PDA

View Full Version : สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566


สายน้ำ
07-08-2023, 02:13
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและ น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณมีฝนฟ้าคะนอง

อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง "ขนุน" (KHANUN) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก คาดว่าจะเคลื่อนผ่านตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ลงสู่คาบสมุทรเกาหลีในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. 66 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าว โปรดตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 6 - 7 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 12 ส.ค. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660807_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660807_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660807_Sat1.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660807_Sat1.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

สายน้ำ
07-08-2023, 02:50
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


อัปเดตอาการ "เต่าตนุ" ติดคราบน้ำมัน เกยตื้นบริเวณเกาะราชาใหญ่

กรม ทช. ลงพื้นที่ตรวจสอบ "เต่าทะเล" เกยตื้นมีชีวิตติดคราบน้ำมัน บริเวณเกาะราชาใหญ่ พร้อมทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อพิจารณาแผนการรักษา

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660807_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660807_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

วันที่ 6 ส.ค. 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร สังกัดศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (ศวอบ.) ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่โรงแรมเดอะ ราชา ภูเก็ต ว่าพบเต่าทะเลเกยตื้นมีชีวิตติดคราบน้ำมัน บริเวณเกาะราชาใหญ่ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต จึงติดต่อประสานไปยังผู้แจ้งให้ทำการเช็ดคราบน้ำมันภายนอกเบื้องต้น และทำการนำส่งเต่าทะเลเกยตื้นให้เจ้าหน้าที่ศวอบ. เพื่อดำเนินการช่วยเหลือและตรวจสอบ

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบเต่าเกยตื้นดังกล่าว พบเป็นเต่าตนุ (Chelonia mydas) อยู่ในช่วงวัยเด็ก ความยาวกระดอง 14 เซนติเมตร ความกว้างกระดอง 12 เซนติเมตร น้ำหนัก 100 กรัม มีสภาพอ่อนแรงมาก ความสมบูรณ์ของร่างกายอยู่ในระดับผอม มีภาวะแห้งน้ำรุนแรง ภายนอกพบคราบน้ำมันปกคลุมทั้งร่างกายรวมถึงในช่องปาก จึงได้เคลื่อนย้ายมายังศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร โดยทำการขจัดคราบน้ำมันที่ปกคลุมทั่วร่างกายและในช่องปากออกเบื้องต้น รวมทั้งทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อพิจารณาแผนการรักษาต่อไป.


https://www.thairath.co.th/news/local/2715245

สายน้ำ
07-08-2023, 02:53
ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก


'วราวุธ' ฉะพวกทิ้ง 'คราบน้ำมัน' ลงทะเล ลั่นถ้าเจอต้นตอ สั่งจับ สั่งแบน แน่

"วราวุธ" ฉะผู้ประกอบการท่องเที่ยวทางทะเล "ทิ้งคราบน้ำมัน" ลอยเกลื่อนพื้นที่ "อุทยานแห่งชาติสิรินาถ" จ.ภูเก็ต ให้มีสำนึกรับผิดชอบ อย่าทุบหม้อข้าวตัวเอง ขู่ อย่าให้เจอต้นตอ สั่งจับ สั่งแบนแน่นอน

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660807_KhomChudLuek_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660807_KhomChudLuek_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

6 ส.ค. 2566 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยหลังได้รับรายงานจาก นายสรศักดิ์ รณนันทน์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติสิรินาถ อุทยานแห่งชาติสิรินาถ สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 นครศรีธรรมราช ถึงผลการปฎิบัติงานการจัดเก็บคราบน้ำมัน บริเวณหน้าหาดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ จ.ภูเก็ต ซึ่งประกอบไปด้วย หาดไม้ขาว ระยะทางประมาณ 5.42 กม. หาดในยาง ระยะทางประมาณ 3.66 กม. หาดในทอนระยะทางประมาณ 1 กม. หาดลายัน ระยะทางประมาณ 1 กม. ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการจัดเก็บ คราบน้ำมัน สีดำ ตั้งแต่วันที่ 4-5 ส.ค. 2566 ที่ผ่านมา และดำเนินการจนกว่าจะแล้วเสร็จ

จากที่ได้รับรายงาน ได้รับผลกระทบในหลายพื้นที่ ทั้งที่ จ.ภูเก็ต และเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี แม้บางส่วนไม่ได้อยู่ในพื้นที่อุทยานฯ แต่ก็ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศไทย

นายวราวุธ ยังได้เตือนผู้ประกอบการทุกคนที่ทำกิจกรรม เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งบนบกและในทะเล ขอให้ประกอบการอย่างมีความรับผิดชอบกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเลที่เรามีความสวยงามอยู่อย่างจำกัด อย่าให้ถึงกับขั้นที่ว่าเราต้องมาปิดแหล่งท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟู เพราะความมักง่ายของผู้ประกอบการบางรายจนทำให้เกิดความเสียหายในระยะยาวอย่างที่เราเคยต้องทำมาแล้วในอ่าวมาหยา จ.กระบี่ ที่ต้องปิด 3-4 ปี ซึ่งก็ได้รับผลกระทบกันหมด นั่นก็มาจากความมักง่าย ของผู้ประกอบการบางคนที่ขาดจิตสำนึก

การท่องเที่ยวไทยกำลังฟื้นตัวขึ้นมา นักท่องเที่ยวกำลังมาประเทศไทยกันอย่างมหาศาล ขอเตือนผู้ประกอบการการท่องเที่ยวทุกคน ทุกๆบริษัท ให้กำชับพนักงาน เจ้าหน้าที่ ผู้บังคับเรือ ให้ทำงานอย่างมีจิตสำนึกถึงความสวยงาม และความรับผิดชอบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เช่นนั้นเมื่อเกิดความเสียหาย ย่อมเกิดกับผู้ประกอบการเอง ที่วันนี้เหมือนกำลังทุบหม้อข้าวตัวเองอยู่ มีเพชรเม็ดงามอยู่ในมือแทนที่จะช่วยกันรักษา กลับทิ้งคราบน้ำมันลงในอ่าวลงในทะเล อย่างนี้ทำให้เมื่อนักท่องเที่ยวไปแล้วมีคราบน้ำมันติดตัวมา ถามว่าแล้วอย่างนี้เป็นการส่งเสริมท่องเที่ยวประเทศไทยอย่างไร

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตนรู้สึกไม่พอใจมาก ขออย่าให้ได้เจอ ตนจะสั่งจับ สั่งแบนให้หมด เพราะผู้ประกอบการ ด้านการท่องเที่ยวอย่างนี้ไม่ควรมีอยู่ในประเทศไทย จึงขอฝากทุกๆหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมเจ้าท่า กรมการท่องเที่ยว และทุกหน่วยงานที่อยู่นอกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้มงวดกับผู้ประกอบการเหล่านี้ก่อนที่จะสายเกินไป

นายวราวุธ กล่าวอีกว่า ตนได้ให้กรมอุทยานฯ กับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เร่งตรวจสอบดีเอ็นเอของน้ำมันก่อนว่ามาจากไหน จากเรือ หรืออุตสาหกรรมอะไร เราจะต้องสืบหาต้นตอให้ได้

อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่อยู่นอกพื้นที่เขตอุทยานฯ ต้องขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยดูคุณภาพผู้ประกอบการที่ประกอบการท่องเที่ยวเหล่านี้ เพราะ ทส. เรามีอำนาจปฎิบัติหน้าที่ตามกฏหมายจำกัดอยู่ในระดับหนึ่ง หาก ทส. มีอำนาจครอบคลุมในการปฎิบัติหน้าที่คงจับหมดแล้ว และไม่ให้ประกอบกิจการได้อีกสำหรับคนมักง่ายเช่นนี้


https://www.komchadluek.net/news/society/555373

สายน้ำ
07-08-2023, 02:55
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


รล.ประจวบฯ เก็บกู้ทุ่นตรวจวัดสึนามิ หลุดออกจากตำแหน่งกลางทะเลอันดามัน

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660807_Thaipost_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660807_Thaipost_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

6 ส.ค.2566-เพจกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM รายงานการเก็บกู้ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามันของไทยที่หลุดออกจากตำแหน่งติดตั้งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ว่า จากกรณีทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิที่ได้ติดตั้งในทะเลอันดามัน (ตัวใกล้) สถานี 23461 ไม่รายงานข้อมูลการเปลี่ยนแปลงความดันน้ำ ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 และตรวจสอบพบว่าทุ่นได้เคลื่อนที่ออกจากจุดติดตั้ง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และทัพเรือภาคที่ 3 นำเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ออกเดินทางจากท่าเรือฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3 เพื่อเก็บทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามัน (สถานี 23461) ที่หลุดออกจากตำแหน่งที่ติดตั้ง ซึ่งการออกไปเก็บกู้ต้องมีการเตรียมพร้อมเรื่องเรือ และพิจารณาสภาพอากาศและท้องทะเลที่ปลอดภัย โดยออกเดินทางในวันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30 น. ซึ่งได้ติดตามตามพิกัด GPS ของทุ่นที่ส่งสัญญาณ

และในเวลา 14.20 น. เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ได้พบ ทุ่นฯ อยู่ห่างจากเกาะสุรินทร์ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร (16 ไมล์ทะเล) และได้ดำเนินการเก็บกู้ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิเป็นที่เรียบร้อย โดยเรือจะเดินทางกลับและถึงท่าเรือฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3 ในวันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566 เวลา 08.00 น. และจะนำไปเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา เพื่อหาสาเหตุและข้อเท็จจริงของการหลุดและทำการบำรุงรักษาต่อไป

ทั้งนี้ จากการที่ตรวจพบความผิดปกติในกรณีที่ทุ่นไม่ส่งสัญญาน เกิดจากสาเหตุ ดังนี้ 1. กรณีไม่ส่งสัญญาณชั่วคราว อาจเกิดจาก สัญญาณดาวเทียมขัดข้อง คลื่นมรสุม หรือพลังงานไม่เสถียร ทำให้รับ ? ส่งข้อมูลไม่ได้ 2. กรณีไม่ส่งสัญญาณถาวร เกิดจาก 2.1 ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ ยังคงอยู่ในตำแหน่งที่ติดตั้งเดิม แต่เกิดการชำรุดกับอุปกรณ์และระบบต่างๆ เช่น ระบบพลังงาน ระบบสื่อสาร อุปกรณ์บันทึกข้อมูล 2.2 ทุ่นลอย (Surface Buoy) ของทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ หลุดออกจากการยึดโยงของสมอ และห่างจากรัศมีการส่งสัญญาณ (watch circle) กับชุดอุปกรณ์วัดความดันใต้ท้องทะเล (Bottom Pressure Recorder :BPR) เกิน 2 กิโลเมตร ทำให้ไม่สามารถรับ ? ส่งสัญญาณได้

อย่างไรก็ตาม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยยังคงปฏิบัติภารกิจการติดตาม เฝ้าระวัง และแจ้งเตือนสึนามิตามระเบียบปฏิบัติประจำ (Standard Operating Procedure : SOP) ด้านการแจ้งเตือนภัยสึนามิฝั่งอันดามัน พร้อมทั้งนำข้อมูลจากต่างประเทศมาใช้ประกอบการวิเคราะห์และแจ้งเตือนการเกิดสึนามิ ติดตามข้อมูลจากเครื่องมือเฝ้าระวังของหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภายในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อมโยงข้อมูลที่บ่งชี้ว่าจะเกิดสึนามิอย่างรอบด้านบนฐานข้อมูลเชิงวิชาการ รวมถึงได้มีการวางระบบเตือนภัยสึนามิให้พร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งสามารถกระจายข้อมูลข่าวสารและแจ้งเตือนสึนามิได้แม่นยำผ่านหลากหลายช่องทางให้เข้าถึงระดับพื้นที่อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมอพยพหนีภัยสึนามิได้อย่างทันท่วงที


https://www.thaipost.net/general-news/426533/

สายน้ำ
07-08-2023, 02:58
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


วช.ศึกษา "พื้นที่คุ้มครองทางทะเล"ต้องใช้งบจัดตั้งเท่าใด

วช. หนุนงานวิจัยวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการจัดการพื้นที่คุ้มครองทางทะเลอ่าวตราด ชายฝั่งทะเลจังหวัดตรัง และเกาะโลซินจังหวัดปัตตานี แก้ปัญหาเสี่ยงสูญพันธุ์ในสัตว์ทะเลหายากของไทย

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660807_Bkkbiz_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660807_Bkkbiz_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ให้การสนับสนุนทีมวิจัยทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ในพื้นที่นำร่องทะเลอ่าวตราด จังหวัดตราด ชายฝั่งทะเลจังหวัดตรัง และเกาะโลซิน จังหวัดปัตตานี

ที่ได้มีการประกาศให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล และจัดคู่มือเกี่ยวกับการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนที่สามารถนำมาเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนนโยบายในการประกาศพื้นที่คุ้มครองแล้ว ยังสามารถที่จะใช้เป็นข้อมูลในการที่จะระดมทุนเพื่อที่จะนำมาใช้ในการดำเนินการอนุรักษ์และบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างเป็นรูปธรรม

วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. นับเป็นกลไกสำคัญของรัฐในการขับเคลื่อนให้การสนับสนุนงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์คิดค้น หรือนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และสามารถถ่ายทอดเป็นองค์ความรู้สู่ชุมชน รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม

การประกาศพื้นที่ที่มีระบบนิเวศที่เปราะบางให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการที่จะแก้ไขปัญหาของความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติในระบบนิเวศนั้น ๆ แต่ก็ยังขาดการศึกษาเพื่อที่จะเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ว่าการที่กำหนดให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลนั้น

นอกจากจะตอบสนองเป้าหมายของการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศที่เปราะบางเสี่ยงต่อการถูกทำลายโดยฝีมือมนุษย์แล้ว ยังเป็นผลประโยชน์กับความอยู่รอดของมนุษย์และมีความคุ้มทุนทางด้านเศรษฐกิจอีกด้วย

รศ.อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์ นักวิจัยอิสระ เปิดเผยว่า เป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้คือการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเลในพื้นที่นำร่อง 3 แห่ง

เพื่อพิสูจน์ว่าการลงทุนในการดำเนินการเพื่อยกระดับความเข้มข้นของมาตรการในการป้องกัน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรในพื้นที่คุ้มครองทางทะเล รวมทั้งชดเชยค่าเสียโอกาสของรายได้ของหน่วยเศรษฐกิจ ที่จะได้รับผลกระทบจากการจำกัดการใช้ประโยชน์ในพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและพื้นที่ใกล้เคียงนั้นคุ้มทุนเมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม

และเมื่อวิเคราะห์ถึงความอุดมสมบูรณ์ในแต่ละพื้นที่แล้วพบว่าพื้นที่คุ้มครองทางทะเลอ่าวตราด เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืชตามสภาพทางธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของโลมาอิรวดีซึ่งเป็นสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ที่พบได้ไม่กี่แห่งในประเทศไทย

นอกจากนี้ยังมีสัตว์ทะเลที่หายาก โดยชายฝั่งทะเลของจังหวัดตรังมีสัตว์ทะเลหายากที่พบในจังหวัดตรัง ได้แก่ โลมาหลังโหนก โลมาปากขวด โลมาหัวบาตรหลังเรียบ โลมาลายแถบ โลมาริสโซ่ เต่าตนุ เต่าหญ้า และพะยูน

ส่วนพื้นที่คุ้มครองทางทะเลเกาะโลซิน อยู่ในเขตปกครองของอำเภอ ปะนาเระ จังหวัดปัตตานี จัดเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลประเภท Off-shore Marine Protected Area ที่มีทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีแนวปะการังที่สำคัญ

เช่น ปะการังโขด ปะการังเขากวาง ปะการังช่องเล็ก ปะการังดอกกะหล่ำ และยังเป็นแหล่งหากินของชนิดพันธุ์สัตว์หายาก เช่น ฉลามวาฬ ปลาโรนัน และกระเบนราหู ขณะเดียวกันก็มีความเปราะบางและเสี่ยงต่อการถูกทำลายโดยการกระทำของมนุษย์ เช่น การประมง และการท่องเที่ยว


เมื่อพิจารณาถึงงบประมาณลงทุนเพื่อการจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและบริหารให้มีประสิทธิภาพแล้ว

- พื้นที่คุ้มครองทางทะเลอ่าวตราดจำเป็นต้องมีการใช้งบประมาณ 152.7 ล้านบาท

-พื้นที่คุ้มครองทางทะเลชายฝั่งทะเลจังหวัดตรังงบประมาณที่จะต้องใช้คือ 290.9 ล้านบาท

-พื้นที่คุ้มครองทางทะเลเกาะโลซิน งบประมาณที่จะต้องใช้คือ 227.5 ล้านบาท

ยอดเงินทั้งสามนี้ยังไม่ได้รวมถึงงบประมาณที่คำนวณไว้สำหรับการชดเชยค่าเสียโอกาสของรายได้จากการทำการประมง กรณีที่มีการกำหนดเขตห้ามจับสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น รวมถึงงบประมาณของการฟื้นฟูและปลูกหญ้าทะเลและป่าชายเลนสำหรับพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและพื้นที่คุ้มครองทางทะเลชายฝั่งทะเลจังหวัดตรัง

และยังไม่ได้รวมถึงงบประมาณสำหรับการคุ้มครองและอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พะยูน ฉลามวาฬและกระเบนราหู

ประโยชน์ที่ได้จากการลงทุนเพื่อการจัดตั้งและบริหารพื้นที่คุ้มครองทางทะเลมีอยู่ 3 ด้านด้วยกันคือ รายได้จากการจับสัตว์น้ำในบริเวณชายฝั่งทะเล มูลค่าของคาร์บอนจากพื้นที่หญ้าทะเลและป่าชายเลนที่เพิ่มขึ้นและมูลค่าที่ไม่ได้เกิดจากการใช้ของสัตว์ทะเลหายากที่พบในพื้นที่คุ้มครองทางทะเล

ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของพื้นที่คุ้มครองทางทะเลทั้ง 3 พื้นที่ชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า สังคมโดยรวมจะได้ประโยชน์สุทธิน้อยกว่าหากมีการเพิ่มค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครองและอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากในพื้นที่คุ้มครองทางทะเล

ทั้งนี้แม้ว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิของทั้ง 3 พื้นที่มีค่าเป็นบวกซึ่งมีความหมายว่าการลงทุนเพิ่มขึ้นในส่วนของการคุ้มครองและอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากนั้นเป็นการลงทุนที่คุ้มทุน

แต่เมื่อมูลค่าปัจจุบันสุทธิต่ำกว่ากรณีที่ไม่ลงทุน เกณฑ์ในการตัดสินใจก็คือไม่ควรจะลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ผลของการวิเคราะห์ ครั้งนี้ขึ้นอยู่กับมูลค่าที่ไม่ได้เกิดจากการใช้ (non-use) ที่ประเมินภายใต้โครงการนี้

ซึ่งในอนาคตจะเปลี่ยนไปได้เมื่อสภาพเศรษฐกิจสังคมเปลี่ยนแปลงไปเมื่อจำนวนประชากรของสัตว์ทะเลหายากเปลี่ยนไป และเมื่อประชาชนทั่วไปมีการรับรู้มากกว่านี้เกี่ยวกับภัยคุกคามและโอกาสที่จะแก้ไขสถานการณ์ที่ทำให้สัตว์ทะเลหายากของประเทศไทยเสี่ยงสูญพันธุ์

สำหรับการขยายผลต่อยอดเกี่ยวกับต้นทุนในการจัดตั้งและบริหารพื้นที่คุ้มครองทางทะเลนั้น ก็จะสามารถนำไปเติมช่องว่างของความรู้ในส่วนของประเทศไทย

นอกจากนั้น ต้นทุนที่คำนวณได้นี้ก็เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่จะสามารถนำไปใช้ต่อยอด เพื่อการสร้างกลไกทางการเงินเพื่อที่จะนำมาใช้ให้บังเกิดผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ และเพื่อที่จะไม่ให้พื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่ประกาศไว้กลายเป็นเพียงพื้นที่คุ้มครองทางทะเลในหลักการเท่านั้น.


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1082139