PDA

View Full Version : สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2566


สายน้ำ
26-08-2023, 02:36
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 26 ? 28 ส.ค. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ส่วนในช่วงวันที่ 29 ? 31 ส.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับในช่วงวันที่ 28 ? 31 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย สูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 ? 2 เมตรในช่วงวันที่ 25 ? 27 ส.ค. 66

ส่วนในช่วงวันที่ 28 ? 31 ส.ค. 66 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง พายุโซนร้อน "เซาลา" (SAOLA) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกหรือด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น คาดว่าจะเคลื่อนผ่าน สาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) ในช่วงวันที่ 30 ? 31 ส.ค. นี้ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทยโดยตรง ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปยังบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 29 ? 31 ส.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Sat1.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Sat1.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Warning.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Warning.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

สายน้ำ
26-08-2023, 02:40
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ออสเตรเลียพบ "ปลาเดินได้" พันธุ์หายากเป็นครั้งแรกในรอบ 27 ปี

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

นักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย พบ "ปลาเดินได้" สายพันธุ์ที่พบได้ยาก บริเวณพื้นที่อันห่างไกลทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ นับตั้งแต่การพบเห็นปลาชนิดนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อ 27 ปีที่แล้ว

"ปลาแฮนด์ฟิชตัวแคบ" (narrowbody handfish) ซึ่งเป็นปลาแฮนด์ฟิชสายพันธุ์ที่ไม่ได้พบเห็นมานานกว่า 20 ปี ถูกพบในเขตน้ำลึกใกล้เกาะฟลินเดอร์ส บริเวณช่องแคบบาสส์ ใกล้เกาะแทสมาเนีย

การค้นพบนี้เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางสำรวจขององค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) เป็นเวลาหนึ่งเดือน เพื่อศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลของออสเตรเลียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไร

คาร์ลี เดอวีน เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านการวิจัย กล่าวว่า "ถือเป็นการค้นพบที่น่าตื่นเต้นมาก เพราะนี่เป็นเพียงครั้งที่ 3 ที่เราได้เห็นสัตว์สายพันธุ์นี้" นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสัตว์ตัวเล็กๆ ตัวนี้ซึ่งพบที่ระดับความลึกประมาณ 292 เมตรนั้นเป็นปลาแฮนด์ฟิชตัวแคบ โดยครั้งสุดท้ายที่มีผู้พบเห็นปลาดังกล่าวคือในปี 2539 นอกชายฝั่งรัฐวิกตอเรีย

เดอวีนกล่าวว่า "เราอาจไม่สามารถยืนยันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าเป็นสายพันธุ์นี้ เพราะจริงๆ แล้วคุณจำเป็นต้องรวบรวมตัวอย่างเพื่อดูลักษณะทางอนุกรมวิธานของมัน แค่หากพิจารณาความลึกและตำแหน่งของมัน เราคิดว่าน่าจะเป็นปลาแฮนด์ฟิชตัวแคบ"

ปลาแฮนด์ฟิชตัวแคบไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่พบได้ในน้ำลึกกว่าปลาแฮนด์ฟิชลายจุด ซึ่งส่วนใหญ่พบที่ระดับความลึกระหว่าง 5 ถึง 10 เมตร

ปลาแฮนด์ฟิชตัวแคบถูกพบในสัปดาห์แรก ของการเดินทางของเจ้าหน้าที่ CSIRO ซึ่งกำลังสำรวจสายพันธุ์ที่พบในน่านน้ำทะเลทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการสำรวจในเส้นทางเดียวกับการสำรวจเมื่อ 25 ปีที่แล้ว เพื่อพยายามทำความเข้าใจว่าระบบนิเวศมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และเหตุใดจึงอาจเกิดขึ้น

ริช ลิตเติล หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมในการเดินทางกล่าวว่า "เรายังไม่รู้ว่าพวกมันอพยพลงไปทางใต้หรือไม่ แต่เรารู้ว่านับตั้งแต่ที่มีการพบครั้งล่าสุดเมื่อกว่า 20 ปีก่อน มีการพบปลาแจ็คแมคเคอเรล และปลาแมคเคอเรลสีน้ำเงินมากกว่าเดิมมาก ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าสภาพมหาสมุทรและสภาพที่อยู่อาศัยของสัตว์สายพันธุ์เหล่านั้นเปลี่ยนไปในทางที่ดี"

นอกจากนั้น ในระหว่างการเดินทาง ทีมเจ้าหน้าที่ได้ค้นพบสัตว์น้ำอีกกว่า 10 สายพันธุ์ที่ไม่พบในการสำรวจครั้งก่อน รวมถึงปลาสีสันสวยงามต่างๆ เช่น ปลาโลงศพพู่ (Chaunax fimbriatus) ซึ่งเป็นคางคกทะเลชนิดหนึ่ง.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2720024


******************************************************************************************************


ที่หลบภัยของวาฬเพชฌฆาตในแปซิฟิกเหนือ

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Thairath_02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Thairath_02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

แปซิฟิกตอนเหนือใกล้กับญี่ปุ่นและรัสเซียเป็นที่อยู่ของวาฬเพชฌฆาตหลายกลุ่ม แต่พวกมันไม่มีการติดต่อซึ่งกันและกัน ไม่หาอาหารแบบเดียวกัน ไม่สื่อสารด้วยภาษาถิ่นเดียวกัน ไม่ผสมพันธุ์กัน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นในเมื่อพวกมันอาศัยอยู่ใกล้กันและเป็นสายพันธุ์เดียวกัน นี่คือสิ่งที่นักวิจัยสงสัย

ล่าสุดนักชีววิทยาที่ศึกษาวาฬจากมหา วิทยาลัยเซาเทิร์น เดนมาร์ก ในเดนมาร์ก เผยว่าหลังจากได้สำรวจมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือหลายครั้ง และใช้การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมโดยตัดชิ้นเนื้อผิวหนังของวาฬ และการวิเคราะห์เสียงกลุ่มวาฬที่บันทึกด้วยไมโครโฟนใต้น้ำ ก็ได้ผลลัพธ์บางส่วนเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างวาฬเพชฌฆาตกับประวัติศาสตร์หลังยุคน้ำแข็งในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าวาฬเพชฌฆาตที่อาศัยอยู่ใกล้ช่องแคบเนมูโระ ทางตอนเหนือของญี่ปุ่นนั้น เป็นลูกหลานของวาฬเพชฌฆาตที่มาตั้งรกรากที่นั่นในช่วงยุคน้ำแข็งสุดท้ายเมื่อประมาณ 20,000 ปีก่อน สถานที่แห่งนี้ได้ถูกเลือกให้เป็นแหล่งหลบภัยตั้งแต่ของบรรพบุรุษวาฬเพชฌฆาตที่อยู่ห่างไกล และลูกหลานวาฬชนิดนี้ก็อาศัยอยู่ที่นั่นนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

นักชีววิทยาระบุว่า นี่เป็นครั้งที่ 2 ที่พบแหล่งหลบภัยของวาฬเพชฌฆาตจากยุคน้ำแข็ง โดยจุดแรกอยู่ใกล้กับหมู่เกาะอะลู เชียน ซึ่งการค้นพบวาฬผู้ลี้ภัยจากยุคน้ำแข็งทั้ง 2 แห่งนี้ จะช่วยให้เข้าใจได้ว่าวาฬเพชฌฆาตสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างไร พวกมันมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนตัวไปทางเหนือเมื่อน้ำแข็งละลาย ทั้งที่จริงๆ แล้ววาฬเพชฌฆาตเป็นสัตว์อนุรักษนิยมและยึดติดขนบเดิมๆ มันไม่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงขนบของตน เว้นแต่จะมีเหตุผลที่ดีมากๆ.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2719857

สายน้ำ
26-08-2023, 02:43
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


ฮือฮา! พบ "วาฬหลังค่อม" ในน่านน้ำไทยเป็นครั้งที่ 2 หลังหายไปนาน 14 ปี

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Mgr_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Mgr_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลฯ ภูเก็ต เผยข่าวดี หลังมีรายงานจากนักท่องเที่ยวว่าพบวาฬขนาดใหญ่บริเวณทะเลภูเก็ต ก่อนได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญว่าเป็น "วาฬหลังค่อม" ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 2 ที่มีรายงานการพบวาฬชนิดนี้ในน่านน้ำไทย

เฟซบุ๊กเพจกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โพสต์คลิปวิดีโอสั้นๆ ที่เก็บภาพวาฬขนาดใหญ่ได้ บริเวณทะเลภูเก็ต ก่อนที่ภายหลังจะได้รับการยืนยันว่าเป็น "วาฬหลังค่อม" โดยทางเพจได้ให้ข้อมูลว่า


เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จังหวัดภูเก็ต ได้รับแจ้งพบวาฬขนาดใหญ่ จากคุณเจริญ ชนะพล ซึ่งเดินทางโดยเรือท่องเที่ยวออกจากจังหวัดภูเก็ต มุ่งหน้าสู่เกาะพีพี จังหวัดพังงา ซึ่งได้รับการยืนยันจากสัตวแพทย์หญิงราชาวดี จันทรา นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ว่าเป็นชนิดวาฬหลังค่อม (Humpback whale; Megaptera novaeangliae)

วาฬหลังค่อม (Humpback whale; Megaptera novaeangliae) เป็นวาฬซี่กรองขนาดกลาง ลำตัวสีดำ ปลายครีบข้างและท้องมีสีขาว โตเต็มที่มีความยาว 11-17 เมตร น้ำหนักประมาณ 40 ตัน ลูกแรกเกิดยาว ประมาณ 4 เมตร หนัก 680 กิโลกรัม ร่องใต้คางจำนวน 12-36 ร่อง ซี่กรองมีสีดำหรือสีเขียวมะกอก จำนวน 270 ? 400 ซี่

ลักษณะเด่นประจำสายพันธุ์ มีปุ่มกลมที่ส่วนหัว มีครีบข้างยาวถึง 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว มีสันหยักเป็นลอนคล้ายฟันเลื่อย จากครีบหลังไปถึงโคนหาง ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางหาง ฐานครีบข้างกว้างเป็นโหนก ครีบหลังสั้นหนาแต่ละตัวมีลักษณะแตกต่างกัน อาหารของวาฬหลังค่อม คือ ฝูงปลาขนาดเล็ก เคย ปู หมึก และโคพิพอด

โดยวาฬหลังค่อม ถูกพบเห็นในน่านน้ำไทยครั้งแรกเมื่อปี 2552 ที่อ่าวปอ จังหวัดภูเก็ต โดยมีภาพถ่ายยืนยันจากนักท่องเที่ยวเพียงภาพเดียวเท่านั้น และครั้งการพบเห็นครั้งนี้เป็นรายงานการพบเห็นครั้งที่สอง

หากท่านใดพบเห็น ขอความอนุเคราะห์เดินเรือด้วยความระมัดระวัง ลดความเร็วเร็วเรือให้ต่ำกว่า 7 น็อต ในรัศมี 400 เมตร จากตัววาฬ และใช้ความเร็วเรือไม่เกิน 4 น็อต ในรัศมี 100-300 เมตร จากวาฬ ไม่ควรเข้าใกล้เกิน 100 เมตร หากวาฬว่ายเข้าใกล้เรือ ให้หยุดเรือ ไม่เปลี่ยนทิศทาง และความเร็วเรืออย่างกะทันหัน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อวาฬ ไม่แนะนำให้ว่ายน้ำหรือลงเล่นน้ำกับวาฬ ซึ่งอาจทำให้บาดเจ็บหรือถึงขึ้นเสียชีวิต รวมทั้งอาจจะติดเชื้อโรคจากสัตว์สู่คน และคนสู่สัตว์ และไม่ควรให้อาหารแก่วาฬในธรรมชาติ

สามารถแจ้งการพบเห็นได้ที่ สายด่วนกรมทะเลและชายฝั่ง 1362 หรือทางเพจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


https://mgronline.com/travel/detail/9660000076745

สายน้ำ
26-08-2023, 02:46
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


เลี้ยง "หอยเป๋าฮื้อ" ราชินีแห่งคอลลาเจน รสชาติดี ราคาปัง

กรมประมงชวนเลี้ยง "หอยเป๋าฮื้อ" ราชินีแห่งคอลลาเจน เผยเลี้ยงง่าย เนื้อเยอะ รสชาติดี ราคาสูงขั้นต่ำกิโลกรัมละ 1,000 บาท

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Bkkbiz_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Bkkbiz_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

"หอยเป๋าฮื้อ"? หอยทะเลที่มีมูลค่าทางการตลาดสูง เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ด้วยสรรพคุณที่มีส่วนช่วยบำรุงร่างกาย ทั้งระบบประสาทและสมอง รวมถึงช่วยบำรุงกระดูก ข้อต่อ จึงนิยมนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้ หอยเป๋าฮื้อ ยังมีคอลลาเจนที่มีคุณภาพสูง จึงถูกขนานนามว่าเป็น "ราชินีแห่งคอลลาเจน"

จากรายงานพบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2556-2565 ประเทศไทยนำเข้าหอยเป๋าฮื้อมีมูลค่าการนำเข้าเฉลี่ย 18.35 ล้านบาท และมีมูลค่าการส่งออกเฉลี่ย 5.81 ล้านบาท โดยทั่วไปส่วนใหญ่ตลาดต้องการหอยที่มีขนาดใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 200-250 กรัม หรือประมาณ 4-5 ตัวต่อกิโลกรัม ซึ่งหอยเป๋าฮื้อของไทยสามารถเข้าสู่ตลาดนี้ได้น้อยมาก

เนื่องจากผลิตภัณฑ์หอยเป๋าฮื้อของไทยในอดีตได้มาจากการจับจากธรรมชาติทั้งหมดส่งผลทำให้ไม่สามารถควบคุมให้ได้ขนาด คุณภาพและปริมาณที่แน่นอนอย่างต่อเนื่องไม่ได้ กรมประมงให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้เริ่มทำการศึกษาวิจัยการเพาะและอนุบาลหอยเป๋าฮื้อพันธุ์ไทยชนิด Haliotis asinina จนประสบผลสำเร็จในปี 2531 โดยศูนย์พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จ.ระยอง หลังจากนั้นกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ ได้พัฒนาเทคนิคการเพาะพันธุ์หอยเป๋าฮื้อพันธุ์ไทยจนสามารถควบคุมการผสมพันธุ์และผลิตลูกหอยปริมาณมากได้ตลอดทั้งปี

นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า หอยเป๋าฮื้อพันธุ์ไทยชนิด H. asinina เป็นชนิดที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาการเลี้ยงในระดับพาณิชย์ เนื่องจากสามารถเพาะเลี้ยงได้ง่าย ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำในประเทศไทยได้ดี และมีอัตราการแลกเปลี่ยนเนื้อเยอะ ซึ่งนอกจากกรมประมงได้พัฒนาเทคนิคในการเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อพันธุ์ไทยชนิด H. asinina จนสามารถเพาะและผลิตลูกพันธุ์จำนวนมากได้ต่อเนื่องทั้งปีแล้ว ยังได้ถ่ายทอดเทคนิคการเพาะเลี้ยงให้แก่เกษตรกรได้นำไปประกอบเป็นอาชีพในการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อตามพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน

เลี้ยง "หอยเป๋าฮื้อ" ราชินีแห่งคอลลาเจน รสชาติดี ราคาปังเลี้ยง "หอยเป๋าฮื้อ" ราชินีแห่งคอลลาเจน รสชาติดี ราคาปังเลี้ยง ?หอยเป๋าฮื้อ? ราชินีแห่งคอลลาเจน รสชาติดี ราคาปังเลี้ยง "หอยเป๋าฮื้อ" ราชินีแห่งคอลลาเจน รสชาติดี ราคาปัง

ปัจจุบันเริ่มมีผลผลิตหอยเป๋าฮื้อพันธุ์ไทยชนิด H. asinina จากการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงของเกษตรกรสู่ตลาดภายในประเทศแล้วซึ่งคาดว่าในอนาคตจะมีการส่งออกหอยเป๋าฮื้อไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องตลาดหอยเป๋าฮื้อไม่น่าเป็นห่วงเนื่องจากเป็นสัตว์น้ำมูลค่าสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ยังติดปัญหาที่เรื่องต้นทุนการผลิตหอยที่สูง กรมประมงจึงได้มีนโยบายให้นักวิชาการทดลองเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อพร้อมจำหน่ายลูกพันธุ์ให้กับเกษตรกรเพื่อช่วยลดต้นทุนให้ต่ำลงพร้อมให้คำแนะนำในการเพาะเลี้ยงอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ได้มีแผนในการปล่อยลูกพันธุ์หอยเป๋าฮื้อคืนสู่ท้องทะเลเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณในธรรมชาติให้มีปริมาณเพิ่มมากยิ่งขึ้น

นางสุทธินี ลิ้มธรรมมหิศร ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กล่าวว่า หอยเป๋าฮื้อ หรืออะบาโลน (abalone) จัดเป็นหอยทะเลฝาเดียวทุกชนิดที่อยู่ในสกุล Haliotis และมีชื่อเรียกสามัญแตกต่างกันไปตามสถานที่เช่น หอยโข่งทะเล หอยร้อยรู หรือหอยตัวผู้ เป็นต้น หอยเป๋าฮื้อที่พบทั้งหมดในโลกมีประมาณ 70-80 ชนิด แต่ชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมีประมาณ 22 ชนิด

แต่ในส่วนของประเทศไทยจากการสำรวจของ อนุวัฒน์ นทีวัฒนา และ ยอห์น ฮิลลิเบริก. 2539. การสำรวจหอยโข่งทะเลบริเวณรอบเกาะภูเก็ตและการศึกษาความเป็นไปได้ของการเลี้ยงหอยโข่งทะเลในประเทศไทย. วารสารการประมง 36 (2): 177-190. พบว่ามีหอยเป๋าฮื้ออยู่ 3 ชนิด ได้แก่ Haliotis asinina, H. ovina และ H. varia

หอยเป๋าฮื้อพันธุ์ไทยชนิด H. asinina เป็นชนิดที่กรมประมงเพาะพันธุ์ได้ จะมีลักษณะเด่นคือมีเปลือกติดกับกล้ามเนื้อเท้าขนาดใหญ่แข็งแรง ไม่มีฝาปิดเปลือก มีลักษณะคล้ายจานรี มีสีเขียวเข้ม น้ำตาลหรือแดงคล้ำ ตามขอบเปลือกมีรูเล็กๆ เรียงเป็นแถวยาวไปจนถึงขอบปาก รูบนเปลือกของหอยจะสร้างเพิ่มขึ้นตลอดเวลาเมื่อหอยโตขึ้น ส่วนรูเก่าจะถูกปิดไปขึ้นกับชนิดของหอยเป๋าฮื้อ

สำหรับการเพาะเลี้ยงพันธุ์หอยเป๋าฮื้อจะใช้เวลาในการเลี้ยงประมาณ 1 ปี ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลจากนักวิชาการพบว่า พ่อแม่พันธุ์หอยจะมีความสมบูรณ์เพศตลอดทั้งปี แต่ไข่จะมีปริมาณมากที่สุดในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ในส่วนของการปล่อยไข่ในแต่ละครั้งจะขึ้นอยู่กับขนาดของแม่หอยหากมีขนาดเล็กก็จะให้ปริมาณไข่น้อย ดังนั้น เพศเมียที่เหมาะสมกับการนำมาเพาะจะมีขนาดตั้งแต่ 5.5 ซม.ขึ้นไป ซึ่งจะสามารถให้ไข่ในแต่ละครั้งจำนวน 200,000 - 600,000 ฟอง/ตัว อัตราการฟัก 60-80% และพัฒนาถึงระยะเกาะวัสดุประมาณ 30% และมีอัตรารอด 0.5% เป็นลูกหอยขนาด 1-2 มม.

สำหรับ ขั้นตอนการเลี้ยงที่สำคัญ คือการเตรียมสถานที่ที่จะเพาะเลี้ยงหอย โดยจะต้องเป็นสถานที่ที่อยู่ใกล้ทะเลเพราะจะต้องมีการสูบน้ำให้ไหลหมุนเวียนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งยังควรเป็นสถานที่ที่อยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อป้องกันผลผลิตเสียหายได้ เมื่อได้สถานที่แล้วเตรียมบ่อสำหรับเลี้ยงพันธุ์หอย และที่หลบซ่อนของตัวหอยเป๋าฮื้อ เช่นกระเบื้องมุมโค้ง หรือแผ่นพีวีซีงอเป็นรูปตัว ?V? จากนั้นสูบน้ำเข้าบ่อพัก โดยน้ำจากบ่อพักจะผ่านเข้าสู่บ่อกรอง ซึ่งมีวัสดุจำพวกกรวดและทรายช่วยกรองน้ำก่อนแล้วจึงใช้ถุงกรอง

ซึ่งเป็นผ้าสักหลาดมีขนาดช่องตา 5?10 ไมครอน กรองอีกครั้งที่ปลายท่อส่งน้ำก่อนเปิดลงสู่บ่อเลี้ยง เมื่อเตรียมบ่อเรียบร้อยแล้วก็สามารถหาพันธุ์หอยเป๋าฮื้อมาเลี้ยงลงในบ่อได้ ส่วนอาหารที่ให้แก่หอยมีทั้งสาหร่ายผมนาง สาหร่ายสีแดงชนิดต่าง ๆ และอาหารสำเร็จรูป โดยให้สาหร่ายไม่เกินร้อยละ 20 ของน้ำหนักหอย ทุก ๆ 2 วัน หรืออาหารสำเร็จรูปไม่เกินร้อยละ 3 ของน้ำหนักหอย โดยให้วันละครั้ง และควรจัดการคุณภาพน้ำในบ่อให้ดีอยู่เสมอ ป้องกันไม่ให้เกิดน้ำเน่าเสียซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตของเราได้ ใช้เวลาเพาะเลี้ยงประมาณ 1 ปี ก็สามารถเก็บผลผลิตไปขายได้ ซึ่งจากการสำรวจราคาหอยในตลาดปัจจุบันพบว่าหอยเป๋าฮื้อขนาด 3-5 ซม. ราคาขาย 1,000 บาท/กก. และขนาด 7 ซม. ราคาขายขั้นต่ำ 1,500 บาท/กก.

อย่างไรก็ตามถึงแม้การเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อจะได้ราคาดีแต่โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลานาน ทำให้ระหว่างการเพาะเลี้ยงเกษตรกรไม่มีรายได้จากการเลี้ยงหอยเข้าสู่ฟาร์ม ขณะที่ในช่วงดังกล่าวเกษตรกรจะต้องมีรายจ่ายค่าไฟฟ้าและค่าแรงงานอยู่แล้ว และจากการที่หอยเป๋าฮื้อเป็นสัตว์กินพืช ทำให้สิ่งขับถ่ายมีความเป็นพิษต่ำ ดังนั้น การทำฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อแบบผสมผสานจึงเป็นแนวทางที่จะทำให้เกิดรายได้เข้าสู่ฟาร์ม เป็นการใช้ทรัพยากรในฟาร์มอย่างคุ้มค่าและกระจายความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจอีกด้วยหากมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี

จากการศึกษาสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ที่สามารถเพาะเลี้ยงแบบผสมผสานในฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อได้ดี ควรเป็นสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว ใช้พื้นที่ในการอนุบาลไม่มากและตลาดมีความต้องการสูง เช่น หอยหวาน ชนิด Babylonia areolata หรืออาจเป็นปลาทะเลสวยงามชนิดต่างๆ ปูม้า หรือสาหร่ายทะเล เป็นต้น

ปัจจุบันประเทศไทยสามารถพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อสายพันธุ์ไทยได้เป็นอย่างดีทำให้สามารถพัฒนาผลผลิตให้ได้ขนาด คุณภาพ และปริมาณได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปัจจุบันได้มีหอยเป๋าฮื้อขนาดเล็กถูกป้อนเข้าสู่ตลาด อาทิ หอยเป๋าฮื้อสายพันธุ์ไต้หวัน และเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากรสชาติดี และราคาถูกกว่าหอยขนาดใหญ่

ดังนั้นหากประเทศไทยสามารถพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อสายพันธุ์ไทยให้เป็นที่นิยมแพร่หลายเป็นระดับอุตสาหกรรมก็จะสามารถผลักดันนำเข้าสู่ตลาดหอยขนาดเล็กนี้ได้ทันที สำหรับเกษตรกรผู้สนใจเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อชนิดดังกล่าวสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ เบอร์โทรศัพท์ 0-3266-1398 หรือ กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เบอร์โทรศัพท์ 0-2579-4496


https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1085329

สายน้ำ
26-08-2023, 02:49
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV


ญี่ปุ่นเผยผลตรวจน้ำทะเลปลอดภัย คนจีนตื่นแห่กักตุนเกลือ

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Nation_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660826_Nation_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

บริษัทเทปโกของญี่ปุ่น เผยผลสุ่มตรวจตัวอย่างน้ำทะเลรอบโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ หลังการปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังที่ผ่านการบำบัดลงสู่ทะเล ยังอยู่ในระดับปลอดภัย ขณะที่ในจีนมีการแห่ซื้อเกลือกักตุน เนื่องจากวิตกว่า ต่อไปเกลืออาจมีการปนเปื้อน

บริษัทโตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ คอมพานี หรือ เทปโก (TEPCO) ยืนยันในวันศุกร์ (25 สิงหาคม) ว่า ผลการตรวจตัวอย่างน้ำทะเล หลังการปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังที่ผ่านการบำบัดจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อวันพฤหัสบดี (24 สิงหาคม) ยังอยู่ในเกณฑ์ที่มีความปลอดภัย โดยมีปริมาณความเข้มข้นของทริเทียมต่ำกว่า 10 เบ็กเคอเรลต่อลิตรใน 10 จุดที่มีการเก็บตัวอย่างน้ำทะเล ขณะที่มาตรฐานความปลอดภัยของประเทศอยู่ในระดับ 60,000 เบ็กเคอเรล

เทปโกเผยผลการตรวจวิเคราะห์น้ำ ที่เก็บจาก 10 จุดภายในระยะ 3 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้า เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากการปล่อยน้ำปนเปื้อนลงทะเลในบ่ายวันพฤหัสบดี และบริษัทจะตรวจสอบน้ำทะเลทุกวันและเผยผลการวิเคราะห์ในวันรุ่งขึ้นตลอดหนึ่งเดือนข้างหน้า

ขณะเดียวกันกระทรวงสิ่งแวดล้อม ส่งเรือ 4 ลำไปเริ่มเก็บตัวอย่างน้ำทะเลใน 11 จุดภายในรัศมีเกือบ 50 กม. จากโรงไฟฟ้าในวันศุกร์ (25 สิงหาคม) และจะเผยผลการตรวจวิเคราะห์ในวันอาทิตย์หรือหลังจากนั้น รวมทั้งวางแผนเผยแพร่ข้อมูลที่รวบรวมจากการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำทะเลทุกสัปดาห์เป็นเวลาราว 3 เดือน

ผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า ทริเทียมส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์น้อยกว่าสารกัมมันตรังสีอื่น ๆ เช่น ซีเซียม และสตรอนเทียม โดยมีการแผ่รังสีที่อ่อนมาก และไม่สะสมในร่างกาย

ขณะที่แผนการกำจัดน้ำปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ที่มีมากถึง 1.34 ล้านตันอาจใช้เวลาอย่างน้อย 30 ปี

แม้ญี่ปุ่นพยายามยืนยันให้ความมั่นใจว่า แผนการปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดลงทะเลเป็นไปตามมาตรฐานสากล แต่รัฐบาลจีนตัดสินใจระงับการนำเข้าอาหารทะเลทั้งหมดจากญี่ปุ่น โดยมีผลบังคับใช้ทันทีหลังญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำ

ความวิตกเรื่องน้ำทะเลอาจปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตรังสี ทำให้ชาวจีนแห่ซื้อเกลือกักตุนไว้ และมีคลิปแพร่สะพัดในโซเชียลมีเดียเผยให้เห็นลูกค้าพากันซื้อเกลือถุงใหญ่ที่ร้านค้าแห่งหนึ่งในอำเภอเต้าเซี่ยน มณฑลหูหนาน

กลุ่มอุตสาหกรรมเกลือแห่งชาติ ที่เป็นรัฐวิสาหกิจของจีน และผู้ผลิตเกลือรายใหญ่ที่สุดของจีน เรียกร้องให้ประชาชนอย่าแห่ซื้อเกลือกักตุนด้วยความแตกตื่น หลังจากเกลือถูกซื้อจนเกลี้ยงชั้นวางในซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่ง และเกลือถูกซื้อจนหมดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในบางพื้นที่ รวมถึง ปักกิ่ง และเซี่ยงไฮ้

บริษัท ระบุด้วยว่า ประชาชนบริโภคเกลือทะเลเพียง 10% ของเกลือทั้งหมด โดยส่วนที่เหลือเป็นเกลือจากบ่อและทะเลสาบ ซึ่งปลอดภัยจากการปนเปื้อน


https://www.nationtv.tv/foreign/378928141