PDA

View Full Version : สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม 2566


สายน้ำ
28-08-2023, 01:51
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "เซาลา" (SAOLA) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกหรือด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) ในช่วงวันที่ 30 ส.ค. - 1 ก.ย.นี้ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทยโดยตรง ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปยังบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 27 ? 28 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย สูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 29 ส.ค. ? 2 ก.ย. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "เซาลา?" (SAOLA) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกหรือด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) ในช่วงวันที่ 30 ส.ค. ? 1 ก.ย. นี้ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทยโดยตรง ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปยังบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 29 ส.ค. ? 2 ก.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง



******************************************************************************************************



ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 3 (228/2566) (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม - 3 กันยายน 2566)


ร่องมรสุมกำลังแรงจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้


วันที่ 29 สิงหาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก: จังหวัดจันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต



วันที่ 30 สิงหาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต



วันที่ 31 สิงหาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง



วันที่ 1 - 3 กันยายน 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่


สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660828_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660828_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660828_Sat1.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660828_Sat1.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660828_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660828_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660828_Warning03.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660828_Warning03.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

สายน้ำ
28-08-2023, 02:48
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ญี่ปุ่นปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีสู่ทะเล แม้บำบัดแล้ว จะปลอดภัยแค่ไหน? .......... Thairath Plus Nature Matter

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660828_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660828_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


Summary

- ญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะที่ประสบภัยสึนามิลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกในวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมาแม้ว่าประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะจีนและเกาหลีจะต่อต้านก็ตาม เพราะอาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอาหารทะเล

- สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ให้ข้อมูลว่า น้ำที่ปนเปื้อนจะได้รับการบำบัดผ่านระบบการบำบัดน้ำเสียขั้นสูง (Advanced Liquid Processing System: ALPS) ที่ตรวจสอบแล้วปลอดภัยตามมาตรฐานของ IAEA

- แผนปล่อยน้ำนี้ดำเนินมาหลายปีแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ออกมาเตือนในปี 2019 ว่า พื้นที่สำหรับเก็บวัสดุกำลังจะหมด ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากปล่อยน้ำในรูปแบบที่ผ่านการบำบัดและเจือจางสูง

- สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มีการศึกษาและแนะให้ญี่ปุ่นเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ให้มีคนกลางตรวจสอบ และทำงานร่วมกับประเทศผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย



เป็นกระแสไปทั่วโลกกับประเด็นที่ญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ในวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา แม้ว่าประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะจีนและเกาหลีจะต่อต้านก็ตาม เพราะอาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอาหารทะเล

โดยจีนได้ห้ามการนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นทั้งหมด เพื่อตอบโต้กับที่ญี่ปุ่นปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้ว ทำให้เกิดความบาดหมางและตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนเคยวิพากษ์วิจารณ์แผนดังกล่าวว่าไม่ปลอดภัยมาแล้ว

ส่วนเกาหลีใต้แม้รัฐบาลจะไม่มีปัญหากับเรื่องนี้ แต่ยังคงมีกระแสต่อต้านจากภาคประชาชน โดยมีกลุ่มคนนำเข้าไปถือป้ายที่สถานทูตญี่ปุ่นในประเทศเกาหลีใต้ เพื่อต่อต้านการปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้ว และถูกจับกุมไป 16 คน

อีกทั้งฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นฝ่ายค้านมองว่า การปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีอาจเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์

ส่วนในญี่ปุ่น สหภาพแรงงานชาวประมง มองว่าอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความปลอดภัยของน้ำ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของชาวประมง

แม้ญี่ปุ่นจะประกาศแผนการปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วนี้ออกมาตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว และทำให้เกิดความตึงเครียดทางการเมืองอย่างรุนแรงกับจีนและเกาหลีใต้ แต่กัมมันตภาพรังสีในน้ำยังคงเป็นเรื่องที่ส่วนใหญ่มองว่าเป็นสิ่งที่อันตรายมาก แม้จะมีการบำบัดแล้วก็ตาม


น้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วปลอดภัยจริงไหม?

สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ให้ข้อมูลว่า น้ำที่ปนเปื้อนจะได้รับการบำบัดผ่านกระบวนการกรองที่เรียกว่า ระบบการบำบัดน้ำเสียขั้นสูง (Advanced Liquid Processing System: ALPS) เพื่อกำจัดกัมมันตภาพรังสีส่วนใหญ่ก่อนนำไปจัดเก็บ โดย ALPS คือระบบสูบน้ำและกรอง ซึ่งใช้ชุดปฏิกิริยาเคมีเพื่อกำจัดนิวไคลด์กัมมันตรังสี 62 ชนิดออกจากน้ำที่ปนเปื้อน

อย่างไรก็ตาม ALPS ไม่สามารถกำจัดทริเทียมออกจากน้ำที่ปนเปื้อนได้ ซึ่งทริเทียมเป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีบีต้า มีความเสี่ยงต่ำแต่เป็นอันตรายเมื่อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางปากหรือแผลเมื่อรับปริมาณมาก ซึ่งจากการตรวจสอบความปลอดภัยของ IAEA ได้ข้อสรุปว่า แผนการของญี่ปุ่นในการปล่อยน้ำบำบัดที่เก็บไว้ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิลงสู่ทะเลนั้นสอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยของ IAEA

ราฟาเอล มาเรียโน กรอสซี (Rafael Mariano Grossi) อธิบดี IAEA ได้ส่งรายงานอย่างเป็นทางการต่อ ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น โดยระบุว่าการปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดจะมีผลกระทบทางรังสีวิทยาต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมเล็กน้อย

ทั้งนี้ รายงานนี้เป็นผลงานจากการทำงานเกือบ 2 ปีโดยคณะทำงานเฉพาะกิจของ IAEA ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากภายในหน่วยงาน ซึ่งได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลจาก 11 ประเทศ โดยทบทวนแผนของญี่ปุ่นต่อมาตรฐานความปลอดภัยของ IAEA ซึ่งทำหน้าที่เป็นข้อมูลอ้างอิงระดับโลกในการปกป้องผู้คนและสิ่งแวดล้อม และมีส่วนทำให้ความปลอดภัยระดับสูงทั่วโลก

"IAEA จะยังคงให้ความโปร่งใสแก่ประชาคมระหว่างประเทศ ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดสามารถพึ่งพาข้อเท็จจริงและวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว เพื่อแจ้งความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ตลอดกระบวนการ" มาเรียโน กรอสซี กล่าว

มาเรียโน กรอสซี กล่าวว่า IAEA จะดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัยต่อไปในระหว่างขั้นตอนการปล่อยน้ำและลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และจัดให้มีการตรวจสอบออนไลน์แบบสดบนเว็บไซต์

"สิ่งนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่า มาตรฐานความปลอดภัยระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องจะยังคงถูกนำมาใช้ตลอดกระบวนการที่ยาวนานหลายทศวรรษที่กำหนดโดยรัฐบาลญี่ปุ่นและ Tokyo Electric Power Company (TEPCO)" มาเรียโน กรอสซี กล่าว


ทำไมญี่ปุ่นจำเป็นต้องปล่อยน้ำเสียออกมา

หลังจากแผ่นดินไหวและสึนามิที่ทำลายล้างของญี่ปุ่นในปี 2011 ส่งผลให้น้ำภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตภาพรังสีสูง ตั้งแต่นั้นมาน้ำใหม่จะถูกสูบเข้าไปเพื่อทำให้เศษเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์เย็นลง ในขณะที่น้ำใต้ดินและน้ำฝนรั่วไหลเข้าไป ทำให้เกิดน้ำเสียที่มีกัมมันตรังสีมากขึ้น

ทั้งนี้ แผนปล่อยน้ำนี้ดำเนินมาหลายปีแล้ว โดยมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องออกมาเตือนในปี 2019 ว่า พื้นที่สำหรับเก็บวัสดุกำลังจะหมด ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากปล่อยน้ำในรูปแบบที่ผ่านการบำบัดและเจือจางสูง

อย่างไรก็ตาม บริษัท TEPCO คาดว่า จะปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วประมาณ 200 หรือ 210 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคมเป็นต้นไป และมีแผนที่จะปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดอย่างต่อเนื่องจำนวน 456 ลูกบาศก์เมตรในระยะเวลา 24 ชั่วโมง และรวมทั้งหมด 7,800 ลูกบาศก์เมตรในระยะเวลา 17 วัน ซึ่งการดำเนินการจะถูกระงับทันที และจะดำเนินการตรวจสอบหากตรวจพบความผิดปกติใดๆ ในอุปกรณ์ระบายหรือระดับการเจือจางของน้ำเสียที่ผ่านการบำบัด


ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจะเป็นอย่างไรบ้าง

ในขณะที่บางประเทศสนับสนุนญี่ปุ่น เช่น สหรัฐอเมริกา และไต้หวันที่เห็นพ้องกันว่า ปริมาณทริเทียมควรมีผลกระทบน้อยที่สุด แม้จีนและหมู่เกาะแปซิฟิกต่างคัดค้าน โดยการปล่อยก๊าซดังกล่าวอาจส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ และอาจคุกคามสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทางทะเล

กรมศุลกากรของจีนจึงประกาศว่า จะหยุดนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทั้งหมดที่มาจากญี่ปุ่น เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีในความปลอดภัยของอาหารที่เกิดจากการปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนนิวเคลียร์ฟูกูชิมะของญี่ปุ่น และเพื่อปกป้องสุขภาพของผู้บริโภคชาวจีน ซึ่งหมายความว่าการห้ามดังกล่าวอาจจำกัดผลิตภัณฑ์จากมหาสมุทรอื่นๆ นอกเหนือจากอาหารทะเล เช่น เกลือทะเลและสาหร่ายทะเล

นอกจากนี้ ยังเกิดการวิจารณ์อย่างหนักจากประเทศจีนว่าเป็น ?การกระทำที่เห็นแก่ตัวและขาดความรับผิดชอบ? เช่นเดียวกับในฮ่องกงที่ต่อต้านเช่นกัน

"การกระทำของญี่ปุ่นในการปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนนั้นขาดความรับผิดชอบ ผิดกฎหมาย และผิดศีลธรรม ไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้ว่า เศษนิวเคลียร์และวัสดุต่างๆ ปลอดภัย พวกมันไม่ปลอดภัยโดยสิ้นเชิง" จาเคย์ ชุม (Jacay Shum) นักเคลื่อนไหววัย 73 ปี กล่าว

ด้านกระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีเหนือก็เรียกร้องให้ระงับการปล่อยน้ำทันที โดยเรียกว่าเป็น 'อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ'

ส่วนในญี่ปุ่น มีผู้ประท้วงรวมตัวหน้าสำนักงานใหญ่ของ TEPCO ในโตเกียว โดยถือป้ายที่มีข้อความว่า ?อย่าโยนน้ำที่ปนเปื้อนลงทะเล!?

"ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะยังไม่สิ้นสุด คราวนี้น้ำจะถูกปล่อยออกมาเพียงประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น จากนี้ไปเราจะต่อสู้ต่อไปอีกนานเพื่อหยุดการปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนในระยะยาว" จุน อิซึกะ วัย 71 ปี ผู้ประท้วงกล่าว


ทางออกเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติของประเทศไทย มีการศึกษาและมีข้อเสนอแนะทางออกของกรณีนี้เพื่อลดความกังวลและผลกระทบของรังสีต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลว่า

1. ให้ญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงไปตรงมา รายงานผลการวัดกัมมันตภาพรังสีอย่างสม่ำเสมอและทันเวลา (ก่อนและหลังการระบายน้ำ) รวมถึงระดับทริเทียม (H-3 มีค่าครึ่งชีวิต 12.32 ปี) และสารกัมมันตภาพรังสีอื่นๆ

2. เปิดโอกาสให้ประเทศที่สาม เข้าร่วมในคณะทำงานด้านเทคนิคเพื่อประเมินขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อความโปร่งใสของญี่ปุ่น และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในประเทศเหล่านั้นและองค์กรระหว่างประเทศ

3. คณะทำงานด้านเทคนิคจะเป็นการดำเนินการร่วมกันภายใต้กรอบพหุภาคี ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศจีน เกาหลีใต้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากประเทศที่สามและ IAEA เป็นผู้ประสานงาน เพื่อดำเนินการประเมินความปลอดภัยอย่างเป็นธรรมในการปฏิบัติการดังกล่าว และเพื่อให้มั่นใจว่า การดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยสากล ซึ่งการดำเนินการตามข้อเสนอข้างต้นจำเป็นต้องได้รับงบประมาณสนับสนุนการร่วมภารกิจจากรัฐบาลของประเทศสมาชิกและจาก IAEA

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของญี่ปุ่นในตอนนี้ยังเป็นที่จับตาว่าจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร และอาจต้องใช้สิ่งที่มากกว่าผลทางวิทยาศาสตร์ในสร้างความเชื่อมั่นกับประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องได้รับผลกระทบ


https://plus.thairath.co.th/topic/naturematter/103644

สายน้ำ
28-08-2023, 02:52
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


กลไกระดับนโยบายเดิมๆ ไล่ไม่ทันวิกฤตโลกร้อน-ทะเลเดือด ................ โดย ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660828_Mgr_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660828_Mgr_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)
ปะการังที่ฟอกขาวซ้ำซ้อนจนตายเกือบหมดเมื่อ 3 เดือนก่อน

ใกล้มีรัฐบาลใหม่แล้ว จึงถือโอกาสนำประเด็นเร่งด่วน "โลกร้อน/ทะเลเดือด" มาเล่าให้เพื่อนธรณ์ฟัง เผื่อจะมีประโยชน์ต่อการทำงานครับ

เอลนีโญกำลังเร่งความแรง เริ่มเห็นอุณหภูมิน้ำสูงผิดปรกติ และจะแรงขึ้นอีก การทำงานนับแต่นี้ต่อไปอีก 6-12 เดือนจึงสำคัญมาก

กรมโลกร้อน เพิ่งตั้งใหม่ คงต้องเร่งมือเป็นหน่วยประสานงานเพื่อระดมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์และอัปเดตต่อเนื่อง

กรมทะเล กรมอุทยาน คงต้องติดตามอุณหภูมิน้ำทะเลพื้นที่ต่างๆ และสำรวจตรวจเช็คระบบนิเวศ โดยเฉพาะปะการัง/หญ้าทะเล ยังรวมถึงปรากฏการณ์ผิดปรกติ เช่น น้ำเปลี่ยนสี (น้ำเขียว)

อีกเรื่องที่ควรทำควบคู่กันคือติดตามและประเมินการทำมาหากินของพี่น้องประชาชนที่เกี่ยวข้องกับทะเล วิเคราะห์ประเมินผลกระทบ

ทั้งหมดนั้นคือกรอบทำงานคร่าวๆ จุดอ่อนของเราคือ เก็บข้อมูลแต่ไม่ค่อยได้วิเคราะห์

เรามีข้อมูลเป็นจุดๆ แต่มองภาพรวมไม่ออก หรืออัปเดทไม่ทัน สื่อสารกับผู้คนลำบาก/ไม่เข้าใจ

ในอดีตเราเคยเจอปัญหาแบบนี้ เช่น ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ หนนั้นเราใช้กลไกการทำงานแบบคณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะกิจ พิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์

การประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อจัดตั้งคณะเฉพาะกิจเพื่อเป็นที่ปรึกษากระทรวง/กรมต่างๆ ในเรื่องโลกร้อน/เอลนีโญ/ทะเล จะทำให้เราวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ในภาพรวมและเสนอแนวทางที่ทันต่อเหตุการณ์

นั่นเป็นข้อเสนอของผมที่คิดว่าทำได้ง่ายและเร็วที่สุด

เพราะกลไกเดิมที่มีเป็นระดับนโยบาย ใช้เพื่อออกกฏหมาย/ระเบียบ/ประกาศพื้นที่ ฯลฯ ซึ่งอาจไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์เร่งด่วนที่กำลังเกิดขึ้น

นอกจากแก้ไขเยียวยาหนนี้ เรายังจำเป็นต้องเรียนรู้ผลกระทบจากเอลนีโญ+โลกร้อนให้มากที่สุด

เพราะหนหน้าจะแรงกว่านี้ โลกยังไม่มีวี่แววว่าจะหยุดร้อน (เอลนีโญเกิดทุก 5-7 ปี)

ยังรวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบเพื่อนำไปใช้ระดับนโยบาย นำไปพูดคุยในการประชุมระหว่างประเทศ COP ฯลฯ เพราะเทรนด์ตอนนี้กำลังคุยเรื่อง loss & damage ตามแนวทางของ UN

การไปพูดเพียงว่าไทยจะช่วยลดโลกร้อน เรากำลังใช้แนวทางโลว์คาร์บอน อาจไม่เพียงพอสำหรับสถานการณ์ตอนนี้

เรื่องผลกระทบ L&D ต้องการข้อมูลเยอะ วิเคราะห์เยอะ การระดมผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ จะทำให้เรามีฐานข้อมูลที่ดี นำไปคุยกับประเทศอื่นๆ ได้ ต่อรองได้

ผมพูดเรื่องทะเลอย่างเดียว แต่ยังมีระบบนิเวศป่า/ไฟป่า/ฝุ่นควัน ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเอลนีโญ+โลกร้อนในครั้งนี้ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพ/การทำมาหากิน

เศรษฐกิจจะกระตุ้นแค่ไหน หากธรรมชาติไม่เป็นใจ หากน้ำเขียวทุกสัปดาห์ ไฟป่าดินถล่มเกิดได้ตลอด มันก็ใช้ชีวิตลำบาก
เหตุการณ์ในต่างประเทศคงพอบอกเราได้ ตอนนี้เราอาศัยคำว่าโชคดีเท่านั้น และไม่เชื่อว่าโชคดีจะอยู่ได้ตลอดไป

แต่การลุกขึ้นมาเรียนรู้ รับมือ และปรับตัว จะอยู่ได้ตลอดไป

ฝากความหวังไว้กับท่านรัฐมนตรีที่เป็นใครหนอ ? ไม่ว่าเป็นท่านใด จุดพลิกผันธรรมชาติสิ่งแวดล้อมไทย อยู่ในจังหวะนี้ครับ


https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9660000077107

สายน้ำ
28-08-2023, 02:54
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


เรือตรวจการณ์ไล่ล่าจับกุมเรือเวียดนามแอบลักลอบทำประมงในน่านน้ำไทย

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต. 114 ของทัพเรือภาค2 ออกไล่ล่าติดตามจับกุมเรือประมงเวียดนาม ที่ลักลอบเข้ามาทำการประมงในน่านน้ำไทย 1 ลำพร้อมลูกเรือ 5 คน ขณะรวมกลุ่มกันลักลอบเข้ามาทำการประมง15ลำ และแยกย้ายกันหลบหนีไปคนละทาง

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660828_Thaipost_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660828_Thaipost_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

27 ส.ค. 2566 ? เมื่อวานนี้ (26ส.ค.66) ทัพเรือภาคที่ 2 และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค2หรือ ศรชล.ภาค 2 โดยพลเรือโท จรัสเกียรติ ไชยพันธุ์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 / ผู้อำนวยการศรชล.ภาค 2
ส่งเรือตรวจการใกล้ฝั่ง ต.114 ออกไล่ล่าจับกุมเรือประมงเวียดนามที่ลักลอบเข้ามาทำการประมงในน่านน้ำไทย ในระยะ 51 ไมล์ จากปากร่องน้ำสงขลา

โดยขณะเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพบกลุ่มเรือประมงเวียดนาม รุกล้ำเข้ามาทำการประมงบริเวณทางตอนใต้ของเกาะกระ ประมาณ 15 ลำ

เมื่อเรือทั้งหมดเห็นเรือของเจ้าหน้าที่ทหารเรือก็พยายามขับเรือหลบหนี หนีไปคนละทิศคนละทางเพื่อกลับเข้าน่านน้ำของเวียดนาม

แต่เรือต.114 ก็สามารถไล่ล่าติดตามจับกุมได้ 1 ลำ เป็นเรือประมงคราดปลิงทะเล มีผู้ควบคุมพร้อมลูกเรือ รวมจำนวน 5 คน และควบคุมเรือและลูกเรือกลับเข้าฝั่ง เพื่อที่ ท่าเทียบเรือฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2 เมื่อเวลา 21.00 น.ที่ผ่านมา โดยมี พลเรือตรี พิจิตต ศรีรุ่งเรือง รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 เดินทางไปติดตามการจับกุม

และหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการสอบสวนได้นำลูกเรือทั้ง 5 คน ส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองสงขลา ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

สำหรับการจับกุมเรือประมงเวียดนามในพื้นที่รับผิดชอบของ ทัพเรือภาคที่ 2 ในปีงบประมาณ 2566 สามารถจับกุมครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 3


https://www.thaipost.net/criminality-news/437932/