PDA

View Full Version : สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566


สายน้ำ
07-09-2023, 02:00
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

อนึ่ง พายุโซนร้อน "ยุนยาง" (YUN-YEUNG) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 8?9 กันยายน 2566 โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 7 ? 8 ก.ย. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 9 ? 12 ก.ย. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในภาคตะวันออก คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง พายุโซนร้อน "ยุนยาง" (YUN-YEUNG) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 8?9 กันยายน 2566 โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Forecast_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Sat1.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Sat1.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Warning.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Warning.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)


https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Warning02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

สายน้ำ
07-09-2023, 03:00
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ตื่นตาตื่นใจ "ฉลามหูดำ" ว่ายน้ำหากินใน "อ่าวมาหยา" หลังปิดฟื้นฟูธรรมชาติ

เจ้าหน้าที่อุทยาน เผยคลิปฝูง "ฉลามหูดำ" ว่ายโชว์ตัวหน้าอ่าวมาหยา หลังปิดฟื้นฟูธรรมชาติ งดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวชั่วคราว

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Thairath_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

วันที่ 6 กันยายน 2566 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เผยคลิปวิดีโอฉลามหูดำ พร้อมระบุข้อความว่า ชื่นใจฉลามหูดำ ว่ายโชว์ตัวหน้าอ่าวมาหยา หลังปิดฟื้นฟูธรรมชาติ เมื่อที่ 4 กันยายน 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จ.ตรัง ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์-ธาราหมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ เปิดภาพมุมสูงจากโดรน กล้องถ่ายภาพใต้น้ำ

เพื่อนับประชากรฝูงปลาฉลามครีบดำ หรือปลาฉลามหูดำ และติดตามพฤติกรรม การหากิน การผสมพันธุ์ของฉลาม แสดงให้เห็นฝูงฉลามครีบดำ จำนวนมากว่ายน้ำหากินอยู่ ภายในอ่าวมาหยา ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี จ.กระบี่

ตั้งแต่มีการปิดเพื่อฟื้นฟูบริเวณอ่าวมาหยา ในเขตอุทยานแห่งชาติ หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 30 กันยายน 2566 เพื่องดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวชั่วคราว และเพื่อให้ธรรมชาติทั้งบนฝั่ง และใต้ทะเลบริเวณอ่าวมาหยาได้ฟื้นตัว ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามารบกวนฉลามครีบดำ จึงเข้ามาหากินในอ่าวมาหยาเพิ่มขึ้น.


https://www.thairath.co.th/news/local/2722979

สายน้ำ
07-09-2023, 03:05
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


ยูเอ็นชี้ "ทะเล-มหาสมุทรโลก" โดนขุดทรายออก 6 พันล้านตันต่อปี

สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุว่า ทรายและตะกอนอื่น ๆ ในทะเลและมหาสมุทรของโลก ถูกขุดออกประมาณ 6,000 ล้านตันต่อปี พร้อมกับเตือนถึงความเสียหายร้ายแรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และชุมชนชายฝั่ง

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Dailynews_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Dailynews_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)
เครดิตภาพ : AFP

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 6 ก.ย. ว่า โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นอีพี) เปิดตัวแพลตฟอร์มข้อมูลระดับโลก เกี่ยวกับการแยกตะกอนในสภาพแวดล้อมทางทะเล โดยเตือนว่า ระดับของการขุดลอกกำลังเพิ่มขึ้น ซึ่งมันส่งผลกระทบร้ายแรง

"ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ของกิจกรรมการขุดในทะเลน้ำตื้น และการขุดลอกนั้น อยู่ในระดับที่น่าตกใจ" นายปาสคาล เปดุซซี หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์ "กริด-เจนีวา" ของยูเอ็นอีพี ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เช่นเดียวกับความขุ่นของน้ำ และผลกระทบทางเสียงต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล

แพลตฟอร์มข้อมูลใหม่ ซึ่งมีชื่อว่า "มารีน แซนด์ วอทช์" ใช้สัญญาณจากระบบแสดงตนอัตโนมัติ (เอไอเอส) ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เพื่อระบุการดำเนินงานของเรือขุดลอก ตลอดจนติดตาม และตรวจสอบกิจกรรมการขุดลอกทราย, ดินเหนียว, ตะกอน, กรวด และก้อนหิน ในสิ่งแวดล้อมทางทะเลของโลก

แม้กระบวนการดังกล่าวยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และจนถึงขณะนี้มีการติดตามเรือประมาณ 50% ของจำนวนทั้งหมด แต่แพลตฟอร์มข้างต้นประเมินว่า ทรายและตะกอนอื่น ๆ ในทะเล ราว 4,000-8,000 ล้านตัน ถูกขุดออกจากสภาพแวดล้อมทางทะเล ระหว่างปี 2555-2562 ซึ่งคิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6,000 ล้านตันต่อปี

นอกเหนือจากการนำเสนอตัวเลข ยูเอ็นยังคาดหวังว่า แพลตฟอร์มใหม่นี้จะนำไปสู่การหารือกับภาคส่วนการขุดลอก ผลักดันให้ธุรกิจต่าง ๆ ดำเนินไปในทิศทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการขุดของพวกเขาให้ดีกว่านี้

ขณะที่ ยูเอ็นอีพี ระบุเสริมว่า มันมีความจำเป็นเร่งด่วน ในการจัดการทรัพยากรทรายในทะเลให้ดีขึ้น และลดผลกระทบของการทำเหมืองในทะเลน้ำตื้น.


https://www.dailynews.co.th/news/2693223/


******************************************************************************************************


รู้จักกรมโลกร้อน

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Dailynews_02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Dailynews_02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

รู้หรือไม่! ประเทศไทยมี "กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม" หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า "กรมโลกร้อน" หลังจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้จัดปรับโครงสร้างจาก "กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม" โดยโครงสร้างของกรมฯ ใหม่ ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการกรม, กองยุทธศาสตร์ และความร่วมมือระหว่างประเทศ, กองขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนี้ ยังมีกองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และมีหน่วยงานกลุ่มตรวจสอบภายในและกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร มีอัตรากำลัง ประกอบด้วย ข้าราชการ 219 คน พนักงานราชการ 309 คน และลูกจ้างประจำ 19 คน มีนายสมศักดิ์ สรรพโกศลกุล เป็นอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงฯ คนแรก

หน้าที่กรมที่เกิดขึ้นใหม่ มีหน้าที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนภารกิจรองรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลายด้าน เช่น เสนอแนะและจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน มาตรการเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ การลดก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย ประเมินความเสี่ยง และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จัดทำและให้บริการข้อมูลและข้อสนเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ศึกษา วิจัย พัฒนา ถ่ายทอด และส่งเสริมเทคโนโลยีการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นศูนย์เทคโนโลยีสะอาดและศูนย์ปฏิบัติการอ้างอิงด้านสิ่งแวดล้อม

รวมทั้งดูแลภารกิจ เพื่อให้ไทยดำเนินการตามพันธกรณีของอนุสัญญา พิธีสาร และความตกลงระหว่างประเทศ เสนอแนะแนวทาง และท่าทีในการเจรจาความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และรายงานข้อมูลตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้วย

"วราวุธ ศิลปอาชา" รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อดีต รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้ผลักดันกรมฯ ใหม่ขึ้น เคยระบุว่า ที่ต้องปรับโครงสร้างกรมฯ ใหม่ เนื่องจากปัจจุบันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก หรือปัญหาภาวะโลกร้อน กำลังเป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่ทั่วโลกต่างกำลังเร่งสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเมื่อเลขาธิการสหประชาชาติได้ออกมาชี้เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าอุณหภูมิของพื้นผิวโลก และอุณหภูมิของมหาสมุทรในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาในปีนี้อยู่ในระดับสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ เป็นสัญญาณเตือนว่า เรากำลังเริ่มต้นสิ้นสุดยุคของ "ภาวะโลกร้อน" และกำลังเข้าสู่ยุค "ภาวะโลกเดือด" แล้ว ดังนั้นการตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมครั้งนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ประเทศไทยมีหน่วยงานรองรับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมโดยตรง


https://www.dailynews.co.th/news/2688216/

สายน้ำ
07-09-2023, 03:07
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


เจ้าหน้าที่ ทช. แจ้งจับผู้ใหญ่บ้าน ขุดทำลายซากปะการังชายฝั่งทะเลแสมสาร

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Thaipost_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Thaipost_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)
.
6 ก.ย.2566 - นายวุฒิพงษ์ วงศ์อินทร์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทะเล สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 (ชลบุรี) พร้อมด้วย นายนพดล แสงขาว ผู้อำนวยการศูนย์ และเจ้าหน้าที่ ได้เดินเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อ พ.ต.ท.ไพบูลย์ เลาหะนะวัฒน์ สารวัตรสอบสวน สภ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ให้ดำเนินคดีกับ นายอภิชาติ อร่ามรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านตำบลแสมสารหมู่ 3 และพวก ตามฐานความผิด ล่าหรือทำอันตรายด้วยประการอื่นใดแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของและอยู่อย่างอิสระ ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 มาตรา 3 ประกอบมาตรา 12 และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 89 จำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยมี นายณัฐพงศ์ พิทักษ์กรณ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.แสมสาร ร่วมเป็นพยาน

นายวุฒิพงษ์ วงศ์อินทร์ เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ กรณีที่ได้รับการร้องเรียนจากเครือข่ายพื้นที่แสมสาร เมื่อวันที่ 4 ก.ย.66 กรณีมีบุคคลใช้เครื่องจักรใหญ่ (รถแบคโฮ) ก่อสร้างลงไปในทะเล พื้นที่ราว 4 ไร่ บริเวณหน้าชายหาดหลังรีสอร์ทหรูแห่งหนึ่ง ม.1 ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ซึ่งต่อมาได้ตรวจสอบพบว่าคือ นายอภิชาติ อร่ามรัตน์ และพวก ได้กระทำการใช้เครื่องจักรใหญ่ (รถแบคโฮ) ขุดซากปะการัง เพื่อปรับแต่งพื้นที่ บริเวณชายฝั่งทะเล ตรวจสอบพบเป็นปะการังชนิด ปะการังโขด Porites lutes อยู่ใน Order Scleractinia เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามบัญชีแนบท้ายกฎกระทรวง สัตว์ป่าไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ ลำดับที่ 4 ปะการังแข็งทุกชนิดในอันดับ (Order Scleractinia) กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2546 การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการล่า หรือทำอันตรายด้วยปะการอื่นใดแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของ และอยู่อย่างอิสระ จึงได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อสารวัตรสอบสวนในวันนี้

ทั้งนี้ ตามข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผยทราบว่า นายอภิชาติ อร่ามรัตน์ ได้จดทะเบียนในนามนิติบุคคล บริษัท ไร่ภูพญา 168 กรุ๊ป จำกัด เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 วัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการรับจ้างเหมาปรับปรุงภูมิทัศน์ โดยมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ซึ่งระหว่างตรวจสอบการก่อสร้างปรับพื้นที่ได้พบรถแบคโฮ และรถบรรทุก 6 ล้อ ติดสติ๊กเกอร์หน้ารถว่า ไร่พญากรุ๊ป กำลังขุดและปรับพื้นที่


https://www.thaipost.net/district-news/443961/

สายน้ำ
07-09-2023, 03:14
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV


น้ำมันรั่วทำปะการังเป็นหมัน นักวิจัยแนะต้องติดตามผลกระทบน้ำมันรั่วระยะยาว

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Nation_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Nation_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

รายงานล่าสุด สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำเผย แม้ตอนนี้ยังไม่เห็นผลกระทบที่เห็นได้ชัดจากเหตุน้ำมันรั่วที่ชลบุรี แต่มีผลวิจัยชี้ชัดว่ามลพิษน้ำมันรั่วทำให้ปะการังเป็นหมัน จึงต้องติดตามผลกระทบน้ำมันรั่วไหลในระยะยาว

เหตุน้ำมันรั่วไหลที่ จ.ชลบุรี ถือเป็นวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมล่าสุด ที่ทะเลอ่าวไทยตอนในต้องประสบ หลังจากเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา เกิดเหตุน้ำมันดิบกว่า 60 ตัน หรือ 60,000 ลิตร รั่วไหลลงทะเลบริเวณทางตอนใต้ของเกาะสีชัง จากอุบัติเหตุขณะขนถ่ายน้ำมันดิบจากทุ่นกลางทะเลของ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

ภายหลังเกิดเหตุน้ำมันรั่ว สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกับ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกไปสำรวจเบื้องต้น พบว่ายังไม่พบผลกระทบที่เห็นชัดเกิดขึ้น เนื่องจากคราบน้ำมันได้ถูกกำจัดไปเกือบหมดแล้ว

อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ของทีมวิจัยที่ทำงานศึกษาผลกระทบของน้ำมันรั่วที่มีต่อระบบนิเวศปะการังในอดีตที่ จ.ระยอง พบว่า

การรั่วไหลของน้ำมันดิบลงทะเลสามารถส่งผลต่อนิเวศแนวปะการังบริเวณข้างเคียง ทำให้ปะการังเป็นหมันได้


ศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า จากการศึกษาในอดีตและในห้องปฏิบัติการที่ผ่านมา พบว่าน้ำมัน หรือคราบน้ำมัน รวมทั้งสารขจัดคราบน้ำมันสามารถทำให้ปะการังเป็นหมัน โดยปะการังไม่สามารถปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ไข่และสเปิร์มได้ หรือถึงแม้ปะการังจะสามารถปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ไข่และสเปิร์มได้ แต่คราบน้ำมันและสารขจัดคราบน้ำมัน จะทำให้เซลล์สืบพันธุ์ที่ถูกปล่อยออกมามีรูปร่างที่ผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถปฏิสนธิกันได้ จึงทำให้เกิดสถานการณ์ที่เรียกว่า ปะการังเป็นหมัน

"แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าสิ่งแวดล้อมกลับมาเหมือนเดิม ปะการังส่วนใหญ่ก็สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้ แต่อาจจะไม่ 100% ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะมีผลกระทบในระยะกลางและระยะยาวอย่างไรต่อสัตว์ทะเล" ศาสตราจารย์ ดร. สุชนา กล่าว

น้ำมันรั่วทำปะการังเป็นหมัน นักวิจัยแนะต้องติดตามผลกระทบน้ำมันรั่วระยะยาว
ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.วรณพ วิยกาญจน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เผยว่า เนื่องจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสถานีวิจัยสัตว์ทะเลตั้งอยู่บนเกาะสีชัง และมีงานวิจัยเกี่ยวกับการปลูกปะการังที่เกาะค้างคาว จึงต้องมีการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดว่าการรั่วไหลของน้ำมันในครั้งนี้จะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลบริเวณนั้นอย่างไร เพราะทั้งเกาะค้างคาวและเกาะสีชังห่างจากบริเวณที่น้ำมันรั่วประมาณ 1-2 กิโลเมตรเท่านั้น

ทั้งนี้ ทางทีมนักวิจัยจากจุฬาฯ กำลังดำเนินการเก็บตัวอย่างและสำรวจอย่างละเอียดโดยจะใช้เรือจุฬาฯ วิจัย ออกไปเก็บตัวอย่างน้ำทะเลและดิน ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ กลุ่มคราบน้ำมัน เพื่อดูผลกระทบของน้ำมันที่รั่วและสารเคมีขจัดคราบน้ำมัน (Oil Spil Dispersant) ต่อสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมบริเวณนั้น และจะนำมาศึกษาวิจัยในเชิงลึกต่อไป

"สำหรับในครั้งนี้ ทางทีมวิจัยจะติดตามศึกษาผลกระทบต่อสัตว์ทะเลและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามาร่วมมือกันป้องกันแก้ไขในระยะยาว เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลของเราให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้" ศ.ดร.วรณพ กล่าว

ด้าน ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า มีพื้นที่แนวปะการังอยู่ประมาณ 250 ไร่ ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากคราบน้ำมัน หลักๆ คือเกาะค้างคาว/ท้ายตาหมื่น เกาะร้านดอกไม้ และเกาะขามใหญ่

อ.ธรณ์ อธิบายว่า น้ำมันส่งผลกระทบต่อปะการัง 2 แบบ อย่างแรกคือเฉียบพลัน เกิดเมื่อน้ำมันเยอะๆ สะสมในอ่าว เมื่อน้ำลง คราบน้ำมันโดนปะการังโดยตรง ขาวทันทีตายทันที อีกแบบคือส่งผลระยะยาว ปะการังอาจไม่ตาย มองภายนอกก็ปรกติ แต่จะอ่อนแอและเริ่มเกิดโรคเพิ่มมากขึ้น

"ผลกระทบอย่างแรกประเมินไม่ยาก แต่อย่างที่สองยากครับ ต้องติดตามกันเป็นปีๆ ซึ่งก็คงต้องใช้งบประมาณ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการตกลงกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมทะเล และผู้ก่อเหตุ จะครอบคลุมถึงส่วนนี้ไว้ครบถ้วน ให้มากพอ ถี่พอ และรับผิดชอบต่อระบบนิเวศและท้องทะเลเพียงพอครับ" อ.ธรณ์ กล่าว


https://www.nationtv.tv/gogreen/378929360


******************************************************************************************************


น้ำเสียคือพลังงาน เปลี่ยนภัยสิ่งแวดล้อม เป็นพลังกู้โลกร้อน

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Thairath_02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Thairath_02.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

รู้หรือไม่ น้ำเสียเป็นแหล่งปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกือบเทียบเท่ากับอุตสาหกรรมการบิน แต่ถ้าจัดการอย่างเหมาะสมก็สามารถแปลงเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่สามารถจ่ายไฟให้กว่า 50 ล้านคนใช้ได้พอทั้งปี เปลี่ยนวิกฤตภัยสิ่งแวดล้อม เป็นพลังกู้โลกร้อนกันเถอะชาวโลก

น้ำเสีย ถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมพื้นฐานที่แทบทุกประเทศทั่วโลกต้องประสบ เพราะน้ำเสียนอกจากจะทำให้ระบบนิเวศและธรรมชาติเสื่อมโทรมลงแล้ว ยังเป็นแหล่งก่อภัยสุขภาพให้กับมนุษย์ หากแต่ทุกวันนี้มีเพียง 11% ของน้ำเสียที่ถูกปล่อยออกมาทั่วโลกเท่านั้น ที่ได้รับการบำบัดอย่างถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เผยรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า น้ำเสียสามารถแปรเปลี่ยนให้เป็นทรัพยากรทรงคุณค่าที่สามารถนำมาช่วยแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน การขาดแคลนน้ำ อีกทั้งยังสามารถสกัดเอาสารต่างๆ ในน้ำเสีย ออกมาใช้เป็นปุ๋ย และวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อีกด้วย

"จริงๆ แล้ว น้ำเสียเป็นทรัพยากรที่มีประโยชน์มาก แต่ว่าเรากลับปล่อยน้ำเสียเหล่านี้ทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อม จนทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ต่อโลกธรรมชาติที่เราพึ่งพา" Leticia Carvalho หัวหน้าผู้ประสานงานสาขาสิ่งแวดล้อมทะเลและน้ำจืดของ UNEP กล่าว


Carvalho กล่าวว่า

ในปัจจุบัน ปัญหาน้ำเสีย กำลังทำให้วิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกหนักหนายิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จาก สารเคมีในน้ำเสียอุตสาหกรรมและบ้านเรือนทำให้เกิดการปนเปื้อนในระบบนิเวศ ส่งผลกระทบต่อทั้งธรรมชาติและสุขภาพมนุษย์ เช่นเดียวกับธาตุอาหารมหาศาลในน้ำเสียจากการเกษตร ที่เร่งให้เกิดปรากฎการณ์แพลงตอนบลูมจนทะเลเป็นพิษ

ไม่เพียงเท่านั้น น้ำเสีย ยังเป็นแหล่งปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดรุนแรงอย่าง ก๊าซมีเทน และไนตรัส ออกไซด์ จนเมื่อคำนวณรวมแล้ว ก๊าซเรือนกระจกจากน้ำเสียมีเป็นสัดส่วนถึง 1.57% ของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ซึ่งมีปริมาณเกือบเทียบเท่ากับการปลดปล่อยคาร์บอนของภาคอุตสาหกรรมการบินทั้งภาค

Carvalho ยังเผยอีกว่า

น้ำเสีย ก็สามารถเป็นทางออกในการแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนได้เช่นกัน โดยน้ำเสียสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานสะอาดจากไบโอแก๊ซ ซึ่งมีศักยภาพสามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงประชากรกว่า 50 ล้านคน ให้มีไฟฟ้าใช้ได้ทั้งปี

นอกจากจะเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ช่วยให้เราเปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ง่ายขึ้น น้ำเสียยังเป็นแหล่งทรัพยากรที่สามารถนำมาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้เช่นกัน โดยสารธาตุอาหารในน้ำเสีย สามารถกรองนำกลับมาใช้เป็นปุ๋ยสำหรับการเกษตร ช่วยลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมีในภาคเกษตรได้ถึง 13.4%

น้ำเสียคือพลังงาน เปลี่ยนภัยสิ่งแวดล้อม เป็นพลังกู้โลกร้อนน้ำเสีย ที่ได้รับการบำบัดแล้ว ยังสามารถนำกลับมาใช้อุปโภคบริโภคได้ใหม่ โดยจากรายงาน UNEP คาดการณ์ว่า หากเราสามารถบำบัดน้ำเสียทั้งหมดที่เราปลดปล่อยออกมา เราจะได้ทรัพยากรน้ำสะอาดที่สามารถใช้หล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรได้มากกว่า 40 ล้านเฮกตาร์ หรือกว่า 150 ล้านไร่

ยิ่งไปกว่านั้น เรายังสามารถสกัดเอาสารหรือทรัพยากรอื่นๆ ออกมาจากน้ำเสีย ซึ่งทรัพยากรจากน้ำเสียเหล่านี้สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในหลากหลายอุตสาหกรรม นับตั้งแต่ การทำกระดาษ โพลิเมอร์ ยาฆ่าแมลง น้ำมันไบโอดีเซล ไปจนถึงสารกันเสียหรือแต่งกลิ่นในอาหาร

"ดังนั้น เราจึงไม่ควรปล่อยทรัพยากรทรงคุณค่าเช่นนี้ทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะหันกลับมามองถึงศักยภาพของน้ำเสียในการนำมาเป็นแหล่งพลังงานสะอาดในการแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน" Carvalho กล่าวทิ้งท้าย


https://www.nationtv.tv/gogreen/378929368

สายน้ำ
07-09-2023, 03:20
ขอบคุณข่าวจาก Greennews


พบแพลงก์ตอนบลูม ทะเลอ่าวไทยบริเวณ "น้ำมันรั่วไทยออยล์"

https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Greennews_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds (https://hosting.photobucket.com/images/aa455/saveoursea/660907_Greennews_01.jpg?width=960&height=720&fit=bounds)

นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลเผยพบปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมในพื้นที่ผลกระทบคราบน้ำมันจากเหตุ "น้ำมันรั่วไทยออยล์" เปิดประเด็น "หรือที่ไม่พบคราบ เพราะปนไปกับน้ำทะเลสีเขียวของแพลงก์ตอนบลูม?" ขณะกรมควบคุมเผย "ไม่พบคราบน้ำมันแล้ววันนี้"

"หวั่นกระทบประการัง โดยเฉพาะระยะยาว" ทีมวิจัยจุฬาฯ เผยหลังลงพื้นที่สำรวจผลกระทบเบื้องต้น

ด้าน สส.ก้าวไกล ระยอง เปิดแถลงที่สภา กรณีน้ำมันรั่วไทยออยล์ "ข้องใจอีไอเอไทยออยล์-จี้เปิดข้อมูลจำเป็นแก่สาธารณะ-ชี้รั่วบ่อยเกิน ดำเนินการเหมือนเดิม"


"ข้องใจอีไอเอไทยออยล์-จี้เปิดข้อมูลจำเป็น" สส.ก้าวไกล

"เหตุการณ์น้ำมันรั่วที่ จ.ชลบุรี มีลักษณะเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นที่ จ.ระยอง ช่วงต้นปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการรั่วในลักษณะเดียวกันคือ รั่วระหว่างการขนถ่าย

โดยทางเราตั้งข้อสังเกตแรก คือ รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของบริษัทไทยออยล์ มีการกำหนดวิธีการดำเนินการไว้อย่างครบถ้วน และมีมาตรฐาน แต่บริษัทได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้หรือไม่ ซึ่งหากมีการปฏิบัติจริงตามรายงานก็ไม่น่าส่งผลกระทบร้ายแรงถึงขนาดนี้

รวมถึงบริษัทมีการปฏิบัติตามประกาศตามของประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 134/2564 เรื่อง มาตรการความปลอดภัย การป้องกัน และขจัดมลพิษทางน้ำ เนื่องจากน้ำมัน เคมีภัณฑ์ และสารที่เป็นอันตรายประจำท่าเรือหรือไม่ ที่กำหนดว่าการขนถ่ายน้ำมันต้องมีบูมที่มีความยาว 3 เท่าของลำเรือ ซึ่งกรณีนี้เรายังไม่สามารถตรวจสอบได้

นอกจากนี้ วิธีการกำจัดคราบน้ำมันได้มีการทำตามขั้นตอนหรือไม่ เพราะเท่าที่มีการตรวจสอบมีการใช้สารเคมีที่ควรใช้ในขั้นตอนสุดท้ายตั้งแต่ขั้นตอนแรก จึงทำให้เกิดความเสียหาย และผลกระทบจำนวนมาก โดยขอให้การถอดบทเรียน และดูแลภาคประชาชนอย่างทั่วถึง"

กฤช ศิลปชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระยอง พรรคก้าวไกล แถลงข่าวกรณีน้ำมันที่รั่วไหลลงสู่ทะเลในพื้นที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จากเหตุน้ำมันดิบจากเรือบรรทุกน้ำมัน รั่วไหลขณะขนถ่ายน้ำมันดิบบริเวณทุ่นผูกเรือกลางทะเล หมายเลข 2 (SBM-2) ของโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ วันนี้ (6 ก.ย. 2566) ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา

"ครั้งนี้คงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่จะเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้น ดังนั้นรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องตรวจสอบอย่างรอบด้าน และเปิดเผย โดยขอให้มีการรายงานตัวเลขน้ำมันรั่วที่แท้จริง และขอให้ตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากฝั่งเอกชนร่วมกับภาครัฐ ตลอดจนตรวจสอบการใช้สารละลายคราบน้ำมันว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่

รวมถึงต้องมีการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมทางทะเล เยียวยาให้กับชาวประมง และผู้ที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ด้วย เหตุการณ์น้ำมันรั่วเกิดขึ้นซ้ำหลายครั้ง แต่การเยียวยา และแก้ปัญหาก็ยังไม่ดีพอ ปัจุบันทรัพยากรทางทเะลของระยองก็ยังไม่ฟื้นตัว ชาวบ้านก็ไม่ได้รับเงินเยียวยาที่เป็นธรรม" กฤช กล่าว

"จากสถิติของ ทช. เหตุการณ์น้ำมันรั่วไม่ได้ลดลงเลย สิ่งที่เราจะเรียกร้องคือ ผู้เกี่ยวข้อง จะต้องเพิ่มมาตรการอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ซ้ำอีก ต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร และจะแก้ปัญหาอย่างไร และการรับมือภัยพิบัติหลังจากเกิดเหตุ ที่ยังใช้วิธีเดิม ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเล และทรัพยากรธรรมชาติ

ภาครัฐและเอกชนต้องมาพูดคุย หาวิธีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการเยียวยาที่ต้องพูดถึงกรณีทรัพยากรธรรมชาติด้วยว่าจะทำอย่างไร" สว่างจิตต์ เลาหะโรจนพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระยอง พรรคก้าวไกล กล่าวเพิ่มเติม


"ไม่พบคราบน้ำมันแล้ววันนี้" อธิบดีคพ.

"จากการส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจทางเรือ และใช้ดาวเทียมสำรวจคราบน้ำมันที่รั่วไหลไม่พบมีคราบน้ำมันเข้าถึงชายฝั่งบริเวณหาดบางพระ และอ่าวอุดมตามที่ทำโมเดลไว้ โดยเมื่อวานนี้ พบคราบน้ำมันมีลักษณะเป็นฟิล์มน้ำมันบาง ๆ กระจายตัวกันเป็นกลุ่มบริเวณด้านทิศตะวันออกของเกาะสีชัง แต่ไม่พบกลุ่มน้ำมันที่มีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนเข้มหนา

ถึงจะไม่พบคราบน้ำมันเข้าชายฝั่ง แต่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง และติดตามผลกระทบจากการใช้สาร Dispersant ขจัดคราบน้ำมัน 4,500 ลิตร จะมีผลต่อสัตว์ทะเล และทรัพยากรระยะยาวอีกอย่างน้อย 1 ปี ทั้งนี้ ภาพรวมการสกัดคราบน้ำมันไม่ให้เข้าถึงชายฝั่งได้อย่างรวดเร็วภายใน 2 ? 3 วัน ส่วนหนึ่งมาจาก บริษัทไทยออยล์ฯ ใช้แผนเผชิญเหตุทันต่อสถานการณ์และทันทีหลังเหตุน้ำมันรั่ว พร้อมขออนุญาตใช้สาร Dispersant ตั้งแต่วันที่เกิดเหตุ ซึ่งกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ยังคงติดตามผลกระทบต่อเนื่อง ด้วยการเก็บตัวอย่างน้ำทะเล และตะกอนดินเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเปรียบเทียบกรณีเหตุน้ำมันดิบรั่วไหล 5 จุด คือ เกาะสีชัง อ่าวอุดม เกาะลอย (บริเวณสวนสุขภาพศรีราชา) หาดบางพระ และหาดวอนนภา"

ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ให้สัมภาษณ์กับ Thai PBS วันนี้ (6 ก.ย. 2566) ถึงความคืบหน้าเหตุน้ำมันรั่วไหลจากท่อส่งน้ำมันดิบของ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) จังหวัดชลบุรี โดยจากประกาศชี้แจงของ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด ที่เปิดเผยวานนี้ (5 ก.ย. 2566) คาดว่าปริมาณน้ำมันดิบที่รั่วไหลลงทะเลทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 60,000 ลิตร

ขณะที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กำชับให้ จตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ติดตามผลกระทบอย่างใกล้ชิด เบื้องต้นให้เจ้าหน้าที่เดินทางไปลงบันทึกประจำวันไว้แล้ว หากในอนาคตมีผลกระทบเกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสัตว์ทะเลจะได้มีหลักฐานข้อมูลดำเนินคดี


"ไม่เจอคราบ หรือเพราะปนไปกับแพลงก์ตอนบลูม?" ดร.ธรณ์

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมทางทะเล เปิดเผยว่า วานนี้ 5 (ก.ย. 2566) คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ลงพื้นที่ชายฝั่งศรีราชา เพื่อสำรวจคราบน้ำมันที่รั่วไหล แต่สิ่งที่เจอกลับเป็นมวลน้ำเขียวจากแพลงก์ตอนบลูมกำลังเข้าสู่ชายฝั่ง ในบริเวณเดียวกับที่คาดการณ์ว่าจะมีคราบน้ำมันเข้ามา ทำให้ไม่เจอคราบน้ำมัน ซึ่งเป็นไปได้ทั้งคราบน้ำมันถูกกำจัดไปแล้ว หรืออาจเป็นเพราะปนกับน้ำเขียว

"ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงซ้อนกัน ทำให้ซับซ้อนจนไม่รู้จะอธิบายอย่างไร ได้แต่เศร้าว่าทำไมเราถึงเจอแบบนี้

ทั้งหมดนี้ อาจเป็นเพราะเราใส่ใจทะเลไม่พอ ทำให้เกิดผลกระทบทางอ้อม เช่น น้ำทิ้ง เร่งให้เกิดแพลงก์ตอนบลูมถี่ยิบ ยังมีผลกระทบทางตรงจากคราบน้ำมัน แม้เป็นอุบัติเหตุ แต่เราก็ต้องยกระดับเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำซาก

มิฉะนั้น เจอทั้งน้ำเขียวบวกน้ำมัน ทะเลจะเป็นอย่างไร พี่น้องคนทำมาหากินชายฝั่งจะเหนื่อยแค่ไหน" ดร.ธรณ์ เผยผ่านโพสต์เฟสบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat วานนี้ (5 ก.ย. 2566)

"ประเด็นน้ำมันรั่วอยู่ห่างจากเกาะสีชังประมาณ 2 กิโลเมตรขณะขนถ่ายน้ำมันของบริษัทไทยออยล์ มีปริมาณน้ำที่รั่วไหลประมาณ 70,000 ลิตร โดยกรมควบคุมมลพิษได้ตรวจสอบ และพบว่ามีคราบน้ำมันสลายไปประมาณ 3,500 ลิตร และมีคราบน้ำมันกระจายตัวถูกพัดเข้าหาฝั่งชายหาดบางพระ ยาวไปจนถึงอ่าวอุดมประมาณ 4 กิโลเมตร แต่โชคดีที่มีแพลงก์ตอนบลูมสกัดไว้

อย่างไรก็ตามแพลงก์ตอนบลูมได้ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำบริเวณหน้าดินทั้งหมดตาย จึงขอเรียกร้องไปยังผู้ที่ต้องรับผิดชอบว่าจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร และขอร้องเรียนไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมเจ้าท่าให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาปัญหาแพลงก์ตอนบลูม และการป้องกันน้ำมันรั่วไหล" กฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ สส.จังหวัดชลบุรี พรรคก้าวไกล กล่าวในการแถลงข่าว


"หวั่นกระทบประการัง" ทีมวิจัยจุฬาฯ

"จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่ จ.ชลบุรี สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกับภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกไปสำรวจเบื้องต้น พบว่า ยังไม่พบผลกระทบที่เห็นชัดเกิดขึ้น เนื่องจากคราบน้ำมันได้ถูกกำจัดไปเกือบหมดแล้ว

อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ของทีมวิจัยที่ทำงานศึกษาผลกระทบของน้ำมันรั่วที่มีต่อระบบนิเวศปะการัง ในอดีตที่ระยองทั้ง 2 ครั้ง พบว่า ผลกระทบอาจจะยังไม่เกิดให้เห็นทันที แต่สิ่งมีชีวิตอาจจะใช้เวลาในการแสดงออกถึงผลกระทบที่ได้รับภายหลัง

โดยทางทีมนักวิจัยจากจุฬาฯ กำลังดำเนินการเก็บตัวอย่าง และสำรวจอย่างละเอียดโดยจะใช้เรือโดยการเก็บตัวอย่างน้ำทะเล และดิน ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ กลุ่มคราบน้ำมัน เพื่อดูผลกระทบของน้ำมันที่รั่ว และสารเคมีขจัดคราบน้ำมัน (Oil Spil Dispersant) ต่อสิ่งมีชีวิต และสภาพแวดล้อมบริเวณนั้น และจะนำมาศึกษาวิจัยในเชิงลึก และนำเทคโนโลยีการแยกลำดับสารทางพันธุกรรม (DNA) ของสิ่งมีชีวิตแบบ metagenomic มาประยุกต์ใช้ โดยการศึกษาในลักษณะนี้จะสามารถบ่งบอกถึงผลกระทบภายในของสัตว์ทะเล รวมทั้งปลาต่าง ๆ ในบริเวณเหล่านั้นได้

นอกจากนี้ ทางทีมจุฬาฯ ได้วางแผนการศึกษาผลกระทบของการรั่วไหลของน้ำมันในระยะยาวด้วยเช่นกัน โดยจะมีการลงไปเก็บตัวอย่างมาศึกษาเป็นระยะ ๆ" Thai PBS รายงานวันนี้

"จากการศึกษาในอดีต และในห้องปฏิบัติการที่ผ่านมา พบว่า น้ำมัน หรือ คราบน้ำมัน รวมทั้งสารขจัดคราบน้ำมันสามารถทำให้ปะการังเป็นหมัน โดยปะการังไม่สามารถปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ไข่ และสเปิร์มได้ หรือ ถึงแม้ปะการังจะสามารถปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ไข่ และสเปิร์มได้ แต่คราบน้ำมันและสารขจัดคราบน้ำมัน จะทำให้เซลล์สืบพันธุ์ที่ถูกปล่อยออกมามีรูปร่างที่ผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถปฏิสนธิกันได้จึงทำให้เกิดสถานการณ์ที่เรียกว่า ปะการังเป็นหมันชั่วคราว

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าสิ่งแวดล้อมกลับมาเหมือนเดิม ปะการังส่วนใหญ่ก็สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้ แต่อาจจะไม่ 100 % ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะมีผลกระทบในระยะกลาง และระยะยาวอย่างไรต่อสัตว์ทะเล ซึ่งการตรวจติดตามผลกระทบนี้ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีขึ้นสูงเพื่อดูไปถึงสรีรภายในของสัตว์ทะเล" ศ.สุชนา ชวนิชย์ รอง ผอ.สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นกับ Thai PBS


https://greennews.agency/?p=35493