PDA

View Full Version : แนวทางช่วยเหลือแนวชายหาดระยองค่ะ


jub_jang
30-07-2013, 11:44
เห็นว่า ถ้าเรารวบรวมเส้นผมและขนสัตว์เอามาทำเป็นไส้กรอกผม ไปวางตามแนวชายหาดมันจะช่วยดูดซับน้ำมันดิบได้ แนวทางนี้ได้ทำมาใช้กับต่างประเทศด้วย

ที่มา: http://www.dek-d.com/content/all/20623/

เลยอยากทราบว่าทางชมรมนี้ อยากร่วมด้วยช่วยกันไหมคะ

1. รวบรวมเส้นผม แล้วส่งไปรษณีย์ไปที่

ที่อยู่ส่งถุงเส้นผมดูดน้ำมันดิบเพื่อให้ทีมอาสาระยอง ช่วยฟื้นหาดระยองกลับคืนมา
บริษัทแอซซ่าเอ็นจิเนียริ่งแอนด์เซอร์วิสจำกัด. 104/6 ม.7 ต.ทับมา อ.เมืองระยอง จ.ระยอง 21000

2. รวบรวมคนแล้วจัดการเองไปเลย ยินดีเป็นหนึ่งในทีมค่ะ

คือเห็นคนเอาแต่ด่าๆๆๆ แต่ไม่ทำอะไร แล้วก็เห็นทหารมาช่วยแล้ว เราภาคประชาชนเลยอยากช่วยบ้าง แต่เริ่มจากตัวเองคนเดียวก่อน แล้วก็มาชวนทางชมรมนี้

คิดว่ายังไงคะ

ติดต่อได้ที่ jub_jang@hotmail.com นะคะ
fb:https://www.facebook.com/JubjangNT

สายชล
30-07-2013, 20:38
สองสายไปออกทะเลที่พัทยามาสามวัน ได้ข่าวคร่าวๆเรื่องน้ำมันดิบรั่วที่ระยอง แต่ไม่มีเวลาได้ศึกษาอย่างจริงๆจังๆ แต่ใจนั้นอดนึกห่วงไม่ได้ ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทะเลไทยของเรา

ดูเหมือนจะเป็นอย่างที่คุณ jub_jang ว่ามา คือทั้งข่าวทีวี และทั้งในเวปไซท์ต่างๆ มีแต่คนกร่นด่าเจ้าของน้ำมันที่ทำสกปรกเลอะเทอะ แต่ยังไม่เห็นการดำเนินการที่จะช่วยทะเลกันอย่างจริงๆจังๆจากผู้รับผิดชอบและภาครัฐ นอกจากฝ่ายทหารที่เริ่มลงมือ และนักวิชาการที่เริ่มประชุมปรึกษาหารือกันว่าจะช่วยกันแก้ไขกันอย่างไร กับเรื่องการเสนอแนะให้ใช้ผมมาทำทุ่นดูดซับน้ำมันดิบจากภาคเอกชน ดังที่คุณ jub_jang ได้มานำเสนอมาข้างต้นนี้


สองสายขอขอบคุณในน้ำใจของคุณ jub_jang ที่ให้กับทะเลมากค่ะ...อย่างไรก็ตาม เราขอศึกษาเรื่องการใช้ผมมาใช้ทำทุ่นดูดซับน้ำมัน ที่คุณได้เสนอมาสักนิดนะคะ เพราะดูเหมือนจะมีข้อขัดแย้งกันในเรื่องนี้ ว่าจะใช้ผมของมนุษย์มาขจัดคราบน้ำมันดิบ ที่กำลังเกิดขึ้นที่ทะเลแถวระยองในขณะนี้ว่า จะได้ผลดีหรือไม่อย่างไร ผลจะออกมาเป็นประการใด เราจะแจ้งให้คุณ jub_jang ทราบต่อไปค่ะ

สายชล
30-07-2013, 20:56
วันนี้....อาจารย์ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้ให้ความเห็นในเรื่องการนำเส้นผมมาใช้ในการกำจัดคราบน้ำมันดิบ ไว้ใน Facebook... https://www.facebook.com/thon.thamrongnawasawat/posts/700204699994736....ดังนี้ค่ะ...

คำถามเรื่องเส้นผมช่วยชาติ เป็นคำถามที่ทุกคนสงสัยและพยายามสอบถามผม ผมจึงลองปริกษากับพี่ ๆ ในห้องประชุมที่มีผู้เชี่ยวชาญในทุกด้าน ได้คำตอบดังนี้ครับ


1. เส้นผมใส่ถุงแล้วนำไปซับคราบน้ำมันได้ไหม ? คำตอบคือได้ครับ ได้เช่นเดียวกับกระดาษซับน้ำมัน ฟองน้ำ หรือแม้กระทั่งกากมะพร้าว


2. เส้นผมมีผลกระทบหรือเปล่า ? หากนำใส่ถุง นำไปซับน้ำมัน นำไปกำจัดอย่างเหมาะสม ไม่ใช่ปล่อยให้ลอยเท้งเต้งเป็นขยะ ถุงเส้นผมก็เหมือนกับกระดาษซับน้ำมันที่ถูกนำไปทิ้งอย่างเหมาะสม เหมือนกับวัสดุอีกนานาชนิดที่นำไปใช้ในการซับน้ำมันได้ แต่ถ้าไม่ทิ้ง ก็กลายเป็นขยะในทะเลแน่นอน เช่นเดียวกับวัสดุอื่น ๆ ถ้าไม่ทิ้งก็เป็นขยะเช่นกัน


3. ที่น่าถามคือเราจะนำเส้นผมดังกล่าวไปใช้ที่ไหน ? หากอยากไปใช้ที่อ่าวพร้าว ก็คงต้องติดต่อกับหน่วยงานในพื้นที่ ว่าจะเป็นอย่างไร ผมตอบไม่ได้ในเรื่องนี้ แต่ตอบได้ว่าก็เหมือนถามเขาว่า จะส่งฟองน้ำไปซับน้ำมันได้ไหม


4. สำหรับการใช้ในบริเวณอื่น คงต้องยอมรับว่าคราบน้ำมันส่วนหนึ่งรวมกันอยู่ที่อ่าวพร้าว อีกส่วนกระจายเป็นฟิลม์บาง ๆ ลอยเลยเกาะเสม็ดไปแล้ว เข้าสู่อ่าวบ้านเพ ไล่ไปตามชายหาดสู่แหลมแม่พิมพ์ การป้องกันฟิล์มน้ำมันเหล่านั้นคงทำยาก เพราะพื้นที่กว้างใหญ่ น้ำมันกระจายออกเป็นฟิล์ม เราจะไปกั้นที่ไหน ในเมื่อน้ำมันกระจายออกจากช่องเสม็ดไปแล้ว สำหรับอ่าวพร้าว ก็คงต้องพูดคุยกับคนที่นั่นว่าจะช่วยได้ไหม


5. สำหรับอาสาสมัครที่อยากช่วยทะเล ช่วยคนระยอง นักวิทยาศาสตร์ประชุมกันแล้ว สิ่งที่ทุกคนช่วยได้ คือการติดตามก้อนน้ำมันดินที่อาจแพร่กระจายอยู่ตามชายหาดยาวเหยียดจากบ้านเพไปถึงแกลง ชายหาดยาว 20-30 กิโลเมตร ฟิล์มน้ำมันเหล่านั้น จะผสมกับทราย อาจเกิดเป็นก้อนน้ำมันดินเหล่านั้นออกจากหาด


ก้อนน้ำมันดิบมีน้ำมันเหลวดำอยู่ด้านใน กลิ่นอี๋แหยะ เหยียบแล้วเละติดเท้าเต็มไปหมด เพราะฉะนั้น การไปช่วยกันเก็บ ย่อมเป็นการช่วยโดยตรง ถ่ายภาพไว้ ตรวจสอบจุดให้ชัดเจน เก็บไว้เป็นหลักฐาน หากมีเยอะก็ถ่ายภาพโดยรวมไว้ บันทึกวันที่ให้ชัดเจน [B][I]ส่งหลักฐานไปที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เดี๋ยวคงมีข้อมูลชัดเจนตรงส่วนนี้ แต่อย่าไปจับนะครับ ใช้ไม้จิ้มหรือใช้ถุงมือจับครับ


นั่นคือบางส่วนที่พอบอกได้ตอนนี้ แต่ถ้าอยากบริจาค คนมีใจอยากช่วยทะเล อยากช่วยคนอื่น เป็นเรื่องดีที่ไม่อาจห้ามครับ

สายชล
31-07-2013, 09:59
อ่านข่าวในห้องทะเลและสิ่งแวดล้อมในวันนี้แล้ว (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?p=37620) และดูข่าวทีวีในเช้าวันนี้ พอจะทำให้รู้ที่ไปที่มาของการรั่วไหลของน้ำมันดิบ และวิธีการแก้ไขของหลายๆฝ่ายได้แจ่มชัดขึ้นค่ะ...


มีรายงานว่ามีอาสาสมัครได้ไปร่วมมือกัน กำจัดคราบน้ำมันที่เกาะเสม็ดอยู่ราว 600 กว่าคนแล้วค่ะ ส่วนจะมีการใช้ผมของมนุษย์ไปช่วยในการกำจัดคราบน้ำมันหรือไม่อย่างไร ยังไม่มีข่าวให้เห็นค่ะ...

สายชล
31-07-2013, 14:03
น้องโรจน์...ไพโรจน์ หวังฐาปนียกุล ตากล้องทีวี ช่อง 9 อสมท. แจ้งข่าวมาให้ผู้หวังจะไปช่วยงานกู้ทะเลและชายหาดจากน้ำมันดิบรั่วไหลที่ระยอง ไว้น่าสนใจมากค่ะ...

ใครที่คิดจะไปช่วย ลองพิจารณาอีกครั้งนะคะ...


"การมาเป็นจิตอาสาเพื่อสร้างภาพอัฟเฟส หรือต้องการ chr ภาพลักษณ์กลุ่มหรือองค์กร ที่อ่าวพร้าว เกาะเสม็ดตอนนี้คนเยอะมาก ควบคุมไม่อยู่ อีกทั้งมาสมทบที่เพอีกมากมาย เข้าใจในความหวังดีที่มีจิตใจอาสา แต่การมามากๆแบบนี้ แต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบมันทำงานไม่ได้นะคับ แถมการมาตักทรายใส่ถุงไปทิ้งในตอนนี้ คิดว่าไม่เกิดประโยชน์นะครับ เป็นการทำลายมากกว่า"

สายชล
31-07-2013, 14:30
บทความจาก "สุขภาพการดำน้ำ โดยหมอเอ๋ เรื่อง " การดำน้ำ ในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน" (diving in contaminate water)" น่าจะเป็นประโยชน์ทั้งในกรณีการดำน้ำทั่วไป และการไปดำน้ำในบริเวณน้ำท่วม หรือ บริเวณที่มีการรั่วไหลของน้ำมันดิบ ในขณะนี้ค่ะ..

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=450706665027877&id=100002656421065


"การดำน้ำ ในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน" (diving in contaminate water). ขอ Recycle บทความนี้อีกครั้ง ให้เข้ากับสถานการณ์น้ำมันที่เสม็ด เผื่อนักดำน้ำท่านใด จะไปจิตอาสาดำน้ำสำรวจความเสียหาย. ต้องระวังเป็นอย่างยิ่งครับ. ของเก่าผมเขียนไว้ตั้งแต่เมื่อครั้นน้ำท่วมปี 54 ครับ เนื้อความมีดังนี้ครับ


จากเหตุการณ์ น้ำท่วมครั้งใหญ่ในครั้งนี้ มีนิคมอุสาหกรรม หลายแห่งที่ถูกน้ำท่วม อุปกรณ์เครื่องจักรมากมายต้องจมอยู่ใต้น้ำ ผมเองได้รับการสอบถามมาสองสามครั้งเกี่ยวกับการจะให้ช่วยจัดหา นักดำน้ำหรืิอหน่วยงานที่มีความสามรถ ในการ ดำน้ำลงไปกู้เอาอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่สำคัญนั้นขึ้นมา ....... สิ่งหนึ่งที่หลายคนมองข้ามไปก็คือ การดำน้ำในกรณีดังกล่าวนั้น สิ่งที่ต้องระวังและนึกถึงคือ มันเป็นการดำน้ำ ในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน ... ปนเปื้อนอะไรบ้างและมีผลอย่างไรบ้าง จะกล่าวแบบสั้นๆ สรุปๆ นะครับ


ในแหล่งน้ำที่มีการท่วมขังนานๆ เช่นในนิคมอุตสาหกรรม สิ่งที่จะปนเปื้อนลงสู่ในน้ำนั้นมีมากมายครับ ... ตั้งแต่ สารเคมีต่างๆ ,โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท ฯ , สารกัดกร่อน ทั้งกรดเข้มข้น เบสเข้มข้น , สารก่อมะเร็งนาๆชนิด และหากมีการเน่าเสียของน้ำ หรือมีการปนเปื้อนน้ำจากบ่อบำบัำดน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูล ก็จะมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อก่อโรคต่างๆอีกมากมายครับ


สิ่งที่ต้องระวังคือ การสัมผัสหรือ รับเอาสิ่งปนเปื้อนเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสผ่านผิวหนัง ดวงตา การสำลักหรือสูดดมผ่านทางปากหรือจมูกลงไปสู่ทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การไหลของน้ำเข้าสู่หูชั้นนอก เป็นต้น ซึ่งผลที่เกิดขึ้นมีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในระยะสั้นเช่น การระคายเคืองผิวหนัง ดวงตา ทางเดินหายใจ ... อาจมีอาการแพ้ อักเสบ อาการผุพองผิวหนังลอกหรือไหม้ ( ถ้าเป็นสารกัดกร่อน ) หรือ อาจมีการติดเชื้ออวัยวะนั้นๆได้ หากมีการสำลัก ก็อาจมีการติดเชื้อทางเดินอาหารหรือทางเดินหายใจ ... หรือ ระบบประสาท ( เช่นเกิดการติเชื้อ เป็นฝีในสมองอย่างเช่นกรณีคุณ บิ๊ก ดีทูบี ) เป็นต้น ส่วนผลระยะยาวเช่น หากรับสารเคมี หรือโลหะหนักอาจมีอาการเจ็บป่วยจากการสะสมของพิษโลหะหนักหรือสารเคมีตามมา และ อาจเกิดมะเร็งได้หากสารนั้นอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็งด้วย


การป้องกัน อาจจะต้องเริ่มจากคำถามที่ว่า ... มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ที่จะทำการดำน้ำในแหล่งน้ำนั้น ในสถานการณ์นั้น ... หากรอได้หรือหลีกเลี่ยงได้ น่าจะเป็นการดีที่สุด .... แต่หากมีความจำเป็นจริงๆ อุปกรณ์ที่จะลดการสัมผัสกันน้ำที่ปนเปื้อน น่าจะต้องถูกพิจรณษาเป็นอันดับแรก เช่น Dry suit , diving helmet เป็นต้น และจะต้องมีการเตรียมการ บริหารจัดการเป็นอย่างดี, การคำนึงถึงอุปกรณ์จ่ายอากาศสำรอง, การตรวจเช็คอุปกรณ์ ว่ามีรอยรั่วซึมใดๆ ของอุปกรณ์ป้องกัน อุปกรณ์การหายใจบ้างหรือไม่ทั้งก่อนและหลังการดำน้ำ , การวางแผนล้างกำจัดสิ่งปนเปื้อนหลังทำการดำน้ำ เป็นต้น


จะเห็นได้ว่า การดำน้ำในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนนั้น มีอันตรายแอบแฝงอยู่มากมาย จากตัวคุณภาพของน้ำเอง ยังไม่รวมไปถึง การมองเห็น หรือ สิ่งกีดขวางใต้น้ำ ที่ต้องถูกนำมาพิจรณษด้วยเช่นกัน .... ดังนั้น ก่อนจะตัดสินในลงดำน้ำ คงต้องถามตัวเองถึงความพร้อมและความจำเป็น ในการดำ หากประสบการณ์น้อย อุปกรณ์ไม่เหมาะสม และมีสิ่งปนเปื้อนมากๆ ... การติดต่อหน่วยงานที่มีความรู้ ความชำนาญและมีอุปกรณ์ครบครัน น่าจะเหมาะสมที่สุดครับ