PDA

View Full Version : สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2566


สายน้ำ
15-08-2023, 02:36
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย

อนึ่ง พายุ "แลง" (LAN) ได้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นและได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงแล้ว ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าว โปรดตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 15 - 16 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ส่วนในช่วงวันที่ 17 ? 20 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มตลอดช่วง ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนด้านภาคตะวันออกควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 13 ? 15 ส.ค. 66 นี้ไว้ด้วย


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660815_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660815_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660815_Sat1.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660815_Sat1.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660815_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660815_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

สายน้ำ
15-08-2023, 02:41
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


แพลงก์ตอนบลูมที่บางแสน เกิดบ่อย! แต่สถานีวัดสมุทรศาสตร์ใช้วิเคราะห์ทะเลยังไม่เพียงพอ .............. ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660815_Mgr_02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660815_Mgr_02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)
ขอบคุณภาพจาก ชอบจัง บางแสน ย้ำเตือนว่าแพลงก์ตอนไม่มีพิษ ยังคงกินสัตว์น้ำได้ครับ

ทะเลชายฝั่งบางแสน ศรีราชา เกิดแพลงก์ตอนบลูมต่อเนื่อง จึงอยากสรุปให้เพื่อนธรณ์ทราบอีกครั้ง

น้ำเขียวปี๋เกิดจากแพลงก์ตอนพืชเพิ่มจำนวนมากผิดปรกติ แพลงก์ตอนที่พบในตอนนี้ไม่มีพิษ ยังกินอาหารทะเลได้ตามปรกติ

แต่น้ำเขียวไม่น่าเล่นน้ำ/ท่องเที่ยว ยังส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและระบบนิเวศ ออกซิเจนลดลงโดยเฉพาะบริเวณพื้นทะเล บางครั้งทำให้สัตว์น้ำตาย ยังส่งผลต่อการประมงชายฝั่งและการเพาะเลี้ยง

แพลงก์ตอนบลูมเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นจากธาตุอาหารลงทะเลมากในหน้าฝน บางจังหวะมีแดดแรง กระบวนการในทะเลเหมาะสม ทำให้แพลงก์ตอนพืชเพิ่มเร็ว

มนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องเพราะเราเพิ่มธาตุอาหารลงไป ทั้งการเกษตร น้ำทิ้ง ฯลฯ

แพลงก์ตอนบลูมเริ่มก่อตัวในทะเลนอก และขยายจำนวนขึ้น จนเข้าสู่ระยะสุดท้ายบริเวณชายฝั่ง

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดน้ำเข้าไปรวมที่อ่าวไทยตอนในแถวชลบุรี ทำให้น้ำเขียวรวมตัวอยู่แถบนั้น

ระยะสุดท้ายของแพลงก์ตอนบลูมจะเกิดเพียงช่วงสั้นๆ ไม่กี่วัน จากนั้นจะหมดไป แต่อาจเกิดขึ้นใหม่ตามลมที่พัดพามวลน้ำเข้ามา

ยังมีปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมที่เกิดตามปากแม่น้ำได้อีกด้วย แต่สุดท้ายลมในช่วงนี้ก็พัดไปรวมที่ชายฝั่งชลบุรี

เมื่อถึงช่วงปลายปี ลมมรสุมเปลี่ยนทิศ แพลงก์ตอนบลูมแถวชลบุรีอาจลดลง แต่ปีหน้าก็อาจกลับมาใหม่ตามลมมรสุม

โลกร้อนอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับแพลงก์ตอนบลูม ตามการศึกษาต่างประเทศที่พบว่าน้ำเขียวทั่วโลกเกิดถี่ขึ้นเรื่อย และขยายพื้นที่ไปในบริเวณต่างๆ ของโลก

เราวัดคลอโรฟิลล์ในผิวหน้าน้ำทะเลได้โดยใช้ดาวเทียม แต่ต้องทำเป็นระบบและติดต่อเป็นประจำ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง
หากเราเข้าใจกระบวนการทางสมุทรศาสตร์เพิ่มขึ้น เช่น วัดกระแสน้ำ คุณภาพน้ำแบบเรียลไทม์ ฯลฯ เราจะเริ่มมีความสามารถในการทำนายและแจ้งเตือน

น่าเสียดายที่สถานีวัดสมุทรศาสตร์แบบดังกล่าวตอนนี้มีเฉพาะที่ศรีราชา เป็นความร่วมมือระหว่างคณะประมง มก./สสน.

ผมเคยเสนอให้มีการติดตั้งสถานีวัดสมุทรศาสตร์เพิ่มเติมไปแล้วอย่างน้อยอีก 2 ที่เพื่อให้ครอบคลุมอ่าวไทยตอนในทั้งหมด ผ่านที่ประชุมระดับชาติไปแล้ว แต่สุดท้ายก็ยังไม่ได้เกิด (เท่าที่ทราบ)

หากเรายังไม่ทำอย่างเป็นระบบ ไม่มีข้อมูลเพียงพอ ทำได้แค่น้ำเขียวเมื่อไหร่ก็ไปตรวจสอบเหมือนอย่างที่เป็นมา เราก็ย่ำอยู่กับที่ ในขณะที่มีแนวโน้มว่าน้ำเขียวจะเพิ่มขึ้นและถี่ขึ้นเรื่อยในอนาคต

ในขณะเดียวกัน การยกระดับการบำบัดน้ำทิ้ง การปรับเปลี่ยนการเกษตรให้เหมาะสม จะช่วยลดปัญหาที่ต้นเหตุ

น้ำคือทุกอย่างของทะเล เมื่อน้ำมีปัญหา ทุกอย่างในทะเลก็มีปัญหา กิจการเกี่ยวกับทะเลย่อมได้รับผลกระทบ

เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะที่ แต่เป็นปัญหาในภาพรวม การแก้ไขไม่สามารถทำเฉพาะครั้งคราว แต่ต้องลงทุนลงแรงทำจริงจังต่อเนื่อง เรียนรู้เพื่อทำนายและแจ้งเตือน กำหนดเป้าในการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

หากเราไม่ลงทุนกับสิ่งเหล่านี้ ทะเลเราก็แย่ลง กิจการเกี่ยวกับทะเลก็ได้รับผลกระทบมากขึ้น

สุดท้ายไม่ว่าเราลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการท่องเที่ยวหรือฝันอยากเป็นอะไร เมื่อน้ำทะเลสีเขียวปี๋บ่อยขึ้นและบ่อยขึ้น เราก็คงยากไปถึงฝัน

โลกเราซับซ้อนมากขึ้น ตัวแปรมีมากมาย หากเราอยากอยู่กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน ได้ประโยชน์ให้เนิ่นนาน เราต้อง "รู้จัก" ทะเลให้มากขึ้น

ณ จุดนี้ เรายังทำความรู้จักกับยุคโลกร้อนทะเลเดือดได้ไม่พอครับ

บทความโดย ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อ้างอิง เพจเฟซบุ๊ค Thon Thamrongnawasawat


https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9660000072921


******************************************************************************************************


เผยแพลงก์ตอนชื่อ "Noctiluca scintillans" ทำทะเลบางแสนเปลี่ยนเป็นสีเขียวมัทฉะ

ศูนย์ข่าวศรีราชา - สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา เผยเหตุทะเลบางแสน เปลี่ยนเป็นสีเขียวมัทฉะว่าเกิดจากแพลงก์ตอนที่มีชื่อว่า "Noctiluca scintillans" เป็นแพลงก์ตอนประจำถิ่นเกิดเป็นประจำทุกปีแต่จะอยู่ในช่วงเวลาไม่นานขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม มั่นใจ พ.ย.นี้กลับมาใสดังเดิม

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660815_Mgr_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660815_Mgr_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

วันนี้ (14 ส.ค.) สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา แจ้งเหตุทะเลบางแสน จ.ชลบุรี ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกรณีที่ทะเลบางแสนกลายเป็นสีเขียวในช่วงหลายวันที่ผ่านมาว่า เกิดจากแพลงก์ตอนที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Noctiluca scintillans" (น็อก-ติ-ลู-กา-ซิน-ทิล-แลนส์) ซึ่งเป็นแพลงก์ตอนที่มีสาหร่ายอยู่ในตัวเองจึงทำให้สามารถสังเคราะห์แสงได้ โดยเฉพาะในช่วงที่มีแสงแดดออกจะยิ่งแบ่งตัวเต็มทะเล จนกลายเป็นแพลงก์ตอนบลูม (Plankton bloom)

โดยแพลงก์ตอนที่มีชื่อว่า "Noctiluca scintillans" เป็นแพลงก์ตอนประจำถิ่นที่เกิดขึ้นทุกปี ซึ่งชาวประมงเรียกกันติดปากว่า "ขี้ปลาวาฬ" ขณะที่ปรากฏการณ์ทะเลสีเขียวจะอยู่เพียงช่วงระยะเวลาเพียงสั้นๆ เท่านั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยประกอบทั้งแสงแดด และธาตุอาหารในน้ำทะเลที่เปรียบเทียบเสมือนปุ๋ยชั้นดีที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และหากมีคลื่นแรงที่ตีอาหารในโคลนทรายมาเพิ่มยิ่งทำให้แพลงก์ตอนได้รับสารอาหารเพิ่มมากขึ้น

ส่วนกรณีที่มีนักท่องเที่ยวบางรายพากันลงเล่นน้ำทะเลในช่วงที่ทะเลเปลี่ยนเป็นสีเขียวนั้น แม้หากจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่สำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ จึงอยากให้นักท่องเที่ยวหลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำในช่วงเวลาดังกล่าว

ทั้งนี้ แพลงก์ตอนจะย่อยสลายเองตามธรรมชาติและจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยเชื่อว่าทะเลบางแสนจะกลับมาใสเช่นเดิมในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้


https://mgronline.com/local/detail/9660000073120

สายน้ำ
15-08-2023, 02:48
ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก


รู้จักโครงการ 'แลนด์บริดจ์' อภิมหาเมกกะโปรเจ็กต์ เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660815_KhomChudLuek_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660815_KhomChudLuek_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

รู้จักโครงการ 'แลนด์บริดจ์' อภิมหาเมกะโปรเจ็กต์ เชื่อมอ่าวไทย-อันดามันอนาคตรองรับเรือขนส่ง 400,000 ลำต่อปี 16-18 ส.ค. นี้เปิดรับฟังความเห็นประชาชนระนอง-ชุมพร

การขยายรากฐานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อให้ไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งและการค้าของเอเชียเป็นเป้าหมายที่สำคัญ โดยที่ผ่านมาสำนักงานขนส่งและจราจร ( สนข.) ศึกษาจัดทำโครงการเเลนด์บริดจ์ (LandBridge) ให้เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคม เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ที่สำคัญหากเมื่อโครงการ "เเลนด์บริดจ์" สามารถทำได้และสำเร็จ จะเป็นการเปลี่ยนทิศทางการขนส่งของโลกให้มาที่ไทย จนไทยกลายเป็นฮับทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยมีการคาดการว่าในอนาคตจะสามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าได้ประมาณ 400,000 ลำต่อปี

เพื่อให้โครงการ "เเลนด์บริดจ์" เป็นโครงการที่สร้างประโยชน์และไม่มีผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รายงานว่าปัจจุบันโครงการ "เเลนด์บริดจ์"ยังอยู่ในขั้นตอนศึกษาการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โดยจะมีการจัดรับฟังความคิดเห็นครั้งแรกจากทั้งหมด 3 ครั้ง ในวันที่ 16-18 ส.ค. 2566 ในพื้นที่จ.ระนอง และจ.ชุมพร เพื่อให้ได้ข้อมูลจากผู้ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายอย่างครบถ้วน รอบด้าน และรอบคอบเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศชาติ จึงได้จัดรับฟังความคิดเห็นสำหรับผู้ได้มีส่วนได้เสียและพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบโครงการแลนด์บริดจ์ ดังนี้

ท่าเรือระนอง วันพุธที่ 16 ส.ค. 2566 เวลา 08.30-12.00 น. จัดขึ้นที่ห้องราชาวดี ชั้น 3 เฮอริเทจ แกรนด์ คอนเวนชั่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง

วันพฤหัสบดีที่ 17 ส.ค. พ.ศ. 2566 เวลา 08.30-12.00 น. ที่ห้องประชุมอุทยานแห่งชาติแหลมสน ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

ท่าเรือชุมพร ในวันศุกร์ที่ 18 ส.ค. พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 ? 12.00 น. ที่ห้องอวยชัยแกรนด์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมอวยชัยแกรนด์ อ.หลังสวน จ.ชุมพร


สำหรับโครงการ "แลนด์บริดจ์" ประกอบด้วย โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกระนอง โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกชุมพร โครงการระบบรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร - ระนอง และโครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ช่วงชุมพร ? ระนอง ซึ่งมีการคาดการไว้ว่าหากโครงการแล้วเสร็จ จะสามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าที่เติบโตและหันมาใช้เส้นทางนี้กว่า 400,000 ลำต่อปีได้ในปี 2594 รวมถึงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบให้เป็นไปตามอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วย

สำหรับโครงการดังกล่าวมีการสรุบรายงานฉบับสมบรูณ์ ไปแล้ว โดยโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทย จัดทำโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ และ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ระบุว่า ทางเลือกที่เหมาะสมในการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน คือ การให้ความสำคัญกับการสร้างเส้นทางเข้าถึงพื้นที่พัฒนาตามแผนปฏิบัติการการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (SEC) โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่และดำเนินการพัฒนาต่อจากสิ่งที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้อาจจะจับตาว่าประชาชนในพื้นที่จะมีความคิดอย่างไร เพราะที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวถูกต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง


https://www.komchadluek.net/quality-life/well-structured/555953