิบัติงานเป็นเหมือนนาทีชีวิตที่เราจะต้องเข้าไปบรรเทาความเดือดร้อน ดูแลให้เกิดความปลอดภัยอย่างที่สุด”

จากที่กล่าวในเรื่องของไฟฟ้าต้องมีความรู้ความเข้าใจ ถึงแม้เราจะเป็นช่างเป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้วก็ตามก็ไม่อาจประมาทได้ ยิ่งภาวะนี้ที่น้ำท่วมขังต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ทั้งนี้การทำงานทางน้ำอาจมีอันตรายรอบด้านที่อาจคาดไม่ถึงเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นพาหนะที่เปลี่ยนจากรถมาเป็นเรืออันตรายจากสัตว์มีพิษหรือสัตว์เลื้อยคลานที่หนีน้ำขึ้นมาบนต้นไม้ หรือเสาไฟฟ้าฯลฯ

“การปฏิบัติงานในสถานการณ์ดังกล่าว ความแห้งถือเป็นสิ่งสำคัญ และแม้เจ้าหน้าที่จะมีอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลไม่ว่าจะเป็น หมวก ถุงมือ เสื้อผ้าที่ออกแบบสำหรับป้องกันไฟฯลฯ ช่วยป้องกันภัยระดับหนึ่ง แต่อย่างไรแล้วในภาวะน้ำท่วมจำเป็นจะต้องป้องกันตนเองไม่ให้ร่างกายเปียกชื้นและต้องเพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้น”

ส่วนเวลานี้ที่หลายพื้นที่น้ำเริ่มลดระดับลง การจะใช้ไฟฟ้าอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ไฟ ต้องไม่ประมาทควรตรวจสอบให้พร้อม โดยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญและการที่มีน้ำอยู่ในบ้านไม่ว่าจะเป็นระดับใดก็ตามนั้นไม่ควรใช้ไฟฟ้าและอาศัยอยู่

อย่างไรก็แล้วแต่ก็เข้าใจดีว่าผู้ที่จากบ้านไปนานย่อมมีความเป็นห่วงบ้าน ดังนั้นการจะใช้ชีวิตอยู่ในบ้านอย่างปลอดภัย ถ้ามีน้ำท่วมขังในบ้านต้องตัดไฟยกเมนเบรกเกอร์ลงตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีไฟฟ้า หากมีความกังวลควรติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วซึ่งเครื่องมือดังกล่าวจะช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นไฟรั่วเล็กๆน้อยๆ หรือกรณีที่ยกเบรกเกอร์ลงแล้วแต่พบว่ายังมีไฟฟ้าอยู่ควรแจ้งเจ้าหน้าที่มาตัดไฟและระหว่างรอพยายามอยู่ให้ห่างจากบริเวณที่มีไฟฟ้า

“กรณีที่บ้านพักอาศัยเริ่มคืนกลับสู่ภาวะปกติ บ้านควรต้องแห้งสนิทไม่ควรมีน้ำท่วมขังอยู่ แต่หากมีความจำเป็นจะกลับเข้ามาอยู่อาศัยก็ควรให้ผู้ที่มีความชำนาญมาตรวจสอบให้แน่ใจก่อน ส่วนการจะใช้ไฟฟ้าต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งการใช้ไฟฟ้าตัวต้องไม่เปียกชื้นต้องแห้งห้ามสัมผัสน้ำฯลฯ ซึ่งสิ่งที่มักเป็นปัญหาคือ ไฟดูด ไฟรั่ว”

สำหรับ ปลั๊กที่น้ำท่วมถึงจมอยู่ในน้ำแนะนำว่าควรเปลี่ยนใหม่ ทั้งนี้เพราะด้านในปลั๊กซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ทองเหลือง ทองแดง เมื่อแช่น้ำอยู่นานอาจมีคราบสกปรกหรือมีสนิม คราบดิน คราบน้ำอยู่ในนั้นอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร เกิดความร้อนขึ้นโดยง่าย

นอกจากนี้ยังมีคำถามพบบ่อยกรณี ระยะปลอดภัยจากจุดเกิดเหตุหรือสงสัยว่ามีไฟฟ้ารั่วอยู่ในน้ำ สิ่งนี้คงต้องพิจารณาหลายปัจจัยประกอบกัน ทั้งนี้เพราะเพียงแค่น้ำสะอาด น้ำสกปรกการนำไฟฟ้าก็มีความต่างกัน ยิ่งบริเวณนั้นมีโลหะอยู่ใกล้ๆ ยิ่งมีความอันตราย ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย จึงควรหลีกเลี่ยงและออกห่างจากจุดที่สงสัยว่าจะมีไฟรั่ว สังเกตจากบริเวณที่มีน้ำท่วมอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการต่อหรือเสียบปลั๊กใช้อยู่ นอกจากนี้ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าหรือช่างไฟให้ทำการตัดไฟทันที หรือหาวิธีปลดเมนสวิตช์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์โดยเร็ว เป็นต้น

อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่แช่น้ำอยู่นาน หากเปลี่ยนได้ก็ควรเปลี่ยน แต่หากมีความประสงค์ใช้งานควรให้ช่างไฟฟ้าที่มีความรู้ความชำนาญตรวจสอบก่อนว่าสามารถนำกลับมาใช้ได้หรือไม่ ทั้งนี้การนำมาใช้โดยทันทีอาจทำให้เกิดอันตรายไฟฟ้าลัดวงจร ไฟลุกไหม้ ฯลฯ

“การตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ให้มีความพร้อมก่อนนำมาใช้นั้นมีความสำคัญ และไม่ควรแก้ไขด้วยตนเอง ควรให้ช่างไฟฟ้าที่มีความรู้ความชำนาญเป็นผู้ตรวจสอบ นอกจากนี้หลังน้ำลด ควรตรวจสอบสภาพสายไฟฟ้า โดยสายไฟควรมีสภาพสมบูรณ์ไม่แตกร้าว ไม่บวม ไม่เปียกชื้น เช่นเดียวกับ เต้ารับ สวิตช์ ชนิดติดตั้งบนผนังต้องมีสภาพสมบูรณ์ไม่เปียกชื้นหรือแตกเสียหายและแห้งสนิทไม่มีน้ำขังในรูปลั๊ก”

การใช้ไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นในสถานการณ์ใดผู้ช่วยหัวหน้าแผนกบำรุงรักษาระบบจำหน่ายฯ แนะนำฝากทิ้งท้ายอีกว่า สิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือ ความไม่ประมาทและหากพบเห็นสิ่งใดที่ผิดปกติเกี่ยวกับไฟฟ้า ควรแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเพื่อเข้าไปดำเนินการแก้ไขให้เกิดความปลอดภัย

ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมคงต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้น เพราะน้ำกับไฟเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน และก่อนจะกลับเข้าพักอาศัยในบ้านช่วงเวลานี้ที่น้ำเริ่มลดระดับลงควรวางแผนเตรียมความพร้อมไว้แต่เนิ่น ๆ สำหรับการตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้จะได้เกิดความแน่ใจ ความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า.


..............................................................................................


ข้อควรปฏิบัติห่างไกลอันตรายไฟฟ้าดูด

ไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันโดยเฉพาะช่วงหน้าฝนหรือคราวเกิดอุทกภัย น้ำท่วมขังภายในบ้าน หากไม่มีการป้องกัน ตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าก็อาจเป็นต้นเหตุให้เกิด ไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าลัดวงจรก่อเกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินได้

ส่วนหนึ่งจาก คู่มือข้อควรปฏิบัติการใช้ไฟฟ้าก่อนและหลังน้ำท่วมที่การไฟฟ้านครหลวง เผยแพร่แนะนำการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดว่าควรหลีกเลี่ยง สังเกต และเพิ่มความระมัดระวังในสิ่งต่อไปนี้

1. กิ่งไม้ใกล้แนวสายไฟฟ้า กิ่งไม้อาจถูกลมพัดไปแตะสายไฟฟ้าแรงสูงจึงไม่ควรเข้าใกล้หรือจับต้องต้นไม้เพราะอาจถูกไฟฟ้าดูดได้

2. สายไฟขาด หากพบสายไฟฟ้าขาดห้อยลงมาอย่าเข้าไปใกล้เป็นอันขาดเพราะอาจจะมีกระแสไฟฟ้าอยู่

3. เสาโคมไฟสาธารณะ ที่เป็นเสาเหล็กอย่าเข้าไปแตะหรือจับเสาเพราะอาจจะมีกระแสไฟฟ้ารั่ว




จาก ....................... เดลินิวส์ คอลัมน์วาไรตี้ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
30-11-2011, 08:09
รา...ไม่ได้รับเชิญ

http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2011/11/24/images/news_img_421151_1.jpg

ตู้ โต๊ะ เตียง โซฟา ผ้าม่าน พรมตลอดจนเครื่องใช้อื่นๆ ที่จมน้ำอยู่นานร่วมเดือน ดูดซับความชื้นไว้เต็มทุกอณู อัดแน่นด้วยเชื้อรา แบคทีเรียและรา

ตู้ โต๊ะ เตียง โซฟา ผ้าม่าน พรมตลอดจนเครื่องใช้อื่นๆ ที่จมน้ำอยู่นานร่วมเดือน ดูดซับความชื้นไว้เต็มทุกอณู อัดแน่นด้วยเชื้อรา แบคทีเรียและสารพัดเชื้อโรค

การทำความสะอาดหลังน้ำท่วม ซึ่งผนังบ้านและสิ่งของเครื่องใช้ต่างมีคราบเชื้อราเกาะติด ศ.เกียรติคุณ นายแพทย์สว่าง แสงหิรัญวัฒนา หัวหน้าศูนย์ระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัย ถุงมือยางและรองเท้าบูต เพื่อลดโอกาสการสัมผัสและสูดดมเชื้อรา ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบตามมาได้

"ความเสี่ยงของการทำความสะอาดบ้านที่ถูกน้ำท่วม ประเด็นแรกที่ต้องระวังคือไฟฟ้า ต้องแน่ใจว่าบ้านเราหรือละแวกใกล้เคียงไม่มีปัญหาเรื่องไฟรั่ว เพราะจากเหตุการณ์น้ำท่วมปีนี้ ไฟฟ้าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตผู้คนจำนวนมาก จากนั้นจึงมองมาที่เรื่องของการทำความสะอาดบ้านที่มีเชื้อราในบ้าน" คุณหมอแนะนำ

วิธีทำความสะอาดบ้านแบบเสี่ยงน้อยที่สุด ควรเลือกทำในช่วงที่ยังมีน้ำอยู่ ไม่ควรรอจนน้ำแห้ง เพราะจะทำให้สปอร์ของราหรือคราบน้ำท่วมแห้งจนเกิดเป็นฝุ่น เมื่อลงมือปัดกวาดแล้วจะฟุ้งกระจายไปทั่ว จนเข้าจมูกลงสู่ปอด ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อได้

ผู้ที่มีโรคประจำตัวต้องระวังตัวเองเป็นพิเศษ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อราด้วยมือเปล่า เพราะเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบต่อโรคที่เป็นอยู่มากกว่าคนปกติ ควรสวมเสื้อผ้า หน้ากากอนามัยให้มิดชิด โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นปอดอักเสบ ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์ ผู้ป่วยหอบหืด โรคภูมิแพ้ตัวเอง (เอสแอลอี) หรือโรคพุ่มพวง โรคไต มะเร็งเม็ดเลือดขาวซึ่งต้องรับเคมีบำบัด รวมทั้งผู้ที่ป่วยเรื้อรังซึ่งต้องรับยากดภูมิต้านทาน

เครื่องใช้อย่างตู้ เตียง โต๊ะ โซฟา ผ้าม่าน หากเกิดเชื้อราหลังน้ำท่วม คุณหมอย้ำว่า ต้องโละทิ้ง อย่าเสียดาย เพื่อกำจัดแหล่งสะสมของเชื้อราในบ้าน เพราะการทำความสะอาดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เพิ่มความเสี่ยงในการสะสมเชื้อราไว้ในบ้าน และเมื่ออากาศแห้ง สปอร์ราจะฟุ้งกระจายจนเข้าทางเดินหายใจ จนทำให้เกิดการติดเชื้อที่ปอดได้

เครื่องปรับอากาศเป็นเครื่องใช้อีกชิ้นหนึ่ง ที่ควรเรียกช่างเฉพาะทางมาล้างทำความสะอาด เพราะความชื้นที่เกิดจากน้ำท่วมอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา เจริญเติบโตจนเป็นแหล่งเพาะเชื้อได้

อีกปัญหาที่หลายคนอาจพบคือ น้ำท่วมรถยนต์คันโปรดจนเกิดคราบตะไคร้และเชื้อราภายใน สิ่งแรกคือควรเปลี่ยนเบาะใหม่ เพราะการตากแดด ผึ่งลมไม่ทำให้เชื้อราตายจากรถไปได้ รวมถึงควรมีการล้างระบบทำความเย็นของตัวรถใหม่ทั้งหมด ก่อนที่จะนำกลับมาใช้งานใหม่ เนื่องจากสปอร์เชื้อรามีความทนต่อสภาพอากาศ และสามารถฟุ้งกระจายในอากาศได้ตลอดเวลา

นายแพทย์สว่าง กล่าวต่อว่า ไม่ว่าเด็กๆหรือผู้ใหญ่ก็ไม่ควรเล่นน้ำที่ท่วมขัง เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงรับเชื้อโรคในน้ำได้ อาการที่สังเกตได้เองว่าติดเชื้อจากการสำลักน้ำจากแหล่งน้ำท่วมขังเข้าไป เช่น ไอ มีไข้ เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก

"อาการของปอดติดเชื้อจากการสำลักน้ำ แม้การจะคล้ายกับโรคหวัดตรงที่มีอาการไอ มีไข้เหมือนกัน แต่มีจุดที่ต่างกันคือ การติดเชื้อจากน้ำนั้นจะไม่มีอาการปวดเมื่อยและไม่มีน้ำมูก อาการรุนแรงกว่าหวัดทั่วไปและเรื้อรังนานกว่า อาจใช้เวลารักษานานถึง 2 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นก็ได้"

การรักษาผู้ที่มีประวัติเคยสำลักน้ำและปอดติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลไม่ใช่แค่คลินิกใกล้บ้าน เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอย่างละเอียด รวมถึงวางแผนรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อ บางรายอาจต้องได้ให้ออกซิเจนเพื่อทำให้ระบบทางเดินหายใจคล่องขึ้น

เหล่านี้เป็นเพียงวิธีป้องกันตัวเองแบบเบื้องต้นที่หลายคนควรรู้ ก่อนที่จะปฏิบัติการล้างบ้านหลังน้ำลด เพื่อรู้จักป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคที่คาดไม่ถึง

"หากเกิดอาการผิดปกติที่กล่าวมา โดยเฉพาะในเด็กซึ่งโรงเรียนยังไม่เปิดหรือจะพบในผู้ใหญ่ ล้วนต้องพบแพทย์ทันที เพราะการติดเชื้อในปอดไม่สามารถหายได้เอง แต่ต้องได้รับการรักษาเท่านั้น" แพทย์สมิติเวช สุขุมวิท กล่าว




จาก ...................... กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์ สุขภาพ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554

Kungkings
30-11-2011, 09:06
แค่คิด...นู๋ก็รู้สึกเหนื่อยแล้วละคะ ไม่รู้จะเริ่มที่ตรงไหนดี หากน้ำแห้ง

สายน้ำ
01-12-2011, 08:15
เช็กอาการ... เยียวยา 'เฟอร์นิเจอร์จมน้ำ'

http://pics.manager.co.th/Images/554000016118604.JPEG

ได้เวลาล้างบ้าน หลังปลาวาฬลงทะเล ไม่ว่าใครก็อยากได้บ้านหลังเก่ากลับคืนมาเหมือนเดิม โดยเฉพาะกับเฟอร์นิเจอร์ชิ้นโปรดที่อยู่ด้วยกันจนเข้าใจ Taste มีเคล็ดลับชุบชีวิตเฟอร์นิเจอร์ให้กลับมาเคียงข้างคุณอีกครั้ง

ผู้เชี่ยวชาญด้านเฟอร์นิเจอร์ พิริยะ บุญกิตติวัฒนา บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด แนะว่า การดูแลรักษาในภาวะปกติอาจทำได้ง่ายๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์จากไม้ อาจใช้แค่ผ้านุ่ม ไม้ขนไก่ปัดฝุ่นเท่านั้นก็เพียงพอ แต่สำหรับเฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งบ้านที่เสียหายหลังจากน้ำท่วม ที่สภาพยังสามารถนำมาใช้งานได้ มีหลักการทั่วไปในการทำความสะอาดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ คือ ต้องพยายามเอาความชื้นออกจากเฟอร์นิเจอร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

http://pics.manager.co.th/Images/554000016118602.JPEG

1.เฟอร์นิเจอร์ไม้

หากทำจากไม้จริง (Solid Wood) ให้ทำความสะอาดคราบสกปรก ตะไคร่น้ำ โดยใช้แปรงขนอ่อนชุบด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน จากนั้นเช็ดให้แห้ง และวางไว้ในร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อให้ไม้คายความชื้นออกไป

ห้ามนำเฟอร์นิเจอร์ไม้ตากแดดโดยเด็ดขาด เพราะไม้อาจแตกหรือคดงอได้ เมื่อความชื้นหมดแล้ว อาจใช้สี หรือแลกเกอร์ทาเพิ่มเติม เพื่อความเงางามขึ้นก็ได้ (วิธีการทดสอบความชื้นแบบง่ายๆ ใช้แผ่นพลาสติกขนาดพอประมาณ ใช้เทปกาวแปะติดผิวบนเฟอร์นิเจอร์ ทิ้งไว้ 1-2 วัน สังเกตหากมีไอน้ำขึ้นที่พลาสติกแสดงว่ายังคงมีความชื้นหลงเหลืออยู่)

ส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากชิ้นไม้อัด (Particle Board ) ในกรณีที่โดนความชื้นจากน้ำเพียงเล็กน้อยอาจนำมาวางในที่ร่ม เพื่อไล่ความชื้น ถ้ากังวลเรื่องการเกิดเชื้อราหรือกลิ่นอับ อาจใช้ Nonoclean by Nanoyo ฉีดพ่นเพื่อลดการเกิดเชื้อราและกลิ่นอับชื้นต่างๆได้


2.เฟอร์นิเจอร์โลหะ

โลหะมีทั้งประเภทที่เป็นสนิม เหล็ก,ทองแดง,ทองเหลือง เป็นต้น และประเภทปลอดสนิม เช่น สเตนเลส อะลูมิเนียม หากถูกความชื้นสูง หรือแช่น้ำเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดสนิมหรือเป็นคราบหมองได้ วิธีแก้ไขเบื้องต้น คือ ใช้แปรงขนนุ่มขัดสนิมออก โดยอาจใช้น้ำยาขัดสนิมเพื่อทุ่นแรงในการขัดถูได้ดีกว่า เช็ดล้างทำความสะอาด อย่าให้มีรอยเปื้อนค้างอยู่

จากนั้นทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว ป้องกันการเกิดสนิมอีกขั้น ด้วยการทาสีทับ ซึ่งจะช่วยทำให้เฟอร์นิเจอร์ดูใหม่ขึ้น หากเป็นโลหะประเภทสเตนเลสซึ่งปลอดสนิมใช้แค่แปรงขนนุ่มชุบด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ เช็ดทำความสะอาด สำหรับ บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจ ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตจากโลหะ ให้เช็ดให้แห้งสนิท ขัดส่วนที่เป็นสนิมออกให้หมด ใช้พวกน้ำยาหล่อลื่นชโลมตามจุดรอยต่อและรูต่างๆให้ทั่ว ห้ามใช้จาระบี หรือพวกขี้ผึ้งทา เพราะจะทำให้ความชื้นระเหยออกไม่ได้จะทำให้ฝังอยู่ข้างในและจะเป็นปัญหาในภายหลัง


3.เฟอร์นิเจอร์หนัง

ใช้สบู่ที่มีส่วนผสมของมอยซ์เจอไรเซอร์ เทลงบนแปรงขนนุ่ม หรือผ้าที่เปียกหมาดๆ ทำให้เกิดฟองเล็กน้อย นำไปเช็ดถู เครื่องหนังที่ต้องการทำความสะอาด โดยอย่าให้เปียกน้ำมากเกินไป เช็ดฟองสบู่ออก ด้วยผ้าที่เปียกหมาดๆอีกผืน จากนั้นใช้ผ้าขนหนูแห้งเช็ดอีกครั้ง และอาจใช้น้ำยา แวกซ์ หรือ ครีมบำรุงรักษาเพิ่มความเงางามอีกครั้ง ไม่ควรนำเฟอร์นิเจอร์หนังไปตากแดดเพราะอาจทำให้หนังแตกและสีซีดจางได้

http://pics.manager.co.th/Images/554000016118603.JPEG

4.เฟอร์นิเจอร์ผ้า

เฟอร์นิเจอร์ที่มีส่วนประกอบจากผ้า หากโดนน้ำขังเป็นเวลานานๆ จะสกปรกมีคราบเลอะ อาจก่อให้เกิดเชื้อโรคสะสมและมีกลิ่นเหม็นอับ หากเป็นเฟอร์นิเจอร์ ที่สามารถแกะมาทำความสะอาดได้ ก็สามารถนำออกมาล้างน้ำทำความสะอาด และตากให้แห้งสนิท หากเป็นแบบสำเร็จรูป ที่ไม่สามารถแกะมาได้ ควรทิ้งในทันทีเพราะหากนำมาใช้จะกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และมีผลเสียต่อสุขภาพ ในกรณีที่เกิดรอยเปื้อนเพียงเล็กน้อยอาจหาผ้ามาหุ้มใหม่ได้ และหากต้องการยับยั้งการเกิดเชื้อราและลดกลิ่นอับของผ้า อาจใช้ Nonoclean by Nanoyo ฉีดพ่นเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวได้


5.เฟอร์นิเจอร์หินหรือกระจก

หินหรือกระจก เป็นวัสดุที่ทนแดด ทนน้ำ แต่หากโดนน้ำท่วมขังนานๆ ก็จะก่อให้เกิดคราบสกปรกได้ เพียงแค่ใช้น้ำยาทำความสะอาด ใช้ผ้าหรือแปรงที่มี ขนอ่อนนุ่ม ขัดถูให้สะอาด ก็สามารถนำมาใช้งานต่อได้แล้ว

หลังทำความสะอาดและซ่อมแซม เฟอร์นิเจอร์ ที่โดนน้ำท่วมให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้แล้ว อย่าลืมว่าการดูแลรักษาบ้านให้สะอาด มีอากาศถ่ายเทสะดวกก็จะเป็นตัวช่วยให้เฟอร์นิเจอร์คงสภาพการใช้งานได้นานยิ่งขึ้นเช่นกัน




จาก ........................ ผู้จัดการรายสัปดาห์ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554

สายน้ำ
02-12-2011, 08:22
น้ำแห้งน้ำลดยังมีอยู่! ระวังภัย 'งู' เสาวภาย้ำให้รู้เท่าทัน

http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/1237.jpg

แม้สถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลายแล้ว หลายพื้นที่น้ำแห้งแล้ว หลายพื้นที่น้ำเริ่มลดแล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายๆพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขัง ซึ่งบางพื้นที่ทั้งยังท่วมสูงและน้ำเน่า โดยพื้นที่ที่น้ำยังท่วมนี้ทางผู้บริหารบ้านเมืองทั้งระดับจังหวัดหรือมหานครและระดับประเทศ ต้องเลิกต่างคนต่างทำ โยนกันไปมา เลิกหน่อมแน้มกันเสียที!!

ร่วมกันช่วยประชาชนไม่ได้...ก็ควรพิจารณาตัวเอง

ส่วนประชาชนเอง...ก็ ’อย่าละเลยภัยที่ยังมีอยู่!!!“

ทั้งนี้ กับภัยที่อาจจะมีแฝงอยู่ในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม หรือแม้

แต่ตอนที่น้ำลดน้ำแห้งแล้ว ภัยจาก “สัตว์อันตราย” ก็เป็นหนึ่งในภัยที่ไม่ระวังไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น “จระเข้” หรือ ’สัตว์พิษ“ ต่างๆ โดยเฉพาะ ’งูพิษ“ ซึ่งในส่วนของงูนั้นทาง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.วิศิษฏ์ สิตปรีชา ผู้อำนวยการสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ก็ได้จัดส่ง “คู่มือป้องกันงูพิษในสถานการณ์ฉุกเฉิน” มาให้ทาง “เดลินิวส์” ช่วยแจ้งข่าวเน้นย้ำต่อประชาชน

เนื้อหาโดยสรุปคือ... สำหรับ งูมีพิษ ก็เช่น... งูเห่า พิษร้ายแรง พบได้ทุกภาคของประเทศไทย ลักษณะเด่นคือการแผ่แม่เบี้ยเมื่อถูกรบกวน บริเวณด้านหลังคอของงูเห่าไทยจะมีลายดอกจันเป็นวง ส่วน งูเห่าพ่นพิษ มีลายดอกจันเป็นรูปตัว V หรือ U หรือไม่มีลายดอกจันเลย, งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา ลักษณะเด่นคือแนวกระดูกสันหลังยกตัวสูง และเกล็ดตามแนวสันหลังมีขนาดใหญ่, งูจงอาง ลักษณะเด่นของงูจงอางคือเกล็ดท้ายทอย 1 คู่, งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง งูเขียวหางไหม้ตาโต ข้อพึงสังเกตในกลุ่มงูเขียวหางไหม้คือ อวัยวะรับความร้อน ซึ่งเป็นร่องลึกอยู่ระหว่างรูจมูกและตาทั้งสองข้าง, งูกะปะ งูลายสาบคอแดง งูแมวเซา ข้อพึงสังเกตสำหรับงูแมวเซา เมื่อถูกรบกวนในระยะกระชั้นจะขดตัวเป็นวงกลมพร้อมกับการส่งเสียงขู่ฟ่อ ๆ คล้ายเสียงแมวขู่ และทำตัวพองขึ้นลงเพื่อให้ดูน่ากลัว ซึ่งงูแมวเซานี้แม้ขดเป็นวงกลมก็สามารถฉกได้อย่างว่องไว

ในส่วนของ งูไม่มีพิษ ก็เช่น... งูเหลือม, งูหลาม, งูสิงหางลาย, งูทางมะพร้าว, งูเขียวพระอินทร์, งูเขียวปากจิ้งจก, งูก้นขบ, งูแสงอาทิตย์, งูลายสอ, งูงวงช้าง, งูปี่แก้วลายแต้ม, งูปล้องฉนวนสร้อยเหลือง

กับรูปร่างหน้าตาของงูต่างๆนั้น ถ้าใช้คอมพิวเตอร์-อินเทอร์เน็ต ลองคลิกเข้าไปดูได้ในเว็บไซต์ของสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ในเว็บไซต์ www.saovabha.com อย่างไรก็ตามทางสถานเสาวภาระบุไว้ว่า...

กรณีที่ถูกงูกัด มีข้อควรพึงระลึกไว้ว่า ถึงแม้ว่างูไม่มีพิษจะมีหลากหลายชนิดกว่างูมีพิษ แต่เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่เข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ลำบาก ขอให้พิจารณาว่างูทุกชนิดมีอันตรายไว้ก่อน ให้รีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นในทุกรายที่ถูกงูกัด ก่อนจะรีบไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ส่วนในกรณีที่ถูกงูพิษกัดแน่นอน โดยมีรอยเขี้ยวให้เห็นอย่างชัดเจน ในความโชคร้าย ผู้ที่ถูกกัดอาจจะโชคดีถ้างูพิษกัดโดยไม่ได้ปล่อยน้ำพิษออกมา อย่างไรก็ดี ควรทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเช่นกัน

สำหรับลักษณะบาดแผลจากการที่ถูกงูไม่มีพิษกัดนั้น งูไม่มีพิษจะไม่มีเขี้ยวพิษ จึงปรากฏแต่รอยฟันให้เห็น อาจมีเลือดออกจากบาดแผลมากเนื่องจากฟันที่แหลมคมของงู และขึ้นอยู่กับความลึกของแผลด้วย

ทั้งนี้ กับเรื่อง “การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด” นั้น เริ่มจาก...

1. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือทันที ใช้ผ้าพันแผลหรือผ้าพันเคล็ดชนิดยืดหยุ่นได้เริ่มพันจากรอยแผลถูกกัดแล้วพันต่อจนถึงข้อต่อหรือสูงเหนือแผลให้มากที่สุด

2. หาไม้หรือวัสดุที่แข็งมาดามแล้วพันด้วยผ้าพันแผลทับอีกครั้ง เพื่อให้อวัยวะส่วนที่ถูกกัดเคลื่อนไหวน้อยที่สุด

3. นำผู้ถูกงูกัดส่งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการรักษาด้วยเซรุ่มแก้พิษงู

สิ่งที่ไม่ควรทำกับบาดแผลงูกัด… ไม่ควรใช้ไฟจี้หรือใช้มีดกรีดบาดแผล เพราะจะทำให้แพทย์วินิจฉัยผิดพลาด, ไม่ควรใช้การขันชะเนาะ เพราะอาจทำให้อวัยวะขาดเลือดได้, ไม่ควรใช้ปากดูดแผล, ไม่ควรให้ผู้ป่วยดื่มสุรา, ไม่ควรให้ยากระตุ้นหัวใจ มอร์ฟีน ยาระเหย หรือยาแก้แพ้ต่างๆ เพราะจะทำให้สับสนถึงอาการของพิษงูทางระบบประสาท ในรายที่ปวดบาดแผลมาก แนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอลได้

ปิดท้ายด้วย “วิธีหลีกเลี่ยงการถูกงูกัด” ซึ่งสถานเสาวภาแนะนำไว้ดังนี้คือ... ตรวจเช็กบริเวณที่นอน กองผ้าต่างๆก่อนทุกครั้ง เพราะงูมักจะหาที่อบอุ่นตามกองผ้า ที่นอน หมอน มุ้ง เพื่อหลบซ่อนตัว, หลีกเลี่ยงการเดินทางในเวลากลางคืน หากจำเป็น ควรมีไฟฉายส่องสว่างนำทาง, หากจำเป็นต้องเดินเข้าไปในพื้นที่ที่อาจจะมีงู ให้สวมรองเท้าบู๊ตยาวเพื่อป้องกัน และใช้ไม้ยาวๆเคาะไปตามพื้นหรือพื้นที่ด้านหน้าเพื่อไล่ให้งูหนีไปก่อน หรือเพื่อตรวจดูว่ามีงูอยู่หรือไม่, หากพบเห็นงูพยายามควบคุมสติไม่ให้ตกใจจนเกินไป, ถ้าพบงูในระยะห่าง อย่าเข้าใกล้งู เพราะงูก็จะไม่พยายามเข้ามาทำร้ายมนุษย์เช่นกัน, ถ้าพบงูในระยะใกล้ ให้อยู่นิ่ง ๆ รอให้งูเลื้อยหนีไป เพราะงูส่วนใหญ่สายตาไม่ดี มักจะฉกกัดสิ่งที่เคลื่อนไหวเพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรู, ถ้างูไม่ยอมเลื้อยหนี ให้ก้าวถอยหลังช้าๆจนพ้นระยะประมาณ 2 เมตร ซึ่งเป็นระยะพ้นจากการฉกกัด

และทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องของงู...การ ’ระวังภัยงู“

เน้นย้ำกันไว้...ถึงน้ำแห้งน้ำลดภัยนี้ก็ยังมีอยู่!!!.





จาก ....................... เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม 2554

สายน้ำ
05-12-2011, 08:54
10 แนวทางซ่อมบ้าน หลังการจากไปของน้องน้ำ

http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2011/12/04/images/news_img_422874_1.jpg

SCG จัดทำ คู่มือ 'ซ่อมบ้าน สร้างสุข กับ เอสซีจี' รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นประโยชน์สำหรับการฟื้นฟูบ้านหลังน้ำลด โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัว ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ในการใช้ชีวิต สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและสภาพจิตใจของผู้ประสบภัย เมื่อน้ำลด สิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ก็คือ การเร่งฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเร็ว เอสซีจี (SCG) จัดทำ คู่มือ 'ซ่อมบ้าน สร้างสุข กับ เอสซีจี' รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการฟื้นฟูบ้าน โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุก่อสร้าง วิศวกร สถาปนิก จากตราช้างและคอตโต้ เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างง่าย 10 ข้อเบื้องต้น ดังนี้


1. การตรวจสอบสภาพก่อนเข้าบ้าน

ก่อนเข้าสำรวจบ้านที่พักอาศัย ต้องสอบถามการไฟฟ้าในพื้นที่เรื่องการจ่ายไฟ (Call Center การไฟฟ้านครหลวง โทร.1130, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร.1129) หากขณะนั้นมีการจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่ ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ควรสวมใส่รองเท้ายาง ถุงมือยาง หรือสวมถุงพลาสติกแห้งหลายๆ ชั้น เพื่อป้องกันการถูกไฟฟ้าดูด

ตรวจสอบแผงไฟฟ้าหลักให้มั่นใจก่อนว่า ได้ปิดคัตเอาท์ หรือ เบรกเกอร์หลักที่จ่ายไฟฟ้าเข้าสู่บ้านก่อนอพยพออกจากบ้านแล้วหรือไม่


2. การตรวจสอบระบบไฟฟ้า

ปลดเครื่องใช้ไฟฟ้า ดึงปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าออกทั้งหมด และปิดสวิตช์ไฟฟ้าทั้งหมด

ตรวจสอบ 'เต้ารับ' และสวิตช์ที่ติดตั้งบนผนังในส่วนที่โดนน้ำท่วมขัง ตรวจสอบหลอดไฟฟ้าและสายไฟฟ้าว่ามีสภาพสมบูรณ์หรือไม่ จากนั้นให้ลองเปิด 'คัตเอาท์' หรือ 'เบรกเกอร์' ดูมิเตอร์ไฟหน้าบ้านว่าหมุนหรือไม่ ทดลองเปิดหลอดไฟฟ้าทีละจุด


3. การตรวจสอบระบบน้ำประปา

ถ้ามีบ่อเก็บน้ำใต้ดิน หรือถังเก็บน้ำในระดับน้ำท่วมถึง ให้ตรวจสอบว่ามีการทรุดตัว-รั่วซึมของน้ำจากภายนอกเข้าไปหรือไม่

ตรวจสอบลูกลอยภายในถังเก็บน้ำใต้ดิน ว่ามีการงอเสียหายหรือไม่
บ้านที่มีระบบปั๊มน้ำ หากถูกน้ำท่วม ควรเรียกหาช่างมาดำเนินการ หรือหากปั๊มน้ำอยู่ในที่สูง ไม่ถูกน้ำท่วม หลังจากเปิดใช้งานแล้ว ให้สังเกตเสียงเครื่องทำงาน ดูแรงดันน้ำในท่อว่าแรงเหมือนเดิมหรือไม่ หากมีความผิดปกติ ควรตรวจสอบด้วยการเปิดทำความสะอาด นำเศษผง สิ่งสกปรกที่เข้าไปอุดตัน กีดขวางการทำงานของอุปกรณ์ออกมา


4. การตรวจสอบระบบท่อน้ำและสุขภัณฑ์

ก่อนอื่นควรดูว่า มีวัสดุต่างๆเข้าไปอุดท่อระบายน้ำ ทั้งในบ้านและนอกบ้าน รวมถึงสุขภัณฑ์หรือไม่ จากนั้นตรวจสอบระบบระบายน้ำทิ้งในห้องน้ำ หากน้ำไหลช้าผิดปกติ ให้ใช้น้ำ หรือลมแรงดันสูง อัดดันให้สิ่งที่อุดตันหลุดออกจากท่อ

ส้วมแบบบ่อเกรอะ หรือ มีถังบำบัด ควรเปิดปากบ่อเกรอะหรือบ่อซึมเพื่อดูระดับน้ำ หากระดับน้ำสูงกว่าปกติให้ดูดน้ำออก

ควรตรวจสอบใต้ฐานโถสุขภัณฑ์ว่ามีน้ำรั่วซึมหรือไม่ ถ้าพบเห็นการรั่วซึม แนะนำให้รื้อติดตั้งสุขภัณฑ์ใหม่


5. การซ่อมแซมประตู หน้าต่าง

หากประตูทำมาจากไม้จริง และเกิดอาการบวมจากการแช่น้ำ ให้ทิ้งไว้จนแห้งสนิท หากโก่งงอ แนะนำให้ถอดออกมาผึ่งลมและกดทับด้วยแผ่นสมาร์ทบอร์ดและหาวัสดุหนักๆ ทับทิ้งไว้จนแห้งสนิท จากนั้นจึงให้ช่างปรับแต่งขนาดให้ได้พอกับวงกบ และเก็บงานสีให้เรียบร้อย

ประตูไม้อัด มักจะเสียหายมากกว่าประตูไม้จริง เพราะวัสดุจะมีกาวและรังผึ้งกระดาษหรือโครงไม้อยู่ด้านใน ควรเปลี่ยนใหม่

ประตูเหล็ก อะลูมิเนียม ต้องตรวจสอบการเสียรูปและการบิดงอตัวบานประตู


6. การบำรุงรักษาพื้น

พื้นบ้านที่เป็นคอนกรีต หากมีรอยแตกร้าวมาก แนะนำให้หาช่างมาทุบและรื้อพื้นเดิมทิ้ง ถมดินหรือทราย บดอัด และเทคอนกรีตใหม่ หากเป็นลานนอกบ้านที่ไม่ต้องการให้เกิดปัญหาซ้ำจากแรงดันน้ำดันคอนกรีตจนแตกอีก อาจเปลี่ยนเป็นการปู 'บล็อก' แทน หากพบว่าเกิดความเสียหายไม่มาก อาจทำความสะอาดและซ่อมแซมเป็นจุดๆก็ได้

พื้นในบ้านที่เป็นแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป และตกแต่งด้วยวัสดุประเภทต่างๆ เช่น เซรามิค หินอ่อน แกรนิต วัสดุกลุ่มไม้ทั้งลามิเนตและไม้จริง วัสดุกรุผิวต่างๆ อาจเกิดความเสียหายได้ง่าย ควรเรียกช่างเข้ามาซ่อมแซม


7. การดูแลผนัง ฝา และ ฝ้าเพดาน

บ้านที่มีผนังหรือฝาแบบก่ออิฐ ถ้าเป็นรอยแตกร้าวที่ขยายอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดจากปัญหาทางโครงสร้าง ให้ซ่อมแซมตามคำแนะนำของวิศวกร

บ้านที่มี 'ผนังเบา' หรือฝาทำจากวัสดุประเภทสมาร์ทบอร์ด ไม้อัดซีเมนต์ ไม้อัด สามารถซ่อมแซมเฉพาะจุดได้ หรือรื้อติดตั้งใหม่ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้น

กรณีฝ้าระแนงภายนอก ตรวจสอบได้โดยการปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งสนิท และดูด้วยสายตาว่ามีการโก่ง บิดงอ หรือเสียรูปหรือไม่

กรณีฝ้าภายใน ซึ่งมักจะใช้เป็นฝ้ายิปซัม หากถูกน้ำจะเกิดความเสียหายจากการเสียรูป แนะนำให้รื้อและติดตั้งด้วยของใหม่ทั้งหมด


8. การตรวจสอบกำแพงรั้วบ้าน

กำแพงรั้วบ้าน อาจเกิดปัญหาดินที่ฐานรั้วอ่อนตัวลง ให้สังเกตที่ความเอียงของรั้ว หากพบรั้วเอียงเพียงเล็กน้อย หาวัสดุมาค้ำยันไว้ก่อนได้ และติดต่อช่างมาปรับปรุงแก้ไขเมื่อพร้อม แต่หากรั้วเอียงมากเห็นได้ชัด หรือกำแพงรั้วล้มไปแล้ว ให้สกัดช่วงของกำแพงรั้วที่ล้มออกเสียก่อน เพื่อป้องกันการดึงให้กำแพงที่ยังสมบูรณ์เสียหายตามไปด้วย และติดต่อช่างเข้ามาปรับปรุงแก้ไขต่อไป


9. การดูแลเฟอร์นิเจอร์

เร่งเอาความชื้นออกจากเฟอร์นิเจอร์ให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ สำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถดูดซับน้ำไว้ภายในได้ หากไม่จำเป็น อย่านำกลับมาใช้อีก เพราะขณะที่นํ้าท่วมอาจดูดซับเชื้อโรคและสิ่งไม่พึงประสงค์เข้าไปเป็นจำนวนมาก

เฟอร์นิเจอร์ประเภทติดกับที่ (Built In Furniture) ให้พิจารณาจากชนิด ประเภทของวัสดุที่ใช้ หากทำด้วย 'ไม้' ไม่ควรนำไปตากแดดโดยตรง เพราะจะทำให้เกิดการโก่งตัว บิดเบี้ยว หรือ แตกเสียหายได้ หากเฟอร์นิเจอร์เกิดเชื้อราหรือรอย สามารถเช็ดหรือล้างออกด้วยผ้าชุบน้ำสบู่อ่อนๆ


10. การดูแลตรวจสอบเรื่องอื่นๆ

ขยะ วางแผนแบ่งชนิดและประเภทของขยะให้ชัดเจน และวางแผนแนวทางการจัดเก็บและกำจัด โดยแยกประเภทของขยะ

ต้นไม้ตกแต่งบ้าน สำหรับต้นไม้ขนาดเล็กที่จมน้ำ อาจต้องปลูกใหม่ หากเป็นไม้ยืนต้น รากจะอ่อนแอ ต้องใช้เวลาฟื้นตัว จึงไม่ควรให้ปุ๋ยในช่วงนี้

สัตว์เลี้ยง หากจำเป็นต้องทิ้งไว้ที่บ้าน ให้ปล่อยไว้ในบ้านโดยมีอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ ติดป้ายหน้าบ้านให้เห็นชัดเจนว่ามีสัตว์เลี้ยงอะไรอยู่ในบ้านและอยู่ที่บริเวณไหน พร้อมทั้งชื่อและเบอร์โทรที่ติดต่อได้

ชาวชุมชนออนไลน์ดาวน์โหลดคู่มือ 'ซ่อมบ้าน สร้างสุข กับเอสซีจี' ฉบับพกพา ได้ที่ www.scg.co.th และเริ่มแจกฟรีตั้งแต่ 1 ธ.ค. เป็นต้นไปที่สำนักงานสื่อสารองค์กร เอสซีจี และร้านโฮมมาร์ทที่ร่วมโครงการ สอบถามโทร.0 2586 4141

ภาพประกอบ SCG, 'กรุงเทพวันอาทิตย์' ฉ.4 ธันวาคม 2554, แฟนเพจ http://www.facebook.com/sundaybkk

http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2011/12/04/images/news_img_422874_2.jpg




จาก ...................... กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์ Art & Living วันที่ 5 ธันวาคม 2554

สายน้ำ
07-12-2011, 06:51
พลาสติก ผ้า ไฟเบอร์ หนัง…ทำความสะอาดอย่างไรหลังโดนน้ำท่วม???


จาก ..................... ไทยรัฐ วันที่ 7 ธันวาคม 2554

สายน้ำ
08-12-2011, 08:25
‘ดู-ดม’ ก่อนรบกับ ‘รา’ หลังน้ำลด!!

http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/1983.jpg
คนส่วนใหญ่อาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า เมื่อน้ำที่ “เอาไม่อยู่” บุกเข้าท่วมขังในบ้านนานเกินกว่า 2 วันขึ้นไป ย่อมมีโอกาสเกิดเชื้อรา กำจัดไม่ถูกวิธีส่งผลเสียสุขภาพ

ผู้ประสบอุทกภัยซึ่งต้องอพยพออกจากที่พักอาศัยของตนเอง เพราะถูกน้ำท่วมขังหรือน้ำล้อมบ้านจนไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างสะดวกปลอดภัย ตลอดจนต้องเผชิญกับการเดินทางที่แสนลำบาก ต่างก็รอคอยเวลาที่น้ำลดหรือแห้งไป เพื่อที่จะได้เดินทางกลับเข้าบ้านที่รักเสียที

คนส่วนใหญ่อาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า เมื่อน้ำที่ “เอาไม่อยู่” บุกเข้าท่วมขังในบ้านนานเกินกว่า 2 วันขึ้นไป ย่อมมีโอกาสเกิดเชื้อรา ทั้งแบบที่มองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เหตุนี้ “กรมควบคุมโรค” จึงเผยข้อมูลควรรู้ เตือนประชาชนก่อนที่จะกลับบ้านไปเก็บกวาดทำความสะอาดครั้งใหญ่ เนื่องจาก “เชื้อรา” ประหนึ่งข้าศึกที่ไม่ยอมถอยร่นกลับไปกับน้ำ อาจส่งผลต่อสุขภาพแบบไม่รู้ตัว

เชื้อรา มีทั้งชนิดก่อให้เกิดโรค และไม่ก่อให้เกิดโรค โดยมี “สปอร์” เป็นส่วนประกอบหนึ่งเพื่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งสปอร์นี้มีขนาดเล็กเพียง 3 ไมครอน มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ล่องลอยอยู่ในอากาศ จึงไม่มีใครหลีกพ้นการหายใจเอาสปอร์เข้าไปได้ แต่กระนั้นก็ไม่ต้องตกใจเกินไป เพราะร่างกายของคนเรา มีภูมิคุ้มกันหรือระบบต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม อีกทั้งไม่ใช่เชื้อราทุกชนิดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

แต่ผู้ที่ต้องระวังเชื้อราตัวร้ายเล่นงาน คือ ผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ คนที่มีอาการภูมิแพ้ คนที่ภูมิต้านทานไม่ดี เช่น ป่วยเบาหวาน กินยาสเตียร์ลอยด์ ผู้ติดเชื้อ HIV หากผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้เข้าไปในบริเวณที่มีเชื้อรา เช่น ภายในตัวบ้านที่เพิ่งถูกน้ำท่วมขัง หรือทำความสะอาดแล้วแต่กำจัดเชื้อราไม่หมด เชื้อราที่ยังอยู่มักทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูลไหล ระคายเคืองทำให้ตา จมูก หลอดลมเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน เป็นผื่นลมพิษ ปอดอักเสบจากภูมิแพ้ ส่วนคนเป็นโรคหอบหืดจะเป็นรุนแรงมากขึ้น ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก จะถึงขั้นคลื่นไส้อาเจียน เลือดออกในปอดและจมูก

เพื่อความปลอดภัยจากเชื้อรา คนอ่อนแอเข้าลักษณะข้างต้นจึงควรหลีกเลี่ยงการเป็นทัพหน้าทำความสะอาดบ้าน ส่วนผู้ที่ต้องทำความสะอาดบ้าน ไม่ว่าจะแข็งแรงดีหรือสุขภาพไม่แกร่งเต็มร้อย “จำเป็นต้องสวมเครื่องป้องกัน” ประกอบด้วย รองเท้าบูทยาง ถุงมือยางหรือถุงมือทำงานบ้านเพื่อป้องกันเชื้อรามาสัมผัสผิวหนัง โดยเฉพาะคนที่มีบาดแผลที่มือและเท้า, แว่นป้องกันตา ชนิดครอบตาแบบไร้รูระบาย ป้องกันเชื้อรากระเด็นเข้าตา, และหน้ากาก ชนิดเอ็น95 ป้องกันการหายใจเอาเชื้อราเข้าไป โดยหน้ากากผ้าหรือแบบฟองน้ำไม่เพียงพอต่อการป้องกัน

ขณะที่วิธีสำรวจว่ามีเชื้อราหลังน้ำท่วมหรือไม่ ทำได้ 2 วิธี คือ “ดูด้วยตา” หารอยเชื้อราที่ขึ้นเปื้อนตามผนังหรือเฟอร์นิเจอร์ และ “ดมกลิ่น” ลักษณะกลิ่นเชื้อราจะเหม็นอับทึบ เหม็นคล้ายกลิ่นดิน ทั้งนี้ในภาวะหลังน้ำท่วมจะทำให้ภายในบ้านมีความชื้นสูง อากาศไม่ค่อยถ่ายเท จึงเกิดเชื้อราได้ง่าย บริเวณที่พบเชื้อราได้บ่อย มีทั้งผนัง ฝ้าเพดาน พื้นไม้ ใต้พรม วอลล์เปเปอร์ ผ้าม่าน ผนังด้านในของท่อแอร์ โครงผนังเครื่องปรับอากาศ ตู้เสื้อผ้า เสื้อผ้า หนังสือ ฟูก เตียง หมอน เครื่องหนัง ภายในห้องน้ำ ห้องครัว ร่องยาแนวกระเบื้องและยาแนวต่างๆ ม่านพลาสติก กระจกเงา ซิลิโคน ปลอกไฟเบอร์ เสื่อน้ำมัน และกระเบื้องยาง เป็นต้น

เมื่อสงสัยว่าสิ่งของใดมีเชื้อรา ต้องยึดหลักที่ว่า When in doubt, take it out หรือสิ่งของใดที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อราได้หมดจดให้ทิ้งไป โดยเฉพาะวัสดุที่มีรูพรุนซึ่งไม่สามารถชะล้างและทำให้แห้งได้ มักจะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อราอยู่ต่อไป อาทิ พรม รองพื้นพรม ฝ้าเพดานยิปซัม ฝ้าผนังผลิตภัณฑ์ไม้ที่บดอัดขึ้นรูป กระดาษ และฉนวน ทั้งนี้เชื้อราที่ตายแล้ว ก็ยังก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ได้

สำหรับวิธีทำความสะอาดบ้านให้ปลอดเชื้อราที่พึงปฏิบัติ ควรรีบทำความสะอาดพื้นและผนังด้วยการขัดล้างให้เร็วที่สุด ภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังน้ำลด แยกพื้นที่ที่จะทำให้อยู่ในวงจำกัดทีละมุมของบ้าน ขณะทำความสะอาดให้เปิดประตูและหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ พร้อมทั้งเปิดพัดลม หรือใช้ไฟสปอร์ตไลท์ส่อง เพื่อช่วยให้แห้งเร็วไม่อับชื้น หากเป็นห้องที่มีเครื่องปรับอากาศควรล้างทำความสะอาดไปพร้อมกันด้วย

สู่ขั้นตอนและสูตรน้ำยากำจัดเชื้อรา เริ่มแรกให้ล้างด้วยน้ำและสบู่เพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อน ไม่แนะนำให้ใช้ผงซักฟอกเพราะมีแป้งและซัลเฟต เป็นอาหารของเชื้อรา จากนั้นขัดล้างต่อด้วยน้ำยา 0.5% โซเดียม ไฮโปคลอไรท์ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา หรือสามารถผสมน้ำยาใช้เอง จากผงฟอกขาว สัดส่วน 1 ถ้วยตวง ผสมกับน้ำ 1 แกลลอน สำหรับสารฆ่าเชื้อราหาซื้อได้จากร้านยา ร้านเคมีภัณฑ์ ร้านขายอุปกรณ์เกษตร ร้านเคมีภัณฑ์ทำความสะอาดสระว่ายน้ำ หรือห้างสรรพสินค้า

นอกจากนี้ยังมีน้ำยาฆ่าเชื้อรา สูตรแบบอ่อน ใช้น้ำส้มสายชู สูตรกลั่นหรือหมัก (ควรมีความเข้มข้นอย่างน้อย 7%) ใช้กับกระดาษดีกว่าผ้าเพราะไม่ต้องซัก หรือใส่ขวดสเปรย์ก็ได้ สเปรย์ทิ้งไว้ราว 5-10 นาทีแล้วเช็ด กำจัดได้ในระดับน่าพอใจ 80% แต่ไม่สามารถฆ่าสปอร์ได้

กรณีที่ขัดผนังปูนหรือพื้นผิวที่หยาบ แนะขัดด้วยแปรงอย่างแข็ง ส่วนการขัดพื้นผิววัสดุที่ขึ้นรา มีสภาพแห้ง รามีลักษณะฟูจนเห็นเส้นใยโผล่ออกมา ระวังห้ามใช้ผ้าแห้งเช็ด เพราะสปอร์ของเชื้อราอาจฟุ้งกระจาย รวมไม่ควรเปิดพัดลมด้วย โดยให้ใช้ทิชชูเนื้อเหนียวแผ่นหนาใหญ่ หรือใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ชุบน้ำเปียกหมาด เช็ดพื้นผิววัสดุจากล่างขึ้นบน หรือซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย โดยเลือกเอาทางเดียว ห้ามเช็ดย้อนไปมา ทิชชูหรือหนังสือพิมพ์ที่ใช้เช็ดครั้งเดียวต้องทิ้งโดยบรรจุถุงปิดปากมิดชิด เพราะการนำกลับมาเช็ดซ้ำไปซ้ำมาจะทำให้เชื้อราที่หลุดแล้วกลับไปติดใหม่

สุดท้าย เมื่อเก็บกวาดเช็ดถูและกำจัดเชื้อราไปแล้ว หากไม่มั่นใจ สามารถทำซ้ำได้ ทั้งนี้ควรเฝ้าระวังการเกิดเชื้อราขึ้นใหม่ ด้วยการลดกิจกรรมที่ทำให้มีความชื้นในอากาศนานๆ อาทิ การตากผ้าในบ้าน การต้มน้ำหรือทำอาหารในบ้าน การปิดเครื่องปรับอากาศแล้วเปิดหน้าต่างทันที

มีทั้งสูตรน้ำยาเป็นอาวุธ และวิธีทำความสะอาดสู้เชื้อราแล้ว คงเหลือเพียงแต่ตัวท่านลงแรงไปรบกับรา.




จาก ....................... เดลินิวส์ วันที่ 8 ธันวาคม 2554