PDA

View Full Version : ปลาอมไข่ครีบยาว (Banggai cardinalfish, Longfin cardinalfish)


สายน้ำ
06-03-2014, 13:34
ปลาอมไข่ครีบยาว (Banggai cardinalfish, Longfin cardinalfish)

เนื่องจากมีชาวประมงย่านพังงาพบ "ปลาอมไข่ครีบยาว" ชนิดนี้ในทะเลบริเวณบ้านแหลมหิน เขต จ.พังงา ในแนวหินและปะการังน้ำลึก ซึ่งสามารถจับมาเพาะพันธุ์และเลี้ยงในกระชังได้

คุณสามารถ เดชสถิตย์ นักวิชาการประมงชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ คาดว่าคงจะมีการกระจายพันธุ์อยู่ในบริเวณทะเลของเกาะ ภูเก็ต ถึงพังงา โดยจะอาศัยอยู่ในแนวหิน หรือแนวปะการัง หรือบริเวณที่มีเม่นหนามยาวอาศัยอยู่ หากเพื่อนๆสมาชิกมีการพบเห็น "ปลาอมไข่ครีบยาว" บริเวณใด ขอความกรุณาแจ้งตำแหน่งและพิกัดให้ทางคุณสามารถได้ทร าบด้วย และหากมีภาพประกอบ จะยิ่งเป็นประโยชน์มาก

โดยกรุณารายงานการพบเห็นไปยัง cf-krabi@dof.in.th หรือ crkrabi@yahoo.com หรือ จะแจ้งมายัง saveoursea.net@hotmail.com / saveoursea@yahoo.com ........ ขอบคุณครับ


http://i1198.photobucket.com/albums/aa455/saveoursea/Cardinal%20Fish/Cardinal_02_zpsf84b40b4.jpg (http://s1198.photobucket.com/user/saveoursea/media/Cardinal%20Fish/Cardinal_02_zpsf84b40b4.jpg.html)

สายน้ำ
06-03-2014, 13:35
http://i1198.photobucket.com/albums/aa455/saveoursea/Cardinal%20Fish/Cardinal_01_zps314bc8f8.jpg (http://s1198.photobucket.com/user/saveoursea/media/Cardinal%20Fish/Cardinal_01_zps314bc8f8.jpg.html)



ปลาอมไข่ครีบยาว (อังกฤษ: Banggai cardinalfish, Longfin cardinalfish, Kaudern's cardinal; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pterapogon kauderni) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาอมไข่ (Apogonidae)

มีครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนจากกันชัดเจนและมีครีบที่ยาวมาก มีก้านครีบแข็ง 8 ก้าน ก้านครีบอ่อน 14 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 2 ก้าน และก้านครีบอ่อน 13 ก้าน ครีบหางยาวเป็นรูปส้อมชัดเจน ลำตัวมีสีขาวเงิน มีแถบสีดำพาดขวางผ่านลำตัว 3 แถบ คือ ที่ตา, ที่ครีบหลังอันที่ 1 และครีบหลังอันที่ 2 มีแถบดำตามความยาวของครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางทั้งด้านบนและด้านล่าง มีจุดสีขาวกระจายทั่วลำตัวและครีบต่าง ๆ ยกเว้นครีบอก ที่มีลักษณะโปร่งแสง การเกิดจุดสีขาวของปลานี้จะแตกต่างกันไปเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัว

จัดเป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดความยาวเต็มที่ 8 เซนติเมตร ขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไป คือ 4-5 เซนติเมตร

เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นฝูงตั้งแต่ไม่กี่ตัวจนถึงหลายร้อยตัวในแนวปะการังร่วมกับสิ่งมีชีวิตอย่างอื่น ปลาในวัยรุ่นมักหลบซ่อนอยู่ตามหญ้าทะเล, สาหร่าย, เม่นทะเล, ดาวขนนก, ปะการัง, ปะการังอ่อน โดยใช้เป็นที่ซ่อนภัยจากผู้ล่า อาศัยอยู่ในความลึกตั้งแต่ 0.5-6 เมตร แต่มักพบในความลึกประมาณ 1.5-2.5 เมตร ออกหากินในเวลากลางวัน โดยกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น แพลงก์ตอน, ครัสเตเชียนขนาดเล็ก เป็นต้น

พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทะเลแถบอินโด-แปซิฟิก แต่ไม่พบในน่านน้ำไทย แต่จะพบชุกชุมที่เกาะบังไก ประเทศอินโดนีเซีย

ปลาอมไข่ครีบยาว เป็นปลาที่แพร่ขยายพันธุ์ได้ง่ายและไวมาก โดยการสำรวจเมื่อปี ค.ศ. 2005 พบมีประชากรอยู่ประมาณ 2.4 ล้านตัว แต่ถูกจับไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงามถึงปีละ 700,000-900,000 ตัวต่อปี โดยอายุขัยโดยเฉลี่ยอยู่ได้ราว 2.5 ปี โดยพบที่อายุยืนสูงสุดถึง 4-5 ปี

เป็นปลาที่ปัจจุบันเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง โดยปลาตัวผู้จะอมใข่และกระทั่งลูกปลาฟักเป็นตัว และพัฒนากลายมาเป็นลูกปลา ซึ่งพ่อปลาจะดูแลลูกปลาจนกว่าจะเติบโตอย่างแข็งแรงที่จะเอาตัวรอด จึงปล่อยไป แต่ปลาที่มีขายกันในตลาดปลาสวยงามส่วนใหญ่ ยังเป็นปลาที่จับมาจากแหล่งน้ำในธรรมชาติ


ข้อมูลจาก ............ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7

สายน้ำ
06-03-2014, 13:44
http://i1198.photobucket.com/albums/aa455/saveoursea/Cardinal%20Fish/Cardinal_04_zpsddff1ba4.jpg (http://s1198.photobucket.com/user/saveoursea/media/Cardinal%20Fish/Cardinal_04_zpsddff1ba4.jpg.html)


อ่านเรื่อง การเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว Banggai Cardinal Fish

โดย คุณสามารถ เดชสถิตย์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ได้ที่ http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?topic=1025.0



http://i1198.photobucket.com/albums/aa455/saveoursea/Cardinal%20Fish/Cardinal_03_zps5e69daf6.jpg (http://s1198.photobucket.com/user/saveoursea/media/Cardinal%20Fish/Cardinal_03_zps5e69daf6.jpg.html)


และ ดาวน์โหลด คู่มือการเพาะพันธุ์ปลาอมไข่ครีบยาว
ได้ที่ http://www.coastalaqua.com/files/samart.pdf