PDA

View Full Version : ความรู้ดีๆ....เรื่องของ "เขตน่านน้ำ"


สายชล
27-11-2009, 10:46
สรุปข่าวที่คุณสายน้ำรวบรวมไว้เมื่อวานนี้มีเรื่องที่อยากรู้มานานนำมารวมกันไว้ นั่นคือเรื่องของคำจำกัดความของ "เขตน่านน้ำ" ประเภทต่างๆ จึงขอนำมาลงไว้ในห้องนี้เพื่อจะได้หามาอ่านได้ง่ายหน่อยค่ะ




เขตน่านน้ำ



การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ระหว่างพ.ศ.2516-2525 มีการลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ให้คำจำกัดความของพื้นที่ในทะเลดังนี้


"น่านน้ำภายใน" คือน่านน้ำที่เว้าเข้าไปในแผ่นดินจากแนวขอบฝั่งทะเล เกิดจากการลากเส้นฐานตรงปิดปากแม่น้ำหรืออ่าว และอยู่ภายใต้อธิปไตยของรัฐชายฝั่งหรือรัฐหมู่เกาะกฎหมายและอธิปไตยของรัฐนั้นสามารถบังคับใช้อาณาบริเว ณน่านน้ำภายในได้ราวกับอาณาเขตทางบก


" ทะเลอาณาเขต" คือทะเลที่อยู่ถัดจากอาณาเขตทางบกหรือถัดจากน่านน้ำภ ายในมีความกว้างไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล วัดจากเส้นแนวน้ำลดตามฝั่งทะเล เส้นฐานตรงที่ลากปิดปากน้ำ อ่าว หรือเกาะที่อยู่ใกล้ฝั่ง


"เขตต่อเนื่อง" อยู่ถัดจากทะเลอาณาเขตออกไปกลางทะเล มีความกว้างไม่เกิน 24 ไมล์ทะเล รัฐชายฝั่งมีสิทธิ์ใช้อำนาจปฏิบัติการที่จำเป็นต่อคว ามปลอดภัย และความมั่นคงในบางเรื่อง เพื่อป้องกันการฝ่าฝืนเกี่ยวกับการศุลกากร อนามัย และคนเข้าเมือง


"ช่องแคบที่ใช้ในการเดินเรือระหว่างประเทศ" คือช่องแคบที่เชื่อมระหว่างทะเลหลวงหรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ที่กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดสิทธิการเดินผ่านช่องแคบ ที่มั่นคงกว่าการผ่าน ทะเลอาณาเขตโดยทั่วไป


"เขตไหล่ทวีป" คือบริเวณพื้นดินท้องทะเลที่อยู่ตรงขอบพื้นทวีปที่ค่อยๆเอียงลาดสุด และเริ่มหัวหักมุมลึกลงไปจนถึงบริเวณที่น้ำลึกประมาณ 200 เมตร


"เขตเศรษฐกิจจำเพาะ" คือบริเวณที่ถัดไปจากอาณาเขตทะเลไม่เกิน 200 ไมล์ทะเล จากเส้นฐานใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตรัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยในการแสวงประโยชน์จากทรัพยา กรธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งการผลิตพลังงานจากน้ำ กระแสน้ำและลม การสร้างเกาะเทียม และสิ่งก่อสร้างต่างๆ


"ทะเลหลวง" คือ ทะเลที่ไม่อยู่ภายใต้อธิปไตยหรือสิทธิอธิปไตยของรัฐใด หลักเสรีภาพตามที่ได้บัญญัติ รับรองไว้ในอนุสัญญาฯ รัฐทุกรัฐมีสิทธิเสรีภาพในการใช้ทะเลหลวง 6 เรื่อง คือเสรีภาพการเดินเรือ การบิน การประมง การวางสายและเคเบิลใต้ทะเล การก่อสร้างประภาคารและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ และการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์


" มรดกร่วมของมนุษยชาติ" คือทรัพยากรในบริเวณพื้นดินท้องทะเลและใต้พื้นดินท้องทะเลของทะเลหลวง เป็นมรดกร่วมของมนุษยชาติ บริเวณพื้นที่นี้อยู่นอกเขตที่รัฐต่างๆ อ้างสิทธิ


อนุสัญญาฯ ข้างต้น ได้ตั้งองค์กรเพื่อดูแลการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากร โดยออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการในบริเวณพื้นที่ และตั้งวิสาหกิจเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยตรง

โดยองค์กรมีที่ตั้งอยู่ใน ประเทศจาเมกา จะแบ่งปันผลประโยชน์ทางการเงินให้แก่ประเทศภาคีอนุสั ญญาสหประชาชาติว่าด้วย กฎหมายทะเลอย่างเที่ยงธรรมโดยคำนึงถึงความต้องการของประเทศกำลังพัฒนาและประชาช น ผู้ที่ยังไม่ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์

กรณีความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาในช่วงที่ผ่านมา มีทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีข้อตกลงร่วมกันในการพัฒนาและแสวงหา ประโยชน์ ซึ่งรัฐบาลไทยประกาศจะยกเลิกข้อตกลงนี้ และมีทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับเขตน่านน้ำภายในบริเวณ เกาะกง ที่กัมพูชาไม่อนุญาตให้เรือประมงไทยเข้าไปจับปลาได้ด ังเดิม และยังไม่แน่ว่าจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเมื่อใด


ข้อมูลจาก....คอลัมน์ คอลัมน์ที่13 หนังสือพิมพ์ข่าวสด

marine_wi
30-11-2009, 22:12
กรณีน่านน้ำไทย-กัมพูชา เรียกว่าเป็นเขตทับซ้อนได้ไหมค่ะ

แม่หอย
01-12-2009, 05:41
ขอบพระคุณพี่สายชลที่นำมาเผยแพร่ให้ความรู้ค่ะ
แต่หลายคำอ่านแล้วงงๆ อยู่ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะคำแปลหรือภาษากฏหมายที่ทำให้คนทั่วไปเข้าใจได้ยากจัง

แมลงปอ
01-12-2009, 07:55
ขอบคุณค่ะ...คำเดียวแต่แบ่งแยกย่อยได้หลากหลายมากๆ...

zmile.p สายรุ้ง
10-12-2009, 17:47
ขอบคุณพี่น้อยมากๆเลยค่ะ ที่นำมาลง ได้ความกระจ่างเลย เพราะเคยได้ยินแต่คำว่า
"น่านน้ำสากล" ค่ะ

Scubalism
27-01-2010, 12:49
พอดีผมเรียน ป.โท กฎหมายระหว่างประเทศที่ ม.ราม ลงวิชา กฎหมายทะเลไปเมื่อปีที่แล้ว ทำรายงาน กรณีไทย กัมพูชาส่ง ถ้าพอช่วยอะไรได้บ้างก็บอกได้เลยนะครับ